MENU

Where the world comes to study the Bible

บทที่ 20: วีรบุรุษของดาวิด (2 ซามูเอล 23)

คำนำ

ตอนที่แล้ว ผมเล่าเรื่องเพื่อนเก่าท่านหนึ่ง คาร์ล ลินด์ ที่นอนรอการกลับไปอยู่ในสวรรค์กับองค์พระผู้เป็นเจ้า ผมโทรหาคาร์ล เพื่อจะบอกว่าเราคิดถึงเขามาก และจดจำเขาเสมอในคำอธิษฐาน ผมบอกเขาไปด้วยว่า ยืม เรื่องของเขามาเกริ่นเป็นบทนำในตอนที่แล้ว เราย้อนระลึกถึง "วันเก่าๆ" ด้วยกัน เมื่อตอนเริ่มตั้งคริสตจักร ไบเบิ้ลแบบติสท์ใหม่ๆ เราใช้ห้องเตรียมศพเป็นที่ประชุมนมัสการ ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมชอบมองหาว่า เขาเอาศพไปเก็บไว้ตรงไหน "นั่นยังไม่เท่าไหร่" คาร์ลบอก "มาร์ทา (ภรรยาของคาร์ล) เคยสอนรวีอยู่ห้องติด กับห้องแต่งศพ ทุกครั้งเวลาเรียน กลิ่นน้ำยาอาบศพที่ลอยมา ไม่จืดเลยครับ"

อันที่จริง กลิ่นน้ำยาอาบศพสักหน่อยก็ดี จะได้เตือนใจว่า ชีวิตเรานั้นไม่ยืนยาว ตอนที่ผมกับภรรยาเดินทาง ไปเที่ยวแถวฝั่งตะวันออก เราเห็นโบสถ์เล็กๆน่ารักหลายแห่ง มีสุสานตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เดี๋ยวนี้หาไม่ ได้แล้วในเมืองใหญ่ๆอย่างเช่นที่ดัลลัส ผมคิดว่าพระกิตติคุณและความตายควรเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกันอย่าง ไกล้ชิด ทุกครั้งที่ไปโบสถ์ จะได้เตือนให้เราตระหนักว่า ความตายเป็นเรื่องหนีไม่พ้น และทุกครั้งที่ไปงานศพ เราควรมองเรื่องความตายด้วยสายตาแห่งพระคุณขององค์พระเยซูคริสต์

โจ เบย์ลี่ เสียชีวิตไปแล้ว เคยเขียนหนังสือชื่อ "วิวจากรถบันทุกศพ" เป็นหนังสือที่ดีมาก สำหรับคริสเตียน และความตาย ตอนหลังนำกลับมาพิมพ์ใหม่ ชื่อหนังสือถูกเปลี่ยนไป; ถ้าจำไม่ผิด คิดว่าเปลี่ยนเป็นชื่อ "สิ่งสุด ท้ายที่เราอยากพูดถึง" แต่ผมชอบชื่อแรกมากกว่า ผมคิดว่าเราทุกคนควรมองชีวิตของเราจากหน้าต่างของ รถบันทุกศพ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เมื่อเวลาตายใกล้เข้ามา มักจะจัดเตรียมทำสิ่งต่างๆตามลำดับ ความสำคัญ ผมเคยดูหนังที่พระเอก มัลคอล์ม มักเกอร์ริดจ์ แสดงตอนที่ต้องเข้าไปยังสุสานประจำตระกูล เขา พูดทำนองว่า : "ผมยืนอยู่ตรงที่ครอบครัวผมถูกฝังไว้ และรู้ดีว่า อีกไม่นานผมจะเป็นหนึ่งในนั้น ผมอยากจะ บอกว่า เมื่อผมมองชีวิตย้อนกลับไป ผมเริ่มตระหนักว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่ผมเคยเกรงกลัวในวัยเยาว์ เดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยคุณค่า เป็นยิ่งกว่ารางวัลชีวิต ในทางกลับกัน สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด กลับกลายเป็นเรื่องไร้สาระ และหาค่าไม่ไ้ด้เอาเสียเลย"

หลายคน ในยามที่ชีวิตบรรเจิด เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต สิ่งที่เห็นและความรู้สึกจะต่างไปจากเดิมมาก ดาวิดก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ในยามที่ท่านขึ้นสู่จุดสูงสุด มองสิ่งต่างๆไม่เพียงแค่มุมมองในอดีตเท่านั้น แต่ด้วยความ หวังใจอันเป็นนิรันดร์ 117 บทเพลงสดุดีเจ็ดข้อแรกของพระธรรม 2 ซามูเอล 23 คล้ายๆกับมุมมองผ่านหน้า ต่างของรถบันทุกศพ 118 มีการบันทึกไว้ว่า นี่คือคำพูดสุดท้ายของดาวิด ก่อนที่ท่านจะอำลาโลกนี้ (ข้อ 1) เมื่อวาระสุดท้ายของท่านไกล้เข้ามา ท่านมองชีวิตของท่านย้อนกลับไป และมองไปข้างหน้า ด้วยใจที่เปี่ยม ไปด้วยความหวัง อันเป็นนิรันดร์

บทเพลงสดุดีในตอนต้นของ 2 ซามูเอล 23 อาจดูไม่น่าเกี่ยวข้องกับที่เหลือของบท ที่เต็มไปด้วยชื่อเสียง เรียงนาม และการประกาศเกียรติคุณของเหล่าวีรบุรุษ ที่มีส่วนในความสำเร็จร่วมกันกับดาวิด อันที่จริง ผมว่า มันเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะได้เห็นต่อไป ตอนนี้ผมขอพูดแต่เพียงว่า พระธรรมบทนี้ทั้งบท เป็น เรื่องของความยิ่งใหญ่ ข้อ 1-7 เราจะเห็นว่ามีสิ่งใดอยู่เบื้องหลังกษัตริย์ที่ใหญ่ยิ่งท่านนี้ ส่วนข้อ 8-39 เป็น เรื่องราวของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่สองท่าน ที่รวมอยู่ใน "ทั้งสาม" และในทั้ง "สามสิบ" มีการอธิบายถึงความ สามารถของวีรบุรุษเหล่านี้ และพูดถึงว่าบุคคลสำคัญเหล่านี้ เหตุใดจึงนับว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในสายพระเนตร พระเจ้า

เราใกล้จะถึงบทสรุปตอนจบของพระธรรม 2 ซามูเอลแล้ว (แต่ในต้นฉบับภาษาฮีบรูมีเพียงพระธรรม "ซามูเอล" เท่านั้น ทั้ง 1 และ 2 เป็นเล่มเดียวกัน) ; อันที่จริงบทที่ 21-24 นับว่าเป็นเรื่องเดียว เป็นเหมือน บทส่งท้ายที่ผู้เขียนใช้สรุปเรื่องราวทั้งหมด ขอให้เราเรียนรู้ถึงเบื้องหลังความสำเร็จของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ของพระเจ้าท่านนี้ ขอให้เราตั้งใจฟังในสิ่งที่ผู้เขียนพยายามสอนเราจากพระธรรมทั้งสองเล่ม

บทเพลงการช่วยกู้ของดาวิด
(23:1-7)
119

1 ต่อไปนี้เป็นวาทะสุดท้ายของดาวิด ดาวิดบุตรเจสซีได้กล่าว และชายที่ได้รับการ แต่งตั้งขึ้นให้สูงได้กล่าว คือผู้ที่ถูกเจิมตั้งไว้ของพระเจ้าแห่งยาโคบ นักแต่งสดุดีอย่าง ไพเราะของอิสราเอล ได้กล่าวดังนี้ว่า 2 "โดยข้าพเจ้า พระวิญญาณของพระเจ้าได้ตรัส พระวจนะของพระองค์อยู่ที่ลิ้นของข้าพเจ้า 3 พระเจ้าแห่งอิสราเอลทรงลั่นพระวาจา พระศิลาแห่งอิสราเอลได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า เมื่อผู้หนึ่งปกครองมนุษย์โดยชอบธรรม คือปกครองด้วยความยำเกรงพระเจ้า 4 เขาทอแสงเหนือประชาชนเหมือนแสงอรุณ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น คือรุ่งเช้าที่ไม่มีเมฆ ซึ่งเมื่อภายหลังฝน กระทำให้หญ้างอกออก
จากดิน 5 เออ พงศ์พันธุ์ของข้าพเจ้าตั้งมั่นอยู่กับพระเจ้ามิใช่หรือ เพราะพระองค์ทรง กระทำพันธสัญญาเนืองนิตย์กับข้าพเจ้าไว้ อันเป็นระเบียบทุกอย่างและมั่นคง เพราะ พระองค์จะไม่ทรงกระทำ ให้ความอุปถัมภ์และความปรารถนาของข้าพเจ้า 120 สัมฤทธิ์ผล
หรือ 6 แต่คนที่อธรรมก็เป็นเหมือนหนามที่ต้องผลักไสไป เพราะว่าจะเอามือหยิบก็ไม่ได้
7 แต่คนที่ถูกต้องมัน ต้องมีอาวุธที่ทำด้วยเหล็กและมีด้ามหอก และต้องเผาผลาญเสีย ให้สิ้นเชิงด้วยไฟ"

จากข้อ 1 บทเพลงสดุดีของดาวิดบทนี้เป็นวาทะสุดท้าย ของท่าน แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อท่านกล่าวจบ ท่านสิ้นชีวิตในทันที121 ไม่มีโอกาสได้กล่าวอะไรต่อ แต่หมายความว่าเป็นถ้อยคำสุดท้ายในรูปแบบของ บทสดุดีที่มีการบันทึกไว้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างจะเห็นด้วยตามวรรคตอนของฉบับแปล NASB ที่เริ่มใช้ เครื่องหมายเปิดคำพูดที่ข้อ 2 แทนที่จะเป็นข้อ 1 ผมเข้าใจว่าผู้แปล (และที่สำคัญที่สุด เนื้อหาของพระธรรม ตอนนี้) ผู้เขียน 2 ซามูเอล ใช้ข้อ 1 เป็นคำเกริ่นนำ คงไม่ใช่ดาวิดแน่ ที่พูดถึงตนเองแบบนี้ ("ชายที่ได้รับ การแต่งตั้งให้ขึ้นสูง;" "นักแต่งสดุดีอย่างไพเราะของอิสราเอล") น่าจะเป็นผู้เขียนมากกว่า ดาวิดเป็น ดังที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในข้อ 1 ทุกประการ แต่ตัวท่านเองคงไม่กล่าวแนะนำตนเองแบบนั้น ผมว่าถ้าอ่านดูดีๆ น่า จะเป็นตามที่ผมเข้าใจ

จากเด็กหนุ่มธรรมดาๆ บุตรชายคนสุดท้องของเจสซี ผู้ไม่มีความสำคัญใดๆในอิสราเอล ดาวิดได้รับการยกชู ขึ้นโดยพระเจ้า ท่านเป็นผู้ที่ "ได้รับการเจิม" ให้เป็นกษัตริย์ เป็นบุตรหลานของยาโคบ หรืออิสราเอล อันที่ จริงเป็นบุตรหลานของยาโคบก็ไม่น่ามีอะไรมาอวดอ้างได้ แต่สิ่งนี้เป็นตัวเชื่อมโยงท่านเข้าในพันธสัญญา อับราฮัม (ปฐก. 12:1-3, ฯลฯ) และด้วยพระสัญญาที่มีต่อยาโคบ โดยทางบุตรของท่านยูดาห์ พระเมสซิยาห์ (ผู้ได้รับการเจิมไว้) จะทรงมาบังเกิด(ปฐก. 49:8-10)

ถ้อยคำของดาวิดเริ่มต้นจากข้อ 2 ท่านเริ่มด้วยการอ้างถึงความจริงว่า ถ้อยคำเหล่านี้ท่านไม่ได้พูดเอง แต่ ถ่ายทอดมาจากพระเจ้า ที่ได้ทรงตรัสผ่านท่าน ท่านจึงถวายเกียรติแด่พระวิญญาณบริสุทธิ์ ผู้ทรงกระทำการ ผ่านท่าน สิ่งนี้สอดคล้องกับพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ ที่พูดถึงดาวิด และผู้เขียนอีกหลายคนในพระคัมภีร์ เดิม:

10 บรรดาผู้เผยพระวจนะผู้ได้พยากรณ์ถึงพระคุณซึ่งจะบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย ก็ได้สืบค้นและสอบถามเกี่ยวกับเรื่องความรอดนี้ 11 เขาได้สืบค้นหาบุคคล และ
เวลา ซึ่งพระวิญญาณของพระคริสต์ผู้ทรงสถิตอยู่ในตัวเขาได้ทรงบ่งไว้ เมื่อเขา ได้ทำนายถึงความทุกข์ทรมานของพระคริสต์ และถึงพระสิริที่จะมาภายหลัง 12 ก็ทรงโปรดเผยให้ผู้เผยพระวจนะเหล่านั้นทราบว่า ที่เขาเหล่านั้นได้ปรนนิบัติใน
เหตุการณ์ทั้งปวงนั้น ไม่ใช่สำหรับเขาเองแต่สำหรับท่านทั้งหลาย บัดนี้คนเหล่านั้น ที่ประกาศข่าวประเสริฐแก่ท่านทั้งหลาย ก็ได้กล่าวสิ่งเหล่านั้นแก่ท่านแล้ว
(1 เปโตร 1:10-12)

20 ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจข้อนี้ก่อน คือผู้หนึ่งผู้ใดจะตีความหมายคำของผู้เผย พระวจนะในพระคัมภีร์เอาเองไม่ได้ 21 เพราะว่าคำของผู้เผยพระวจนะนั้น ไม่ได้มา จากความคิดในจิตใจของมนุษย์ แต่มนุษย์ได้กล่าวคำซึ่งมาจากพระเจ้า ตามที่ พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงดลใจเขา (2 เปโตร 1:20-21)

16 "ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย จำเป็นจะต้องสำเร็จตามพระคัมภีร์ ซึ่งพระวิญญาณ บริสุทธิ์ได้ตรัสไว้โดยโอษฐ์ของกษัตริย์ดาวิด ด้วยเรื่องยูดาส ซึ่งเป็นผู้นำทาง
คนที่ไปจับพระเยซู (กิจการ 1:16)

ดังนั้นถ้อยคำของดาวิด จึงเป็นถ้อยคำของพระเจ้า ที่ไม่ได้แตกต่างจากพระคัมภีร์ตอนอื่นๆ เพราะพระคัมภีร์ทุก ตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า เป็นถ้อยคำที่มาจากพระเจ้า พระเจ้าตรัสกับดาวิดถึงองค์ประกอบของกษัตริย์ ที่ปกครองโดยความชอบธรรม กษัตริย์ของพระเจ้าต้องเป็นกษัตริย์ที่ปกครองผู้อื่นอย่างชอบธรรม ความชอบ ธรรมเช่นนี้ เกิดจากสัมพันธภาพที่ยำเกรงในพระเจ้า (ข้อ 3) กษัตริย์ต่างชาติมักมีความคิดว่าตนเองต้องอยู่ เหนือผู้อื่น ; กษัตริย์ของพระเจ้าต้องคิดว่าตนเองนั้นอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระเจ้า สิ่งนี้ปรากฎชัดเป็นพยาน ในองค์จอมกษัตริย์ของเรา องค์พระเยซูคริสต์ :

30 "เราจะทำสิ่งใดตามอำเภอใจไม่ได้ เราได้ยินอย่างไรเราก็พิพากษาอย่างนั้น และการพิพากษาของเราก็ยุติธรรม เพราะเรามิได้มุ่งที่จะทำตามใจของเราเอง แต่ตามพระประสงค์ของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา (ยอห์น 5:30)

6 และพระเยซูจึงเสด็จไปกับเขา เมื่อไปเกือบจะถึงตึกแล้ว นายร้อยจึงใช้เพื่อน ฝูงไปหาพระองค์ทูลว่า "พระองค์เจ้าข้า อย่าลำบากเลย เพราะว่าข้าพระองค์เป็น คนไม่สมควรที่จะรับเสด็จพระองค์เข้าใต้ชายคาของข้าพระองค์ 7 เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงคิดเห็นว่า ไม่สมควรที่ข้าพระองค์จะไปหาพระองค์ด้วย แต่ขอพระ
องค์ตรัสสั่ง และบ่าวของข้าพระองค์จะหายโรค 8 ข้าพระองค์ทราบดี เพราะเหตุว่า ข้าพระองค์อยู่ใต้วินัยทหาร แต่ก็ยังมีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาของข้าพระองค์ ข้า
พระ องค์จะบอกแก่คนนี้ว่า 'ไป' เขาก็ไป บอกแก่คนนั้นว่า 'มา' เขาก็มาบอกบ่าว ของข้าพระองค์ว่า 'จงทำสิ่งนี้' เขาก็ทำ" 9 เมื่อพระเยซูทรงได้ยินคำเหล่านั้นแล้ว ก็ประหลาดพระทัยด้วยคนนั้น จึงทรงเหลียวหลังตรัสกับประชาชนที่ตามพระองค์มา
ว่า "เราบอกท่านทั้งหลายว่า แม้ในพวกอิสราเอล เราไม่เคยพบศรัทธามากเท่านี้"
(ลูกา 7:6-9, ผมขอย้ำด้วย)

พูดในแบบพระคัมภีร์ กษัตริย์ของพระเจ้าจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นบุตรของพระเจ้าด้วย (ดู 2 ซามูเอล 7:14; สดุดี 2:7) ไม่ใช่ในแง่เป็นผู้สืบเชื้อสายของพระเจ้า แต่ในแง่ว่าเป็นข้ารับใช้ของพระบิดา

ผลของการปกครองโดยชอบธรรม จะนำมาซึ่งพระพรสู่ประชาชน แต่การปกครองของกษัติรย์อธรรม จะนำมา ซึงความเดือดร้อนในแผ่นดิน :

15 ผู้ครอบครองที่ชั่วร้ายเหนือคนยากจน ก็เหมือนสิงห์คำรามหรือหมีที่กำลังเข้าต่อสู้ (สุุภาษิต 28:15)

2 เมื่อคนชอบธรรมทวีอำนาจ ประชาชนก็เปรมปรีดิ์ แต่เมื่อคนชั่วร้าย ครอบครองประชาชนก็คร่ำครวญ (สุภาษิต 29:2)

ดังนั้นเราจึงเห็นว่าพระวจนะคำย้ำหนักแน่นว่า กษัตริย์จำต้องปกครองด้วยความชอบธรรม :

10 คำตัดสินอันมาจากพระเจ้าอยู่ที่ ริมฝีพระโอษฐ์ของพระราชา พระโอษฐ์ ของพระองค์ไม่บาปในการพิพากษา 11 ตราชูและตาชั่งเที่ยงตรงเป็นของพระ
เจ้า ลูกตุ้มทั้งสิ้นในถุงเป็นพระราชกิจของพระองค์ 12 การกระทำความชั่วร้าย เป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่าชังต่อพระราชา เพราะว่าพระที่นั่งนั้นถูกสถาปนาไว้ด้วย
ความชอบธรรม 13 ริมฝีปากที่ชอบธรรมเป็นที่ปีติยินดีแก่พระราชา และพระองค์ ทรงรักบุคคลผู้พูดสิ่งที่ถูก (สุภาษิต16:10-13)

8 พระราชาผู้ประทับบนบัลลังก์พิพากษา ย่อมทรงฝัดความชั่วออกด้วยพระเนตร
ของพระองค์ (สุภาษิต 20:8)

26 พระราชาที่ฉลาดย่อมฝัดคนชั่วร้าย แล้วทรงขับกงจักรทับเขา 27 มโนธรรม ของมนุษย์เป็นประทีปของพระเจ้า ส่องดูส่วนลึกที่สุดของเขาทั้งสิ้น 28 ความ จงรักภักดีและความซื่อสัตย์สงวนพระราชาไว้ และความชอบธรรมก็เชิดชูพระที่นั่ง
ของพระองค์ไว้ (สุภาษิต 20:26-28)

ดาวิดพรรนาถ้อยคำเดียวกันนี้เป็นบทกวี (ด้วย) ท่านเปรียบกษัตริย์ผู้ชอบธรรมว่า จะทอแสงเหมือนแสงอรุณ ในยามเช้า (ข้อ 4ก) ซื่งเมื่อหลังฝน จะสร้างความอบอุ่น ทำให้หญ้าเจริญงอกงามขึ้นจากดิน (ข้อ 4ข) การ ปกครองด้วยความชอบธรรม จะก่อให้เกิดผลมากมาย ; แต่ความอธรรมจะเป็นตัวการคอยครอบคลุมและขัด ขวาง คุณว่าเราเคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาก่อนมั้ย ในสมัยที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ยังเฟื่องฟู?

ในข้อ 5 ท่านเปลี่ยนมาพูดเรื่องพงศ์พันธุ์ของท่าน (ราชวงศ์ของท่าน) ฉบับ KJV และ NKJV ใช้ประโยคแรก ตรงข้ามกับฉบับอื่นๆ :

วงศ์วานของข้าพเจ้าจะไม่ตั้งอยู่กับพระองค์หรือ? ; ถึงกระนั้นพระองค์ทรงทำ พันธสัญญานิรันดร์กับข้าพเจ้า ในทุกสิ่ง อย่างเป็นระเบียบมั่นคง: นี่เป็นความ อุปถัมภ์ทั้งสิ้นของข้าพเจ้า เป็นความปราถนาทั้งสิ้นของข้าพเจ้า พระองค์จะ ไม่ทรงกระทำให้มันงอกงามขึ้นหรือ (KJV)

"เออ พงศ์พันธุ์ของข้าพเจ้าตั้งมั่นอยู่กับพระเจ้ามิใช่หรือ เพราะพระองค์ ทรงกระทำพันธสัญญาเนืองนิตย์กับ ข้าพเจ้าไว้ อันเป็นระเบียบทุกอย่าง และมั่นคง เพราะพระองค์จะไม่ทรงกระทำ ให้ความอุปถัมภ์และความ ปรารถนาของข้าพเจ้าสัมฤทธิ์ผลหรือ?" (NKJV)

ลองเปรียบเทียบกับฉบับของ NIV, NAB และ NRS :

"พงศ์พันธุ์ของข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งมั่นอยู่กับพระองค์หรือ? พระองค์ไม่ได้ทรงทำ พันธสัญญานิรันดร์กับข้าพเจ้าหรือ? ไม่ได้ทรงทำให้ทุกสิ่งมั่นคงหรือ? จะไม่ทรง ทำให้ความอุปถัมภ์และความปรารถนาทั้งสิ้นของข้าพเจ้าเกิดผลหรือ?" (NIV)

"แท้จริงพงศ์พันธุ์ของข้าพเจ้าไม่ตั้งมั่นอยู่กับพระเจ้าหรือ? เพราะพระองค์ทรงทำ พันธสัญญานิรันดร์กับข้าพเจ้า ทุกสิ่งจึงเป็นระเบียบและมั่นคง ; พระองค์จะไม่ทรง ทำให้ความอุปถัมภ์ และความปรารถนาทั้งสิ้นของข้าพเจ้าสัมฤทธิ์ผลหรือ?" (NAB)

พงศ์พันธุ์ของข้าพเจ้าไม่เป็นเช่นนั้นกับพระเจ้าหรือ? พระองค์ได้ทรงทำพันธ สัญญานิรันดร์กับข้าพเจ้า ทุกสิ่งตั้งอยู่ในระเบียบและมั่นคง พระองค์จะไม่ทรง ช่วยให้ทุกสิ่ง และความปรารถนาทั้งสิ้นของข้าพเจ้าเกิดผลหรือ? (NRS)

ผู้แปลมีตัวเลือกให้ใช้ ผู้แปลฉบับบ King James Versions (ทั้งเก่าและใหม่) เลือกที่จะใช้ประโยคแรกเป็น ประโยคเชิงปฏิเสธ ; คนอื่นๆเลือกใช้ตรงข้าม จะแบบใดก็ตาม ความหมายที่ดาวิดสื่อนั้นชัดเจน ดาวิดเริ่มด้วย การย้ำถึงตัวท่านและพงศ์พันธุ์ด้วยความถ่อมใจ เมื่อเทียบกับพระคุณมากมายที่พระเจ้าประทานให้กับวงศ์วาน ของท่านทางพันธสัญญาดาวิด : "ไม่ว่าข้าพเจ้าหรือวงศ์วานของข้าพเจ้าไม่สมควรได้รับสิ่งนี้ แต่พระเจ้าก็ทรง ทำพันธสัญญากับข้าพเจ้า เป็นพันธสัญญาที่มั่นได้ใจว่าจะเป็นการปกครองด้วยความชอบธรรมชั่วนิรันดร" ดาวิดยังคงย้ำต่อไปถึงพระคุณของพระเจ้าที่มีต่อตัวท่าน และที่ผ่านทางท่าน : "อันที่จริง นี่ไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้า ทรงประทานให้ข้าพเจ้าหรือ ทำให้การปกครองของข้าพเจ้าและผู้สืบทอด ปกครองด้วยความชอบธรรม โดย ประทานพันธสัญญานิรันดร์ให้กับข้าพเจ้าหรือ?"

ผลที่สุดแล้ว ดาวิดมีความมั่นใจ จนกล้าพูดได้ว่า วงศ์วานของท่านจะปกครองด้วยความชอบธรรม ที่เป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะคุณความดีของดาวิด หรือความชอบธรรมของท่าน แต่เป็นพระคุณพระเจ้า ที่ประทานให้ทางพันธ สัญญาดาวิด (2 ซามูเอล 7:14) ด้วยพระสัญญานี้เอง ดาวิดสามารถวางใจได้ ว่าการปกครองจะเป็นไปโดย ชอบธรรม ปิดผนึก ประทับตรา และส่งถึงมือผู้รับ122 ทุกอย่างจะเป็นไปตามนั้น (อย่างถาวรและตลอดไป) ใน องค์พระบุคคลของพระเมสซิยาห์ องค์พระเยซูคริสต์ 123 นี่เป็นความรอดและความปรารถนาทั้งสิ้นที่พระเจ้า ให้เกิดขึ้น พระองค์ทรงเป็นทั้งผู้จัดเตรียม และผู้กระทำให้สำเร็จทุกประการ บทเพลงการช่วยกู้ของดาวิดมุ่ง อยู่ที่พระเจ้า ทุกสิ่งเป็นมาจากพระองค์ โดยทางพระองค์ และในพระองค์

ลองดูว่าบทเพลงนี้สร้างผลกระทบอย่างไรให้กับซาโลมอน ตามบทเพลงที่ซาโลมอนเขียนขึ้น:
(บทสดุดีของซาโลมอน )
1 ข้าแต่พระเจ้า ขอประทานความ ยุติธรรมของพระองค์แก่พระราชา และความ ชอบธรรมของพระองค์แก่ราชโอรส 2 เพื่อท่านจะได้พิพากษาประชากรของ พระองค์ ด้วยความชอบธรรม และคนยากจนของพระองค์ด้วยความยุติธรรม 3 ให้ภูเขาบังเกิด สันติสุขสำหรับประชาชน และเนินเขา โดยความชอบธรรม 4 ขอท่านสู้คดีของคน
ยากจน แห่งประชาชน ให้การช่วยกู้แก่ลูกหลานของคนขัดสน และขยี้ผู้บีบบังคับ
5 ขอให้ท่านดำรงชีวิตตราบที่ดวงอาทิตย์คงอยู่ ตราบเท่าดวงจันทร์ ตลอดชาติพันธุ์
6 ขอให้ท่านเป็นเหมือนฝนที่ตกบนหญ้าที่ตัดแล้ว เหมือนห่าฝนที่รดแผ่นดินโลก 7
ในสมัยของท่าน ขอความชอบธรรมเจริญขึ้น และสันติภาพอันอุดม จนไม่มีดวงจันทร์
(สดุดี 72:1-7)

ลองมาดูว่าผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ในยุคหลัง นำบทเพลงของดาวิดบทนี้มาพูดถึงคำพยากรณ์ ที่สำเร็จเป็น จริงแล้วในองค์พระเยซูคริสต์อย่างไร :

1 จะมีหน่อแตกออกมาจากตอแห่งเจสซี จะมีกิ่งงอกออกมาจากรากทั้งหลาย
ของเขา 2 และพระวิญญาณของพระเจ้าจะอยู่บนท่านนั้น คือวิญญาณแห่ง
ปัญญาและความเข้าใจ วิญญาณแห่งการวินิจฉัยและอานุภาพ วิญญาณแห่งความรู้และความยำเกรงพระเจ้า 3 ความพึงใจของท่านก็ในความยำเกรง
พระเจ้า ท่านจะไม่พิพากษาตามซึ่งตาท่านเห็น หรือตัดสินตามซึ่งหูท่านได้ยิน
4 แต่ท่านจะพิพากษาคนจนด้วยความชอบธรรม และตัดสินเผื่อผู้มีใจถ่อมแห่ง
แผ่นดินโลก ด้วยความเที่ยงธรรม ท่านจะตีโลกด้วยตะบองแห่งปากของท่าน และท่านจะประหารคนอธรรมด้วยลมแห่งริมฝีปากของ ท่าน 5 ความชอบธรรม จะเป็นผ้าคาดเอวของท่าน และความสัตย์สุจริตจะเป็นผ้าคาดบั้นเอวของท่าน
(อิสยาห์ 11:1-5)

1 "พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า "ดูเถิด วันนั้นจะมาถึง คือวันที่จะเผาไหม้เหมือน
เตาอบ เมื่อคนที่อวดดีทั้งสิ้น และคนที่ประกอบการอธรรมทั้งหมดจะเป็นเหมือน
ตอข้าว วันที่จะมานั้นจะไหม้เขาหมด จนไม่มีรากหรือกิ่งเหลืออยู่เลย 2 แต่ดวง อาทิตย์แห่งความชอบธรรมซึ่งมีปีกรักษาโรคภัยได้ จะขึ้นมาสำหรับคนเหล่านั้น
ที่ยำเกรงนามของเรา เจ้าจะกระโดดโลดเต้นออกไปเหมือนลูกวัวออกไปจากคอก
(มาลาคี 4:1-2)

ดาวิดไม่ใช่นักสากลนิยม คิดเอาเองว่าพระพรที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีไว้เพื่อมวลมนุษยชาติ การช่วยกู้ที่ท่านพูด ถึงนั้น เป็นความปรารถนา เป็นความชื่นชมยินดีของตัวท่านเอง ด้วยว่าไม่ใช่มนุษย์ทุกคนที่จะมีความหวังใจ และวางใจในพระเจ้า พึ่งพิงความรอดของพระองค์ ดังนั้นในตอนจบบทเพลงของท่าน ท่านจึงวกกลับมาที่ ปลายทางของคนอธรรม คนที่ปฏิเสธพระคุณความรอดของพระเจ้าโดยทางองค์พระเมสซิยาห์ ผู้ที่พระเจ้า เจิมไว้ ข้อ 6 และ 7 เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกับข้อ 4 เพียงแต่เป็นเชิงเปรียบเทียบ เมื่อกษัตริย์ผู้ชอบธรรมของ อิสราเอล (พระเยซูคริสต์) มาปกครองโลกนี้ อาณาจักรของพระองค์จะทำให้ผู้ชอบธรรมจำเริญขึ้น เช่นเดียว กับฝนที่ทำให้หญ้าเกิดขึ้นและงอกงาม แต่คนอธรรมไม่เป็นเช่นหญ้า ; กลับเป็นเหมือนพงหนาม หนามที่ไร้ค่า ไม่มีใครอยากเก็บไว้ หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ ไม่มีใครอยากยื่นมือไปแตะต้อง มีแต่ต้องทำลายทิ้ง และการจะ ทำลาย ต้องระวังให้ดี มิฉะนั้นอาจบาดเจ็บ ต้องใช้อาวุธที่ทำด้วยเหล็ก ตัดทำลาย สับมัน และโยนเข้ากองไฟ เผาทิ้งไป

น่าเป็นเวลาเหมาะ ที่จะนำสิ่งที่ดาวิดเขียนไว้สะท้อนออกมา ข่าวประเสริฐในพระคัมภีร์ ไม่ใช่เป็นคำสัญญา ว่าความรอดนิรันดร์จะไปถึงมนุษย์ทุกคน แต่เป็นการมอบความรอดให้กับมนุษย์ทุกคน ถึงแม้พระเจ้าทรงจัด เตรียมหนทางไว้ให้ คนอธรรมทั้งหลาย ก็ยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับ และเมื่อพวกเขาปฏิเสธ พวกเขาจึงต้อง พินาศในบึงไฟนรก ถ้าจะพูดให้ชัดๆอย่างไม่เกรงใจก็คือ ปลายทางของคนอธรรมทุกคน คือนรกแน่นอน :

4 ข้าพเจ้าได้เห็นบัลลังก์หลายบัลลังก์ และผู้ที่นั่งบนบัลลังก์นั้น เป็นผู้ที่จะ
พิพากษา และข้าพเจ้ายังได้เห็นดวงวิญญาณของคนทั้งปวงที่ถูกตัดศีรษะ เพราะเป็นพยานของพระเยซูและเพราะพระวจนะของพระเจ้า และผู้ที่ไม่ได้ บูชาสัตว์ร้ายนั้นหรือรูปของมัน และไม่ได้ติดเครื่องหมายของมันไว้ที่หน้าผาก
หรือที่มือของเขา คนเหล่านั้นกลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่ และได้ครอบครองร่วมกับ พระคริสต์เป็นเวลาพันปี 5 นอกจากคนเหล่านี้คนอื่นๆ ที่ตายแล้วไม่ได้กลับ มีชีวิตอีกจนกว่าจะครบกำหนดพันปี นี่แหละคือการฟื้นจากความตายครั้งแรก
11 ข้าพเจ้าได้เห็นพระที่นั่งใหญ่สีขาวและเห็นท่านผู้ประทับบนพระที่นั่งนั้น เมื่อพระองค์ทรงปรากฏแผ่นดินโลกและท้องฟ้าก็หายไป และไม่มีที่อยู่สำหรับ แผ่นดินโลกและท้องฟ้าเลย 12 ข้าพเจ้าได้เห็นบรรดาผู้ที่ตายแล้ว ทั้งผู้ใหญ่ และผู้น้อยยืนอยู่หน้าพระที่นั่งนั้น และหนังสือต่างๆก็เปิดออก หนังสืออีกเล่ม
หนึ่งก็เปิดออกด้วย คือหนังสือชีวิต และผู้ที่ตายไปแล้วทั้งหมด ก็ถูกพิพากษา ตามข้อความที่จารึกไว้ในหนังสือเหล่านั้น และตามที่เขาได้กระทำ13 ทะเลก็ส่ง
คืน คนทั้งหลายที่ตายในทะเล ความตายและแดนมรณาก็ส่งคืนคนทั้งหลายที่
อยู่ในแดนนั้น และคนทั้งหลายก็ถูกพิพากษาตามการกระทำของตนหมดทุกคน
14 แล้วความตาย และแดนมรณาก็ถูกผลักทิ้งลงไปในบึงไฟ บึงไฟนี่แหละเป็น
ความตายครั้งที่สอง 15 และถ้าผู้ใดที่ไม่มีชื่อจดไว้ในหนังสือชีวิต ผู้นั้นก็ถูกทิ้ง
ลงไปในบึงไฟ (วิวรณ์ 20:4-5, 11-15)

ข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณ เรื่องความรอดที่ประทานให้กับมนุษย์ทุกคน จะไม่สามารถป่าวประกาศออก ไปได้ หากปราศจากคำเตือนเรื่องการพิพากษาที่จะมาถึง บทเพลงการช่วยกู้ของดาวิด มองไกลไปในอนาคต เมื่อจอมกษัตริย์ของพระเจ้าเสด็จมา "บุตรดาวิด" คือองค์พระเยซูคริสต์ ผู้เสด็จมาพร้อมกับการช่วยกู้บรรดา ผู้ชอบธรรม (ในพระเยซู) และการพิพากษาที่จะมีไปถึงคนอธรรม (ไม่มีส่วนกับพระคริสต์) ที่สุดแล้ว "การช่วย กู้" ของดาวิด ไม่ใช่โดยกำลังทหาร หรือกำลังฝ่ายกาย แต่เป็นจิตวิญญาณ

ก่อนจะเรียนต่อ ผมขอยกตัวอย่างถึงสิ่งที่กล่าวไป ว่าเกี่ยวข้องกับเรา หรือเราจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อย่างไร ประการแรก ความชอบธรรมควรสะท้อนออกมาจากบรรดาผู้ที่พระเจ้าเลือกให้เป็นผู้นำ ความชอบ ธรรมก่อกำเนิดมาจากพระราชกิจของพระเยซูคริต์ ไม่ใช่มาจากตัวเรา สะท้อนมาจากจิตใจที่เมตตาในผู้ทุกข์ ยากขัดสน และการตอบสนองของเราที่มีต่อคนอธรรม มีกี่ครั้งกันที่พ่อแม่มีวิธีจัดการกับลูกๆได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ยอมจัดการกับเรื่องความบาปในตัวลูก พระคัมภีร์สั่งเราให้กำจัดความชั่วออกไป และยึดมั่นในสิ่งดีงาม (โรม 12:9) ความชอบธรรมสะท้อนออกมาได้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ถ้าละเลยแง่หนึ่งแง่ใดไป คือการไม่ได้ ปฏิบัติอย่างชอบธรรมตามพระประสงค์ของพระเจ้า ที่มีต่อบรรดาผู้นำ

วีรบุรุษของดาวิด: ประวัติความกล้าหาญ
ทั้งสาม (23: 8-12) และทั้งสามสิบ (23:13-39)

    คนทั้งสาม (ข้อ 8-12)

8 ต่อไปนี้เป็นชื่อวีรบุรุษที่ดาวิดทรงมีอยู่ คือ โยเชบบัสเชเบธตระกูลทัคโมนี เป็นจอม ในคนทั้งสามนั้น เขาเหวี่ยงหอกเข้าแทงคนแปดร้อยคน ซึ่งเขาได้ฆ่าเสียในครั้งเดียว
9 ในจำนวนวีรบุรุษสามคน คนที่รองคนนั้นมา คือเอเลอาซาร์บุตรโดโด ผู้เป็นบุตรของ
อาโหไฮ ท่านอยู่กับดาวิดตั้งแต่ครั้งที่เขาทั้งหลายได้ พูดหยามพวกฟีลิสเตียซึ่งชุมนุมกัน ที่นั่นเพื่อสู้รบ และคนอิสราเอลก็ถอยทัพ 10 ท่านได้ลุกขึ้นฆ่าฟันพวกฟีลิสเตีย จนมือของ
ท่านเป็น เหน็บแข็งติดดาบ ในวันนั้นพระเจ้าทรงกระทำให้ได้ชัยชนะอย่างใหญ่หลวง ทหารก็กลับตามท่านมา เพื่อปลดข้าวของจากผู้ที่ถูกฆ่าตายเท่านั้น 11 รองเขามาคือชัมมาห์ บุตรอาเกชาวฮาราร์ คนฟีลิสเตียมาชุมนุมกันอยู่ที่เลฮี เป็นที่ที่มีพื้นดินผืนหนึ่งมีถั่วแดงเต็ม
ไปหมด พวกพลก็หนีพวกฟีลิสเตียไป 12 แต่ท่านยืนมั่นอยู่ ท่ามกลางพื้นดินผืนนั้น และป้อง กันที่ดินนั้นไว้ และฆ่าฟันคนฟีลิสเตีย และพระเจ้าได้ทรงประทานชัยชนะอย่างใหญ่หลวง

วีรบุรุษคนกล้าคนแรกจาก "ทั้งสาม" คือโยเชบบัสเชเบธ เป็นหัวหน้าของทั้งสาม มีการบันทึกไว้ว่า ท่านได้ สังหารคนเสีย 800 คนในเวลาเดียว แต่ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในพระธรรมพงศาวดารนั้นต่างออกไป:

11 ต่อไปนี้เป็นจำนวนวีรบุรุษของดาวิดคือยาโชเบอัม ตระกูลฮัคโมนีเป็นหัวหน้า
ของคนทั้งสาม เขายกหอกของเขาสู้คนสามร้อย และฆ่าเสียในคราวเดียวกัน
(1 พงศาวดาร 11:11)

ชื่อหรือจำนวนที่ต่างกันนี้ ไม่น่าถือว่าเป็นเรื่องประหลาดหรือใหญ่โตอย่างใด จำนวนอาจดูแตกต่างค่อนข้าง มากหน่อย124 ใน 2 ซามูเอล เราอ่านพบว่าวีรบุรุษท่านนี้ฆ่าคน 800 คนในคราวเดียว ; ในพงศาวดารบอก ว่าฆ่าไปเพียง 300 เท่านั้น คงยากที่จะบอกว่าพระธรรมฉบับใหนคัดลอกผิดพลาด จะอย่างไรก็ตาม บุคคลที่ สามารถต่อสู้และฆ่าศัตรูหลายร้อยคนได้ในการรบครั้งเดียว ย่อมต้องนับว่าเป็นวีรบุรุษสงคราม

วีรบุรุษรองของหนึ่งในสามคือเอเลอาซาร์บุตรโดโดชาวอาโหไฮ ในพงศาวดารบันทึกเรื่องวีรกรรมของท่าน เอาไว้ด้วย:

12 และในคนทั้งสาม คนที่ถัดเขาไปคือเอเลอาซาร์ บุตรโดโดตระกูลอาโหอาห์
13 เขาอยู่กับดาวิดที่ปัสดัมมิม เมื่อคนฟีลิสเตียชุมนุมกันทำสงคราม ที่นั่นมีที่ดินแปลงหนึ่งมีข้าวบาร์ลีเต็มไปหมด และคนทั้งหลายก็หนีจากคนฟีลิสเตีย 14 แต่
เขา ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางที่ดินแปลงนั้น และป้องกันมันไว้ ได้ฆ่าคนฟีลิสเตียเสีย และพระเจ้าทรงช่วยเขาทั้งหลาย ให้พ้นด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ (1 พศด. 11:12-14)

เอเลอาซาร์ร่วมรบกับดาวิดต่อสู้กับพวกฟิลิสเตีย และดูเหมือนคนอิสราเอลกำลังเพลี่ยงพร้ำ อย่างน้อยก็ใน สายตาของทหารอิสราเอลที่กำลังหนีเอาตัวรอด เอเลอาซาร์ตกเข้าไปอยู่ในนาข้าวบาร์ลี ที่พวกฟิลิสเตียต้อง การจะเข้าไปปล้นและทำลาย (เทียบกับผู้วินิจฉัย 6:2-6, 11) คำว่า "คนทั้งหลาย" ใน 1 พศด. 11:14, ทำ ให้ผมเข้าใจว่าเอเลอาซาร์ไม่ได้สู้คนเดียว แต่เคียงบ่าเคียงไหล่กับดาวิด ถึงแม้คนอื่นๆกำลังหนีเอาตัวรอด แต่ เอเลอาซาร์สามารถป้องกันไว้ได้ ท่านรบจนมือที่จับดาบเป็นเหน็บชาจนแข็ง และในที่สุดก็ชนะ นับเป็นความ กล้าและความมุมานะของเอเลอาซาร์ แต่ที่สุดแล้วต้องขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ประทานชัยชนะให้ เมื่อคนทั้ง หลายกลับมาที่สนามรบ สิ่งที่เหลือต้องทำคือ จัดการกับศพและของริบของศัตรู -- พูดง่ายๆก็คือเคลียร์พื้นที่ ให้กับเอเลอาซาร์

วีรบุรุษคนสุดท้ายใน "ทั้งสาม" คือชัมมาห์บุตรอาเก ในเหตุการณ์อีกครั้งที่พวกฟิลิสเตียมาต่อสู้กับอิสราเอล พวกศัตรูต้องการเข้ามายึดครองที่ดินที่เพาะปลูกถั่วแดงอยู่ ต้องการมาปล้นเอาผลผลิตที่กำลังงามไป การจะ ยึดพื้นที่ให้ได้ ต้องมีเสบียงเพียงพอและขับไล่คนอิสราเอลออกไป คนอื่นๆหนีไปกันหมด แต่ชัมมาห์ยืนหยัด ต่อสู้ พระเจ้าทรงประทานชัยชนะให้ และชัมมาห์ได้ฆ่าคนฟิลิสเตียล้มตายไปเป็นอันมาก

    ทั้งสามสิบ (ข้อ 13-39)

13 ในพวกทหารเอกสามสิบคนนั้นมีสามคนที่ลงมา และได้มาหาดาวิดที่ถ้ำอดุลลัม
ในฤดูเกี่ยวข้าว มีคนฟีลิสเตียกองหนึ่งตั้งค่ายอยู่ในหุบเขาเรฟาอิม 14 คราวนั้นดาวิด ประทับในที่กำบังเข้มแข็ง และทหารประจำป้อมของฟีลิสเตียก็อยู่ที่เบธเลเฮม 15 ดาวิดตรัสด้วยความอาลัยว่า "ใครหนอจะส่งน้ำจากบ่อที่เบธเลเฮมซึ่งอยู่ข้างประตู เมืองมาให้เราดื่มได้" 16 ทแกล้วทหารสามคนนั้นก็แหกค่ายคนฟีลิสเตียเข้าไป ตักน้ำ ที่บ่อเบธเลเฮมซึ่งอยู่ข้างประตูเมือง นำมาถวายแก่ดาวิด แต่ดาวิดหาทรงดื่มน้ำนั้นไม่ พระองค์ทรงเท ออกถวายแด่พระเจ้า 17 และตรัสว่า "ข้าแต่พระเจ้า ซึ่งข้าพระองค์จะ
กระทำเช่นนี้ ก็ขอให้ห่างไกลจากข้าพระองค์ ควรที่ข้าพระองค์จะดื่มโลหิต ของผู้ที่ตัก มาด้วยการเสี่ยงชีวิตของเขาหรือ" เพราะฉะนั้นพระองค์หาทรงดื่มไม่ ทแกล้วทหารทั้งสาม ได้กระทำสิ่งเหล่านี้ 18 ฝ่ายอาบีชัยน้องชายของโยอาบบุตรนางเศรุยาห์ เป็นหัวหน้าของ ทั้งสามสิบคนนั้น ท่านได้ยกหอกต่อสู้ทหารสามร้อยคน และฆ่าตายสิ้น และได้รับชื่อเสียง
ดัง วีรบุรุษสามคนนั้น 19 ท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในสามสิบคนนั้น ฉะนั้นได้เป็น ผู้บังคับบัญชาของเขา แต่ท่านไม่มียศเท่ากับสามคนนั้น 20 เบไนยาห์บุตรเยโฮยาดา เป็น คนแข็งกล้า แห่งเมืองขับเซเอล เป็นคนประกอบมหกิจ ท่านได้ฆ่าบุตรอารีเอลของโมอับ เสียสองคน ท่านได้ลงไปฆ่าสิงห์ที่ในบ่อในวันที่หิมะตกด้วย 21 ท่านได้ฆ่าคนอียิปต์คนหนึ่ง เป็นชายรูปร่างงาม คนอียิปต์นั้นถือหอกอยู่ แต่เบไนยาห์ถือไม้เท้าลงไปหา เขาและแย่ง เอาหอกมาจากมือของคนอียิปต์คนนั้น และฆ่าเขาตายด้วยหอกของเขาเอง 22 เบไนยาห์ บุตรเยโฮยาดาได้ กระทำกิจเหล่านี้และได้ชื่อเสียงดั่งวีรบุรุษสามคนนั้น 23 ท่านมีชื่อเสียง โด่งดังกว่าสามสิบคนนั้น แต่ท่านไม่มียศเท่ากับสามคนนั้น และดาวิดก็ทรงแต่งท่านให้เป็น ผู้บังคับบัญชาทหารรักษาพระองค์ 24 อาสาเฮลน้องชายของโยอาบเป็นคนหนึ่ง ในสามสิบ
คนนั้น เอลฮานันบุตรชายของโดโดชาวเบธเลเฮม 25 ชัมมาห์ชาวเมืองฮาโรด เอลีคา ชาวเมืองฮาโรด 26 เฮเลสตระกูลเปเลท อิราบุตรอิกเขช ชาวเมืองเทโคอา 27 อาบีเฮเซอร์ ชาวเมืองอานาโธท เมบุนนัยตระกูลหุชาห์ 28 ศัลโมนชาวอาโหไฮ มาหะรัย ชาวเนโทฟาห์
29 เฮเลบบุตรบาอานาห์ ชาวเนโทฟาห์ อิททัยบุตรรีบัยชาวกิเบอาห์ แห่งคนเบนยามิน
30 เบไนยาห์ ชาวปิราโธน ฮิดดัย ชาวลำธารกาอัช 31 อาบีอัลโบนตระกูลอารบาห์ อัสมาเวท ชาวบาฮูริม 32 เอลียาบาชาวชาอัลโบน บรรดาบุตรชายของยาเชน โยนาธาน 33 ชัมมาห์ชาว
ฮาราร์ อาหิยัมบุตรของชาราร์ คนฮาราร์ 34 เอลีเฟเลทบุตรอาหัสบัยชาวมาอาคาห์ เอลีอัม บุตรอาหิโธเฟล ชาวกิโลห์ 35 เฮสโร ชาวคารเมล ปารัย ชาวอาราบ 36 อิกาล บุตรนาธัน ชาวโศบาห์ บานีคนเผ่ากาด 37 เศเลก คนอัมโมน นาหะรัย ชาวเบเอโรท คนถือเครื่องอาวุธ ของโยอาบ บุตรนางเศรุยาห์ 38 อิรา ตระกูลอิทไรต์ กาเรบ ตระกูลอิทไรต์ 39 อุรีอาห์คน
ฮิตไทต์ รวมสามสิบเจ็ดคนด้วยกัน

    ทั้งสามขอดื่มหน่อย (ข้อ 13-17)

เหตุการณ์ในพระธรรมด้านบนตอนนี้ น่าจะเกิดก่อนที่ดาวิดขึ้นครองเป็นกษัตริย์ ในขณะที่ท่านยังหลบหนีซาอูล ซ่อนตัวอยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีการเอ่ยถึง "ถ้ำอดุลลัม" ครั้งแรกใน 1 ซามูเอล 22:1 เป็นสถานที่ ที่ดาวิดใช้ หลบซ่อนตัวเมื่อออกมาจากเมืองกัท และเป็นที่ๆมีอีกหลายคนมาสมทบกับท่าน รวมทั้งคนที่ไม่ชอบการกระ ทำของซาอูล คงมีบางครั้ง ที่ดาวิดและคนของท่านอาศัยอยู่ในถ้ำ ในขณะที่สู้รบกับพวกฟิลิสเตีย พวกฟิลิส เตียเข้ายึดบ้านเกิดของท่านที่เบธเลเฮม และตั้งกองกำลังขึ้นที่นั่น อาจเป็นได้ที่ดาวิดขาดแคลนน้ำ และรู้สึก กระหาย ท่านอาจจะเอ่ยความปรารถนาของท่านออกมาโดยไม่ตั้งใจ ว่าท่านอยากมีโอกาสได้ดื่มน้ำจากบ่อ ที่ในเบธเลเฮม คงจะเป็นบ่อที่ท่านใช้ดื่มมาตั้งแต่เด็ก และพอใจในรสชาติของน้ำ

คนของดาวิดได้ยินสิ่งที่ท่านเปรยออกมา ท่านไม่ได้สั่งให้ใครไปนำน้ำจากบ่อนั้นมาให้ ท่านไม่ได้คิดด้วยซ้ำ ว่าจะมีบางคนยึดถือเป็นจริง พยายามฝ่าอันตรายไปนำมาให้ แต่สำหรับทแกล้วทหารทั้งสามนี้ ความปรารถนา ของดาวิดคือคำสั่ง ทั้งสามละจากความปลอดภัยในถ้ำ เดินทางไปประมาน 12 ไมล์ เพื่อไปเบธเลเฮม ฝ่าแนว รบเข้าไป เพื่อไปตักน้ำ แล้วเดินทางกลับอีก 12 ไมล์นำมาให้ดาวิด

เมื่อพวกเขานำน้ำมามอบให้ดาวิด ท่านกลับทำสิ่งที่ใครๆก็คิดว่าผิดวิสัย 125 ท่านไม่ดื่มน้ำนั้น แต่กลับเทลง บนดิน ไม่ใช่เป็นเพราะท่านดูถูกความพยายามของทหารกล้าทั้งสามนี้ หรือเพราะท่านไม่กระหายอีกแล้ว ผม เชื่อว่าการกระทำของท่านที่ไม่ดื่มน้ำ ไม่ใช่เป็นเพราะท่านหยิ่งหรืออะไรทำนองนั้น แต่ดาวิดไม่เคยคิดที่จะให้ ใครไปเสี่ยงชีวิตถึงปานนั้น เพียงเพื่อสนองความต้องการของท่าน 126 สิ่งที่คนเหล่านี้ทุ่มเทเพื่อท่าน น่าจะ เป็นสิ่งที่ทุ่มเทให้กับพระเจ้า ท่านเทน้ำถวายแด่พระเจ้า เป็นสิ่งสูงสุดที่ดาวิดสามารถสำแดงให้คนของท่าน เห็นว่า ท่านซาบซึ้งใจในสิ่งที่พวกเขาทำ น้ำจึงเป็นดังสัญลักษณ์ของโลหิต ที่ทหารทั้งสามนี้ยอมสละ เพื่อ ปรนนิบัติท่าน สิ่งสูงสุดที่ท่านสามารถนำน้ำไปใช่้ได้คือ นำไปนมัสการพระเจ้า ดาวิดจึงเทน้ำออกเพื่อถวาย แด่พระองค์

    อาบีชัย (ข้อ 18-19)

อาบีชัยเกี่ยวดองกับดาวิด รวมทั้งน้องชายโยอาบและอาสาเฮล ทั้งสามเป็นบุตรของนางเศรุยาห์ น้องสาว ของดาวิด (ข้อ 18; ดู 1 พศด. 2:16) เมื่อดาวิดนำบทบาทต่างๆของคนเหล่านี้มาทบทวน ท่านคงรู้สึกฉงน อยู่ในใจ อันที่จริงอาบีชัยเป็นนักรบและผู้นำทหารที่เก่งกล้า เป็นคนอาสาไปบุกค่ายซาอูลกับดาวิด เป็น ภาระกิจเสี่ยงตาย (1 ซามูเอล 26:6-12) เขาเป็นผู้นำทหารให้กองกำลังของดาวิด ออกสู้รบกับซีเรียและ อัมโมน (2 ซามูเอล 10:9-14) นำกองกำลังหนึ่งในสามของดาวิดออกไปจัดการกับพวกกบฎของอับซาโลม (2 ซามูเอล 18:2) รับคำสั่งจากดาวิดไปจัดการกับเชบาจอมกบฎ (2 ซามูเอล 20:6) และภายใต้การนำ ของอาบีชัย ทหารอิสราเอลสามารถสังหารคนเอโดมได้ถึง 18,000 คนในหุบเขาเกลือ (1 พศด.18:12)

ถึงกระนั้น อาบีชัยก็ยังเป็นหนามยอกอกของดาวิด เมื่อครั้งที่เขาและดาวิดบุกไปค่ายของซาอูล อาบีชัย กระเหี้ยนกระหืออยากฆ่ากษัตริย์ที่พระเจ้าเจิมไว้ (1 ซามูเอล 26:6-8) ทั้งเขาและโยอาบน้องชาย สมรู้ร่วม คิดกันฆ่าอับเนอร์ เพื่อแก้แค้นแทนอาสาเฮลน้องเล็กที่ถูกอับเนอร์ฆ่าตายในสงคราม (ดู 2 ซามูเอล 3:26-30) อาบีชัยและโยอาบยังต้องการจะกำจัดชีเมอี เพราะบังอาจพูดจาดูหมิ่นเยาะเย้ยดาวิด ระหว่างที่ท่านหลบหนี กลุ่มก่อกบฎของอับซาโลม ถึงแม้ดาวิดจะให้อภัยไม่ถือโทษแล้วก็ตาม (2 ซามูเอล 16:5-14) เมื่อท่านกลับ คืนสู่กรุงเยรูซาเล็ม และชีเมอีมาขอการอภัย อาบีชัยยังไม่สมใจ ยุยงให้ดาวิดสั่งฆ่าชีเมอีเสีย เพราะชายคนนี้ บังอาจพูดจาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ (2 ซามูเอล 19:16-23).

นอกจากข้อบกพร่องต่างๆของอาบีชัยที่พูดไปแล้ว นับได้ว่าเขาเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ ไม่อาจปฏิเสธ ฝีมือและชั้นเชิงในการรบได้เลย อาบีชัยได้รับตำแหน่งสูงในกองทัพอิสราเอล ได้ "เป็นวีรบุรุษ" เพราะเป็น นักรบที่เลื่องชื่อ มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งอาบีชัยสามารถขว้างหอกใส่ศัตรูและฆ่าตายได้ถึง 300 คน ใน ท่ามกลางสามสิบคนนี้ อาบีชัยเป็นอันดับหนึ่ง แต่ไม่ได้อยู่ในทำเนียบ "หนึ่งในสาม" ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้

    เบไนยาห์ หนุ่มหัวใจสิงห์ (ข้อ 20-23)

ผมต้องขอสารภาพว่า ในท่ามกลางวีรบุรุษของดาวิด เบไนยาห์เป็นคนโปรดของผม หนุ่มคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น บุตรของผู้ที่ได้เรียกว่าเป็นคนแข็งกล้า ได้กระทำภารกิจใหญ่เยี่ยงวีรบุรุษ (ข้อ 20) เบไนยาห์ฆ่าบุตรสองคน ของอารีเอล 127 ชาวโมอับ ฟังๆดูยังไม่ค่อยน่าเลื่อมใส แต่ยังมีอีก เขาทำการกล้าหาญไว้หลายประการ ได้ลง ไปฆ่าสิงห์ที่ในบ่อในวันหิมะตก! อาจเป็นได้ว่า "บ่อ" ที่ว่านี้คือถังน้ำใหญ่ 128 และเป็นเพราะสิงห์มันตกลงไป พวกนักรบจึงตักน้ำขึ้นมาดื่มไม่ได้ ใครอยากเสี่ยงตายไปแย่งน้ำจากสิงห์เล่า? แต่กองทัพก็ขาดน้ำไม่ได้ เบไนยาห์จึงอาสาลงไปเอาสิงห์ออกมา จะอย่างไรก็ตาม อุปสรรคจะยิ่งใหญ่ปานไหนก็ตาม เบไนยาห์ทำได้ สำเร็จ

แต่ยังมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ผู้เขียนบันทึกไว้ถึงความเก่งกล้าของเบไนยาห์ ชายร่างยักษ์ชาวอียิปต์มาประจันหน้า กับเบไนยาห์ในสนามรบ ปัญหาก็คือชายยักษ์คนนี้ใหญ่โตน่ากลัว ในขณะที่เบไนยาห์ไม่มีอาวุธใดๆในมือ แต่ ศัตรูมีหอกเหมือนกับที่โกลิอัทเคยใช้ และต้องการสู้กับเบไนยาห์ เบไนยาห์จึง "ลงไป" หา เขามีเพียงไม้เท้า ในมือเท่านั้น เขาใช้ไม้เท้าหลอกล่อชายยักษ์นี้ แย่งหอกมาได้ และใช้หอกนี้แหละ ฆ่าเจ้าของหอกจนตาย ต่าง กับดาวิด ผู้ฆ่าโกลิอัทด้วยดาบของท่าน (1 ซามูเอล 17:50-51).

ที่น่าทึ่งคือ เบไนยาห์เป็นบุตรของปุโรหิตชาวเลวี :

5 ผู้บังคับบัญชาการกองทัพคนที่สามสำหรับเดือนที่สาม คือเบไนยาห์ บุตรเยโฮยาดาปุโรหิตเป็นหัวหน้า ในกองเวรของเขามีสองหมื่นสี่พันคน (1 พงศาวดาร 27:5)

เราคงคิดไม่ถึงว่าปุโรหิตชาวเลวีจะสวมหัวใจสิงห์ลงไปปราบสิงห์จริงๆ แต่นี่เป็นปุโรหิตที่ยอมให้มือเปื้อน เพื่อจะสำแดงถึงความเชื่อ บางทีเป็นเพราะท่านรับใช้ด้วยหัวใจที่สัตย์ซื่อ ดาวิดจึงตั้งท่านให้เป็นหัวหน้า หน่วยองครักษ์ส่วนพระองค์ ควบคุมดูแลชาวเปเรธี และชาวเปเลท (2 ซามูเอล 8:18; 20:23)

    รายชื่อของเหล่าวีรบุรุษ (ข้อ 24-39)

ผู้เขียนสรุปเรื่องวีรกรรมของวีรบุรุษสงครามเหล่านี้ไว้ด้วยรายชื่อไม่น้อยกว่า 30 ชื่อ มีการบันทึกไว้ว่ารวม ทั้งสิ้น 37 คน นับไปนับมาอาจได้น้อยกว่า เพราะไม่มีใครทราบจำนวนบุตรที่แท้จริงของ "บรรดาบุตรชายของ ยาเชน" (ข้อ 32) บางคนที่เสียชีวิตไปแล้ว (เช่นอุรียาห์) มีการแต่งตั้งคนอื่นขึ้นมาแทน นี่เป็นการประกาศ เกียรติคุณของวีรบุรุษทั้ง 30 ถึงแม้บางคนสิ้นชีวิตไปแล้ว และมีการแต่งตั้งผู้อื่นขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน

การพูดถึงอุรียาห์เป็นเรื่องน่าสนใจครับ อุรียาห์ไม่ธรรมดา เป็นนักรบเลื่องชื่อที่ต่อสู้เพื่อดาวิดและประเทศ อิสราเอล ดาวิดคงต้องรู้จักอุรียาห์เป็นอย่างดี แต่ท่านก็ยังกล้าไปแย่งภรรยาของเขา และกล้าวางแผนการ กำจัดนักรบที่มีค่าเช่นนี้ โดยใช้ความสามารถในการรบของเขาเองทำให้ต้องสิ้นชีวิตลง

ไม่มีการบอกเล่าถึงวีรกรรมของทหารแกล้วทั้งสามสิบนี้ในข้อ 24-39 แต่เบอร์เกน129 ได้ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริง ที่น่าสนใจบางประการของบุคคลกลุ่มนี้ อาจมีถึงสิบสองคนในสามสิบนี้ที่เป็นชาวยูดาห์ และอย่างน้อยสามคน มาจากเผ่าเบนยามิน สองคนมาจากเอฟราอิม หนึ่งคนอาจมาจากเผ่าดาน และอีกคนจากกาด สามคนไม่มีการ พูดถึงที่มา และอีกสองคนไม่ทราบว่ามาจากไหนแน่ชัด เพราะมีมากกว่าสองสถานที่ ที่เหลือเป็นต่างชาติ (รวม อุรียาห์ด้วย) อีกครั้งแล้วที่เราเห็นว่าคนต่างชาติมีส่วนอยู่ในแผนการของพระเจ้าในการกอบกู้ประชากรของ พระองค์ ผมรู้สึกว่ามีอยู่หลายชื่อเป็นคนที่เคยอยู่กับดาวิดในช่วงแรกๆ ก่อนที่ท่านจะขึ้นเป็นกษัตริย์ และก่อนที่ ท่านจะหลบหนีซาอูลด้วยซ้ำไป

บทสรุป

เมื่อมาถึงตอนท้ายของพระธรรมตอนนี้ เรารู้สึกได้ว่าเป็นบทส่งท้ายที่สรุปรวมพระธรรม 1 และ 2 ซามูเอล ไว้ด้วยกัน ผู้เขียนได้นำเราผ่านเรื่องราวต่างๆมาจนถึงตอนจบที่ตรงนี้ และเป็นตอนสำคัญตอนหนึ่งที่ผู้เขียน (ดลใจโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์) พยายามจะถ่ายทอดบางสิ่งกับเรา เรื่องใดกันที่เป็นบทเรียนสำหรับอิสราเอล ในยุคโบราณและคริสเตียนในยุคนี้ ? ผมขอเสนอบางข้อนะครับ

(1) ผู้เขียนกำลังเตือนเราถึงหลักการในการดูแลคนอย่างทั่วถึง เบอร์เกนชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่พระเจ้า กระทำผ่านดาวิด พระองค์ทรงกระทำให้สำเร็จผ่านทางคนอื่นๆด้วย :

"พระเจ้าจอมโยธาทรงฝึกฝน เสริมกำลัง
และประทานชัยชนะในสนามรบให้แก่ผู้ที่ พระองค์ทรงเจิมไว้ ดาวิด
แต่พระองค์ไม่ได้ทรงจำกัดอยู่แค่ดาวิดเท่านั้น ทหาร
คนอื่นๆที่อยู่ในพระสัญญา เช่นเอลีอาซาร์
สามารถมีประสบการณ์ในพระพรด้วย เช่นกัน "130

เราชอบนึกไปว่า พระเจ้ามักจำกัดพระองค์เองไว้สำหรับบางคนเท่านั้น คนที่พระองค์เมตตาให้เกิดผลมาก ในพระคัมภีร์ใหม่คัดค้านความคิดเรื่อง "ผูกขาดคนเดียว" นี้อย่างสิ้นเชิง คริสตจักรเป็นพระกายของพระคริสต์ ประกอบด้วย ทั้งยิวและคนต่างชาติที่เข้ามาร่วมอยู่ "ในพระคริสต์" โดยทางความเชื่อ ทุกส่วนของพระกาย ต่อกันสนิทเป็นหนึ่งเดียว ทำงานโดยของประทานฝ่่ายวิญญาณตามที่ได้รับมา ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดคิดว่าตนเอง สามารถแยกอยู่ตามลำพัง ไม่ขึ้นอยู่กับผู้อื่นได้ (1 โครินธ์ 12:21-22) หรือมีใครคนใดคนหนึ่งคิดเอาเองว่า ตนนั้นไม่สำคัญ (1 โครินธ์ 12:14-19) คริสตจักรไม่ได้ถูกปกครองโดย "ศิษยาภิบาล" คนเดียว แต่โดยคณะ ผู้ปกครอง (1 ทิโมธี 3; ทิตัส 1)

ในขณะที่คนทั้งหลายยอมรับหลักเรื่องการมีส่วนร่วมในพระคัมภีร์ใหม่นี้ มีอีกหลายคนยังมีใจเอนเอียงคิดไป ว่าในพระคัมภีร์เดิมนั้นเป็นเรื่องของ "เด่นคนเดียว" ผมอยากขอร้องให้ทบทวนดูใหม่ พระเจ้าทรงจัดแบ่ง ความรับผิดชอบให้กับบรรดาผู้นำอิสราเอล ในท่ามกลางผู้เผยพระวจนะ ในบรรดาปุโรหิต และกษัตริย์ พระ องค์ไม่ได้ผูกขาดอำนาจของพระองค์ให้ใครคนใดคนหนึ่ง และนีคือเหตุผลที่ซาอูลพลาดไป จนนำความ เดือดร้อนแสนสาหัสมาสู่ตนเอง ท่านล้ำเส้นซามูเอล ไม่ยอมรอตามคำสั่ง จัดสั่งให้ทำการถวายเครื่องเผาบูชา (1 ซามูเอล 13) ส่วนเอลียาห์ก็นึกไปเองว่า "ท่านถูกทอดทิ้ง" ให้อยู่โดดเดี่ยว ซึ่งไม่เป็นความจริง (ดู 1 พกษ. 19) พระ เจ้าทรงทำการผ่านผู้คนมากมาย เพื่อให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ พระองค์ไม่ได้ ผูกขาดไว้ที่คนหนึ่งคนใด หรือเพียงบางกลุ่มเท่านั้น

(2) ความกล้าเช่นเดียวกับความขลาด ติดต่อกันได้ ทำไมเมื่อเราอ่านเรื่องราวของซาอูล เราไม่เคยได้ ยินเรื่อง "นักรบคนกล้า" เลย? เมื่อผมอ่านเรื่องราวการเป็นผู้นำอิสราเอลของซาอูล ดูเหมือนท่านชอบ พึ่งพาพวกทหารรับจ้าง (1 ซามูเอล 14:52) ซึ่งไม่เคยสร้างวีรกรรมใดๆเหมือนกับทหารแกล้ว "ทั้งสาม" และ "ทั้งสามสิบ" ของดาวิดเลย เหตุผลล่ะครับ? ผมอยากจะบอกว่าซาอูลขาด "ความกล้า" ที่ดาวิดมี และด้อย ในเรื่องการสร้างและหนุนใจให้มี "นักรบคนกล้า" เกิดขึ้น แต่มีการพูดถึงว่าบิดาท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงดี (1 ซามูเอล 9:1) แต่สำหรับซาอูลแล้วไม่เคยได้ยินคำยกย่องเช่นนี้ ตอนที่โกลิอัทออกมาถากถางคนอิสราเอล และพระเจ้า เราไม่เคยเห็นซาอูลออกไปเผชิญหน้าจัดการกับวาจาสามหาวของโกลิอัท แล้วก็ไม่เห็นทหารคน ใดของท่านกล้าด้วย เมื่อซาอูลขี้ขลาดอย่างนี้ ลูกน้องเองก็พลอยเป็นไปด้วย (ดู 1 ซามูเอล 17:11, 24) คน ของซาอูลเองพร้อมที่จะเผ่นมากกว่าคิดจะยืนหยัดต่อสู้ (ดู 1 ซามูเอล 13:5-7)

ดาวิดเป็นบุรุษที่กล้าหาญ เมื่อสมัยที่มีหมี มีสิงห์มารบกวนฝูงแกะของบิดา ท่านไม่ยอมให้มันจับเหยื่อไปได้ เมื่อโกลิอัทกล่าวหมิ่นประมาทพระนามพระเจ้าของอิสราเอล ดาวิดออกไปต่อสู้และฆ่าทิ้ง หลังจากนั้นท่านก็ ได้พิสูจน์ตนเองให้เห็นถึงความกล้าของท่าน ที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ คุณยังคงสงสัยมั้ยว่า ทำไมท่านถึงเป็น ที่ชื่นชมของผู้คนจนเป็นแบบอย่าง? คนที่กล้าสู้กับโกลิอัท จะเป็นแบบอย่างให้คนกล้าคนอื่น กล้าไปจัดการ กับลูกหลานของตระกูลยักษ์นี้ (ดู 2 ซามุเอล 21:15-22) ความกล้าชูใจผู้อื่นให้กล้า และดาวิดก็เป็นคนกล้า จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าทำไมในสมัยของท่าน จึงมีวีรบุรุษกล้าหาญใกล้ตัวท่านเกิดขึ้นเต็มไปหมด

ในสมัยของเราก็เช่นกัน หลายครั้งที่ลูกของพระเจ้าถอดใจเพราะผู้นำขาดความกล้า ไม่กล้าวางใจในพระเจ้า กลัวการข่มเหง กลัวการต่อต้าน สิ่งที่คริสตจักรต้องการในทุกวันนี้ และตลอดไปคือ คริสตจักรควรเต็มไปด้วย สมาชิก "หญิง-ชายที่มีใจกล้าหาญ" ที่พระเจ้าจะสามารถทำการใหญ่ผ่านได้ และที่พระเจ้าจะสามารถใช้เป็นที่ หนุนใจ ให้คนอื่นๆสามารถกล้าได้เช่นกัน

(3) พระธรรมตอนนี้เล่าเรื่องราวมากมาย ถึงบรรดาประชากรชาย-หญิงของพระเจ้าที่เป็นคนกล้า ผมขอสรุปเรื่องราวความกล้าของ "วีรบุรุษ" บางคนให้เราได้รู้จักกัน

วีรบุรุษไม่ใช่เป็นที่รู้จักกันว่า "ฆ่าได้กี่ศพ" จริงอยู่ที่ในพระธรรมตอนนี้มีการเอ่ยถึงจำนวนศัตรูที่ถูกฆ่าตาย แต่ ยังเอ่ยถึงเรื่องอื่นๆด้วย ผมจะพยายามถ่ายทอดให้ฟัง แต่ขอเริ่มต้นด้วยการย้ำว่าวิธีการ "นับจำนวน" ศพศัตรู ไม่ใช่เป็นวิธีการของยุคปัจจุบันอีกต่อไป คนในสมัยของดาวิดต้องสู้ศึกในสงครามอยู่ตลอดเวลา และความ สำเร็จขึ้นอยู่กับจำนวนศัตรูที่ถูกฆ่าตาย แต่ในทุกวันนี้เรากำลังอยู่ใน "สงครามฝ่ายวิญญาณ" ซึ่งเราไม่จำเป็น ต้องไปฆ่าฝ่ายตรงข้ามให้ตาย บางครั้งผมสงสัยอยู่ว่าคริสเตียนในยุคนี้ตระหนักถึงความจริงนี้บ้างหรือเปล่า

วีรบุรุษเกิดเมื่อวิกฤติกาลเกิด บรรดาผู้ที่ได้รับการยกย่องในพระธรรมตอนนี้ไม่ได้เป็นพวกแสวงหา ชื่อเสียง; พวกเขาเพียงแต่ไม่ยอมแพ้เมื่อคับขัน วันอันยากลำบากท้าทายเราให้ก้าวขึ้นไปสู่ทำเนียบ "วีรบุรุษ" ของประวัติศาสตร์

วีรบุรุษเกิดเมื่อมีคนขลาดและและหวาดกลัว คุณสังเกตุมั้ยครับว่าหลายครั้งทีเดียวที่วีรบุรุษของดาวิด (และของพระเจ้า) ยืนหยัดต่อสู้ ในขณะที่คนอื่นลนลานหนีด้วยความกลัว เมื่อบางคนรู้สึกถอดใจ วีรบุรุษ วีรสตรีทั้งหลาย กลับเข้มแข็งขึ้นในความเชื่อ และเชื่อมั่น วีรบุรุษไม่คร้ามที่จะต่อสู้เพียงลำพัง เช่นเดียวกับ ที่ดาวิด ปฏิบัติต่อโกลิอัท ทำให้เกิดกำลังใจฮึกเหิมอยากทำตาม

วีรบุรุษทั้งหลายต้องได้รับการปลูกฝัง และสำแดงให้เห็นจากการดำเนินชีวิตประจำวัน ผมได้เกริ่น ไปแล้วว่า เมื่อมีวิกฤติก็มีวีรบุรุษ เป็นความจริงครับ แต่เรื่องอย่างนี้ต้องมีการเตรียมตัวปลูกฝังกันมาก่อน คนที่ยืนหยัดอยู่ได้ในท่ามกลางวิกฤติ คือคนที่รู้จักวางใจและเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังในเวลาปกติ ดังนั้นวีรบุรุษ พร้อมอยู่แล้ว ก่อนวิกฤติจะเกิด แและพวกเขาจะสำแดงให้เห็นในทันทีที่เหตุการณ์คับขัน

วีรบุรุษต้องไม่หวั่นไหวด้วยเรื่องต่างๆที่จู่โจมเข้ามา พูดอีกแบบคือ วีรบุรุษยอมเสี่ยงชีวิตโดยมอบความ วางใจทั้งสิ้นไว้ที่พระเจ้า โยนาธานเป็น "คนกล้า" จึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจที่เขาเป็นที่ชอบพอของดาวิด ซาอูลและคนของท่านหวั่นไหว เมื่อเห็นจำนวนของคนฟิลิสเตียที่ยกทัพมา โยนาธานกลับเป็นผู้ออกไปไล่ล่า ศัตรู ด้วยคำพูดว่า "โยนาธานกล่าวกับคนหนุ่มที่ถือเครื่องอาวุธของท่านว่า "มาเถิด ให้เราข้ามไปยัง กองทหารรักษาการของ คนเหล่านั้นที่มิได้เข้าสุหนัต บางทีพระเจ้าจะทรงประกอบกิจเพื่อเรา เพราะ ว่าไม่มีสิ่งใดที่ขัดขวางพระเจ้าได้ในการที่พระองค์จะทรงช่วยกู้ ไม่ว่าโดยคนมากหรือน้อย" (1 ซามู เอล 14:6) วีรบุรุษของดาวิดไม่ได้หวั่นไหวไปกลับกำลังมหาศาลของฝ่ายตรงข้าม พวกเขากลับยืนหยัด และ วางใจในชัยชนะที่พระเจ้ามอบให้

วีรบุรุษยอมตาย ถ้าจำเป็น วีรบุรุษในพระคัมภีร์เป็นผู้ที่วางใจในพระเจ้า คนเหล่านี้ (ทั้งหญิงและชาย) ไม่กลัวตาย เพราะความเชื่อของพวกเขามุ่งตรงอยู่ที่พระเจ้าและอาณาจักของพระองค์ (ดูฮีบรู 11) คนที่กลัว ตาย คือคนที่พยายามรักษาชีวิตตนเองให้ปลอดภัย ไม่ยอมเสี่ยงภัยใดๆให้กับผู้อื่น

วีรบุรุษต้องทำงานหนักทุ่มเทฝึกฝน แต่ที่สุดแล้วพวกเขาพึ่งพิงพระเจ้าในชัยชนะ ในแต่ละวีรกรรม วีรบุรุษได้รับคำชมเชย เพราะพวกเขายืนหยัดต่อสู้ขณะที่คนอื่นหนีเอาตัวรอด พวกเขากล้าตัดสินใจ เมื่อ สถานะการคับขัน เหตุนี้เองพวกเขาจึงได้รับการยกย่อง แต่ทว่าไม่ใช่ความเก่งกล้าสามารถของพวกเขาเพียง อย่างเดียว ที่นำมาซึ่งชัยชนะ ชัยชนะที่ได้รับนั้นเหนือกำลังมนุษย์จะทำได้ ผู้เขียนแสดงให้เห็นชัดว่า ใน ที่สุด ชัยชนะทั้งสิ้นมาจากพระเจ้า

วีรบุรุษยึดถือในหน้าที่รับผิดชอบอย่างจริงจัง ในฐานะทหาร พวกเขาต้องยืนหยัดและต่อสู้จนถึงที่สุด พวกเขาได้ทำเช่นนั้น ถึงแม้คนอื่นๆจะหลบหนีไป แต่พวกเขาไม่ พวกเขารับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย จนถึงที่สุด สมกับเป็น "ทหารกล้าวีรบุรุษ"

วีรบุรุษทำมากกว่าที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความเชื่อ ความสัตย์ซื่อ และความรัก เราเห็นได้ชัดจาก วีรกรรมของวีรบุรุษทั้งสามของดาวิด เสี่ยงตายไปนำน้ำจากบ่อน้ำที่ในเบธเลเฮมมาให้ท่านดื่ม ดาวิดไม่ได้ สั่งให้ทำ เพราะถ้าท่านสั่ง พวกเขาต้องทำ มันก็เป็นเพียงแค่หน้าที่รับผิดชอบ ดาวิดเพียงแต่เปรยความ ปรารถนาของท่านดังไปหน่อย แต่สำหรับพวกเขาแล้ว ความปรารถนาของท่านก็คือคำสั่ง พวกเขาเสี่ยงชีวิต ฝ่าไปจนถึงบ่อและฝ่ากลับมา ทั้งสิ้นก็เพราะความจงรักภักดีและความรักที่มีต่อท่าน วีรบุรุษที่แท้จริงจะเป็นผู้ ที่รักจะทำตามความปรารถนาของผู้บังคับบัญชา ; ไม่ใช่เพราะเป็นคำสั่ง แต่เป็นเพราะอยากให้ผู้นั้นมีความสุข

วีรบุรุษเกิดขึ้นได้เพราะมีคนเห็นคุณค่า มีแบบอย่าง และได้รับการยกย่องตามสมควร ทำไมผู้เขียน ถึงนำเรื่องของ "ทั้งสาม" และ "สามสิบ" มาเล่าให้เราฟัง? ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะวีรกรรมเหล่านี้สมควร ได้รับการยกย่อง และยึดเป็นแบบอย่าง ชีวิตของดาวิดเอง ท่านเป็นแบบอย่างของความกล้า ท่านเห็นคุณค่า และมอบบำเหน็จให้แก่ผู้คนรอบข้าง จึงไม่่น่าประหลาดใจ ที่เมื่อยามคับขันมีวีรบุรุษมากมายเกิดขึ้น ซึ่งต่างกับ สมัยก่อน (เช่นสมัยของซาอูล)

วีรบุรุษคือบรรดาผู้กล้าแสดงตัวว่าตนอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ที่พระเจ้าเจิม ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่าบรรดา "คน กล้า" เหล่านี้คือ "คนกล้า" ของดาวิด คนเหล่านี้ยืนหยัดอยู่กับท่านและเพื่อท่าน ไม่ใช่เพียงแค่ในเวลาแห่ง ความสุขและชื่นชมยินดีเท่านั้น แต่ในเวลาทุกข์ยากเผชิญปัญหาและช่วยปกป้องท่านด้วย ในพระธรรมฮีบรู บรรดาธรรมิกชนทั้งหลาย คือวีรบุรุษที่กล้าแสดงตนว่าอยู่ฝ่ายพระคริสต์ ถึงแม้เป็นเรื่องเสี่ยงชีวิตที่สุดก็ตาม (ดูฮีบรู 10:32-34; 13:1-3)

ในเวลาเช่นนั้นนับเป็นเวลาที่วีรบุรุษหายาก เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องได้รับการยกย่อง (หรือปลอดภัย) อีกต่อไป ที่จะเที่ยวไปป่าวประกาศว่าตนเป็นคริสเตียน ผมคิดว่าคงไม่มีใคร "ปรบมือ" ให้คุณที่มีความเชื่อ และยืนหยัด เชื่อฟังองค์พระผู้เป็นเจ้าหรอกครับ แต่เราอาจเห็นคริสเตียนบางคนทนแทบไม่ไหวเมื่อถูกข่มเหง เราอาจจะ ต้องยืนหนาวอยู่คนเดียว ในที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือแม้แต่ในครอบครัวของตัวเอง

ดาวิดเป็นวีรบุรุษ "นักรบผู้กล้าหาญ" เช่นเดียวกับผู้ที่เราเอ่ยชื่ออยู่ในบทนี้ แต่อย่าลืม "วีรบุรุษ" ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ – องค์พระเยซูคริสต์ของเรา :

1 เหตุฉะนั้นเมื่อเรามีพยานพรั่งพร้อมอยู่รอบข้างเช่นนี้แล้ว ก็ขอให้เราละทิ้งทุก
อย่างที่ถ่วงอยู่ และบาปที่เกาะแน่น ขอให้เราวิ่งแข่งด้วยความเพียรพยายาม ตามที่ได้กำหนดไว้สำหรับเรา 2 หมายเอาพระเยซูเป็นผู้บุกเบิกความเชื่อ และ ผู้ทรงทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์ พระองค์ได้ทรงอดทนต่อกางเขน เพื่อความ รื่นเริงยินดีที่ได้เตรียมไว้สำหรับพระองค์ ทรงถือว่าความละอายนั้นไม่เป็นสิ่งสำคัญ และพระองค์ได้ประทับ ณ เบื้องขวาพระที่นั่งของพระเจ้า 3 ท่านทั้งหลายจงคิดถึง พระองค์ผู้ได้ทรงยอมทนต่อคำคัดค้านของคนบาป เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะได้ไม่รู้สึก
ท้อถอย (ฮีบรู 12:1-3)

18 ท่านทั้งหลายที่เป็นคนรับใช้ จงเชื่อฟังนายของท่านทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะนาย ที่เป็นคนใจดีและสุภาพเท่านั้น แต่ทั้งนายที่ร้ายด้วย 19 เพราะว่าผู้ที่ได้รับความเห็น
ชอบว่าดีนั้น ก็ต่อเมื่อเขาเห็นแก่พระเจ้าและยอมอดทนต่อความทุกข์ที่ไร้ความเป็น
ธรรม 20 เพราะจะเป็นความดีความชอบอย่างไรถ้าท่านทำความชั่ว และท่านถูกเฆี่ยน เพราะการกระทำชั่วนั้น แม้ท่านจะอดทนต่อการถูกเฆี่ยนด้วยความอดกลั้น แต่ว่าถ้า ท่านทั้งหลายกระทำการดีและทนเอาเมื่อตกทุกข์ยาก เพราะการดีนั้น ท่านก็จะเป็น
ที่พอพระทัยของพระเจ้า 21 เพราะพระเจ้าทรงใช้ท่านสำหรับเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะว่า พระคริสต์ก็ได้ทรงทนทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย ให้เป็นแบบอย่างแก่ท่านเพื่อท่าน จะได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์ 22 พระองค์ไม่ได้ทรงกระทำบาปเลย และ
ไม่ได้ ตรัสคำเท็จเลย
23 เมื่อเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์ พระองค์ไม่ได้ทรง
กล่าวตอบ เขาด้วยคำหยาบคายเลย เมื่อพระองค์ทรงทนทุกข์ พระองค์ไม่ได้ทรงมาดร้าย แต่ทรงมอบเรื่องของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาอย่างยุติธรรม 24 พระองค์เอง ได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ ที่ต้นไม้นั้น เพื่อว่าเราทั้งหลาย จะได้ตายจากบาปได้ และดำเนินชีวิตตามคลองธรรม ด้วยบาดแผลของพระองค์ ท่าน ทั้งหลายจึงได้รับการรักษาให้หาย 25 เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นเหมือนแกะที่พลัดฝูงไป แต่บัดนี้ได้กลับมาหาพระผู้เลี้ยงและผู้พิทักษ์วิญญาณจิตของท่านทั้งหลายแล้ว (1 เปโตร 2:18-25)

พระองค์ทรงเป็นแหล่งที่มาของกำลังใจและความเชื่อ :

5 ท่านจงอย่าเป็นคนเห็นแก่เงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ตรัสว่า เราจะไม่ละท่าน หรือทอดทิ้งท่านเลย 6 เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายอาจกล่าวด้วยใจเชื่อ
มั่นว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระผู้ช่วยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว มนุษย์จะ ทำอะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า (ฮีบรู 13:5-6)

ผมไม่แน่ใจว่าวีรบุรุษในทุกวันนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ไม่ใช่เป็นเพราะจำนวนลดน้อยลง แต่อาจเป็นเพราะ วีรกรรมของพวกเขา ไม่เห็นเด่นชัดเท่ากับร่างศัตรูที่นอนซ้อนทับตายกันอยู่ในสมัยของดาวิด อาจเป็นได้ว่า สมาชิกส่วนใหญ่ในพระกายของพระคริสต์ (คริสตจักร) คือผู้ที่ไม่สำแดงตนชัด ในขณะที่คนที่เด่นๆอาจไม่ได้ สำคัญเท่าที่เรา (หรือพวกเขา) คิด (ดู 1 โครินธ์ 12:21-25) ตามที่ผมเข้าใจพระคัมภีร์ เราทุกคนจะมีเวลา ที่ต้องยืนอยู่ที่พระบัลลังก์ จำเพาะพระพักตร์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกความคิดและการกระทำของเราจะถูก นำมาตัดสิน แล้วมันจะดีเพียงไหนที่จะได้ยินพระองค์ตรัสว่า "ดีมาก เจ้าเป็นผู้รับใช้ที่ดีและสัตย์ซื่อ ของเรา"

* คำแปลของบทอ้างอิงตอนท้าย มีบางตอนถูกตัดออกไปบ้าง เพราะยากมากในการแปล ต้องขออภัยด้วย - ผู้แปล *


117 "อย่างไรก็ตาม คำพูดส่งท้ายที่สำคัญของดาวิด เป็นเหมือนคำพูดที่ท่านเตรียมไว้ก่อนตาย เป็นเรื่อง ประสบการณ์ชีวิตของท่าน ที่สัมผัสใจเรา ท่านเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งความรอด นำไปสู่พระผู้ ช่วยให้รอด คือองค์พระเยซูคริสต์ หน้าที่ของท่านมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการปูทาง เตรียมไว้สำหรับพระ ประสงค์ของพระเจ้า ถึงแม้ท่านเป็นคนพิเศษ แต่ท่านก็ไม่ต่างไปจากบรรดาบุตรทั้งหลายของพระเจ้า คือ มีชีวิตและตาย แต่ในฐานะกษัตริย์ที่พระเจ้าเจิม เป็นบทเพลงสรรเสริญของอิสราเอล ที่ยกชูท่านขึ้น เป็นแบบ อย่างที่บุตรทั้งหลายของพระเจ้าควรยึดไว้ ในการเตรียมตัวก่อนชีวิตจะหาไม่ … . มัทธิว เฮนรี้ กล่าวไว้ว่า "เมื่อเราสัมผัสว่าความตายนั้นไกล้เข้ามา เราควรถวายเกียรติแด่พระเจ้า และควรสร้างแบบอย่าง ที่ดีให้แก่ ผู้คนรอบข้าง ด้วยคำพูดอันเป็นที่หนุนใจ คำพูดถึงประสบการณ์ในพระคุณความรัก พระทัยเมตตา ขององค์ พระผู้เป็นเจ้าที่มีเหนือชีวิตเรา … ให้ทิ้งคำพยาน ความหวังใจในพระสัญญาที่เป็นจริงไว้เป็นอนุสรณ์ … การเผชิญกับความตายเป็นสิ่งยืนยันความเชื่อของเรา ที่แจ่มชัดในองค์พระเยซูคริสต์ … สุกใสไปถึงก้น บึ้งของการเป็นคริสเตียน" จากข้อเขียนของ Gordon J. Keddie, Triumph of the King: The Message of 2 Samuel (Durham, England: Evangelical Press, 1990), pp. 230-231.

118 "มัทธิว เฮนรี่เคยอธิบายไว้ว่า ‘นี่คือความประสงค์สุดท้าย และคำพยานของกษัตริย์ดาวิด’ อาร์ พี กอร์ดอนเรียกว่า ‘เป็นมรดกนิรันดร์ของอิสราเอล’ และยังกล่าวด้วยว่าเป็นการถ่ายทอด ‘ทั้งความหวังใจ สำคัญของวงศ์ตระกูล และการปกครองของดาวิดที่เป็นการเริ่มต้นของการเสด็จมา ขององค์พระเมสซิยาห์ ’ ทำให้นึกได้ว่า ปีเตอร์ อัคครอยด์เคยตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า ‘ถ้อยคำอวยพรสุดท้ายที่ยาโคบให้ไว้กับบรรดา บุตรชาย ในฐานะเป็นตัวแทนของเผ่า (ปฐก. 49), และ … ของโมเสส (ฉธบ. 33)’." Gordon J. Keddie, p. 230.

119 เค้ดดี้สรุปสิ่งที่ดาวิดพรรณาไว้ในสดุดีข้อ 2-7: "บทสดุดีของดาวิดเริ่มด้วยความคิดเรื่อง พระพรมากมาย ที่พระเจ้าประทานให้ตลอดชีวิตของท่าน และไกลไปยังปากประตูแห่งชีวิตนิรันดร์ (23:1-4), พูดถึงเรื่องพระ พรในอนาคต เรื่องพระสัญญานิรันดร์ที่พระเจ้าประทาน (23:5) และสรุปด้วยการเตรียมพร้อมที่จะพบพระองค์ ผู้ทรงพร้อมที่จะอภัยให้แก่ความบาปและคนอธรรมที่กลับใจ แต่จะไม่ปล่อย "ให้คนชั่วลอยนวล" (ปฐก. 34:7)." Keddie, p. 231.

120 "ข้อนี้ [5] แปลค่อนข้างยาก และเป็นได้ที่ถ้อยคำตอนท้าย อาจหมายถึง ‘ทุกความปรารถนาของดาวิด’ แต่เป็นความพอพระทัยของพระเจ้า" (Keddie, pp. 234-235).

121 วาทะสุดท้ายของดาวิดที่มีให้แก่่ซาโลมอน ดูเหมือนจะบันทึกอยู่ใน 1 พงศ์กษัตริย์ 2:2-9

122 "เป็นระเบียบและมั่นคงในทุกสิ่ง เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า ‘เซ็นชื่อและปิดผนึก’’ (Jb. 13:18; 23:4; Ps. 50:21). Robert P. Gordon, I & II Samuel: A Commentary (Grand Rapids: Regency Reference Library, 1996), p. 311.

123 หนังสือ "The Targum of Jonathan แปลตอนนี้ว่า เป็นเหมือนคำพยากรณ์ถึงการเสด็จมาขององค์พระ เมสซิยาห์ เป็น "แสงสว่าง" (ยอห์น 8:12; 9:5; cf. V. 4)

124 "ทั้งสาม ได้รับการยกย่องเหนือที่เหลือ และเรียงชื่อตามลำดับสำคัญ ชื่อแรกอาจจะเพี้ยนไปหน่อย ตามที่บันทึกอยู่ใน 1 พศด. 11:11 และต่างออกไปอีกใน LXX; ที่เหลือในข้อ 8 ก็ยังเป็นปัญหา (cf. RSV, mg., NIV, mg.)." Joyce G. Baldwin, 1 & 2 Samuel: An Introduction and Commentary (Downers Grove, Illinois: Inter-Varsity Press, 1988), p. 292.

"1 พศด. 11:11 บันทึกว่าเยโชเบอัม ตระกูลฮัคโมนี มีชื่อเรียกตามวงศ์วานว่า โยเชบ-บัสเชเบท คนฮัคโมน ผู้ได้ฆ่าคนไปเสียสามร้อย ซึ่งน่าจะหมายถึงคนเดียวกัน อาจผิดพลาดตอนคัดลอก จึง ค่อนข้างลำบากที่จะตัดสินว่าตัวเลขใดกันแน่ที่ถูกต้อง" เบอร์เก้น หน้า 469, fn. 47.

125 "เมื่อรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังที่มาของน้ำ ดาวิดจึงทำสิ่งที่ดูเหมือนเพี้ยน หรือเหมือนไม่เห็นคุณค่า : ท่าน ‘ไม่ยอมดื่ม’ น้ำที่นำมามอบให้นั้น เพราะได้มาด้วยความลำบากยากเย็น จึงเปรียบเสมือนของมีค่ายิ่ง มีค่าจน ดาวิดคิดว่า ตนเองไม่สมควรจะได้รับ" เบอร์เก้น หน้า 470.

126 คงจำกันได้ ว่ามันไปได้เป็นเช่นนี้เสมอ เราเห็นได้จากการกระทำของดาวิดต่อนางบัทเชบา และสามีของ นาง อุรียาห์

127 กอร์ดอนเขียนเอาไว้ว่า "อารีเอล เป็นคำแปลงมาจากภาษาฮีบรูซึ่งอาจใช้หมายถึงคนเก่งก็ได้ (NEB; cf. NIV ‘best men’) กอร์ดอนหน้า 313.

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นมีการเล่นคำอย่างน้อยสองแห่งในตอนนี้ เพราะคำในภาษาฮีบรูคำว่า "สิงห์โต" นั้นคล้ายคลึงกับคำที่แปลออกมาว่า "อารีเอลl." ดังนั้นผู้แปลของทั้งฉบับ KJV และฉบับ NKJV ใช้คำว่า อารีเอล "เป็นเหมือนกับสิงห์" คนที่สามารถต่อสู้และเอาชนะศัตรูที่แข็งแกร่งเหมือน สิงห์ได้ถึงสองคน ก็จะสามารถจัดการกับสิงห์โตจริงๆได้อย่างง่ายดาย

128 "เป็นการสำแดงความกล้าที่โดดเด่นของเขา – เป็นเรื่องที่ดาวิดนำไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังต่อได้ (1 ซมอ. 17:34-36 – ที่ลงไปในบ่อ ในวันที่หิมะตกหนัก และฆ่าสิงห์ ; เป็นได้ว่าเจ้าป่าตัวนี้ อาจพลัดตกลงไปในบ่อ ที่ใช้กักน้ำสำหรับดื่มในฤดูหนาว" เบอร์เก้น 471

129 เบอร์เก้น หน้า 472.

130 เบอร์เห้น หน้า 469.

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 21: จะขึ้นห้างหรู หรือจะไปตลาดนัดดี? (2 ซามูเอล 24)

ดาวิดนับกำลังพล 131

คำนำ

ในช่วงปีแรกๆที่โบสถ์ของเราตั้ง เรายังไม่มีสำนักงานโบสถ์ แปลว่าไม่มีตึกหรือสิ่งก่อสร้างใดๆทั้งสิ้น (เราใช้โรงเรียนประถมแห่ง หนึ่ง และต่อมาโรงแรมนอร์ทดัลลัสเป็นที่พบปะประชุม) ด้วยเหตุนี้และอื่นๆอีกหลายประการ ที่ทำงานของผมจึงอยู่ในห้องพักโรง แรม เป็นห้องเล็กๆ มีเลขาตั้งโต๊ะทำงานอยู่บริเวณล้อบบี้โรงแรม เธอรับจ้างทำงานพิมพ์ และงานธุรการทั่วไปให้กับบริษัทอื่นๆ ที่เช่าห้องโรงแรมใช้เป็นสำนักงานเช่นกัน มีอยู่วันหนึ่ง เลขาอายุน้อยผู้นี้เรียกผมให้หยุด เพื่อจะเล่าให้ฟังว่า ผู้เช่ารายอื่น มาพูดคุยกับเธอเรื่องค่าจ้าง โดยอ้างว่า ในเมื่อเธอทำงานให้กับ "่องค์กรคริสเตียน" ราคาค่าจ้างก็น่าจะลดลง เธอจึงคิดว่า เมื่อเธอลดราคาให้คนอื่นได้ โบสถ์ของเราก็สมควรได้รับการลดราคาด้วย

ผมรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับข้อเสนอนี้ และบอกเธอไปว่า ขอนำไปปรึกษาพูดคุยกับผู้ใหญ่ท่านอื่นก่อน หลังจากที่ได้พูดคุยกัน เราสรุปว่า่ เป็นการไม่สมควร ที่เธอต้องยอมลดราคาค่าจ้างเพื่อมาสนับสนุนโบสถ์เรา ผมบอกเธอว่าเราขอคงราคาเดิม ไม่ต้อง ลดหย่อนใดๆ เพราะเราคิดว่าไม่สมควรที่เธอต้องมาสละรายได้สนับสนุนโบสถ์เรา ซึ่งเธอเองก็ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ด้วย

บทเรียนตอนนี้ ดาวิดได้โอกาสทองในสิ่งที่เราชอบเรียกว่า "ส้มหล่น" พระเจ้าทรงตรัสสั่งดาวิดผ่านทางผู้เผยพระวจนะกาด (หรือ "ผู้ทำนาย") ให้่ท่านตั้งแท่นบูชาขึ้นบนลาดนวดข้าวของอาราวนาห์ เพื่อจะทำตามพระประสงค์ ดาวิดต้องขอซื้อที่ดินผืนนั้นก่อน เมื่อดาวิดแจ้งความประสงค์กับอาราวนาห์ ว่าท่านต้องการขอซื้อที่ดิน เพื่อทำการตั้งแท่นถวายบูชาถวายแด่พระเจ้า อาราวนาห์ ตัดสินใจยกให้ฟรีๆ ไม่คิดเงิน แถมวัวสองตัวที่ใช้ในการนวดข้าวให้ด้วย พูดง่ายๆก็คือ ดาวิดไม่ต้องทำอะไรเลย อาราวนาห์จัด เตรียมให้เสร็จ ไม่คิดเงินด้วย ส้มหล่นมั้ยครับ? เราคิดว่าดาวิดน่าจะปลื้มที่สุด ท่านได้นมัสการพระเจ้าโดยไม่ต้องควักกระเป๋า มีอาราวนาห์เป็นสปอนเซอร์ใหญ่ จัดการให้เสร็จสรรพ แต่ดาวิดปฏิเสธครับ เราต้องมาค้นหากันว่าทำไม และเราเรียนรู้สิ่งใด จากเหตุการณ์นี้

เราเห็นชัดว่า 2 ซามูเอล 24 เป็นตอนจบของพระธรรมสองเล่มนี้ (คงจำกันได้ว่าเดิมในภาษาฮีบรูมีเพียงเล่มเดียว) และตอนนี้ ผู้เขียนกำลังนำเราเข้าสู่บทสุดท้าย ท่านพยายามชี้ให้เราเห็นประเด็นที่เป็นตอนสุดยอดของพระธรรมเล่มนี้ มีบทเรียนมากมาย สำหรับเรา ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี ขอพระวิญญาณช่วยเราให้เข้าใจ และให้พระองค์ทำการภายในเรา และกระทำผ่านเรา ให้สำเร็จ ตามพระประสงค์ทุกประการ

ดาวิดได้ตามใจปรารถนา
(24:1-9)
132

1 พระพิโรธของพระเจ้าได้เกิดขึ้นต่ออิสราเอลอีก เพื่อทรงต่อสู้เขาทั้งหลายจึงทรงดลใจดาวิดตรัสว่า "จงไปนับคนอิสราเอล และคนยูดาห์"
2 พระราชาจึงรับสั่งโยอาบ แม่ทัพซึ่งอยู่กับพระองค์ว่า "จงไปทั่วอิสราเอลทุกเผ่า ตั้งแต่เมืองดานถึงเบเออร์เชบา และท่าน จงนับจำนวนประชาชน เพื่อเราจะได้ทราบจำนวนรวมของประชาชน"
3 แต่โยอาบกราบทูลพระราชาว่า "ขอพระเยโฮวาห์พระเจ้าของฝ่าพระบาท ทรงให้มีประชาชนเพิ่มขึ้นอีกร้อยเท่าของที่มีอยู่ ขอพระราชาเจ้านายของข้าพระบาททรงเห็นทันตา แต่ไฉนพระราชาเจ้านายของข้าพระบาทจึงพอพระทัย ในเรื่องนี้"
4 แต่โยอาบและผู้บังคับบัญชากองทัพก็ต้องยอม จำนนต่อพระดำรัสของพระราชา โยอาบกับบรรดาผู้บังคับบัญชาของกองทัพ จึงออกไป จากพระพักตร์พระราชา เพื่อจะนับประชาชนอิสราเอล
5 เขาทั้งหลายข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปและตั้งค่าย ในเมืองอาโรเออร์ ด้านขวาของเมืองที่อยู่กลางหุบเขากาดถึงยาเซอร์
6 แล้วเขาทั้งหลายก็มายังกิเลอาดและมาถึงแผ่นดินตะทิมโหดฉิ และเขาทั้งหลายมาถึงเมืองดานยาอัน อ้อมไปยังเมืองไซดอน
7 และมาถึงป้อมเมืองไทระ และทั่วทุกหัวเมืองของคนฮีไวต์ และของคนคานาอัน และเขาออกไปยังเนเกบแห่งยูดาห์ ที่เมืองเบเออร์เชบา
8 เมื่อเขาไปทั่วแผ่นดินนั้นแล้ว เขาจึงมายังกรุงเยรูซาเล็มเมื่อสิ้นเก้าเดือนกับยี่สิบวัน
9 และโยอาบก็ถวายจำนวนประชาชนที่นับได้แก่ พระราชาในอิสราเอล มีทหารแข็งกล้าแปดแสนคน ผู้ซึ่งชักดาบ และ คนยูดาห์มีห้าแสนคน

ไม่มีการบันทึกว่าทำไมท่านทำเช่นนี้ แต่พระเจ้าทรงพระิพิโรธต่ออิสราเอล อ่านดูแล้ว รู้สึกว่าพระองค์คงกริ้วสุดๆ ต่อบาปของ อิสราเอลครั้งนี้ บ่อยครั้งในพระคัมภีร์เดิม มีการพูดถึงพระพิโรธของพระเจ้า133 ในแต่ละกรณี ต้องเป็นเรื่องความผิดร้ายแรง ร้ายแรง จนทำให้พระองค์แทบลุกเป็นไฟด้วยพระพิโรธอันชอบธรรมของพระองค์ นี่เป็นอีกครังที่พระเจ้าทรงกริ้วอิสราเอล และพระองค์ ต้องการตีสอนชนชาติที่หัวแข็งดื้อดึงนี้ พระองค์ทรงใช้บาปของดาวิดกระทำให้ทั้งดาวิดและประชาชนต้องสำนึกและรับการลงโทษ ขออย่าให้เรามัวมองแต่ความผิดบาปของดาวิดเท่านั้น โดยลืมไปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเพราะบาปของคนอิสราเอลด้วย

พระเจ้าทรงดลใจดาวิด 134 ดาวิดตัดสินใจนับกำลังพลของทั้งอิสราเอลและยูดาห์ การนับกำลังพลไม่ใช่เป็นเรื่องความผิดเสมอไป โมเสสนับกำลังพลอิสราเอลเพื่อเตรียมการศึก (กดว. 1:1-4) โมเสสนับกำลังพลของพวกโคฮาท (กดว. 4:2) และพวกเกอร์โชน (กดว. 4:22) เพื่อจะทำงานในเต็นท์นัดพบ ซาอูลนับกำลังพลอิสราเอลเพื่อช่วยปกป้องชาวยาเบช-กิเลอาดจากพวกอัมโมน (1 ซมอ. 11:8) ดาวิดนับจำนวนคนที่อยู่ฝ่่ายท่าน เพื่อเตรียมป้องกันตนเองจากการกบฎของอับซาโลมบุตรชาย (2 ซมอ. 18:1).135 ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการผิดบาปแต่ประการใด

เราต้องมองให้ออกว่า การนับกำลังพลของดาวิดครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการนับกำลังทางทหารอิสราเอลแบบธรรมดาๆ แต่เป็นการ อยากรู้ตัวเลข ต้องใช้เวลาถึงสิบเดือนกว่าจะเสร็จ และต้องใช้ฝีมือผู้นำทางทหารเลงมือ ตามความเข้าใจของผม เมื่อนับ กำลังทางทหาร ต้องมีการเรียงตามตำแหน่ง ซึ่งหมายความว่า การนับกำลังทหารตามตำแหน่งบังคับบัญชาเพื่อเตรียมพร้อมรบ

เราเห็นคำเตือนในเรื่องการนับกำลังทหารจากพระธรรมอพยพ :

12 "เมื่อเจ้าจะจดสำมะโนครัวชนชาติอิสราเอล จงให้เขาต่างนำทรัพย์สินมาถวายพระเจ้าเป็นค่าไถ่ ชีวิตเมื่อเจ้านับจำนวนเขา เพื่อจะ มิได้เกิดภัยพิบัติขึ้นในหมู่พวกเขาเมื่อเจ้านับเขา
13 ทุกคนที่ขึ้นทะเบียนสำมะโนครัว จะต้องถวายของอย่างนี้ คือเงินครึ่งเชเขล ตามเชเขลของสถานนมัสการ (เชเขลหนึ่ง มียี่สิบเก-ราห์) ครึ่งเชเขลเป็นเงินถวายแด่พระเจ้า
14 ทุกๆคนที่ขึ้นทะเบียนสำมะโนครัว อายุตั้งแต่ยี่สิบปีขึ้นไป ให้นำเงินมาถวายพระเจ้า
15 เมื่อเจ้าทั้งหลายนำเงินมาถวายพระเจ้า เพื่อจะได้ไถ่ชีวิตของเจ้าทั้งหลายนั้น สำหรับคนมั่งมีก็อย่าถวายเกิน และสำหรับ คนจน ก็อย่าให้น้อยกว่าครึ่งเชเขล
16 จงเก็บเงินค่าไถ่จากชนชาติอิสราเอล และจงกำหนดเงินไว้ใช้จ่ายในเต็นท์นัดพบ เพื่อพระเจ้าจะได้ทรงระลึกถึงชนชาติ อิสราเอล สำหรับการไถ่ชีวิตของเจ้าทั้งหลาย" ขัน (อพยพ 30:12-16)

จากพระธรรมตอนนี้ เราเห็นชัดว่าการนับกำลังพลนั้น เท่ากับขาดความยำเกรง เป็นความผิดร้ายแรงที่ต้องชดใช้ ถ้าไม่ชดใช้ ภัยพิบัติร้ายแรง จำต้องเกิดขึ้น

ผมค่อนข้างมีปัญหากับพระธรรมตอนนี้ โดยเฉพาะเรื่องการนับจำนวนคนอิสราเอล เรามองไม่เห็นเหตุผลชัดเจน แต่ผมเริ่มเห็น ความจริงบางอย่าง ถ้าพระเจ้าไม่ทรงพอพระทัยในการกระทำของดาวิดด้วยสาเหตุบางประการ เราเองก็ไม่เห็นสาเหตุใด ที่ดาวิดอยู่ดีๆ ลุกขึ้นมานับกำลังพล แต่ละครั้งในอดีต การนับกำลังพลมีเหตุผลเสมอ เมื่อนับกำลังทางทหาร แปลว่าเตรียม พร้อมออกศึก แต่ครั้งนี้ไม่ได้มีศึกสงครามใด ดูเหมือนดาวิดต้องการอยากรู้กำลังภายใต้อำนาจของตน เพื่อความภูมิใจส่วนตัว ดาวิดดูจะใส่ใจเรื่องอำนาจของตน ในเรื่องความแข็งแกร่ง ในการสู้ศึก จนเกินพอดี อาจเกินไปจนลืมพึ่งพาพระเจ้า เช่นเดียว กับกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ในพระธรรมดาเนียลบทที่ 4 หลงไหลในความเก่งกล้าของตนเอง อำนาจที่มีอยู่ในมือ และยศฐา บรรดาศักดิ์

มี "ความรู้สึก" บางอย่างซ่อนอยู่ในพระธรรมตอนนี้ ทำให้ผมนึกถึงเมื่ออาดัมและเอวาล้มลงในบาปในปฐมกาล 3 การนับกำลัง พลอิสราเอล เหมือนกับทำให้ดาวิด "รู้" ในเรื่องต้องห้าม ไม่สมควรรู้ เรื่องความยิ่งใหญ่ทางทหารของตนเอง (เทียบกับ ฉธบ. 17:14-20) ท่านต้องการ "เห็น" และรู้ถึงกำลังและอำนาจที่ตนเองมี ถึงแม้เป็นเรื่องต้องห้าม แต่ความปรารถนามันรุนแรงกว่าครับ

ขณะที่เราสงสัยเรื่อง "ความบาป" ในการกระทำเช่นนี้ แต่สำหรับคนของท่าน โยอาบ ผู้นำกองทัพ กลับไม่สงสัย (ข้อ 3; ดู 1 พกษ. 21:6) และท่านผู้นำกองทัพ (ข้อ 4) จึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดนี้ แม้แต่ดาวิดเองก็ถูกจิตสำนึกโจมตี (ข้อ 10) ก่อนที่ ผู้เผยพระวจนะกาด จะมาเผชิญหน้าและตำหนิท่านเสียอีก (เช่นเดียวกับที่นาธันทำในกรณีของอุรียาห์และบัทเชบา – 2 ซามูเอล 12) การนับกำลังพลของ แผ่นดินเป็นสิ่งที่ผิด แต่ทว่าคนอื่นๆในแผ่นดินดูเหมือนจะพากันลืมสิ้น

โยอาบพยายามคัดค้านอย่างสุดความสามารถ เอาตำแหน่งและความปลอดภัยมาเสี่ยง ถึงกระนั้นก็ไม่อาจต้านทานดาวิด และคนอื่นๆได้ แม้จะไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องจำยอม ออกไปทำตามความประสงค์ของดาวิด (ดู 1 พกษ. 21:6) โยอาบต้องไป ทำหน้าที่ที่ตนเองเกลียด นับว่าเป็นภาระอันหนักอึ้ง ต้องข้ามแม่น้ำจอร์แดน มุ่งขึ้นเหนือ ไปทางตะวันตก แล้ววกลงใต้ เดินทาง ไปทั่วประเทศ เหมือนเข็มนาฬิกา และเมื่อภาระนี้จบลง ดาวิดจึงได้รับรายงาน มีนักรบกล้าถึง 800,000 คนในอิสราเอล และ นักสู้เฉพาะกิจอีก 500,000 คนในยูดาห์ (ข้อ 9)136

เมื่อดาวิดสำนึก
(24:10-14)

10 เมื่อได้นับจำนวนเสร็จแล้วพระทัยของดาวิดก็โทมนัส และดาวิดกราบทูลต่อพระเจ้าว่า "ข้าพระองค์ได้กระทำบาป ใหญ่ยิ่งในสิ่งซึ่ง ข้าพระองค์ได้กระทำนี้ ข้าแต่พระเจ้า แต่ขอพระองค์ทรงให้อภัยความบาปชั่วของข้าพระองค์ เพราะ ข้าพระองค์กระทำการอย่างโง่เขลามาก"
11 และเมื่อดาวิดทรงลุกขึ้นในตอนเช้า พระวจนะของพระเจ้าก็มายังกาดผู้เผย พระวจนะผู้ทำนายของดาวิดว่า
12 "จงไปบอกดาวิดว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'เราเสนอเจ้าสามประการ จงเลือกเอาประการหนึ่งเพื่อเราจะได้กระทำให้แก่เจ้า'"
13 กาดจึงเข้าเฝ้าดาวิดและกราบทูลพระองค์ว่า "จะให้เกิดกันดารอาหารในแผ่นดินของฝ่า พระบาทสิ้นเจ็ดปีหรือ ฝ่าพระบาท จะยอมหนีศัตรูสิ้น เวลาสามเดือนด้วยเขาไล่ติดตาม หรือจะให้โรคระบาดเกิดขึ้นใน แผ่นดินของฝ่าพระบาทสิ้นสามวัน บัดนี้ขอฝ่าพระบาททรงตรึกตรอง และตัดสินในพระทัยว่าจะให้คำตอบประการใด เพื่อข้าพระบาทจะนำกลับไปกราบทูล พระองค์ผู้ทรง ใช้ข้าพระบาทมา"
14 ดาวิดจึงตรัสกับกาดว่า "เรามีความกระวนกระวายมาก ขอให้เราทั้งหลายตกเข้าไปอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า เพราะ พระกรุณาคุณของพระองค์ใหญ่ยิ่งนัก แต่ขออย่าให้เราตกเข้าไปในมือของมนุษย์เลย"

ก่อนจะถูกเตือน ดาวิดได้ตระหนักถึงความบาปของตนแล้ว ที่บังอาจไปนับกำลังพลของแผ่นดิน เมื่อใจของท่านเป็นทุกข์หนัก ท่านได้สำนึก ท่านสารภาพว่าบาปที่ทำลงไปนั้นใหญ่หลวงนัก และการกระทำของท่านนั้นโง่เขลาที่สุด (ข้อ 10) ความรู้สึกผิด และยอมสารภาพของท่าน เกิดขึ้นในตอนกลางคืน เพราะเมื่อท่านตื่นขึ้น ผู้เผยพระวจนะกาด137 มาพบ พร้อมด้วยพระวจนะจาก พระเจ้า ไม่มีคำโต้แย้ง ไม่มีการสอบสวนว่าดาวิดผิดจริงหรือไม่ มีอยู่อย่างเดียว คือต้องตัดสินใจเรื่องบทลงโทษ ท่านมีสาม ทางเลือก ทุกอย่างตรงตามที่บัญญัติอยู่ในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ 28 เป็นบทลงโทษ เมื่ออิสราเอลผิดสัญญาที่ทำไว้กับ พระเจ้า138

ทางเลือกของดาวิดมีเรื่องระยะเวลาของบทลงโทษรวมอยู่ด้วย : เจ็ดปีกันดารอาหาร139 สามเดือนถูกศัตรูไล่ล่า หรือสามวัน โรคระบาด ดาวิดเลือกทางเลือกที่สาม ไม่ใช่เพราะระยะสั้นที่สุด แต่ท่านเลือกที่จะถูกลงโทษโดยตรงจากพระหัตถ์ของพระเจ้า มากกว่าน้ำมือของมนุษย์

ทำไมเป็นเช่นนั้น? ทำไมดาวิดเลือกการลงโทษโดยตรง ที่มาจากพระเจ้าผู้ชอบธรรมและเี่ที่ยงธรรม มากกว่าจากฝีมือมนุษย์? ผมเชื่อว่า เป็นเพราะดาวิดรู้ดีว่า ท่านจะถูกลงโทษไม่ใช่ในฐานะผู้อื่น แต่ในฐานะบุตรของพระเจ้า ถึงกระนั้นภัยพิบัติ ก็ยังเป็น เรื่องน่าสะพรึงกลัว :

15 แล้วกษัตริย์ทั้งหลายในโลก พวกคนใหญ่คนโต นายทหารใหญ่ เศรษฐี ผู้มีอำนาจ และทุกคนทั้งที่เป็นทาสและเป็นอิสระ ก็ซ่อนตัว อยู่ในถ้ำและโขดหินตามภูเขา
16 พวกเขาร้องบอกกับภูเขาและโขดหินว่า "จงล้มทับเราเถิด จงซ่อนเราไว้ ให้พ้นจากพระพักตร์ของพระองค์ ผู้ประทับ อยู่บนพระที่นั่ง และให้พ้นจากพระพิโรธของพระเมษโปดกนั้น
17 เพราะว่าวันสำคัญแห่งพระพิโรธของพระองค์มาถึงแล้ว และผู้ใดจะทนอยู่ได้เล่า" (วิวรณ์ 6:15-17)

12 ข้าพเจ้าได้เห็นบรรดาผู้ที่ตายแล้ว ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยยืนอยู่หน้าพระที่นั่งนั้น และหนังสือต่างๆก็เปิดออก หนังสืออีก เล่มหนึ่ง ก็เปิดออกด้วย คือหนังสือชีวิต และผู้ที่ตายไปแล้วทั้งหมด ก็ถูกพิพากษาตามข้อความที่จารึกไว้ในหนังสือเหล่านั้น และตามที่เขาได้กระทำ
13 ทะเลก็ส่งคืนคนทั้งหลายที่ตายในทะเล ความตายและแดนมรณาก็ส่งคืนคนทั้งหลายที่อยู่ในแดนนั้น และคนทั้งหลาย ก็ถูกพิพากษา ตามการกระทำของตนหมดทุกคน
14 แล้วความตาย และแดนมรณาก็ถูกผลักทิ้งลงไปในบึงไฟ บึงไฟนี่แหละเป็นความตายครั้งที่สอง
15 และถ้าผู้ใดที่ไม่มีชื่อจดไว้ในหนังสือชีวิต ผู้นั้นก็ถูกทิ้งลงไปในบึงไฟ (วิวรณ์ 20:12-15)

ดาวิดไม่จำเป็นต้องกลัวพระอาชญาของพระเจ้าที่ทรงมีต่อผู้ไม่เชื่อ ถึงแม้จะไม่ได้รับผ่อนผันการลงวินัย แต่การถูกลงวินัย โดยบิดาผู้เป็นที่รัก กลับจะทำให้ท่านได้ไกล้ชิดพระองค์มากยิ่งขึ้น :

7 ท่านทั้งหลายจงรับและทนเอาเถอะเพราะเป็นการตีสอน พระเจ้าทรงปฏิบัติต่อท่านในฐานะที่ท่านเป็นบุตรของพระองค์ ด้วยว่ามีบุตร คนใดเล่าที่บิดาไม่ได้ตีสอนเขาบ้าง
8 แต่ถ้าท่านทั้งหลายไม่ได้ถูกตีสอนเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ท่านก็ไม่ได้เป็นบุตร แต่เป็นลูกที่ไม่มีพ่อ
9 อีกประการหนึ่ง เราทั้งหลายมีบิดาเป็นมนุษย์ที่ได้ตีสอนเรา และเราก็นับถือบิดานั้น ยิ่งกว่านั้นอีก เราควรจะอยู่ใต้บังคับของ พระบิดาแห่งวิญญาณจิต และมีชีวิตจำเริญมิใช่หรือ
10 เพราะบิดาที่เป็นมนุษย์ตีสอนเราเพียงชั่วเวลาเล็กน้อย ตามความเห็นดีเห็นชอบของเขาเท่านั้น แต่พระองค์ได้ทรงตีสอนเรา เพื่อประโยชน์ของเรา เพื่อให้เราได้เข้าส่วนในวิสุทธิภาพของพระองค์
11 เมื่อมีการตีสอนนั้นดูไม่เป็นที่ชื่นใจเลย เป็นเรื่องเศร้าใจ แต่ต่อมาภายหลังก็จะก่อให้เกิดความสุขสำราญแก่บรรดาคนที่ต้อง ทนอยู่นั้น คือความชอบธรรมนั้นเอง
12 เพราะเหตุนั้นจงยกมือที่อ่อนแรงขึ้น และจงให้หัวเข่าที่อ่อนล้ามีกำลังขึ้น
13 และจงทำทางให้ตรงเพื่อให้เท้าของท่านเดินไป เพื่อว่าขาที่เขยกนั้นจะได้ไม่เคล็ด แต่จะหายเป็นปกติ (ฮีบรู 12:7-13)
ฟังดูขัดแย้งกันนะครับ พระเจ้าผู้บริสุทธิ์ยุติธรรม และทรงเป็นพระเจ้าที่เปี่ยมไปด้วยพระกรุณา และพระทัยดี :
6 พระเจ้าเสด็จผ่านไปข้างหน้าท่าน ตรัสว่า "พระเยโฮวาห์ พระเยโฮวาห์ พระเจ้าผู้ทรงพระกรุณา ทรงกอปรด้วยพระคุณ ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และความสัตย์จริง
7 ผู้ทรงสำแดงความรักมั่นคงต่อมนุษย์กระทั่งพันชั่วอายุ ผู้ทรงโปรดยกโทษการล่วงละเมิด การทรยศ และบาปของเขาเสีย แต่จะทรงถือว่า ไม่มีโทษก็หามิได้ และให้โทษบิดาตกทอดไปถึงลูกหลานสามชั่ว สี่ชั่วอายุคน" (อพยพ 34:6-7)
โดยพระเมตตานี้เอง ดาวิดจึงเข้ามาพึ่งในพระคุณ ท่านรู้ดีว่าท่านทำผิดต่อพระองค์ และสมควรถูกพระองค์ลงโทษ และท่านก็รู้ ด้วยว่าพระหัตถ์ของพระเจ้านั้นมีเมตตากว่าเงื้อมมือมนุษย์ ลองมาหยุดคิดดู ดาวิดไม่เพียงวางใจในพระเจ้าเป็นพระผู้ช่วยให้รอด และช่วยกู้ท่านออกจากศัตรูเท่านั้น แต่รับการตีสอนของพระองค์ด้วย ไม่มีตรงไหนในชีวิตของเรา ที่เราควรจะวางใจในมนุษย์ มากไปกว่าในองค์พระผู้เป็นเจ้า

ความหายนะและพระเมตตา
(24:15-17)

15 ดังนั้นพระเจ้าจึงทรงให้โรคระบาดเกิดขึ้นในอิสราเอล ตั้งแต่เวลาเช้าจนสิ้นเวลากำหนด และประชาชนที่ตาย ตั้งแต่เมืองดาน ถึงเบเออร์เชบา มีเจ็ดหมื่นคน
16 และเมื่อทูตสวรรค์ยื่นมือออกเหนือกรุงเยรูซาเล็ม จะทำลายเมืองนั้น พระเจ้าทรงกลับพระทัยในเหตุร้ายนั้น ตรัสสั่งทูตสวรรค์ ผู้กำลังทำลายประชาชนว่า "พอแล้ว ยับยั้งมือของเจ้าได้" ส่วนทูตของพระเจ้าก็อยู่ที่ลาน นวดข้าวของอาราวนาห์คนเยบุส
17 เมื่อดาวิดทอดพระเนตร ทูตสวรรค์ผู้กำลังสังหารประชาชนนั้น พระองค์กราบทูลพระเจ้าว่า "นี่แหละข้าพระองค์ได้ละเมิด กระทำบาปแล้ว แต่บรรดาแกะเหล่านี้ เขาได้กระทำอะไร ขอพระหัตถ์ของพระองค์อยู่เหนือข้าพระองค์ และพงศ์พันธุ์ของ ข้าพระองค์เถิด"

พระเจ้าทรงพิโรธต่ออิสราเอล และพวกเขาสมควรถูกการลงโทษด้วยโรคระบาด ไม่ใช่เป็นแค่ความบาปของดาวิดเท่านั้น แต่เป็นความบาปของอิสราเอลเองด้วย น่าขำนะครับ ทันทีที่ดาวิดรู้จำนวนตัวเลขนักรบในปกครอง ผลลัพท์ของมัน คือตัวเลข ลดลงไปทันที 70,000 คน ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้น กระจายไปทั่วทั้งแผ่นดินอิสราเอล และเมื่อทูตสวรรค์ของพระเจ้ากำลังจะ ลงดาบทำลายบรรดาผู้ที่มีส่วนในการนับกำลังพล กำลังอยู่ปากประตูเยรูซาเล็มพร้อมด้วยภัยพิบัติ ดาวิดเห็นทูตสวรรค์นั้นชูดาบขึ้น พร้อมที่จะทำลายเยรูซาเล็ม เรารู้ว่าในที่สุดแล้วพระเจ้าทรงยับยั้ง ความเชื่อที่ดาวิดมีเต็มเปี่ยมในพระเจ้า กำลังจะส่งผล เมื่อพระองค์เทพระพิโรธลงไปยังประชากรของพระองค์ แต่แล้ว ทรงมีพระทัยสงสาร ทูตสวรรค์ของพระองค์ยืนอยู่ที่ปากประตู ที่ลานนวดข้าวของอาราวนาห์คนเยบุส 140 ได้รับคำสั่งให้หยุดการลงพระอาชญาในทันที

ดาวิดคงไม่เข้าใจน้ำพระทัยนัก ทรงทูลขอให้พระองค์ยับยั้งภัยพิบัติต่อประชาชน แต่ให้นำมันเทลงมาที่ท่าน และพงศ์พันธ์ ของท่านแทน (ซึ่งต่างกับวงศ์วานของซาอูลในบทที่ 21) พระเจ้ามีแผนการที่ดีกว่านั้น พระองค์จะทรงสั่งดาวิดผ่านทาง ผู้เผยพระวจนะกาด ในตอนจบของพระธรรมเล่มยิ่งใหญ่นี้

สถานที่สร้างแท่นบูชาลบบาป
(24:18-25)

18 ในวันนั้นกาดก็เข้ามาเฝ้าดาวิด กราบทูลพระองค์ว่า "ขอเสด็จขึ้นไปสร้างแท่นบูชา ถวายแด่พระเจ้าบนลานนวดข้าวของอาราวนาห์ คนเยบุส"
19 ดาวิดก็เสด็จขึ้นไปตาม คำของกาดตามที่พระเจ้าทรงบัญชา
20 เมื่ออาราวนาห์มองลงมา เห็นพระราชาและข้าราชการขึ้นมาหาตน อาราวนาห์ก็ออกไปถวายบังคมพระราชาซบหน้าลงถึงดิน
21 และอาราวนาห์กราบทูลว่า "ไฉนพระราชาเจ้านายของข้าพระบาท จึงเสด็จมาหาข้าพระบาท" ดาวิดตรัสว่า "มาซื้อลานนวดข้าวจาก ท่าน เพื่อจะสร้างแท่นบูชาถวายแด่พระเจ้า เพื่อโรคร้ายจะได้ระงับเสียจากประชาชน"
22 อาราวนาห์จึงกราบทูลดาวิดว่า "ขอพระราชาเจ้านายของข้าพระบาท จงรับสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นชอบขึ้นถวาย ที่นี่มีวัวสำหรับ ทำเครื่องเผาบูชา และเลื่อนนวดข้าวกับแอกสำหรับวัวเป็นฟืน
23 ของทั้งสิ้นนี้อาราวนาห์ขอถวายแด่พระราชา" และอาราวนาห์กราบทูลพระราชาอีกว่า "ขอพระเยโฮวาห์พระเจ้าของฝ่าพระบาท จงโปรดปรานฝ่าพระบาท"
24 แต่พระราชาตรัสกับอาราวนาห์ว่า "หามิได้ แต่เราจะขอเสียเงินซื้อจากท่าน เราจะถวายเครื่องเผาบูชาแด่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของ เราโดยที่เราไม่เสียค่าอะไรเลยนั้นไม่ได้" ดาวิดจึงทรงซื้อลานนวดข้าวกับวัวเป็นเงินห้าสิบเชเขล 25 ดาวิดก็ทรงสร้างแท่นบูชาถวายแด่พระเจ้าที่นั่น และถวายเครื่องเผาบูชากับเครื่องศานติบูชา พระเจ้าทรงสดับฟังคำอธิษฐานเพื่อแผ่นดินนั้น และโรคร้ายก็ระงับเสียจากอิสราเอล (2ซามูเอล 24:18-24)

ผู้เผยพระวจนะกาดมาพบดาวิดพร้อมเสนอทางแก้ใข – ถวายบูชา ดาวิดต้องตั้งแท่นถวายบูชาแด่พระเจ้า บนลานนวดข้าว ของอาราวนาห์ ในทันที ดาวิดมุ่งตรงไปยังสถานที่ ที่ท่านเห็นทูตสวรรค์ของพระเจ้ายับยั้งการลงอาญา อาราวนาห์และ บุตรชายทั้งสี่กำลังทำงานอยู่ที่ลานนวดข้าว เมื่อเขามองขึ้นมา เห็นทูตสวรรค์ของพระเจ้า และเห็นดาวิดกับเหล่ามหาดเล็ก กำลังมุ่งตรงมา (1 พศด. 21:20-21) คงอกสั่นขวัญแขวนด้วยความสะพรึงกลัว (ใน 1 พศด. ใช้ชื่อออร์นาน)

ในจินตนาการของผม ผมนึกไปถึงเพื่อนร่วมห้องคนหนึ่ง ที่อยู่หอพักมหาวิทยาลัยเดียวกัน เขาขับรถฟอร์ดปี 1953 ซึ่งใกล้จะ หมดสภาพอยู่รอมร่อ ตอนนั้นเผอิญมีเพื่อนอีกคนเป็นเซลล์ขายรถใหม่ และค้ารถเก่าไปด้วยพร้อมๆกัน เจอร์รี่เพื่อนผมขับฟอร์ด ปี 1953 นี้ ไปเมืองออร์เบินที่รัฐวอชิงตัน เพื่อไปดูสภาพรถอีกคัน เป็นเชฟโรเร็ตปี 1959 ซึ่งเขาพอใจแต่ไม่กล้าแย้มให้เซลล์ขาย รถรู้ ทันทีที่เซลล์เสนอราคา "ดีที่สุด" ให้ (พร้อมทั้งยอมรับซื้อรถฟอร์ดคันเก่าเอาไว้ด้วย) เจอร์รี่กลับบอกว่าขอกลับไปคิดดูก่อน แล้วขึ้นนั่งรถฟอร์ด ใขกุญแจสตาร์ท ; เงียบสนิทครับ เขาตัดสินใจค่อยๆลุกออกจากรถ เดินไปหาเซลล์ขายรถ พร้อมกับพูดว่า "ตกลงซื้อครับ" ตอนนี้คงไม่ใช่เวลามาเกี่ยงราคาแล้วครับ เพราะเจอร์รี่กำลังจนมุม

อาราวนาห์ตกอยู่ในสถานะเดียวกัน ทูตสวรรค์ของพระเจ้าอยู่ที่นั่น ดาวิดและมหาดเล็กของท่านกำลังมุ่งตรงมา อาราวนาห์ เป็นคนต่างชาติ ที่ยังโชคดีมีชีวิตอยู่ แถมยังมีที่ดินไกล้กับดาวิดในกรุงเยรูซาเล็ม เป็นที่ดินผืนงามที่ดาวิดแจ้งความประสงค์ ว่าอยากได้ ดาวิดต้องการทราบราคา อาราวนาห์คิดว่าน่าจะเป็นโอกาสดีที่ี่ควรเสนอบางอย่างให้กับดาวิด เขาเสนอไม่เพียง แต่มอบที่ดินให้ฟรีๆเท่านั้น แต่ให้วัวและเครื่องไม้เครื่องมือในการนวดข้าวด้วย เพื่อดาวิดจะสามารถนำไปใช้ในการถวายบูชาได้

ผมว่าเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจนะครับ สามารถถวาย "ของหรู" ให้กับพระเจ้าได้ – ในราคาที่ไม่น่าเชื่อ (คือฟรีครับ) อาราวนาห์ คงตกใจกับคำตอบของดาวิด ท่านไม่ยอมรับข้อเสนอสำหรับที่ดินผืนงามนี้ เพราะถ้าดาวิดรับ เท่ากับท่านถวายบูชาโดยไม่ต้อง จ่ายอะไรเลย แล้วการ "ถวายบูชา" โดยไม่สละสิ่งใด "ถวาย"เลย จะไปมีความหมายได้อย่างไร? ดาวิดซื้อที่ดินผืนนั้น (ผมไม่ แน่ใจเรื่องวัว และเครื่องมือนวดข้าว) ในราคาเต็ม และทำพิธีถวายบูชา เมื่อเสร็จแล้ว พระเจ้าทรงรับฟังคำร้องทูลของดาวิด และประชาชน พระองค์จึงทรงยับยั้งภัยพิบัติเสีย 141

บทสรุป

พระธรรมบทนี้เป็นการสรุป 1 และ 2 ซามูเอลของผู้เขียน เราอาจเรียกว่าเป็นการสรุปของบทสรุปก็ได้ อีกแง่หนึ่ง เรื่องราว จบลงตั้งแต่บทที่ 20 บทที่ 21-24 เป็นเหมือนบทส่งท้ายของพระธรรมทั้งเล่ม นำเราให้เข้าถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด การจะเข้าใจบทส่งท้ายนี้ให้ดีที่สุด ต้องใช้ตารางหรือภาพประกอบเข้าช่วย ตามที่คุณเห็นด้านล่างนี้

แก่นของวาทะสุดท้ายคือบทเพลงทั้งสองของดาวิด เพลงแรกเป็นการย้อนกลับไปเมื่อท่านได้รับการช่วยกู้จากซาอูล และจากศัตรู ยาวไปจนถึงเมื่อท่านได้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์ ส่วนเพลงหลังย้อนกลับไปในสมัยที่ท่านปกครอง และเมื่อวาระสุดท้ายไกล้เข้ามา (22:1-51; 23:1-7) หัวใจของทั้งสองบทเพลงคือ "พระเจ้าเป็นผู้ช่วยกู้" ถึงแม้ท่านหวุดหวิดตายหลายหน ต้องเผชิญกับเรื่อง ประหลาดมหัศจรรย์มากมาย พระเจ้ายังทรงช่วยท่านให้พ้นความตาย และทำตามพระสัญญาที่ให้ท่านขึ้นเป็นกษัตริย์อิสราเอล นอกจากนี้ ดาวิดยังมองพระองค์เป็นพระผู้ช่วยในอนาคต เมื่อพระองค์ส่งกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพระองค์ คือพระเมสซิยาห์ลงมา ทำให้น้ำพระทัย เรื่องแผนการความรอดสุดท้ายของพระองค์สำเร็จลง

ตอนที่สองและตอนที่ห้าของวาทะสุดท้ายนี้ เกี่ยวข้องกับทหารกล้า "วีรบุรุษ" ของดาวิด ใน 21:15-22 ดาวิดได้ผ่านจุดสูงสุด ของชีวิตมาแล้ว และพวกลูกหลานยักษ์ของโกลิอัทเกือบเอาชีวิตท่านไป ดีที่อาบีชัยมาช่วยไว้ทัน ฆ่ายักษ์อิชบีเบโนบเสีย พร้อม ทั้งยักษ์อื่นอีกสามตน ก็ถูกทหารกล้าของดาวิดฆ่าตาย (พวกนี้เป็นลูกหลานของโกลิอัท) ใน 23:8-39 มีการยกย่องกลุ่ม วีรบุรุษของดาวิดคือ "ทั้งสาม" และ "สามสิบ" คนเหล่านี้วางใจในพระเจ้า และเป็นเครื่องมือที่พระองค์ทรงใช้ ให้มีชัยชนะอย่าง อัศจรรย์ ต่อบรรดาศัตรูของอิสราเอล พระเจ้าทรงประทานชัยชนะให้แก่ดาวิดและอิสราเอลผ่านฝีืมือของทหารกล้าเหล่านี้

ตอนแรกและตอนท้ายของวาทะสุดท้ายนี้ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความบาปของกษัตริย์สององค์แรกของอิสราเอล ใน 21:1-14 มีการถวายบูชาไถ่ความผิดบาปของซาอูล ที่พยายามทำลายเผ่าพันธ์ของกิเบโอน ซึ่งชาวอิสราเอลในอดีตเคยทำสัญญาไว้ชีวิต บุตรชายจำนวน "เจ็ด" คนของซาอูล ถูกส่งไปให้คนกิเบโอนประหาร เพื่อเป็นการชดใช้บาป และการกันดารอาหารก็หมดไป เมื่อ พระเจ้าทรงกลับมาฟังคำทูลวิงวอนของชาวอิสราเอลอีกครั้ง ใน 24:1-25 (ของตอนนี้) เราเห็นความบาปของดาวิด ซึ่งทำให้ทั้ง ชาติต้องโทษ จนเมื่อมีการซื้อขายที่ดินบนลาดนวดข้าวของอาราวนาห์ จัดตั้งแท่นบูชา และการถวายบูชาแด่พระเจ้าเสร็จสิ้นลง พระองค์ทรงระงับภัยพิบัติเสีย จากประชาชนและแผ่นดินอิสราเอล

ทั้งสามย่อหน้านี้เป็นบทสรุปของพระธรรมทั้งเล่ม มีบทเรียนสำคัญบางเรื่องที่ผู้เขียนต้องการทิ้งท้ายให้เรา ผมขออนุญาตสรุป ดังนี้ครับ

ประการแรก เตือนเราอีกครั้ง ถึงความสัตย์ซื่อของพระเจ้าในการช่วยกู้ประชากรของพระองค์ พระธรรมซามูเอลฉบับ แรกเริ่มด้วยความทุกข์ของนางฮันนาห์ที่ไม่สามารถมีบุตร พระเจ้า "ทรงช่วย" นางจากการเป็นหมัน และไม่ได้มีบุตรชายเพียง ซามูเอลเท่านั้น แต่มีบุตรชายหญิงอีกหลายคน บทเพลงของนางจึงเป็น "บทเพลงการช่วยกู้" (1 ซามูเอล 2) ตั้งแต่โมเสส และอาโรน ตลอดจนยุคผู้วินิจฉัย พระเจ้าทรงช่วยประชากรของพระองค์เสมอเมื่อเขาร้องทูลขอ (1 ซามูเอล 12:6-11) และ พระเจ้าทรงช่วยอิสราเอลโดยทางซาอูลและดาวิด เมื่อทั้งสองออกสู้ศึก โดยเฉพาะสงครามกับพวกฟิลิสเตีย พระเจ้าทรงเป็น พระผู้ช่วยของดาวิด ครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอดอายุใขของท่าน ดาวิดยังมองไปไกลถึง "บุตรดาวิด" ที่ี่จะมาเป็นผู้ช่วยในเบื้องปลาย ซามูเอลมีเรื่องมากมายที่ถ่ายทอดให้เรารู้ ถึงความสัตย์ซื่อของพระเจ้า ในฐานะผู้ช่วยกู้คนของพระองค์ ถึงแม้พวกเขาจะล้มเหลว จึงไม่น่าประหลาดใจ ที่ดาวิดกล่าวถึงชีวิตของท่าน ด้วยการสรรเสริญว่า พระองค์ทรงเป็นป้อมปราการ ที่ช่วยกอบกู้ท่าน

ประการที่สอง เมื่อเราเห็นว่า พระเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยที่สัตย์ซื่อ บ่อยครั้งเราเห็นว่าพระองค์ทรงใช้คนที่มีใจกล้า และมีความเชื่อ ดาวิดถูกเตรียมให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองอิสราเอล จากการเป็นเพียงเด็กดูแลฝูงแกะฝูงเล็กๆของบิดา ในช่วง เวลาเหล่านั้น ท่านเรียนรู้ที่จะวางใจพระเจ้า ทำสิ่งกล้าหาญ ช่วยลูกแกะออกจากปากหมีและปากสิงห์ ท่านเริ่มอาชีพทหารของ ท่านอย่างอัศจรรย์ ด้วยการไปเผชิญหน้ากับโกลิอัทที่แนวหน้าในสนามรบ ขณะที่ซาอูลเอง ไม่เคยหนุนคนของท่านให้มีใจกล้า ความกล้าของดาวิด ทำให้้คนอื่นเห็นเป็นแบบอย่าง และปรารถนาจะทำตามด้วยใจกล้าหาญ คนของท่านสามารถทำให้ดาวิดรา มือจากการสู้รบได้เมื่อท่านเริ่มชราลง ขณะที่พระเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยที่สัตย์ซื่อ บ่อยครั้งที่พระองค์ช่วยกู้อิสราเอลผ่านทาง ความเชื่อและความกล้าของวีรบุรุษเหล่านี้ เพราะคนเหล่านี้ต่อสู้กับศัตรูของพระเจ้าด้วยความวางใจ การครอบครองอยู่ของพระ เจ้าในแผนการความรอด ไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวางความเชื่อและความตั้งใจของมนุษย์ ; แต่กลับเป็นแรงบันดาลใจ

ประการที่สาม เราเห็นได้ว่า ถึงแม้มนุษย์เป็นคนบาป แต่ความบาปของเราไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวาง พระราชกิจ เรื่องความรอดของพระเจ้า ถ้าดาวิดเป็นบุคคลยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ประวัติศาสตร์เคยมีมา เราก็ยังมองออกว่าท่านไม่ใช่ผู้ช่วย มนุษยชาติให้รอด ความรอดที่พระเจ้าสัญญาจะประทานผ่านวงศ์วานดาวิด ต้องมาจากบุคคลที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น อย่างที่เรารู้ๆกัน ดาวิดเองยังทำบาป ถึงแม้จะเป็นกรณียกเว้น แต่ที่แน่ๆ มันทำให้ท่านไม่เหมาะจะเป็นพระิเมสซิยาห์ของอิสราเอล เรื่องน่าทึ่งใน พระธรรม 1 และ 2 ซามูเอลคือ ขณะที่ดาวิดทำบาป และสร้างผลกระทบต่อคนมากมาย พระเจ้าผู้ทรงครอบครอง ยังคงเลือกที่จะ มอบพระพรอันยิ่งใหญ่ให้บังเกิดขึ้นผ่านความล้มเหลวของท่าน ผลของบาปหนักสองประการที่ดาวิดทำ นำมาซึ่งพระพรอัน ยิ่งใหญ่ถึงสองประการ บาปที่ท่านกับนางบัทเชบา ทำให้เกิดพงศ์พันธ์ของพระเมสซิยาห์ผ่านมาทางนางบัทเชบา และในที่สุด เมื่อท่านแต่งงานกับนาง บุตรที่เกิดขึ้นคือกษัตริย์องค์ต่อมาของอิสราเอล - กษัตริย์ซาโลมอน บาปที่ท่านนับกำลังพลของอิสราเอล ทำให้ท่านต้องไปขอซื้อที่ดินบนลานนวดข้าวของอาราวนาห์ ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ตั้งของพระวิหารที่กษัตริย์ซาโลมอนเป็นผู้สร้าง การที่คนต่างชาติได้มามีส่วนในความรอด เป็นเพราะคนยิวเองปฏิเสธองค์พระเยซูคริสต์เป็นพระเมสซิยาห์ (ดูโรม 11) บาปของ เราทำให้พระเจ้าผู้ทรงธรรมเสียพระทัย แต่ไม่สามารถปิดกั้นพระราชกิจของพระองค์ได้ พระองค์ทรงใช้ความบาปนี้ ทำให้พระ ประสงค์และพระสัญญาสำเร็จลงได้ นอกจากนี้ พระองค์ยังสามารถใช้ประโยชน์จากมารซาตาน เพื่อให้พระประสงค์ของพระองค์ สำเร็จลงได้เช่นกัน (1 พศด. 21:1)

ประการที่สี่ จากบทส่งท้ายนี้ ทำให้เราเห็นว่ากษัตริย์ที่เป็นมนุษย์ ไม่สามารถทำพระสัญญาเรื่องความรอดขององค์พระ ผู้เป็นเจ้าให้สำเร็จได้ ต้องเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่กว่าดาวิด อิสราเอลปฏิเสธไม่ยอมให้พระเจ้าเป็นกษัตริย์ของพวกเขาใน 1 ซามูเอลบทที่ 18 พวกเขาเรียกร้องอยากมีกษัตริย์ที่สามารถ "ช่วย" ให้พ้นจากเงื้อมมือของศัตรูได้ ถึงแม้พระเจ้าไม่เคยสละ ตำแหน่งของพระองค์ในฐานะกษัตริย์อิสราเอล พระผู้ช่วย โดยทางเชื้อสายของดาวิด พระองค์จะทรงประทานกษัตริย์ให้กับ ประชากรของพระองค์ เป็นผู้ช่วยพวกเขาให้รอดพ้นจากความผิดบาป พระองค์นั้น จะเป็นมากกว่าดาวิด เป็นยิ่งกว่ามนุษย์ และ ปราศจากบาป คือองค์พระเยซูคริสต์ ผู้จะเสด็จมาเป็น "พระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับความผิดบาปของโลกไปเสีย"

(ยอห์น 1:29) พระองค์จะเสด็จมาดำเนินชีวิตโดยปราศจากบาป สละพระชนม์เป็นค่าไถ่แทนความบาปของมนุษย์ จะทรงถูกชุบ "ให้เป็นขึ้นมาจากความตาย" โดยพระบิดา และจะเสด็จกลับมาในฐานะกษัตริย์ของอิสราเอล มีชัยต่อบรรดาศัตรู ซามูเอลเพียงแต่ แง้มให้เราห็น "กษัตริย์" ที่จะเสด็จมานี้ มาเพื่อช่วยประชากรของพระองค์ให้พ้นจากความผิดบาป

ก่อนที่จะจบพระธรรมเล่มนี้ สายตาของเราจับจ้องอยู่ที่องค์พระเยซูคริสต์ ผู้จะเสด็จมาช่วยประชากรของพระองค์ เป็น "บุตรดาวิด" ที่จะนั่งบนบัลลังก์ของบรรพบุรุษ "ดาวิด" และเช่นกัน สายตาของเราจะมุ่งไปยังจุดที่อยู่บนยอดเขาไกล้เยรูซาเล็ม ที่ผมจินตนาเห็น ทูตสวรรค์ของพระเจ้า ยกมือขึ้นสูง พร้อมจะฟาดดาบลงมาทำลายเยรูซาเล็ม ทำให้ผมนึกย้อนไปไกลถึงอับราฮัม ที่ชูมือขึ้น พร้อม มีดในมือ เพื่อฆ่าบุตรสุดรักอิสอัค เหตุการณ์ทั้งสองเกิดในสถานที่เดียวกัน บนภูเขาโมรียาห์ ทั้งสองครั้งพระเจ้าทรงยั้งมือนั้น เพราะพระองค์มีเครื่องถวายบูชาที่ประเสริฐกว่า เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของโลกนี้

แล้วพระวิหารก็ถูกสร้างขึ้นตรงจุดนี้ บนภูเขาโมรียาห์ เป็นสถานที่เดียวกับที่มีการถวายบูชา และพระเจ้าทรงยั้งพระหัตถ์ แห่งการพิพากษาของพระองค์เสีย เหนือกว่าอื่นใด สถานที่นี้อยู่บนเขาที่ไม่ไกลไปจากเนินหัวกระโหลก ที่พระอาชญา ของพระเจ้าลงมาเหนือพระบุตรสุดที่รักของพระองค์ และด้วยการพลีพระชนม์เป็นเครื่องบูชานี้ มนุษย์จึงรอดพ้น จากพระอาชญานิรันดร์ของพระเจ้า ที่ลงโทษความบาปของมนุษย์ เพราะการพลีพระชนม์บนไม้กางเขน และกลับ คืนพระชนม์ – โดยพระบิดา – ความรอดนิรันดร์จึงมีมาถึงพวกเรา คุณเคยรับเอาของขวัญนี้หรือยัง? คุณได้มอบให้พระเจ้า เป็นพระผู้ช่วยให้รอด เป็นโล่ห์ เป็นที่กำบังเข้มแข็งของคุณแล้วยัง? ถ้ายัง ผมอยากให้คุณตัดสินใจรับในทันที

บทเรียนตอนนี้มีเรื่องราวสอนเรามากมาย ผมขอนำบางเรื่องมาให้ลองพิจารณาดู ขอให้เราระวังระไว ในสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำให้ สำเร็จ โดยผ่านเราและภายในเรา เราจะเห็นว่าปัญหาของดาวิดส่วนใหญ่มาจากความผยอง คิดว่าตัวเองทำสำเร็จ โดยลืมไปว่า พระเจ้าต่างหากที่เป็นผู้กระทำ อย่าวัดความสำเร็จออกมาเป็นตัวเลข ในสายพระเนตรพระเจ้า พระเจ้าไม่เคยวัดความสำเร็จจาก ปริมาณ ขอให้สิ่งนี้เตือนใจเรา ระวังจะถูกทดลองให้ติดกับ (เรื่องความผยอง) โดยคิดเอาเองว่า "ตัวข้านี้แน่"

อย่ายึดติดกับเกียรติยศ หลงวนเวียนอยู่กับความสำเร็จในอดีต ขอให้มุ่งอยู่ในสิ่งที่พระเจ้าปรารถนาจะทำผ่านเรา เพื่อพระเกียรติ พระสิริทั้งสิ้นจะมีแด่พระองค์ (ดูฟิลิปปี 3)

สุดท้ายนี้ ขอให้เรียนจากเรื่องราวของดาวิด ไม่มีการถวายบูชาที่ไหน ที่ปราศจากการเสียสละ และการถวายบูชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือพระชนม์ขององค์พระเยซูคริสต์ ดังนั้นขอให้การถวายบูชาของเราทั้งหลาย มาจากการเสียสละตัวตนของเราด้วย

1 พี่น้องทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลาย ให้ถวายตัวของท่าน แด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตอันบริสุทธิ์และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการ โดยวิญญาณจิตของ ท่านทั้งหลาย
2 อย่าประพฤติตามอย่างคนในยุคนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ แล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่ เพื่อท่านจะได้ ทราบน้ำพระทัยของพระเจ้า จะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม
3 ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่านทั้งหลายทุกคนโดยพระคุณ ซึ่งทรงประทานแก่ข้าพเจ้าแล้วว่า อย่าคิดถือตัวเกินที่ตนควรจะคิดนั้น แต่จงคิดให้ถ่อมสุขุมสมกับขนาดความเชื่อ ที่พระเจ้าได้ทรงโปรดประทานแก่ท่าน
4 เพราะว่า ในร่างกายอันเดียวนั้น เรามีอวัยวะหลายอย่าง และอวัยวะนั้นๆมิได้มีหน้าที่เหมือนกันฉันใด
5 พวกเราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายอันเดียวในพระคริสต์ และเป็นอวัยวะแก่กันและกันฉันนั้น
6 และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ ก็จงเผยตาม กำลังของความเชื่อ
7 ถ้าเป็นการปรนนิบัติก็จงปรนนิบัติ ถ้าเป็นการสั่งสอนก็จงสั่งสอน
8 ถ้าเป็นการเตือนสติก็จงเตือนสติ ถ้าเป็นการบริจาค ก็จงให้ด้วยใจกว้างขวาง ผู้ที่ครอบครอง ก็จงครอบครองด้วยเอาใจใส่ ผู้ที่แสดงความเมตตา ก็จงแสดงด้วยใจยินดี (โรม 12:1-8)

9 อย่าหลงไปตามคำสอนต่างๆที่แปลกๆ เพราะว่าเป็นการดีอยู่แล้วที่จะให้กำลังใจเข้มแข็งขึ้นด้วยพระคุณ ไม่ใช่ด้วยอาหาร การกิน ซึ่งไม่เคยเป็นประโยชน์แก่คนที่หลงติดอยู่เลย
10 เรามีแท่นบูชาแท่นหนึ่ง และคนที่ปรนนิบัติในเต็นท์นั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับประทานของจากแท่นนั้นได้
11 เพราะร่างของสัตว์เหล่านั้น ที่มหาปุโรหิตได้เอาเลือดเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาลบบาปนั้น เขาเคยเอา ไปเผาเสียนอกค่าย
12 เหตุฉะนั้นพระเยซูก็ได้ทรงทนทุกข์ทรมานภายนอกประตูนครเช่นเดียวกัน เพื่อทรงชำระประชาชนให้บริสุทธิ์ ด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง
13 เพราะฉะนั้นให้เราทั้งหลายออกไปหาพระองค์ภายนอกค่ายนั้น และยอมรับคำดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่อพระองค์
14 เพราะว่าที่นี่เราไม่มีนครที่ถาวร แต่ว่าเราแสวงหานครที่จะมีในภายหน้า
15 เหตุฉะนั้น ให้เราถวายคำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชาแด่พระเจ้าตลอดไป โดยทางพระองค์นั้น คือคำกล่าวยอม รับเชื่อพระนามของพระองค์
16 จงอย่าละเลยที่จะกระทำการดี และจงแบ่งปันข้าวของซึ่งกันและกัน เพราะเครื่องบูชาอย่างนั้นเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า
17 ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังและยอมอยู่ในโอวาทของหัวหน้าของท่าน จงให้เขาทำงานนี้ด้วยความชื่นใจ ไม่ใช่ด้วยความ เศร้าใจ ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลายเลย เพราะว่าท่านเหล่านั้นดูแลรักษาจิตวิญญาณของท่านอยู่ เสมือนหนึ่งผู้ที่จะต้องเสนอรายงาน (ฮีบรู 13:9-17)

ในทุกคริสตจักรแห่งการประกาศ (ยังไม่นับค.จ.ทั่วๆไป) ที่ผมรู้จัก มีน้อยคนเป็นผู้ให้อย่างสัตย์ซื่อ เสียสละและทุ่มเทรับใช้คน ส่วนใหญ่ของคริสตจักร ที่ไม่ค่อยอยากรับใช้หรือไม่เคยรับใช้เลย บางคนไม่เคยสอน ไม่เคยปรนนิบัติผู้อื่น ไม่เคยเป็นผู้ให้ คนเหล่านี้เปรียบเหมือนนักช็อปปิ้งตัวยง ที่สรรหาแต่ของดีราคาถูก ดังนั้นเครื่องถวายบูชาของพวกเขาจึงด้อยค่า เพราะการถวาย นั้นกระเหม็ดกระแหม่ไปด้วยเรื่องเวลา ภาระใจ และเงินถวาย

ผมไม่ได้พูดให้ใครๆรู้สึกผิดนะครับ ถึงแม้คุณควรรู้สึกผิดและกลับใจจากบาปแห่งการละเลย ละเลยเรื่องของประทาน และ งานรับใช้ ผมพูดเพื่อประโยชน์ของคุณเอง ถ้าคุณไม่เคยคิดจะสละเพื่อการถวาย เครื่องบูชาของคุณก็ดูด้อยค่า และไม่เหมาะสม ถ้าคุณต้องการการถวายบูชาที่สมกับถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่จำเป็นต้องมาโบสถ์พร้อมทีมนมัสการ ที่มีนักร้อง นักดนตรี ระดับมืออาชีพ แต่ด้วยการรับเอากางเขนที่พระเจ้ามอบให้ ถวายตัวของเราเอง เพื่อเป็นเครื่องถวายบูชา ผมไม่ได้โกรธอะไร นะครับที่พูดเช่นนี้ แต่ผมสมเพชคนที่เอาเครื่องบูชาถูกๆมาถวายพระเจ้า ดังนั้นขอปิดท้ายบทเรียนนี้ ด้วยพระคำที่พูดถึง มาตรฐานของการถวายบูชา :

"เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่าน ให้เป็นค่าไถ่ คนเป็นอันมาก" (มาระโก 10:45)

35 "ท่านทั้งหลายจงคาดเอวของท่านไว้ และให้ตะเกียงของท่านจุดอยู่
36 พวกท่านเองจงเหมือนคนที่คอยรับนายของตน เมื่อนายจะกลับมาจากงานสมรส เพื่อเมื่อนายมาเคาะประตู แล้วเขาจะเปิดให้นายทันทีได้
37 บ่าวซึ่งนายมาพบกำลังคอยเฝ้าอยู่ก็เป็นสุข เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า นายนั้นจะคาดเอวไว้ และให้บ่าวเหล่านั้นเอนกายลง และท่านจะมาเดินโต๊ะ
38 ถ้านายมาเวลาสองยามหรือสามยามและพบบ่าวอยู่อย่างนั้น บ่าวเหล่านั้นก็จะเป็นสุข
39 ให้ท่านทั้งหลายเข้าใจอย่างนี้เถอะว่า ถ้าเจ้าของบ้านล่วงรู้ได้ว่า ขโมยจะมาเวลาไหน เขาจะตื่นอยู่และระวัง ไม่ให้ทะลวงเรือนของเขาได้
40 ท่านทั้งหลายจงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมด้วย เพราะในโมงที่ท่านไม่คิดไม่ฝันนั้น บุตรมนุษย์จะเสด็จมา"
41 ฝ่ายเปโตรทูลพระองค์ว่า "พระองค์เจ้าข้า พระองค์ได้ตรัสคำเปรียบนั้นแก่พวกข้าพเจ้าหรือ หรือตรัสแก่คนทั้งปวง"
42 องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า "ใครเป็นคนต้นเรือนสัตย์ซื่อและฉลาด ที่นายได้ตั้งไว้เหนือพวกคนใช้สำหรับแจกอาหารตามเวลา
43 เมื่อนายมาพบเขากระทำอยู่อย่างนั้น บ่าวผู้นั้นก็จะเป็นสุข
44 เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า นายจะตั้งเขาไว้ให้ดูแลบรรดาข้าวของของท่าน
(ลูกา 12:35-44).


131 เราทั้งหลายคงรู้จัก "ตลาดนัด" กันดี เป็นแหล่งหาซื้อของราคาถูก ซึ่งอยู่คนละขั้วกับห้างหรูๆอย่างเอมโพเรี่ยม ฯลฯ ที่ขายแต่ของแบรนด์เนมยี่ห้อดังๆ สำหรับคนที่ต้องการใช้ของดีที่สุดโดยไม่เกี่ยงราคา

132 เราจะสังเกตุเห็นว่า เหตุการณ์ตอนเดียวกันนี้ที่บันทึกอยู่ใน 1 พงศาวดาร 21 มีข้อแตกต่างค่อนข้างเยอะ จนดูเหมือน ค้านกันด้วยซ้ำไป มีคำอธิบายในทั้งสองกรณีครับ แต่ผมจะไม่นำมาพูดถึงในบทเรียนนี้

133 มีการใช้คำเดียวกันนี้บ่อยครั้งในพระคัมภีร์ และทุกครั้งจะเป็นเรื่องราวความบาปที่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น อพยพ 4:14; กันดารวิถี 12:9; เฉลยธรรมบัญญัติ 29:27; โยชูวา 7:1; ผู้วินิจฉัย 2:14, 20; 10:7; 2 ซามูเอล 6:7; 2 พงศาวดาร 25:15

134 เราคงต้องคุยกันยาวในเรื่องนี้ ซึ่งไม่น่าเป็นเวลาเหมาะ ถ้าอ่านผ่านๆ เราคงสรุปว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำ ให้ดาวิดทำบาป โดยการนับกำลังพลอิสราเอล เรารู้ว่าพระเจ้าไม่มีทางล่อลวงให้มนุษย์ทำบาป (ยากอบ 1:13-17) แน่นอนพระองค์ทรงทดสอบเรา (ฉธบ. 8:2) จะอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนต้องการให้เรารู้ว่า พระเจ้าทรงอยู่เบื้องหลังความบาปของดาวิดในครั้งนี้ เพราะพระองค์ ทรงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น (เช่นเดียวกับที่ยูดาสทรยศพระเยซู) เช่นเดียวกับที่พระเจ้าแจ้งแก่โมเสส ว่าพระองค์จะทำให้ใจของ ฟาโรห์นั้นแข็งกระด้าง (ปฐก. 4:21) เพื่อพระเกียรติทั้งสิ้นจะเป็นของพระองค์ (ดูโรม 9:14-18) โมเสสเองก็บอกกับเราว่า ฟาโรห์นั้นมีใจแข็งกระด้าง (ปฐก. 8:32) พระเจ้ามีพระประสงค์ ให้ดาวิดทำการนับกำลังพลอิสราเอล พระองค์ทราบว่ายังไง มันต้องเกิดอยู่ดี พระองค์ไม่ได้บังคับให้ดาวิดทำบาป พระองค์ให้โอกาสดาวิดที่จะเลือก และเมื่อดาวิดเลือกที่จะทำบาป พระองค์จึงนำความบาปนี้ มาทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จลง (เทียบกับปฐก. 50:20 )

135 ดู 1 พกษ. 20:15, 26-27; 2 พกษ. 3:6; 2 พงศาวดาร 25:5 ด้วย

136 ตามที่นักวิชาการกล่าว จำนวนเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับที่บันทึกอยู่ใน 1 พกษ. 21 มีคำอธิบายหลายหลาก แต่ที่สุดแล้ว เราคงต้องวางไว้้ที่องค์พระผู้เป็นเจ้า และรอวันที่ทุกอย่างจะกระจ่างจนเราพอใจ สิ่งหนึ่งที่พระธรรมทั้งสองเล่มมีเหมือนกันคือ เมื่อการนับกำลังพลเสร็จสิ้นลง จำนวนนักรบกลับลดลง น่าจะเป็นการพิพากษาที่มาจากพระเจ้า

137 ผู้เผยพระวจนะกาด เป็นตำแหน่งเดียวกับ "ผู้พยากรณ์" ในยุคก่อนๆ (ดู 1 ซามูเอล 9:9).

138 การกันดารอาหารอยู่ใน ฉธบ. 28:48; 32:24; เรื่องถูกศัตรูไล่ล่าอยู่ในเลวีนิติ 26:17, 36. เรื่องภัยพิบัติอันเกิดจากทำผิด สัญญาที่ให้ไว้กับพระเจ้า (ฉธบ. 28:21; 1 พกษ. 8:31) เกี่ยวเนื่องกับการนับกำลังพล (อพยพ 30:12-16).

139 ต้นฉบับภาษาฮีบรู 2 ซามูเอล 24:13 เขียนไว้ว่า "เจ็ดปีกันดารอาหาร" แต่ฉบับแปลภาษากรีกตอนนี้ (ฉบับเซปทัวจิ้นท์) และตามที่ บันทึกอยู่ใน 1 พศด. 21:12 เขียนว่า "สามปีกันดารอาหาร" ใจผมเอนเอียงไปทาง "สามปี" มากกว่า โดยเฉพาะ ทางเลือกตัวอื่น ก็ย้ำเลขสามด้วย : สามปีกันดารอาหาร ; สามเดือน ถูกศัตรูไล่ล่า ; สามวัน โรคระบาด

140 เราคงบอกได้ว่าอาราวนาห์ไม่ได้เป็นยิว เป็นคนต่างชาติ มีบางคนคิดเลยไปด้วยว่าเขาเป็นอดีตกษัตริย์ของคนเยบุส ที่อิสราเอลใจดี ยอมไว้ชีวิต อาจเป็นด้วยเหตุผลว่าเขากลับใจ มามีความเชื่อในพระเจ้าของอิสราเอล และเนื่องจากเป็น คนต่างชาติจึงมีสิทธิขายที่ดิน เพราะไม่ใช่เป็นที่มรดกของเผ่า

141 คงยากที่จะประเมิณราคาที่ดินผืนนี้ เป็นที่ดินผืนงาม มองไปแลเห็นกรุงเยรูซาเล็ม เหมาะจะใช้เป็นที่สร้างแท่นถวายบูชา หรือแม้กระทั่ง พระวิหาร !

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

The Lost Tomb of Jesus

Engaging the Experts.
Dr. Darrell Bock was able to spend some time talking about the issues with Dr. Amos Kloner and Dr. Stephen Pfann in Jerusalem. Click below to hear these two conversations.

Click here to join Dr. Bock and Amos Kloner , who teaches at Hebrew University and was a key figure in the Israeli Antiquities Authority oversaw the original excavation of the site.

Click here to join Dr. Bock and Stephen Pfann who helped identify the inscriptions on the Lost Tomb documentary.
 

Fresh Thinking In This Space

 

Dr. Darrell Bock (in Israel this week)

Dr. Ben Witherington

Richard Bauckham's guest post on Chris Tilling's blog

iMonk (compilation)

Discuss The Issues
Bible.org Forums: Ask questions, offer suggestions, engage... in the most popular biblical forum on the net.
 
 
 
 
 
Register for the bible.org forums here.
 

活 在 一 個 神 奇 的 故 事 裡 !

布 魯思 拉申 (Bruce Larson) 說 了 這 樣 的 一 個 故 事:

 

[當 我 小 的 時 候 ﹐每個 禮拜 天 都 去 芝 加 哥 的 長 老 教會。雖 然 講 道 和 音 樂 都 很 吸 引 人 ﹐

可是我最 喜 歡 的 時 刻 卻 是當 十 二 個 西 裝筆挺的招 待 人 從 走 道 的 階 梯 一 階 一 階 的 走 下 來

收 奉 獻。這 些 在 主 日 崇 拜 的日子 如 此 熱 心 和 認 真的服侍 上 帝 的﹐卻 都是 平 常 在 芝 加 哥

有頭 有臉 的生意人 或是領 導 者。 這 十 二 人 中 有 一 個 名 叫 法蘭 克 洛 世 (Frank Loesch) ﹐

    他 長 得 並 非 令 人映 象深 刻﹐ 但 確 是芝 加 哥的 一 個 傳 奇 人 物 因 為他曾 經反 對 過 愛爾

    卡帕 (Al Capone)。

    在 警 戒的年 代﹐ 卡 帕 (Capone) 說 的 話 就 是 絕 對 的﹐沒 人 敢反 抗。就 連 當 地 的 警 察

    甚 至 國 家 聯 邦 調 查句 都 不 敢 反 對 他。 可 是就 憑 著 法蘭 克 洛 世 單 單 一 人﹐ 一 個

    平 庸 的 基 督徒﹐ 在沒 有任 何政 府的支 持和 協 助 下﹐組 織了 一 個 芝 加 哥 防 治犯 罪機 構

    並 執 意 要 將 愛 爾 卡 帕 逮 捕入 獄。在 那 段期 間﹐ 法蘭 克 (Frank Loesch) 冒 著生 命 危 險

    參 加 防 治犯 罪會 議﹐甚 至 連 他 的家 人 和 朋 友 的生 命 都 遭 到 威 脅。 但 是他 從 來沒 有放 棄。

    最 後 他 在法 庭 上 贏 得 了 勝 利﹐ 也 因 此剷 除 了 卡 帕 對 芝 加 哥 的 迫 害。

    法蘭 克 洛世 (Frank Loesch) 以 自 己的生 命 活出 了 上 帝 對 他 的呼 召。]

[每 個 禮 拜 天 的這 個 時 候﹐ 身 為 生 意 人 的 父 親 總 不 忘 推 我 一 下 並 驕 傲 得 指 著

法 蘭 克。有的 時 候 我還 會 看 見 父 親 淚 眼 盈 眶。對父 親 和 我 們 來 說﹐ 這 就 是 所 謂

的 真 正 的 基 督徒生活。] 沒 有 什 麼 能 和 一 個 活 生 生 的 例 子 相 比 而 借 此 去 除 我

們 腦 裡 的烏 雲 並 鼓 勵 我 們 身 體 力 行。

穿著 人 形 外 衣 的 真 理 就 像 是 第 一 次 親 眼 看 見 名 電 臺 主 持 人 般 ﹐總 是 驚 訝 於 和

想 象 的 樣 子 相 差 十 萬 八 千 里。

全 世 界 的 弟 兄 姐 妹 們﹐ 該 是 我 們 活 出 信 仰 的 時 候 並 且 以 上 帝 給 我 們 的 恩 典

表 達 出 我 們 所 知 到 對 的 事 。凡 事 尋 求 神﹐ 不 管 是 為 了 我 們 的 家 庭﹐ 小 鎮﹐

城 鄉 ﹐或 是 世 界。昨 天 一 大 早﹐我 和 一 個 朋 友 走 在 高 中 校 園 為 著 這 學 校 的 每 一

分 子禱 告﹐ 從 學 生﹐老 師﹐ 學 生 家 長 們﹐校 長﹐ 副 校 長 ﹐學 校 的 工 友 們﹐ 到 只

要 是 和 這 學 校 有 關 係 的 人。 在 我 們 的青 少 年 中 間 充 滿 了 暴 力﹐ 毒 品﹐ 奸 淫﹐

和 普 遍 的 絕 望 以 至 於 天 堂 的 耳 朵早 已 在 呤 聽 這 樣 的 憂 慮。上 帝 必 然 是 關 心

在 壓 迫 下 的 人 們 而 且 已 來 到 世 上探 查是 否 和 祂 所 聽 到 得 一 樣 糟 糕。

創 世 紀 第 十 八 章 二 十 節﹐ 20耶 和 华 说 , 所 多 玛 和 蛾 摩 拉 的 罪 恶 甚 重 , 声 闻 于 我 。
21
我 现 在 要 下 去 , 察 看 他 们 所 行 的 , 果 然 尽 像 那 达 到 我 耳 中 的 声 音 一 样 麽 。 若 是 不 然 , 我 也 必 知 道 。

約 拿 第 四 章 十 節﹐ 耶 和 华 说 , 这 蓖 麻 不 是 你 栽 种 的 , 也 不 是 你 培 养 的 。 一 夜 发 生 , 一 夜 乾 死 , 你 尚 且 爱 惜11何 况 这 尼 尼 微 大 城 , 其 中 不 能 分 辨 左 手 右 手 的 有 十 二 万 多 人 , 并 有 许 多 牲 畜 。 我 岂 能 不 爱 惜 呢 。

    我 們 為 著 如 何 來 服 侍 和 祝 福 這 些 和 學 校相 關 的 人禱 告: [主 啊﹐ 帶 領 我們

    來禱 告! 帶 領 我 們 發 展 建 設 這 個 事 奉 你 的地 方。什 麼 樣 才 是 服 事 人 們 ﹐

    傳 揚 福 音﹐ 教 導 信 徒 的 最好的方 法﹖ ] 我 們最 終的目 標是想 要 在 學 校 建 立

    一 個有生 命 力﹐ 借 由 聖 靈 帶 領的教 會並 有 各 種給學 生和教 職 員 的侍 奉。我 們

    想看見 那 位是 愛﹐生 命﹐ 和 自 由的 主 被 這 裡 的人 們 高 舉。 我 們 想 要 看 見

    人 們 以熱 情﹐ 力 量﹐ 和 認 知來 崇 拜上 帝。我 們 想要看見他們脫 離毒癮 ﹐ 空 虛﹐

    與 偶 像 並 且 被 帶 進我 們 的主 -- 救 贖 者﹐ 耶 穌基 督 的 國 度 裡。(哥羅西 1:13-14.

    13他 救 了 我 们 脱 离 黑 暗 的 权 势 , 把 我 们 迁 到 他 爱 子 的 国 里 。
    14
    我 们 在 爱 子 里 得 蒙 救 赎 , 罪 过 得 以 赦 免 。)

仔 細看上 帝 對 摩 西 說 的 話:

出 埃 及 記 第 三 章 第 七 到 十節﹐ 耶 和 华 说 , 我 的 百 姓 在 埃 及 所 受 的 困 苦 , 我 实 在 看 见 了 , 他 们 因 受 督 工 的 辖 制 所 发 的 哀 声 , 我 也 听 见 了 。 我 原 知 道 他 们 的 痛 苦 ,
8
我 下 来 是 要 救 他 们 脱 离 埃 及 人 的 手 , 领 他 们 出 了 那 地 , , 到 美 好 , 宽 阔 , 流 奶 与 蜜 之 地 , 就 是 到 迦 南 人 , 赫 人 , 亚 摩 利 人 , 比 利 洗 人 , 希 未 人 , 耶 布 斯 人 之 地 。
9
现 在 以 色 列 人 的 哀 声 达 到 我 耳 中 , 我 也 看 见 埃 及 人 怎 样 欺 压 他 们 。
10
故 此 , 我 要 打 发 你 去 见 法 老 , 使 你 可 以 将 我 的 百 姓 以 色 列 人 从 埃 及 领 出 来 。

請注 意﹐ 救 人 們 脫 離 苦 難 是上 帝 的 主 意﹐可 是祂選 擇在 救贖 的 過 程中

差 遣百 姓 來 服事祂。神 是那 位 看 見 苦 難 的﹐反 而我 們 才是 那 製 造或是

應 允 苦 難 的。但 是神 挺 身 而 出﹐ 並 且 帥 領 自 己 和 其 他 人 來 實 踐 拯 救

的事。

 

由 此 可 見 祂 不 是 自 己 一 個 人 來 完 成。祂 說: [我 來 世 上 是 為了拯 救…]

但 之 後 祂 差 遣 摩 西﹐ 告 訴 他 說: [去 吧!] 上 帝 似 乎 總 是 喜 歡

把人 們 放 在祂 的計 劃 裡。 上 帝 看 見 苦 難所 以 祂 差 遣 人 民帶 來 一 個有正 義﹐

和 平﹐ 和 愛 的 新 權 柄國 度! 換 句 話 說﹐ 我 們 有這 個 特 權 和 祂走 在 一 起

並 親 自 參 與祂 那 將 改 變 世 界的計 劃。 哇 塞!

也 許 我 們 應 該 捫 心 自 問: [上 帝 啊 ﹐在 你 偉 大 的 計 劃 裡 面 到 底 要 我 做 什 麼 呢?

我 該 如 何 才能 像 法蘭 克 那 樣 的 事 奉 你? 你 想 要 在 我 的 困 境 裡 成 就 什 麼 事?

我 要 如 何才 能 參 與 你 偉 大 的 計 劃 ? ]

你 也 許會發 現 你 已 在 那 無界的故 事 裡! 打開 聖 經的 出 埃 及 記, 你 就 能 了 解

我指的是什 麼 了。。。

Related Topics: Devotionals

บทที่1: ภาพพจน์ที่พังทลาย (โยนาห์ 1)

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา, ผมและภรรยาได้มีโอกาสที่คงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก คือได้รับเชิญ ไปที่บ้านของผู้นำคริสเตียนที่เราให้ความเคารพนับถือและชื่นชมมากทั้งสามีและภรรยา. เรารู้สึกปลาบปลื้มที่จะได้รู้จักบุคคลทั้งสอง รวมทั้งจะได้รู้ว่า พวกเขาตัวตนจริงๆแล้ว เป็นอย่างไร. ผมนึกวาดภาพด้วยซ้ำว่าผู้เป็นภรรยาควรมีท่าทีอย่างไร. ผมมองเห็นภาพ เธอว่าคงเป็นสุภาพสตรีืี่ที่สงบเรียบร้อย, มีท่าทีถ่อมใจ, เป็นผู้ที่ยกย่อง และประทับใจ ในความรู้ความสามารถของสามี รวมทั้งเป็นแบบฉบับที่ดีในการดำเนินชีวิตคริสเตียน.

หัวข้อที่เราคุยกันไม่มีเรื่องฝ่ายจิตวิญญาณเลย—เรากำลังคุยกันเกี่ยวกับหนังทีวีเรื่อง "เจ้าพ่อดัลลัส" —แต่นั่นก็ยังไม่ทำให้ผมประหลาดใจเท่าไร. จนกระทั่งสามีออก ความเห็นเรื่องคาวบอย, ซึ่งผมก็คิดว่าภรรยาคงจะเห็นด้วย, หรืออย่างน้อยพยักหน้า คล้อยตาม. แต่เธอกลับพูดโพล่งออกมาว่า, "นี่เดี๋ยวก่อน พ่อเจ้าประคุณ.…" ผมแทบตก จากเก้าอี้. ภาพพจน์ของภรรยาผู้นำคริสเตียนพังทลายป่นปี้ภายในพริบตา!!

เรามักจินตนาการวาดภาพต่างๆไว้ในใจ, และหลายครั้งภาพเหล่านี้ก็พังทลายลงมาได้ เหมือนกัน. โยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะที่ไม่เหมือนกับที่เราวาดภาพไว้ว่าผู้เผยพระวจนะ ทั้งหลายของพระเจ้าควรเป็น เขาแตกต่างจากผู้เผยพระวจนะคนอื่นๆในพระคัมภีร์1 อย่าง สิ้นเชิง พระธรรมโยนาห์เขียนขึ้นมาเพื่อลบภาพพจน์ของบรรดาผู้เผยพระวจนะท่านอื่นๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเป็นผู้เผยพระวจนะแบบโยนาห์ซะด้วย.

โยนาห์นั้นโดดเด่นในหลายๆทาง. แรกสุด, โยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะเพราะตัวตน ของท่านเอง มากกว่าสิ่งที่ท่านพูด. ถ้าเรานำเนื้อหาในพระธรรมโยนาห์ตามที่บันทึก ไว้ในพระคัมภีร์, เราแทบจะมองหาย่อหน้าในคำพยากรณ์ของท่านไม่เจอ. (จะค่อนข้าง หนักไปในเชิงประท้วงมากกว่าเป็นคำพยากรณ์ทั่วไป ดูแล้วหดหู่มากกว่าจะเป็นคำทำ นาย) โยนาห์เป็นคนที่พูดน้อยมาก, แต่ผลงาน การกระทำ และคำพยากรณ์นั้นมีค่า เป็นอย่างยิ่ง.

พระธรรมโฮเชยาห์ใช้นางโกเมอร์แทนภาพอิสราเอล, และโฮเชยาห์ สามี เป็นเหมือน ภาพสะท้อนของพระเจ้า. โยเอลใช้ฝูงตั๊กแตนเพื่อทำนายถึงกองทัพศัตรูของอิสราเอล ที่กำลังมาโจมตี เข้ามากลืนกินอิสราเอลเช่นเดียวกับการการพิพากษา ดังนั้น ทำนอง เดียวกัน โยนาห์ก็เปรียบเป็นภาพเหมือนของอิสราเอล. เมื่อโยนาห์ได้รับคำสั่งที่ ชัดเจนจากพระเจ้า ท่านไม่ทำตาม เหมือนเช่นคนอิสราเอลคือ มีนิสัยและลักษณะ ของความดื้อดึง กบฎ และไม่เชื่อฟังคำสั่งที่พระเจ้าที่ตรัสสั่งมาทางโมเสส.

โดยทั่วไปคำพยากรณ์นั้นเป็นมากกว่าการไปประกาศตามธรรมดา; เป็นเรื่องของความ อัศจรรย์ พระธรรมโยนาห์เป็นเรื่องที่แสดงถึงสภาพจิตวิญญาณอันน่าเศร้าของชนชาติ อิสราเอล เป็น สถานะการณ์ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพของการไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือการ เรียกร้องทวงเอาจากพระเจ้าที่ชัดเจน, เป็นสถานะการณ์ซึ่งสมควรได้รับการตีสอน เป็นอย่างยิ่ง.

อย่างที่สอง, โยนาห์ เป็นผู้เผยพระวจนะคนเดียวที่ถูกบันทึกว่า "วิ่งหนีพระเจ้า". ท่านไม่ได้เป็นที่รู้จักเพราะเคร่งศาสนา, แต่รู้จักเพราะความไม่เอาไหน. โยนาห์, เป็นคน หัวรั้น และไม่เชื่อฟัง, ความแข็งกระด้างภายในใจของท่าน เป็นเสมือนภาพการกบฎของ ชนชาติอิสราเอล. พระเจ้าเคยตรัสกับโมเสสเมื่อหลายร้อยปีก่อนว่า, "เราเห็นประชากร นี้แล้ว นี่แหละเขาเป็นชนชาติหัวแข็ง" (อพยพ. 32:9).

อย่างที่สาม, โยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนที่เอาแต่ใจ ตัวเองฝ่ายเดียว ตามที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ เราไม่เคยเห็นมีการการกลับใจ ของท่าน หรือเป็นท่านผู้ที่ "ชื่นชมยินดีในความรอด" เราเคยเห็นความล้มเหลว ของผู้คนมากมายในพระคัมภีร์เดิม แต่ในที่สุดบุคคลเหล่านี้ก็ มาถึงจุดที่เขากลับใจ และ คืนดีกับองค์พระผู้เป็นเจ้า กษัตริย์ดาวิดทำบาปที่ใหญ่หลวง แต่แล้วท่านก็ได้กลับใจ อับราฮัม ยาโคบ และเอลียาห์เคยผ่านความล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้น แต่พวกเขาก็เติบโต เข้มแข็งขึ้นในความเชื่อ และการเชื่อฟัง สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับโยนาห์ ถ้าไม่ใช่โยนาห์ เป็นผู้เขียนพระธรรมเล่มนี้เอง เราอาจพบหลักฐานอื่นๆ สักเล็กน้อยว่าท่านได้กลับใจ

ถึงตอนนี้ ผมยังคงต้องพูดว่าไม่เห็นการกลับใจของโยนาห์ในหนังสือเล่มสั้นๆเล่ม นี้เลย. ตามปกติิคนเราชอบมีความคิดโน้มนำไปว่าธรรมิกชนในพระคัมภีร์เดิมนั้น ต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง มีสาเหตุที่ถูกต้อง— นับเป็นการเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงที่เรา เห็นได้จากพระธรรมโยนาห์ บรรดาผู้ที่ค้นคว้าเรื่องราวของ โยนาห์มักคาดหวังที่จะ เห็นถึงเรื่องการกลับใจปรากฎอยู่ที่หนึ่งที่ใดในหนังสือ บางคน คาดว่าจะพบตั้งแต่ บทแรกเลยทีเดียว ขอพูดอย่างตรงไปตรงมา ผมเองยังไม่เห็นว่ามีการกลับใจตรงไหน และนี่เป็นเหตุให้พระธรรมเล่มนี้โดดเด่นออกมา . ถ้าเราไม่มัวแต่หาข้อแก้ตัวให้กับ โยนาห์ เราก็จะเห็นว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มุ่งหวังให้ผู้อ่านรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนต่างชาติ (เช่นคนเดินเรือในบทที่ 1, ชาวนีนะเวห์ในบทที่ 3 และ 4) มากกว่า เห็นใจผู้เผย พระวจนะหัวรั้นผู้นี้.

ผมคิดว่าโยนาห์, ในทุกๆบทของหนังสือเล่มนี้, คือตัวแทนของจิตใจที่แข็งกระด้าง จิต วิญญาณที่ไม่ยอมกลับใจของคนอิสราเอล. เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ทำให้เรา รู้สึกอบอุ่น รู้สึกชื่นชม แต่จะค่อนข้างรู้สึกอึดอัดใจ พระธรรมโยนาห์จบลงอย่างไม่มี คำตอบใดๆสำหรับความบาปของโยนาห์ เช่นเดียวกับที่พระคัมภีร์เดิมจบลงอย่างไม่มี คำตอบสำหรับความบาปของคนอิสราเอล มีเพียงความหวังในการรอคอยการเสด็จมา ของพระเยซูคริสต์เท่านั้นที่สามารถให้ความหวัง ปลอบประโลม รู้สึกได้รับการปลด ปล่อยและหมดห่วง ที่พระเจ้าต้องการให้เราสัมผัสได้ถึงประสพการณ์หลังจากการกลับ ใจและมีการคืนดี

เกี่ยวกับผู้เผยพระวจนะโยนาห์

นอกจากพระธรรมโยนาห์แล้วมีการกล่าวถึงโยนาห์น้อยมากในพระธรรมเล่มอื่นๆ. ใน 2 พงษ์กษัตริย์ 14:25, มีการพูดถึงคำทำนายของโยนาห์ว่า จะมีการขยายเขตแดนทาง ตอนใต้ของอิสราเอลในช่วงการปกครองของกษัตริย์เยโรโบอัมผู้ชั่วร้าย. เราน่าจะสรุป ได้ว่าโยนาห์ผู้นี้น่าจะเป็นโยนาห์เดียวกับพระธรรมโยนาห์ เพราะมีการพูดถึงคนทั้ง สองว่า "ผู้เป็นบุตรอามิททัย"2 (2 พงษ์กษัตริย์ 14:25; โยนาห์ 1:1). คำพยากรณ์ที่โยนาห์บอกกับเยโรโบอัม มีข้อมูลสำคัญบางประการที่ทำให้เราได้รู้ พื้นฐานประกอบความเข้าใจในพระธรรมเล่มนี้ เพราะมีกล่าวไว้ว่า :

ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาลอามาซิยาห์โอรสของโยอาช พระราชาแห่ง ยูดาห์, เยโรโบอัมโอรสของเยโฮอาชแห่งอิสราเอลได้เริ่มครอบครอง ในสะมา เรีย และทรงครอบครองอยู่สี่สิบเอ็ดปี. และพระองค์ทรงกระ ทำสิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระเจ้า; พระองค์มิได้ทรงพรากจากบาป ทั้งสิ้นของเยโรโบอัมบุตรเนบัท, ซึ่งพระองค์ทรงกระทำให้อิสราเอล กระทำ ด้วย. พระองค์ทรงตีเอาดินแดนอิสราเอลคืนมาตั้งแต่ทาง เข้าเมืองฮามัทใกลไปจนถึงทะเลแห่งอาราบาห์ตามพระวจนะ ของพระ เยโฮวาห์, พระเจ้าแห่งอิสราเอล, ซึ่งพระองค์ตรัสโดยผู้ รับใช้ของพระองค์ คือโยนาห์ผู้เป็นบุตรอามิททัยผู้เผยพระวจนะ ผู้มาจากกัทเฮเฟอร์. เพราะพระเจ้าทอดพระเนตรเห็นว่าความทุกข์ ใจของอิสราเอลนั้นขมขื่นนัก; เพราะไม่มีผู้ใดเหลือไม่ว่าทาสหรือไท, และไม่มีผู้ใดช่วยอิสราเอล. พระเจ้ามิได้ตรัสว่าจะทรงลบนามอิสราเอล เสียจากใต้ฟ้าสวรรค์, แต่พระองค์ทรงช่วยเขาโดยพระหัตถ์ของเยโร โบอัมโอรสของเยโฮอาช (2 พงษ์กษัตริย์ 14:23-27).

ดังนั้นเราจึงรู้ว่าโยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะของอาณาจักรฝ่ายเหนือ-อิสราเอล สมัยหลังเอลียาห์ และเอลีชา มีโฮเชยาและอาโมสร่วมสมัย ตอนนั้น นีนะเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรียได้เริ่มขยายอำนาจออกมาทางด้านตะวันออก แต่เป็นได้ไม่ นานอำนาจก็เสื่อมถอย ปล่อยให้อิสราเอล ภายใต้การปกครองของ เยโรโบอัม, ได้โอกาสขยายดินแดนออกไปแทน พระวจนะคำด้านบนกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ความรุ่งเรืองของอิสราเอลในช่วงเวลานี้เป็นเพราะพระเมตตาของพระเจ้า และ ความรักที่มีต่อประชากรของพระองค์ ผู้ซึ่งถึงแม้ชอบกบฎอย่างใหญ่หลวง. ไม่ใช่เพราะคุณความดีของชนชาตินี้, หรือความสามารถของผู้นำ, ซึ่งมองดูเหมือน พระเจ้าทรงอวยพระพร. ทำนองเดียวกันงานประกาศของโยนาห์ในนีนะเวห์เป็นดัง พระคุณที่พระเจ้าเทให้ เหมือนที่พระเจ้าประทานให้กับอิสราเอล - ที่แตกต่างคือ, อิสราเอลไม่ได้กลับใจจากความชั่วร้าย แต่ก็ยังได้รับพระพรจากพระเจ้า ในขนะที่ชาว นีนะเวห์กลับใจอย่างแท้จริงจากความบาป ยิ่งทำให้เห็นพระคุณอันท่วมท้นที่มีต่อชาว อิสราเอลมากมายกว่าชาวนีนะเวห์ตามที่พระเจ้าให้สัญญากับคนบาปที่กลับใจ (เยเรมีห์. 18:7-8).

ความมั่งคั่งของอิสราเอลอยู่ได้ไม่นาน. อาโมส, ผู้เผยพระวจนะในสมัยเดียวกัน, กล่าว เตือนถึงวันที่พระเจ้าจะทรงพิพากษาอิสราเอล. เขากล่าวโทษอิสราเอลถึงความชั่วร้าย การข่มเหงผู้ยากไร้ และการละเมิดต่อความยุติธรรม (5:11-13). แต่ตลอดเวลาคน อิสราเอลก็ยังดำเนินอยู่ในความบาปแห่งการกราบไหว้รูปเคารพ, และพระเจ้าตรัสว่า,

"เราเกลียดชัง, เราดูหมิ่นบรรดาวันเทศกาลของเจ้า, และไม่ชอบในการ ประชุมตามเทศกาลของเจ้าเลย. แม้ว่าเจ้าถวายเครื่องเผาบูชาและ ธัญญบูชาแก่เรา, เราก็ไม่ยอมรับสิ่งเหล่านั้น; และศานติบูชาด้วยสัตว์ อ้วนพีของเจ้านั้นเราจะไม่มองดู. จงนำเสียงเพลงของเจ้าไปเสียจาก เรา; เราจะไม่ฟังเสียงพิณใหญ่ของเจ้า. แต่จงให้ความยุติธรรมหลั่ง ไหลลงอย่างน้ำ และให้ความชอบธรรมเป็นอย่างลำธารที่ไหลอยู่เป็น นิตย์" (อาโมส 5:21-24).

เพราะความบาปของอิสราเอล, พระเจ้าสัญญาว่าจะมีการพิพากษา:

"เพราะฉะนั้น, เราจะนำเจ้าให้ไปเป็นเชลย ณ ที่เลยเมืองดามัสกัสไป," พระเยโฮวาห์, ซึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าจอมโยธาตรัสดังนี้แหละ (อาโมส 5:27).

ในขนะที่คำเตือนของอาโมสนั้นสมเหตุสมผล, เพียงแต่กล่าวถึงอนาคตของอิสราเอล ที่จะถูกเนรเทศ, โฮเชยาเจาะจงพูดว่าอัสซีเรียจะเป็นผู้เข้ามายึดเอาอิสราเอล:

เขาจะไม่กลับไปยังแผ่นดินอียิปต์หรือ; และอัสซีเรียจะเป็นกษัตริย์ของ เขา, เพราะเขาปฎิเสธไม่ยอมกลับไปหาเรา. ดาบจะรุกรานบรรดาหัว เมืองของเขา, ทำลายดาลประตูของเขาเสีย และผลาญเขาเสียเพราะ แผนการของเขา (โฮเชยา 11:5-6).

นักวิชาการบางคนรู้สึกทำใจลำบากที่จะ "ยอมรับ" เรื่องอันแสนมหัศจรรย์ของหนังสือ เล่มสั้นๆนื้พอๆกับเรื่องที่ผู้เผยพระวจนะถูกปลากินเข้าไปได้ ตัวผมเองจะไม่ใช้เวลา มากในการพยายามพิสูจน์เรื่องอัศจรรย์นี้ เนื่องด้วยเป็นเรื่องของความเชื่อล้วนๆ เพราะว่าพระเจ้าผู้สร้างจักรวาล คงไม่มีปัญหาใดในการทำอัศจรรย์ตามที่บันทึกอยู่ใน หนังสือ. แต่จากที่ได้ศึกษามา เราเห็นชัดเจนว่าอัศจรรย์ที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยน ใจที่แข็งกระด้างของผู้เผยพระวจนะผู้นี้ให้อ่อนลง แต่สิ่งที่เราควรรู้คือ องค์พระผู้เป็น เจ้าทรงเข้าใจเนื้อหาของเรื่องเป็นอย่างดี (มัทธิว 12:39-41), สิ่งที่เราต้องทำคือ เดินตามพระองค์ด้วยการเชื่อฟัง

ภาพรวมของพระธรรมโยนาห์

พระธรรมโยนาห์แบ่งออกเป็นสี่บทเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษ. แต่ละบทประกอบ ด้วยเนื้อหาดังนี้:

บทที่ 1 โยนาห์หลบหนีพระเจ้า
บทที่ 2 โยนาห์อธิษฐานโมทนาพระคุณ
บทที่ 3 นีนะเวห์กลับใจ
บทที่ 4 โยนาห์ไม่พอใจ

โยนาห์หลบหนีพระเจ้า
(1:1-3)

1 พระวจนะของพระเจ้ามาถึงโยนาห์ บุตรอามิททัยว่า, 2 "จงลุกขึ้นไป ยังนีนะเวห์นครใหญ่ และร้องกล่าวโทษชาวเมืองนั้น เหตุความชั่วของ เขาทั้งหลายได้ขึ้นมาถึงเราแล้ว." 3 แต่โยนาห์ได้ลุกขึ้นหนีไปยังเมือง ทารชิชจากพระพักตร์พระเจ้า. ท่านได้ลงไปยังเมืองยัฟฟา, และพบ กำปั่นลำหนึ่งกำลังไปเมืองทารชิช, ดังนั้นท่านจึงชำระค่าโดยสาร และ ขึ้นเรือเดินทางร่วมกับเขาทั้งหลายไปยังเมืองทารชิช ให้พ้นจากพระ พักตร์พระเจ้า.

โยนาห์, ผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า, ได้รับเลือกให้ทำงานสำคัญถวาย: "จงลุกขึ้นไป ยังนีนะเวห์ นครใหญ่, และร้องกล่าวโทษเมืองนั้น, เหตุความชั่วของเขาทั้งหลายได้ขึ้น มาถึงเราแล้ว." คำสั่งของพระเจ้านั้นชัดเจนยิ่ง. โยนาห์ต้องไปนีนะเวห์, เมืองที่นิมโรด เป็นผู้สร้างขึ้น (ปฐมกาล 10:11). ที่นีนะเวห์ถูกเรียกว่า"นครใหญ่" นั้นไม่ต้องสงสัยเลย ว่าขนาดและอิทธิพลของเมืองจะใหญ่ปานใด. พวกเราที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆอย่าง ดัลลัส, มลรัฐเท็กซัสคงนึกภาพ " เมืองใหญ่"ออก. และความบาปที่นั่นก็ "ใหญ่," ตาม ไปด้วย.3 โยนาห์ได้รับคำสั่งให้ไปประนามความบาปของเมืองนี้, เพราะใหญ่หลวงนัก จน"ขึ้นไปถึง" พระเจ้า, และเวลาแห่งการพิพากษากำลังใกล้เข้ามา.

แต่, โยนาห์กลับหลบหนีไป, ลงเรือมุ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม:

    "3 แต่โยนาห์ได้ลุกขึ้นหนีไปยังเมือง ทารชิชจากพระพักตร์พระเจ้า. ท่านได้ลงไปยังเมืองยัฟฟา, และพบกำปั่นลำหนึ่งกำลังไปเมืองทารชิช, ดังนั้นท่านจึงชำระค่าโดยสาร และขึ้นเรือเดินทางร่วมกับเขา ทั้งหลายไปยังเมีองทารชิช ให้พ้นจากพระพักตร์พระเจ้า". (ข้อ 3)

เมืองนีนะเวห์ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทกริส, ประมาณ 500 ไมล์ใกลจากทางตะวันออกเฉียง เหนือของอิสราเอล, แต่โยนาห์ไปทางทิศตะวันตก. จุดหมายปลายทางคือทารชิช, ซึ่ง ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศสเปน.4 ข้อความที่บันทึกว่าโยนาห์หนี "ให้พ้น พระพักตร์พระเจ้า", เป็นข้อความที่พูดซ้ำกันถึงสองครั้งในข้อ 3 . ผมไม่เข้าใจว่าเขา คิดว่าเขาจะหนีพระเจ้าพ้น, หรือเป็นเพียงคำพูดที่ตอกย้ำให้แน่ใจว่าโยนาห์.5 ต้องการ "ละทิ้ง" หน้าที่ในฐานะผู้เผยพระวจนะ. เขากำลังสละตำแหน่ง, จะไม่มีคำพยากรณ์ จากพระเจ้าผ่านเขาต่อไป ในขนะที่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพกำลังเสด็จไปที่นีนะเวห์, โยนาห์กลับไม่ไป, ซึ่งหมายความว่าเขาไม่มีโอกาสที่จะทำงานครั้งนี้ถวายพระองค์.

เรือ, ชาวเรือ, พายุ, และคนบาป
(1:4-9)

4 แต่พระเจ้าทรงขับกระแสลมใหญ่ขึ้นเหนือทะเล จึงเกิดพายุใหญ่ใน ทะเลนั้น จนน่ากลัวกำปั่นจะอัปปาง. 5 แล้วบรรดาลูกเรือก็กลัว, ต่างก็ ร้องขอต่อพระของตน, และเขาโยนสินค้าในกำปั่นลงในทะเล เพื่อให้ กำปั่นเบาขึ้น แต่โยนาห์เข้าไปข้างในเรือ นอนลงและหลับสนิท. 6 นาย เรือจึงมาหาท่านและกล่าวแก่ท่านว่า, "เจ้าคนขี้เซาเอ๋ยอย่างไรกันนี่ ลุกขึ้นซิ จงร้องขอต่อพระเจ้าของเจ้า ชะรอยพระเจ้านั้นจะทรงระลึก ถึงพวกเราบ้างจะได้ไม่พินาศ." 7 เขาทั้งหลายก็ชักชวนกันว่า, "มา เถอะให้เราจับฉลากกัน เพื่อเราจะทราบว่า ใครเป็นต้นเหตุแห่งภัยซึ่ง เกิดขึ้นแก่เรานี้." ดังนั้นเขาก็จับฉลาก ฉลากนั้นก็ตกแก่โยนาห์. 8 เขาจึงพูดกับโยนาห์ว่า, "จงบอกเรามาเถิดว่า! ภัยซึ่งเกิดขึ้นแก่เรานี้ใคร เป็นต้นเหตุ ? เจ้าหากินทางใหน? และเจ้ามาจากใหน ประเทศของเจ้า ชื่ออะไร ? เจ้าเป็นคนชาติใหน?" 9 และท่านจึงตอบเขาว่า, "ข้าพเจ้า เป็นคนฮีบรู, และข้าพเจ้ายำเกรงพระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ ผู้ทรงสร้างทะเลและแผ่นดินแห้ง."

พระเจ้าทรงขับกระแสลมใหญ่ในเส้นทางที่โยนาห์ไป, กระแสลมรุนแรงชนิดที่ทำ ให้ชาวเรือผู้ช่ำชองเกิดความกลัว เมื่อเรือใกล้จะอัปปางลง. ลูกเรือเริ่มโยนสินค้า ลงทะเล, เพื่อพยายามช่วยทั้งชีวิตตนเองและเรือไม่ให้ล่ม. ในขณะเดียวกันชาวเรือ แต่ละคนก็สวดอ้อนวอนขอพระของตนให้ช่วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกชาวเรือนี้ต้อง นมัสการพระต่างๆที่พวกเขาคิดว่ามีอิทธิพลเหนือน่านน้ำที่เขากำลังล่องเรืออยู่

อันที่จริง "สินค้า" ที่พวกเขาควรจะต้องโยนทิ้้งเพื่อช่วยไม่ให้เรือจมนั้นอยู่ที่ใต้ท้องเรือ ! ในขณะที่ชาวเรือใกล้เสียสติ พยายามช่วยกันประคับประคองเรือและสวดอ้อนวอน แต่ โยนาห์กลับนอนหลับสนิทอยู่ใต้ท้องเรือ.6 กัปตันของเรือต่างชาติลำนี้รู้สึกโมโหที่เห็น โยนาห์นอนหลับ ในขณะที่ลูกเรือคนอื่นๆพยายามสวดอ้อนวอนกันอย่างสุดกำลัง. ถึงแม้ โยนาห์ไม่ต้องช่วยโยนสินค้าทิ้ง แต่เขาถูกขอร้องให้ช่วยสวดวิงวอน .7 ท่านคงพอนึก ภาพออกว่า กัปตันคงกำลังอารมณ์พลุ่งสุดขีด ขณะที่ออกคำสั่งให้ผู้เผยพระวจนะของ องค์พระเจ้าเที่ยงแท้พระองค์เดียวช่วยวิงวอน. ลองสังเกตุดูจะเห็นว่าไม่มีการบันทึกว่า โยนาห์ได้อธิษฐานวิงวอน. ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าคุณคือโยนาห์ผู้ดื้อรั้นเป็นที่สุด และไม่ยอมกลับใจ, คุณจะไปพูดวิงวอนกับพระเจ้าว่าอย่างไรดี ?

ชาวเรือเห็นเรื่องพายุนี้เป็นเรื่องไม่ปกติธรรมดา. เขาวิงวอนพระของเขาให้ช่วย และเมื่อไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น, พวกเขาเริ่มหาพระอื่นมาทดแทน, แต่เมื่อคำวิงวอน ไม่ได้ผล พวกเขาก็เริ่มสรุปสาเหตุว่า ที่คำวิงวอนที่ไม่ได้รับคำตอบนั้น น่าจะมาจาก ความบาปบางประการที่เป็นสาเหตุทำให้พวกพระองค์ใดองค์หนึ่งไม่พอใจ, : "และเขาทั้งหลายก็ชักชวนกันว่า, ‘มาเถอะให้เราจับฉลากกัน เพื่อเราจะทราบว่า ใครเป็นต้นเหตุแห่งภัยซึ่งเกิดขึ้นแก่เรานี้.’ ดังนั้นเขาก็จับฉลาก ฉลากนั้นก็ตก แก่โยนาห์ " (ข้อ 7).

เรื่องที่น่าอัศจรรย์คือพวกชาวเรือไม้ได้จับโยนาห์ลงทะเลทันทีที่ฉลากตกกับท่าน . เรากำลังพูดกันถึงว่าเรือใกล้จะอัปปาง และลมพายุก็รุนแรงขึ้นทุกที. ถึงแม้ภัยอันตราย ใกล้เข้ามาทุกที ชาวเรือก็ยังอุตส่าห์ใช้เวลาสอบสวนโยนาห์ . เขาจึงพูดกับโยนาห์ว่า, "จงบอกเรามาเถิดว่า! ภัยซึ่งเกิดขึ้นแก่เรานี้ใคร เป็นต้นเหตุ ? เจ้าหากินทางใหน? และเจ้ามาจากใหน ประเทศของเจ้าชื่ออะไร ? เจ้าเป็นคนชาติใหน?" (ข้อ. 8).

ผมอดวาดภาพไม่ได้ว่าพวกชาวเรือกำลังยืนล้อมโยนาห์ และแต่ละคนยิงคำถาม เหล่านี้ขึ้นมาพร้อมๆกัน. หูของโนาห์คงอื้ออึงไปด้วยคำถาม. ลองมาดูเรื่องที่เล่า ในบทที่ 1 พวกชาวเรือนั้นเป็นฝ่ายพูด ในขณะที่โยนาห์แทบไม่ได้ พูดเลย ท่านตอบ คำถามนิดเดียว ท่านปิดปากแน่น. เป็นเหมือนเด็กๆที่ถูกพ่อแม่จับได้คาหนังคาเขา ขณะกำลังทำผิด และตอบคำถามแบบเหมือนจะเป็นคนใบ้ บางคนเวลาทำผิดแล้วถูก จับได้ ก็จะพูดอ้างอิงมากจนเวียนหัว แต่มีหลายคนเป็นเหมือนโยนาห์ คือพูดให้น้อย ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะพวกที่ตั้งใจว่าจะหาทางทำผิดต่อ.

คำตอบห้วนๆของโยนาห์ (ตามที่มีการบันทึกไว้) คือ, "ข้าพเจ้าเป็นคน ฮีบรู8 และข้าพเจ้ายำเกรงพระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ 9 ผู้ทรง สร้างทะเลและแผ่นดินแห้ง." (โยนาห์ 1:9).

พอได้ยินประโยคนี้ ทุกอย่างแจ่มชัดขึ้นมาในมโนภาพของชาวเรือ : โยนาห์เป็นผู้เผย พระวจนะชาวฮีบรู ผู้กำลังวิ่งหนีพระเจ้า. ต้องเป็นโยนาห์แน่นอนที่เป็นสาเหตุแห่งลม พายุ. ความบาปของโยนาห์เกือบทำให้คนทั้งลำเรือต้องจบชีวิตลง.

โยนาห์ถูกโยนลงทะเล
(1:10-15)

10 คนทั้งปวงก็กลัวยิ่งนัก จึงถามเขาว่า, "ท่านกระทำอะไรเช่นนี้หนอ?" เพราะคนเหล่านั้นทราบแล้วว่า ท่านหลบหนีจากพระพักตร์พระเจ้า เพราะท่านบอกกับเขาเช่นนั้น. 11 เขาทั้งหลายจึงกล่าวแก่ท่านว่า, "เราควรจะทำอย่างไรแก่ท่าน? เพื่อทะเลจะได้สงบลงเพื่อเรา"— เพราะทะเลยิ่งกำเริบมากขึ้นทุกที. 12 ท่านจึงตอบเขาทั้งหลายว่า "จงจับตัวข้าพเจ้าโยนลงไปในทะเลก็แล้วกัน. ทะเลก็จะสงบลงเพื่อ ท่าน, เพราะ ข้าพเจ้าทราบอยู่ว่าที่พายุใหญ่เกิดขึ้นแก่ท่านเช่นนี้ ก็ เนื่องจากตัวข้าพเจ้าเอง" 13 ถึงกระนั้นก็ดีพวกลูกเรือก็ช่วยกันตีกรร เชียงอย่างแข็งแรงเพื่อจะนำเรือกลับเข้าฝั่ง แต่ไม่ได้ เพราะทะเลยิ่ง กำเริบมากขึ้นต้านเขาไว้. 14 เพราะฉะนั้น เขาจึงร้องทูลต่อพระเจ้าว่า, "ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายขอวิงวอนต่อพระองค์ ขออย่าให้ พวกข้าพระองค์พินาศ เพราะชีวิตของชายผู้นี้เลย ขออย่าให้โทษของ การทำให้โลหิตที่ไร้ความผิดตกมาเหนือข้าพระองค์์ ข้าแต่พระเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงกระทำสิ่งที่พระองค์พอพระทัย ." 15 เขาจึงจับ โยนาห์ทิ้งลงไปในทะเล, ความปั่นป่วนในทะเลก็สงบลง.

ปฎิกิริยาของชาวเรือนั้นเหลือเชื่อจริงๆ. พวกเขานึกไม่ถึงว่าโยนาห์จะดื้อดึงหัวแข็งต่อ พระเจ้าได้ขนาดนี้ . เมื่อเขาถามว่า "ท่านกระทำอะไรเช่นนี้หนอ?" นั้นทำให้นึกถึงเมื่อ อาบีเมเลคกล่าวตำหนิอับราฮัม เมื่อท่านบอกกับใครๆว่านางซาราห์เป็นน้องสาว (ปฐก. 20:9). และนี่เป็นผู้เผยพระวจนะที่มีความตั้งใจแัน่วแน่ จนขนาดทำให้ชาวเรือถึงกับช็อค (1 โครินท์. 5:1). คงจะมีเรื่องมากกว่าที่บันทึกไว้ในพระธรรมโยนาห์แน่ๆ,10 แต่เท่า ที่พวกชาวเรือได้ยินก็แทบทำให้พวกเขาตัวแข็งเป็นหินได้. คงยังจำได้ว่าลมพายุก็ยัง พัดกระหน่ำรุนแรง และเรือก็กำลังจะแตกเป็นเสี่ยง (cf. ข้อ. 4).

ทะเลเริ่มบ้าคลั่งขึ้นทุกที เวลาก็เหลือน้อยนิด. เช่นเดียวกับที่อาบีเมเลคต้องการคำ อธิษฐานจากอับราฮัมผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า (ปฐก. 20:7), พวกชาวเรือเพียงขอ ร้องให้โยนาห์ทูลขอพระเจ้าให้ทรงละพระอาชญาเสีย. เพราะอย่างน้อย เขาก็เป็น ถึงผู้เผยพระวจนะ . "เขาทั้งหลายจึงกล่าวแก่ท่านว่า, "เราควรจะทำอย่างไรแก่ท่าน? เพื่อทะเลจะได้สงบลงเพื่อเรา ?’" (โยนาห์ 1:11).

โยนาห์บอกกับพวกชาวเรือให้จับตัวเขาโยนลงทะเล, และทะเลจะสงบลง (ข้อ 12) แล้วทำไมโยนาห์ถึงไม่กระโดดลงไปในทะเลเองเล่า ? ดูเหมือนว่าพวกชาวเรือกำลัง ทำตามคำสั่งของพระเจ้าโดยผ่านทางผู้เผยพระวจนะโยนาห์. การจับโยนาห์โยนลง ทะเลก็เท่ากับส่งท่านไปสู่ความตาย เหมือนกับความบาปที่อิสราเอลมีต่อพระเจ้าก็ กำลังมุ่งไปสู่ความตาย (เลวีนิติ. 24:10-16), ดังนั้นพวกชาวเรือจึงต้องลงมือ จับโยนาห์ และโยนท่านลงทะเล ด้วยวิธีนี้พวกเขาจึงไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในบาป และการกบฎ ของโยนาห์

นักวิจารณ์บางคนพยายามตั้งข้อสังเกตุให้เห็นว่ามีการกลับใจในตอนนี้ อย่างที่เราอ่านพบเช่น :

ในที่สุดท่านก็ตอบคำถามของชาวเรือ, และยอมรับว่าท่านเป็นต้น เหตุของลมพายุนี้ ท่าทางเอาจริงของชาวเรือทำให้ลบล้างท่าที เมินเฉยไม่แยแสของท่าน และก่อให้เกิดความสำนึกผิด. และตอนนี้ ท่านเริ่มตระหนักแล้วว่าความบาปของท่านเป็นตัวการก่อให้เกิดพายุ ใหญ่ครั้งนี้. หนทางเดียวที่จะล้มเลิกพระพิโรธของพระเจ้าได้ คือยอม สละตนเองเพื่อรับโทษบาปนั้น. การที่ท่านยอมตายนั้นชี้ให้เห็นว่าท่าน รู้สึกสำนึกบาปที่มีต่อพระเจ้า.

โยนาห์แสดงให้เห็นว่าเขากลับใจจริง. ชายผู้นี้ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะ การไม่เชื่อฟังอีกต่อไป เพราะเขาเสียสละตนเองเพื่อเป็นเหมือนเครื่อง บูชาเพื่อผู้อื่นจะไม่ตาย (ข้อ 12).

และเขาไม่ต้องวิ่งหนีพระเจ้าอีกต่อไป! เขายอมจำนนทั้งกาย, วิญญาณ และความต้องการให้กับพระเจ้า . เขาได้แสดงความเชื่ออันกล้าหาญ เขายังเป็นบุตรที่พึ่งพิงของพระเจ้า, ถึงแม้ได้ทำบาปที่ใหญ่หลวงมา 11 ก็ตาม

สำหรับผมไม่เห็นเลยว่ามีการกลับใจในตอนนี้.12 และไม่เห็นว่ามีการกลับใจที่ใหนใน หนังสือทั้งเล่ม, และที่แน่ๆไม่มีในบทที่่ 2. ทั้งหมดนี้เราก็รู้อยู่แล้วว่าโยนาห์อยากตาย ทำไมอยู่ดีๆเราถึงต้องมาเห็นว่าเป็นการกลับใจ. ถ้าเขาทำให้พระจ้าเคืองพระทัย โดยการหลบหนีคำสั่ง แน่นอนเขาก็สามารถทำได้เช่นกันด้วยการตาย. นอกเหนือจาก นั้นพวกชาวเรือแสดงความกลัวที่จะ "ทำให้โลหิตที่ไร้ความผิดตก" (ข้อ 14) . ถ้าโยนาห์ได้สารภาพบาปด้วยความจริงใจ ทำไมพวกชาวเรือถึงคิดว่าเขาเป็น "ผู้บริสุทธิ์" . การกลับใจหมายถึงยอมรับความผิด แต่พวกชาวเรือกลับกลัวว่าจะ ฆ่าผู้บริสุทธิ์. ไม่ ผมก็ยังไม่เห็นการกลับใจอยู่ดี. ดูเหมือนเขาก็ยังรอดตัวไปได้

เราคงคิดว่าในขนะที่สถานการณ์กำลังคับขันสุดๆเช่นนี้ ขนะที่พายุพัดแรงขึ้นและทำให้ อันตรายร้ายแรงกำลังจู่โจมเข้ามา, พวกชาวเรือคงต้องรีบทำตามที่โยนาห์บอก แต่ พวกเขากลับใช้ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะช่วยชีวิตโยนาห์ไว้โดยการพยายามพาย กลับเข้าฝั่งเพื่อส่งท่านลง (ข้อ13). นี่เป็นความพยายามที่เสี่ยงตายเอาการ เพราะชาย ฝั่งมักมีโขดหินและบรรดาปะการังขวางอยู่ และน่าจะเป็นที่ที่อันตรายที่สุดท่ามกลาง พายุร้าย . สถานที่ที่ปลอดภัยกว่าน่าจะเป็นที่อยู่ไกลออกไปจากชายฝั่ง 13

หลังจากที่พยายามช่วยชีวิตโยนาห์จนถึงที่สุดแล้ว. พวกชาวเรือก็เห็นพ้องต้องกันว่า สิ่งที่โยนาห์บอกน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด. แต่ก่อนที่จะโยนโยนาห์ลงไปในทะเล พวกชาวเรือก็อธิษฐานอีกครั้ง: "ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายขอวิงวอนต่อ พระองค์ ขออย่าให้ พวกข้าพระองค์พินาศ เพราะชีวิตของชายผู้นี้เลย ขออย่าให้ โทษของ การทำให้โลหิตที่ไร้ความผิดตกมาเหนือข้าพระองค์์ ข้าแต่พระเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงกระทำสิ่งที่พระองค์พอพระทัย ." (โยนาห์ 1:14).

ชาวต่างชาติเหล่านี้ได้ทำมากมายเพียงใด เขายอมละจาก "เทพเจ้า" ของพวกเขา เพื่อพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่แท้จริงพระองค์เดียว. พวกเขาอ้อนวอนต่อพระเจ้าก่อนที่จะทำ สิ่งใดกับโยนาห์. และพวกเขาก็ยอมรับในความยิ่งใหญ่ของพระองค์ . หลังจากที่ได้ อธิษฐานแล้ว พวกเขาก็จับท่านโยนลงทะเลไป

ทะเลสงบลงแล้ว แต่ไม่ใช่พวกชาวเรือ 14
(1:15-16)

15 เขาจึงจับโยนาห์ทิ้งลงไปในทะเล ความปั่นป่วนในทะเลก็สงบลง. 16 คนเหล่านั้นก็ยำเกรงพระเจ้ายิ่งนัก, เขาทั้งหลายก็ถวายสัตวบูชาแด่ พระเจ้าและสาบานตัวไว้.

ในขนะที่ชาวเรือเฝ้าดูโยนาห์จมหายไปในคลื่น เขาเริ่มรู้สึกว่าลมนิ่งลง และทะเลก็สงบลง พวกเขานึกออกทันทีว่า ที่คิดเอาไว้นั้นเป็นความจริง พระเจ้าของโยนาห์น่าจะเป็น พระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงพระองค์เดียว พระองค์ ได้กระทำให้เกิดพายุใหญ่ สาเหตุเพราะ การหนีไปของโยนาห์ผู้เดียว และอย่าง ที่โยนาห์บอกไว้ให้โยนเขาลงไปในทะเล แล้วทะเลก็จะสงบเอง. ดังนั้นพระธรรมตอน นี้จึงจบลงที่เรื่องการนมัสการของพวกชาวเรือ "คนเหล่านั้นก็ยำเกรงพระเจ้ายิ่งนัก, เขาทั้งหลายก็ถวายสัตวบูชาแด่พระเจ้าและสาบานตัวไว้" (โยนาห์ 1:16). ในขนะ ที่คนต่างชาติกลับกลายเป็นคนชอบธรรม ผู้เผยพระวจนะก็ยังหลงหายอยู่ ในความ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการไปประกาศกับชาวนีนะเวห์ โยนาห์กลับประกาศแบบ ไม่ตั้งใจกับชาวเรือแทน และคนพวกนี้ก็ได้มารู้จัก และมีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว กับท่าน .

บทสรุป

มีบทเรียนที่สำคัญมากมายจากบทแรกของหนังสือโยนาห์นี้ ให้ผมลองนำข้อ ที่เด่นๆออกมาและดูว่าจะนำมาใช้กับชีวิตของเราได้อย่างไร

ภาพพจน์ของเราที่เคยมีต่อผู้เผยพระวจนะและพวกคนต่างชาติไปกันไม่ได้กับ พระธรรมเล่มนี้เลย มีผู้วิจารณ์บางท่านกล่าวว่า:

"ภาพพจน์บางอย่างตามอุดมคติของศาสนาฮีบรูถูกเหวี่ยงทิ้งลงเรือไป พร้อมๆกับโยนาห์. เหมือนสร้างความรู้สึกเชิงติดลบต่อผู้เผยพระวนะ ให้กับพวกผู้อ่าน และทำให้มองเห็นภาพของสุนัขต่างชาตินั้นน่านับถือ มากขึ้น ทัศนคติเช่นนี้เป็นเหมือนดังเมล็ดพืชที่ผู้เล่าเรื่องหว่านไว้เพื่อ การเก็บเกี่ยวที่จะตามมาในภายหลัง" .15

ยอมรับเถอะครับว่า เนื้อหาเรื่องนี้นั้นช่างกลับตาลปัตรไปทั้งฝ่ายพระเอกและผู้ร้าย ตอนเริ่มอ่านแรกๆ เราคงเดาว่าโยนาห์นั้นเป็นพระเอกแน่ๆ ขนะที่พวกชาวเรือนอก ศาสนานั้นต้องเป็นพวกผู้ร้าย. และนี่คือภาพที่สะท้อนชัดเจนของโยนาห์ และคน อิสราเอลที่โยนาห์เป็นเหมือนตัวแทน ในเนื่อเรื่องชาวเรืออธิษฐานภาวนา ในขนะ ที่โยนาห์ ไม่ได้คิดจะทำอะไร ชาวเรือค้นหาความบาปที่อาจมีอยู่ในเรือ แต่โยนาห์ เปล่า ชาวเรือจบลงที่ได้นมัสการพระเจ้า แต่โยนาห์ก็เปล่าอีก พวกชาวเรือมีความ สงสารในตัวโยนาห์ ในขนะที่ท่านไม่ได้แยแสเลยว่าตัวเองเป็น สาเหตุที่ทำให้คน พวกนี้เดือดร้อนแสนสาหัส เห็นได้ชัดเจนว่าพระธรรมเรื่องนี้ พลิกความคาดหมาย ของเราจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว.

ความรู้สึกส่วนตัวที่ผมมีต่อพระธรรมบทนี้นั้นใกล้เคียงกับที่มีต่อพระธรรมปฐมกาล ในตอนที่กล่าวถึงยาโคบและพี่ชายของเขา เอซาว. เอซาวอาจจะเป็นคนไม่มีพระเจ้า แต่ผมก็ยังชอบเขามากกว่ายาโคบคนขี้ฉ้ออารมณ์ศิลปินอยู่ดี. ถ้าผมจะต้องเลือกเพื่อน บ้านสักคนระหว่างยาโคบและเอซาว ผมก็จะเลือกเอซาวทุกครั้งไป เช่นกัน ระหว่าง โยนาห์กับชาวเรือ ผมก็อยากได้ชาวเรือพวกนี้มาอยู่ข้างบ้านมากกว่าให้โยนาห์มาอยู่ เพียงแต่ในกรณีนี้ชาวเรือในที่สุดเชื่อในพระเจ้า แต่เอซาวมิใช่.

ให้มาดูข้อแตกต่างระหว่างโยนาห์และชาวเรือในบทแรกของพระธรรมโยนาห์ :

ชาวเรือ

โยนาห์

อธิษฐาน

ไม่ได้อธิษฐาน

ช่วยกันรักษาเรือและชีวิตอย่างแข็งขัน

นอนหลับสนิท

สงสารโยนาห์

ไม่แยแสต่อความเดือดร้อนของชาวเรือ

พยายามช่วยชีวิตโยนาห์

ไม่สนใจที่จะช่วยชาวเรือ

อยากมีชีวิตอยู่

อยากตาย

พยายามหาความบาป

อยากอยู่ในบาปต่อไป

เชื่อฟังในสิ่งที่ได้รู้มา

ไม่เชื่อฟังทั้งๆที่รู้มากกว่า

นมัสการพระเจ้า

ไม่นมัสการ

ตระหนกต่อความบาปของโยนาห์

ไม่รู้สึกรู้สมกับบาปของตนเอง

ยำเกรงพระเจ้า

ไม่มีหลักฐานว่ากลัวพระเจ้า

มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ทั้งโยนาห์และชาวเรือเห็นพ้องต้องกัน และเป็นสิ่งที่คิดผิดทั้งคู่ เพราะ ทั้งคู่ยึดตามแบบธรรมเนียมเดิมที่เคยทำมา และป็นไปตามขั้นตามตอน ทั้งคู่คิดตาม สิ่งที่ตนเองยึดถือ. คำถามที่ชาวเรือถามแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนความคิดของพวกเขา คำถามแบบในข้อ 8 ซึ่งเกี่ยวกับโยนาห์เช่น: (1) อาชีพ (เจ้าหากินทางใหน?) และ (2) เชื้อสาย เผ่าพันธ์ใด ? (และเจ้ามาจากใหน,ประเทศของเจ้าชื่ออะไร,เจ้าเป็นคน ชาติใหน?)

เป็นจริงมิใช่หรือ ว่าคนอิสราเอลนั้นภาคภูมิใจในบรรพบุรุษของตนเป็นอย่างยิ่ง (เราเป็นลูกหลานของอับราฮัม) และภูมิใจในชาติที่ได้ชื่อว่าเป็นชนของพระเจ้า พวกเขารู้สึกแตกต่างและโดดเด่นกว่าชาติอื่นใด และโยนาห์มิใช่ชนชาตินี้หรือ ? และยิ่งไปกว่านั้นอาชีพของเขายิ่งต้องเป็นที่น่าภาคภูมิใจสักเท่าใด ?

พระธรรมบทนี้บอกเราว่าเรื่องนี้ยังไม่ถึงที่สุด. ยังมีเรื่องที่สำคัญสำหรับพระเจ้าอีกสอง เรื่อง. เรื่องแรกคือ "รักพระเจ้า" เรื่องที่สองคือ "รักเพื่อนมนุษย์" โยาห์น่าจะสำแดง ความรักที่มีต่อพระเจ้าด้วยการเชื่อฟังพระองค์. โยนาห์ไม่ได้เชื่อฟัง แถมแสดงออก ด้วยการไม่ทำตามบัญญัติที่พระองค์สั่ง. เรื่องที่สองคือโยนาห์ไม่ได้รักเพื่อนมนุษย์ เราเห็นภาพสะท้อนชัดเจนจากการที่เขาแทบไม่่มีความสงสารต่อชาวเรือเลย

ในพระคัมภีร์ใหม่ องค์พระผู้เป็นเจ้ายังย้ำถึงเรื่องที่่สำคัญสองเรื่องนี้ซ้ำอีก - รักพระเจ้า และรักเพื่อนมนุษย์—เพราะเป็นหัวใจหลักจากพระบัญญัติในพระคัมภีร์เดิม และเป็นหลัก ของพันธสัญญาใหม่เช่นกัน(cf. มัทธิว 22:34-40). พระเยซูตรัสกับพวกสาวกว่าถ้าพวก เขารักพระองค์ พวกเขาควรจะเชื่อฟังและทำตามพระบัญญัติที่สอนให้รักผู้อื่น (ยอห์น 13:34; 14:15; 15:9-13).

ไม่ใช่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่พวกผู้นำทางศาสนาของอิสราเอลในยุคพระกิตติคุณ เป็นเหมือนเช่นโยนาห์ผู้เผยพระวจนะ คือเป็น "ผู้ร้าย" มากกว่าเป็น "คนดี" โยนาห์ เป็นดังภาพพยากรณ์ความชั่วร้ายของบรรดาผู้นำอิสราเอลในสมัยของพระเยซู ในขนะที่ เราคิดว่าพวกเขาน่าจะต้อนรับพระองค์ พวกเขากลับปฎิเสธ และยุยงส่งเสริมให้พระองค์ ไปสู่ความตาย คนเหล่านี้คือผู้ที่ "ยึดเอาเรือนของหญิงหม้าย" และสมควรแล้วที่ถูก พระเยซูกล่าวโทษอย่างรุนแรง (มัทธิว 23).

โยนาห์บทที่ 1 เตือนเราว่าพระเจ้าไม่ได้สนใจเรื่องเชื้อชาติ เผ่าพันธ์ ต้นตระกูล หรือ หน้่าที่การงานของเรา แต่พระองค์สนใจว่าเราทำสิ่งใดต่อคำสั่งของพระองค์ . เช่นเดียว กับที่ อ.เปาโลกล่าว พระเจ้าไม่ได้สนใจว่าเราเป็นผู้ครอบครองธรรมบัญญัติหรือไม่ (เหมือนที่พวกยิวเป็น) มากไปกว่าว่าเราปฎิบัติตามหรือไม่.

11 เพราะว่าพระเจ้าไม่ทรงเห็นแก่หน้าผู้ใดเลย. 12 คนทั้งหลายที่ไม่มี ธรรมบัญญัติและทำบาป จะต้องพินาศโดยไม่อ้างธรรมบัญญัติ และคน ทั้งหลายที่มีธรรมบัญญัติ และทำบาปก็จะต้องมีโทษตามธรรมบัญญัติ 13 เพราะว่าคนที่เพียงแต่ฟังธรรมบัญญัติเท่านั้น หาใช่ผู้ชอบธรรมใน สายพระเนตรของพระเจ้าไม่ คนทีประพฤติตามธรรมบัญญัติต่างหาก ที่พระเจ้าทรงถือว่าเป็นผู้ชอบธรรม 14 เมื่อคนต่างชาติซึ่งไม่มีธรรม บัญญัติได้ประพฤติตามธรรมบัญญัติโดยปกติวิสัย คนเหล่านั้นแม้ไม่มี ธรรมบัญญัติก็เป็นธรรมบัญญัติให้ตัวเอง แม้ว่าเขาจะไม่มีธรรมบัญญัติ ก็ตาม 15 เขาแสดงให้เห็นว่าหลักความประพฤติที่เป็นตามธรรมบัญญัติ นั้น มีจารึกอยู่ในจิตใจของเขา และใจสำนึกผิดชอบก็เป็นพยานของเขา ด้วย ความคิดขัดแย้งต่างๆของเขานั้นแหละจะกล่าวโทษตัวเขา หรือ อาจจะแก้ตัวให้เขา 16 ในวันที่พระเจ้าทรงพิพากษาความลับของ มนุษย์โดยพระเยซูคริสต์ ทั้งนี้ตามข่าวประเสริฐที่ข้าพได้เจ้าประกาศนี้

17 แต่ถ้าท่านเรียกตัวเองว่ายิว และพึ่งธรรมบัญญัติ และยกพระเจ้าขึ้น อวด 18 และว่าท่านรู้จักพระทัยของพระองค์ และเห็นชอบในสิ่งที่ ประเสริฐ เพราะว่าท่านได้เรียนรู้ในธรรมบัญญัติ 19 และถ้าท่านมั่นใจ ว่าท่านเป็นผู้จูงคนตาบอด เป็นความสว่างให้แก่คนทั้งหลายที่อยู่ใน ความมืด 20 เป็นผู้สอนคนโง่ เป็นครูสอนเด็ก เพราะท่านมีแบบอย่าง ของความรู้และความจริงในธรรมบัญัตินั้น 21ฉะนั้นท่านซึ่งเป็นผู้สอน คนอื่นจะไม่สอนตัวเองหรือ ? หรือเมื่อท่านเทศนาว่าไม่ควรลักทรัพย์ ตัวท่านเองลักหรือเปล่า ? (โรม 2:11-21)

ประเด็นที่ อ.เปาโลชี้ให้เห็นง่ายๆคือ การที่เป็นผู้ครอบครองและสั่งสอนธรรมบัญญัติ อย่างเช่นพวกยิวเท่านั้นไม่พอ มนุษย์ต้องเชื่อฟังธรรมบัญญัติด้วย โยนาห์ก็เป็นเหมือน พวกชาวยิวในสมัยนั้น ภูมิอกภูมิใจนัก ในการเป็นผู้ครอบครองธรรมบัญญัติ แต่ไม่เคย ประพฤติตาม ดังนั้นพวกชาวเรือผู้ตื่นตระหนกกลับกลายเป็นพระเอกของเรื่องไป เพราะ พวกเขาปฎิบัติทุกอย่างเท่าที่รู้ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ในขณะที่โยนาห์กลับขัด คำสั่งที่พระเจ้าสั่งเขาโดยตรง ทั้งๆที่รู้

พวกชาวเรือได้รับความรอด (ผมเชื่อว่า ทั้งกายและวิญญาณ) เพราะเขาเชื่อฟังสิ่งที่เขา รู้ว่าเป็นน้ำพระทัยพระเจ้า ซึ่งนับเป็น "ข่าวประเสริฐ" ของพวกเขา พวกเขาได้เรียนรู้ แล้วว่าบรรดา "เทพเจ้า" พวกนั้นไม่ใช่พระเจ้า เพราะไม่สามารถตอบคำอธิษฐาน หรือควบคุมท้องทะเลได้ พวกเขารู้ว่าความบาปนำมาซึ่งการพิพากษา และเรียนรู้ว่า พระเจ้าของชาวอิสราเอลเป็นผู้สร้างฟ้าสวรรค์ และแผ่นดินโลก และรู้อีกด้วยว่าจะรอด ได้ด้วยการ "ตาย" ของโยนาห์ชาวยิวผู้นี้

พระกิตติคุณของพวกเราทั้งหลายในทุกวันนี้ก็ยึดหลักเดียวกัน แต่ชัดเจนมากกว่า พระเยซูเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ เป็นผู้สร้างและกระทำให้ทุกสิ่งที่ทรงสร้างให้ดำรงอยู่ (โคโลสี. 1:16-17). โดยความเชื่อในพระคริสต์ ในการสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพ และในการคืนพระชนม์ ทำให้เราได้รับความรอด เราทุกคนก็เหมือนชาวเรือที่อยู่บนเรือ ลำนั้น ตกอยู่ในอันตรายของการถูกพิพากษา เราเหมือนพวกเขาเพราะได้รับความรอด จากการสิ้นชีวิตของผู้อื่น ผู้เป็นชาวยิว พระเยซูคริสต์ ผู้แบกรับพระพิโรธของพระเจ้า เพื่อช่วยเราให้รอด โยนาห์ก็เป็นเหมือนพระเยซู ตายเพื่อความรอดของผู้อื่น แต่ที่ต่าง กันคือพระเยซูทรงปราศจากบาป และยอมสละพระองค์เองบนกางเขนที่เนินหัว กระโหลกเพื่อช่วยทุกคนที่เชื่อในพระองค์

ขอให้ความเชื่อของพวกชาวเรือนี้เป็นบทเรียนให้เราทั้งหลายว่า การพบคนหลอกลวง ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างที่จะปฎิเสธความเชื่อ โยนาห์เป็นคนที่หลอกลวง และผมเชื่อ ว่าพวกชาวเรือรู้ข้อนี้ดี ถึงกระนั้นการหลอกลวงของโยนาห์ก็ไม่สามารถขัดขวางความ เชื่อและไว้ใจที่พวกเขามีต่อพระเจ้าได้ ฉะนั้นอย่าพยายามหาข้ออ้างโดยชี้ให้เห็นถึง คนของพระเจ้าที่หลงผิดไป เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงการทำตามคำสั่งบ้าง เราทุกคนมี หน้าที่รับผิดชอบในการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า

ความบาปเป็นอันตรายต่อผู้อื่นจึงควรกำจัดให้หมดสิ้นไป. ตัวโยนาห์เองเป็นมหันตภัย อย่างยิ่งต่อชาวเรือ ความบาปของเขาเร่งพระพิโรธของพระเจ้าและทำให้ทุกคนบนเรือ ลำนั้นตกอยู่ในอันตราย พวกชาวเรือจะรอดได้ทางเดียวคือต้องโยนโยนาห์ลงทะเลไป

เรื่องนี้นับเป็นอุทาหรณ์ที่ดีเยี่ยมสำหรับวินัยของคริสตจักร เช่นเดียวกับที่บาปของ โยนาห์เป็นอันตรายต่อเรือทั้งลำ บาปของธรรมิกชนสักคนก็อาจทำให้ทั้งคริสตจักร ล่มลงมาได้ อย่างที่ อ.เปาโลกล่าวไว้ "เชื่อขนมปังเพียงนิดเดียว ย่อมทำให้ แป้งดิบฟูทั้งก้อน" (1 โครินธ์ 5:6). ดังนั้นถ้าทางคริสตจักรล้มเหลวที่จะจัดการกับ ความบาปของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ก็จะเป็นอันตรายกับทั้งคริสตจักรด้วย และเช่นที่ โยนาห์ต้องถูกโยนลงทะเล สมาชิกที่ยังยืนยันจะทำบาปต่อไปต้องสมควรที่จะถูก "กำจัดออกไปเสีย" ด้วย (1 โครินธ์. 5:5, 9-13).

ไม่ใช่ตำแหน่งหรืออาชีพที่เราทำ แต่การกระทำของเราต่างหากที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เราเป็นบุตรของพระเจ้าหรือไม่ ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งงานสูงๆมักเป็นผู้ที่เมินเฉยต่อการ ทรงเรียกเป็นที่สุด ผู้ใดได้รับมากก็จะถูกเรียกเอาคืนมาก ขออย่าให้เราเป็นเหมือน โยนาห์ ผู้ที่รู้แล้วฝ่าฝืน แต่ให้เป็นเหมือนชาวเรือที่เชื่อฟังและทำตามพระประสงค์ของ พระเจ้าในทุกสิ่งที่รู้มา

"มีสันติสุข" ไม่ได้หมายความว่าอยู่ในน้ำพระทัยเสมอไป โยนาห์นอนหลับสนิทอยู่ใน เรือนั้นเห็นภาพชัดเจนว่าไม่มีใครกล้าฝ่าฝืนคำสั่งได้เท่าเขา บางทีก็เป็นจริงว่าการ "มีสันติสุข" อาจพิสูจน์ถึงการอยู่ในน้ำพระทัย แต่ก็ไม่เสมอไป สันติสุขของโยนาห์ เป็นผลมาจากจิตใจที่แข็งกระด้างและสำนึกที่เย็นชา ผู้ที่อยู่ในสภาพฝ่ายวิญญาณ เช่นนี้กำลังตกอยู่ในภัยอันตรายอันใหญ่หลวง

ความบาปที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งบรรดาธรรมิกชนทั้งหลาย ควรรู้ไว้ ข้อต่างๆด้านล่างเป็นอาการที่เกิดเพราะความบาปของโยนาห์ที่เราควรจำ:

    1. ขาดการอธิษฐาน

    2. ขาดการสรรเสริญ และความชื่นชมยินดี

    3. ไม่มีความพอใจในชีวิต / ความตายอาจดีกว่า

    4. ขาดการสำนึกในบาปของตนเอง

    5. ขาดการสำนึกในผลของความบาปที่อาจมีต่อผู้อื่น

    6. ไม่มีความสงสารให้ใคร

    7. จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า

ขออย่าให้มีอาการเช่นนี้ในชีวิตของเราเลย ถ้ามีขอให้เราจัดการกับมันอย่างเร่งด่วน และจริงจัง

(จบบทที่ 1 - ยังมีต่อครับ)

ขยายความตอนแรก


1 "โดยทั่วไปเรื่องคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมมักยกย่องคนของพระเจ้าในแง่ที่เขา เป็นคนกลางผู้่เปิดเผยพระราชอำนาจและพระสิริของพระองค์ แต่โยนาห์ไม่ใช่วีรบุรุษ เรื่องของเขาดูเหมือนอยู่ในแสงสลัว คำพยากรณ์หลายเรื่องในพระคัมภีร์เดิมที่เรา สามารถย้อนกลับไปค้นคว้าดูว่าพระเจ้ากระทำให้สำเร็จลงได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้ กลับมีรูปแบบตรงกันข้าม คือคำพยากรณ์ในเรื่องการทำลายนครนีนะเวห์ กลับไม่ เป็นไปตามนั้น " อ้างอิงจาก Leslie C. Allen, The Books of Joel, Obadiah, Jonah and Micah (Grand Rapids: William B. Eerdmans Publishing Company, 1976), p. 175.

2 2 ชื่อ "โยนาห์" แปลว่า "นกพิราบ," ถึงแม้เราชอบไพล่นึกไปว่าผู้เผยพระวจนะคนนี้ น่าจะเป็น "เหยี่ยว." มากกว่า "อามิททัย" แปลว่า "ผู้แท้จริง[ของฉัน] "

3 "ความชั่วร้ายของนีนะเวห์ ประกอบด้วย, นอกจากการกราบไหว้รูปเคารพแล้ว ยังมี ความยโสจนเกินควร (10:5-19; 36:18-20), และการกดขี่ข่มเหงเมืองขึ้นอย่าง ทารุณ (2 พกษ 15:29; 17:6; Is. 36:16, 17), "สงครามที่ไร้มนุษยธรรม" จาก Theodore Laetsch, The Minor Prophets (St. Louis: Concordia Publishing House, 1956), p. 221.

4 "ความตั้งใจหนีไปทารชิช", เมืองเก่าแก่ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฟินิเซีย ตั้ง อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน เป็นเมืองที่อยู่ใกลที่สุดทางทิศตะวันตกที่ รู้จักกันในสมัยนั้นว่า, "อยู่เกือบนอกโลก" อ้างอิงจาก Ibid., p. 221.

5 "เขาหนีไปจากพระพักตร์พระเจ้า" การที่จะไปยืนต่อหน้าผู้ใด ถูกใช้ในแง่ของการ ไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา. (ปฐก. 41:46;ฉธบ. 1:38; 10:8; 1 ซมอ. 16:21; 1 พกษ. 17:1; 18:15; 2 พกษ. 3:14, etc.) การหนีไปจากพระพักตร์ = ปฎิเสธที่จะไป รับใช้ผู้บังคับบัญชา" อ้างอิงจาก Ibid., p. 222.

6 "‘หลับสนิท,’ ใช้ใน Niphal, เป็นเหมือนการนอนหลับลึกอย่างไม่รู้ตัว(โยนาห์ 1:5, 6; Ps. 76:7, A.V., 6), ‘หลับเหมือนตาย’ (ผู้วินิจฉัย. 4:21; ดาเนียล. 8:18; 10:9); มีใน ปฐก. 2:21; 15:12; สภษ. 19:15, etc." Ibid., p. 223.

7 "จงลุกขึ้นไปยัง … —โยนาห์คงคิดว่าฝันร้ายไป: แต่เป็นคำพูดที่พระเจ้าทำลายความ สุขส่วนตัวของเขาก่อนหน้านี้" อ้างอิงจาก Allen, pp. 207-208.

8 "‘ข้าพเจ้าเป็นคนฮีบรู,’ เป็นชื่อที่คนต่างชาติรู้จักว่าเป็นชาวอิสราเอล (ปฐก. 14:13; 39:14, 17; 1 ซมอ. 29:3; กิจการ 6:1)." Laetsch, p. 225.

9 "พระลักษณะของพระเจ้า"แห่งฟ้าสวรรค์" ที่โยนาห์ต่อท้ายพระนามพระเจ้า พระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ (ปฐก. 24:3, 7), ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายใน เปอร์เซีย หลังจากช่วงที่ถูกเนรเทศ เป็นการพูดถึงยาเวห์ ในฐานะพระเจ้าที่มีพระ ราชอำนาจและฤทธานุภาพสูงสุด ชาวยิวใช้นามนี้เมื่อติดต่อกับชาวต่างชาติเพราะเป็น ที่เข้าใจว่าพระองค์ปกครองทั่วสากลโลก มากกว่าที่ชาวยิวคิดว่าเป็นพระเจ้าของ บรรพบุรุษ ’ โดยใช้พระนามนี้ ผู้คนทั่วไปจะสามารถพึ่งพิงได้้มากกว่าเป็นเพียงพระ เจ้าของกลุ่มบุคคลใด ดังนั้นจึงมีการต่อท้ายด้วยคำว่า "ผู้สร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดิน แห้ง." อ้างอิงจาก Allen, pp. 209-210.

10 จาก Ibid., pp. 210-211. Allen ดูเหมือนจะมีหมายเหตุในเรื่องนี้ทำนองไม่อยาก ให้โยนาห์เป็นวีรบุรุษ แต่เป็นผู้ร้าย แต่ผมเห็นว่าโยนาห์เพียงอยากจะหนีจากหน้าที่ด้วย การยอมตาย คำร้องขอในบทที่ 4 จะช่วยเสริมให้เห็นความเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

11 อ้างอิงจาก Laetsch, p. 227.

12 ตัวอย่างของการกลับใจที่แท้จริง, 2 ซมอ. 24:17; 1 พศด. 21:17.

13 ทำไมพระเจ้าไม่ช่วยโยนาห์โดยความพยายามของชาวเรือ ? Allen (p. 211) ผมคิดว่าเป็นเพราะบางทีพระองค์อยากให้โยนาห์รู้ว่าเขาได้รับการช่วยกู้โดยการ อัศจรรย์ที่เป็นพระคุณล้วนๆ โยนาห์ต้องการ "การช่วยกู้" ไปพร้อมๆกับที่ชาวนีนะเวห์ ได้รับ และโยนาห์จะชื่นชมยินดีในการได้รับความรอด แต่คนละแบบกับวิธีของชาว นีนะเวห์

14 ผมชอบชื่อเรื่องที่ Allen (p. 205) ให้ไว้เป็นหัวข้อของ vv. 4-16, ว่า "การลงโทษโยนาห์: ความภักดีของคนนอกศาสนา"

15 อ้างอิงจาก Allen, p. 212.

Related Topics: Character Study

บทที่ 2: โยนาห์อธิษฐานโมทนาพระคุณ (โยนาห์ 2:1-10)

1 แล้วโยนาห์ก็อธิษฐานต่อพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่านจากภายใน ท้องปลานั้นว่า 2 "ในคราวที่ข้าพระองค์ตกทุกข์ได้ยาก ข้าพระองค์ ร้องทุกข์ต่อพระเจ้า และพระองค์ทรงตอบข้าพระองค์ ข้าพระองค์ร้อง ทูลจากท้องของแดนคนตาย และพระองค์ทรงฟังเสียงข้าพระองค์ 3เพราะพระองค์ทรงเหวี่ยงข้าพระองค์ลงไปในที่ลึก ในท้องทะเล และ น้ำก็ท่วมล้อมรอบข้าพระองค์ไว้ บรรดาคลื่นและระลอกของพระองค์ ท่วมข้าพระองค์แล้ว 4 ข้าพระองค์จึงทูลว่า ‘ข้าพระองค์ถูกเหวี่ยงให้ พ้นจากพระพักตร์ของพระองค์ แต่ข้าพระองค์จะเงยหน้ามองพระวิหาร บริสุทธิ์ของพระองค์ได้อีก ’ 5 น้ำก็ท่วมมิดตัวข้าพระองค์ ที่ลึกก็อยู่รอบ ตัวข้าพระองค์ สาหร่ายทะเลก็พันศีรษะข้อพระองค์อยู่ 6 ที่รากแห่ง ภูเขาทั้งหลาย ข้าพระองค์ลงไปยังแผ่นดิน ซึ่งดาลประตูปิดกั้นข้าพระ องค์ไว้เป็นนิตย์ แต่กระนั้นก็ดี ข้าแต่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของข้า พระองค์ พระองค์ยังทรงนำชีวิตของข้าพระองค์ ขึ้นมาจากปากแดนคน ตาย 7 เมื่อจิตใจอ่อนเพลียไปในตัวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึง พระเจ้า และคำอธิษฐานของข้าพระองค์มาถึงพระองค์ เข้าสู่พระวิหาร บริสุทธิ์ของพระองค์ 8 บรรดาผู้ที่แสดงความนับถือต่อพระเทียมเท็จ ย่อมสละทิ้งพระองค์ผู้ทรงสำแดงความรักมั่นคงเสีย 9 แต่ข้าพระองค์ จะถวายสัตวบูชาแด่พระองค์ พร้อมด้วยเสียงโมทนาพระคุณ ข้าพระ องค์บนไว้อย่างไร ข้าพระองค์จะแก้บนอย่างนั้น การที่ช่วยกู้นั้นเป็น ของพระเจ้า " 10 และพระเจ้าตรัสั่งปลานั้น มันก็สำรอกโยนาห์ออก ไว้บน แผ่นดินแห้ง

คำนำ

หลายปีมาแล้ว เพื่อนผมคนหนึ่งมีคำอธิบายที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่เราพูด คุยกันอยู่ "นี่บ็อบ เวลาผมมองดูสิ่งนี้ เหมือนกับมองดูหิมะสูงสามนิ้วที่ปกคลุมอยู่ บนกองขยะ มันก็ดูสวยดีจนกระทั่งคุณเริ่มไปคุ้ยมัน" และนี่เป็นความรู้สึกเดียวกับที่ ผมกำลังรู้สึกต่อ "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ในโยนาห์บทที่ 2 ดูทีแรก เห็นแต่ภาพ ของคนที่เคร่งครัดศรัทธา แต่พอเจาะลงไปสักหน่อย ภาพที่สะท้อนออกมา ดูเหมือน ภาพลวงตาทางศาสนามากกว่าอย่างอื่น คงมีนักเรียนพระคริสตธรรมหลายคนไม่เห็น ด้วย ที่จริงผมไม่แน่ใจว่ามีสักคนหรือเปล่าที่ผมรู้จัก ตัวอย่างเช่น ธีโอดอร์ แล็ทช์ ตั้งชื่อบทนี้ว่า "พระเจ้าช่วยกู้ผู้เผยพระวจนะที่กลับใจ."16 ผมคิดว่ายังไม่เห็นหลักฐาน ที่มาสนับสนุนข้อสรุปว่าโยนาห์กลับใจในรูปแบบใหนเลย .

บริบทของหนังสือไม่ได้ให้หลักฐานที่ชี้ไปในทิศทางนี้เลย เราเห็นมาจากบทที่ 1 ว่า ผู้เผยพระวจนะผู้ไม่เอาใหนคนนี้ตั้งใจที่จะขัดคำสั่งของพระเจ้าที่ให้ไปป่าวร้องที่นคร นีนะเวห์ แทนที่จะเดินทางมากกว่า 500 ไมลส์ขึ้นไปตะวันออกเฉียงเหนือสู่นีนะเวห์ โยนาห์กลับนั่งเรือจากยัฟฟาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทารชิช การไม่เชื่อฟัง ของโยนาห์ทำให้เกิดพายุใหญ่ขึ้น ที่เป็นอันตรายยิ่งต่อทั้งเรือและลูกเรือ ถ้าไม่เป็น เพราะคำถามที่ชาวเรือซักไซร้ก็อาจไม่รู้ถึงสาเหตุของพายุ และพวกเขาก็ได้้พยายาม อย่างยิ่งที่จะช่วยชีวิตโยนาห์ก่อนที่จะตัดสินใจโยนเขาลงทะเลไป ชาวเรือที่ต่างจาก โยนาห์ ตอบรับการทรงเปิดเผยของพระเจ้าอย่างเชื่อฟัง และยังได้อยู่ต่อบนเรือและ มีโอกาสได้สรรเสริญพระเจ้า

บทที่ 2 เริ่มต้นในทะเลด้วยการพูดถึงคำอธิษฐาน คำสัญญาของโยนาห์ที่พรรณาออก มาเป็นบทกลอน ในบทที่ 3, โยนาห์ได้รับคำสั่งอีกเป็นครั้งที่สอง ให้ไปป่าวประกาศ ที่นครนีนะเวห์ ซึ่งในที่สุดเขาก็ยอมทำ และทำให้เกิดการกลับใจครั้งใหญ่ของทั้งเมือง และ "เปลี่ยนพระทัยพระเจ้า." บทที่ 4 แสดงให้เห็นว่าทัศนคติของโยนาห์ก็ยังไม่ เปลี่ยน เพราะมีการอธิบายถึงสาเหตุที่ขัดคำสั่งด้วยคำพูดที่ไม่น่าประทับใจว่า ทำไม จึงไม่อยากไปประกาศแก่ชาวอัสซีเรีย

ถึงแม้จะมีหลักฐานท่วมท้นที่แย้งกับบริบทในพระธรรมโยนาห์ มีบางคนยังอุตส่าห์ หาเรื่องการกลับใจให้เจอให้ได้ในบทที่ 2. ยังไงมันก็ไม่เจอ เราอาจจะไขว้เขวไปด้วย ศัพท์แสงต่างๆที่โยนาห์ใช้ ซึ่งคัดลอกมาจากพระธรรมสดุดีเกือบทั้งหมด แต่เมื่อเรา เปรียบเทียบ "สดุดี" ของโยนาห์กับ "พระธรรมสดุดี" ทางศาสนศาสตร์ เราจะเห็นชัด เจนทันทีว่าสดุดีของโยนาห์นั้นทั้งตื้นและไร้คุณภาพ

ความสำคัญและการเข้าถึงเนื้อเรื่อง

ผมเคยเทศนาเรื่องพระธรรมโยนาห์เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว และพบว่าวิธีการและข้อสำคัญ ต่างๆทีเคยใช้นั้นเปลี่ยนไปเป็นอันมาก เมื่อก่อนผมจะใช้เวลามากในการค้นคว้าหา เอกสารข้อมูลเรื่องปลาที่กลืนคนลงไป แล้วคนนั้นยังรอดชีวิตกลับมาเล่าให้ฟังได้ แต่เมื่อมองดูเนื้อหาเราจะเห็นทันทีว่าแทบไม่มีการพูดเรื่องปลามาก พูดแต่เพียงว่า ปลามหึมาเท่านั้น อาจเป็นเพราะปลาเชื่อฟังคำสั่ง แต่โยนาห์ไม่ และในเมื่อพระธรรม เล่มนี้เลือกที่จะพุ่งความสนใจไปที่การไม่เชื่อฟังของโยนาห์ และชาวอิสราเอล ปลาก็ เลยถูกเบียดเนื้อที่ให้เหลือเล็กนิดเดียว เราอาจมัวสนใจแต่เรื่องปลาเพื่อพยายามพิสูจน์ เรื่องการอัศจรรย์ เลยทำให้เราพลาดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงไป ถึงยังไงก็ตามถ้ามีเอกสาร ที่ยืนยันได้เรื่องปลากลืนคนแล้วไม่ตาย เรื่องนี้ก็คงไม่เป็นเรื่องอัศจรรย์อีกต่อไป แต่จะ กลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดธรรมดาที่เกิดขึ้นบางครั้งบางคราว และไม่ควรนับเป็น เรื่องเหนือธรรมชาติใดๆทั้งสิ้น

รวมทั้งเรื่องที่สงสัยกันว่าโยนาห์ตายหรือไม่ตาย จริงว่าการที่โยนาห์อธิษฐานบนกับ พระเจ้านั้น เล็็งไปถึงภาพของการสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพไว้ในอุโมงค์ และการ ฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ แต่ว่าเขาตายจริงหรือเปล่าหาใช่เรื่องสำคัญไม่ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าเขาน่าจะเป็นเหมือน "ตายทั้งเป็น" จนกระทั่งปลามา ช่วยเอาไว้ จุดสำคัญคือ โยนาห์พูดว่า "พระองค์ยังทรงนำชีวิตของข้าพระองค์ ขึ้นมาจากปากแดนคนตาย"

ผมกำลังจะแจกแจงเรื่องคำอธิษฐานของโยนาห์ในบทนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าห่างไกล จากพระธรรมสดุดีในพระคัมภีร์เดิมขนาดใหน และบอกเหตุผลบางประการที่ทำไมเรา ถูกโน้มน้าวในทางจิตวิญญาณจาก "คำอธิษฐานนี้" มากจนเกินควร ก่อนอื่นเราต้อง กลับไปดูพระธรรมสดุดีในพระคัมภีร์เดิมก่อนเพื่อหาข้อแตกต่าง หลังจากนั้นเราจะนำ สิ่งที่เราได้รับจากคำอธิษฐานของโยนาห์ไปใช้กับผู้เผยพระวจนะที่หลงลืมพระคุณผู้นี้ กับชาวอิสราเอล และที่สุดกับตัวเรา

โครงร่างของพระธรรมโยนาห์ 2

โครงร่างจากเนื้อหาที่เราคัดออกมามีดังนี้ :

1:17, 2:1

บทนำ: ความรอดของโยนาห์ และลักษณะคำอธิษฐานของเขา

2:2-9

คำอธิษฐานของโยนาห์

2:10

บทสรุป: การอพยพของโยนาห์

ลักษณะของคำอธิษฐาน

17 และพระเจ้าทรงกำหนดให้ปลามหึมาตัวหนึ่งกลืนโยนาห์เข้าไป โยนาห์ก็อยู่ในท้องปลานั้นสามวันสามคืน

1 แล้วโยนาห์ก็อธิษฐานต่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจากภายใน ท้องปลา...

"คำอธิษฐาน" ของโยนาห์เป็นบทกลอนอรรถาธิบายการช่วยกู้จากการจมน้ำ ปลามหึมา ไม่เพียงเป็นการเลือกสรรของพระเจ้าในการช่วยเหลือเท่านั้น (1:17), แต่ยังเป็นสถาน ที่ที่คำอธิษฐานนี้เกิดขึ้น (2:1). เราคงพอจินตนาการออกว่าความคิดที่แล่นเข้าไปใน สมองของโยนาห์ในขณะที่กำลังเผชิญวิกฤตการคับขันขนาดนั้นเป็นเช่นใด ขณะที่ กำลังจมสู่ผิวน้ำ โยนาห์รู้ว่าต้องตายแน่ๆ (2:2-7) ในวินาทีแห่งสัมปชัญญะสุดท้าย เขา ร้องหาความช่วยเหลือจากพระเจ้า ทันใดนั้นทุกสิ่งก็มืดมิด อาจจะมืดเพราะมีปลา มหึมามาบังแต่โยนาห์ไม่ทันสังเกตุเห็น แล้วก็มีบางสิ่งเกิดขึ้น มีความรู้สึกเหมือนเคลื่อน ที่ไป น่าจะเป็นความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับตอนทารกแรกเกิดตอนผ่านจากปากปลาลงไป สู่ท้องปลา ทางแคบๆที่ผ่านไปอาจเป็นทางที่ปลาใช้กำจัดน้ำออกจากปอดซึ่งน่าจะ คล้ายๆกับเครื่องที่ช่วยหายใจ

เมื่อสติค่อยๆกลับคืนมา ลองจินตนาการความรู้สึกหวาดผวาแรกที่โยนาห์มี : สัมผัสของ ผนังท้องปลาที่หุ้มห่อตัวเขาอยู่ ความระคายจากน้ำย่อยที่ซึมอยู่ที่ผิวหนัง กลิ่นที่ไม่ สามารถบรรยายได้ถูก เศษอาหารต่างๆที่ปลากินเข้าไป ความมืดที่อยู่รอบตัว คงจะสัก พักใหญ่ กว่าโยนาห์จะรู้ว่าท้องปลานี้ยังไม่ใช่จุดจบของเขา แต่น่าจะเป็นการช่วยกู้ พระ เจ้าได้ยินคำอธิษฐานที่เขาร้องขอ เขาต้องมีชิวิตอยู่ คำอธิษฐานในข้อ 2-9 นั้นแต่งขึ้น ในท้องปลา และถูกถ่ายทอดออกมาทีหลังตามที่เราได้อ่านกัน ให้เรามาดูต่อในเนื้อหา ของ "คำอธิษฐานของผู้เผยพระวจนะที่เหลือเชื่อผู้นี้" เพื่อจะค้นหาว่ามีสิ่งใดที่สอนใจ เกี่ยวกับโยนาห์ ชนชาติอิสราเอล และเราทั้งหลาย

"คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ และพระธรรมสดุดี

วิธีที่จะเข้าใจ "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ให้ดีที่สุดคือต้องมาค้นหาลักษณะพิเศษเฉพาะ ตัว และนำลักษณะเด่นเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับลักษณะเฉพาะของพระธรรมสดุดีใน พระคัมภีร์เดิม พอลองทำดูแล้วจะเห็นความด้อยใน "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ชัดเจน ให้ลองมาพิจารณาดูลักษณะต่างๆต่อไปนี้จาก "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์

(1) "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ใช้บทกลอน และถ้อยคำต่างๆในรูปแบบเดียวกับ บทสดุดีในพระคัมภีร์

ในโยนาห์ 2:9 อ่านว่า "การที่ช่วยกู้นั้นเป็นของพระเจ้า"

เช่นกัน ในสดุดี 3:8 อ่านว่า "การช่วยกู้เป็นของพระเจ้า"

สังเกตุดูความเหมือนของถ้อยคำระหว่าง สดุดี 18 และโยนาห์ 2:

สายมัจจุราชล้อมข้าพระองค์ไว้ กระแสแห่งความหายนะท่วมข้า พระองค์ สายใยของแดนผู้ตายพันตัวข้าพระองค์ บ่วงมัจจุราชประทะ ข้าพระองค์ ในยามทุกข์ระทมใจข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้า ข้าพเจ้า ร้องทูลขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าของข้าพเจ้า จากพระวิหารของ พระองค์ และเสียงร้องของข้าพเจ้าได้ยินไปถึงพระกรรณพระองค์ (สดุดี 18:4-6).

"2ในคราวที่ข้าพระองค์ตกทุกข์ได้ยาก ข้าพระองค์ ร้องทุกข์ต่อพระเจ้า และพระองค์ทรงตอบข้าพระองค์ ข้าพระองค์ร้อง ทูลจากท้องของ แดนคนตาย และพระองค์ทรงฟังเสียงข้าพระองค์ 7 เมื่อจิตใจอ่อน เพลียไปในตัวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึงพระเจ้า และคำอธิษฐานของข้าพระองค์มาถึงพระองค์ เข้าสู่พระวิหาร บริสุทธิ์ของพระองค์ (โยนาห์ 2:2, 7).

ในสดุดี 42, ผู้แต่งใช้คำว่า "น้ำ" เพื่อสร้างจินตนาการ ซึ่งมีความเหมือน กับคำที่โยนาห์ใช้ใน "คำอธิษฐาน" ของเขา

จิตใจของข้าพเจ้าเอ๋ย, ไฉนเจ้าจึงฝ่ออยู่? ไฉนเจ้าจึงกระสับกระส่าย ภายในข้าพเจ้า? จงหวังใจในพระเจ้า, เพราะข้าพเจ้าจะถวายสดุดีแด่ พระองค์อีก ผู้ทรงเป็นความอุปถัมภ์ และพระเจ้าของข้าพเจ้า; จิตใจ ของข้าพระองค์ฝ่ออยู่ภายในข้าพระองค์ เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงระ ลึกถึงพระองค์ ตั้งแต่แผ่นดินแห้งแม่น้ำจอร์แดนและแห่งภูเขาเฮอร์โมน ตั้งแต่เนินมิซาร์ เมื่อเสียงน้ำแก่งตก; ที่ลึกก็กู่เรียกที่ลึก บรรดาคลื่น และระลอกของพระองค์ ท่วมข้าพระองค์แล้ว. กลางวันพระเจ้าทรง บัญชาความรักมั่นคงของพระองค์ ; และกลางคืนเพลงของพระองค์อยู่ กับข้าพเจ้า เป็นคำอธิษฐานต่อพระเจ้าแห่งชีวิตของข้าพเจ้า (สดุดี 42:5-8, ที่ผมอยากจะย้ำ).17

(2) "คำสดุดี" ของโยนาห์เพ่งไปที่การช่วยทางกายจากการจมน้ำตาย. คำร้อย กรองของโยนาห์ที่เขาอธิษฐานออกมานั้นมุ่งไปที่ความรู้สึกของคนใกล้ตายในทะเล. เมื่อถูกห่อหุ้มไปด้วยระลอกคลื่น (ข้อ. 3, 5), ถูกสาหร่ายพันอยู่รอบกาย (ข้อ. 5). ท่านใกล้หมดสติลงเมื่อร้องขอให้พระเจ้าช่วยกู้ (ข้อ. 2, 4, 7). เสียงร้องขอน่าจะ ทำนองเดียวกันกับเปโตรที่กำลังเดินบนทะเลเพื่อไปหาพระเยซู, และอยู่ดีๆก็เริ่มจมลง (มัทธิว. 14:22-33). ไม่มีเวลาคิดทำสิ่งอื่นนอกจากร้องเรียกให้ช่วยโดยด่วน. "ปลา มหึมา" ถูกพระเจ้าเลือกให้กลืนโยนาห์ลงไป, ขณะที่โยนาห์ไม่ได้พูดถึงปลา แต่เราก็รู้ ว่าปลาให้ที่พักพิงท่านใต้ท้องน้ำถึงสามวันสามคืน (1:17). ขณะที่อยู่ในพุงปลานี้เอง ที่ผู้เผยพระวจนะแต่งคำอธิษฐานนี้ขึ้น (2:1). เช่นเดียวกับเซาโลซึ่งต่อมากลาย เป็นอัครทูตเปาโล ท่านตามืดมัวไปถึงสามวันเพื่อมีเวลาพิจารณาถึงพระกิตติคุณ (กิจการ 9:9), โยนาห์มีเวลาคิดคำนึงการช่วยกู้ของพระเจ้าถึงสามวัน. แต่เรื่องยัง ไม่จบลงเพียงแค่นี้ ยังมีปัญหาเล็กๆบางประการก่อนที่ท่านจะได้รับการปลดปล่อย ให้ออกมาจากคุกใต้น้ำ

(3) คำอธิษฐานของโยนาห์มีแต่เรื่องของตนเอง. โยนาห์พร่ำพรรณนาแต่ความเดือด ร้อนของตัวเอง อันตรายตนเองที่กำลังเผชิญอยู่ การช่วยกู้ และความชื่นชมยินดี. ในพระธรรมสดุดีี ผู้แต่งก็พรรณนาถึงการช่วยกู้ เหมือนกัน ถึงแม้อาจจะละเลยรายละเอียดออกไปบ้าง พูดถึงแต่เพียงเล็กน้อยบ้าง อาจกล่าวถึงเล็กน้อยในตอนขึ้นต้นของพระธรรมสดุดี (เช่นสดุดี 3, 18). แต่แล้ว บรรดาผู้เขียนพระธรรมสดุดีในพระคัมภีร์เดิมก็จะรีบเปลี่ยนจากเรื่องราวของตนเอง ไปเป็นการพูดถึงพระลักษณะขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงสำแดงอยู่ในการช่วยกู้แทน ถ้าจะสรุปอย่างสั้นๆก็คือ พระธรรมสดุดีเพ่งไปที่พระเจ้า ในขณะที่คำอธิษฐานของ โยนาห์เพ่งไปที่ตัวเอง

สังเกตุดูใ้ห้ดีว่าคำอธิษฐานของโยนาห์เคลือบแฝงไปด้วยความทุกข์ระทมของตนเอง และทำเป็นเปลี่ยนไปเพ่งที่พระเจ้าแทนอย่างรวดเร็ว

บ่วงของความตายดักอยู่ล้อมข้าพเจ้า ความเจ็บปวดแห่งแดนผู้ตายจับ ข้าพเจ้าไว้ ข้าพเจ้าประสพความทุกข์ใจและความระทม แล้วข้าพเจ้า ร้องทูลออกพระนามพระเจ้าว่า : "ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงช่วยชีวิต ข้าพระองค์ให้รอด!" พระเจ้าทรงพระกรุณาและชอบธรรม พระเจ้าของ เราทั้งหลายกอปรด้วยเมตตา (สดุดี 116:3-5, รวมทั้งผมด้วย).

คำอธิษฐานเช่นนี้ไม่ใช่แบบของโยนาห์. ในบทที่ 2 นั้นเต็มไปด้วยเรื่องความทุกข์ระทม ของโยนาห์ ในขณะที่แทบจะไม่มีการกล่าวถึงพระคุณของพระเจ้าเลย จนกระทั่งบทที่ 4 ที่โยนาห์เริ่มกลับมาพูดถึงพระลักษณะของพระเจ้าอีกครั้ง ในเรื่องของพระคุณ พระกรุณา ทรงอดทน และเต็มไปด้วยความรักมั่นคง :

ท่านจึงอธิษฐานต่อพระเจ้าว่า "ข้าแต่พระเจ้า เมื่อข้าพระองค์ยังอยู่ใน ประเทศของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พูดแล้วว่าจะเป็นไปเช่นนี้มิใช่หรือ? นี่แหละเป็นเหตุให้ข้าพระองค์ได้รีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพระ องค์ทราบว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงกอปรพระคุณ และทรง พระกรุณา ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และทรง กลับพระทัยไม่ลงโทษ ข้าแต่พระเจ้า เพราะฉะนั้น บัดนี้ขอพระองค์ ทรงเอาชีวิตของข้าพระองค์ไปเสีย เพราะว่าข้าพระองค์ตายเสียก็ดีกว่า อยู่ " (โยนาห์ 4:2-3,).

ในขณะที่บรรดาผู้เขียนพระธรรมสดุดีใช้พระลักษณะของพระเจ้าเพื่อการสรรญเสริญ นมัสการต่อพระองค์ด้วยใจเชื่อฟัง โยนาห์กลับใช้พระลักษณะของพระเจ้าเป็นข้ออ้าง ในการที่จะไม่เชื่อฟัง และต่อต้านพระองค์

มีข้ออ้างใหญ่พียงข้อเดียวในคำอธิษฐานของโยนาห์ที่นำมาใช้อ้างกับพระเจ้า มีการ พาดพิงถึงคำสอนของพระเจ้าผู้ทรงครอบครองอยู่ คำพาดพิงนี้ถูกบิดเบือนและ นำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง เพราะแทนที่ท่านจะโทษว่าสาเหตุความเดือดร้อนนั้นเป็น เพราะความดื้อดึงของท่านเอง ท่านกลับไปพร่ำพรรณาว่าพระเจ้าเป็นสาเหตุที่ทำให้ ท่านต้องเผชิญภัยอันตรายอันใหญ่หลวง

"เพราะพระองค์ทรงเหวี่ยงข้าพระองค์ลงไปในที่ลึก ในท้องทะเล และน้ำก็ท่วมล้อมรอบข้าพระองค์ไว้ บรรดาคลื่นและระลอกของ พระองค์ ท่วมข้าพระองค์แล้ว " (โยนาห์ 2:3).

ประโยคนี้ฟังดูคล้ายๆกับตอนอาดัมแก้ตัวกับพระเจ้าเมื่อถูกจับได้ว่าทำผิด:

"หญิงที่พระองค์ประทานให้อยู่กินกับข้าพระองค์นั้น ส่งผลไม้นั้น ให้ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จึงรับประทาน" (ปฐก. 3:12).

(4) คำอธิษฐานของโยนาห์แสดงให้เห็นว่าท่านดูถูกคนต่างชาติ และหยิ่งยโส ในความเป็นอิสราเอลของตนเอง ในบทที่ 1 เราเรียนรู้เรื่องความเชื่อของกลาสี ต่างชาติ การเชื่อฟังและทำตามทุกสิ่งที่เขารู้ แต่ใน "คำสดุดี" ของโยนาห์ ไม่มีการ กล่าวถึงการที่พระเจ้าช่วยกู้พวกกลาสีจากความตาย และการที่พวกเขาได้ค้นพบความ เชื่อเที่ยงแท้ของพระเจ้าแห่งอิสราเอลเลย เราคงจะกล้าสรุปได้ว่าโยนาห์ไม่ได้มี ความยินดียินร้าย หรือเห็นเป็นการสมควรที่จะสรรญเสริญพระเจ้าสำหรับเหตุการณ์นี้ ถ้าเราเจาะเรื่องนี้ให้ลึกลงไปอีก เราก็คงสรุปได้ว่าโยนาห์นั้นเกลียดคนต่างชาติ และถ้า เลือกได้ คงอยากให้พวกเขาพินาศมากกว่าได้รับการช่วยกู้ และได้รับความรอด

ตอนนี้อาจดูเหมือนเดาเอาเอง แต่ถ้าอ่านไปจนถึงบทที่ 4 เราอาจจะเห็นภาพที่ชัดเจน น้ำเสียงของโยนาห์์ในข้อ 8 และ 9 ที่กล่าวว่า : "บรรดาผู้ที่แสดงความนับถือต่อพระ เทียมเท็จ ยอมสละทิ้งพระองค์ผู้ทรง สำแดงความรักมั่นคงเสีย แต่ข้าพระองค์จะถวาย สัตวบูชาแด่พระองค์ พร้อมด้วยเสียง โมทนาพระคุณ" (โยนาห์ 2:8-9ก). โยนาห์ ออกจะดูถูกคนต่างชาติมาก กล่าวว่าเป็น พวกกราบไหว้รูปเคารพ แต่ในขณะเดียวกัน ท่านคิดว่าตนเองเป็นผู้สูงส่ง เป็นผู้ที่ นมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้ด้วยเครื่องสัตวบูชา และเป็นผู้ที่พระเจ้าเลือกไว้ โยนาห์ใน ฐานะที่เป็นคนอิสราเอล ย่อมเหนือกว่าพวก ต่างชาติป่าเถื่อนที่กราบไหว้รูปเคารพ

คำพูดของโยนาห์ตอนนี้ไม่ได้ตรงไปตรงมาเหมือนเมื่อตอนบทที่ 1 อย่าลืมว่าพวกนอก ศาสนาอธิษฐาน โยนาห์เปล่า พวกนอกศาสนาพยามยาค้นหาความบาป แต่โยนาห์ เปล่า พวกนอกศาสนากราบไหว้พระของตนเพื่อให้หายโกรธ โยนาห์เปล่า พวกนอก ศาสนามีใจสงสารโยนาห์ แต่โยนาห์กลับไม่สนใจในความทุกข์ร้อนของพวกเขา ยึด หลักมาตรฐานโดยทั่วไป ชาวเรือต่างชาตินั้นแสดงให้เห็นว่าเขาเหนือกว่าโยนาห์ใน ทุกทาง แต่โยนาห์กลับไปบอกพระเจ้าอย่างไม่อายเลยว่าท่านนั้นสูงส่งกว่าพวกนอก ศาสนา

บรรดาผู้เขียนพระธรรมสดุดีในพระคัมภีร์เดิมมีความเข้าใจที่ดีกว่า ในคำสดุดีของพวก เขา มีการกล่าวเรื่องการกลับใจและการนมัสการของชาวต่างชาติ :

ข้าพระองค์จะบอกเล่าพระนามของพระองค์แก่พี่น้องของข้าพระองค์ ; ข้าพระองค์จะสรรญเสริญพระองค์ ท่ามกลางชุมนุมชน ท่านผู้เกรงกลัว พระเจ้า จงสรรญเสริญพระองค์ ; ท่านพงษ์พันธ์ของยาโคบเอ๋ย จง ถวายพระสิริแด่พระองค์ ท่านพงษ์พันธ์ทั้งสิ้นของอิสราเอลเอ๋ย จง เกรงกลัวพระองค์ เพราะพระองค์มิได้ทรงดูถูกหรือสะอิดสะเอียนต่อ ความทุกข์ยากของผู้ที่ทุกข์ใจ และพระองค์มิได้ทรงซ่อนพระพักตร์จาก เขา เมื่อเขาร้องทูล พระองค์ทรงฟัง

คำสรรญเสริญของข้าพระองค์ในที่ชุมนุมชนใหญ่มาจากพระองค์ ข้า พระองค์จะแก้บนต่อหน้าผู้ที่เกรงกลัวพระองค์ คนเสงี่ยมเจียมตัวจะได้ กินอิ่ม บรรดาผู้แสวงหาพระองค์จะสรรญเสริญพระเจ้า ขอจิตใจของ ท่านทั้งหลายมีชีวิตอยู่เป็นนิตย์ ! ที่สุดปลายทั้งสิ้นของแผ่นดินโลก จะจดจำและหันกลับมายังพระเจ้า และตระกูลทั้งสิ้นของบรรดา ประชาชาติ จะนมัสการต่อพระพักตร์พระองค์ เพราะอำนาจการ ปกครองเป็นของพระเจ้า และพระองค์ทรงครอบครองเหนือบรร ดาประชาชาติ (สดด. 22:22-28).

ในสดุดี 67 ผู้เขียนพูดยิ่งกว่านี้ โดยยึดตามพระสัญญาที่พระเจ้าให้ใว้แก่อับราฮัม ว่าพระ พรสำหรับลูกหลานของท่านนี้ วันหนึ่งจะตกไปถึงบรรดาประชาชาติด้วย

ขอพระเจ้าทรงพระเมตตาต่อข้าพระองค์ทั้งหลาย และอำนวยพระพรแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้พระพักตร์ฉายสว่างแก่ข้าพระองค์ เพื่อพระมรรคาของพระองค์ จะเป็นที่รู้จักในแผ่นดินโลก ความรอดของพระองค์จะเป็นที่ทราบท่ามกลางบรรดา ประชาชาติทั้งสิ้น ข้าแต่พระเจ้า ขอชนชาติทั้งหลายสรรญเสริญพระองค์ ให้ชนชาติ ทั้งหลายสรรญเสริญพระองค์ และให้ชาวประเทศทั้งหลายยินดีและร้องเพลง ด้วย ความชื่นบาน เพราะพระองค์ทรงพิพากษาชนชาติทั้งหลาย ด้วยความเที่ยงธรรม และ ทรงนำชาวประเทศทั้งหลายในโลก ข้าแต่พระเจ้า ขอชนชาติทั้งหลายสรรญเสริญพระ องค์ ให้ชนชาติทั้งหลายสรรญเสริญพระองค์ แผ่นดินโลกได้เกิดผล พระเจ้า คือพระ เจ้าของเราทรงอำนวยพระพรแก่เรา พระจ้าทรงอวยพระพรแก่เราแล้ว ให้ที่สุดปลายแผ่นดินโลกเกรงกลัวพระองค์ (สดุดี 67).

โยนาห์ไม่ต้องการให้พระพรที่สงวนไว้เฉพาะชาวยิวตกไปถึงคนต่างชาติ และท่านไม่ ต้องการให้พระองค์อวยพระพรคนต่างชาติโดยผ่านทางคนยิวด้วย ดังนั้นเมื่อพระเจ้า ตรัสสั่งโยนาห์ซึ่งเป็นคนยิว ให้ไปประกาศที่นีนะเวห์ เมืองของคนต่างชาติ โยนาห์จึง รีบเผ่นหนี จึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจเลยว่า เมื่อคนต่างชาติกลับใจ จึงไม่มีคำสรรญ เสริญออกมาจากปากโยนาห์ แต่เป็นคำพูดอธิบายย้ำให้พระเจ้าฟังว่าชาวยิวนั้นสูงส่ง กว่าชาวต่างชาติ

(5) คำสัญญาเดียวที่โยนาห์มีให้กับพระเจ้า คือสัญญาว่าจะไปถวายสัตวบูชา ที่พระวิหาร ในอดีต ผมอ่านพระธรรมโยนาห์์ โดยเฉพาะข้อ 9 บ่อยเป็นพิเศษ : "แต่ข้าพระองค์จะถวายสัตวบูชาแด่พระองค์ พร้อมด้วยเสียงโมทนาพระคุณ ข้าพระองค์ บนไว้อย่างไร ข้าพระองค์จะแก้บนอย่างนั้น การช่วยกู้เป็นของพระเจ้า" ตอนนั้นผมรู้สึก ว่าคำพูดของท่านในข้อนี้เป็นนัยว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ครอบครอง ดังนั้นพระองค์จึงมี อิสระที่จะเลือกประทานความรอดให้ผู้ใดก็ได้ และโยนาห์นั้นสัญญาว่าจะทำตามคำสั่ง ของพระองค์ที่จะไปยังนีนะเวห์

แต่เดี๋ยวนี้ความเข้าใจของผมเปลี่ยนไป เพราะถ้าโยนาห์สาบานว่าจะไปนีนะเวห์ ทำไม พระเจ้าจึงต้องสั่งเป็นคำรบสองในข้อแรกของบทที่ 3 ? เมื่อโยนาห์กล่าวว่า "การช่วย กู้ เป็นของพระเจ้า" ผมเชื่อว่าเขาคงขอบคุณที่พระเจ้าช่วยกู้เขาให้รอดทางกายต่าง หาก ที่จริงเขากำลังกล่าวว่า "ความรอดนี้ คือความรอดที่ข้าพระองค์กล่าวถึงในคำ อธิษฐาน" เนื้อหาคำบนบานที่โยนาห์พูดถึงนี้ปรากฎอยู่เต็มๆในข้อ 9 โยนาห์ตั้งใจจะ ไปที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อไปถวายสัตวบูชาโมทนาพระคุณ โดยทั่วไปเวลาบนบานมักมี การสัญญาว่าจะถวายบูชา (สดด 66:13-15) และผมเชื่อว่าโยนาห์หมายความตามที่ ท่านอธิษฐานในตอนแรกของข้อ 9 ท่านคงจะดีใจพิลึกที่ได้กล่าวคำอำลาภูมิลำเนาเดิม ในท้องปลากลับคืนสู่แผ่นดินแห้ง และอยากเร่งรีบกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญา เพื่อทำการถวายสัตวบูชาและโมทนาขอบพระคุณ

(6) คำอธิษฐานของโยนาห์ไม่มีเรื่องการกลับใจ หรือการสารภาพบาป ถึงแม้เราจะเห็นอย่างชัดเจนจากบทที่ 1ว่า เป็นเรื่องจำเป็น โยนาห์มีเรื่อง มากมายที่ต้องสารภาพ แต่ไม่เห็นท่านสารภาพเรื่องใดในคำอธิษฐาน ถึงแม้จะ พรรณาถึงสาเหตุที่ท่านต้องเผชิญภัยในข้อ 3 ท่านไม่ได้กล่าวว่าเป็นเพราะบาปใด ท่านจึงถูกเหวี่ยงลงที่กลางทะเล แต่เมื่อนำคำอธิษฐานของโยนาห์ไปเปรียบเทียบกับ พระธรรมสดุดี ที่ผู้เขียนวิงวอนและสารภาพบาปกับพระเจ้า เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

ข้าพระองค์สารภาพบาปของข้าพระองค์ต่อพระองค์ และข้าพระองค์มิได้ซ่อนบาปผิด ของข้าพระองค์ไว้ ข้าพระองค์ทูลว่า "ข้าพระองค์จะสารภาพการละเมิดของข้าพระองค์ ต่อพระเจ้า" (สดุดี 32:5).

ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงแสดงพระกรุณาต่อข้าพระองค์ตามความรักมั่นคง ของพระองค์ ขอทรงลบการทรยศของข้าพระองค์ออกไปตามแต่พระ กรุณาอันอุดมของพระองค์ ขอทรงล้างข้าพระองค์จากความบาปผิดให้ หมดสิ้น และทรงชำระข้าพระองค์จากบาปของข้าพระองค์ เพราะข้า พระองค์ทราบถึงการละเมิดของข้าพระองค์แล้ว และบาปของข้า พระองค์อยู่ต่อหน้าข้าพระองค์เสมอ ข้าพระองค์ได้ทำบาปต่อพระองค์ ต่อพระองค์เท่านั้น และได้กระทำสิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระองค์ ทั้งนี้เพื่อพระองค์จะทรงยุติธรรมในคำพิพากษา และไร้ตำหนิในการ พิพากษานั้น (สดุดี 51:1-4).

ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงช่วยข้าพระองค์ให้รอด เพราะน้ำขึ้นมาถึงคอข้า พระองค์แล้ว ข้าพระองค์จมอยู่ในเลนลึกไม่มีที่ยืน ข้าพระองค์อยู่ในน้ำ ลึกและน้ำท่วมข้าพระองค์ . … ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงทราบถึง ความโง่ของข้าพระองค์ ความผิดที่ข้าพระองค์กระทำแล้วจะซ่อนไว้ จากพระองค์ไม่ได้ ข้าแต่พระเจ้าจอมโยธา ขออย่าให้บรรดาผู้ที่หวังใจ ในพระองค์ได้รับความอายเพราะข้าพระองค์ ข้าแต่พระเจ้าของ อิสราเอล …แต่ส่วนข้าพระองค์ ข้าพระองค์อธิษฐานต่อพระองค์ ข้าแต่ พระเจ้า ในเวลาอันเหมาะสม โดยความรักมั่นคงอันอุดมของพระองค์ ขอทรงโปรดตอบข้าพระองค์ด้วยความอุปถัมภ์อย่างวางใจได้ ขอทรง ช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากจมลงในเลน ขอทรงช่วยกู้ข้าพระองค์จากคน ที่เกลียดชังข้าพระองค์ และจากน้ำลึก ขออย่าให้น้ำท่วมข้าพระองค์์ หรือน้ำที่ลึกกลืนข้าพระองค์เสีย หรือปากแดนผู้ตายงับข้าพระองค์ไว้ (สดุดี 69:1-2, 5-6, 13-15).

ในขณะที่โยนาห์รีบกล่าวโทษคนต่างชาติว่ากราบไหว้รูปเคารพ (โยนาห์ 2:8), ท่าน เองคงลืมไปว่า การไม่เชื่อฟังก็เป็นบาปเช่นเดียวกับการกราบไหว้รูปเคารพ โยนาห์ คงทำได้ดีกว่านี้ถ้าท่านไวในการฟังคำเตือนของสดุดีตอนต่อไปนี้ :

"เรากินเนื้อวัวผู้หรือ หรือดื่มเลือดแพะหรือ จงนำเครื่องการโมทนา พระคุณมาเป็นเครื่องสักการะบูชาแด่พระเจ้า และแก้บนของเจ้าต่อ องค์ผู้สูงสุด และจงร้องทูลเราในวันทุกข์ยากลำบาก เราจะช่วยกู้เจ้า และเจ้าจะถวายพระสิริแก่เรา" แต่พระเจ้าตรัสกับคนอธรรมว่า "เจ้ามี สิทธิ์อะไรที่จะท่องกฎเกณฑ์ของเรา หรือรับปากตามพันธสัญญาของ เรา เพราะเจ้าเกลียดวินัย และเจ้าเหวี่ยงคำของเราไว้ข้างหลังเจ้า" (สดุดี 50:13-17).

ตรงนี้ ที่พระเจ้าตรัสอย่างเจาะจงว่า ข้อปฏิบัติและพิธีกรรมทางศาสนา (อย่างที่โยนาห์ บนในคำอธิษฐาน)นั้น ไม่มีค่าไปกว่าการเชื่อฟังและทำตามคำสั่งของพระองค์ ในคำอธิษฐานของโยนาห์นี้ ท่านได้ "เหวี่ยงคำสอนของพระเจ้าทิ้งไป" โยนาห์จงใจ ขัดคำสั่งของพระเจ้าที่ให้ไปยังนีนะเวห์ เหตุใดคำอธิษฐานบนบานของท่านจะมีค่า ในสายพระเนตรพระเจ้าเล่า ?

โยนาห์น่าจะจำได้ถึงคำพูดที่ซามูเอลกล่าวตำหนิกษัตริย์ซาอูลที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งของ พระเจ้าว่า :

"พระเจ้าทรงพอพระทัยในเครื่องเผาบูชา และเครื่องสัตวบูชามากเท่า กับการที่จะเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์หรือ ? ดูเถิด ที่จะเชื่อฟังก็ ดีกว่าเครื่องสัตวบูชา และซึ่งจะสดับฟังก็ดีกว่าใขมันของบรรดาแกะผู้ เพราะการกบฎก็เป็นเหมือนบาปแห่งการถือฤกษ์ถือยาม และ ความดื้อดึงก็เป็นเหมือนบาปชั่ว และการไหว้รูปเคารพ . เพราะ เหตุที่ท่านทอดทิ้งพระวจนะของพระเจ้า พระองค์จึงทรงถอดท่านออก จากตำแหน่งกษัตริย์ " (1 ซามูเอล 15:22-23).

แล้วเราก็มาถึงบันทัดสุดท้าย "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์นั้นไม่ได้มีข้อพิสูจน์เลยว่าท่าน เปลี่ยนใจ หรือได้กลับใจแล้ว แต่กลายเป็นการเปิดเผยความบาปและความหยิ่งยโส ของท่าน ถ้าจะพูดให้ดูดีที่สุดคือ ท่านโมทนาพระคุณเพราะการช่วยกู้ "ทางกาย" เท่านั้น เหตุใดพระเจ้าจึงช่วยกู้โยนาห์จากความตายใน "ท้องปลามหึมา" ถ้าทัศนคติ ของท่าน ที่มีต่อพระเจ้ายังไมยอมเปลี่ยนแปลง ? ผมเชื่อว่ามีเหตุผลหลายประการ :

(1) พระเจ้ากำลังสำแดงพระคุณต่อโยนาห์ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงสำแดง แก่ชาวเรือ และจะสำแดงแก่ชาวนีนะเวห์ด้วย

(2) พระเจ้าพยายามที่จะสอนโยนาห์ และเปลี่ยนทัศนคติคู่พิพาทของพระองค์ โดยสำแดงทางพระคุณ การมประสพการณ์รับพระคุณของพระเจ้า อาจช่วยทำให้ โยนาห์รู้สึกซาบซึ้ง ในสิ่งที่พระเจ้าต้องการประทานให้กับผู้อื่น เช่นชาวอัสซีเรียด้วย

(3) พระเจ้าต้องการให้โยนาห์มีชีวิตอยู่ต่อ เพื่อสามารถไปยังนีนะเวห์ และต้อง ไป เพื่อประกาศเรื่องความบาปของชาวเมืองนั้นให้ได้ พระเจ้ากำลังรับรองว่า โยนาห์ต้องทำตามคำสั่งของพระองค์ทุกประการ

"ทำไมเราจึงด่วนคิดเอาเองว่าโยนาห์ได้กลับใจแล้ว จากคำอธิษฐานนี้ ? "

(1) ผมคิดว่าที่เราด่วนสรุปแบบนี้ เพราะเรามองเห็นแต่เพียงภายนอกเท่านั้น โยนาห์เป็นคนอิสราเอล เป็นผู้เผยพระวจนะ และที่จำเป็นที่สุดคือ ต้องมีใจฝ่าย วิญญาณ คำอธิษฐานนี้ใกล้เคียงกับคำสดุดีในพระคัมภีร์เดิม ดังนั้นควรเป็นเรืื่องที่ ลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ เราจึงต้องรู้ลึกกว่าตัดสินจากที่เห็นเพียงภายนอกเท่านั้น

(2) เรากระหายอยากจะเห็นโยนาห์กลับใจ เพราะเราไม่อาจยอมรับได้ที่ ผู้เผยพระ วจนะเป็นคนหัวดื้อหัวแข็ง เป็นคนบาปที่กบฎต่อพระเจ้า เป็นคนที่ให้ตนเองเป็นใหญ่ และไม่ยอมกลับใจ เรายอมรับไม่ได้ที่จะคิดว่าผู้เผยพระวจนะเป็นคนบาปหนา เราอยาก ให้เรื่องนี้จบลงแบบ "แฮปปี้เอนดิ้ง" หรือทุกคนมีความสุขอิ่มเอิบใจ รวมทั้งเราที่เอาใจ ช่วยอยู่ด้วย พระธรรมเล่มนี้ไม่ได้เขียนมาเพื่อความสุขสมใจ แต่กลับเป็นเพื่อการตำหนิ ติเตียน ไม่ได้เพื่อให้เรารู้สึกดี แต่กลับทำให้รู้สึกอึดอัดคับข้องใจ พระธรรมเล่มนี้เขียน ขึ้นเพื่อสอนเราให้รับรู้ข้อเท็จจริงบางประการที่ไม่น่าอภิรมย์เกี่ยวกับชนชาติอิสราเอล และเกี่ยวกับตัวเราเอง ที่เราจะเห็นต่อไป

ข้อสอนใจสำหรับททนี้

ถึงแม้ข้อเท็จจริงอันคับข้องใจเรื่องการกบฎของโยนาห์ยังมีอยู่ในบทนี้ - ที่จริงแล้ว เป็นเพราะ
มีบทเรียนที่สำคัญหลายเรื่องสำหรับตัวเราเอง ก่อนจบบท ให้ผมไ้มีโอกาสชี้ให้เห็น ถึงบทเรียนสำหรับอิสราเอล และสำหรับคริสตจักรด้วย

บทเรียนสำหรับอิสราเอล

จากที่เราเห็น โยนาห์ไม่ใช่ผู้เผยพระวจนะที่มีคุณความดีเพราะการออกไปประกาศหรือ เพราะการกระทำอื่นๆ แถมยังไม่เชื่อฟังอีกด้วย โยนาห์คือภาพพจน์ของชนชาติ อิสราเอลจอมกบฎของพระเจ้าตัวจริง โยนาห์ไม่ทำตามคำสั่งของพระเจ้า อิสราเอล ก็ไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสส โยนาห์ปฏิเสธภารกิจไปประกาศกับคนต่างชาติ คนอิสราเอลก็เหมือนกัน เมื่ออิสราเอลร้องทูลขอการช่วยกู้ เช่นเดียวกัน โยนาห์ก็ร้อง ทุกข์กับพระเจ้า แต่ไม่ยอมกลับใจอย่างแท้จริง อิสราเอลก็ด้วย โยนาห์ประดับฉาก ความชอบธรรมภายนอกอย่างสวยหรู ถูกต้องตรงตามแบบแผนพิธีการ แต่ขาดความ ชอบธรรมที่แท้จริง อิสราเอลก็ด้วยเช่นกัน

พวกธรรมาจารย์และฟาริสีในสมัยของพระเยซู ก็แสดงภาพพจน์ของผู้จงใจกบฏให้เห็น แต่เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราสถิตย์อยู่ที่นั่น พระองค์ทรงกวาด ¾ ของหิมะที่ปกคลุม อยู่เหนือกองขยะที่พอกพูนอยู่บนศาสนายูดาห์ออกไป พระเยซูทรงเปิดโปงความหน้า ซื่อใจคด และหลอกลวงของบรรดาผู้นำอิสราเอล แบบเดียวกับที่พระธรรมโยนาห์เปิด โปงผู้เผยพระวจนะท่านนี้

พวกอาลักษณ์และฟาริสีเข้มงวดกวดขันกับรายละเอียดในเรื่องเล็กเรื่องน้อยของพิธี กรรมทางศาสนา (ลูกน้ำที่พวกเขากรองออก), แต่กลับมองข้ามสิ่งจำเป็นที่สุดในการ ปรนนิบัติพระเจ้า —การเชื่อฟัง ("อูฐ" ที่พวกเขากลืนเข้าไป) เช่นเดียวกับที่โยนาห์ คิดว่าชาวอัสซีเรียไม่สมควรกลับใจและได้รับการอภัย พวกหน้าซื่อใจคดอย่างอาลักษณ์ และฟาริสีก็ทำเป็นโกรธเคืองเหมือนพี่คนโตเมื่อน้องผู้เป็น "บุตรน้อยหลงหาย" กลับคืน (ลูกา 15:11-32). พวกเขาประท้วงไม่พอใจเมื่อพระเยซูใช้เวลากับ "พวกคนบาป" แทนที่จะเป็นพวกเขา (มาระโก 2:16) โยนาห์มองว่าตนเองเป็นผู้ชอบธรรม และ คนต่างชาติล้วนแต่เป็นคนบาป (โยนาห์ 2:8-9), พวกธรรมาจารย์และฟาริสีก็มองคนอื่น ด้วยสายตาทำนองเดียวกัน :

"คนฟาริสีนั้นยืนนึกในใจของตน อธิษฐานว่า ‘ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ โมทนาขอบพระคุณของพระองค์ ที่ข้าพระองค์ไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งเป็น คนโลภ คนอธรรม และคนล่วงประเวณี และไม่เหมือนคนเก็บภาษีคนนี้ ในสัปดาห์หนึ่งข้าพระองค์ถืออดอาหารสองหน และของสารพัดซึ่งข้า พระองค์หาได้ ข้าพระองค์ได้เอาสิบชักหนึ่งมาถวาย’ ฝ่ายคนเก็บภาษี นั้นยืนอยู่แต่ไกล ไม่แหงนดูฟ้า แต่ตีอกของตนว่า ‘ข้าแต่พระเจ้า ขอ ทรงโปรดพระเมตตาแก่ข้าพระองค์ผู้เป็นคนบาปเถิด!’ เราบอกท่านทั้ง หลายว่า คนนี้แหละเมื่อกลับลงไปยังบ้านของตนก็นับว่าชอบธรรม มิใช่ อีกคนหนึ่งนั้น เพราะว่าทุกคนที่ยกตัวขึ้นจะต้องถูกเหยียดลง แต่ทุกคน ที่ได้ถ่อมตัวลง จะต้องถูกยกขึ้น" (ลูกา 18:11-14).

การที่คนยิวปฏิเสธพระคริสต์และข่าวประเสริฐของพระองค์ คนต่างชาติจึงมีโอกาสได้ รับความรอด และการไม่เชื่อฟังของโยนาห์ก็เป็นหนทางให้ชาวเรือและ ชาวอัสซีเรีย ได้รับความรอดเช่นกัน :

ข้าพเจ้าจึงถามว่า พวกอิสราเอลสะดุดจนหกล้มที่เดียวหรือ ? หามิได้ แต่การที่เขาละเมิดนั้น เป็นเหตุให้ความรอดแผ่มาถึงพวกชาวต่างชาติ เพื่อจะให้พวกอิสราเอลมีใจมานะขึ้น แต่ถ้าการที่พวกอิสราเอลละเมิด นั้นเป็นเหตุให้ทั้งโลกบริบูรณ์ และถ้าการพ่ายแพ้ของเขาเป็นเหตุให้คน ต่างชาติบริบูรณ์ หากได้เขามาเพิ่มเข้าด้วย จะดียิ่งกว่านั้นอีกมากหนอ (โรม 11:11-12).

เหตุเพราะการไม่เชื่อฟัง พระเจ้าทรงกระทำให้พันธสัญญาที่มีต่ออับราฮัมในการนำพระ พรของพระองค์ไปสู่คนต่างชาติโดยผ่านชาวอิสราเอลนั้นเกิดเป็นจริง

บทเรียนสำหรับคริสเตียนร่วมสมัยอย่างเราๆ

ก่อนที่จะแสดงให้เห็นถึงความบาปของโยนาห์และความบาปของธรรมมิกชนอย่าง พวกเราในทุกวันนี้ ผมอยากจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างด้านความคิดของโยนาห์ กับความคิดของพวกเรา ความคิดของโยนาห์ตั้งมั่นอยู่ตามธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์ เดิมของชาวยิว ยึดมั่นในความคิดที่ตนเองเป็นชาวอิสราเอล ผู้ที่ถูกเลือกสรร หลงลืม และผิดพลาดไปในพระคุณของพระเจ้า กลับไปหลงยึดติดให้ความสำคัญกับการเป็น ชนชาติที่ได้รับการ "คัดเลือก" โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เป็นถึงผู้เผยพระวจนะ ทุกวันนี้ พวกเราเองก็ถือทึกทักเอาแต่พระคุณพระเจ้า เราแอบอ้างใช้พระคุณเป็นข้อแก้ตัวเพื่อ หลีกเลี่ยงการเชื่อฟัง โยนาห์มองไม่เห็นว่าตัวเองเป็นคนบาปพอๆ หรือมากกว่าคน ต่างชาติด้วยซ้ำไป ในทางกลับกัน เราเห็นว่าเราเองนั้นเป็นคนผิดบาป และคิดว่า นี่คือความอ่อนแอของมนุษย์ เราเลยเหมาเอาว่ายังไงๆ พระเจ้าก็ต้องมีหน้าที่ให้อภัย ดังนั้นความคิดทั้งสมัยโน้น และสมัยนี้ก็ไม่ต่างกัน คือเรามองภาพพระเจ้าว่าต้องให้ อภัย และอำนวยพระพร "ประชากรของพระองค์" ไม่ว่าพวกเขาจะกบฎสักแค่ไหนก็ตาม แต่กลับไปมองภาพความบาปของ"คนนอกศาสนา" ว่าเลวร้ายกว่า "บาปบริสุทธิ์" เช่นการไม่เชื่อฟังของเราแทน

"คำอธิษฐาน" ของโยนาห์เตือนเราถึงอันตรายใกล้ตัวของบรรดาจิตวิญญานที่ฉาบหน้า สาเหตุที่นักวิชาการด้านพระคัมภีร์และฆราวาสทั้งหลายใส่ใจในคำอธิษฐานของโยนาห์ มากเป็นพิเศษนั้น เตือนเราให้ระมัดระวังถึงจิตวิญญาณที่ฉาบหน้าอยู่อย่างผิวเผิน เช่น ในวิวรณ์บทที่สามที่พระเจ้าทรงตักเตือนคริสตจักรในเมืองซาร์ดิสว่า "เรารู้จักแนว การกระทำของเจ้า เจ้าได้ชื่อว่ามีชีวิตอยู่ แต่ว่าเจ้าได้ตายเสียแล้ว" (วิวรณ์ 3:1ข).

จิตวิญญาณที่มีแต่เพียงฉาบหน้านั้นคือการรู้และทำตามพิธิีกรรมทางศาสนาอย่าง เคร่งครัด ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามเวลา ทำให้ดูเป็นผู้ยึดมั่นในความดี เป็นที่น่านับถือ แต่ถ้าจะเจาะลงไปให้ลึกสักหน่อยก็จะเห็นตัวตนที่แท้จริง ผมอาจกล่าวได้ว่าถ้ามีการ ข่มเหงและความทุกข์ยากเกิดขึ้นสักหน่อย ตัวตนที่แท้จริงคงเผยโฉมออกมาให้ได้เห็น

ผมหวั่นใจมากว่าจิตวิญญาณของคนอเมริกันกำลังเป็นเช่นนี้ และโดยไม่มีข้อยกเว้น ผมเองกลัวว่าทั้งตัวผมและที่คริสตจักรกำลังเป็นด้วยเช่นกัน ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าเปิด ตาใจให้เรามองเห็น และจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง

จิตวิญญาณที่มีแต่ฉาบหน้านั้นมีอาการให้เห็นได้หลายอย่าง เช่นยึดถือในสิ่งผิดๆ ภูมิหลัง เทือกเถาเหล่ากอวงศ์ตระกูล ความมั่งคั่ง ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ (เช่นผู้อาวุโส ในคริสตจักร ฯลฯ) หรือความรู้ความสามารถ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็น องก์ประกอบที่ดีฝ่ายจิตวิญญาณ และหลายครั้งก็หลอกลวงให้เราหลงผิดไปได้

จิตวิญญาณแต่เพียงฉาบหน้ามักถือเรื่องพิธีการเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งส่วนมากสืบทอดมา จากคนอื่น ดูเหมือนเคร่ง แต่ไม่เกิดผลดีใดๆ จะอธิษฐานก็ต่อเมื่อเข้าตาจน แรง จูงใจมักมาจากสถาณการณ์ที่เกินกำลัง และอธิษฐานเพียงแค่เอาตัวให้รอดก็พอ เป็นการอธิษฐานมุ่งไปที่เรื่องของตัวเอง มากกว่าเข้าหาพระเจ้าหรือทำเพื่อคนอื่น ลืมเรื่องความบาปของตนเองเสียสนิท แต่กลับไพล่ไปเ็ห็นความบาปของคนอื่น ขาด การมีสามัคคีธรรมที่ดีกับพระเจ้า และความกระหายที่จะทำตามพระประสงค์ของพระองค์ ไม่ใส่ใจเรื่องอื่นรอบตัว กลับให้เรื่องของตัวเองเป็นใหญ่ (เช่น "ข้าแต่พระเจ้า โปรด อวยพระพรงานพันธกิจของข้าฯ") บางครั้งบิดเบือนหลักคำสอนไป เพื่อจะกลบเกลื่อน หรือหาข้อแก้ตัวให้กับความบาปของตน (เช่นเดียวกับที่โยนาห์อ้างในอธิปไตย ของ พระเจ้าเพื่อมาบดบังบาปของตนเอง).

การทรงช่วยกู้ของโยนาห์ เตือนให้เราเห็นว่า พระเจ้าเลือกเราด้วยวิธีการของพระองค์ ไม่ใช่วิธีที่แบบที่เราเลือก พระเจ้าไม่ได้ให้ความรอดแก่เราแบบที่เราเลือกเองได้ แต่ เป็นการจัดเตรียมของพระองค์ โยนาห์คงไม่ได้เลือกที่จะเข้าไปอยู่ในท้องปลามหึมา ถึงแม้จะไม่เป็นที่่น่าอภิรมย์ แต่ก็ช่วยให้รอดตาย โยนาห์อาจอยากให้การค้นหาตัว ท่านเป็นเรื่องตื่นเต้นประทับใจ เช่นยามชายฝั่งส่งเรือออกไปค้นหา เฮลิคอปเตอร์บินวน ดูจากด้านบน นักประดาน้ำดำลงไปดู หรือนักกู้ภัยอุ้มและดึงท่านด้วยสลิงขึ้นไปบน อากาศ ตามด้วยการปั๊มหัวใจ หรือเป่าปากช่วยชีวิตโดยนักกู้ภัยสาว พระเจ้าไม่ได้ สนองความต้องการในแบบของโยนาห์ เพราะปัญหาใหญ่ของท่านคือ ความหยิ่งยโส

เช่นเดียวกัน วิธีการช่วยกู้ของพระเจ้านั้นไม่ได้ยึดติดหรือเป็นไปตามที่มนุษย์ชอบใจ การตกเป็นทาสในอียิปต์ถึง 400 ปีคงไม่เป็นที่น่าปราถนาของชาวอิสราเอล การเดินข้าม ทะเลแดง ข้ามแม่น้ำจอร์แดน การฆ่าสัตว์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เพื่อที่จะเอาเลือดมาพรมลง บนพระแท่่นก็เช่นกัน แต่นี่เป็นการจัดเตรียมของพระเจ้า การมองไปที่งูทองคำเพื่อ รักษาคนถูกงูกัดก็ดูไม่น่าศรัทธา แต่ก็เป็นเป็นวิธีการของพระเจ้า การเชื่อและวางใจ ในการสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพ และการคืนพระชนม์ของจอมกษัตริย์อย่างพระเยซู คริสต์ที่โลกไม่ยอมรับนั้น เป็นวิธีการของการให้อภัย และการได้รับชีวิตนิรันดร์ในแบบ ของพระเจ้า ไม่ใช่แบบที่มนุษย์แสวงหา และเป็นวิธีการเดียวด้วย ถ้าคุณไม่มีประสพ การณ์ในความรอดกับพระองค์ คุณอาจถูกดึงให้ตกต่ำลง และถ่อมลงมากพอๆกับ โยนาห์ จนไม่ว่าการช่วยกู้จะมาในรูปแบบใดคุณก็ยินดีน้อมรับทั้งสิ้น

ขอพระเจ้าช่วยอย่าให้เราเป็นคนที่มีจิตวิญญาณที่ฉาบหน้าเหมือนกับ "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ แต่ช่วยให้เรามีจิตวิญญาณที่แจ่มแจ้งแท้จริงหมือนกับผู้เขียนพระธรรม สดุดี


16 อ้างอิงจาก Theodore Laetsch, จาก The Minor Prophets (St. Louis: Concordia Publishing House, 1956), p. 228.

17 เปรียบเทียบกับสดุดี 88:6-7, 17, ที่ผู้เขียนใช้คำว่า "น้ำท่วม" สำหรับตรงนี้ ความเดือดร้อนของผู้เขียนจอมกบฎเป็นมาจากพระเจ้า ไม่ใช่จากมนุษย์

Related Topics: Character Study

บทที่ 3: นีนะเวห์กลับใจ และ โยนาห์ไม่พอใจ (โยนาห์ 3 & 4)

พอกันที "ความเป็นผู้ดี"

คำนำ

เราเคยมีแมวไทยจอมซ่าอยู่ตัวหนึ่ง เป็นประเภทชอบเสี่ยงภัย เจ้าของบ้านที่เราพัก อยู่เลี้ยงลาไว้ตัวหนึ่งชื่อ "ฮี้ฮอ" ตรงทุ่งข้างบ้าน ตอนนั้นฮี้ฮอท้องแก่มาก อารมณ์ ไม่ค่อยสู้จะดี มีอยู่วันหนึ่งเราเดินไปดูว่าฮี้ฮอเป็นอย่างไรบ้าง แมวก็ตามไปด้วย ที่แย่ไปกว่านั้น เจ้าแมวดันไปเดินย่องๆตามหลังลา พอลาหันมาเห็น มันก็มองอย่าง จะเอาเรื่อง ผมกับภรรยาก็ไม่กล้าเดินไปลากแมวออกมา ได้แต่คิดว่าแมวน่าจะฉลาด พอ แล้วสิ่งที่คาดเอาไว้ก็เกิดขึ้น แมวล้ำเส้นลามากไป ก็เลยถูกเตะเปรี้ยงเดียว กระเด็นลอยไปไกลพอดู พอแมวยืนติดลุกขึ้นมาสบัดหัวไล่ความงง มันคงพอรู้แล้วว่า ลาคงจะไม่ชอบขี้หน้ามัน

พอผมอ่านพระธรรมโยนาห์มาถึงบททีีสามและสี่ ผมมีความรู้สึกเดียวกับตอนที่เห็น แมวของเราเดินย่องตามหลังฮี้ฮอ โยนาห์ก็เหมือนกับแมวตัวนั้น บุกโจมตีพระเจ้า อย่างดื้อดึงในบทที่ 4 ในขณะที่เราอ่านบทนี้ เรารู้ว่าท่านกำลังเดินล้ำเ้ส้น จึงสมควร "ถูกสักป้าป" จากพระเจ้า และถ้ามันเกิดขึ้นเราคงไม่มีความเห็นใจใดๆเหลือให้กับ โยนาห์

นับว่าแปลกที่โยนาห์ไม่โดน "สักป้าป" จากพระเจ้าทั้งๆที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง หนังสือ จบลงกลางอากาศตรงที่โยนาห์ถูกพระเจ้าดุว่าสั่งสอน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกแปลกๆห้วนๆ เพราะไม่มีตอนจบแบบ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" ที่ลุ้นกันอยู่ อย่าลืมว่าเรื่องนี้ไม่ได้ขึ้นต้นว่า "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว …" หรือจบลงด้วย "มีสุขชั่วกาลนาน" นะครับ

การที่หนังสือจบลงแบบนี้เพราะมีจุดประสงค์บางอย่าง พระเจ้าไม่ต้องการให้เรารู้สึก ลำพองใจจนเกินไป เพราะถ้าเรารู้สึกสุขสบายคงยากที่จะกลับใจและยอมรับการเปลี่ยน แปลง คำถามก็คือ "แล้วเราไม่ควรรู้สึกลำพองใจในเรืองใดดี ?" บทที่สามและสี่แสดง ให้เห็นถึงความบาปอันร้ายแรงของโยนาห์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาพอๆกับในปัจจุบัน ผม อยากให้เราตั้งใจฟังให้ดีในเรื่องที่โยนาห์ประท้วงพระเจ้า และที่พระเจ้าทรงตอบใน บทสรุปของพระธรรมโยนาห์

โครงร่างและการแบ่งเนื้อหา

โครงร่างของเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ :

3:1-10

โยนาห์ไปประกาศ และชาวนีนะเวห์กลับใจ

3:10-4:11

"พระกรุณา" ของพระเจ้า และความโกรธของโยนาห์

3:10-4:4

คำอธิษฐานประท้วงของโยนาห์ และคำตอบของพระเจ้า

4:5-9

จากความปลื้มปิติไปเป็นความเจ็บปวด: ต้นไม้ ตัวหนอน และผู้เผยพระวจนะ

4:10-11

คำตรัสสุดท้าย

ขั้นตอนเหตุการณ์ในสองบทสุดท้ายของพระธรรมโยนาห์ ถูกจัดเตรียมไว้หมดแล้วใน สองบทแรก ในบทที่ 1 พระเจ้าสั่งให้โยนาห์ไปนีนะเวห์ เพื่อไปป่าวร้องถึงความบาป ของคนในเมืองใหญ่นี้ แทนที่จะเดินทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โยนาห์ไปที่ท่าเรือ เมืองยัฟฟา ขึ้นเรือมุ่งลงไปยังทารชิชซึ่งอยู่บนชายฝั่งของประเทศสเปน โยนาห์มุ่งไป ในทิศทางตรงข้าม !

การขัดคำสั่งของโยนาห์มีผลทำให้เกิดพายุใหญ่ ทำให้เรือแทบอัปปางลง และทำ ให้ชาวเรือตกใจจนร้องเรียกหาพระของเขาให้มาช่วย ในขณะที่พวกเขาเร่งโยนสินค้า ทิ้งลงทะเล ก็ไปพบว่าโยนาห์นอนหลับสนิทอยู่ใต้ท้องเรือ กัปตันจึงสั่งให้โยนาห์ช่วย อธิษฐานด้วย (ซึ่งเราเห็นว่าท่านคงไม่คิดจะทำ) ชาวเรือพยายามแก้ใขทุกวิถีทาง มีการจับฉลากดูว่าใครเป็นต้นเหตุุที่ทำให้เรืออัปปาง หลังจากการสอบสวนอย่างหนัก โยนาห์ยอมรับว่าเป็นความผิดของตน และแนะวิธีการแก้ใขสถาณการณ์ -- คือโยน ท่านลงทะเลไป ความพยายามของพวกเขาที่จะส่งโยนาห์ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัยก็ถูก พระเจ้าขัดขวาง จนในที่สุดพวกเขาก็ยอมทำตามที่โยนาห์บอก ก่อนทำ พวกเขาได้ อธิษฐานเพราะต้องทำให้ชายผู้บริสุทธิ์นี้ตายลง แต่พอโยนโยนาห์ลงทะเลไปแล้ว พายุก็สงบ ชาวเรือจึงหันมานมัสการพระเจ้าของอิสราเอล ด้วยเครื่องถวายบูชา และสาบานตนแทน ในบทแรกนำเสนอเรื่อง ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างโยนาห์ กับชาวเรือนอกรีต ท่านไม่เชื่อฟังคำสั่งพระเจ้า แตชาวเรือกลับเชื่อฟังสิ่งที่พระเจ้า ตรัสผ่านทางท่าน พวกเขาอธิษฐานอย่างไม่หยุดยั้งด้วยใจร้อนรน แต่ โยนาห์ไม่เป็น เช่นนั้น พวกเขาสงสารเห็นใจโยนาห์ แต่ท่านกลับไม่แยแสพวกเขาเลย

บทที่ 2 เป็นเรื่อง "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ วิธีการใช้คำและร้อยกรองในคำอธิษฐาน ของ โยนาห์นั้นคล้ายคลึงกับคำอธิษฐานของพระธรรมสดุดีในพระคัมภีร์เดิม ทั้งในทาง ทฤษฎี และในเนื้อหา แต่คำอธิษฐานของโยนาห์ไม่ได้ดีีตามมาตรฐานอันเลิศของ พระคัมภีร์เลย "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์มีแต่เรื่องของตนเอง หมกมุ่นอยู่กับความทุกข์ ภัยอันตรายที่ตนเองเผชิญอยู่ เรียกร้องการช่วยกู้ มากกว่ามุ่งไปที่พระเจ้าผู้ทรงช่วยท่าน ได้ ที่น่าวิตกคือ ไม่มีคำสารภาพบาปเลยแม้แต่น้อย ในคำอธิษฐานนี้มีแต่เรื่องดูถูกคน ต่างชาติ และพยามยามบอกให้พระเจ้ารู้ถึงความชอบธรรมของตนเอง แต่เมื่อโยนาห์ สรรญเสริญพระเจ้าที่ช่วยให้ท่านรอดตาย พระเจ้าจึงสั่งให้ปลามหึมานั้นสำรอกท่าน ลงบนฝั่ง

พอถึงบทที่ 3 และ 4 ท่าทีความกตัญญูก็หายวับไปจากผู้เผยพระวจนะหัวแข็งท่านนี้ เลยทำให้ผมต้องตั้งชื่อตอนนี้ว่า "พอกันที ความเป็นผู้ดี" ในบทที่ 1 & 2 นั้น เราพอ มองเห็นความบาปของโยนาห์ แต่ว่ายังดูคลุมเคลือ ไม่เด่นชัดมาก แต่พอเข้าบทที่ 3 และ 4 ที่ท่านออกไปป่าวร้องและชาวนีนะเวห์เกิดกลับใจ ที่นี้แหละ ท่านออกอาการ "ยัวะสุดขีด" และความบาปที่น่าชังของท่านจึงเผยโฉมออกมาอย่างแจ่มแจ้ง ในบทที่ หนึ่งท่านเพียงแต่หนีจากการรับใช้ แต่บทที่ 4 ท่านโจมตีพระเจ้า และบอกกับพระองค์ ด้วยว่าท่านมีสิทธิอย่างยิ่งที่จะโกรธ ในบทที่ 2 ท่านอธิษฐานขอให้พระเจ้าช่วยชีวิต แต่ในบทที่ 4 ท่านกลับอธิษฐานขอให้พระเจ้าเอาชีวิตไปเสีย ดูเหมือนในตอนนี้ ทุก อย่างกำลังดิ่งลงเหวอย่างรวดเร็ว

เรื่องของเราจึงเริ่มขึ้นในวิกฤตกาลตอนนี้ สิ่งแรกที่พระเจ้าตรัสกับโยนาห์คือคำสั่งเดิม ที่ให้ไว้ก่อนเกิดพายุและถูกขังอยู่ในท้องปลา เรารู้เรื่องการป่าวร้องของโยนาห์ และ เรื่องมหัศจรรย์ที่คนทั้งเมืองกลับใจ รวมทั้งที่พระเจ้ายับยั้งการลงโทษตามที่พระองค์ ได้ตรัสผ่านทางผู้เผยพระวจนะท่านนี้

ในบทที่ 4 โยนาห์โพล่งออกมาถึงสาเหตุที่ท่านฝ่าฝืนคำสั่งในการให้ไปประกาศที่นคร นีนะเวห์ เหตุการณ์ที่อยู่ในบทนี้แสดงให้เห็นถึงความบาปทั้งสิ้นของโยนาห์ ในขณะที่ ผู้อ่านเห็นความบาปของโยนาห์อย่างชัดเจน แต่ดูเหมือนไม่มีผลกระทบใดๆเกิดขึ้นกับ ท่าน เรื่องจบลงเฉยๆอย่างขาดห้วน โดยมีคำตักเตือนของพระเจ้าค้างอยู่กลางอากาศ และโยนาห์ก็ยังโกรธพระองค์อยู่

การประกาศของโยนาห์ และ การกลับใจของนีนะเวห์
(3:1-9)

1 แล้วพระวจนะของพระเจ้ามาถึงโยนาห์เป็นคำรบสองว่า 2 "จงลุกขึ้น ไปยังนีนะเวห์นครใหญ่ และประกาศข่าวแก่เมืองนั้นตามที่เราบอกเจ้า" 3 ดังนั้น โยนาห์จึงลุกขึ้นไปยังนีนะเวห์ ตามพระวจนะของพระเจ้า ฝ่าย นีนะเวห์เป็นนครใหญ่โตมากทีเดียว ถ้าจะเดินข้ามเมืองก็กินเวลาสาม วัน 4 โยนาห์ตั้งต้นเดินเข้าไปในเมืองได้ระยะทางเดินวันหนึ่ง และท่าน ก็ร้องประกาศว่า "อีกสี่สิบวัน นีนะเวห์จะถูกคว่ำ"

5 ฝ่ายประชาชนนครนีนะเวห์ได้เชื่อฟังพระเจ้า เขาประกาศให้อด อาหารและสวมผ้ากระสอบ ตั้งแต่ผู้ใหญ่ที่สุดถึงผู้น้อยที่สุด 6 กิตติ ศัพท์นี้ลือไปถึงกษัตริย์นครนีนะเวห์ พระองค์ทรงลุกขึ้นจากพระที่นั่ง ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ออกเสีย ทรงสวมผ้ากระสอบแทน และประ ทับบนกองขี้เถ้า 7 พระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกา ประกาศไปทั่ว นครนีนะเวห์ว่า "โดยอำนาจกษัตริย์และบรรดาขุนนางทั้งหลาย คนหรือ สัตว์ ไม่ว่าฝูงสัตว์ใหญ่หรือฝูงสัตว์เล็ก ห้ามลิ้มรสสิ่งใดๆ อย่าให้กิน อาหาร อย่าให้ดื่มน้ำ 8 ให้ทั้งคนและสัตว์นุ่งห่มผ้ากระสอบ ให้ตั้งจิต ตั้งใจร้องทูลต่อพระเจ้า เออ ให้ทุกคนหันกลับเสียจากการประพฤติชั่ว และเลิกการทารุณซึ่งมือเขากระทก 9 ใครจะรู้ได้ พระเจ้าอาจจะทรง กลับและเปลี่ยนพระทัย คลายจากพระพิโรธอันรุนแรงเพื่อว่าเราจะมิได้ พินาศ ?"

เป็นคำรบสองที่ "พระวจนะของพระเจ้า" มาถึงโยนาห์ "จงลุกขึ้นไปยังนีนะเวห์ นครใหญ่ และประกาศข่าวแก่เมืองนั้นตามที่เราบอกเจ้า" (ข้อ 2) อันนี้ไม่ใช่เป็นคำสั่ง ใหม่ของโยนาห์ แต่เป็นคำสั่งที่สั่งซ้ำเหมือนในบทที่ 1 ครั้งนี้โยนาห์ทำตาม แต่ด้วย ความชื่นชมยินดีหรือทัศนคติแบบใด เราจะมาดูกัน แต่อย่างน้อยที่สุด โยนาห์ก็ไปจน ถึงนีนะเวห์

ประชากรของนครนีนะเวห์ ถ้าจะรวมถึงปริมณฑลด้วยนั้น คงมากที่เดียว ( 1:2; 3:2; 4:11) เรารู้ขนาดของเมืองด้วยว่า ถ้าเดินข้ามเมืองก็กินเวลา "สามวัน" (3:3) มีข้อมูล มากมายที่นักประวัติศาสตร์รวบรวมไว้เกี่ยวกับเมืองหลวงของอัสซีเรียเมืองนีนะเวห์นี้

คำพูดของโยนาห์นั้นธรรมดา ตรงประเด็น และน่าตกใจ ""อีกสี่สิบวัน นีนะเวห์จะถูกคว่ำ" (3:4).18

เช่นเดียวกับชาวเรือในบทที่ 1 ชาวนีนะเวห์รับฟังเรื่องการพิพากษาที่กำลังจะเกิดขึ้น อย่างเอาจริงเอาจัง หนังสือบอกว่า "พวกเขาได้เชื่อฟังพระเจ้า" (3:5) ซึ่งเล็งไปถึง การที่ชาวต่างชาติมีความเชื่อในพระเจ้าของอิสราเอล ไม่ใช่เพียงเพราะกลัวการ พิพากษา เลยทำให้ผมเห็นการฟื้นฟูแท้จริงที่เกิดขึ้นเพราะการประกาศของโยนาห์ ดูเหมือนการฟื้นฟูจะ "เริ่มจากเบื้องล่าง" ก่อน แทนที่จะเป็นคำสั่ง "จากเบื้องบน" ลงมา หนังสือบันทึกว่า ชาวนีนะเวห์ได้เชื่อฟังพระเจ้า มีการประกาศให้อดอาหารและห่มผ้า กระสอบ (3:5) ผลตอบรับนั้นเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงกัน จากสามัญชนธรรมดา ขึ้นไป จนถึงเจ้าขุนมูลนาย

แทบทั้งเมืองกลับใจไปแล้วก่อนที่เรื่องนี้จะรู้ไปถึงกษัตริย์ และเป็นเพราะกษัตริย์เชื่อคำ เตือนของโยนาห์ พระองค์จึงออกคำสั่งเป็นทางการให้ทั้งเมืองกลับใจโดยเริ่มต้นที่ตัว พระองค์ก่อน (3:6) มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ชาวนีนะเวห์ทั้งปวงอดอาหารและ งดดื่มน้ำ (3:7) ทั้งคนและสัตว์ต้องนุ่งห่มผ้ากระสอบ ให้ประชากรร้องทูลต่อพระเจ้า และหันกลับเสียจากการประพฤติชั่ว (3:8).

ข้อสังเกตุที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือไม่มีการกล่าวว่าประชาชนทำบาปใดบ้าง แน่นอน โยนาห์อาจจะเพิ่มรายละเอียดลงไปบ้างก็ได้ แต่ดูเหมือนไม่มีความความจำเป็นต้อง ทำเช่นนั้น ดังนั้น ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่รู้ว่าสิ่งใดคือความบาป แต่เพราะไม่อยากเลิก ทำบาปต่างหาก ปัญหาไม่ใช่ว่าไม่มี ข้อมูล แต่ไม่มี แรงจูงใจ ผมมีความรู้สึกมั่นใจ ว่าถ้าคนในประเทศของเราได้รับพระวจนะคำ ว่าการพิพากษากำลังจะมาถึง ผู้คนคง ไม่มีปัญหาที่จะแยกแยะว่าสิ่งใดบ้างที่ทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย หรือพูดใ้ห้ชัดๆคือ "บาป"

ถ้าชาวนีนะเวห์มีเวลาเหลืออีก 40 วัน ทำไมถึงต้องเลิกทำบาป ? น่าจะทำต่อไปโดยยึด อุดมคติที่ว่า "กิน ดื่ม และแสวงหาความสุขเสีย เพราะอีกไม่กี่วัน (40วัน) เราก็จะตาย แล้ว" แรงจูงใจที่ทำให้ชาวนีนะเวห์หันเสียจากความประพฤติชั่วอยู่ในข้อ 9 "ใครจะรู้ ได้ พระเจ้าอาจจะทรงกลับและเปลี่ยนพระทัย คลายจากพระพิโรธอันรุนแรงเพื่อว่าเรา จะมิได้พินาศ ?" (3:9)

บางคนมีปัญหาเมื่อพระเจ้า "ผ่อนปรน" หรือเปลี่ยนพระทัยไม่ทำลายนครนีนะเวห์ ผม อยากชี้ให้เห็นว่าโยนาห์เองก็เป็นด้วย (4:2) แต่ชาวนีนะเวห์กลับมีความหวังว่าพระ เจ้าอาจเปลี่ยนพระทัย (3:9) ถ้าพระเจ้ามีความตั้งใจที่จะทำลายนีนะเวห์ เหตุใดพระ องค์ต้องใช้ให้คนไปบอกให้รู้ตัวด้วย ? การประกาศที่พระเจ้าใช้ให้โยนาห์ไปทำนั้น ไม่ใช่เป็นคำสัญญาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นคำเตือน ชาวนีนะเวห์เข้าใจถึงคำประกาศ ของโยนาห์เป็นอย่างดี เพราะมีการกลับใจ นี่เป็นสิ่งเดียวกับที่พระเจ้าตรัสไว้ในพระ ธรรมเยเรมีห์ :

แล้วพระวจนะของพระเจ้ามายังข้าพเจ้าว่า "ประชาอิสราเอลเอ๋ย เรา จะกระทำแก่เจ้าอย่างที่ช่างหม้อนี้กระทำไม่ได้หรือ ?" พระเจ้าตรัส ดังนี้แหละ "ดูเถิด ประชาอิสราเอลเอ๋ย เจ้าอยู่ในมือของเรา อย่างดิน เหนียวอยู่ในมือของช่างหม้อ ถ้าเวลาใดก็ตามเราประกาศเกี่ยวกับประ ชาชาติหนึ่งหรือราชอาณาจักรหนึ่งว่า เราจะถอนและพังและทำลายมัน เสีย และถ้าประชาชาตินั้น ซึ่งเราได้ลั่นวาจาไว้เกี่ยวข้องด้วยหัน เสียจากความชั่วของตน เราก็จักกลับใจจากโทษซึ่งเราได้ตั้งใจ จะ กระทำแก่ชาตินั้นเสีย และถ้าเวลาใดก็ตาม เราได้ประกาศเกี่ยว กับประชาชาติหนึ่ง หรือราชอาณาจักรหนึ่งว่า เราจะสร้่างขึ้นและปลูก ฝังไว้ และชาตินั้นได้กระทำชั่วในสายตาของเรา ไม่ฟังเสียงของเรา เรา ก็จะกลับใจจากความดีซึ่งเราตั้งใจจะกระทำกับชาตินั้นเสีย เพราะฉะนั้น คราวนี้จึงกล่าวกับคนยูดาห์และชาวเมืองเยรูซาเล็มว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ ว่า ดูเถิดเรากำลังก่อสิ่งร้ายไว้สู้เจ้าและคิดแผนงานอย่างหนึ่งไว้สู้เจ้า ทุกๆคนจงกลับเสียจากทางชั่วของตน และจงซ่อมทางและการกระทำ ของเจ้าทั้งหลายเสีย" (เยเรมีห์ 18:5-11).

พระพรตามพระสัญญาของพระเจ้านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังของ มนุษย์ และอาจทรงละจากการพิพากษาได้ถ้ามีการกลับใจ ชาวนีนะเวห์มีความหวังใจ ว่าพระเจ้าจะ "ยับยั้ง" โดยยึดตามหลักการที่กล่าวไว้ด้านบน

นีนะเวห์กลับใจ พระกรุณาของพระเจ้า และความไม่พอใจของโยนาห์
(3:10–4:11)

10 เมื่อพระเจ้าทอดพระเนตรการกระทำของเขาแล้วว่า เขากลับไม่ ประพฤติชั่วต่อไป พระเจ้าทรงกลับพระทัย ไม่ลงโทษ ตามที่พระองค์ ตรัสไว้ และพระองค์ก็มิได้ทรงลงโทษเขา

1เหตุการณ์นี้ไม่เป็นที่พอใจโยนาห์อย่างยิ่ง และท่านโกรธ 2ท่านจึง อธิษฐานต่อพระเจ้าว่า "ข้าแต่พระเจ้า เมื่อข้าพระองค์ยังอยู่ในประเทศ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พูดแล้วว่าจะเป็นไปเช่นนี้มิใช่หรือ? นีแหละ เป็นเหตุให้ข้าพระองค์ได้รีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพระองค์ ทราบว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงกอปรด้วยพระคุณ และทรงพระ กรุณา ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และทรงกลับพระทัย ไม่ลงโทษ 3ข้าแต่พระเจ้า เพราะฉะนั้น บัดนี้ขอพระองค์ทรงเอาชีวิต ของข้าพระองค์ไปเสีย เพราะว่าข้าพระองค์ตายเสียก็ดีกว่าอยู่ " 4 และ พระเจ้าตรัสว่า "การที่เจ้าโกรธเช่นนี้ดีอยู่หรือ ?"

5 แล้วโยนาห์ก็ออกไปนอกนคร นั่งอยู่ทางทิศตะวันของเมืองนั้น และ ท่านทำเพิงไว้เป็นที่ท่านอาศัย ท่านนั่งอยู่ใต้ร่มเพิงคอยดูเหตุการณ์อัน จะเกิดขึ้นกับนครนั้น 6และพระเจ้าทรงกำหนดให้ต้นละหุ่งต้นหนึ่งงอก ขึ้นมาเหนือโยนาห์ ให้เป็นที่กำบังศีรษะของท่าน เพื่อให้บรรเทาความ ร้อนรุ่มกลุ้มใจในเรื่องนี้ เพราะเหตุต้นละหุ่งต้นนี้โยนาห์จึงมีความยินดี ยิ่งนัก 7แต่ในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น พระเจ้าทรงกำหนดให้หนอนตัวหนึ่งมา กัดกินต้นละหุ่งต้นนั้น จนมันเหี่ยวไป 8เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเจ้า ทรงกำหนดให้ลมตะวันออกที่ร้อนผากพัดมา และแสงแดดก็แผดลงบน ศีรษะของโยนาห์จนท่านอ่อนเพลียไป และท่านก็ทูลขอว่าให้ท่านตาย เสียเถิด ท่านว่า "ข้าตายเสียดีกว่าอยู่"

9 แต่พระเจ้าตรัสกับโยนาห์ว่า "ที่เจ้าโกรธเพราะต้นละหุ่งนั้นดีอยู่แล้ว หรือ ?" ท่านทูลว่า "ที่ข้าพระองค์โกรธถึงอยากตายนี้ดีแล้วพระเจ้าข้า" 10และพระเจ้าตรัสว่า "เจ้าหวงต้นไม่ซึ่งเจ้ามิได้ลงแรงปลูกหรือมิได้ กระทำให้มันเจริญ มันงอกเจริญขึ้นในคืนเดียว แล้วก็ตายไปในคืนเดียว ดุจกัน 11ไม่สมควรหรือที่เราจะหวงเมืองนีนะเวห์นครใหญ่นั้น ซึ่งมีพล เมืองมากกว่าหนึ่งแสนสองหมื่นคน ผู้ไม่ทราบว่าข้างไหนมือขวาข้าง ไหนมือซ้าย และมีสัตว์เลี้ยงเป็นอันมากด้วย ?"

พระเจ้าเห็นถึงการกลับใจของนีนะเวห์ ซึ่งไม่ได้เป็นแค่คำพูดอย่างเดียว ในข้อ 10 ไม่ได้บอกว่าพระเจ้าใส่ใจในคำพูดของชาวนีนะเวห์ หรือแม้แต่การนุ่งห่มผ้ากระสอบ หรือโรยขี้เถ้า แต่พระองค์ทรงเห็นถึงการกระทำของพวกเขาที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขา "หันกลับเสียจากการประพฤติชั่ว" นี่คือการกลับใจที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูด ซ้ำซากเช่น "ผมเสียใจ" แต่การกระทำเป็นตัวที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงในจิตใจที่แท้ จริง อย่างที่โยนาห์คาดไว้ ชาวนครนีนะเวห์ได้กลับใจจริงจากความบาปที่เคยกระทำ ดังนั้นพระเจ้าจึงยับยั้งไม่ลงโทษตามที่พระองค์ได้เคยตรัสไว้

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ไม่มีคำอธิบายใดๆเรื่องการกลับใจของชาวนีนะเวห์ที่เกิดขึ้น อย่างฉับพลัน พร้อมเพรียงกันและอย่างจริงใจ อาจจะเหมือนพวกชาวเรือที่ต้อง ปฏิบัติตามคำของโยนาห์ก่อนที่การอัศจรรย์จะเกิดขึ้น หรืออาจเป็นเพราะวิธีการปรากฎ ตัวของโยนาห์เอง ซึ่งเป็นหมายสำคัญยิ่งต่อชาวนีนะเวห์ อาจมีเหตุกาณ์อื่นๆอีกที่เตรียม ชาวนีนะเวห์มหานครของอัสซีเรียไว้ให้พร้อมที่จะกลับใจ แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ 19

เมื่อพระเจ้าพูดถึงการกลับใจของชาวนีนะเวห์นั้น ชัดเจนและย้ำถึงสิ่งเดียว กับที่เรากำลังติดตามอยู่ :

คราวนั้นมีบางคนในพวกธรรมาจารย์ และพวกฟาริสีมาทูลพระองค์ว่า "อาจารย์เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าอยากจะเห็นหมายสำคัญจากท่าน" พระ องค์จึงตรัสตอบเขาว่า "คนชาติชั่วและคิดทรยศต่อพระเจ้าแสวงหา หมายสำคัญ และจะไม่ทรงโปรดให้หมายสำคัญแก่เขา เว้นไว้แต่หมาย สำคัญของโยนาห์ผู้เผยพระวจนะ ด้วยว่า โยนาห์ได้อยู่ในท้องปลา มหึมาสามวัน สามคืน ฉันใด บุตรมนุษย์จะอยู่ในท้องแผ่นดินสาม วันสามคืนฉันนั้น ชนชาวนีนะเวห์จะลุกขึ้นในวันพิพากษาพร้อมกับคน ยุคนี้ และจะเป็นตัวอย่างให้คนยุคนี้ได้รับโทษ ด้วยว่าชาวนีนะเวห์ได้ กลับใจเสียใหม่ เพราะคำประกาศของโยนาห์ และซึ่งใหญ่กว่าโยนาห์มี อยู่ที่นี่" (มัทธิว 12:38-41).

การที่พวกฟาริสีและธรรมาจารย์ถามหาหมายสำคัญจากพระเจ้า ทำให้พระเยซูต้องเอ่ย ถึงพระธรรมโยนาห์ที่มีบทเรียนซ่อนอยู่สองเรื่องด้วยกัน เรื่องแรก พระเยซูพูดถึงหมาย สำคัญที่จะเกิดขึ้นกับพระองค์เช่นเดียวกันกับโยนาห์ เมื่อโยนาห์อยู่ในท้องปลาสามวัน สามคืน พระเยซูจะทรงอยู่ในท้องแผ่นดินในเวลาที่เท่าเทียมกัน การคืนพระชนม์ของ พระเยซูจะเป็น "หมายสำคัญ" ให้แก่อิสราเอล เช่นเดียวกับที่โยนาห์ "ออกมาจากท้อง ปลา" เป็นหมายสำคัญ (น่่าจะสำหรับชาวอิสราเอล) และเป็นหมายสำคัญอันสุดท้าย คือ "หมายสำคัญที่มาจากผู้เผยพระวจนะโยนาห์" การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู การฝังพระศพ และการฟื้นคืนพระชนม์ เป็นข้อพิสูจน์ที่เราไม่สามารถโต้แย้งได้ถึง การที่พระองค์คือ พระเมสซิยาห์ของชาวอิสราเอล

ยังมีบทเรียนอื่นอีกที่พระธรรมโยนาห์มีไว้สอนคนอิสราเอลในสมัยของพระเยซู ชาว นีนะเวห์กลับใจทันทีที่ได้ยินการประกาศของโยนาห์ ถึงแม้จะมีข้อพิสูจน์เพียงน้อย นิดเมื่อเทียบกับในสมัยของพระเยซูที่ชาวอิสราเอลได้เห็น และถ้านำมาเทียบกับองค์ พระเยซูเอง โยนาห์แทบไม่มีความสำคัญใดๆเลย ผมคิดว่าโดยเฉพาะเรื่องฤทธิ์เดชและ สิทธิอำนาจในคำเทศนาสั่งสอนของพระองค์ ถ้าชาวนีนะเวห์กลับใจได้เพราะข้อพิสูจน์ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่นนั้น ปัญหาน่าจะอยู่ที่บรรดาผู้นำชาวยิว พวกธรรมาจารย์ และพวกฟาริสี ปัญหาคงไม่ได้อยู่ที่เรื่องขาดหลักฐานและข้อพิสูจน์อะไรทั้งสิ้น ที่จริง ไม่ได้อยู่ที่เรื่องนี้ด้วยซ้ำไป เพราะปัญหาเช่นนี้แก้ได้ด้วยการทำหมายสำคัญต่างๆ ปัญหาของพวกธรรมาจารย์และฟาริสีนั้นเป็น ปัญหาแบบเดียวกับโยนาห์ ต่อให้มีหมาย สำคัญยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดจิตใจที่จงใจเป็นกบฎของคน พวกนี้ได้

ทำให้ผมเองคิดว่า พื้นฐานในคำเทศนาของโยนาห์และขององค์พระเยซูนั้น ผมเห็น "หมายสำคัญของผู้เผยพระวจนะโยนาห์" นั้นทวีคูณ คือ "หมายสำคัญ" ที่โยนาห์ ถูกฝังอยู่ในท้องปลามหึมาและถูกช่วยให้รอดออกมา และยังเป็น "หมายสำคัญ" ใน ความดื้อรั้นในจิตใจของโยนาห์ จนทำให้ท่านมองไม่เห็นสิ่งที่พระเจ้ากำลังพยายาม จะสอน ไม่ว่าคำสอนนั้นจะชัดเจนและมีพลังเพียงใด ในขณะที่คำสอนเดียวกันนี้กับ ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและท่วมท้นจากพวกนอกศาสนาที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง เรื่องแบบนี้มาก่อน

พระเยซูนำเรื่องการกลับใจของชาวนีนะเวห์์ในมัทธิวบทที่ 12 มาสอนเพื่อยืนยันและ ทำให้เราเข้าใจได้ง่ายๆเมื่อได้ยิน พระองค์ตอกย้ำความจริงถึงการที่ชาวนีนะเวห์กลับใจ มาหาพระเจ้า ถึงแม้จะมีข้อพิสูจน์เพียงนิดเดียว แต่ถ้าจิตใจนั้นเปิดออกเพื่อฟังพระวจนะ และเรียนรู้ถึงน้ำพระทัยพระองค์แล้ว จิตใจนั้นจะเกิดความเชื่อและตอบสนองในทันที แต่ถ้าจิตใจที่แข็งกระด้าง — เช่นเดียวกับจิตใจแบบโยนาห์ — ก็จะไม่มีวันเปิดรับพระ วจนะคำ ต่อให้ชัดเจนเพียงใดก็ตาม

โยนาห์โกรธเคืองพระเจ้า

ถ้าโยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะเหมือนคนอื่นๆในประวัติศาสตร์อิสราเอล ท่านคงปลาบ ปลื้มยินดีที่การประกาศเกิดผล คนทั้งหมดในเมืองใหญ่อย่างนีนะเวห์กลับใจ ผู้เผย พระวจนะทั้งประวัติศาสตร์ของอิสราเอลล้มเหลวในการนำคนกลับมาหาพระเจ้า ถูก ปฏิเสธและถูกฆ่าตาย เช่นที่สเทเฟนกล่าวไว้ว่า "มีใครบ้างในพวกผู้เผยพระวจนะ ซึ่งบรรพบุรุษของท่านมิได้ถูกข่มเหง?" (กิจการ 7:52ก).

แทนที่จะชื่นชมยินดีที่มีคนมหาศาลกลับใจและได้รับความรอด เช่นเดียวกับเพื่อนร่วม อาชีพคนอื่นๆ โยนาห์กลับโกรธเคืองพระเจ้า : "เหตุการณ์นี้ไม่เป็นที่พอใจโยนาห์อย่าง ยิ่ง และท่านโกรธ" (4:1) ทำไมโยนาห์ต้องโกรธพระเจ้าด้วย ? โยนาห์ไม่รั้งรอที่จะบอก เหตุผล เมื่อท่านอธิษฐานประท้วงพระเจ้าว่า :

"ข้าแต่พระเจ้า เมื่อข้าพระองค์ยังอยู่ในประเทศ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พูดแล้วว่าจะเป็นไปเช่นนี้มิใช่หรือ? นีแหละ เป็นเหตุให้ ข้าพระองค์ได้รีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพระองค์ ทราบว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงกอปรด้วยพระคุณ และทรงพระ กรุณา ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และทรงกลับพระทัย ไม่ลงโทษ 3ข้าแต่พระเจ้า เพราะฉะนั้น บัดนี้ขอพระองค์ทรงเอาชีวิต ของข้าพระองค์ไปเสีย เพราะว่าข้าพระองค์ตายเสียก็ดีกว่าอยู่" (โยนาห์ 4:2-3).

ความโกรธของโยนาห์นั้นเหลือเชื่อจริงๆ ให้เรามาดูว่าท่านโกรธเรื่องใดบ้าง

(1) โยนาห์โกรธพระเจ้า ในบทวิเคราะห์ท้ายสุดนี้ โยนาห์ไม่ได้โกรธตัวเอง หรือ โกรธมนุษย์คนใด แต่โกรธพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ ความโกรธของโยนาห์รุนแรง ชนิดขอตายดีกว่าอยู่ ในบทที่สองโยนาห์อธิษฐานขอการช่วยชีวิต แต่ตอนนี้โยนาห์ อธิษฐานขอให้ตาย (4:3).

(2) โยนาห์โกรธพระเจ้าเพราะพระองค์ทรงกอปรด้วยพระลักษณะทีทรงพระคุณ และพระองค์จะทรงกระทำในสิ่งที่โยนาห์รู้ว่ายังไงๆ พระองค์ต้องทำแน่

(3) โยนาห์กลับโกรธพระเจ้าในพระลักษณะอันดีเลิศของพระองค์ที่ผู้เขียน พระธรรมสดุดีกล่าวสรรญเสริญไว้ ผู้เขียนพระธรรมสดุดีสรรญเสริญพระองค์ในความรักอันมั่นคง พระคุณ และพระ เมตตาของพระองค์ (สดุดี. 86:5, 15) แต่สำหรับโยนาห์นี่เป็นเหตุทำให้ท่าน ประท้วงด้วยความโกรธ ไม่ใช่การสรรญเสริญ

(4) โยนาห์โกรธพระเจ้าเพราะพระองค์สำแดงพระคุณต่อชาวนีนะเวห์ คำถาม ที่พระเจ้าถามโยนาห์ น่าจะเตือนสติและสอนใจผู้เผยพระวจนะหัวแข็งผู้นี้ได้ตั้งแต่แรก น่าจะทำให้ท่านตระหนักถึงความบาปที่ท่านโกรธเคืองพระองค์ ใครล่ะ จะสามารถ โกรธกริ้วต่อพระเจ้าผู้เปี่ยมไปด้วยพระทัยกรุณาได้ ? อีกอย่างการตักเตือนโยนาห์อย่าง นุ่มนวลนั้นน่าจะทำให้ท่านเห็นไม่แต่เพียงพระคุณที่มีต่อชาวนีนะเวห์เท่านั้น แต่มีต่อ โยนาห์เองด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่ชาวนีนะเวห์กลับใจ โยนาห์ไม่ยอม และยังดื้อ ดึงกบฎต่อไป

ต้นละหุ่งกับผู้เผยพระวจนะ

ในขณะที่โยนาห์ยังดื้อดึงโกรธเคืองพระเจ้าอยู่ พระเจ้าเพิ่มเติมประสพการณ์บาง อย่างที่ทำให้เห็นถึงปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ในท่านผู้เผยพระวจนะท่านนี้ ด้วยการ มอบต้นไม้ให้แก่โยนาห์ แล้วก็เอากลับคืนไป ซึ่งทำให้โยนาห์ตอนแรกเกิดความดีใจ

ดูเหมือนสี่สิบวันผ่านไปโดยไม่มีการพิพากษาลงมาที่นครนีนะเวห์ เป็นเรื่องไม่น่า ประหลาดใจสำหรับพวกเรานัก แต่นับเป็นความผิดหวังอันใหญ่หลวงของโยนาห์ ท่านออกไปนอกเมือง ไปทำเพิงปักหลักเพื่อรอดูความพินาศของนีนะเวห์ ซึ่งน่า จะมีลูกไฟ และถ่านแดงๆตกลงมาจากท้องฟ้า เหมือนกับที่ทำลายล้างเมืองโสดม โกโมราห์มาแล้ว และโยนาห์กำลังรอดูอยู่ด้วยใจจดใจจ่อ เหมือนกับที่พวกโรมันรอดู พวกคริสเตียนที่ถูกโยนให้สิงห์โตกินอยู่ในโคลีเซียม

และพระเจ้าทรงกำหนดให้ต้นละหุ่งต้นหนึ่ง งอกขึ้นมาเหนือโยนาห์ ให้เป็นที่กำบังศีรษะ ของท่าน เพื่อให้บรรเทาความร้อนรุ่มกลุ้มใจในเรื่องนี้ เพราะเหตุต้นละหุ่งต้นนี้ โยนาห์ จึงมีความยินดียิ่งนัก (4:6) เป็นครั้งแรกที่มีการพูดว่า โยนาห์มีความยินดี ยินดียิ่งนัก เสียด้วยสำหรับต้นละหุ่งต้นนี้ แต่ดีใจอยู่ได้ไม่นาน วันรุ่งขึ้นพระเจ้ากำหนดให้มี หนอนมากัดกิน ไม่ให้เหลือซาก ถ้าลองหยุดคิดดูให้ดี โยนาห์นี่มีอะไรเหมือนๆ กับหนอนนะ แทนที่จะเหมือนกับต้นไม้ หนอนดีใจที่ได้ทำลายสิ่งที่พระเจ้าสร้าง ลง มากกว่าส่วนดีที่ต้นไม้ซึ่งนำความร่มเย็นมาให้

พร้อมๆกับหนอนที่ทำลายต้นไม้ พระเจ้าทรงให้มีลมร้อนผากพัดมา ทำให้โยนาห์ร้อน รุ่มยิ่งนัก ขณะที่โยนาห์ต้องการให้นครนีนะเวห์ถูก "เผา" ท่านกับถูกลมร้อน "แผดเผา" เสียเอง (4:8). โยนาห์ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่นั่น และไม่ต้องทนทุกข์กับความ ร้อน แต่ท่านกลับปักหลักคอยอยู่ และท่านก็ร้องขอความตายอีกครั้ง

อีกครั้งที่โยนาห์โกรธพระเจ้า เมื่อนึกถึงเรื่องต้นไม้และตัวหนอน เป็นครั้งที่สองแล้ว ที่พระเจ้าท้าทายโยนาห์ให้คิดดูให้ดีๆ : "ที่เจ้าโกรธเพราะต้นละหุ่งนั้นดีอยู่แล้วหรือ ?" (4:9) อย่างไม่รั้งรอ โยนาห์กลับย้ำว่าท่านมีสิทธิที่จะโกรธพระองค์ "ที่ข้าพระองค์โกรธ ถึงอยากตายนี้ดีแล้ว พระเจ้าข้า" (4:9).

สิ่งที่พระเจ้าตรัสเป็นสิ่งสุดท้ายในพระธรรมโยนาห์ ย้ำถึงหัวใจของเรื่องทั้งหมดนี้ :

"เจ้าหวงต้นไม่ซึ่งเจ้ามิได้ลงแรงปลูกหรือมิได้กระทำให้มันเจริญ มัน งอกเจริญขึ้นในคืนเดียว แล้วก็ตายไปในคืนเดียวดุจกัน ไม่สมควรหรือ ที่เราจะหวงเมืองนีนะเวห์นครใหญ่นั้น ซึ่งมีพลเมืองมากกว่าหนึ่งแสน สองหมื่นคน ผู่ไม่ทราบว่าข้างไหนมือขวา ข้างไหนมือซ้าย และมีสัตว์เลี้ยงเป็นอันมากด้วย?" (4:10-11).

การส่งต้นไม้ไปให้เป็นเหตุการณ์สุดท้ายระหว่างโยนาห์กับพระเจ้า โยนาห์รู้สึกสงสาร ต้นละหุ่งต้นนี้ พระเจ้าก็มีพระทัยเมตตาสงสารประชาชนเช่นกัน "ความสงสาร" ของ โยนาห์ ก็แย่พอๆกับ "คำอธิษฐาน" ของเขา พระเจ้ากำลังย้ำให้โยนาห์เห็นถึงประเด็น ว่าท่านเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับตนเองอย่างเดียว โดยเฉพาะเมื่อเปรียบกับพระทัย เมตตาสงสารที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวนีนะเวห์ ให้เรามาพิจารณาดูข้อแตกต่าง ระหว่าง "ความสงสาร" ของโยนาห์ที่มีต่อต้นละหุ่ง กับความสงสารที่พระเจ้ามี ให้กับบรรดาประชาชน

(1) โยนาห์สงสารต้นไม้ ; พระเจ้าสงสารผู้คน โยนาห์ยอมที่จะให้นครใหญ่ทั้ง เมืองพินาศไป ถึงแม้อาจมีเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ทั้งผู้คนอีก 120,000 และสัตว์อีกมากมาย ต้องประสพเคราะห์กรรม แน่นอนต้องมีคนโศกเศร้า แต่เราไม่แน่ใจว่าต้นไม้รู้สึกอย่างไร โยนาห์สงสารต้นไม้ แต่กับไม่เวทนาสงสารผู้คนและสัตว์ต่างๆเลย

(2) โยนาห์ยินดีกับต้นไม้ที่ตัวเองไม่ได้ลงแรงปลูกเอง พระเจ้ามีพระทัยสงสาร ในประชาชน ผู้เป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ และเป็นผู้ที่พระองค์จัดเตรียมพระ สัญญาสำหรับพระพรมากมายให้ โยนาห์ไม่ไ้ด้มีสัมพันธภาพแบบใดทั้งสิ้นกับ ต้นไม้ ท่านไม่ได้ปลูกเอง ไม่ได้ช่วยทำให้มันเจริญเติบโต พระเจ้าสร้างมนุษย์ และ สรรพสิ่งทุกอย่างในโลก พระองค์ทรงห่วงใยในสิ่งที่พระองค์สร้าง ห่วงมากจนสัญญา จะอวยพระพรต่อบรรดาเชื้อสายของอับราฮัม มากถึงขนาดส่งพระบุตรองค์เดียวมาตาย เพื่อมนุษย์ โยนาห์กลับไปห่วงสงสารในสิ่งที่ไม่มีค่าอะไรเลยสำหรับท่าน

(3) โยนาห์สงสารต้นไม้ที่ต้องตายลง ; พระเจ้าทรงสงสารประชากรที่กำลังเดิน ไปสู่ความพินาศชั่วนิรันดร์ โยนาห์สงสารต้นไม้ที่มีชีวิตอยู่แค่เพียงวันเดียว ถ้าพระ เจ้าอณุญาติ อาจอยู่ได้ถึงปีหรือนานกว่านั้น แต่การพิพากษาที่มนุษย์จะได้รับนั้น เป็น นิรันดร์ การ "จากไป" ของต้นละหุ่งนั้นไม่มีความหมายในเรื่องใดทั้งสิ้น ; แต่ภัยพิบัติ ที่จะเกิดกับชาวนีนะเวห์นั้นเป็นการพิพากษาที่มาจากพระเจ้า ความพินาศชั่วนิรันดร์ที่ กำลังเกิดขึ้นกับผู้คนนั้นสำคัญเกินกว่าจะวัดค่าได้

(4) พระเจ้าสงสารบรรดาคนบริสุทธิ์ ; โยนาห์ไม่สนใจ ท่านกลับรู้สึกสะใจใน การเฝ้าดูภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับทั้งคนบริสุทธิ์และคนที่ชั่วร้าย (จำได้หรือไม่ว่า ลูก หลานของชาวนีนะเวห์เหล่านี้ จะเป็นผู้ที่วันหนึ่งมานำิอิสราเอลไปเป็นเชลย) การที่ อยากเห็นคนชั่วถูกลงโทษนั้น เป็นคนละเรื่องกับการที่เห็นคนบริสุทธิ์ต้องมาเดือดร้อน ไปพร้อมๆกันด้วย

(5) โยนาห์สงสารตัวเอง ; พระเจ้าทรงสารผู้อื่น "ความสงสาร" ของโยนาห์นั้น อันที่จริงไม่ใช่สงสารต้นไม้เท่ากับการที่ต้นไม้นำความร่มเย็นมาให้ท่าน ต้นไม้ทำให้ ท่านรู้สึกยินดี ถ้าต้นไม้ไม่ได้ทำให้ท่านรู้สึกยินดีแล้วท่านก็คงไม่ได้สงสารมันแน่ๆ ความ สงสารของโยนาห์นั้นเป็นเรื่องที่เห็นแก่ตัวเองเท่านั้น ท่านเป็นห่วงตนเอง แต่ไม่ได้เป็น ห่วงคนอื่น ในทางกลับกัน พระเจ้ายังทรงห่วงใยประชาชนที่ถึงแม้จะทำบาปใหญ่หลวง และทำให้พระองค์เสื่อมพระสิริไป

ประเด็นของต้นไม้

ผมหลงคิดอยู่ตั้งนานว่า รากปัญหาทั้งสิ้นของโยนาห์นั้นคือความเห็นแก่ตัว ท่านอยาก เก็บพระคุณพระเจ้าไว้กับตนเองและพี่น้องชาวอิสราเอล โดยไม่เหลือเผื่อใคร โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวนีนะเวห์ นับว่าเป็นการตัดสินที่ผิดพลาด ความเห็นแก่ตัวของ โยนาห์เป็นเพียงการออกอาการเท่านั้น ปมปัญหาใหญ่ที่โยนาห์มีต่อพระเจ้านั้นก็คือ พระคุณของพระองค์ ธรรมชาติของพระคุณทำให้โยนาห์ไม่พอใจ ให้เราลองหยุด เพื่อคำนึงถึงคุณลักษณะของพระคุณ ที่เป็นเหตุให้โยนาห์หัวแข็งผู้นี้กบฎต่อพระองค์

(1) ธรรมชาติและการเริ่มต้นของพระคุณ ธรรมชาติหรือหัวใจของพระคุณนั้นไม่ใช่ ได้มาเพราะการทำดี —เป็นพระพรที่ไม่สมควรได้รับ ที่เริ่มต้นหรือแหล่งของพระคุณที่ โยนาห์ไม่พอใจนี้คือพระเจ้า โยนาห์ไม่ชอบใจในพระคุณเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อ หรือหามาได้ด้วยกำลังของผู้ใด ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครก็ตามคิดว่าตนเองสมควรได้รับ หรือ สามารถเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ แต่เป็นสิ่งที่มอบให้เพราะอยากจะมอบ พูดง่ายๆ ก็คือ โยนาห์ไม่ชอบเรื่องพระคุณเพราะเป็นเหมือนของบริจาค

(2) ผู้ที่รับพระคุณ ผู้ที่รับพระคุณ หรือผู้ที่ได้รับการเทพระพรลงมาให้นั้นไม่มีผู้ใด เหมาะ และสมควรจะได้รับทั้งสิ้น แต่โยนาห์ไม่อยากเห็นว่าตนเองเป็นหนึ่งในบรรดา ผู้ไม่สมควร ที่สำคัญคือ โยนาห์ถูกยาสั่งอย่างแรงเรื่องความหยิ่งยโสในชาติพันธ์ของ ตนเอง ท่านรู้สึกว่าในฐานะเป็นคนอิสราเอล พระเจ้า "ต้อง" อวยพระพรแก่ท่านและแก่ ประชากรที่พระองค์ได้เลือกสรรไว้ ส่วนพวกชาวนีนะเวห์นั้น โยนาห์ยอมรับอย่างไม่ต้อง สงสัยว่า "ไร้ค่าและไม่มีความหมาย" จึงทำให้ท่านประท้วงขึ้นมาเมื่อพระเจ้าสำแดง พระคุณแก่พวกเขา

(3) การเทพระคุณลงมา พระคุณนั้นไม่ใช่ได้มาเพราะความดี และผู้ได้รับต่างก็เป็น ผู้ไม่สมควรทั้งสิ้น ดังนั้นไม่มีผู้ใดสามารถแอบอ้างได้ว่าตนเองสมควร หรือไม่มีกฎ กติกาใดๆที่ใครจะนำมาอ้างว่าตนเองทำมากกว่า และควรจะได้รับพิจารณาผลรางวัล ดังนั้น การให้พระคุณไม่ใช่เป็นเพราะการกระทำคุณงามความดีใดๆ แต่เป็นการให้ จากอำนาจอธิปไตยล้วนๆขององค์พระผู้เป็นเจ้า "ตามที่พระองค์พอพระทัย" อย่างที่ พระองค์ตรัสว่า "เราประสงค์จะโปรดปรานผู้ใดก็จะโปรดปรานผู้นั้น และเราประสงค์จะ เมตตาแก่ผู้ใด เราก็จะเมตตาผู้นั้น" (อพยพ 33:19).

(4) เป้าหมายของพระคุณ เป้าหมายของพระคุณ หรือวัตถุประสงค์ในการให้คือ ต้องการให้เราเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นคนสุขสบาย ต้นไม้ที่พระเจ้าให้โยนาห์นั้น ทำ ให้ท่าน "ยินดียิ่งนัก" ตามที่เล่าไว้ (4:6) แต่ไม่ได้ช่วยให้ท่านเป็นคนบริสุทธิ์ ดังนั้นพระ เจ้าจึงนำมันคืนไปเสีย พระคุณที่มอบให้ไม่ใช่สำหรับทำให้เรามีสุข ทำให้เรารู้สึกดี หรือ ทำให้เราสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ทำให้เราสามารถมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระองค์ ผู้ประทานให้ได้

(5) ความหมายของพระคุณ ถ้าเป้าหมายของพระคุณคือ เพื่อทำให้เราเป็นคน บริสุทธิ์ ดังนั้นความหมายของพระคุณจึงรวมหมดถึงสิ่งที่นำมาซึ่งความสุข ความสะดวก สบาย และประสพการณ์ในการเผชิญความทุกข์ยากด้วย เพื่อทำให้เราสามารถละทิ้ง หนทางบาปและเข้ามาวางใจในพระองค์ ถ้าเราสัตย์ซื่อกับตัวเองและกับพระเจ้า ถ้าเรา ใคร่ครวญพระวจนะคำย่างดี เราจะสังเกตุเห็นว่าที่เราเติบโตฝ่ายจิตวิญญาณได้นั้นมา จากการเผชิญความทุกข์ยาก มากกว่าการมีชีวิตที่แสนสะดวกสบาย

ให้มาคิดถึงโยนาห์ ในตัวอย่างเช่น พระเจ้าตอบคำอธิษฐานของโยนาห์โดยช่วยให้ท่าน รอดตาย ไม่ได้ใช้่วิธีที่เลิศหรูประทับใจใด พระองค์ช่วยโดยใช้ปลามหึมาแทน และ โยนาห์ก็ต้องเปียกแฉะถึงสามวันสามคืนในท้องปลา การถูกปลาสำรอกไว้บนฝั่งก็ไม่ใช่ สิ่งที่โยนาห์พึงประสงค์เช่นกัน แต่ก็เป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับสถาณะการณ์ตอนนั้น เมื่อร่ม เงาของต้นไม้ไม่สามารถทำให้โยนาห์เดินกับพระเจ้าได้ ดังนั้นจึงสมควรที่จะทำลายต้น ไม้และให้แดดแผดเผาท่านแทน พระเจ้าไม่ได้ผูกมัดเราไว้ด้วยความสุขสบาย แต่ด้วย ความสำนึกในพระคุณ พระองค์ทรงใช้วิธีการที่เจ็บปวดเพื่อหลอมเราให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ประสพการณ์ทั้งในการเผชิญความทุกข์และความสุข ล้วนเป็นของประทานแห่งพระคุณ ทั้งสิ้น พระคุณจะสำแดงชัดแจ้งที่สุดเมื่อเราอยู่ท่ามกลางความทุกข์ยากแสนสาหัส

มีคำอธิบายมากมายในทุกสิ่งที่พระเจ้าทำ แต่ทำไมโยนาห์ถึงไม่ชอบ พระเจ้าสามารถ เทพระคุณแห่งความรอดให้กับบรรดาผู้ไม่สมควรได้เช่นชาวนีนะเวห์ ไม่ใช่เป็นเพราะ การกระทำของพวกเขา เช่นกัน การเทพระคุณเป็นเรื่องความพอพระทัยของพระเจ้า ผู้ครอบครอง พระเจ้าสามารถให้ต้นไม้งอกขึ้นให้แก่โยนาห์ แล้วพระองค์ก็นำกลับคืน ไปได้

เป็นเพราะพระคุณมีคุณลักษณะเฉพาะตัวเช่นนี้ โยนาห์จึงไม่อยากมีส่วนร่วม หรืออยาก ให้มามีส่วนในชีวิตของท่าน "สำหรับโยนาห์ พระคุณเป็นสิ่งที่น่าขัดเคือง และไม่น่า ปรารถนา" ง่ายที่จะมองออกว่าทำไมโยนาห์เคืองพระเจ้าเมื่อพระองค์สำแดงพระคุณ ให้แก่ชาวนีนะเวห์ แต่เราจะพูดได้อย่างไรว่าโยนาห์ดูถูกพระคุณพระเจ้า ถึงแม้จะ สำแดงโดยตรงให้แก่ท่านก็ตาม ? "เพราะผู้ที่ไม่สมควรทั้งหลายกระหายในพระคุณ พระเจ้า แต่โยนาห์ไม่ยอมรับว่าท่านเองก็เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ไม่สมควรกับพระคุณ"

ผู้เผยพระวจนะประท้วงเรื่องพระคุณในการอภัยโทษให้กับชาวนีนะเวห์ได้อย่างไร ? ด้วย ความเชื่อที่ว่าพระคุณจะได้มาก็ต่อเมื่อมีการกระทำดี ผู้เผยพระวจนะประท้วงเมื่อพระ เจ้านำของประทานเช่นต้นไม้กลับคืนไปได้อย่างไร ? โดยเชื่อว่าท่านสมควรได้รับต้น ไม้นั้น และโดยคิดว่าพระเจ้าเป็นหนี้ท่านในเรื่องความสะดวกสบาย

ตรงนี้นับเป็นกุญแจสำคัญของพระธรรมโยนาห์ทั้งเล่ม และสำหรับความบาปของชนชาติ อิสราเอล ผู้ซึ่งเหมาเอาเองว่าพระเจ้าเป็นหนี้พระคุณต่อพวกเขา และสำหรับบรรดาศัตรู ทั้งหลาย ต้องถูกพิพากษา โยนาห์ปฏิเสธหลักเกณฑ์ของพระคุณโดยสิ้นเชิง ท่านนำ ไปแลกกับหลักความเชื่อของการทำดีได้ดี "ปมปัญหาของผู้เผยพระวจนะหัวแข็งผู้นี้คือ ท่านคิดว่าตนเองเป็นผู้ชอบธรรม" บุคคลที่ดูถูกพระคุณ คือคนที่คิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองชอบธรรมและดีกว่าผู้อื่นนั้น พระคุณคือของบริจาค ซึ่งทำให้ผู้รับ เสียศักดิ์ศรี

สิ่งที่โยนาห์ลืมไปคือ การที่พระเจ้าเลือกอวยพระพรชนชาติอิสราเอลนั้นเป็นพระคุณ ของพระองค์ล้วนๆ ไม่ใช่เป็นเพราะอิสราเอลเป็นชนชาติที่ชอบธรรม

6 "เพราะว่าพวกท่านเป็นชนชาติบริสุทธิ์สำหรับพระเยโฮวาห์พระเจ้า ของท่าน พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทรงเลือกท่านออกจากชนชาติ ทั้งหลายที่อยู่บนพื้นโลก ให้มาเป็นชนชาติในกรรมสิทธิ์ของพระองค์ 7 ที่พระเจ้าทรงรักและทรงเลือกท่านทั้งหลายนั้น มิใช่เพราะท่านทั้ง หลายมีจำนวนมากกว่าประชาชนชาติอื่น ด้วยว่าในบรรดาชนชาติทั้ง หลาย ท่านเป็นจำนวนน้อยที่สุด 8 แต่เพราะพระเจ้าทรงรักท่านทั้ง หลาย และพระองค์ทรงรักษาคำปฏิญานซึ่งพระองค์ทรงปฏิญานไว้กับ บรรพบุรุษของท่านทั้งหลาย พระเจ้าจึงทรงพาท่านทั้งหลายออกมา ด้วยพระหัตถ์ฟาโรห์กษัตริย์อียิปต์ 9 เหตุฉะนี้พึงทราบเถิดว่า พระ เยโฮวาห์พระเจ้าของพวกท่านเป็นพระเจ้า เป็นพระเจ้าสัตย์ซื่อผู้ทรง รักษาพันธสัญญา และความรักมั่นคงต่อบรรดาผู้ที่รักพระองค์และ รักษาพระบัญญัติของพระองค์ถึงพันชั่วอายุคน 10 และทรงตอบแทน ผู้ที่เกลียดชังพระองค์ต่อตัวเขาเอง ด้วยทรงทำลายเขาเสีย พระองค์ จะไม่ทรงลดหย่อนโทษผู้ที่เกลียดชังพระองค์ พระองค์จะทรงตอบ แทนต่อตัวเขาเอง" (เฉลยธรรมบัญญัติ 7:6-10).

ให้ดูคำว่า "ความรักมั่นคง" ในข้อ 9 ให้ดี เพราะนี่เป็นพื้นฐานของพระทัยเมตตาที่มีต่อ คนอิสราเอล เช่นเดียวกับที่มีต่อชาวนีนะเวห์ (โยนาห์ 4:2).

พระเจ้าทรงเตือนคนอิสราเอลว่า เมื่อพวกเขาได้เข้าไปอยู่ในดินแดนคานาอัน และเริ่ม รับพระพรแห่งความมั่งคั่งโดยพระคุณของพระองค์แล้ว พวกเขาจะหลงผิดไปคิดว่า ความมั่งคั่งทั้งสิ้นเป็นผลจากน้ำมือตนเองทั้งสิ้น :

11 "ท่านทั้งหลายจงระวังตัวอย่าลืมพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ด้วยไมารักษาพระบัญญัติและกฎหมายและกฎเกณฑ์ของพระองค์ ซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่านในวันนี้ 12 เกรงว่า เมื่อท่านได้รับประทาน อิ่มหนำ ได้สร้างบ้านเรือนดีๆ และได้อาศัยอยู่ในนั้น 13 และเมื่อฝูง วัวและฝูงแพะแกะของท่านทวีขึ้น มีเงินทองมากขึ้น และบรรดาซึ่ง ท่านมีอยู่ก็ทวีขึ้น 14 จิตใจของท่านทั้งหลายจะผยองขึ้นและท่านทั้ง หลายก็ลืมพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายผู้ทรงนำท่านทั้ง หลายออกจากแผ่นดินอียิปต์ ออกจากแดนทาส . … 17 จงระวังให้ดี เกรงว่าท่านจะนึกในใจว่า ‘กำลังและเรี่ยวแรงของข้านำทรัพย์มีค่า นี้มาให้ ’ 18 ท่านทั้งหลายจงจำพระเยโอวาห์พระเจ้าของท่าน ทั้งหลาย เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ให้กำลังแก่ท่านที่จะได้ ทรัพย์สมบัตินี้ เพื่อว่าพระองค์จะทรงดำรงพันธสัญญาซึ่งพระ องค์ทรงกระทำโดยปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน ดังวันนี้ " (เฉลยธรรมบัญญัติ 8:11-14, 17-18,).

ถ้าคำเตือนนี้ยังไม่มากพอ พระเจ้าทรงเตือนอิสราเอลอีกถึงของประทานโดยพระคุณ ของความมั่งคั่งรุงเรืองนั้น พวกเขาอาจคิดว่าสร้างขึ้นมาด้วยกำลังของตนเอง

"เมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านได้ขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านทั้งหลายแล้ว ท่านทั้งหลายอย่านึกในใจว่า เพราะความชอบธรรมของข้า พระเจ้าจึงทรงนำข้ามาให้ยึดครองแผ่นดินนี้ แต่เพราะความชั่วของประ ชาติเหล่านี้ พระเจ้าจึงทรงขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านทั้ง 5 ซึ่งท่าน ทั้งหลายกำลังเข้าไปยึดครองแผ่นดินนี้นั้น มิใช่เพราะความชอบ ธรรมของท่านหรือความสัตย์ธรรมในใจของท่าน ‘แต่เป็นเพราะ ความชั่วช้าของประชาชาตินี้ ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านต้่อง ขับไล่เขาออกเสียต่อหน้าท่านทั้งหลาย และเพื่อว่าพระองค์จะทรงให้ เป็นจริงตามพระวจนะซึ่งพระเจ้าทรงปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน คือต่อ อับราฮัม ต่ออิสอัค และต่อยาโคบ 6 เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่า ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทรงประทานแผ่นดิน นี้ให้ท่านยึดครองนั้นมิใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน เพราะว่าท่าน ทั้งหลาย เป็นชนชาติที่ดื้อดึง" (เฉลยธรรมบัญญัติ 9:4-6).

โยนาห์และชนชาติอิสราเอลของท่าน หลงลืมไปว่าพระพรที่ได้รับนั้นเป็นเพราะพระคุณ ไม่ใช่เป็นเพราะความชอบธรรมของพวกเขา หรือความคิดที่ว่าเป็นชนที่เหนือกว่าชาติ อื่นๆ พวกเขายังลืมไปด้วยว่าพระเจ้าทรงสัญญาจะอวยพระพรไปสู่ประชาชาติโดยผ่านทาง อิสราเอล : "บรรดาเผ่าพันธ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า" (ปฐมกาล 12:3ข).

คำทำนายของโยนาห์เกี่ยวกับชนชาติอิสราเอล ตามที่บันทึกใน 2 พงษ์กษัตริย์นั้นเป็น พระสัญญาว่าจะอำนวยพระพรให้มั่งคั่งถึงแม้ประชาชนยังตกอยู่ในความบาป พระเจ้า ทรงสัญญาจะอวยพระพรชนชาตินี้ ไม่ใช่เป็นเพราะทำตามพระบัญญัติอย่างเคร่งครัด แต่เป็นเพราะความบาป ให้เรามาดูคำทำนายนี้ด้วยกัน

ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาลอามาซิยาห์ โอรสของโยอาชพระราชาแห่งยู ดาห์ เยโรโบอัมโอรสของเยโฮอาชแห่งอิสราเอลได้เริ่มครอบครองใน สะมาเรีย และทรงครอบครองอยู่สี่สิบเอ็ดปี และพระองค์ทรงกระทำ สิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระเจ้า พระองค์มิได้ทรงพรากจากบาป ทั้งสิ้นของเยโรโบอัมบุตรเนบัท ซึ่งพระองค์ทรงกระทำให้อิสราเอล กระทำด้วย พระองค์ทรงตีเอาดินแดนอิสราเอลคืนมาตั้งแต่ทาง เข้าเมืองฮามัท ไกลไปจนถึงทะเลแห่งอาราบาห์ตามพระวจนะ ของพระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล ซึ่งพระองค์ตรัสโดยผู้ รับใช้ของพระองค์ คือโยนาห์ ผู้เป็นบุตรอามิททัยผู้เผยพระวจนะ ผู้มาจากกัธเฮเฟอร์ เพราะพระเจ้าทอดพระเนตรเห็นว่า ความทุกข์ ใีจของอิสราเอลนั้นขมขื่นนัก เพราะไม่มีผู้ใดเหลือไม่ว่าทาสหรือไท และไม่มีผู้ใดช่วยอิสราเอล พระเจ้ามิได้ตรัสว่า จะทรงลบนามอิสราเอล จากใต้ฟ้าสวรรค์ แต่พระองค์ทรงช่วยเขาโดยพระหัตถ์ของเยโรโบอัม โอรสของเยโฮอาช (2 พกษ. 14:23-27).

กษัตริย์อิสราเอลนั้นชั่วร้ายเช่นเดียวกันกับพลเมือง ความมั่งคั่งที่โยนาห์ทำนายไว้ว่าจะ ได้รับไม่ใช่เป็นเพราะผลจากจิตวิญญาณ แต่ได้รับทั้งๆที่มีบาป ดังนั้นพระพรที่โยนาห์ พูดถึง จึงนับเป็นพระคุณล้วนๆขององค์พระเจ้า

โยนาห์ก็เป็นผู้หนึ่งที่รับพระพรนี้ด้วย แต่แทนที่จะโมทนาขอบพระคุณ โยนาห์กับ ประท้วงพระองค์ แรงจนถึงจุดที่ยอมตายเสียดีกว่า การช่วยกู้โยนาห์โดยทางปลามหึมา และการหลุดรอดออกมาจากท้องปลานั้นเป็นการจัดเตรียมโดยพระคุณจริงๆ การให้ต้น ละหุ่งงอกขึ้นมา เพื่อให้ร่มเงาและบรรเทาความร้อนรุ่มก็เช่นกัน อย่างไรก็ดี พระคุณที่ มาถึงโยนาห์ที่เห็นชัดเจนที่สุด น่าจะเป็นวิธีที่พระองค์ทรงตอบคำประท้วงและการกบฎ ของท่าน จะเป็นอย่างไร ถ้าตอนจบของเรื่องโยนาห์ถูกเผาให้เป็นจุลย์ไปในพริบตา ด้วยสายฟ้าฟาดเปรี้ยงเดียว !

โยนาห์เป็นดังตัวแทนของชนชาติอิสราเอล คือมองไม่เห็นว่าพระพรของพระเจ้าเป็น การสำแดงพระคุณของพระองค์ให้กับผู้ที่ไม่สมควรได้รับ แต่กลับมองเห็นว่าพระเจ้า มีหน้าที่ต้องอำนวยพระพรให้กับผู้ชอบธรรม ไม่น่าสงสัยเลยว่าเหตุใดโยนาห์ดูถูกพระ คุณพระเจ้า เพราะเขาคิดว่าพระคุณนั้นมีไว้สำหรับคนที่ไม่สมควรจะได้รับ และเขาเป็น พวกที่ไม่มีความจำเป็นต้องรับสิ่งที่ถูกหยิบยื่นให้ ความหยิ่งยโสเห็นว่าตนเองดีกว่า ผู้อื่นของโยนาห์และชาวอิสราเอลนั้นเด่นชัดขึ้นมาทีเดียว และเป็นเหตุผลที่ทำไมชาว อัสซีเรียถึงต้องขับไล่ชาวอิสราเอลออกไป

พระธรรมโยนาห์ไม่ได้จบลงอย่างถูกต้องสวยงามแบบ "และแล้วทุกคนก็มีความสุข" แต่กลับตรงข้าม ประโยคสุดท้ายจบลงที่พระเจ้ากล่าวตักเตือนโยนาห์ ไม่มีการพูดถึง ว่าโยนาห์กลับใจ ผมเชื่อว่าคำตอบสำหรับเรื่องนี้ธรรมดามาก คือยังไม่มีบทสรุปสุด ท้ายต่อความบาปของความหยิ่งยโสที่ชนชาติอิสราเอลมีต่อพันธสัญญาใหม่ และการ เมินเฉยต่อการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ พระเยซูคริสต์ อันที่จริงตอนจบของพระธรรม โยนาห์นั้นตรงกับความเป็นจริงที่สุด เพราะแสดงให้เห็นถึงการรุกที่จนมุมระหว่างชาว อิสราเอลกับพระเจ้า ซึ่งดึงดันกันมาจนถึงสมัยพระเยซู และถึงในปัจจุบันด้วย หนัง สือเล่มสุดท้ายในพระคัมภีร์เดิม พระธรรมมาลาคี บันทึกเรื่องราวของชนชาติแห่งความ บาป อิสราเอล ผู้เปรียบเหมือนคู่ปรปักษ์ของพระเจ้า :

พระวจนะของพระเจ้าที่มีต่ออิสราเอลโดยมาลาคี พระเจ้าตรัสว่า "เรา ได้รักเจ้าทั้งหลาย" แต่ท่านทั้งหลายพูดว่า "พระองค์ได้ทรงรักข้า พระองค์สถานใด ?" พระเจ้าตรัสว่า "เอซาวเป็นพี่ชายของยาโคบ มิใช่หรือ ? เราก็ยังรักยาโคบ" (มาลาคี 1:1-2)

เมื่อมาถึงตอนจบของการวิเคราะห์ ความแข็งกระด้างในจิตใจของคนอิสราเอลคงจะมี ต่อไปจนกระทั่งภัยพิบัติเกิดขึ้น เมื่อพระเมสซิยาห์เสด็จกลับมาอีกครั้ง เพื่อทะลุทะลวง ความดื้อด้านหยิ่งยโสของบรรดาประชากรที่พระองค์เลือกสรรประทานความรอดให้ ไม่ใช่เป็นเพราะความชอบธรรมของพวกเขา แต่เป็นพระคุณเพียงทั้งสิ้น

ความยโสของโยนาห์และชาวอิสราเอลในสมัยของพระเยซู

โยนาห์ไม่เป็นแต่เพียงภาพสะท้อนของจิตวิญญาณชาวอิสราเอลในสมัยนั้น ท่านยังเป็น ต้นตระกูลความหยิ่งยโสของชาวอิสราเอลโดยรวมด้วย โดยเฉพาะบรรดาผู้นำศาสนา เมื่อครั้งองค์พระเยซูคริสต์เสด็จมาบังเกิด พระองค์ไม่ได้บังเกิดให้เป็นที่ประจักษ์ต่อบรร ดาผู้นำระดับสูงของศาสนา แต่ต่อบรรดาผู้ใจถ่อมและอ่อนแอ (ลูกา 2) ดังที่นางมารีย์ สรรเสริญไว้ในบทเพลงของนาง (ลูกา 1:46-55) การเสด็จมาของพระคริสต์นั้นก็เพื่อ คนต่างชาติ (ลูกา 2:31-32) และพวกยิวด้วย ดังนั้นพวกโหราจารย์เมื่อทราบเรื่องการ เสด็จมา จึงพากันมาเฝ้านมัสการพระองค์ (มัทธิว 2:1) เมื่อพระองค์ทรงเริ่มต้นพระ ราชกิจของพระองค์ ตามที่บันทึกอยู่ในพระกิตติคุณลูกาบทที่ 4 (โดยเฉพาะข้อ 16-21) แสดงให้เห็นอีกด้วยว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อคนขัดสนและคนที่ถูกเบียดเบียน คำเทศนา บนภูเขาของพระองค์ยังเป็นสิ่งยืนยันในเรื่องเดียวกันต่อบรรดาผู้ได้รับพระคุณทั้งหลาย

เมื่อองค์พระเยซูคริสต์เริ่มปฏิบัติพระราชกิจของพระองค์ เวลาและความเหนื่อยยากแทบ ทั้งสิ้นพระองค์ทรงสละให้ก็เพื่อ "บรรดาคนบาป" ซึ่งก่อให้เกิดความโกรธเคืองและ ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงจากบรรดาผู้นำศาสนาระดับสูง บรรดาฟาริสีและธรรมาจารย์ ทั้งหลายในทันที :

ฝ่ายธรรมาจารย์ที่เป็นพวกฟาริสี เมื่อเห็นพระองค์ทรงเสวยพระกายา หาร กับพวกคนบาปและคนเก็บภาษี จึงถามศิษย์ของพระองค์ว่า "เหตุ ไฉนอาจารย์ของท่านจึงรับประทานด้วยกันกับคนเก็บภาษีและคนนอก รีตเล่า ?" (มาระโก 2:16).

เหตุใดพวกธรรมาจารย์และฟาริสีจึงเดือดร้อนใจเมื่อพระเยซููใช้เวลากับ "พวกคนบาป" มากกว่ากับพวกเขา ? มันก็เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่โยนาห์โกรธเคืองพระเจ้า พวกผู้ นำศาสนาเหล่านี้คิดว่าพวกเขาสมควรจะได้รับความสนใจและเป็นคนสำคัญที่พระเยซู ควรใช้เวลาด้วยให้มาก และ "พวกคนบาป" ไม่สมควรได้รับสิ่งใดเลย นอกจากการถูก พระเจ้าลงโทษ (ยอห์น 8:2-11) พวกเขาเกลียดชังคนต่างชาติ แม้กระทั่งชาว อิสราเอลในบรรดาพวกเขากันเอง (ยอห์น 7:49).

เหตุใดพวกธรรมาจารย์และฟาริสีจึงมีปฏิกิริยาที่รุนแรงยิ่งต่อคำเทศนาสั่งสอนของพระ เยซู ? เพราะพระองค์แสดงให้พวกเขาเห็นถึงความบาปของตนเอง ที่พวกเขาไม่มีวัน ยอมรับได้ พวกเขาหยิ่งยโสเกินกว่าจะยอมรับพระเมสซิยาห์ของพระเจ้า และพวกเขา เข่นฆ่าพระองค์จนถึงตายบนไม้กางเขนของคนโรมัน

แม้แต่พวกสาวกของพระเยซูเองบางคนยังเป็นเหมือนโยนาห์ คือกระหายจะให้พวก "นอกรีต" ถูกพระเจ้าจัดการ :

52 … เขาก็เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวสะมาเรีย เพื่อจะเตรียม ไว้ให้พระองค์ 53 ชาวบ้านนั้นไม่รับรองพระองค์เพราะพระองค์กำลัง เสด็จไปยังกรุงเยรูซาเล็ม 54เมื่อสาวกของพระองค์ คือยากอบและ ยอห์นได้เห็นดังนั้น เขาทูลพระองค์ว่า "พระองค์เจ้าข้า พระองค์พอ พระทัยจะให้ข้าพระองค์ขอไฟลงมาจากสวรรค์เผาผลาญเขาเสียหรือ?" (ลูกา 9:52ข-54).

หลังจากที่พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์ ถูกฝัง กลับเป็นขึ้นมาและเสด็จสู่สวรรค์ ชาวยิว นี่แหละเป็นผู้ต่อต้านการประกาศข่าวประเสริฐอย่างรุนแรง (กิจการ 22:19-23). แม้กระทั่งชาวยิวคริสเตียนเองยังต้องหันไปประกาศกับชาวต่างชาติแทน (กิจการ 10-11, และ 11:19). เป็นเพราะยิวคริสเตียนบางคนรู้สึกว่าตนเองนั้นเหนือกว่าผู้เชื่อชาว ต่างชาติ พวกเขาแยกชนชั้นและพยายามที่จะให้คนต่างชาติเปลี่ยนแปลงมาทำตาม ธรรมเนียมของชาวยิว (เช่น กิจการ 15:1; กาลาเทีย 2:11) แท้จริงโยนาห์ก็คือภาพ ความหยิ่งยโสของชาวอิสราเอลซึ่งยังมีมาตลอดหลายศตวรรษตราบจนถึงทุกวันนี้

บทสรุป

พระธรรมโยนาห์มีเรื่องมากมายเหมาะสำหรับคริสเตียนในศตวรรษนี้ และสำหรับชาวยิว ทุกยุคทุกสมัย ผมอยากสรุปเรื่องนี้โดยชี้ให้เห็นจุดต่างๆที่เราสามารถนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อชีวิตของเราในทุกวัันนี้

(1) สิ่งที่พระเจ้ากระทำกับมนุษย์นั้นอยู่บนรากฐานแห่งพระคุณ ไม่ใช่เป็นเพราะ การกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น พวกที่ไม่สมควรทั้งหลาย (ซึ่งรวมตัวผมด้วย) ต้องระมัด ระวังเป็นอย่างยิ่งที่คิดแต่เพียงว่า ที่พระเจ้าปฏิบัติต่อคนในยุคของเรานั้นโดยทาง พระคุณ แต่ปฏิบัติกับคนในยุคพระคัมภีร์เดิมโดยทางอื่น ข้อแตกต่างระหว่าง "ยุคนี้" หรือ "ยุคแห่งพระคุณ" ทำให้เรารู้สึกว่าพระเจ้าคงจะปฏิบัติต่อผู้คนในยุคพระคัมภีร์เดิม ตามหลักการดำเนินชีวิตในสมัยนั้น โยนาห์ทำผิดเพราะท่านหลงลืมหลักแห่งพระคุณ พระเจ้านั้นปฏิบัติต่อมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยโดยใช้หลักการแห่งพระคุณทั้งสิ้น เพียงแต่ พระคัมภีร์ใหม่ และโดยพันธสัญญาใหม่ทำให้พระองค์สามารถเทพระคุณให้เราได้อย่าง ล้นเหลือ อย่าให้เราเป็นคนที่คิดว่าพระเจ้าปฏิบัติต่อมนุษย์โดยขาดพระคุณในทุกกรณี การปฏิเสธและไม่ยอมรับพระคุณของพระเจ้านั้นเป็นบาปหนักพอๆกับในสมัย ของโยนาห์ ทุกวันนี้มีคริสเตียนหลายคนโกรธพระเจ้าด้วยสาเหตุที่ผิดๆเหมือนกับ โยนาห์ เพียงแต่เราไม่ยอมรับอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาแบบโยนาห์เท่านั้น

คริสเตียนโกรธพระเจ้าตอนไหน ?

    · เมื่อเราคิดว่าเราสมควรได้รับบางสิ่งจากพระองค์ และเรารู้สึกว่าพระองค์ผิดที่ ไม่ให้ตามที่เราต้องการ.

    · เมื่อเราคิดว่าบางคนไม่สมควรได้รับ เราก็โกรธที่พระเจ้าประทานพระพรแก่เขา ทั้งๆที่คนๆนั้นไม่สมควรจะได้

    · เมื่อพระเจ้านำพระพรบางอย่างคืนไปจากเรา ซึ่งเราคิดว่าพระองค์ไม่มีสิทธิที่จะ ทำเช่นนั้น

    · เมื่อเราเริ่มคิดว่าเรามีดีกว่าคนอื่น

ผมเชื่อว่าความรู้สึกยโสนี้ได้เข้ามาฝังรากลึกลงในชุมชนคริสเตียนในอเมริกา คน อเมริกันชอบคิดว่าตนเองมีส่วนและสมควรกับความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ เราคิดว่า เราได้รับ "พระพร" เพราะความฉลาดของเรา เราช่างคิดช่างค้น เราทำงานหนัก และเรา ทุ่มเทมากมายให้กับพระเจ้า ในทางตรงข้าม เรามีข้ออ้างที่จะปฏิเสธในการแบ่งปัน ความมั่งมีอย่างล้นเหลือให้กับผู้อื่น เพราะเราคอยย้ำเตือนในใจตลอดเวลาว่า ชาติอื่นๆ ที่ยากไร้นั้นเป็นเพราะพวกเขาไม่มีดีเท่าเรา ดังนั้นในขณะที่ประเทศอินเดียกำลังส่ำสม ไปด้วยความยากจนและอดอยาก เรากลับไพล่ไปคิดว่าสาเหตุที่พวกเขาอดอยากนั้น น่าจะมาจาก มัวแต่ไปนับถือกราบไหว้ "วัว" กันอยู่ !! ฟังดูคุ้นๆไหมครับ ? แต่บทสรุป การวิเคราะห์ของเราก็ลงเอยที่ "ความหยิ่งยโส"

คริสเตียนบางคนในทุกวันนี้มองเรื่องการรักษาโรคว่าเป็นสิทธิพิเศษ มากกว่าเป็นของ ประทานโดยพระคุณ ผมไม่อยากจะถกเถียงเรื่องของประทานในการรักษาโรคในทุก วันนี้กับใคร แต่ผมมองว่าพระเจ้าต่างหากที่เป็นผู้รักษา และที่ผมอยากจะปฏิเสธอย่าง ชนิดหัวชนฝาเลยคือเรื่อง พระเจ้า "ต้อง" รักษา ถ้าเราอ้างความเชื่อ การรักษาเป็นของ ประทานโดยพระคุณพระเจ้าหรือเปล่า ? ถ้าใช่ ก็ไม่สมควรที่จะได้รับ หรือหามาได้โดย การ "ใช้ความเชื่อ" การรักษาเป็นของประทานด้วยพระคุณหรือไม่ ? ถ้าเช่นนั้นพระเจ้า ทรงมีสิทธิทุกประการที่จะให้กับผู้ใดก็ได้ที่พระองค์เลือก ไม่ว่าจะเป็นผู้เชื่อแล้วหรือไม่ ก็ตาม และพระองค์ก็มีสิทธิที่จะไม่ให้ตามที่ขอที่อ้างความเชื่อ เราไม่สมควรเรียก ร้องเอาแต่พระคุณ และยิ่งไม่สมควรโวยเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่คิดว่า ได้แล้วจะมีความสุข (จำเรื่องต้นละหุ่งของโยนาห์ได้หรือไม่ ?).

อยากให้เราจำไว้ว่า พระคุณของพระเจ้าที่มอบให้นั้นไม่ได้มาแบบที่เราต้องการ หรือ แบบเลือกเองได้ พระเจ้าทรงมีพระกรุณาอย่างล้นเหลือต่อโยนาห์ ช่วยท่านโดยใช้ปลา มหึมา ถ้าโยนาห์เลือกที่จะรับพระคุณในแบบที่ท่านต้องการ ท่านคงไม่เลือกที่จะเข้า ไปอยู่ในท้องปลาแน่ๆ พระคุณที่พระเจ้ามีต่อบรรดาบุตรของพระองค์นั้นอาจมาจากการ ตีสอน การให้เผชิญกับความเจ็บปวดทุกข์ยากลำบากต่างๆ เช่นเดียวกับที่ชาวยิวเผชิญ มาตลอดประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล การเผชิญความทุกข์ยากเป็นพระคุณพอๆ กับความมั่งคั่ง จำคำเทศนาบนภูเขาเรื่อง "ผู้เป็นสุข" ในพระกิตติคุณได้หรือไม่ !

โยบเข้าใจดีว่าพระเจ้าเปี่ยมไปด้วยพระกรุณาและพระคุณ ไม่ว่าพระองค์จะประทาน ความมั่งคั่งให้ หรือเอาคืนกลับไป ไม่ว่าจะเป็นความสุชหรือความทุกข์ยาก ดังนั้น เมื่อท่านรับรู้เรื่องความสูญเสียในครอบครัว ท่านสามารถกล่าวได้ว่า "พระเจ้าประทาน และพระเจ้าทรงเอาไปเสีย สาธุการแด่พระนามพระเจ้า" (โยบ 1:21).

ความล้มเหลว การทนทุกข์ โดยมากเนื่องมาจากพระคุณ เมื่อเกิดขึ้นในชีวิตของ คริสเตียน ก็เพื่อพระประสงค์ที่จะสำแดงพระคุณของพระองค์ให้เราเอง ให้ผู้อื่น รวมทั้งในฟ้าสวรรค์ได้เห็น

หลักเกณฑ์ของพระคุณ ที่เราทั้งหลายได้รับความรอด เป็นหลักเกณฑ์เดียวกับที่ พระเจ้าใช้ในการดูแลชีวิตของพวกเรา ไม่ว่าพระองค์จะเทพระพรแห่งความมั่งคั่ง และสุขภาพ หรือสำแดงพระคุณท่ามกลางการทดลองนานา ทุกสิ่งนั้นเพื่อประคับ ประคองและนำเราให้เข้าใกล้ชิดพระองค์ยิ่งๆขึ้น

หลักเกณฑ์ของพระคุณช่วยเราในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรง ดีต่อเรา เราต้องดีต่อผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่สมควรได้รับ ผู้ที่ชั่วร้าย หรือ บรรดาศัตรูที่ทำการข่มเหงหรือเกลียดชังเรา เมื่อแสดงความดีต่อผู้อื่น เราก็กำลัง สะท้อนให้เห็นถึงพระคุณที่เราได้รับจากพระเจ้าออกมา

(3) หนังสือพระธรรมโยนาห์สอนเรามากมายเรื่องการประกาศ และการฟื้นฟู ซึ่งเป็นสิ่งที่เราชาวอเมริกันกำลังต้องการเป็นที่สุด ผมเชื่อว่าพระธรรมโยนาห์ บอกเราถึงบางเรื่องที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟู และเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งทีเดียว :

การฟื้นฟูต้องการคนที่จะไปเพื่อตักเตือนคนบาปที่หลงหายและกำลังจะถูกพิพากษา ผลร้ายของความบาป และแรงจูงใจที่อยากจะได้ความรอดนั้น เกิดจากการประกาศ ความจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป และปลายทางคือความพินาศ

การฟื้นฟูต้องมีการกลับใจอย่างแท้จริง มีการฟื้นฟูเกิดขึ้นในนีนะเวห์เพราะประชาชน หันหนีจากการประพฤติชั่ว พวกเขาไม่เพียงแต่สารภาพบาปเท่านั้น แต่ละทิ้งหนทาง บาปอย่างสิ้นเชิง จะมีการฟื้นฟูได้ก็ต้องมีการกลับใจ และการกลับใจต้องนามาซึ่ง การเปลี่ยนแปลง

นอกจากนั้นพระธรรมโยนาห์ยังแสดงให้เห็นซึ่งๆหน้าว่า ที่จริงศัตรูตัวฉกาจในการประ กาศและการฟื้นฟูคือ — ความยโสของเราที่รังเกียจพระคุณพระเจ้า มัวแต่มุ่งหวังจะ รับแต่พระพรให้ตนเอง ไม่ต้องการเหลือเผื่อใคร เป็นเพราะความเห็นแก่ตัว หยิ่งยโส จองหองของชาวอิสราเอลที่ทำให้ไม่ยอมเอื้อเฟื้อแบ่งปันพระพรไปให้คนต่างชาติ เช่นกัน ผมก็เชื่อว่าเป็นเพราะความเห็นแก่ตัว หยิ่งยโสจองหองที่กีดกั้นเรา ในการนำ ข่าวประเสริฐเรื่องความรอดที่พระเจ้ามอบให้ไปสู่ผู้อื่น เพื่อเขาจะได้กลับใจและยอมรับ เอาพระบุตรเป็นพระผู้ช่วยให้รอด

ลองคิดดูเล่นๆว่า สมมุติพระเจ้าเรียกให้คุณทุ่มเทชีวิตของคุณเพื่อการคิดค้นตัวยา สำหรับมารักษาโรคเอดส์ หรือให้คุณไปทำงานพันธกิจกับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ คุณอาจ ประท้วงว่า "อันที่จริง คนพวกนี้สมควรตาย " ความจริงก็คือ มีหลายคนที่ติดเชื้อเอดส์ ไม่ได้เป็นเพราะความส่ำส่อน — แต่อาจติดมาจากสามี จากการถ่ายเลือด หรือทารก ที่ติดมาจากบิดามารดาที่มีเชื้อ

เราหลายคนก็เป็นเหมือนโยนาห์ เราสมน้ำหน้าพวกติดเชื้อเอดส์ ถึงแม้พวกเขา เป็นเหยื่อบริสุทธิ์ผู้เคราะห์ร้ายก็ตาม โยนาห์เอง ก็อยากเห็นเมืองนีนะเวห์พินาศไปทั้ง เมือง ถึงแม้ว่าในท่ามกลางจำนวน 120,000 จะมีเด็กที่บริสุทธิ์หรือพวกสัตว์ต่างๆก็ตาม โยนาห์ไม่ได้มองดูเฉพาะการพิพากษาผู้ทำชั่ว แต่ต้องการให้ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายที่นั่นได้ ถูกลงโทษไปพร้อมๆกัน (สำหรับโยนาห์ การเป็นคนต่างชาติก็เป็นบาปที่สาสมแล้ว และ โดยมาตรฐานของท่าน ชาวนีนะเวห์ทั้งหมด ควรจะพินาศไปในความบาป) แต่ ความจริงก็คือ คนชั่วทั้งหลายกลับใจจากความบาปเมื่อผู้เผยพระวจนะท่านนี้ไปประกาศ พระเจ้าไม่เพียงปรารถนาจะช่วยผู้บริสุทธิ์เท่านั้น บรรดาผู้ประพฤติชั่วด้วย แต่โยนาห์ไม่ คิดเช่นนั้น

คนบาปทุกคนสมควรตาย (ค่าจ้างของความบาปคือความตาย) ซึ่งรวมถึงเราทุกคนด้วย มันน่าทึ่งไหมครับที่ความบาปทางเพศ (มักถูก) บรรดาคริสเตียนตัดสินพิพากษาก่อน เพื่อน แต่บาปความหยิ่งผยองมักถูกมองข้าม และบางครั้งยังได้รับการยกย่องว่า ดูเป็น ผู้ดีไปเสียอีก อย่าลืมว่าพระเจ้ามาตามหาเพือช่วยผู้หลงหาย — คือผู้ที่บรรดาผู้นำ ทางศาสนา หรือผู้ชอบธรรมทั้งหลายรังเกียจไม่อยากจะแตะต้อง ถ้าไม่โดยพระคุณแล้ว เราทั้งหลายก็คือคนบาปที่สมควรได้รับการลงโทษ และเหวี่ยงไปให้ไกลจากพระพักตร์ ของพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น ที่แน่ๆคือเราทั้งหลายที่ได้รับพระคุณนั้น สมควรจะเป็นพวก แรกที่ออกไปแสวงหาผู้หลงหายและแบ่งปันพระพรแห่งความรอดให้แก่ผู้อื่น

(4) พระคุณพระเจ้ามาสู่มนุษย์โดยทางพระเยซูคริสต์ พระคุณพระเจ้าสำแดง ต่อมนุษย์โดยผ่านทางองค์พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงสัญญาว่าทุกคนที่เชื่อและวางใจจะมี ชีวิตนิรันดร์ สิ่งที่คุณต้องทำคือ "ยอมรับ" ว่าคุณต้องการ ว่าุคุณเป็นคนบาปที่ไม่สมควร ได้รับพระพร และรับพระคุณโดยทางพระเยซูคริสต์ โดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ บาปของเราก็จะได้รับการอภัย และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ชอบธรรมในสายพระเนตร พระเจ้า โดยความเชื่อในพระคริสต์เราจะได้รับพระคุณของชีวิตนิรันดร์

ไม่มีคำใดที่เหมาะสมกับความเมตตาที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์นอกจากคำว่า "พระคุณ" พระเยซูเป็นพระคุณของพระเจ้าในรูปแบบของพระบุคคลที่ส่งลงมาเพื่อมนุษย์ (ยอห์น 1:14, 17; 2 ทิโทธี 1:9; 2:1; ติตัส 2:11). ความรอดคือของประทานจากพระคุณ ที่พระเจ้าให้แ่ก่มนุษย์ที่ทำบาป การให้อภัยต่อบาปและจัดเตรียมชีวิตนิรันดร์ให้ (กิจการ 14:13; 20:24, 32; โรม 1:5; 3:24; เอเฟซัส 2:8; โคโลสี 1:6; ติตัส 3:7; 1 เปโตร 5:12). เราเติบโตอยู่ในพระคุณ (2 เปโตร 3:18; ฮีบรู 13:9). เราทั้งหลายรอดปลอด ภัยอยู่ในพระคุณพระเจ้า (โรม 5:12) เมื่อเราอธิษฐาน เรากำลังเข้าเฝ้าอยู่หน้า "พระบัลลังแห่งพระคุณ" (ฮีบรู 4:16). เมื่อเรารับใช้เรารับใช้ด้วยพระคุณ (เอเฟซัส 4:7; 1 เปโตร 4:10), และเราดำเนินชีวิตทั้งสิ้นอยู่บนมาตรฐานแห่งพระคุณ (เอเฟซัส 4:29; โคโลสี 4:6).

ขอให้พระคุณพระเจ้านั้นมีค่ายิ่งสำหรับคุณ เป็นพื้นฐานของการนมัสการพระเจ้า ไม่ใช่ ไปประท้วงทวงบุญคุณเหมือนดั่งโยนาห์


18 คำว่า "ถูกคว่ำ" รุนแรงมากสำหรับโยนาห์ คำนี้ใช้เกี่ยวข้องกับเมื่อมีการทำลาย ล้างเมืองโสดม โกโมราห์ (ปฐก. 19:21, 25, 29). และยังถูกใช้ ในบทเพลงของ โมเสสเมื่อพระเจ้าทรงคว่ำปฏิปักษ์คืออียิปต์ลงในอพยพ (อพยพ 15:7). และใช้ใน เฉลยธรรมบัญญัติ 29:23 เกี่ยวคำเตือนของพระเจ้าเรื่องการพิพากษาชาวอิสราเอล ประชากรของพระองค์ที่เพิกเฉยต่อพระบัญญัติ ซึ่งปรากฎอยู่ทั้งใน 2 ซามูเอล 10:3; 1พงศาวดาร 19:3.

19 "ก่อนที่โยนาห์จะมายังเมืองที่ดูเหมือนป้อมปราการอันแข็งแกร่งนี้ เคยมีเหตุภัย พิบัติจู่โจมมาแล้วถึงสองครั้ง (ในปี 765 และ 759 กคศ.) และมีสุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน ปี 763 ซึ่งเป็นหมายเตือนถึงพระพิโรธของพระเจ้า และ อาจเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมชาวนีนะเวห์ถึงกลับใจในทันทีที่ได้ยินจากโยนาห์ตอน ประมาณปี 759." John Hannah, The Bible Knowledge Commentary (Wheaton: Victor Books, 1985), Vol. 1พระคัมภีร์เดิมหน้า 1462.

Related Topics: Character Study

บทนำ

เราคงไม่พร้อมจะเรียนพระธรรม 1ซามูเอลจนกว่าจะได้อ่านผู้วินิจฉัยเสียก่อน ช่วงเวลาในยุคผู้วินิจฉัยนับ เป็นวันคืนอันมืดมิดของชนชาติอิสราเอล พระเจ้าทรงไถ่คนอิสราเอลออกมาจากการเป็นทาสในประเทศ อียิปต์ เป็นเพราะการไม่เชื่อฟัง คนอิสราเอลรุ่นแรกจึงหมดโอกาสที่จะเข้าไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญา คนรุ่นต่อมาได้เข้าสู่ดินแดนคานาอันภายใต้การนำของโยชูวา พวกเขาตั้งมั่นอยู่ในความดี จนกระทั่ง โยชูวาสิ้นชีวิตลง หลายอย่างก็เริ่มตกต่ำ แล้วชนชาติอิสราเอลก็ตกอยู่ภายใต้วัฎจักรของพระพร และ การตีสอนอีกครั้งเมื่อเริ่มดื้อดึงและก่อการกบฎ เมื่อใดที่อิสราเอลขาดการเชื่อฟัง พระเจ้าจะทรงให้ตก อยู่ภายใต้เงื้อมมือของศัตรู แต่เมื่อกลับใจและวิงวอนเรียกให้พระองค์ช่วย พระองค์ก็ทรงส่ง "ผู้วินิจฉัย" มาช่วย แต่เมื่อผู้วินิจฉัยสิ้นชีวิตลง คนอิสราเอลก็พร้อมจะกลับไปสู่หนทางบาปอีก ดูเหมือนวัฎจักรนี้จะ ไม่มีวันสิ้นสุด

หลังจากอ่านพระธรรมผู้วินิจฉัย เราอาจสรุปได้ว่าปัญหาน่าจะมากจากการที่ชนชาติอิสราเอลขาดกษัตริย์ เป็นผู้นำ “ในสมัยนั้นไม่มีกษัตริย์ในอิสราเอล ต่างก็กระทำตามที่ตนเองเห็นชอบ ” (ผู้วินิจฉัย 21:25) ใน พระธรรม 1 ซามูเอลชาวอิสราเอลจะได้มีกษัตริย์ตามที่พวกเขาต้องการ ซาอูลกษัตริย์องค์แรก จะเป็น กษัตริย์ในแบบที่คนอิสราเอลต้องการ และสมควรสำหรับชนชาตินี้ กษัตริย์องค์ต่อมาหลังจากซาอูลคือ ดาวิด ท่านทรงเป็นกษัตริย์ในแบบฉบับของพระเจ้า เป็นผู้ที่ทำตามพระทัยพระเจ้าจนถึงที่สุด พระธรรม 1ซามูเอล บันทึกเรื่องราวอันน่าประทับใจของบุคคลอย่างนางฮันนาห์และซามูเอล อย่างซาอูลและดาวิด มีการ บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ตอนนี้ไว้อย่างน่าสนุกและน่าติดตาม หนังสือจบลงที่การสิ้นชีพของ ซาอูล และดาวิดไม่ต้องหลบหนีจากเงื้อมมือการตามฆ่าของซาอูลอีกต่อไป

เหตุการณ์ในสมัย 1ซามูเอลดูเหมือนเกิดขึ้นในอดีตอันไกลโพ้น แต่อันที่จริง การต่อสู้ดิ้นรนของผู้คนใน ยุคนั้นก็ไม่แตกต่างไปจากยุคนี้สักเท่าใด ถ้าเราปรารถนาจะดำเนินชีวิตติดตามพระเจ้าในโลกอันแสน ตกต่ำเช่นนี้ มีหลายวิธีที่เราสามารถเรียนจากชาวอิสราเอลเหล่านี้ในอดีต มีบทเรียนมากมายจากทั้งใน ความสำเร็จและความล้มเหลว เมื่อเราเริ่มต้นเรียน ขอให้เราเรียนด้วยความคาดหวัง ด้วยการทูลขอให้ พระเจ้าเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงชีวิตเรา เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงทำกับบุคคลต่างๆเหล่านี้ในอดีต ขอให้หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนเราให้เป็นผู้ที่แสวงหาทำตามพระทัยพระเจ้าจนถึงที่สุด

Related Topics: Introductions, Arguments, Outlines

บทที่ 1: บุตรชาย และ บทเพลงของนางฮันนาห์ (1 ซามูเอล 1:1—2:10)

ในการแข่งขันกีฬาโอลิปิกที่เมืองแอตแลนต้า มลรัฐจอร์เจีย สาวน้อย เคอร์รี่ สตรัค มีชื่อเสียงโด่งดัง ไปทั่วโลก เธอเป็นผู้นำชัยชนะได้เหรียญทองมาสู่ทีมยิมนาสติคหญิงของอเมริกา เพียงแต่เธอใช้ความ พยายามเขย่งตัวให้สูงขึ้น ทั้งทีมจะได้ครองเหรียญทอง หรือไม่ก็หมดหวังไปเลย รอบแรกเธอทำได้ไม่ ดีนัก มีผลทำให้ข้อเท้าแพลง เหลือเพียงรอบสองที่เธอต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อคว้าเหรียญทองให้ได้ ในขณะที่เคอร์รี่เดินกะเผลกไปที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง ทั่วโลกกำลังสงสัยว่าเธอจะยอมเสี่ยงหรือเปล่า ถ้า ยอม จะคุ้มค่ากับข้อเท้าที่บาดเจ็บหรือไม่ ? เรารู้ดีว่าเธอสู้ และทำได้อย่างดียอดเยี่ยมทั้งๆที่ข้อเท้ายัง เจ็บอยู่ ผลก็คือทั้งทีมได้ครองเหรียญทอง และผลที่ตามมามากไปกว่านั้นคือรูปของเธอปรากฎอยู่บนหน้า หนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับทั่วโลก เธอกลายเป็นวีรสตรีในพริบตา ไม่ใช่เป็นเพราะการเขย่งตัวเท่านั้น ที่นำเหรียญทองมาให้ แต่เป็นเพราะเธอต้องแสดงในสถาณะการณ์ที่ยากลำบากยิ่ง ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะ ข้อเท้าแพลงในรอบแรก การแสดงในรอบต่อไปก็คงไม่น่าจดจำ เพราะเหตุความกล้าหาญุและความ ความสามารถของเคอร์รี่ สตรัค ในสถาณการณ์อันยากลำบากนี้เองจึงทำให้ผู้คนจดจำเธอไปได้อีกนาน

เรื่องราวของนางฮันนาห์ก็ใกล้เคียงกับเรื่องของ เคอร์รี่ สตรัค นางฮันนาห์เป็นสตรีที่น่ายกย่อง เธอเป็น มารดาของซามูเอล ผู้เผยพระวจนะที่โดดเด่นของอิสราเอลท่านหนึ่ง ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะความทุกข์ยาก เจ็บปวดในชีวิตของนาง การให้กำเนิดลูกชายของนางก็จะถูกลืมเลือนไป แต่เป็นเพราะปีแล้วปีเล่าจาก การทนทุกข์์อาบไปด้วยน้ำตา เหตุการณ์การกำเนิดของซามูเอลจึงถูกจดจำได้ และยังเป็นที่มาของบท เพลงแห่งการสรรเสริญของนาง ที่ถูกนำมาใช้ปลอบประโลมให้กำลังใจบรรดาธรรมิกชนรุ่นหลังๆมาอีก หลายศตวรรษ นางมารีย์ มารดาของพระเยซูเองยังคำนึงถึงบทเพลงนี้ในคำสรรเสริญของนางในพระ กิตติคุณ ลูกา 1:46-55 ให้เรามาดูการกำเนิดของบุตรชายและบทเพลงของนางฮันนาห์กัน เพราะมี หลายแบบอย่างที่เราสามารถนำมาใช้กับชีวิตของเราในปัจจุบันนี้ได้

เบื้องหลัง

ในพระคัมภีร์ฉบับที่เราใช้กันอยู่ พระธรรม1ซามูเอลจะอยู่ต่อจากนางรูธ แต่ในต้นฉบับภาษาฮีบรู 1ซามูเอล จะอยู่ต่อจากผู้วินิจฉัย และประโยคสุดท้ายในต้นฉบับของภาษาฮีบรู ก่อนเข้าเรื่องใน 1ซามูเอลกล่าวว่า

25ในสมัยนั้นไม่มีกษัตริย์ในอิสราเอล ต่างก็กระทำตามที่ตนเองเห็นชอบ (ผู้วินิจฉัย 21:25)

"ในสมัยนั้น" การรวมตัวเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวอิสราเอลยังอยู่ห่างไกล หนังสือผู้วินิจฉัย พูดถึงคืนวันที่ชาวอิสราเอลสับสนและขาดสันติสุขเพราะถูกรุกรานจากบรรดาศัตรูรอบด้าน และพระเจ้าก็ จะทรงส่งผู้วินิจฉัยมาช่วยกอบกู้ แต่อิสรภาพของพวกเขามีอายุยืนยาวเท่ากับชีวิตของผู้วินิจฉัยเท่านั้น และผู้วินิจฉัยเองก็ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีเด่นอะไรนักหนา อย่างเช่น แซมสัน เป็นชายที่เกือบทั้งชีวิต ตกอยู่ภายใต้กิเลศของเนื้อหนังมากกว่าจะเป็นผู้ที่มีพระวิญญาณนำ ผู้เขียนหนังสือผู้วินิจฉัยพยายาม เชื่อมโยงความตกต่ำในจิตวิญญาณ และความยุ่งเหยิงภายในประเทศอิสราเอลให้เข้ากับการที่ขาด กษัตริย์เป็นผู้นำ ส่วน 1 ซามูเอลพูดถึงขั้นตอนที่พระเจ้าจัดเตรียมกษัตริย์ไว้ให้ประชากรของพระองค์ เช่นเดียวกับนางเอลีซาเบธในพระคัมภีร์ใหม่ นางฮันนาห์เป็นมารดาของผู้เผยพระวจนะผู้ซึ่งจะมาทำ หน้าที่จัดตั้งกษัตริย์ตามที่พระเจ้าได้เลือกไว้ ซาอูลได้รับการเจิมตั้งขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของชาว อิสราเอล และหลังจากที่ท่านถูกพระเจ้าตัดขาดออกไป ดาวิดจึงได้รับการเจิมตั้งให้เป็นผู้นำของ อาณาจักรอันเป็นนิรันดร์ของพระองค์แทน ในท่ามกลางจิตวิญญาณที่เปราะบาง นางฮันนาห์และสามี เอลคานาห์ ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ไปด้วยกัน ให้เรามาฟังเรื่องราวและบทเพลงสรรเสริญซึ่งเป็นจุดเด่น ของพระธรรมตอนนี้ด้วยกัน

เรื่องเก่าเล่าใหม่

เอลคานาห์เกิดในตระกูลเลวีผู้รับใช้ของพระเจ้า ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บริเวณเทือกเขาเอฟราอิม เหตุนี้ท่าน จึงถูกเรียกว่าเป็นชาวเอฟราอิมถึงแม้จะอยู่ในตระกูลเลวีก็ตาม (ดู 1 พงศาวดาร 6:33-38) เอลคานาห์ มีภรรยาสองคน นางฮันนาห์และนางเปนินนาห์ เปนินนาห์มีบุตรให้เอลคานาห์หลายคน แต่ฮันนาห์หามี ไม่ (1:2) เพราะพระเจ้าทรงปิดครรภ์ของนางเสีย (1:6)

ทุกปี เอลคานาห์ เปนินนาห์์ ลูกๆของนาง และฮันนาห์ผู้เป็นหมันจะเดินทางไปยังเมืองชิโลห์ ซึ่งอยู่ห่าง ไปทางเหนือของกรุงเยรูซาเล็มประมาณ 20 ไมลส์ เป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับของพระเจ้า พวกเขาไป เพื่อร่วมฉลองหนึ่งในเทศกาลประจำปีทั้งสามของชาวยิว (1:3; ดูอพยพ 23:14-17; ฉธบ. 16:16) เวลาเช่นนี้ควรเป็นเวลาแห่งความชื่นชมยินดีและสนุกสนาน ห้ามไม่ให้มีความทุกข์โศกใดๆทั้งสิ้น

"ส่วนทศางค์ของพืชหรือเหล้าองุ่นหรือน้ำมัน หรือลูกคอกรุ่นแรกจาก ฝูงวัวหรือฝูงแพะแกะ หรือของถวายแก้บนตามที่ท่านบนไว้ หรือของ ถวายตามใจสมัคร หรือของที่ท่านนำมายื่นถวาย ท่านทั้งหลายอย่า รับประทานในเมืองของท่าน 18 แต่ว่าท่านจงรับประทานของเหล่านี้ ต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ในสถานที่ซึ่งพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่านทรงเลือกไว้ ทั้งตัวท่านและบุตรชายหญิงของท่าน ทาส ชายหญิงของท่านและคนเลวีผู้อยู่ในเมืองของท่าน และท่านจงปิติร่าเริง ต่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ในบรรดากิจการซึ่งท่านได้กระทำนั้น "
(เฉลยธรรมบัญญัติ 12:17-18,).

สำหรับฮันนาห์และอาจสำหรับเอลคานาห์ด้วย การทำตัวให้ชื่นชมยินดีต่อเบื้องพระพักตร์นับเป็นเรื่องที่ ยากยิ่ง แรกเลย เป็นเพราะบุตรทั้งสองของเอลี โฮฟนีและฟีเนหัสผู้ทำหน้าที่เป็นปุโรหิต (1:3) สำหรับ ผู้ชอบธรรมแล้ว ปุโรหิตทั้งสองนี้เหมือนสร้างหมอกดำทะมึนขึ้นมาปกคลุมอยู่เหนือการนมัสการ (ดู 2:12-17, 22-25) แต่เรื่องทุกข์สุดของนางฮันนาห์เมื่อต้องเดินเท้าไปยังเมืองชิโลห์ก็คือ ถูกนางเปนินนาห์ถือ โอกาสเยาะเย้ยถากถางปีแล้วปีเล่าโดยไม่ยอมวางมือ (ดู 1:4-7) ทำให้นางฮันนาห์ต้องฝืนทนน้ำตาตก ใน จนแทบหมดกำลังมากินเลี้ยงร่วมฉลองได้ (1:7).

ไม่ได้เป็นเพราะเอลคานาห์สามีของนางไม่เอาใจใส่หรือรับรู้ทุกข์สุขของนาง เอลคานาห์แสดงออกถึง ความรักที่มีต่อนางด้วยการแบ่งส่วนเนื้อจากการถวายบูชาให้นางถึงสองส่วน (1:5) ท่านแสดงออกอย่าง จริงใจที่จะพยายามชดเชยความรู้สึกของนางที่ไม่มีบุตร และเพื่อย้ำว่าท่านจะอยู่เคียงข้าง เพราะนางนั้น มีความหมายต่อท่านเป็นอย่างมาก (1:8) ถึงกระนั้น ฮันนาห์ก็ยังหวั่นใจทุกครั้งที่ต้องเดินทางไปชิโลห์ เพื่อร่วมในงานฉลอง เพราะเป็นเวลาที่นางต้องทนเดินทางร่วมไปกับเปนินนาห์ผู้ประสงค์ร้ายต่อนาง

เราคงนึกภาพเหตุการณ์นี้ได้ไม่ยาก ในระหว่างปี ฮันนาห์และเปนินนาห์คงอาศัยอยู่กันคนละเต้นท์ ห่างไกลกันพอสมควร และไม่ได้กินอาหารด้วยกัน แต่พอถึงเวลาต้องไปชิโลห์ ทั้งครอบครัวคงต้อง เดินทางและกินดื่มอยู่ด้วยกันตลอด เมื่อถึงเวลากินเนื้อจากการถวายบูชา บรรดาภรรยาก็จะได้ส่วน แบ่งกันคนละส่วน ถึงแม้ฮันนาห์จะได้สองส่วน แต่ส่วนที่เปนินนาห์ได้รับก็เพียงพอสำหรับนางและลูกๆ ผมพอนึกออกว่า นางเปนินนาห์คงต้องพูดจาถากถางฮันนาห์ว่าอย่างไร "โอ เอลคานาห์สามีที่รัก เนื้อที่ ท่านให้ดิฉันและลูกๆนี่ชิ้นใหญ่จริงๆ! แต่น่าสงสารจังที่ฮันนาห์ได้แต่เพียงเศษเล็กเศษน้อย"

การเดินทางไปชิโลห์ครั้งนี้ก็เช่นกัน นางฮันนาห์แทบกินอะไรไม่ลง แต่เธอก็ฝืนทนต่อคำพูด และการ กระทำที่ร้ายๆของเปนินนาห์ เมื่อการรับประทานเสร็จสิ้นลง นางรีบออกไปจากที่นั่นทันที และตรงไปยัง พลับพลาขององค์พระผู้เป็นเจ้า นางไปเพื่อเทใจและวิญญาณของนางออกให้กับพระเจ้า ภายนอกดู เหมือนนางจะอธิษฐานอยู่เงียบๆ เพราะเอลีปุโรหิตนั่งเฝ้าดูอยู่ที่ตรงประตูอย่างสนใจ เอลีคงเห็นว่า ไหล่ของนางสั่นเทาไปด้วยแรงสะอื้นเมื่อนางคร่ำครวญอย่างขมขื่นกับพระองค์ (1:10) ถึงแม้ไม่ได้ยิน เป็นคำพูด เอลีก็ด่วนสรุปเองอย่างผิดๆว่านางคงกินดื่มมากจนเมามายขาดสติ ปุโรหิตท่านนี้จึงออกปาก ตำหนินาง และสั่งสอนไม่ให้นางกินเหล้าอีก (1:13-14).

ฮันนาห์ต้องรีบชี้แจงกับเอลีว่านางไม่ได้เมา แต่กำลังระบายความทุกข์ใจต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า (1:15) นางขอร้องไม่ให้เอลีอต่อว่านางว่าเป็นหญิงเลว (1:16) ที่จริงคำว่า "เลว" ที่นางฮันนาห์ใช้นั้นมีความ หมายเดียวกับคำที่ผู้เขียนใช้พูดถึงบุตรทั้งสองของเอลีในบทที่ 2 (ข้อ 12) นางกล่าวต่อไปว่าที่พูดตลอด มานั้นพูดด้วยจิตวิญญาณที่ทุรนทุราย

พวกเรา หรือเอลีด้วย รู้ดีว่าในคำค่ำครวญของฮันนาห์ต่อพระเจ้านั้นมีคำสัญญาอยู่ด้วย นางสัญญา ว่าถ้าพระเจ้าประทานบุตรชายให้นาง นางจะมอบเขากลับคืนให้พระองค์เพื่อเป็นนาศีร์ (1:11; ดูกันดาร วิถี 6:1-21; ผู้วินิจฉัย 13:2-7) เอลีให้ความมั่นใจว่าพระเจ้าจะทรงอวยพระพร และ โปรดให้ตามที่นาง ทูลขอ (1:17) จากนั้นเป็นต้นมานางจึงสามารถเข้าร่วมฉลองนมัสการ และ กินได้ด้วยใบหน้าและ จิต ใจที่ชื่นชมยินดี

เช้าวันรุ่งขึ้น ทุกคนนมัสการพระเจ้าก่อนเดินทางกลับไปยังรามาห์ หลังจากนั้นไม่นาน ฮันนาห์ ก็ตั้งครรภ์และมีบุตรตามที่ได้ทรงสัญญาไว้ ฮันนาห์ตั้งชื่อลูกชายว่า ซามูเอล นักวิชาการบางคน พยายามตีความหรือที่มาของชื่อนี้ ในพระคัมภีร์พูดถึงความหมายไว้อย่างชัดเจน เพราะฮันนาห์ ทราบดีว่าเด็กคนนี้เธอทูลขอมาจากพระเจ้า และพระองค์ทรงโปรดประทานให้ (1:20). ชื่อซามูเอล จึงเป็นสิ่งที่คอยย้ำเตือนของที่มาและอนาคตของเด็กคนนี้

ขณะที่เด็กน้อยยังไม่หย่านม ก็ถึงเวลาประจำปีที่ต้องเดินทางไปชิโลห์อีกครั้ง เอลคานาห์และครอบครัว เดินทางไปด้วยกัน แต่ฮันนาห์ไม่ได้ไปด้วย ไม่ใช่ว่านางจะหลีกเลี่ยงไม่ทำตามสัญญา (ดู 1:21-23) แต่ตรงกันข้าม ! จากที่นางตอบสามี ผมอาจสรุปได้ว่าเป็นเพราะนางไม่ต้องการ นำบุตรที่ยังไม่หย่านม ดีไปด้วย และต้องนำกลับมาอีก เพราะเด็กยังเล็กเกินกว่าที่จะทิ้งไว้่ที่ชิโลห์ นางตั้งใจจะอยู่บ้านเพื่อ ให้เด็กน้อยโตขึ้นและหย่านมทันในปีนั้น และนางจะสามารถพาลูกเดิน ทางไปและให้อยู่ที่ชิโลห์ได้เลย ในปีหน้า ฮันนาห์ไม่อยากที่จะไปชีโลห์และนำลูกกลับมาอีก เพราะกลัวว่านางอาจใจอ่อนและไม่สามารถ รักษาสัญญาได้

เมื่อลูกหย่านม ถึงเวลาที่ฮันนาห์ต้องนำซามูเอลไปชิโลห์ด้วยและทิ้งให้อยู่กับเอลี เด็กยังเล็ก นักแต่ก็ โตพอที่คนอื่นจะเลี้ยงดูได้ (ดู 1:24) นางนำวัวผู้สามตัวไปมอบให้กับเอลี และเตือนให้ ท่านระลึกถึง หญิงที่เคยยืนอธิษฐานอย่างทุรนทุรายเพื่อขอบุตรจากพระเจ้า และเอลีเองที่เป็นผู้ กล่าวว่าพระเจ้าจะ ประทานให้ตามที่ขอ นางบอกกับเอลีว่าต้องการรักษาสัญญาโดยการมอบคืน เด็กนี้ให้กับองค์พระผู้เป็น เจ้า และเด็กนี้ต้องอยู่ในความดูแลของเอลีเมื่อนางเดินทางกลับไป ก่อนกลับ นางได้ร้องบทเพลงสรร เสริญพระเจ้า เป็นบทเพลงที่นางต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน .

บทเพลงของนางฮันนาห์
(2:1-10)

1 นางฮันนาห์ได้อธิษฐานและกล่าวว่า "จิตใจของ ข้าพเจ้าชื่นชมในพระเจ้า ในพระเจ้ากำลังของข้าพ เจ้าก็เข้มแข็ง ปากของข้าพเจ้าก็อ้ากว้างเข้าใส่ศัตรู ของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าเปรมปรีด์ในความรอด ของพระองค์ 2 "ไม่มีผู้ใดบริสุทธิ์ดังพระเจ้า ไม่มีผู้ใด นอกเหนือพระเจ้า ไม่มีศิลาใดเหมือนพระเจ้าของข้าพ เจ้าทั้งหลาย 3 "อย่าพูดโอหังอีกต่อไปเลย อย่าให้ ความจองหองออกมาจากปากของเจ้าเลย เพราะพระ เจ้าทรงเป็นพระเจ้าของความรู้ การกระทำทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นผู้ชั่งตรวจ 4 "คันธนูของผู้มีกำลังก็ หัก แต่ผู้ที่ซวนเซก็ได้กำลังมาคาดเอว 5 "บรรดาคน ที่เคยกินอิ่มก็ต้องออกรับจ้างหากิน แต่คนที่เคยหิวก็ หยุดหิว คนที่เป็นหมันมีบุตรเจ็ดคน แต่นางที่มีบุตร มากก็เหี่ยวแห้งไป 6 "พระเจ้าทรงประหารและทรง ให้มีชีวิต พระองค์ทรงนำลงไปถึงแดนคนตายและก็ นำขึ้นมา 7 "พระเจ้าทรงกระทำให้ยากจนและทรง กระทำให้มั่งคั่ง พระองค์ทรงกระทำให้ต่ำลงและพระ องค์ทรงยกขึ้น 8 "พระองค์ทรงยกคนยากจนขึ้นจาก ผงคลี พระองค์ทรงยกคนขัดสนขึ้นจากกองขยะ กระ ทำให้เขานั่งร่วมกับเจ้านาย และได้ที่นั่งอันมีเกียรติ เป็นมรดก เพราะว่าเสาแห่งพิภพเป็นของพระเจ้า พระ องค์ทรงวางพิภพไว้บนนั้น 9 "พระองค์จะทรงดูแล ย่างเท้าของธรรมิกชนของพระองค์ แต่คนอธรรมจะ ต้องนิ่งอยู่ในความมืด เพราะว่ามนุษย์จะชนะด้วยกำ ลังของตนก็หาไม่ 10 "ศัตรูของพระเจ้าจะแตกเป็น ชิ้นๆ พระองค์จะทรงเอาฟ้าร้องในสวรรค์ต่อสู้เขา พระเจ้าจะทรงพิพากษาที่สุดปลายพิภพ พระองค์จะ ทรงประทานกำลังแก่พระราชาของพระองค์ และจะ ทรงเสริมอำนาจของผู้ที่พระองค์ทรงเจิมไว้ "

บทเพลงสรรเสริญของนางฮันนาห์ มีลักษณะเด่นอยู่หลายประการ เมื่อได้อ่านคำสรรเสริญเหล่านี้ บางทีอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เราอยากลองศึกษาบทเรียนนี้ด้วยตนเอง

แรกสุด คำอธิษฐานของฮันนาห์เป็นเหมือนบทสดุดี เพราะมีการจัดวางรูปแบบที่ต่างออกไป ดูคล้าย กับบทสดุดีในพระธรรมสดุดี คำอธิษฐานของฮันนาห์มีการเรียบเรียงและมีวิธีในการใช้คำแบบเดียวกับ พระธรรมสดุดี

ประการที่สอง บทเพลงของนางฮันนาห์เป็นคำอธิษฐาน คำอธิษฐานที่นางคงเตรียมไว้ล่วง หน้าแล้ว สำหรับการมานมัสการ ถ้อยคำที่สละสลวยเช่นนี้ อย่าลืมว่าเป็นคำสรรเสริญของนางฮันนาห์ เป็นการสดุดี และเช่นเดียวกับบทสดุดีทั่วไป เป็นคำกราบทูลต่อพระเจ้า เป็นการอธิษฐานสรรเสริญและ โมทนาพระคุณ บางคนคิดว่านางคงไปคัดลอกจากพระธรรมสดุดีมา บทสดุดีในพระคัมภีร์มีคำพูดที่ สามารถนำมาใช้อธิษฐานได้อย่างเหมาะและตรงกับความรู้สึกของเรา แต่ไม่มีข้อใดชี้ชัดได้ นอกจากว่า นางเป็นผู้แต่งขึ้นเอง หรือเราคิดว่านางไม่น่าจะเก่งขนาดนั้น ? หรือคิดว่าพระเจ้าไม่สามารถใส่ถ้อยคำ เหล่านี้ลงไปในใจนาง ? มาดูกันต่อไป

ประการที่สาม บทเพลงของนางฮันนาห์กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระวจนะคำ บทเพลง ของฮันนาห์ไม่ได้เป็นคำอธิษฐานส่วนตัวอีกต่อไป แต่เป็นพระวจนะคำอันศักดิ์สิทธิสำหรับเราทั้ง หลาย ผมขอย้ำ (ถ้าเราต้องการ) เพื่อใช้สอนเตือนใจเรา

ประการที่สี่ บทเพลงของฮันนาห์จึงเป็นคำสดุดีที่ได้รับการดลใจ "พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการ ดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ใน การสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ใขคนให้ดี และการ อบรมในทางธรรม …" (2 ทิโมธี 3:16) เมื่อบทสดุดีเป็นส่วนหนึ่งของพระวจนะคำ เรารู้แน่ว่าต้องได้รับ การดลใจจากพระเจ้าโดยทางพระวิญญาณ (ดู 1โครินธ์ 2:10-13; 2เปโตร 1:21) คำสดุดีที่นางฮัันนาห์ เปล่งออกมาเกินความสามารถนางหรือเปล่า ? หรือเป็นเช่นเีดียวกับผู้เขียนพระธรรมเล่มอื่นๆคือ "ได้รับ การดลใจ" เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงเชื่อได้ว่า บทสดุดีนี้เป็นผลงานการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ผ่านทาง นางฮันนาห์

ประการที่ห้า บทสดุดีของนางฮันนาห์มาจากประสพการณ์ส่วนตัว พระเจ้าไม่ได้ถ่ายทอด พระวจนะผ่านมนุษย์เหมือนใช้เครื่องจักรกล แต่ด้วยวิธีที่เกินความเข้าใจเรา (เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรง เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ในเวลาเดียวกัน) ทรงเปิดเผยพระองค์โดยการทำงานผ่านมนุษย์ โดยใช้ภูมิ หลังหรือประสพการณ์ชีวิต โดยใช้บุคคลิกภาพที่ต่างกัน แต่ก็คงไว้ซึ่งความถูกต้องและสอดคล้องกัน อย่างน่าอัศจรรย์

ประการที่หก บทเพลงของนางฮันนาห์ยังเป็นภาพสะท้อนของประสพการณ์ที่ชนชาติอิสราเอล มีกับพระเจ้าในอดีต น่าพิศวงที่พระคัมภีร์ทุกเล่มสอดคล้องและเชื่อมโยงกันทั้งหมด ถ้อยคำที่นาง ฮันนาห์พรั่งพรูออกมา บางตอนเหมือนเหตุการณ์ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยอพยพ หลายครั้ง เราเห็นการนำคำพูดบางคำจากพระธรรมเล่มอื่นมาใช้ บางครั้งมาจากส่วนลึกสุดในจิตวิญญาณของ ผู้เขียน ฮันนาห์กล่าวถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นดัง "ศิลา"ของนาง (ข้อ 2) ในเฉลยธรรมบัญญัติ 32:30-31 กล่าวว่าพระเจ้าทรงเป็น "พระศิลา" ฮันนาห์ยกย่องว่าพระเจ้าเป็น "กำลัง" อันเข้มแข็ง ในข้อ 1 ส่วนโมเสสใช้สัญญลักษณ์ "เขา" แทนในเฉลยธรรมบัญญัติ 33:17 ฮันนาห์พูดถึงคนยากจน อ่อนแอได้รับการยกขึ้นให้มีเกียรติ เรื่องนี้เป็นจริงกับคนอิสราเอลหรือไม่ในพระธรรมอพยพ ? เมื่อ อิสราเอลพูดถึงการเลี้ยงดูที่มาจากพระเจ้า เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยอพยพด้วยหรือไม่ ? เมื่อนางกล่าวว่าคน อธรรมต้องนิ่ง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับคนอียิปตหรือไม่ ? ผมเชื่อว่าฮันนาห์มองสิ่งที่พระเจ้าทำในชีวิตของนาง เป็นภาพสะท้อนของสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้กับชีวิตของชาวอิสราเอลในสมัยพระธรรมอพยพ

ประการที่เจ็ด คำอธิษฐานของฮันนาห์ลึกซึ้งกว่าประสพการณ์ส่วนตัวของนาง นางเพ่งไปที่ พระเจ้าเที่ยงแท้พระองค์เดียวที่นางนมัสการและยกย่องสรรญเสริญ ซึ่งต่างจาก "คำสดุดี" ของ โยนาห์ (โยนาห์ 2) แต่เหมือนกับคำสดุดีในพระธรรมสดุดี บทเพลงของฮันนาห์ไม่ได้เจาะจงอยู่ที่ความ ทุกข์ ความเศร้าโศกของตัวเอง หรือมัวแต่ยินดีในพระพรที่ได้รับ นางกลับเพ่งไปที่พระเจ้าแทน จาก ความทุกข์และการได้รับการช่วยกู้ นางเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าชัดเจนขึ้น ทำให้นางสามารถสรรเสริญ สดุดีในสิ่งที่พระองค์ทรงเป็น และสิ่งที่พระองค์กระทำ บทเพลงของนางกล่าวถึงความบริสุทธิ์ของพระเจ้า (ข้อ 2) ความสัตย์ซื่อมั่นคง ("พระศิลา" ข้อ 2) ทรงสัพพัญญู (รู้ทุกสิ่ง ข้อ 3) ทรงพระคุณ (ข้อ 8) มี ฤทธิ์อำนาจ (ข้อ 6) มีความเป็นอธิปไตย เป็นผู้สามารถพลิกได้ทุกสถาณการณ์ (ข้อ 6-10) มีเรื่องราว ของพระเจ้ามากเพียงใดในไม่กี่ข้อนี้ !

ประการที่แปด คำอธิษฐานของนางฮันนาห์เกินกว่าประสพการณ์ที่นางมีกับพระเจ้า เกินกว่า อดีต ปัจจุบัน แต่มองไกลไปในอนาคต คำอธิษฐานของนางเป็นคำพยากรณ์ ทำนายถึงอนาคตเมื่อ ชนชาติอิสราเอลจะมีกษัตริย์ปกครอง (ข้อ 10) ผมคิดว่ามองไปไกลจนถึงการเสด็จมาของ "จอม กษัตริย์" คือองค์พระเยซูคริสต์ ผู้จะมาทำให้คำพยากรณ์ทั้งหลายสำเร็จลง ดังนั้นเพลงสรรเสริญ ของนางมารีย์หวนให้เราระลึกถึงคำอธิษฐานนี้ (ดูลูกา 1:46-55) แน่นอน มารีย์เห็นถึงพระพรที่นางได้ รับเหมือนเช่นนางฮันนาห์ แต่อย่ามองข้ามคำพยากรณ์เรื่องพระเมสซิยาห์ซึ่งมีอยู่ในบทเพลงของทั้งคู่ ด้วย

ประการที่เก้า อย่าลืมว่าคำสดุดีของนางฮันนาห์เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดี และคำสรรเสริญ แต่ในเวลาเดียวกัน นางต้องทิ้งบุตรชายคนเดียวไว้ และเขาจะไม่มีวันได้กลับไปที่บ้านอีกเลย เวลานั้นนางฮันนาห์แสดงความยินดีและโมทนาพระคุณต่อพระเจ้าสำหรับซามูเอล ผู้เป็นคำตอบต่อคำ อธิษฐาน เป็นเวลาที่นางแสดงความเชื่อและความรักในพระองค์ แต่ก็เป็นเวลาที่นางต้องจากลูกน้อยไป ด้วย นางต้องทิ้งซามูเอลให้อยู่ที่ชิโลห์ขณะเดินทางกลับไปบ้านที่รามาห์ ความสัตย์ซื่อที่พระเจ้าทรง สำแดงในอดีตเป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับฮันนาห์ว่าพระองค์จะทรงสัตย์ซื่อตลอดไป และนางสามารถ มอบบุตรน้อยไว้กับพระองค์ด้วยความวางใจเต็มเปี่ยม

บทสรุป

เนื้อหาของเรื่องแสดงให้เห็นถึงธรรมิกชนของพระเจ้า ฮันนาห์และเอลคานาห์ ซึ่งเป็นภาพที่ค้านกันกับ เอลี บิดาผู้ไม่ทำหน้าที่ และบุตรอธรรมอย่างโฮฟนี และฟีเนหัส เอลคานาห์เป็นสามีตัวอย่างที่เข้าใจและ เห็นใจในความทุกข์ของภรรยา ท่านพยายามหนุนน้ำใจนาง (ด้วยการให้เนื้อจากการถวายบูชามากเป็น สองเท่า ด้วยการพูดจาอย่่างอ่อนโยน ด้วยการให้นางมั่นใจในความรักที่ท่านมีต่อนาง ไม่ว่านางจะมีบุตร หรือไม่มีก็ตาม) ท่านตักเตือนนางอย่างสุภาพถึงจิตใจโศกเศร้าที่ไม่สมควรต่อการมานมัสการในงาน ฉลอง ท่านอณุญาติให้นางไปนมัสการได้อย่างอิสระและเป็นส่วนตัว ทำให้นางสามารถเทใจต่อพระเจ้า บนขอต่อพระองค์ โดยที่เอลคานาห์ไม่เคยคิดจะห้ามปราม หลังจากนั้นท่านยังให้นางตัดสินใจด้วย ตนเองว่าจะไป ชิโลห์ หรือจะอยู่บ้านกับลูก .

เอลคานาห์เป็นคนของพระเจ้าและเป็นผู้้ที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับพระองค์ ท่านเป็นห่วงถึงสัมพันธภาพ ของภรรยา นางฮันนาห์มีต่อพระเจ้า ท่านสัตย์ซื่อในการเดินทางไปปรนนิบัติพระเจ้าที่ชิโลห์เป็นประจำ ทุกปี ท่านไม่เคยหาเหตุผลมาอ้างที่จะไม่เดินทางไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่สะดวก ไม่พร้อม หรือ เรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอาจจะอ้างเรื่องความไม่สัตย์ซื่อของปุโรหิต อย่างฟีเนหัส หรือ โฮฟนี หรือท่านไม่ต้องการให้คนในครอบครัวเห็นความไม่ซื่อ หลอกลวง คดโกง และความชั่วต่างๆ และท่านคงต้องทราบดีว่านางเปนินนาห์มักถือโอกาสนี้สร้างความทุกข์ใจให้กับฮันนาห์ และแม้กับตัว ท่านเอง ถึงกระนั้นก็ตามท่านไม่เคยใช้สาเหตุเหล่านี้มาใช้อ้างที่จะไม่เดินทางไปนมัสการพระเจ้า ที่ชิโลห์ ดังนั้น ปีแล้ว ปีเล่าพวกเขาก็จะเห็นท่านที่ชิโลห์เสมอ

นางฮันนาห์เป็นแบบอย่างที่ดีของภรรยาและสตรีที่ยำเกรงพระเจ้า นางอดทนอย่างสงบปีแล้วปีเล่าต่อ ความทุกข์ที่ไม่สามารถมีบุตร ซ้ำยังถูกนางเปนนินาห์เยาะเย้ยถากถางอย่างไร้ความปราณี นางร่วมเดิน ทางไปชิโลห์กับสามีและครอบครัว (ซึ่งรวมถึงนางเปนนินาห์ด้วย) อย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะต้องทนต่อ คำพูดร้ายๆของเปนนินาห์ก็ตาม นางอยู่อย่างสงบโดยไม่คิดที่จะต่อสู้หรือแก้แค้นต่อศัตรู นางนมัสการ พระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อ นางเทใจวิงวอนด้วยน้ำตา และเมื่อพระเจ้าทรงเมตตาตอบคำอธิษฐาน นางไม่ เพียงทำตามที่บนไว้ แต่นางยังสรรญเสริญสดุดีด้วยบทเพลงซึ่งต่อมากลายเป็นบทเพลงที่หนุนใจ บรรดาผู้รับใช้ ต่อมาอีกหลายยุคหลายสมัย ถึงแม้เอลีเป็นแบบอย่างของบิดาที่ล้มเหลวในการเลี้ยงดู บุตรให้เป็นปุโรหิตที่ดี แต่การที่นางฮันนาห์และสามีเป็นแบบอย่างและมีอิทธิพลที่ดีต่อซามูเอล นับเป็น สิ่งที่หนุนใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตติดตามพระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อของพวกเราในทุกวันนี้

เนื่อหาของพระธรรมตอนนี้กำลังปูพื้นไปสู่เหตุการณ์ใน 1 และ 2 ซามูเอลที่กำลังตามมา พระคำข้อสุดท้ายในพระธรรมผู้วินิจฉัยพูดถึงการที่อิสราเอลขาดกษัตริย์ปกครองอีกครั้งในเวลานั้น บทเพลงสดุดีของนางฮันนาห์เป็นคำพยากรณ์ถึงการเสด็จมาของกษัตริย์ นางฮันนาห์และเอลคานาห์ เป็นดังคู่แฝดของเศคาริยาห์และนางเอลีซาเบธในพระคัมภีร์ใหม่ (ดูลูกา 1) คือทั้งคู่เป็นหมัน และหญิง ทั้งสองได้เป็นมารดาของผู้เผยพระวจนะผู้มาทำหน้าที่จัดเตรียมกษัตริย์ ซามูเอลเป็นผู้เตรียมทั้งกษัตริย์ ซาอูลและดาวิด ส่วนยอห์นผู้ให้บัพติสมาเป็นผู้จัดเตรียมทางให้กับเยซูชาวนาซาเร็ธผู้เป็นทั้งพระ เมสซิยาห์และจอมกษัตริย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า

การนมัสการของนางฮันนาห์ทำให้เรามองเห็นถึงการนมัสการของสตรีในสมัยพระคัมภีร์เดิม นางไม่ใช่ คนสำคัญหรือมีตำแหน่งใดๆ แต่นางกลับเป็นผู้ที่มีอิทธิพลและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อบรรดาธรรมิกชน ในยุคหลัง ในทางกลับกัน เอลีเป็นผู้ที่มีตำแหน่งและอยู่ในสายตาประชาชน กลับไม่ได้เป็นแบบอย่าง ที่ดีด้านจิตวิญญาณต่อบุตร หรือต่อผู้อื่นเลย นางฮันนาห์ทนทุกข์อย่างสงบ รับใช้พระเจ้าในการเลี้ยงดู ซามูเอลอย่างเงียบๆโดยไม่มีผู้ใดรู้ ชีวิตของนางจึงมีอิทธิพลต่อผู้คนในยุคนั้น และต่อเราทั้งหลายใน ยุคนี้ คำอธิษฐานวิงวอน และการสาบานตนต่อพระเจ้าของนางเป็นไปอย่างเงียบๆ แต่ผลของคำ อธิษฐานกลับกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง คำอธิษฐานสดุดีของนางกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระวจนะคำ เป็นคำ สอน เป็นคำปลอบประโลม และเป็นคำหนุนใจ ในขณะที่นางไม่ได้เป็นผู้นำ หรือมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ในตำแหน่งหน้าที่ใด การงานของนางที่ดูเป็นเรื่องส่วนตัวกับกลายเป็นมีอิทธิพลยิ่งทางด้านจิตวิญญาณ อยากให้บรรดาหญิงชายทั้งหลายที่อยากได้ตำแหน่งสำคัญๆ อยากเป็นที่รู้จัก จะมีโอกาสเรียนจากการที่ พระเจ้าทรงใช้ ฮันนาห์และการรับใช้ของนางเป็นแบบอย่าง

การทนทุกข์และบทเพลงสรรญเสริญของนางฮันนาห์ เป็นวิถีทางที่พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์ ผ่านทางพระวจนะคำ บทเพลงของนางฮันนาห์ เช่นเดียวกับพระวจนะคำทั้งหมด เกิดจากความมานะของ มนุษย์ กำกับควบคุมโดยพระเจ้าผ่านทางพระวิญญาณ เป็นความมานะพยายามของนางฮันนาห์ที่แสดงออก มาทางบุคคลิกภาพ ก่อร่างขึ้นมาจากประสพการณ์ของนางเอง นางคงไม่สามารถเขียนบทเพลงนี้ได้ถ้าไม่ได้ ผ่านความทุกข์ของการไม่มีบุตร ซ้ำยังถูกนางเปนนินาห์เยาะเย้ยอีก และนางฮันนาห์เองก็คงจะไม่สามารถ พูดถึงเรื่องราวในอนาคตได้ ถ้าไม่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า ดังนั้นคำพูดทุกคำในบทเพลงสรรเสริญของนาง ตามที่บันทึกไว้จึงเป็นพระคำของพระเจ้า

บทเพลงของนางฮันนาห์ เช่นเดียวกับพระคำตอนอื่นๆ เป็นภาพสะท้อนบุคลิกภาพ ประสพการณ์ และ ภูมิหลังของคนๆนั้น รวมทั้งเป็นงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ด เป็นการถ่ายทอด "จิตใจพระเจ้า" มาสู่เราทั้งหลาย เช่นเดียวกับที่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเป็นทั้งพระเจ้าผู้ไม่เปลี่ยนแปลง และทรงเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ พระวจนะคำจึงเป็นผลงานหนึ่งเดียวกันโดยพระเจ้าและมนุษย์

บทเพลงของนางฮันนาห์คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้านางไม่ได้ผ่านความทุกข์มา พระเจ้าทรงเป็นผู้ที่ปิดครรภ์ ของนาง พระองค์ทรงทำให้นางต้องทนทุกข์จากความไร้น้ำใจของนางเปนนินาห์ และพระองค์เองเป็น ผู้มอบให้นางทั้งความทุกข์และความชื่นชมยินดีในชีวิต เพื่อบทเพลงของนางจะเป็นผลงานชิ้นสุดยอด ที่ออกมาจากใจ นี่เป็นวิธีการที่พระเจ้าเขียนพระวจนะคำทั้งหมดของพระองค์ผ่านทางชีวิตมนุษย์ เราทั้ง หลายในทุกวันนี้ไม่ได้เป็นผู้เขียนพระวจนะคำก็จริง แต่ผมเชื่อว่าพระเจ้าทรงมอบประสพการณ์ต่างๆใน ชีวิตให้เรา เพื่อสร้างและเตรียมเราให้พร้อมสำหรับงานพันธกิจของพระองค์ อย่าให้ความทุกข์ยากใน อดีตเป็นอุปสรรคต่อชีวิตในวันนี้และในอนาคต และเมื่อนึกย้อนไปถึงความเจ็บปวดในอดีต ขอให้สิ่งเหล่า นั้นเป็นเหมือนฐานอันแข็งแกร่งที่ทำให้เราสามารถยืนหยัดได้เพื่องานพันธกิจในวันนี้และในอนาคต ให้ เรามีความชื่นชมยินดีในการทดลองและในความลำบากเหล่านั้น เพื่อพระประสงค์อันดีและพระเกียรติ ขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จในชีวิตเรา

เนื้อหาตอนนี้เป็นภาพของการที่พระเจ้าอวยพระพร และสำแดงพระคุณของพระองค์ท่ามกลาง ความทุกข์ยาก ความเจ็บปวด และความอ่อนแอของมนุษย์ ผมได้อ่านพระธรรม 1 และ 2 โครินธ์ จบไป คงช่วยไม่ได้ที่ผมเห็นถึงความเหมือนของบทเพลงของนางฮันนาห์ และจดหมายจากคุกของ อ.เปาโล ลองนึกถึงคำจากปลายปากกาของ อ.เปาโลในภาพแห่งความทุกข์ของนางฮันนาห์ ซึ่งออก มาเป็นดังนี้ :

7ก็ทรงให้มีหนามใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้น เป็นทูตของซาตานคอยทุบตีข้าพเจ้าเพื่อไม่ให้ข้าพ เจ้ายกตัวเกินไป 8 เรื่องหนามใหญ่นั้น ข้าพเจ้าวิง วอนองค์พระผู้เป็นเจ้าถึงสามครั้ง เพื่อขอให้มันหลุด ไปจากข้าพเจ้า 9 แต่พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า "การ ที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอมี ที่ไหน เดชของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น" เหตุ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อนแอของ ข้าพเจ้า เพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพ เจ้า 10 เหตุฉะนั้นเพราะเห็นแก่พระคริสต์ ข้าพเจ้า จึงชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า ในการ ประทุษร้ายต่างๆในความยากลำบาก ในการถูกข่ม เหง ในความอับจน เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น
(2โครินธ์ 12:7ข-10)

อ.เปาโลกล่าวไว้อย่างชัดเจนในจดหมายฝากว่า ฤทธิ์เดชของพระเจ้าจะเต็มขนาดขึ้นในความอ่อนแอ ของเรา นี่เป็นพระคุณ พระคุณพระเจ้าไม่ได้เพื่อเสาะหาหรือเสริมความแข็งแกร่งให้เรา แต่พระองค์ทรง แสวงหาความอ่อนแอในเรา เพื่อเราจะเห็นความยิ่งใหญ่ของพระองค์สำเร็จลงได้ในความอ่อนแอนั้น เหตุการณ์ต่างๆที่สร้างความทุกข์ ความเจ็บปวดมากมายให้กับฮันนาห์ ก็คือสิ่งเดียวกับที่นำมาซึ่งความ ปิติยินดียิ่งจากองค์พระผู้เป็นเจ้าต่อผู้ที่วางใจในพระองค์ และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป :

28 เรารู้ว่า พระเจ้าทรงช่วยคนที่รักพระองค์ให้เกิด ผลอันดีในทุกสิ่ง คือคนทั้งปวงที่พระองค์ได้ทรง เรียกตามพระประสงค์ของพระองค์ 29 เพราะว่า ผู้หนึ่งผู้ใดที่พระองค์ได้ทรงทราบอยู่แล้ว ผู้นั้น พระองค์ได้ทรงตั้งไว้ให้เป็นตามลักษณะพระฉาย แห่งพระบุตรของพระองค์ เพื่อพระบุตรนั้นจะได้เป็น บุตรหัวปีท่ามกลางพวกพี่น้องเป็นอันมาก 30 และ บรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงตั้งไว้นั้น พระองค์ได้ทรง เรียกมาด้วย และผู้ที่พระองค์ได้ทรงเรียกมานั้น พระองค์ทรงโปรดให้เป็นผู้ชอบธรรม และผู้ที่พระ องค์ทรงโปรดให้เป็นผู้ชอบธรรม พระองค์ก็ทรง โปรดให้มีศักดิ์ศรีด้วย
(โรม 8 :28-30).

คุณรักพระเจ้าหรือเปล่า ? คุณเป็นบุตรพระองค์โดยความเชื่อในการสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพ และการ คืนพระชนม์ขององค์พระเยซูคริสต์หรือไม่ ? นี่เป็นข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณ พระกิตติคุณจะไม่เป็น ข่าวประเสริฐสำหรับผู้ที่นึกว่าตนเองชอบธรรมดีแล้ว แต่กลับกลายเป็นการดูถูก เพราะคนเหล่านี้คิดว่า พระเจ้ามีหน้าที่ต้องให้ชีวิตนิรันดร์อยู่แล้ว และพวกเขาดูถูกพระคุณว่าเป็นเหมือนของ "บริจาคทาน" ใช่แล้ว เป็นทานสำหรับบรรดาผู้ยื่นแขนออกไปรับด้วยความปิติยินดี เพราะพวกเขารู้ดีว่าตนเองอ่อนแอ หมดหนทาง และจมปลักอยู่ในความบาป และเป็นผู้สมควรยิ่งสำหรับการถูกลงพระอาชญา พวกเขาชื่นชม ในการช่วยกู้ของพระเจ้า องค์พระคริสต์ได้ทรงชดใช้ให้ด้วยการสิ้นพระชนม์ อยู่ในแดนมรณา และทรง คืนพระชนม์ พวกเขารับการอภัยโทษบาปและรับเอาของประทานแห่งความชอบธรรมด้วยใจโมทนา ใน ทานของพระองค์ พวกเขาก็เรียนรู้ถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้พวก เขาหลุดพ้น จากความพินาศในบึงไฟ และยอมให้พระเจ้ากระทำการของพระองค์โดยผ่านทางชีวิตของพวกเขา ผม ขออธิษฐานภาวนาให้เราทั้งหลายได้รับพระคุณของพระเจ้าโดยทางความเชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ ถ้าไม่ ผมขออธิษฐานให้คุณสามารถเปิดใจ และยอมรับได้ในทันที

Related Topics: Introductions, Arguments, Outlines

บทที่ 2: ซามูเอล และบุตรแห่งความชั่ว (1 ซามูเอล 2:11-36)

สมัยผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนพระคริสตธรรม มีสามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นสมาชิกโบสถ์แถวนั้น ครั้งหนึ่งที่โบสถ์จัดงาน มีการเชิญนักเทศน์ผู้มีชื่อเสียงมาเทศนา สามีภรรยาคู่นี้ีอาสา ขับรถไปรับนักเทศน์ท่านนี้จากสนามบิน ทั้งคู่นำลูกๆไปด้วยสามคน ขากลับจาก สนามบิน ทั้งคู่ถามนักเทศน์ถึงเรื่องที่จะนำมาเทศนาในวันอาทิตย์ที่จะมาถึง ท่านตอบ ว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ พอถึงวันอาทิตย์ ท่านกล่าวว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงนำให้พูด เรื่องการอบรมบุตร" สามีภรรยาคู่นี้คงพอเข้าใจได้ว่า น่าจะเนื่องมาจากความประพฤติ ของลูกๆ ระหว่างทางที่นั่งรถมา ความประพฤติที่ไม่น่ารัก และการที่ทั้งคู่ไม่สามารถ ควบคุมลูกได้ กลายมาเป็นหัวข้อคำเทศนาในวันนั้น ทั้งคู่รู้ดีว่าคำเทศนานี้จำเพาะเจาะ จงถึงตนเองแน่นอน

คุณผู้อ่านคงจะพอเดาได้ว่า ใจความหลักในตอนนี้น่าจะเป็นเรื่องสัมพันธภาพระหว่าง พ่อแม่ลูก เพราะเนื้อหาตรงกับพระธรรมตอนนี้ ผมจะอธิบายพระธรรม 1 และ 2 ซามูเอล อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงไม่สามารถข้ามเรื่องการเลี้ยงดูลูกไปได้ อย่าคิดว่าผมจะสามารถสอนเรื่องนี้ได้ง่ายๆ ลูกคนสุดท้องของผมจบจากมหาวิทยาลัย และย้ายไปสอนอยู่ที่รัฐอื่นแล้ว ดูเหมือนหน้าที่พ่อแม่ของเราจบลง เพราะลูกๆทุกคน ดูจะไปได้ดี แต่ยังมีอีกสองสิ่งที่เราต้องคำนึงถึง สิ่งแรก เมื่อมาถึงจุดนี้ พ่อแม่หลายคู่ ค้นพบว่าหน้าที่นี้ไม่มีวันจบ เพียงเปลี่ยนไปและลดน้อยลง แต่ยังมีความรับผิดชอบอยู่ ในฐานะพ่อแม่ เช่นเดียวกับลูกยังมีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะลูก (เช่นดูแลเมื่อเราแก่ชรา ซึ่งสำหรับผมคงอีกนานครับ!) เราไม่สามารถอวดอ้างเรื่องความสำเร็จต่่างๆในชีวิตของ ลูกได้ เช่นเดียวกับที่พวกคุณๆอย่าโทษตัวเองสำหรับสิ่งเลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นกับชีวิต ของพวกเขา ถ้าลูกของเราเดินกับพระเจ้า โดยพระคุณและพระสิริของพระองค์ เราไม่ สามารถนำสิ่งที่พระเจ้ากระทำมาอวดอ้างได้ และในไม่ช้า เราก็จะเข้าไปสู่มิติใหม่อัน น่าตื้นเต้นของการเป็นปู่ย่า ตายาย ผมเชื่อว่าเป็นงานที่ท้าทายพอดู

คุณคงเห็นว่าพระธรรมตอนนี้ดูออกจะ "ดุเดือด" และ "น่าหวั่น" ผมรู้สึกไม่อยากที่ จะสอน เพราะดูเหมือนกำลังเอาประสพการณ์และความคิดส่วนตัวในการเลี้ยงดูลูกมา สอนพ่อแม่คู่อื่น ผมตระหนักดีว่ามาตรฐานในฐานะพ่อแม่ตามพระธรรมตอนนี้เป็นสิ่งที่ เราต้องยึดถือปฏิบัติ ซึ่งเราคงทำได้ไม่ครบถ้วนนัก การตายของเอลีและบุตรทั้งสอง นั้น (ดูได้จาก 1 ซามูเอล 4) เป็นคำเตือนชัดเจนว่า พ่อแม่ต้องจ่ายราคาแพงเพียงใด เมื่อไม่ยอมทำตามพระบัญญัติของพระเจ้าในการเลี้ยงดูบุตร เราคงต้องเอาจริงเอาจัง กับเรื่องนี้เป็นพิเศษ พยายามฟังพระคำพระเจ้าให้เข้าใจ เกี่ยวกับภาระอันยิ่งใหญ่ของ การเลี้ยงดูบุตรหลานของเรา

ทบทวน 1 ซามูเอล 2:11-4:22

เราคงต้องอ่าน ตีความ และนำเนื้อหาพระธรรมตอนนี้มาใช้ตามบริบท เนื้อหาในบทที่ 2 เป็นเหมือนการจัดเตรียมฉากสำหรับรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทที่ 4 โดยการนำ ชีวิตของซามูเอลมาเปรียบเทียบกับบุตรทั้งสองของเอลี โฮฟนี และฟีเนหัส โดยมีตัว เลือกระหว่างซามูเอลและ "บุตรทั้งสองของความชั่ว" เนื้อหาเป็นการเปรียบเทียบ ที่ชัดเจน ผมชอบวิธีที่ Dale Ralph Davis นำเรื่องซามูเอลและบุตรของความชั่วมา ควั่นไว้ด้วยกัน ทำให้เราเห็นภาพ :

      ซามูเอลปรนนิบัติพระเจ้า 2:11

        ลบหลู่การนมัสการ 2:12-17

      ซามูเอลปรนนิบัติพระเจ้า 2:18-21

        ทำผิดศีลธรรม 2:22-25

      ซามูเอลจำเริญขึ้น 2:26

        พยากรณ์ถึงการพิพากษา 2:27-36

      ซามูเอลปรนนิบัติพระเจ้า 3:1ก1

ผู้เขียนอธิบายในบทที่ 3 เรื่องการเติบโตของซามูเอลในที่ทำการของปุโรหิต และ ที่ทำการของผู้เผยพระวจนะ ในตอนท้ายของบทที่ 3 คนอิสราเอลทั้งชาติยอมรับ และให้ความเคารพซามูเอลในฐานะผู้เผยพระวจนะแท้จริงของพระเจ้า บทที่ 4 พูด ถึงคำพยากรณ์ที่เป็นคำเตือนของพระเจ้าเกี่ยวกับเอลีและบุตรสำเร็จลง (สองครั้งโดย ผู้เผยพระวจนะที่ไม่ได้เอ่ยนามในบทที่ 2 และโดยซามูเอลเองในบทที่ 3) คนอิสราเอล ต้องพ่ายแพ้ให้กับคนฟิลิสเตีย หีบพระบัญญัติถูกยึดไป เอลีและบุตรทั้งสองสิ้นชีวิตลง รวมไปถึงลูกสะไภ้ด้วย คำเตือนและคำพยากรณ์ในบทที่ 2 และ 3 ต้องอ่านเพื่อให้เล็ง เห็นผลของคำพยากรณ์ที่จะสำเร็จไปในบทที่ 4

มาทำความรู้จักกับหน้าที่ของปุโรหิตกัน

เราต้องรู้เรื่องปุโรหิตตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมเลวีนิติก่อนที่จะเรียนเรื่องบุตรทั้งสอง ของเอลี อาโรนและบุตรเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่พระเจ้าแต่งตั้งให้รับใช้ในฐานะปุโรหิต นาดับและอาบีฮู บุตรชายสองคนแรกของอาโรน ถูกประหารเพราะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในการเป็นปุโรหิตอย่างถูกต้อง พวกเขาเอา "ไฟต้องห้าม" มาเผาบูชา จึงถูกไฟนั้น คลอกตาย เอเลอาซาร์และอิธามาร์บุตรที่เหลือของอาโรนจึงขึ้นมารับหน้าที่แทน (เลเวนิติ 10:1-3; กันดารวิถี 3:4; 26:60-61).

ปุโรหิตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลายอย่าง พวกเขามีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการเรื่อง พิธีการต่างๆในเต็นท์พลับพลา (อพยพ 27:21; เลวีนิติ 24:1-7; กันดารวิถี 18:1-7). รวมถึงหน้าที่ดูแลที่แท่นเผาบูชา ต้องตักมูลเถ้าออกจากไฟที่ไหม้ไปไว้ด้านนอก (เลวีนิติ 6:8-13) พระเจ้าทรงสัญญาจะสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขาที่ประตูเต็นท์นัดพบ (อพยพ 29:42-46) เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่มีสิทธิพิเศษ และได้อยู่ใกล้ชิดกับพระเจ้าผู้ บริสุทธิ์ พวกเขาจึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษในเรื่องความบริสุทธิ์ของตนเองที่จะไม่ทำให้ หน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ต้องด่างพร้อย ซึ่งรวมถึงการไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมา (เลวีนิติ 10:8-11) ซึ่งอาจเป็นตัวการก่อให้เกิดนำ "ไฟต้องห้าม" มาใช้อย่างเช่นที่นาดับและ อาบีฮูกระทำ (10:1-3) พวกเขาต้องไม่ทำให้ตนเองเป็นมลทินด้วยการแตะต้องศพ หรือ แต่งงานกับหญิงโสเภณี หรือมีบุตรสาวที่เป็นโสเภณี (เลวีนิติ 21:1-9) ปุโรหิตต้องไม่มี ร่างกายที่พิการ หรือเ็ป็นมลทินในขณะปฏิบัติหน้าที่ (เลวีนิติ 21:10—22:9) ปุโรหิต ต้องมีหน้าที่ตรวจดูบาดแผลโรคภัยใข้เจ็บต่างๆตามร่างกาย ไม่ว่าเป็นโรคเรื้อน อักเสบ หรือเป็นมลทิน (ดู เลวีนิติ 13-16) ปุโรหิตต้องเป็นผู้เป่าแตรเพื่อเป็นสัญญาณให้กับคน อิสราเอล (กันดารวิถี 10:8) และยังต้องทำหน้าที่นอกเหนือไปจากนี้อีก เช่นสั่งสอน กฎบัญญัติของโมเสสให้กับประชาชน และต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความด้วย (เฉลยธรรม บัญญัติ 17:8-13; 33:8-11) ถ้าบรรดาปุโรหิตไม่สามารถกระทำหน้าที่นี้ได้อย่างสัตย์ซื่อ พวกเขาก็จะถูกสาปแช่ง (มาลาคี 2:1-10) เสื้อผ้าที่ปุโรหิตใช้สวมใส่ประกอบด้วย กางเกง เสื้อ รัดประคด และหมวก เป็นสัญญลักษณ์ของความสมเกียรติและงดงาม เหมาะสำหรับปฏิบัติ หน้าที่ในวิสุทธิสถาน (อพยพ 28:40-43).

พระเจ้าไม่ได้มอบมรดกให้กับปุโรหิตเหมือนเผ่าอื่นๆที่เหลือ (กันดารวิถี 18:24) แต่ พระองค์จัดเตรียมการเลี้ยงดูพวกเขาอย่างพิเศษ พวกเขาจะได้รับส่วนแบ่งจากเนื้อ ที่ชาวอิสราเอลนำมาถวาย จะได้รับส่วนที่แบ่งจากทศางค์ และของถวายบูชาต่างๆที่ คนอิสราเอลนำมาถวายพระเจ้า (กันดารวิถี 18:8-32) พวกเขาจะได้รับประทานขนมปัง หน้าโต๊ะพระพักตร์ (เลวีนิติ 24:8-9) พระเจ้าทรงกำหนดส่วนต่างๆของเนื้อที่นำมา ถวายบูชาให้กับปุโรหิต : เขาจะได้รับอกและขาขวาหลังจากการเผาใขมันบนแท่นบูชา แล้ว (เลวีนิติ 7:31-34; ดู 3:3-5, 14-17; 7:22-25 ด้วย)

ไหนล่ะเนื้อ?
(2:12-7)

12 ฝ่ายบุตรทั้งสองของเอลีเป็นคนอันธพาล เขามิได้ นับถือพระเจ้า 13 ธรรมเนียมของปุโรหิตที่มีต่อประชา ชนเป็นอย่างนี้ เมื่อมีประชาชนคนใดถวายเครื่องสัตวบูชา คนใช้ของปุโรหิตจะเข้ามา มือถือสามง่ามขณะเมื่อเนื้อ กำลังต้มอยู่ 14 เขาจะเอาสามง่ามแทงเข้าไปในกระทะ หรือหม้อหู หรือหม้อทะนน หรือหม้อธรรมดา สามง่าม ติดอะไรขึ้นมา ปุโรหิตก็เอาสิ่งนั้นไปเป็นของตน ที่เมือง ชิโลห์เขาก็กระทำเช่นนั้นแก่คนอิสราเอลทุกคนที่มา บูชาที่นั่น 15 ยิ่งกว่านั้นอีก ก่อนที่เขาเผาไขมัน คนใช้ ของปุโรหิตเคยเข้ามากล่าวแก่ชายผู้กระทำบูชานั้นว่า "ขอเนื้อไปให้ปุโรหิตทอด ท่านไม่รับเนื้อต้มจากเจ้า ท่านต้องการเนื้อดิบ" 16 และถ้าชายคนนั้นกล่าวแก่ เขาว่า "ขอให้เขาเผาไขมันเสียก่อน แล้วจงเอาไปตาม ชอบใจเถิด" เขาจะตอบว่า "ไม่ได้ เจ้าต้องให้เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่ให้ข้าก็จะเอา" 17 ดังนี้แหละ บาปของคนหนุ่มทั้ง สองนั้นจึงใหญ่หลวงนักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะว่าคนเหล่านั้นได้ดูหมิ่นของถวายแด่พระเจ้า

เรารู้แล้วว่าพระเจ้าทรงเลี้ยงดูปุโรหิตอย่างไร เวลาทำการถวายบูชาต้องมีการเผาใขมัน ถวายบูชาแด่พระเจ้าเสียก่อน ผู้ทำหน้าที่ในการเผาบูชาจะได้รับส่วนแบ่งจากเนื้อสำหรับ ตนเองและครอบครัว (ดู 1:5) ปุโรหิตจะได้รับส่วนอกและขาขวา (ดูด้านบน) นี่เป็นกฎ บัญญัติตามที่โมเสสสั่งไว้ แต่ปุโรหิตไม่ได้กระทำตามนั้น คนเหล่านี้ "มิได้นับถือพระ เจ้า" หรือรู้จัก "หน้าที่ปฏิบัติของปุโรหิต " (ข้อ 12-13).2 บุตรทั้งสองผู้ "มิได้นับ ถือพระ เจ้า" หรือที่เราเรียกว่า "บุตรของความชั่วร้าย" (ตามตัวอักษร) หรือ "เป็น คนอันธพาล" (ข้อ 12)3 เป็นข้อสังเกตุที่น่าสนใจว่าในขณะที่บุตรของเอลีถูกเรียกว่า เป็น "บุตรของความชั่วร้าย" แต่เอลีเองกลับด่วนสรุปและตำหนินางฮันนาห์ว่าเป็น หญิงเลว หรือ "บุตรของความชั่วร้าย" ไปด้วย (ดู 1:16) เป็นข้อหาที่นางปฏิเสธ

"บุตรอันธพาล" ทั้งสองของเอลีทำผิดสิ่งใดจึงถูกเรียกเช่นนี้ ? ผู้เขียนบอกเราว่า ข้อแรก พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมรับส่วนแบ่งชิ้นเนื้อตามที่พระเจ้ากำหนดไว้ และพยายาม "เลือกเฟ้น" แต่ส่วนที่ตนเองต้องการ ตามธรรมเนียมขณะที่กำลังทำการต้มเนื้ออยู่ใน หม้อต้ม ปุโรหิตจะส่งคนใช้ไปพร้อมกับสามง่ามเพื่อทิ่มลงไปในหม้อและรับชิ้นเนื้อตาม แต่ที่สามง่ามแทงติดขึ้นมา (2:13-14) เนื้อชิ้นนี้จะเป็นส่วนแบ่งของปุโรหิต

ผมต้องสารภาพว่าผมเป็นคนที่ไม่ค่อยศรัทธาในการกระทำของมนุษย์สักเท่าไร ผมไม่ เชื่อหรอกว่าชิ้นเนื้อที่คนใช้ทิ่มขึ้นมานั้นไม่ได้ตั้งใจเลือก ในสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก ที่บ้าน ทำไก่ทอดกินกัน – เป็นไก่ทอดแบบพิเศษ ผมจะโปรดปรานเนื้อหน้าอกเป็นพิเศษ ผมไม่สนใจน่องหรือปีก พ่อผมจะเป็นคนเลือกก่อน และท่านมักจะชอบพูดว่า "กินชิ้น ไหนก็ได้ แล้วแต่เอเวอรีน (แม่ผม) จะจัดให้" ผมมักจะร้องบอกแม่ว่า "เอาซี่โครงหรือ คอให้พ่อไปก็แล้วกัน" แต่ไม่เห็นแม่ทำซักกะที และพ่อผมก็มักจะได้เนื้อหน้าอกที่ชิ้น ใหญ่ที่สุดเสมอ ผมและคนอื่นๆต่างก็รู้ดีว่าเป็นเรื่องที่แม่ตั้งใจทำแน่ๆ

ผมจึงไม่เชื่อว่าเนื้อที่ปุโรหิตได้ตามส่วนแบ่งนั้นจะไม่มีการเลือกเฟ้น เพราะส่วนหน้าอก หรือขาขวาไม่น่าเหมาะสำหรับทำทีโบนสเต็ค หรือเอาไปอบ หรือทำฟิเลมิยอง เว้นเสีย แต่คนใช้ "จงใจ" หยิบชิ้นเด็ดขึ้นมาจากหม้อเลย ผมสงสัยว่าคนใช้พวกนี้คงทำผิดไป หลายครั้ง เพราะคงไม่เลือกเอาแ่ต่ชิ้นคอหรือเศษชิ้นที่เหลือๆไปแน่ ดังนั้นเมื่อคนใช้ เลือกเช่นนี้ก็เท่ากับปุโรหิตเองเมินเฉยต่อพระบัญญัติของพระเจ้า และเลือกชิ้นที่ดีที่สุด เอามากินเอง

ปุโรหิตคงรู้สึกว่าเนื้อต้มนั้นรสชาติออกจะจืดชืด จึงอยากได้เป็นเนื้อย่างหรือเนื้ออบ แทน พวกคนใช้เข้าไปเลือกชิ้นเนื้อที่นำมาถวายก่อนทำให้สุก ก่อนแม้กระทั้งมีการ เผาใขมันถวายพระเจ้าด้วยซ้ำไป และเรียกร้องที่จะเอาแต่ชิ้นที่ดีที่สุดไปให้ปุโรหิต ธรรมิกชนชาวอิสราเอล อย่างเอลคานาห์และฮันนาห์ต่างก็รู้ดีว่า ต้องมีการเผาใขมัน ถวายบูชาบนแท่นบูชาเสียก่อน พวกเขาขอร้องให้คนใช้ของปุโรหิตรอจนเผาใขมันให้ เสร็จเสียก่อน แต่ไม่มีใครยอมฟัง ใช้อำนาจข่มขู่นำเอาชิ้นเนื้อไปต่อหน้าต่อตา

เราคงนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในการนมัสการพระเจ้าที่ชิโลห์ออก คนอิสราเอลที่ชอบ ธรรมต้องเดินเท้าทุกปีเพื่อไปนมัสการพระเจ้าที่พลับพลาในชิโลห์ แทนที่เขาจะได้พบ กับปุโรหิตที่ทุ่มเททำงานปรนนิบัติในสถานนมัสการ กับไปพบปุโรหิตที่เต็มไปด้วย ความโลภกักขฬะแทน ไม่ว่าจะทำอย่างจงใจหรือละเลยในหน้าที่ก็ตาม (เราคงจะเห็น ภาพชัดเจนขึ้นในข้อ 12 และ 13) ปุโรหิตพวกนี้ดูหมิ่นต่อสถานนมัสการและกฎบัญญัติ ในพระคัมภีร์เดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้คนอิสราเอลหลายคนไม่อยากเดิน ทางมานมัสการที่พลับพลา ในสมัยนั้นอิสราเอลไม่มีกษัตริย์ ทุกคนจึงทำตามที่ตนเอง เห็นชอบ ซึ่งรวมทั้งพวกปุโรหิตผู้มีหน้าที่สั่งสอนวินิจฉัยคนอิสราเอล ตามที่พระเจ้า บัญญัติไว้ด้วย

พระเจ้าประเมิณการกระทำของปุโรหิตพวกนี้ไว้ในข้อที่ 17 : "ดังนี้แหละ บาปของคน หนุ่มทั้งสองนั้นจึงใหญ่หลวงนักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะว่าคนเหล่า นั้นได้ดูหมิ่นของถวายแด่พระเจ้า" หลายคนแปลพระคำข้อนี้ออกไปต่างกัน บางคน กล่าวว่า เพราะผลของความชั่วในงานรับใช้ของปุโรหิต ประชาชนจึงเอาเป็นแบบอย่าง และทำตามบรรดาผู้นำ :

17 ดังนี้แหละ บาปของคนหนุ่มทั้งสองนั้นจึงใหญ่หลวง นักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะว่าคนเหล่านั้นได้ ดูหมิ่นของถวายแด่พระเจ้า
(ต้นฉบับ KJV)

บางคนแปลว่า ที่ความบาปนั้นใหญ่หลวงนัก เพราะปุโรหิตดูหมิ่นของถวายบูชาแด่ พระเจ้า :

17 ดังนี้แหละ บาปของคนหนุ่มทั้งสองนั้นจึงใหญ่ หลวงนักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะเขา ปฏิบัติต่อของถวายบูชาอย่างไร้ค่า
(ต้นฉบับ NRSV).

ผมว่าเป็นจริงทั้งคู่ ปุโรหิตไม่ได้ให้ความเคารพต่อการถวายบูชา และของที่ ประชาชนนำมาถวายที่ชิโลห์ ผลก็คือ ประชาชนส่วนมากพลอยดูถูกไปด้วย อันที่จริงแล้วนับว่าเป็น ความบาปที่ใหญ่หลวงนัก เพราะปุโรหิตเองเป็นผู้นำให้คนอื่นตกอยู่ในความบาปโดยทำตัว เป็นแบบอย่าง นับเป็นเวลาที่น่าเศร้าของอิสราเอลในสมัยนั้น ซึ่งต่อมา มาลาคีได้พูดถึงเรื่องนี้ และวันแห่งการพิพากษาที่กำลังจะมาถึง :

1 "โอ ปุโรหิตทั้งหลาย บัดนี้คำบัญชานี้มีอยู่เพื่อเจ้า ทั้งหลาย 2 พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า ถ้าเจ้าไม่ฟัง และ ถ้าเจ้าไม่จำใส่ไว้ในใจที่จะถวายศักดิ์ศรี แก่นามของเรา เราจะส่งคำแช่งมาเหนือเจ้า และเราจะสาปแช่งผลพระ พรซึ่งมาถึงเจ้า เราได้สาปแช่งคำอวยพรของเจ้าแล้วนะ เพราะเจ้ามิได้จำใส่ใจไว้ 3 ดูเถิด เราจะขนาบลูกหลาน ของเจ้า และจะละเลงมูลสัตว์ใส่หน้าเจ้า คือมูลสัตว์ของ เครื่องบูชาของเจ้า และเราจะไล่เจ้าออกไปเสียจากหน้า เราอย่างนั้นแหละ 4 พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า เจ้าจึงจะ ทราบว่าเราส่งคำบัญชานี้มาให้เจ้า เพื่อว่าพันธสัญญาของ เราซึ่งทำไว้กับเลวีจะคงอยู่ 5 พันธสัญญาของเราซึ่งมีไว กับเขานั้น เป็นพันธสัญญาเรื่องชีวิตและสันติภาพ เราได้ ให้สิ่งเหล่านี้แก่เขา เพื่อเขาจะได้ยำเกรงและเขาได้ยำเกรง เรา และเกรงขามนามของเรา 6 ในปากของเขามีคำสั่งสอน ที่จริง จะหาความผิดที่ริมฝีปากของเขาไม่ได้เลย เขาดำเนิน กับเราด้วยสันติและความเที่ยงตรง และเขาได้หันหลายคน ให้พ้นจากความบาปผิด 7 เพราะว่าริมฝีปากของปุโรหิตควร เป็นยามความรู้ และมนุษย์ควรแสวงหาคำสั่งสอนจากปากของ เขา เพราะว่าเขาเป็นทูตของพระเจ้าจอมโยธา 8 แต่เจ้าเอง ได้หันไปเสียจากทางนั้น เจ้าเป็นเหตุให้หลายคนสะดุด เพราะ คำสั่งสอนของเจ้า พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า เจ้าได้กระทำให้ พันธสัญญาของเลวีเสื่อมไป 9 ดังนั้นเราจึงกระทำให้เจ้าเป็นที่ ดูหมิ่นและเหยียดหยาม ต่อหน้าประชาชนทั้งปวง ให้สมกับที่ เจ้ามิได้รักษาบรรดาวิถีทางของเรา แต่ได้แสดงอคติในการสั่ง สอนของเจ้า"
(มาลาคี 2:1-9)

คุณชายน้อย ?
(2:18-21)

18 แต่ซามูเอลปรนนิบัติอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้า เป็นเด็กคนที่คาดเอวด้วยเอโฟดผ้าป่าน 19 ฝ่าย มารดาเคยเย็บเสื้อเล็กๆนำมาให้เขาทุกปี เมื่อนาง ขึ้นไปพร้อมกับสามีเพื่อถวายเครื่องบูชาประจำปี 20 แล้วเอลีเคยอวยพรเอลคานาห์และภรรยาของ เขากล่าวว่า "ขอพระเจ้าประทานลูกๆแก่ท่านโดย หญิงคนนี้ แทนคนที่นางให้ยืมไว้ปรนนิบัติพระเจ้า" แล้วเขาทั้งหลายก็กลับบ้านของตน 21 และพระเจ้า ทรงเยี่ยมเยียนฮันนาห์ และนางก็ได้ตั้งครรภ์คลอด บุตรเป็นชายสามหญิงสอง และกุมารซามูเอลก็เติบ โตขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า

มีหนังเก่าน่ารักอยู่เรื่องหนึ่งชื่อเรื่อง "Little Lord Fontleroy" ขอแปลเป็นไทยว่าเรื่อง "คุณชายน้อย" ก็แล้วกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐีชาวยุโรปคู่หนึ่ง ค้นพบว่าตนเองมี ทายาทอยู่ที่อเมริกา ทั้งคู่จึงไปนำเด็กคนนี้กลับมาเลี้ยงดูที่บ้าน ด้วยความหวังว่าวัน หนึ่งจะให้มาดูแลครอบครองตำแหน่งและดูแลทรัพย์สมบัติสืบต่อ อย่างไม่เต็มใจนัก ทั้งคู่ต้องพามารดาของเด็กนี้มาด้วย แต่ไปสร้างบ้านให้อยู่ตามลำพังห่างไปจาก คฤหาสน์ ส่วนเด็กน้อยคนนี้ วันๆเคยแต่วิ่งเล่นมอมแมมอยู่ตามถนน ก็ต้องมาแปลงโฉมแต่งเนื้อแต่งตัวกันเสียใหม่ – กลายเป็นคุณชายน้อย หนุ่มน้อย ผู้นี้ไม่เพียงแต่ชนะใจผู้คนด้วยจิตใจที่มีกรุณา (เช่นเดียวกับมารดา) เท่านั้น เขายัง สามารถชนะใจที่แข็งกระด้างยโสของคุณตาได้เป็นผลสำเร็จ ในที่สุดเด็กคนนี้ก็เปลี่ยน คุณตาให้กลายเป็นชายผู้เต็มไปด้วยความกรุณาได้

พอผมอ่านพระธรรมตอนนี้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึง "คุณชายน้อย" เพราะเนื้อหาค่อนข้าง จะอบอุ่นและเต็มไปด้วยความรู้สึกอ่อนไหว ทำให้เราสัมผัสได้ถึงภาพที่ผู้เขียนบรรยาย เอาไว้ ผมแทบจะได้ยินเสียงบางคนพูดว่า "น่ารักจังเลย …" ครับเป็นเรื่องน่ารักมาก นางฮันนาห์ต้องทิ้งลูกที่รักไว้ที่ชิโลห์ เพื่อทำตามคำสัญญา ทุกปีเมื่อนางกลับมาชิโลห์ เพื่อมานมัสการพระเจ้า นางคงต้องตั้งใจมาเยี่ยมลูกน้อย และทุกปีนางคงไม่ลืมที่จะนำ ชุดเล็กๆที่ตัดเตรียมไว้มาให้ นางอาจจะต้องแก้ใขเล็กน้อยเพื่อให้ลูกใส่ได้พอดี และ วัดตัวเตรียมเผื่อไว้สำหรับปีหน้า คุณพอมองเห็นภาพซามูเอลน้อยใส่ชุดใหม่ของคุณ แม่หรือไม่ ? ผมว่าภาพที่ออกมาคงน่ารักมาก

ครับ ไม่นานหลังจากนั้นฮันนาห์มีลูกเพิ่มขึ้น นางพาน้องคนใหม่มานมัสการด้วยในแต่ละ ปี จนจบลงที่ชายสาม หญิงสอง – นับซามูเอลด้วยรวมเป็นหก ตอนที่เอลีเห็นภาพนาง ฮันนาห์และเอลคานาห์สามีบอกลาลูกด้วยน้ำตา ท่านได้ทูลขอให้พระเจ้าอวยพรทั้งสอง ด้วยบุตรคนใหม่แทนที่ซามูเอลที่มอบคืนให้กับพระเจ้า และพระองค์ทรงตอบตามคำ อธิษฐาน โดยประทานลูกให้อีกถึงห้าคนด้วยกัน ส่วนเอลีเองคงตระหนักถึงหน้าที่รับผิด ชอบที่มีต่อบุตรคนใหม่ที่พระเจ้ามอบให้ท่านทำหน้าที่เลี้ยงดูแทนบุตรอันธพาลทั้งสอง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องชื่นชมยินดีในวัยชราของท่าน

นอกจากความรู้สึกอ่อนโยนที่เราสัมผัสได้ในตอนนี้ บางคนอาจคิดว่าซามูเอลนั้นอยู่ค่อน ข้างอยู่ห่างใกลจากพ่อแม่ จึงเป็นการยากที่เอลคานาห์และฮันนาห์จะมามีอิทธิพลต่อ การดำเนินชีวิตของซามูเอล ผมคิดว่าทั้งสองค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อซามูเอลมากที เดียว จากที่ผมอ่าน1 ซามูเอล 2:19 ด้วยการคำนึงถึงกฎเกณฑ์เรื่องชุดแต่งกายของ ปุโรหิต ดังนั้นนางฮันนาห์ไม่ได้เพียงตัดเย็บเสื้อผ้าให้เด็กน้อยซามูเอลเท่านั้น แต่นาง ได้ตัดเย็บชุดปุโรหิตให้ลูกด้วย คุณพอจะได้ยินเสียงนางฮันนาห์พร่ำพูดถึงหน้าที่และ เกียรติของการเป็นปุโรหิตให้ซามูเอลฟัง ? คุณพอจะเห็นภาพนางสั่งสอนลูกถึงภาระอัน ยิ่งใหญ่ที่ลูกต้องรับผิดชอบเมื่อได้สวมใส่ชุดปุโรหิตน้อยนี้ ? ผมเชื่อว่าฮันนาห์มีอิทธิพล ต่อบุตรชายมากทีเดียวจากเสื้อผ้าที่นางเตรียมให้ และอย่างไม่ต้องสงสัยจากคำพูดที่ นางสั่งสอน เหตุใดแค่การเย็บเสื้อผ้าให้จึงมีผลกระทบฝ่ายจิตวิญญาณได้ ? เราคงต้อง ไปถามนาง หรือไม่ก็ไปถาซามูเอลดูเอง

ช้าไปนิด แต่ก็สายเกินการ :
คำดุว่าที่ไร้น้ำหนักของเอลี
(2:22-25)

22 ฝ่ายเอลีชรามากแล้ว และท่านได้ยินถึงเรื่อง ราวทั้งสิ้นที่บุตรทั้งสองของท่านกระทำแก่คน อิสราเอล เช่นว่าเขาเข้าหาหญิงที่ปรนนิบัติอยู่ ที่ทางเข้าเต็นท์นัดพบด้วย 23 และท่านก็ว่ากล่าว เขาทั้งสองว่า "ทำไมเจ้าจึงกระทำเช่นนั้น เพราะ เราได้ยินจากประชาชนทั้งปวงถึงความชั่วซึ่งเจ้า กระทำ 24 ลูกเราเอ๋ย อย่าทำเลยเราได้ยินประชา กรของพระเจ้าเล่าแพร่ทั่วไปเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย 25 ถ้ามนุษย์คนใดกระทำผิดต่อมนุษย์ด้วยกัน พระเจ้า จะทรงวินิจฉัยให้เขา แต่ถ้ามนุษย์กระทำบาปต่อพระ เจ้า ใครจะทูลขอเพื่อเขาได้เล่า" แต่เขาทั้งสองหาได้ ฟังเสียงบิดาของเขาไม่ เพราะว่าเป็นน้ำพระทัยของ พระเจ้า ที่จะทรงประหารเขาเสีย

เราเรียนจากข้อ 12-17 ถึงบาปเรื่องเนื้อถวายบูชาพระเจ้าที่ปุโรหิตได้กระทำ ต่อมาใน ข้อ 22-25 พูดถึงเรื่องบาปผิดศีลธรรมในการเข้าหาหญิงที่ปรรนิบัติอยู่ที่ทางเข้าเต็นท์ ซึ่งน่าจะหมายถึง "ผู้หญิง" ที่กล่าวไว้ในพระธรรมอพยพ :

8 เขาทำขันทองสัมฤทธิ์และพานรองขันทองสัมฤทธิ์ จากกระจกเงาของบรรดาผู้หญิงที่ปรนนิบัติ ณ ประตู เต็นท์นัดพบ
(อพยพ 38:8).

โฮฟนีและฟีเนหัสทำบาปผิดทางเพศ และอย่างน้อยเราก็รู้ว่าฟีเนหัสนั้นแต่งงานแล้ว (ดู 1ซามูเอล 4:19) เป็นบาปแห่งการล่วงประเวณีและต้องโทษถึงตาย และยิ่งผิดมากขึ้น ไปอีก ถ้านึกถึงว่าใครเป็นผู้กระทำ และทำที่ใด มาพิจารณาดูความชั่วของบุตรเอลี และ เปรียบเทียบกับพระสัญญาที่พระเจ้าประทานให้แก่บรรดาปุโรหิตของพระองค์ :

42 นี่จะเป็นเครื่องเผาบูชาเนืองนิตย์ ตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้าที่ประตูเต็นท์ นัดพบ เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ที่ที่เราจะ พบเจ้าทั้งหลายและสนทนากับเจ้าที่นั่น 43 ที่นั่นเราจะพบกับชนชาติอิสราเอล และ พลับพลานั้นจะรับการชำระให้บริสุทธิ์ด้วย พระสิริของเรา 44 เราจะชำระเต็นท์นัดพบ และแท่นบูชาไว้เป็นที่บริสุทธิ์ และเราจะ ชำระอาโรน และบุตรเขาให้บริสุทธิ์ด้วย เพื่อให้เป็นปุโรหิตปรนนิบัติเรา 45 เราจะสถิต อยู่ท่ามกลางชนชาติอิสราเอล และจะเป็น พระเจ้าของเขา 46 เขาจะรู้ว่า เราคือพระเจ้า ของเขา ผู้ได้นำเขาออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพื่อเราจะสถิตอยู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย เราคือพระเจ้าของเขา"
(อพยพ 29:42-46)

ประตูเต็นท์นัดพบเป็นสถานที่ที่พระเจ้าเสด็จมาพบกับปุโรหิตของพระองค์ เป็นสถานที่ ที่พระเจ้าทรงสำแดงพระสิริของพระองค์ ที่นั่นอาโรนและบุตรได้รับการชำระ ถูกแยกไว้ ให้บริสุทธิ์เพื่อทำหน้าที่เป็นปุโรหิต และหลังจากนั้นไม่นาน กลับกลายเป็นที่นัดพบใน อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปแบบที่บุตรของเอลีใช้นัดแนะพบปะกับบรรดาหญิงที่ร่วมกันทำผิด ศีลธรรมด้วยกัน

    ผมขอพูดถึงเรื่อง "คำตักเตือนของเอลี" ที่จริงเราหาแทบไม่เจอว่าเอลีเคยว่ากล่าวตักเตือนบุตร เอลีไ่ม่เคยคิดจะห้ามปรามเรื่องความบาป หรือกล่าวตักเตือนบุตร ดังนั้นคำพูดของ เอลีจึง ไร้ความหมาย ที่แย่ไปกว่านั้น คำพูดของเอลีกลับย้อนมาลงที่ตนเอง ท่านพยายามพูดให้บุตร สำนึกผิด ซึ่งดูแล้วไร้ผล คำพูดของเอลีกลับกลายเป็นการตอกย้ำความผิดของตนเอง ผู้เขียน บอกเราว่า "ได้ยินประชากรของพระเจ้าเล่าแพร่ทั่วไป เป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย" ไม่ใช่เป็น เพราะเอลีละเลยในการตัดสินใจทำให้เด็ดขาด ท่านรู้ทุกสิ่ง ที่บุตรทำ และท่านรู้ว่าพวกเขากระ ทำอย่างอุกอาจต่อคนอิสราเอลทั้งปวง ความบาปนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่ติดเป็นนิสัยสันดาน และกลายเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตทีเดียว

นับเป็นเรื่องน่าสนใจที่เอลีกล่าวตำหนิลูกเรื่องความบาปทางเพศ แต่ทำไมท่านกลับไม่ กล่าวถึง (สักนิดตามเนื้อหา)ถึงความผิดบาปเรื่องเนื้อที่นำมาถวายบูชา ? คำตอบที่ผม จะนำมากล่าวต่อไปอยู่ในข้อที่ 27-29 ที่หนักที่สุดคือ คำพูดที่เอลีพูดกับบุตรนั้นเผยให้ เห็นว่าท่านตระหนักดีถึงความบาปที่บุตรกำลังดิ่งลงไป ความบาปของบุตรทั้งสองนั้น ไม่ใช่เป็นการทำผิดต่อมนุษย์ แต่เป็นการทำผิดต่อพระเจ้า เป็นความบาปที่ท้าทายพระ เจ้า เป็นความบาปที่จะไม่ได้รับพระกรุณา บุตรแห่งความชั่วทั้งสองนี้กำลังชูกำปั้นท้า ทายต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า พวกเขาก็รู้ดีด้วย (เพราะเอลีได้กล่าวอย่างชัดเจนที เดียว) และเอลีเองก็รู้ดีด้วย ถึงเอลีจะตระหนักดี แต่ท่านก็ไม่ได้คิดจะจัดการสะสาง เรื่องนี้ให้ถึงที่สุด ผมชอบที่ Dale Ralph Davis พูดถึงเรื่องราวในตอนนี้มาก :

"เอลีกล่าวตำหนิบุตรเรื่องการทำผิดศีลธรรม
(ข้อ 22-25) หรืออาจจะ – ถึงแม้จะไม่มีบันทึกไว้ในข้อ 23-25 – ท่านอาจพูดเรื่องของถวายบูชาด้วยก็ได้
(ข้อ 13-17) ยังไงก็ตาม ท่านไม่ได้คิดที่จะปลดทั้งโฮฟนีและ ฟีเนหัสออกจากตำแหน่งปุโรหิต อาจเป็นเพราะท่าน กลัวลูกตกงาน จึงไม่กล้าลงวินัยให้เด็ดขาด"4

"ดังนั้นบุรุษของพระเจ้า [ผู้เผยพระวจนะในข้อ 27-36] จึงตักเตือนถึงข้ออ้างในการทำบาป การยอม ประนีประนอมกับความบาป การย้ายพระเจ้าไปนั่ง ข้างหลัง และปล่อยให้บุตรของตนมานั่งข้างหน้า แทน สำหรับเอลีแล้ว สายเลือดเข้มข้นกว่าความ สัตย์ซื่อในหน้าที่ "5

"เป็นการง่ายที่จะทำเป็นสงสาร และไม่อยากทำให้ใคร เดือดร้อน ระมัดระวังในการแสดงความรัก แต่กลับละ เลยกฏบัญญัติของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ บริสุทธิ์ของพระองค์ เรากำลังลบหลู่เกียรติของพระ เจ้า ถ้าเรามัวแต่ห่วงใยความรู้สึกของมนุษย์ "6

ข้อเปรียบเทียบอื่นๆกับซามูเอล
(2:26)

26 ฝ่ายกุมารซามูเอลก็เติบโตขึ้น และเป็นที่ชอบ มากขึ้น เฉพาะพระเจ้าและต่อหน้าคนทั้งปวงด้วย

นับเป็นความบาปที่น่าสมเพชของปุโรหิต คนของพระเจ้าอย่างเอลคานาห์และฮันนาห์ ต้องฝืนทนกัดฟันเพียงไรเมื่อมานมัสการที่ชิโลห์ เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อ เอลีชรามากและใกล้จะตาย แน่นอนบุตรทั้งสองกำลังจะขึ้นมาทำหน้าที่แทนบรรดา ผู้ชอบธรรมทั้งหลาย แค่คิดก็คงจะหวาดหวั่น ในท่ามกลางความมืดมิดของอิสราเอลนี้ เด็กชายตัวน้อยกำลังเจริญเติบโตขึ้น ในสายพระเนตร วาระแห่งการพิพากษาบุตรทั้ง สองของเอลีกำลังจะมาถึง ; พระองค์ตรัสว่าพวกเขาต้องถูกประหาร (ข้อ 25) ไม่มีใคร นับถือพวกเขาอยู่แล้ว แต่ยังมีซามูเอล หนุ่มน้อยผู้เป็นที่โปรดปรานของทั้งพระเจ้าและ มนุษย์ — เพียงแต่มนุษย์ไม่รู้ว่าอนาคตของหนุ่มผู้นี้จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อพวกเขา และต่อชนชาติอิสราเอล ในช่วงเวลาแห่งความมืดมิดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล และดูเหมือนทุกสิ่งกำลังจะพังทลายลงนี้เอง พระเจ้ากำลังสร้างผู้รับใช้คนใหม่ขึ้นมา เป็นผู้ ที่จะมาปรนนิบัติทั้งพระองค์และมนุษย์อย่างสัตย์ซื่อ ก็คือซามูเอลผู้นี้ ในขณะ ที่บุตรทั้งสองของเอลีกำลังจะถูกกำจัดออกไป ซามูเอลก็จำเริญขึ้น

ประโยคนี้ฟังดูคุ้นหูนะครับ เราจำได้ว่าท่านลูกาใช้ถ้อยคำเดียวกันนี้เมื่อพูดถึง เยซูชาว นาซาเร็ธ ในระหว่างที่พระองค์เติบโตขึ้น :

52 พระเยซูก็ได้จำเริญขึ้นในด้านสติปัญญา ในด้านร่างกาย และเป็นที่ชอบจำเพาะพระเจ้า และต่อหน้าคนทั้งปวงด้วย
(ลูกา 2:52)

เหตุใดจึงใช้คำพูดที่เหมือนกัน ? ทำไมลูกาจึงนำคำพูดเดียวกับที่ผู้เขียนพระธรรม 1 ซามูเอลมาใช้เมื่อพูดถึงการจำเริญขึ้นในวัยเด็กของซามูเอล ? ช่วงเวลาที่พระเยซู ประสูตินั้นนับเป็นเวลาแห่งความมืดมิดในประวัติศาสตร์อิสราเอลเช่นกัน ระบบทาง ศาสนาผิดเพี้ยนไปจากพระวจนะคำเหมือนกับในสมัยของซามูเอล และขณะที่ทุก สิ่งในอิสราเอลเหมือนอยู่ในจุดเยือกแข็ง มีเด็กผู้หนึ่งจำเริญขึ้น แต่ไม่มีผู้ใดในชาติ ให้ความสนใจหรือสังเกตุเห็น เด็กผู้นี้เป็นพระเมสซิยาห์ เป็นผู้ที่จะมาช่วยกอบกู้ ประชากรให้พ้นจากทาสของความบาป และวันหนึ่งจะท่านได้นั่งบนบัลลังก์ของดาวิด บรรพบุรุษของท่าน และ เช่นเดียวกับซามูเอล เป็นดังแม่แบบของปุโรหิตในการช่วย ประชากรของพระเจ้าให้หลุดพ้นจากความบาปผิด

บุรุษนิรนามของพระเจ้ามา"เยี่ยมเยียน"
(2:27-36)

27 ครั้งนั้นมีบุรุษของพระเจ้ามาหาเอลี กล่าวแก่ ท่านว่า "พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'เราได้เผยเราเองให้ แจ้งแก่พงศ์พันธุ์บิดาเจ้า เมื่อเขาทั้งหลายอยู่ใน อียิปต์ใต้บังคับพงศ์พันธุ์ของฟาโรห์ 28 และเราได้ เลือกเขาออกจากเผ่าอิสราเอลทั้งหมด ให้เป็น ปุโรหิตของเราเพื่อจะขึ้นไปที่แท่นบูชาของเรา เพื่อเผาเครื่องบูชาเพื่อใช้เอโฟดต่อหน้าเรา และ เราได้มอบของที่บูชาด้วยไฟ ซึ่งคนอิสราเอลนำ มาถวายนั้นแก่พงศ์พันธุ์บิดาของเจ้า 29 เหตุใด เจ้าจึงเหยียบย่ำเครื่องสัตวบูชาของเรา และของ ที่เขาถวายตามบัญชาของเรา และให้เกียรติแก่บุตร ทั้งสองของเจ้าเหนือเรา และกระทำให้ตัวของเจ้า ทั้งหลายอ้วนพี ด้วยส่วนที่ดีที่สุดจากของถวายทุก รายจากอิสราเอลชนชาติของเรา' 30 เพราะฉะนั้น พระเยโฮวาห์ พระเจ้าของอิสราเอลจึงตรัสว่า 'เรา พูดจริงๆว่าพงศ์พันธุ์ของเจ้าและพงศ์พันธุ์ บิดาของ เจ้าจะเข้าออกต่อหน้าเราอยู่เป็นนิตย์' แต่บัดนี้พระ เจ้าทรงประกาศว่า 'ขอให้การนั้นห่างไกลจากเรา เพราะว่าผู้ที่ให้เกียรติแก่เรา เราจะให้เกียรติและ บรรดาผู้ที่ดูหมิ่นเรา ผู้นั้นจะถูกดูหมิ่น 31 ดูเถิด วาระนั้นจะมาถึงอยู่แล้ว เมื่อเราจะตัดแขนของเจ้า ออกและตัดแขนของพงศ์พันธุ์บิดาของเจ้าออก เพื่อจะไม่มีคนชราในพงศ์พันธุ์ของเจ้า 32 แล้วด้วย สายตาริษยาและด้วยความทุกข์ร้อน เจ้าจะมองดู ความมั่งคั่งซึ่งเราจะพอกพูนให้อิสราเอล และจะ ไม่มีคนชราในพงศ์พันธุ์ของเจ้าเป็นนิตย์ 33 ค ของ เจ้าซึ่งเรามิได้ตัดขาดเสียจากแท่น บูชาของเรานั้น เราจะไว้ชีวิตเพื่อให้ร้องไห้จนตาถลน และให้เจ้ามี จิตใจเศร้าโศกและผลอันเพิ่มพูนในพงศ์พันธุ์ของเจ้า จะตายเสียเมื่อวัยฉกรรจ์ 34 และสิ่งนี้จะเป็นหมาย สำคัญแก่เจ้า ซึ่งจะบังเกิดแก่บุตรทั้งสองของเจ้า คือโฮฟนีและฟีเนหัส ทั้งสองจะสิ้นชีวิตในวันเดียว 35 และเราจะให้ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์ของเราเกิดขึ้นมา ซึ่งจะกระทำตามสิ่งที่มีอยู่ในจิตในใจของเรา และ ราจะสร้างพงศ์พันธุ์มั่นคงให้เขา และเขาจะดำเนิน อยู่ต่อหน้าผู้ที่เราเจิมไว้เป็นนิตย์ 36 และทุกคนที่ยัง เหลืออยู่ในพงศ์พันธุ์ของเจ้าจะมากราบไหว้เขา ขอ เงินเหรียญหนึ่งและขนมปังก้อนหนึ่ง และจะกล่าวว่า "ขอท่านกรุณาตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งปุโรหิตสักที หนึ่งเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้รับประทานอาหารสักหน่อยหนึ่ง"

มีข้อยกเว้นบางประการ สำหรับคำว่า "บุรุษของพระเจ้า" ซึ่งหมายถึงผู้เผยพระวจนะ7 ในในสมัยนั้น "พระดำรัสของพระเจ้ามีมาแต่น้อย" (1 ซามูเอล 3:1) จึงนับเป็นเรื่อง ใหญ่ที่ผู้เผยพระวจนะมาถ่ายทอดถ้อยคำของพระเจ้าอย่างเจาะจง ตามเนื้อเรื่อง ผู้เผย พระวจนะนิรนามท่านนี้มาจากที่ใดไม่มีใครทราบ มาเพื่อกล่าวตำหนิเอลีในความล้ม เหลว – และแน่นอน ในสิ่งที่ท่านปฏิเสธที่จะทำ – คือจัดการกับความผิดของบุตรให้ เด็ดขาด ในข้อ 27-29 ผู้เผยพระวจนะกล่าวถึงหน้าที่ปุโรหิตตามที่ถูกแต่งตั้งให้ทำเมื่อ ในอดีต ท่านพูดถึงสมัยที่อาโรนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตในช่วงเวลาอพยพ และ ต่อมาในข้อ 30-34 ท่านพูดถึงอนาคต ทำนายถึงการลงโทษที่พระเจ้าจะให้เกิดขึ้นต่อ เอลีและพงษ์พันธ์ของเขา ในข้อ 35 และ 36 ทำนายถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้และไกล ไปจนถึงเมื่อพระเจ้าจะทรงแต่งตั้งพงษ์พันธ์ใหม่ให้ขึ้นมารับใช้ในฐานะ ปุโรหิต? ให้เรามาดูเรื่องสำคัญสามประการที่ผู้เผยพระวจนะท่านนี้ถ่ายทอดไว้

ผมเคยคิดว่าสักวันจะเขียนหนังสือเรื่อง "คิดแบบพระคัมภีร์" พระวจนะคำมีมุมมองให้ ใคร่ครวญได้หลายมุม ; มุมมองหนึ่งที่ผมขอเรียกว่า "คิดแบบต้นฉบับ" การคิดแบบต้น ฉบับคือการเริ่มจากจากต้นเหตุ และสาเหตุที่ต่อเนื่องกันมา ตัวอย่างเช่น เมื่อพวกฟาริสี มาทดสอบพระเยซูในเรื่องการหย่าร้าง พวกเขาถามว่า "ผู้ชายจะหย่าภรรยาของตน เพราะเหตุใดๆก็ตาม เป็นการถูกต้องตามธรรมบัญญัติหรือไม่ ?" (มัทธิว 19:3) บางคนคิดว่าผู้ชายสามารถหย่าภรรยาด้วยเหตุผลใดๆก็ได้ คนอื่นๆอาจจะเจาะจงเหตุ ผลลงไป แต่คนที่ได้ยินคำตอบอันหนักแน่นของพระเยซูในวันนั้นคงช็อคไปตามๆกัน ผมขอนำวิธีที่พระองค์ทรงตอบมาพูดถึง :

4 พระองค์ตรัสตอบเขาว่า "พวกท่าน ไม่ได้อ่านหรือว่า พระผู้ทรงสร้างมนุษย์
แต่เดิม ได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง
5 และตรัสว่า เพราะเหตุนั้น บุรุษจึงต้อง ละบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้ออันเดียวกัน 6 เขา จึงไม่เป็นสองต่อไป แต่เป็นเนื้ออันเดียวกัน เหตุฉะนั้นซึ่งพระเจ้าได้ทรงผูกพันกันแล้ว อย่าให้ มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย"
(มัทธิว 19:4-6)

พวกฟาริสีอ้างเหตุผลในบริบทโดยยึดตามขนบธรรมเนียม ตามประเพณีที่นิยมในสมัย นั้น พระเยซูทรงท้าทายให้พวกเขากลับไปคิดใคร่ครวญตามแบบ "ต้นฉบับ" คือแต่แรก เริ่ม เมื่อพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์ พระองค์ทรงสถาปนาสถาบันครอบครัวไว้ด้วย พระองค์ทรงถามฝ่ายตรงข้ามว่า "การแต่งงานเมื่อเริ่มแรกสถาปนานั้น มีความหมาย อย่างไร ?" พระเจ้าทรงพระประสงค์ให้สถาบันครอบครัวที่พระองค์จัดตั้งขึ้นเป็นไปแบบ ใด ? พระเจ้าต้องการให้ชายและหญิงผูกพันกันไว้และไม่มีการพรากจากกันจนกว่าความ ตายมาถึง "ผู้ชายจะหย่าภรรยาของตน เพราะเหตุใดๆก็ตาม เป็นการถูกต้องตามธรรม บัญญัติหรือไม่ ?" คำตอบของพระเยซูทำให้เราต้องสรุปตามแบบต้นฉบับเดิมว่า "พระ เจ้าไม่ทรงมีพระประสงค์ให้ชายใดหย่าจากภรรยาของตน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม"

โดยทางผู้เผยพระวจนะนิรนามท่านนี้ พระเจ้าทรงท้าทายเอลี (และผู้อ่าน) ให้กลับไป ลองคิดตามแบบต้นฉบับเดิม ปัญหาของเอลี และปัญหาของบุตรเป็นปัญหาเกี่ยวกับการ เป็นปุโรหิต จะแก้ปัญหานี้ได้ต้องมีปุโรหิตใหม่ (ซามูเอล) และพงศ์พันธ์ใหม่ (หรือ ราชวงศ์) ของปุโรหิต "ดังนั้น" ผู้เผยพระวจนะท่านนี้กำลังท้าทายผู้อ่านให้ "กลับไปคิด ถึงการจัดตั้งปุโรหิตในครั้งแรก" มีการจัดตั้งปุโรหิตครั้งแรกในสมัยที่ชาวอิสราเอลยังตก เป็นทาสอยู่ในอียิปต์ ที่นั่นพระเจ้าทรงเจิมตั้งอาโรนให้เป็นปุโรหิตของพระองค์

ที่นั่นมีการแต่งตั้งอาโรนและ "พงศ์พันธ์"8 ของท่านขึ้น มีการใช้คำว่า "พงศ์พันธ์" หลายครั้งเพราะเหตุผลว่า พระเจ้าไม่ได้เพียงแต่งตั้งให้อาโรนเป็นปุโรหิตเท่านั้น แต่ ทรงแต่งตั้งลูกหลานที่สืบวงศ์ตระกูลต่อๆไปด้วย คือ "พงศ์พันธ์" อาโรน เหตุใดเอลี ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกถึงความบาปของบุตรในฐานะเป็นปุโรหิต จึงไม่ใส่ใจที่จะดูแลจัดการต่อ "พงศ์พันธ์ ของท่าน ? ตำแหน่งปุโรหิตไม่ใช่เป็นเรื่องส่วนตัวภายในครอบครัว แต่ เป็นเรื่องของ "พงศ์พันธ์" และ "พงศ์พันธ์" ของเอลีก็กำลังจะป่นปี้ลง แต่ท่านไม่ คิดที่จะหาทางยับยั้งเรื่องนี้ ตามธรรมบัญญัติของโมเสส ปุโรหิตเป็นเรื่องของ "พงศ์ พันธ์" ซึ่งเกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้องกับทุกคนในตระกูลนั้น (ดูเลวีนิติ 21:1-9) พระเจ้า ทรงแต่งตั้ง "พงศ์พันธ์" ให้กับอาโรนและบุตรหลานของท่าน และเอลีก็เป็นผู้หนึ่งที่สืบ เชื้อสายมาจากพงศ์พันธ์นี้ ท่านมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกอบกู้ "พงศ์พันธ์" ของท่านเอาไว้

สรรพนามที่ใช้ในข้อ 27-29 แทบทั้งหมดหมายถึงพระเจ้า มีการเอ่ยถึงในข้อ 27 และ 28 สามครั้ง พระองค์ตรัสผ่านผู้เผยพระวจนะว่า "เราได้ … " พระเจ้าทรงเผย พระองค์กับอาโรน พระองค์ทรงเลือกอาโรน แต่งตั้งท่านและวงศ์ตระกูลของท่านให้ทำ หน้าที่ปรนนิบัติเป็นปุโรหิต พระองค์ทรงจัดเตรียม "ส่วน" จากของที่นำมาถวายบูชา เพื่อเลี้ยงดูท่าน การคิดแบบต้นฉบับทำให้เราต้องสรุปว่า ปุโรหิตนั้นเป็น "ของพระเจ้า" พระเจ้าเป็นผู้สร้าง เป็นผู้สถาปนา และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ดังนั้นพระองค์จึง ตรัสว่า "เครืองสัตวบูชาของเรา" "ของถวายบูชาของเรา" "แท่นบูชาของเรา" "ชนชาติของเรา" สรุปคือ "เกียรติของเรา" เกียรติที่ปุโรหิตมีหน้าที่ทุกทางที่จะต้อง มอบถวายแด่พระองค์

    และตรงนี้เองที่อาโรนทำผิด เอลีให้เกียรติบุตรของตนมากกว่าให้กับพระเจ้า (ข้อ 29) ดูเหมือน อาโรนกลัวที่จะเผชิญหน้ากับบุตรเพื่อจัดการให้เด็ดขาด ท่านกลัวว่าบุตรจะไม่รัก หรือ พาล เกลียดไปเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรประเภทนี้ท่านอาจถูกฆ่าตายก็ได้ เอลีจึงกลัวบุตรมาก กว่ากลัวพระเจ้า ท่านต้องการการยอมรับและความรักจากบุตรมากกว่าต้องการจากพระเจ้า .... เรื่องเช่นนี้เกิด ขึ้นได้อย่างไร ? ข้อ 29 บอกถึงสาเหตุที่ เอลีปิดปากเงียบและไม่คิดจะจัดการ กับความบาปของบุตร พระเจ้าตรัสว่า " เหตุใดเจ้าจึง เหยียบย่ำเครื่องสัตวบูชาของเรา และของที่เขาถวายตาม บัญชาของเรา และให้เกียรติ แก่บุตรทั้งสองของเจ้าเหนือเรา และกระทำให้ตัวของเจ้า ทั้งหลายอ้วนพี ด้วยส่วนที่ดีที่สุดจากของถวายทุกราย จาก อิสราเอลชนชาติของเรา' (ข้อ 29)

ในแง่ของวิชาการผมอาจไม่ถูกต้องนัก แต่ผมเชื่อว่าผมพอจะตีความที่พระเจ้าตรัสกับ เอลีทางผู้เผยพระวจนะได้ ไม่ได้หมายความว่าผมใจร้าย แต่เอลีเป็นคนอ้วนมาก (ดู 4:18) ผมไม่ได้บอกว่าคนอ้วนเป็นคนไม่ดีนะครับ (ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย) แต่ดู เหมือนพระเจ้าตรัสกับเอลีว่า "ลองดูที่ร่างกายท่านสิ เอลี ท่านเป็นปุโรหิตที่อ้วนมาก ทำไมท่านจึงอ้วนล่ะ ? ลองคิดดูสิว่าเป็นเพราะเหตุใด ? ท่านและบุตรของท่านอ้วนได้ ก็เพราะกินเนื้อเข้าไปมาก และเป็นเนื้อที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องในฐานะปุโรหิตด้วย"

เนื้อเรื่องบอกเราว่า เอลีได้ยินเรื่องราว "ทั้งสิ้น" ที่บุตรของท่านกระทำต่อคนอิสราเอล ดังนั้นเอลีต้องรู้ว่าเนื้อเหล่านั้นได้มาโดยวิธีใด ท่านรู้เรื่องการทำผิดศีลธรรมด้วย ในเนื้อ เรื่อง เอลีกล่าวตำหนิบุตรเรื่องการทำผิดทางเพศ แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องเนื้อถวายบูชา เอลี อาจจะแก่และหลงๆลืมๆไปบ้าง แต่ผมเชื่อว่าท่านยังคงแยกแยะออกระหว่างเนื้อย่างและ เนื้อต้ม และผมแน่ใจว่าท่าคงแยกแยะออกระหว่างเนื้อสันนอกกับสันใน เอลีอาจไม่ เปิดปากพูดถึงวิธีที่บุตรนำเนื้อมา เพราะท่านเองก็มีส่วนในการรับประทานเนื้อนั้นด้วย ท่านเองมีส่วนได้จากความผิดบาปของลูก ดังนั้นแทนที่จะโวยวายจัดการ ท่านกับนิ่ง เฉย พระเจ้าเตือนเอลีว่าผลประโยชน์ที่ท่านได้จากการเป็นปุโรหิตมาจาดพระองค์ ทั้งสิ้น — ไม่ใช่มาจากบุตร ดังนั้นเอลีจึงควรถวายเกียรติแด่พระเจ้าไม่ใช่มัวแต่ปกป้อง เกียรติยศของบุตร (บุตรแห่งความชั่ว) ด้วยการลงวินัยบุตรต่อการบาปทั้งสิ้นของพวก เขา เอลีเคยตำหนินางฮันนาห์เพราะเข้าใจว่านางดื่มจนเมามาย แต่ท่านกลับไม่สามารถ กล่าวตำหนิบุตรของท่านเองในบาปที่ขโมยเนื้อถวายบูชา เอลีไม่อยากล้มเลิกกรรมวิธี เดิม เพราะเป็นกรรมวิธีที่ทำให้ท่านสุขสมบูรณ์จนอ้วน

บาปของเอลีถูกเปิดโปงอย่างชัดเจน พระพรในการเป็นปุโรหิตทั้งสิ้นนั้นมาจากพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าคือผู้ดียวที่เอลีต้องถวายพระเกียรติ บุตรของเอลีต้องถูกลงโทษ แต่เป็น เพราะท่านยังเสวยสุขอยู่บนความบาปของบุตรทั้งสอง — และสิ่งใดที่ท่านกลัวท่านต้อง ประสพ — เอลีไม่ยอมจัดการกับความบาปของบุตรอย่างที่ท่านควร ดังนั้นการพิพากษา ไม่เพียงแต่ตกอยู่เหนือเอลีเท่านั้น แต่ตกอยู่กับทั้ง "พงศ์พันธ์" ด้วย การพิพากษาลง โทษทั้งหมดระบุอยู่ในข้อ 30-34:

30 เพราะฉะนั้นพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของ อิสราเอลจึงตรัสว่า 'เราพูดจริงๆว่าพงศ์พันธุ์ ของเจ้าและพงศ์พันธุ์บิดาของเจ้าจะเข้าออก ต่อหน้าเราอยู่เป็นนิตย์' แต่บัดนี้พระเจ้าทรง ประกาศว่า 'ขอให้การนั้นห่างไกลจากเรา เพราะว่าผู้ที่ให้เกียรติแก่เรา เราจะให้เกียรติ และบรรดาผู้ที่ดูหมิ่นเรา ผู้นั้นจะถูกดูหมิ่น 9"
(1 ซามูเอล 2:30).

พระเจ้ากำลังจะยกเลิกพระสัญญาหรือ ? เปล่าเลย อย่าลืมว่าพระสัญญาของพระเจ้านั้น ฝ่ายเอลีและบุตรเป็นผู้ที่ทำผิดต่อสัญญา ในกรณีนี้พระเจ้าเป็นผู้รักษาพระสัญญา ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจว่าพระเจ้าไม่ได้ตัดระบบปุโรหิตไปจากพงศ์พันธ์ ของเอลีทั้งหมด พระองค์ตรัสว่า บางคนใน "พงศ์พันธ์" นี้จะตาย โดยเฉพาะโฮฟนี และฟีเนหัสจะตายภายในวันเดียวกัน (ข้อ 34) แต่พระเจ้าไม่ได้ตัดทุกคนในวงศ์ตระกูล ออกไป :

33 คนของเจ้าซึ่งเรามิได้ตัดขาดเสียจากแท่นบูชา ของเรานั้น เราจะไว้ชีวิตเพื่อให้ร้องไห้จนตาถลน และให้เจ้ามีจิตใจเศร้าโศกและผลอันเพิ่มพูนในพงศ์ พันธุ์ของเจ้าจะตายเสียเมื่อวัยฉกรรจ์"
(ข้อ 33)

เอลีและบุตรได้กระทำให้ตนเองอ้วนพีด้วยของถวายบูชาหรือไม่ ? พวกเขาเลือกกินแต่ เนื้อชั้นดีหรือไม่ ? สิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป :

"'และทุกคนที่ยังเหลืออยู่ในพงศ์พันธุ์ของเจ้าจะมา กราบไหว้เขา ขอเงินเหรียญหนึ่งและขนมปังก้อนหนึ่ง และจะกล่าวว่า ขอท่านกรุณาตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่ง ปุโรหิตสักทีหนึ่งเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้รับประทาน อาหารสักหน่อยหนึ่ง"
(ข้อ 36).

พระเจ้ากำลังทำให้ "พงศ์พันธ์" ของเอลีตกต่ำลง แต่บางคนยังอยู่ในหน้าที่ปุโรหิต ต่อไป พระเจ้าจะบั่นทอน "กำลัง" และกระทำให้พวกเขา "สิ้นเรี่ยวแรง" (ข้อ 31) คงจะไม่เป็นภาพที่สวยงามนัก แต่ทุกคนจะเห็นว่าพระเจ้าไม่ยอมให้ปุโรหิตของ พระองค์เป็นมลทิน

ข้อ 30-34 การพิพากษาของพระเจ้ากำลังจะมาถึงเอลีและบุตร "พงศ์พันธ์" ของเอลี ในข้อ 35 และ 36 พูดถึงพระพรของพระเจ้าที่จะมีมาถึง "ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์" ที่พระเจ้า กำลังสร้างขึ้นใหม่ และสร้างพงศ์พันธ์ให้ "มั่นคง่" (ข้อ 35) และถ้า "พงศ์พันธ์" ของ เอลีจะได้รับพระพร ต้องมาจากการกราบไหว้ "ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์นี้" (ข้อ 36)

ทำให้เกิดคำถามตามมาสองประการ: ใครคือ "ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์" และ อะไรคือ "พงศ์พันธ์ที่มั่นคง" ของปุโรหิตนี้ ? คำพูดในข้อ 35 ฟังดูเหมือนใน 2 ซามูเอล 7, มีการพูดถึงใน "พันธสัญญาของดาวิด" :

10 "และเราจะกำหนดที่หนึ่งให้อิสราเอลประชากร ของเรา และเราจะปลูกฝังเขาไว้เพื่อเขาทั้งหลายจะ ได้อยู่ในที่ของเขาเองและไม่ต้องถูกกวนใจอีก และ คนชั่วจะไม่ข่มเหงเขาอีกดังแต่ก่อนมา 11 ตั้งแต่สมัย เมื่อเราตั้งผู้วินิจฉัยเหนืออิสราเอล ประชากรของเรา และเราจะให้เจ้าพ้นจากการรบศึกรอบด้าน ยิ่งกว่านั้นอีก พระเจ้าตรัสแก่เจ้าว่า พระเจ้าจะทรงให้เจ้ามีราชวงศ์ 12 เมื่อวันของเจ้าครบแล้ว และเจ้านอนพักอยู่กับบรรพ บุรุษของเจ้า เราจะให้บุตรชายคนหนึ่งของเจ้าเกิดขึ้นสืบ ต่อจากเจ้าผู้ซึ่งเกิดมาจากตัวเจ้าเองและ เราจะสถาปนา อาณาจักรของเขา 13 เขาจะเป็นผู้สร้างนิเวศเพื่อนามของ เราและเราจะสถาปนา บัลลังก์แห่งราชอาณาจักรของเขา ให้อยู่เป็นนิตย์ 14 เราจะเป็นบิดาของเขา และเขาจะเป็น บุตรของเรา ถ้าเขากระทำผิดเราจะตีสอนเขาด้วยไม้เรียว ของมนุษย์ ด้วยการเฆี่ยนแห่งบุตรมนุษย์ทั้งหลาย 15 แต่ความรักมั่นคงของเราจะไม่พรากไปจากเขาเสีย ดังที่เราพรากไปจากซาอูล ซึ่งเราได้ถอดเสียให้พ้นหน้า เจ้า 16 ราชวงศ์ของเจ้าและอาณาจักรของเจ้าจะดำรง อยู่ต่อหน้าเจ้าอย่างมั่นคงเป็นนิตย์ และบัลลังก์ของเจ้า จะถูกสถาปนาไว้เป็นนิตย์'" 17 นาธันก็กราบทูลดาวิดตาม ถ้อย คำเหล่านี้ทั้งสิ้น และตามนิมิตนี้ทั้งหมด
(2 Samuel 7:10-17)

"พงศ์พันธ์" ของเอลีนั้นคล้ายกับ "พงศ์พันธ์" ของกษัตริย์ซาอูล ยกเว้นแต่พงศ์พันธ์ ของเอลีเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ พงศ์พันธ์ของซาอูลถูกตัดออกจากการเป็นกษัตริย์ ในขณะ ทีคนที่เหลือต้องดิ้นรนเป็นปุโรหิตต่อ ด้วยการยอมกราบไหว้ปุโรหิตที่เหนือกว่า ใครคือ ปุโรหิตที่เหนือกว่า ? และเหตุใดพระเจ้าจึงสัญญาว่าพงศ์พันธ์ของเขาจะ "ดำรงอยู่เป็น นิตย์" ?

คำตอบนั้นเจาะลึกลงไปสองชั้น ผมเชื่อว่ามีพระสัญญาที่จะสำเร็จไปในเวลาอันใกล้ และใกลออกไป เป็นพระสัญญาชั่วนิรันดร์ที่พระเจ้าตรัสไว้ในตอนนี้ แรกสุด พระเจ้า จะจัดเตรียมจาก "พงศ์พันธ์" ที่ดีกว่าเอลีและบุตรแก่ประชากรของพระองค์ และกำ ลังจะเกิดขึ้นอีกไม่ช้าในอิสราเอล (จากมุมมองของเอลี) แรกเมื่อแต่งตั้งตระกูลของ อาโรนให้เป็นปุโรหิตตามกฎหมายเลวีนิติ ตระกูลเลวีจะสืบอำนาจต่อ (ดูอพยพ2:1.) เมื่ออาโรนได้รับแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิต บุตรทั้งสองของท่าน นาดับและอาบีฮูปรนนิบัติ รับใช้เป็นผู้ช่วย เมื่อทั้งสองถูกประหารเพราะนำ "ไฟต้องห้าม" มาใช้เผาบูชา บุตร สองคนต่อมาของอาโรน เอลีอาซาร์และอิทามาร์จึงถูกเลือกมารับหน้าที่แทน (เลวินิติ 10) ดังนั้นการสืบทอดปุโรหิตจึงมาจากสายของสองพี่น้องคู่นี้เอลีอาซาร์และอิทามาร์ เดิมที ตำแหน่งมหาปุโรหิตสืบทอดมาจากเอลีอาซาร์ แต่เอลีในฐานะมหาปุโรหิตกลับ เป็นผู้สืบสายมาจากตระกูลของอิทามาร์ ดังนั้นคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะนิรนาม จึงเริ่มเป็นจริงเมื่อซามูเอลมาเป็นปุโรหิตในที่ทำการของเอลี ต่อมา ในสมัยที่ดาวิดเป็น กษัตริย์ปกครอง ศาโดกผู้เป็นพงศ์พันธ์ของเอลีอาซาร์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นมหา ปุโรหิต (1 พงษ์กษัตริย์ 1:7-8; 1พงศาวดาร 16:4-40) ในยุคพันปี "บุตรในตระกูลของ ศาโดก" จะได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งปุโรหิต (เอเสเคียล 44:15; 48:11).

ข้อสอง ผมเชื่อว่าจุดสูงสุดในคำพยากรณ์นี้คือองค์พระเยซูคริสต์ของเรา เช่นเดียวกับ จุดสูงสุดในพันธสัญญาที่มีต่อดาวิดคือองค์พระเยซูคริสต์ เราจะเห็นว่าในประวัติศาสตร์ ของอิสราเอล ไม่มีกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์คนใดสมควรกับอาณาจักรนิรันดร์ของพระเจ้า ผู้ ปกครองอย่างไม่มีสิ้นสุด ไม่มีผู้ใดสมควร — แม้กระทั้งดาวิด หรือโซโลมอน หรือผู้ใด ก็ตาม ยกเว้น "กษัตริย์ของชาวยิว" องค์พระเยซูคริสต์ของเรา ผู้ที่จะมา "นั่งบน บัลลังก์ของบรรพบุรุษของท่าน ดาวิด" พระองค์ทรงเป็นคำพยากรณ์ที่เป็นจริงและ สมบูรณ์แบบของพันธสัญญาของดาวิด ดังนั้นพระเยซูจึงเป็นคำตอบของคำพยากรณ์ เรื่องปุโรหิตตามบทเรียนที่เรากำลังเรียนอยู่นี้ ไม่มีปุโรหิตคนใดในประวัติศาสตร์ของ อิสราเอลที่สมควรจะรับตำแหน่งชั่งนิรันดร์ — ที่แน่ๆคือไม่ใช่เอลี และที่แน่ๆก็ไม่ใช่ ซามูเอล ในขณะที่พระเจ้ากำลังจะมอบปุโรหิตที่ดีกว่าเอลีและบุตรให้กับคนอิสราเอล ในอนาคตพระองค์จะทรงมอบปุโรหิตที่สมบูรณ์สูงสุด คือองค์พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็น ทั้ง ผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิตสูงสุด และกษัตริย์ ให้กับประชากรของพระองค์

บทสรุป

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นบท เนื้อหาตอนนี้จะเกี่ยวกับการเลี้ยงงดูบุตร หรือพูดอย่างตรงๆ คือ การที่พ่อแม่จะจัดการกับลูกที่โตแล้ว และกบฎไม่เชื่อฟังพระเจ้าอย่างไร ดูเหมือน ง่ายที่จะพูดว่าเอลีจัดการกับปัญหาเรื่องลูกได้ไม่ดีเพราะไม่ได้กำหราบมาตั้งแต่ยังเป็น เด็ก แต่เป็นไปได้เสมอที่ลูกบางคนเติบโตมาในครอบครัวที่รักพระเจ้า อาจกลายเป็น แบบเดียวกันกับลูกของเอลีก็ได้ ประเด็นคือเอลีล้มเหลวในการจัดการกับลูกให้ถูกต้อง ในฐานะที่เป็นปุโรหิต และในฐานะที่เป็น ผู้วินิจฉัยชนชาติอิสราเอล เอลีควรจัดการกับ ลูกด้วยวิธีเดียวกับปุโรหิตที่ทำผิดบาปทางเพศ หรือที่ไม่ถวายเกียรติพระเจ้า หรือเ็ป็น ปุโรหิตที่ทำตัวมีมลทินและไม่ยอมฟังคำตักเตือน เอลีล้มเหลวในเรื่องนี้เพราะผู้ทำผิด เป็นบุตรของท่านเอง จึงทำให้มองข้ามข้อเท็จจริงอื่นๆไปหมด ให้เรามาดูว่าเอลีล้ม เหลวอย่างไรในการเลี้ยงดูอบรมบุตร

(1) เอลีล้มเหลวในการอบรมบุตรถึงพระบัญญัติของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในการเป็นปุโรหิต

(2) เอลีดูเหมือนจะ"หูหนาตาบอด" ต่อเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ภายใต้จมูกของ ท่าน – ความบาปที่ท่านได้ยินจากประชาชนอิสราเอลทั้งหลาย เป็นความบาป ที่เกิดขึ้นในเรือน ในที่ทำการของท่านที่ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ เกือบเป็นไปไม่ได้ ที่ท่านจะไม่สังเกตุเห็น แต่บางทีผมก็เคยมองดูพ่อแม่บางคนเห็นชัดๆว่าลูกของตน กำลังทำตัวไม่น่ารักต่อหน้าต่อตา แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสีย ผมหวั่นว่าพวกเราอาจ ทำเป็นเมินไม่มองในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากเห็น เอลีก็เท่ากับตาบอด แต่ท่านไม่ได้หู หนวก ท่านต้องรู้แนๆว่าเกิดอะไรขึ้น นอกเสียจากว่าท่านไม่อยากจะรับรู้

(3) เอลีปล่อยให้เนิ่นนานจนเกินควรที่จะไปแก้ใขความบาปของบุตร ถึงแม้ คนอิสราเอลแจ้งท่านถึงความบาปของบุตร ท่านไม่ได้คิดจะทำสิ่งใด คำเตือนที่ไร้น้ำ หนักและขาดความเชื่อถือดูจะน้อยและสายเกินแก้ ทุกคนเห็นภาพชัดเจนว่าความบาป นี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ทั้งๆที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรก และสมควรถูก "ไม้เรียวขนาบ" ไปนานแล้ว ดังนั้นการเป็นพ่อแม่ กับการปล่อยเลยตามเลยจึงไม่ สามารถนำมาปะปนกันได้

(4) เอลีไม่ได้พยายามจนถึงที่สุดที่จะแก้ใขความประพฤติของบุตร — หรือ อย่างน้อยต่อต้านการกระทำชั่วของพวกเขา การไม่รู้ว่าบุตรตัวเองทำอะไรเป็น คนละเรื่องกับการที่ไม่รู้ว่าความผิดของบุตรนั้นร้ายแรงเพียงใด แต่จากคำพูดของเอลี เอง ดูเหมือนท่านรู้ว่าความบาปผิดของบุตรนั้นรุนแรง เอลีรู้ดีว่าการกระทำของบุตรนั้น ผิดบาปมหันต์ และเป็นความบาปต่อพระเจ้าด้วย แต่เมื่อบุตรไม่ยอมฟังคำตักเตือน ท่านล้มเลิกความตั้งใจโดยไม่ลองหาวิธีอื่นมาแก้ใข ท่านน่าจะ หรือควรจะ เอาหินขว้าง บุตรให้ตาย ท่านน่าจะปลดเขาออกจากตำแหน่งปุโรหิต แต่ท่านไม่ได้ทำสิ่งใดนอกจาก ตักเตือนด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว

ผมเห็นพ่อแม่หลายคู่ในทุกวันนี้ มีแต่่ยืนเอามือประสานกันไว้เฉยๆ เมื่อดุแล้วลูกไม่เชื่อ ฟัง พอๆกันกับเอลี ลูกๆไมไ่ด้สูงถึง 6' 5" หรือหนักประมาณ 250 ปอนด์ และเต็มไป ด้วยมัดกล้ามสักหน่อย ส่วนมากอายุก็แค่ 4-5 ขวบ และผู้ใหญ่มีทางออกตั้งหลายทาง แต่ พอดุไปทีแล้วเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง ก็เห็นพ่อแม่ทำได้แค่ยักไหล่ ทำทีเหมือนว่า "ก็จะ ให้ทำยังไงได้ ?" จะให้ผมบอกกรรมวิธีให้หรือครับ? ลองอ่านสุภาษิตดู แล้วบางทีคุณ อาจนึกออก

(5) เอลีไม่อยากจะใช้อำนาจที่ตนเองมีอยู่จัดการกับบุตร — เพราะไม่อยาก สูญเสียความรู้สึกส่วนตัวไป ยอมรับเถอะครับ ว่าเมื่อทั้งคุณและผมไม่สามารถจัด การกับลูกได้ ไม่ใช่เพราะเราทำอะไรไม่เป็น ไม่ใช่เพราะเราไม่รู้วิธีจัดการ แต่เป็น เพราะ เราไม่อยากเสียความรู้สึกเพื่อจะทำสิ่งที่ถูกต้อง — หรือทำสิ่งดีที่สุดสำหรับลูก ของเรา เอลีกลัวว่าจะสูญเสียสัมพันธภาพกับบุตรไป ท่านอาจกลัวจะไม่ได้รับความ เคารพถ้าเอาเรื่องนี้มาประจาน หรือท่านอาจกลัวว่าต้องกลับไปกินเนื้อรสจืดชืดที่ไม่ อร่อย เอลีไม่กล้าลงวินัยบุตรเพราะกลัวจะสูญเสียสิ่งที่พวกเขาปรนเปรอให้

(6) เอลีไม่ได้จัดการอย่างถูกต้องกับบุตร ถึงแม้จะถูกพระเจ้าตักเตือนและคาด โทษโดยผ่านทางผู้เผยพระวจนะนิรนามก็ตาม ถึงแม้ท่านรู้ดีถึงผลลัพท์ของการ ไม่เชื่อฟังและไม่ทำตามพระบัญญัติ เอลีไม่มีสิทธิอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็น ท่านรู้อยู่เต็ม อกว่าบุตรทำผิด ท่านน่าจะถูกบุรุษของพระเจ้าตำหนิมากกว่านี้ (ผู้เผยพระวจนะนิรนาม ในบทที่ 2 และซามูเอลในบทที่ 3) ถึงแม้พระเจ้าตักเตือนท่านเรื่องการไม่เชื่อฟังอย่าง ตรงๆ ท่านก็ยังไม่ยอมแก้ใข

(7) เอลีรักษาหน้าบุตรของตนมากกว่าถวายเกียรติพระเจ้า เรื่องนี้ชัดเจนที่สุด ในสายพระเนตรพระเจ้า เอลีห่วงใยสัมพันธภาพที่มีกับบุตรมากกว่ากับพระเจ้า พระเยซูคริสต์ตรัสถึงเรื่องสัมพันธภาพนี้อย่างชัดเจนว่า :

34 "อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะนำสันติภาพมาสู่โลก เรามิได้นำสันติภาพมาให้ แต่เรานำดาบมา 35 เรามาเพื่อจะให้ลูกชายหมางใจกับบิดาของตน และลูกสาวหมางใจกับมารดา และลูกสะใภ้หมาง ใจกับแม่ผัว 36 และผู้ที่อยู่ร่วมเรือนเดียวกันก็จะเป็น ศัตรูต่อกัน 37 ผู้ใดที่รักบิดามารดายิ่งกว่ารักเรา ก็ ไม่มีค่าควรกับเรา และผู้ใดรักบุตรชายหญิงยิ่งกว่า รักเรา ผู้นั้นก็ไม่มีค่าควรกับเรา 38 และผู้ใดที่ไม่รับเอา กางเขนของตนตามเราไป ผู้นั้นก็ไม่มีค่าควรกับเรา 39 ผู้ที่จะเอาชีวิตของตนรอดจะกลับเสียชีวิต แต่ผู้ที่ สู้เสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราก็จะได้ชีวิตรอด บำเหน็จ"
(มัทธิว 10:34-39).

เนื้อหาเรื่องนี้ "ใกล้ตัว" จนเรานึกไม่ถึง เราอาจคิดว่าความประพฤติของเอลีและบุตรนั้น ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคริสเตียนยุคนี้ อย่าลืมนะครับว่าเราก็เป็นปุโรหิตเหมือนกัน :

5 และท่านทั้งหลายก็เสมือนศิลาที่มีชีวิต ที่กำลังก่อขึ้นเป็นพระนิเวศฝ่ายพระวิญญาณ เป็นปุโรหิตบริสุทธิ์ เพื่อถวายสักการบูชา ฝ่ายวิญญาณ ที่ชอบพระทัยของพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์
(1เปโตร 2:5).

อย่าลืมว่าขณะที่เอลีและบุตร (รวมซามูเอลด้วย) กำลังปรนนิบัติอยู่ใน "พระนิเวศน์ ของพระเจ้า" (1 ซามูเอล 3:3) "สถานที่สถิตของพระเจ้า" (1 ซามูเอล 2:29) เรา ทั้งหลายคือ "พระนิเวศน์ของพระเจ้า" เป็น "สถานที่สถิตอยู่" ของพระองค์ และ เมื่อเราเหยียบย่ำ "สถานที่สถิตอยู่" ของพระองค์ พระองค์คงต้องจัดการเรื่องนี้อย่าง จริงจังที่สุด:

19 เหตุฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่คนต่างด้าวต่างแดนอีกต่อไป แต่ว่าเป็นพลเมืองเดียวกันกับธรรมิกชน และเป็นครอบ ครัวของพระเจ้า 20 ท่านได้ถูกประดิษฐานขึ้นบนรากแห่ง พวกอัครทูตและพวกผู้เผยพระวจนะ พระเยซูคริสต์ทรง เป็นศิลามุมเอก 21 ในพระองค์นั้นทุกส่วนของโครงร่าง ต่อกันสนิท และเจริญขึ้นเป็นวิหารอันบริสุทธิ์ในองค์พระ ผู้เป็นเจ้า 22 และในพระองค์นั้น ท่านก็กำลังจะถูกก่อ ขึ้นให้เป็นที่สถิตของพระเจ้าในฝ่ายพระวิญญาณด้วย
(เอเฟซัส 2:19-22)

16 ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าท่านเป็นวิหารของพระเจ้า และพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในท่าน 17 ถ้าผู้ใด ทำลายวิหารของพระเจ้า พระเจ้าจะทรงทำลายผู้นั้น เพราะวิหารของพระเจ้าเป็นที่บริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ และท่าน ทั้งหลายเป็นวิหารนั้น
(1 โครินธ์ 3:16-17)

ไม่น่าประหลาดใจที่ความประพฤติของคริสเตียนในเมืองโครินธ์ (ดู 1 โครินธ์ 5 และ 6) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสตจักร (ดู 1 โครินธ์ 11:17) จึงถูกพระเจ้าจัดการอย่างเอาจริง เอาจัง

เราเองก็เช่นเดียวกับเอลี ต้องอบรมเลี้ยงดูลูก "ตามคำสั่งและวิธีการของพระเจ้า" (เอเฟซัส 6:4) เราไม่เพียงแต่อบรมตักเตือนด้วยคำพูดเท่านั้น เราต้องแก้ใขด้วย ซึ่งรวม ถึงการใช้ "ไม้เรียว" ในสุภาษิต อย่าหลงคิดว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินไปสำหรับลูก ที่ไม่เชื่อฟัง เพราะไม้เรียวยังเป็นวิธีที่ใช้แก้ใขได้อย่างดีวิธีหนึ่ง มีพ่อแม่หลายคู่ตกอยู่ภาย ใต้การบังคับของลูก มากกว่าจะเป็นผู้บังคับควบคุม ถึงแม้เมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราเอง ยังต้องมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการกับความบาปที่เขากระทำด้วย

สำหรับพ่อแม่อย่างเราทั้งหลาย จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือต้องยอมมอบลูกให้ พระเจ้าตรัส ว่าเราต้องรับกางเขนของพระองค์มาแบกไว้ คือการตายต่อตนเอง เราต้องมอบชีวิตให้ เพื่อจะรับกลับคืนมา เราต้องทำเช่นเดียวกันกับลูก ผมพอจะมองเห็นความเชื่อที่ยิ่ง ใหญ่ของอับราฮัมในการยอมถวายบูชาบุตรของตนเอง (ปฐมกาล 22) ผมพอมองเห็น ยาโคบผู้ดื้อดึง ผู้ไม่ยอมสูญเสียบุตรชาย โยเซฟไป และไม่ยอมสูญเสียเบนจามินไปอีก ยังต้องยอมเพื่อแลกกับ "ความรอด" จากความอดหยาก (ดูปฐมกาล 37-45) เราต้องทำ ในสิ่งเดียวกัน เราต้องไม่ให้ชีวิตของเราขึ้นอยู่กับลูก แต่ขึ้นอยู่กับพระเจ้า โดยเฉพาะ กับองค์พระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด ถ้าจะเปรียบเทียบกับความรักในพระเจ้า เรา ต้อง "เกลียด" ลูกของเรา เพราะเมื่อทำเช่นนี้ เราจะเป็นอิสระในการจัดการกับพวกเขา เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ดีที่สุด สำหรับพวกเขา สำหรับเราเอง และสำหรับพระสิริของพระเจ้า

บางครั้งลูกก็ต้องตักเตือนพ่อแม่ เรื่องลงวินัยผู้ทำผิดในคริสตจักรเป็นประสพการณ์ไม่ ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไร (ดูมัทธิว 18:15-20) โดยเฉพาะคนที่ถูกลงวินัยเป็นพ่อแม่คน และลูกๆต้องมามีส่วนรับรู้ โดยเฉพาะเด็กโต มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กที่จะตักเตือน ผู้ใหญ่พอๆกับผู้ใหญ่ต้องตักเตือนเด็ก แต่ถ้าเป็นเรื่องของความบาป — และพระวจนะ สั่งให้จัดการกับความบาป — เรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ถ้าเราละเลย เหมือนเอลีทำ เราเองก็กำลังทำบาปแห่งการละเลย

การลงวินัยที่เราพูดถึงนี้ เกี่ยวข้องกับพระกาย "ครอบครัว" ใหญ่ของคริสตจักร คือเมื่อ "พี่น้อง" ของเราทำบาป (ดูมัทธิว 18:15) เรามีหน้าที่ต้องตักเตือนให้เขากลับใจ แต่มี คริสเตียนหลายคนเลือกที่จะทำแบบเอลี คือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นและหวังว่าไม่ช้าเรื่องนี้ก็ สงบไปเอง เรื่องมันไม่สงบหรอกครับ มีแต่จะร้ายแรงและกินวงกว้างขึ้น แน่นอนความ ผิดจะทวีความรุนแรงขึ้นถ้าเราละเลยไม่เชื่อฟังพระคำของพระเจ้า

ขอให้พระคุณของพระเจ้าทำให้เราเรียนรู้จาก ไม่ใช่เลียนแบบจากเอลีและบุตร ขอบ พระคุณที่พระองค์สอนสั่งเราให้อบรมบุตรหลาน โดยพระองค์ทรงเป็นต้นแบบในการ ปฏิบัติต่อเราเช่นบิดาต่อและบุตร ขอบพระคุณพระองค์ที่มีพระประสงค์ให้เราเลี้ยงดู บุตรให้อยู่ในทางของพระองค์ และพระองค์ประทานพระคุณให้มากมายเพียงพอที่เรา สามารถปฏิบัติตามได้ สาธุการแด่พระเจ้า !


1 1 จากหนังสือของ Dale Ralph Davis, Looking on the Heart: Expositions of the Book of 1 Samuel, vol. 1 (Grand Rapids: Baker Books, 1994), p. 31.

2 การตีความหมายในข้อ 12 และ 13 เป็นไปได้หลายแบบตามแต่นักวิชาการต้องการสื่อให้เข้า ใจ ฉบับที่ NASB แปล ตีความหมายว่า ปุโรหิตไม่เพียงแต่ไม่รู้จักพระเจ้าแล้วยังไม่รู้ถึงเรื่องข้อ บัญญัติที่ต้องปฏิบัติในเรื่องส่วนของเนื้อที่นำมาถวายบูชา ส่วนฉบับอื่นๆตีความหมายว่า บุตรทั้ง สองของเอลี ไม่รู้จักพระเจ้า จึงทำให้ไม่ปฏิบัติตัวตามบัญญัติที่พระเจ้าตั้งไว้ในการแบ่งส่วนเนื้อ จากการถวายบูชา อย่างไรก็ตามเนื้อหานั้นชัดเจนทั้งสองแบบ

3 ดูตัวอย่างได้จาก เฉลยธรรมบัญญัติ 13:13; ผู้วินิจฉัย 19:22; 20:13; 1 ซามูเอล 1:16; 10:27; 25:17, 25; 30:22; 2 ซามุเอล 16:7; 20:1; 23:6; 1 พงษ์กษัตริย์ 21:10, 13; 2 พงศาวดาร 13:7; 2 โครินธ์ 6:15.

4 จากหนังสือของ Dale Ralph Davis, Looking on the Heart: Expositions of the Book of 1 Samuel, vol. 1 (Grand Rapids: Baker Books, 1994), p. 35.

5 หนังสือ Davis หน้า 36.

6 หนังสือ Davis หน้า 37.

7 "บุรุษของพระเจ้า" ใช้หมายถึงโมเสส (เฉลยธรรมบัญญัติ 33:1; โยชูวา 14:6, etc.); ทูต ของพระเจ้า (ผู้วินิจฉัย 13:3, 6, 9); ซามูเอล (1 ซามูเอล 9:6); เชไมอาห์คนของพระเจ้า (1 พงษ์กษัตริย์ 12:22; 2 พงศาวดาร 11:2; 12:5-7); ผู้เผยพระวจนะนิรนาม (1 ซามูเอล 2:27; 1 พงษ์กษัตริย์ 20:28; 2 พงศาวดาร 25:7, 9); เอลีชา (2 พงษ์กษัตริย์ 4:9, 16, 22, ฯลฯ); ดาวิด (2 พงศาวดาร 8:14; เนหะมีห์ 12:24); ทิโมธี (1 ทิโมธี 6:11).

8 คำว่า "พงศ์พันธ์" นี้หมายถึงวงศ์ตระกูล ผู้สืบเชือสายกันต่อๆมา

9 ตรงนี้ตีความไม่ได้เพราะพระคัมภีร์ไทยใช้คำแปลต่างกันและตรงตัวจนไม่ต้องการขยายความ เพิ่ม (ผู้แปล)

Related Topics: Introductions, Arguments, Outlines

Pages