MENU

Where the world comes to study the Bible

บทที่ 19: บทเพลงการช่วยกู้ของดาวิด (2 ซามูเอล 22)

คำนำ

เมื่อเริ่มเข้าสู่บทเพลงสดุดีีสองบทของดาวิดใน 2 ซามูเอล 22 (ทั้งบท) และ 23 (ข้อ 1-7) ทำให้ผมนึกถึง ครอบครัวของเพื่อนรักคู่หนึ่ง คาร์ล และมาร์ธา ลินด์ ปัจจุบันคาร์ลอายุแปดสิบกว่าแล้ว เป็นทั้งโรคหัวใจ และโรคไต ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลตลอดเวลา คาร์ลสามารถรับมือกับความเจ็บป่วย และรอ การกลับคืนสู่บ้านบนสรวงสวรรค์ได้อย่างน่าชื่นชม เมื่อนึกย้อนไปเกี่ยวกับครอบครัวนี้ บางเรื่องผมจำไม่ ค่อยได้แล้ว แต่บางเรื่องก็ยังแจ่มชัดอยู่ในความทรงจำ สมัยที่ผมกับภรรยาแต่งงานกันใหม่ๆ เรามีเงินอยู่ เพียงนิดเดียว ดังนั้นคืนที่สี่ของการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเรา จบลงที่ห้องนอนรับแขกของครอบครัวลินด์ เช้าวันรุ่งขึ้น คาร์ลและมาร์ธาช่วยกันจัดเตรียมอาหารเช้าสุดอร่อยให้ จอห์นลูกชายคนโตมีหน้าที่ประกาศ เชิญทุกคนมารับประทานอาหารเช้าทางอินเตอร์คอมของบ้าน "อาหารเช้าพร้อมภายในห้านาทีครับ" จอห์น พยายามทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถของเด็กที่เพิ่งเข้าสู่วัยรุ่น พอประกาศเสร็จ อินเตอร์คอมยังไม่ได้ปิดดี เราได้ยินเสียงดังโครมใหญ่ ดังเหมือนกับจานชามทุกใบในตู้ตกลงมาแตกบนพื้น ตามด้วยเสียงตะโกนลั่น ของคาร์ล "จอห์น จอห์น!"

คาร์ลเป็นพ่อครัวฝีมือเอก ถ้าจะให้อธิบายเป็นคำพูด ก็น่าจะสรุปรวมความได้เป็นดังนี้ : "ควันขึ้นเมื่อไร ก็แปล ว่ากำลังได้ที่ ; ถ้ามันไหม้ ก็แปลว่าสุกดีแล้ว" เมื่อหลายปีมาแล้ว ศิษยาภิบาลที่โบสถ์ของคาร์ลเทศนาเรื่อง คนต้นเรือน และเมื่อเลิกโบสถ์ ท่านศบ.จะยืนคอยอยู่ที่ประตูทางออก เพื่อรอจับมือกับสมาชิกแต่ละคน พอมา ถึงคาร์ล ท่าน ศบ. (ผมขอใช้ชื่อว่า"ชัค" แล้วกัน จะได้ไม่เสียหน้า) คาดหวังที่จะได้รับคำชมเรื่องคำเทศนา จากคาร์ล คาร์ลไม่ยั้งเลยครับ เขามองเข้าไปในตาของ "ชัค" พร้อมกับพูดว่า "ชัค ตามความเห็นของผม ผม คิดว่าคำเทศนาของคุณมีค่าเพียง 25 เหรียญเท่านั้น พูดกันตรงๆนะชัค เราทั้งคู่ต่างก็รู้ดีว่า ไม่สมราคาเลย" นี่แหละครับคาร์ล เพื่อนรักของผม

คาร์ลมีบทบาทสำคัญมากในวัยเด็กของผม ในการตั้งคริสตจักรขึ้นที่เมืองออเบอร์น วอชิงตัน พ่อแม่ของผม รวมทั้งคาร์ลและมาร์ธา ลินด์ และเพื่อนๆอีกหลายคน มีสิทธิพิเศษ มีส่วนในการจัดตั้งโบสถ์ที่มีชื่อว่า "ไบเบิ้ล แบ็บติสท์" พวกผมตอนนั้นกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น ยังจำได้ว่า เรามักมีการประชุมกันที่ห้องสำหรับพักศพ เพื่อ รอทำพิธีไว้อาลัย (ตอนอยู่ในโบสถ์ผมไม่เคยมองหาศพเจอ ยังสงสัยอยู่ว่าเขาเอาศพไปไว้ที่ไหน)104 ต่อมา ห้องนั้นก็กลายเป็น ที่ชุมนุมของหมู่บ้าน และถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นโรงหนัง จนในที่สุดเป็นโบสถ์หลังแรก ของพวกเรา พระเจ้าทรงเสริมกำลังให้คาร์ลมีชีวิตยืนยาวมาจนถึงวันนี้ เมื่อชีวิตของเขาไกล้จะจบลง คาร์ล ได้รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์การจัดตั้งคริสตจักรไบเบิ้ลแบ็บติสท์แห่งนี้ไว้ และเมื่อบั้นปลายชีวิตมาถึง คาร์ลกำลังมองย้อนกลับไปในอดีต กลับไปสู่พระหัตถ์ของพระเจ้าที่ควบคุมอยู่ตั้งแต่ในวันเริ่มแรกนั้นเลย

เป็นสิ่งเดียวกับที่กษัตริย์ดาวิดกระทำในบทเพลงสดุดีสองบทส่งท้ายของพระธรรม 2 ซามูเอล บทที่ 22 ของ 2 ซามูเอล เป็นการบันทึกภาพที่สะท้อนเรื่องราวของดาวิด จากจุดเริ่มต้น เมื่อท่านขึ้นครองในฐานะกษัตริย์ อิสราเอล105 ส่วนเจ็ดข้อแรกของบทที่ 23 เป็นบทเพลงสดุดีบทที่สอง ; ซึ่งน่าจะเป็นบทเพลงบทสุดท้าย ของดาวิด เชื่อกันว่าเกิดจากแรงบันดาลใจของท่าน ในฐานะของกษัตริย์ปกครองอิสราเอล มีคำพูดที่เป็น เหมือนบทส่งท้ายในฐานะกษัตริย์ บทเพลงสดุดีของดาวิดทั้งสองบทนี้ เป็นแรงบันดาลใจที่เกิดจากสำนึก ที่ว่าพระหัตถ์ของพระเจ้า ปกอยู่เหนือชีวิตของท่านในฐานะกษัตริย์อิสราเอล จากวันเริ่มต้น จวบจนวันสุดท้าย

อย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว -- และจากที่คุณอ่านจากฉบับแปลทั้งหลาย -- คำสดุดีที่เราศึกษาอยู่นี้ เป็นบทกวี ภาษาฮีบรูทั้งสองบท ที่จริง 2 ซามูเอล บทที่ 22 นั้นคำพูดคล้ายคลึงกับสดุดีบทที่ 18 มีข้อแตกต่างอยู่เพียง นิดเดียว บทสดุดีทั้งสองบทของดาวิดนี้เป็นบทเพลง และอันที่จริงพระธรรม 2 ซามูเอล 22 นี้น่าจะเป็นบท สดุดีที่ยาวที่สุดของดาวิด 106 ทั้งรูปแบบและเนื้อหา ไม่ใช่ของใหม่หรือโดดเด่น แต่เป็นตามรูปแบบดั้งเดิม ของบทสดุดีก่อนหน้า 107 ซึ่งบางบทมีอยู่ใน :

บทสดุดีของอิสราเอลที่ริมทะเล (อพยพ 15:1-18)
บทเพลงสดุดีของโมเสส (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:1-43)
บทเพลงสดุดีของเดโบราห์ (ผู้วินิจฉัย 5)
บทเพลงของนางฮันนาห์ (1 ซามูเอล 2:1-10)
บทเพลงของดาวิด (2 ซามูเอล 22; สดุดี 18)
บทเพลงของฮาบากุก (ฮาบากุก 3:1-19)

ถึงแม้จะอ่านบทเพลงนี้อย่างผ่านๆ เรายังมองเห็นความคล้ายคลึงกันกับบทเพลงสดุดีบทอื่นของดาิวิด เป็นเรื่องที่เราจะนำมาศึกษากันในวันนี้ พระธรรมตอนนี้ เป็นบทสดุดีที่ถูกนำมารวมกันไว้ เพื่อใช้ถ่ายทอด เรื่องราวในประวัติศาสตร์ 108 ในหนังสือพระธรรมสดุดี (เช่นสดุดี 18) บทเพลงเดียวกันนี้ ถูกใช้เป็นแบบ ในการนมัสการของชาวอิสราเอล เป็นรูปแบบที่เอื้อประโยชน์ให้กับเรา เช่นเดียวกับที่ให้ชาวอิสราเอลในยุค โบราณ เป็นบทเพลงสำหรับให้เราร้อง (อาจต้องใส่ดนตรีใหม่ เพราะทำนองเพลงเก่าสูญหายไปนานแล้ว) เพื่อการเรียนรู้และการนมัสการพระเจ้า 109 ใน 2 ซามูเอล 23:1-2 เราถูกเตือนให้ตระหนักว่า บทเพลงสดุดี เหล่านี้ ถูกเขียนขึ้นภายใต้การดลใจขององค์พระวิญญาณบริสุทธิ์ เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่เห็นว่าเป็นเพียงบทเพลงสำหรับคนสมัยโบราณเท่านั้น แต่มีไว้สำหรับเราทั้งหลายด้วย

    บทเพลงสดุดีสรุปโดยรวม

โดยทั่วไป เราจะมองว่าบทเพลงสดุดีเป็นการกลั่นกรอง หรือการแสดงออกของความรู้สึกที่ซับซ้อนภายในใจ ผมไม่ขอโต้แย้งในเรื่องนี้ แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า บทสดุดีอาจเป็นได้มากกว่านั้น บางครั้งบทเพลงสดุดี เป็น การขยายภาพความคิดออกมา โดยการใช้คำพูดในเชิงเปรียบเทียบ และพูดย้ำๆ ตัวอย่างเช่น ดาวิดควรจะ พูดอย่างตรงๆว่าพระเจ้าทรงพระพิโรธ แต่ท่านกลับใช้คำพูดที่จินตนาการถึงพระลักษณะต่างๆของพระเจ้าใน ข้อ 2 และ 3 ถึงแปดอย่างด้วยกัน ข้อมูลที่ท่านต้องการสื่อให้รู้ในบทที่ 22 จึงไม่มีอะไรมาก สรุปออกมาเป็น คำพูดได้ไม่กี่ประโยค ผมจะลองพยายามแยกแยะให้คุณเห็นและเข้าใจ เพื่อจะได้มีโอกาสชื่นชมบทสดุดีนี้ ด้วยกัน

1-3

ข้าฯสรรเสริญพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงทำให้ข้าฯปลอดภัย

4-20

เมื่อข้าฯร้องหาพระองค์ พระองค์ทรงช่วย เมื่อข้าฯจมอยู่ในความทุกข์สาหัส ; ข้าฯเรียกหาพระเจ้า พระองค์ได้ยิน และเสด็จมาช่วยข้าฯ

21-29

พระเจ้าทรงช่วยกู้ข้าฯ เพราะความชอบธรรม

30-46

พระเจ้าทรงช่วยข้าฯ โดยเสริมกำลังข้าฯให้เข้มแข็ง เพื่อต่อสู้และมีชัยเหนือศัตรู

47-50

สรรเสริญพระเจ้า!

51

พระเจ้าทรงช่วยกู้พระราชา พระราชาของพระองค์ ผู้ที่พระองค์ทรงเจิมไว้

เข้าสู่บทเรียน

ขณะที่ผมศึกษาพระธรรมตอนนี้ ผมลองเข้าไปอ่านบทเทศนาต่างๆที่ทางคริสตจักรเพนนินซูลาไบเบิ้ล ใน แคลิฟอร์เนียเผยแพร่อยู่ทางอินเตอร์เนท โดยปกติบทเทศนาตามหน้าจอเหล่านี้จะสั้นกว่าของผมประมาณ ครึ่งหนึ่ง (อาจเป็นเพราะในเรื่องเดียวกัน ผมต้องอธิบายมากกว่าคนอื่นถึงสองเท่า) ตอนที่ผมศึกษาพระธรรม สดุดีบทที่ 18 ผมเชื่อว่าพระธรรมตอนนี้ถูกแบ่งออกเป็นบทเรียนได้ถึงหกบท เพื่อจะพรรณนาและสื่อให้ผู้อื่น เข้าใจ ดังนั้นอย่าหวังว่าผมจะสามารถทำบทเรียนนี้ได้ภายในบทเดียว! เรื่องหลักที่เราจะต้องทำก่อน คือ มองหาหัวใจของสดุดีบทนี้ ข้ามรายละเอียดปลีกย่อยบางประการไป เพื่อจะได้ประโยชน์ให้มากที่สุด ผมจะค่อยๆไล่ตามความคิดของดาวิด ที่ท่านถ่ายทอดออกมา เพื่อจะหาข้อสรุปถึงแรงบันดาลใจของผู้เขียน/ หรือกษัตริย์ท่านนี้ ที่พยายามจะบอกแก่เราทั้งหลาย .

สิ่งที่บทสดุดีนี้ต้องการจะสื่อ -- คือผู้ช่วยกู้ของดาวิด
(22:1-3)

1 เมื่อพระเจ้าทรงช่วยกู้ดาวิด ให้พ้นจากมือของศัตรูทั้งสิ้นของพระองค์ท่าน และให้ พ้นจากพระหัตถ์ของซาอูล ดาวิดก็ถวายถ้อยคำของเพลงบทนี้แด่พระเจ้า 2 พระองค์
ท่านตรัสว่า "พระเจ้าทรงเป็นพระศิลา ป้อม ปราการ110 และผู้ช่วยกู้ของข้าพเจ้า 3
เป็นพระเจ้า ซึ่งทรงเป็นพระศิลาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเข้าลี้ภัยอยู่ในพระองค์ เป็นโล่ และเป็นพลังแห่งความรอดของข้าพเจ้า เป็นที่กำบังเข้มแข็งและเป็นที่ลี้ภัยของข้าพ
เจ้า องค์พระผู้ช่วยของข้าพระองค์เจ้าข้า พระองค์ทรงช่วยข้าพระองค์ให้รอดจากความ
ทารุณ

ข้อแรกของบทสดุดีบทนี้ มีพื้นเพของประวัติศาสตร์อยู่ บทสดุดีนี้ดาวิดเขียนขึ้นหลังจากพระเจ้าทรงช่วยกู้ ท่านให้รอดจากศัตรู ให้พ้นจากเงื้อมมือของซาอูล ดูเหมือนบทสดุดีนี้ เขียนขึ้นหลังจากซาอูลมรณภาพได้ ไม่นาน และดาวิดพึ่งได้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์ และจากจุดที่ดาวิดได้ครอบครองบัลลังก์นี้เอง ท่านพยายาม สะท้อน ให้เห็นถึงพระคุณของพระเจ้า ที่มีต่อชีวิตของท่าน และพระสัญญาที่จะให้ท่านเป็นกษัตริย์อิสราเอล เกิดขึ้นเป็นจริงทุกประการ

บทสดุดีนี้เริ่มต้นที่ดาวิดสรรเสริญพระเจ้าอย่างที่พระองค์ทรงเป็น -- เป็นที่ลี้ภัย ท่านนำสัญลักษณ์หลาย อย่างมาใช้ ท่านพูดถึงพระเจ้าว่าทรงเป็นที่คุ้มภัย เป็นพระศิลา (เป็นป้อมปราการสูง ข้อ 2) ไม่ต้องสงสัยเลย ว่าดาวิดคงใช้เวลามากมาย ยืนอยู่บนพระศิลา มองลงมาจากบนป้อมสูง ด้วยความอุ่นใจว่า ไม่มีทางที่ศัตรู จะเอื้อมถึงได้ พระเจ้าทรงเป็น "ป้อม" และเป็น "ปราการ" ของดาวิด พระองค์ทรงเป็น "โล่ห์" และเป็น "พลังแห่งความรอด" นี่ไม่ใช่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพเท่านั้น ; แต่เป็นวิธีการจริงที่พระเจ้านำมาใช้ ช่วยชีวิตท่านให้พ้นภัยจากศัตรู และบัดนี้ ดาวิดต้องการให้เราทั้งหลายมองย้อนกลับไปในวิธีการที่พระเจ้า จัดเตรียมด้วยพระองค์เอง พระเจ้าเองที่เป็นผู้ช่วยกู้ ; เป็นพระองค์เองที่เป็นที่คุ้มภัยให้เรา เป็นผู้ช่วยเรา ทรง เป็นที่หลบภัยให้แก่พวกเรา

    ดาวิดในภัยอันตราย, ท่านร้องขอความช่วยเหลือ, และได้รับการช่วยกู้
    (22: 4-20)

4 ข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้า ผู้ทรงสมควรแก่การสรรเสริญ และข้าพเจ้าได้รับ การช่วย ให้พ้นจากศัตรูของข้าพเจ้า 5 "เพราะคลื่นมัจจุราชล้อมข้าพเจ้า กระแสแห่งความหายนะ
ท่วมทับข้าพเจ้า กระทำให้กลัว 6 สายใยของแดนคนตายพันตัวข้าพเจ้า บ่วงมัจจุราชปะ
ทะข้าพเจ้า 7 "ในยามทุกข์ใจข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้า ข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้าของ
ข้าพเจ้า จากพระวิหารของพระองค์ พระองค์ทรงสดับเสียงของข้าพเจ้า และเสียงร้อง ของข้าพเจ้ามาถึงพระกรรณของพระองค์ 8 "แล้วแผ่นดินโลกก็สั่นสะเทือนและโคลงเคลง รากฐานของฟ้าสวรรค์ก็หวั่นไหว และสั่นสะเทือนเพราะพระองค์ทรงกริ้ว 9 ควันออกไปตาม ช่องพระนาสิกของพระองค์ และเพลิงผลาญออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ ถ่านก็ติด
เปลวไฟนั้น 10 พระองค์ทรงโน้มฟ้าสวรรค์ลงด้วยและเสด็จลงมา ความมืดทึบอยู่ใต้พระ บาทของพระองค์ 11 พระองค์ทรงเครูบตนหนึ่ง และทรงเหาะไป เออ เห็นพระองค์เสด็จ โดยปีกของลม 12 พระองค์ทรงกระทำความมืดเป็นปะรำของพระองค์ คือที่รวบรวมบรรดาน้ำ เมฆทึบแห่งฟ้า 13 ถ่านลุกเป็นเพลิงจากความสุกใสข้างหน้าพระองค์ 14 พระเจ้าทรงคะนอง กึกก้องจากฟ้าสวรรค์ และองค์ผู้สูงสุดก็เปล่งพระสุรเสียงของพระองค์ 15 และพระองค์ทรง ใช้ลูกธนูของพระองค์ออกมา ทำให้เขากระจายไป พระองค์ทรงปล่อยฟ้าแลบและทำให้เขา
โกลาหล 16 แล้วก็เห็นท้องธาร รากฐานของพิภพก็ปรากฏแจ้ง ตามการขนาบของพระเจ้า ตามที่ลมพวยพุ่งจากช่องพระนาสิกของพระองค์ 17 "พระองค์ทรงเอื้อมมาจากที่สูงทรงจับ
ข้าพเจ้า พระองค์ทรงดึงข้าพเจ้าออกมาจากน้ำมากหลาย 18 พระองค์ทรงช่วยกู้ข้าพเจ้า
จากศัตรู ที่เข้มแข็งของข้าพเจ้า จากบรรดาผู้ที่เกลียดชังข้าพเจ้า เพราะเขามีอานุภาพ เกินกว่าข้าพเจ้า 19 เขาปะทะข้าพเจ้าในวันที่ข้าพเจ้าเกิดภัยพิบัติ แต่พระเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า 20 พระองค์ทรงนำข้าพเจ้า ออกมายังที่กว้างใหญ่ด้วย พระองค์ทรงช่วยกู้
ข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงยินดีในข้าพเจ้า

เราจะเห็นหลักการในข้อ 4 ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของดาวิด (จากข้อ 2-3) เป็นการ สำแดงให้เห็นถึงวิธีการช่วยกู้อันหลากหลายของพระองค์ (ข้อ 5-20) ในข้อ 4 ดาวิดไม่ได้แค่พูดว่า "ข้าพเจ้า ร้องทูลต่อพระเจ้า … และพระองค์ทรงช่วย" แต่ท่านพูดให้เราเห็นภาพว่า "เมื่อข้าพเจ้าร้องทูลวิงวอนต่อ พระเจ้าแห่งการช่วยกู้ พระองค์ทรงช่วยข้าพเจ้า" แล้วท่านอธิบายต่อถึงภาพของความน่ากลัวที่ท่านเผชิญ (ข้อ 5-6) และการทรงช่วยของพระเจ้า (ข้อ 8-20) เพราะพระองค์สดับคำร้องทูลวิงวอนของท่าน (ข้อ 7)

ดาวิดใช้ภาพกระแสแห่งภัยพิบัติ อธิบายถึงชีวิตของท่านที่ถูกศัตรูไล่ตามฆ่า แรก ท่านอธิบายว่าตัวท่านกำลัง จมอยู่ภายใต้คลื่นลูกใหญ่ แต่คนละแบบกับโยนาห์ 111 จากนั้นภาพก็เปลี่ยนไปจากที่กำลังจมดิ่งลึกลง กลาย เป็นถูกกระแสน้ำเชี่ยวพัดพาไป (ข้อ 5) ท่านอธิบายว่าถูกสายบ่วงมัจจุราช (หรือหลุมศพ; ฉบับ KJV ใช้คำว่า "นรก") พันและเหนี่ยวรั้งท่านไว้ และท่านกำลังเผชิญกับกับดักของความตาย (ข้อ 6) ด้วยลมหายใจสุดท้าย ด้วยการกระเสือกกระสนให้พ้นจากน้ำครั้งที่สาม ดาวิดบอกเราว่า ท่านร้องทูลวิงวอนขอความช่วยเหลือจาก พระเจ้า และจากที่ๆพระองค์ประทับอยู่ พระองค์ทรงสดับเสียงร้องของท่าน (ข้อ 7)

ดาวิดอธิบายถึงการช่วยกู้ด้วยจินตนาการถึงการเสด็จมาของพระเจ้า (การเปิดเผยพระองค์ต่อมนุษยชาติ) ใน หลายๆทาง จินตนาการของดาวิดทำให้นึกถึงภาษาพูดที่ใช้ เืมื่อครั้งพระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ที่ภูเขาซีนาย เมื่อพระองค์มอบธรรมบัญญัติให้กับโมเสส :

16 อยู่มาพอถึงรุ่งเช้าวันที่สาม ก็บังเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ มีเมฆอันหนาทึบ ปกคลุมภูเขานั้นไว้กับมีเสียงแตรดังสนั่น จนคนทั้งปวงที่อยู่ในค่ายต่างก็พา
กันกลัวจนตัวสั่น 17 โมเสสก็นำประชาชนออกจากค่ายไปเฝ้าพระเจ้า พวก
เขามายืนอยู่ที่เชิงภูเขา 18 ภูเขาซีนายมีควันกลุ้มหุ้มอยู่ทั่วไป เพราะพระเจ้า เสด็จลงมาบนภูเขานั้นโดยอาศัยเพลิงควันไฟพลุ่งขึ้นเหมือนควันจากเตาใหญ่ ภูเขาก็สะท้านหวั่นไหวไปหมด 19 เมื่อเสียงแตรยิ่งดังขึ้น โมเสสก็กราบทูล พระเจ้าก็ตรัสตอบเป็นเสียงฟ้าร้อง (อพยพ 19:16-19)

เป็นคำพูดในแบบเดียวกันในบทเพลงของเดโบราห์ :

4 "ข้าแต่พระเจ้า เมื่อพระองค์เสด็จออกจากเสอีร์ เมื่อพระองค์เสด็จจากท้องถิ่น
เอโดม แผ่นดินก็หวาดหวั่นไหว ท้องฟ้าก็ปล่อยลงมา เออ เมฆก็ปล่อยฝนลงมา
5 ภูเขาก็ไหวสะท้านต่อพระพักตร์พระเจ้า ทั้งภูเขาซีนาย โน้มต่อพระพักตร์ พระ เยโฮวาห์พระเจ้าของอิสราเอล (ผู้วินิจฉัย 5:4-5; ดูสดุดี 68:8; ฮาบากุก 3:3-15)

ดาวิดร้องขอการช่วยกู้จากพระเจ้า พระองค์ทรงตอบโดยสำแดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ว่า พระองค์เองเป็น ผู้ครอบครองอยู่เหนือทุกสิ่งที่ทรงสร้าง เมื่อพระองค์สดับคำร้องทูลวิงวอนของดาวิด พระองค์ทรงตอบโดย เห็นได้ชัดเจนผ่านทางสิ่งที่พระองค์สร้าง พระเจ้าทรงพระพิโรธต่อบรรดาศัตรูที่เข้ามาทำร้ายกษัตริย์ที่พระ องค์เจิมตั้งไว้ และสรรพสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้าง ก็สะท้อนให้เห็นถึงพระพิโรธของพระองค์ นี่ไม่ใช่ เป็นการอธิบายให้เห็นว่า พระเจ้าทรงต้องการช่วยกู้กษัตริย์ของพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์ต้องการจะทำลาย ศัตรูทั้งหลาย ที่เข้ามาข่มขู่กษัตริย์ของพระองค์ด้วย

สิ่งแรกที่เห็นชัดว่าเป็นการช่วยกู้ของพระเจ้าคือเกิดแผ่นดินไหว โลกทั่งใบสั่นสะเทือนและปริออก (ข้อ 8) ควันแห่งพระพิโรธพลุ่งออกมาจากพระนาสิก และไฟจากพระโอษฐ์เผาผลาญทุกสิ่งที่ขวางกั้น และถ่านก็ ลุกติดไฟนั้น (ข้อ 9) เมื่อพระเจ้าเสด็จลงมา สวรรค์ก็โน้มลงมา พระองค์ทรงประทับอยู่เหนือความมืดทึบ เป็น ลางบ่งถึงเหตุร้าย (ข้อ 10) พระอง์ทรงเครูปเหาะไปด้วยปีกของลม ความมืดเป็นปะรำของพระองค์ ความสุก ใสสว่างเป็นประกายนำหน้าพระองค์ (ข้อ 12-13) พระสุรเสียงกึกก้องเหมือนเสียงฟ้าร้อง พระองค์ทรงปล่อย ฟ้าแลบออกไป พุ่งเหมือนลูกธนู (ข้อ 14-15) เมื่อพระองค์เสด็จมา ทะเลก็แยกออก เผยให้เห็นรากฐานของ แผ่นดิน การขนาบของพระองค์พวยพุ่งออกมาจากพระนาสิก (ข้อ 16) พระเจ้าทรงยื่นพระหัตถ์ลงไป และดึง ผู้รับใช้ของพระองค์ขึ้นมาจากน้ำมากหลาย กู้เขาให้พ้นจากศัตรูผู้ห้าวหาญ นำเขามาวางไว้บนแผ่นดินกว้าง ใหญ่ แม้บรรดาศัตรู จะมีกำลังมากมหาศาล แต่พระเจ้าทรงช่วยกู้ให้พ้นจากเงื้อมมือศัตรูได้ พระองค์ทรงเป็น ที่พึ่งพิง112 ของท่าน เมื่อศัตรูจู่โจมเข้ามา

พื้นฐานของการช่วยกู้
(22:21-28)

21 "พระเจ้าทรงประทานรางวัลแก่ข้าพเจ้าตามความชอบธรรม ของข้าพเจ้า พระองค์ทรงตอบข้าพเจ้าตามความสะอาดแห่งมือของข้าพเจ้า 22 เพราะ ข้าพเจ้ารักษาบรรดาพระมรรคาของพระเจ้า และไม่ได้พรากจากพระเจ้าของ
ข้าพเจ้าอย่างอธรรม 23 เพราะกฎหมายทั้งสิ้นของพระองค์อยู่ต่อหน้าข้าพเจ้า และข้าพเจ้ามิได้หันจากกฎเกณฑ์ของพระองค์ 24 ต่อพระพักตร์พระองค์
ข้าพเจ้าไร้ตำหนิ และข้าพเจ้ารักษาตัวไว้ให้พ้นจากกรรมชั่วของข้าพเจ้า
25 เพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงตอบแทนข้าพเจ้าตามความชอบธรรม ของข้าพเจ้า ตามความสะอาดของข้าพเจ้าในสายพระเนตรของพระองค์ 26 "พระองค์ทรง สำแดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่จงรักภักดี พระองค์ทรงสำแดงพระองค์ไร้ตำหนิ
ต่อผู้ที่ไร้ตำหนิ 27 พระองค์ทรงสำแดงพระองค์บริสุทธิ์ต่อผู้ที่บริสุทธิ์ พระองค์ ทรงสำแดงพระองค์เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ที่คดโกง 28 พระองค์ทรงช่วยกู้ประชาชน
ที่อนาถ แต่พระองค์ทอดพระเนตรผู้ที่ยโสเพื่อนำเขาให้ต่ำลง

เมื่อพระเจ้าประทานธรรมบัญญัติโมเสสให้กับอิสราเอล พระองค์ตรัสอย่างชัดเจนว่า ถ้ากระทำตามก็จะนำมา ซึ่งพระพร (เฉลยธรรมบัญญัติ 28:1-14) แต่ถ้าไม่เชื่อฟัง จะนำมาซึ่งคำสาปและภัยพิบัติ (28:15-68).113 ดาวิดเป็นผู้ที่ทำตามพระเจ้าอย่างสุดใจ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ (ดู 1 พกษ. 15:5) ดาวิดรักและดำเนิน ตามพระบัญญัติ ท่านเข้าใจดีว่าผู้ที่อยู่ใกล้องค์พระผู้เป็นเจ้า คือผู้ที่รักษาพระบัญญัติของพระองค์ :

1 (บทสดุดีของดาวิด) ข้าแต่พระเจ้า ผู้ใดจะอาศัยอยู่ในพลับพลาของพระองค์ ผู้ใดจะอยู่บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ 2 คือผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างหาที่ติ มิได้ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรม และพูดความจริงจากจิตใจของตน 3 ผู้ซึ่งไม่ใช้ลิ้น ของตนในการนินทาว่าร้าย ไม่กระทำชั่วต่อเพื่อน และไม่ด่าเพื่อนบ้านของตน
4 ในสายตาของเขา คนถ่อยเป็นคนที่ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เขาให้เกียรติแก่ผู้
ที่ยำเกรงพระเจ้า ถึงสาบานแล้ว และต้องเสียประโยชน์เขาก็ไม่กลับคำ 5 เขา เป็นผู้ที่มิได้ให้คนอื่นกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ย และไม่ยอมรับสินบนต่อสู้ผู้ไร้ความผิด ผู้ซึ่งกระทำสิ่งเหล่านี้จะไม่หวั่นไหวเป็นนิตย์ (สดุดี 15)
3 ผู้ใดจะขึ้นไปบนภูเขาของพระเจ้า และผู้ใดจะยืนอยู่ในวิสุทธิสถานของพระองค์
4 คือผู้ที่มีมือสะอาดและใจบริสุทธิ์ ผู้ที่มิได้ปลงใจในสิ่งเท็จ และมิได้สาบานอย่าง
หลอกลวง 5 เขาจะรับพระพรจากพระเจ้า และความยุติธรรมจากพระเจ้าแห่งความ
รอดของเขา (สดุดี 24:3-5)

ดาวิดเชื่อ เช่นเดียวกับคนอิสราเอลที่สัตย์ซื่อ ว่าพระเจ้าจะลงโทษคนอธรรม และช่วยผู้ชอบธรรมที่เข้ามา ลี้ภัยอยู่ในพระองค์ :

35 ข้าพเจ้าเห็นคนอธรรมมีอำนาจมากยิ่ง และสูงเด่นอย่างต้นสนสีดาร์แห่งเลบานอน
36 เขาได้ผ่านไป และนี่แน่ะ ไม่มีเขาเสียแล้ว ถึงข้าพเจ้าจะแสวงหาเขา ก็ไม่พบเขา
37 จงหมายคนไร้ตำหนิไว้ และมองดูคนเที่ยงธรรม เพราะสันติชนจะมีอนาคต 38 แต่ ผู้ละเมิดจะถูกทำลายเสียด้วยกัน อนาคตของคนอธรรมจะถูกตัดออกไปเสีย 39 ความ รอดของคนชอบธรรมมาจากพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นที่ลี้ภัยของเขาในเวลายากลำบาก
40 พระเจ้าทรงช่วยเขาและทรงช่วยกู้เขา พระองค์ทรงช่วยกู้เขาจากคนอธรรมและทรง ช่วยเขาให้รอด เพราะเขาทั้งหลายเข้าลี้ภัยในพระองค์ (สดุดี 37:35-40)

ในธรรมบัญญัติของโมเสส พระเจ้าสั่งชัดเจนต่อประชากรของพระองค์ว่า จะทรงอำนวยพระพร เมื่อพวกเขา วางใจ และรักษาธรรมบัญญัติของพระองค์ (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 7:12-16) ในทางกลับกัน พระองค์ทรงสั่ง อย่างชัดเจนเช่นกันว่า ความดีทั้งหลายที่พวกเขากระทำด้วยตนเองนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งพระคุณ :

4 "เมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้า ของท่านได้ขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านทั้งหลาย
แล้ว ท่านทั้งหลายอย่านึกในใจว่า 'เพราะความชอบธรรมของข้า พระเจ้าจึงทรง นำข้ามาให้ยึดครองแผ่นดินนี้' แต่เพราะความชั่วของประชาชาติเหล่านี้ พระเจ้า จึงทรงขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่าน 5 ซึ่งท่านทั้งหลายกำลังเข้าไปยึดครองแผ่นดิน
นี้นั้น มิใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน หรือความสัตย์ธรรม ในใจของท่าน แต่เป็น เพราะความชั่วช้าของประชาชาตินี้ ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านต้องขับไล่ เขา ออกเสียต่อหน้าท่านทั้งหลาย และเพื่อว่าพระองค์จะทรงให้เป็นจริงตาม พระวจนะ ซึ่งพระเจ้าทรงปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน คือต่ออับราฮัม ต่ออิสอัค และต่อยาโคบ
6 "เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายพึงทราบเถิดว่า ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ทรง ประทานแผ่นดินดีนี้ให้ท่านยึดครองนั้น มิใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน เพราะว่า ท่านทั้งหลายเป็นชนชาติที่ดื้อดึง (เฉลยธรรมบัญญัติ 9:4-6).

ดาวิดไม่เคยลืมว่าตนเป็นคนบาป ที่ต้องการได้รับการอภัยและพระคุณ :

3 เพราะพระพิโรธของพระองค์ จึงไม่มีความปกติในเนื้อหนังของข้าพระองค์ เพราะบาปของข้าพระองค์ จึงไม่มีอนามัยในกระดูกของข้าพระองค์ 4 เพราะ ความบาปผิดของข้าพระองค์ท่วมศีรษะ มันหนักเหมือนภาระ ซึ่งหนักเหลือ
กำลังข้าพระองค์ 5 เพราะความโง่เขลาของข้าพระองค์ บาดแผลของข้า พระองค์จึงเหม็นและเน่าเปื่อย (สดุดี 38:3-5)

ดาวิดเข้าใจดีว่าพระเจ้าทรงช่วยผู้ชอบธรรม และลงโทษคนอธรรม เพราะเหตุนี้พระองค์จึงทรงสดับคำร้องทูล ของดาวิด และช่วยท่านให้พ้นภัยจากบรรดาศัตรู พระเจ้าไม่เพียงแต่ช่วยผู้ชอบธรรมเท่านั้น พระองค์ทรงช่วย ผู้ที่ทุกข์ยากด้วย แต่ทรงสาปแช่งบรรดาผู้ที่หยิ่งยโส

เราจะมาพูดเรื่องความชอบธรรมของดาวิดทีหลัง แต่ผมกำลังนึกถึงบาปของซาอูลและราชวงศ์นองเลือดของ ท่าน ที่ทำให้อิสราเอลต้องเกิดกันดารอาหารถึงสามปี จนกว่าบาปนี้จะได้รับการชดใช้ พระเจ้าจึงจะฟังเสียง ร้องทูลของประชากร และยุติการกันดารอาหาร (ดู 2 ซามูเอล 21) ดังนั้นดาวิดเชื่อมั่นว่า ถ้าท่านเชื่อฟังและ วางใจในพระเจ้า พระองค์จะฟังคำทูลวิงวอนของท่าน

เมื่อพระเจ้าเสริมกำลัง แพื่อให้มีชัยเหนือศัตรู
(22:29-46)

29 ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นประทีปของข้าพระองค์ พระเจ้าทรงกระทำ ให้ความมืดของข้าพเจ้าสว่าง 30 พ่ะย่ะค่ะ ข้าพระองค์ตะลุยกองทัพ ได้โดย
พระองค์ โดยพระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ากระโดดข้ามกำแพงได้ 31 ฝ่าย
พระเจ้า พระมรรคาของพระองค์บริสุทธิ์หมดจด พระสัญญาของพระเจ้าพิสูจน์
แล้วเป็นความจริง พระองค์ทรงเป็นโล่ของบรรดาผู้ที่ลี้ภัยอยู่ในพระองค์ 32 "เพราะผู้ใดจะเป็นพระเจ้า นอกจากพระเยโฮวาห์ และผู้ใดเล่าเป็นพระศิลา
นอกจากพระเจ้าของเรา 33 พระเจ้าทรงเป็นป้อมเข้มแข็งของข้าพเจ้า และ พระองค์ทรงนำผู้ไร้ตำหนิในพระมรรคาของพระองค์ 34 พระองค์ทรงกระทำ ให้เท้าของข้าพเจ้าเหมือนอย่างตีนกวางตัวเมีย และทรงวางข้าพเจ้าไว้บนที่
สูงของข้าพเจ้า 35 พระองค์ทรงหัดมือของข้าพเจ้าให้ทำสงคราม แขนของ ข้าพเจ้าจึงโก่งคันธนูทองสัมฤทธิ์ได้ 36 พระองค์ประทานโล่ความรอดของ
พระองค์ให้ข้าพระองค์ และซึ่งพระองค์ทรงน้อมพระทัยลง ก็กระทำให้ข้าพระ
องค์เป็นใหญ่ขึ้น 37 พระองค์ประทานที่กว้างขวางสำหรับเท้าของข้าพระองค์ เท้าของข้าพระองค์จึงไม่พลาด 38 ข้าพระองค์ไล่ตามศัตรูของข้าพระองค์ และ
ได้ทำลายเขาเสีย และไม่หันกลับจนกว่าเขาจะถูกผลาญเสียสิ้น 39 ข้าพระองค์
ผลาญเขา ข้าพระองค์แทงเขาทะลุ เขาจึงไม่สามารถลุกขึ้นอีกได้ พ่ะย่ะค่ะ เขา ล้มลงใต้เท้าของข้าพระองค์แล้ว 40 เพราะพระองค์ทรงคาดเอวข้าพระองค์ไว้ด้วย
กำลัง เพื่อทำสงคราม พระองค์ทรงกระทำให้พวกที่ลุกขึ้นต่อสู้ข้าพระองค์ จม
ลงใต้ข้าพระองค์ 41 พระองค์ทรงกระทำให้ศัตรูของ ข้าพระองค์หันหลังหนีข้า
พระองค์ บรรดาผู้ที่เกลียดชังข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ทำลายเสีย 42 เขามองหา แต่ไม่มีใครช่วยให้รอดได้ เขาร้องทูลต่อพระเจ้า แต่พระองค์มิได้ทรงตอบเขา
43 ข้าพระองค์ทุบตีเขาแหลกละเอียดอย่างผงคลีดิน ข้าพระองค์เหยียบเขาลง เหมือนโคลนตามถนนและกระจายเขาออกไปทั่ว 44 "พระองค์ทรงช่วยกู้ ข้าพระ
องค์จากการเกี่ยงแย่ง ประชาชนของข้าพระองค์ พระองค์ทรงรักษาข้าพระองค์ไว้ ให้เป็นหัวหน้าของบรรดาประชาชาติ ชนชาติที่ข้าพระองค์ไม่เคยรู้จัก ก็จะปรนนิบัติ
ข้าพระองค์ 45 ชนต่างด้าวจะมาหมอบราบต่อข้าพระองค์ พอเขาได้ยินถึงข้าพระองค์ เขาก็จะเชื่อฟังข้าพระองค์ 46 ชนต่างด้าวเสียกำลังใจ และตัวสั่นออกมาจากที่กำบัง ของเขาทั้งหลาย

ดาวิดสรรเสรญพระเจ้าที่เป็นพระผู้ช่วยของท่าน เป็นที่ลี้ภัย (ข้อ 2-3) เมื่อใดก็ตามที่ท่านร้องทูลขอความช่วย เหลือ พระองค์ทรงสดับและตอบคำทูลนั้น (ข้อ 4) ด้วยวิธีที่เห็นถึงพระสิริของพระองค์ พระพิโรธที่มีต่อศัตรู ที่ต่อต้านผู้รับใช้ของพระองค์ และเห็นถึงฤทธานุภาพอันไม่จำกัดของพระองค์ (ข้อ 5-20) พระเจ้าทรงช่วยกู้ ดาวิดเพราะความชอบธรรมของท่าน และความชั่วของศัตรู (ข้อ 21-28) บางทีอ่านมาถึงตรงนี้ พวกเราอาจสรุป เอาเองว่า "ความรอดนั้นมาจากพระเจ้า" ไม่เกี่ยวกับเรา ดังนั้นเราควรนิ่งเฉยหรือ? รอให้พระเจ้าเข้ามาจัดการ ถ้าจะดีกว่า บางครั้งก็เป็นสิ่งที่พระเจ้าต้องทำ เพื่อให้เราตระหนักว่า พระองค์เองเป็นผู้ประทานชัยชนะ เหมือน กับที่เกิดขึ้นในพระธรรมอพยพ เมื่อพระเจ้าบันดาลให้พวกอียิปต์จมน้ำตายในทะเลแดง แต่บ่อยครั้งพระเจ้าทรง ให้เรามีส่วนร่วมในวิธีการช่วยกู้ของพระองค์ ในกรณีเช่นนี้ พระเจ้าเองเป็นผู้ประทานกำลัง หนุนให้เราสามารถ เอาชนะศัตรู ดาวิดลุกขึ้นมาสู้กับโกลิอัทและมีชัย แต่ชัยชนะนั้นพระเจ้าเป็นผู้ประทานให้ ในข้อ 30-46 ดาวิด พูดว่า พระเจ้าเป็นผู้ดลบันดาล ให้ท่านมีกำลังเข้มแข็งขึ้น จนมีชัยเหนือศัตรู

พระกำลังของพระเจ้าไม่ใช่เพิ่มเติมให้เรามีกำลังมากยิ่งขึ้น ; พระกำลังของพระเจ้าเติมจุดอ่อนเราให้เต็ม นี่เอง เป็นเหตุให้ดาวิดเริ่มด้วยคำพูดว่า

ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นประทีปของข้าพระองค์ พระเจ้าทรง กระทำให้ความมืดของข้าพเจ้าสว่าง (ข้อ 29)

พระเจ้าขจัดความมืดออกไปจากดาวิด พระเจ้าเสริมให้ดาวิดมีเรี่ยวแรงขึ้น เป็นสิ่งเดียวกับที่ อ.เปาโลสอนไว้ ในพระคัมภีร์ใหม่ :

7 และเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวจนเกินไป เนื่องจากที่ได้เห็นการสำแดงมากมายนั้น ก็ทรงให้มีหนามใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้นเป็นทูตของซาตานคอยทุบตี ข้าพเจ้าเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวเกินไป 8 เรื่องหนามใหญ่นั้น ข้าพเจ้าวิงวอนองค์ พระผู้เป็นเจ้าถึงสามครั้ง เพื่อขอให้มันหลุดไปจากข้าพเจ้า 9 แต่พระองค์ตรัสกับ
ข้าพเจ้าว่า "การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอมีที่ไหน เดช ของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น" เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อน
แอของข้าพเจ้า เพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพเจ้า 10 เหตุฉะนั้นเพราะ
เห็นแก่พระคริสต์ ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า ในการประทุษ ร้ายต่างๆในความยากลำบาก ในการถูกข่มเหง ในความอับจน เพราะว่าข้าพเจ้า
อ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น (2 โครินธ์ 12:7-10)

ดาวิดอธิบายถึงเรี่ยวแรงที่พระเจ้าประทานให้ในการสู้ศึกศงคราม พระกำลังของพระองค์ทำให้ท่านกระโดด ข้ามกำแพงได้ ไล่บดขยี้ศัตรูลงอย่างราบคาบ (ข้อ 30) ความแข็งแกร่งในเชิงรบ เริ่มต้นที่ใจก่อน ดาวิดมี ความกล้าหาญ ยืนหยัดต่อสู้กับโกลิอัท และมีสติปัญญาที่พระเจ้าประทานให้ ใช้สลิงยิงจนโกลิอัทตาย ราก ฐานของความกล้าหาญเช่นนี้ (เราควรเรียกว่า -- ความเชื่อ) คือพระคำของพระเจ้า พระวจนะคำเป็นแหล่ง ความเชื่อของดาวิด ดลบันดาลให้ท่านต่อสู้ได้ ด้วยพระวจนะคำที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระศิลา เป็นที่ลี้ภัย (ข้อ 31-33) พระองค์ไม่เพียงแต่ยกดาวิดให้สูงขึ้น (เป็นต่อในเชิงรบ) แต่ทรงประทานความมั่นคงในที่ๆท่านยืนอยู่ เพื่อสามารถยืนหยัดต่อสู้ได้ (ข้อ 34) พระเจ้าเป็นผู้ฝึกปรือยุทธวิธีในการรบให้แก่ดาิวิด ให้กำลังที่จะโก่งคัน ธนูทองสัมฤทธิ์ได้ (ข้อ 35) ประทานโล่ห์แห่งความรอดให้ ประทานพื้นฐานอันมั่นคง ทำให้เท้าของท่านไม่มี วันพลาดไป (ข้อ 36-37)

ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประทานให้ ก็เพื่อให้ท่านตามล่าศัตรู จนต้องถอยหนี (ข้อ 38) แต่หนีอย่างไรก็หนี ไม่พ้น เพราะพระองค์ทำให้ท่านทำลาย (ทุบตีอย่างแหลกละเอียด-ข้อ 43) ผู้ที่ต่อต้านลงได้ (ข้อ 39-40) ศัตรูของดาวิด -- ส่วนใหญ่ เป็นพี่น้องร่วมชาติด้วยกันเอง แต่บรรดาศัตรูและพันธมิตรของท่าน ก็มีคนต่าง ชาติปะปนอยู่ด้วย ประโยคส่งท้ายของบทเพลงสดุดีนี้ ให้ความสำคัญแก่คนต่างชาติ เพราะพวกเขาช่วยกู้ ท่านให้พ้นจากประชากรของท่านเอง (ข้อ 44) และพระเจ้าทรงทำให้ประชาชาติอกสั่นหวั่นไหว (ต่างชาติ) ผลก็คือ พระเจ้าไม่เพียงแต่ตั้งดาวิดขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเหนืออิสราเอลเท่านั้น แต่ให้ท่านเป็นใหญ่เหนือ ประชาชาติทั้งปวงด้วย คนต่างชาติพวกนี้เกรงกลัวดาวิด และถ้าพวกนี้ไม่ยอมจำนนอย่างจริงใจ แกล้งทำเป็น พันธมิตร (ข้อ 44-45) ในไม่ช้าจะต้องเสียใจ ตัวสั่นออกมา หมอบราบคาบต่อท่าน (ข้อ 46)

สรรเสริญพระเจ้า! (คนต่างชาติด้วย !)
(22:47-50)

47 "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่ และพระศิลา ของข้าพระองค์เป็นที่สรรเสริญ พระเจ้า พระศิลาแห่งความรอด114 ของข้าพระองค์เป็นที่ยกย่อง 48 คือพระเจ้าผู้ทรงกระทำ
การ แก้แค้นให้แก่ข้าพระองค์ และนำชนชาติทั้งหลายลงให้อยู่ใต้ข้าพระองค์ 49 ผู้
ทรงนำ ข้าพระองค์ออกมาจากศัตรูของข้าพระองค์ พ่ะย่ะค่ะ พระองค์ทรงยกข้าพระ
องค์ ให้เหนือปฏิปักษ์ของข้าพระองค์ พระองค์ทรงช่วยกู้ข้าพระองค์จากคนทารุณ 50
"ข้าแต่พระเจ้า เพราะ เหตุนี้ข้าพระองค์ขอเชิดชูพระองค์ ในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์"

พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยและโล่ห์ปกป้องดาวิด เมื่อท่านร้องทูลขอการช่วยกู้ พระองค์ทรงสดับและทรงช่วย พระเจ้าเคลื่อนไหวทั้งท้องฟ้าและแผ่นดินโลก เพื่อนำการช่วยเหลือมาสู่ดาวิด บางครั้งพระองค์ช่วยด้วยวิธี เสริมกำลังท่าน เพื่อต้านภัยและมีชัยเหนือศัตรู ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่น่าสนใจแล้วครับ คุณว่าใครคือศัตรูของ ดาวิด? และใครคือบรรดาผู้ที่จะสรรเสริญพระเจ้าร่วมกันกับท่าน? ชาวยิวที่ชอบธรรมจะตอบได้ทันทีเลยครับ "คนยิวคือมิตรสหายของดาวิด เป็นผู้ที่จะร่วมสรรเสริญพระเจ้าด้วยกันกับท่าน ; คนต่างชาติเป็นศัตรูของ พระเจ้า สมควรถูกบดขยี้ให้แหลกเป็นจุล" แต่ดาวิดไม่ได้พูดเช่นนั้น

ดาวิดบ่งชัดเจนว่า หนึ่งในบรรดาศัตรูของท่าน ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพี่น้องร่วมชาตินั่นเอง (ดูข้อ 44ก) และ บรรดาประชาชาติทั้งหลาย ที่ยอมจำนนกับท่าน คือบรรดาผู้ที่จะร่วมสรรเสริญพระเจ้าด้วยกันกับท่าน (ดูข้อ 44ข) ท่านพูดชัดเจนมากเลยครับในข้อที่ 50 :

50 "ข้าแต่พระเจ้า เพราะ เหตุนี้ข้าพระองค์ขอเชิดชูพระองค์ ในหมู่ประชาชาติ
ทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์

พวกยิวบางคนต่อต้านพระเจ้าด้วยการต่อต้านดาวิด แต่ชาวต่างชาติบางคน เป็นผู้ที่ร่วมสรรเสริญในการช่วยกู้ ของพระเจ้าร่วมกันกับดาวิด ถ้าคุณคิดว่าผมพูดเกินเลยไป ขอนำพระวจนะของ อ.เปาโลที่พูดไว้ เป็นสิ่งยืน ยันในเรื่องนี้ :

7 เหตุฉะนั้นจงต้อนรับกันและกัน เช่นเดียวกับที่พระคริสต์ได้ทรงต้อนรับท่าน เพื่อพระเกียรติของพระเจ้า 8 เพราะข้าพเจ้าหมายว่า พระคริสต์ได้ทรงรับใช้
มายังพวกที่เข้าสุหนัต เพื่อเห็นแก่ ความสัตย์จริงของพระเจ้า เพื่อจะดำรงพระ
สัญญา ที่ประทานไว้กับบรรดาอัครปิตานั้น 9 และเพื่อให้คนต่างชาติได้ถวาย
พระเกียรติแด่พระเจ้า เพราะพระเมตตาของพระองค์ ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระ
คัมภีร์ว่า เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์ขอสรรเสริญพระองค์ ท่ามกลางประ
ชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์
10 และ
มีคำกล่าวอีกว่า ประชาชาติทั้งหลายเอ๋ย จงชื่นชมยินดีกับชนชาติของ
พระองค์ 11
แล้วยังมีคำกล่าวอีกว่า ประชาชาติทั้งปวงเอ๋ย จงสรรเสริญพระเจ้า เถิดและให้ชนชาติทั้งหลายยกย่องพระองค์ 12 และอิสยาห์กล่าวอีกว่า รากแห่ง
เจสซีจะมา คือผู้จะทรงบังเกิดมาครอบครองบรรดาประชาชาติ ประชาชาติทั้งหลาย ะมีความหวังในพระองค์ (โรม 15:7-12)

พระเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยกู้ของดาวิด เป็นที่ลี้ภัยของท่านหรือไม่? ใช่ครับ แต่พระองค์ยังทรงเป็นที่ลี้ภัย และเป็น ผู้ช่วยกู้สำหรับทุกคนที่วางใจในพระองค์ ซึ่งรวมไปถึงคนต่างชาติด้วย บรรดาคนที่ต่อต้านกษัตริย์ของพระ เจ้า (ดาวิด หรือพระเมสซิยาห์) ก็คือศัตรูของพระองค์ และจะถูกกษัตรยิ์ของพระองค์บดขยี้แหลกเป็นจุล

พระเจ้าทรงช่วยกู้กษัตริย์ !
(22:51)

51 พระองค์ประทานชัยชนะยิ่งใหญ่แก่พระราชาของพระองค์ และทรงสำแดงความรัก
มั่นคง แก่ผู้ที่ทรงเจิมของพระองค์แก่ดาวิด และพงศ์พันธุ์ของท่านเป็นนิตย์ 115

บทสรุปของดาวิดเต็มไปด้วยความหวังและการรอคอย ดาวิดเป็นพระราชาที่พระเจ้าเจิม แต่การปกครองของ ท่านในไม่ช้าจะจบลง พระเจ้าได้พิสูจน์แล้วว่าพระองค์ทรงเป็น "ป้อมปราการแห่งความรอด" แต่ไม่ได้ จบลงเพียงแค่สมัยของดาวิดเท่านั้น แต่เป็นพระสัญญาที่จะให้ครอบครองบัลลังก์ชั่วนิรันดร์ :

12 เมื่อวันของเจ้าครบแล้ว และเจ้านอนพักอยู่กับบรรพบุรุษของเจ้า เราจะให้บุตรชาย คนหนึ่งของเจ้าเกิด ขึ้นสืบต่อจากเจ้าผู้ซึ่งเกิดมาจากตัวเจ้าเองและ เราจะสถาปนา อาณาจักรของเขา 13 เขาจะเป็นผู้สร้างนิเวศเพื่อ นามของเราและเราจะสถาปนา บัลลังก์แห่งราชอาณาจักรของเขาให้อยู่เป็นนิตย์ 14 เราจะเป็นบิดาของเขา และเขา จะเป็นบุตรของเรา ถ้าเขากระทำผิดเราจะตีสอนเขาด้วยไม้เรียวของมนุษย์ ด้วยการ เฆี่ยนแห่งบุตรมนุษย์ทั้งหลาย 15 แต่ความรักมั่นคงของเรา จะไม่พรากไปจากเขาเสีย ดังที่เราพรากไปจากซาอูล ซึ่งเราได้ถอดเสียให้พ้นหน้าเจ้า 16 ราชวงศ์ของเจ้า และอาณาจักรของเจ้าจะดำรง อยู่ต่อหน้าเจ้าอย่างมั่นคงเป็นนิตย์ และบัลลังก์ ของเจ้าจะถูกสถาปนาไว้เป็นนิตย์'" (2 ซามูเอล 7:12-16 ผมขอย้ำด้วย)

ดาวิดปลอดภัยและมั่นคงเพราะพระเจ้าเป็นที่ลี้ภัยจริงหรือ? จริงครับ เพราะตอนท้ายท่านเปิดเผยว่า ความมั่น ใจ ความปลอดภัยของท่านนั้นยืนยาวกว่าชีวิตของท่าน ท่านรู้ดีว่าพระิจ้าทรงสำแดงพระทัยรักและเมตตาต่อ ท่าน และพระองค์จะทำสิ่งเดียวกันนี้ต่อราชวงศ์ของท่านด้วย ดังนั้นพระพรที่ท่านพูดถึงนี้ เป็นพระพรนิรันดร์ พระเจ้าไม่เพียงแต่รักษาพระสัญญาที่มีต่อดาวิดเท่านั้น แต่จะทรงปกป้องจากผู้หวังเข้ามาทำลายด้วย และจะ จัดตั้งพระบัลลังก์ และเตรียมการให้พระสัญญาที่มีต่อดาวิดนั้นสำเร็จเป็นจริง โดยทางผู้ที่พระองค์เจิมไว้ คือ องค์พระเมสซิยาห์

บทสรุป

ในการสรุปพระธรรมที่ยิ่งใหญ่ตอนนี้ มีหลายสิ่งที่สะท้อนให้ผมประทับใจ

ประการแรก ผมเห็นว่า "ความสำเร็จ" ของดาวิดเป็นมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น เมื่อดาวิดมองย้อนกลับไป ถึงการขึ้นครองบัลลังก์ของท่าน ท่านเข้าใจดีว่า อำนาจและความยิ่งใหญ่ของท่าน ได้มาโดยพระคุณ ท่านจำ ได้ถึงภัยอันตรายที่ต้องเผชิญ ความตายที่รออยู่เบื้องหน้า หลบไม่พ้น ท่านจึงสรรเสริญพระเจ้าแห่งการช่วยกู้ เป็นที่ลี้ภัย เป็นแหล่งของกำลังและความมีชัย ไม่ใช่ว่าดาวิดแค่นั่งรอพระเจ้าเฉยๆโดยไม่ทำสิ่งใด ท่านทำ ทุกสิ่งเท่าที่ทำได้ ท่านรู้ว่าพระเจ้าจะปกป้องท่าน และนำท่านไปจนถึงบัลลังก์กษัตริย์ของอิสราเอล ดาวิด ถ่อมใจลงอย่างแท้จริง ขอให้เราเรียนจากท่าน ถ้าบุคคลที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ยังถวายเกียรติทั้งสิ้นแด่พระเจ้า แน่นอนเราทั้งหลายสมควรด้วย อย่างที่ อ.เปาโลเคยกล่าวไว้

7 ผู้ใดเล่ากระทำให้ท่านวิเศษกว่าคนอื่น ท่านมีอะไรที่ท่านมิได้รับมา ก็เมื่อท่าน
ได้รับมา เหตุไฉนท่านจึงโอ้อวดเหมือนกับว่าท่านมิได้รับเลย (1 โครินธ์ 4:7)

ประการที่สอง เราเห็นว่าความสำเร็จของดาวิด บางครั้งมาจากศัตรู จากการถูกข่มเหง หลายครั้ง พวกศัตรูนี่แหละทำให้ประสพความสำเร็จ ดาวิดสรรเสริญพระเจ้าแห่งความรอด บ่อยครั้ง "ความรอดนี้" เป็นความรอดทางกาย (พระเจ้าช่วยชีวิตท่าน) เมื่อเราอ่านพระกิตติคุณ เราจะพบเรื่องเดียวกัน "ความรอด" ทั้งสิ้น เป็นความรอดที่ฉุดเราออกมาจากการถูกพิพากษานิรันดร์ ให้เราได้รับการอภัยจากบาป โดยโลหิต พระเยซูคริสต์ มั่นใจในชีวิตนิรันดร์ แต่ในพระกิตติคุณตลอดทุกเล่ม เราจะเห็นว่าพระเจ้าของเรา "ช่วยกู้" ประชาชนในภาพกว้าง ภาพที่ย้ำให้เห็นชัดเจนว่าพระองค์เป็นพระผู้ช่วยที่ยิ่งใหญ่แท้จริง

ในพระคัมภีร์ใหม่ คำภาษากรีกคำว่าการช่วยกู้ มาจากการ "ช่วยกู้" ในหลายรูปแบบ เป็น (ราก) ศัพท์คำเดียว กับ "การช่วยเหลือ" พวกสาวกที่เผชิญพายุร้ายในทะเล (มัทธิว 8:25) การช่วยรักษาหญิงโลหิตตก (มัทธิว 9:21-22) การช่วยเปโตรไม่ให้จมน้ำเมื่อท่านเดินบนทะเล (มัทธิว 14:30) คำร้องขอของไยรัสให้พระเยซูช่วย "รักษา" ชีวิตของบุตรสาว (มาระโก 5:23) การรักษาโรคภัยใข้เจ็บทั้งหลาย (มาระโก 6:56) การรักษาคนตา บอดให้หาย (มาระโก 10:52) รวมถึงการขับผีด้วย (ลูกา 8:36)

บทเรียนที่เราเีรียนอยู่นี้บอกว่า พระเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยของเราในทุกทาง แต่การช่วยกู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การจัดเตรียมโดยการหลั่งพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ สิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คือการยอมรับการจัด เตรียมเพื่อความรอดนี้ เพื่อหลุดพ้นจากบาปผิดและกรรมเวรทั้งสิ้น โดยการยอมรับในการสิ้นพระชนม์ การฝัง พระศพ และการคืนพระชนม์ขององค์พระเยซูคริสต์ และในแต่ละวันของชีวิต เราต้องมองพระองค์เป็นพระ ผู้ช่วยให้รอด เป็นป้อมปราการ เป็นที่ลี้ภัยของเรา ที่เราสามารถเข้าไปหลบอยู่อย่างปลอดภัยเป็นนิตย์

เมื่อตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์และการถูกข่มเหง เราจะสำนึกถึงพระคุณ (2 โครินธ์ 12:7-10) ถ้าเป็นเช่นนั้น (ใช่ครับ มันต้องเป็น) เราควรมองความทุกข์ยากในมุมมองที่ต่างไป ถึงแม้มันจะไม่น่ารื่นรมย์ แต่ผลหอมหวาน ที่ได้รัย ในการที่พระเจ้ามีส่วนร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย นำมาซึ่งความชื่นชมยินดีและสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น กับพระองค์ (ฟีลิปปี 3:10) ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่าทำไมพระเยซูจึงตรัสว่า "บุคคลผู้ใดโศกเศร้า ผู้นั้น เป็นสุข …" (มัทธิว 5:4)

ประการที่สาม การกอบกู้ผู้ชอบธรรมนั้นเกิดขึ้นได้ เมื่อพระเจ้าทรงพระพิโรธ ดาวิดพูดถึงภัยที่เกิด ขึ้นกับท่านนั้น เป็นฝีมือของฝ่ายศัตรู ของพวกที่ต้องการกำจัดท่าน (22:18-19, 38-46) เมื่อท่านพูดถึงการ ช่วยเหลือของพระเจ้าในข้อ 8-16 ท่านอธิบายถึงการที่พระเจ้าทรงบัญชาธรรมชาติในรูปแบบต่างๆมากมาย ทรงเสด็จมาเหมือนบินได้ ด้วยปีกของลม (ข้อ 11); ทรงใช้ทั้งเสียงและสายฟ้าฟาด (ข้อ 14-15) โลกทั้งใบ ก็สั่นสะเทือน (ข้อ 8) นี่เป็นการสำแดงถึงพระพิโรธของพระองค์ ต่อบรรดาคนบาป ที่ต่อสู้พระองค์ โดยต่อต้าน กษัตรยิ์ที่พระองค์เลือกสรรไว้ (ดูข้อ 8) พระเจ้าทรงช่วยกู้ผู้รับใช้ของพระองค์ ด้วยการทำลาย และมีชัยเหนือ ศัตรูทุกคนที่มุ่งร้าย ต่อผู้รับใช้ของพระองค์

ดาวิดรวมการช่วยกู้และการพิพากษาของพระเจ้าไว้ด้วยกัน พระเจ้าช่วยกู้ดาวิดด้วยการทำลายศัตรูของท่าน ไม่มีสิ่งใดอีกแล้ว จะน่าสะพรึงกลัวไปกว่า เมื่อพบว่าตนเองอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพระเจ้าผู้บริสุทธิ์และยุติธรรม ไม่มีอะไรจะน่ากลัวไปกว่าเมื่อตระหนักว่า - มันสายไปแล้ว - เราได้ต่อต้านผู้ที่พระเจ้าเจิมไว้ "พระบุตร" ของพระองค์ (ดู 2 ซามูเอล 7:12-16) ถ้ามันเกิดขึ้นกับศัตรูของดาวิด ลองคิดดูว่าผู้ที่ปฏิเสธองค์พระเยซู คริสต์ "บุตรดาวิด" และ "บุตรพระเจ้า" จะเป็นเช่นไร ไม่มีบาปผิดใดจะใหญ่หลวงไปกว่าการกบฎต่อ พระเจ้า ด้วยการปฏิเสธพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ .

ประการที่สี่ แน่นนอนยังมีสิ่งยิ่งใหญ่กว่าที่ดาวิดได้กล่าวไปแล้วในพระธรรมตอนนี้ เมื่ออ่านสดุดี 22 เรารู้ว่าดาวิดเป็นผู้เขียน ในขณะที่ท่านตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของศัตรู มีอีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถพูดถึงได้ คือ พระคริสต์ ผู้จะเกิดมาในวงศ์วานของท่าน เช่นเดียวกับสดุดี 18 (2 ซามูเอล 22) รวมความหมายทั้งหมดแล้ว พระองค์คือ "บุตรดาวิด" คือพระเยซูคริสต์ที่ถูกกล่าวถึง

พวกคาลวินกล่าวว่า บทสดุดีเกือบทั้งบทนี้กล่าวถึงพระคริสต์ มากกว่าถึงดาวิด ; และในโรม 15:9 อ.เปาโลไม่มีข้อโต้แย้งใดสำหรับข้อ 49 [สดุดี 18; ข้อ 50 ใน 2 ซามูเอล 22] ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพยากรณ์เรื่องพระเมสซิยาห์ 116

พระเยซูคริสต์ พระบุตรองค์เดียว ที่ถูกคนอธรรมฆ่า แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระบิดาทรงช่วยกู้พระองค์ให้คืน พระชนม์ และพระเจ้าเองจะเป็นผู้ทำลายศัตรู เมื่อพระองค์ส่งพระบุตรกลับมาในโลกอีกครั้ง บทเพลงการช่วยกู้ ของดาวิดพูดเรื่องนี้ -- เป็นบทสดุดีที่มองไปในอนาคตกาล เมื่อมีการจัดตั้ง "พระบัลลังก์นิรันดร์" บนโลกนี้ บรรดาศัตรูทั้งหลายจะถูกลงโทษ และถูกกำจัดออกไป แต่ผู้ที่วางใจในพระองค์จะได้รับความรอด นับเป็นวัน แห่งความชื่นชมยินดีอันแท้จริง! ความยินดีในความรอด และความตระหนกในการพิพากษาของพระองค์จะ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

ประการที่ห้า ถ้าพระเจ้าเป็นที่ลี้ภัยของเรา เราก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ผมเคยเห็นสติ๊กเกอร์ที่ติดตามท้าย รถ (ที่จริงส่วนมากจะเป็นพวกรถกะบะหรือรถบันทุก) ที่เขียนว่า "ไม่กลัว" ผมไม่แน่ใจว่าเขาหมายถึงอะไร หมายความว่า "ถ้าไม่แน่จริง อย่าซ่า" หรือว่า "นี่เป็นเขตพกพาอาวุธ" ไม่ว่าจะแปลว่าอะไร คงไม่มีทางเทียบ ได้กับพระคำของพระเจ้าที่ว่า "อย่ากลัวเลย" ไม่มีอะไรในโลกนี้จะเทียบได้กับ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ของบรรดาธรรมิกชนอีกแล้ว:

6 จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด อย่ากลัวหรืออย่าครั่นคร้ามเขาเลย เพราะว่า ผู้ที่ไปกับท่านคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน พระองค์จะไม่ทรงปล่อยท่าน ให้ล้มเหลวหรือทอดทิ้งท่านเสีย" (เฉลยธรรมบัญญัติ 31:6)
14 ข้าพเจ้ามองดู แล้วลุกขึ้นพูดกับขุนนางและเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย กับคนนอก นั้นว่า "อย่ากลัวเขาเลย จงระลึกถึงพระเจ้าผู้ใหญ่ยิ่งและน่าเกรงกลัว และต่อสู้ เพื่อพี่น้องของท่าน บุตรชายบุตรหญิงของท่าน ภรรยาและเรือนของท่าน (เนหะมีย์ 4:14)
6 ข้าพเจ้าไม่กลัวคนเป็นหมื่นๆ ซึ่งตั้งตนต่อสู้ข้าพเจ้าอยู่รอบด้าน (สดุดี 3:6)
4 ในพระเจ้า ผู้ที่ข้าพระองค์สรรเสริญ พระวจนะของพระองค์ ในพระเจ้า ข้า พระองค์วางใจอย่างปราศจากความกลัว เนื้อหนังจะกระทำอะไรแก่ข้าพระองค์ ได้ (สดุดี 56:4)
11 ในพระเจ้า ข้าพระองค์วางใจอย่างปราศจากความกลัว คนจะกระทำอะไร แก่ข้าพระองค์ได้ (สดุดี 56:11)
6 มีพระเจ้าอยู่ฝ่ายข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่กลัว มนุษย์จะทำอะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า (สดุดี 118:6)
2 "ดูเถิด พระเจ้าเป็นความรอดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะวางใจและไม่กลัว เพราะ พระเจ้าทรงเป็นกำลังและบทเพลงของข้าพเจ้า และพระองค์ทรงเป็นความรอด ของข้าพเจ้าแล้ว" (อิสยาห์ 12:2)
8 อย่ากลัวหน้าเขาเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า จะช่วยกู้เจ้าไว้ พระเจ้าตรัสดังนี้ แหละ (เยเรมีย์ 1:8)
11 อย่ากลัวพระราชาแห่งบาบิโลนผู้ซึ่ง เจ้ากลัวอยู่นั้นพระเจ้าตรัสว่า อย่ากลัว เขาเลย เพราะเราอยู่กับเจ้าทั้งหลาย เพื่อช่วยเจ้าและช่วยกู้เจ้าให้พ้นจากมือ ของเขา (เยเรมีย์ 42:11)
27 ในทันใดนั้นพระเยซูตรัสกับเขาว่า "ทำใจให้ดีไว้เถิด เราเอง อย่ากลัวเลย" (มัทธิว 14:27)
9 และองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสกับเปาโลทางนิมิต ในคืนหนึ่งว่า "อย่ากลัวเลย
แต่จงกล่าวต่อไป อย่านิ่งเสีย (กิจการ 18:9)
5 ท่านจงอย่าเป็นคนเห็นแก่เงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ตรัสว่า เราจะไม่ละท่าน หรือทอดทิ้งท่านเลย 6 เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายอาจกล่าวด้วยใจเชื่อมั่น
ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระผู้ช่วยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว มนุษย์จะทำ อะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า
5 ท่านจงอย่าเป็นคนเห็นแก่เงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ตรัสว่า เราจะไม่ละท่าน หรือทอดทิ้งท่านเลย 6 เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายอาจกล่าวด้วยใจเชื่อ
มั่นว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระผู้ช่วยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว
มนุษย์จะทำ อะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า
(ฮีบรู 13:5-6)

สำหรับผู้ที่รู้จักและวางใจในองค์พระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด ไม่มีอะไรจะต้องกลัว ไม่จำเป็นต้องกลัว การพิพากษา เพราะโทษบาปทุกอย่าง พระผู้ช่วยของเราชดใช้ให้หมดแล้ว ไม่ต้องกังวลถึงความต้องการใดๆ พระองค์สัญญาจะจัดเตรียมให้ ไม่ต้องเกรงกลัวสถานการณ์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิต เพราะพระองค์ร่วมอยู่ด้วย ขอให้ความมั่นคงของพระองค์สถิตย์ในเรา ขณะที่เราวางใจในความรอดที่พระองค์จัดเตรียมให้ในองค์พระ เยซูคริสต์

31 ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ใครจะขัดขวางเรา
32 พระองค์ผู้มิได้ทรงหวงพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ แต่ได้ทรงโปรด ประทานพระบุตรนั้นเพื่อประโยชน์แก่เรา ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะไม่ทรงโปรด ประทานสิ่งสารพัดให้เราทั้งหลาย ด้วยกันกับพระบุตรนั้นหรือ 33 ใครจะฟ้อง คนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้ พระเจ้าทรงโปรดให้พ้นโทษแล้ว 34 ใครเล่าจะเป็นผู้ปรับโทษอีก พระเยซูคริสต์น่ะหรือ ผู้ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว และยิ่งกว่านั้นอีกได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตาย ทรงสถิต ณ เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า และทรงอธิษฐานขอเพื่อเราทั้งหลายด้วย
35 แล้วใครจะให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระคริสต์ได้เล่า จะเป็น
ความทุกข์ หรือความยากลำบาก หรือการเคี่ยวเข็ญ หรือการกันดารอาหาร
หรือการเปลือยกาย หรือการถูกโพยภัย หรือการถูกคมดาบหรือ 36 ตามที่
เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เพราะเห็นแก่พระองค์ ข้าพระองค์จึงถูกประหาร
วันยังค่ำ และนับว่าเป็นแกะสำหรับจะเอาไปฆ่า
37 แต่ว่าในเหตุการณ์
ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย 38 เพราะ
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย
39 หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆอื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถ กระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้ (โรม 8:31-39)


104 ผมพึ่งมีโอกาสคุยกับคาร์ลเรื่องนี้อยู่หยกๆ เขาเล่าให้ฟังว่ามาร์ธา ภรรยาของเขาสอนรวีอยู่ใกล้ๆกับ ห้องเก็บศพ ดังนั้นมีบางอาทิตย์ที่มีกลิ่นน้ำยาอาบศพลอยเข้ามาในห้องอยู่เป็นประจำ

105 เนื้อหาของบทเพลงนี้ เป็นการที่ดาวิดตอบสนองต่อการช่วยกู้ของพระเจ้า ออกจากเงื้อมมือศัตรู และออก จากซาอูล ผมจึงเข้าใจว่าท่านเริ่มเขียนจากจุดที่ท่านขึ้นครองเป็กษัตริย์ คือหลังจากที่ซาอูลตายได้ไม่นาน สิ่ง ที่ช่วยย้ำความคิดของผม มาจากข้อเท็จจริงว่า นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นหนึ่งในบทเพลงสดุดี ที่เก่าที่สุด ของดาวิด

106 "นอกจาก "เป็นถ้อยคำที่ยาวที่สุด ที่เชื่อว่าเป็นผลงานของดาวิด" (มี 365 คำในภาษาฮีบรู) และ มีการ ใช้คำศัพท์อย่างหลากหลาย โครงร่างเป็นไปอย่างมีระเบียบถูกต้อง นับเป็นตัวอย่างของบทกวีชั้นสูงในภาษา ฮีบรู" โดย โรเบิร์ต ดี เบอร์เก้น 1, 2 ซามูเอล (Broadman and Holman Publishers, 1996), p. 450.

107 บทสดุดีของฮาบากุกเกิดทีหลัง และไม่คล้ายกับของดาวิด ถึงแม้ว่าผู้เผยพระวจนะท่านนี้ ไม่เพียงแต่ คุ้นเคยกับบทเพลงของดาวิดเท่านั้น แต่ท่านอาจยืมบางตอนมาใช้ด้วย

108 เบอร์เก้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่มีการนำบทเพลงสดุดีนี้ มาใส่ไว้ในตอนท้ายของพระธรรมซามูเอล : "พระธรรมตอนนี้ เป็นตอนที่โดดเด่นที่สุดตอนหนึ่งของหนังสือพระธรรม 2 ซามูเอล ที่ว่าสำคัญนั้นมีเหตุผล สามประการ : ประการแรก ตอนนี้ -- รวมทั้ง 22:1-51 -- เป็นหัวใจ เป็นศูนย์กลาง ของโครงเรื่องทั้งหมด แต่ค่อยๆถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวโยงกันทั้งหมด ( chiastic structure) : ดังนั้นบทเพลงนี้จึงทำ หน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของทั้งโครงเรื่อง จากข้อเขียนของ Bergen, pp. 464-465.

109 "มีการบันทึกไว้ว่า อาธาเนซีอุส ผู้นำคนสำคัญของคริสเตียนในสมัยศตวรรษที่สี่ ประกาศว่าบทเพลงนี้ เป็นบทสดุดีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นบทหนึ่งในพระคัมภีร์ เพราะพระวจนะคำโดยส่วนมากจะพูดกับเรา แต่พระ ธรรมสดุดีจะพูดแทนเรา " กล่าวโดยเบอนาร์ด แอนเดอสัน จากหนังสือ Out of the Depths: The Psalms Speak for Us Today (Philadelphia: The Westminster Press), p. x.

110 "ป้อม ปราการ (2) เป็นคำที่ใช้สำหรับที่หลบภัยในถ้ำอดุลลัม (1 ซมอ. 22:1-5; 23:14, 19, 29) และ ป้อมปราการที่ค่ายของชาวเยบุส ที่ต่อมาได้กลายเป็น "เมืองดาวิด" (5:9)" จากบทความของ Robert P. Gordon, I & II Samuel: A Commentary (Grand Rapids: Regency Reference Library, Zondervan Publishing House, 1986), p. 304.

111 สงสัยมั้ยครับ ว่าโยนาห์อาจยืมคำพูดตอนนี้ของดาวิด มาใช้อธิบายถึงสถานะการณ์ของท่าน ระหว่าง ที่ลอยคออยู่ในทะเล (เปรียบเทียบระหว่าง 2 ซามูเอล 22:5 กับโยนาห์ 2:3-5)?

112 "ดาวิดเปลี่ยนจากภาพจินตนาของห้วงทะเลในข้อ 19 เป็นทุ่งกว้างใหญ่แทน ในข้อนี้ท่านพูดถึงพระเจ้า ว่าเป็นดังคฑา (ฉบับ NIV ข้อ 19 ใช้คำว่าเป็นที่พึ่ง) ของท่าน คำที่นำมาใช้ตรงนี้ … หมายถึง ด้ามไม้ใหญ่ ที่ปลายด้านบนเป็นเหมือนขอเกี่ยว ที่พวกคนเลี้ยงแกะใช้สำหรับดึงแกะที่เดินหลงทาง หรือที่กำลังตกอยู่ใน อันตรายขึ้นมา" จากหนังสือของ Bergen หน้า 456.

113 "… บทเพลงนี้ดูเหมือนนำเอาหัวใจหลักของพระคัมภีร์ห้าเล่มแรก (โทราห์) มาทบทวน-- เชื่อฟังองค์ พระผู้เป็นเจ้านำมาซึ่งพระพรแห่งชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ต้องการสื่อจากบทสดุดีบทนี้สรุปได้คือ เพราะดาวิดเชื่อฟัง พระเจ้าอย่างตั้งใจ พระองค์ทรงประทานบำเหน็จให้ด้วยการตอบคำร้องทูลของท่าน ช่วยเหลือท่านในช่วง เวลาแห่งความทุกข์ยากเดือดร้อน ชุบชูท่านขึ้นมาใหม่ ด้วยเหตุนี้พระเจ้าจึงสมควรได้รับคำสรรเสริญ โดย Robert D. Bergen, 1, 2 Samuel (Broadman and Holman Publishers, 1996), p. 451.

114 "การใช้คำว่าพระเจ้าทรงเป็นพระศิลา เป็นการประกาศว่าพระองค์จะทรงทำการ "แก้แค้น" แทน (นำการ แก้แค้นไปสู่) ต่อบรรดาศัตรูของดาวิด และคำว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่" ในตอนท้ายของบทสดุดีของ ดาวิดจะโยงไปเข้ากับบทเพลงสดุดีของโมเสส โดยเฉพาะใน ฉธบ. 32:31-43 ความคล้ายคลึงกันทั้งคำศัพท์ และใจความนี้ บ่งบอกว่าผู้เขียนต้องการประกาศความสำคัญของเรื่องนี้ให้ได้รับรู้กันอย่างทั่วถึง" จากข้อเขียน ของ Bergen, p. 462.

115 "มีความคล้ายคลึงกันระหว่างตอนท้ายของบทเพลงของนางฮันนาห์ (1 ซมอ. 2:10) และตอนท้ายของ บทเพลงของดาวิด ทั้งสองพูดว่าพระเจ้าทรงช่วย "พระราชาของพระองค์" และ "ผู้ที่ทรงเจิมของพระ องค์" เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความต่างอยู่ด้วย -- ดาวิดเอ่ยถึงชื่อตนเอง และพงษ์พันธ์ของตน ว่าเป็นพระราชาของพระเจ้า ในขณะที่นางฮันนาห์ไม่ได้กล่าวอะไร ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนในพระธรรม ทั้งสองนั้น เป็นการยืนยันคำพยากรณ์ของนางฮันนาห์ ที่มีต่อดาวิดและวงศ์วานของท่าน จากข้อเขียนของ Bergen, p. 463.

116 จากบทความของ Derek Kidner, สดุดี 1-72: An Introduction and Commentary (Downers Grove: Inter-Varsity Press, 1973), vol. 1, p. 90.

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

Report Inappropriate Ad