MENU

Where the world comes to study the Bible

บทที่ 3: นีนะเวห์กลับใจ และ โยนาห์ไม่พอใจ (โยนาห์ 3 & 4)

พอกันที "ความเป็นผู้ดี"

คำนำ

เราเคยมีแมวไทยจอมซ่าอยู่ตัวหนึ่ง เป็นประเภทชอบเสี่ยงภัย เจ้าของบ้านที่เราพัก อยู่เลี้ยงลาไว้ตัวหนึ่งชื่อ "ฮี้ฮอ" ตรงทุ่งข้างบ้าน ตอนนั้นฮี้ฮอท้องแก่มาก อารมณ์ ไม่ค่อยสู้จะดี มีอยู่วันหนึ่งเราเดินไปดูว่าฮี้ฮอเป็นอย่างไรบ้าง แมวก็ตามไปด้วย ที่แย่ไปกว่านั้น เจ้าแมวดันไปเดินย่องๆตามหลังลา พอลาหันมาเห็น มันก็มองอย่าง จะเอาเรื่อง ผมกับภรรยาก็ไม่กล้าเดินไปลากแมวออกมา ได้แต่คิดว่าแมวน่าจะฉลาด พอ แล้วสิ่งที่คาดเอาไว้ก็เกิดขึ้น แมวล้ำเส้นลามากไป ก็เลยถูกเตะเปรี้ยงเดียว กระเด็นลอยไปไกลพอดู พอแมวยืนติดลุกขึ้นมาสบัดหัวไล่ความงง มันคงพอรู้แล้วว่า ลาคงจะไม่ชอบขี้หน้ามัน

พอผมอ่านพระธรรมโยนาห์มาถึงบททีีสามและสี่ ผมมีความรู้สึกเดียวกับตอนที่เห็น แมวของเราเดินย่องตามหลังฮี้ฮอ โยนาห์ก็เหมือนกับแมวตัวนั้น บุกโจมตีพระเจ้า อย่างดื้อดึงในบทที่ 4 ในขณะที่เราอ่านบทนี้ เรารู้ว่าท่านกำลังเดินล้ำเ้ส้น จึงสมควร "ถูกสักป้าป" จากพระเจ้า และถ้ามันเกิดขึ้นเราคงไม่มีความเห็นใจใดๆเหลือให้กับ โยนาห์

นับว่าแปลกที่โยนาห์ไม่โดน "สักป้าป" จากพระเจ้าทั้งๆที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง หนังสือ จบลงกลางอากาศตรงที่โยนาห์ถูกพระเจ้าดุว่าสั่งสอน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกแปลกๆห้วนๆ เพราะไม่มีตอนจบแบบ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" ที่ลุ้นกันอยู่ อย่าลืมว่าเรื่องนี้ไม่ได้ขึ้นต้นว่า "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว …" หรือจบลงด้วย "มีสุขชั่วกาลนาน" นะครับ

การที่หนังสือจบลงแบบนี้เพราะมีจุดประสงค์บางอย่าง พระเจ้าไม่ต้องการให้เรารู้สึก ลำพองใจจนเกินไป เพราะถ้าเรารู้สึกสุขสบายคงยากที่จะกลับใจและยอมรับการเปลี่ยน แปลง คำถามก็คือ "แล้วเราไม่ควรรู้สึกลำพองใจในเรืองใดดี ?" บทที่สามและสี่แสดง ให้เห็นถึงความบาปอันร้ายแรงของโยนาห์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาพอๆกับในปัจจุบัน ผม อยากให้เราตั้งใจฟังให้ดีในเรื่องที่โยนาห์ประท้วงพระเจ้า และที่พระเจ้าทรงตอบใน บทสรุปของพระธรรมโยนาห์

โครงร่างและการแบ่งเนื้อหา

โครงร่างของเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ :

3:1-10

โยนาห์ไปประกาศ และชาวนีนะเวห์กลับใจ

3:10-4:11

"พระกรุณา" ของพระเจ้า และความโกรธของโยนาห์

3:10-4:4

คำอธิษฐานประท้วงของโยนาห์ และคำตอบของพระเจ้า

4:5-9

จากความปลื้มปิติไปเป็นความเจ็บปวด: ต้นไม้ ตัวหนอน และผู้เผยพระวจนะ

4:10-11

คำตรัสสุดท้าย

ขั้นตอนเหตุการณ์ในสองบทสุดท้ายของพระธรรมโยนาห์ ถูกจัดเตรียมไว้หมดแล้วใน สองบทแรก ในบทที่ 1 พระเจ้าสั่งให้โยนาห์ไปนีนะเวห์ เพื่อไปป่าวร้องถึงความบาป ของคนในเมืองใหญ่นี้ แทนที่จะเดินทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โยนาห์ไปที่ท่าเรือ เมืองยัฟฟา ขึ้นเรือมุ่งลงไปยังทารชิชซึ่งอยู่บนชายฝั่งของประเทศสเปน โยนาห์มุ่งไป ในทิศทางตรงข้าม !

การขัดคำสั่งของโยนาห์มีผลทำให้เกิดพายุใหญ่ ทำให้เรือแทบอัปปางลง และทำ ให้ชาวเรือตกใจจนร้องเรียกหาพระของเขาให้มาช่วย ในขณะที่พวกเขาเร่งโยนสินค้า ทิ้งลงทะเล ก็ไปพบว่าโยนาห์นอนหลับสนิทอยู่ใต้ท้องเรือ กัปตันจึงสั่งให้โยนาห์ช่วย อธิษฐานด้วย (ซึ่งเราเห็นว่าท่านคงไม่คิดจะทำ) ชาวเรือพยายามแก้ใขทุกวิถีทาง มีการจับฉลากดูว่าใครเป็นต้นเหตุุที่ทำให้เรืออัปปาง หลังจากการสอบสวนอย่างหนัก โยนาห์ยอมรับว่าเป็นความผิดของตน และแนะวิธีการแก้ใขสถาณการณ์ -- คือโยน ท่านลงทะเลไป ความพยายามของพวกเขาที่จะส่งโยนาห์ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัยก็ถูก พระเจ้าขัดขวาง จนในที่สุดพวกเขาก็ยอมทำตามที่โยนาห์บอก ก่อนทำ พวกเขาได้ อธิษฐานเพราะต้องทำให้ชายผู้บริสุทธิ์นี้ตายลง แต่พอโยนโยนาห์ลงทะเลไปแล้ว พายุก็สงบ ชาวเรือจึงหันมานมัสการพระเจ้าของอิสราเอล ด้วยเครื่องถวายบูชา และสาบานตนแทน ในบทแรกนำเสนอเรื่อง ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างโยนาห์ กับชาวเรือนอกรีต ท่านไม่เชื่อฟังคำสั่งพระเจ้า แตชาวเรือกลับเชื่อฟังสิ่งที่พระเจ้า ตรัสผ่านทางท่าน พวกเขาอธิษฐานอย่างไม่หยุดยั้งด้วยใจร้อนรน แต่ โยนาห์ไม่เป็น เช่นนั้น พวกเขาสงสารเห็นใจโยนาห์ แต่ท่านกลับไม่แยแสพวกเขาเลย

บทที่ 2 เป็นเรื่อง "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์ วิธีการใช้คำและร้อยกรองในคำอธิษฐาน ของ โยนาห์นั้นคล้ายคลึงกับคำอธิษฐานของพระธรรมสดุดีในพระคัมภีร์เดิม ทั้งในทาง ทฤษฎี และในเนื้อหา แต่คำอธิษฐานของโยนาห์ไม่ได้ดีีตามมาตรฐานอันเลิศของ พระคัมภีร์เลย "คำอธิษฐาน" ของโยนาห์มีแต่เรื่องของตนเอง หมกมุ่นอยู่กับความทุกข์ ภัยอันตรายที่ตนเองเผชิญอยู่ เรียกร้องการช่วยกู้ มากกว่ามุ่งไปที่พระเจ้าผู้ทรงช่วยท่าน ได้ ที่น่าวิตกคือ ไม่มีคำสารภาพบาปเลยแม้แต่น้อย ในคำอธิษฐานนี้มีแต่เรื่องดูถูกคน ต่างชาติ และพยามยามบอกให้พระเจ้ารู้ถึงความชอบธรรมของตนเอง แต่เมื่อโยนาห์ สรรญเสริญพระเจ้าที่ช่วยให้ท่านรอดตาย พระเจ้าจึงสั่งให้ปลามหึมานั้นสำรอกท่าน ลงบนฝั่ง

พอถึงบทที่ 3 และ 4 ท่าทีความกตัญญูก็หายวับไปจากผู้เผยพระวจนะหัวแข็งท่านนี้ เลยทำให้ผมต้องตั้งชื่อตอนนี้ว่า "พอกันที ความเป็นผู้ดี" ในบทที่ 1 & 2 นั้น เราพอ มองเห็นความบาปของโยนาห์ แต่ว่ายังดูคลุมเคลือ ไม่เด่นชัดมาก แต่พอเข้าบทที่ 3 และ 4 ที่ท่านออกไปป่าวร้องและชาวนีนะเวห์เกิดกลับใจ ที่นี้แหละ ท่านออกอาการ "ยัวะสุดขีด" และความบาปที่น่าชังของท่านจึงเผยโฉมออกมาอย่างแจ่มแจ้ง ในบทที่ หนึ่งท่านเพียงแต่หนีจากการรับใช้ แต่บทที่ 4 ท่านโจมตีพระเจ้า และบอกกับพระองค์ ด้วยว่าท่านมีสิทธิอย่างยิ่งที่จะโกรธ ในบทที่ 2 ท่านอธิษฐานขอให้พระเจ้าช่วยชีวิต แต่ในบทที่ 4 ท่านกลับอธิษฐานขอให้พระเจ้าเอาชีวิตไปเสีย ดูเหมือนในตอนนี้ ทุก อย่างกำลังดิ่งลงเหวอย่างรวดเร็ว

เรื่องของเราจึงเริ่มขึ้นในวิกฤตกาลตอนนี้ สิ่งแรกที่พระเจ้าตรัสกับโยนาห์คือคำสั่งเดิม ที่ให้ไว้ก่อนเกิดพายุและถูกขังอยู่ในท้องปลา เรารู้เรื่องการป่าวร้องของโยนาห์ และ เรื่องมหัศจรรย์ที่คนทั้งเมืองกลับใจ รวมทั้งที่พระเจ้ายับยั้งการลงโทษตามที่พระองค์ ได้ตรัสผ่านทางผู้เผยพระวจนะท่านนี้

ในบทที่ 4 โยนาห์โพล่งออกมาถึงสาเหตุที่ท่านฝ่าฝืนคำสั่งในการให้ไปประกาศที่นคร นีนะเวห์ เหตุการณ์ที่อยู่ในบทนี้แสดงให้เห็นถึงความบาปทั้งสิ้นของโยนาห์ ในขณะที่ ผู้อ่านเห็นความบาปของโยนาห์อย่างชัดเจน แต่ดูเหมือนไม่มีผลกระทบใดๆเกิดขึ้นกับ ท่าน เรื่องจบลงเฉยๆอย่างขาดห้วน โดยมีคำตักเตือนของพระเจ้าค้างอยู่กลางอากาศ และโยนาห์ก็ยังโกรธพระองค์อยู่

การประกาศของโยนาห์ และ การกลับใจของนีนะเวห์
(3:1-9)

1 แล้วพระวจนะของพระเจ้ามาถึงโยนาห์เป็นคำรบสองว่า 2 "จงลุกขึ้น ไปยังนีนะเวห์นครใหญ่ และประกาศข่าวแก่เมืองนั้นตามที่เราบอกเจ้า" 3 ดังนั้น โยนาห์จึงลุกขึ้นไปยังนีนะเวห์ ตามพระวจนะของพระเจ้า ฝ่าย นีนะเวห์เป็นนครใหญ่โตมากทีเดียว ถ้าจะเดินข้ามเมืองก็กินเวลาสาม วัน 4 โยนาห์ตั้งต้นเดินเข้าไปในเมืองได้ระยะทางเดินวันหนึ่ง และท่าน ก็ร้องประกาศว่า "อีกสี่สิบวัน นีนะเวห์จะถูกคว่ำ"

5 ฝ่ายประชาชนนครนีนะเวห์ได้เชื่อฟังพระเจ้า เขาประกาศให้อด อาหารและสวมผ้ากระสอบ ตั้งแต่ผู้ใหญ่ที่สุดถึงผู้น้อยที่สุด 6 กิตติ ศัพท์นี้ลือไปถึงกษัตริย์นครนีนะเวห์ พระองค์ทรงลุกขึ้นจากพระที่นั่ง ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ออกเสีย ทรงสวมผ้ากระสอบแทน และประ ทับบนกองขี้เถ้า 7 พระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกา ประกาศไปทั่ว นครนีนะเวห์ว่า "โดยอำนาจกษัตริย์และบรรดาขุนนางทั้งหลาย คนหรือ สัตว์ ไม่ว่าฝูงสัตว์ใหญ่หรือฝูงสัตว์เล็ก ห้ามลิ้มรสสิ่งใดๆ อย่าให้กิน อาหาร อย่าให้ดื่มน้ำ 8 ให้ทั้งคนและสัตว์นุ่งห่มผ้ากระสอบ ให้ตั้งจิต ตั้งใจร้องทูลต่อพระเจ้า เออ ให้ทุกคนหันกลับเสียจากการประพฤติชั่ว และเลิกการทารุณซึ่งมือเขากระทก 9 ใครจะรู้ได้ พระเจ้าอาจจะทรง กลับและเปลี่ยนพระทัย คลายจากพระพิโรธอันรุนแรงเพื่อว่าเราจะมิได้ พินาศ ?"

เป็นคำรบสองที่ "พระวจนะของพระเจ้า" มาถึงโยนาห์ "จงลุกขึ้นไปยังนีนะเวห์ นครใหญ่ และประกาศข่าวแก่เมืองนั้นตามที่เราบอกเจ้า" (ข้อ 2) อันนี้ไม่ใช่เป็นคำสั่ง ใหม่ของโยนาห์ แต่เป็นคำสั่งที่สั่งซ้ำเหมือนในบทที่ 1 ครั้งนี้โยนาห์ทำตาม แต่ด้วย ความชื่นชมยินดีหรือทัศนคติแบบใด เราจะมาดูกัน แต่อย่างน้อยที่สุด โยนาห์ก็ไปจน ถึงนีนะเวห์

ประชากรของนครนีนะเวห์ ถ้าจะรวมถึงปริมณฑลด้วยนั้น คงมากที่เดียว ( 1:2; 3:2; 4:11) เรารู้ขนาดของเมืองด้วยว่า ถ้าเดินข้ามเมืองก็กินเวลา "สามวัน" (3:3) มีข้อมูล มากมายที่นักประวัติศาสตร์รวบรวมไว้เกี่ยวกับเมืองหลวงของอัสซีเรียเมืองนีนะเวห์นี้

คำพูดของโยนาห์นั้นธรรมดา ตรงประเด็น และน่าตกใจ ""อีกสี่สิบวัน นีนะเวห์จะถูกคว่ำ" (3:4).18

เช่นเดียวกับชาวเรือในบทที่ 1 ชาวนีนะเวห์รับฟังเรื่องการพิพากษาที่กำลังจะเกิดขึ้น อย่างเอาจริงเอาจัง หนังสือบอกว่า "พวกเขาได้เชื่อฟังพระเจ้า" (3:5) ซึ่งเล็งไปถึง การที่ชาวต่างชาติมีความเชื่อในพระเจ้าของอิสราเอล ไม่ใช่เพียงเพราะกลัวการ พิพากษา เลยทำให้ผมเห็นการฟื้นฟูแท้จริงที่เกิดขึ้นเพราะการประกาศของโยนาห์ ดูเหมือนการฟื้นฟูจะ "เริ่มจากเบื้องล่าง" ก่อน แทนที่จะเป็นคำสั่ง "จากเบื้องบน" ลงมา หนังสือบันทึกว่า ชาวนีนะเวห์ได้เชื่อฟังพระเจ้า มีการประกาศให้อดอาหารและห่มผ้า กระสอบ (3:5) ผลตอบรับนั้นเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงกัน จากสามัญชนธรรมดา ขึ้นไป จนถึงเจ้าขุนมูลนาย

แทบทั้งเมืองกลับใจไปแล้วก่อนที่เรื่องนี้จะรู้ไปถึงกษัตริย์ และเป็นเพราะกษัตริย์เชื่อคำ เตือนของโยนาห์ พระองค์จึงออกคำสั่งเป็นทางการให้ทั้งเมืองกลับใจโดยเริ่มต้นที่ตัว พระองค์ก่อน (3:6) มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ชาวนีนะเวห์ทั้งปวงอดอาหารและ งดดื่มน้ำ (3:7) ทั้งคนและสัตว์ต้องนุ่งห่มผ้ากระสอบ ให้ประชากรร้องทูลต่อพระเจ้า และหันกลับเสียจากการประพฤติชั่ว (3:8).

ข้อสังเกตุที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือไม่มีการกล่าวว่าประชาชนทำบาปใดบ้าง แน่นอน โยนาห์อาจจะเพิ่มรายละเอียดลงไปบ้างก็ได้ แต่ดูเหมือนไม่มีความความจำเป็นต้อง ทำเช่นนั้น ดังนั้น ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่รู้ว่าสิ่งใดคือความบาป แต่เพราะไม่อยากเลิก ทำบาปต่างหาก ปัญหาไม่ใช่ว่าไม่มี ข้อมูล แต่ไม่มี แรงจูงใจ ผมมีความรู้สึกมั่นใจ ว่าถ้าคนในประเทศของเราได้รับพระวจนะคำ ว่าการพิพากษากำลังจะมาถึง ผู้คนคง ไม่มีปัญหาที่จะแยกแยะว่าสิ่งใดบ้างที่ทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย หรือพูดใ้ห้ชัดๆคือ "บาป"

ถ้าชาวนีนะเวห์มีเวลาเหลืออีก 40 วัน ทำไมถึงต้องเลิกทำบาป ? น่าจะทำต่อไปโดยยึด อุดมคติที่ว่า "กิน ดื่ม และแสวงหาความสุขเสีย เพราะอีกไม่กี่วัน (40วัน) เราก็จะตาย แล้ว" แรงจูงใจที่ทำให้ชาวนีนะเวห์หันเสียจากความประพฤติชั่วอยู่ในข้อ 9 "ใครจะรู้ ได้ พระเจ้าอาจจะทรงกลับและเปลี่ยนพระทัย คลายจากพระพิโรธอันรุนแรงเพื่อว่าเรา จะมิได้พินาศ ?" (3:9)

บางคนมีปัญหาเมื่อพระเจ้า "ผ่อนปรน" หรือเปลี่ยนพระทัยไม่ทำลายนครนีนะเวห์ ผม อยากชี้ให้เห็นว่าโยนาห์เองก็เป็นด้วย (4:2) แต่ชาวนีนะเวห์กลับมีความหวังว่าพระ เจ้าอาจเปลี่ยนพระทัย (3:9) ถ้าพระเจ้ามีความตั้งใจที่จะทำลายนีนะเวห์ เหตุใดพระ องค์ต้องใช้ให้คนไปบอกให้รู้ตัวด้วย ? การประกาศที่พระเจ้าใช้ให้โยนาห์ไปทำนั้น ไม่ใช่เป็นคำสัญญาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นคำเตือน ชาวนีนะเวห์เข้าใจถึงคำประกาศ ของโยนาห์เป็นอย่างดี เพราะมีการกลับใจ นี่เป็นสิ่งเดียวกับที่พระเจ้าตรัสไว้ในพระ ธรรมเยเรมีห์ :

แล้วพระวจนะของพระเจ้ามายังข้าพเจ้าว่า "ประชาอิสราเอลเอ๋ย เรา จะกระทำแก่เจ้าอย่างที่ช่างหม้อนี้กระทำไม่ได้หรือ ?" พระเจ้าตรัส ดังนี้แหละ "ดูเถิด ประชาอิสราเอลเอ๋ย เจ้าอยู่ในมือของเรา อย่างดิน เหนียวอยู่ในมือของช่างหม้อ ถ้าเวลาใดก็ตามเราประกาศเกี่ยวกับประ ชาชาติหนึ่งหรือราชอาณาจักรหนึ่งว่า เราจะถอนและพังและทำลายมัน เสีย และถ้าประชาชาตินั้น ซึ่งเราได้ลั่นวาจาไว้เกี่ยวข้องด้วยหัน เสียจากความชั่วของตน เราก็จักกลับใจจากโทษซึ่งเราได้ตั้งใจ จะ กระทำแก่ชาตินั้นเสีย และถ้าเวลาใดก็ตาม เราได้ประกาศเกี่ยว กับประชาชาติหนึ่ง หรือราชอาณาจักรหนึ่งว่า เราจะสร้่างขึ้นและปลูก ฝังไว้ และชาตินั้นได้กระทำชั่วในสายตาของเรา ไม่ฟังเสียงของเรา เรา ก็จะกลับใจจากความดีซึ่งเราตั้งใจจะกระทำกับชาตินั้นเสีย เพราะฉะนั้น คราวนี้จึงกล่าวกับคนยูดาห์และชาวเมืองเยรูซาเล็มว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ ว่า ดูเถิดเรากำลังก่อสิ่งร้ายไว้สู้เจ้าและคิดแผนงานอย่างหนึ่งไว้สู้เจ้า ทุกๆคนจงกลับเสียจากทางชั่วของตน และจงซ่อมทางและการกระทำ ของเจ้าทั้งหลายเสีย" (เยเรมีห์ 18:5-11).

พระพรตามพระสัญญาของพระเจ้านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังของ มนุษย์ และอาจทรงละจากการพิพากษาได้ถ้ามีการกลับใจ ชาวนีนะเวห์มีความหวังใจ ว่าพระเจ้าจะ "ยับยั้ง" โดยยึดตามหลักการที่กล่าวไว้ด้านบน

นีนะเวห์กลับใจ พระกรุณาของพระเจ้า และความไม่พอใจของโยนาห์
(3:10–4:11)

10 เมื่อพระเจ้าทอดพระเนตรการกระทำของเขาแล้วว่า เขากลับไม่ ประพฤติชั่วต่อไป พระเจ้าทรงกลับพระทัย ไม่ลงโทษ ตามที่พระองค์ ตรัสไว้ และพระองค์ก็มิได้ทรงลงโทษเขา

1เหตุการณ์นี้ไม่เป็นที่พอใจโยนาห์อย่างยิ่ง และท่านโกรธ 2ท่านจึง อธิษฐานต่อพระเจ้าว่า "ข้าแต่พระเจ้า เมื่อข้าพระองค์ยังอยู่ในประเทศ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พูดแล้วว่าจะเป็นไปเช่นนี้มิใช่หรือ? นีแหละ เป็นเหตุให้ข้าพระองค์ได้รีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพระองค์ ทราบว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงกอปรด้วยพระคุณ และทรงพระ กรุณา ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และทรงกลับพระทัย ไม่ลงโทษ 3ข้าแต่พระเจ้า เพราะฉะนั้น บัดนี้ขอพระองค์ทรงเอาชีวิต ของข้าพระองค์ไปเสีย เพราะว่าข้าพระองค์ตายเสียก็ดีกว่าอยู่ " 4 และ พระเจ้าตรัสว่า "การที่เจ้าโกรธเช่นนี้ดีอยู่หรือ ?"

5 แล้วโยนาห์ก็ออกไปนอกนคร นั่งอยู่ทางทิศตะวันของเมืองนั้น และ ท่านทำเพิงไว้เป็นที่ท่านอาศัย ท่านนั่งอยู่ใต้ร่มเพิงคอยดูเหตุการณ์อัน จะเกิดขึ้นกับนครนั้น 6และพระเจ้าทรงกำหนดให้ต้นละหุ่งต้นหนึ่งงอก ขึ้นมาเหนือโยนาห์ ให้เป็นที่กำบังศีรษะของท่าน เพื่อให้บรรเทาความ ร้อนรุ่มกลุ้มใจในเรื่องนี้ เพราะเหตุต้นละหุ่งต้นนี้โยนาห์จึงมีความยินดี ยิ่งนัก 7แต่ในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น พระเจ้าทรงกำหนดให้หนอนตัวหนึ่งมา กัดกินต้นละหุ่งต้นนั้น จนมันเหี่ยวไป 8เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเจ้า ทรงกำหนดให้ลมตะวันออกที่ร้อนผากพัดมา และแสงแดดก็แผดลงบน ศีรษะของโยนาห์จนท่านอ่อนเพลียไป และท่านก็ทูลขอว่าให้ท่านตาย เสียเถิด ท่านว่า "ข้าตายเสียดีกว่าอยู่"

9 แต่พระเจ้าตรัสกับโยนาห์ว่า "ที่เจ้าโกรธเพราะต้นละหุ่งนั้นดีอยู่แล้ว หรือ ?" ท่านทูลว่า "ที่ข้าพระองค์โกรธถึงอยากตายนี้ดีแล้วพระเจ้าข้า" 10และพระเจ้าตรัสว่า "เจ้าหวงต้นไม่ซึ่งเจ้ามิได้ลงแรงปลูกหรือมิได้ กระทำให้มันเจริญ มันงอกเจริญขึ้นในคืนเดียว แล้วก็ตายไปในคืนเดียว ดุจกัน 11ไม่สมควรหรือที่เราจะหวงเมืองนีนะเวห์นครใหญ่นั้น ซึ่งมีพล เมืองมากกว่าหนึ่งแสนสองหมื่นคน ผู้ไม่ทราบว่าข้างไหนมือขวาข้าง ไหนมือซ้าย และมีสัตว์เลี้ยงเป็นอันมากด้วย ?"

พระเจ้าเห็นถึงการกลับใจของนีนะเวห์ ซึ่งไม่ได้เป็นแค่คำพูดอย่างเดียว ในข้อ 10 ไม่ได้บอกว่าพระเจ้าใส่ใจในคำพูดของชาวนีนะเวห์ หรือแม้แต่การนุ่งห่มผ้ากระสอบ หรือโรยขี้เถ้า แต่พระองค์ทรงเห็นถึงการกระทำของพวกเขาที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขา "หันกลับเสียจากการประพฤติชั่ว" นี่คือการกลับใจที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูด ซ้ำซากเช่น "ผมเสียใจ" แต่การกระทำเป็นตัวที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงในจิตใจที่แท้ จริง อย่างที่โยนาห์คาดไว้ ชาวนครนีนะเวห์ได้กลับใจจริงจากความบาปที่เคยกระทำ ดังนั้นพระเจ้าจึงยับยั้งไม่ลงโทษตามที่พระองค์ได้เคยตรัสไว้

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ไม่มีคำอธิบายใดๆเรื่องการกลับใจของชาวนีนะเวห์ที่เกิดขึ้น อย่างฉับพลัน พร้อมเพรียงกันและอย่างจริงใจ อาจจะเหมือนพวกชาวเรือที่ต้อง ปฏิบัติตามคำของโยนาห์ก่อนที่การอัศจรรย์จะเกิดขึ้น หรืออาจเป็นเพราะวิธีการปรากฎ ตัวของโยนาห์เอง ซึ่งเป็นหมายสำคัญยิ่งต่อชาวนีนะเวห์ อาจมีเหตุกาณ์อื่นๆอีกที่เตรียม ชาวนีนะเวห์มหานครของอัสซีเรียไว้ให้พร้อมที่จะกลับใจ แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ 19

เมื่อพระเจ้าพูดถึงการกลับใจของชาวนีนะเวห์นั้น ชัดเจนและย้ำถึงสิ่งเดียว กับที่เรากำลังติดตามอยู่ :

คราวนั้นมีบางคนในพวกธรรมาจารย์ และพวกฟาริสีมาทูลพระองค์ว่า "อาจารย์เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าอยากจะเห็นหมายสำคัญจากท่าน" พระ องค์จึงตรัสตอบเขาว่า "คนชาติชั่วและคิดทรยศต่อพระเจ้าแสวงหา หมายสำคัญ และจะไม่ทรงโปรดให้หมายสำคัญแก่เขา เว้นไว้แต่หมาย สำคัญของโยนาห์ผู้เผยพระวจนะ ด้วยว่า โยนาห์ได้อยู่ในท้องปลา มหึมาสามวัน สามคืน ฉันใด บุตรมนุษย์จะอยู่ในท้องแผ่นดินสาม วันสามคืนฉันนั้น ชนชาวนีนะเวห์จะลุกขึ้นในวันพิพากษาพร้อมกับคน ยุคนี้ และจะเป็นตัวอย่างให้คนยุคนี้ได้รับโทษ ด้วยว่าชาวนีนะเวห์ได้ กลับใจเสียใหม่ เพราะคำประกาศของโยนาห์ และซึ่งใหญ่กว่าโยนาห์มี อยู่ที่นี่" (มัทธิว 12:38-41).

การที่พวกฟาริสีและธรรมาจารย์ถามหาหมายสำคัญจากพระเจ้า ทำให้พระเยซูต้องเอ่ย ถึงพระธรรมโยนาห์ที่มีบทเรียนซ่อนอยู่สองเรื่องด้วยกัน เรื่องแรก พระเยซูพูดถึงหมาย สำคัญที่จะเกิดขึ้นกับพระองค์เช่นเดียวกันกับโยนาห์ เมื่อโยนาห์อยู่ในท้องปลาสามวัน สามคืน พระเยซูจะทรงอยู่ในท้องแผ่นดินในเวลาที่เท่าเทียมกัน การคืนพระชนม์ของ พระเยซูจะเป็น "หมายสำคัญ" ให้แก่อิสราเอล เช่นเดียวกับที่โยนาห์ "ออกมาจากท้อง ปลา" เป็นหมายสำคัญ (น่่าจะสำหรับชาวอิสราเอล) และเป็นหมายสำคัญอันสุดท้าย คือ "หมายสำคัญที่มาจากผู้เผยพระวจนะโยนาห์" การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู การฝังพระศพ และการฟื้นคืนพระชนม์ เป็นข้อพิสูจน์ที่เราไม่สามารถโต้แย้งได้ถึง การที่พระองค์คือ พระเมสซิยาห์ของชาวอิสราเอล

ยังมีบทเรียนอื่นอีกที่พระธรรมโยนาห์มีไว้สอนคนอิสราเอลในสมัยของพระเยซู ชาว นีนะเวห์กลับใจทันทีที่ได้ยินการประกาศของโยนาห์ ถึงแม้จะมีข้อพิสูจน์เพียงน้อย นิดเมื่อเทียบกับในสมัยของพระเยซูที่ชาวอิสราเอลได้เห็น และถ้านำมาเทียบกับองค์ พระเยซูเอง โยนาห์แทบไม่มีความสำคัญใดๆเลย ผมคิดว่าโดยเฉพาะเรื่องฤทธิ์เดชและ สิทธิอำนาจในคำเทศนาสั่งสอนของพระองค์ ถ้าชาวนีนะเวห์กลับใจได้เพราะข้อพิสูจน์ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่นนั้น ปัญหาน่าจะอยู่ที่บรรดาผู้นำชาวยิว พวกธรรมาจารย์ และพวกฟาริสี ปัญหาคงไม่ได้อยู่ที่เรื่องขาดหลักฐานและข้อพิสูจน์อะไรทั้งสิ้น ที่จริง ไม่ได้อยู่ที่เรื่องนี้ด้วยซ้ำไป เพราะปัญหาเช่นนี้แก้ได้ด้วยการทำหมายสำคัญต่างๆ ปัญหาของพวกธรรมาจารย์และฟาริสีนั้นเป็น ปัญหาแบบเดียวกับโยนาห์ ต่อให้มีหมาย สำคัญยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดจิตใจที่จงใจเป็นกบฎของคน พวกนี้ได้

ทำให้ผมเองคิดว่า พื้นฐานในคำเทศนาของโยนาห์และขององค์พระเยซูนั้น ผมเห็น "หมายสำคัญของผู้เผยพระวจนะโยนาห์" นั้นทวีคูณ คือ "หมายสำคัญ" ที่โยนาห์ ถูกฝังอยู่ในท้องปลามหึมาและถูกช่วยให้รอดออกมา และยังเป็น "หมายสำคัญ" ใน ความดื้อรั้นในจิตใจของโยนาห์ จนทำให้ท่านมองไม่เห็นสิ่งที่พระเจ้ากำลังพยายาม จะสอน ไม่ว่าคำสอนนั้นจะชัดเจนและมีพลังเพียงใด ในขณะที่คำสอนเดียวกันนี้กับ ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและท่วมท้นจากพวกนอกศาสนาที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง เรื่องแบบนี้มาก่อน

พระเยซูนำเรื่องการกลับใจของชาวนีนะเวห์์ในมัทธิวบทที่ 12 มาสอนเพื่อยืนยันและ ทำให้เราเข้าใจได้ง่ายๆเมื่อได้ยิน พระองค์ตอกย้ำความจริงถึงการที่ชาวนีนะเวห์กลับใจ มาหาพระเจ้า ถึงแม้จะมีข้อพิสูจน์เพียงนิดเดียว แต่ถ้าจิตใจนั้นเปิดออกเพื่อฟังพระวจนะ และเรียนรู้ถึงน้ำพระทัยพระองค์แล้ว จิตใจนั้นจะเกิดความเชื่อและตอบสนองในทันที แต่ถ้าจิตใจที่แข็งกระด้าง — เช่นเดียวกับจิตใจแบบโยนาห์ — ก็จะไม่มีวันเปิดรับพระ วจนะคำ ต่อให้ชัดเจนเพียงใดก็ตาม

โยนาห์โกรธเคืองพระเจ้า

ถ้าโยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะเหมือนคนอื่นๆในประวัติศาสตร์อิสราเอล ท่านคงปลาบ ปลื้มยินดีที่การประกาศเกิดผล คนทั้งหมดในเมืองใหญ่อย่างนีนะเวห์กลับใจ ผู้เผย พระวจนะทั้งประวัติศาสตร์ของอิสราเอลล้มเหลวในการนำคนกลับมาหาพระเจ้า ถูก ปฏิเสธและถูกฆ่าตาย เช่นที่สเทเฟนกล่าวไว้ว่า "มีใครบ้างในพวกผู้เผยพระวจนะ ซึ่งบรรพบุรุษของท่านมิได้ถูกข่มเหง?" (กิจการ 7:52ก).

แทนที่จะชื่นชมยินดีที่มีคนมหาศาลกลับใจและได้รับความรอด เช่นเดียวกับเพื่อนร่วม อาชีพคนอื่นๆ โยนาห์กลับโกรธเคืองพระเจ้า : "เหตุการณ์นี้ไม่เป็นที่พอใจโยนาห์อย่าง ยิ่ง และท่านโกรธ" (4:1) ทำไมโยนาห์ต้องโกรธพระเจ้าด้วย ? โยนาห์ไม่รั้งรอที่จะบอก เหตุผล เมื่อท่านอธิษฐานประท้วงพระเจ้าว่า :

"ข้าแต่พระเจ้า เมื่อข้าพระองค์ยังอยู่ในประเทศ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พูดแล้วว่าจะเป็นไปเช่นนี้มิใช่หรือ? นีแหละ เป็นเหตุให้ ข้าพระองค์ได้รีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพระองค์ ทราบว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงกอปรด้วยพระคุณ และทรงพระ กรุณา ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และทรงกลับพระทัย ไม่ลงโทษ 3ข้าแต่พระเจ้า เพราะฉะนั้น บัดนี้ขอพระองค์ทรงเอาชีวิต ของข้าพระองค์ไปเสีย เพราะว่าข้าพระองค์ตายเสียก็ดีกว่าอยู่" (โยนาห์ 4:2-3).

ความโกรธของโยนาห์นั้นเหลือเชื่อจริงๆ ให้เรามาดูว่าท่านโกรธเรื่องใดบ้าง

(1) โยนาห์โกรธพระเจ้า ในบทวิเคราะห์ท้ายสุดนี้ โยนาห์ไม่ได้โกรธตัวเอง หรือ โกรธมนุษย์คนใด แต่โกรธพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ ความโกรธของโยนาห์รุนแรง ชนิดขอตายดีกว่าอยู่ ในบทที่สองโยนาห์อธิษฐานขอการช่วยชีวิต แต่ตอนนี้โยนาห์ อธิษฐานขอให้ตาย (4:3).

(2) โยนาห์โกรธพระเจ้าเพราะพระองค์ทรงกอปรด้วยพระลักษณะทีทรงพระคุณ และพระองค์จะทรงกระทำในสิ่งที่โยนาห์รู้ว่ายังไงๆ พระองค์ต้องทำแน่

(3) โยนาห์กลับโกรธพระเจ้าในพระลักษณะอันดีเลิศของพระองค์ที่ผู้เขียน พระธรรมสดุดีกล่าวสรรญเสริญไว้ ผู้เขียนพระธรรมสดุดีสรรญเสริญพระองค์ในความรักอันมั่นคง พระคุณ และพระ เมตตาของพระองค์ (สดุดี. 86:5, 15) แต่สำหรับโยนาห์นี่เป็นเหตุทำให้ท่าน ประท้วงด้วยความโกรธ ไม่ใช่การสรรญเสริญ

(4) โยนาห์โกรธพระเจ้าเพราะพระองค์สำแดงพระคุณต่อชาวนีนะเวห์ คำถาม ที่พระเจ้าถามโยนาห์ น่าจะเตือนสติและสอนใจผู้เผยพระวจนะหัวแข็งผู้นี้ได้ตั้งแต่แรก น่าจะทำให้ท่านตระหนักถึงความบาปที่ท่านโกรธเคืองพระองค์ ใครล่ะ จะสามารถ โกรธกริ้วต่อพระเจ้าผู้เปี่ยมไปด้วยพระทัยกรุณาได้ ? อีกอย่างการตักเตือนโยนาห์อย่าง นุ่มนวลนั้นน่าจะทำให้ท่านเห็นไม่แต่เพียงพระคุณที่มีต่อชาวนีนะเวห์เท่านั้น แต่มีต่อ โยนาห์เองด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่ชาวนีนะเวห์กลับใจ โยนาห์ไม่ยอม และยังดื้อ ดึงกบฎต่อไป

ต้นละหุ่งกับผู้เผยพระวจนะ

ในขณะที่โยนาห์ยังดื้อดึงโกรธเคืองพระเจ้าอยู่ พระเจ้าเพิ่มเติมประสพการณ์บาง อย่างที่ทำให้เห็นถึงปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ในท่านผู้เผยพระวจนะท่านนี้ ด้วยการ มอบต้นไม้ให้แก่โยนาห์ แล้วก็เอากลับคืนไป ซึ่งทำให้โยนาห์ตอนแรกเกิดความดีใจ

ดูเหมือนสี่สิบวันผ่านไปโดยไม่มีการพิพากษาลงมาที่นครนีนะเวห์ เป็นเรื่องไม่น่า ประหลาดใจสำหรับพวกเรานัก แต่นับเป็นความผิดหวังอันใหญ่หลวงของโยนาห์ ท่านออกไปนอกเมือง ไปทำเพิงปักหลักเพื่อรอดูความพินาศของนีนะเวห์ ซึ่งน่า จะมีลูกไฟ และถ่านแดงๆตกลงมาจากท้องฟ้า เหมือนกับที่ทำลายล้างเมืองโสดม โกโมราห์มาแล้ว และโยนาห์กำลังรอดูอยู่ด้วยใจจดใจจ่อ เหมือนกับที่พวกโรมันรอดู พวกคริสเตียนที่ถูกโยนให้สิงห์โตกินอยู่ในโคลีเซียม

และพระเจ้าทรงกำหนดให้ต้นละหุ่งต้นหนึ่ง งอกขึ้นมาเหนือโยนาห์ ให้เป็นที่กำบังศีรษะ ของท่าน เพื่อให้บรรเทาความร้อนรุ่มกลุ้มใจในเรื่องนี้ เพราะเหตุต้นละหุ่งต้นนี้ โยนาห์ จึงมีความยินดียิ่งนัก (4:6) เป็นครั้งแรกที่มีการพูดว่า โยนาห์มีความยินดี ยินดียิ่งนัก เสียด้วยสำหรับต้นละหุ่งต้นนี้ แต่ดีใจอยู่ได้ไม่นาน วันรุ่งขึ้นพระเจ้ากำหนดให้มี หนอนมากัดกิน ไม่ให้เหลือซาก ถ้าลองหยุดคิดดูให้ดี โยนาห์นี่มีอะไรเหมือนๆ กับหนอนนะ แทนที่จะเหมือนกับต้นไม้ หนอนดีใจที่ได้ทำลายสิ่งที่พระเจ้าสร้าง ลง มากกว่าส่วนดีที่ต้นไม้ซึ่งนำความร่มเย็นมาให้

พร้อมๆกับหนอนที่ทำลายต้นไม้ พระเจ้าทรงให้มีลมร้อนผากพัดมา ทำให้โยนาห์ร้อน รุ่มยิ่งนัก ขณะที่โยนาห์ต้องการให้นครนีนะเวห์ถูก "เผา" ท่านกับถูกลมร้อน "แผดเผา" เสียเอง (4:8). โยนาห์ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่นั่น และไม่ต้องทนทุกข์กับความ ร้อน แต่ท่านกลับปักหลักคอยอยู่ และท่านก็ร้องขอความตายอีกครั้ง

อีกครั้งที่โยนาห์โกรธพระเจ้า เมื่อนึกถึงเรื่องต้นไม้และตัวหนอน เป็นครั้งที่สองแล้ว ที่พระเจ้าท้าทายโยนาห์ให้คิดดูให้ดีๆ : "ที่เจ้าโกรธเพราะต้นละหุ่งนั้นดีอยู่แล้วหรือ ?" (4:9) อย่างไม่รั้งรอ โยนาห์กลับย้ำว่าท่านมีสิทธิที่จะโกรธพระองค์ "ที่ข้าพระองค์โกรธ ถึงอยากตายนี้ดีแล้ว พระเจ้าข้า" (4:9).

สิ่งที่พระเจ้าตรัสเป็นสิ่งสุดท้ายในพระธรรมโยนาห์ ย้ำถึงหัวใจของเรื่องทั้งหมดนี้ :

"เจ้าหวงต้นไม่ซึ่งเจ้ามิได้ลงแรงปลูกหรือมิได้กระทำให้มันเจริญ มัน งอกเจริญขึ้นในคืนเดียว แล้วก็ตายไปในคืนเดียวดุจกัน ไม่สมควรหรือ ที่เราจะหวงเมืองนีนะเวห์นครใหญ่นั้น ซึ่งมีพลเมืองมากกว่าหนึ่งแสน สองหมื่นคน ผู่ไม่ทราบว่าข้างไหนมือขวา ข้างไหนมือซ้าย และมีสัตว์เลี้ยงเป็นอันมากด้วย?" (4:10-11).

การส่งต้นไม้ไปให้เป็นเหตุการณ์สุดท้ายระหว่างโยนาห์กับพระเจ้า โยนาห์รู้สึกสงสาร ต้นละหุ่งต้นนี้ พระเจ้าก็มีพระทัยเมตตาสงสารประชาชนเช่นกัน "ความสงสาร" ของ โยนาห์ ก็แย่พอๆกับ "คำอธิษฐาน" ของเขา พระเจ้ากำลังย้ำให้โยนาห์เห็นถึงประเด็น ว่าท่านเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับตนเองอย่างเดียว โดยเฉพาะเมื่อเปรียบกับพระทัย เมตตาสงสารที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวนีนะเวห์ ให้เรามาพิจารณาดูข้อแตกต่าง ระหว่าง "ความสงสาร" ของโยนาห์ที่มีต่อต้นละหุ่ง กับความสงสารที่พระเจ้ามี ให้กับบรรดาประชาชน

(1) โยนาห์สงสารต้นไม้ ; พระเจ้าสงสารผู้คน โยนาห์ยอมที่จะให้นครใหญ่ทั้ง เมืองพินาศไป ถึงแม้อาจมีเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ทั้งผู้คนอีก 120,000 และสัตว์อีกมากมาย ต้องประสพเคราะห์กรรม แน่นอนต้องมีคนโศกเศร้า แต่เราไม่แน่ใจว่าต้นไม้รู้สึกอย่างไร โยนาห์สงสารต้นไม้ แต่กับไม่เวทนาสงสารผู้คนและสัตว์ต่างๆเลย

(2) โยนาห์ยินดีกับต้นไม้ที่ตัวเองไม่ได้ลงแรงปลูกเอง พระเจ้ามีพระทัยสงสาร ในประชาชน ผู้เป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ และเป็นผู้ที่พระองค์จัดเตรียมพระ สัญญาสำหรับพระพรมากมายให้ โยนาห์ไม่ไ้ด้มีสัมพันธภาพแบบใดทั้งสิ้นกับ ต้นไม้ ท่านไม่ได้ปลูกเอง ไม่ได้ช่วยทำให้มันเจริญเติบโต พระเจ้าสร้างมนุษย์ และ สรรพสิ่งทุกอย่างในโลก พระองค์ทรงห่วงใยในสิ่งที่พระองค์สร้าง ห่วงมากจนสัญญา จะอวยพระพรต่อบรรดาเชื้อสายของอับราฮัม มากถึงขนาดส่งพระบุตรองค์เดียวมาตาย เพื่อมนุษย์ โยนาห์กลับไปห่วงสงสารในสิ่งที่ไม่มีค่าอะไรเลยสำหรับท่าน

(3) โยนาห์สงสารต้นไม้ที่ต้องตายลง ; พระเจ้าทรงสงสารประชากรที่กำลังเดิน ไปสู่ความพินาศชั่วนิรันดร์ โยนาห์สงสารต้นไม้ที่มีชีวิตอยู่แค่เพียงวันเดียว ถ้าพระ เจ้าอณุญาติ อาจอยู่ได้ถึงปีหรือนานกว่านั้น แต่การพิพากษาที่มนุษย์จะได้รับนั้น เป็น นิรันดร์ การ "จากไป" ของต้นละหุ่งนั้นไม่มีความหมายในเรื่องใดทั้งสิ้น ; แต่ภัยพิบัติ ที่จะเกิดกับชาวนีนะเวห์นั้นเป็นการพิพากษาที่มาจากพระเจ้า ความพินาศชั่วนิรันดร์ที่ กำลังเกิดขึ้นกับผู้คนนั้นสำคัญเกินกว่าจะวัดค่าได้

(4) พระเจ้าสงสารบรรดาคนบริสุทธิ์ ; โยนาห์ไม่สนใจ ท่านกลับรู้สึกสะใจใน การเฝ้าดูภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับทั้งคนบริสุทธิ์และคนที่ชั่วร้าย (จำได้หรือไม่ว่า ลูก หลานของชาวนีนะเวห์เหล่านี้ จะเป็นผู้ที่วันหนึ่งมานำิอิสราเอลไปเป็นเชลย) การที่ อยากเห็นคนชั่วถูกลงโทษนั้น เป็นคนละเรื่องกับการที่เห็นคนบริสุทธิ์ต้องมาเดือดร้อน ไปพร้อมๆกันด้วย

(5) โยนาห์สงสารตัวเอง ; พระเจ้าทรงสารผู้อื่น "ความสงสาร" ของโยนาห์นั้น อันที่จริงไม่ใช่สงสารต้นไม้เท่ากับการที่ต้นไม้นำความร่มเย็นมาให้ท่าน ต้นไม้ทำให้ ท่านรู้สึกยินดี ถ้าต้นไม้ไม่ได้ทำให้ท่านรู้สึกยินดีแล้วท่านก็คงไม่ได้สงสารมันแน่ๆ ความ สงสารของโยนาห์นั้นเป็นเรื่องที่เห็นแก่ตัวเองเท่านั้น ท่านเป็นห่วงตนเอง แต่ไม่ได้เป็น ห่วงคนอื่น ในทางกลับกัน พระเจ้ายังทรงห่วงใยประชาชนที่ถึงแม้จะทำบาปใหญ่หลวง และทำให้พระองค์เสื่อมพระสิริไป

ประเด็นของต้นไม้

ผมหลงคิดอยู่ตั้งนานว่า รากปัญหาทั้งสิ้นของโยนาห์นั้นคือความเห็นแก่ตัว ท่านอยาก เก็บพระคุณพระเจ้าไว้กับตนเองและพี่น้องชาวอิสราเอล โดยไม่เหลือเผื่อใคร โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวนีนะเวห์ นับว่าเป็นการตัดสินที่ผิดพลาด ความเห็นแก่ตัวของ โยนาห์เป็นเพียงการออกอาการเท่านั้น ปมปัญหาใหญ่ที่โยนาห์มีต่อพระเจ้านั้นก็คือ พระคุณของพระองค์ ธรรมชาติของพระคุณทำให้โยนาห์ไม่พอใจ ให้เราลองหยุด เพื่อคำนึงถึงคุณลักษณะของพระคุณ ที่เป็นเหตุให้โยนาห์หัวแข็งผู้นี้กบฎต่อพระองค์

(1) ธรรมชาติและการเริ่มต้นของพระคุณ ธรรมชาติหรือหัวใจของพระคุณนั้นไม่ใช่ ได้มาเพราะการทำดี —เป็นพระพรที่ไม่สมควรได้รับ ที่เริ่มต้นหรือแหล่งของพระคุณที่ โยนาห์ไม่พอใจนี้คือพระเจ้า โยนาห์ไม่ชอบใจในพระคุณเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อ หรือหามาได้ด้วยกำลังของผู้ใด ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครก็ตามคิดว่าตนเองสมควรได้รับ หรือ สามารถเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ แต่เป็นสิ่งที่มอบให้เพราะอยากจะมอบ พูดง่ายๆ ก็คือ โยนาห์ไม่ชอบเรื่องพระคุณเพราะเป็นเหมือนของบริจาค

(2) ผู้ที่รับพระคุณ ผู้ที่รับพระคุณ หรือผู้ที่ได้รับการเทพระพรลงมาให้นั้นไม่มีผู้ใด เหมาะ และสมควรจะได้รับทั้งสิ้น แต่โยนาห์ไม่อยากเห็นว่าตนเองเป็นหนึ่งในบรรดา ผู้ไม่สมควร ที่สำคัญคือ โยนาห์ถูกยาสั่งอย่างแรงเรื่องความหยิ่งยโสในชาติพันธ์ของ ตนเอง ท่านรู้สึกว่าในฐานะเป็นคนอิสราเอล พระเจ้า "ต้อง" อวยพระพรแก่ท่านและแก่ ประชากรที่พระองค์ได้เลือกสรรไว้ ส่วนพวกชาวนีนะเวห์นั้น โยนาห์ยอมรับอย่างไม่ต้อง สงสัยว่า "ไร้ค่าและไม่มีความหมาย" จึงทำให้ท่านประท้วงขึ้นมาเมื่อพระเจ้าสำแดง พระคุณแก่พวกเขา

(3) การเทพระคุณลงมา พระคุณนั้นไม่ใช่ได้มาเพราะความดี และผู้ได้รับต่างก็เป็น ผู้ไม่สมควรทั้งสิ้น ดังนั้นไม่มีผู้ใดสามารถแอบอ้างได้ว่าตนเองสมควร หรือไม่มีกฎ กติกาใดๆที่ใครจะนำมาอ้างว่าตนเองทำมากกว่า และควรจะได้รับพิจารณาผลรางวัล ดังนั้น การให้พระคุณไม่ใช่เป็นเพราะการกระทำคุณงามความดีใดๆ แต่เป็นการให้ จากอำนาจอธิปไตยล้วนๆขององค์พระผู้เป็นเจ้า "ตามที่พระองค์พอพระทัย" อย่างที่ พระองค์ตรัสว่า "เราประสงค์จะโปรดปรานผู้ใดก็จะโปรดปรานผู้นั้น และเราประสงค์จะ เมตตาแก่ผู้ใด เราก็จะเมตตาผู้นั้น" (อพยพ 33:19).

(4) เป้าหมายของพระคุณ เป้าหมายของพระคุณ หรือวัตถุประสงค์ในการให้คือ ต้องการให้เราเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นคนสุขสบาย ต้นไม้ที่พระเจ้าให้โยนาห์นั้น ทำ ให้ท่าน "ยินดียิ่งนัก" ตามที่เล่าไว้ (4:6) แต่ไม่ได้ช่วยให้ท่านเป็นคนบริสุทธิ์ ดังนั้นพระ เจ้าจึงนำมันคืนไปเสีย พระคุณที่มอบให้ไม่ใช่สำหรับทำให้เรามีสุข ทำให้เรารู้สึกดี หรือ ทำให้เราสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ทำให้เราสามารถมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระองค์ ผู้ประทานให้ได้

(5) ความหมายของพระคุณ ถ้าเป้าหมายของพระคุณคือ เพื่อทำให้เราเป็นคน บริสุทธิ์ ดังนั้นความหมายของพระคุณจึงรวมหมดถึงสิ่งที่นำมาซึ่งความสุข ความสะดวก สบาย และประสพการณ์ในการเผชิญความทุกข์ยากด้วย เพื่อทำให้เราสามารถละทิ้ง หนทางบาปและเข้ามาวางใจในพระองค์ ถ้าเราสัตย์ซื่อกับตัวเองและกับพระเจ้า ถ้าเรา ใคร่ครวญพระวจนะคำย่างดี เราจะสังเกตุเห็นว่าที่เราเติบโตฝ่ายจิตวิญญาณได้นั้นมา จากการเผชิญความทุกข์ยาก มากกว่าการมีชีวิตที่แสนสะดวกสบาย

ให้มาคิดถึงโยนาห์ ในตัวอย่างเช่น พระเจ้าตอบคำอธิษฐานของโยนาห์โดยช่วยให้ท่าน รอดตาย ไม่ได้ใช้่วิธีที่เลิศหรูประทับใจใด พระองค์ช่วยโดยใช้ปลามหึมาแทน และ โยนาห์ก็ต้องเปียกแฉะถึงสามวันสามคืนในท้องปลา การถูกปลาสำรอกไว้บนฝั่งก็ไม่ใช่ สิ่งที่โยนาห์พึงประสงค์เช่นกัน แต่ก็เป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับสถาณะการณ์ตอนนั้น เมื่อร่ม เงาของต้นไม้ไม่สามารถทำให้โยนาห์เดินกับพระเจ้าได้ ดังนั้นจึงสมควรที่จะทำลายต้น ไม้และให้แดดแผดเผาท่านแทน พระเจ้าไม่ได้ผูกมัดเราไว้ด้วยความสุขสบาย แต่ด้วย ความสำนึกในพระคุณ พระองค์ทรงใช้วิธีการที่เจ็บปวดเพื่อหลอมเราให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ประสพการณ์ทั้งในการเผชิญความทุกข์และความสุข ล้วนเป็นของประทานแห่งพระคุณ ทั้งสิ้น พระคุณจะสำแดงชัดแจ้งที่สุดเมื่อเราอยู่ท่ามกลางความทุกข์ยากแสนสาหัส

มีคำอธิบายมากมายในทุกสิ่งที่พระเจ้าทำ แต่ทำไมโยนาห์ถึงไม่ชอบ พระเจ้าสามารถ เทพระคุณแห่งความรอดให้กับบรรดาผู้ไม่สมควรได้เช่นชาวนีนะเวห์ ไม่ใช่เป็นเพราะ การกระทำของพวกเขา เช่นกัน การเทพระคุณเป็นเรื่องความพอพระทัยของพระเจ้า ผู้ครอบครอง พระเจ้าสามารถให้ต้นไม้งอกขึ้นให้แก่โยนาห์ แล้วพระองค์ก็นำกลับคืน ไปได้

เป็นเพราะพระคุณมีคุณลักษณะเฉพาะตัวเช่นนี้ โยนาห์จึงไม่อยากมีส่วนร่วม หรืออยาก ให้มามีส่วนในชีวิตของท่าน "สำหรับโยนาห์ พระคุณเป็นสิ่งที่น่าขัดเคือง และไม่น่า ปรารถนา" ง่ายที่จะมองออกว่าทำไมโยนาห์เคืองพระเจ้าเมื่อพระองค์สำแดงพระคุณ ให้แก่ชาวนีนะเวห์ แต่เราจะพูดได้อย่างไรว่าโยนาห์ดูถูกพระคุณพระเจ้า ถึงแม้จะ สำแดงโดยตรงให้แก่ท่านก็ตาม ? "เพราะผู้ที่ไม่สมควรทั้งหลายกระหายในพระคุณ พระเจ้า แต่โยนาห์ไม่ยอมรับว่าท่านเองก็เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ไม่สมควรกับพระคุณ"

ผู้เผยพระวจนะประท้วงเรื่องพระคุณในการอภัยโทษให้กับชาวนีนะเวห์ได้อย่างไร ? ด้วย ความเชื่อที่ว่าพระคุณจะได้มาก็ต่อเมื่อมีการกระทำดี ผู้เผยพระวจนะประท้วงเมื่อพระ เจ้านำของประทานเช่นต้นไม้กลับคืนไปได้อย่างไร ? โดยเชื่อว่าท่านสมควรได้รับต้น ไม้นั้น และโดยคิดว่าพระเจ้าเป็นหนี้ท่านในเรื่องความสะดวกสบาย

ตรงนี้นับเป็นกุญแจสำคัญของพระธรรมโยนาห์ทั้งเล่ม และสำหรับความบาปของชนชาติ อิสราเอล ผู้ซึ่งเหมาเอาเองว่าพระเจ้าเป็นหนี้พระคุณต่อพวกเขา และสำหรับบรรดาศัตรู ทั้งหลาย ต้องถูกพิพากษา โยนาห์ปฏิเสธหลักเกณฑ์ของพระคุณโดยสิ้นเชิง ท่านนำ ไปแลกกับหลักความเชื่อของการทำดีได้ดี "ปมปัญหาของผู้เผยพระวจนะหัวแข็งผู้นี้คือ ท่านคิดว่าตนเองเป็นผู้ชอบธรรม" บุคคลที่ดูถูกพระคุณ คือคนที่คิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองชอบธรรมและดีกว่าผู้อื่นนั้น พระคุณคือของบริจาค ซึ่งทำให้ผู้รับ เสียศักดิ์ศรี

สิ่งที่โยนาห์ลืมไปคือ การที่พระเจ้าเลือกอวยพระพรชนชาติอิสราเอลนั้นเป็นพระคุณ ของพระองค์ล้วนๆ ไม่ใช่เป็นเพราะอิสราเอลเป็นชนชาติที่ชอบธรรม

6 "เพราะว่าพวกท่านเป็นชนชาติบริสุทธิ์สำหรับพระเยโฮวาห์พระเจ้า ของท่าน พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทรงเลือกท่านออกจากชนชาติ ทั้งหลายที่อยู่บนพื้นโลก ให้มาเป็นชนชาติในกรรมสิทธิ์ของพระองค์ 7 ที่พระเจ้าทรงรักและทรงเลือกท่านทั้งหลายนั้น มิใช่เพราะท่านทั้ง หลายมีจำนวนมากกว่าประชาชนชาติอื่น ด้วยว่าในบรรดาชนชาติทั้ง หลาย ท่านเป็นจำนวนน้อยที่สุด 8 แต่เพราะพระเจ้าทรงรักท่านทั้ง หลาย และพระองค์ทรงรักษาคำปฏิญานซึ่งพระองค์ทรงปฏิญานไว้กับ บรรพบุรุษของท่านทั้งหลาย พระเจ้าจึงทรงพาท่านทั้งหลายออกมา ด้วยพระหัตถ์ฟาโรห์กษัตริย์อียิปต์ 9 เหตุฉะนี้พึงทราบเถิดว่า พระ เยโฮวาห์พระเจ้าของพวกท่านเป็นพระเจ้า เป็นพระเจ้าสัตย์ซื่อผู้ทรง รักษาพันธสัญญา และความรักมั่นคงต่อบรรดาผู้ที่รักพระองค์และ รักษาพระบัญญัติของพระองค์ถึงพันชั่วอายุคน 10 และทรงตอบแทน ผู้ที่เกลียดชังพระองค์ต่อตัวเขาเอง ด้วยทรงทำลายเขาเสีย พระองค์ จะไม่ทรงลดหย่อนโทษผู้ที่เกลียดชังพระองค์ พระองค์จะทรงตอบ แทนต่อตัวเขาเอง" (เฉลยธรรมบัญญัติ 7:6-10).

ให้ดูคำว่า "ความรักมั่นคง" ในข้อ 9 ให้ดี เพราะนี่เป็นพื้นฐานของพระทัยเมตตาที่มีต่อ คนอิสราเอล เช่นเดียวกับที่มีต่อชาวนีนะเวห์ (โยนาห์ 4:2).

พระเจ้าทรงเตือนคนอิสราเอลว่า เมื่อพวกเขาได้เข้าไปอยู่ในดินแดนคานาอัน และเริ่ม รับพระพรแห่งความมั่งคั่งโดยพระคุณของพระองค์แล้ว พวกเขาจะหลงผิดไปคิดว่า ความมั่งคั่งทั้งสิ้นเป็นผลจากน้ำมือตนเองทั้งสิ้น :

11 "ท่านทั้งหลายจงระวังตัวอย่าลืมพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ด้วยไมารักษาพระบัญญัติและกฎหมายและกฎเกณฑ์ของพระองค์ ซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่านในวันนี้ 12 เกรงว่า เมื่อท่านได้รับประทาน อิ่มหนำ ได้สร้างบ้านเรือนดีๆ และได้อาศัยอยู่ในนั้น 13 และเมื่อฝูง วัวและฝูงแพะแกะของท่านทวีขึ้น มีเงินทองมากขึ้น และบรรดาซึ่ง ท่านมีอยู่ก็ทวีขึ้น 14 จิตใจของท่านทั้งหลายจะผยองขึ้นและท่านทั้ง หลายก็ลืมพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายผู้ทรงนำท่านทั้ง หลายออกจากแผ่นดินอียิปต์ ออกจากแดนทาส . … 17 จงระวังให้ดี เกรงว่าท่านจะนึกในใจว่า ‘กำลังและเรี่ยวแรงของข้านำทรัพย์มีค่า นี้มาให้ ’ 18 ท่านทั้งหลายจงจำพระเยโอวาห์พระเจ้าของท่าน ทั้งหลาย เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ให้กำลังแก่ท่านที่จะได้ ทรัพย์สมบัตินี้ เพื่อว่าพระองค์จะทรงดำรงพันธสัญญาซึ่งพระ องค์ทรงกระทำโดยปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน ดังวันนี้ " (เฉลยธรรมบัญญัติ 8:11-14, 17-18,).

ถ้าคำเตือนนี้ยังไม่มากพอ พระเจ้าทรงเตือนอิสราเอลอีกถึงของประทานโดยพระคุณ ของความมั่งคั่งรุงเรืองนั้น พวกเขาอาจคิดว่าสร้างขึ้นมาด้วยกำลังของตนเอง

"เมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านได้ขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านทั้งหลายแล้ว ท่านทั้งหลายอย่านึกในใจว่า เพราะความชอบธรรมของข้า พระเจ้าจึงทรงนำข้ามาให้ยึดครองแผ่นดินนี้ แต่เพราะความชั่วของประ ชาติเหล่านี้ พระเจ้าจึงทรงขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านทั้ง 5 ซึ่งท่าน ทั้งหลายกำลังเข้าไปยึดครองแผ่นดินนี้นั้น มิใช่เพราะความชอบ ธรรมของท่านหรือความสัตย์ธรรมในใจของท่าน ‘แต่เป็นเพราะ ความชั่วช้าของประชาชาตินี้ ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านต้่อง ขับไล่เขาออกเสียต่อหน้าท่านทั้งหลาย และเพื่อว่าพระองค์จะทรงให้ เป็นจริงตามพระวจนะซึ่งพระเจ้าทรงปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน คือต่อ อับราฮัม ต่ออิสอัค และต่อยาโคบ 6 เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่า ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทรงประทานแผ่นดิน นี้ให้ท่านยึดครองนั้นมิใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน เพราะว่าท่าน ทั้งหลาย เป็นชนชาติที่ดื้อดึง" (เฉลยธรรมบัญญัติ 9:4-6).

โยนาห์และชนชาติอิสราเอลของท่าน หลงลืมไปว่าพระพรที่ได้รับนั้นเป็นเพราะพระคุณ ไม่ใช่เป็นเพราะความชอบธรรมของพวกเขา หรือความคิดที่ว่าเป็นชนที่เหนือกว่าชาติ อื่นๆ พวกเขายังลืมไปด้วยว่าพระเจ้าทรงสัญญาจะอวยพระพรไปสู่ประชาชาติโดยผ่านทาง อิสราเอล : "บรรดาเผ่าพันธ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า" (ปฐมกาล 12:3ข).

คำทำนายของโยนาห์เกี่ยวกับชนชาติอิสราเอล ตามที่บันทึกใน 2 พงษ์กษัตริย์นั้นเป็น พระสัญญาว่าจะอำนวยพระพรให้มั่งคั่งถึงแม้ประชาชนยังตกอยู่ในความบาป พระเจ้า ทรงสัญญาจะอวยพระพรชนชาตินี้ ไม่ใช่เป็นเพราะทำตามพระบัญญัติอย่างเคร่งครัด แต่เป็นเพราะความบาป ให้เรามาดูคำทำนายนี้ด้วยกัน

ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาลอามาซิยาห์ โอรสของโยอาชพระราชาแห่งยู ดาห์ เยโรโบอัมโอรสของเยโฮอาชแห่งอิสราเอลได้เริ่มครอบครองใน สะมาเรีย และทรงครอบครองอยู่สี่สิบเอ็ดปี และพระองค์ทรงกระทำ สิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระเจ้า พระองค์มิได้ทรงพรากจากบาป ทั้งสิ้นของเยโรโบอัมบุตรเนบัท ซึ่งพระองค์ทรงกระทำให้อิสราเอล กระทำด้วย พระองค์ทรงตีเอาดินแดนอิสราเอลคืนมาตั้งแต่ทาง เข้าเมืองฮามัท ไกลไปจนถึงทะเลแห่งอาราบาห์ตามพระวจนะ ของพระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล ซึ่งพระองค์ตรัสโดยผู้ รับใช้ของพระองค์ คือโยนาห์ ผู้เป็นบุตรอามิททัยผู้เผยพระวจนะ ผู้มาจากกัธเฮเฟอร์ เพราะพระเจ้าทอดพระเนตรเห็นว่า ความทุกข์ ใีจของอิสราเอลนั้นขมขื่นนัก เพราะไม่มีผู้ใดเหลือไม่ว่าทาสหรือไท และไม่มีผู้ใดช่วยอิสราเอล พระเจ้ามิได้ตรัสว่า จะทรงลบนามอิสราเอล จากใต้ฟ้าสวรรค์ แต่พระองค์ทรงช่วยเขาโดยพระหัตถ์ของเยโรโบอัม โอรสของเยโฮอาช (2 พกษ. 14:23-27).

กษัตริย์อิสราเอลนั้นชั่วร้ายเช่นเดียวกันกับพลเมือง ความมั่งคั่งที่โยนาห์ทำนายไว้ว่าจะ ได้รับไม่ใช่เป็นเพราะผลจากจิตวิญญาณ แต่ได้รับทั้งๆที่มีบาป ดังนั้นพระพรที่โยนาห์ พูดถึง จึงนับเป็นพระคุณล้วนๆขององค์พระเจ้า

โยนาห์ก็เป็นผู้หนึ่งที่รับพระพรนี้ด้วย แต่แทนที่จะโมทนาขอบพระคุณ โยนาห์กับ ประท้วงพระองค์ แรงจนถึงจุดที่ยอมตายเสียดีกว่า การช่วยกู้โยนาห์โดยทางปลามหึมา และการหลุดรอดออกมาจากท้องปลานั้นเป็นการจัดเตรียมโดยพระคุณจริงๆ การให้ต้น ละหุ่งงอกขึ้นมา เพื่อให้ร่มเงาและบรรเทาความร้อนรุ่มก็เช่นกัน อย่างไรก็ดี พระคุณที่ มาถึงโยนาห์ที่เห็นชัดเจนที่สุด น่าจะเป็นวิธีที่พระองค์ทรงตอบคำประท้วงและการกบฎ ของท่าน จะเป็นอย่างไร ถ้าตอนจบของเรื่องโยนาห์ถูกเผาให้เป็นจุลย์ไปในพริบตา ด้วยสายฟ้าฟาดเปรี้ยงเดียว !

โยนาห์เป็นดังตัวแทนของชนชาติอิสราเอล คือมองไม่เห็นว่าพระพรของพระเจ้าเป็น การสำแดงพระคุณของพระองค์ให้กับผู้ที่ไม่สมควรได้รับ แต่กลับมองเห็นว่าพระเจ้า มีหน้าที่ต้องอำนวยพระพรให้กับผู้ชอบธรรม ไม่น่าสงสัยเลยว่าเหตุใดโยนาห์ดูถูกพระ คุณพระเจ้า เพราะเขาคิดว่าพระคุณนั้นมีไว้สำหรับคนที่ไม่สมควรจะได้รับ และเขาเป็น พวกที่ไม่มีความจำเป็นต้องรับสิ่งที่ถูกหยิบยื่นให้ ความหยิ่งยโสเห็นว่าตนเองดีกว่า ผู้อื่นของโยนาห์และชาวอิสราเอลนั้นเด่นชัดขึ้นมาทีเดียว และเป็นเหตุผลที่ทำไมชาว อัสซีเรียถึงต้องขับไล่ชาวอิสราเอลออกไป

พระธรรมโยนาห์ไม่ได้จบลงอย่างถูกต้องสวยงามแบบ "และแล้วทุกคนก็มีความสุข" แต่กลับตรงข้าม ประโยคสุดท้ายจบลงที่พระเจ้ากล่าวตักเตือนโยนาห์ ไม่มีการพูดถึง ว่าโยนาห์กลับใจ ผมเชื่อว่าคำตอบสำหรับเรื่องนี้ธรรมดามาก คือยังไม่มีบทสรุปสุด ท้ายต่อความบาปของความหยิ่งยโสที่ชนชาติอิสราเอลมีต่อพันธสัญญาใหม่ และการ เมินเฉยต่อการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ พระเยซูคริสต์ อันที่จริงตอนจบของพระธรรม โยนาห์นั้นตรงกับความเป็นจริงที่สุด เพราะแสดงให้เห็นถึงการรุกที่จนมุมระหว่างชาว อิสราเอลกับพระเจ้า ซึ่งดึงดันกันมาจนถึงสมัยพระเยซู และถึงในปัจจุบันด้วย หนัง สือเล่มสุดท้ายในพระคัมภีร์เดิม พระธรรมมาลาคี บันทึกเรื่องราวของชนชาติแห่งความ บาป อิสราเอล ผู้เปรียบเหมือนคู่ปรปักษ์ของพระเจ้า :

พระวจนะของพระเจ้าที่มีต่ออิสราเอลโดยมาลาคี พระเจ้าตรัสว่า "เรา ได้รักเจ้าทั้งหลาย" แต่ท่านทั้งหลายพูดว่า "พระองค์ได้ทรงรักข้า พระองค์สถานใด ?" พระเจ้าตรัสว่า "เอซาวเป็นพี่ชายของยาโคบ มิใช่หรือ ? เราก็ยังรักยาโคบ" (มาลาคี 1:1-2)

เมื่อมาถึงตอนจบของการวิเคราะห์ ความแข็งกระด้างในจิตใจของคนอิสราเอลคงจะมี ต่อไปจนกระทั่งภัยพิบัติเกิดขึ้น เมื่อพระเมสซิยาห์เสด็จกลับมาอีกครั้ง เพื่อทะลุทะลวง ความดื้อด้านหยิ่งยโสของบรรดาประชากรที่พระองค์เลือกสรรประทานความรอดให้ ไม่ใช่เป็นเพราะความชอบธรรมของพวกเขา แต่เป็นพระคุณเพียงทั้งสิ้น

ความยโสของโยนาห์และชาวอิสราเอลในสมัยของพระเยซู

โยนาห์ไม่เป็นแต่เพียงภาพสะท้อนของจิตวิญญาณชาวอิสราเอลในสมัยนั้น ท่านยังเป็น ต้นตระกูลความหยิ่งยโสของชาวอิสราเอลโดยรวมด้วย โดยเฉพาะบรรดาผู้นำศาสนา เมื่อครั้งองค์พระเยซูคริสต์เสด็จมาบังเกิด พระองค์ไม่ได้บังเกิดให้เป็นที่ประจักษ์ต่อบรร ดาผู้นำระดับสูงของศาสนา แต่ต่อบรรดาผู้ใจถ่อมและอ่อนแอ (ลูกา 2) ดังที่นางมารีย์ สรรเสริญไว้ในบทเพลงของนาง (ลูกา 1:46-55) การเสด็จมาของพระคริสต์นั้นก็เพื่อ คนต่างชาติ (ลูกา 2:31-32) และพวกยิวด้วย ดังนั้นพวกโหราจารย์เมื่อทราบเรื่องการ เสด็จมา จึงพากันมาเฝ้านมัสการพระองค์ (มัทธิว 2:1) เมื่อพระองค์ทรงเริ่มต้นพระ ราชกิจของพระองค์ ตามที่บันทึกอยู่ในพระกิตติคุณลูกาบทที่ 4 (โดยเฉพาะข้อ 16-21) แสดงให้เห็นอีกด้วยว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อคนขัดสนและคนที่ถูกเบียดเบียน คำเทศนา บนภูเขาของพระองค์ยังเป็นสิ่งยืนยันในเรื่องเดียวกันต่อบรรดาผู้ได้รับพระคุณทั้งหลาย

เมื่อองค์พระเยซูคริสต์เริ่มปฏิบัติพระราชกิจของพระองค์ เวลาและความเหนื่อยยากแทบ ทั้งสิ้นพระองค์ทรงสละให้ก็เพื่อ "บรรดาคนบาป" ซึ่งก่อให้เกิดความโกรธเคืองและ ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงจากบรรดาผู้นำศาสนาระดับสูง บรรดาฟาริสีและธรรมาจารย์ ทั้งหลายในทันที :

ฝ่ายธรรมาจารย์ที่เป็นพวกฟาริสี เมื่อเห็นพระองค์ทรงเสวยพระกายา หาร กับพวกคนบาปและคนเก็บภาษี จึงถามศิษย์ของพระองค์ว่า "เหตุ ไฉนอาจารย์ของท่านจึงรับประทานด้วยกันกับคนเก็บภาษีและคนนอก รีตเล่า ?" (มาระโก 2:16).

เหตุใดพวกธรรมาจารย์และฟาริสีจึงเดือดร้อนใจเมื่อพระเยซููใช้เวลากับ "พวกคนบาป" มากกว่ากับพวกเขา ? มันก็เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่โยนาห์โกรธเคืองพระเจ้า พวกผู้ นำศาสนาเหล่านี้คิดว่าพวกเขาสมควรจะได้รับความสนใจและเป็นคนสำคัญที่พระเยซู ควรใช้เวลาด้วยให้มาก และ "พวกคนบาป" ไม่สมควรได้รับสิ่งใดเลย นอกจากการถูก พระเจ้าลงโทษ (ยอห์น 8:2-11) พวกเขาเกลียดชังคนต่างชาติ แม้กระทั่งชาว อิสราเอลในบรรดาพวกเขากันเอง (ยอห์น 7:49).

เหตุใดพวกธรรมาจารย์และฟาริสีจึงมีปฏิกิริยาที่รุนแรงยิ่งต่อคำเทศนาสั่งสอนของพระ เยซู ? เพราะพระองค์แสดงให้พวกเขาเห็นถึงความบาปของตนเอง ที่พวกเขาไม่มีวัน ยอมรับได้ พวกเขาหยิ่งยโสเกินกว่าจะยอมรับพระเมสซิยาห์ของพระเจ้า และพวกเขา เข่นฆ่าพระองค์จนถึงตายบนไม้กางเขนของคนโรมัน

แม้แต่พวกสาวกของพระเยซูเองบางคนยังเป็นเหมือนโยนาห์ คือกระหายจะให้พวก "นอกรีต" ถูกพระเจ้าจัดการ :

52 … เขาก็เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวสะมาเรีย เพื่อจะเตรียม ไว้ให้พระองค์ 53 ชาวบ้านนั้นไม่รับรองพระองค์เพราะพระองค์กำลัง เสด็จไปยังกรุงเยรูซาเล็ม 54เมื่อสาวกของพระองค์ คือยากอบและ ยอห์นได้เห็นดังนั้น เขาทูลพระองค์ว่า "พระองค์เจ้าข้า พระองค์พอ พระทัยจะให้ข้าพระองค์ขอไฟลงมาจากสวรรค์เผาผลาญเขาเสียหรือ?" (ลูกา 9:52ข-54).

หลังจากที่พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์ ถูกฝัง กลับเป็นขึ้นมาและเสด็จสู่สวรรค์ ชาวยิว นี่แหละเป็นผู้ต่อต้านการประกาศข่าวประเสริฐอย่างรุนแรง (กิจการ 22:19-23). แม้กระทั่งชาวยิวคริสเตียนเองยังต้องหันไปประกาศกับชาวต่างชาติแทน (กิจการ 10-11, และ 11:19). เป็นเพราะยิวคริสเตียนบางคนรู้สึกว่าตนเองนั้นเหนือกว่าผู้เชื่อชาว ต่างชาติ พวกเขาแยกชนชั้นและพยายามที่จะให้คนต่างชาติเปลี่ยนแปลงมาทำตาม ธรรมเนียมของชาวยิว (เช่น กิจการ 15:1; กาลาเทีย 2:11) แท้จริงโยนาห์ก็คือภาพ ความหยิ่งยโสของชาวอิสราเอลซึ่งยังมีมาตลอดหลายศตวรรษตราบจนถึงทุกวันนี้

บทสรุป

พระธรรมโยนาห์มีเรื่องมากมายเหมาะสำหรับคริสเตียนในศตวรรษนี้ และสำหรับชาวยิว ทุกยุคทุกสมัย ผมอยากสรุปเรื่องนี้โดยชี้ให้เห็นจุดต่างๆที่เราสามารถนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อชีวิตของเราในทุกวัันนี้

(1) สิ่งที่พระเจ้ากระทำกับมนุษย์นั้นอยู่บนรากฐานแห่งพระคุณ ไม่ใช่เป็นเพราะ การกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น พวกที่ไม่สมควรทั้งหลาย (ซึ่งรวมตัวผมด้วย) ต้องระมัด ระวังเป็นอย่างยิ่งที่คิดแต่เพียงว่า ที่พระเจ้าปฏิบัติต่อคนในยุคของเรานั้นโดยทาง พระคุณ แต่ปฏิบัติกับคนในยุคพระคัมภีร์เดิมโดยทางอื่น ข้อแตกต่างระหว่าง "ยุคนี้" หรือ "ยุคแห่งพระคุณ" ทำให้เรารู้สึกว่าพระเจ้าคงจะปฏิบัติต่อผู้คนในยุคพระคัมภีร์เดิม ตามหลักการดำเนินชีวิตในสมัยนั้น โยนาห์ทำผิดเพราะท่านหลงลืมหลักแห่งพระคุณ พระเจ้านั้นปฏิบัติต่อมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยโดยใช้หลักการแห่งพระคุณทั้งสิ้น เพียงแต่ พระคัมภีร์ใหม่ และโดยพันธสัญญาใหม่ทำให้พระองค์สามารถเทพระคุณให้เราได้อย่าง ล้นเหลือ อย่าให้เราเป็นคนที่คิดว่าพระเจ้าปฏิบัติต่อมนุษย์โดยขาดพระคุณในทุกกรณี การปฏิเสธและไม่ยอมรับพระคุณของพระเจ้านั้นเป็นบาปหนักพอๆกับในสมัย ของโยนาห์ ทุกวันนี้มีคริสเตียนหลายคนโกรธพระเจ้าด้วยสาเหตุที่ผิดๆเหมือนกับ โยนาห์ เพียงแต่เราไม่ยอมรับอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาแบบโยนาห์เท่านั้น

คริสเตียนโกรธพระเจ้าตอนไหน ?

    · เมื่อเราคิดว่าเราสมควรได้รับบางสิ่งจากพระองค์ และเรารู้สึกว่าพระองค์ผิดที่ ไม่ให้ตามที่เราต้องการ.

    · เมื่อเราคิดว่าบางคนไม่สมควรได้รับ เราก็โกรธที่พระเจ้าประทานพระพรแก่เขา ทั้งๆที่คนๆนั้นไม่สมควรจะได้

    · เมื่อพระเจ้านำพระพรบางอย่างคืนไปจากเรา ซึ่งเราคิดว่าพระองค์ไม่มีสิทธิที่จะ ทำเช่นนั้น

    · เมื่อเราเริ่มคิดว่าเรามีดีกว่าคนอื่น

ผมเชื่อว่าความรู้สึกยโสนี้ได้เข้ามาฝังรากลึกลงในชุมชนคริสเตียนในอเมริกา คน อเมริกันชอบคิดว่าตนเองมีส่วนและสมควรกับความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ เราคิดว่า เราได้รับ "พระพร" เพราะความฉลาดของเรา เราช่างคิดช่างค้น เราทำงานหนัก และเรา ทุ่มเทมากมายให้กับพระเจ้า ในทางตรงข้าม เรามีข้ออ้างที่จะปฏิเสธในการแบ่งปัน ความมั่งมีอย่างล้นเหลือให้กับผู้อื่น เพราะเราคอยย้ำเตือนในใจตลอดเวลาว่า ชาติอื่นๆ ที่ยากไร้นั้นเป็นเพราะพวกเขาไม่มีดีเท่าเรา ดังนั้นในขณะที่ประเทศอินเดียกำลังส่ำสม ไปด้วยความยากจนและอดอยาก เรากลับไพล่ไปคิดว่าสาเหตุที่พวกเขาอดอยากนั้น น่าจะมาจาก มัวแต่ไปนับถือกราบไหว้ "วัว" กันอยู่ !! ฟังดูคุ้นๆไหมครับ ? แต่บทสรุป การวิเคราะห์ของเราก็ลงเอยที่ "ความหยิ่งยโส"

คริสเตียนบางคนในทุกวันนี้มองเรื่องการรักษาโรคว่าเป็นสิทธิพิเศษ มากกว่าเป็นของ ประทานโดยพระคุณ ผมไม่อยากจะถกเถียงเรื่องของประทานในการรักษาโรคในทุก วันนี้กับใคร แต่ผมมองว่าพระเจ้าต่างหากที่เป็นผู้รักษา และที่ผมอยากจะปฏิเสธอย่าง ชนิดหัวชนฝาเลยคือเรื่อง พระเจ้า "ต้อง" รักษา ถ้าเราอ้างความเชื่อ การรักษาเป็นของ ประทานโดยพระคุณพระเจ้าหรือเปล่า ? ถ้าใช่ ก็ไม่สมควรที่จะได้รับ หรือหามาได้โดย การ "ใช้ความเชื่อ" การรักษาเป็นของประทานด้วยพระคุณหรือไม่ ? ถ้าเช่นนั้นพระเจ้า ทรงมีสิทธิทุกประการที่จะให้กับผู้ใดก็ได้ที่พระองค์เลือก ไม่ว่าจะเป็นผู้เชื่อแล้วหรือไม่ ก็ตาม และพระองค์ก็มีสิทธิที่จะไม่ให้ตามที่ขอที่อ้างความเชื่อ เราไม่สมควรเรียก ร้องเอาแต่พระคุณ และยิ่งไม่สมควรโวยเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่คิดว่า ได้แล้วจะมีความสุข (จำเรื่องต้นละหุ่งของโยนาห์ได้หรือไม่ ?).

อยากให้เราจำไว้ว่า พระคุณของพระเจ้าที่มอบให้นั้นไม่ได้มาแบบที่เราต้องการ หรือ แบบเลือกเองได้ พระเจ้าทรงมีพระกรุณาอย่างล้นเหลือต่อโยนาห์ ช่วยท่านโดยใช้ปลา มหึมา ถ้าโยนาห์เลือกที่จะรับพระคุณในแบบที่ท่านต้องการ ท่านคงไม่เลือกที่จะเข้า ไปอยู่ในท้องปลาแน่ๆ พระคุณที่พระเจ้ามีต่อบรรดาบุตรของพระองค์นั้นอาจมาจากการ ตีสอน การให้เผชิญกับความเจ็บปวดทุกข์ยากลำบากต่างๆ เช่นเดียวกับที่ชาวยิวเผชิญ มาตลอดประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล การเผชิญความทุกข์ยากเป็นพระคุณพอๆ กับความมั่งคั่ง จำคำเทศนาบนภูเขาเรื่อง "ผู้เป็นสุข" ในพระกิตติคุณได้หรือไม่ !

โยบเข้าใจดีว่าพระเจ้าเปี่ยมไปด้วยพระกรุณาและพระคุณ ไม่ว่าพระองค์จะประทาน ความมั่งคั่งให้ หรือเอาคืนกลับไป ไม่ว่าจะเป็นความสุชหรือความทุกข์ยาก ดังนั้น เมื่อท่านรับรู้เรื่องความสูญเสียในครอบครัว ท่านสามารถกล่าวได้ว่า "พระเจ้าประทาน และพระเจ้าทรงเอาไปเสีย สาธุการแด่พระนามพระเจ้า" (โยบ 1:21).

ความล้มเหลว การทนทุกข์ โดยมากเนื่องมาจากพระคุณ เมื่อเกิดขึ้นในชีวิตของ คริสเตียน ก็เพื่อพระประสงค์ที่จะสำแดงพระคุณของพระองค์ให้เราเอง ให้ผู้อื่น รวมทั้งในฟ้าสวรรค์ได้เห็น

หลักเกณฑ์ของพระคุณ ที่เราทั้งหลายได้รับความรอด เป็นหลักเกณฑ์เดียวกับที่ พระเจ้าใช้ในการดูแลชีวิตของพวกเรา ไม่ว่าพระองค์จะเทพระพรแห่งความมั่งคั่ง และสุขภาพ หรือสำแดงพระคุณท่ามกลางการทดลองนานา ทุกสิ่งนั้นเพื่อประคับ ประคองและนำเราให้เข้าใกล้ชิดพระองค์ยิ่งๆขึ้น

หลักเกณฑ์ของพระคุณช่วยเราในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรง ดีต่อเรา เราต้องดีต่อผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่สมควรได้รับ ผู้ที่ชั่วร้าย หรือ บรรดาศัตรูที่ทำการข่มเหงหรือเกลียดชังเรา เมื่อแสดงความดีต่อผู้อื่น เราก็กำลัง สะท้อนให้เห็นถึงพระคุณที่เราได้รับจากพระเจ้าออกมา

(3) หนังสือพระธรรมโยนาห์สอนเรามากมายเรื่องการประกาศ และการฟื้นฟู ซึ่งเป็นสิ่งที่เราชาวอเมริกันกำลังต้องการเป็นที่สุด ผมเชื่อว่าพระธรรมโยนาห์ บอกเราถึงบางเรื่องที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟู และเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งทีเดียว :

การฟื้นฟูต้องการคนที่จะไปเพื่อตักเตือนคนบาปที่หลงหายและกำลังจะถูกพิพากษา ผลร้ายของความบาป และแรงจูงใจที่อยากจะได้ความรอดนั้น เกิดจากการประกาศ ความจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป และปลายทางคือความพินาศ

การฟื้นฟูต้องมีการกลับใจอย่างแท้จริง มีการฟื้นฟูเกิดขึ้นในนีนะเวห์เพราะประชาชน หันหนีจากการประพฤติชั่ว พวกเขาไม่เพียงแต่สารภาพบาปเท่านั้น แต่ละทิ้งหนทาง บาปอย่างสิ้นเชิง จะมีการฟื้นฟูได้ก็ต้องมีการกลับใจ และการกลับใจต้องนามาซึ่ง การเปลี่ยนแปลง

นอกจากนั้นพระธรรมโยนาห์ยังแสดงให้เห็นซึ่งๆหน้าว่า ที่จริงศัตรูตัวฉกาจในการประ กาศและการฟื้นฟูคือ — ความยโสของเราที่รังเกียจพระคุณพระเจ้า มัวแต่มุ่งหวังจะ รับแต่พระพรให้ตนเอง ไม่ต้องการเหลือเผื่อใคร เป็นเพราะความเห็นแก่ตัว หยิ่งยโส จองหองของชาวอิสราเอลที่ทำให้ไม่ยอมเอื้อเฟื้อแบ่งปันพระพรไปให้คนต่างชาติ เช่นกัน ผมก็เชื่อว่าเป็นเพราะความเห็นแก่ตัว หยิ่งยโสจองหองที่กีดกั้นเรา ในการนำ ข่าวประเสริฐเรื่องความรอดที่พระเจ้ามอบให้ไปสู่ผู้อื่น เพื่อเขาจะได้กลับใจและยอมรับ เอาพระบุตรเป็นพระผู้ช่วยให้รอด

ลองคิดดูเล่นๆว่า สมมุติพระเจ้าเรียกให้คุณทุ่มเทชีวิตของคุณเพื่อการคิดค้นตัวยา สำหรับมารักษาโรคเอดส์ หรือให้คุณไปทำงานพันธกิจกับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ คุณอาจ ประท้วงว่า "อันที่จริง คนพวกนี้สมควรตาย " ความจริงก็คือ มีหลายคนที่ติดเชื้อเอดส์ ไม่ได้เป็นเพราะความส่ำส่อน — แต่อาจติดมาจากสามี จากการถ่ายเลือด หรือทารก ที่ติดมาจากบิดามารดาที่มีเชื้อ

เราหลายคนก็เป็นเหมือนโยนาห์ เราสมน้ำหน้าพวกติดเชื้อเอดส์ ถึงแม้พวกเขา เป็นเหยื่อบริสุทธิ์ผู้เคราะห์ร้ายก็ตาม โยนาห์เอง ก็อยากเห็นเมืองนีนะเวห์พินาศไปทั้ง เมือง ถึงแม้ว่าในท่ามกลางจำนวน 120,000 จะมีเด็กที่บริสุทธิ์หรือพวกสัตว์ต่างๆก็ตาม โยนาห์ไม่ได้มองดูเฉพาะการพิพากษาผู้ทำชั่ว แต่ต้องการให้ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายที่นั่นได้ ถูกลงโทษไปพร้อมๆกัน (สำหรับโยนาห์ การเป็นคนต่างชาติก็เป็นบาปที่สาสมแล้ว และ โดยมาตรฐานของท่าน ชาวนีนะเวห์ทั้งหมด ควรจะพินาศไปในความบาป) แต่ ความจริงก็คือ คนชั่วทั้งหลายกลับใจจากความบาปเมื่อผู้เผยพระวจนะท่านนี้ไปประกาศ พระเจ้าไม่เพียงปรารถนาจะช่วยผู้บริสุทธิ์เท่านั้น บรรดาผู้ประพฤติชั่วด้วย แต่โยนาห์ไม่ คิดเช่นนั้น

คนบาปทุกคนสมควรตาย (ค่าจ้างของความบาปคือความตาย) ซึ่งรวมถึงเราทุกคนด้วย มันน่าทึ่งไหมครับที่ความบาปทางเพศ (มักถูก) บรรดาคริสเตียนตัดสินพิพากษาก่อน เพื่อน แต่บาปความหยิ่งผยองมักถูกมองข้าม และบางครั้งยังได้รับการยกย่องว่า ดูเป็น ผู้ดีไปเสียอีก อย่าลืมว่าพระเจ้ามาตามหาเพือช่วยผู้หลงหาย — คือผู้ที่บรรดาผู้นำ ทางศาสนา หรือผู้ชอบธรรมทั้งหลายรังเกียจไม่อยากจะแตะต้อง ถ้าไม่โดยพระคุณแล้ว เราทั้งหลายก็คือคนบาปที่สมควรได้รับการลงโทษ และเหวี่ยงไปให้ไกลจากพระพักตร์ ของพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น ที่แน่ๆคือเราทั้งหลายที่ได้รับพระคุณนั้น สมควรจะเป็นพวก แรกที่ออกไปแสวงหาผู้หลงหายและแบ่งปันพระพรแห่งความรอดให้แก่ผู้อื่น

(4) พระคุณพระเจ้ามาสู่มนุษย์โดยทางพระเยซูคริสต์ พระคุณพระเจ้าสำแดง ต่อมนุษย์โดยผ่านทางองค์พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงสัญญาว่าทุกคนที่เชื่อและวางใจจะมี ชีวิตนิรันดร์ สิ่งที่คุณต้องทำคือ "ยอมรับ" ว่าคุณต้องการ ว่าุคุณเป็นคนบาปที่ไม่สมควร ได้รับพระพร และรับพระคุณโดยทางพระเยซูคริสต์ โดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ บาปของเราก็จะได้รับการอภัย และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ชอบธรรมในสายพระเนตร พระเจ้า โดยความเชื่อในพระคริสต์เราจะได้รับพระคุณของชีวิตนิรันดร์

ไม่มีคำใดที่เหมาะสมกับความเมตตาที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์นอกจากคำว่า "พระคุณ" พระเยซูเป็นพระคุณของพระเจ้าในรูปแบบของพระบุคคลที่ส่งลงมาเพื่อมนุษย์ (ยอห์น 1:14, 17; 2 ทิโทธี 1:9; 2:1; ติตัส 2:11). ความรอดคือของประทานจากพระคุณ ที่พระเจ้าให้แ่ก่มนุษย์ที่ทำบาป การให้อภัยต่อบาปและจัดเตรียมชีวิตนิรันดร์ให้ (กิจการ 14:13; 20:24, 32; โรม 1:5; 3:24; เอเฟซัส 2:8; โคโลสี 1:6; ติตัส 3:7; 1 เปโตร 5:12). เราเติบโตอยู่ในพระคุณ (2 เปโตร 3:18; ฮีบรู 13:9). เราทั้งหลายรอดปลอด ภัยอยู่ในพระคุณพระเจ้า (โรม 5:12) เมื่อเราอธิษฐาน เรากำลังเข้าเฝ้าอยู่หน้า "พระบัลลังแห่งพระคุณ" (ฮีบรู 4:16). เมื่อเรารับใช้เรารับใช้ด้วยพระคุณ (เอเฟซัส 4:7; 1 เปโตร 4:10), และเราดำเนินชีวิตทั้งสิ้นอยู่บนมาตรฐานแห่งพระคุณ (เอเฟซัส 4:29; โคโลสี 4:6).

ขอให้พระคุณพระเจ้านั้นมีค่ายิ่งสำหรับคุณ เป็นพื้นฐานของการนมัสการพระเจ้า ไม่ใช่ ไปประท้วงทวงบุญคุณเหมือนดั่งโยนาห์


18 คำว่า "ถูกคว่ำ" รุนแรงมากสำหรับโยนาห์ คำนี้ใช้เกี่ยวข้องกับเมื่อมีการทำลาย ล้างเมืองโสดม โกโมราห์ (ปฐก. 19:21, 25, 29). และยังถูกใช้ ในบทเพลงของ โมเสสเมื่อพระเจ้าทรงคว่ำปฏิปักษ์คืออียิปต์ลงในอพยพ (อพยพ 15:7). และใช้ใน เฉลยธรรมบัญญัติ 29:23 เกี่ยวคำเตือนของพระเจ้าเรื่องการพิพากษาชาวอิสราเอล ประชากรของพระองค์ที่เพิกเฉยต่อพระบัญญัติ ซึ่งปรากฎอยู่ทั้งใน 2 ซามูเอล 10:3; 1พงศาวดาร 19:3.

19 "ก่อนที่โยนาห์จะมายังเมืองที่ดูเหมือนป้อมปราการอันแข็งแกร่งนี้ เคยมีเหตุภัย พิบัติจู่โจมมาแล้วถึงสองครั้ง (ในปี 765 และ 759 กคศ.) และมีสุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน ปี 763 ซึ่งเป็นหมายเตือนถึงพระพิโรธของพระเจ้า และ อาจเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมชาวนีนะเวห์ถึงกลับใจในทันทีที่ได้ยินจากโยนาห์ตอน ประมาณปี 759." John Hannah, The Bible Knowledge Commentary (Wheaton: Victor Books, 1985), Vol. 1พระคัมภีร์เดิมหน้า 1462.

Related Topics: Character Study

Report Inappropriate Ad