MENU

Where the world comes to study the Bible

บทที่ 8: ดาวิด และ นางบัทเชบา (2 ซามูเอล 11:1-4)

คำนำ

ตอนที่คุณยายปาล์์มเมอร์ของผมยังมีชีวิตอยู่ ท่านอาศัยอยู่ในฟาร์มนอกเมืองเชลตัน มลรัฐวอชิงตัน ตรงทาง เข้าฟาร์ม มีที่โล่งๆอยู่แปลงหนึ่ง มีคนเอารถพ่วงที่เป็นบ้านมาจอดไว้ ผมจำได้ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งอาศัยอยู่กับ สามีที่นานๆมาครั้ง สามีถูกจำคุกอยู่พักหนึ่ง เป็นพวกชอบใช้ความรุนแรง เวลาที่สามีกลับมาหาภรรยาที่รถพ่วงนี้ มักจะพบว่ามีผู้ชายคนอื่นอยู่ด้วยเสมอ มีการโต้เถียงกันเกิดขึ้น ตามมาด้วยแลกหมัด แล้วในที่สุดผู้ชายแปลก หน้าก็จะชักมีดออกมา แล้วสั่งให้สามีไปเสีย ไปครับ แต่มีเสียงรอดไรฟันออกมาทำนองว่า ฝากเอาไว้ก่อนเถอะ

สองสามชั่วโมงจากนั้น ลุงผมขับรถมาเยี่ยมคุณยาย ขับมาถึงตรงทางเข้า ใกล้ๆกับรถพ่วงที่มีกรณีคาใจคันนี้ แหละครับ แต่ลุงผมดันมีรถที่มีหน้าตาเหมือนกับที่ชายแปลกหน้าขับมาหาผู้หญิงรถพ่วงคนนี้ตั้งแต่ตอนเช้า เสียงปืนดังสนั่นขึ้น เหมือนกับที่สามีลั่นวาจาไว้ทุกประการ กระสุนปืนไรเฟิ้ลทะลุกระจกหน้ารถเข้ามา และฆ่า ลุงผมตายในทันที — ด้วยความเข้าใจผิด สามีขี้โมโหได้ฆ่าลุงผมตาย ด้วยความเข้าใจผิด คิดว่าเป็นคู่กรณี

โศกนาฏกรรมหลายครั้งเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เพราะเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์อื่นๆ และเป็นกรณีเดียวกับ ที่เกิดขึ้นกับดาวิด พักรบพบรักครับ เมื่อดาวิดพักรบจากสงครามชั่วคราว ท่านนอนเล่นอยู่กับบ้าน แล้วยามเย็น ก็ไปเดินเล่นบนดาดฟ้าพระราชวังในกรุงเยรูซาเล็ม โดยบังเอิญ ดาวิดเห็นสตรีนางหนึ่งกำลังอาบน้ำอยู่ เป็น ภาพที่ดาวิดไม่อาจละสายตาไปได้ ต่อมามีการเสาะหาชื่อเสียงเรียงนามว่าสตรีผู้นี้เป็นใคร ไม่ช้านางก็ถูก เรียก ให้มาเข้าเฝ้าที่พระราชวัง และทีสุด เฝ้าที่่ห้องพระบรรทม ที่ดาวิดมีสัมพันธ์กับนาง ถึงแม้ท่านรู้อยู่เต็มอกว่า นางเป็นภรรยาของอุรียาห์ นักรบในกองทัพอิสราเอล ไม่ช้านางก็ตั้งครรภ์ ดาวิดจึงไปตามตัวสามีกลับมา ด้วย หวังว่าเขาเป็นเหมือนผู้ทำให้ภรรยาท้อง แต่ไม่สำเร็จ ดาวิดจึงสั่งโยอาบ แม่ทัพอิสราเอล ให้พยายามทำให้ อุรียาห์ต้องตายในสนามรบ ดูเป็นการฆาตรกรรมที่สมบูรณ์แบบ แต่ความบาปของดาวิดก็ถูกเปิดเผย และต้องถูก จัดการโดยนาธัน ผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า

เหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันมา และตามด้วยโศกนาฎกรรมเป็นหัวข้อบทเรียนในตอนนี้ คือบทที่ 11 และ 12 ของ 2 ซามูเอล ผมเลือกที่จะแบ่งอธิบายบทเรียนในเรื่องนี้ออกเป็นสามบท บทแรกจะเป็นเรื่องของ "ดาวิดและนาง บัทเชบา" ตามที่บันทึกอยู่ใน 11:1-4 ในบทต่อไป จะเป็นเรื่องของ "ดาวิด และอุรียาห์" ตามที่บันทึกอยู่ใน 11: 5-27 บทที่สามจะเป็นเรื่องของ "ดาวิด และนาธัน" ซึ่งจะอยู่ข้ามออกไปถึงบทที่ 12 บทเรียนตอนนี้เป็นเรื่องของ บาปแห่งการล่วงประเวณีและฆาตรกรรม ขอให้แน่ใจเถิดว่ายังมีเรื่องอื่นๆอีกนอกเหนือจากนี้ เป็นบทเรียนที่เรา ทั้งหลายต้องเรียนรู้และระมัดระวังตัวให้ดี เพราะขนาด "บุรุษที่ทำตามพระเจ้าจนสุดใจ" ยังล้มลงได้ อย่าง รวดเร็วและถลำลึกมากด้วย เราเองก็สามารถล้มลงในความผิดเดียวกันได้ ขอให้พระวิญญาณของพระเจ้า นำพระวจนะ ตอนนี้ให้ส่องสว่างภายในใจเราทุกคน ในขณะที่ศึกษาบทเรียนนี้ด้วยกัน

ข้อสังเกตุเบื้องต้น

ก่อนที่เราจะมาเรียนข้อ 1-4 ในบทที่ 11 ให้ละเอียด ผมขออนุญาติออกความเห็นสองสามข้อเกี่ยวกับเหตุ การณ์ต่างๆในพระธรรมสองบทนี้ของ 2 ซามูเอล แรกผมอยากให้คุณสังเกตุ "กฎเกณฑ์แห่งความเหมาะสม" มีเพียงสามข้อเท่านั้นที่พูดถึงบาปล่วงประเวณีที่ดาวิดทำกับนางบัทเชบา สองผู้เขียนไม่ได้หมกมุ่นในความชั่ว ร้ายของบาปนี้มาก แต่ประวัติศาสตร์ไม่ได้ถูกบันทึกเพื่อให้ดาวิดดูดีพร้อม สามบาปของดาวิดและนางบัทเชบา ถูกจัดการไปตามครรลองในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ในสไตล์ฮอลลีวู้ด คนทำภาพยนตร์ในฮอลลีวู้ดจะจงใจทำ เรื่องราวตอนนี้ให้ออกมาในแนวทางเพศ แต่ไม่มีส่วนใดในพระธรรมตอนนี้ที่ทำให้เราคิดหรือกระทำในทาง สกปรกได้ แต่กลับถูกเล่าในแบบที่ฟังแล้วขนหัวลุกด้วยความเกรงกลัว

ดาวิดประทับที่เยรูซาเล็ม
(11:1)

อิสราเอลกำลังทำสงครามกับไม่ใช่ใครอื่น คนอัมโมนนั่นเอง (ข้อ 1) ซึ่งเป็นเรื่องประหลาดใจของผมพอๆกับ ของคุณแหละครับ ผมคิดว่าพวกอัมโมนแพ้ไปแล้วตั้งแต่ในบทที่ 10 ผมคิดผิดครับ ผู้เขียนบันทึกไว้ชัดเจน มากในบทที่ 8 ผู้เขียนเล่าถึงการที่ดาวิดเริ่มออกไปสู้ศึกสงคราม ยุิติการต้องเป็นเมืองขึ้นของประเทศรอบ ด้าน ดาวิดได้ฟิลิสเตียเป็นเมืองขึ้น (8:1) ต่อมาโมอับ (8:2) และต่อมาไปจัดการกับกษัตริย์เมืองโศบาห์ (8: 3) ในระหว่างนั้น ประเทศอื่นๆพยายามเข้ามามีส่วน แต่กลับพบว่าอิสราเอลเข้มแข็งเกินกว่าจะต่อต้านได้

ในบทที่ 10 เราเห็นว่าดาวิดและคนอิสราเอลถูกกษัตริย์ฮานูนแห่งอัมโมนปฏิบัติต่ออย่างดูหมิ่น ดาวิดเคยเป็น มิตรกับนาหาช กษัตริย์องค์ก่อน เมื่อนาหาชตายลง ดาวิดส่งคณะผู้แทนไปแสดงความเคารพศพ และปลอบ ประโลมในความสูญเสีย ดูเหมือนคนอัมโมนไม่ต้องการจะญาติดีกับดาวิดและอิสราเอลอีกต่อไป พวกเขาจึง ทำการหยาบหยามต่อคณะผู้แทนที่ดาวิดส่งไป ทำให้เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและอัมโมน คนอัมโมนจ้าง ทหารซีเรียมาเป็นพันธมิตรช่วยร่วมรบต่อต้านดาวิด การปะทะกันครั้งแรก พวกซีเรียหนีแตกกระเจิง ทำให้พวก อัมโมนต้องล่าถอยกลับเข้า "เมือง" ไป (10:14; คงต้องเป็นเมืองรับบาห์ — ดู 12:26) พวกซีเรียไม่พอใจที่ พ่ายแพ้ ต้องการมาสู้กันใหม่ แต่พวกเขาก็แพ้อีก ทำให้พวกเขาล้มเลิกความคิดที่จะไปช่วยเสริมกำลังให้กับ คนอัมโมนในสงครามครั้งต่อๆไป

เห็นหรือยังครับ ว่าอัมโมนยังไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของอิสราเอลในบทที่ 10 เพียงแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ จากซีเรียอีกต่อไป ตอนนี้ต้องสู้เองตามลำพัง อิสราเอลจึงถือโอกาสนี้เข้าทำลายแผ่นดินอัมโมน และล้อม เมืองหลวงรับบาห์ไว้ (11:1; ดู 1 พงศาวดาร 20:1) เมืองรับบาห์นี้ปัจจุบันคือเมืองอัมมานประเทศจอร์แดน และเมืองนี้ยังไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของอิสราเอลจนกระทั่งหลังจากที่ดาวิดถูกผู้เผยพระวนะนาธันตำหนิเรื่อง ความบาปที่ทำกับนางบัทเชบา (2 ซามูเอล 12:26-31)

ผู้เขียนบันทึกไว้ว่าเป็นฤดูแล้ง เป็นเวลาที่กษัตริย์ต้องออกไปรบ (11:1) สภาพอากาศมักเป็นอุปสรรคต่อการรบ สงครามจะชนะหรือแพ้บางทีก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หน้าหนาวไม่เหมาะจะออกรบ เพราะทั้งหนาวทั้งเปียก แฉะ การไปตั้งค่ายอยู่ในที่โล่ง (เหมือนกับพวกที่ล้อมเมืองรับบาห์อยู่ต้องเผชิญ — ดู 11:11) ทำให้การรบยุ่ง ยากขึ้น ล้อรถรบติดหล่มอยู่ในโคลน และยังมีปัญหาอื่นๆอีก ดังนั้นพวกกษัตริย์จึงพักรบในฤดูหนาว จะเริ่มอีก ทีก็ในฤดูแล้ง ในฤดูแล้งนั้น อิสราเอลยังทำสงครามติดพันอยู่กับพวกอัมโมน และสมควรจะต้องให้ภาระกิจสิ้น สุดลงด้วยการให้มาเป็นเมืองขึ้น กองทัพชุมนุมกัน ภายใต้บัญชาการของโยอาบและเจ้าหน้าที่ และ "อิสราเอล ทั้งสิ้น " พวกเขาออกไปเพื่อนำชัยชนะเหนืออัมโมนมาให้ได้ ดูเหมือนคนพวกนี้ยังหลบอยู่ในเมืองหลวง และ ตามป้อมต่างๆในเมืองรับบาห์

ชายทุกคนที่รบได้ ต่างออกไปรบ ยกเว้นแต่เพียงคนเดียว — ดาวิด มีการบันทึกไว้ว่า ดาวิด "ประทับที่ กรุงเยรูซาเล็ม" (11:1) การตัดสินใจเลือกที่จะอยู่บ้านของดาวิดกลายเป็นเรื่องวินาศโดยแท้ ผู้เขียนพระ ธรรมซามูเอลไม่ได้บันทึกข้อเท็จจริงนี้ไว้ แต่ในพงศาวดารมีบันทึกอยู่ใน 1 พงศาวดาร 20 :

1 ครั้นถึงฤดูแล้งเมื่อบรรดากษัตริย์ยกกองทัพออกไปรบ โยอาบก็นำ กองทัพไปกวาดล้างแผ่นดินของคนอัมโมน และมาล้อมเมืองรับบาห์ไว้ แต่ดาวิดประทับที่เยรูซาเล็ม และโยอาบก็โจมตีเมืองรับบาห์ และคว่ำ เมืองนั้นเสีย (1 พงศาวดาร 20:1)

เรารู้จากรายละเอียดที่บันทึกไว้ในพระธรรมพงศาวดารว่าเป็นเวลาเดียวกัน และเป็นสงครามเดียวกัน การตัดสินใจของดาวิดในครั้งนี้ นำมาซึ่งความบาปอันร้ายแรงอีกแบบหนึ่งใน 1 พงศาวดาร 21 :

1 ซาตานได้ยืนขึ้นต่อสู้อิสราเอล และดลพระทัยให้ดาวิดนับจำนวนอิสราเอล
2 ดาวิดจึงตรัสกับโยอาบและผู้บังคับบัญชากองทัพว่า "จงไปนับอิสราเอล ตั้งแต่เมืองเบเออร์เชบาถึงเมืองดาน แล้วนำรายงานมาให้เรา เพื่อจะได้ทราบ จำนวนรวมของเขาทั้งหลาย" 3 แต่โยอาบทูลว่า "ขอพระเจ้าทรงเพิ่มประชากร
ของพระองค์อีกร้อยเท่าของที่มีอยู่แล้ว ข้าแต่พระราชาเจ้านายของข้าพระบาท แต่ประชาชนนี้ทั้งสิ้นเป็นผู้รับใช้ของ เจ้านายของข้าพระบาทมิใช่หรือ ไฉนเจ้า นายของข้าพระบาทจึงรับสั่งเช่นนี้ ไฉนพระองค์จึงทรงนำกรรมชั่วมาสู่อิสราเอล"
4 แต่โยอาบขัดรับสั่งมิได้จึงจากไป และไปตลอดคนอิสราเอลทั้งสิ้น และกลับ
มายังเยรูซาเล็ม 5 และโยอาบถวายจำนวนประชาชนที่นับได้แก่ดาวิดในอิสราเอล ทั้งสิ้นมีหนึ่งล้านหนึ่งแสนคนที่ชักดาบ และในยูดาห์มีสี่แสนเจ็ดหมื่นคนที่ชักดาบ
(1 พงศาวดาร 21:1-5)

โยอาบค้านไม่ให้ดาวิดนับกำลังพลอิสราเอล และโดยทางผู้เผยพระวจนะกาด พระเจ้าทรงตำหนิดาวิดใน เรื่องนี้ และให้ท่านมีทางเลือกบทลงโทษสามทาง เพราะเป็นบาปที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อ ประเทศอิสราเอล เพราะบาปนี้ เป็นเหตุให้พระเจ้านำพระพรมาสู่อิสราเอล เพราะบริเวณที่ดาวิดถวายเครื่อง บูชาแด่พระเจ้านั้น จะกลายเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระวิหารในเวลาต่อมา

สิ่งที่ผมกำลังจะชี้ให้เห็นคือ การตัดสินใจของดาวิดในครั้งนี้ — ที่จะอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม — เป็นจุดเริ่มต้นของ ความทุกข์โศกของทั้งดาวิดและประเทศอิสราเอล ทำไมการที่ดาวิดตัดสินใจอยู่บ้านแทนที่จะออกไปสู้รบกับ คนอัมโมนจึงเป็นสิ่งที่ผิด? ประการแรก การเป็นผู้นำทัพออกสู่สนามรบนั้นเป็นภาระกิจหลักของกษัตริย์ :

19 แต่ประชาชนปฏิเสธไม่ฟังเสียงของซามูเอล เขาทั้งหลายกล่าว
ว่า "เราไม่ยอม แต่เราจะต้องมีพระราชาปกครองเรา 20 เพื่อเราจะ
เป็นเหมือนประชาชาติทั้งหลายด้วย และเพื่อพระราชาของเราจะ
วินิจฉัยเรา และนำหน้าเราไปและรบศึกให้เรา"
(1 ซามูเอล 8:19-20)

คนอิสราเอลทำผิดด้วยการเรียกร้องอยากมีกษัตริย์ ที่พวกเขาคาดหวังคือให้ "กษัตริย์" เป็นผู้นำทัพออกสู่ สงคราม บรรดาผู้วินิจฉัยที่พระเจ้าส่งมาให้ในสมัยก่อนคือคนแบบบาราค หรือกิเดโอน ที่เป็นผู้นำชาติไปต่อสู้ กับศัตรู เมื่อพระเจ้าเลือกซาอูลให้เป็นกษ้ตริย์องค์แรก มีการกำหนดหน้าที่ในทางทหารอย่างชัดเจน:

15 พระเจ้าทรงสำแดงแก่ซามูเอล แล้วในวันก่อนวันที่ซาอูลมาถึงว่า
16 "พรุ่งนี้เวลาประมาณเท่านี้ เราจะส่งชายผู้หนึ่งซึ่งมาจากดินแดน
เบนยามิน เจ้าจงเจิมเขาให้เป็นเจ้าเหนืออิสราเอลประชากรของเรา เขาจะช่วยประชากรของเราให้พ้นจากมือคนฟีลิสเตีย เพราะเราได้ มองดูความทุกข์ใจแห่งประชากรของเราแล้ว ด้วยเสียงร้องทุกข์ของ
เขามาถึงเรา"
(1 ซามูเอล 9:15-16)

บางครั้งซาอูลก็ถอยกลับ ไม่ยอมติดตามศัตรูของอิสราเอลไป และมีบางครั้งที่ดาวิดทำหน้าที่แทน ด้วยการ นำคนในประเทศออกสู่สงคราม เช่นในกรณีที่ดาวิดสู้กับโกลิอัท ซึ่งที่จริงเป็นหน้าที่ของซาอูล ยักษ์ใหญ่ฝ่าย อิสราเอล (ดู 1 ซามูเอล 9:2) ตั้งแต่นั้นมา ดาวิดจะเป็นผู้นำคนของท่านออกต่อสู้เสมอ จนกระทั่งมาถึงบทที่ 11 อยู่ๆดีๆท่านก็ถอยกลับ ส่งคนอื่นไปสู้แทน ใน 2 ซามูเอล 12:26-31 ผู้เขียนแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ดาวิด ไม่ได้มีความตั้งใจจะไปอยู่ด้วยในขณะที่รับบาห์แพ้ยอมเป็นเมืองขึ้น โยอาบส่งคนมาทูลดาวิด ขอให้ท่านไป แสดงตัวในฐานะผู้นำกองทัพอิสราเอล โยอาบเตือนว่า ถ้าท่านไม่ไปท่านก็จะไม่ได้เกียรติในชัยชนะครั้งนี้ แต่ โยอาบจะได้แทน โยอาบรู้ว่าดาวิดรู้ดีว่าอะไรควรไม่ควร ดังนั้นดาวิดจึงไปปรากฎตัวในฐานะผู้นำ "อย่างเป็น ทางการ" ในการยึดรับบาห์ได้เป็นเมืองขึ้น

ดาวิดก็ยังทำผิดอยู่ดี แต่ในแบบอื่น แบบที่ท่านไม่ได้ตระหนักสักนิดว่าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่โต ดาวิดเป็น ภาพพจน์ของพระเมสซิยาห์ ผู้จะมาในฐานะกษัตริย์ของพระเจ้า และเมื่อพระองค์เสด็จมา พระองค์จะเป็นผู้ ช่วยกู้ประชากรของพระองค์ พระองค์จะเป็นผู้ปราบศัตรูลงอย่างราบคาบ และจัดตั้งราชบัลลังก์ ดาวิดจะเป็น ตัวแทนพระเมสซิยาห์ได้อย่างไร ถ้าท่านมัวแต่อยู่บ้าน ปฏิเสธไม่ยอมออกไปต่อสู้กับศัตรูของพระเจ้า และ ศัตรูของอิสราเอล? พระเมสซิยาห์จะเสด็จกลับมา (เป็นครั้งที่สอง) ในฐานะนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าดาวิดจะเป็น ดังภาพพจน์ของพระองค์ ท่านควรต้องเป็นนักรบที่เก่งกล้าด้วย

อะไรทำให้ดาวิดอยากอยู่บ้านที่ในเยรูซาเล็ม? ทำไมท่านถึงไม่อยากออกไปรบ? ผมเกรงว่ามีหลายสาเหตุครับ สาเหตุประการแรก ดาวิดเริ่มผยอง พระเจ้าทรงสถิตอยู่กับดาวิดทุกครั้งในการต่อสู้ และประทานชัยชนะเหนือ ศัตรูให้ พระเจ้าทำให้ดาวิดมีชื่อเสียงเลื่องลือ ท่านเริ่มหลงใหลในชื่อเสียง เริ่มรู้สึกว่าไม่มีใครมาต้านทานได้ ท่านมาถึงจุดที่เชื่อมั่นในตนเองว่าเก่งกล้าสามารถในการนำชัยชนะมาสู่อิสราเอลได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำทัพ ไปต่อสู้เอง

เรื่องนี้จึงสอดคล้องกับบาปหนักอีกข้อที่ดาวิดกระทำ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อท่านตัดสินใจอยู่บ้าน เมื่อดาวิดสั่งให้ โยอาบไปนับกำลังพลอิสราเอล โยอาบคัดค้าน เพราะเป็นสิ่งที่ดาวิดไม่สมควรทำ บางทีอาจเป็นเพราะท่าน มีความมั่นใจในกองกำลังของท่าน มากกว่าพระเจ้า เหมือนกับเรื่องกองกำลังของกิเดโอนที่ถูกลดลงมา เหลือเพียงน้อยนิดแค่ 300 คน

เหตุผลประการที่สอง อาจเป็นเพราะเบื่อหน่าย การต่อสู้ในสนามรบที่รู้แพ้รู้ชนะอย่างรวดเร็วเป็นคนละเรื่อง กับการต้องยกไปล้อมเมืองรับบาห์ไว้ สงครามครั้งนี้ไม่ได้ชนะในทันที ต้องใช้เวลา จนกว่าพวกอัมโมนจะอด อยากขาดแคลนต้องยอมแพ้ เป็นการรบที่ไม่น่าตื่นเต้น และในขณะที่คอย ทหารอิสราเอล (รวมทั้งดาวิดด้วย) ต้องตั้งเต็นท์อยู่นอกเมือง ในที่โล่ง นี่ไม่ใช่เป็นการไปเที่ยวปิกนิค ดาวิดรู้ดี ความคิดของท่านดูจะเหมือน กับโฆษณาของร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อดัง "วันนี้คุณได้เอาใจตัวเองหรือยัง?"

เหตุผลประการที่สาม — ซึ่งผมไม่ค่อยอยากพูดถึงเท่าไร — ดาวิดอาจอ่อนลง ยอมรับเถิดครับ ว่าดาวิดต้อง เผชิญกับวันที่ยากลำบากมากมายขณะที่หลบหนีซาอูล ผมแน่ใจว่าเป็นวันที่ร้อนรุ่มและคืนที่เหน็บหนาว เป็น วันที่อยู่อย่างอดอยาก หรืออาหารที่กินแทบไม่ลง ไม่มีใครเรียกอาหารในกองทัพว่าเป็นอาหารเหลาหรอกครับ เดี๋ยวนี้ดาวิดอยู่สุขสบายขึ้น ห่างใกลจากถิ่นทุรกันดารที่พวกทหารของซาอูล ถ้าไม่จำเป็นไม่อยากไปเหยียบ มีพระราชวังอยู่ ไม่ได้อยู่ในเต็นท์อีกต่อไป (ซึ่งถ้าได้อยู่ก็นับว่าโชคดีในสมัยนั้น); เมื่ออยู่ในวัง นอนในเตียง ตัวเอง ใครเล่าครับอยากออกไปนอนในเต็นท์ ในทุ่งโล่ง นอกเมืองรับบาห์? 37 ดาวิดเริ่มจะเหมือนซาอูลเข้าไปทุกที ในแง่ที่ท่านปล่อยให้คนอื่นออกไปรบแทน คนที่ท่านส่งไปรบแทนคือ โยอาบและอาบีชัย โยอาบคนนี้ ถ้าจำกันได้ เป็นคนดุร้าย ดาวิดไม่ได้เลือกโยอาบให้เป็นแม่ทัพอิสราเอล ท่านพยายามไม่ไปเกี่ยวข้องกับโยอาบและอาบีชัย เพราะเรื่องที่อับเนอร์ถูกฆาตรกรรม (2 ซามูเอล 3:26-30) โยอาบได้เป็นผู้บัญชาการในกองทัพอิสราเอล เพราะเขาเป็นคนแรกที่อาสาไปโจมตีเมืองเยบุส (1 พงศาวดาร 11:4-6) แต่อยู่ดีๆดาวิดกลับอยากจะอยู่บ้าน ปล่อยให้กองกำลังทั้งสิ้นของอิสราเอลตกอยู่ในความควบคุม ของโยอาบ ผมไม่คิดว่าดาวิดวางใจในโยอาบมากไปกว่าการที่ท่านไม่อยากไปผจญกับความยากลำบาก ในทุ่งโล่งรอบเมืองรับบาห์

เหมือนกับคุณลุงที่ผมเล่าเมื่อตอนต้น ดาวิดเผอิญอยู่ผิดที่ผิดเวลา ท่านอยู่ในเยรูซาเล็มแทนที่จะไปอยู่แถว รับบาห์ ที่ต่างจากลุงของผมคือ ดาวิดอยู่ผิดที่ผิดเวลาเพราะท่านตัดสินใจผิด ดาวิดเป็นเหมือนคนโง่ใน สุภาษิตบทที่ 7 ที่จงใจอยู่ผิดที่ผิดเวลาเพราะความโง่ของตนเอง อะไรจะผิด มันก็ต้องผิดล่ะครับ!

ดาวิดนอนอยู่กับบ้าน
(11:2-4)

ขณะที่อ่าน 2 ซามูเอลสองข้อนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังสยองขวัญของอัลเฟรด ฮิทช์ค็อก เรื่อง "หน้าต่างหลัง บ้าน" ถ้าจำไม่ผิดนำแสดงโดย จิมมี่ สจวร์ต และเกรซ เคลลี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับช่างภาพที่พึ่งฟื้นใข้ และต้อง พักอยู่แต่ในอพาร์ตเม้นท์ จาก "หน้าต่างหลังบ้าน" สจวร์ตนั่งเฝ้าดูหน้าต่างของบ้านถัดไป ในที่สุดก็เจอเข้า กับเรื่องฆาตรกรรม และเกือบทำให้ทั้งตัวเองและแฟนสาวต้องตายไปด้วย

กษัตริย์ดาวิดคิดผิดที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม แทนที่จะไปสู้กับพวกอัมโมนพร้อมกับกองทัพ ท่านไม่ได้อยู่บ้าน เพื่อนั่งทบทวนธรรมบัญญัติของโมเสส หรือเขียนบทสดุดีสักสองสามบท ; แต่ท่านกลับใช้เวลาอยู่บนเตียง เรารู้ว่าอุรียาห์จะขึ้นนอนก็ต่อเมื่อเวลาค่ำ (เมื่อมืดแล้ว) และเป็นไปได้ที่เขาคงตื่นนอนแต่เช้า (ดู 11:13) แต่กับดาวิดเป็นคนละเรื่อง กว่าดาวิดจะตื่นก็เป็นเวลาเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่พวกทหารเข้านอน (ตามที่เพื่อนผม บอก นิสัยนี้เป็นมานานแล้วไม่ใช่พึ่งเป็น) ดูเหมือนว่าดาวิดไม่ได้กำลังปฏิบัติ "ภาระกิจของกษัตริย์" ในยาม เย็นเช่นนี้ ท่านกำลังปล่อยตัวตามสบาย

ในที่สุด ดาวิดก็ลุกจากเตียง ขึ้นไปเดินเล่นบนดาดฟ้า แน่นอนพระราชวังของดาวิดต้องอยู่สูงกว่าบ้านโดย ทั่วไป เพื่อท่านจะมองเห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจนทั้งจากในและนอกเมือง ซึ่งก็แปลว่า ตึกหรือบ้านคนอื่นๆจะอยู่ ต่ำกว่าห้องชั้นบนของพระราชวัง ท่านจึงมองเห็นได้มากกว่าประชาชนทั่วไป (มีคนบอกผมว่ารถบันทุก 18 ล้อ จะมองเห็นได้ใกลกว่ารถเก๋งโดยทั่วไป)

ผมไม่ได้จะบอกว่าดาวิดตั้งใจไปดูในสิ่งที่ไม่สมควร แต่เป็นได้ว่าท่านแค่อยากไปเดินเล่นเรื่อยเปื่อย จู่ๆท่าน ก็เห็นมีผู้หญิงอาบน้ำอยู่ ในพระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่าผู้หญิงคนนี้อาบน้ำที่ไหน เพียงแต่บอกว่านางอยู่ในสายตา ที่ดาวิดมองเห็นจากดาดฟ้า (หลังคา) ดาวิดเห็นความงามของนาง ท่านไม่ทราบว่านางเป็นใคร แต่งงานแล้ว หรือยัง เราไม่ทราบว่าดาวิดเห็นมากน้อยแค่ไหน แล้วเราไม่ทราบว่าท่านได้ทำบาปหรือยัง ถ้าดาวิดเห็นมาก กว่าที่ท่านสมควร (ซึ่งยังเป็นคำถามอยู่) ท่านควรจำต้องเลิกมอง มันไม่ผิดหรอกครับที่จะไปสอบถามถึงนาง ว่านางเป็นโสดอยู่หรือแต่งงานแล้ว ท่านสามารถนำนางมาเป็นภรรยาได้ คำถามของท่านจะทำให้เรื่องนี้กระ จ่าง

แล้วท่านก็ได้ข้อมูลของนางมา :

3ข "หญิงคนนี้ชื่อบัทเชบา บุตรีของเอลีอัม ภรรยาของอุรีอาห์
คนฮิตไทต์มิใช่หรือพ่ะย่ะค่ะ?"
(2 ซามูเอล 11:3ข)

คำตอบที่มีต่อดาวิดมาในรูปของคำถาม ผมเข้าใจว่าคงไม่มีคนอื่นเห็นผู้หญิงคนนี้ นอกจากดาวิด ดาวิดคง ต้องอธิบายรูปร่างลักษณะ อายุ และตำแหน่งบ้านของผู้หญิงคนนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นคนๆเดียวกัน แต่คนที่ จะบอกได้ว่าถูกต้องหรือไม่ก็มีแต่ — ดาวิดคนเดียวเท่านั้นที่จำนางได้

ข้อมูลที่ดาวิดได้รับน่าจะเพียงพอที่ท่านจะจบเรื่องได้ ถ้าผู้หญิงคนนี้แต่งงานแล้ว ไม่มีสาเหตุใดที่ท่านจะไป ต่อเนื่องอีก ไม่ว่าตำแหน่งท่านจะใหญ่หรือมีอำนาจแค่ใหนก็ตาม ท่านก็ไม่มีสิทธิที่จะไปแย่งภรรยาผู้อื่น การกระทำของดาิวิด เป็นสิ่งเดียวกับที่โยเซฟเคยพูดไว้ เมื่อครั้งถูกภรรยาเจ้านายยั่วยวน :

7 โยเซฟนั้นเป็นคนสวยหน้าตาคมคาย อยู่มาภายหลังภรรยาของนาย
มองดูโยเซฟด้วยความปฏิพัทธ์ และชวนว่า "มานอนกับฉันเถิด" 8
แต่โยเซฟไม่ยอม จึงตอบแก่ภรรยาของนายว่า "คิดดูเถิด เมื่อมีข้าพเจ้า นายก็มิได้ห่วงสิ่งใดซึ่งอยู่ในบ้านเรือน ได้มอบของทุกอย่างที่มีอยู่ไว้ในมือ
ข้าพเจ้า 9 ในบ้านนี้นายก็ไม่ใหญ่กว่าข้าพเจ้า นายมิได้หวงสิ่งใดจากข้าพเจ้า ยกเสียแต่ตัวท่านเพราะเป็นภรรยาของนาย ข้าพเจ้าจะทำความผิดใหญ่หลวง
นี้อันเป็น ?" (ปฐมกาล 39:7-9).

รายงานที่ดาวิดได้รับเกี่ยวกับนางบัทเชบาน่าจะเป็นข้อมูลที่เพียงพอแล้วสำหรับดาวิด ถ้าท่านปรารถนาจะทำ สิ่งที่ถูกต้อง ท่านรู้ว่าบัทเชบาแต่งงานแล้ว เรื่องก็น่าจะจบลง ท่านรู้ด้วซ้ำว่านางแต่งงานแล้วกับอุรียาห์ คน ฮิทไทต์ ซึ่งไม่ใช่ใครที่ไหน ดาวิดคงต้องรู้จักอุรียาห์มาก่อน ถึงแม้จะไม่รู้จักภรรยาก็ตาม ใน 2 ซามูเอล 23: 39 "อุรียาห์ คนฮิทไทต์" เป็นนักรบที่เก่งกล้าของดาวิด เป็นทหารที่ทั้งกล้าและมีความสามารถ ถึงแม้ดาวิด ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว มหาดเล็กของท่านคงต้องบอกให้ท่านทราบ

ผมเกรงว่าดาวิดเลือกที่จะไม่สนใจประวัติทางทหารของอุรียาห์ แต่มุ่งไปสนใจเรื่องเชื้อชาติแทน ข้อสังเกตุ ที่น่าสนใจคือ ดาวิดพูดถึงอุรียาห์ว่าเป็น "อุรียาห์ คนฮิทไทต์" ในขณะที่ผู้เขียนพระธรรมซามูเอลกลับเรียก แต่ชื่อ "อุรียาห์" เฉยๆ คำว่า "อุรียาห์ คนฮิทไทต์" ผมเชื่อว่าเป็นการเรียกโดยยึดเอาจากข้อเท็จจริงว่าคนๆ นี้เป็นคนฮิทไทต์ ถึงแม้ดาวิดเองก็มีสายเลือดโมอับอยู่ ให้เรามาทำความรู้จักคนฮิทไทต์ตามประวัติศาสตร์ใน พระคัมภีร์เดิมกันสักหน่อย

ตั้งแต่ในสมัยปฐมกาล 15:18-21 พระเจ้าทรงสัญญากับอับราม(อับราฮัม) ว่าลูกหลานของท่านจะได้ครอบ ครองดินแดนของคนฮิทไทต์ (และของชนชาติอื่นๆอีก; ดูอพยพ 3:8, 17; 13:5; 23:23, 28, 32; 33:21; 34:11; เฉลยธรรมบัญญัติ 7:1; โยชูวา 1:4; 3:10) เอโฟรน คนที่อับราฮัมขอซื้อผืนดินไว้ฝังศพของครอบ ครัว ก็เป็นคนฮิทไทต์ (ดูปฐมกาล 23:10; 25:9; ฯลฯ) เอซาว พี่ชายของยาโคบแต่งงานกับผู้หญิงฮิทไทต์ หลายคน (ปฐมกาล 26:34-35; 36:2) คนอิสราเอลได้รับคำสั่งให้ทำลายคนฮิทไทต์ให้สิ้นซาก (เฉลยธรรม บัญญัติ 20:17) คนฮิทไทต์ต่อต้านไม่ยอมให้คนอิสราเอลเดินผ่านเพื่อเข้าไปยังดินแดนพันธสัญญา (ดู กันดารวิถี 13:29; โยชูวา 9:1: 11;1-5) แต่แล้วอิสราเอลก็มีชัยเหนือพวกเขา (โยชูวา 24;11) อย่างไร ก็ตาม คนอิสราเอลไม่ได้กำจัดคนเหล่านี้ให้หมดไป แต่กลับกลายเป็นอาศัยอยู่ท่ามกลางพวกเขา (ผู้วินิจฉัย 3:5) ในระหว่างที่ดาวิดหลบหนีซาอูล ท่านได้ยินว่าซาอูลมาตั้งค่ายอยู่ใกล้ ท่านจึงชวนคนของท่านสองคน ให้แอบเข้าไปในค่ายของซาอูล หนึ่งในสองคนนั้นคืออาบีชัย ที่อาสาจะไปกับดาวิด อีกคนที่ไม่ยอมไปคือ อาหิเมเลข คนฮิทไทต์ (1 ซามูเอล 26:6)

น่าจะเป็นที่ชัดเจนว่าอุรียาห์ละทิ้งเชื้อสายและพระเดิมของเขา เพื่อมาอยู่ที่อิสราเอล แต่งงานกับผู้หญิง อิสราเอล และร่วมรบในกองทัพของดาวิด เขาไม่ใช่คนต่างด้าวที่สมควรถูกกำจัดอีกต่อไป แต่เข้ามานับถือ ศาสนายิว ถึงกระนั้นก็ตาม ผมคิดว่าดาวิดก็ยังดูถูกเขา ดาวิดเริ่มทำตัวคุ้นเคยกับสถานะใหม่ ทุกอย่างต้อง ดีเลิศ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไม้สอย อาหาร หรือบริการ ท่านมองไปจากดาดฟ้า เห็นสตรีที่ท่านคิดว่า "สวย งาม" ผู้หญิงที่ "งาม" ขนาดนี้จะเป็นภรรยาของคนฮิทไทต์ได้อย่างไร? เธอเหมาะจะเป็นของกษัตริย์มากกว่า และกษัตริย์ผู้นี้ต้องการได้เธอมา

ดาวิดจึงส่งคนไป เพื่อตามนางมาเข้าเฝ้า เมื่อมาถึง ดาวิดก็มีสัมพันธ์กับนาง และเมื่อนางชำระตัวให้สิ้นมลทิน 38 แล้ว นางก็กลับบ้านไป เรื่องคงจบแค่นั้นถ้านางไม่เผอิญตั้งครรภ์ ผมสงสัยว่านางได้กลับมาเฝ้าดาวิดที่วังอีกหรือ เปล่า ดาวิดไม่ได้ต้องการบัทเชบามาเป็นภรรยา ไม่ได้ต้องการสานต่อ ท่านเพียงแต่อยากมีสัมพันธ์ชั่วคืน และ ปล่อยให้กลับไปหาอุรียาห์สามีของนาง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยดาวิดมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ สามารถเรียงลำดับได้ตามนี้ : (1) ดาวิดประทับอยู่ในกรุง เยรูซาเล็ม ; (2) ดาวิดพักผ่อนอยู่บนเตียง ; (3) ดาวิดมองเห็นนางบัทเชบาอาบน้ำอยู่ขณะที่ท่านออกไปเดิน เล่นบนดาดฟ้า ; (4) ดาวิดส่งคนไปสอบถามถึงนาง ; (5) ดาวิดรู้ประวัติ และสถานะภาพของนาง ว่าแต่งงาน แล้วกับนักรบในกองทัพของท่าน ; (6) ดาวิดส่งคนไปรับนางมาเข้าเฝ้า ; (7) ดาวิดสมสู่กับนาง ; (8) นาง บัทเชบากลับบ้านไปหลังจากชำระตัวให้พ้นมลทินแล้ว เราสามารถเห็นเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันนี้จาก พระธรรมเล่มอื่นๆอีก ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าชื่นชมนัก เชเคม "เห็น นำตัวมา และนอน" กับดีนาห์ บุตรีของยาโคบ ในปฐมกาล 34:2 ยูดาห์ "เห็น เข้าไปหา และไปแต่งงาน" กับหญิงชาวคานาอันในปฐมกาล 38:2-3 อาคาน "เห็น โลภ และหยิบ" ของริบที่ต้องห้ามของศัตรูมาในโยชูวา 7:21 แซมสันทำในสิ่งเดียวกันในผู้วินิจฉัย 14 อย่าลืมว่าเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นเมื่อมีการทำบาปครั้งแรก เมื่อเอวา "เห็น ปรารถนา และรับ" ผลไม้ต้องห้ามมารับประทานในปฐมกาลบทที่ 3

บัทเชบามีส่วนในความผิดของดาวิดด้วยหรือไม่?

เรารู้จากพระธรรมตอนนี้ว่าดาวิดทำบาปแน่ และการกระทำของท่านที่ตามมาก็เป็นบาปแน่ๆด้วย เรารู้จากพระคำ ที่พระเจ้าตรัสผ่านนาธันว่า ดาวิดทำบาปที่น่าสลดใจยิ่ง แต่ปัญหาก็คือ มีหลายคนพยายามทำให้พระธรรมตอนนี้ ดูเหมือนว่าบัทเชบามีส่วนผิดอยู่ด้วย นางยั่วยวนดาวิดหรือเปล่า? ผมขอต่อเรื่องนี้ออกไปหน่อยนะครับ เพราะ ผมเชื่อว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนมาสนับสนุนข้อสรุปเช่นนี้

เรามักลงความเห็นกันว่า บัทเชบาไม่ควรไปอาบน้ำอย่างเปิดเผยในที่เช่นนั้น และเป็นเพราะนาง จึงทำให้เกิด เรื่องนี้ขึ้น (นางรู้ดีว่าดาวิดอยู่ที่นั่น และสามารถมองเห็นได้… .) ขณะที่บางคนมองในแง่ดี และคิดว่าไม่ควร ไปด่วนสรุปเช่นนั้น ผมขอชี้แจงบางประเด็นจากเนื้อหาในตอนนี้ ประเด็นแรก และสำคัญที่สุด เมื่อนาธัน ประกาศเรื่องการพิพากษาเพราะบาปของดาวิด บัทเชบาและอุรียาห์เป็นผู้ถูกกระทำ ไม่ใช่ผู้กระทำผิด ตอนที่ อาดัมและเอวาทำบาป พระเจ้าเจาะจงไปที่อาดัม เอวา และงู ทุกฝ่ายถูกลงโทษไปตามความผิดของตน แต่ เป็นคนละเรื่องกับนางบัทเชบา ไม่มีที่ใดในพระคัมภีร์ที่บ่งว่านางได้ทำบาปนี้ด้วย อาจเป็นเพราะผู้เขียนไม่ได้ เพ่งเล็งไปที่นางบัทเชบามากนัก ในกรณีนี้ ถ้าอ้างตามกฎหมาย เราต้องถือว่านางเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่ามีการ พิสูจน์ว่านางได้ทำผิดจริง

ในพระธรรมซามูเอลตอนนี้ เราเห็นชัดเจนว่าเหตุวิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของดาวิด เป็นผลมาจากความ บาปทั้งสิ้นของท่าน ตามที่นาธันบ่งไว้ (12:10-12) ดังนั้นเมื่ออัมโนนข่มขืนทามาร์ น้องสาวของอับซาโลม จึงเป็นเรื่องของ "ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" สังเกตุดู ดาวิดเป็นคนบอกให้ทามาร์ไปที่วัง เพื่อไปหาอัมโนนถึงที่ เตียง เมื่อทามาร์ถูกข่มขืน ไม่มีสิ่งใดบ่งว่านางยินยอม เกิดจากการบังคับของอัมโนนทั้งสิ้น สิ่งนี้พอจะบอก ได้ไหมว่า เป็นกรณีใกล้เคียงกับนางบัทเชบา และที่เรื่องที่เกิดขึ้นตามมาเป็นดังเงาสะท้อนให้เห็น?

เมื่อเราอ่านเรื่องราวนี้ เรากำลังอ่านด้วยสายตาของคนสมัยใหม่ ในยุคที่ผู้หญิงมีสิทธิจะ "ปฎิเสธ" ไม่ต้องการ มีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งเกินไปกับชายคนใด ถ้าผู้ชายไม่ยอมหยุด ก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนสิทธิส่วนบุคคล ; เป็น การข่มขืน แต่ในแถบกึ่งตะวันออกในยุคโบราณ โลทสามารถมอบบุตรสาวพรหมจารีย์ให้กับชายชั่วที่ในเมือง โซโดมได้ เพื่อช่วยปกป้องแขกแปลกหน้า และไม่มีการคัดค้านต่อต้านใดๆจากบุตรสาวด้วย (ปฐมกาล 19: 7-8) สาวพรหมจารีย์เหล่านี้ต้องเชื่อฟังบิดา เพราะบิดามีสิทธิขาดเหนือพวกเขา มีคาลถูกเสนอให้เป็นภรรยาดาวิด แต่แล้วซาอูลก็มานำกลับไป เอาไปมอบให้ชายคนอื่นแทน แล้วดาวิดก็ไปเอาตัวคืนมา (1 ซามูเอล 25:44; 2 ซามูเอล 3:13-16) เราเห็นชัดว่ามีคาลไม่มีสิทธิเปิดปากค้านเลยในเรื่องนี้

ลองมามองเรื่องเดียวกันนี้ในมุมมองตรงข้าม ให้นึกถึงเรื่องเอสเธอร์ เมื่อกษัตริย์มีคำสั่งให้เรียกภรรยา ราชินี วาสตีมาเข้าเฝ้า (อาจจะเป็นในลักษณะที่ไม่เหมาะสมเพราะต้องการโชว์ให้แขกดู) นางปฏิเสธ จึงถูกปลดออก จากตำแหน่ง (ดูเอสเธอร์ 1:1-22) นางไม่ได้ถูกประหาร แต่ถูกแทนที่ ต่อมาในเรื่องเดียวกัน เรารู้ว่าไม่มีใคร สามารถเข้าเฝ้ากษัตริย์ได้ถ้าไม่ได้ถูกเรียกตัว และถ้าใครบังอาจเข้าเฝ้า ถ้ากษัตริย์ไม่ยกคฑาขึ้นยอมรับ คนๆ นั้นก็ต้องถูกประหาร (เอสเธอร์ 4:10-11) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการของกษัตริย์ทางแถบตะวันออก ใช่หรือไม่? สิ่งนี้อธิบายได้ไหมว่าทำไมบัทเชบาจึงไปเข้าเฝ้าเมื่อถูกเรียกตัว? สิ่งนี้อธิบายได้ไหมว่าทำไมนางยอมสนอง ตัณหาของกษัตริย์? (เราไม่รู้ว่ามีการต่อต้านหรือเปล่า — เหมือนทามาร์ในบทที่ 13 — เธออาจพยายามต้าน แต่ เราต้องเข้าใจถึงสถานะของผู้หญิงในสมัยโน้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นคำสั่งของกษัตริย์

เอาหละ เมื่อเราได้มองภาพกว้างๆของเหตุการณ์ไปแล้ว ให้เรามาลองดูในรายละเอียด ในพระธรรมกล่าวว่า ดาวิดเห็นผู้หญิงอาบน้ำ และเห็นด้วยว่านางสวยงามมาก มันชวนให้เราจินตนาการไปว่าบัทเชบาคงเปลือยกาย อาบน้ำอยู่ในที่โล่งแจ้ง และภาพที่เห็น (เปลือยกาย/บางส่วน) ทำให้ดาวิดทำในสิ่งที่ท่านได้ทำลงไป มีการใช้ คำพูดแบบเดียวกัน ("หญิงสาวนั้นงามมาก") ในปฐมกาล 24:16 เมื่อพูดถึงเรเบคาห์เมื่อเธอแบกใหน้ำเดินมา ที่บ่อ เธอไม่ได้เปลือยกายหรือแต่งกายเย้ายวน ในทำนองเดียวกัน (ถึงแม้ไม่ได้ใช้คำพูดเหมือนกัน) มีการ ใช้คำพูดอธิบายถึงสตรีบางคนโดยที่นางไม่ได้เปลื้องผ้าแม้แต่นิดเดียว (ดูปฐมกาล 12:11; 26:7; 29:17; เอสเธอร์ 1:1) ผมเชื่อว่าเหตุผลหนึ่งที่ดาวิดเรียกนางมาเข้าเฝ้าเพราะท่านยังไม่เห็นทั้งหมดที่ท่านต้องการ

ขอต่ออีกนิดนะครับ นางบัทเชบากำลังอาบน้ำ ทำให้เรานึกไปว่านางคงต้องเปลือยกาย ถึงแม้เปลือยบางส่วน ก็ตาม ผมเชื่อว่าบัทเชบากำลังอาบน้ำอยู่ในที่ๆนางอาบอยู่เป็นประจำ เป็นเพราะดาวิดผู้เดียวเท่านั้น ที่มีห้อง อยู้ชั้นบน สูงกว่าคนอื่น จึงมองเห็นนางได้ และมองเห็นคนเฒ่าคนแก่อื่นๆได้ด้วยถ้าท่านอยากมอง คนจนไม่ สามารถมีที่ทางเป็นสัดส่วนได้เหมือนคนรวย ผมเห็นคนยากจนตั้งเยอะแยะไปอาบน้ำอยู่ที่ข้างถนนในอินเดีย เพราะสำหรับพวกเขา นั่นคือบ้าน คำว่าอาบน้ำที่ใช้ในตอนนี้ บ่อยครั้งก็ใช้คำเดียวกันนี้สำหรับการล้างมือ ล้าง เท้า หรือการอาบน้ำชำระตัวให้พ้นมลทินของพวกปุโรหิต อาบิกายิลใช้คำเดียวกันเมื่อนางพูดถึงการล้างเท้า ให้แก่ผู้รับใช้ของดาวิด (1 ซามูเอล 25:41) การล้างเช่นนี้สามารถทำได้ด้วยความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องทำ ในที่ส่วนตัว เราคงไม่คิดเลยเถิดไปว่า นางอาบีกายิลเดินเปลือยกายไปมาในที่สาธารณะอยู่นะครับ

บังเอิญหรือไม่ก็ตาม บัทเชบากำลังอาบน้ำอยู่ในเยรูซาเล็ม ในขณะที่ชายวัยฉกรรจ์ทั้งหลายออกไปรบ ยังจำข้อ 1 ได้มั้ยครับ?:

1 ครั้นถึงฤดูแล้งเมื่อบรรดากษัตริย์ยกกองทัพออกไปรบ ดาวิดทรง ใช้โยอาบพร้อมกับพวกข้าราชการและ อิสราเอลทั้งหมด เขาไป กวาดล้างคนอัมโมนและล้อมเมืองรับบาห์ไว้ แต่ดาวิดประทับที่เยรูซาเล็ม

ไม่ใช่ว่าบัทเชบาจงใจทำเพราะรู้ว่ามีผู้ชายอยู่เต็มไปหมด เธอมีสิทธิเต็มที่ที่จะเข้าใจว่าพวกผู้ชายออกไปรบ ดาวิดอยู่ ถึงแม้ท่านไม่สมควรอยู่ก็ตาม นอกจากนั้น เธอไม่ได้อาบน้ำตอนเที่ยงวัน ; เธออาบน้ำในตอนเย็น ซึ่งตรงตามที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ (ชำระตัวให้พ้นมลทิน) ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก จะพูดว่าบัทเชบา อาบน้ำเมื่อใกล้มืดเต็มทีก็ว่าได้ ดาวิดคงต้องใช้ความพยายามสักหน่อยจึงจะเห็น ผมเชื่อว่าบัทเชบาคงคิด ว่ามิดชิดดีแล้ว แต่กษัตริย์ได้เปรียบตรงที่อยู่สูงกว่า และท่านก็พยายามเพ่งมองเสียด้วย ผมคิดว่าดาวิด จงใจแอบมองมากกว่าบัทเชบาจงใจอยากโชว์ ผมเชื่อว่าในพระคัมภีร์เองก็ยืนยันเช่นนั้น

บทสรุป

ถ้าสิ่งที่ผมพูดไปทั้งหมดถูกต้อง ความบาปของดาวิดนั้นร้ายแรงกว่าที่คิด ในบางกรณีผู้หญิงเองอาจมีส่วนทำ ให้ผู้ชายคิดเลยเถิด จงใจหรือไม่จงใจก็ตาม แต่ในกรณีนี้ไม่มีสิ่งใดบ่งว่าเป็นเช่นนั้น ที่จริงถ้าผมเข้าใจถูก ที่ดาวิด "มองเห็น" บัทเชบาได้ เพราะนางกำลังชำระตัวตามที่ธรรมบัญญัติกำหนด ในขณะที่ดาวิดเองกลับ ผิดพลาดไม่ได้ไปทำหน้าที่ในฐานะกษัตริย์

พระธรรมตอนนี้ ถึงแม้เราศึกษามาเพียงสี่ข้อแรก มีเรื่องสอนใจเรามากมาย ผมขอสรุปให้ฟังดังนี้:

แรก รากปัญหาของดาวิดไม่ได้เป็นเพราะความนับถือในตนของท่านต่ำลง ; แต่เป็นความผยอง ผมเบื่อที่จะ ได้ยินคนพูดกันว่ารากของความชั่วร้ายทั้งมวลเกิดเพราะความนับถือในตนเองต่ำลง ผมสงสัยว่าทำไมเราไม่เห็น เรื่องนี้ในพระคัมภีร์ ปัญหาของดาวิดนั้นตรงกันข้าม ท่านเริ่มหลงในยศฐาบรรดาศักดิ์ ในความสำเร็จต่างๆ และใน ฐานะกษัตริย์ของอิสราเอล ท่านเริ่มเห็นว่าตนเองนั้นดีกว่า เหนือกว่า และแตกต่างจากอิสราเอลคนอื่น คนอื่นๆ ต้องออกไปรบ ท่านไม่ต้อง คนอื่นๆต้องไปนอนกลางแจ้ง ท่านนอนในเตียงตนเอง ในพระราชวังของตนเอง คนอื่นๆมีภรรยาได้ ส่วนท่านต้องการผู้หญิงคนใด ท่านต้องได้

สอง ธรรมชาติบาปของดาวิดคือการใช้อำนาจในทางที่ผิด เสียเพราะอำนาจ มีคนพูดว่า ยิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งเสียมาก ในบทที่แล้ว ดาวิดขึ้นมามีอำนาจ ท่านใช้อำนาจที่พระเจ้าประทานให้เอาชนะศัตรูของพระองค์ และศัตรูของอิสราเอล ท่านใช้อำนาจในฐานะกษัตริย์อิสราเอลทำให้พันธสัญญาสำเร็จลง ทำให้สัญญา ของท่านกับซาอูลเป็นจริง ด้วยการดูแลเมฟีโบเชทเหมือนสมาชิกในครอบครัว แต่มาบัดนี้ดาวิดดูจะดื่มด่ำกับ อำนาจบารมี ใช้มันตามใจปรารถนาโดยผู้อื่นเดือดร้อน ผมอยากให้คุณลองสังเกตุคำว่า "ทรงใช้" หรือ "ทรงใช้ไป" ที่มีอยู่หลายครั้งในบทนี้ ต้องเป็นกษัตริย์อย่างดาวิดที่สามารถใช้คนอื่นไปรบ ในขณะที่ตนเอง นอนอยู่กับบ้านได้ (ข้อ 1) ต้องเป็นกษัตริย์อย่างดาวิดที่สามารถใช้คนไปสอบถามถึงนางบัทเชบา และใช้คน ไป "รับ" นางมาที่วังได้ (ข้อ 3-4) ต้องเป็นกษัตริย์อย่างดาวิดที่สามารถใช้คน "ไปตาม" อุรียาห์มา และ "ออก คำสั่ง" ให้โยอาบทำให้เขาตายเสียในสนามรบ ดาวิดมีอำนาจในมือ และท่านรู้ว่าควรใช้อย่างไร แต่บัดนี้ ท่าน กำลังใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โดยมีผู้อื่นจ่ายแทนให้ นี่ไม่ใช่การเป็นผู้นำของผู้รับใช้

การข่มขู่หรือคุกคามทางเพศเป็นสองกรรมวิธีที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด พ่อแม่ชอบนึกว่าตนเองเป็นเจ้าของลูก และใช้ลูกเพื่อสนองตัณหาตนเอง ข่มขู่คุกคามลูกด้วยวิธีการต่างๆนาๆ ส่วนมากในเรื่องเพศ เจ้านายคุ้นเคย กับการบังคับบัญชาและออกคำสั่งให้คนทำตาม จึงไม่น่าประหลาดใจที่บางครั้งก็ใช้อำนาจคุกคามทางเพศ กับลูกจ้าง หรือผู้ที่ด้อยกว่า เพื่อสนองตัณหาตัวเอง การทำเช่นนี้ไม่ต่างอะไรจากความบาปของดาวิด

ผมขอย้ำในเรื่องนี้อีกนิด แน่นอนดาวิดผิดที่ใช้อำนาจในมือไปมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาผู้อื่น แต่ถึงแม้จะ สามารถมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องได้ ก็ยังผิดที่ใช้อำนาจ ดังนั้นสามีไม่ควรใช้อำนาจข่มขู่ภรรยาเพื่อการ มีเพศสัมพันธ์ และภรรยาไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด (เช่นโดยการ "ปฏิเสธ" ) เพื่อลงโทษหรือกลั่นแกล้ง สามี ในชีวิตสมรส เรื่องเพศเป็นเรื่องการปรนนิบัติต่อคู่สมรสของเรา ไม่ใช่เป็นการแสดงอำนาจเหนือ

สาม ความมั่งคั่งอาจเป็นอันตรายได้ — และบางทีอาจเป็นอันตราย — ยิ่งกว่าความจนและความทุกข์ยาก เราเองท้อถอยต่อความทุกข์ยากในชีวิต เรากระหายอยากมีเวลาปล่อยวางและพักผ่อนได้บ้าง เราเบื่อที่จะ เห็นใบแจ้งหนี้ที่ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย แน่นอน ดาวิดเองก็กระหาย รอเวลาที่จะได้หยุดพักจากการหลบ หนีซาอูล และได้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์ ผมขอชี้ให้เห็นในมุมมองของจิตวิญญาณ ดาวิดไม่ได้ทำดีไปกว่าเมื่อ ตอนที่ท่านทุกข์ยากและอ่อนล้าเลย ในทางกลับกัน ดาวิดไม่เคยทำเลวไปกว่า เมื่อท่านมีทั้งอำนาจและความ มั่งคั่งในมือ คุณว่าดาวิดเขียนบทสดุดีกี่บทในระหว่างที่นอนเล่นอยู่บนเตียง หรือเดินไปมาบนดาดฟ้าหลังคา? ท่านใคร่ครวญธรรมบัญญัติกี่บทในขณะที่อยู่ในเยรูซาเล็ม? มากกว่าที่ในสนามรบหรือเปล่า? เราคงไม่ใช่พวก ต่อต้านความสุขสบาย ต้องการแต่ความทุกข์ยาก แต่ในทางตรงข้าม เราควรตระหนักว่า บ่อยครั้งความสำเร็จ เป็นบทพิสูจน์ที่หนักหน่วงกว่าความทุกข์ยาก บ่อยครั้งที่ดูเหมือนว่า "ทุกอย่างเป็นได้อย่างใจ" รู้หรือเปล่าว่า เรากำลังตกอยู่ในอันตรายที่ร้ายแรงที่สุดทีเดียว

สี่ ความบาปมีลำดับของมัน ความบาป "เกิดขึ้น" แต่น้อยครั้งมากที่ "อยู่ดีๆก็เกิดขึ้น" บาปมีที่มาที่ไป เราเห็น ลำดับการเกิดนี้ได้ในพระธรรมยากอบ:

13 เมื่อผู้ใดถูกล่อให้หลง อย่าให้ผู้นั้นพูดว่า "พระเจ้าทรงล่อข้าพเจ้า
ให้หลง" เพราะว่าความชั่วจะมาล่อพระเจ้าให้หลงไม่ได้ และพระองค์
เอง ก็ไม่ทรงล่อผู้ใดให้หลงเลย 14 แต่ว่าทุกคนก็ถูกล่อให้หลง เมื่อกิ
เลส ของตัวเองล่อและชักนำให้กระทำตาม 15 ครั้นตัณหาเกิดขึ้นแล้ว
ก็ทำให้เกิดบาป และเมื่อบาปเจริญเต็มที่แล้วก็นำไปสู่ความตาย
(ยากอบ 1:13-15)

ความบาปของดาวิดไม่ได้อยู่ดีๆก็เกิดขึ้น ดาวิดเองเป็นตัวการที่ทำให้ตนเองล้มลง เรารู้ว่าท่านละทิ้งภาระใน สนามรบ เลือกที่จะอยู่อย่างสุขสบาย คุณและผมอาจตัดสินใจทำในสิ่งเดียวกัน อาจจะแตกต่างไปเล็กน้อย เราอาจเลือกความสะดวกสบายแทนที่จะไปติดตามองค์พระผู้เป็นเจ้า ดำรงชีวิตภายใต้วินัย สามารถควบคุม ตนเองได้ (ดู 1 โครินธ์ 9:24-27) เราอาจเหน็ดเหนื่อยท้อถอยในการแบกกางเขน และเริ่มมองหาสิ่งที่ดีที่สุด ให้แก่ตนเอง เราอาจขยาด กลัวถูกแบ่งแยก เบื่อหน่ายที่ถูกหัวเราะเยาะเพราะการดำเนินชีวิตคริสเตียน เรา อาจนิ่งเงียบ มากกว่าพูดเป็นพยานเรื่องความเชื่อของเรา และถูกปฏิเสธเพราะสถานะของเรา เราอาจไม่กล้า ไปพูดตักเตือนพี่น้องคริสเตียนที่กำลังทำบาป เพราะเมื่อครั้งที่แล้วที่เราทำ เราหน้าแตกยับเยิน เมื่อใดที่เรา ก้าวถอยมาจากสนามรบ เราก็พร้อมที่จะล้มลงทุกขณะ

บาปที่ลงมือกระทำมักเป็นผลมาจากบาปแห่งการละเลย ดาวิดทำบาปล่วงประเวณีกับนางบัทเชบา และต่อมา ก็ฆ่าสามีนางทิ้งเสีย ความบาปของดาวิดเกิดจากความละเลย เหตุเพราะท่านเลือกที่จะอยู่บ้าน แทนที่จะไป สงคราม บาปแห่งการละเลยนี้ยากที่เราเองหรือคนอื่นๆจะมองเห็นได้ แต่มันอยู่ที่นั่นครับ และอีกไม่นาน มันจะ ฟักตัวกลายเป็นบาปที่เห็นชัดเจน เช่นที่เราเห็นเกิดกับดาวิด

คุณๆที่กำลังอ่านบทเรียนนี้ ผมรู้ว่าคุณกำลังตกอยู่ในสภาพเดียวกับดาวิด คุณได้ทำบาปล่วงประเวณี ผมขอ บอกว่า : "หยุดทันทีเลยครับ!" จะดีเพียงใดถ้าดาวิดยอมสารภาพบาปที่ทำกับนางบัทเชบา ก่อนที่ท่านจะ เลยเถิดไปจนถึงการฆ่าอุรียาห์ บาปเป็นเหมือนมะเร็งร้าย : ยิ่งรีบตัดทิ้งยิ่งเป็นการดี ; ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ยิ่ง เจริญเติบโต ถ้าคุณพลาดพลั้งไปเหมือนดาวิด (ด้วยบาปใดก็ตาม) ตัดให้ขาด สารภาพบาปเสีย ทูลขอการ อภัยจากพระเจ้า และเริ่มต้นใหม่กับพระองค์

คุณบางคนอาจยังไม่เคยทำบาปนี้เหมือนดาวิด แต่กำลังใกล้เข้าไป คุณกำลังทำตัวเหมือนดาวิด เลือกที่จะ อยู่ในเยรูซาเล็ม และเลือกที่จะนอนเล่นบนเตียง คุณยังไม่ได้ลงมือทำบาปหรอกครับ แต่คุณกำลังปูทางอยู่ เพียงแต่คอยเวลาและโอกาส ที่ผมต้องการถาม ไม่ใช่ว่าคุณได้ทำบาปหรือยัง แต่ว่าคุณได้ยอมจำนนกับองค์ พระเยซูคริสต์หรือยัง ปรนนิบัติพระองค์เช่นเดียวกับคนอื่นหรือเปล่า โดยการใช้ความสามารถ (ของประทาน) ที่พระเจ้ามอบให้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น? ขอให้เราเรียนรู้จากการละเลยของดาวิด แทนที่จะเลียน แบบ (ประสพการณ์) จากการกระทำของท่าน

อัครสาวกยอห์นกล่าวไว้ว่า:

7 แต่ถ้าเราดำเนินอยู่ในความสว่าง เหมือนอย่างพระองค์ทรงสถิตในความสว่าง เราก็ร่วมสามัคคีธรรมซึ่งกันและกัน และพระโลหิตของพระเยซูคริสต์พระบุตรของ
พระองค์ ก็ชำระเราทั้งหลายให้ปราศจากบาปทั้งสิ้น 8 ถ้าเราทั้งหลายจะว่าเรา
ไม่มีบาป เราก็ลวงตนเอง และสัจจะไม่ได้อยู่ในเราเลย 9 ถ้าเราสารภาพบาป
ของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และ จะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น
(1 ยอห์น 1:7-9)

1 ลูกของข้าพเจ้าเอ๋ย ข้าพเจ้าเขียนข้อความเหล่านี้ถึงท่านทั้งหลาย เพื่อท่าน
จะได้ไม่ทำบาป และถ้าผู้ใดทำบาป เราก็มีพระองค์ผู้ทูลขอพระบิดาเพื่อเรา คือ พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเที่ยงธรรมนั้น 2 และพระองค์ทรงเป็นผู้ลบล้างพระอาชญาที่
ตกกับเราทั้งหลาย เพราะบาปของเรา และไม่ใช่แต่บาปของเราพวกเดียว แต่ ของมนุษย์ทั้งปวงในโลกด้วย
(1 ยอห์น 2:1-2)

4 ผู้ที่กระทำบาปก็ประพฤติผิดธรรมบัญญัติ บาปเป็นสิ่งที่ผิดธรรมบัญญัติ 5 ท่าน
ทั้งหลายรู้แล้วว่า พระองค์ได้ทรงปรากฏ เพื่อกำจัดบาปของเราให้หมดไป และ พระองค์ไม่ทรงมีบาปเลย 6 ผู้ใดที่อยู่ในพระองค์ ผู้นั้นไม่กระทำบาป ส่วนผู้ใดที่
กระทำบาป ผู้นั้นยังไม่เห็นพระองค์ และยังไม่รู้จักพระองค์ 7 ลูกทั้งหลายเอ๋ย อย่าให้ใครชักจูงท่านให้หลง ผู้ที่ประพฤติชอบก็ชอบธรรมเหมือนอย่างพระองค์
ชอบธรรม 8 ผู้ที่กระทำบาปก็มาจากมาร เพราะว่ามารได้กระทำบาปตั้งแต่เริ่มแรก พระบุตรของพระเจ้าได้เสด็จมาปรากฏก็เพราะเหตุนี้ คือเพื่อทรงทำลายกิจการของ
มาร 9 ผู้ใดบังเกิดจากพระเจ้า ผู้นั้นไม่กระทำบาป เพราะสภาพของพระเจ้าดำรง อยู่กับผู้นั้นและเขากระทำบาปไม่ได้ เพราะเขาเกิดจากพระเจ้า
(1 ยอห์น 3:4-9)


37 ผมคิดว่าคงไม่ได้พูดเกินจริงครับ เหตุการณ์ระหว่างดาวิดและอุรียาห์ดูจะเป็นตัวบ่งว่า ท่านประหลาดใจ ทำไมอุรียาห์ เมื่อมีโอกาส ไม่อยากกลับมาอยู่สุขสบายในกรุงเยรูซาเล็ม แต่อุรียาห์กลับเลือกที่จะอยู่เหมือน ยังอยู่ในสนามรบ

38 เรื่อง "การชำระตัว" ของนางบัทเชบานี้เป็นเรื่องน่าสนใจและออกจะงงเล็กน้อย ในฉบับ KJV อ่านว่า "และ พระองค์ได้สมสู่กับนาง ; เพราะนางได้ชำระตัวให้สิ้นมลทินแล้ว : และนางได้กลับบ้านไป " ข้อ 4 ฉบับ NKJV แตกต่างนิดหน่อย : "และพระองค์สมสู่กับนาง, เพราะนางได้รับการชำระให้สิ้นมลทิน ; และกลับ บ้านไป" (สังเกตุดูเครื่องหมาย ; แล้ว , และจาก : ไปเป็น ;) ฉบับ NIV อ่านว่า "แล้วพระองค์ทรงสมสู่กับ นาง. (พอดีนางได้ชำระตัวให้สิ้นมลทินของนางแล้ว)" ฉบับ NRSV อ่านว่า "แล้ว พระองค์ทรงสมสู่กันาง (เพราะนางได้ชำระตัวหลังมีมลทินแล้ว)." มีคำถามเกิดขึ้นสองข้อซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้อธิบายไว้ : (1) นางบัทเชบาชำระตัวให้พ้นจากมลทินใด? — มลทินจากการมีประจำเดือน หรือมลทินจากการมีเพศสัมพันธ์? ทั้งสองกรณีนี้มีกำหนดอยู่ในพระธรรมเลวีนิติ 15 (2) การชำระตัวนี้เกิดขึ้นตอนไหน และเสร็จสิ้นตอนไหน? ตอนที่ดาวิดเห็นบัทเชบาอาบน้ำ เป็นเวลาเดียวกับที่นางกำลังชำระตัวให้พ้นจากมลทินหรือเปล่า? ถ้าใช่ตาม ที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ นางก็ต้องคอยให้ครบกำหนด จึงจะมีเพศสัมพันธ์ได้ มิฉะ นั้นก็เท่ากับดาวิดทำให้นาง ต้องฝ่าฝืนกฎเกี่ยวกับการชำระตัว เพราะยังไม่ครบตามกำหนด ตามคำแปล ดูเหมือนว่าการชำระตัวเป็นอดีต (ดำเนินต่อ) และเสร็จสิ้นลงแล้ว นางจึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่ฝ่าฝืนกฎ ถึงจะไม่ใช่กับดาวิดก็ตาม แต่ถ้านางยังอยู่ในช่วงต้องห้ามของการชำระตัว ก็เท่ากับดาวิดทำบาปเพิ่มอีกข้อเพราะผิดเวลา ในขณะที่นาง ยังเป็นมลทินอยู่ หรือจะอ่านเป็นอีกแบบก็ได้ (เหมือนในฉบับ NASB) ที่พูดว่า บัทเชบารออยู่ที่วังของดาวิด จนกระทั่งนางได้ชำระตัวจนพ้นมลทินหลังจากมีสัมพันธ์กับดาวิดแล้ว ที่ น่าสนใจคือไม่มีการกล่าวว่าดาวิดรอ จนกว่าท่านได้ชำระตัวให้พ้นมลทินแล้ว ตามความเห็นของผมเรื่อง "การชำระตัว" นี้ ดูเหมือนนางบัทเชบา ต้องการทำตามธรรมบัญญัติของโมเสส ถึงแม้ดาวิดไม่ทำก็ตาม

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 9: ดาวิด และ อุรียาห์ (2 ซามูเอล 11:5-27)

คำนำ

ยี่สิบปีที่แล้ว พนักงานโรงแรมผู้หนึ่งเห็นประตูบันใดหนีไฟเปิดอ้าอยู่ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสามนายพบคน แปลกหน้าถึงห้าคนเดินอยู่ในสำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการประชาธิปไตยแห่งชาติ มีพวกโจรแอบเข้า ไปปรับเปลี่ยนระบบป้องกันการโจรกรรมก่อนหน้านี้ เอกสารสำคัญของคณะกรรมการถูกขโมยถ่ายภาพไป

ไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่า พวกโจรได้อะไรจากการโจรกรรมในครั้งนั้น ไม่ว่าเป็นเพราะอะไรก็ตาม ถ้ามี การสารภาพอย่างจริงใจถึงสาเหตุที่กระทำ อาจเป็นเพียงความผิดเล็กน้อย เรื่องความขัดแย้งในทางการ เมือง แต่การพยายามปกปิดความผิด อาจเป็นตัวนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงมหาศาล ริชาร์ด นิกสัน ปธน. ของสหรัฐอเมริกา ถูกบังคับให้ต้องลาออกจากตำแหน่งในระหว่างที่ถูกกล่าวโทษ คนใกล้ชิดถูกฟ้องร้อง และถูกดำเนินคดีไปหลายคน

ตลอดมาในประวัติศาสตร์ มีการพยายามปกปิดความสูญเสีย ความผิดทางศีลธรรม แม้กระทั่งการกระทำทาง อาชญากรรม ในพระคัมภีร์เอง เรื่องการพยายามปกปิดนี้มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมกาล อาดัมและเอวาพยายาม ปกปิดกายที่เปลือยอยู่ และซ่อนตัวเสียจากพระเจ้า โดยไม่ตระหนักเลยว่ายิ่งพยายามเท่าไร ยิ่งแสดงให้ เห็นถึงความผิดบาปของตนเอง บทเรียนในพระธรรม 2 ซามูเอล บทที่ 11 เป็นเรื่องความพยายามปกปิด ที่โด่งดังที่สุด และเช่นเดียวกับอีกหลายๆคน มันล้มเหลวอย่างน่าเศร้าทีเดียว

ในบทเรียนที่แล้ว มีการอธิบายถึงความบาปที่ดาวิดทำกับนางบัทเชบา โดยชี้ให้เห็นว่าความบาปทั้งสิ้น ตกอยู่ที่ดาวิดเพียงผู้เดียว นางบัทเชบาไม่มีส่วนผิดด้วย ดาวิดไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ทุกสิ่งที่ท่านทำ ไม่ได้เพราะถูกล่อลวง หรือถูกนางบัทเชบายั่วยวนแต่ประการใด แต่เกิดจากความผยอง ตัณหา และความ โลภของดาวิดเอง ดาวิดไม่เคยอยากได้นางบัทเชบามาเป็นภรรยา หรือสานต่อเรื่องการล่วงประเวณีกับ นางอีก ท่านเพียงแสวงหาความสุขชั่วครั้งชั่วคราว และส่งนางกลับไป ดูเหมือนเรื่องมันน่าจะจบแค่นั้น แต่แล้วดาวิดกลับได้ยินว่า เพียงชั่วคืนเดียว นางก็ตั้งครรภ์ เราจะมาเริ่มเรียนต่อถึงการที่ดาวิดพยายาม ปกปิดความบาปที่ทำไว้กับนางบัทเชบา และอย่างที่เรารู้ นอกจากจะไม่สำเร็จแล้ว ยังทำให้เรื่องนี้เลว ร้ายลงไปอีก

เรื่องของดาวิดและอุรียาห์ทำให้ผมนึกถึงเรื่อง "หมอผีกับลูกน้องมือใหม่" นานมาแล้วหมือนกัน แต่ยังพอ จำได้ (รู้สึกจะเป็นตอนที่วอลท์ ดิสนีย์นำมาสร้างใหม่) หมอผีไม่อยู่ ทิ้งให้ลูกน้องมือใหม่เฝ้าสำนักตามลำพัง ลูกน้องเกิดหัวใสขึ้นมา คิดว่าจะทำงานง่ายกว่า ถ้านำคาถาบางตัวของลูกพี่มาใช้ จะได้ไม่ต้องเหนื่อยแรง ปัญหาก็คือลูกน้องนำมาใช้เป็น แต่หยุดไม่เป็น ในที่สุดต้องมีคนยื่นมือเข้ามาช่วยหลายคน ในขณะที่ลูกน้อง มือใหม่พยายามแก้คาถากลับคืน

มาถึงตอนนี้ ชีวิตของดาวิดเป็นเหมือนชีวิตทั่วไป ท่านเริ่มทำบาปใหม่เพื่อปกปิดบาปเดิม ด้วยคิดว่าบาปใหม่ จะลบบาปเก่าไปได้ แต่ทว่า นอกจากลบไม่ได้แล้ว ยังทวีคูณเข้าไปอีก หลายคนเริ่มรู้เรื่องความบาปของ ท่าน เริ่มปิดไม่มิด มีบทเรียนมากมายที่เราเรียนรู้ได้จากโศกนาฏรรมครั้งนี้ของดาวิด ถ้าใส่ใจให้ดี เราจะไม่ พลัดหลงดิ่งไปในทางเดียวกัน ขอองค์พระวิญญาณเปิดหู เปิดใจเรา ให้ฟังและเรียนจากการที่ดาวิด พยายามปกปิดบาปที่ท่านทำไว้กับนางบัทเชบา

ทบทวน

ในบทเรียนที่แล้ว เราใช้เวลาไปที่สี่ข้อแรกของบทที่ 11 ซึ่งอธิบายเรื่องความบาปของดาวิดกับบัทเชบา ผมได้แสดงให้เห็นว่าความผิดบาปทั้งหมดตกอยู่ที่ดาวิดเพียงคนเดียว ผู้เขียนชี้นิ้วไปที่ดาวิด ไม่ใช่นาง บัทเชบา นางบัทเชบาไม่ได้อาบน้ำอย่างไม่เหมาะสม (ตามที่ผมอ่านจากพระคัมภีร์) นางเพียงแต่ทำตามที่ ธรรมบัญญัติกำหนดไว้เกี่ยวกับการชำระตัวให้พ้นมลทิน ดาวิดต่างหาก ที่มีพระราชวังอยู่สูง มองเห็นได้มาก กว่าคนอื่นๆ ท่านมองบัทเชบาอย่างไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนสิทธิส่วนบุคคล ผมพยายามชี้ให้เห็นว่าความบาป ของดาวิดต่อนางบัทเชบาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตัดสินใจผิดและทัศนคติของดาวิดเอง ในอีกแง่หนึ่ง การมุ่งไปสู่จุดหมายของดาวิด (การล่วงประเวณี หรือทำนองเดียวกัน) เป็นเรื่องไม่เกินความคาดหมาย บาปแห่งการละเลยของท่าน ในที่สุดก็เกิดดอกออกผลจนเต็มขนาด

มุมมองหนึ่งในโศกนาฏกรรมครั้งนี้คือผลต่อเนื่องที่เกิดจากความบาปในชีวิตของดาวิด เรื่องไม่ได้จบลงแค่ ที่ท่านได้ล่วงประเวณีกับบัทเชบาเท่านั้น แต่มันนำไปสู่แผนชั่วที่จะให้อุรียาห์เป็นพ่อบุตรของท่านกับนาง บัทเชบาแทน ในที่สุดนำไปสู่การฆาตรกรรมอุรียาห์ ทำให้ที่สุดแล้วท่านต้องแต่งงานกับนางบัทเชบา เมื่อ เราเริ่มเรียนต่อ การมีข้อมูลเบื้องหลังไว้บ้าง จะทำให้เรามีความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

(1) ดูเหมือนว่าดาวิดและอุรียาห์ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าต่อกัน คงรู้จักกันดี อย่างน้อยก็ในระดับ หนึ่ง อุรียาห์ได้ชื่อว่าเป็นนักรบที่เก่งกล้าของดาวิด (2 ซามูเอล 23:39; 1 พงศาวดาร 11:41) ในตอนต้นๆ มีพวก "คนกล้า" หลายคนมาเข้าพวกกับดาวิดในขณะอยู่ที่ในถ้ำอดุลลัม (1 ซามูเอล22:1-2) และเราคิดว่า หนึ่งในนั้นคือ โยอาบ อาบีชัย และอาสาเฮล พี่น้องที่เป็นคนกล้า (ดู 2 ซามูเอล 23:18, 24; 1 พงศาวดาร 11:26).39 ที่เหลือมาสมทบที่ศิกลาก (1 พงศาวดาร 12:1) และยังมีมาสบทบเรื่อยๆอีกที่เฮโบรน (1 พง- ศาวดาร 12:38-40).40 เราไม่รู้ว่าอุรียาห์มาเข้าพวกกับดาวิดที่ใหนและเมื่อไร แต่เมื่อหน้าที่ทางทหาร ของเขาจบลงใน 2 ซามูเอล 12 เขาต้องมีเกียรติประวัติของความสำเร็จทางทหารมาก่อน จึงเป็นไปได้ที่ ดาวิดและอุรียาห์ต้องรู้จักกัน ; เป็นไปได้ด้วยว่าทั้งคู่ต้องเคยร่วมรบด้วยกันมาก่อน และอาจเป็นได้ว่า รู้จัก ตั้งแต่เมื่อครั้งหลบหนีซาอูล

(2) ไม่น่าเป็นไปได้ที่อุรียาห์จะไม่รู้ว่าดาวิดได้ทำอะไรลงไป และพยายามจะทำสิ่งใดในการที่เรียก เขากลับมาบ้านที่เยรูซาเล็ม ต้องมีข่าวลือหนาหูไปทั่วกรุงเยรูซาเล็มเรื่องดาวิดกับนางบัทเชบา และคง ลือไปใกลถึงกองทัพอิสราเอลที่ล้อมเมืองรับบาห์อยู่ อุรียาห์นอกจากไม่ยอมกลับไปบ้านเพื่อนอนกับภรรยา แล้ว ยังนอนเสียที่ประตูพระราชวังกับพวกข้าราชการของดาวิด เขาอาจจะอยากพิสูจน์ให้เห็นว่าเด็กในท้อง ภรรยาไม่ใช่ลูกของเขา ดูเหมือนอุรียาห์จะเข้าใจแจ่มแจ้งว่าดาวิดต้องการจะทำอะไร (ให้ไปนอนกับภรรยา) เขาจึงปฏิเสธ ถึงแม้เป็นคำสั่งของกษัตริย์ก็ตาม เราคงอธิบายได้ยาก ว่าอุรียาห์จะไม่รู้เรื่องของดาวิดและ บัทเชบา อย่างน้อยอุรียาห์ต้องรู้ว่าดาวิดต้องการให้เขาทำสิ่งใดในการเรียกตัวกลับมาเยรูซาเล็ม เราจะมา ลงลึกในรายละเอียดของเรื่องนี้อีกทีหลัง

(3) ไม่มีการกล่าวว่าบัทเชบามีส่วนรู้เห็นในแผนการหลอกลวงอุรียาห์สามีของนางจนถึงแก่ชีวิต นางไม่รู้สักนิดว่าดาวิดคิดจะทำอะไร เมื่อนางส่งคนไปบอกดาวิดว่าตั้งครรภ์ ดาวิดตัดสินใจทำบางอย่าง แต่ไม่มีที่ใดที่กล่าวว่านางมีส่วนรู้เห็นในแผนการนี้ ข้อ 26 กล่าวว่านางรู้เรื่องการตายของอุรียาห์ทีหลัง ตาม ขั้นตอนทั่วไป แน่นอน ดาวิดจะให้นางรู้หรือว่ากำลังวางแผนคิดจะฆ่าสามีของนาง? ดาวิดทำการครั้งนี้ โดยที่บัทเชบาไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย

ปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์
(11:5)

ดูเหมือนดาวิดไม่ได้คิดถึงนางบัทเชบาอีกหลังจากที่พบกันในข้อ 1-4 แน่นอน ดาวิดไม่ได้ต้องการสานต่อ สัมพันธภาพนี้ ไม่ต้องการพบนางอีก และไม่ได้ต้องการจะแต่งงานกับนาง ดาวิดปัดเรื่องความบาปนี้ออกไป จากความคิด จนกระทั่งบัทเชบาส่งคนมาบอกว่า ผลจากคืนนั้นทำให้นางตั้งครรภ์ บัทเชบาบอกดาวิดว่านาง กำลังจะมีลูก ไม่ได้บอกว่าสงสัยจะตั้งครรภ์ ซึ่งก็แปลว่านางต้องขาดประจำเดือนไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งเดือน หรือมากกว่านั้น ฉะนั้นอีกไม่นานคนก็ต้องเห็็นว่านางตั้งครรภ์ นี่เป็นความบาปและความรับผิดชอบของดาวิด นางจึงต้องบอกกับท่าน

แผน A: ให้อุรียาห์มาทำให้เหมือนเป็นเรื่องธรรมชาติ
(11:6-9)

แผนการของดาวิดดูทำให้เป็นเรื่องธรรมดา อย่างน้อยก็ในความคิดของท่าน ซึ่งไม่ฉลาดนัก พูดง่ายๆก็คือ ดาวิดต้องการให้อุรียาห์หลงไปตามแผนและทำในสิ่งที่ท่านได้ทำลงไป ดาวิดไม่อยากจะทนกับความลำบาก ในสงครามที่รับบาห์ ท่านจึงอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม อยู่ที่บ้าน และอยู่บนเตียง ท่านอยากทำตามใจตนเอง ไป นำภรรยาคนอื่นมานอนด้วย ดาวิดต้องการให้อุรียาห์มีโอกาสเช่นกัน เพียงแต่ว่าเป็นภรรยาของเขาเองที่เขา ต้องนอนด้วย หลังจากที่อุรียาห์นอนกับบัทเชบาแล้ว ทุกคนจะได้รู้ว่าเขาเป็นพ่อของเด็กในท้องที่เกิดจาก ความบาปของดาวิด มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับแผนของท่าน : ท่านคิดไปเองว่าอุรียาห์จะเป็นเหมือนท่าน คือ ปล่อยตัวตามสบาย แทนที่จะทำตัวเหมือนกับว่ายังอยู่ในสนามรบ

ดาวิดสั่งไปที่โยอาบ ให้ส่งอุรียาห์กลับบ้านที่กรุงเยรูซาเล็ม จากพระธรรมตอนนี้ผมเข้าใจว่าอุรียาห์ถูกส่ง กลับมาเพื่อรายงานเหตุการณ์ในสนามรบให้ดาวิดทราบ ผมสงสัยว่าดาวิดต้องการให้อุรียาห์รู้หรือเปล่าว่า ท่านสั่งให้โยอาบทำ ผมค่อนข้างแน่ใจว่า ดาวิดไม่ต้องการให้อุรียาห์รู้สาเหตุที่แท้จริงในการเดินทางกลับ มาครั้งนี้ ดาวิดจัดฉากการกลับมาครั้งนี้ให้ดูเหมือนว่ากลับมาเพื่อจุดประสงค์เดียว แต่ที่จริงเพื่อจุดประสงค์ จะปกปิดบาปของท่าน มาถึงขนาดนี้แล้ว คำสั่งให้อุรียาห์กลับมาบ้านเริ่มมีกลิ่นไม่สู้ดี เราคงจำกันได้ว่า เมื่อบิดาของดาวิดต้องการรู้เรื่องความเป็นไปของสงครามกับพวกฟิลิสเตีย (บุตรชายของท่านสามคนร่วม รบอยู่ด้วย) ท่านส่งดาวิด บุตรชายคนเล็กไป เพื่อไปส่งเสบียงและกลับมารายงานเรื่องสงคราม (1 ซามูเอล 17:17-19) คงไม่มีใครใช้ทหารกล้ามาเพื่อส่งข่าวหรอกครับ (ดูไม่เข้าท่า)

ผมควรต้องบอกว่าโยอาบถูกดึงให้มามีส่วนสมรู้ร่วมคิดด้วย โยอาบทำตามคำสั่ง ส่งอุรียาห์กลับมา ผมเดา ว่าโยอาบคงพอรู้เลาๆ เขาอาจเคยได้ยินข่าวลือเรื่องดาวิดเป็นชู้กับนางบัทเชบา เมื่อต้องส่งตัวอุรียาห์กลับ จึงต้องมอบหมายหน้าที่บางอย่างให้รับผิดชอบ โยอาบและอุรียาห์น่าจะรู้สึกว่างานนี้คงไม่ใช่ "ปฏิการเหนือ ความคาดหมาย" (ที่มอบให้นักรบชั้นแนวหน้าทำ) แต่กลับเป็น "ปฏิบัติการเหลือเชื่อ" แทน ไม่ว่าจะอย่างไร ก็ตาม หยากเยื่อแห่งการคดโกงกำลังถูกทักทอขึ้น มีการดึงเอาคนหลายคนเข้ามาติดบ่วงด้วย

เมื่ออุรียาห์มาถึงเยรูซาเล็ม ก็เข้ามารายงานตัวต่อดาวิดผู้ซึ่งกำลังทำทุกอย่างให้คืบไปตามแผน ท่านถาม อุรียาห์ถึง "ความเป็นไปของโยอาบและคนอื่นๆ" และถามถึง "สถานการณ์ของสงคราม" ผมว่าถ้า ดาวิดไปที่สนามรบเสียเอง คงไม่ต้องใช้ให้ใครมารายงานหรอกครับ ที่แย่ไปกว่านั้น ดาวิดไม่ได้เป็นห่วง เป็นใยโยอาบหรือพวกทหารหรือเรื่องสงครามสักเท่าไร ท่านหมกมุ่นแต่เรื่องพยายามจะปกปิดบาป พยายาม ให้อุรียาห์กลับบ้านไปนอนกับภรรยา เพื่อท่านจะได้รอดตัว เป็นเรื่องน่าเศร้านะครับที่เห็นดาวิดกลายเป็นคน หลอกลวงไป กษัตริย์ผู้เคยมีเมตตาต่อบุตรพิการของโยนาธาน บัดนี้หามีเมตตาต่อทั้งกองทัพไม่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งต่อนางบัทเชบาและอุรียาห์สามีของนาง

ดาวิดทำตัวเหมือนปกติกับอุรียาห์ ท่านรับฟังเรื่องรายงาน และอนุญาติให้อุรียาห์กลับไปพักผ่อน ไป "ล้าง เท้า" ที่บ้าน ดาวิดไม่ได้เป็นห่วงเรื่องสุขภาพอนามัยของทหารหรอกครับ แต่เป็นห่วงเรื่องชื่อเสียงของตน ต่างหาก ปกติเมื่อคนกลับบ้าน ส่วนมากจะถอดรองเท้าและล้างเท้า เพื่อเตรียมรับประทานอาหารและขึ้นนอน ดาวิดกำลังค่อยๆกล่อมให้ชายคนนี้ กลับบ้านเพื่อไปนอนกับภรรยา อุรียาห์รู้ทัน ; ผู้เขียนรู้ทัน ; และพวกเรา ก็รู้ทันด้วย

เมื่ออุรียาห์กลับออกมาจากการเข้าเฝ้า ดาวิดลูบหลังแถมท้ายด้วยการให้คนนำ "ของประทานจากพระ ราชา" ตามไปด้วย เราคงอยากรู้ว่า "ของประทาน" ที่ว่านี้คืออะไร เป็นห้องพักโรงแรมชายทะเลสองคืน? หรืออาหารค่ำหรูใต้แสงเทียน? ผมว่าเราน่าจะสรุปได้ดังนี้ : (1) ไม่มีใครบอกว่าของประทานคืออะไร (2) เราไม่สมควรรู้ หรือไม่มีการบันทึกไว้ให้เรารู้ (3) ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม คงจะถูกจัดเตรียมอย่างดี เพื่อทำ ให้แผนของดาวิดที่จะให้อุรียาห์กับไปนอนบ้านได้โดยสะดวกและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

อุรียาห์คงพอเข้าใจได้ว่ากษัตริย์กำลังพยายามทำอะไร ใครบ้างเล่าจะไม่อยากกับบ้านไปมีความสุขกับภรรยา หลังจากต้องตรากตรำมานานอยู่ในสนามรบ? แต่เท่าที่รู้ อุรียาห์ไม่ได้ออกไปจากพระราชวังเลย เขานอนอยู่ที่ ประตูวังท่ามกลางบรรดาขุนนาง ตามความเข้าใจของผม อย่างน้อยขุนนางบางคน ถึงจะไม่ ใช่ทั้งหมด คงต้อง เป็นทหารองครักษ์ของดาวิด (เปรียบเทียบกับ 1 พกษ. 14:27-28) อุรียาห์เป็นทหาร ถูกเรียกให้มาเข้าเฝ้า ต้องออกจากสนามรบมา แต่ในฐานะผู้รับใช้ของกษัตริย์ เขาคงไม่ละหน้าที่รับผิดชอบไปมีความสุขกับภรรยา ; แต่กลับไปอยู่กับองครักษ์ที่คอยพิทักษ์ชีวิตกษัตริย์แทน เพราะนี่เป็นหนึ่งในงานรับใช้กษัตริย์ที่ในเยรูซาเล็ม เขาจึงเลือกทำสิ่งนี้แทนที่จะกลับไปบ้าน เรื่องมันชักจะไปกันใหญ่ ทหารที่สัตย์ซื่อของกษัตริย์อยู่เฝ้าเวรยาม เพื่อพิทักษ์กษัตริย์ในยามค่ำคืน กษัตริย์ที่เอาภรรยาของเขามานอนด้วย และอีกไม่นานจะมาเอาชีวิตเขาไป

แผน B: ต้องหนักแน่นและเอาจริงมากขึ้นกับอุรียาห์
(11:10-11)

ดาวิดส่งคนไปคอยสอดแนมอุรียาห์ดังกับว่าเป็นฝ่ายศัตรู พวกเขารู้ดีว่าดาวิดต้องการอะไร ; ดาวิดต้องการ ให้อุรียาห์กลับบ้านเพื่อไปนอนกับภรรยา ถ้าพวกเขาไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังว่าดาวิดทำอย่างไรไว้กับบัทเชบา (ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้) และดาวิดต้องการอะไรในการเรียกอุรียาห์กลับมาครั้งนี้ อย่างน้อยพวกเขาก็ต้องรู้ว่าเรื่อง มันชักไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ดาวิดกำลังทำให้สายสืบของท่านตกเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย

สายสืบของดาวิดกลับมาในตอนเช้าพร้อมกับรายงานที่น่าทึ่ง : "เขาไม่ได้ทำพะย่ะค่ะ เขาไม่ได้กลับไปบ้าน ด้วยซ้ำไป!" ดาวิดจึงตักเตือนอุรียาห์อย่างนุ่มๆ คำพูดและการกระทำของดาวิดหลอกลวงจนรับแทบไม่ได้ ท่านเล่นบทเจ้านายที่เต็มไปด้วยความกรุณา อุรียาห์ คนของท่าน "พึ่งเดินทางกลับมาถึง" (ข้อ 10) ทำไม ไม่ไปพักผ่อนหาความสำราญใส่ตัว? ทำไมไม่กลับไปหาภรรยาที่บ้าน? ทำไมอุรียาห์จึงปล่อยปละละเลย ไม่ ไปใส่ใจดูแลภรรยา? "ทำไมทำตัวน่าละอายเช่นนี้ อุรียาห์!" อุรียาห์มีคำอธิบายครับ รู้สึกจะมากเกินพอสำหรับ ดาวิดด้วยซ้ำไป

เขามีคำอธิบาย; คำพูดที่อุรียาห์ตอบผู้บังคับบัญชาเป็นคำตำหนิที่รุนแรงพอๆกับที่ดาวิดจะได้ยินจากนาธัน ในบทต่อไป อุรียาห์เข้าใจดีว่าดาวิดต้องการให้เขาทำสิ่งใด (ให้ไปนอนกับภรรยา) แต่ตอนนี้ท่านเริ่มผลักดัน หนักขึ้น — ขู่แกมบังคับ — ให้ต้องทำ อุรียาห์ปฏิเสธอย่างนุ่มนวลแต่หนักแน่น :

11 อุรีอาห์ทูลตอบดาวิดว่า "หีบพันธสัญญาและอิสราเอลกับยูดาห์อยู่ในทับ
อาศัย โยอาบเจ้านายของข้าพระบาทกับบรรดาข้าราชการ ของฝ่าพระบาท
ตั้งค่ายอยู่ที่พื้นทุ่ง ส่วนข้าพระบาทจะไปบ้าน ไปกิน ไปดื่ม และนอนกับ ภรรยาของข้าพระบาทเช่นนั้นหรือพ่ะย่ะค่ะ พระองค์ทรงพระชนม์อยู่และ
วิญญาณจิตของพระองค์ มีชีวิตอยู่แน่ฉันใด ข้าพระบาทจะไม่กระทำอย่าง
นี้เลย" (2 ซามูเอล 11:11)

ข้อแรกอุรียาห์ชี้ให้เห็นว่าเขาไม่ได้อยู่ในที่ๆควรอยู่ ดาวิดพูดถึงอุรียาห์ว่าพึ่งกลับมาจากการเดินทาง (ข้อ 10) ที่จริงคืออุรียาห์ถูกเรียกตัวมาจากสนามรบ เขาไม่ได้เป็นพนักงานขายเดินสายที่กำลังกลับบ้าน ; เขา เป็นทหาร ไม่ได้อยู่ในที่ประจำการ ทั้งใจและวิญญาณของอุรียาห์อยู่กับเพื่อนทหารนักรบ เขาอยากกลับไป สนามรบ ไม่ใช่มาอยู่ที่เยรูซาเล็ม เขาพร้อมที่จะกลับไปทันทีที่ดาวิดอนุญาติ (ข้อ 12) แต่กว่าจะถึงเวลานั้น เขาจะปฏิบัติตนดังเช่นทหารให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะกินอยู่เหมือนเพื่อนทหารในสนามรบ ที่กองทัพ อิสราเอลนำโดยโยอาบยังล้อมเมืองรับบาห์อยู่ พวกเขาและหีบของพระเจ้าอยู่ในทับอาศัยในทุ่งโล่ง อุรียาห์ เองไม่สามารถ และจะไม่ทำด้วย คืออยู่อย่างหรูหราในขณะที่คนอื่นกำลังเสียสละเพื่อชาติ เขาจะไม่กลับไป นอนกับภรรยาจนกว่าคนอื่นๆจะมีโอกาสเช่นกัน

ด้วยความเคารพอย่างสูง อุรียาห์ขอปฏิเสธ — แปลว่าไม่ยอมทำ — ในสิ่งที่ขัดกับวินัยทหาร ไม่ต้องพูดถึง วีรบุรุษสงคราม ผมว่าถ้าดูให้ดี ไม่เห็นมีคำสั่งใดเจาะจงที่ทำให้อุรียาห์ต้องฝ่าฝืน เท่าที่รู้ ผมยังไม่เคยเห็น ว่าที่ใดในธรรมบัญญัติของโมเสสที่กำหนดห้ามไม่ให้ทหารมีสัมพันธ์กับภรรยาในระหว่างเวลาสงคราม (ถ้า เรื่องนี้เป็นจริง ในยุคแรกของประวัติศาสตร์อิสราเอล ชนชาติอิสราเอลคงไม่เหลือหลอ เพราะอิสราเอล มีแต่ทำสงครามกับเพื่อนบ้านอยู่ตลอดเวลา) นี่เท่ากับเป็นการลงโทษอุรียาห์ในฐานะทหาร เขาไม่ขอทำลาย จิตสำนึกของตนเอง แม้จะเป็นคำสั่งของกษัตริย์ก็ตาม

เพื่อจะเข้าใจคำพูดของอุรียาห์ให้ชัดเจนขึ้น ให้เราพลิกกลับไปดูเล็กน้อย เพื่อจะนำคำพูดที่ดาวิดเคยพูดกับ ปุโรหิตอาหิเมเลขมาทบทวนดู เพราะเป็นเรื่องเดียวกับที่อุรียาห์กำลังเผชิญ :

1 แล้วดาวิดก็มาหาอาหิเมเลคปุโรหิตเมืองโนบ และอาหิเมเลคออกมา หาดาวิดตัวสั่นอยู่พูดกับท่านว่า "ทำไมท่านจึงมาคนเดียว และไม่มีผู้ใด
มากับท่าน" 2 ดาวิดจึงพูดกับอาหิเมเลคปุโรหิตว่า "พระราชาทรงบัญชา
ข้าพเจ้าให้ทำเรื่องหนึ่ง รับสั่งแก่ข้าพเจ้าว่า 'อย่าบอกเรื่องซึ่งเราใช้เจ้า
ไป กระทำนั้นแก่ผู้ใดให้รู้เลย และด้วยเรื่องซึ่งเรามอบหมายแก่เจ้านั้น' ข้าพเจ้าได้นัดหมายไว้กับพวกคนหนุ่ม ณ ที่แห่งหนึ่ง 3 ท่านมีอะไร
ติดมืออยู่บ้างเล่า ขอขนมปังข้าพเจ้าสักห้าก้อน หรืออะไรๆที่มีที่นี่ก็ได้"
4 ปุโรหิตนั้นตอบดาวิดว่า "ข้าพเจ้าไม่มีขนมปังธรรมดาเลย แต่มีขนมปัง
บริสุทธิ์ ขอแต่คนหนุ่มได้อยู่ห่างจากผู้หญิงมาแล้วก็แล้วกัน" 5 และดาวิด
ก็ตอบท่านปุโรหิตว่า "ที่จริงเมื่อเราทั้งหลายออกไปปฏิบัติงาน ผู้หญิงก็
ถูกกัน ให้ห่างจากเราอย่างทุกครั้ง การเดินทางธรรมดากายของคนหนุ่ม
ก็บริสุทธิ์อยู่แล้ว ยิ่งวันนี้กายของเราก็ยิ่งบริสุทธิ์กว่า" (1 ซามูเอล 21:1-5)

เราคงจำกันได้เมื่อดาวิดหลบหนีซาอูลครั้งแรก ท่านหนีไปหาปุโรหิตอาหิเมเลข เพื่อขอปันอาหาร และขอ ดาบ ปุโรหิตไม่มีอาหารเก็บไว้ยกเว้นแต่ขนมปังบริสุทธิ์ ซึ่งท่านยินยอมให้ดาวิดและพรรคพวกรับประทาน ถ้าพวกเขา "ได้อยู่ห่างจากผู้หญิงมา" (ข้อ 4) ปุโรหิตคงคิดว่าพวกเขาอาจไปทำอะไรมาก่อนหน้านั้น คำตอบของดาวิด โดยเฉพาะน้ำเสียงนั้นเข้ากับเหตุการณ์ของบทนี้เป็นอย่างยิ่ง ท่านให้ความมั่นใจกับ ปุโรหิตว่า ท่านและผู้ติดตามไม่ได้ข้องเกี่ยวกับผู้หญิงมา ด้วยเกรงว่าปุโรหิตจะคิดเป็นอื่น เหตุผลที่ดาวิดให้ คือท่านและคนของท่านกำลังปฏิบัติงานให้กษัตริย์ มาในหน้าที่ราชการทหาร (หรือมาอย่างเป็นทางการ)

ที่น่าทึ่งที่สุดคือ หลายปีก่อนหน้านี้ ดาวิดเองยืนกรานว่า คนที่กำลังปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการอยู่ ไม่ควรมี สัมพันธภาพทางเพศกับผู้หญิง แต่หลายปีหลังจากนั้น ดาวิดกลับประหลาดใจว่าทหารในระหว่างปฏิบัติงาน ให้กษัตริย์ยินดีที่จะสละความสุขที่มีกับภรรยาเสีย แย่ไปกว่านั้น ดาวิดพยายามชักจูง — จนเกือบบังคับ — ให้อุรียาห์ทำ ถึงแม้จะขัดต่อจิตสำนึกของเขาเองก็ตาม นี่ไม่ใช่เป็นการ "ทำให้พี่น้องผู้อ่อนแอสะดุด" แต่นี่ เป็นการตัดขาของพี่น้องที่แข็งแกร่งทิ้งเลย อุรียาห์เป็นแบบอย่างที่ดี ที่สมควรคาดหวังได้จากทหาร โดย เฉพาะอย่างยิ่งจากดาวิด — หรืออย่างน้อยดาวิดในอดีต อุรียาห์กลับทำตัวเหมือนดาิวิดที่เราเคยรู้จัก อุรียาห์ คือ "ดาวิด" อย่างที่ดาวิดควรเป็น

คำพูดของอุรียาห์ทำให้ดาวิดถึงกับช็อคไปด้วยตระหนักถึงความบาปของตนเอง ผู้เขียนใช้คำพูดเล่าในเชิง เหน็บแนม อุรียาห์พึ่งบอกกับดาวิดว่าจะไม่กลับไปบ้าน จะไม่ไปดื่มและนอนกับภรรยา 41 เขาให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้มาก : "พระองค์ทรงพระชนม์อยู่และวิญญาณจิตของพระองค์ มีชีวิตอยู่แน่ฉันใด ข้าพระ บาทจะไม่กระทำอย่างนี้เลย" (ข้อ 11) ในข้อต่อไปดาวิดบังคับอุรียาห์ให้ "กินและดื่ม" กับท่าน ด้วยหวัง ว่าเขาจะเมาและอยากกลับไปหาภรรยา แต่เมื่ออุรียาห์สาบานต่อชีวิตของกษัตริย์ ว่าเขาจะไม่มีวันทำเช่นนั้น กษัตริย์จึงจำต้องปลิดชีวิตเขาแทน เป็นเรื่องน่าเศร้านะครับ! เป็นโศกนาฏกรรม!

แผน C: มอมเหล้าอุรียาห์เพื่อจะทำในสิ่งที่ถ้ามีสติจะไม่ทำเป็นอันขาด
(11:12-13)

ดาวิดเริ่มแย่ นึกไม่ถึงว่าอุรียาห์จะกล้าปฏิเสธข้อเสนอของท่าน อุรียาห์พูดอย่างเด็ดเดี่ยว และดาวิดรู้ดีว่า เขาจะไม่มีทางฝ่าฝืนหน้าที่ในฐานะทหาร ถ้ายังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ ดาวิดจึงลองพยายามปรับเปลี่ยนแผน เดิมอีกครั้ง — มอมเหล้าอุรียาห์ให้เมาจะได้อยากกลับไปหาภรรยา เพราะว่าคนเราถ้าเมา มักจะทำในสิ่งที่ ยามสติดีๆจะไม่ทำเป็นอันขาด ดาวิดคิดว่าแผนนี้น่าจะได้ผล

เป็นที่เข้าใจได้ว่าอุรียาห์กินและดื่มกับกษัตริย์ดาวิดในคืนที่อยู่ในเยรูซาเล็ม ดาวิดเริ่มชักชวนให้อุรียาห์ กิน และดื่ม ห้ามปฏิเสธคำเชิญของกษัตริย์ ในที่สุด ดาวิดคิดว่าเกิดผล เพราะแน่ใจว่าอุรียาห์รับแอลกอฮอล เข้าไปในสายเลือดจนเมา และเมื่อเมาได้ขนาดนี้ ดาวิดจะส่งอุรียาห์กลับบ้านเพื่อ "ไปนอน" กับภรรยา ให้จบๆไปเสียที ถึงแม้จะเมา อุรียาห์ก็ยังไม่ยอมฝ่าฝืนจิตสำนึกเป็นอันขาด!42 อีกครั้งแล้ว ที่อุรียาห์นอน ค้างที่ประตูวังของดาวิด ท่ามกลางพวกมหาดเล็ก เขาไม่ได้กลับไปบ้าน ไม่ได้กลับไปนอนกับภรรยา ดาวิด กำลังตกที่นั่งลำบาก

แผน C: ดาวิดต้องฆ่าอุรียาห์เพราะตกที่นั่งลำบาก
(11:14-17)

ดาวิดต้องลงมือทำบางสิ่งที่จะมีผลย้อนกลับ ท่านต้องการให้อุรียาห์อยู่ในฐานะที่ดูเหมือนว่าเป็นพ่อของเด็ก ในท้องของนางบัทเชบา แต่การกระทำของอุรียาห์แสดงให้ทุกคนเห็นว่าเขาเป็นคนสัตย์ซื่อต่อตำแหน่งหน้า ที่ในฐานะทหาร ทำให้ผู้อื่นเห็นชัดว่าเขาไม่ใช่พ่อของเด็กในท้องนางบัทเชบาแน่ๆ เรื่องยิ่งแย่ไปกว่าเมื่อ ตอนที่ดาวิดเรียกอุรียาห์ให้กลับมาที่เยรูซาเล็ม ดาวิดจึงสรุป — อย่างผิดๆ — ว่าทางออกที่เหลืออยู่ทางเดียว คือต้องให้อุรียาห์ตายในสงคราม ผมไม่ทราบว่าดาวิดคิดยังไง จะตบตาคนทั้งเยรูซาเล็มได้หรือ เรื่องลูกใน ท้องของนางบัทเชบา? ท่านทำได้อย่างไร ในเมื่อทุกคนรู้ดีว่าอุรียาห์ไม่ได้อยู่กับภรรยาเลย ดูเหมือนว่า ดาวิดดิ้นรนจะทำให้บาปของท่านถูกกฎหมาย โดยทำให้อุรียาห์ตกเป็นเหยื่อสงคราม และภรรยาต้องเป็นม่าย เพื่อท่านจะแต่งงานกับนาง และเลี้ยงดูบุตรให้เป็นของตนได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านทำ

คงเป็นคืนที่ทรมาณแสนสาหัสสำหรับดาิวิด ที่เห็นว่าแม้แต่คนเมายังมีจิตสำนึกที่ดีกว่า ดังนั้น ในตอนเช้า ดาวิดจึงลงมือ ท่านเขียนจดหมายถึงโยอาบ ซึ่งก็คือหมายประหารสำหรับอุรียาห์ ในจดหมาย ดาวิดสั่ง โยอาบอย่างชัดเจน ให้ฆ่าอุรียาห์แทนท่าน ท่านบอกถึงวิธีการ และการปกปิดไม้ให้ความจริงรั่วไหล ถ้าทำ สำเร็จ ดาวิดจะยกย่องให้โยอาบเป็นวีรบุรุษสงคราม และตัวท่านเองจะแสดงความใจกว้างด้วยการรับเอา ภรรยาม่ายของอุรียาห์มาแต่งงานด้วย เพื่อเด็กที่เกิดมาจะได้ไม่กำพร้าพ่อ โยอาบต้องจัดการให้อุรียาห์ ออกไปอยู่แนวหน้า ในสงคราม ในที่ๆการรบดุเดือดที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของนายทหารกล้าที่มีฝีมือ โยอาบจะทำเป็นถอยทัพออกมา ทิ้งให้อุรียาห์ตกเป็นเป้าให้พวกอัมโมนฆ่า เพื่อให้แน่ใจว่าเขาต้องตาย ดาวิดสั่งโยอาบเรื่องอุรียาห์เช่นนั้นจริงๆ : ท่านต้องการให้อุรียาห์ถูกฆ่าตายในสนามรบ โยอาบทำตาม คำสั่งของดาวิดทุกประการ อุรียาห์จึงถูกกำจัดออกไป ไม่เป็นอุปสรรคต่อแผนการของดาวิดอีก เมื่อดาวิด สั่งโยอาบให้ทำ ก็เท่ากับดึงโยอาบให้เข้ามาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย ให้เขามามีส่วนทำให้อุรียาห์โลหิตตก บาปของดาวิดขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ ครอบคลุมคนมากขึ้น ทำให้บาปยิ่งใหญ่หลวงเข้าทุกที

น่าแปลกไหมครับ ที่เห็นดาวิด นักรบผู้กล้าหาญ (1 ซามูเอล 16:18) จัดการกับอุรียาห์ นักรบที่กล้าหาญ เช่นกัน เหมือนกับว่าเป็นศัตรู อุรียาห์ผู้นี้ ยินดีสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องกษัตริย์ และดาวิด ผู้ที่จะเอาชีวิต อุรียาห์มาปกปิดบาปของตนเอง ซึ่งเรารู้ว่าไม่มีทาง ที่แปลกคือ ดาวิดดึงเอาโยอาบมามีส่วนร่วมในการ ฆาตรกรรมครั้งนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น โยอาบเองเป็นผู้ฆ่าอับเนอร์ :

26 เมื่อโยอาบออกมาจากการเข้าเฝ้าดาวิด จึงส่งผู้สื่อสารไปตามอับเนอร์ เขาทั้งหลายก็นำท่านกลับมาจากที่ขังน้ำชื่อสีราห์ แต่ดาวิดหาทรงทราบ
เรื่องไม่ 27 และเมื่ออับเนอร์กลับมาถึงเฮโบรนแล้ว โยอาบก็พาท่านหลบ เข้าไปที่กลางประตูเมืองเพื่อจะพูดกับท่านเป็นการลับ และโยอาบแทง
ท้องของท่านเสียที่นั่น ท่านก็สิ้นชีวิต โยอาบแก้แค้นโลหิตของอาสาเฮล
น้องชายของตน 28 ภายหลังเมื่อดาวิดทรงทราบเรื่องนี้ พระองค์ตรัสว่า "ตัวเราและราชอาณาจักรของเรา ปราศจากความผิดสืบไปเป็นนิตย์ต่อเบื้อง พระพักตร์พระเจ้าด้วยเรื่องโลหิตของอับเนอร์บุตรเนอร์ 29 ขอให้โทษนั้นตก
เหนือศีรษะของโยอาบ และเหนือพงศ์พันธุ์บิดาของเขาทั้งสิ้น ขออย่าให้คน
ที่มีสิ่งไหลออก คนที่เป็นโรคเรื้อน คนที่ถือไม้เท้า คนที่ถูกประหารด้วยดาบ
หรือคนขาดขนมปัง ขาดจากพงศ์พันธุ์ของโยอาบ" 30 นี่แหละโยอาบ กับ อาบีชัยน้องชายของเขาได้ฆ่าอับเนอร์ เพราะอับเนอร์ได้ฆ่าอาสาเฮลน้องชาย
ของเขาเมื่อรบกันที่กิเบโอน (2 ซามูเอล 3:26-30)

ดาวิดประณามการกระทำของโยอาบ และทำการสาปแช่ง เพราะเขาได้ทำให้โลหิตไร้ความผิดของอับเนอร์ ตก แต่บัดนี้ ดาวิดคนเดียวกันนี้เอง (ถึงจะไม่ใช่ดาวิดคนเดิม) กลับใช้ให้โยอาบฆ่าอุรียาห์ เพื่อตนเองจะได้ หลุดจากข้อหา ศัตรูของดาวิด (โยอาบ) ได้กลายมาเป็นเพื่อน อย่างน้อยก็เป็นพันธมิตร ศัตรูของดาวิด (พวกอัมโมน) ก็กลายมาเป็นพันธมิตรกับดาวิดด้วย (เพราะมีส่วนช่วยฆ่าอุรียาห์) ส่วนผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์อย่าง อุรียาห์ต้องถูกฆ่าตายเหมือนเป็นฝ่ายศัตรู ไม่เพียงแต่อุรียาห์ถูกฆ่าตายเท่านั้น มีทหารอิสราเอลอีกหลาย คนต้องตายไปด้วย พวกเขาต้องสละชีวิตเพื่อปกปิดแผนฆาตรกรรมอุรียาห์ การตายของอุรียาห์ต้องเรียกว่า เป็นการตายหมู่ ไม่ใช่ตายแค่คนเดียว ไม่ต้องสงสัยอีกแล้ว ศีลธรรมและจิตวิญญาณของดาวิดคงต้องตกต่ำ จนถึงก้นบึ้งจริงๆ

โยอาบช่วยสรุปข่าว
(11:18-25)

พระธรรมแปดข้อนี้ พูดเรื่องรายงานการตายของอุรียาห์ ซึ่งยาวกว่าเรื่องบาปของดาวิดที่ทำกับนางบัทเชบา ถึงสองเท่า และยาวพอๆกับเรื่องดาวิดพยายามจัดการกับอุรียาห์ เริ่มจากคำสั่งที่โยอาบสั่งอย่างละเอียดให้ กับผู้ส่งข่าวจากสนามรบ คนที่ต้องนำข่าวการตายของอุรียาห์มาแจ้งแก่ดาวิด และจบลงที่รายงานเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และการตอบสนองของดาวิด ทำไมผู้เขียนจึงใส่ใจเรื่องรายงานความตายของอุรียาห์เป็นพิเศษ? ให้เรามาค้นหา คำตอบด้วยการทบทวนข้อพระคำเหล่านี้ด้วยกัน

ภาระกิจสำเร็จลง : อุรียาห์ตาย โยอาบทำตามคำสั่งของดาวิดอย่างครบถ้วน ตอนนี้ต้องส่งข่าวให้ดาวิดทราบ โดยไม่ให้ใครรู้ว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิด โยอาบจัดหาคนไปส่งข่าวให้ดาวิด เขาสั่งอย่างละเีอียดและชัดเจน ต้องรายงานเหตุการณ์ในสนามรบก่อน สรุปผลการโจมตีเมืองของศัตรู รวมทั้งเรื่องการตายของอุรียาห์และ ทหารคนอื่นๆ เหตุใดการรายงานของคนส่งข่าวนี้จึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก?

คำตอบนั้นแสนธรรมดา เห็นได้จากการที่โยอาบเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะนับว่าเป็นภาระกิจที่ล้มเหลว ทหารอิสราเอลล้อมเมืองรับบาห์อยู่ แปลว่าพวกเขาต้องกระจายกำลังอยู่รอบเมือง เพื่อกันไม่ให้คนข้างใน ออกมา ที่อิสราเอลต้องทำคือรอจนกว่าคนในเมืองจะอดตาย ไม่จำเป็นต้องเข้าไปโจมตี ฉะนั้นภาระกิจนี้ จึงเป็นภาระกิจแบบฆ่าตัวตาย ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ฉลาดล้ำที่ไหนมาตีความ โยอาบรวบรวมเอาบรรดาทหาร กล้า รวมทั้งอุรียาห์ด้วย เพื่อบุกเข้าไปโจมตี แทนที่จะไปโจมตีในที่ๆอ่อนกำลังที่สุดของศัตรู ตามที่เรา คาดไว้ กลับไปโจมตีในที่ๆแกร่งที่สุด ทำให้เกิดการต่อสู้ตัวต่อตัวระหว่างอุรียาห์กับพรรคพวก และพวก อัมโมน เมื่อกองกำลังอิสราเอลถอยออกมา ทำให้ที่เหลือไม่สามารถป้องกันตนเองได้ จึงถูกฆ่าตาย แล้ว การรายงานนี้จะทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้โยอาบดูเหมือนเป็นคนโง่ (เกินไป) หรือ (ร้ายกว่านั้น) เป็น ฆาตรกร?

นี่เป็นเหตุที่โยอาบต้องใส่ใจเรื่องรายงานเป็นพิเศษ ผู้ส่งข่าวต้องรายงานเรื่องการโจมตีเมืองรับบาห์ให้ดาิวิด ทราบก่อน และรายงานเรื่องความสูญเสียของอิสราเอล และสาเหตุของความสูญเสีย โยอาบรู้ดีว่าดาวิดจะ ตอบสนองอย่างไร (บางทีท่านอาจแกล้งทำ) ต่อรายงานเรื่องการโจมตีนี้ และตอนนี้แหละ ที่โยอาบสั่งผู้ ส่งข่าวให้รายงานดาวิดว่าอุรียาห์ตายแล้ว ซึ่งจะทำให้หยุดข่าวลือหรือการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดาวิดลงเสียที

ข้อ 22-25 เล่าถึงว่าเมื่อผู้ส่งข่าวมาถึงและรายงานต่อดาวิด และการตอบสนองของท่าน ผมต้องขอชี้ให้เห็น ว่าจากที่ผมอ่าน ผู้ส่งข่าวไม่ได้ทำตามคำสั่ง เขาเข้าพบดาวิดและเล่าว่ากษัตริย์อัมโมนมีชัยได้อย่างไร พวก อัมโมนออกมารบกับอิสราเอล ไล่ไปจนถึงที่กลางทุ่ง แต่อิสราเอลก็ไล่พวกเขากลับไป จนถึงที่ประตูเมือง เป็นที่ๆ อุรียาห์และทหารคนอื่นๆต่อสู้อยู่ เนื่องด้วยอยู่ใกล้เกินไป จึงถูกธนูของฝ่ายศัตรู ยิงจนเสียชีวิตไป หลายคน และผู้ส่งข่าวรีบแถมท้ายว่า " และอุรียาห์คนฮิทไทต์ข้าราชการของพระองค์สิ้นชีวิตด้วย" (ข้อ 14)

ทำไมผู้ส่งข่าวคนนี้ไม่รอให้ดาวิดแสดงอาการโกรธก่อนหมือนกับที่โยอาบสั่งไว้? ทำไมรีบไปแจ้งแก่ดาวิดว่า อุรียาห์ตายแล้ว ก่อนที่ท่านจะมีโอกาสพูดติเตียนหรือแสดงความคิดเห็น? ผมเข้าใจว่าที่ผู้ส่งข่าวรายงานเช่นนี้ เพราะคงรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร เขาอาจรู้เรื่องของดาวิดและบัทเชบา อาจรู้มากถึงขนาดว่านางกำลังตั้งครรภ์ ก็เป็นได้ เขาคงรู้ดีว่าอุรียาห์ถูกเรียกตัวเข้าเยรูซาเล็ม และอาจจะคะเนได้ว่าดาวิดคิดกำจัดอุรียา์ห์ โดยโยอาบ ทำให้สำเร็จลงด้วยการถูกศัตรูฆ่าตาย ผมคิดว่าผู้ส่งข่าวอาจรู้ด้วยซ้ำไป ว่าดาวิดรู้ว่าอุรียาห์ตายแล้ว ท่านไม่ จำเป็นต้องแสดงความไม่พอใจ เขาจึงรีบรายงายเสียก่อนที่จะเห็นดาวิดทำทีเป็นโกรธและไม่พอใจ ในเหตุ การณ์นี้ เขารีบตัดบทและรายงานเรื่องนี้ก่อน เพื่อจะได้ไม่ต้องเห็นการตอบสนองใดจากดาวิด

ผู้ส่งข่าวคนนี้คาดถูกครับ ตามที่บันทึกอยู่ในข้อ 25 :

25 ดาวิดก็รับสั่งผู้สื่อสารนั้นว่า "เจ้าจงบอกโยอาบดังนี้ว่า 'อย่าให้เรื่องนี้ทำให้ท่าน ลำบากใจ เพราะดาบย่อมสังหาร ไม่เลือกว่าคนนั้นหรือคนนี้ จงสู้รบหนักเข้าไป และ ตีเอาเมืองนั้นเสียให้ได้' เจ้าจงหนุนน้ำใจท่านด้วย" (2 ซามูเอล 11:25)

คำพูดของดาวิดเหมือนครีมแต่งหน้าเค้ก ดูดีและเข้าอกเข้าใจ เต็มไปด้วยความเห็นใจ ดาวิดคงจะกล่าว ทำนองว่า "อย่ากังวลใจไปเลย มันก็ต้องมีได้บ้างเสียบ้างเป็นธรรมดา เราต้องทำใจ" อุรียาห์เป็นคนกล้า และเป็นคนชอบธรรมที่ต้องตายลง ดาวิดดูจะไม่โศกเศร้าจนนิดเดียว ไม่ได้แสดงว่าเสียใจ หรือยกย่องการ เสียสละของเขา อุรียาห์ตายลงทั้งคน ดาวิดไม่ได้รู้สึกรู้สมอย่างไร ลองเปรียบเทียบการตอบสนองของดาวิด ที่มีต่อการตายของอุรียาห์ กับการตายของซาอูลและโยนาธาน (2 ซามูเอล 1:11-27) แม้กระทั่งอับเนอร์ (2 ซามูเอล 3:28-39) นี่เป็นคนละคนกับดาวิดเมื่อสองสามบทที่แล้ว นี่เป็นดาวิดที่ใจแข็งกระด้าง ใจดำเพราะ ความบาปของตนเอง

บทสรุป

บทเรียนตอนนี้มีคำสอนที่เรานำมาใช้ได้ในยุคปัจจุบัน ผมขอแนะนำบางข้อก่อนที่จะจบบทเรียนในวันนี้

ข้อแรก "คริสเตียนล้มลงได้ไหม?" ได้ครับ บุคคลบางคนในพระคัมภีร์ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า พวก เขามีความเชื่อในพระเจ้าจริงหรือ? เช่นคนอย่างบาลาอัม แซมสัน หรือซาอูล แต่เราไม่เคยสงสัยในดาวิด ท่านไม่เพียงแต่เป็นผู้เชื่อเท่านั้น แต่เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้เชื่อด้วย ในพระคัมภีร์ ดาวิดเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะท่านเป็น ผู้ที่ทำตามพระทัยพระเจ้าอย่างสุดใจ ถึงกระนั้นก็ตาม ดาวิดคนนี้ ถึงแม้จะมีความวางใจใน พระเจ้า ถึงแม้ท่านจะใช้เวลาอย่างเหมาะสมในการนมัสการพระเจ้า เขียนบทสดุดีที่ซาบซึ้งใจ กลับจมลึก ลงไปในบาป ถ้าคนอย่างดาวิดล้มเหลวได้ เราเองก็เช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่ อ.เปาโลได้เตือนไว้ :

11 เหตุการณ์เหล่านี้ได้บังเกิดแก่เขาเพื่อเป็นตัวอย่าง และได้บันทึกไว้ เพื่อเตือนสติเราทั้งหลาย ซึ่งกำลังประสบวาระสุดท้ายแห่งบรรดายุคเก่า
12 เหตุฉะนั้นคนที่คิดว่าตัวเองมั่นคงดีแล้ว ก็จงระวังให้ดี กลัวว่าจะล้มลง
(1 โครินธ์ 10:11-12)

ข้อสอง "คริสเตียนล้มลงได้มากขนาดไหน?" มากพอๆกับดาวิดครับ ดาวิดไม่ได้แค่ทำบาปล่วง ประเวณีกับนางบัทเชบาเท่านั้น ท่านทำการฆาตรกรรมด้วย ผมว่าเราอาจพูดได้ว่า ไม่มีบาปใดที่คริสเตียน จะทำไม่ได้ ผมเคยได้ยินคนพูดว่า "ไม่เข้าใจเลยว่าคนที่ทำ _______ อย่างนี้จะเป็นคริสเตียน" มันมีเวลา ของมันครับ — เหมือนเวลาของดาวิด — ที่คนอื่นๆไม่อยากจะเชื่อว่า คนอย่างเราจะได้รับความรอด เพราะ การกระทำ ของเรา

ข้อสาม "คริสเตียนล้มลงได้เร็วขนาดไหน?" เร็วมากครับ มันน่าทึ่งนะครับที่เห็นดาวิดจมลึกลงไปใน ความบาปภายในแค่บทเดียว ถ้าไม่โดยพระคุณพระเจ้าแล้ว เราจะจมลึกลงไป อย่างรวดเร็วและไม่มีสิ้นสุด ขอให้ประสบการณ์โศกนาฏกรรมของดาวิดเป็นบทเรียนที่มีค่าสำหรับเรา

ข้อสี่ บาป-ดินพอกหางหมู ความบาปไม่อยู่นิ่งนะครับ ; มันเคลื่อนไหวได้ บาปเจริญเติบโตงอกงาม ตาม ขั้นตอนที่เราเห็นในบทเรียน ความบาปของดาวิดเริ่มเมื่อท่านไม่ไปทำหน้าที่ทหาร กลับเลือกที่จะนอนตื่น สาย จากบาปล่วงประเวณีไปเป็นการฆาตรกร เริ่มจากทำในที่ลับ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มรู้มากขึ้นเรื่่อยๆ ที่แย่คือเริ่มดึงเอาคนอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย ความบาปของท่านเริ่มจากไปแย่งภรรยาผู้อื่นมา และฆ่าสามีทิ้ง รวมทั้งทำให้ทหารคนอื่นๆต้องตายตามไปด้วย เพื่อทำให้น่าเชื่อถือ ความบาปของดาวิดเบ่งบานขึ้น จนทำ ให้มิตรแท้ที่จงรักภักดี (อย่างอุรียาห์) กลายเป็นศัตรู และศัตรูแท้จริง (อย่างพวกอัมโมน หรืออาจโยอาบ ด้วย) กลับกลายเป็นพันธมิตร

ข้อห้า เมื่อเราพยายามปกปิดบาป มีแต่ทำให้แย่ลง ดังนั้น หนทางที่ดีที่สุดคือต้องสารภาพบาป และละทิ้งอย่างเด็ดขาด

13 บุคคลที่ซ่อนการละเมิดของตนจะไม่จำเริญ แต่บุคคลที่สารภาพ และทิ้งความชั่วเสียจะได้ความกรุณา (สุภาษิต 28:13)

มันจะดีเพียงใหน ถ้าดาวิดสารภาพบาปที่ทำไว้กับนางบัทเชบาเสีย และทูลขอการอภัย แต่ท่านกลับไปปกปิด มันเสีย ทำให้เรื่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีก

มนุษย์พยายามปกปิดบาปของตนตั้งแต่ครั้งปฐมกาลที่ในสวนเอเด็น อาดัมกับเอวาคิดว่าจะปกปิดบาปของ ตนได้ด้วยการพยายามปกปิดร่างกายที่เปลือยอยู่ แล้วยังไปหลบซ่อนตัวเสียจากพระเจ้า แต่พระเจ้ายังไปตาม หาพวกเขาด้วยความรัก ไม่ใช่เพื่อจะไปดุว่าและสาปแช่ง แต่เพื่อไปประทานพระสัญญาแห่งการอภัยให้ พระ เจ้าเองเป็นผู้จัดเตรียมชดใช้ความบาปให้ ด้วยความตายเพื่อเป็นเครื่องบูชา ถูกฝังไว้ และการฟื้นคืนพระชนม์ ขององค์พระเยซูคริสต์ เพื่อไถ่เราทั้งหลายออกจากความบาป คุณเคยมีประสบการณ์นี้หรือยัง? ถ้ายังเหตุใด ไม่สารภาพเสีย และรับของประทานแห่่งการให้อภัยจากพระเจ้า ในองค์พระบุตร คือพระเยซูคริสต์ที่ตายแทน ความบาปของเราบนไม้กางเขนที่เนินหัวกระโหลกนั้น?

ข้อหก บทเรียนตอนนี้ทำให้อุรียาห์เป็นวีรบุรุษ และเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่เป็นพวกมุทะลุและอ่อนหัด มีบางคนสรุปเอาว่าถ้าอุรียาห์เป็นลิฟท์ "คงขึ้นไปไม่ถึงชั้นบนสุด" (เพื่อนบ้านผมเขาชอบว่าพวกที่ไม่ฉลาด นักในสายตาของเขา) อุรียาห์เซ่อหรือเปล่าครับ? เขาไม่รู้เชียวหรือว่าดาวิดพยายามทำอะไร? ผมว่าไม่นะครับ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ความจงรักภักดีที่มีต่อดาวิด และต่อธรรมบัญญัติของพระเจ้าดูโดดเด่นขึ้นมา ผมอยากจะพูด ว่า อุรียาห์นั้นเหมือนกับดาวิดในสมัยแรกๆ ในการที่ท่านปฏิบัติต่อซาอูล ในขณะที่ซาอูลแสวงชีวิตดาวิดอย่าง ไม่ชอบธรรม เพราะอิจฉาในความสำเร็จของท่าน และดาวิดยอมจำนนอย่างซื่อสัตย์ในการปรนนิบัติซาอูล ผู้เป็นนาย ท่านมอบอนาคตและความปลอดภัยของท่านไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า และพระองค์ไม่เคยทำให้ ท่านผิดหวัง

ข้อเจ็ด อุรียาห์เป็นเครื่องเตือนใจเราว่าพระเจ้าไม่ได้ช่วยกู้คนชอบธรรม จากเงื้อมมือของคนอธรรม ในทันทีเสมอไป หรือแม้กระทั่งในชั่วชีวิต เพื่อนสนิททั้งสามของดาเนียล บอกกับกษัตริย์ไปว่าพระเจ้า สามารถช่วยกู้พวกเขาให้รอดได้ พวกเขาไม่ได้ทึกทักเอาว่าพระเจ้าจะช่วย หรือว่าพระองค์ต้องช่วย แต่พระ องค์ก็ทรงช่วยพวกเขา ผมคิดว่าคริสเตียนมองไปที่การช่วยกู้ว่าเป็นกฎตายตัว มากกว่าเป็นข้อยกเว้น แต่เมื่อ อุรียาห์รับใช้กษัตริย์ของเขา (ดาวิด) อย่างสัตย์ซื่อ เขากลับต้องสูญเสียชีวิต พระเจ้าไม่ได้มีหน้าที่ "ช่วยเรา ให้รอดจากปัญหา" หรือกันไม่ให้เราถูกการทดลองหรือผ่านความทุกข์ยาก เพียงเพราะเราวางใจในพระองค์ บางครั้งเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าให้เราวางใจในพระองค์อย่างเต็มเปี่ยม ยอมกับระบอบการปกครองของ มนุษย์ และทนต่อการถูกข่มเหง โดยพระองค์ไม่ช่วยกู้เรา ความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณไม่ได้เป็นเครื่องประกัน ว่าเราจะไม่ต้องเผชิญความทุกข์ยากในชีวิตนี้ ที่จริงความสนิทสนมกับพระเจ้าเกิดขึ้นได้เพราะการต้องเผชิญ กับความทุกข์ของเรา (ดูมัทธิว 5)

ในพระคัมภีร์เดิม และในพระคัมภีร์ใหม่ บ่อยครั้งที่พระเจ้าช่วยกู้ประชากรของพระองค์ให้พ้นจากคนอธรรม และบ่อยครั้งที่พระองค์ไม่ได้ช่วยกู้ การ "ช่วยกู้" ของพวกเขามาพร้อมกับพระเมสซิยาห์ องค์พระเยซูคริสต์ อุรียาห์เป็นเหมือนกับธรรมิกชนอีกหลายคนในยุคพระคัมภีร์เดิม ตายโดยไม่ได้รับบำเหน็จใดๆบนโลกนี้ ที่เป็น เช่นนี้เพราะพระเจ้ามีพระประสงค์ให้พวกเขารอคอย อุรียาห์และธรรมิกชนในสมัยโบราณ ไม่ได้รับการช่วยกู้ จากความอธรรม ตามที่พระธรรมฮีบรูกล่าวเอาไว้ :

13 คนเหล่านั้นได้ตายไปขณะที่มีความเชื่อเต็มที่ และไม่ได้รับสิ่งที่
ได้ทรงสัญญาไว้ แต่เขาก็ได้เห็นและได้เตรียมรับไว้ตั้งแต่ไกล และ รู้ดีว่าเขาเป็นคนแปลกถิ่นที่ท่องเที่ยวไปในโลก 14 เพราะคนที่พูด อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า เขากำลังแสวงหาเมืองที่จะได้เป็น
ของเขา 15 ถ้าเขาคิดถึงบ้านเมืองที่เขาจากมานั้น เขาก็คงจะมีโอกาส
กลับไปได้16 แต่ความจริงเขาปรารถนาที่จะอยู่ในเมืองที่ประเสริฐกว่า
นั้น คือเมืองสวรรค์ เหตุฉะนั้นพระเจ้าจึงมิได้ทรงละอาย เมื่อเขาเรียก
พระองค์ ว่า เป็นพระเจ้าของเขา เพราะพระองค์ได้ทรงจัดเตรียมเมือง
หนึ่งไว้สำหรับ เขาแล้ว… . 32 และข้าพเจ้าจะกล่าวอะไรต่อไปอีกเล่า
เพราะไม่มีเวลาพอที่จะกล่าวถึง กิเดโอน บาราค แซมสัน เยฟธาห์
ดาวิด และซามูเอล และผู้เผยพระวจนะทั้งหลาย 33 เพราะความเชื่อ ท่านเหล่านั้นจึงได้มีชัย เหนือดินแดนต่างๆ ได้ตั้งระบบความยุติธรรม ได้รับผลของพระสัญญา ได้ปิดปากสิงห์ 34 ได้ดับไฟที่ไหม้อย่างรุน
แรง ได้พ้นจากคมดาบ ความอ่อนแอของท่านก็กลับเป็นความเข้มแข็ง มีกำลังความสามารถในการทำสงคราม ได้ตีกองทัพประเทศอื่นๆ แตก
พ่ายไป 35 พวกผู้หญิงก็ได้รับคนพวกของนางที่กลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีก บางคนก็ถูกทรมาน แต่ก็ไม่ยอมรับการปลดปล่อย เพื่อเขาจะได้กลับมี
ชีวิตที่ดีกว่านั้นอีก 36 บางคนต้อง ทนต่อคำเยาะเย้ยและการถูกโบยตี และยังถูกล่ามโซ่และถูกขังคุกด้วย 37 บางคนก็ถูกขว้างด้วยก้อนหิน บางคนก็ถูกเลื่อยเป็นท่อนๆ บางคนก็ถูกฆ่าด้วยคมดาบ บางคนก็นุ่งห่ม หนังแกะหนังแพะพเนจรไป สิ้นเนื้อประดาตัว ตกระกำลำบากและถูก
เคี่ยวเข็ญ 38 (แผ่นดินโลกไม่สมกับคนเช่นนั้นเลย) เขาพเนจรไปในถิ่น
ทุรกันดาร และตามภูเขาและอยู่ตามถ้ำและตามโพรง 39 คนเหล่านั้น ทุกคนมีชื่อเสียงดีเพราะความเชื่อของเขา แต่เขาก็ยังไม่ได้ รับสิ่งที่ทรง
สัญญาไว้ 40 เพราะพระเจ้าทรงจัดเตรียม สิ่งซึ่งประเสริฐยิ่งกว่านั้น
ไว้สำหรับเขา เพื่อเขาทั้งหลายจะได้รับความสมบูรณ์ด้วยกันกับเรา
เท่านั้น (ฮีบรู 11:13-16, 32-40).

อุรียาห์ไม่ควรถูกมองอย่างดูหมิ่น หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์เพราะความจงรักภักดีที่ยอมให้กับดาวิด เขาสมควร ได้รับการยกย่อง ที่จริงมีคนให้คำแนะนำที่ดีสำหรับผมว่า : "ถ้าสมมุิตอุรียาห์ได้อยู่ในรายชื่อของวีรบุรุษ สงคราม เพราะความจงรักภักดีและความกล้าหาญในการสู้รบจนเสียชีวิตล่ะ? เป็นไปได้ไหมที่จะคิดว่า อุรียาห์เป็นเพียงคนต่างชาติที่กลับใจ ความเชื่อและการเชื่อฟังของเขาทำให้อิสราเอลหลายคนต้องอับอาย เสียหน้า เขาเป็นคนหนึ่งในท่ามกลางผู้ที่เชื่อและวางใจในพระเจ้า และยังไม่ได้รับสมกับความยุติธรรม ในโลกนี้ แต่จะได้รับเมื่ออาณาจักรของพระองค์มาถึง คริสเตียนหลายคนในทุกวันนี้ ต้องการรับพระพร "เดี๋ยวนี้" ไม่ต้องการทนทุกข์เพื่อรอรับบำเหน็จในภายหลัง ขอให้คิดดูให้ดี โดยมองจากแบบอย่างของ อุรียาห์ สำหรับชีวิตเราในปัจจุบัน


39 เรารู้ว่าในขณะที่ดาวิดอาศัยอยู่ในถ้ำอดุลลัม พี่น้องและครัวเรือนของบิดาท่าน รวมทั้งคนที่ไม่ชอบหน้า ซาอูลมาหาท่านเพราะกลัวการรังควาญของซาอูล (1 ซามูเอล 22:1-2) โยอาบ อาบีชัย และอาสาเฮลเป็น บุตรของเศรุยาห์ น้องสาวของดาวิด (1 พงศาวดาร 2:16) ผมขอสรุปว่าทั้งสามพี่น้องนี้น่าจะมาเข้าพวกกับ ดาวิดเวลาเดียกับที่ครอบครัวของท่านมา

40 สังเกตุดูว่ามีการเลี้ยงฉลองกันสามวันระหว่างดาวิดและบรรดาคนที่มาสมทบกับท่าน น่าจะเป็นเวลาเดียว กับที่ท่านทำความรู้จักกับคนพวกนี้

41

41 บังเอิญหรือเปล่าว่าหมายถึง "ของประทานจากพระราชา" ที่ดาวิดมอบให้อุรียาห์ในข้อ 8 ? ของประทาน นี้คือ "อาหารและเครื่องดื่ม" ใช่หรือไม่? ผมว่าน่าเป็นได้

42 การกระทำของอุรียาห์ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาสำหรับคนขี้เมาทั้งหลาย ดูเหมือนพระธรรมตอนนนี้จะแสดง ให้เราเห็นว่า ถึงจะเมา ก็ไม่สามารถถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ขัดต่อจิตสำนึกได้ นอกจากเจ้าตัวอยากทำเอง ทำให้ผมสงสัยว่ามีกี่คนกันที่ทำเป็นเมา เพื่อจะได้ทำในสิ่งที่อยากทำ และคิดว่าจะโทษไปที่แอลกอฮอลได้ ในสิ่งที่ทำลงไป? ฟังดูคล้ายๆกับเรื่อง "ถูกซาตานบังคับให้ทำ" นะครับ

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 10: ดาวิด และ พระเจ้า (นาธัน) (2 ซามูเอล 12)

คำนำ

เมื่อสองสามปีที่แล้ว ผมและเจนเน็ทภรรยาไปเที่ยวประเทศอังกฤษและสก็อตแลนด์กับคุณพ่อคุณแม่ของผม ทุกคืนเราจะพักที่ที่พักแบบ "ที่พักและอาหารเช้า" ขณะที่เราขับรถเที่ยวไปในแคว้นเวลส์ มีฟาร์มหรือบ้านไร่ อยู่หลายแห่ง ที่ตัวเมืองส่วนมากไม่ค่อยมีที่ให้พักค้างคืน เราจึงขับไปตามป้ายบอกทาง "ที่พักและอาหาร เช้า" เราขับไปเรื่อยๆตามถนนในชนบท ตามป้ายไปจนถึงสถานที่ — เป็นบ้านไร่ชายทุ่งที่น่ารักมากครับ มีแกะหลายร้อยตัวเล็มหญ้าอยู่ มีสะพานและโรงนาที่ทำด้วยหิน เป็นที่ๆสมบูรณ์แบบจริงๆ แต่ที่เราไม่รู้คือ สะพานหินที่เห็นอยู่นั้น แท้ที่จริงแล้วคือทางรถไฟที่มีรถไฟวิ่งไปมาหลายขบวนในตอนดึก ห่างจากบ้านตรงที่ เราพักไปเพียงไม่กี่ก้าวเอง แถมยังมีแม่วัวตกลูกพร้อมกันอีกสองตัวในคืนนั้น ถึงผมจะเคยอยู่ฟาร์มมาบ้าง แต่ไม่เคยได้ยินเสียงวัวร้องก้องไปมาอยู่ในโรงนาที่เป็นหินมาก่อนเลย

นอกจากฝูงแกะนับร้อยๆที่อยู่เล็มหญ้าอยู่ในทุ่งข้างบ้านแล้ว ยังมีแกะตัวเล็กๆตัวหนึ่งอยู่ในคอกติดกับตัวบ้าน มันดูขี้เล่นและเป็นมิตรดี พวกเราชอบออกไปเล่นกับมัน แต่เราสงสัยกันว่าทำไมแกะตัวนี้ถึงถูกเก็บไว้ต่างหาก ไม่ไปรวมอยู่ในฝูงข้างนอก ผมเลยลองถามเด็กที่เป็นหลานของเจ้าของฟาร์มดู ตั้งนานกว่าจะเข้าใจสำเนียง หนักๆของเขาได้ เขาบอกพวกเราว่ามันเป็น "สัตว์เลี้ยง" เอาไว้ดูเล่น แต่เขาพูดด้วยสำเนียงท้องถิ่น กว่าจะ จับคำได้ ผมเกือบเผลอฟังไปเป็นคำอื่นแล้วสิครับ นี่เป็นแกะอีกสถานะหนึ่ง ไม่ใช่เป็นแค่ "แกะ" หรือ "ลูก แกะ" ธรรมดาทั่วๆไป แกะที่เป็น "สัตว์เลี้ยง" ตัวนี้อยู่ในคอกพิเศษต่างหาก ติดกับตัวบ้าน ได้รับการเอาใจใส่ ดูแลเป็นพิเศษต่างกับตัวอื่นๆ

เป็นแกะเพียงตัวเดียวในฝูงแกะทั้งหลาย ที่ดูเหมือนจะมีความสุขกับการถูกแยกมาต่างหากไว้เป็น "สัตว์เลี้ยง" ของครอบครัว เรื่องที่นาธันเล่าให้ดาวิดฟัง ไม่เหมือนกับเรื่องแกะตัวนี้ครับ นาธันเล่าให้ดาวิดฟังถึงเรื่อง "แกะ ที่เป็นสัตว์เลี้ยง" ที่เจ้าของแสนยากจนมีเพียงตัวเดียว มันไม่ได้อยู่ในคอกข้างบ้าน ; แต่มันอาศัยอยู่ในบ้าน อยู่ในอ้อมอกของผู้เป็นเจ้าของ กินและดื่มด้วยกันกับเขา เรื่องที่นาธันเล่าให้ดาวิดฟัง เป็นเรื่องที่พระเจ้าทรง ใช้ให้นาธันมาชี้ให้ดาวิดเห็นถึงบาปชั่วของท่าน เป็นบทเรียนตอนนี้ของเรา และอีกครั้ง มีเรื่องราวสอนเรา มากมาย รวมทั้งสอนดาวิดด้วย ให้เราตั้งใจฟังถ้อยคำของนาธันที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้าให้ดี และเรียนรู้ จากแกะตัวนั้น

ปูมหลัง

ดาวิดขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์ของยูดาห์และอิสราเอล ท่านได้รวบรวมแผ่นดินของท่านขึ้นเป็นปึกแผ่น ยึดเอา เมืองเยบุสและตั้งขึ้นเป็นเมืองหลวง โดยให้ชื่อใหม่ว่าเยรูซาเล็ม ท่านสร้างพระราชวังสำหรับตนเอง และคิด จะสร้างพระนิเวศน์ใ้ห้กับพระเจ้า (แต่พระเจ้าให้ทบทวนดูใหม่) ท่านได้บรรดาเมืองต่างๆรอบด้านเป็นเมืองขึ้น รบกับพวกอัมโมนและมีชัย แต่ยังไม่ได้เข้าไปยึดครองเต็มตัว พวกอัมโมนถอยหนีไปตั้งหลักในเมืองรับบาห์ เมื่อฤดูร้อนมาถึง ดาวิดส่งกองทัพอิสราเอลนำโดยโยอาบไปล้อมเมืองนี้ไว้ รอเวลาให้ยอมแพ้ไปเอง ดาวิดไม่ อยากออกไปนอนคอยที่ค่ายทหารในทุ่งโล่งนอกเมือง ท่านเลือกที่จะอยู่บ้านในเยรูซาเล็มแทน นอนตื่นสายๆ และเตรียมตัวเข้านอนอีกในตอนเย็น ท่านออกไปเดินเล่นบนดาดฟ้าหลังคาของพระราชวัง และมองลงไป เ็ห็นสตรีงามนางหนึ่ง กำลังอาบน้ำอยู่ อาจเป็นพิธีชำระตัวให้พ้นมลทินเพื่อทำตามธรรมบัญญัตติก็เป็นได้

นางไม่ได้จงใจทำตัวไม่เหมาะสม นางกำลังอาบน้ำในตอนค่ำ และเนื่องจากความจน (ดู 12:1-4) นางจึงไม่มี ห้องหับเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์มีพระราชวังที่อยู่สูงกว่าคนทั่วไป จึงสามารถมองลงมาเห็นได้ ดาวิดตะลึงในความงามของนาง จึงส่งคนออกไปสืบเสาะว่านางเป็นผู้ใด เมื่อรู้ว่านางเป็นใคร และรู้ด้วยว่านาง แต่งงานแล้วกับอุรียาห์คนฮิทไทต์ ท่านก็น่าจะยุติเรื่องนี้ลง แต่กลับไม่ ท่านส่งคนไปนำนางมาที่พระราชวัง และนอนกับนาง เมื่อนางชำระตัวให้สิ้นมลทินแล้ว นางจึงกลับบ้านไป

เรื่องน่าจะยุติลง เพราะดาวิดไม่ได้ต้องการภรรยาเพิ่ม ; ไม่ได้แม้อยากจะสานต่อ ท่านกำลังมองหาความตื่น เต้นเร้าใจ เหมือนกับที่ในสนามรบ แต่เป็นที่บนเตียง! เรื่องกลับตาลปัตรเมื่อบัทเชบาส่งคนมาส่งข่าวว่านาง ตั้งครรภ์ ดาวิดหาทางปกปิดบาปของตนเองด้วยการสั่งโยอาบให้ส่งอุรียาห์กลับมาบ้าน หยุดพักงานชั่วคราว ทำทีเหมือนว่ากลับมารายงานเรื่องสงคราม ดาวิดพยายามทำแผนให้อุรียาห์กลับบ้าน เพื่อไปนอนกับภรรยา เป็นความใจดีของท่าน แต่เมื่อไม่สำเร็จ เริ่มเปลี่ยนเป็นขู่แกมบังคับ และหนักข้อขึ้นไปอีกด้วยการมอมเหล้า ให้เมา เพื่อจะทำในสิ่งที่ถ้าปกติดีจะไม่คิดทำ เมื่อแผนการล้มเหลวไม่เป็นท่า (เพราะบุคคลิกที่ซื่อตรงของ อุรียาห์) ดาวิดจึงส่งอุรียาห์กลับไปหาโยอาบ พร้อมกับคำสั่งให้พยายามทำให้เขาตายในสนามรบ โยอาบทำ ตามคำสั่งและส่งคนกลับไปรายงานให้ดาวิดทราบ : "งานสำเร็จลงแล้วพะย่ะค่ะ" เราจะมาเริ่มเรียนต่อจาก ตรงนี้ครับ

เมื่ออุรียาห์ตายลง
(11:26-27)

บัทเชบาตอบสนองต่อการตายของสามีตามที่เราคาด และหวังเอาไว้ จากในพระคัมภีร์ นางไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ ต่อแผนการที่ดาิวิดคิดร้ายต่อสามีของนางเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฆาตรกรรม ไม่ต้องสงสัย นาง รู้เรื่องข่าวการตายของสามีเหมือนกับหญิงม่ายคนอื่นๆรู้ ไม่ว่าจะในสมัยนั้นหรือสมัยนี้ เมื่อได้รับแจ้งอย่าง เป็นทางการว่าสามีสิ้นชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในราชการ นางคร่ำครวญและไว้อาลัยให้กับอุรียาห์ เราไม่แน่ ใจว่าเป็นเวลานานเท่าใด เรารู้ตัวอย่างว่า หญิงพรหมจารีในสมัยโบราณ (ที่ไม่ใช่พวกคานาอัน) เมื่อประเทศ ของตนต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอิสราเอล และถูกจับไปเป็นเชลย คนอิสราเอลสามารถเอาไปเป็นภรรยาได้ หลังจากที่ได้อาลัยคร่ำครวญถึงบิดามารดา (ที่ตายในระหว่างสงคราม) แล้วเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม (เฉลย ธรรมบัญญัตติ 21:10-13) ผมเชื่อว่าบัทเชบาโศกเศร้าอย่างแท้จริง คงไม่ได้แกล้งทำ ผมเชื่อว่านางคร่ำครวญ ถึงการตายของสามี เพราะความรักที่นางมีต่อเขา

ส่วนดาวิด ไม่ได้แสดงอาการเสียใจ ไม่ได้แม้กระทั่งแกล้งทำเป็นโศกเศร้า เมื่อนักรบคนเก่งของอิสราเอล ตายลง ดาวิดจะนำให้คนทั้งชาติไว้อาลัยในการสูญเสีย ดาวิดคร่ำครวญถึงการตายของซาอูลและบุตร ที่ถูก ฆ่าตายในระหว่างสงครามกับฟิลิสเตีย (2 ซามูเอล 1) ดาวิดคร่ำครวญต่อการตายของอับเนอร์ ที่ถูกโยอาบ ฆ่าอย่างทารุณ (2 ซามูเอล 3:28) ท่านเคยส่งคณะผู้แทนไปในพิธีไว้อาลัยให้กับนาหาช กษัตริย์ของอัมโมน (2 ซามูเอล 10) แต่เมื่ออุรียาห์ถูกฆ่าตาย "ในสงคราม" ดาวิดไม่เอ่ยสักคำจากปาก ถึงการสูญเสียในครั้งนี้ ท่านไม่ได้รู้สึกเสียใจนี่ ; ท่านโล่งใจต่างหาก แทนที่ท่านจะจัดพิธีไว้อาลัยให้กับอุรียาห์ ท่านกลับส่งข่าวกลับ ไปให้โยอาบว่า ไม่ต้องเป็นกังวลนัก

เมื่อการไว้อาลัยของบัทเชบาสิ้นสุดลง ดาวิดส่งคนไปรับนางมาเพื่อให้เป็นภรรยา ผมว่าผมไม่เห็นท่านคุกเข่า ขอนางแต่งงานเลย ผมไม่เห็นท่านแสดงท่าทีโรแมนติก ส่งดอกกุหลาบไปให้ ที่ผมเห็นคือ ท่านส่งคนไป "นำ" ตัวนางมาอีกครั้ง มีคำถามผุดขึ้นในใจผมครับว่า "ทำไม?" ทำไมดาวิดถึงยอมไปรับนางมาให้อยู่ที่บ้าน ในฐานะภรรยา? ผมคิดว่าท่านคงไม่คิดพยายามจะ "ปกปิด" บาปอีกต่อไป ; มันสายเกินไป "ครรภ์" นางคง ใหญ่พอที่จะเห็นได้ชัด คงไม่ยากเกินไปสำหรับคนอิสราเอลที่จะเดาได้ว่าเกิดอะไรขึ้น กลายเป็นว่า มาถึง ตอนนี้ ดาวิดไม่คิดจะปกปิดอีกต่อไป แต่พยายามแก้ใขให้เป็นเรื่องถูกต้อง ไม่ว่าดาวิดจะมีเหตุผลใดก็ตาม คงไม่ใช่ เรื่องฝ่ายวิญญาณหรอกครับ แต่เป็นเรื่องสนองตัณหาตัวเองมากกว่า

นาธันแสดงการตอบสนองต่อการตายของอุรียาห์ด้วย อยู่ในตอนต้นของบทที่ 12 แต่ขอให้รอไว้ก่อน ให้เรา มาดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของดาวิดบ้าง ที่ไม่มีการบันทึกไว้ และผู้เขียนพระธรรมซามูเอลไม่ได้เล่าถึง แต่ดาวิดเองเปิดเผยให้เรารู้จากพระธรรมสดุดีที่ท่านเขียน สะท้อนให้เราเห็นภาพของเหตุการณ์ในตอนนี้

ดาวิดเตรียมตัวจะกลับใจ
(สดุดี 32:3-4)

3 เมื่อข้าพระองค์ไม่แจ้งบาปของข้าพระองค์ ร่างกายของข้าพระองค์
ก็ร่วงโรยไป โดยการคร่ำครวญวันยังค่ำของข้าพระองค์ 4 พระหัตถ์ ของพระองค์หนักอยู่บนข้าพระองค์ทั้งวันทั้งคืน กำลังของข้าพระองค์ ก็เหี่ยวแห้งไปอย่างความร้อนในหน้าแล้ง

สดุดีบทที่ 32 เป็นหนึ่งในสองบท (อีกบทคือบทที่ 51) ที่ดาวิดได้สะท้อนให้เราเห็นถึงความบาปของท่าน การกลับ ใจ และการกลับคืนสู่สภาพดี ข้อ 3-4 ของบทที่ 32 มุ่งไปที่สิ่งที่ผมกำลังจะบอกว่าเกิดเหตุการณ์ ใดขึ้นในตอนนี้ พระธรรมสองข้อนี้ตรงกับเหตุการณ์ในบทที่ 11 และ 12 ของ 2 ซามูเอล การที่นาธันผู้เผย พระวจนะ มาเผชิญหน้ากับดาิวิดตามที่บันทึกอยู่ใน 2 ซามูเอลบทที่ 12 เป็นเหตุทำให้ดาวิดสำนึกผิด และ สารภาพบาป แต่การสารภาพนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากการที่ถูกนาธันตำหนิ ; แต่เป็นการที่ดาิวิดตอบสนองต่อ การกระทำของพระเจ้าในจิตใจท่านก่อนที่ท่านจะสารภาพบาป ในขณะที่ท่านกำลังพยายามจะปกปิดมัน

พระธรรมสองข้อนี้ดาวิดแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระเจ้ากำลังทำการอยู่ ถึงแม้จะไม่ปรากฎให้เห็นภายนอกก็ตาม ในระหว่างที่ดาวิดพยายามปกปิดบาปของตน พระเจ้ากำลังทำการอยู่โดยให้สำแดงชัดแจ้งในจิตใจท่าน มัน ไม่ใช่เวลาแห่งความสุขสักนิดเดียว อย่างที่พวกมารมันชอบให้เราคิด ; แต่เป็นวันคืนที่น่าเศร้า ดาวิดระทม อยู่ในความรู้สึกผิด ท่านนอนไม่ได้ และดูเหมือนจะกินไม่ได้ด้วย กลางคืนท่านไม่หลับ เริ่มอ่อนเพลีย น้ำหนัก ลดลง ไม่ว่าดาวิดจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม พระเจ้ากำลังทำการอยู่ในท่าน แต่อย่างน้อยท่านก็รู้ตัวว่า ตกอยู่ใน ความระทมทุกข์ ความทุกข์นี้แหละที่ทำให้ท่านอ่อนลง เตรียมรับคำตำหนิที่จะมาจากนาธัน และจะทำให้ท่าน สำนึกและกลับใจ ดาวิดไม่ได้กลับใจหลังจากที่ประเมินสถานการณ์ดูแล้ว ; แต่เป็นการแทรกแซงของพระเจ้า ท่านจมลึกลงไปในบาปจนนึกคิดอะไรไม่ออก พระเจ้ากำลังทำการอยู่ในชีวิตของท่าน ทำให้ท่านต้องใจแตก สลาย และนำท่านกลับมาสู่พระคุณของพระองค์

เมื่ิอนาธันเล่าเรื่องแกะให้อดีตเด็กเลี้ยงแกะฟัง
(12:1-6)

1 พระเจ้าทรงใช้ให้นาธันไปหาดาวิด นาธันก็ไปเข้าเฝ้าและกราบทูล
พระองค์ว่า "ในเมืองหนึ่งมีชายสองคน คนหนึ่งมั่งมี อีกคนหนึ่งยากจน
2 คนมั่งมีนั้นมีแพะแกะและโคเป็นอันมาก 3 แต่คนจนนั้นไม่มีอะไรเลย เว้นแต่แกะตัวเมียตัวเดียวที่ซื้อเขามา ซึ่งเขาเลี้ยงไว้ และอยู่กับเขา มันได้เติบโตขึ้นพร้อมกับบุตรของเขา กินอาหารร่วมและดื่มน้ำถ้วยเดียว
กับเขา นอนในอกของเขา และเป็นเหมือนบุตรสาวของเขา 4 ฝ่ายคนมั่งมี คนนั้นมีแขกคนหนึ่งมาเยี่ยม เขาเสียดายที่จะเอาแพะแกะหรือโคของตน มาทำอาหารเลี้ยงคนที่มาเยี่ยมนั้น จึงเอาแกะตัวเมียของชายคนจนนั้น
เตรียมเป็นอาหารให้แก่ชายที่มาเยี่ยมตน" 5 ดาวิดกริ้วชายคนนั้นมาก
และรับสั่งแก่นาธันว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด ผู้ชายที่กระทำ
เช่นนั้นจะต้องตาย 6 และจะต้องคืนแกะให้สี่เท่าเพราะเขาได้กระทำอย่าง
นี้ และเพราะว่าเขาไม่มีเมตตาจิต"

มีสาระสำคัญหลายเรื่องที่เราต้องมาดูเกี่ยวกับการพบกันครั้งนี้ ระหว่างนาธันและกษัตริย์ดาวิด

ประการแรก สังกเตุดูว่า นาธันนั้นถูกใช้ให้มาพบดาวิด แน่นอน นาธันเป็นผู้เผยพระวจนะ แต่ถึงกระนั้น ท่านรู้ว่าดาิวิดได้ทำอะไรลงไป ขอโทษถ้าผมจะบอกว่าดาวิดไม่สามารถตบตาท่านได้ ถ้อยคำของท่าน เมื่อ นำมาพิจารณาดู ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำของพระเจ้า (ดู 12:11) ถ้านาธันเป็นผู้เผยพระวจนะ ท่านคงต้องเป็น เพี่อนของดาวิดด้วย ดาวิดเองยังตั้งชื่อบุตรชายคนหนึ่งว่านาธัน (2 ซามูเอล 5:14) ดาวิดเคยบอกนาธันถึง เรื่องความตั้งใจจะสร้างพระนิเวศน์ (ในบทที่ 7) และนาธันเองก็จะเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับบุตรคนที่สองของดาวิด และนางบัทเชบา (12:25) ท่านจะจงรักภักดีต่อดาวิดและต่อซาโลมอน เมื่ออาโดนียาห์คิดจะกบฎต่อราช บัลลังก์ (1 พกษ. 2) นาธันไม่ได้มาพบดาวิดในฐานะผู้พูดแทนพระเจ้า แต่มาในฐานะเพื่อนของท่านด้วย

บาดแผลที่มิตรทำก็สุจริต แต่การจุบของศัตรูนั้นมากเกินความจริง (สุภาษิต 27:6)

ประการที่สอง สังกเตุดูว่า นาธันนั้น ถูกใช้ให้มาพบดาวิด ในบทที่แล้ว ผู้เขียนใช้คำว่า "ทรงใช้" ถึง สิบสองครั้ง หลายครั้งใช้เมื่อเอ่ยถึงดาวิด "ทรงใช้" คนให้ไปพบ หรือ "ทรงใช้" ให้ไปตามตัวใครมา ดาวิดมี อำนาจอยู่ในมือ ท่านจึงสามารถ "ใช้" ให้คนไปทำในสิ่งที่ต้องการ รวมทั้งไปฆ่าอุรียาห์ด้วย แต่ตอนนี้กลับ เป็นพระเจ้าที่ "ทรงใช้" แทน คุณว่าดาวิดหลงไหลในอำนาจหรือไม่? ท่านเริ่มคุ้นเคยกับการ "ใช้" ให้คนไป ทำโน่นทำนี่ให้กับท่าน (เช่นใช้ให้โยอาบและทหารอิสราเอลออกไปรบกับพวกอัมโมน) หรือไม่? ตอนนี้ดาวิด ต้องเริ่มเห็นแล้ว ว่าพระเจ้ากำลังใช้ให้นาธันมา

ประการที่สาม นาธันมาหาดาวิดพร้อมกับมีเรื่องมาเล่า ในฉบับแปลของNASB ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเล่า ธรรมดา แต่เป็นเหมือนบทกวี ที่เรียงร้อยถ้อยคำในแบบเดียวกับพระธรรมสดุดี 43 ผมใช้เวลาอยู่นานกว่าจะเข้า ใจว่าถ้าเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่านาธันเตรียมตัวก่อนมาพบดาวิด ท่านถูกดลใจ ผมแน่ใจว่าพระเจ้าสามารถ ดลใจผู้เผยพระวจนะให้สามารถกล่าวถ้อยคำออกมาเป็นบทกวีได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องแต่งมาก่อน แต่ดู จะไม่เป็นเช่นนั้น นาธันเตรียมตัวอย่างดีเพื่อมาพบดาวิด ท่านไม่เพียงแต่ "ถักทอบทกวี" เท่านั้น ท่านกำลัง เล่าเรื่องสำคัญที่เต็มไปด้วยสาระสำคัญสำหรับดาิวิดด้วย

ประการที่สี่ เรื่องของนาธันเป็น "เรื่องของแกะ" ซึ่งผู้เลี้ยงแกะทุกคนจะเข้าใจความหมายได้อย่าง ทะลุปรุโปร่ง ดาวิดเคยเป็นเด็กเลี้ยงแกะมาก่อน อย่างที่เรารู้กันจากพระธรรมซามูเอล (ดู 1 ซามูเอล 16:11; 17:15, 28) ผมสงสัยว่าในระหว่างที่เลี้ยงแกะอยู่ น่าจะต้องมีแกะสักตัวที่ดาวิดเอ็นดูเป็นพิเศษ จนนำมาเป็น "สัตว์เลี้ยง" ของตน แล้วเจ้าแกะตัวนี้คงต้องกินและดื่มด้วยกันกับท่าน เป็นไปได้มั้ยครับ?

ปะการที่ห้า เรื่องที่นาธันเล่าให้ดาวิดฟังเป็นเรื่องที่น่าจะเกิดกับใครก็ได้ — หมายความว่าไม่ได้เป็น เรื่องที่ "เกี่ยวข้องกับผู้ใดโดยตรง" ไม่เกี่ยวกับเรื่องความบาปที่ดาวิดได้ทำไว้กับนางบัทเชบาและ อุรียาห์ แกะ (ที่เราคิดว่าสื่อความหมายถึงนางบัทเชบา) ถูกฆ่าตาย ไม่ใช่ตัวเจ้าของที่ถูกฆ่าตาย (ซึ่งเราคิด ว่าเป็นเจ้าของแกะยากจน) ผมคิดว่าเราต้องนำข้อเท็จจริงตรงนี้มาพิจารณาดูให้ดี ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวเราจะแปล เรื่องนี้เกินความหมายที่แท้้จริงไป

ทำไมถึงต้องเล่าเรื่อง? ทำไมไม่พูดกับดาวิดไปตามตรงเลย? หลายคนกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นการใช้กลยุทธ์ที่ ชาญฉลาดมาก เพราะทำให้ดาวิดกล่าวคำพิพากษาตนเองออกมา ก่อนที่จะรู้ว่า ตัวเองน่ะแหละคือจำเลยใน คดีนี้ ผมว่าเรื่องนี้น่าจะจริง ดาวิดรู้สึกโกรธที่ "เศรษฐี" คนนี้ใจดำ ถ้าทำได้ท่านต้องการนำชายคนนี้มาฆ่า เสีย (!) ที่จริงเพื่อความยุติธรรม ต้องมีการชดใช้ถึงสี่เท่า และเมื่อท่านยอมรับในหลักการ นาธันจึงนำหลัก การเดียวกันนี้ มาใช้กับท่านอย่างเจาะจง

ตามที่ผมเข้าใจพระคัมภีร์ มีความหมายอื่นมากกว่าเรื่องที่เล่านี้ องค์พระเยซูคริสต์เองทรงเล่าเรื่องหลายเรื่อง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? หรือเป็นเพราะพระองค์พยายามทำให้ยากเย็นจนหาความหมายไม่เจอ? หรือว่าพระองค์ พยายามทำให้คนเข้าใจได้ง่าย? บางครั้งพระเยซูทรงเล่าเรื่องให้ผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาฟัง พวกที่ชอบนำคำ ศัพท์สูงมาใช้เพื่อการโต้แย้ง ผมกำลังคิดถึงเรื่องชาวสะมาเรียใจดี ที่บันทึกอยู่ในพระธรรมลูกาบทที่ 10 มี บาเรียนคนหนึ่งยืนขึ้นถามพระเยซู ทั้งที่ไม่ได้อยากรู้หรอก แต่ต้องการทำให้พระเยซูเสียหน้าต่อสาธารณะชน เขาถามว่า "ข้าพเจ้าจะต้องทำอะไรเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดร?" พระเยซูทรงกลับคำถามนั้นเสียใหม่ เพราะชายคน นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องธรรมบัญญัติของโมเสส ธรรมบัญญัติสอนว่าอย่างไร? บาเรียนคนนั้นตอบว่า "จงรัก พระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้า ด้วยสุดกำลังและสิ้นสุดความคิดของเจ้า และจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง" (ลูกา 10:27) แล้วพระเยซูทรงตอบว่า "ใช่แล้ว ทำเลย" ปัญหาของ ธรรมบัญญัติคือไม่มีใครสามารถทำได้ครบถ้วน ดังนั้นไม่มีผู้ใดไปถึงสวรรค์ได้ด้วยการความดีของตนเอง

บาเรียนรู้ดีว่าตกลงไปในหลุมที่ตัวเองขุดขึ้น จึงพยายามตะเกียกตะกายขึ้นมา (นับว่าเลือกทำในสิ่งที่ผิด) เขา (เช่นเดียวกับนักกฎหมายทั้งหลายในอดีตและปัจจุบัน) คิดว่าจะหลุดรอดไปได้ด้วยการโต้แย้งโดยใช้คำศัพท์ สูงเกินกว่าจะเข้าใจ เขาจึงมีคำถามถามพระเยซูต่อ : "ใครเป็นเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า?" พระเยซูไม่ได้ต่อ ปากต่อคำกับชายผู้นี้ พระองค์ไม่ปรารถนาจะใช้วิธีเล่นคำไปมา แต่พระองค์กลับทรงเล่าเรื่องที่แสนจะธรรมดา แทน คือเรื่องชาวสะมาเรียใจดี เมื่อเล่าจบ พระองค์ถามขึ้นมาว่า

"36 ในสามคนนั้น ท่านคิดเห็นว่าคนไหนปรากฏว่าเป็นเพื่อนบ้าน
ของคนที่ถูกปล้น" 37 เขาทูลตอบว่า "คือคนนั้นแหละที่ได้สำแดง
ความเมตตาแก่เขา" พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า "ท่านจงไปทำ
เหมือนอย่างนั้นเถิด" (ลูกา 10:36-37)

บาเรียนผู้นี้เริ่มมีปัญหาแล้วครับ ; เพราะเรื่องที่ทรงเล่าไม่มีคำศัพท์สูงใดที่โต้แย้งได้อยู่เลย แต่กลับนำมาที่ จุดเดิม ไม่มีทางเล่นคำโต้แย้งได้ เมื่อจนตรอก บาเรียนนั้นรู้ดีว่า "เพื่อนบ้าน" ที่เขาถามถึงนั้นหมายความว่า อย่างไร เขาหลบเลี่ยงไม่ได้เลย เรื่องเล่านี้สำเร็จทะลุเป้า ; เพราะเจาะไปที่หัวใจของเรื่อง โดยไม่ต้องเติม รายละเอียดเพื่อเสียเวลาให้มีการโต้แย้งได้ บาเรียนไม่สามารถทำให้พระเยซูเสียหน้าได้ แต่กลายเป็นว่า พระเยซูทำให้บาเรียนผู้นั้นรู้สึกอับอายขายหน้าด้วยเรื่องธรรมดาๆ เพียงเรื่องเดียว

นี่คือเหตุผลหนึ่งที่นาธันเล่าเรื่องให้ดาวิดฟัง ท่านไม่ได้ต้องการนำบาปของดาวิดมาเปิดเผย ; แต่ท่านต้องการ ชี้ให้ดาวิดเห็นถึงบาปของท่านตามหลักการ ด้วยวิธีที่ปฏิเสธไม่ได้ เมื่อท่านเปิดทางได้ ท่านจึงนำเข้าสู่เรื่อง ความบาปของดาวิดอย่างเจาะจง

เรื่องที่นาธันเล่าให้ดาวิดฟังเป็นเรื่องแสนธรรมดา ชายสองคนอยู่ในเมืองเดียวกัน คนหนึ่งร่ำรวย อีกคนยากจน คนรวยมีฝูงแพะแกะมากมาย 44 เขาไม่ได้มีแค่ฝูงแพะแกะเท่านั้น ยังมีฝูงสัตว์ใหญ่ๆอีกมากมายหลายฝูงด้วย เราคงพูดได้ว่าชายคนนี้ "รวยติดอันดับ" ส่วนชายที่ยากจนมีเพียงแกะตัวเมียเพียงตัวเดียว ; ที่เลี้ยงไว้ให้้เป็น "สัตว์เลี้ยง" เขาซื้อมันมาและเลี้ยงดูให้อยู่ในบ้าน มันเฝ้าอยู่ใกล้ๆ เขาอุ้มมันไปมา และให้นอนอยู่บนอก มันอยู่ในบ้าน ไม่ใช่ข้างนอก กินอาหารและดื่มจากภาชนะเดียวกัน พวกคุณหลายคนคงนึกภาพไม่ออก ฟังดู น่ากลัวใช่มั้ยครับ? ใครจะไปเลี้ยงสัตว์แบบนี้ได้? ผมตอบได้คำเดียวครับ : ว่าคุณคงไม่ได้ไปที่บ้านเรานาน แล้ว เลยไม่ได้พบกับแมวสองตัวของเรา (ที่มันอยู่ทั่วไปจนทำให้ภรรยาผมหงุดหงิด — บางทีมันขึ้นไปนอน และเดินเล่นบนโต๊ะด้วยซ้ำ) แล้วยังมีหมาอีกสี่ตัว (ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ของบ้านเราสักตัว)

มีแขกมาเยี่ยมบ้านของคนรวย และในฐานะเจ้าของบ้านเขาต้องจัดอาหารเลี้ยง ชายคนนี้ตัดสินใจจะใช้แกะ เป็นอาหาร แต่เขาไม่อยากจะเอาแกะจากฝูงของตน เขากลับไปแกะของชายยากจนมาแทน ฆ่ามันเสีย และ นำไปปรุงเป็นอาหารเลี้ยงแขก จะได้ไม่เสียของๆตน เขาไม่เพียงแต่ (ขู่บังคับ) เอาแกะมาจากชายยากจน เท่านั้น เขาพรากแกะตัวเดียวที่ชายคนนี้มีอยู่ มันเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว

หวังว่าผมคงไม่ได้ทำให้เรื่องนี้ "ฟังดูเกินจริง" นะครับ ผมเพียงแต่ต้องการย้ำเนื้อเรื่องให้ชัดเจนขึ้น — ว่ามันมี ความรักความผูกพันธ์อยู่ระหว่างชายยากจนและ "แกะ" ของเขา ลองมานึกถึงเรื่องของอุรียาห์ บัทเชบาและ ดาวิดกันดู ผมขอสรุปว่าผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นว่า อุรียาห์และบัทเชบารักกันมาก เมื่อดาวิด "มานำ" นาง ไปที่ห้องนอนของท่านในค่ำคืนนั้น และต่อมาก็ทำให้สามีของนางตายลง เขาพรากภรรยามาจากสามีอันเป็น ที่รัก บัทเชบาและอุรียาห์นั้นรักกันมาก จึงทำให้ข้อโต้แย้งว่านางไม่มีส่วนในความบาปของดาวิดมีน้ำหนักขึ้น และยังทำให้เห็นถึงบุคคลิกที่ซื่อตรงของอุรียาห์ ที่ถึงแม้อยากอยู่ใกล้ภรรยา และถูกกษัตริย์คะยั้นคะยอก็ตาม ยังปฏิเสธ เพราะต้องการยึดมั่นอยู่ในหลักการ

ดาวิดยังไม่รู้ตัวว่าจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องที่นาธันเล่าทำให้ดาวิดโกรธมาก ดาวิดผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยคิดจะจัดการ กับนาบาลและครัวเรือนทั้งสิ้น (1 ซามูเอล 25) กำลังคิดจะจัดการกับชายใจร้ายในเรื่องที่นาธันเล่า ผมว่าการ ตอบสนองของดาวิดดูมากเกินไปหน่อย ทำให้ผมนึกถึงยูดาห์ในปฐมกาลบทที่ 38 ที่รู้เรื่องข่าวว่าสะใภ้ท้อง โดยไม่มีพ่อ โดยหารู้ไม่ว่า ตนนั่นแหละคือพ่อของเด็กในท้อง ยูดาห์ก็พร้อมที่จะเผาทามาร์ให้ตายทีเดียว มันดูน่าขันนะครับ ที่คนที่ทำบาป กลับทนไม่ได้ ที่เห็นคนอื่นทำบาปที่เหมือนกับตัวเอง

ดาวิดเป็นเหมือนความชั่วร้ายทั้งสองประการที่ชายผู้นี้ทำ ประการแรก ชายผู้นี้พรากแกะมา ซึ่งตามธรรม บัญญัติแล้ว ต้องชดใช้คืนถึงสี่เท่า (อพยพ 22:1) ประการทีีสอง ดาวิดเริ่มตระหนักถึงความบาปที่ร้ายแรงกว่า คือความใจร้ายของชายร่ำรวยผู้นี้ ดาวิดโกรธเพราะชายผู้นี้ขโมยและฆ่าแกะของชายยากจน แต่ท่านยังมอง ไม่เห็นความเกี่ยวเนื่องในการที่ท่านขโมยคู่ชีวิตของชายที่ยากจนมา ภรรยาของอุรียาห์ นางบัทเชบา และการ ฆ่าอุรียาห์เป็นการกระทำที่โหดร้ายทีเดียว ดาวิดพยายามแสดงออกถึงความชอบธรรมในด้านจิตวิญญาณด้วย การใช้คำพูดว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด" (ข้อ 5)

คำฟ้องร้องของนาธัน
(12:7-12)

7 นาธันจึงทูลดาวิดว่า "ฝ่าพระบาทนั่นแหละคือชายคนนั้น พระเยโฮวาห์พระเจ้า แห่งอิสราเอลตรัสดังนี้ว่า 'เราได้เจิมตั้งเจ้าไว้ให้เป็นกษัตริย์เหนืออิสราเอล และ เราช่วยกู้เจ้าออกมาจากมือของซาอูล 8 และเราได้มอบวงศ์เจ้านายของเจ้าไว้ใน
มือของเจ้า และได้มอบภรรยาเจ้านายของเจ้าไว้ในอกของเจ้า และมอบวงศ์วาน อิสราเอลและวงศ์วานยูดาห์ให้แก่เจ้า ถ้าเท่านี้ยังน้อยไป เราจะเพิ่มให้อีกเท่านี้
9 ทำไมเจ้าดูหมิ่นพระวจนะของพระเจ้า กระทำสิ่งที่ชั่วในสายพระเนตรของพระ
องค์ เจ้าได้ฆ่าอุรีอาห์คนฮิตไทต์เสียด้วยดาบ เอาภรรยาของเขามาเป็นภรรยา
ของตน และได้ฆ่าเขาเสียด้วยดาบของคนอัมโมน 10 เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่ คลาดไปจากราชวงศ์ของ เจ้าเพราะเจ้าได้ดูหมิ่นเรา เอาภรรยาของอุรีอาห์คน ฮิตไทต์มาเป็นภรรยาของเจ้า' 11 พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'ดูเถิด เราจะให้เหตุร้าย
บังเกิดขึ้นกับเจ้า จากครัวเรือนของเจ้าเอง และเราจะเอาภรรยาของเจ้าไปต่อ
หน้าต่อตาเจ้า ยกไปให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้า ผู้นั้นจะนอนร่วมกับภรรยาของเจ้า
อย่างเปิดเผย 12 เพราะเจ้าทำการนั้นอย่างลับๆ แต่เราจะกระทำการนี้ต่อหน้า อิสราเอลทั้งสิ้นและอย่างเปิดเผย'"

ดาวิดติดกับตนเองแล้วครับ และนาธันกำลังจะเปิดเผยให้ท่านรู้ สิ่งแรกที่นาธันทำคือกล่าวฟ้องว่าดาวิดนั้นคือ คนร้าย : "ฝ่าพระบาทนั่นแหละคือชายคนนั้น!" อึ้งไปอย่างเงียบงัน ดาวิดกำลังฟังข้อหาของตนเอง ท่าน มัวแต่คิดถึงความชั่วร้ายที่ชายผู้นี้ทำ ขโมยและพรากแกะมาจากเจ้าของ พูดอีกอย่างก็คือ ดาวิดมัวแต่ไปคิด ในแง่อาชญากรรมและการกระทำที่สังคมไม่ยอมรับ แต่ไม่ใช่ในแง่ของความบาป ในข้อ 7-12 นาธันดึงความ สนใจของดาวิดมาที่บาปของท่านที่กระทำต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และผลที่กำลังตามมา ให้เรามาดูคำสรรพนาม "เรา" ที่พระเจ้าทรงใช้ในข้อ 7 และ 8: "เราได้…

  • … เจิมตั้งเจ้าไว้ให้เป็นกษัตริย์
  • … ช่วยกู้เจ้าออกมาจากมือของซาอูล
  • … มอบวงศ์เจ้านายของเจ้าไว้ในมือของเจ้า และได้มอบภรรยาเจ้านายของเจ้าไว้ในอกของเจ้า
  • … มอบวงศ์วานอิสราเอลและวงศ์วานยูดาห์ให้แก่เจ้า

พระเจ้าตรัสกับดาวิดเหมือนกับว่าท่านได้ลืมเรื่องนี้ไปแล้ว หรือท่านอาจจะคิดว่าทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยมือของ ท่านเอง ทุกสิ่งที่ท่านมีอยู่ พระเจ้าเป็นผู้ประทานให้ทั้งสิ้น ท่านลืมไปแล้วหรือว่าในอดีตท่านเป็นเพียงเด็ก เลี้ยงแกะ? ดาวิด "มั่งคั่ง" ขึ้นมาได้เพราะพระเจ้าประทานให้ และถ้าท่านคิดว่ายังรวยไม่พอ พระเจ้าจะประทาน ให้อีก ดาวิดเริ่มหลงไหลใน "ความมั่งคั่ง" มากกว่ายึดเอาพระเจ้าผู้ประทานความมั่งคั่งให้

ผมเกรงว่าเราอาจหลงประเด็นตรงนี้ เราอ่านเรื่องที่นาธันเล่า และเราได้ยินในสิ่งที่ท่านตำหนิดาวิด ราวกับว่า บาปของดาวิดนั้นผิดแต่เพียงเรื่องเพศ จริงอยู่ ดาวิดทำบาปล่วงประเวณีเมื่อท่านไปนำนางบัทเชบามานอน ด้วยที่พระราชวังทั้งๆที่รู้ว่านางแต่งงานแล้ว แต่การล่วงประเวณีนี้เป็นเพียงอาการของความบาป จากที่นาธันพูด ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มาจากพระเจ้า พระเจ้าไม่ได้เพียงแต่พูดว่า "น่าขายหน้าที่สุดดาวิด ดูสิเจ้ามีภรรยาและนางสนม อยู่แล้วมากมาย และถ้าผู้หญิงพวกนี้ยังไม่ทำให้เจ้าพอใจ เจ้าก็ยังไปหาใหม่ได้ แต่ไม่ใช่เป็นคนที่แต่งงานแล้ว" นาธันเล่าเรื่องชายมั่งคั่งและชายยากจนให้ดาวิดฟัง พระเจ้าตรัสกับดาวิดผ่านทางนาธันว่า ทุกสิ่งที่ดาวิดมีอยู่ใน ครอบครอง (ความมั่งคั่ง) พระองค์เป็นผู้ประทานให้ พระองค์ไม่เพียงแต่จะเพิ่มเติมให้อีกเท่านั้น (ไม่ใช่เติมให้ ในฮาเร็ม) แต่ปัญหาของดาวิดกลับกลายเป็นว่าความมั่งคั่งเริ่มครอบครองท่าน ท่านถูก "ความร่ำรวย" ครอบเสีย อยู่หมัด จนเสียดายที่จะใช้มันไป ท่านกลับอยากต้องการ "มาก" และ "มากยิ่งขึ้น" ท่านจึงเริ่มไปชิงเอาของๆ ผู้อื่นมา แทนที่จะทูลขอจากผู้ที่ประทานให้

เราเริ่มเข้าใจแล้วว่า ทำไมดาวิดจึงเขียนสดุดี 51:4: "ข้าพระองค์ได้ทำบาปต่อพระองค์ต่อพระองค์เท่านั้น"

เรื่องแรกที่สำคัญที่สุดคือ บาปที่ดาวิดทำนี้เป็นบาปที่ทำต่อพระเจ้า ท่านเลิกถ่อมใจที่จะยอมรับว่าพระเจ้า เป็นผู้ประทานทุกสิ่งที่ท่านครอบครองอยู่ ท่านเลิกมองไปที่พระเจ้าว่าพระองค์เป็นผู้จัดเตรียมทุกสิ่งที่จำเป็น — ที่ท่านปรารถนาให้ ดาวิดไม่เพียงเลิกที่จะทูลขอจากพระเจ้าเท่านั้น แต่ท่านกลับไปทำบาปที่ไม่เชื่อฟัง ไปล่วงประเวณีและทำฆาตรกรรม ความบาปที่ดาวิดทำต่อพระเจ้าสำแดงออกมาโดยความชั่วที่ท่านกระทำ ต่อผู้อื่น นาธันใช้คำสรรพนาม "เจ้า" ย้ำอยู่ในแทบทุกประโยค :

ทำไมเจ้าดูหมิ่นพระวจนะของพระเจ้า กระทำสิ่งที่ชั่วในสายพระเนตรของพระองค์

เจ้าได้ฆ่าอุรีอาห์คนฮิตไทต์เสียด้วยดาบ

(เจ้าได้) เอาภรรยาของเขามาเป็นภรรยาของตน

(เจ้าได้) ฆ่าเขาเสียด้วยดาบของคนอัมโมน

แล้วนาธันกล่าวต่อไปถึงผลของบาปที่จำต้องเกิดกับดาวิดและครอบครัวของท่าน :

เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่ คลาดไปจากราชวงศ์ของเจ้าเพราะเจ้าได้ดูหมิ่นเรา เอาภรรยาของอุรีอาห์คน ฮิตไทต์มาเป็นภรรยาของเจ้า'

'ดูเถิด เราจะให้เหตุร้ายบังเกิดขึ้นกับเจ้า จากครัวเรือนของเจ้าเอง

เราจะเอา ภรรยาของเจ้าไปต่อหน้าต่อตาเจ้า ยกไปให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้า

ผู้นั้นจะนอนร่วม กับภรรยาของเจ้าอย่างเปิดเผย
เพราะเจ้าทำการนั้นอย่างลับๆ

แต่เราจะกระทำการนี้ต่อหน้า อิสราเอลทั้งสิ้นและอย่างเปิดเผย

ความชั่วที่ดาวิดกระทำต่อผู้อื่นแสดงถึงการจงใจขัดคำสั่งของพระเจ้าอย่างชัดเจน ดาวิดเป็น "บุรุษที่ทำตาม พระทัยพระเจ้าอย่างสุดใจ" แต่ตอนนี้กลับเป็นว่าท่าน "ได้ดูหมิ่นพระวจนะของพระเจ้า" เมื่อดาวิด สำนึกผิดด้วยใจจริงและได้รับการอภัยบาป แต่ท่านไม่สามารถยับยั้งผลของความบาปได้ เพราะเป็นสิ่งที่สม กับความยุติธรรม ; สมกับอาชญากรรมที่ดาวิดก่อขึ้น ท่านใช้มือและดาบของคนอัมโมนฆ่าอุรียาห์ ดังนั้นคม ดาบจะไม่ห่างไปจากราชวงศ์ของท่าน ท่านไปแย่งภรรยาคนอื่นมา ภรรยาของท่านเองจะถูกแย่งเอาไปโดย คนในราชวงศ์ของท่านเอง

นอกจากจะยุติธรรมแล้ว ยังรุนแรงพอๆกัน ดาวิดไปแย่งชิงภรรยาผู้อื่นมา ; คนอื่นจะมาแย่งชิงบรรดาภรรยา ของท่านไป เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่ออับซาโลมกบฎต่อบิดา แย่งชิงบัลลังก์ไปชั่วขณะหนึ่ง และด้วยคำแนะนำจาก อาหิโทเฟล อับซาโลมตั้งเต็นท์ขึ้นบนดาดฟ้าพระราชวังของดาวิด (ที่เดียวกับที่ดาวิดขึ้นไปและมองลงมา เห็นบัทเชบา) และบนนั้นเอง ทุกสายตาของชาวอิสราเอลจะเห็นอับซาโลมนอนกับบรรดาสนมของดาวิด เพื่อ เป็นการประกาศว่าเขายึดครองบัลลังก์ของบิดาและทุกสิ่งได้สำเร็จ (2 ซามูเอล 16:20-22) เมื่อดาวิดกระทำ บาปในที่ลับ พระเจ้าจะสำแดงให้เห็นถึงผลของมันในที่แจ้งที่สุด

บทสรุป

เรื่องราวก็ดำเนินต่อไปตามที่เราทราบ แต่เราจะหยุดอยู่เพียงตรงนี้ ตรงที่พระเจ้าใช้ให้นาธันมาตำหนิดาิวิด ในบทต่อไป เราจะมาพิจารณาเรื่องการสำนึกในบาป และผลร้ายของความบาปที่ติดตามมาในทันที ให้เรา จบบทเรียนตอนนี้ด้วยการนำสาระสำคัญสำหรับเรา ที่เกิดจากความบาปของดาวิดและคำตำหนิของนาธัน มาพิจารณา

(1) นาธันเป็นผู้เผยพระวจนะ และเป็นแบบอย่างที่ดีของเพื่อนที่สัตย์ซื่อ พระธรรมสุภาษิตกล่าวไว้ ดังนี้ :

บาดแผลที่มิตรทำก็สุจริต แต่การจุบของศัตรูนั้นมากเกินความจริง (สุภาษิต 27:6)

ผมสงสัยว่าในหมู่เพื่อนฝูงของผม มีกี่คนกันที่ไม่กล้าหรือไม่ยอมไปตักเตือนคนใกล้ตัวเมื่อเกิดการทำผิดขึ้น เพราะคิดว่าเพื่อนไม่ควรดุด่าเพื่อน เพื่อนที่ดีจะไม่ปล่อยให้เราดำเนินอยู่ในทางไปสู่ความพินาศครับ นาธันทำหน้าที่ผู้เผยพระวจนะ แต่ท่านก็ทำหน้าที่ในฐานะเพื่อนด้วย จะดีไหมถ้าเรามีเพื่อนที่เป็นผู้เผย พระวจนะเพิ่มมากขึ้น หรือว่าเราเองจะเป็นเพื่อนผู้เผยพระวจนะให้กับเพื่อนที่กำลังเดินมุ่งไปสู่ความพินาศ

11 จงช่วยบรรดาผู้ที่ถูกนำไปสู่ความมรณา จงช่วยยึดบรรดาผู้ที่ตุปัดตุเป๋ไปเพื่อถูกฆ่า
(สุภาษิต 24:11)

(2) พระเจ้าเห็นความบาปของเรา ถึงแม้มนุษย์มองไม่เห็น ความบาปของเราไม่หลุดรอดไปจากสาย พระเนตรพระเจ้าหรอกครับ คนชั่วทั้งหลายชอบคิดว่าพระเจ้าไม่ทันเห็น หรือถ้าเห็น พระองค์ก็ไม่ใส่พระทัย:

11 และเขาทั้งหลายพูดว่า "พระเจ้าทรงทราบได้อย่างไร พระเจ้าผู้สูงสุด มีความรู้หรือ"? (สดุดี 73:11; ดู 2 เปโตร 3:3)

พระเจ้าอาจจะไม่พิพากษาหรือลงโทษในทันที แต่พระองค์ไม่ทรงละเลยความบาปของเราแน่นอน

20 โมเสสจึงกล่าวแก่เขาทั้งหลายว่า "ถ้าท่านทั้งหลายจะหยิบอาวุธขึ้นเข้าสู่ สงครามต่อพระพักตร์พระเจ้า 21 และคนของท่านที่ถืออาวุธทุกคนจะข้ามแม่น้ำ จอร์แดนไปต่อพระพักตร์พระเจ้า จนกว่าพระองค์จะทรงขับไล่ศัตรูให้พ้นพระองค์
22 และแผ่นดินนั้นจะพ่ายแพ้ต่อพระพักตร์พระเจ้าแล้ว ภายหลังท่านจึงจะกลับ และพ้นจากพันธะที่มีต่อพระเจ้า และอิสราเอล และแผ่นดินนี้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของท่านต่อพระพักตร์พระเจ้า 23 แต่ถ้าท่านทั้งหลายมิได้กระทำเช่นนี้ ดูเถิดท่าน ทั้งหลายได้กระทำบาปต่อพระเจ้า จงรู้แน่เถิดว่า บาปของท่านก็ตามทัน
(กันดารวิถี 32:20-23 ผมขอย้ำด้วยคน)

(3) พระเจ้าไม่ได้อยู่ในเงื่อนใขที่จะหยุดเราไม่ให้ทำบาป บางคนหาทางทำบาปโดยกล่าวว่า: "ผมได้ อธิษฐานถามพระเจ้าแล้ว ว่าถ้ามันผิด ช่วยยับยั้งผมด้วย … ." และเมื่อพระเจ้าไม่ได้ยับยั้ง พวกเขาก็อ้าง ว่ามันถูกต้องดีแล้ว พระเจ้าน่าจะหยุดดาวิดไว้เมื่อท่านคิดจะอยู่บ้านไม่ออกไปรบ หรือเมื่อท่านเริ่มฝักใฝ่ใน ภรรยาของอุรียาห์ หรือแม้กระทั่งเมื่อท่านทำบาปล่วงประเวณีแล้ว แต่พระองค์กลับปล่อยให้ดาวิดทำบาปต่อ ไปอีกระยะหนึ่ง พระเจ้าอนุญาติให้ดาวิดถึงกับทำฆาตรกรรมด้วย พระวจนะคำห้ามดาวิดไม่ให้ทำบาปแห่ง ความโลภ บาปล่วงประเวณี และบาปฆาตรกรรม พระวจนะคำสั่งให้ท่านหยุด แต่ท่านไม่หยุด พระเจ้าอนุญาติ ให้ดาวิดตกอยู่ในบาปชั่วระยะหนึ่ง แต่ไม่ใช่ตลอดไป พระเจ้าอนุญาติให้บาปของดาวิดเต็มขนาด เพื่อที่ท่าน (และเราทั้งหลาย) จะเห็นว่าบาปเติบโตอย่างไร (เปรียบเทียบกับ ปฐมกาล 15:12-16)

(4) ความบาปของดาวิดไม่ใช่มีไว้ให้เราใช้เป็นข้ออ้างที่จะทำบาป แต่เป็นการเตือนมาถึงเราว่า เราทุกคนมีสิทธิตกอยู่ในบาปเดียวกันได้ ผมเคยได้ยินมานับครั้งไม่ถ้วนว่า "ดูสิขนาดดาวิดยังทำบาป เลย… ." ที่เขาหมายความก็คือ "แล้วประสาอะไร ที่คนอย่างผมจะทำบาปบ้างไม่ได้?" ถ้าดาวิดเป็น ผู้มีจิตวิญญาณที่สูงส่ง ยังทำบาปได้ถึงขนาดนี้ แล้วประสาอะไร ที่คนอย่างเราจะดีไปกว่าท่าน ?"

ถ้าเราศึกษาพระคัมภีร์ดูให้ดี เราจะเข้าใจว่าทำไมจึงมีการบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ ไม่ใช่เพื่อว่าจะสนับ สนุนให้เราทำบาป แต่เป็นการเตือนให้เราเห็นถึงอันตรายของความบาป และต้องการให้เราหลีกหนีจากความ บาปให้ไกลแสนไกล เมื่อ อ.เปาโลชี้ให้เห็นถึงความบาปประการใหญ่ที่ชนชาติอิสราเอลได้กระทำในถิ่น ทุรกันดารใน 1 โครินธ์ 10:1-10 ท่านจึงนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจชาวโครินธ์ และเราทั้งหลาย :

11 เหตุการณ์เหล่านี้ได้บังเกิดแก่เขาเพื่อเป็นตัวอย่าง และได้บันทึกไว้
เพื่อเตือนสติเราทั้งหลาย ซึ่งกำลังประสบวาระสุดท้ายแห่งบรรดายุคเก่า
12 เหตุฉะนั้นคนที่คิดว่าตัวเองมั่นคงดีแล้ว ก็จงระวังให้ดี กลัวว่าจะล้มลง
13 ไม่มีการทดลองใดๆเกิดขึ้นกับท่าน นอกเหนือจากการทดลองซึ่งเคย
เกิดกับมนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าทรงสัตย์ธรรม พระองค์จะไม่ทรงให้ท่าน ต้องถูกทดลองเกินกว่าที่ท่านจะทนได้ และเมื่อท่านถูกทดลองนั้น พระองค์ จะทรงโปรดให้ท่านมีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้ด้วย เพื่อท่านจะมีกำลังทนได้
(1 โครินธ์ 10:11-13; ดูโรม 15:4-6)

ผมขอพูดเรื่องนี้ต่ออีกนิดนะครับ ดาวิดไม่ได้ตั้งใจจะทำบาป เหมือนกับที่หลายๆคนชอบใช้เป็นข้ออ้างเพื่อ จะทำบาป ดาวิด "ตก" ลงไปในบาป ; แต่พวกชอบใช้ข้ออ้างที่จะทำบาปเป็นพวก "พุ่งหลาว" ลงไปครับ มีความแตกต่างกันอยู่มาก นอกจากนั้น ความบาปของดาวิดเป็นกรณียกเว้น ไม่ใช่เป็นกฎตายตัว :

5 เพราะว่าดาวิดทรงกระทำ สิ่งที่ถูกต้องในสายพระเนตรของพระเจ้า และ
มิได้ทรงหันไปจากสิ่งใด ซึ่งพระเจ้าทรงบัญชาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ นอกจากเรื่องอุรีอาห์คนฮิตไทต์ (1พกษ. 15:5 และผมด้วย)

(5) ความบาปของดาวิด ก็เหมือนกับบาปอื่นๆทั้งหมด คือไม่เคยคุ้มค่าครับ เคยมีคนถามผมว่า บท ลงโทษของบาปชนิดใดชนิดหนึ่งคือสิ่งใด คือแกกำลังวางแผนจะทำและวางแผนว่าจะได้รับการอภัย มี หลายคนชอบเล่นกับความบาป โดยคิดว่าถ้าทำไปแล้ว อาจถูกลงโทษเพียงชั่วขณะ ถึงยังไงๆพระเจ้าก็จะ ให้อภัย ความรอดและชีวิตนิรันดร์จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไปไหน ไม่ว่าจะทำบาปด้วยความ ตั้งใจหรือไม่ ตั้งใจก็ตาม เคยมีสถานการณ์ที่ผู้นำคริสตจักรทิ้งภรรยาตนเอง หนีตามภรรยาของคนอื่นไป วางแผนว่า จะกลับใจทีหลัง และหวังว่าจะได้กลับมาสามัคคีธรรมในโบสถ์เดิมอีกครั้ง การทึกทักเข้าข้างตัวเอง เป็นบาป ที่ร้ายแรงและอันตรายที่สุด เหมือนกับเปิด "กะป๋องที่เต็มด้วยหนอน" ผมขอเตือนว่า : "ไม่มีใครเลย เลือก ที่จะทำบาป แล้วหลุดรอดไปได้ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส"

ผมเคยสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียน และบ่อยครั้งคุณครูใหญ่จะเรียกเด็กจอมเกเรทั้งหลายมาพบ ผมจำได้ไม่ลืม ครับ ครั้งหนึ่งเด็กในห้องผมถูกเรียกไป และกลับมาพร้อมด้วยรอยยิ้มกวนโทโส มีเสียงประท้วงเกิดขึ้นในห้อง ทันที "ดูสิครับครู ไปพบครูใหญ่แล้วยังมีหน้ายิ้มกลับมาได้อีก!" ผมว่าพวกนี้พูดถูกครับ การถูกเรียกไปพบ ที่ห้องครูใหญ่ ควรจะสำนึกและทำตัวเสียใหม่ ไม่ใช่กลับมายิ้มยียวนกวนประสาท มีบางครั้งผมคิดว่าน่าจะมี การ "ลงไม้เรียว" กันบ้าง ผมว่าคงไม่มีใครกลับมาที่ห้องพร้อมกับรอยยิ้มแน่ๆ แล้วก็จริงครับ (รวมทั้งลูกชาย ของครูใหญ่เองด้วย แต่เผอิญไม่ได้อยู่ในห้องผมครับ)

ผมยังไม่เคยเจอคริสเตียนคนไหนเลือกที่จะทำบาป และหลังจากลงมือทำไปแล้ว คิดว่ามันคุ้ม ความบาป ของดาวิด และผลของมันไม่ใช่เป็นแบบที่ทำให้เราอยากทำตาม แต่ควรจะเป็นเครื่องเตือนใจ ให้เราหลีกหนี บาปไปให้ไกลแสนไกล ผลลบของบาปนั้น หนักหนาสาหัสกว่าความสุขชั่วครู่ที่ได้จากการทำบาป ความบาป ไม่เคยคุ้มค่าคุ้มราคาหรอกครับ ถึงแม้จะได้รับการอภัยแล้วก็ตาม

(6) เป็นเรื่องราวการฆ่าลูกแกะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใหญ่หลวงของบาปที่ดาวิดกระทำ แป็น เรื่องราวการฆ่าลูกแกะของพระเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใหญ่หลวงของบาปที่เรากระทำ น่าประ หลาดใจไหมครับ ที่ดาวิดมืดบอดอยู่ในความบาปของตัวเอง จนมองอะไรไม่ออก? เป็นเพราะเรื่องราวการฆ่า แกะของชายยากจน จึงทำให้ท่านมองเห็นบาปอันใหญ่หลางของตนเองได้ ดาวิดเห็นถึงความบาปของตน เอง เมื่อท่านได้ยินเรื่องที่นาธันเล่า ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นความบาปของคนอื่น ไม่น่าเกี่ยวกับตัวท่านเลยสักนิด

นี่คือเรื่องเดียวกับการกระทำบนไม้กางเขนขององค์พระเยซูคริสต์เพื่อเรา เราทั้งหลายได้ตายแล้วด้วยการ ละเมิดและด้วยการบาป (เอเฟซัส 2:1-3) เราถูกปิดหูปิดตาไม่ให้เห็นถึงความใหญ่หลวงของบาป (2 โครินธ์ 4:4) การเสด็จมาขององค์พระเยซูคริสต์ ชีวิตที่ไร้ตำหนิของพระองค์ ทั้งที่บริสุทธิ์ ทรงสละชีวิตเป็นเครื่อง บูชา การฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ แต่พระกิตติคุณก็เป็นเรื่อง เล่าด้วย เป็นเรื่องจริง เมื่อเราอ่านพระกิตติคุณในพระคัมภีร์ใหม่ เรากำลังสัมผัสกับเรื่องราวที่แสนมหัศจรรย์ น่าทึ่ง และน่าเศร้ากว่าเรื่องที่นาธันเล่าให้ดาวิดฟัง เมื่อเราเห็นผู้ที่ไม่เชื่อปฏิบัติกับพระเจ้าของเรา เรารู้สึก ตระหนก กลัว และโกรธ เราอยากจะร้องตะโกนว่า "พวกนี้สมควรตาย!" พวกเขาตายไปหมดแล้วครับ แต่เรื่อง ของพระกิตติคุณไม่ได้เขียนให้เราเห็นแต่บาปของพวกเขาเท่านั้น — คนเหล่านั้นได้ยินจากพระเยซูแล้ว ยัง ส่งเสียงร้องตะโกนว่า "เอาไปตรึงกางเขน เอาไปตรึงกางเขน" — แต่เขียนขึ้นเพื่อพระวิญญาณของ พระเจ้าจะร่ำร้องอยู่ภายในใจเรา "เจ้าแหละคือผู้นั้น!" เมื่อเราเห็นในสิ่งที่เขาทำต่อพระเยซู เราก็เห็นในสิ่ง ที่เราเองทำกับพระองค์ด้วยถ้าเราอยู่ที่นั่น เราเห็นว่าเราทำอะไรกับพระองค์ในทุกวันนี้ นั่นแหละพี่น้อง เผย ให้เห็นถึงความใหญ่หลวงในบาปของเราเอง และความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องกลับใจ และทูลขอการอภัย

พระกิตติคุณขององค์พระเยซูคริสต์เป็น "ข่าวดี" ข่่าวดีเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เผยให้เห็นถึงความ ใหญ่หลวงในบาปของเรา และการกระทำที่ใหญ่ยิ่งของพระเจ้า ที่พระองค์สามารถให้อภัยต่อบาปของเรา การ ที่พระองค์ยอมตายเพื่อเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปให้เรา พระองค์ตายแทนที่เรา ชดใช้การลงทันฑ์แทนเราทุกประ การ พระองค์แบกรับความผิดบาปของเราบนไม้กางเขน! เมื่อเราเข้ามาวางใจในการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู การถูกฝังไว้ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ เราเองก็ได้ตายต่อบาป และถูกชุบขึ้นใหม่ในชีวิตนิรันดร์ ในองค์พระเยซูคริสต์ พระกิตติคุณจะนำเราให้ตระหนักถึงความใหญ่หลวงในบาปของเราก่อน ความรู้สึกผิด และนำเราไปสู่ความยิ่งใหญ่แห่งพระคุณของพระเจ้าในองค์พระเยซูคริสต์ บาปของเราจะได้รับการอภัย คุณ มองเห็นความใหญ่หลวงในบาปของคุณต่อเบื้องพระพักตร์หรือยัง? ผมอยากให้คุณมีประสบการณ์ของความ ยิ่งใหญ่ที่ได้รับความรอด ที่พระเจ้าเป็นผู้จัดเตรียมให้ โดยการสิ้นพระชนม์ ถูกฝังไว้ และฟื้นคืนพระชนม์ของ องค์พระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยองค์มหัศจรรย์!

ความบาปชั่วของคนชั่วร้ายดักเขาเอง และเขาก็ติดอยู่กับตาข่ายบาปของเขา
(สุภาษิต 5:22)

"แต่ผู้ที่พลาดขาดเราก็กระทำตัวเองให้เจ็บ บรรดาผู้ที่เกลียดเราก็รับความมรณา" (สุภาษิต 8:36)

ผู้ใดจะกล่าวได้ว่า "ข้าพเจ้าได้กระทำใจของข้าพเจ้าให้สะอาดแล้ว ข้าพเจ้า บริสุทธิ์พ้นบาปของข้าพเจ้า"? (สุภาษิต 20:9)

บุคคลที่ซ่อนการละเมิดของตนจะไม่จำเริญ แต่บุคคลที่สารภาพและทิ้งความชั่วเสีย จะได้ความกรุณา (สุภาษิต 28:13)


43 ผมอยากจะเสริมว่าฉบับอื่นๆไม่ได้แปลในแบบของ NASB เพราะต้องแปลและจัดเรียงให้เป็นบทกวี

44 มีการกล่าวถึง "ฝูงแพะแกะ" หลายต่อหลายครั้งในพระคัมภีร์ คำว่า "ฝูงแพะแกะ" มักหมายถึงสัตว์เล็กๆ เช่นแพะและแกะเท่านั้น ส่วน "ฝูงสัตว์" มักหมายถึงสัตว์ใหญ่ๆจำพวกโคกระบือ ฯลฯ

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 11: กลับใจอย่างแท้จริง (2 ซามูเอล 12:1-13 )

คำนำ

ตอนที่ผมเรียนใกล้จบปีแรกที่วิทยาลัยพระคริสตธรรม ผมทำงานช่วงปิดภาคฤดูร้อน ถูกจ้างให้ไปสอนวิชา ประวัติศาสตร์และจิตวิทยาระดับมัธยมที่เรือนจำในเมืองที่ผมอาศัยอยู่ ลุงผมทำงานเป็นพัศดีอยู่ที่นั่น และ เจ้าหน้าที่หลายคนที่นั่นเคยเป็นครูของผมสมัยเรียนอยู่มัธยม (คุณครูใหญ่ที่โรงเรียนของผมยังดำรงตำแหน่ง เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนของเรือนจำด้วย) เพื่อนครูด้วยกันเคยเล่าเรื่องสนุกๆจากประสบการณ์สอนในเรือนจำ ให้ผมฟัง

ที่คุกมีโครงการปรับประพฤติกรรมของนักโทษ ด้วยการให้การศึกษาจนจบชั้นมัธยม และได้รับประกาศนียบัตร รับรองด้วย โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในเรือนจำ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครันอย่างที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน45 ห้องเรียนมีนักเรียนไม่เกิน 20 คน มีผู้คุมยืนคุมอยู่ตรงทางเดินหน้าห้องแบบ "เผื่อเอาไว้… " ที่โรงเรียน มีกฎอยู่ข้อหนึ่งคือ ห้ามหลับในเวลาเรียน มีวันหนึ่งเพื่อนครูของผมฉายหนังให้ดูในห้อง บังเอิญนักเรียนคน หนึ่งง่วงนอนจัด เขาไม่พยายามที่จะถ่างตาเลยครับ เอาหัวพาดโต๊ะหลับไปเลย พอเพื่อนผมเดินไปรอบห้อง เห็นคนที่หลับอยู่ เดินเข้าไปแตะที่ไหล่เบาๆ แล้วเดินเลยไป ไม่นานหลังจากนั้น เขาเดินผ่านไปที่เดิมอีก หมอนี่ก็ยังหลับอย่างสบายใจ เพื่อนผมผมแตะที่บ่าเบาๆอีกครั้ง พอครั้งที่สาม เพื่อนผมจับไหล่ไว้เลยครับ แล้วเขย่า (เพื่อนผมเป็นคนสุภาพเรียบร้อย) พอนักโทษคนนี้ตื่น เขาพลุ่งตัวขึ้นมา หันหน้ามาประจันกับครู พร้อมขู่ว่า "ถ้าทำอีกครั้ง โดนแน่!" เพื่อนผมถอยหลังกรูดเดินไปที่ประตูเลยครับ ไปตามยามที่ประจำการ (เขาเคยอยู่ในกองทัพเรือมาก่อน และรู้ว่าควรจัดการอย่างไรดี) ยามจึงนำนักโทษคนนี้ ไปขังไว้ใน "รู" (แปล ว่าขังเดี่ยวครับ)

อีกเดือนต่อมา นักโทษคนนี้ถูกปล่อยตัวให้กลับมาเรียนต่อ วันแรกที่กลับเข้าเรียน เขาเดินมาหาคุณครู พร้อม กล่าวคำ "ขอโทษ" "ผมขอโทษที่พูดจาไม่ดีกับคุณ" เขาอธิบาย "แต่ผมคิดว่าคุณเข้าใจผมผิด ที่ผมพูด วันนั้น ผมพูดว่า 'ถ้าคุณทำอีกครั้งละก็ อาจเจอดี.'" อย่านี้ไม่เรียกว่าสำนึกผิดหรอกครับ

การ "สำนึกผิด"ของนักโทษคนนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ การสำนึกผิดและกลับใจอย่างแท้จริง นัั้นหายากครับ แม้กระทั่งในพระคัมภีร์เอง พระธรรมตอนนี้ ดาวิดกล่าวกับนาธันว่า "เรากระทำบาป… แล้ว" คำเดียวกันนี้ (หรือในทำนองนี้) มีอยู่ที่อื่นๆอีกในพระคัมภีร์ แต่ความจริงใจไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ฟาโรห์ บอกกับโมเสสถึงสองครั้งว่า "เราทำบาปแล้ว … " (ดูอพยพ 9:27; 10:16-17) แต่ทุกคนก็รู้ดีว่าไม่ใช่เป็น การสำนึกที่แท้จริง ทูตสวรรค์ของพระเจ้ามาสกัดบาลาอัมระหว่างทางไปพบบาลาค และเมื่อเขาตระหนักว่า ไม่มีทางหลุดรอดความตายจากทูตสวรรค์ไปได้ เขาจึงกล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้กระทำบาป … " (กันดารวิถี 22:34) เรารู้ต่อมาในพระคัมภีร์ว่าเขาไม่ได้สำนึกผิดจริง ยูดาสทรยศพระเยซู สารภาพว่าได้ทำผิด แต่ก็ ไม่ยอมสำนึกและกลับใจ (มัทธิว 27:4) ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า แค่คำพูด "ได้ทำบาปแล้ว" ยังไม่เป็นการ พิสูจน์ถึงการสำนึกผิดที่แท้จริง

นี่เป็นกรณีเดียวกับบรรดาผู้ที่กลับใจและมาหายอห์นผู้ให้บัพติสมา เพื่อรับบัพติสมา :
5 ขณะนั้นชาวกรุงเยรูซาเล็ม และคนทั่วแคว้นยูเดีย และคนทั่วลุ่มแม่น้ำ
จอร์แดนก็ออกไปหายอห์น สารภาพความผิดบาปของตน 6 และได้รับ บัพติศมาจากยอห์นในแม่น้ำจอร์แดน 7 ครั้นยอห์นเห็นพวกฟาริสี และ
พวกสะดูสีพากันมาเป็นอันมาก เพื่อจะรับบัพติศมา ท่านจึงกล่าวแก่เขา
ว่า "เจ้าชาติงูร้าย ใครได้เตือนเจ้าให้หนีจากพระอาชญาซึ่งจะมาถึงนั้น
8 เหตุฉะนั้นจงพิสูจน์การกลับใจของเจ้าด้วยผลที่เกิดขึ้น 9 อย่านึกเหมา เอาในใจว่าตัวมีอับราฮัมเป็นบิดา เพราะเราบอกเจ้าทั้งหลายว่า พระเจ้า ทรงฤทธิ์อาจจะให้บุตรเกิดขึ้นแก่อับราฮัมจากก้อนหินเหล่านี้ได้ (มัทธิว 3:5-9)

ยอห์นยกเรื่องการกลับใจที่แท้จริงขึ้นมาพูด เพราะท่านเห็นว่ามีหลายคนที่ "การกลับใจ" ไม่เกิดผล ทุกวันนี้ คนให้ความสนใจเรื่องการกลับใจที่แท้จริงค่อนข้างมาก หลายคนไปไกลถึงขนาดตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองว่า "ผลที่ทำให้การกลับใจดำเนินต่อไปได้" ส่วนอีกพวกคือพวกที่สอนเรื่องการกลับใจว่าเป็นเพียงเรื่องของ "การเห็นด้วยกับพระเจ้า" แต่นิยามของการกลับใจแบบนี้เป็นแค่เพียงลมปาก ทำเพื่อให้ความรู้สึกผิดลดน้อย ลง และความบาปดูไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมที่จะกลับไปทำอีกได้ทุกเมื่อ ที่แย่สุดๆคือ เห็นพวกเผยแพร่ หรือผู้นำศาสนาร้องห่มร้องให้แสดงให้เห็นว่ากลับใจจริงออกทางโทรทัศน์ ทำให้เราสงสัยว่าเขารู้สึกอย่างนั้น จริงหรือ ผมเชื่อว่าการกลับใจของดาวิดนั้นจริงใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีของการกลับใจที่แท้จริงให้กับเรา

ผมรู้ว่าผมกำลังให้ความสนใจมากกับส่วนน้อยนิดในพระคัมภีร์ตอนนี้ -- ซึ่งมีเพียงข้อเดียว มันไม่เล็กน้อย อย่างที่คิดหรอกครับ แต่ผมอยากจะนำพระธรรม 2 ซามูเอล 12:13 มาพิจารณาดูถึงชีวิตของดาวิดหลังจากที่ ท่านสารภาพบาป รวมถึงการกลับใจที่ท่านเขียนขึ้นในบทสดุดีทั้งสองบท ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความบาปที่ ท่านทำไว้กับอุรียาห์และบัทเชบา -- สดุดี 32 และ 51 ให้เราตั้งใจฟังให้ดี เพื่อจะเข้าใจว่าการกลับใจที่แท้จริง เป็นอย่างไร

ลักษณะทั่วไปของการกลับใจแบบจอมปลอม

ผมยกตัวอย่างเรื่องการกลับใจหลอกๆในพระคัมภีร์ไปบ้างแล้ว ขอต่ออีกนิดนะครับ เพื่อเราจะได้เห็นข้อ เปรียบเทียบในการกลับใจของดาวิดและการกลับใจแบบจอมปลอม ผมอยากนำคุณมาดูเรื่องของซาอูล โดยเฉพาะที่ท่านกล่าวถึงสามครั้งว่า "ข้าพเจ้าได้กระทำบาปแล้ว … " (1 ซามูเอล 15:24, 30; 26:21) ทำไมเราจึงคิดว่า "การกลับใจ" ของซาอูลไม่จริงใจ? ให้เราย้อนกลับมาดู "การกลับใจ" ของซาอูลกัน

(1) การตอบสนองของซาอูลต่อคำตำหนิครั้งแรกคือความเงียบ ผมต้องขอชี้ให้เห็นว่า ที่ซาอูลดู เหมือนกลับใจใน 1 ซามูเอล 15 และอีกครังในบทที่ 26นั้น เป็นการ "กลับใจ" ที่ทั้งน้อยและสายเกินไป การกลับใจครั้งแรกน่าจะอยู่ตั้งแต่บทที่ 13 ตอนที่พวกฟิลิสเตียใช้กำลังมาจู่โจมอิสราเอล ซาอูลมีกำลังคน อยู่เต็มมือ แต่แล้วก็กระจัดกระจายหนีหายไปอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ซามูเอลจะสั่งให้ซาอูลรอท่านให้มาเผา เครื่องถวายบูชาก่อน (1 ซามูเอล 10:8) แต่ซาอูลคิดว่าหมดเวลาคอยแล้ว ท่านจึงไม่คอย ทำการเผาเครื่อง บูชาด้วยตนเอง พอเผาเสร็จซามูเอลมาถึงพอดี เมื่อซามูเอลกล่าวตำหนิการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระเจ้าเช่นนี้ ซาอูลกลับแก้ตัวว่าท่านได้ทำสิ่งที่เหมาะสมแล้ว ในสถานการณ์ที่คับขันจวนตัว ซามูเอลไม่รับข้อแก้ตัวนี้ และ กล่าวตำหนิท่านในการกระทำอันโง่เขลา ขาดการเชื่อฟัง และแจ้งแก่ท่านว่า เพราะเหตุนี้ ท่านจสูยเสีย อาณาจักรไป ซาอูลกลับตอบสนองด้วยความเงียบ ท่านพึ่งได้รับแจ้งว่า หน้าที่ในตำแหน่งกษัตริย์อิสราเอล ของท่านกำลังจะจบสิ้น แทนที่จะสำนึกและสารภาพ ท่านกลับแยกจากซามูเอลมาอย่างเงียบๆ

(2) การตอบสนองของซาอูลต่อคำตำหนิครั้งที่สองคือ ต่อต้าน และยอมสารภาพอย่างไม่เต็มใจ ใน 1 ซามูเอล 15 พระเจ้าสั่งพิพากษาผ่านมาทางซามูเอลให้ซาอูลกำจัดชาวอามาเลขและสัตว์เลี้ยงให้สิ้นซาก (15:1-3) ซาอูลเชื่อฟังเพียงบางส่วน เก็บสัตว์เลี้ยงดีๆบางตัว และไว้ชีวิตอากักพระราชาของอามาเลข เมื่อ ซามูเอลมาถึง ซาอูลเข้ามาพบอย่างไม่เกรงกลัว ประกาศว่าพระเจ้าทรงอวยพระพร และอ้างว่าได้ทำตามพระ บัญชาแล้ว (15:13) เสียงแกะที่ยังมีชีวิตอยู่ทำให้ซามูเอลไม่พอใจ ซาอูลเมื่อรู้ว่าซามูเอลไม่พอใจ รีบหาข้อ อ้างในทันที ท่านโทษความบาปของท่านไปที่ประชาชนที่ยืนยันจะเก็บสัตว์เลี้ยงบางตัวไว้ เพื่อใช้เป็นเครื่อง ถวายบูชา46 ถึงแม้จะถูกซามูเอลตำหนิ (ซึ่งฟังดูคล้ายกับที่พระเจ้าตำหนิดาวิดใน 2 ซามูเอล 7:8-9 และ 12:7-8) ซาอูลยังปฏิเสธไม่ยอมรับ ยังยืนยันว่าได้ "ทำตามที่พระเจ้าทรงใช้" (1 ซามูเอล 15:20) จนกระ ทั่งเมื่อซามูเอลยืนยันไม่ยอมรับ ซาอูลจึงยอมสารภาพผิดในข้อ 24 และ 30 ผมขอเรียก "การกลับใจ" แบบนี้ ว่าเป็นการกลับใจอย่างไม่เต็มใจ

(3) "การกลับใจ" ของซาอูลเป็นการไม่ยอมรับความผิดของตน แต่กลับป้ายความผิดไปที่คนอื่น เช่นเดียวกับอาดัมและเอวา ซาอูลพยายามปัดความรับผิดชอบบาปไปที่ผู้อื่น (ดูปฐมกาล 3:11-13) จน กระทั่งไปถึงข้อ 24 ซาอูลก็ยังดันทุรังต่อ พยายามโน้มน้าวใ้ห้ซามูเอลเห็นว่าถึงจะทำผิด ก็ผิดเพราะถูก ประชาชนกดกัน (15:15, 21, 24)

(4) "การกลับใจ" ของซาอูลเป็นการพยายามทำให้ผลของบาปนั้นดูน้อยลง ดูเหมือนซาอูลจะไม่สน ใจต้นตอของความบาป หรือการแก้ใข ท่านกลับไปสน่ใจที่จะลดขนาดของบาปลง ท่านรีบขอให้ซามูเอล อภัยให้ เพื่อที่จะเดินหน้าต่อ (ในการนมัสการ!) ราวกับว่าไม่มีอระไรเกิดขึ้น ท่านต้องการให้ซามูเอลไปกับ ท่านด้วย เพื่อให้เกียรติแก่ท่าน ท่านจะได้ไม่ขายหน้าต่อประชาชน (15:30) "การกลับใจ" ของซาอูลน่าจะ เรียกว่าเป็นการ "ซุกซ่อนความเสียหาย" ดีกว่า

(5) "การกลับใจ" ของซาอูลนั้นกินเวลาสั้นมาก สำหรับซาอูลแล้ว "ผลที่ได้คุ้มกับการกลับใจ" ไม่มี การปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือการกระทำถาวร "การกลับใจ" ของซาอูลนั้นสั้นยิ่งกว่าลูกอมดับกลิ่นปาก ทันที ที่แรงกดดันจบลง อันตรายเลือนหายไป ซาอูลก็กลับไปทำบาปอีก ถึงแม้จะไม่ใช่แบบเดิมก็ตาม ใน 1 ซามู เอล 26:21 ซาอูลสารภาพกับดาวิดว่าท่านผิดจริงที่แสวงชีวิตดาวิด ถ้าท่านไม่ตายไปในสงครามเสียก่อน เราคงสงสัยกันว่าท่านจะทำอะไรดาวิดอีกถ้าโอกาสอำนวย (คุณคงจำได้ว่าดาวิดไม่ได้ "กลับไป" กับซาอูล ตามที่ท่านขอร้อง ท่านรู้ดีกว่า!) การกลับใจของซาอูลจึงเป็นไปเพียงชั่วคราว

ให้เรามารวบรวมเหตุการณ์ต่อเนื่องที่เกิดจากการกลับใจจอมปลอมของซาอูลใน 1 ซามูเอลกัน :

  • ซาอูลพยายามทำให้การไม่เชื่อฟังของท่านดูเหมาะสม เพราะถูกสถานการณ์บังคับ (เป็นเหมือนทำ ตาม "กฎอัยการศึก" -- 13:11-12)
  • ซาอูลปิดปากเงียบเมื่อรู้ชัดว่าพระเจ้าไม่รับข้ออ้างของท่าน (13:15).
  • ซาอูลพยายามปรับเปลี่ยนภาพบาปของการไม่เชื่อฟังเสียใหม่ ให้เป็นการขัดคำสั่งที่สุจริต (15:13)
  • ซาอูลพยายามป้ายความผิดของท่านไปที่ประชาชน และพยายามอ้างว่า "ทำบาป" เพราะอยากจะ นมัสการ (15:15).
  • ซาอูลอ้างว่าท่านต้องการเชื่อฟังพระเจ้า แต่ไม่สามารถควบคุมประชาชนที่ทำผิดด้วยการเก็บสัตว์ เลี้ยงบางตัวไว้ (ในขณะที่ไม่ยอมปริปากพูดเรื่องการไม่ยอมฆ่ากษัตริย์อากักของตนเอง -- 15:20-21)
  • ซาอูลไม่เต็มใจยอมรับความผิดของตน แต่ต้องการให้คนอื่นมีส่วนร่วมด้วย (15:24)
  • ซาอูลรีบ "สารภาพ" ผิดเพื่อจะได้รับการอภัย เพื่อจะได้ทำการ "ถวายบูชา" ต่อได้ (15:25).
  • ซาอูลแสวงหาทุกทางที่จะลดดีกรีความผิดลง เพื่อจะได้ไม่ต้องทนทุกข์มาก เพราะผลของบาปนั้น (15:25-31).

ซาอูลและดาวิด

ก่อนที่เราจะไปดูการกลับใจที่แท้จริงของดาวิดกัน ผมขอเวลาสักครู่เพื่อจะเปรียบเทียบระหว่างซาอูลและ ดาวิด ผมวาดภาพของซาอูลให้คุณๆดูไม่ค่อยจะสวยนัก ซึ่งอาจจะเข้าใจบิดเบือนไปได้ ไม่ว่าจะล้มเหลวและ ทำบาปสักเท่าใด ผู้เขียนพระธรรม 1 และ 2 ซามูเอล ได้สรุปภาพรวมการทำงานของซาอูลไว้อย่างดี ดังนี้ :

47 เมื่อซาอูลได้รับตำแหน่งพระราชาเหนืออิสราเอลนั้น พระองค์ได้ทรงต่อสู้
ศัตรูทุกด้าน ต่อสู้กับโมอับ กับชนอัมโมน กับเอโดม กับบรรดา พระราชา
แห่งโศบาห์ และกับคนฟีลิสเตีย ไม่ว่าพระองค์จะหันไปทางไหน พระองค์ก็
ทรง กระทำให้เขาพ่ายแพ้ไป 48 พระองค์ทรงสู้รบอย่างเข้มแข็ง และทรง โจมตีพวกอามาเลขและทรงช่วยกู้คนอิสราเอล ให้พ้นจากมือของบรรดาผู้ที่
เข้าปล้นเขา (1 ซามูเอล 14:47-48)

ในการเปรียบเทียบระหว่างซาอูลและดาวิดในสมัยแรก (เช่นเรื่องการต่อสู้กับโกลิอัท) ทำให้ซาอูลดูไม่ดีนัก แต่ดาวิดดูดีมาก แต่พอมาถึงเรื่องความบาปของดาวิดใน 2 ซามูเอล บทที่ 11 และ 12 ซาอูลดูไม่เลวเกินไป เราไม่เห็นว่าซาอูลไปแย่งภรรยาใครมา และฆ่าสามีทิ้ง ในขณะที่ซาอูลจ้องจะฆ่าดาวิดนั้น ท่านะทำในที่แจ้ง ไม่ได้เป็นความลับแต่อย่างใด (ไม่เหมือนที่ดาวิดสั่งโยอาบให้ฆ่าอุรียาห์) บาปของดาวิดทำให้ซาอูลดูดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อแตกต่างที่ค่อนข้างมากระหว่างสองคนนี้อยู่ : ดาวิดสำนึกในความบาปอย่างแท้จริง; ซาอูลไม่ ดาวิดเป็นบุรุษที่ทำตามพระทัยพระเจ้าอย่างสุดใจ แต่ก็ยังไม่ทำให้ท่านรอดพ้นจากความล้มเหลว ของมนุษย์ หรือทำให้ท่านหลุดพ้นจากการทดลองได้ แต่มันทำให้ท่านรู้สึกสำนึกผิดในบาปอย่างแท้จริง เมื่อเรามาเริ่มต้นเรียนเรื่องการกลับใจที่แท้้จริงของดาวิด ให้เราพยายามมองหาว่า การกลับใจ ที่แท้จริง เป็นอย่าง ไร

การกลับใจที่แท้จริง

เพียงสองประโยคสั้นๆในบทที่ 12 ก็กินความหมายมากมาย ประโยคแรกพูดโดยนาธัน : "ฝ่าพระบาทนั่น แหละคือชายคนนั้น!" (ข้อ 7) ประโยคที่สองดาวิดเป็นผู้พูด: "เรากระทำบาปต่อพระเจ้าแล้ว" (ข้อ 13) ประโยคที่สองและสิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมอยากจะเจาะลึกลงไป เราลองมาพิจารณาลักษณะการกลับใจของดาวิด ในตอนนี้ และที่หนักแน่นกว่าในสดุดี 32 และ 51 และที่ปรากฎชัดเจนในชีวิตของดาวิด

(1) การกลับใจของดาวิดเกิดจากความเจ็บปวดที่กัดกินอยู่ภายในใจ และถึงจุดสูงสุดเมื่อต้องเผชิญ หน้ากับนาธัน ในบทนี้ ดาวิดสารภาพทันที ที่เรื่องราวความบาปของท่านถูกเปิดเผย แต่เนื้อหาบ่งว่าความ บาปของดาวิดถูกปกปิดอยู่เป็นเวลานาน น่าจะประมาณเก้าเดือนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่ไม่มีการเล่าถึง เหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น แต่ในสดุดี 32 ทำให้เราเห็นการทำงานของพระเจ้าในใจของดาวิด เรื่องความผิด บาปครั้งนี้ :

3 เมื่อข้าพระองค์ไม่แจ้งบาปของข้าพระองค์ ร่างกายของข้าพระองค์ก็ร่วงโรยไป โดยการคร่ำครวญวันยังค่ำของข้าพระองค์ 4 พระหัตถ์ของพระองค์หนักอยู่บนข้าพระ
องค์ทั้งวันทั้งคืน กำลังของข้าพระองค์ก็เหี่ยวแห้งไปอย่างความร้อนในหน้าแล้ง 5 ข้าพระองค์สารภาพบาปของข้าพระองค์ต่อพระองค์ และข้าพระองค์มิได้ซ่อนบาปผิด ของข้าพระองค์ไว้ ข้าพระองค์ทูลว่า "ข้าพระองค์จะสารภาพการละเมิดของข้าพระ
องค์ต่อพระเจ้า" แล้วพระองค์ทรงยกโทษบาปของข้าพระองค์ (สดุดี 32:3-5)

ในสดุดีบทนี้ ดาวิดพูดว่าท่านนิ่งเงียบเกี่ยวกับบาปของท่าน ดาวิดรู้ดีว่าท่านทำผิด แต่ท่านเลือกจะยื้อเวลา ออกไปอีกหน่อย ท่านไม่ยอมสารภาพบาป และผลของมันก็คือ "นรกชัดๆ" มันน่ามหัศจรรย์นะครับ ที่ความ บาปก่อให้เกิดความสุขเพียงชั่วครู่ (ดูฮีบรู 11:25) มันไม่น่าอภิรมย์สำหรับธรรมิกชนเหมือนกับคนต่างชาติ เหตุผลก็คือพระิวิญญาณทรงสถิตอยู่ภายในธรรมิกชน ขณะที่ความบาปทำให้พระวิญญาณเสียพระทัย จิตใจ ของเราก็ไม่อาจเพลิดเพลินไปกับการทำบาปได้ ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่เพลิดเพลินนะครับ ; เพียงแต่ความ เพลิดเพลินจะถูกบั่นทอนลง ด้วยความสุขเมื่อเราเชื่อฟังและมีสามัคคีธรรมกับพระเจ้า อาการทุกข์ทรมาณ ที่ดาวิดพูดถึง ที่สุดก็คือสิ่งที่ทำลายความนิ่งเฉยของท่าน และนำท่านไปสู่การสารภาพ การกลับใจของท่าน จึงเกิดขึ้นได้ หลังจากต้องผ่านขั้นตอนความทุกข์ทรมาณทีท่านทำแทบทั้งสิ้นในที่ลับ

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ผมกำลังคิดถึงพี่ชายของโยเซฟที่ "กลับใจ" และโยเซฟทำให้เห็นด้วยเหตุการณ์ ต่างๆ ตามที่บันทึกอยู่ในปฐมกาล 42-45 พวกเขาทำบาปด้วยการขายโยเซฟให้ไปเป็นทาสในประเทศอียิปต์ (พวกเขาอาจตกเป็นทาสของจิตใต้สำนึก แต่อย่างน้อยก็ไม่ได้ฆ่าน้องตามที่คบคิดกันไว้) เมื่อโยเซฟได้ขึ้น เป็นใหญ่อันดับสองของประเทศอียิปต์ ท่านมีอำนาจเต็ม ที่จะจัดการกับพี่ชายอย่างไรก็ได้ เมื่อพวกพี่ชายมา ที่อียิปต์เพื่อขอซื้อข้าว ท่านน่าจะแก้แค้น แต่ท่านกลับเลือกที่จะให้พวกเขาสำนึกผิดและกลับใจ47 ท่านทำ โดยไม่เปิดเผยตนเอง (ถ้าท่านต้องการแก้แค้น ท่านคงบอกพวกเขาไปแล้วว่าท่านคือใคร) โยเซฟจัดฉาก เหตุการณ์ที่ทำให้พวกพี่ชายต้องตัดสินใจ ทำในสิ่งที่คล้ายกับที่เคยทำมาในอดีต ท่านทำให้พี่ชายตกอยู่ใน สถานการณ์ที่พวกเขาต้องมอบเบนยามินให้ไป ทิ้งให้เป็นทาสในประเทศอียิปต์ หรือว่าพวกเขาจะยืนหยัดปก ป้องน้องชายร่วมกัน ยูดาห์ผู้ที่เคยแนะนำให้ขายโยเซฟไปเป็นทาส บัดนี้ต้องเสนอตนเองเป็นทาสแทน เพื่อ เบนยามินจะกลับบ้านไปหายาโคบ บิดาผู้ชราภาพได้ นี่คือการกลับใจอย่างแท้จริง การกลับใจอย่างแท้จริง ไม่เพียงเสียใจที่ได้ทำสิ่งผิด (พี่ชายของโยเซฟเองก็เสียใจในความชั่วร้ายที่ทำลงไป ตั้งแต่ตอนต้นๆเรื่อง -- 42:21-22) และจะไม่กลับไปทำอีกถึงแม้มีโอกาสก็ตาม โยเซฟให้โอกาสพี่ชาย และครั้งนี้พวกเขาก็เลือก ทำในสิ่งที่ถูกต้อง หลายครั้งการกลับใจแท้จริงเกิดขึ้นได้หลังจากผ่านความเจ็บปวดมาหลายขั้นตอน

(2) ดาวิดแสดงออกถึงการกลับใจและสารภาพความผิดของท่านต่อพระพักตร์พระเจ้าอย่างไม่ บิดพริ้ว ท่านสารภาพด้วยคำพูดสั้นๆตรงไปตรงมาอย่างน่าประทับใจ การสารภาพของซาอูลกลับไม่จริง ใจและคลุมเครือ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ ท่านคงให้ทนายความส่วนตัว (หรือสำนักพระราชวัง) ร่างคำแถลงการแทน ดาวิดรับผิดชอบต่อบาปของท่านทั้งหมด ; ซาอูลหาทางป้ายไปที่คนอื่น หรือพยายามหาคนมาร่วมรับผิดชอบ ดาวิดสารภาพบาปว่าเป็นบาปชัดเจน ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ไม่มีการชี้ไปที่ผู้อื่น ท่านเห็นว่าบาปนี้เป็นการที่ท่าน ทำผิดต่อพระเจ้าจริงๆ

(3) ดาวิดถือว่าความบาปครั้งนี้ร้ายแรง ซาอูลชอบหาทางทำให้ความผิดดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่น่าจะผิด อะไรนักหนา ดาวิดทำตรงข้าม ในสดุดี 32 และ 51 ชี้ให้เห็นว่าดาวิดใคร่ครวญถึงบาปของท่านเป็นอย่างมาก ยิ่งท่านคิดมากเท่าใด ท่านยิ่งเห็นถึงความชั่วร้ายของท่านเอง เนื่องจากบทสดุดีนี้เขียนขึ้นเพื่อนมัสการ พระเจ้า และเพื่อให้เป็นอุมาหรณ์สำหรับคนรุ่นหลัง ความบาปและการสารภาพของท่านจึงเป็นเรื่องเปิดเผย แต่ท้ายที่สุดแล้ว ท่านทำบาปต่อพระเจ้า พระเจ้าเท่านั้น นี่ไม่ใช่เป็นการทำให้ความชั่วที่ท่านทำต่ออุรียาห์ และบัทเชบาลดน้อยลงไป บาปคือการละเมิดต่อพระบัญญัติของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ บาปทุกชนิดคือการทำผิด ต่อพระเจ้า เพราะเป็นการละเมิดพระบัญญัติของพระองค์ อาชญากรรมเป็นที่รังเกียจของสังคม แต่บาป (ในกรณีเช่นนี้) คือการ ทำผิดต่อพระเจ้าเท่านั้น เพราะฝ่าฝืนพระบัญญัติของพระองค์ ดาวิดละเมิด พระบัญญัติอย่างน้อยถึงสามข้อ ด้วยกัน ท่านโลภภรรยาของเพื่อนบ้าน ท่านล่วงประเวณีผัวเมียเขา และท่านฆ่าคน (อพยพ 20:13, 14, 17)

(4) ดาวิดไม่ได้คาดหวังว่าความดีของท่านจะสามารถชดเชยหรือทำให้ความผิดของท่านลดลงได้ ในที่สุดเราก็มาถึงเรื่องผิดพลาดประการใหญ่ที่เกิดขึ้นตลอดมาทุกยุคทุกสมัย -- คือความคิดผิดๆที่ว่าพระเจ้า ทรงใช้วิธีตัดเกรดวัดเรา เราชอบคิดไป (หรือ เหมาเอาเอง ) ว่าเราสามารถสะสมความดีเพื่อแซงหน้าความ บาปได้ ถ้าเราทำ "ดี" มากกว่าทำ "ชั่ว" เราก็เชื่อกันว่า รวมๆแล้วเราทำดีมากกว่า ดังนั้นพระเจ้าจึงสมควร จะรับได้ เราขาดความเข้าใจว่า ความชอบธรรมที่พระเจ้าปรารถนาจากมนุษย์นั้น ต้องเชื่อฟังพระคำอย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์ ความผิดเพียงประการเดียวก็ทำให้เราขาดความชอบธรรมแล้ว และสมควรไปสู่ความตาย:

10 เพราะว่าผู้ใดรักษาธรรมบัญญัติได้ทั้งหมด แต่ผิดอยู่ข้อเดียว ผู้นั้นก็เป็น ผู้ผิดธรรมบัญญัติทั้งหมด (ยากอบ 2:10; ดูมัทธิว 5:19; กาลาเทีย 5:3ด้วย)

ดาวิดเป็นบุรุษที่ทำตามพระทัยพระเจ้าอย่างสุดใจ ท่านรักพระบัญญัติ พระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่กับท่านใน ทุกสิ่งที่ท่านทำ โดยรวมแล้วชีวิตของท่านเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเรา เป็นมาตรฐานที่เราควรพยายามไป ให้ถึง ความบาปของท่านเรื่องอุรียาห์และบัทเชบา เป็นข้อยกเว้น อย่าเอามาใช้เป็นข้ออ้าง:

5 เพราะว่าดาวิดทรงกระทำ สิ่งที่ถูกต้องในสายพระเนตรของพระเจ้า และมิได้
ทรงหันไปจากสิ่งใด ซึ่งพระเจ้าทรงบัญชาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ นอก จากเรื่องอุรีอาห์คนฮิตไทต์ (1พกษ 15:5)

ถ้าใครสามารถเอาความดีมาชดเชยความบาปได้ ดาวิดก็น่าจะเป็นผู้นั้น แต่เรากลับพบว่าท่านสารภาพความ ผิด โดยไม่มีการแอบอ้างใช้ในคุณความดีใดๆที่ท่านเคยทำมาชดเชย ท่านรู้ดีว่าท่านนั้นสมควรแก่พระอาชญา

3 เพราะข้าพระองค์ทราบถึงการละเมิดของข้าพระองค์แล้ว และบาปของ ข้าพระองค์อยู่ต่อหน้าข้าพระองค์เสมอ 4 ข้าพระองค์ได้ทำบาปต่อพระองค์
ต่อพระองค์เท่านั้น และได้กระทำสิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระองค์ ทั้งนี้เพื่อพระองค์จะทรงยุติธรรมในคำพิพากษา และไร้ตำหนิในการ
พิพากษานั้น
(สดุดี 51:3-4 ผมขอย้ำด้วย)

(5) ดาวิดไม่ได้แอบอ้างในพระคุณ หวังว่าจะได้รับการอภัยและได้รับชีวิตเดิมคืนมา คนที่วางแผน จะทำบาป ด้วยคิดว่าถึงอย่างไรพระเจ้าก็ต้องให้อภัย พวกเขาคิดว่าถ้าดำเนินตามขั้นตอนและพิธีแล้ว ไม่ว่ากี่ ครั้งก็ตาม จะได้รับการอภัยโดยอัตโนมัติ และสามารถดำเนินชีวิตปกติต่อไปได้ คนที่สักแต่จะรับพระคุณแห่ง การให้อภัย สารภาพความผิดด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งวางแผนคิดจะทำอีก ดาวิดสารภาพความผิดของท่าน ต่อพระเจ้า ไม่ทูลขอสิ่งใดทั้งสิ้น ท่านรู้ว่าท่านสมควรได้รับสิ่งใด และไม่ทูลขอให้หลบเลี่ยงได้

ด้วยเหตุนี้ ดาวิดจึงเป็นเหมือนบุตรน้อยหลงหายในพระคัมภีร์ใหม่ :

17 เมื่อเขารู้สำนึกตัวแล้ว จึงพูดว่า 'ลูกจ้างของบิดาเรามีมาก ยังมีอาหาร
กินอิ่มและเหลืออีก ส่วนเราจะมาตายเสียที่นี่เพราะอดอาหาร 18 จำเราจะ
ลุกขึ้นไปหาบิดาเรา และพูดกับท่านว่า "บิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ผิดต่อสวรรค์
และผิดต่อท่านด้วย 19 ข้าพเจ้าไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นลูกของท่านต่อไป ขอท่านให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนลูกจ้างของท่านคนหนึ่งเถิด'"20 แล้วเขาก็ลุก
ขึ้นไปหาบิดาของตน แต่เมื่อเขายังอยู่แต่ไกล บิดาแลเห็นเขาก็มีความเมตตา จึงวิ่งออกไปกอดคอจุบเขา 21 ฝ่ายบุตรนั้นจึงกล่าวแก่บิดาว่า 'บิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ผิดต่อสวรรค์และต่อท่าน ข้าพเจ้าไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นลูกของ
ท่านต่อไป' 22 แต่บิดาสั่งบ่าวของตนว่า 'จงรีบไปเอาเสื้ออย่างดีที่สุดมาสวม
ให้เขา และเอาแหวนมาสวมนิ้วมือ กับเอารองเท้ามาสวมให้เขา 23 จงเอา
ลูกวัวอ้วนพีมาฆ่าเลี้ยงกัน เพื่อความรื่นเริงยินดีเถิด 24 เพราะว่าลูกของเราคนนี้
ตายแล้ว แต่กลับเป็นอีก หายไปแล้วแต่ได้พบกันอีก' เขาทั้งหลายต่างก็มีความ
รื่นเริงยินดี(ลูกา 15:17-24)

ลูกชายคนนี้ "ก่อเรื่อง" เอาไว้หลายคดี แล้วรู้ตัวเสียด้วย เขาตัดขาดจากครอบครัว เอาเงินมรดกไปผลาญ จนหมดสิ้น ไม่มีสิทธิมาอ้างความเป็นลูกอีกต่อไป แต่ลูกคนนี้ก็รู้จักบิดาของตนเองดี รู้ว่าเป็นทาสในบ้าน ของบิดายังดีกว่าเป็นทาสของคนต่างด้าวต่างแดน จึงตัดสินใจกลับบ้าน สารภาพความผิด และไม่ได้ขอ สิ่งใดเลยนอกจากขอเป็นแค่ลูกจ้างในบ้าน บิดาให้การต้อนรับอย่างปราณี ท่านให้ในสิ่งที่บุตรคนนี้ไม่สมควร ได้ ดาวิดก็เหมือนบุตรล้างผลาญคนนี้ รู้ดีว่าไม่สมควรได้รับการอภัย ไม่สมควรได้พระพร ท่านไม่แม้แต่จะทูล ขอ ท่านเพียงแต่สารภาพผิดเท่านั้น

(6) เมื่อดาวิดกลับใจ ที่ท่านได้รับคือความปิติยินดีในการสถิตอยู่ และการดูแลจากพระเจ้ากลับคืน มา และท่านมีความตั้งใจที่จะสอนผู้อื่นให้หันหนีเสียจากความบาปด้วย ในสดุดีบทที่ 51 เรารู้ว่าดาวิด อธิษฐานขอให้พระเจ้าฟื้นท่านขึ้นมาใหม่ในความปิติยินดี (51:8, 12) เรามีเหตุผลพอที่จะรู้ว่าท่านได้รับตาม คำทูลขอ นอกจากนั้นท่านยังมีความปรารถนาที่จะสอนผู้อื่นด้วย :

แล้วข้าพระองค์จะสอนผู้ละเมิดทั้งหลาย ถึงบรรดาพระมรรคาของพระองค์ และคนบาปทั้งหลายจะกลับสู่พระองค์ (สดุดี 51:13).

บัดนี้ดาวิดจะสอนสั่งบรรดาคนบาปในฐานะผู้ที่ได้กลับใจจากบาปแล้ว ท่านจะสั่งสอนให้พวกเขาหันเสียจาก ความบาป นับเป็นสิ่งที่ต่างไปจากความชั่ว ที่ล่อลวงให้ผู้อื่นเห็นดีเห็นงามทำตามไปด้วย :

แม้เขาจะรู้พระบัญญัติของพระเจ้า ที่ว่าคนทั้งปวงที่ประพฤติเช่นนั้นสมควรจะตาย เขาก็ไม่เพียงประพฤติเท่านั้น แต่ยังเห็นดีกับคนอื่นที่ประพฤติเช่นนั้นด้วย (โรม 1:32)

ผมนึกถึงซีโมนเปโตร ที่พระเยซูทรงทำนายไว้ว่าจะปฏิเสธพระองค์ ด้วยคำพูดที่มีความหวัง :

31 "ซีโมน ซีโมนเอ๋ย ดูเถิด ซาตานได้ขอพวกท่านไว้ เพื่อจะฝัดร่อนเหมือน
ฝัดข้าวสาลี 32 แต่เราได้อธิษฐานเผื่อตัวท่าน เพื่อความเชื่อของท่านจะไม่ได้ขาด และ เมื่อท่านได้หันกลับแล้ว จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน" (ลูกา 22:31-32)

เปโตรเคยเป็นคนอวดดี ขาดความอดทน และหุนหันก่อนที่ท่านจะปฏิเสธพระเยซู หลังจากพลาดพลั้งไปอย่าง น่าเศร้า โดยพระคุณ ท่านได้กลับสู่สภาพดี และเป็นจุดเริ่มต้นแท้จริงในงานพันธกิจของท่าน พระเจ้าทรงมี เหตุผลในการที่ใช้ความบาปของเราเพื่อสั่งสอนผู้อื่น และเช่นกันคนอื่นมองเห็นได้ถึงความเจ็บปวด เพราะผล บาปของเรา (สุภาษิต 19:25) หรือเห็นการคืนสู่สภาพดีด้วยสำนึกอันลึกซึ้งในพระคุณพระเจ้าที่เกิดขึ้นในผู้ที่ เป็นคนบาปและได้กลับใจ

(7) การกลับใจที่พระเจ้าให้เกิดแก่ดาวิด ทำให้เกิดผลดีสมกับที่ท่านได้กลับใจ พระเจ้าตอบสนอง การกลับใจของดาวิดด้วยพระคุณ ทำให้ดาวิดเองปฏิบัติต่อผู้ที่ทำผิดต่อท่านและได้กลับใจ อย่างมีเมตตา เมื่ออับซาโลมกบฎต่อบิดา มุ่งมายึดบัลลังก์ ดาวิดหนีออกจากเยรูซาเล็มพร้อมผู้ติดตาม ในขณะหลบหนี ชายชื่อชิเมอีออกมาสาปแช่งและขว้างหินใส่ท่าน (2 ซามูเอล 16:5-8) อาบีชัยต้องการตัดหัวชายคนนี้เสีย แต่ดาวิดไม่อนุญาติ เมื่อดาวิดกลับคืนสู่เยรูซาเล็ม หนึ่งในบรรดาผู้มาต้อนรับท่านคือชิเมอี ผู้มาสารภาพ ต่อท่านว่าได้ทำผิด ที่ทำลงไปครั้งนั้น (2 ซามูเอล 19:16-20)

อาบีชัยก็ยังอยากฆ่าชิเมอีอยู่ดี แต่ครั้งนี้เขามีหลักทางศาสนศาสตร์มาอ้าง เขาอ้างว่าชิเมอีได้เคยแช่งด่าดาวิด กษัตริย์ของอิสราเอล ธรรมบัญญัติของโมเสสห้ามไม่ให้ประชากรสาปแช่งผู้นำของตน (อพยพ 22:28) ตาม ตัวบทกฎหมายแล้ว -- ชิเมอีสมควรถูกประหาร แต่ดาวิดให้อภัย และไว้ชีวิตเขา เมื่อทำเช่นนั้น ดาวิดได้จัด การกับชิเมอีด้วยความกรุณา เช่นเดียวกับที่พระเจ้าทรงทำกับท่าน เหตุการณ์นี้ทำให้นึกถึงเรื่องที่พระเยซูเล่า ถึงเรื่องทาสที่ไม่ยอมให้อภัย (ดูมัทธิว 18:23-35) ทั้งๆที่กษัตริย์ยอมยกหนี้จำนวนมหาศาลให้ แต่เขาไม่ยอม ยกหนี้ให้กับเพื่อนทาสด้วยกันแค่จำนวนเพียงน้อยนิด คนที่เคยมีประสบการณ์ในพระคุณพระเจ้า จะสำแดง ให้เห็นด้วยความปราณีต่อผู้อื่น พระคุณที่ดาวิดได้รับเมื่อท่านกลับใจ ท่านสำแดงต่อให้แก่ผู้ที่ "กลับใจ" เช่น ชิเมอี.48

(8) การกลับใจของดาวิดมีผลยั่งยืน : ดาวิดละทิ้งความบาป และไม่หวนกลับไปทำอีกเลย มีอีกหลาย คนเช่นฟาโรห์ และเช่นซาอูล ดูเหมือนกลับใจ แต่จบสิ้นลงในเวลาอันรวดเร็ว ซาอูลใช้เวลาไม่นานก่อนที่จะ กลับไปพยายามฆ่าดาวิดอีก หรือฟาโรห์เองยับยั้งไม่ให้คนอิสราเอลเดินทางออกจากอียิปต์ นี่เป็นเพราะ การกลับใจไม่แท้จริง ที่จริงการกลับใจของพวกเขาเป็นเพียงหยุดต่อต้านชั่วคราว หยุดความเจ็บปวดชั่วครู่ สจวร์ต บริสโค แยกแยะเรื่องการกลับใจจอมปลอมและการกลับใจแท้จริงไว้ดังนี้ :

"ผมจำได้ว่ามีเพื่อนคนหนึ่งอยู่ที่อังกฤษ กล่าวกับผมไว้นานแล้วว่า 'การกลับใจ แบบเด็กๆคือเสียใจที่ได้ทำลงไป การกลับใจของผู้ใหญ่คือ เศร้าเสียใจ ต่อสิ่งที่ เกิดขึ้น ถ้าเรารู้สึกแค่เสียใจที่ได้ทำลงไป … เราจะออกไปทำได้อีก"49

    ดาวิดสำแดงการ "กลับใจแบบผู้ใหญ่" ท่านเห็นความบาปอย่างที่มันเป็น และเสียใจอย่างแท้จริง ผลก็คือท่าน จะไม่มีวันหวนกลับไปทำอีก

ได้รับการอภัย
(12:13ข)

และนาธันกราบทูลดาวิดว่า "พระเจ้าทรงให้อภัยบาปของฝ่าพระบาทแล้ว ฝ่าพระบาทจะไม่ถึงแก่มรณา"

สิ่งที่ดาวิดไม่กล้าทูลขอ ท่านกลับได้รับ ท่านคงโล่งใจอย่างบอกไม่ถูกเมื่อได้ยินนาธันพูดว่า "พระเจ้าทรง ให้อภัยบาปของฝ่าพระบาทแล้ว ฝ่าพระบาทจะไม่ถึงแก่มรณา" ดาวิดได้ตัดสินตนเอง ขณะที่ท่านตอบ สนองต่อเรื่องแกะถูกพราก เพื่อนำไปฆ่า ตามที่นาธันเล่า (2 ซามูเอล 12:1-4):

ดาวิดกริ้วชายคนนั้นมาก และรับสั่งแก่นาธันว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์ อยู่แน่ฉันใด ผู้ชายที่กระทำเช่นนั้นจะต้องตาย" (2 ซามูเอล 12:5)

แน่นอนตามกฎธรรมบัญญัติของโมเสส เรื่องที่นาธันเล่า ผู้กระทำผิดต้องชดใช้ความเสียหายให้ถึงสี่เท่า (อพยพ 22:1) แต่ดาวิดสมควรตาย เพราะท่านทำทั้งบาปล่วงประเวณี และบาปฆาตรกรรมอุรียาห์

ตามธรรมบัญญัติของโมเสส ดาวิดไม่มีหวัง ท่านเป็นคนที่ต้องถูกลงโทษทัณฑ์ เหมือนตายไปแล้ว! แล้วนาธัน บอกกับดาวิดได้อย่างไร ว่าท่านจะไม่ถึงตาย? คุณลองสังเกตุดู คำพูดที่พูดก่อนคำสัญญาว่า ท่านจะไม่ถึง ตาย ที่พูดว่า: "พระเจ้าทรงให้อภัยบาปของฝ่าบาทแล้ว" ดาวิดได้รับ "การช่วยกู้" จากการลงทัณฑ์ของ พระเจ้า เช่นเดียวกับพวกเรา ไม่ใช่ได้รับการอภัยเพราะรักษาธรรมบัญญัติ แต่โดยพระคุณ และเหตุผลที่ดาวิด ได้รับการอภัย เพราะพระเจ้าทรงนำความผิดบาปของท่านไปเสีย

การ"นำบาปไปเสีย" ไม่ใช่เป็นการเล่นมายากล ที่พระเจ้าทรงทำให้บาปของดาวิดหายไปเฉยๆนะครับ คำพูด ของนาธันที่ว่าพระเจ้าทรง "ให้อภัยบาปแล้ว" ผมเชื่อว่านาธันแน่ใจในการช่วยกู้ที่จะมาจากองค์พระเยซูคริสต์ ที่บนไม้กางเขนบนเนินหัวกระโหลกที่จะเกิดขึ้นหลายร้อยปีหลังจากนั้น ในพระราชกิจที่พระคริสต์ทรงทำบน ไม้กางเขน ดาวิดได้รับการอภัย พระเจ้าทรงนำความผิดบาปไปจากท่าน และพระองค์ทรงยุติธรรมด้วย

คำว่า "ได้ทรงนำไปเสีย" ในข้อ 13 ของฉบับ NASB มีความหมายว่า "ทำให้ความบาปนั้นผ่านพ้นไป" ใน หมายเหตุ เป็นคำกิริยา ที่มักนำมาใช้สำหรับการผ่านออกไป หรือข้ามผ่านไป เช่นเมื่อคนอิสราเอลเดินข้าม ทะเลแดง เป็นคำพูดที่มีมูลเหตุ เพื่อสื่อคำว่า "ทำให้ต้องผ่านเข้าไป หรือข้ามไปเสีย" เป็นเที่เข้าใจ ในทั้ง NKJV และ KJV ฉบับดั้งเดิมใช้คำว่า "นำออกไป" ผมเชื่อว่าคำในภาษาฮีบรูที่เราใช้ในบทเรียนตอนนี้ ถูกนำมาใช้ในที่อื่นอีกสองครั้งในพระคัมภีร์ เพื่อสื่อความหมายให้ใกล้เคียงกับคำที่เรากำลังเรียนอยู่

8 ฝ่ายอับเนอร์ก็โกรธอิชโบเชทเพราะถ้อยคำนี้มาก จึงทูลว่า "ข้าพระบาทเป็นหัวสุนัขของยูดาห์หรือ ทุกวันนี้ข้าพระบาท ได้สำแดงความจงรักภักดีต่อพงศ์พันธุ์ ของซาอูลเสด็จพ่อ
ของพระองค์ และต่อพี่น้องและต่อมิตรสหายของเสด็จพ่อท่าน มิได้มอบฝ่าพระบาทไว้ในมือของดาวิด วันนี้พระองค์ยังหาความ ต่อข้าพระบาทด้วยเรื่องผู้หญิงคนนี้ 9 ถ้าข้าพระบาทจะมิได้
กระทำเพื่อดาวิด ให้สำเร็จดังที่พระเจ้าทรงปฏิญาณไว้ต่อท่าน
แล้ว ก็ขอพระเจ้าทรงลงโทษอับเนอร์และยิ่งหนักกว่า 10 คือ ข้าพระบาทจะ ย้ายราชอาณาจักรจากพงศ์พันธุ์ของซาอูล และ สถาปนาบัลลังก์ของดาวิดเหนืออิสราเอล และเหนือยูดาห์
ตั้งแต่ดานถึงเบเออร์เชบา" (2 ซามูเอล 3:8-10 และผมด้วย)

พระราชาจึงถอดพระธำมรงค์ตรา ซึ่งพระองค์ ทรงเอามาจาก
ฮามาน พระราชทาน ให้โมรเดคัย พระนางเอสเธอร์ก็ทรงตั้ง
โมรเดคัย เป็นใหญ่ เหนือบ้านเรือนของฮามาน (เอสเธอร์ 8:2)

ในทั้งสองกรณีด้านบน คำฮีบรูคำเดียวกันนี้ที่นำมาใช้อธิบายถึงการ "ย้าย" สิ่งของหรือบุคคลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง 50 อาณาจักรอิสราเอลถูกย้ายจากซาอูลมาให้ดาวิด (2 ซามูเอล 3:8-10) พระธำมรงค์ของ กษัตริย์ ซึ่งเป็นการมอบสิทธิอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการแทน ถูกนำมาจากฮามานไปมอบให้โมรเดคัย พระธำมรงค์ถูกย้ายจากคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่ง บาปของดาวิดได้รับการอภัย และมีการรับรองว่า ท่านจะไม่ ต้องตาย เพราะพระเจ้าได้นำความบาปไปเสียจากท่าน การนำไปหรือย้ายไปเกิดขึ้นหลายร้อยปีหลังจากนั้น เมื่อ "บุตรดาิวิด" องค์พระเยซูคริสต์ สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ทรงแบกรับบาปของดาวิด และจ่าย แทน ชดใช้ในสิ่งที่ดาวิดทำ ดาวิดไม่ต้องตายเพราะบาปของท่าน เพราะพระคริสต์ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ให้รับโทษทัณฑ์แทนท่าน

นาธันพูดถึงการนำออกไปเหมือนกับเป็นเหตุการณ์ในอดีต ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิม บ่อยครั้งพยากรณ์ เหตุการณ์ในอนาคตโดยใช้เวลาเป็นอดีต ที่เป็นเช่นนี้ เพราะต้องการตอกย้ำว่าเรื่องที่ พยากรณ์จะเกิดขึ้นแน่ เมื่อพระเจ้ารับสั่งว่าจะทำบางอย่าง ก็เหมือนกับที่เราชอบพูดกันว่า "เหมือนเกิดไปแล้ว" เมื่อผู้เผยพระวจนะ พูดถึงพระสัญญาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พวกเขามักจะพูดโดยใช้ประโยคที่เป็นเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งนับเป็น ร้อยๆปี กว่าที่พระเยซูลงมาบังเกิด มนุษย์ได้รับการอภัยแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ ดาวิดได้รับการอภัยเพราะพระ เยซูทรงมาไถ่ที่บนไม้กางเขน นี่เป็นพื้นฐานของการให้อภัย ดาวิดสารภาพอย่างถูกต้อง ว่าท่านได้ทำผิดต่อ พระเจ้า และนาธันให้ความมั่นใจแก่ท่านว่า บาปที่ท่านทำต่อพระเจ้า พระเจ้าได้ให้อภัยแล้ว โดยการพลีพระ ชนม์เป็น เครื่องบูชาไถ่บาปของพระบุตร คือองค์พระเยซูคริสต์ นี่เป็นพื้นฐานของการอภัยบาปตลอดมา

บทสรุป

ให้เราสรุปบทเรียนตอนนี้ด้วยหลักการหลายข้อ ที่ต้องนำมาใช้

(1) การกลับใจเป็นการกระทำที่พระเจ้าทรงทำผ่านทางพระวิญญาณ พระวจนะ และคนของพระองค์ เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อความบาป เราเปลี่ยนใจคนไม่ได้ ; พระเจ้าเท่านั้นที่ทำได้ ความหมายคือ การกลับใจเป็นการกระทำของพระเจ้า แต่พระเจ้า เป็นผู้เลือกวิธีที่จะทำให้สำเร็จลง คือการกลับใจ พระเจ้า ทรงใช้คนของพระองค์ เช่นคนอย่างนาธัน ให้มาเผชิญหน้ากับผู้ที่ทำบาป ท่านใช้พระคำ และพระวิญญาณมา ตัดสินคนบาปในบาปที่เขาได้ทำ ในปัจจุบันและในอดีต มันง่ายที่จะพูดกันเรื่องความบาปของคนอื่น มากกว่า จะพูดกับผู้ที่กระทำบาปเอง ในพระคัมภีร์พูดชัดเจน ถึงความรับผิดชอบที่เรามีต่อพี่น้องที่กำลังตกอยู่ในบาป (ดูมัทธิว 7:1-5; 18:15-20; 1 โครินธ์ 5:1-13; กาลาเทีย 6:1-5; 1 เธสะโลนิกา 5:14; 2 เธสะโลนิกา 3:14-15; 2 ทิโมธี 2:23-26; ติตัส 3:9-11; ยากอบ 5:19-20) ไม่มีใครอยากเป็น "นาธัน" สำหรับ "ดาวิด" แต่นี่เป็น กรรมวิธีที่พระเจ้าทรงเลือกใช้จัดการกับบาป หรือหนุนใจให้คนบาปกลับใจ นาธันเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของดาวิด เมื่อท่านเลือกที่จะชี้ความบาปให้ดาวิดเห็น และเตรียมการสำหรับให้ท่านกลับใจ

(2) การกลับใจเป็นการเตรียมการของพระเจ้า เพื่อจะได้รับการอภัยจากบาป และกลับมามีสามัคคี ธรรมกับพระองค์อีกครั้ง ในบทสดุดีของดาวิด เราเห็นชัดเจนว่าท่านได้ทำบาปและพยายามปกปิดไว้ จึงเกิด ช่องโหว่ขึ้นระหว่างท่านและพระเจ้า ดาวิดขาดการชื่นชมในความรอด และความมั่นคงในการสถิตอยู่ของพระเจ้า ท่านได้สิ่งเหล่านี้กลับคืนมาเมื่อท่านกลับใจ การกลับใจเป็นการแสดงถึงความเชื่อ และเป็นวิธีการที่พระเจ้า เตรียมไว้ให้กับคนบาปผู้หลงหาย ให้ได้รับการอภัยจากบาป มั่นใจได้ในชีวิตนิรันดร์ และมีสามัคคีธรรมกับ พระองค์ได้

1 คราวนั้นยอห์นผู้ให้รับบัพติสมา มาประกาศในถิ่นทุรกันดารแคว้นยูเดียว่า 2 "จง กลับใจเสียใหม่ เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้ว" (มัทธิว 3:1)

ตั้งแต่นั้นมา พระเยซูได้ทรงตั้งต้นประกาศว่า "จงกลับใจเสียใหม่เพราะว่าแผ่นดิน สวรรค์มาใกล้แล้ว" (มัทธิว 4:17)

พระองค์ก็ประหลาดพระทัย เพราะเขาไม่มีความเชื่อ แล้วพระองค์จึงเสด็จไปสั่ง สอนตามหมู่บ้านโดยรอบ 7 พระองค์ทรงเรียกสาวกสิบสองคนมา แล้วทรงใช้เขา ให้ออกไปเป็นคู่ๆ … . 12 ฝ่ายเหล่าสาวกก็ออกไปเทศนาประกาศให้กลับใจเสีย ใหม่ (มาระโก 6:6ก, 12)

45 ครั้งนั้นพระองค์ทรงบันดาลให้ใจเขาทั้งหลายเกิดความสว่างขึ้น เพื่อจะได้เข้า ใจพระคัมภีร์ 46 พระองค์ตรัสกับเขาว่า "มีคำเขียนไว้อย่างนั้นว่า พระคริสต์จะต้อง ทรงทนทุกข์ทรมาณและทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันที่สาม 47 และจะต้อง ประกาศทั่วทุกประชาชาติในพระนามของพระองค์ ให้เขากลับใจใหม่ รับการยก บาป ตั้งต้นที่กรุงเยรูซาเล็ม (ลูกา 24:45-47)

38 ฝ่ายเปโตรจึงกล่าวแก่เขาว่า "จงกลับใจใหม่และรับบัพติสมา ในพระนามแห่ง พระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน เพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านเสีย; แลัว ท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กิจการ 2:38)

18 ครั้นคนทั้งหลายได้ยินคำเหล่านั้นก็นิ่งอยู่ แล้วได้สรรเสริญพระเจ้าว่า "พระ เจ้าได้ทรงโปรดแก่คนต่างชาติให้กลับใจใหม่ จนได้ชีวิตรอดด้วย" (กิจการ 11:18)

18 ครั้นมาแล้วเปาโลจึงกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายย่อมทราบอยู่เองว่า ข้าพเจ้าได้ ประพฤติต่อท่านอย่างไรทุกเวลา ตั้งแต่วันแรกเข้ามาในแคว้นเอเชีย 19 ข้าพเจ้า
ได้ ปรนนิบัติพระเจ้าด้วยความถ่อมใจ ด้วยน้ำตาไหล และด้วยถูกการทดลอง ซึ่งมาถึงข้าพเจ้าเพราะพวกยิวคิดร้ายต่อข้าพเจ้า 20 และสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นคุณ ประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้ปิดซ่อนไว้ แต่ได้ชี้แจงให้ท่านเห็น กับ ได้สั่งสอนท่านในที่ประชุม และตามบ้านเรือน 21 ทั้งเป็นพยานแก่พวกยิว และ
พวกกรีก ถึงเรื่องการกลับใจใหม่เฉพาะพระเจ้า และความเชื่อในพระเยซูคริสต
เจ้าของเรา (กิจการ 20:18-21)

ในการกลับใจ ผู้ที่เป็นคนบาปต้องละทิ้งความบาป และกลับมามีสามัคคีธรรมกับพระเจ้า ซึ่งเคยถูกความบาป ตัดขาดไป ดังนั้น อ.เปาโลปรารถนาจะให้ธรรมิกชนชาวโครินธ์กลับใจ :

9 แต่บัดนี้ข้าพเจ้ามีความชื่นชมยินดี มิใช่เพราะท่านเสียใจ แต่เพราะความเสียใจนั้น ทำให้ท่านกลับใจใหม่ เพราะว่าท่านได้รับความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้า ท่านจึงไม่ได้ผลร้ายจากเราเลย 10 เพราะว่าความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้า ย่อมกระทำให้กลับใจใหม่ ซึ่งนำไปถึงความรอดและไม่เป็นที่น่าเสียใจ แต่ความ เสียใจอย่างโลกนั้นย่อมนำไปถึงความตาย (2 โครินธ์ 7:9-10)

ในพระธรรมวิวรณ์ จดหมายที่มีไปถึงคริสตจักรทั้งเจ็ดในเอเซีย มีเรื่องราวเรียกร้องให้กลับใจ :

'5 เหตุฉะนั้นจงระลึกถึงสภาพเดิมที่เจ้าได้หล่นจากมาแล้วนั้น จงกลับใจเสียใหม่ และประพฤติตามอย่างเดิม มิฉะนั้นเราจะมาหาเจ้า และจะยกคันประทีปของเจ้า ออกจากที่ เว้นไว้แต่เจ้าจะกลับใจใหม่ (วิวรณ์ 2:5)

"เหตุฉะนั้นจงกลับใจเสียใหม่ มิฉะนั้นเราจะรีบมาหาเจ้าและจะสู้กับเขาเหล่านั้น ด้วยดาบแห่งปากของเรา" (วิวรณ์ 2:16)

"เหตุฉะนั้นเจ้าจงระลึกว่าเจ้าได้รับและได้ยินอะไร จงกระทำตามและกลับใจเสียใหม่ ถ้าเจ้าไม่เฝ้าระวัง เราจะมาหาเจ้าเหมือนอย่างขโมย และเจ้าจะไม่รู้ว่าเราจะมาหาเจ้า
เมื่อไร" (วิวรณ์ 3:3)

"เรารักผู้ใดเราก็ตักเตือนและตีสอนผู้นั้น เหตุฉะนั้นจงมีความกระตือรือร้น และ กลับใจ เสียใหม่" (วิวรณ์ 3:19)

การกลับใจหรือสำนึกบาป เป็นคำที่ไม่ค่อย "ซึม" เข้าไป และไม่ค่อยมีใครอยากปฏิบัตินัก ผมเชื่อว่ามันต้อง เริ่มจากการเข้าให้ถึงความบริสุทธิ์ของพระเจ้าให้ได้ก่อน และตระหนักถึงความร้ายแรงใหญ่หลวงในบาปของ เรา เป็นการนำไปสู่การมองชีวิตในรูปแบบใหม่ ในแบบสายพระเนตรของพระเจ้า ตามที่มีอยู่ในพระวจนะคำ เป็นความรู้สึกรังเกียจต่อบาปอย่างฉับพลัน ทำให้ตั้งใจจะไม่กลับไปทำอีก และสัมผัสได้ถึงการทรงสถิตอยู่ ของพระเจ้า ปิติยินดีในการช่วยกู้ และปรารถนาอยากช่วยผู้อื่นให้หลุดพ้นจากบาป

ความเห็นของผม สิ่งที่ก่อให้เกิดการฟื้นฟูอย่างแท้จริง คือการกลับใจแท้จริง ความสัมพันธ์ที่ดูเหมือนแตก ร้าว จะสมานกันขึ้นมาใหม่ ชีวิตแต่งงานที่ซังกะตายหรือรอคอยเวลา จะพลิกฟื้นขึ้นใหม่ รักที่หายไปจะกลับ คืนมาอีกครั้ง พันธนาการของความบาปที่นำไปสู่ประพฤติกรรมที่หันเหและหลงวนเวียนอยู่ในความบาป จะถูก ตัดลง มันน่าเศร้าที่ในยุคแห่งการบำบัดโรคนี้ เราใช้คำพูดเชิงจิตวิทยามาอธิบายถึงปัญหาด้านจิตวิญญาณ ทั้งๆที่พระคัมภีร์มีคำอธิบายและวิธีการแก้ใขพร้อมสรรพ เรากลับเชื่อกันว่า หลายๆปัญหาด้านจิตวิญญาณ ไม่มีทางแก้ใข ไม่มีทางเปลี่ยนได้ ต้องใช้เวลาเป็นปีในการบำบัด และถ้าทำได้ การเปลี่ยนแปลงจะเป็นเพียง เล็กน้อยเท่านั้น นี่เป็นการตอบสนองคนละอย่างกับที่พระคัมภีร์พูดถึงเรื่องการกลับใจจากความบาป การกลับ ใจที่แท้จริงจะเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก่อนอื่นเราต้องกลับไปที่พระวจนะคำ เราต้องเรียกความ บาปตามชื่อจริงของมันในพระคัมภีร์ และเราต้องให้ผู้คนตอบสนองตามแบบในพระคัมภีร์ -- การกลับใจ และ ความเชื่อ

เมื่อมีการกลับใจแท้จริงเกิดขึ้น ผมเชื่อว่าเราจะเห็นชัดเจน บทเรียนของเราไม่เพียงอธิบายถึงการกลับใจ ในเรื่องของบาปเท่านั้น แต่อธิบายถึงการกลับใจอย่างแท้จริง ซึ่งคนอื่นๆจะสัมผัสได้ และเมื่อมีการกลับใจ เกิดขึ้น เรามีหน้าที่ต้องให้อภัย และรับผู้นั้นกลับเข้ามามีสามัคคีธรรมอีกครั้ง มีคริสตจักรหลายแห่งที่ไม่ค่อย นำวินัยของคริสตจักรมาใช้นัก ไม่มีการเรียกให้กลับใจ แต่สำหรับคริสตจักรที่ทำ ต้องมีความพร้อม และเต็มใจ ที่จะยอมรับการกลับใจอย่างแท้จริง และต้อนรับคนบาปที่หลงหาย ให้กลับมาสู่การสามัคคีธรรมอีกครั้ง

ผมไม่อยากจะเป็นเหมือนเพื่อนๆของโยบ เรียกร้องให้มีการกลับใจอย่างไม่เหมาะสม ไม่ใช่ทุกการทดลอง หรือความทุกข์ยากเป็นผลมาจากความบาปของเรา แต่มีบางครั้งที่พระเจ้าอนุญาติให้เราถูกทดลอง เพื่อเรา จะเห็นถึงความบาปของเรา และเรียกให้เรากลับใจ ในเวลาเช่นนั้น ขอให้เรามีความใวต่อความบาปของเรา ให้เราสารภาพบาป ละทิ้งมันไปเสีย ให้เรามองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง และสรรเสริญในพระคุณแห่งความรอด และการได้กลับมามีสามัคคีธรรมกับพระองค์อีก


45 อาหารดีเยี่ยมจนผมไม่กล้าเล่าให้ภรรยาฟังว่าผมกินอาหารกลางวันอะไรบ้าง ถึงกระนั้น ยังมีพวกนักโทษ บ่นว่าสเต็กรสชาติยังไม่่ถูกใจ

46 น่าสนใจนะครับที่ซาอูลไม่ได้เอ่ยถึงกษัตริย์อากักเลย ท่านอาจจะรู้สึกว่าประชาชนอยากให้เก็บสัตว์บาง ตัวไว้เป็นของริบ แต่ใครเล่าในท่ามกลางประชาชนจะกล้าไปขอให้ซาอูลไว้ชีวิตกษัตริย์อากัก? ความคิดผุด ขึ้นมาครับ ว่าอากักเป็นเหมือนถ้วยรางวัลส่วนตัวของซาอูล ท่านวางแผนจะเก็บเอาไว้สนองความต้องการของ ตัวเอง ดังนั้นในคำแก้ตัวของท่านที่มีต่อซามูเอล ท่านจึงไม่เอ่ยชื่ออากักแม้สักนิดเดียว เพราะหาข้ออ้างไม่ได้ ที่จะไว้ชีวิตอากักคนนี้

47 โยเซฟได้สำนึกแล้วว่าพระเจ้าทรงยกท่านให้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ เพื่อท่านจะเข้าใจได้ ว่าความ ชั่วร้ายที่พี่ชายได้ทำกับท่านนั้น พระเจ้าทรงใช้ให้เกิดการดีทั้งสิ้น (ดูปฐมกาล 41:51-52; 50:20) เมื่อ ท่านห็นพวกพี่ชาย ท่านก็จำความฝันได้ และเข้าใจได้ว่า ที่ท่านได้ในตำแหน่งที่มีอำนาจเช่นนี้ มาก็เพื่อจะช่วยบรรดาพี่ ชาย and now understood that his position of power was given him so that he could minister to his brothers through this authority (Genesis 42:9).

48 มีคนสงสัยว่าชีเมอีกลับใจแน่หรือ แต่สำหรับดาวิดท่านรับการสารภาพจากชีเมอีตามที่ท่านมองเห็น

49 โดย D. Stuart Briscoe จากหนังสือ A Heart for God (Nashville: Thomas Nelson Publishers, 1984)หน้า 141.

50 ในพระธรรมเอสเธอร์ 8:10 มีการใช้คำกิริยาแบบเดียวกับใน 2 ซามูเอล 3:10 ที่ผมต้องการชี้ให้เห็นคือ คำกิริยาที่สื่อความหมายเดียวกันในทั้งสองตอนนี้ เกี่ยวข้องกับการ "ย้ายออกไป"

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 14: อับซาโลม (2 ซามูเอล 13:13-37--15:12)

คำนำ

บรรดาคนที่เคยสูญเสียบุตร คงรู้ดีถึงความทุกข์สาหัสที่ได้รับ เมื่อเด็กตาย เป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวด แต่ ยังมีอย่างอื่นอีก -- ที่เจ็บปวดยิ่งกว่า -- วิธีที่ต้องเสียเด็กไป ดาวิดทนทุกข์ต่อการสูญเสียมากมายในครอบ ครัว โดยเฉพาะลูกๆ ดาวิดสูญเสียลูกคนแรกที่เกิดกับบัทเชบา ภรรยาม่ายของอุรียาห์ (บทที่ 12) ต่อมา ทามาร์ลูกสาวของท่าน เสียพรหมจรรย์เพราะถูกข่มขืน ถูกข่มขืนโดยพี่ชายร่วมบิดาเดียวกัน คืออัมโนน ดาวิดสูญเสียอัมโนน เพราะอับซาโลมต้องการแก้แค้นแทนน้องสาวที่ถูกข่มขืน ดูเหมือนการสูญเสียที่เจ็บปวด ที่สุดคือสูญเสียอัมโนน และที่สุด ดาวิดต้อง "สูญเสีย" อับซาโลมไป โดยฝีมือของโยอาบและพวกข้าราชการ แต่ดาวิด "สูญเสีย" อับซาโลมไปนานแล้วก่อนหน้านี้ ท่านเสียเขาไปตั้งแต่เมื่อเขาฆ่าพี่ชาย อัมโนน และ หลบหนีไปยังเกชูร์ ที่คุณปู่ให้ลี้ภัย ทัลมัยิิ กษัตริย์ของเกชูร์ และเป็นบิดาของมาอาคาห์ผู้เป็นแม่ (2 ซามูเอล 3:3) การสูญเสียยังไม่จบลง ถึงแม้อับซาโลมได้รับอณุญาติให้คืนกลับเยรูซาเล็มแล้วก็ตาม ได้รับอณุญาติ ให้เข้าเฝ้า การสูญเสียเช่นนี้เป็นความเจ็บปวดยิ่งของผู้เป็นพ่อแม่ ; ที่ผมพูดเช่นนี้ เพราะผมรู้ ว่ามีหลายคน ที่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้

ผมแน่ใจว่าคนที่เคยมีประสบการณ์การสูญเสียเช่นนี้ จะมีประสบการณ์ของความรู็สึกผิดควบคู่มาด้วย ถ้าดู เผินๆ บทเรียนตอนนี้ดูจะตอกย้ำความรู้สึกผิดเข้าไปอีก ใช่หรือไม่ ที่ดาวิดเป็นต้นตอของความเจ็บปวดทั้ง ปวง? ดาวิดต้องสูญเสียอับซาโลมไป เกิดจากการอบรมไม่ดีพอหรือเปล่า? หรือดาวิดรู้เรื่องทามาร์ถูก ข่มขืนดี ถึงท่านจะกริ้ว แต่ก็ไม่ได้คิดจะแก้ใข? ไม่ใช่ดาวิดหรอกหรือ ที่ยอมให้อับซาโลมลี้ภัยอยู่ในเกชูร์ และรีรอเล็กน้อยก่อนยอมให้กลับมา ไม่ยอมเห็นหน้า จนเมื่อถูกกดดันจึงจำยอม? อับซาโลมเป็นผลผลิตของ บ้านที่มีปัญหาหรือเปล่า?

ผมต้องขอสารภาพว่า ผมคิดอย่างนี้จริงในตอนแรก ผมกำลังจะชี้ให้เห็นความล้มเหลวของดาวิดในฐานะพ่อ และความล้มเหลวนี้ เป็นตัวการนำไปสู่ความตกต่ำจนทำให้ชีวิตของอับซาโลมต้องสิ้นลง แต่ตอนนี้ผมไม่ได้ เห็นเช่นนั้นแล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะดาวิดไม่มีบาปหรือไม่เคยล้มเหลว แต่มันชัดเจนว่า ที่อับซาโลมตกต่ำลง จนถึงขีดสุดนั้น เป็นเพราะความบาปของเขาเอง เป็นสิ่งที่เขาเลือกเอง ในท่ามกลางความเจ็บปวด ความ ทุกข์ที่ต้อง "สูญเสีย" อับซาโลมไป ผมเชื่อว่าพระเจ้าทรงทำงานในจิตใจของดาวิด ดึงท่านให้เข้าใกล้ พระองค์ยิ่งขึ้น ทำให้ท่านเป็นยิ่งกว่าบุรุษที่ทำตามพระทัยจนสุดใจ เรื่องนี้เต็มไปด้วยความลึกลับ และนำมา ซึ่งความทุกข์อันใหญ่หลวง แต่ขณะเดียวกัน นำมาซึ่งการประโลมใจ และความมั่นใจในพระคำของพระเจ้า ที่ถูกถ่ายทอดมาในเนื้อหาของเรื่อง

ปูมหลัง

เรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่เรากำลังจะศึกษาอยู่นี้ ใน 1 ซามูเอลบทที่ 8 พวกผู้ใหญ่ของอิสราเอล ไปหา ซามูเอล เรียกร้องขอมีกษัตริย์มาปกครอง สิ่งนี้ทำให้ทั้งพระเจ้าและซามูเอลไม่พอใจ เพราะจิตใจของ พวกเขาไม่ถูกต้องในสายพระเนตร พระเจ้าทรงสั่งให้ซามูเอล มาเตือนประชาชน ถึงราคาแพงของการมี กษัตริย์ (บทที่ 8) ต่อมา ซามูเอลได้ตำหนิประชาชนในความบาปของพวกเขา ตักเตือนพวกเขาถึงความสัตย์ ซื่อในพันธสัญญาของพระเจ้า ที่จะนำพวกเขาไปสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา และเข้าครอบครอง (บทที่ 12) พระเจ้าแสดงชัดเจน ผ่านซามูเอล ว่ากษัตริย์จะไม่ และไม่สามารถช่วยกู้พวกเขาได้ เป็นพระเจ้าเองที่ ทรงกู้ประชากรของพระองค์ และพระองค์จะทรงทำต่อไป ถ้าทั้งประชาชนและกษัตริย์จะวางใจ และเชื่อฟัง พระองค์ พระเจ้าจะทรงช่วยกู้ต่อไป และจะอำนวยพระพรให้ แต่ถ้าไม่ "ท่านจะต้องพินาศ ทั้งตัวท่าน ทั้งหลายเอง และ พระราชาของท่านด้วย" (1 ซามูเอล 12:25ข)

พระเจ้าทรงเลือกและแต่งตั้งซาอูลให้เป็นกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอล โดยรวมๆแล้ว ท่านทำหน้าที่ได้ดี พอควร (1 ซามูเอล 14:47-48) บางกรณีดีกว่าดาวิดเสียอีก เท่าที่เรารู้ ท่านไม่ได้มีภรรยามากมาย สะสมม้า หรือมัวแต่แสวงหาความมั่งคั่ง (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 17:14-20) ไม่มีประวัติว่าท่านล่วงประเวณีเหมือนอย่าง ดาวิด ท่านปราบศัตรูของอิสราเอลลงมากมาย บาปที่ร้ายแรงที่สุดของท่านคือ ดื้อดึงต่อพระเจ้า ครั้งแรกท่าน ไม่ยอมรอให้ซามูเอลมาทำการถวายเครื่องเผาบูชา (1 ซามูเอล 13) ต่อมาไม่ยอมกำจัดชาวอามาเลขให้หมด สิ้นตามคำสั่งของพระเจ้า (1 ซามูเอล 15) แล้วท่านยังไปปรึกษาคนทรงแทนที่จะปรึกษาพระเจ้า (1 ซามูเอล 28)

ดาวิดเป็นกษัตรยิ์ผู้ยิ่งใหญ่ และทำตามพระทัยพระเจ้าจนสุดใจ บาปที่ร้ายแรงที่สุดของท่านคือเรื่องอุรียาห์ และบัทเชบาผู้เป็นภรรยา ถึงแม้จะเป็นกรณียกเว้น แต่ก็เป็นบาปที่ตรึงแน่นอยู่ในความทรงจำ (1 พกษ. 15:5) กุญแจที่จะใขเข้าไปสู่ความเข้าใจในเรื่องนี้ อยู่ในคำพยากรณ์ที่นาธันมีต่อดาวิด :

7 นาธันจึงทูลดาวิดว่า "ฝ่าพระบาทนั่นแหละคือชายคนนั้น พระเยโฮวาห์พระเจ้า แห่งอิสราเอลตรัสดังนี้ว่า 'เราได้เจิมตั้งเจ้าไว้ให้เป็นกษัตริย์เหนืออิสราเอล และ
เรา ช่วยกู้เจ้าออกมาจากมือของซาอูล 8 และเราได้มอบวงศ์เจ้านายของเจ้าไว้ใน
มือของเจ้า และได้มอบภรรยาเจ้านายของเจ้าไว้ในอกของเจ้า และมอบวงศ์วาน อิสราเอลและวงศ์วานยูดาห์ให้แก่เจ้า ถ้าเท่านี้ยังน้อยไป เราจะเพิ่มให้อีกเท่านี้
9 ทำไมเจ้าดูหมิ่นพระวจนะของพระเจ้า กระทำสิ่งที่ชั่วในสายพระเนตรของพระองค์ เจ้าได้ฆ่าอุรีอาห์คนฮิตไทต์เสียด้วยดาบ เอาภรรยาของเขามาเป็นภรรยาของตน และได้ฆ่าเขาเสียด้วยดาบของคนอัมโมน 10 เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่คลาดไป
จากราชวงศ์ของ เจ้าเพราะเจ้าได้ดูหมิ่นเรา เอาภรรยาของอุรีอาห์คนฮิตไทต์มา
เป็นภรรยาของเจ้า' 11 พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'ดูเถิด เราจะให้เหตุร้ายบังเกิดขึ้นกับเจ้า จากครัวเรือนของเจ้าเอง และเราจะเอาภรรยาของเจ้าไปต่อหน้าต่อตาเจ้า ยกไป ให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้า ผู้นั้นจะนอนร่วมกับภรรยาของเจ้าอย่างเปิดเผย 12 เพราะ เจ้าทำการนั้นอย่างลับๆ แต่เราจะกระทำการนี้ต่อหน้า อิสราเอลทั้งสิ้นและอย่าง
เปิดเผย'" (2 ซามูเอล 12:7-12)

อำนาจบารมี ความมั่งคั่ง และเกียรติยศทั้งสิ้นของดาวิด พระเจ้าเป็นผู้ประทานให้ ความสำเร็จทั้งสิ้นของดาวิด ไม่ได้อยู่ในความยิ่งใหญ่ของท่าน แต่เป็นมาโดยพระคุณพระเจ้า พระเจ้าบอกกับดาวิดว่า ท่านจะทูลขอสิ่งใด พระองค์จะประทานให้ " เราจะเพิ่มให้อีกเท่านี้" ดาวิดต้องการมากกว่านั้น แต่แทนที่จะเชื่อฟังและขอต่อ พระองค์ ท่านกลับไปแย่งบัทเชบา ภรรยาของอุรียาห์มา และฆ่าอุรียาห์ทิ้งเสีย พระเจ้าทรงพระกรุณาคุณ ใน การที่ทรง "นำบาปของดาวิดไปเสีย" ท่านจะได้ไม่ตายตามธรรมบัญญัติ ถึงกระนั้น ยังมีผลบาปที่ต้องชดใช้ เรื่องแรกคือการตายของเด็กที่เกิดกับบัทเชบา (2 ซามูเอล 12:14-23) เรื่องที่สองคือ ทามาร์ถูกข่มขืน โดย พี่ชาย (พี่ชายคนละแม่ อัมโนน 2 ซามูเอล 13:1-19) ต่อมา คือการตายของอัมโนน โดยฝีมือ (ถ้าจะให้ถูก โดยคำสั่ง) ของอับซาโลม ผู้เป็นบุตรของดาวิดและพี่ชายของทามาร์ (2 ซามูเอล 13:20-36) ผลทำให้ดาิวิด ต้องสูญเสียอับซาโลม บุตรชายไปอีกคน ที่หนีไปลี้ภัยอยู่ในเมืองเกชูร์ ดินแดนที่คุณตาของเขา ทัลมัยิเป็น คนปกครองอยู่ (2 ซามูเอล 13:37) อับซาโลมยังไม่ได้ตายในตอนนั้น แต่ดาวิดก็สูญเสียลูกไปแล้ว และคง จะเป็นไปจนกระทั้ง เขาได้ตายลงจริงๆโดยเงื้อมมือของโยอาบ (2 ซามูเอล 18)

เนื้อหาตอนนี้ เราจะมุ่งไปที่เรื่องของอับซาโลม ความเป็นตัวตนของเขา และการกบฎต่อบิดา และการที่พระ เจ้าใช้อับซาโลมมาลงวินัยดาวิด เพื่อดึงท่านให้เข้าใกล้ชิดพระองค์ ก่อนที่จะเรียนต่อ เราต้องย้อนไปบทที่ 13 ที่พูดถึงอับซาโลมเป็นครั้งแรก

อับซาโลม อัมโนน ดาวิด และการข่มขืนทามาร์
(13:1-36)

เราเรียนเรื่องนี้มาในบทที่แล้ว ผมจะไม่พูดในรายละเอียดอีก ที่ผมอยากให้เห็นในตอนนี้คือ แววส่อกบฎของ อับซาโลมที่เริ่มออก (ต่อพระเจ้า และต่อดาวิด) รวมทั้งรอยร้าวในสัมพันธภาพระหว่างพ่อกับลูก

เรารู้ว่าอัมโนน โดยการช่วยเหลือของโยนาดับ ทำสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในครอบครัว โดยเฉพาะกับน้องสาวของ ตนเอง เขาหลอกลวงบิดา เพื่อให้ท่านออกคำสั่งให้ทามาร์ไปหาถึงที่บ้าน เพื่อ "ไปปรุงอาหาร" ให้ถึงในห้อง นอน เขาข่มขืนน้องสาวตัวเอง และปฏิเสธไม่ยอมให้เกียรติแต่งงานกับเธอ อัมโนนไม่มช่คนเดียวที่หลอกลวง บิดา อับซาโลมทำในสิ่งเดียวกันด้วย

ผมรู้สึกไม่สบายใจ พออ่านมาถึงประโยคนี้:
21 เมื่อกษัตริย์ดาวิดทรงทราบเรื่องเหล่านี้ทั้งสิ้น พระองค์ก็กริ้วยิ่งนัก
(2 ซามูเอล 13:21)

ผมนึกไม่ออก ว่าดาวิดโกรธอัมโนนมาก แต่กลับไม่ทำอะไรเลย แต่ตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจ จากคำพูดในข้อ 21 เรื่องบาปของอัมโนน ตามด้วยสิ่งที่อับซาโลมทำ :

20 อับซาโลมเชษฐาของเธอก็กล่าวกับเธอว่า "อัมโนนเชษฐาได้อยู่กับน้องหรือ
น้องเอ๋ย นิ่งเสีย เพราะเขาเป็นพี่ อย่าร้อนใจเพราะเรื่องนี้เลย" ฝ่ายทามาร์ก็อยู่ เปล่าเปลี่ยวในวังของอับซาโลมเชษฐา (2 ซามูเอล 13:20)

ให้หยุดคิดชั่วครู่ ถึงแบบฉบับของความยุติธรรมในพระคัมภีร์ ในกรณีที่ทามาร์ถูกข่มขืน เราอาจจะคิดว่า อัมโนน เช่นเดียวกับบิดา ดาวิด สมควรถูกลงโทษถึงตาย แต่ไม่ใช่ เพราะดาวิดทำบาปล่วงประเวณี กับ หญิงที่มีสามีแล้ว ; อัมโนนข่มขืนหญิงพรหมจารี กฎหมายพูดถึงบทลงโทษในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน :

16 "ถ้าผู้ใดล่อลวงหญิง พรหมจารีที่ยังไม่มีคู่หมั้นและนอนร่วมกับหญิงนั้น ผู้นั้นจะต้องเสียเงินสินสอด และต้องรับหญิงนั้นเป็นภรรยาของตน 17 ถ้า
บิดาไม่ยอมอย่างเด็ดขาด ที่จะยกหญิงนั้นให้เป็นภรรยา เขาก็ต้องเสียเงิน เท่าสินสอดตามธรรมเนียมสู่ขอหญิง พรหมจารีนั้นดุจกัน" (อพยพ 22:16-17)
28 "ถ้าชายคนหนึ่งพบหญิงพรหมจารียังไม่มีคนหมั้น เขาจึงจับตัวเธอและ
ได้ร่วมกับเธอ มีผู้รู้เห็น 29 ชายผู้ที่ได้ร่วมกับเธอนั้นจะต้องมอบเงิน ห้าสิบ เชเขลให้แก่บิดาของหญิงสาวคนนั้น และให้หญิงนั้นตกเป็นภรรยาของผู้ชาย
คนนั้น เพราะเขาได้ทำให้เธอได้รับความอาย และเขาจะหย่าร้างเธอไม่ได้
ตลอดชีวิต" (เฉลยธรรมบัญญัติ 22:28-29)

ทามาร์ขอร้องอัมโนนให้ไปขอกับดาวิดให้เธอเป็นภรรยา แต่อัมโนนปฏิเสธ อย่างน้อย อัมโนนน่าจะแต่งงาน กับทามาร์ หลังจากที่ข่มขืนเธอแล้ว นี่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกเสียจากดาวิดจะไม่ยินยอม 71 เราคงสงสัยว่าทำไม? ทำไมอัมโนนถึงไม่แต่งงานกับทามาร์? เราเห็นชัดว่า เขาไม่อยากมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ทามาร์อีกต่อไป แต่ก็ไม่เป็นเหตุพอที่จะหลีกเลี่ยงการแต่งงาน เพราะอัมโนนคงไม่มีทางเลือก คนที่ทำให้ อัมโนนไม่อาจแต่งงานกับทามาร์ได้ น่าจะเป็นฝีมือของอับซาโลม พี่ชายแท้ๆของทามาร์เอง

ผมเห็นชัดเจนจากพระคัมภีร์ ว่าอับซาโลมมีวิธีการแก้แค้นในแบบที่แตกต่างออกไป :

32 แต่โยนาดับบุตรชิเมอาห์เชษฐาของดาวิดกราบทูลว่า "ขออย่าให้เจ้านายของ ข้าพระบาทสำคัญผิดไปว่า เขาได้ประหารราชโอรสหนุ่มแน่นเหล่านั้นหมดแล้ว เพราะว่าอัมโนนสิ้นชีวิตแต่ผู้เดียว เพราะตามบัญชาของอับซาโลม เรื่องนี้ท่านตั้ง
ใจไว้แต่ครั้งที่ อัมโนนข่มขืนทามาร์น้องหญิงของท่านแล้ว (13:32)

อับซาโลมเกลียดชังอัมโนน พี่ชายต่างมารดาคนนี้ยิ่งนัก ในสิ่งที่เขาทำกับทามาร์น้องสาว เขามีความตั้งใจ จะไม่ปล่อยให้คนๆนี้ลอยนวลไปได้ง่ายตามที่กฎบัญญัติ นับแต่วันที่ทามาร์ถูกข่มขืน อับซาโลมมุ่งหวังที่จะ ฆ่าอัมโนน เพียงแต่รอเวลาและจังหวะเท่านั้น ดังนั้นอับซาโลมจึงทำตามที่บันทึกไว้ในข้อ 20 เขาบอกให้ น้องสาวเงียบไว้ และเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับภายในครอบครัว คือไม่ให้ทามาร์กล่าวหาอัมโนน ถ้าเป็น ภาษากฎหมายสมัยนี้ เธอต้องไม่ฟ้องร้องเอาเรื่อง ต้องละเรื่องนี้ไว้ให้อับซาโลมจัดการ อีกอย่าง อับซาโลมให้เธอเข้าไปอาศัยอยู่ในวังของเขา และต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวไปจนวันตาย 72

การกระทำของอับซาโลม เป็นเหมือนปูทางให้ตนเองก้าวไปสู่การฆ่าอัมโนน เขาไม่ยอมให้ทามาร์ ได้ แต่งงานและมีบุตร เขาทำให้ดาิวิด ไม่สามารถทำตามธรรมบัญญัติของโมเสสได้ แน่นอนดาวิดต้องกริ้วมาก เมื่อได้ยินเรื่องทั้งหมดนี้ ท่านโกรธเพราะท่านถูกมัดมือชก ไม่สามารถลงไปจัดการเรื่องนี้ได้ การข่มขืน ทามาร์จึงเป็นเพียงเรื่องข่าวลือ ท่านถูกอับซาโลมมัดไว้ ผมเชื่อว่า ดาวิดไม่เพียงแต่กริ้วในสิ่งที่อัมโนนทำ แต่ในสิ่งที่อับซาโลมทำด้วย

สิ่งที่อับซาโลมทำยังไม่จบลงเพียงแค่นี้ สองปีผ่านไป โอกาสก็ตกเป็นของอับซาโลม ที่จะเอาชีวิตอัมโนน เขาทำโดยใ้ห้ดาวิดต้องตกเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย (ถึงแม้จะไม่อยากทำ -- เพราะท่านเริ่มได้กลิ่นไม่ค่อยดี กับคำขอของอับซาโลม แต่ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร) เช่นเดียวกับที่อัมโนนหลอกดาวิด ให้ส่งทามาร์ไปให้ถึง ที่บ้าน อับซาโลมก็หลอกให้ดาวิดส่งอัมโนนไปให้ถึงที่บ้านไร่ด้วย

อับซาโลม โยอาบ หญิงชาวเทโคอา
และการคืนสู่เหย้าของอับซาโลม
(13:37--14:33)

อย่างที่เราคาดกัน ดาวิดโศกเศร้ามากต่อการตายของอัมโนน แต่เมื่ออัมโนนตายไปแล้ว ท่านจำต้องดำเนิน ชีวิตต่อไป อย่างที่ผู้เขียนกล่าว ดาวิด "ค่อยคลายความคิดถึงลง เพราะอัมโนนสิ้นชีพแล้ว" (13:39) อัมโนนบุตรของดาวิดตายไปแล้ว ; อับซาโลมบุตรอีกคนยังมีชีวิตอยู่ แต่หลบซ่อนตัวลี้ภัยอยู่ในดินแดนเกชูร์ ที่ปู่เป็นผู้ปกครองอยู่ ทัลมัยิ (ดู 2 ซามูเอล 3:3) ดาวิดรักอับซาโลมมาก และหวังอยากพบหน้า (ท่านรู้ว่า อับซาโลมมาหาท่านไม่ได้ เพราะเป็นอาชญากรต้องโทษที่หลบหนี จะถูกประหารชีวิตถ้ากลับเข้ามาใน แผ่นดินอิสราเอล)

โยอาบดูจะรู้ใจดาวิดดี จึงวางแผนที่จะนำอับซาโลมกลับคืนสู่อิสราเอล ผมคงพูดไม่ได้เต็มปาก ว่าโยอาบ บริสุทธิ์ใจ แต่เขาคงเป็นเหมือนอับซาโลม คือพวกชอบขัดขวางขบวนการยุติธรรม หลังจากที่อ่านพระธรรม ตอนนี้ ทำให้อยากสรุปว่า แผนการของโยอาบดูไม่โปร่งใสเท่าที่ควร จึงขอเริ่มต้นด้วยการให้เหตุผลตามข้อ สรุปของผม

ถึงแม้จะดูดีถ้ามองเผินๆ ตาม "เรื่อง" ที่หญิงชาวเทโคอาเล่า แต่เป็นคนละเรื่องกับที่นาธันเล่าให้ดาวิดฟัง จนนำไปสู่การกลับใจ นาธันเป็นผู้เผยพระวจนะ ; แต่หญิงจากเทโคอาคนนี้ไม่ใช่ พระเจ้าส่งนาธันมาพบ ดาวิด ; โยอาบเป็นผู้ส่งหญิงคนนี้มาพบดาวิด หญิงคนนี้ดูออกจะกลัวโยอาบ ไม่ค่อยอยากทำตามสักเท่าไร ; แต่นาธันมาพบดาวิดเป็นการส่วนตัว เรื่องที่หญิงคนนี้เล่าไม่ได้เป็นเรื่องจริง ; เรื่องของนาธัน ถึงแม้จะแต่งขึ้น แต่ก็ถูกต้องและชี้ชัดต่อความบาปของดาวิด นาธันจบเรื่องลงที่ข้อกล่าวหา "ฝ่าพระบาท นั่นแหละ คือชาย คนนั้น" เรื่องของหญิงม่าย ไม่มีข้อกล่าวหาเรื่องความบาปของดาวิด ไม่มีข้อมูลสนับสนุน เมื่อนาธันพูดถึง บาปของดาวิด ดาวิดยอมรับด้วยความจริงใจ ; เมื่อเรื่องของหญิงม่ายจบลงที่แผนของโยอาบ ดาวิดรีรอ ไม่ยอมให้ตามคำขอร้อง โยอาบรู้สึกว่าตนเองมีบุญคุณอย่างเหลือล้นต่อดาวิด ทำความดีความชอบให้ กับดาวิด แทนที่จะคิดว่าตนเองตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า

ดาวิดถูก ที่รู้สึก "ไม่ชอบมาพากล" เมื่อเรื่องที่หญิงเทโคอาเล่าจบลง และที่ "ไม่ชอบมาพากล" นั้นคือโยอาบ ความแตกเมื่อดาวิดคาดคั้นเอาความจริง (ว่าโยอาบอยู่เบื้องหลัง) นางบอกว่าเป็นความคิดของโยอาบ นาง ไม่ได้อยากทำ นางรู้สึกโล่งใจที่ความจริงเปิดเผยออกมา นางบอกดาวิดว่า โยอาบเตรียมการทุกอย่าง เพื่อ "เปลี่ยนโฉมหน้าของเหตุการณ์" (ข้อ 20) ฟังๆดูเหมือนนางพูดทำนองว่า "ดิฉันทำตามคำสั่งของโยอาบ เพื่อพระองค์จะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง"

การกระทำต่อๆมาของโยอาบ (ไม่นับเรื่องก่อนหน้านี้ เช่นที่ฆ่าอับเนอร์) ดูจะมีสิ่งซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่ตลอด จุดอ่อนของดาวิดคือท่านรักอับซาโลม ซึ่งโยอาบใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง ถ้าอับซา โลมลุกขึ้นมากบฎต่อดาวิด เราคงเห็นโยอาบวางมาดเฉย อับซาโลมตั้งอามาสาให้เป็นผู้คุมกองทัพอิสราเอล (กองทัพที่ทหารมาเข้าพวกกับอับซาโลม) เมื่อดาวิดต่อสู้อับซาโลมและกองทัพของเขา โยอาบไม่ได้เป็นผู้ คุมกองทัพทั้งหมดของดาวิด เขาได้คุมแค่หนึ่งในสามเท่านั้น (2 ซามูเอล 18:2) และโยอาบ แน่นอนเป็นผู้ฆ่า อัับซาโลม ถึงแม้ดาวิดจะสั่งให้ "เบาๆมือกับเขาหน่อย" (18:5, 11-15) เมื่อดาวิดชิงบัลลังก์กลับคืนมาได้ ท่านตั้งอามาสาขึ้นแทนโยอาบ (19:13) แต่ในที่สุดก็ถูกโยอาบฆ่าตาย ด้วยน้ำมือของอาบีชัย น้องชาย (20:8-10) ต่อมาเมื่อดาวิดชราภาพลง และอาโดนียาห์หวังจะขึ้นครองแทน ตัดหน้าซาโลมอน ปรากฎว่า โยอาบไปเข้าพวกด้วย ทำให้เขาต้องตายลงในที่สุด (1 พกษ. 2:28-33)

อับซาโลม เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าคนตาย ลี้ภัยไปอยู่กับคุณปู่ที่เมืองเกชูร์ ดาวิดไม่ผิดที่ยังรักบุตรคนนี้อยู่ และหวังจะได้พบกับเขาอีก แต่คงเป็นการไม่ถูกต้อง ที่ดาวิดจะให้อภัย แล้วอนุญาติให้กลับบ้านมาเหมือนเดิม ถ้าจะไปหาที่เกชูร์ยิ่งไม่สมควรเข้าไปใหญ่ ด้วยอุบายที่หลอกลวง โยอาบใช้เรื่องนี้เป็นบันได แสวงหาผล ประโยชน์เข้าตัว หลอกบังคับให้ดาวิดต้องยอม ให้อับซาโลมกลับคืนสู่อิสราเอล

หญิงจากเทโคอามาหาดาวิด มาขอความช่วยเหลือ เมื่อดาวิดถามถึงปัญหา นางจึงเล่าให้ฟัง สังเกตุดูนะครับ ฟังทั้งสองโต้ตอบกันเหมือนกับดูแข่งเทนนิส ทุกครั้งที่ผู้หญิงคนนี้ "เสริฟ" ดาวิดด้วยคำขอร้อง ดาวิดก็จะตอบ แล้วนางก็จะมีเรื่องขอ โต้กลับมา จนกระทั่งได้รับคำยินยอมจากดาวิด จนเป็นที่พอใจ นางจึงนำเรื่องนี้มาใช้กับ สถานการณ์ของดาวิด กับเรื่องอับซาโลมผู้เป็นบุตร

คำขอร้องแรกของหญิงคนนี้ "ดิฉันเป็นหญิงม่าย มีบุตรชายสองคน บุตรทั้งสองไปต่อสู้กันในทุ่งนา และ ไม่มีใครห้ามปราม"73 เลยทำให้บุตรคนหนึ่งต้องถูกอีกคนฆ่าตาย ไม่มีใครเข้าไปยับยั้ง และไม่มีใครเห็น เป็นพยานด้วย อาจเป็นการป้องกันตัวก็เป็นได้ ใครจะไปคิดว่าเป็นการฆ่าโดยเจตนา (เตรียมการมาก่อน) ถ้าเรื่องนี้ต้องไปตัดสินกันที่ประตูเมือง คงไม่มีใครกล้าส่งมอบบุตรที่รอดชีวิต ไปให้พวกแค้นเคืองจัดการ

คำตอบของดาวิด: "ทำไมเจ้าไม่กลับไปบ้าน ขอเวลาให้เราคิดสักหน่อย? แล้วจะแจ้งให้ทราบ"

หญิงคนนี้พยายามต่อ "ดิฉันเข้าใจดีพะย่ะค่ะ ว่าเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างยาก และพระองค์คงไม่อยากจะ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ดิฉันทราบค่ะ จึงจำต้องขอไปตามทาง และทำเท่าที่ดิฉันจะทำได้ (คือซ่อนตัวลูกชายไว้) และยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น ขอให้ดิฉันเป็นผู้รับโทษนี้แต่เพียงผู้เดียว พระองค์ไม่จำต้องเดือดร้อนพระทัย"

คำตอบของดาวิด: "เดี๋ยวก่อน เรายังไม่ได้พูดเลยว่าเราจะไม่ทำสิ่งใด เราเพียงแต่ต้องการคิดเรื่องนี้ให้รอบ คอบก่อน แล้วเราจะแจ้งผลให้ทราบทีหลัง ถ้าใครมาทำให้เจ้าร้อนใจอีก ให้นำเขามาหาเรา เราจะจัดการให้"

ความพยายามครั้งที่สามของหญิงคนนี้ : "พระองค์ทรงพระกรุณามากพะย่ะค่ะ แต่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ เพคะ ถ้าพระองค์จะเป็นผู้เข้ามาจัดการเรื่องนี้ พระองค์จะได้ไม่ต้องไปจัดการกับคนอื่นที่ก่อความเดือดร้อนอีก? เพียงแต่พระองค์ออกคำสั่งห้าม ไม่ให้ใครแตะต้องบุตรของดิฉันเท่านั้น เขาก็จะปลอดภัย ไม่ต้องหลบซ่อนตัว อีกต่อไป และเมื่อพระองค์ตัดสินพระทัยแล้ว ขอให้พระองค์สาบานในามพระเยโฮวาห์เท่านั้น ทุกคนก็จะรู้ว่า เป็นความจริง (และ อาจทำให้ไม่มีการกลับคำ)"

คำตอบของดาวิด: "ก็ได้ เราจะให้ตามที่เจ้าขอ 'พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด เส้นผมของบุตรของเจ้า สักเส้นเดียวจะไม่ตกลงถึงดิน"

ความพยายามครั้งที่สามของหญิงคนนี้ : "ดิฉันกราบขอบพระคุณ แต่สิ่งที่พระองค์ตัดสินพระทัยทำลงไป ไม่สามารถนำมาใช้กับปัญหาของพระองค์หรือ? พระองค์ทรงปกป้องบุตรของดิฉัน เหตุใดจึงไม่ปกป้องบุตร ของพระองค์เอง อับซาโลมด้วย? เราทุกคนรู้ดีว่า วันหนึ่งข้างหน้าเราต้องตาย แต่พระเจ้าไม่ทรงปิติกับความ ตาย พระองค์ปรารถนาอยากให้มนุษย์มีชีวิต เพื่อนำผู้ที่ถูกเนรเทศกลับคืนมา เหตุใดพระราชาจึงไม่ทรงทำในสิ่ง เดียวกัน หาวิธีไว้ชีวิต และนำอับซาโลมกลับคืนสู่อิสราเอล?"

คำตอบของดาวิด: "อ้าว! อยู่ดีๆทำไมกลายเป็นว่า เรื่องที่เราพูดอยู่กับเจ้า กลับกลายเป็นเรื่องของเรากับบุตร ไป แทนที่จะเป็นเรื่องของเจ้ากับบุตรของเจ้า เรารู้สึกว่า โยอาบน่าจะอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ บอกความจริงมาเดี๋ยว นี้ ว่าใช่หรือไม่?"

คำตอบที่ห้าของหญิงคนนี้: "ข้าแต่พระราชา ผู้ใดจะสามารถหลอกลวงพระองค์ได้? โดยเฉพาะอย่างยิ่งดิฉัน พระองค์ทรงพระปรีชาล้ำลึกยิ่ง ทรงเล็งเห็นความจริงทุกประการ ใช่แล้วพะย่ะค่ะ โยอาบอยู่เบื้องหลังเรืองนี้ทั้ง หมด ดิฉันไม่ได้อยากทำ แต่กลัวโยอาบ เพราะเขาบอกว่า ต้องการเปลี่ยนโฉมหน้าเหตุการณ์ เพื่อให้ดูดีขึ้น"

คำตอบของดาวิด: "เอาหละ โยอาบ74 เราจะให้ตามคำขอของเจ้า ที่เจ้าหลอกลวงใช้หญิงคนนี้มา จงไปนำ ตัวอับซาโลมกลับมาเยรูซาเล็ม"

ผมต้องยอมรับว่า คำสนทนาระหว่างดาวิดและหญิงชาวเทโคอานี้ ดูออกจะหลวมๆสักหน่อย แต่ก็เข้าใจได้ดี โดยการวางแผนของโยอาบ หญิงคนนี้สามารถทำให้ดาวิด ยินยอมสาบานที่จะไว้ชีวิตบุตรของนางได้ ในที่สุด นางจึงนำสิ่งที่ดาวิดพึ่งอนุมัติให้สดๆร้อนๆ (ซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้) มาเป็นตัวบังคับ ให้ดาิวิดต้องยอมทำ ในสิ่งเดียวกันนี้ กับอับซาโลมบุตรของท่านด้วย (ซึ่งมีความผิดชัดเจน)

ดาวิดจำยอม อย่างไม่สู้เต็มใจนัก กับแผนการของโยอาบ ท่านบอกให้โยอาบไปนำตัวอับซาโลมกลับมาที่ อิสราเอล เป็นที่เข้าใจได้ว่า ชีวิตของอับซาโลมจะไม่มีผู้ใดกล้าแตะต้อง แม้แต่ฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย ก็ตาม ดาวิดคิดทบทวนดูอีกครั้ง และเพิ่มเติมเข้าไปในคำสั่งว่า อับซาโลมไม่ได้กลับเข้ามาอิสราเอลในฐานะ ผู้บริสุทธิ์ มีอิสระที่จะไปไหนมาไหนตามใจชอบได้ อับซาโลมต้องถูก "กักบริเวณ" อยู่แต่ภายในวังของตน เองเท่านั้น 75

สงสัยผมคงอ่านพระธรรมตอนนี้ไปมาหลายเที่ยว แต่ความยุติธรรมมันหายไปไหน ดาวิดเพียงแต่สั่งกักบริเวณ อับซาโลมเท่านั้น? อับซาโลมยังคงเป็นอาชญากรที่ลอยนวลอยู่ ไม่มีใครกล้าแตะต้อง การที่ "กักบริเวณ" ให้ อยู่นั้น ก็เท่ากับเป็นเกราะคุ้มครองให้ และให้อยู่พ้นจากสายตาผู้คนด้วย ดูเหมือนกับว่า ดาวิดสั่งให้เขากลับมา โดยไม่คิดจะตัดสินลงโทษ ทำให้ผมคิดถึงที่อับซาโลม สั่งทามาร์น้องสาว ให้อยู่แต่ที่ในวังของเขาเท่านั้น เพื่อต้องการให้เรื่องเงียบ แต่ขณะเดียวกันก็ทิ้งให้เธอต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เพียงเพื่อเขาจะลงมือฆ่าอัมโนน ให้สำเร็จตามแผนการได้ แต่ตอนนี้ ดูจะหมาะดี ที่ตัวอับซาโลมเอง ต้องถูกกักบริเวณอยู่แต่ในพระราชวัง เช่น เดียวกับที่เขาทำกับน้องสาวของตนเอง

อับซาโลมดูจะมีดีอยู่หลายอย่าง เป็นผู้ชายที่รูปร่างหน้าตาดีไม่มีตำหนิ ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นที่ผม ที่เสริม ให้เขาดูดียิ่งขึ้น หลายคนลอบมองด้วยความสนใจ เขามีบุตรชายสามคน และบุตรสาวสวยคนหนึ่ง ยิ่งทำให้ ดูมีสง่าราศี พูดไปแล้ว ดูเหมือนเจ้าหญิงไดอาน่าในสมัยนั้น ส่วนดาวิดเป็นเหมือนเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ แต่ ทั้งหมดนี้ เป็นแผนการสร้างภาพพจน์ของอับซาโลม ยังมีอีกครับ ให้เรามาดูกันก่อน ว่าอับซาโลมได้รับอิสระ ภาพอย่างไร

หลังจากถูกกักบริเวณไปสองปี อับซาโลมสะสมความไม่พอใจไว้ จนอัดแน่นกลายเป็นความโกรธรุนแรง เพราะไปไหนมาไหนไม่ได้ อับซาโลมเรียกโยอาบมาหา แต่ก็ถูกเมินเฉย หลังจากพยายามติดต่อโยอาบถึง สองหน อับซาโลมไม่ขอยอมทนอีกต่อไป ส่งคนไปเผานาของโยอาบ (ที่อยู่ติดกับผืนนาของตน) คราวนี้ ได้ผล โยอาบรีบพุ่งมาหาอับซาโลม แต่กลับกลายเป็นถูกอับซาโลมลุยกลับ ทำไมถึงเอามากักขังอยู่ที่นี่? รู้งี้อยู่ที่เกชูร์ไม่ดีกว่าหรือ? ไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ อับซาโลมสั่งว่า ต้องการไปเข้าเฝ้าพระราชา

สิ่งที่อับซาโลมพูดต่อ ทำให้ผมรู้สึกไม่ดี "ถ้าเรามีความผิด ก็ขอพระองค์ทรงประหารเราเสีย" (ข้อ 32) ฟังดูคุ้นๆหูพวกเรามั้ยครับ? : "ให้อิสรภาพกับผมสิ ไม่ยังงั้นก็ให้ผมไปตายเสียให้รู้แล้วรู้รอด!" อับซาโลม กล้าพูดเช่นนีได้อย่างไร? เขาคิดว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์หรือ? ลืมไปหรือว่าตนเองต้องโทษประหารอยู่? ดูท่า จะเป็นเช่นนั้น ถ้าเป็นจริง ก็เท่ากับเขาดูถูกธรรมบัญญัติของพระเจ้าอีกครั้งแล้ว เขาต้องการให้อัมโนนต้อง โทษประหาร ถึงแม้ไม่มีกำหนดอยู่ในธรรมบัญญัติ เขาคิดว่าตัวเขาได้ทำในสิ่งที่สมควรดีแล้ว ไม่สนใจว่า ตนเองต้องโทษถึงตายตามธรรมบัญญัติ นี่คือการแสดงของคนที่ไม่มีการกลับใจใดๆทั้งสิ้น

ทำให้ดาวิดเสียหน้าต่อประชาชน
(15:1-12)

มาถึงขั้นนี้แล้ว โยอาบจำต้องนำเรื่องขึ้นไปบอกดาวิด ผู้ซึ่งในที่สุดก็ใจอ่อน ยอมให้อับซาโลมมาเข้าเฝ้าได้ ท่านจุบอับซาโลม และแน่นอน เรื่องนี้น่าจะจบลงด้วยดี ต่อแต่นี้ไป อับซาโลมสามารถเข้านอกออกใน ที่วัง ของพระราชาได้อย่างอิสระเสรี และเมื่อเขาเริ่ม เขาเริ่มอย่างมีมาด เขาต้องใช้รถรบ ม้าและทหารถึง 50 นาย วิ่งนำหน้าขบวน (คงไม่มีศัตรูหน้าไหนกล้าแตะ เพราะไม่สามารถฝ่าด่านผู้คุ้มกันเข้ามาได้!)

อับซาโลมนี่น่าจะเป็นนักการเมืองได้ คิดดูดีๆ เขาทำตัวอย่างนั้นจริงๆ! ทุกวันเขาจะไปประจำการอยู่ที่ถนน เข้าเมืองเยรูซาเล็ม (แน่หละ ต้องพ้นหูพ้นตาของชาวเมืองและบิดา) ดูเป็นภาพที่น่าประทับใจ หนุ่มหล่อ ดูมี สง่าราศี ผมยาวสลวยชนิดที่ผู้หญิงอิจฉาไปตามๆกัน ผมจินตนาการว่า รถรบของเขาคงจอดเรียงเป็นระเบียบ ให้เห็น รวมทั้งทหารคุ้มกันอีก 50 นายยืนเวรยามอยู่ ดูเข้มดีมีระดับ ระดับพระราชวงศ์ทีเดียว

อับซาโลมจะเรียกทุกคนที่เดินผ่านไปมา ถามว่ามาจากไหน และจะไปทำธุระเรื่องใด เขาทักทายอย่างเป็น กันเอง จนคนประทับใจไม่รู้ลืม คุณนึกภาพออกมั้ยครับ สมมุติว่า คุณกำลังขับรถอยู่บนถนนสายวงแหวน อยู่ดีๆมีคนโบกให้คุณจอด เทียบเคียงกับรถประจำตำแหน่งสุดหรู พอประตูเปิด คนที่ลุกออกมาคือท่านนายก ออกมาทักทายพูดคุยกับคุณ พอคุณจะทำความเคารพ ท่านกลับจับมือคุณไว้แน่น พร้อมตบหลังตบไหล่ ให้ ความเป็นกันเอง ไม่ต้องเกรงอกเกรงใจ โอ้ โฮ! น่าประทับใจมั้ยครับ? -- คุณคงจำไปจนวันตาย

แต่เรื่องไม่ได้มีแค่นั้น อับซาโลมไม่เพียงแต่ไปแสดงตนเท่านั้น เขากลับไปสร้างความเสียหายให้กับดาวิด เมื่ออับซาโลมรู้ว่าใครกำลังจะเข้าเมืองเพื่อนำคดีไปฟ้องร้อง เขาจะบอกกับคนเหล่านั้นว่า พระราชาไม่ได้ตั้ง ใครให้มาคอยรับฟังคดี (แน่นอนเป็นการโกหก เราพึ่งได้ยินเรื่อง "แม่ม่าย" มาร้องขอความเป็นธรรมจากพระ ราชาอยู่หยกๆ) อับซาโลมบอกอีกด้วยว่าเขารู้สึกเสียใจแทน เมื่อได้ยินเรื่องฟ้องร้องแล้ว เพราะผู้พิพากษา ดูจะไม่มีโอกาสฟัง คดีเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อยู่ในข่ายที่ชนะได้แทบทั้งสิ้น แต่น่าเสียดายที่พระราชา ไม่ได้ตั้ง ใครให้มาคอยรับเรื่องราว ตราบใดที่ดาวิดนั่งอยู่บนบัลลังก์ คุณจะไม่ได้รับความยุติธรรม และด้วยความ สามารถพิเศษ อับซาโลมกล่าวว่า ถ้าเขาได้เป็นผู้พิพากษาในอิสราเอล เขาจะให้ความยุติธรรมกับทุกคน และจะปกครองตามใจปรารถนาของประชาชน ในเมื่อไม่มีใครเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากดาวิดได้ ; แต่ กับอับซาโลมแล้ว เป็นคนละเรื่องทีเดียว

อับซาโลมไม่ได้เป็นจอมโกหกอย่างเดียว (ที่พูดว่าไม่มีใครมารับฟังคดีความ) เขายังเป็นคนปากว่าตาขยิบ อีกด้วย "ความยุติธรรม" แบบใดกันที่เขาจะจัดสรร? เป็น "ความยุติธรรม" แบบเดียวกับที่อัมโนนได้รับหรือ? หรือ "ความยุติธรรม" อย่างที่น้องสาวของเขาได้รับ? หรือ "ความยุติธรรม" อย่างที่เขาได้รับ? อับซาโลม ไม่ได้อยู่ใกล้กับคำว่ายุติธรรมสักนิดเดียว เขาเพียงแต่ต้องการได้ชาวบ้านมาเป็นพวก และมันก็ได้ผลเสียด้วย อับซาโลมชนะใจพวกชาวบ้าน บัดนี้เขาพร้อมแล้วที่จะดำเนินการขั้นต่อไป

หลังจากสี่ปี76 ที่เขาทำลายชื่อเสียงของดาวิด และทำตัวเป็นวีรบุรุษในสายตาของชาวบ้าน อับซาโลมก็พร้อม จะเดินหน้า ทำตนเป็นกษัตริย์แทนดาวิด ในบ้านเกิดของเขาเอง ที่เมืองเฮโบรน (2 ซามูเอล 3:2-3) ก่อนอื่น เขาต้องหาทางไปที่นั่นให้ได้ โดยที่ไม่กระโตกกระตากให้ดาวิดรู้ เขาไปเข้าเฝ้าพระราชา และบอกกับท่านว่า ได้สาบานไว้ ตั้งแต่ครั้งอยู่ในเกชูร์77 เขาบนว่า ถ้าพระเจ้าทรงอนุญาติให้เขาได้กลับคืนสู่อิสราเอล เขาจะไป นมัสการพระองค์ที่เมืองเฮโบรน และนี่น่าจะเป็นเวลาที่หมาะสมแล้ว ดาวิดอนุญาติให้เขาไปได้ โดยส่งให้เขา "ไปเป็นสุขเถิด" และแน่นอน ผลของมันคงไม่ "เป็นสุข" อย่างที่ดาวิดอวยพร

อับซาโลมนำผู้ชายจากเยรูซาเล็มไปกับเขาถึง 200 คน คนเหล่านี้ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวด้วย แต่อับซาโลมส่งข่าว ไปถึงทุกเผ่าของอิสราเอล ว่าถ้าได้ยินเสียงเขาสัตว์เมื่อไร นั่นคือสัญญาณว่าพวกเขาต้องเป็นพันธมิตรกับท่าน ไม่ใช่กับดาวิด นอกจากนั้น อับซาโลมสามารถชักจูงเอาอาหิโธเฟล คนกิโลน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของดาวิด มาเข้าพวกด้วย อาหิโธเฟลเป็นผู้มีสติปัญญามาก; คำปรึกษาของเขามีค่ามาก:

23 ในสมัยนั้น คำปรึกษาของอาหิโธเฟลที่ทูลถวาย เหมือนกับเป็นพระ บัญชาของพระเจ้า ทั้งดาวิดและอับซาโลมจึงทรงนับถือ คำปรึกษา ของ อาหิโธเฟลมาก (2 ซามูเอล 16:23)

การสูญเสียอาหิโธเฟลให้อับซาโลมไป นับเป็นเรื่องใหญ่ เราคงสงสัยว่า คนมีสติปัญญาอย่างนี้จะไปเข้าพวก กับอับซาโลมได้อย่างไร ถึงจะอย่างไรก็ตาม พระเจ้าก็ทรงใช้อาหิโธเฟล พระองค์ทรงใช้คำปรึกษาของเขา มาทำให้คำพยากรณ์ของพระองค์เป็นจริง (เทียบกับ 2 ซามูเอล 12:11-12 และ 2 ซามูเอล 16:20-22) และ พระองค์ทรงพลิกผันคำปรึกษาของเขา มาช่วยดาวิดให้พ้นจากเงื้อมมืออับซาโลมไปได้ (2 ซามูเอล 17:1-14)

บทสรุป

นับเป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่ออ่านตอนนี้ ผู้เขียนไม่ได้ข้ามเรื่องใดไปเลย "เ้ส้นทางน้ำตา" เริ่มตั้งแต่ที่ดาวิดสร้าง บาปให้กับอุรียาห์และบัทเชบาผู้เป็นภรรยา จิตวิญญาณของท่านเริ่มเจ็บปวด ก่อนที่ท่านจะสำนึกผิด และ สารภาพเสียอีก (ดูสดุดี 32:3-4) ตามด้วยการตายของบุตรที่เกิดจากดาวิดและภรรยาของอุรียาห์ ไม่นาน ก็เป็นเรื่องของบุตรสาวของดาวิดเอง (ทามาร์) ถูกบุตรชายของท่านข่มขืน และบุตรชายของท่าน (อัมโนน) ถูกบุตรชาย อีกคนฆ่าตาย (อับซาโลม) อับซาโลมหนีไปหลบอยู่ที่เกชูร์ แต่ดาวิดก็ยังไม่วายคิดถึง ทั้งๆที่รู้ว่า ไม่มีทางจะได้พบหน้ากัน โยอาบใช้ความเจ้าเล่ห์ คิดแผนการ มาทำให้ดาวิดต้องจำยอม ท่านเหมือน ถูกมัด มือชกให้ยอมอนุญาติ ให้อับซาโลมกลับอิสราเอลได้ นับเป็นเรื่องที่ไม่สู้ดี เพราะทันทีที่อับซาโลมได้รับ อิสรภาพ เขากลับใช้มันมาทำลายชื่อเสียงและสถานะภาพของดาวิด เขาก่อกบฎ ทำให้อิสราเอลถูกแบ่งแยก และในที่สุด ทำให้ตัวเองต้องจบชีวิตลง ด้วยฝีมือของโยอาบ นับเป็นเส้นทางแห่งน้ำตาอย่างแท้จริง

ในท่ามกลางความทุกข์ใจและถูกต่อต้าน ผมต้องขอย้ำอีกว่า พระเจ้า ไม่ได้ทรงทำโทษดาวิดสำหรับบาป ของท่านในตอนนั้น นาธันพูดไว้ชัดเจนแล้ว ว่าดาวิดไม่ต้อง (ตาย) ใช้โทษบาป เพราะ "องค์พระผู้เป็นเจ้า ได้ทรงนำบาปไปสีย" (2 ซามูเอล 12:13) ตรงนี้พวกเราคริสเตียนมักเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ ; คือว่า ถ้าใครก็ ตามมีความทุกข์ ต้องเป็นเพราะถูกลงโทษบาป เพื่อนของโยบก็เชื่อเช่นนี้ด้วย จึงพยายามบังคับให้โยบกลับ ใจ (ดูโยบ 4 และ 5) พวกอัครสาวกมักคิดว่า คนที่เกิดมาตาบอด เป็นผลมาจากความบาปของบางคน (ยอห์น 9:1-2) แต่มีบางคนเหมือนกัน ที่ตกอยู่ในความทุกข์เพราะผลของบาปโดยตรง (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 28:15) แต่ไม่ใช่เป็นคำอธิบายที่ถูกต้องเสมอไป บางครั้งก็มีผู้ชอบธรรม ต้องทนทุกข์เพื่อผู้ไม่ชอบธรรม (1 เปโตร 4)

บางครั้งผู้ชอบธรรมทั้งหลายต้องทนทุกข์ เพราะพวกเขาเป็น "บุตรของพระเจ้า" ที่ถูกเตรียมไว้ เพื่อพระสิริ ของพระองค์ (ดูฮีบรู 12) ถึงแม้พระเจ้าของเรายังต้องทนทรมาณ เพื่อพระสิริทั้งสิ้นจะเป็นของพระองค์ (ดูฮีบรู 2:10-18; 5:7-10; ฟีลิปปี 2:5-11) ผมไมไ่ด้บอกว่า ความทุกข์ของดาวิดนั้น ไม่เกี่ยวอะไรกับบาปที่ท่านทำ แต่ผมอยากจะบอกว่า ความทุกข์ของท่านนั้นไม่ใช่เป็นการลงโทษบาป แต่เป็นการลงวินัย เพื่อเป็นหนทาง ให้ท่านได้เข้าไกล้ชิดพระเจ้า และไม่ฝักใฝ่กับสิ่งของใดในโลกนี้ (เทียบกับ 2 โครินธ์ 4:16-18)

สิ่งหนึ่งที่พระเจ้าทำในการลงวินัยดาวิด คือให้ท่านได้เห็นบาปของท่านเองในมุมมองอื่น ดาวิดแย่งบัทเชบา มาอย่างไร้ปราณี นอนกับนาง และฆ่าสามีนางทิ้ง ในการนี้ท่านใช้อำนาจ (ในทางที่ผิด) ในฐานะกษัตริย์ของ พระเจ้าทำบาป บัดนี้พระเจ้าทรงมีพระคุณ ทำให้ดาวิดได้เห็นบาปของท่านเองในอีกมุมมอง ดาวิดใช้ความ วางใจที่พระเจ้ามอบให้ในทางที่ผิดหรือเปล่า? ใช้อำนาจที่มีเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือ? ดูเหมือนโยอาบ เองจะทำในสิ่งเดียวกันด้วย อัมโนนใช้อำนาจอย่างผิดๆ หลอกทามาร์ไปข่มขืน ผมเชื่อว่าพอๆกับที่ดาวิดไป ชิงบัทเชบามา อับซาโลมก็ด้วย ใช้อำนาจที่มีอยู่ เลื่อยขาเก้าอี้ดาวิด หวังจะขึ้นนั่งบัลลังก์แทน ดาวิดเคย หลอกซาอูลเมื่อท่านต้องการหลบหน้าหรือเปล่า? ตอนนี้อับซาโลมเอง หลอกดาวิดเมื่อต้องการหลบหน้าพ่อ ดาวิดพยายามหลอกล่ออุรียาห์ เพื่อกลบเกลื่อนบาปของท่าน ใช่หรือไม่? ดาวิดถูกอัมโนนหลอกใช้ ต่อมา ก็ถูกอับซาโลมหลอก ตามด้วยโยอาบและหญิงชาวเทโคอา ดาวิด ในฐานะเป็น "บุตร" ของพระเจ้า (ดู 2 ซามูเอล 7:8-17) ละเมิดต่อพระองค์ด้วยบาปของท่าน ใช่หรือไม่? บัดนี้บุตรของท่านเอง กำลังละเมิด ต่อท่าน ดาวิดใช้อำนาจในทางที่ผิด ไปกดดันคนที่ไม่มีทางต่อสู้หรือเปล่า? ตอนนี้ดาิวิดจะมีประสบการณ์ เดียวกัน เมื่อถูกอับซาโลมปิดกั้นการใช้อำนาจยุติธรรมไป ไม่ว่าจะสำหรับทามาร์ สำหรับตัวอับซาโลมเอง หรือแม้กระทั่งประชาชนชาวอิสราเอล (2 ซามูเอล 15:2-6) บัดนี้ดาวิดมองเห็นบาปของตนเอง ในแง่มุมอื่น โดยมีคนอื่นเป็นตัวแสดงให้ดู

พระธรรมตอนนี้มีบทเรียนของการเป็นบิดามารดาอยู่มาก เพียงแค่อ่านผ่านๆ เรายังเห็นชัดเจนว่า ไม่มี พ่อแม่คู่ใดสมบูรณ์แบบ แม้กระทั่งคนของพระเจ้าเอง หลายคนล้มเหลว (ไม่ว่าจะเป็นเอลี ซามูเอล ซาอูล และตอนนี้ดาวิด) เราควรตั้งมั่นกับพระเจ้า ที่จะพยายามทำดีที่สุดในการเลี้ยงดูลูก ไม่ใช่เพราะว่าเรา"อบรมดี" แล้วลูกจะดีตาม แต่เพราะ "การอบรมดี" เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เราควรอบรมเลี้ยงดูบุตรอย่างดี เพราะเป็น สิ่งที่พระเจ้าต้องการจากเรา

เมื่อลูกของเราล้มเหลว ซึ่งเป็นไปได้ เราไม่ควรลงโทษตัวเอง และคิดว่าเราเป็นต้นเหตุ ลองดูบรรดาลูกๆของ ดาวิดเป็นตัวอย่าง อัมโนนเป็นคนไม่เอาไหน ไร้สติปัญญา ซาโลมอนเป็นคนฉลาดที่สุดในโลก อาโดนิยาห์ ต้องการแย่งชิงบัลลังก์จากน้องชาย อับซาโลมบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม ฆ่าน้องชายตนเอง และก่อกบฎ ต่อบิดา ผมแน่ใจว่า ในกรณีของอับซาโลม ความผิดพลาดของดาวิดกระทบไปถึงบุตร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผมเชื่อว่าพระธรรมตอนนี้ไม่ได้เขียนขึ้นมา เพื่อประณามดาวิดในฐานะบิดา แต่เพื่อต้องการให้เห็นว่าอับซา โลมเป็นบุตรประเภทใด เขาเลือกเองที่จะไม่ยอมเชื่อฟัง และการไม่เชื่อฟังนี้เอง ที่พระเจ้าใช้มาลงวินัยดาวิด เพื่อท่่านจะเป็นผู้ที่ทำตามพระทัยจนหมดใจ

อย่าอ่านพระธรรมตอนนี้แล้วคิดว่าตนเองเป็นคนล้มเหลว อย่ารู้สึกผิดและโทษตัวเอง ถ้าลูกของเราคนใด คนหนึ่ง "หลง" ไป บาปของเรามีส่วนต่อชีวิตของลูก แต่ตัวลูกเอง เหมือนกับอับซาโลม ต้องเป็นคนตัดสินใจ ที่จะเลือกวางใจและเชื่อฟัง ถ้าไม่ คุนไม่ใช่เป็นคนผิดทั้งหมด ; หรืออาจไม่ผิดเลย แต่ถ้าคุณเป็นคริสเตียน ผมขอบอกว่า พระเจ้าจะใช้ลูกของคุณมาสอนคุณ นำคุณเข้ามาใกล้ ติดสนิทกับพระองค์ บางครั้ง ลูกของเรา ก็เหมือน "ทูตสวรรค์" องค์น้อย ที่สอนเราให้รู้จักเรียงลำดับความสำคัญ ในพระคัมภีร์เดิมโดยเฉพาะ ผมพบว่า ความล้มเหลวในครอบครัว มักเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพระเจ้า ที่จัดเตรียมไว้ให้ประชากรของพระองค์ ไม่ใช่เป็นตัวการขัดขวางพระสัญญา ; แต่หลายครั้งกลับเป็นวิถีทางที่พระเจ้าใช้ เพื่อให้พระสัญญาเป็นจริง ครบสมบูรณ์

ผมคิดว่ายังมีบทเรียนเรื่องการลงวินัยในพระธรรมตอนนี้ด้วย เป็นเรื่องการอบรมเลี้ยงดูภายในครอบครัว ดาวิด ต้องการคืนดีกับอับซาโลมบุตรชาย แต่ท่านรู้ว่า เป็นการดีกว่าถ้าอยู่เฉยๆ แทนที่จะไปบิดเบือนข้อกฎหมาย เพื่อให้ได้ลูกกลับคืนมา แต่ท่านก็ถูกหลอก จนยอมจำนน ให้แผนการนำตัวลูกกลับมาเกิดขึ้น ถึงแม้ท่านจะไม่ เห็นควร เราอาจรู้สึกว่าดาวิดใจร้าย ไม่ยอมให้อับซาโลมมาพบหน้า แต่ผมว่าไม่ใช่ ผมคิดว่าดาวิดเข้าใจดีว่า การจะคืนดีกันได้นั้น ต้องมีการกลับใจก่อน ไม่ใช่ล้ำเส้น ดาวิดโกรธ ไม่ใช่แค่เรื่องอัมโนนข่มขืนทามาร์ แต่ รวมทั้งการที่อับซาโลมขัดขวาง ไม่ให้ท่านใช้กระบวนการยุติธรรม ซ้ำยังไปฆ่าน้องชายตายอีก ดาวิดจะคืนดี กับอับซาโลมได้อย่างไร ถ้าอับซาโลมยังไม่สำนึกผิด จนความโกรธของดาวิดค่อย "ทุเลาลง" (เป็นศัพท์ พิเศษที่ใช้ เมื่อความโกรธได้รับการสนองตอบจนพอใจ) เมื่อโยอาบหลอกดาวิดสำเร็จ ยอมให้อับซาโลม กลับมา เขาทำโดยไม่มีการคำนึงถึงเรื่องสำนึกผิดและกลับใจ ถ้าเราจะโทษใครในเรื่องบาปของอับซาโลม (นอกจากตัวอับซาโลมเองที่ต้องรับผิดชอบ) ก็น่าจะเป็นโยอาบแทนที่จะเป็นดาวิด เพราะโยอาบอยากให้มี การคืนดีเกิดขึ้น โดยมองข้ามการสำนึกผิดไป

ทำให้ผมนึกถึงเรื่องของโยเซฟและพี่ๆ พวกพี่ๆทำผิดต่อท่าน ด้วยการลักพาตัวท่านไป ขายไปเป็นทาส เรารู้ จากเรื่องนี้ว่าท่านรักพี่ๆมากมายเพียงใด และปรารถนาอยากกลับคืนดีกันอีกครั้ง แต่ท่านทำไม่ได้ จนกว่าพวก เขาจะสำนึกผิดและกลับใจ ทำให้เราเห็นเรื่องนี้ยาวออกไปอีก ได้เห็นพวกเขาต้องเดินทางไปมาระหว่าง อิสราเอลและอียิปต์ จนนำมาซึ่งการกลับใจอย่างแท้จริง และโยเซฟได้โอกาสเปิดเผยตัวตนกับพี่ๆ พวกเขา สำนึกผิด และโยเซฟให้อภัย การคืนดีจึงเป็นไปได้ เช่นเดียวกัน ในกรณีของดาวิดและอับซาโลม แต่การ กระทำของโยอาบ กลายเป็นตัวการขัดขวาง แทนที่จะเป็นการช่วยให้สำนึกผิดและเกิดการกลับใจ

ผมรู้ว่ามีพ่อแม่หลายคู่ยอมตามใจลูกทุกอย่าง เพื่อให้ได้อยู่ใกล้ จนไม่สามารถอบรมสั่งสอนเขาได้ และเมื่อ พวกเขาทำผิด พ่อแม่ก็รีบไปตามกลับมาโดยยอมทุกอย่าง เมื่อไม่มีการสำนึกผิด การกลับใจที่แท้จริงก็ไม่เกิด เช่นเดียวกับที่ในคริสตจักร ถ้าต้องการความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีสามัคคีธรรมอย่างแท้จริง ในระหว่างพี่ น้องทั้งหลาย ต้องมีการตักเตือน การลงวินัย และมีการกลับใจ ก่อนที่จะมีการคืนดีและกลับมารวมกันเหมือน เดิมอีกครั้ง

เรื่องของอับซาโลม บุตรของดาวิด มีบทเรียนสอนเรา เป็นบทเรียนเรื่องการยอมจำนนอย่างจริงใจ และไม่จริง ใจ ผมคิดว่าเราทั้งหลายคงเห็นเหมือนกัน ว่าอับซาโลมเป็นเหมือน "ชาวนากับงูเห่า" อับซาโลมไม่มีความ กตัญญูต่อผู้เป็นบิดา มองข้ามหัวท่านไป นอกจากนั้น เขาไม่เคยยอมลงให้กับบิดาผู้เป็นกษัตริย์ เหมือน ซาตานเจ้าเก่า อับซาโลมมัวแต่มองว่า ตนเองคือ "ผู้สืบต่อ" ราชบัลลังก์ ไม่เคยคิดจะให้เกียรติบิดา แต่กลับ ใช้ตำแหน่งและอำนาจ บ่อนทำลายท่าน ก่อกวนราชบัลลังก์ ลอบทำร้าย และพูดจาให้ท่านเสื่อมเสีย กลาย เป็นคนชั่วร้ายในสายตาของผู้อื่น ที่ทำไปทั้งหมดนี้ ก็เพื่อ "ไต่เต้า" ขึ้นไปครองราชย์แทนเท่านั้น

เราเคยทำอย่างเดียวกันในที่ทำงานหรือเปล่า? เราเคยพูดนินทานายจ้างลับหลังหรือไม่? เราเคยให้ร้ายหัว หน้างานจนเสื่อมเสีย เพื่อเราจะดูดีหรือเปล่า? เราเป็นภรรยาที่บ่อนทำลายความนับถือบิดาต่อหน้าลูกๆหรือ เปล่า? แล้วเราเป็นสามีที่ทำแบบเดียวกันกับภรรยาหรือเปล่า? (พูดนินทาให้ร้ายคู่สมรสต่อหน้าคนอื่น ด้วย เรื่องจริงบ้าง ล้อเล่นบ้าง) มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นในคริสตจักรด้วยใช่หรือไม่? ทำให้เกิดความข้องใจ หรือเข้าใจ ผิดในตัวผู้นำ ในหน้าที่รับผิดชอบ ในการตัดสินใจ หรือในการเป็นผู้นำ แล้วพยายามพิสูจน์ว่าตัวเองทำได้ดี กว่า ถ้ามีโอกาส อัับซาโลมเตือนเราเรื่องการยอมจำนน และเรื่องตรงข้าม คือการกบฎ

ท้ายสุดนี้ ผมขอสรุปด้วยบางสิ่งที่ทิ้งไว้ให้คุณคิด : เป็นสิ่งเดียวกับที่ดาวิดต้องการจะทำ -- แต่ทำไม่ได้ -- คือช่วยเหลืออับซาโลม เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงทำในองค์พระบุตร และเมื่อทำแล้ว พระองค์มี "บุตร" เพิ่มขึ้น มากมาย ในบทที่ 18 ข้อ 33 ดาวิดคร่ำครวญว่า ถ้าทำได้ ท่านอยากตายแทนอับซาโลม แต่เป็นเรื่องที่เป็นไป ไม่ได้ ถึงท่านจะต้องตายก็ตาม เพราะอับซาโลมจะไม่ได้ประโยชน์ใดจากการตายของท่าน ดาวิดช่วยกู้ อับซาโลมไม่ได้ พอๆกับที่เราช่วยลูกของเราให้รอดไม่ได้ แต่พระเจ้าได้ทรงทำในสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ พระองค์ทรงสละพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ องค์พระเยซูคริสต์ผู้ปราศจากบาป มาทนทุกข์และสิ้นพระชนม์ บนไม้กางเขน เพื่อเป็นค่าไถ่โทษบาปแทนเรา พระองค์ทรงยอมสละพระบุตรองค์เดียว เพื่อให้เราทั้งหลายได้รับ การอภัยจากบาป และเพื่อเราจะได้เป็นบุตรของพระองค์ สิ่งที่ไม่มีมนุษย์คนใดทำได้ (ช่วยกู้คนที่รักให้รอดตาย) พระเจ้าทรงทำได้ พระเจ้าได้จัดเตรียมการให้อภัยบาป และเป็นบุตรของพระองค์ ตามที่เราปรารถนาอยากเป็น พระองค์จัดเตรียมการทั้งสิ้นนี้ด้วยวิธีเดียว การตายเป็นเครื่องบูชาไถ่โทษขององค์พระเยซู ทรงสิ้นพระชนม์ ถูกฝังไว้และทรงคืนพระ ชนม์กลับมา ถ้าคุณปรารถนาจะคืนดีกับพระเจ้า คุณต้องยอมรับในบาปของคุณ ในการ ล่วงละเมิดต่อพระเจ้า และรับเอาของประทานแห่งการให้อภัยโดยไม่คิดมูลค่าจากพระองค์ และรับชีวิตนิรันดร์ ที่พระองค์มอบให้ ผมภาวนาขอให้คุณได้รับของประทานนี้ และถ้ายังไม่ได้ ขอให้คุณได้รับในวันหนึ่งข้างหน้า


71 แต่แน่นอน ติดขัดอยู่ที่ปัญหาว่าทามาร์เป็นน้องสาวคนละแม่กับอัมโนน แต่ว่าถ้าทั้งคู่ต้องแต่งงานกัน เธอ ก็จะเป็นเหมือนนางซาราห์กับอับราฮัม ภรรยาที่เป็นทั้งน้องสาวด้วย แต่ผมขอมองข้ามตรงนี้ไปก่อน ขอให้คิด ว่าการแต่งงานนี้เป็นไปได้ ตามที่ทามาร์ขอร้อง

72 ตอนแรกผมนึกว่าอับซาโลมทำเพราะอยากช่วยเหลือน้อง แต่พออ่านต่อๆไป ผมค่อนข้างแน่ใจว่า อับซาโลมไม่ได้สนใจใยดีในตัวน้องสาว มากไปกว่าความต้องการที่จะได้แก้แค้น

73 เพื่อนผม ออวิลล์ เมอร์ฟี เคยบอกผมว่า ในแถบตะวันออกกลาง การต่อสู้กันจะมีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีคน ไปห้าม บางครั้งคู่ต่อสู้อยากจะหยุดแทบตาย ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีใครไปห้าม มันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี พวก เขาก็จะสู้ต่อ จนตายกันไปข้างหนึ่ง นี่น่าจะเป็นกรณีเดียวกัน

74 พออ่านไป เราเริ่มไม่แน่ใจว่าโยอาบอยู่ในเหตุการณ์ด้วยหรือเปล่า อยู่ใกล้กับหญิงชาวเทโคอา เพื่อควบ คุมไม่ให้พูดจาตกหล่น ในพระคัมภีร์ไม้ได้พูดว่า ดาวิดสั่งให้ไปตามตัวโยอาบมา แต่กลับพูดกับโยอาบใน ทันที ผมคงต้องขอสรุปว่า โยอาบน่าจะอยู่ในเหตุการณ์ตลอดเวลาที่หญิงคนนี้พูดกับดาวิด

75 แรกๆผมคิดเอาเองตามนี้ แต่เมื่อมาพิจารณาดู ดาวิดสั่งอับซาโลมให้กลับไปอยู่ที่วังของเขา (ข้อ 24) อับซาโลมต้องไม่มาให้ดาวิดเห็นหน้า ซึ่งยาก ถ้าอาศัยอยู่ในเยรูซาเล็ม เพราะไปๆมาๆ วันหนึ่งคงต้องเจอกัน โดยบังเอิญ อับซาโลมเบื่อสถานการณ์เช่นนี้ ที่ต้องเรียกโยอาบมาหาที่บ้านทุกครั้ง ; เขาไปหาโยอาบหรือ ดาวิดไม่ได้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะถูกกักบริเวณ แต่เมื่ออับซาโลมได้รับอิสรภาพ เขากลับทำตัวเป็นที่ดึงดูด ความสนใจ ด้วยการมีขบวนรถม้าถึง 50 คันนำหน้าไปทุกหนแห่งที่เขาไป

76 คุณคงเห็นหมายเหตุของฉบับ NASB ที่บอกว่าในฉบับฮีบรูบันทึกไว้ "สี่สิบปี" ต้นฉบับอื่นๆ บันทึกไว้แค่ "สี่" ซึ่งน่าจะตรงกับเนื้อหาของเรา

77 สงสัยผมคงอ่านพระธรรมตอนนี้มากไปหน่อย แต่เป็นการบังเอิญมาก ที่อับซาโลมให้เหตุผลที่ต้องเดิน ทางไกลไปจากพระราชา (ดาวิด) เกือบเป็นเหตุผลเดียวกับที่ดาวิดเคยให้กับพระราชาซาอูล (ดู 1 ซามูเอล 20:1-34) เป็นได้หรือไม่ว่า พระเจ้ายังไม่ได้จัดการเรื่องของดาวิด จนถึงเดี๋ยวนี้ เพื่อให้เขาได้รู้สึกในแบบ เดียวกับที่ตกเป็นผู้ถูกหลอก ในบาปเดียวกัน?

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 15: เพื่อนแท้ หรือ รอยน้ำตา (2 ซามูเอล 15:13 —16:23)

คำนำ

ตอนที่ผมกำลังเป็นวัยรุ่น ครอบครัวผมไปซื้อบ้านพักตากอากาศอยู่ในถิ่นที่สำหรับตกปลา เป็นบ้านพักอาศัย จริงของเจ้าของเดิม พ่อผมตั้งชื่อบ้านหลังนี้ว่า "อุทยานนักบุกเบิก" ปกติพ่อผมมีเพื่อนมาก แต่พอเรามีบ้าน ตากอากาศริมน้ำหลังนี้ จำนวนเพื่อนของท่าน "เพิ่มขึ้น" อีกหลายเท่าตัว ส่วนใหญ่เราจะคิดค่าใช้จ่ายเล็ก น้อย สำหรับครอบครัวที่ต้องการมาว่ายน้ำ มาปิกนิก หรือมาขอใช้ห้องน้ำ (นอกบ้าน) เรามีเตาปิ้งย่างนอกบ้าน (ผมมีหน้าที่ จัดหา ตัดลากกิ่งไม้มา) บ่อยครั้งจะมีรถมาจอดหน้าบ้าน แต่แทนที่จะยอมจ่ายค่าผ่านประตู แค่ 50 เซ็นต์เอง เขากลับบอกว่า : "แค่อยากแวะมาทำความรู้จัก… ." เด็กๆที่นั่งมาในรถ ใส่ชุดว่ายน้ำมาเรียบ ร้อย ท้ายรถมีตะกร้าปิกนิกใหญ่ขนอาหารมาเต็มเพียบ แถมบางคันมีรถพ่วงบันทุกเรือมาด้วย (กะว่าจะไม่ยอม เสียค่าจอดเรือที่ท่าน้ำบ้านเราเลย)

เราทุกคนมี "เพื่อน" รวมทั้งเพื่อนแท้ด้วย สิ่งที่แยกอย่างแรกออกจากอย่างหลังคือ ความทุกข์ยาก เมื่อ เผชิญความทุกข์ "เพื่อน" จะเป็นตัวพิสูจน์ พระธรรมตอนนี้ เราจะเห็น "เพื่อน" ของดาวิดบางคน และเพื่อน แท้ของท่าน ความทุกข์ที่ท่านต้องเผชิญ ทำให้เห็นชัดว่าใครเป็นเพื่อนแบบใด

คงจำกันได้ถึงบาปล่วงประเวณี ที่ดาวิดทำต่อนางบัทเชบา ภรรยาของอุรียาห์ และนำไปจนถึงบาปฆาตรกรรม อุรียาห์ด้วย หลังจากที่พระเจ้าเตรียมใจดาวิดไว้ สำหรับการสำนึกผิด (ดูสดุดี 32:3-4) นาธันมาพบดาวิด ด้วย เรื่องที่กระทบใจอย่างแรง ท่านรู้สึกโกรธและต้องการลงโทษผู้กระทำผิด นาธันจึงชี้ให้ท่านเห็นถึงบาปที่ท่าน ทำไว้กับบัทเชบาและอุรียาห์ แต่ให้ความมั่นใจว่า ท่านไม่ถึงตาย เพราะบาปของท่านถูกนำไปเสีย แต่ท่าน จะต้องได้รับผลบาปที่เกิดตามมา ด้วยใจที่เจ็บปวดอย่างแสนสาหัส :

10 เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่คลาดไปจากราชวงศ์ของ เจ้าเพราะเจ้าได้ดูหมิ่นเรา เอาภรรยาของอุรีอาห์คนฮิตไทต์มาเป็นภรรยาของเจ้า' 11 พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'ดู

เถิด เราจะให้เหตุร้ายบังเกิดขึ้นกับเจ้า จากครัวเรือนของเจ้าเอง และเราจะเอา ภรรยาของเจ้าไปต่อหน้าต่อตาเจ้า ยกไปให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้า ผู้นั้นจะนอน ร่วมกับภรรยาของเจ้าอย่างเปิดเผย 12 เพราะเจ้าทำการนั้นอย่างลับๆ แต่เราจะ

กระทำการนี้ต่อหน้า อิสราเอลทั้งสิ้นและอย่างเปิดเผย'" 13 ดาวิดจึงรับสั่งกับนาธัน

ว่า "เรากระทำบาปต่อพระเจ้าแล้ว" และนาธันกราบทูลดาวิดว่า "พระเจ้าทรงให้อภัย บาปของฝ่าพระบาทแล้ว ฝ่าพระบาทจะไม่ถึงแก่มรณา 14 อย่างไรก็ตาม เพราะฝ่า

พระบาทได้เหยียดหยามพระเจ้าอย่าง ที่สุดด้วยการกระทำครั้งนี้ ราชบุตรที่จะประสูติ มานั้นจะต้องสิ้นชีวิต" (2 ซามูเอล 12:10-14)

บุตรนั้นได้สิ้นชีวิตไปแล้ว บุตรสาวถูกพี่ชายต่างมารดาข่มขืน อัมโนนถูกอับซาโลมฆ่าตาย อับซาโลมลี้ภัย ไป อยู่กับปู่ กษัตริย์เมืองเกชูร์ และอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสองปี จนกระทั่งโยอาบ ใช้กลอุบายล่อลวง บังคับดาวิดให้ ต้องจำยอม นำตัวกลับมาเยรูซาเล็ม ดาวิดกักบริเวณอับซาโลมให้อยู่แต่ในราชวัง จนทำให้เขาทนต่อไปอีก ไม่ไหว ดิ้นรนจนได้รับอิสรภาพ ในที่สุดสามารถไปไหนมาไหนได้ตามใจชอบ หลังจากได้อิสรภาพแล้ว อับซาโลมกลับใช้มันไปในทางที่ผิด หันเหจิตใจของคนอิสราเอลไปจากดาวิด ให้มาที่ตนแทน เมื่อเห็น สมควรแล้ว เขาขอนุญาติดาวิดไปที่เมืองเฮโบรน ด้วยเหตุผลว่าจะไปแก้บน แต่ความจริงแล้ว ไปก่อการกบฎ ต่อต้านดาวิดที่นั่น ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

เมื่อมาถึงบทเรียนตอนนี้ ข่าวมาถึงดาวิดว่าประชาชนไปเข้าพวกกับอับซาโลมจนหมดสิ้น และกำลังจะมาล้ม ล้างราชบัลลังก์ ดาวิดตัดสินใจหนีออกจากเยรูซาเล็ม พร้อมผู้ติดตาม มีหลายคนตามไปเป็นเพื่อน (และมี บางคนสมัครใจอยู่ที่เยรูซาเล็ม) สิ่งนี้แหละ คือการพิสูจน์ ว่าใครคือเพื่อนแท้ของดาวิด

การเข้าสู่บทเรียน

ผมคิดว่าผู้เขียนกำลังชี้โครงร่างของพระธรรมตอนนี้ให้เราเห็น โดยเรียงทั้งตามประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เมื่อดาวิดหนีออกจากเยรูซาเล็ม ท่านมุ่งขึ้นเหนือและไปทางตะวันตก จนถึงถิ่นทุรกันดาร ซึ่งอยู่ทางตะวันตก ของแม่น้ำจอร์แดน ท่านคอยอยู่ที่นั่นจนกว่าจะรู้แผนการของอับซาโลม เมื่อท่านรู้ว่า อับซาโลมจะตามมาโจมตี ท่านข้ามแม่น้ำจอร์แดนและมุ่งขึ้นเหนือ โครงร่างของพระธรรมจะจัดเรียงไปตามที่ๆดาวิดหยุดพัก จากเยรูซา เล็ม ไปจนถึงถิ่นทุรกันดาร ฉากแรกอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม ดาวิดได้ยินเรื่องที่เกิดขึ้นในเฮโบรน และตัดสินใจหนี ฉากสุดท้ายจบลงที่เยรูซาเล็ม เมื่ออับซาโลมมาถึง และเข้ายึดครองนางสนมทั้งสิบ ที่ดาวิดทิ้งไว้ที่พระราชวัง ฉากที่สองจะเป็นที่ "บ้านหลังสุดท้าย" ในระหว่างที่ดาวิดหนีออกจากเยรูซาเล็ม ฉากที่สามคือที่ลำธาร ขิดโรน และที่สี่คือทางขึ้นบนภูเขามะกอกเทศ ฉากที่ห้าอยู่บนยอดเขาเขามะกอกเทศ และที่หกอยู่ีที่บาฮูริม ในที่แต่ละแห่ง จะมี "เพื่อน" คือบรรดาเพื่อนแท้ของท่านทั้งหลายมาขอพบ

ฉาก 1: ที่พระราชวังในเยรูซาเล็ม
(15:13-16)

13 ผู้สื่อสารคนหนึ่งมาเฝ้าดาวิดกราบทูลว่า "ใจของคนอิสราเอล ได้คล้อยตาม

อับซาโลมไปแล้ว" 14 แล้วดาวิดรับสั่งแก่บรรดาข้าราชการที่อยู่กับพระองค์ ณ

เยรูซาเล็มว่า "จงลุกขึ้นให้เราหนีไปเถิด มิฉะนั้นเราจะหนีไม่พ้นจากอับซาโลม

สักคนเดียว จงรีบไป เกรงว่าเขาจะตามเราทันโดยเร็วและนำเหตุร้ายมาถึงเรา และทำลายกรุงนี้เสียด้วยคมดาบ" 15 ข้าราชการของพระราชาจึงกราบทูลพระรา

ชาว่า "ดูเถิด ข้าพระบาทพร้อมที่จะกระทำตามสิ่งซึ่งพระราชาเจ้านาย ของข้า พระบาทตัดสินพระทัยทุกประการ" 16 พระราชาก็เสด็จออกไปพร้อมกับคนในราช

สำนัก ของพระองค์ด้วย เว้นแต่นางสนมสิบคนได้ทรงละไว้ให้เฝ้าพระราชวัง

มีผู้สื่อสารมาหาดาวิด พร้อมกับข่าวที่ไม่น่าอภิรมย์นัก : "ประชาชนเอาใจไปเข้ากับอับซาโลมแล้ว" ผมเดาว่า ดาวิดคงพอจะรู้อยู่ในใจ ว่าไม่ช้าก็เร็ว เรื่องแบบนี้ต้องเกิดขึ้น ท่านคงไม่ถึงกับหูหนาตาบอด จนไม่รู้ว่าอับซา โลมกำลังทำอะไร และหวังสิ่งใดอยู่ หวังขึ้นแทนที่ท่าน ดาวิดไม่สงสัยในเรื่องที่ได้ยินสักนิด ที่จริงท่านกลับ บอกว่า ถ้าไม่รีบหนี ไม่เพียงแต่เยรูซาเล็มจะถูกอับซาโลมโจมตีเท่านั้น แต่กษัตริย์และข้าราชการในราชสำนัก จะเดือดร้อนแน่นอน

ให้ดูข่าวที่ผู้สื่อสารรายงาน ไม่ได้พูดเรื่องอับซาโลม "เป่าเขาสัตว์" และประกาศตนขึ้นเป็นกษัตริย์เลยสักนิด (ดู 15:10) และไม่มีการพูดถึงอับซาโลมยกพลเข้ามาโจมตีเยรูซาเล็มด้วย น่าจะเป็นที่เข้าใจกันได้ เพราะถ้า ยังไม่เกิดขึ้นตอนนั้น อีกไม่นานเกิดแน่ ต้องรีบดำเนินการบางอย่างทันที

ดูเหมือนดาวิดจะรีรอ จนกระทั่งพวกข้าราชสำนักต้องบอกว่าพร้อมแล้วที่จะทำตามทุกอย่าง ขอแต่เพียงสั่ง การมา ผมขอคิดว่า น่าจะรวมถึงการป้องกันดาวิดและกรุงเยรูซาเล็มจากการโจมตีของอับซาโลมด้วย แต่ แทนที่จะสั่งให้เตรียมการตั้งรับ ดาวิดกลับสั่งให้เตรียมหนีออกจากเยรูซาเล็ม คนนี้ใช่คนเดียวกับที่เคยลุกขึ้น สู้กับโกลิอัทหรือเปล่า ในขณะที่ไม่มีใครกล้าสักคน? แม้กระทั่งกษัตริย์ซาอูล คนๆนี้หรือเปล่า เมื่อถูกนาบาล พูดจาหยาบหยาม (1 ซามูเอล 25) โกรธถึงขนาดจะไปฆ่านาบาล และผู้ชายทุกคนในครัวเรือนให้หมดสิ้น เหตุใดดาวิดจึงอยากหนี มากกว่าอยู่ต่อสู้?

สิ่งแรกเราต้องเข้าใจก่อน ในการหนีออกจากเยรูซาเล็ม ดาวิดไม่ได้พูดว่าท่านจะสละราชบัลลังก์ เหตุนี้ท่าน จึงทิ้งนางสนมทั้งสิบไว้ เพื่อให้ "เฝ้าพระราชวัง" (15:16) ท่านเพียงแต่ละจากเมืองมา แต่ไม่ได้ละจากราช บัลลังก์ อับซาโลมออาจเข้ามายึดไว้ แต่ไม่มีผล เพราะดาวิดไม่ได้กล่าวว่าจะสละราชสมบัติ นางสนมทั้งสิบ เป็นสัญลักษณ์ว่าดาวิดยังปกครองอยู่เหนืออิสราเอล

มีเหตุผลหลายประการ ที่ดาวิดตัดสินใจหนีออกจากเยรูซาเล็ม ถึงแม้ไม่ได้ประกาศสละราชบัลลังก์ ประการ แรกดาวิดรู้อยู่แล้ว ว่าพระเจ้าจะให้เกิดเหตุร้ายขึ้นในแผ่นดิน ในครัวเรือนของท่านเอง ถ้าการกบฎของอับซา โลมเป็นส่วนหนึ่งของการตีสอนที่มาจากพระเจ้า ดาวิดไม่แน่ใจว่าท่านควรต่อต้านหรือไม่ ถ้าเป็นแผนการของ พระเจ้า ถ้าท่านต่อสู้ศึกครั้งนี้ จะเป็นการต่อสู้กับพระเจ้าหรือเปล่า? ดาวิดต้องการจะคอย จนกว่าจะรู้ว่าท่าน ต้องทำอย่างไร :

25 แล้วพระราชาตรัสสั่งศาโดกว่า "จงหามหีบของพระเจ้ากลับเข้าไปใน

เมืองเถิด หากว่าพระเจ้าทรงพอพระทัยเรา พระองค์จะทรงโปรดนำเรากลับ

มา ให้เห็นทั้งหีบนั้นกับที่ประทับของพระองค์ด้วย 26 แต่ถ้าพระองค์ตรัสว่า

'เราไม่พอใจเจ้า' ดูเถิด เราอยู่ที่นี่ ขอพระองค์ทรงกระทำกับเราตามที่พระ

องค์ ทรงโปรดเห็นชอบเถิด" 27 พระองค์ตรัสกับศาโดกปุโรหิตด้วยว่า "ท่าน

เป็นผู้พยากรณ์หรือ จงกลับเข้าไปในเมืองโดยสวัสดิภาพ พร้อมกับบุตรชายทั้ง สองของท่านคืออาหิมาอัสบุตรของท่าน และโยนาธานบุตรของอาบียาธาร์

28 ดูก่อนท่าน เราจะคอยอยู่ที่ท่าข้ามไปถิ่นทุรกันดาร จนจะมีข่าวมาจากท่าน

ให้เราทราบ" (2 ซามูเอล 15:25-28)

นอกจากนั้น ดาวิดอาจเป็นห่วงความปลอดภัยของคนที่อาศัยอยู่ในเยรูซาเล็ม ท่านกำลังทำให้พวกเขาตกอยู่ ในอันตราย โดยต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ปกป้องเมืองไว้หรือเปล่า? จากสดุดี 51:18 เราคงเข้าใจว่ากำแพงเมือง เยรูซาเล็มอาจยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทำให้ยากแก่การป้องกันตนเอง และที่แน่ที่สุด ดาวิดรักอับซาโลม ท่าน ไม่ต้องการให้มีการต่อสู้ เสียเลือดเสียเนื้อเกิดขึ้น (ดู 2 ซามูเอล 18) จะต่อสู้ไปทำไม ในเมื่อไม่ต้องการชัย ชนะ? อับซาโลมพร้อมและต้องการฆ่าดาวิด และคนอื่นๆด้วยถ้าจำเป็น ; ดาวิดไม่ต้องการฆ่าอับซาโลม ท่าน จึงเลือกหนี แทนการต่อสู้

ฉากสอง: ที่ "บ้านหลังสุดท้าย""
(15:17-22)

17 พระราชาก็เสด็จออกไป พลทั้งสิ้นก็ตามพระองค์ไปและเสด็จประทับที่บ้านสุดท้าย78

18 บรรดาข้าราชการทั้งสิ้นเดินผ่านพระองค์ไป บรรดาคนเคเรธีและคนเปเลท กับคนกัท หกร้อยคนที่ติดตามพระองค์มาจากเมืองกัท ได้เดินผ่านพระราชาไป 19 พระราชาจึงตรัส

สั่ง อิททัยคนกัทว่า "ทำไมเจ้าจึงไปกับเราด้วย กลับเถิดไปอยู่กับพระราชา เจ้าเป็นแต่

คนต่างด้าว และถูกเนรเทศมาด้วย จงกลับไปบ้านเมืองของเจ้าเถิด 20 เจ้าเพิ่งมาถึงเมื่อ

วานนี้ และวันนี้ควรที่เราจะให้เจ้าไปมากับเราหรือ ด้วยเราไม่ทราบว่าจะไปที่ไหน จงกลับ

ไปเถิด พาพี่น้องของเจ้าไปด้วย ขอความรักมั่นคงและความสัตย์จริงจงมีกับเจ้าเถิด" 21 แต่อิททัยทูลตอบพระราชาว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด และพระราชาเจ้านาย ของข้าพระบาททรงพระชนม์ อยู่แน่ฉันใด พระราชาเจ้านายของข้าพระบาทเสด็จประทับ

ที่ไหน จะสิ้นพระชนม์หรือทรงพระชนม์ ข้าพระบาทขอไปอยู่ที่นั้นด้วย" 22 ดาวิดก็รับสั่ง

กับอิททัยว่า "จงผ่านไปเถิด" อิททัยชาวเมืองกัทจึงผ่านไปพร้อมกับ บรรดาพรรคพวก

ของเขา ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

ดูเหมือนดาวิดและคนที่ต้องการหนีไปกับท่าน กำลังดำเนินการเรื่องการหนีออกจากเมือง ณ ที่ "บ้านหลัง สุดท้าย" ดาวิดหยุดพัก และอนุญาติให้บรรดาผู้ที่มาด้วย เดินล่วงหน้าไปก่อน น่าจะเป็นบ้านหลังสุดท้าย ที่ ภรรยาและบุตรของท่านอาศัยอยู่ที่ในเยรูซาเล็ม ดูเหมือนจะเป็นบ้านหลังสุดท้าย "ก่อนออกนอกเขตเมือง" ดาวิดหยุดพักที่รอบนอกของตัวเมือง เพื่อให้คนที่ติดตามมา ล่วงหน้าไปก่อน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดาวิดต้องการ ให้คนที่ต้องการจะเปลี่ยนใจ กลับไปได้

ที่นี่เอง ที่ "เพื่อนเก่าผู้สัตย์ซื่อ" ของท่านมาหา ซึ่งก็มีชาวเคเรธี ชาวเปเลท และคนกัท มีการพูดถึงคนเคเรธี และคนเปเลทไปแล้วในตอนต้น (8:18) และต่อมา (23:22-23) ใน 2 ซามูเอล พวกเขาเป็นคนต่างชาติ ไม่ ใช่คนอิสราเอล โดยการนำของเบนานียาห์ คนพวกนี้น่าจะเป็นเหมือนกองทหารเกียรติยศของดาวิด หรือเป็น องครักษ์ส่วนตัว มีหน้าที่ปกป้องความปลอดภัยให้กับกษัตริย์ 79 "คนกัท" เป็นชาวฟิลิสเตียที่มาจากเมืองกัท โกลิอัทเป็นชาวเมืองกัทที่เรารู้จักกันดี (ดู 2 ซามูเอล 21:19) คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่จงรักภักดีต่อดาวิด เป็น พวกที่ติดตามท่าน ขณะหนีออกจากเยรูซาเล็ม เป็นคนต่างชาติ -- ต่างศาสนา และไม่ใช่พึ่งมาติดตามนะครับ เป็นพวกที่อยู่กับดาวิดมาตลอดตั้งแต่เมื่อครั้งหลบหนีซาอูล อยู่ในแผ่นดินฟิลิสเตีย คนพวกนี้ "ตามท่านมา จากเมืองกัท" (15:18)

นอกจากผู้ติดตามที่ซื่อสัตย์ต่างชาติกลุ่มใหญ่นี้แล้ว ยังมีชายอีกคนหนึ่ง เป็นคนต่างศาสนาเหมือนกัน แต่เป็น คนเพิ่งมาถึง่80 เป็นชาวกัทชื่ออิททัย ผู้เขียนให้ความสำคัญโดยกล่าวถึงอิททัยอยู่หลายข้อ (19-22) คนๆนี้ คงจะต้องทั้งจงรักภักดี และมีความสามารถพอที่ดาวิดจะให้คุมกองกำลังได้ในบทที่ 18 81 มีเหตุผลอยู่หลาย ประการ ที่อิททัยรู้สึกว่าตนเองมีหน้าที่ ต้องติดตามดาวิดไป เขาเป็นคนต่างชาติ -- คงไม่ใช่เรื่องการสู้รบ เพราะดูเหมือนเขาเพิ่งมาถึง เนื่องด้วยเขามีผู้ติดตาม หรือญาติพี่น้อง "อายุน้อย" อยู่ด้วยหลายคน จะเป็น ภาระ และเสี่ยงอันตรายเกินไป ถ้าดาวิดจะถูกอับซาโลมไล่ตาม

ดาวิดเรียกอิททัยมาพบส่วนตัว ขอให้เขากลับไปอยู่ในเยรูซาเล็ม หรือไม่ก็กลับบ้านเกิด เขาไม่สมควรมาสู้รบ ไม่สมควรเอาชีวิตคนอื่นมาเสี่ยง ดาวิดขอให้เขาเลิกติดตาม แต่อิททัยไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจ ไม่ยอมทิ้ง ดาวิด คำตอบที่เขาตอบดาวิด คล้ายคลึงกับที่นางรูธตอบนาโอมี :

16 แต่รูธตอบว่า "ขอแม่อย่าวิงวอนให้ฉันจากแม่หรือเลิกติดตามแม่ไปเลย เพราะแม่จะไปไหนฉันจะไปด้วย และแม่จะอาศัยอยู่ที่ไหนฉันก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ญาติของแม่จะเป็นญาติของฉัน และพระเจ้าของแม่ก็จะเป็นพระเจ้าของฉัน 17 แม่ตายที่ไหนฉันจะตายที่นั่น และจะขอให้ฝังฉันไว้ที่นั่นด้วย ถ้ามีอะไรมาพราก ฉันจากแม่นอกจากความตาย ก็ขอพระเจ้าทรงลงโทษฉัน และให้หนักยิ่ง"

(นางรูธ 1:16-17)

21 แต่อิททัยทูลตอบพระราชาว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด และ พระราชา เจ้านายของข้าพระบาททรงพระชนม์ อยู่แน่ฉันใด พระราชา เจ้านายของข้าพระบาทเสด็จประทับที่ไหน จะสิ้นพระชนม์หรือทรงพระชนม์ ข้าพระบาทขอไปอยู่ที่นั้นด้วย" (2 ซามูเอล 15:21)

ความปรารถนาที่อิททัยต้องการติดตามดาวิด น่าจะมากกว่าความชอบพอเป็นส่วนตัว ; ดูเป็นส่วนหนึ่งของ ความเชื่อ เพราะเขาเริ่มต้นด้วยคำพูดว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด … ." ผมเชื่อว่าอิททัยมีส่วน คล้ายนางรูธ เป็นผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้าของอิสราเอลอย่างแท้จริง ไม่เคยคิดที่จะกลับไปบ้านเกิด ไปกราบ ไหว้พระเดิมที่เคยปรนนิบัติมาก่อน

ฉากสาม: ณ ลำธารขิดโรน
(15:23-29)

23 เมื่อพลเดินผ่านไปเสีย ชาวเมือง นั้นทั้งสิ้นก็ร้องไห้เสียงดัง พระราชาก็เสด็จข้าม

ลำธารขิดโรน และพลทั้งหมดก็ผ่านเข้าทางไปถิ่นทุรกันดาร 24 และนี่แน่ะศาโดกก็มา ด้วยพร้อมกับคนเลวีทั้งสิ้น หามหีบพันธสัญญาของพระเจ้ามา และเขาวางหีบของพระ

เจ้าลง ฝ่ายอาบียาธาร์ก็ขึ้นมาจนประชาชนออกจากเมืองไปหมด 25 แล้วพระราชา ตรัส

สั่งศาโดกว่า "จงหามหีบของพระเจ้ากลับเข้าไปในเมืองเถิด หากว่าพระเจ้าทรงพอพระ

ทัยเรา พระองค์จะทรงโปรดนำเรากลับมาให้เห็นทั้งหีบนั้นกับที่ประทับของพระองค์ด้วย

26 แต่ถ้าพระองค์ตรัสว่า 'เราไม่พอใจเจ้า' ดูเถิด เราอยู่ที่นี่ ขอพระองค์ทรงกระทำ กับเราตามที่พระองค์ ทรงโปรดเห็นชอบเถิด" 27 พระองค์ตรัสกับศาโดกปุโรหิตด้วยว่า "ท่านเป็นผู้พยากรณ์หรือ จงกลับเข้าไปในเมืองโดยสวัสดิภาพ พร้อมกับบุตรชายทั้งสอง ของท่านคืออาหิมาอัสบุตรของท่าน และโยนาธานบุตรของอาบียาธาร์ 28 ดูก่อนท่าน เราจะคอยอยู่ที่ท่าข้ามไปถิ่นทุรกันดาร จนจะมีข่าวมาจากท่านให้เราทราบ" 29 ฝ่าย ศาโดกกับอาบียาธาร์จึง หามหีบของพระเจ้ากลับไปยังกรุงเยรูซาเล็มและพักอยู่ที่นั่น

เมื่ออกจากเยรูซาเล็ม ดาวิดและผู้ติดตาม ต้องเดินลงไปยังหุบเขาขิดโรน และขึ้นไปบนภูเขามะกอกเทศ ที่อยู่อีกฝั่ง ฉากที่สามเกิดขึ้นที่หุบเขาขิดโรนนี้ หลังจากข้ามลำธารขิดโรนมาแล้ว ศาโดกปุโรหิตมาถึงพร้อม กับพวกเลวี หามหีบพระบัญญัติมา เขาวางหีบพระบัญญัติลง และรอให้บรรดาผู้ที่ตามมาจากเยรูซาเล็ม ข้ามไปก่อน ดาวิดกล่าวแก่ศาโดก สั่งให้ท่านนำหีบแห่งพระเจ้ากลับไปกรุงเยรูซาเล็ม ถ้าพระเจ้าทรงสถิตย์ กับดาวิด พระองค์จะให้ดาวิดได้กลับคืนสู่เยรูซาเล็ม ไปสู่สถานที่พระองค์เลือกให้ดาวิดอาศัย ถ้าพระเจ้า ไม่ได้สถิตย์กับท่าน ดาวิดรู้ดีว่าหีบพระบัญญัติไม่สามารถช่วยอะไรท่านได้

ทำให้หวนระลึกถึง 1 ซามูเอล 4 ที่อิสราเอลกำลังพ่ายแพ้ต่อชาวฟิลิสเตีย ประชาชนไปหามหีบแห่งพระเจ้า มา โดยคิดว่าจะมีการอัศจรรย์ทำให้พวกเขาชนะ แต่อิสราเอลกลับพ่ายแพ้ บุตรทั้งสองของเอลีถูกฆ่า และ พวกฟิลิสเตียยึดหีบแห่งพระเจ้าไป จบลงที่เอลีล้มลงสิ้นใจ เมื่อได้ยินว่าบุตรทั้งสองตาย และหีบแห่งพระเจ้า ถูกศัตรูยึดไป ดาวิดไม่ได้เห็นว่าหีบแห่งพระเจ้าเป็นเครื่องลางของขลัง ว่าพระเจ้าจะช่วยกู้ให้พ้นภัยผ่านหีบ ดาวิดเห็นว่าหีบแห่งพระเจ้าสมควรอยู่ในเยรูซาเล็ม ท่านจึงไม่คิดจะนำติดตัวไป

นอกจากนี้ ดาวิดรู้ดีว่าศาโดกไม่เป็นแต่เพียงปุโรหิต แต่เป็นผู้เผยพระวจนะด้วย (ในสมัยนั้นเรียกผู้เผยพระ วจนะว่าผู้พยากรณ์ -- ดู 1 ซามูเอล 9:6-9) หมายความว่าข้อมูลที่ศาโดกบอกดาวิดนั้นไว้ใจได้ เพราะใครๆ ย่อมต้องการข้อมูลจากผู้เผยพระวจนะ มากกว่าแหล่งอื่นใด ศาโดกต้องอยู่กับหีบแห่งพระเจ้าที่เยรูซาเล็ม และต้องอยู่เก็บข้อมูลภายใน เพื่อรายงานความเป็นไปให้ดาวิดทราบ ศาโดกสามารถใช้บุตรทั้งสองของท่าน อาหิมาอัสและโยนาธาน รายงานแผนการของอับซาโลมให้ดาวิดที่รอฟังข่าวอยู่ ก่อนเข้าสู่ถิ่นทุรกันดาร เป็น วิธีเดียวที่ดาวิดจะสามารถตัดสินใจได้ ว่าควรหนีเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร รออยู่ที่เดิม หรือ กลับคืนสู่เยรูซาเล็ม

ฉากสี่: ขึ้นสู่ยอดเขามะกอกเทศ
(15:30-37)

30 ฝ่ายดาวิดเสด็จขึ้นไปตามทางขึ้นภูเขามะกอกเทศ เสด็จพลางกันแสงพลาง มีผ้าคลุมพระเศียรเสด็จโดยพระบาทเปล่า และประชาชนทั้งสิ้นที่อยู่กับพระองค์ ก็เอาผ้าคลุมศีรษะเดินไปพลางร้องไห้พลาง 31 มีคนมากราบทูลดาวิดว่า "อาหิ โธเฟลอยู่ในพวกคิดกบฏของอับซาโลมด้วย" ดาวิดกราบทูลว่า "ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงโปรดให้คำปรึกษาของอาหิโธเฟลฟั่นเฝือไป" 32 อยู่มาเมื่อดาวิดมาถึง ยอดซึ่งเป็นที่นมัสการพระเจ้า ดูเถิด หุชัยตระกูลอารคีได้เข้ามาเฝ้า มีเสื้อผ้า ฉีกขาดและดินอยู่บนศีรษะ 33 ดาวิดตรัสกับเขาว่า "ถ้าเจ้าไปกับเราเจ้าจะเป็น

ภาระแก่เรา 34 แต่ถ้าเจ้ากลับเข้าไปในเมืองและกล่าวกับอับซาโลมว่า 'ข้าแต่

พระราชา ข้าพระบาทขอถวายตัวเป็นข้าของฝ่าพระบาท ดังที่ข้าพระบาทเป็น ข้าของพระราชบิดาของ ฝ่าพระบาทมาแต่กาลก่อนฉันใด ข้าพระบาทขอเป็น ข้าของฝ่าพระบาทฉันนั้น' แล้วเจ้าจะกระทำให้คำปรึกษาของอาหิโธเฟลพ่าย

แพ้ไป เพื่อเห็นแก่เรา 35 ศาโดกกับอาบียาธาร์ปุโรหิต ก็อยู่กับเจ้าที่นั่นมิใช่

หรือ สิ่งใดที่เจ้าได้ยินในพระราชวัง จงบอกให้ศาโดกกับอาบียาธาร์ทราบ 36

ดูเถิด บุตรสองคนของเขาก็อยู่ด้วย คืออาหิมาอัสบุตรศาโดก และโยนาธานบุตร

อาบียาธาร์ ดังนั้นเมื่อท่านได้ยินเรื่องอะไรจงใช้เขามา บอกเราทุกเรื่องเถิด"

37 หุชัยสหายของ ดาวิดจึงกลับเข้าไปในเมือง พอดีกับอับซาโลมกำลังเสด็จ

เข้ากรุงเยรูซาเล็ม

เป็นฉากที่น่าเศร้าอย่างแท้จริง ดาวิดเดินขึ้นภูเขามะกอกเทศ ร้องไห้ไปตลอดทางจนถึงยอดเขา มีผ้าคลุม หน้าและเดินเท้าเปล่า บรรดาคนที่ติดตามก็ทำเช่นเดียวกัน มีคนมารายงานดาวิดว่า อาหิโธเฟลไปเข้าพวก กับอับซาโลมแล้ว นับเป็นข่าวร้่ายที่สุด เพราะคำปรึกษาของอาหิโธเฟล ป็นที่เชื่อถือได้ :

23 ในสมัยนั้น คำปรึกษาของอาหิโธเฟลที่ทูลถวาย เหมือนกับเป็นพระบัญชาของ

พระเจ้า ทั้งดาวิดและอับซาโลมจึงทรงนับถือ คำปรึกษาของอาหิโธเฟลมาก

(2 ซามูเอล 16:23)

ขณะที่เรื่องของอาหิโธเฟลเป็นการสูญเสียที่สำคัญยิ่งของดาวิด แต่ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ ดูได้จากพระ ธรรมสองข้อนี้ :

3 ดาวิดทรงใช้คนไปไต่ถามเรื่องผู้หญิงคนนั้น คนหนึ่งมากราบทูลว่า "หญิงคนนี้ชื่อ

บัทเชบา บุตรีของเอลีอัม ภรรยาของอุรีอาห์คนฮิตไทต์มิใช่หรือพ่ะย่ะค่ะ" ?"

(2 ซามูเอล 11:3)

34 เอลีเฟเลทบุตรอาหัสบัยชาวมาอาคาห์ เอลีอัม บุตรอาหิโธเฟล ชาวกิโลห์

(2 ซามูเอล 23:34)

จากพระคำสองข้อนี้ ทำให้เรารู็้ว่าเอลีอัมเป็นบุตรของอาหิโธเฟล ชาวกิโลห์ และบัทเชบาเป็นบุตรสาวของ เอลีอัม พูดง่ายๆก็คือ บัทเชบาเป็นหลานปู่ของอาหิโธเฟล ทำให้เราไม่ต้องคิดนาน ว่าทำไมอาหิโธเฟลจึงทิ้ง ดาวิดไปเข้าพวกกับอับซาโลมผู้เป็นบุตร ที่หวังจะแย่งชิงราชบัลลังก์ แม้จะต้องฆ่าผู้เป็นบิดาก็ยอม? อาหิโธเฟล คงรู้สึกกับดาวิด แบบเดียวกับที่อับซาโลมรู้สึกกับอัมโนน82

ดาวิดตอบสนองต่อข่าวนี้ด้วยการหันหาพระเจ้า อธิษฐานทูลขอให้พระองค์บิดเบือนคำปรึกษาของอาหิโธเฟล เสีย พระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานของท่านในเวลาไม่นานนัก ดาวิดยังไม่ทันจบคำอธิษฐานดี เพื่อนที่ซื่อสัตย์ ของท่าน หุชัยชาวอารคีก็มาถึง เสื้อผ้าขาดวิ่น มีผงคลีดินอยู่บนศีรษะ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการคร่ำครวญ อย่างทุกข์ใจ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องร้ายแรงที่สุด หุชัยพร้อมที่จะไปทุกหนแห่งกับดาวิด แต่ดาวิดเปลี่ยนความ ตั้งใจของเขา พระราชาบอกกับหุชัยว่า ถ้าเขาตามไป จะเป็นการเพิ่มภาระ หุชัยสามารถช่วยได้มากกว่านี้ ด้วย การกลับไปเยรูซาเล็ม ไปทำทีเข้าพวกช่วยเหลืออาหิโธเฟล ด้วยวิธีนี้ หุชัยจะอยู่ในฐานะร่วมให้คำปรึกษา คู่กันกับกับอาหิโธเฟล ดาวิดบอกหุชัยด้วยว่า ศาโดกและอาบียาธาร์ ปุโรหิตเป็นฝ่ายเดียวกัน เมื่อศาโดกและ อาบียาธาร์ได้ยินเรื่องใดจากพระราชวัง ทั้งสองจะส่งข่าวไปถึงดาวิด โดยผ่านทางบุตรทั้งสอง อาหิมาอัสบุตร ของศาโดก หรือโยนาธาน บุตรของอาบียาธาร์ หุชัยจึงกลับเข้าเยรูซาเล็ม ไปถึงพอดีกับที่อับซาโลมมาถึง

ฉากห้า: บนยอดเขามะกอกเทศ
(16:1-4)

    ศิบา เมฟีโบเชท และดาวิด

1 เมื่อดาวิดเสด็จเลยยอดเขาไปหน่อยหนึ่ง ศิบามหาดเล็กของเมฟีโบเชทก็เข้ามา

เฝ้าพระองค์ มีลาคู่หนึ่งผูกอานพร้อม บรรทุกขนมปังสองร้อยก้อน องุ่นแห้งร้อยพวง และผลไม้ฤดูร้อนอีกหนึ่งร้อย กับเหล้าองุ่นหนึ่งถุงหนัง 2 พระราชาตรัสกับศิบาว่า "เจ้านำสิ่งเหล่านี้มาทำไม" ศิบาทูลตอบว่า "ลาคู่นั้นเพื่อราชวงศ์จะได้ทรงขนมปัง และผลไม้ฤดูร้อนสำหรับชายฉกรรจ์รับประทาน และเหล้าองุ่นเพื่อผู้ที่อ่อนเปลี้ยอยู่

กลาง ถิ่นทุรกันดารจะได้ดื่ม" 3 พระราชาตรัสว่า "บุตรเจ้านายของเจ้าอยู่ที่ไหนเล่า" ศิบากราบทูลพระราชาว่า "ดูเถิด ท่านพักอยู่ในเยรูซาเล็ม เพราะท่านว่า 'วันนี้พงศ์พันธุ์ อิสราเอลจะคืนราชอาณาจักร บิดาของเราให้แก่เรา'" 4 แล้วพระราชาตรัสกับศิบาว่า

"ดูเถิด บัดนี้ทรัพย์สมบัติของเมฟีโบเชทก็ตกเป็นของเจ้า" และศิบากราบทูลว่า "ข้าพระบาทขอกราบถวายบังคมข้าแต่ พระราชาเจ้านายของข้าพระบาท ขอข้า พระบาทเป็นที่โปรดปรานของฝ่าพระบาท"

ดาวิดและบรรดาผู้ติดตามได้ขึ้นไปถึงยอดเขามะกอกเทศ ที่นั่นท่านได้พบศิบา ผู้รับใช้ของเมฟีโบเชท เรารู้ จักศิบาครั้งแรกใน 2 ซามูเอล 9 ศิบาเป็นข้าราชการของกษัตริย์ซาอูล และเมื่อดาวิดต้องการรักษาสัญญา ที่ท่านมีต่อโยนาธาน ท่านต้องหาเชื้อสายของซาอูลให้พบ เพื่อจะได้ทำตามคำขอร้องของโยนาธาน มีคน เอ่ยชื่อศิบา ผู้เคยเป็นคนรับใช้ของซาอูล ศิบาถูกเรียกให้มาเข้าเฝ้า เขาเล่าเรื่องเมฟีโบเชทให้ดาวิดฟัง ดาวิดจึงนำเมฟีโบเชทมาเลี้ยงดู ให้ร่วมโต๊ะเสวย และจัดให้อยู่สมกับตำแหน่งบุตรหลานเชื้อสายของซาอูล ดาวิดเลือกให้ศิบาและครอบครัว มีหน้าที่ดูแลเมฟีโบเชท อย่างที่เคยทำมา ก่อนซาอูลสิ้นชีวิต

เราได้พบศิบาอีกครั้ง ครั้งนี้ศิบานำเสบียงสำหรับการเดินทางมาให้ดาวิด ดาวิดถามศิบาว่าทำเช่นนี้ทำไม ศิบา ตอบว่าเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับพระราชาและผู้ติดตาม เพราะหนทางข้างหน้าลำบากยากเย็น 83 ดาวิดถาม ถึงเจ้านายของศิบา เมฟีโบเชท ศิบาตอบว่าเมฟีโบเชทเข้าไปที่เยรูซาเล็ม ด้วยความหวังว่าจะได้ราชบัลลังก์ ของซาอูลบิดาคืนมา ฟังจากที่ศิบาเล่า ดาวิดนำสิ่งที่ท่านมอบให้เมฟีโบเชท มามอบให้กับศิบาและครอบครัว แทน

ฉากหก: ที่บาฮูริม -- ถูกชิเมอีเอาหินขว้าง
(16:5-14)

5 เมื่อกษัตริย์ดาวิดเสด็จมายังตำบลบาฮูริม มีชายคนหนึ่งอยู่ในตระกูลวงศ์วานซาอูล ชื่อชิเมอีบุตรเก-รา เขาออกมาเดินพลางด่าพลาง 6 และเอาหินขว้างดาวิด และขว้าง บรรดาข้าราชการ ของกษัตริย์ดาวิด พวกพลและชายฉกรรจ์ทั้งสิ้นก็อยู่ข้างขวาและ ข้างซ้ายของพระองค์ 7 ชิเมอีร้องด่ามาว่า "เจ้าคนกระหายโลหิต เจ้าคนถ่อย จงไปเสีย

ให้พ้น 8 พระเจ้าได้ทรงสนองเจ้า ในเรื่องโลหิตแห่งพงศ์พันธุ์ของซาอูล ผู้ซึ่งเจ้าเข้าครอง

แทนอยู่นั้น และพระเจ้าทรงมอบราชอาณาจักร ไว้ในมืออับซาโลมบุตรของเจ้า ดูซิ ความพินาศตกอยู่บนเจ้าแล้ว เพราะเจ้าเป็นคนกระหายโลหิต" 9 อาบีชัยบุตรนางเศรุยาห์ จึงกราบทูลพระราชาว่า "ทำไมปล่อยให้สุนัขตายตัวนี้มาด่าพระราชาเจ้านาย ของข้าพระ

บาท ขออนุญาตให้ข้าพระบาทข้ามไปตัดหัวมันออกเสีย" 10 แต่พระราชาตรัสว่า "บุตร

ทั้งสอง ของนางเศรุยาห์เอ๋ย เรามีธุระอะไรกับเจ้า ถ้าเขาด่าเพราะพระเจ้าตรัสสั่งเขาว่า

'จงด่าดาวิด' แล้วใครจะพูดว่า 'ทำไมเจ้าจึงกระทำเช่นนี้'" 11 ดาวิดตรัสกับอาบีชัย และ ข้าราชการทั้งสิ้นของ พระองค์ว่า "ดูเถิด ลูกของเราเองยังแสวงหาชีวิตของเรา ยิ่งกว่านั้น ทำไมกับคนเบนยามินคนนี้ จะไม่กระทำเล่า ช่างเขาเถิดให้เขาด่าไป เพราะพระเจ้าทรง

บอกเขาแล้ว 12 บางทีพระเจ้าจะทอด พระเนตรความทุกข์ใจของเรา และพระองค์จะทรง สนองเราด้วยความดีเพราะเขาด่า เราในวันนี้" 13 ดาวิดจึงทรงดำเนินไปตามทาง พร้อม กับพลของพระองค์ ฝ่ายชิเมอีก็เดินไปตามเนินเขาตรงข้าม เขาเดินพลางด่าพลาง เอา ก้อนหินปาและเอาฝุ่นซัดใส่ 14 พระราชากับพลทั้งปวงที่อยู่กับพระองค์ก็มา ถึงแม่น้ำ จอร์แดนด้วยความเหนื่อยอ่อน จึงทรงพักผ่อนเอาแรง ณ ที่นั่น

บาฮูริมเป็นเมืองเล็กๆ อยู่ต่ำกว่าและไม่ไกลจากเยรูซาเล็ม พาลทิเอล สามี (คนที่สอง) ของมีคาลตามมาส่ง นางไกลถึงเมืองนี้ แล้วต้องกลับไป (2 ซามูเอล 3:14-16) เป็นที่เดียวกับที่สายสืบสองคน คืออาหิมาอัส และ โยนาธานหลบซ่อนตัวอยู่ในบ่อน้ำ จนกระทั่งคนของอับซาโลมเลิกตามหา (2 ซามูเอล 17:17-20) ที่เมืองนี้ มีชายชื่อชีเมอี ผู้ไม่ได้โศกเศร้าไปกับดาวิด หรือช่วยหาเสบียงให้ท่าน แต่กลับมาเยาะเย้ยด่าทอ ปาหินและ เศษดินใส่ท่านและใส่ผู้ติดตาม

พออ่านมาถึงตรงนี้ ผมงงครับว่าหมอนี้ทำตัวโง่ได้ยังไง เขาเป็นแค่คนๆเดียว ใช้วาจาหยาบคายกับดาวิด และทำร้ายท่าน (ผมสงสัยว่าทำไมผู้คุ้มกันดาวิดถึงปล่อยให้ชายคนนี้เข้าจนใกล้จนทำร้ายท่านได้) เขาไม่รู้ หรือว่าอาจถูกตัดหัวได้ ถ้าดาวิดอนุญาติ? ผมคิดว่าผมเคยเห็นในข่าว ที่ผู้ประท้วงมีเพียงท่อนไม้หรือก้อนหิน ในมือ ด่าทอประท้วงผู้ที่เขาคิดว่าเป็นศัตรู ส่วนผู้คุ้มกันมีทั้งรถถัง ปืนผาหน้าไม้ครบครัน แต่คนพวกนี้ก็ไม่กลัว ไม่ยอมหยุดครับ จนต้องมีการเสียเลือดเสียเนื้อกันเกิดขึ้น

คำกล่าวหาของชิเมอีน่าสนใจครับ ให้ลองมาฟังดู เขากล่าวหาว่าดาวิดเป็น "ผู้กระหายเลือด" ทำให้เรานึก ถึงการตายของอุรียาห์ ที่ดาวิดเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลัง แต่ชิเมอีไม่ได้เจาะจงเรื่องนั้น เขาหมายถึงกระหาย เลือดในกรณีของซาอูลและราชวงศ์ (ข้อ 8) ผมคิดว่าชิเมอีพูดเกินไป เมื่อเขากล่าวหาดาวิด (กษัตริย์ที่พระ เจ้าเจิมตั้ง) ว่าเป็น "คนถ่อย" และกล่าวหาว่า ทำให้ซาอูลและพงศ์พันธ์โลหิตตก ทั้งๆที่ท่านไม่ได้เป็นผู้ กระทำ อาบีชัยต้องการปิดปากชายคนนี้ในทันที ด้วยการตัดหัว ดาวิดไม่อนุญาติ ท่านมีความวางใจในพระเจ้า ผู้ครอบครองอยู่ ท่านรู้ว่าชิเมอีทำสิ่งไม่ถูกต้อง และข้อกล่าวหาก็เป็นเท็จ ถึงกระนั้นดาวิดเชื่อว่า อาจเป็นได้ ที่พระเจ้ากำลังตรัสกับท่านผ่านชายคนนี้ ท่านจึงไม่ควรปิดปากคนที่พระเจ้าทรงใช้ ท่านจึงดำเนินต่อ มอบให้ พระเจ้าเป็นผู้จัดการ ท่านรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง รู้สึกอ่อนล้าใจ ในที่สุด ทั้งหมดก็มาถึงที่หมาย ที่ซึ่งพวกเขาจะหยุดรอฟังข่าวจากเยรูซาเล็ม

ฉากเจ็ด: กลับมาที่เยรูซาเล็ม
("ระหว่างรอ อยู่ที่บ้านไร่")
(16:15-23)

15 ฝ่ายอับซาโลมกับประชาชนทั้งสิ้น คือคนอิสราเอลก็มาถึงกรุงเยรูซาเล็ม และ อาหิโธเฟลก็มาด้วย 16 และอยู่มาเมื่อหุชัยชาวอารคี สหายของดาวิดเข้าเฝ้าอับ

ซาโลม หุชัยกราบทูลอับซาโลมว่า "ขอทรงพระเจริญ ขอพระราชาทรงพระเจริญ"

17 และอับซาโลมตรัสกับหุชัยว่า "นี่หรือความจงรักภักดีต่อสหายของท่าน ทำไม ท่านไม่ไปกับสหายของท่านเล่า" 18 หุชัยกราบทูลอับซาโลมว่า "มิใช่พ่ะย่ะค่ะ พระเจ้ากับประชาชนเหล่านี้ กับคนอิสราเอลทั้งสิ้นเลือกตั้งผู้ใดไว้ ข้าพระบาทขอ

เป็นฝ่ายผู้นั้น ข้าพระบาทจะขออยู่กับผู้นั้น 19 อีกประการหนึ่ง ข้าพระบาทควรจะ

ปรนนิบัติผู้ใด มิใช่โอรสของท่านผู้นั้นดอกหรือ ข้าพระบาทได้ปรนนิบัติเสด็จพ่อ ของฝ่าพระบาทมาแล้วฉันใด ก็ขอปรนนิบัติฝ่าพระบาทฉันนั้น" 20 อับซาโลมตรัส

ถามอาหิโธเฟลว่า "เราจะทำอย่างไรดี จงให้คำปรึกษาของท่าน" 21 อาหิโธเฟล กราบทูลอับซาโลมว่า "จงเข้าหานางสนมของเสด็จพ่อของฝ่าพระบาท ซึ่งเสด็จพ่อ ทิ้งไว้ให้เฝ้าพระราชวัง เมื่อคนอิสราเอลทั้งสิ้นได้ยินว่าฝ่าพระบาทได้กระทำ ให้ตน เป็นที่เกลียดชังของเสด็จพ่อแล้ว บรรดามือเหล่านั้นที่อยู่ฝ่ายฝ่าพระบาทก็จะเข้ม

แข็งขึ้น" 22 เขาจึงกางเต็นท์ให้อับซาโลมไว้ที่บนดาดฟ้าหลังคา และอับซาโลม ก็ทรงเข้าหานางสนมของพระราชบิดา ของพระองค์ต่อหน้าอิสราเอลทั้งสิ้น 23 ใน

สมัยนั้น คำปรึกษาของอาหิโธเฟลที่ทูลถวาย เหมือนกับเป็นพระบัญชาของพระเจ้า ทั้งดาวิดและอับซาโลมจึงทรงนับถือ คำปรึกษาของอาหิโธเฟลมาก

ผมขอพูดถึงพระธรรมตอนนี้อย่างสั้นๆ เพราะเป็นกุญแจใขเข้าสู่บทที่ 17 คำแปลของข้อ 1 ในบทที่ 17 มักเริ่ม ต้นด้วย "นอกจากนี้" หรือ "ยิ่งไปกว่านั้น" ที่จริงคำธรรมดาในภาษาฮีบรูที่ใช้เชื่อมประโยค ที่ใช้บ่อยที่สุดคือ คำว่า "และ" ที่ผมพูดเช่นนี้เพราะคิดว่าการแบ่งบทตรงนี้ดูไม่เหมาะสม เพราะไปแบ่งเรื่องที่น่าจะอยู่ด้วยกัน ออกเป็นสอง บทที่ 16:25-33 และ 17:1-4 เป็นเรื่องที่อาหิโธเฟลให้คำแนะนำแก่อับซาโลมสองเรื่อง คือ: (1) ให้เข้าหานางสนมของดาวิด เพื่อเป็นการประกาศตนว่าเป็น "กษัตริย์" และ (2) "ขอกำลัง 12,000 คน เพื่อไปตามล่าหาดาวิดให้ได้ในคืนนั้น"

สำหรับบทเรียนตอนนี้ ผมขอมุ่งไปที่ 16:20-23 เพียงเรื่องเดียว เป็นเรื่องคำปรึกษาแรกที่อาหิโธเฟลให้ แก่ อับซาโลม ในบทเรียนหน้า เราจะกลับมาดูข้อพระคำนี้กันอีกครั้ง ดูถึงความเกี่ยวเนื่องกับบทต่อไป

ผู้เขียนไม่เคยกล่าวถึงเรื่องที่อับซาโลม "เป่าเขาสัตว์" เพื่อเป็นเครื่องหมายแก่ประชาชน ให้เข้าเป็นพันธมิตร กับกษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอล (15:10) การที่ดาวิดหนีไปจากเยรูซาเล็ม ทำให้อับซาโลมได้ใจ กล้าที่จะ เข้ามายึดและครอบครองเมืองหลวง เมื่อเข้ามาถึง อับซาโลมขอคำปรึกษาจากอาหิโธเฟล ว่าควรทำสิ่งใดต่อ อาหิโธเฟลให้คำแนะนำ ให้อับซาโลมสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ด้วยการกระทำ เป็นที่ประกาศแ่ก่ดาวิดและอิสราเอลทั้งปวง อาหิโธเฟลแนะนำให้อับซาโลมเข้าหาภรรยาทั้งสิบของดาิวิด (หรือนางสนม -- เป็นคำที่ใช้สลับกันไปมา) และหลับนอนกับนางเหล่านี้อย่างเปิดเผย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ แห่งการครอบครองบัลลังก์ (และฮาเร็ม) การเข้าครอบครองฮาเร็มของใครก็ตาม เท่ากับเป็นการประกาศว่า เข้าแทนที่แล้ว รูเบนทำเช่นเดียวกันโดยเข้าหานางสนมของยาโคบ (ปฐก. 35:22; 49:4) อาโดนียาห์ พยายามทำในแบบเดียวกันกับอาบีชาค นางสนมของดาวิด (1 พกษ. 2:13-25)

ผมอยากจะย้ำตรงนี้ว่า สิ่งที่อับซาโลมกระทำกับนางสนมของดาวิด ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงสัญลักษณ์ของ การเข้าครอบครองราชบัลลังก์เท่านั้น แต่เป็นการทำให้คำพยากรณ์ที่นาธันกล่าวไว้ในบทที่ 12 เป็นจริง :

9 ทำไมเจ้าดูหมิ่นพระวจนะของพระเจ้า กระทำสิ่งที่ชั่วในสายพระเนตรของพระองค์ เจ้าได้ฆ่าอุรีอาห์คนฮิตไทต์เสียด้วยดาบ เอาภรรยาของเขามาเป็นภรรยาของตน และได้ฆ่าเขาเสียด้วยดาบของคนอัมโมน 10 เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่คลาดไปจาก

ราชวงศ์ของ เจ้าเพราะเจ้าได้ดูหมิ่นเรา เอาภรรยาของอุรีอาห์คนฮิตไทต์มาเป็น

ภรรยาของเจ้า' 11 พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'ดูเถิด เราจะให้เหตุร้ายบังเกิดขึ้นกับเจ้า จากครัวเรือนของเจ้าเอง และเราจะเอาภรรยาของเจ้าไปต่อหน้าต่อตาเจ้า ยก ไปให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้า ผู้นั้นจะนอนร่วมกับภรรยาของเจ้าอย่างเปิดเผย

12 เพราะเจ้าทำการนั้นอย่างลับๆ แต่เราจะกระทำการนี้ต่อหน้า อิสราเอลทั้งสิ้น

และอย่างเปิดเผย'" "' (2 ซามูเอล 12:9-12 และผม)

เราคงไม่ต้องสงสัยว่า พระเจ้าทรงกระทำในสิ่งที่พระองค์ตรัสผ่านนาธันไว้ทุกประการ ผู้เขียนไม่ต้องการให้เรา พลาดความจริงของเหตุการณ์นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคำพยากรณ์ของนาธัน ดาวิดทำบาปกับหญิงคนหนึ่ง แย่ง นางมาทั้งๆที่รู้ว่านางเป็นภรรยาของคนอื่น บัดนี้อับซาโลมเข้าหานางสนมทั้งสิบของดาวิด และหลับนอนกับ พวกนาง ดาวิดทำบาปในที่ลับ ; อับซาโลมจงใจประจานความบาปของตนเองต่อหน้าสาธารณชน เพื่อต้องการ ให้อิสราเอลทั้งปวงเห็นและรับรู้ ดาวิดรู้สึกอับอายในเรื่องนี้เป็นที่สุด ฉะนั้นขออย่าให้เราคิดสั้นๆว่า ทำบาปนั้นคุ้ม นะครับ ถ้าเพียงแต่ดาวิดจะรู้ว่าบาปของท่านนำไปสู่เรื่องใดบ้าง ท่านคงไม่เลือกเดินในหนทางบาปเด็ดขาด ขอให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาดของดาวิด (ความบาป) อย่าเลือกเลียนแบบท่าน เพราะบาปไม่เคยทำให้ใคร ได้ดีหรอกครับ

บทสรุป

ขณะที่เราสรุปบทเรียนเรื่องนี้ ผมอยากให้เราหยุดคิดชั่วครู่ ถึงสิ่งที่เราเรียนรู้ และสามารถนำมาใช้ได้กับชีวิตของเรา

บทเรียนตอนนี้สอนเรามากมายถึงมิตรแท้ พระธรรมสุภาษิตพูดถึงเรื่องมิตรนี้ไว้หลายข้อ และพูดถึงเรื่อง "เพื่อน" ประเภทอื่นอีก:

6 คนเป็นอันมากเอาอกเอาใจคนใจกว้าง และทุกคนก็เป็นมิตรกับคนที่ให้ ของกำนัล (สุภาษิต 19:6)

7 พวกพี่น้องของคนยากจนก็ยังเกลียดเขา มิตรของเขาจะยิ่งไกลจากเขา สักเท่าใด เขาพยายามพูด แต่ไม่มีใครยอมฟัง (สุภาษิต 19:7)

10 อย่าทอดทิ้งมิตรของเจ้า และมิตรของบิดาเจ้า และอย่าไปที่เรือนพี่น้อง ของเจ้า ในวันลำบากยากเย็นของเจ้า เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ดีกว่าพี่น้องที่อยู่ ห่างไกล (สุภาษิต 27:10)

ในพระธรรมตอนนี้ เราเห็นว่าใครเป็นมิตรแท้ของดาวิด ที่น่าทึ่งคือ หลายคนไม่ใช่คนยิว เป็นเพียงคนต่างชาติ ท่านได้มิตรแท้หลายคนมา ในขณะที่ท่านเผชิญกับความทุกข์ยาก หลบหนีเพื่อเอาชีวิตรอด

ผมหวังว่าที่คริสตจักรของเราและที่อื่นๆ สมาชิกทุกคนจะมีเพื่อนแท้ในท่ามกลางพี่น้องในพระคริสต์ ที่เราจะ นมัสการและร่วมรับใช้ด้วยกัน แต่มันไม่ง่ายนัก แม้แต่ อ.เปาโลเองยังถูกเพื่อนๆปฏิเสธ (ดู 2 ทิโมธี 4:9-11, 16) มีคริสตจักรเพียงไม่กี่แห่ง เช่นที่มาสิโดเนีย และฟีลิปปี ที่ยังคงให้การสนับสนุนท่านอย่างต่อเนื่อง (ฟีลิปปี 4:10-16) มีพี่น้องอยู่ไม่กี่คน เช่นทิโมธีและเอพาโฟรดิทัส ที่ อ.เปาโลวางใจ เมื่อท่านต้องเผชิญ ปัญหา (ฟีลิปปี 2:19-30) แต่สิ่งหนึ่งที่ อ.เปาโลรู้แน่แก่ใจ คือท่านมี "เพื่อนแท้" ที่จะไม่มีวันละทิ้งท่าน :

24 มีเพื่อนที่แสร้งทำเป็นเพื่อน แต่มีมิตรบางคนที่ใกล้ชิดยิ่งกว่าพี่น้อง (สุภาษิต 18:24)

16 ในการแก้คดีครั้งแรกของข้าพเจ้านั้น ไม่มีใครเข้าข้างข้าพเจ้าสักคนเดียว เขาได้ละทิ้งข้าพเจ้าไปหมด ขอโปรดอย่าให้พวกเขาต้องได้รับโทษเลย 17 แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงประทับอยู่ใกล้ข้าพเจ้า และได้ทรงประทานกำลังให้

ข้าพเจ้า ประกาศพระวจนะได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้คนต่างชาติทั้งปวงได้ยิน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงรอดพ้นจากปากสิงห์ 18 องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดช่วย ข้าพเจ้าให้พ้นจากการร้ายทุกอย่าง และจะทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดเข้าสู่แผ่น

ดินสวรรค์ของพระองค์ พระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆไปชั่วนิตย์นิรันดร์ อาเมน

(2 ทิโมธี 4:16-18)

5 ท่านจงอย่าเป็นคนเห็นแก่เงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์

ได้ตรัสว่า เราจะไม่ละท่าน หรือทอดทิ้งท่านเลย (ฮีบรู 13:5) 84

"เพื่อน" ผู้จะไม่มีวันทอดทิ้งโมเสส หรือโยชูวา หรือเปาโล หรือดาวิด ก็คือองค์พระเยซูคริสต์ พระองค์ไม่ได้ อยู่ภายใต้อิทธิพลของใคร ไม่ได้ย่อท้อกับความทุกข์ยากลำบาก พระองค์ทนต่อการถูกปฏิเสธ ทนทรมาณเพื่อ ให้เราได้รับความรอด พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง เป็นสัญลักษณ์ของมิตรแท้

พระธรรมตอนนี้เตือนเราว่าพระเจ้าทรงรักษาพระคำเสมอ และความบาปไม่เคยคุ้มกับราคา พระเจ้า ทรงตรัสผ่านนาธัน ว่าบาปที่ดาวิดทำกับนางบัทเชบา จะมีผลทำให้ท่านต้องเผชิญความทุกข์ในแบบเดียวกับ บาปที่ท่านทำไว้ แต่จะเต็มขนาดกว่า ดาวิดไปแย่งภรรยาผู้อื่นมาอย่างลับๆ ; ท่านจะต้องทุกข์หนัก เมื่อชาย คนอื่นมาแย่งภรรยาทั้งสิบของท่านไป อย่างเปิดเผย ความบาปไม่เคยคุ้ม ไม่เคยคุ้มกับความสูญเสีย พระคำ ตอนนี้ทำให้เราเห็นดาวิดและทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องเดินอยู่ใน "เส้นทางแห่งน้ำตา" เต็มด้วยความทุกข์สาหัส เต็มด้วยน้ำตา ก็เพราะบาปตัวเดียว บาปของดาวิด

พระธรรมตอนนี้เรียกให้เราตระหนักถึงความอุ่นใจ ที่รู้ว่าพระเจ้าทรงอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คืออำนาจที่มีสิทธิเด็ดขาด และควบคุมอยู่เหนือทุกสิ่ง พระเจ้าทรงครอบครองเหนือสรรพสิ่งทีพระองค์ทรง สร้าง เหนือมนุษย์ ไม่มีิสิ่งใดที่ทำให้แผนการของพระเจ้า พระประสงค์และพระสัญญาบิดเบือนไปได้ พระเจ้า บอกกับดาวิดว่าท่านจะได้รับผลอย่างไรในบาปครั้งนี้ และเราเห็นว่ามันเกิดขึ้นจริง ซึ่งไม่เป็นเรื่องที่น่าประ หลาดใจ พระเจ้าสัญญากับดาวิดว่าท่านจะไม่ตาย และอาณาจักรของท่านจะไม่สูญสิ้น เราจึงเห็นว่าพระเจ้า ทรงปกป้องชีวิตของดาวิด แม้ในท่ามกลางความทุกข์ของท่าน พระเจ้าทรงเตรียมหนทางหลายวิธี ที่ดาวิด คาดไม่ถึง โดยเฉพาะทางเพื่อนของท่านเอง ซึ่งไม่ใช่เป็นคนอิสราเอลด้วยซ้ำไป

ด้วยอำนาจอธิปไตยของพระองค์ พระเจ้าใช้ศัตรูของดาวิด คนชั่วร้าย มาทำให้พระประสงค์ และพระสัญญา เกิดขึ้น พระองค์ใช้หุชัยให้ไปบิดเบือนคำปรึกษาของอาหิโธเฟล ทรงใช้นักรบต่างชาติมาต่อสู้เพื่อท่าน ใช้แม้ กระทั่งคนปากสามหาวอย่างชิเมอี มาทำให้ดาวิดต้องถ่อมใจ ถึงแม้สิ่งที่เขาพูดกล่าวหาจะเป็นเท็จก็ตาม พระเจ้าทรงใช้สิ่งเหล่านี้มาตีสอนดาวิด เพื่อให้ท่านได้รับการเยียวยา

ด้วยอำนาจอธิปไตย พระเจ้าทรงใช้เวลาอันยากลำบากนี้ มาทำให้ดาวิดเติบโตขึ้นในความเชื่อ และ ในการปฏิบัติตน พระเจ้าทรงใช้ "ความชั่ว" มาทำให้ดาิวิดเป็น "คนดี" พระธรรมโรม 8:28 เกิดขึ้นเป็นจริง ในชีวิตของดาวิด โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช่นนี้ "ในทุกสิ่ง" ที่พระเจ้ากระทำในผู้ที่รักพระองค์ ล้วนแล้วก็ เพื่อให้เกิด "ผลดี" แก่เราทั้งสิ้น การทนทุกข์และรอยน้ำตาในชีิวิต จะเป็นที่ถวายแด่พระสิริของพระองค์ พระเจ้าไม่ได้อนุญาติให้สิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อมาทำลายดาวิด แต่เพื่อมาดึงท่านเข้าไกล้พระองค์ ด้วยความถ่อมใจ และวางใจในพระองค์

การต้องหนีออกจากเยรูซาเล็มด้วยน้ำตานองหน้า เป็นความเศร้าเหลือที่จะกล่าว แต่ในท่ามกลางความเศร้า มีบางสิ่งดีแอบแฝงอยู่ เราได้เห็นการตอบสนองของดาวิดต่อวันอันมืดมนในชีวิตของท่าน เราเห็นบางอย่างที่ไม่ ค่อยจะได้เห็นนัก เราเห็นว่าในท่ามกลางความอับอาย และจิตใจที่แตกสลาย เราเห็นในสิ่งที่เราไม่เคยเห็น ขณะที่ท่านประสพความสำเร็จ "ดาวิด" คนเดียวกันนี้ เคยกระหายอยากฆ่านาบาล และครัวเรือนทั้งสิ้นของเขา เพราะถูกด่าว่า อย่างหยาบคาย แต่บัดนี้ท่านกลับยอมทนวาจาสามหาวของชิเมอี เพราะท่านรู้สึกว่า บางสิ่งที่เขา พูดเป็นความจริง ดาวิดยอมที่จะเรียนรู้จากศัตรู และอดทนต่อการถูกกดขี่ข่มเหง

ในหลายทาง การยอมทนของดาวิด เตือนเราให้เห็นถึงภาพการทนทุกข์ของพระคริสต์ เมื่อเราอ่านพระธรรม ตอนนี้ เราิอดไมได้ที่จะนึกถึงเมื่อพระเยซูถูกปฏิเสธ โดยคนของพระองค์เอง ประชากรอิสราเอล แต่คนต่าง ชาติ ต่างศาสนากลับยอมรับพระองค์ เราเห็นอับซาโลมทรยศต่อบิดาของตน ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งเหมือนกับ ยูดาส สาวกของพระเยซูเองทรยศต่อพระองค์ ขณะที่ดาวิดและบรรดาผู้ติดตาม กำลังหนีออกจากเยรูซาเล็ม ไปยังภูเขามะกอกเทศ เราเห็นภาพที่พระเยซูแบกกางเขนออกจากเยรูซาเล็ม มุ่งสู่เนินหัวกระโหลก ในท่าม กลางความโศกเศร้านี้ เราเห็นภาพเงาแห่งความหวังในพระราชกิจ ที่พระเยซูกระทำบนไม้กางเขน เช่นเดียว กับที่ดาวิดถูกปฏิเสธ ในฐานะกษัตริย์ของอิสราเอล ท่านจะมีชัย ได้กลับคืนสู่อิสราเอลอีกครั้ง ในฐานะกษัตริย์ พระเจ้าของเรา ก็เช่นกัน พระองค์จะปราบศัตรูลงอย่างราบคาบ และจะจัดตั้งราชบัลลังก์ถาวรบนโลกนี้ ขอให้ เรามีความหวัง และวางใจในบุตรดาวิด ผู้เสด็จมาเพื่อช่วยคนบาป และจัดตั้งอาณาจักรอันชอบธรรมของพระ องค์บนแผ่นดินโลกนี้


78 ฉบับ NIV ใช้คำว่า "สถานที่อยู่ห่างไกลออกไป"

79 เพื่อนผมชี้ให้เห็นว่า อาคีช กษัตริย์เมืองกัท แต่งตั้งดาวิดให้เป็นผู้คุ้มกันตลอดชีพ (1 ซามูเอล 28:1-2) เป็นเพราะว่า ผู้คุ้มกันที่เป็นคนต่างชาติ น่าจะจงรักภักดี และยากที่จะไปมีส่วนสมรู้ร่วมคิดในการโค่นราช บัลลังก์หรือเปล่า? อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ที่ดาวิดจะมีทหารองครักษ์เป็นชาวเคเรธี และชาว เปเลท

80 ในพระคัมภีร์ ดาิวิดพูดถึงอิททัยว่า "เพิ่งมาถึงเมื่อวานนี้" (15:20) จึงเป็นที่ชัดเจนว่า อิททัยคงต้องอยู่ กับดาวิดมานานกว่านั้น เพราะเขาจะได้รับเลือกให้คุมกองกำลังหนึ่งในสาม ไปสู้รบกับอับซาโลมในบทที่ 18 ข้อ 2 "เพิ่งมาถึงเมื่อวานนี้" คงต้องเป็นเหมือนคำพูด ที่พูดกับคนคุ้นเคย แปลว่า"เพิ่งกลับเข้ามา"

81 เราคงอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอิททัย ไม่ถูกเลือกให้คุมกำลังชาวกัทที่ติดตามดาวิดไป ในขณะที่ท่าน อพยพหนีออกจากเยรูซาเล็ม

82 "มีความเป็นไปได้ ที่ตั้งแต่อุรียาห์ถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม อาหิโธเฟลคอยจ้องหาทางแก้แค้น พอบุตร ของดาวิดเอง อับซาโลมก่อกบฎ โอกาสก็มาถึง "ยอห์น เจ ดาวิส และยอห์น ซี วิทโคมบ์ เขียนไว้ในหนังสือ Israel: From Conquest to Exile (สำนักพิมพ์ Winona Lake, Indiana, BMH Books, 1969, 1970, 1971) หน้า 313

83 ผมงงครับ เพราะมีหลายคนกล่าวหาว่าศิบาทำสิ่งนี้เพราะมีบางอย่างแอบแฝง ผมคิดว่าเราต้องนำบางเรื่อง มาพิจารณาดูเกี่ยวกับเมฟีโบเชทในบทที่ 19 เขาไปพบดาวิดขณะเดินทางกลับเยรูซาเล็ม คืนสู่ราชบัลลังก์ เขาโทษว่าถูกศิบาใส่ร้าย ผลก็คือดาวิดแบ่งสมบัติของเมฟีโบเชทให้ศิบาครึ่งหนึ่งในบทที่ 19 ดูเหมือนข้อ เท็จจริงเป็นอย่างไรไม่มีใครทราบ แต่ดาวิดคงทราบดี ท่านจึงแบ่งที่ดินของซาอูลออกให้ศิบาครึ่งหนึ่ง ผมทำ ใจไม่ได้ืัที่จะกล่าวหาศิบาทั้งหมด และเชื่อเมฟีโบเชท ในเมื่อดาวิดเองยังไม่เชื่อเลยครับ

84 ไม่ว่าพระธรรมฮีบรู อ.เปาโลจะเป็นผู้เขียนหรือไม่ก็ตาม ท่านอัครสาวกก็ทราบความจริงข้อนี้ ซึ่งถ่ายทอด มาจากพระคัมภีร์เดิม (เฉลยธรรมบัญญัติ 31:6; โยชูวา 1:5)

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 16: วันอันมืดมนของดาวิด (2 ซามูเอล 16:20 -- 19:8)

คำนำ

ชื่อเรื่องของพระธรรมตอนนี้ คล้ายกับหนังโทรทัศน์สมัยเก่าอยู่เรื่องหนึ่ง "เรื่องปฏิบัตการเหนือชั้น" (Mission Impossible) ในหนังเรื่องนี้ มร.เฟลพส์มักได้รับมอบภาระกิจสำคัญให้ทำ -- และเป็นงานที่ไม่มีทางสำเร็จได้ บทเรียนตอนนี้ก็เช่นกัน อัับซาโลมกำลังจะประกาศตั้งตนเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล แทนบิดา เมื่อดาวิดได้ยิน เรื่องการกบฎนี้ ท่านเลือกที่จะหนีออกจากเยรูซาเล็ม มีผู้จงรักภักดีต่อท่าน ติดตามไปด้วยหลายคน บทเรียน ก่อนหน้านี้เต็มไปด้วยน้ำตา ขณะที่ดาวิดต้องอพยพ ทิ้งเยรูซาเล็มไว้เบื้องหลัง มุ่งสู่ถิ่นทุรกันดาร ท่านทิ้ง หุชัย เพื่อนที่ซื่อสัตย์ ทิ้งศาโดกและอาบียาธาร์ ผู้เป็นปุโรหิต (และหีบแห่งพระเจ้า) ไว้ให้อยู่ในเยรูซาเล็ม ที่ พวกเขาจะเป็นหูเป็นตาให้ท่านได้ ศาโดกเป็นผู้เผยพระวจนะ ท่านสามารถให้ข้อมูลที่ดาวิดเชื่อใจได้ (ได้รับ การดลใจ) ในเรื่องที่อับซาโลมคิดจะทำ บุตรของศาโดกและอาบียาธาร์ อาหิมาอัสและโยนาธาน เป็นคนคอย ส่งข่าว ดาวิดยังคอยข่าวจากศาโดก "อยู่ที่ทางเข้าถิ่นทุรกันดาร" ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน จน กว่าจะรู้ว่าอับซาโลมคิดทำสิ่งใด

เมื่ออับซาโลมมาถึง และเข้าครอบครองเมืองหลวงแล้ว เขาเรียกหาอาหิโธเฟล เพื่อขอคำปรึกษา ว่าต้องทำ ประการใด เพื่อตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ อาหิโธเฟลให้คำปรึกษาสองประการ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองบท (คือ ปลายบทที่ 16 และ ต้นบทที่ 17) คำแนะนำประการแรกของอาหิโธเฟล คือต้องประกาศตนเป็นกษัตริย์โดย แสดงสัญลักษณ์ให้เห็นกันทั่ว ด้วยการหลับนอนอย่างเปิดเผยกับนางสนมทั้งสิบของดาวิด ที่ท่านทิ้งไว้ให้เฝ้า พระราชวังในเยรูซาเล็ม สิ่งนี้จะเป็นการประกาศให้อิสราเอลทั้งปวง ทราบอย่างชัดเจน ถึงสัมพันธภาพ ระหว่างตัวเขา บิดา และราชบัลลังก์

คำปรึกษาตอนสองของอาหิโธเฟล อยู่ในข้อ 1-3 ของบทที่ 17 เขาแนะนำให้รีบติดตามดาวิดไป แยกท่าน ออกมา และฆ่าเสีย เพื่อทำให้ผู้ติดตามดาวิดบังเกิดความกลัว และเปลี่ยนใจมาสามิภักดิ์อับซาโลม กษัตริย์ องค์ใหม่แทน อับซาโลมและพวกผู้ใหญ่ของอิสราเอลชอบความคิดนี้ แต่อับซาโลมต้องการความเห็นอื่นมา สนับสนุน จึงเรียกหาหุชัย เมื่อหุชัยมาถึง ก็รับรู้เรื่องคำแนะนำที่อาหิโธเฟลได้ให้ไว้

คุณอยากเป็นหุชัยในตอนนั้นมั้ยครับ? เขารู้ดีว่าอับซาโลมคลางแคลงใจในตัวเขา เพราะเคยเป็นเพื่อนดาวิด มาก่อน (16:16-19) เขาต้องรู้แล้วด้วยว่า อับซาโลมและพวกผู้ใหญ่เห็นชอบกับคำแนะนำของอาหิโธเฟล ยิ่งไปกว่านั้น เขารู้ว่าอับซาโลมเชื่อใจอาหิโธเฟลขนาดไหน เพราะคำปรึกษาของอาหิโธเฟลเป็นเหมือนกับ "พระบัญชาของพระเจ้า" (16:23) หุชัยเป็นเพื่อนของดาวิด และเขารู้ว่า คำปรึกษาของเขาจะมีผลอย่าง ใหญ่หลวงต่อชีวิตของดาวิด คุณเห็นด้วยหรือเปล่าครับว่าเรื่องนี้มัน "mission impossible" จริงๆ?

มีเรื่องอันตรายแอบแฝงอยู่เล็กน้อยตรงนี้ ทั้งคุณและผมรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังดี ดาวิดอธิษฐานขอให้พระเจ้า บิดเบือนคำปรึกษาของอาหิโธเฟลเสีย (15:31) และเรารู้ล่วงหน้าด้วยว่า "พระเจ้าทรงสถาปนา ที่จะให้ คำปรึกษา อันดีของอาหิโธเฟลพ่ายแพ้ เพื่อพระเจ้าจะทรงนำ เหตุร้ายมายังอับซาโลม" (17:14) เมื่อรู้แล้วทำให้เรามองไม่เห็นถึงความสำคัญในภาระกิจของหุชัย เรารู้สึกว่า ยังไงๆอับซาโลมและพวกผู้ใหญ่ ของอิสราเอลต้องรีบทำตามคำปรึกษาของหุชัยทันที ไม่ว่าจะโง่เง่าขนาดไหนก็ตาม เรามองไม่เห็นค่าของ คำปรึกษา และคิดว่า ไม่ว่าคำปรึกษาจะออกมาอย่างไร อับซาโลมต้องทำตาม เพราะเขาถูกพระเจ้าปิดหูปิด ตาจากความจริงเสียแล้ว

ผมขอพูดว่า หุชัยได้รับสติปัญญาอันล้ำลึกมาจากพระเจ้า ทำให้แผนที่เขาเสนอนั้นดูดีมีเหตุผล ทำให้ อับซาโลมต้องมาคิดทบทวนดูใหม่ เราต้องระวังอย่าไปคิดว่า คำปรึกษาของอาหิโธเฟลนั้น "ดี" ในแง่ศีล ธรรม ดูเป็นแผนการที่ดี แต่ถ้าทำสำเร็จ ดาวิดต้องจบชีวิตลง ทำให้อับซาโลมเข้มแข็งขึ้น พอที่จะปกครอง อิสราเอลต่อไปได้ ในแง่ศีลธรรมแล้ว แผนการนี้ไม่ "ดี" เพราะอนุญาติให้ -- ไม่เชิง เป็นการเห็นชอบให้ -- ฆ่ากษัตริย์ที่พระเจ้าเจิมตั้ง ไม่ "ดี" เพราะสนับสนุนอับซาโลมให้ทำบาปล่วงประเวณี โดยการเข้าหาภรรยา ของบิดา แถมด้วยบาปแห่งความทะเยอทะยานของอาหิโธเฟลเอง และแผนการแก้เอาคืน ผ่านคำปรึกษาที่ ตนเองให้กับอับซาโลม

พระธรรมตอนนี้เต็มไปด้วยเล่ห์กระเท่ กลอุบายซับซ้อนเหมือนละคอนโทรทัศน์ และเป็นตอนที่พูดถึงยามเมื่อ ดาวิดต้องเผชิญกับความมืดมนที่สุดในชีวิต ผมไม่คิดว่าดาวิดจะทุกข์โศกมากมายครั้งใดเกินไปกว่าครั้งนี้ ให้ เรามาดูว่า พระเจ้าทรงทำสิ่งใดกับดาวิดในเวลาเช่นนี้ พวกเราเองคงสัมผัสได้ถึงความทุกข์ใจของท่าน ถ้า ดาวิดมีความหวัง มีหนทางรอด ในช่วงเวลาอันมืดมิดเช่นนี้ เราเองก็มีเช่นกัน เมื่อยามต้อง "เดินผ่านหุบ เขาเงามัจจุราช"

คำปรึกษาของอาหิโธเฟล
(16:20--17:4)

20 อับซาโลมตรัสถามอาหิโธเฟลว่า "เราจะทำอย่างไรดี จงให้คำปรึกษาของท่าน"
21 อาหิโธเฟลกราบทูลอับซาโลมว่า "จงเข้าหานางสนมของเสด็จพ่อของฝ่าพระบาท ซึ่งเสด็จพ่อทิ้งไว้ให้เฝ้าพระราชวัง เมื่อคนอิสราเอลทั้งสิ้นได้ยินว่าฝ่าพระบาทได้กระทำ ให้ตนเป็นที่เกลียดชังของเสด็จพ่อแล้ว บรรดามือเหล่านั้นที่อยู่ฝ่ายฝ่าพระบาทก็จะเข้ม
แข็งขึ้น" 22 เขาจึงกางเต็นท์ให้อับซาโลมไว้ที่บนดาดฟ้าหลังคา และอับซาโลมก็ทรง เข้าหานางสนมของพระราชบิดา ของพระองค์ต่อหน้าอิสราเอลทั้งสิ้น 23 ในสมัยนั้น คำปรึกษาของอาหิโธเฟลที่ทูลถวาย เหมือนกับเป็นพระบัญชาของพระเจ้า ทั้งดาวิด และอับซาโลมจึงทรงนับถือ คำปรึกษาของอาหิโธเฟลมาก

1 และอาหิโธเฟลกราบทูลอับซาโลมว่า "ขอโปรดอนุญาตให้ข้าพระบาทเลือกทหาร หนึ่งหมื่นสองพันคน ข้าพระบาทจะยกออกไปติดตามดาวิดคืนวันนี้ 2 ข้าพระบาทจะไป ทันท่านเมื่อท่านยังเหนื่อยอ่อน อยู่และท้อถอย กระทำให้ท่านกลัวตัวสั่น พลทั้งปวง ที่อยู่กับท่านก็จะหนีไป ข้าพระบาทจะฆ่าฟันแต่กษัตริย์ 3 แล้วจะนำประชาชนทั้งสิ้น กลับมาเข้าฝ่ายฝ่าพระบาท เมื่อได้คนที่ฝ่าพระบาทมุ่งหาคนเดียว ก็เหมือนได้ประชา ชนกลับมาทั้งหมดแล้ว ประชาชนทั้งปวงก็จะอยู่เป็นผาสุก" 4 คำทูลนี้เป็นที่พอพระทัย
อับซาโลม และบรรดาผู้ใหญ่แห่งอิสราเอลก็พอใจด้วย

ผมใช้เวลานานพอควร กว่าจะเข้าถึงเนื้อหาตอนนี้ได้ ตอนแรกผมก็คิดว่าคำปรึกษาของอาหิโธเฟลแบ่งเป็น สองตอนตามบทในพระคัมภีร์ ผมไปคิดว่าอับซาโลมขอคำปรึกษาจากอาหิโธเฟล เมื่อได้รับแล้ว เกี่ยวกับเรื่อง การเข้ายึดครอง "สมบัติของบิดา" คือภรรยาทั้งสิบที่ถูกทิ้งไว้ในเยรูซาเล็ม ผมใช้เวลาไปสองสามวันด้วยความ คิดที่ว่าอับซาโลม เข้าหาและ "ครอบครอง" ภรรยาของดาวิดแล้ว จึงค่อยกลับไปหาอาหิโธเฟลอีกครั้ง เพื่อ ขอคำปรึกษา แล้วจึงไปขอความเห็นเพิ่มเติมจากหุชัย แต่ที่จริงไม่เป็นเช่นนั้น

ก่อนอื่นให้เราคิดถึงเหตุการณ์ของบทนี้ในเรื่องของเวลา ดาวิดเมื่อรู้ว่าอับซาโลมจะมายึดครองราชบัลลังก์ รีบหนีออกจาเยรูซาเล็ม นำภรรยาและลูกๆไปด้วย บางคนก็ค่อนข้างมีอายุ ทำให้การหลบหนีค่อนข้างล่าช้า เรื่องราวที่บันทึกไว้ ทำให้เรามองข้ามความเร่งด่วน และเรื่องความยุ่งยากในการอพยพผู้คนจำนวนมากไป อับซาโลมอาจอยู่ไม่ไกลจากพวกเขานัก ถ้าไม่มีการส่งข่าวให้ดาวิดรู้ตัวในทันที และถ้าท่านไม่รีบหลบหนี อับซาโลมอาจไล่มาทัน ทำให้ดาวิดและทุกคนที่อยู่กับท่านต้องตกอยู่ในอันตราย

ดาวิดหนีออกจากเยรูซาเล็ม ขณะที่อับซาโลมเดินทางกระชั้นชิดเข้ามา พร้อมที่จะเข้ามาครอบครองเยรูซา เล็มและราชบัลลังก์แทน อับซาโลมขอคำปรึกษาจากอาหิโธเฟล ทันทีที่ถึงเยรูซาเล็ม และอับซาโลมได้ให้ คำปรึกษา -- เป็นสองตอน ตอนแรกเป็นคำแนะนำว่าอับซาโลมเองควรทำอย่างไร -- ครอบครองภรรยา ของดาวิด ตอนที่สอง อาหิโธเฟลเสนอตัวจะเป็นผู้ลงมือทำการแทนอับซาโลมเอง -- นำกองกำลัง 12,000 คนตามดาวิดไปในคืนนั้นทันที ไปทำให้ดาวิดและผู้ติดตามตกใจกลัวจนตัวสั่น อาหิโธเฟลเสนอว่าจะเป็นผู้ฆ่า ดาวิดด้วยตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด และทำให้บัลลังก์เข้มแข็งขึ้นในเวลาอันสั้น

ถ้าเราดูตามสรรพนามที่ใช้ในพระธรรมด้านบนนี้ เราเห็นว่าอาหิโธเฟล มีข้อแนะนำสำหรับให้อับซาโลมทำ และข้อแนะนำว่าตนเองจะทำอย่างไร ผมเชื่อว่าอาหิโธเฟลต้องการให้ดำิเนินการไปพร้อมๆกัน ไม่ใช่ทำที ละหน ดังนั้นแผนการของอาหิโธเฟลจึงออกมาเช่นนี้ : (1) อับซาโลมจะใช้เวลาไปในการเข้าครอบครอง ภรรยาของดาวิด ต่อหน้าต่อตาชาวอิสราเอล (2) ขณะที่อับซาโลมดำเนินการอยู่ อาหิโธเฟลจะนำกองกำลัง 12,000 คนออกไปตามล่าดาวิด เมื่อไปถึง เขาจะเป็นผู้ลงมือฆ่าดาวิดด้วยตนเอง ทำให้การครอบครอง อาณาจักรใหม่นี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในเวลาอันรวดเร็ว

คำปรึกษาของอาหิโธเฟลเต็มไปด้วย "เล่ห์กล" หลายประการ ประการแรก มันเกิดขึ้นได้ตามนั้น ถ้าพระเจ้า ไม่เข้ามาแทรกแซงเสียก่อน ประการที่สอง เป็นคำปรึกษาที่อับซาโลมอยากทำตาม เขาจะประพฤติตนคล้าย กับบิดา คือไม่ไปสงคราม เลือกอยู่บ้านเพื่อจะ "นอนกับสาวๆ" ในขณะที่อาหิโธเฟล และกองกำลังออกไปทำ สงครามกับดาวิด หลังจากนั้นอับซาโลมสามารถเข้าครอบครองราชบัลลังก์ได้เลย โดยไม่ต้องเสียแรงออกไป สู้รบ นอกจากนั้น เขายังได้ปล่อยเนื้อปล่อยตัวไปกับภรรยาของดาวิด ด้วยวิธีที่ทำให้ผู้เป็นพ่อเจ็บแสบและ อับอายเป็นที่สุด ถ้าดาวิดตายจริง ใครจะเป็นศัตรูตัวจริงของอับซาโลม?

เมื่อเราเรียนรู้ว่าอับซาโลมทำตามคำแนะนำของอาหิโธเฟล เรื่องภรรยาของดาวิด ผมเชื่อว่าเขาทำการนี้ ใน ขณะที่คนอิสราเอลส่วนมากถูกเรียกตัวไปทำสงคราม ที่อาหิโธเฟลนำคน 12,000 คนออกไปตามล่าดาวิด ถ้าเป็นเช่นนั้น -- ซึ่งน่าจะเป็นได้ -- ทำให้เรามองเห็นมุมมองอื่นในเรื่องการครอบครองภรรยาของดาวิดทันที การนี้เป็นไปตามคำพยากรณ์ของนาธันผู้เผยพระวจนะ มันเป็นการประกาศตัวของอับซาโลม ด้วยการใช้ สัญลักษณ์ ซึ่งสร้างความเจ็บปวดมากให้กับดาวิด แต่ขณะเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งในแผนการอันยิ่งใหญ่ของ พระเจ้า เพื่อให้ดาวิดมีเวลาพอที่จะหนีไปได้ ตั้งตัวทัน เอาชนะอับซาโลมได้ และกลับคืนสู่เยรูซาเล็มในฐานะ กษัตริย์ของอิสราเอล เรื่องเจ็บปวดที่สุดบางเรื่องในชีวิตของเรา อาจเป็นแผนการที่ให้เราเกิดผล เพื่อจะทำ การดีที่พระเจ้าปรารถนาจากเรา อาหิโธเฟลและอับซาโลม ตั้งใจจะทำการชั่ว (และเพื่อสนองตัณหาตนเอง) แต่พระเจ้าต้องการให้ออกมาดี (ดูปฐก. 50:20)

อาหิโธเฟลเสนอแผนปฏิการชนิดสั้นง่าย รวดเร็ว และมีชัยให้แก่อับซาโลม เขาจะเป็นผู้ลงมือทำเอง ในขณะที่ "ว่าที่กษัตริย์" จะรออยู่ที่เยรูซาเล็ม ดูเป็นแผนการที่ดีจนเหลือเชื่อ ความจริงก็คือ มันคงเป็นได้ ถ้าพระเจ้า ไม่ได้ มีแผนการอื่นสำหรับดาวิด และอับซาโลม แผนการเหล่านี้จะสำเร็จลงผ่านทางเพื่อนๆของดาวิด : หุชัย ศาโดก และอาบียาธาร์ปุโรหิต พรอ้มด้วยบุตรทั้งสองของเขา อาหิมาอัสและโยนาธาน ยังมีภรรยาของชาวไร่ ที่บาฮูริม และเพื่อนๆที่หนุนหลังอยู่อีกหลายคน เป็นเรื่องราวการช่วยกู้ของดาวิด ที่เราจะมาเรียนกันต่อไป

คำปรึกษาของหุชัย
(17:5-14)

5 อับซาโลมตรัสว่า "จงเรียกหุชัยคนอารคีเข้ามา เพื่อเราจะฟังเขาจะว่าอย่าง
ไรด้วย" 6 เมื่อหุชัยเข้ามาเฝ้าอับซาโลมแล้ว อับซาโลมจึงตรัสถามเขาว่า
"อาหิโธเฟลว่าอย่างนี้แล้ว เราควรจะทำตามคำแนะนำของเขาหรือไม่ ถ้าไม่
ท่านจงพูดมา" 7 หุชัยจึงกราบทูลอับซาโลมว่า "คำปรึกษาซึ่งอาหิโธเฟลให้
ในครั้งนี้ไม่ดี" 8 หุชัยกราบทูลต่อไปว่า "ฝ่าพระบาททรงทราบแล้วว่าเสด็จพ่อ
และคนที่อยู่ด้วย เป็นทหารแข็งกล้าและเขาทั้งหลายกำลังโกรธเหมือนหมี
ที่ลูกถูกลักเอาไปในป่า นอกจากนั้นเสด็จพ่อของพระองค์ทรงชำนาญศึก พระองค์คงไม่ทรงพักอยู่กับพวกพล 9 ดูเถิด ถึงขณะนี้พระองค์ก็ทรงซ่อนอยู่ใน
บ่อแห่งหนึ่ง หรือในที่หนึ่งที่ใดแล้วเมื่อมีคนล้ม ตายในการสู้รบครั้งแรกใครที่
ทราบเรื่องก็จะกล่าวว่า 'ทหารที่ติดตามอับซาโลมถูกฆ่าฟัน' 10 แม้คนที่กล้าหาญ ที่จิตใจเหมือนอย่างสิงห์ก็จะกลัวลาน เพราะอิสราเอลทั้งสิ้นทราบว่าเสด็จพ่อของ
ฝ่าพระบาท เป็นวีรบุรุษ และคนที่อยู่ก็เป็นทหารที่แข็งกล้า 11 แต่คำปรึกษาของ
ข้าพระบาทมีว่า ขอฝ่าพระบาทรวบรวมอิสราเอลทั้งสิ้น ตั้งแต่ดานถึงเบเออร์เชบา ให้มากมายดั่งทรายที่ทะเล แล้วฝ่าพระบาทก็เสด็จคุมทัพไปเอง 12 เราทั้งหลาย
จะเข้ารบกับเขา ณ ที่หนึ่งที่ใดที่พบกัน และเราจะเข้าโจมตีเหมือนน้ำค้างตกใส่พื้น
ดิน ตัวเขาและคนที่อยู่กับเขาก็จะไม่มีเหลือสักคนหนึ่ง 13 ถ้าเขาจะถอยร่นเข้าไป
ในเมือง คนอิสราเอลทั้งสิ้นก็จะเอาเชือกมาลากเมืองนั้นลง ไปที่ลุ่มแม่น้ำ จนกระ ทั่งก้อนกรวดสักก้อนหนึ่งก็ไม่มีให้เห็นที่นั่น" 14 อับซาโลมและคนอิสราเอลทั้งปวงว่า "คำปรึกษาของหุชัยคนอารคีดีกว่าคำปรึกษา ของอาหิโธเฟล" เพราะพระเจ้าทรง

เราไม่รู้ว่าทำไมอับซาโลมถึงไปขอความเห็นสนับสนุนจากหุชัยอีก หรือว่าเป็นการพิสูจน์ถึงความจงรักภักดี ของเขา? เราคงจำได้ว่า เขาไม่มีเวลาได้ไตร่ตรองว่าควรพูดสิ่งใดเลย เขาถูกนำตัวมาพบอับซาโลม บอกคำ ปรึกษาที่อาหิโธเฟลให้ไว้ และขอคำตอบในทันที คำตอบของหุชัยนั้นล้ำลึกมาก เขาเริ่มด้วยการยอมรับว่า อาหิโธเฟลนั้นเป็นผู้มีสติปัญญาในการให้คำปรึกษามาก แต่เขาบอกต่อไปด้วยว่า คำปรึกษาครั้งนี้ไม่ดีเท่าที่ ควร แน่นอนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ไม่มีใครถูกต้องเสมอทุกทีไป อาหิโธเฟลส่วนมากจะถูก แต่สำหรับครั้งนี้ ไม่ใช่

หุชัยมีแต้มต่อดีอยู่อย่างหนึ่ง : อับซาโลมและทุกคนในอิสราเอลทราบดีว่า เขาเป็นเพื่อนกับดาวิดมานาน แล้ว อับซาโลมจะเชื่อใจคนอย่างนี้ได้อย่างไร? คำปรึกษาของเขาน่าจะมีบางสิ่งแอบแฝง แทนที่จะหลบเลี่ยงเรื่อง นี้ หุชัยกลับใช้เรื่องความเป็นเพื่อนนี่แหละ มาพูดกับอับซาโลม

"ผมเป็นเพื่อนกับดาวิดหรือ? ใช่ เป็นความจริง เราเคยเป็นเพื่อนกันมานาน ก็เพราะ ความเป็นเพื่อนนี่แหละ ที่ทำให้ผมรู้จักตัวตนของดาวิดดี ผมรู้จักเขามากกว่าพวก คุณเสียอีก ดังนั้นผมจึงรู้ดีว่าเขาต้องตอบโต้การกบฎของอับซาโลมแน่ๆ ผมขอ แนะนำแผนการ โดยใช้จากประสบการณ์ที่ผมรู้จักดาวิดดี และจากที่พวกคุณทั้ง หลายรู้เรื่องของท่านดีมาในอดีต"

แผนการของอาหิโธเฟลน่าสนใจ เพราะสามารถเอาชนะดาวิดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ไม่ต้องเสียเลือดเสีย เนื้อมาก อับซาโลมไม่ต้องไปด้วยตนเอง เขาควรอยู่ในเยรูซาเล็มกับบรรดาสนมของดาวิด ส่วนอาหิโธเฟลจะ รวบรวบคน 12,000 คน ออกไปตามล่าดาวิดในทันที เมื่อพบแล้ว จะฆ่าเฉพาะดาวิดคนเดียว และนำคนที่เหลือ กลับมามอบให้อับซาโลม แผนการนี้ตั้งอยู่บนการคาดคะเนเสียเป็นส่วนใหญ่ คือคาดว่าดาวิดคงจะเหน็ดเหนื่อย และท้อใจเป็นที่สุด ไม่มีกำลังเหลือที่จะต้านทาน และจะยอมพ่ายแพ้แต่โดยดี แต่ถ้าเป็นการคาดคะเนที่ผิด พลาด แผนทั้งหมดของอาหิโธเฟลจะพังพินาศย่อยยับในทันที

หุชัยท้าทายอาหิโธเฟลที่คิดแผนการจากการคาดเดา เขาเสนอให้มองดาวิดในมุมมองที่ต่างออกไป และแผน ที่นำมาใช้ต่างไปด้วย หุชัยย้ำว่า อาหิโธเฟลประเมินดาวิดต่ำเกินไปจนน่ากลัว ว่าจะไม่มีทางสู้ และไม่มีทาง ปกป้องอาณาจักรเอาไว้ได้ หุชัยย้ำเตือนพวกผู้ใหญ่ของอิสราเอลให้คิดดีๆ ว่าดาวิดเป็นคนอย่างไร เป็นผู้มี ปัญญาเฉียบเแหลม ; เป็นนักรบที่แข็งแกร่งและชำนาญการศึก การกบฎของอับซาโลม ไม่ได้ทำให้ดาวิดสะดุ้ง สะเทือนแต่ประการใด ; แต่กลับทำให้ท่านรู้สึกอยากเอาชนะ ท่านจะเป็นเหมือนแม่หมี ที่ถูกแย่งลูกไป ดาวิด จะสู้อย่างชนิดหัวชนฝา และถ้าอาหิโธเฟลคิดจะเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อไปจัดการกับดาวิดลำพัง ก็คิดผิด เพราะที่นั่นเป็นถิ่นที่ดาวิดคุ้นเคยดี ท่านใช้เวลาหลบหนีซาอูลอยู่ที่นั่นนานหลายปี อาหิโธเฟลคิดหรือว่า จะพบ ดาวิดนั่งคอยอยู่ท่ามกลางพวกพ้อง? ท่านคงไม่อยู่ให้เห็น และเมื่ออาหิโธเฟลและกองกำลังเล็กๆนี้ไปถึง จะถูก ดาวิดบดขยี้เป็นจุลในพริบตา พ้ายแพ้ยับเยิน พวกทหารของอับซาโลมต่างหาก ที่จะหมดกำลังใจ ไม่ใช่ดาวิด หรือคนของท่านแน่

ถ้าการคาดเดานี้ถูกต้อง (คะเนตามประสบการณ์การศึกที่ดาวิดมีมาในอดีต ) แผนการต้องเปลี่ยนใหม่หมด มัน คงไม่ใช่เรื่องง่ายและรวดเร็วอย่างที่คิดแน่ มันไม่ใช่แค่เรื่องดาวิดตายคนเดียวอีกต่อไป จำต้องใช้กองกำลังที่ ใหญ่กว่านี้ เพื่อจะปราบดาวิดและคนของท่านลงได้ การจะรวบรวมคนจำนวนมาก คงต้องใช้เวลา สมควรจะรอ ไว้ก่อน (ในขณะที่รออยู่ในเยรูซาเล็ม อับซาโลมจะได้มีเวลาอยู่กับสนมของดาวิด) และการนำกองทัพใหญ่ เช่นนี้ คงต้องใช้แม่ทัพที่มีความสามารถมากกว่าอาหิโธเฟล อับซาโลมเองน่าจะเป็นคนเหมาะที่สุด เพราะ สงครามที่ใหญ่เช่นนี้ ต้องมีผู้นำการรบที่ยิ่งใหญ่ด้วย และจะนำมาซึ่งชัยชนะที่ยิ่ิงใหญ่ แผนการแบบนี้ท้าทาย คนที่ชอบขี่รถม้าไปมา แถมมีคนวิ่งนำหน้าถึง 50 คน อับซาโลมเป็นคนขี้โอ่ และแผนของหุชัยเข้าทางพอดี ทำให้แผนของอาหิโธเฟลล้มไป เป็นแผนการที่ละเอียดรอบคอบ รู้เขารู้เรา และดูท้าทายดี เป็นแผนที่พระเจ้า ทรงนำมาใช้ และเป็นแผนการที่ท้าทายอับซาโลมอย่างดีเยี่ยม

แผนของหุชัยทำให้เกิดการรบครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่พวกพ้องของอับซาโลมต้องตายลงมากมาย อับซาโลม เองถูกฆ่าตายด้วย เพื่อการกบฎจะได้จบลง85 แผนของหุชัย เอื้อให้ดาวิดมีเวลาเตรียมตัว -- เพื่อการรบแบบ กองโจร เป็นการรบในถิ่นของท่านเอง ใช้ป่าเป็นทั้งที่ป้องกันและฆ่าผู้ไม่ชำนาญทาง (18:8) แผนของหุชัย ทำให้แผนของอาหิโธเฟลโง่เง่าหมดความหมาย ซึ่งตรงกับที่ดาวิดอธิษฐานทูลขอ (15:31) ทำให้ดาวิดได้ รับการช่วยกู้ และมีชัยเหนือศัตรู

ดาวิดหนีไปยังมาหะนาอิม
(17:15-29)

15 แล้วหุชัยจึงบอกศาโดกและอาบียาธาร์ปุโรหิตว่า "อาหิโธเฟลได้ให้คำปรึกษา อย่างนั้นอย่างนี้แก่อับซาโลม และพวกผู้ใหญ่ของอิสราเอลและข้าพเจ้าได้ให้คำ

ปรึกษา อย่างนั้นอย่างนี้ 16 จงรีบส่งคนไปกราบทูลดาวิดว่า 'คืนวันนี้อย่าพักอยู่ที่ ท่าข้ามไปถิ่นทุรกันดาร อย่างไรก็จงให้เสด็จข้ามไปเสียเกรงว่า พระราชาและ ประชาชนทั้งสิ้นที่อยู่กับพระองค์ จะถูกกลืนไปหมด'" 17 ฝ่ายโยนาธาน และ อาหิมาอัสกำลังคอยอยู่ที่เอนโรเกลแล้ว มีสาวใช้คนหนึ่งเคยไปบอกเรื่องแก่เขา แล้วเขาก็ไปกราบทูลกษัตริย์ดาวิด เพราะเขาไม่กล้าเข้ากรุงให้ใครเห็น 18 แต่มี เด็กหนุ่มคนหนึ่งเห็นเขาทั้งสอง จึงไปทูลอับซาโลม เขาทั้งสองก็รีบไปโดยเร็ว จนถึงบ้านชายคนหนึ่งที่บาฮูริม เขามีบ่อน้ำอยู่ที่ลานบ้าน เขาทั้งสองจึงลงไปอยู่
ในบ่อนั้น 19 หญิงแม่บ้านก็เอาผ้ามาปูปิดปากบ่อ แล้วก็เกลี่ยปลายข้าวตากอยู่บน
นั้น ไม่มีใครทราบเรื่องเลย 20 เมื่อข้าราชการของอับซาโลมมาถึงที่บ้านหญิงคนนี้
เขาก็ถามว่า "อาหิมาอัสกับโยนาธานอยู่ที่ไหน" หญิงนั้นก็ตอบเขาว่า "เขาข้าม
ลำธารน้ำไปแล้ว" เมื่อเขาเที่ยวหาไม่พบแล้วก็กลับไปยังกรุงเยรูซาเล็ม 21 เมื่อคน
เหล่านั้นไปแล้ว ชายทั้งสองก็ขึ้นมาจากบ่อ ไปกราบทูลกษัตริย์ดาวิด เขาทูลดาวิดว่า
"ขอทรงลุกขึ้น และรีบข้ามแม่น้ำไปเพราะอาหิโธเฟลได้ให้คำปรึกษา ต่อสู้อย่างนั้น
อย่างนี้" 22 ดาวิดก็ทรงลุกขึ้น พร้อมกับพวกพลที่อยู่กับพระองค์และข้ามแม่น้ำจอร์
แดน พอรุ่งเช้าก็ไม่มีเหลือสักคนหนึ่ง ที่ยังไม่ได้ข้ามแม่น้ำจอร์แดน 23 เมื่ออาหิโธ เฟลเห็นว่าเขาไม่กระทำตามคำปรึกษา ของท่าน ก็ผูกอานลาขึ้นขี่กลับไปเรือนของ ตนที่อยู่ในเมืองของตน เมื่อสั่งเสียเสร็จแล้วก็ผูกคอตาย เขาจึงเอาศพฝังไว้ที่อุโมงค์
บิดาของท่าน 24 ฝ่ายดาวิดก็เสด็จมายังเมืองมาหะนาอิม และอับซาโลมก็ข้ามแม่น้ำ จอร์แดนพร้อมกับคนอิสราเอล 25 อับซาโลมทรงตั้งอามาสาเป็นแม่ทัพแทนโยอาบ อามาสาเป็นบุตรของชายคนหนึ่งชื่ออิธราคนอิสราเอล ได้แต่งงานกับอาบีกัล บุตรี ของนาหาชน้องสาวของนาง เศรุยาห์มารดาของโยอาบ 26 ฝ่ายคนอิสราเอลและ
อับซาโลม ตั้งค่ายอยู่ในแผ่นดินกิเลอาด 27 เมื่อดาวิดเสด็จมาถึงมาหะนาอิม โชบี บุตรนาหาชชาวเมืองรับบาห์แห่งคนอัมโมน และมาคีร์บุตรอัมมีเอลชาวโลเดบาร์ และบารซิลลัยชาวกิเลอาดจากเมืองโรเกลิม 28 ได้ขนที่นอน อ่างน้ำและเครื่อง
ภาชนะดิน ข้าวสาลี ข้าวบารลี และแป้ง ข้าวคั่ว ถั่ว ถั่วยาง และถั่วแดง 29 น้ำ
ผึ้ง เนย แกะ และเนยแข็งที่ได้มาจากฝูงสัตว์ถวายแด่ดาวิด และให้พวกพลที่อยู่ กับพระองค์รับประทาน เพราะเขาทั้งหลายกล่าวว่า "พวกพลหิวและอ่อนเพลีย และ กระหายอยู่ที่ในถิ่นทุรกันดาร"

ในที่สุด อับซาโลมก็เลือกที่จะทำตามคำแนะนำของหุชัยแทนอาหิโธเฟล แผนของหุชัยเอื้อให้ดาวิดมีเวลา เพิ่ม แต่ก็ทำให้กองทัพที่มาโจมตีนั้นใหญ่ขึ้น นำโดยอับซาโลม จึงจำเป็นที่จะต้องแจ้งให้ดาวิดรู้ตัวโดยด่วน ท่านต้องรีบข้ามแม่น้ำจอร์แดนไป ไปเตรียมการ หาทำเลเหมาะคอยตั้งรับ และหลบซ่อนตัว เมื่ออับซาโลม และกองทัพไปถึง

หุชัยส่งข่าวไปหาศาโดกและอาบียาธาร์ปุโรหิต เพื่อแจ้งให้รู้ถึงคำปรึกษาที่ให้ไว้กับอับซาโลม รวมทั้งคำ ปรึกษาของอาหิโธเฟลด้วย เขาสั่งให้ส่งข่าวผ่านไปทางโยนาธานและอาหิมาอัส ที่รอฟังข่าวอยู่ที่เอนโรเกล ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ต่ำกว่าเยรูซาเล็มลงไป น่าจะเป็นแหล่งน้ำนอกตัวเมือง เพราะจะมีพวกผู้หญิงไปตักน้ำ เป็นประจำ หญิงรับใช้ผู้หนึ่งเป็นคนไปบอกข่าวกับทั้งสอง

คนของอับซาโลมไปเห็นโยนาธานและอาหิมาอัสเข้าพอดี ดูเหมือนเขาจะรู้ว่าทั้งคู่เป็นพวกดาวิด มีการค้นหา คนทั้งสอง เพราะเกรงว่าอาจนำข่าวไปถึงดาวิด ทั้งสองรีบหลบไปยังบ้านของชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพวกเดียว กัน อยู่ที่บาฮูริม 86 ภรรยาของชายคนนี้ ซ่อนทั้งสองไว้ในบ่อน้ำ และปิดบากบ่อด้วยปลายข้าวตาก ทำให้ไม่มี ทางหาเจอ คนของอับซาโลมมาถึงและออกค้นหา เขาถามผู้หญิงคนนี้ว่าเห็นชายทั้งสองหรือไม่ นางบอกว่า เห็นข้ามลำธารหนีไปแล้ว หนีไป "ตั้งนาน" แล้ว เมื่อคนของอับซาโลมหาจนทั่วไม่พบแล้ว จึงเดินทางกลับ เยรูซา เล็ม บุตรของปุโรหิตทั้งสองรีบไปพบดาวิด แจ้งเรื่องราวต่างๆให้ทราบ ขอร้องให้ท่านข้ามแม่น้ำไปเสีย และไปหาที่ปลอดภัยหลบซ่อนตัว ดาวิดและคนของท่านจึงข้ามแม่น้ำไปตั้งแต่ย่ำรุ่ง (ถ้าเพียงแต่อาหิโธเฟล ออกตามหาดาวิดเย็นก่อนหน้านั้น เรื่องคงจะออกมาอีกแบบ)

อาหิโธเฟลอยู่ในเยรูซาเล็ม นานพอที่จะแน่ใจแล้วว่า คำปรึกษาของเขา อับซาโลมไม่สนใจ เมื่อเขารู้แน่ชัด ว่าคำปรึกษาของหุชัยเป็นที่ยอมรับ ก็รู้ว่าเขานั้นจบลงแล้ว เขาเอาทุกอย่างมาเสี่ยง ด้วยหวังว่าอับซาโลมจะ มีชัยเหนือดาวิด แต่บัดนี้เขารู้แจ้งแก่ใจแล้วว่า อับซาโลมถูกกำหนดให้แพ้ เขาจึงกลับไปบ้าน สั่งเสียทุกสิ่ง และฆ่าตัวตาย เป็นโศกนาฏกรรมของคนทีน่าจะเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองได้

เมื่ออับซาโลมข้ามแม่น้ำจอร์แดน ออกไล่ล่าดาวิดอย่งกระชั้นชิดนั้น ดาวิดหลบเข้าไปยังเขตมาหะนาอิม เมือง นี้เป็นเมืองที่มีประวัติยาวไกล ยาโคบเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองนี้ ในขณะเดินทางกลับสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา ด้วย ความกลัวที่จะต้องเผชิญกับพี่ชาย เอซาว มีทูตสวรรค์มาพบยาโคบ ทำให้ท่านกล่าวว่า "นี่แหละกองทัพของ พระเจ้า" ท่านจึงตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นว่ามาหะนาอิม (แปลว่า "สองหมู่" -- ดูตามหมายเหตุในฉบับแปลของ NASB) คุณว่าดาวิดกลัวที่จะต้องเผชิญหน้ากับอับซาโลมบุตรชายหรือไม่? ท่านคงจำได้ว่า พระเจ้าจะคอยปก ป้องประชากรของพระองค์เสมอ ทรงรักษาพระสัญญา พระประสงค์ ทรงใช้ทูตสวรรค์ด้วย ถ้าพระองค์ต้องการ มาหะนาอิมเคยเป็นที่อาศัยระยะสั้นๆของอิชโบเชท ในช่วงที่อับเนอร์ตั้งเขาขึ้นครองราชย์แทนซาอูลผู้พ่อ (2 ซามูเอล 2:8, 12, 29)

พระเจ้าจัดเตรียมสำหรับดาวิดที่มาหะนาอิม ทั้งสิ่งของที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เมื่อพวกเขาไปถึง มีคน คอยให้ความช่วยเหลืออยู่อย่างเต็มใจ คนแรกคือโชบี บุตรของนาหาช กษัตริย์ของอัมโนน เรื่องนี้เป็นเรื่อง ประหลาดที่สุด ดาวิดและนาหาชเป็นเพื่อนกัน แต่เมื่อนาหาชตายลง และลูกชายขึ้นครอง เขาทำเรื่องขาย หน้า ด้วยการดูหมิ่นเยาะเย้ย คณะบุคคลที่ดาวิดส่งไปเพื่อไว้อาลัยให้กับนาหาช (2 ซามูเอล 10:1) เรื่องนี้ เลยเถิดจนเกิดศึกสงครามระหว่างอิสราเอลและอัมโมนขึ้น ที่จริงสงครามกับอัมโนนครั้งนี้ (โดยเฉพาะการล้อม เมืองรับบาห์ไว้) ทำให้ดาวิดหลีกเลี่ยง ปล่อยให้โยอาบออกไปทำการรบแทน (2 ซามูเอล 11:1) ในที่สุดพวก อัมโมนก็พ่ายแพ้ต่อดาวิด (2 ซามูเอล 12:26-31) ตอนนี้โชบีเป็นผู้ครองบัลลังก์ของอัมโมน และมีใจอยาก ช่วยดาวิดต่อสู้กับอับซาโลม น่าประหลาดนะครับ!

ผู้ที่มาให้ความช่วยเหลือดาวิดที่มาหะนาอิมคนต่อไปคือ มาคีร์บุตรของอัมมีเอล ชาวโลเดบาร์ (17:27) เป็น คนที่รับเมฟีโบเชทมาดูแล หลังจากกษัตรยิ์ซาอูลและโยนาธานสิ้นชีพลง (2 ซามูเอล 9:4-5) สุดท้ายคือ บารซิลลัยคนกิเลอาด เป็นผู้ใหญ่ที่มั่งคั่งและน่านับถือ นำเสบียงมากมายมาให้ดาิวิดและคนของท่าน เราจะ รู้เรื่องของคนๆนี้อีกในบทที่ 19 ข้อ 31-40 ที่เขาให้ทั้งกำลังใจและความช่วยเหลือเช่นไรแก่ดาวิด

ชัยชนะและการสิ้นชีวิตของอับซาโลม
(18:1-18)

1 ดาวิดจึงตรวจพลที่อยู่กับพระองค์ และทรงจัดตั้งนายพันนายร้อยให้ควบคุม
2 และดาวิดทรงจัดทัพออกไป ให้อยู่ในบังคับบัญชาของโยอาบหนึ่งในสาม และในบังคับของอาบีชัยน้องชายของโยอาบ บุตรนางเศรุยาห์หนึ่งในสาม และ อีกหนึ่งในสามอยู่ในบังคับบัญชาของอิททัยคนกัท และพระราชาตรัสกับพวกพล
ว่า "เราจะไปกับท่านทั้งหลายด้วย" 3 แต่พวกพลเหล่านั้นทูลว่า "ขอฝ่าพระบาท
อย่าเสด็จเลย ถ้าข้าพระบาททั้งหลายจะหนีไป เขาทั้งหลายก็ไม่ไยดีอะไรหนัก
หนา ถ้าข้าพระบาททั้งหลายตายเสียสักครึ่งหนึ่ง เขาทั้งหลายก็ไม่ไยดีอะไรแต่
ฝ่าพระบาท มีค่าเท่ากับพวกข้าพระบาทหนึ่งหมื่นคน เพราะฉะนั้นขอฝ่าพระบาท
พร้อมที่จะส่ง กองหนุนจากในเมืองจะดีกว่า" 4 พระราชาตรัสกับเขาทั้งหลายว่า
"ท่านทั้งหลายเห็นชอบอย่างไร เราจะกระทำตาม" พระราชาจึงทรงประทับที่ข้าง
ประตูเมือง และบรรดาพลทั้งหลายเดินออกไปเป็นกองร้อยกองพัน 5 พระราชารับสั่ง
โยอาบ อาบีชัย และอิททัยว่า "เบาๆมือกับชายหนุ่มนั้น ด้วยเห็นแก่เราเถิด คือ
กับอับซาโลม" พวกพลก็ได้ยินคำรับสั่งซึ่งพระราชาประทานแก่ ผู้บังคับบัญชาด้วย
เรื่องอับซาโลม 6 พวกพลจึงเคลื่อนออกไปเพื่อสู้รบกับคนอิสราเอล การสงคราม นั้นทำกันในป่าเอฟราอิม 7 คนอิสราเอลก็พ่ายแพ้แก่ข้าราชการของดาวิด มีการฆ่า ฟันกันอย่างหนักที่นั่น ทหารตายเสียสองหมื่นคนในวันนั้น 8 การสงครามกระจายไป
ทั่วแผ่นดิน ในวันนั้นป่ากินคนเสียมากกว่าดาบกิน 9 เผอิญอับซาโลมไปพบข้าราช
การของดาวิดเข้า อับซาโลมทรงล่ออยู่และล่อนั้นได้วิ่งเข้าไปใต้กิ่ง ต้นก่อหลวงใหญ่ ศีรษะของท่านก็ติดกิ่งต้นก่อแน่น เมื่อล่อนั้นวิ่งเลยไปแล้วท่านก็แขวนอยู่ระหว่างฟ้า
และดิน 10 มีชายคนหนึ่งมาเห็นเข้า จึงไปเรียนโยอาบว่า "ดูเถิด ข้าพเจ้าเห็นอับ
ซาโลม แขวนอยู่ที่ต้นก่อหลวง" 11 โยอาบก็พูดกับชายที่บอกท่านว่า "อะไรนะ
เจ้าเห็นเขาแล้ว ทำไมเจ้าไม่ฟันให้ตกดินเสียทีเดียวเล่า เราก็จะยินดีที่จะรางวัล เงินสิบเหรียญกับสายรัดเอว เส้นหนึ่งให้เจ้า" 12 แต่ชายคนนั้นเรียนโยอาบว่า "ถึงมือของข้าพเจ้าอุ้มเงินพันเหรียญอยู่ ข้าพเจ้าจะไม่ยื่นมือออกทำแก่ราชบุตร เพราะว่าหูของพวกเราได้ยินพระบัญชาของพระราชา ที่ตรัสสั่งท่านและอาบีชัยกับ
อิททัยว่า 'เพื่อเห็นแก่เราขอจงป้องกันอับซาโลมชายหนุ่มนั้น' 13 แต่ถ้าข้าพเจ้า ประทุษร้ายต่อชีวิตของเขา (และไม่มีอะไรจะปิดบังให้พ้นพระราชาได้) แล้วตัวท่าน เองก็คงใส่โทษข้าพเจ้าด้วย" 14 โยอาบจึงว่า "เราไม่ควรเสียเวลากับเจ้าเช่นนี้" ท่านก็หยิบหลาวสามอันแทงเข้าไปที่หัวใจของอับซาโลม ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
ที่ในต้นก่อหลวง 15 ทหารหนุ่มสิบคนที่ถือเครื่องรบของโยอาบ ก็ล้อมอับซาโลมไว้ แล้วประหารชีวิตท่านเสีย 16 โยอาบก็เป่าเขาสัตว์ และกองทัพก็กลับจากการไล่ตาม อิสราเอลเพราะโยอาบยับยั้งเขาทั้งหลายไว้ 17 เขาก็ยกศพอับซาโลมโยนลงไปใน บ่อใหญ่ซึ่งอยู่ในป่า เอาหินกองทับไว้เป็นกองใหญ่มหึมา คนอิสราเอลทั้งสิ้น ต่างก็หนีกลับไปบ้านเรือนของตน 18 เมื่ออับซาโลมยังมีชีวิตอยู่ ได้ตั้งเสาไว้เป็น อนุสรณ์ที่หุบเขาหลวง เพราะท่านกล่าวว่า "เราไม่มีบุตรชายที่จะสืบชื่อของเรา" ท่านเรียกเสานั้นตามชื่อของตน เขาเรียกกันว่าอนุสรณ์อับซาโลมจนทุกวันนี้

เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้จริงๆ ดาวิดอาจไม่ยอมรับความจริง พยายามบ่ายเบี่ยงมานาน แต่ครั้งนี้ท่านหนีไปไม่ได้ อีกแล้ว ; ท่านคงต้องสู้กับกองทัพของบุตรชาย ดาวิดแบ่งกองกำลังของท่านออกเป็นสามส่วน เราไม่ทราบแน่ นอนว่าท่านมีกำลังในมือเท่าใด รู้แต่เพียงว่าเป็นพันๆคน เพราะมีการแบ่งกองกำลังออกเป็นกองพัน และกอง ร้อย โยอาบและอาบีชัยคุมกันคนละกอง ส่วยอิททัยคนกัท คุมกองที่สาม ดาวิดบอกกับทหารว่าท่านจะไปร่วม รบด้วย แต่ประชาชนกลับขอให้ท่านอยู่ที่มาหะนาอิม เพราะถ้าพวกเขาต้องหนี คงไม่สำคัญสำหรับอับซาโลม แต่ถ้ามีดาวิดอยู่ด้วย พวกนั้นจะไม่หยุด จนกว่าจะจับท่านได้และฆ่าเสีย ฉะนั้นท่านอยู่ไกลออกไป ท่าจะดีกว่า

ในขณะที่คนกำลังเดินหน้าจะไปรบเพื่อพระราชา ดาวิดมีคำสั่งสุดท้าย คงไม่ใช่คำสั่งที่ธรรมดา ในขณะที่ทุก คนใจจดจ่ออยู่กับชัยชนะ คงเป็นคนละคำพูดกับที่โยอาบเคยพูด ก่อนออกไปโจมตีซีเรียและอัมโมน:

11 ท่านกล่าวว่า "ถ้ากำลังคนซีเรียแข็งเหลือกำลังของเรา เจ้าจงยกไปช่วยเรา แต่ถ้ากำลังคนอัมโมนแข็งเกินกำลังของเจ้า เราจะยกมาช่วยเจ้า 12 จงมีความ
กล้าหาญเถิด ให้เราเป็นลูกผู้ชายเพื่อชนชาติของเรา และเพื่อหัวเมืองแห่งพระเจ้า ของเราและขอพระเจ้าทรง กระทำตามที่พระองค์ทรงเห็นชอบเถิด" (2 ซามูเอล 10:11-12)

คำสั่ง "ปะทะ" ของดาวิดต่างออกไป : " เบาๆมือกับชายหนุ่มนั้น ด้วยเห็นแก่เราเถิด คืออับซาโลม" (18:5) ทุกคนได้ยินคำสั่งนี้ ซึ่งต่างจากคำแนะนำของอาหิโธเฟลโดยสิ้นเชิง ที่มุ่งหวังแต่จะฆ่าดาวิดคนเดียว และปล่อยทุกคนที่เหลือให้รอด ดาวิดกลับอนุญาติให้ฆ่าประชาชนอิสราเอลได้ แต่ไม่ใช่ลูกชายของท่าน ผู้นำ การกบฎ ท่านสั่งแก่คนที่ยอมสละชีวิตไปสู้รบ แต่ไม่รบให้ได้ชัยชนะ นับเป็นเรื่องน่าสลดใจ

ถึงกระนั้นก็ตาม ทั้งกองทัพก็ต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อดาวิด กองทัพของอับซาโลมพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ไม่ใช่ เพราะฝีมือทหารของดาวิดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นป่าด้วย คนของอับซาโลมไม่ชำนาญพื้นที่และยุทธวิธีการ รบเช่นนี้ ทั้งหมด 20,000 คนถูกฆ่าตาย เกลื่อนไปทั่วผืนแผ่นดิน ทหารของอับซาโลมหนีเอาตัวรอด ฝ่ายของ ดาวิดได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ส่วนฝ่ายของอับซาโลมพ่ายแพ้ยับเยิน

เราไม่รู้แน่ชัดว่าอับซาโลมหนีเอาชีวิตรอดหรือไม่ ดูเหมือนเขาอยู่ตามลำพัง เมื่อล่อที่เขาขี่อยู่ วิ่งลอดไปใต้ กิ่งต้นก่อหลวงใหญ่ และศีรษะของเขาติดอยู่ที่กิ่งไม้นั้น87 คนของอับซาโลมอาจอยากช่วยเหลือ (แต่จำต้อง หนีเอาชีวิตรอด) คนของโยอาบมาเห็นเข้า ไปบอกผู้บังคับบัญชา โยอาบโกรธที่ทหารคนนั้น ไม่ฆ่าอับซาโลม ในทันที ไม่อยากได้เงินรางวัลหรือไง? ทหารคนนั้นไม่กลัวคำตำหนิของโยอาบ เขากลับเตือนโยอาบว่า ดาวิด ท่านแม่ทัพ ได้สั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำอันตรายอับซาโลมบุตรของท่าน ไม่ว่าโยอาบสัญญาจะตกรางวัล อย่างไร ทหารคนนี้รู้ดีว่า ถ้าดาวิดทราบว่าเขาเป็นผู้ฆ่าบุตรของท่าน คงไม่มีใครยื่นมือไปช่วยแน่ โยอาบทำ เป็นพูดดีไป ทั้งๆที่ดาวิดกำชับสั่งโดยตรง ไม่ให้ฆ่าบุตรของท่าน ถ้่าชายคนนี้ยอมทำตาม รับรอง โยอาบจะ ยืนเฉยทำเป็นทองไม่รู้ร้อน เขาคงต้องรับเคราะห์เพียงผู้เดียวแน่ๆ ไม่มีทางที่ชายคนนี้ จะยอมทำตามคำสั่ง ของโยอาบ โดยฝ่าฝืนคำสั่งของพระราชาโดยเด็ดขาด

โยอาบรู้สึกรำคาญทหารคนนี้เต็มทน มัวแต่ยอมเชื่อฟังคำสั่งพระราชา เห็นทีเขาคงต้องลงมือเอง เขาออก ไปตามหาอับซาโลม ตามทางที่ทหารบอกไว้ เขาใช้หลาวสามอัน แทงไปที่หัวใจของอับซาโลม และทหาร ที่เหลืออยู่ ก็รุมฆ่าอับซาโลมเสีย ศัตรูของดาวิดตายแล้ว

เรื่องนี้ดูแปลกมั้ยครับ ที่โยอาบเป็นคนฆ่าอับซาโลม? โยอาบอุตส่าห์ลงทุนแต่งเรื่อง เพื่อให้อับซาโลมได้กลับ มาบ้าน โยอาบวิ่งเต้นจนอับซาโลมได้รับอิสรภาพ เข้าเฝ้าพระราชาได้ โยอาบทำให้อับซาโลมขนาดนี้ ยังไม่ วายถูกอับซาโลมหักหลัง แย่งชิงบัลลังก์บิดา แต่งตั้งคนอื่นขึ้นมาคุมกองทัพอิสราเอลแทน เช่นกันกับที่ โยอาบได้รับคำสั่งจากดาวิด ให้ไปฆ่าอุรียาห์ในสนามรบ โดยไม่มีการคัดค้าน ผู้คุมกองทัพผู้นี้ ที่ลงมือฆ่าคน ไร้ผิดตามคำสั่งของดาวิด บัดนี้ฝ่าฝืนคำสั่ง ลงมือฆ่าบุตรชายแทน มีคำกล่าวที่เหมาะสมสำหรับตอนนี้ว่า: "ดาบนั้นคืนสนอง" ดาวิดใช้อำนาจในทางที่ผิด ไปแย่งภรรยาของอุรียาห์มา และฆ่าสามีทิ้ง แต่อำนาจที่ท่าน มีอยู่ในมือ ไม่สามารถปกป้องชีวิตบุตรชายของท่านเองจากเงื้อมมือของโยอาบได้ (หรือคนอื่นๆ)

พระคัมภีร์ตอนนี้เป็นเหมือนคำจารึกสำหรับการตายของอับซาโลม ผู้เขียนเคยบันทึกไว้ว่า อับซาโลมไม่มีบุตร ชาย และกลัวว่าตนเองจะถูกลืมเลือน จึงไปสร้างอนุเสาวรีย์ให้กับตนเองที่หุบเขาแห่งกษัตริย์ ด้วยคิดว่า จะ เป็นวิธีที่ชื่อของเขาจะคงอยู่ แต่กลับเป็นว่า อับซาโลมมีบุตรชาย แต่มีใจปรารถนาอยากขึ้นครองราชย์แทน ที่บิดา และก็ได้สมใจ เพียงแค่สองสามวัน แต่คนกลับจำเขาได้ ในฐานะผู้ทรยศ ถูกแขวนให้ตายคากิ่งไม้ เป็น การตายที่สยดสยอง อนุเสาวรีย์ที่เขาสร้างไว้ในหุบเขาแห่งกษัตริย์ ไม่สามารถลบเลือนความเขลา และเรื่อง ความตายอันน่าอัปยศนี้ไปได้

ประกาศข่าวดี
(18:19-33)

19 อาหิมาอัสบุตรศาโดกกล่าวว่า "ขอให้ข้าพเจ้าวิ่งนำข่าวไปทูลพระราชาว่า พระเจ้าทรงช่วยกู้พระองค์ให้พ้นจากมือศัตรูของพระองค์แล้ว" 20 โยอาบก็ตอบ
เขาว่า "ท่านอย่านำข่าวไปในวันนี้เลย ท่านจงนำข่าวในวันอื่นเถิด แต่วันนี้ท่าน
อย่านำข่าวเลย เพราะว่าโอรสสิ้นชีพแล้ว" 21 โยอาบก็สั่งชาวคูชคนหนึ่งว่า "จง นำข่าวไปกราบทูลพระราชา ตามสิ่งที่ท่านได้เห็น" ชาวคูชคนนั้นก็กราบลงคำนับ
โยอาบ แล้วก็วิ่งไป 22 อาหิมาอัสบุตรศาโดกจึงเรียนโยอาบอีกว่า "จะอย่างไร
ก็ช่างเถิด ขอให้ข้าพเจ้าวิ่งตามชาวคูชคนนั้นไปด้วย" โยอาบตอบว่า "ลูกเอ๋ย
เจ้าจะวิ่งไปทำไม ด้วยว่าการส่งข่าวนี้จะไม่มีรางวัลให้แก่เจ้า" 23 เขาตอบว่า
"จะอย่างไรก็ช่างเถิด ข้าพเจ้าจะขอวิ่งไป" โยอาบจึงบอกเขาว่า "วิ่งไปเถอะ" และอาหิมาอัสก็วิ่งไปตามทางที่ราบขึ้นหน้าชาวคูชนั้นไป 24 ฝ่ายดาวิดประทับ อยู่ระหว่างประตูเมืองทั้งสอง มีทหารยามขึ้นไปอยู่บนหลังคาซุ้มประตูที่กำแพง
เมือง เมื่อเงยหน้าขึ้นมองดู เห็นชายคนหนึ่งวิ่งมาลำพัง 25 ทหารยามคนนั้น
ก็ร้องกราบทูลพระราชา พระราชาตรัสว่า "ถ้าเขามาลำพังก็คงคาบข่าวมา" ชายคนนั้นก็วิ่งเข้ามาใกล้ 26 ทหารยามเห็นชายอีกคนหนึ่งวิ่งมา ทหารยามก็ร้อง
บอก ไปที่นายประตูเมืองว่า "ดูซี มีชายอีกคนหนึ่งวิ่งมาแต่ลำพัง" พระราชาตรัสว่า "เขาคงนำข่าวมาด้วย" 27 ทหารยามนั้นกราบทูลว่า "ข้าพระบาทคิดว่าคนที่วิ่งมา ก่อนวิ่งเหมือนอาหิมาอัสบุตรศาโดก" และพระราชาตรัสว่า "เขาเป็นคนดี เขามา
ด้วยข่าวดี" 28 แล้วอาหิมาอัสร้องทูลพระราชาว่า "สวัสดี พ่ะย่ะค่ะ" เขาก็กราบ พระราชาซบหน้าลงถึงพื้นดินกราบทูลว่า "สาธุการแด่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของฝ่า
พระบาท พระองค์ได้ทรงมอบบรรดาผู้ที่ยกมือของเขา ต่อสู้กับพระราชาเจ้านาย
ของข้าพระบาทแล้ว" 29 พระราชาตรัสถามว่า "อับซาโลม ชายหนุ่มนั้นสวัสดีอยู่
หรือ" อาหิมาอัสทูลตอบว่า "เมื่อโยอาบใช้ให้ข้าพระบาทมานั้น ข้าพระบาทเห็น
ผู้คนสับสนกันใหญ่ แต่ไม่ทราบเหตุ" 30 พระราชาตรัสว่า "จงหลีกมายืนตรงนี้" เขาจึงหลีกไปยืนนิ่งอยู่ 31 ดูเถิด ชาวคูชนั้นก็มาถึง ชาวคูชนั้นกราบทูลว่า "มีข่าว ดีถวายแด่พระราชาเจ้านายของข้าพระบาท เพราะในวันนี้พระเจ้าทรงช่วยกู้ฝ่าพระ
บาทให้พ้น จากมือของบรรดาผู้ที่ลุกขึ้นต่อสู้ฝ่าพระบาท" 32 พระราชาตรัสถามชาว
คูช นั้นว่า "อับซาโลมชายหนุ่มนั้นเป็นสุขอยู่หรือ" ชาวคูชนั้นทูลตอบว่า "ขอให้ ศัตรูของพระราชาเจ้านายของข้าพระบาท และผู้ที่ลุกขึ้นกระทำอันตรายต่อฝ่าพระ
บาทเป็นเหมือนชายหนุ่มผู้นั้นเถิด" 33 พระราชาทรงโทมนัสนัก เสด็จขึ้นไปบนห้อง
ที่อยู่เหนือประตู และกันแสง เมื่อเสด็จไปพระองค์ตรัสว่า "โอ อับซาโลมบุตรของ
เรา บุตรของเรา อับซาโลมบุตรของเราเอ๋ย เราอยากจะตายแทนเจ้า โอ อับซาโลม
บุตรของเรา บุตรของเราเอ๋ย"

เรื่องก็จบลง อาหิโธเฟลรู้ดีว่า ถ้าดาวิดถูกฆ่า คนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอับซาโลมจะถูกบดขยี้ตามไปด้วย ในทางกลับกัน คนของอับซาโลมล้มตายไปมากมาย กองทัพของเขาพ่ายแพ้ และเมื่อตัวอับซาโลมตาย การกบฎครั้งนี้ ก็ตายตามไปด้วย อย่างที่เราเห็น ทหารของอับซาโลมหนีเอาชีวิตรอดไปคนละทิศละทาง เรื่องจึงจบสิ้นลง! ดาวิดเป็นผู้ชนะ! เป็นวันแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่

ภาพแห่งการนำทัพกลับมามาหะนาอิมอย่างมีชัย คงเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ คงเป็นเหมือนเมื่อนักกีฬาได้ถ้วย แช็มป์โลกกลับมาบ้าน มีเสียงร้องตะโกนและเฉลิมฉลอง เป็นวันแห่งชัยชนะของคนทั้งประเทศ แต่กษัตริย์ ดาิวิดไม่ได้อยู่ในกองทัพ ท่านกลับเข้าเมือง เพื่อรอฟังผลของสงคราม ทหารที่กลับมาด้วยความยินดีใน ชัยชนะ ไม่ได้คาดคิดเลยว่า กษัตริย์จะไม่รอต้อนรับอยู่ที่ประตูเมือง เพราะท่านทราบเรื่องการสิ้นชีวิตของ บุตรชายแล้ว

มันเริ่มจากที่ทหารของอับซาโลมเริ่มพ่ายแพ้ ตามด้วยการตายของอับซาโลม อาหิมาอัสขอร้องโยอาบให้ตน เองเป็นผู้นำ "ข่าวดี" ไปบอกกับดาวิด โยอาบรู้ว่านี่ไม่ใช่ "ข่าวดี" ของกษัตริย์แน่ ถึงแม้จะเป็นข่าวดีสำหรับ คนอื่นๆก็ตาม โยอาบจึงไม่อยากให้อาหิมาอัสไปมาหะนาอิม เขาส่งคนคูชไปแทน อาหิมาอัสไม่ยอมล้มเลิก ความตั้งใจ ในที่สุดโยอาบจำยอม ให้ไปพร้อมกับคนคูชนั้น ด้วยความกระตือรือร้น (อาจเป็นนักวิ่ง หรืออาจ เลือกเส้นทางที่ลัดกว่า) อาหิมาอัสมาสามารถมาถึงมาหะนาอิมก่อนชาวคูช จากทั้งสองนี้ ดาวิดจึงทราบข่าว การตายอของอับซาโลมบุตรชาย ท่านเป็นทุกข์โศกเศร้ายิ่งนัก

ก่อนที่เราจะเรียนต่อ ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่าเรื่องการรายงานข่าวของผู้ส่งสารทั้งสองนี้ กินเนื้อที่มากกว่าเรื่อง สงครามเสียอีก รวมทั้งเรื่องการตายของอับซาโลมด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ทำไมผู้เขียนถึงให้ความสำคัญ กับเรื่องที่อาหิมาอัสอยากไปรายงานข่าวให้ดาวิดมาก? คำตอบนั้นสำคัญ เพราะเป็นเหมือนกุญแจที่ทำให้เรา เข้าใจพระธรรมตอนนี้ได้ดีขึ้น อย่างที่ผู้เขียนต้องการ

ผมตั้งข้อสังเกตุเห็นความยาว (ในเรื่องเนื้อที่) ที่ใช้ไปกับเรื่องผู้ส่งข่าวของพระธรรมตอนนี้ ผมขอชี้ให้เห็น อีกด้วย ในเรื่องความสำคัญของ "ข่าวดี" นี้ ในฉบับของ NASB มีเอ่ยถึงอยู่สี่ครั้งในข้อ 25-31 และยังมีคำ อื่นๆ อีกที่หมายถึง "ข่าว" ซึ่งฟังดูน่าจะเป็นเรื่องข่าวดี คำว่า "ข่าวดี" ในภาษาฮีบรู หมายถึง "ข่าวดี" (ตาม ที่คาดไว้) ผู้แปลฉบับเซปตัวจิ้นท์ใช้คำในภาษากรีก ซึ่งเราพบบ่อยมากในพระคัมภีร์ใหม่ เกี่ยวกับการประกาศ ข่าวประเสริฐขององค์พระเยซูคริสต์ "ข่าวดี" ที่อาหิมาอัสอยากประกาศกับดาวิดคือ พระเจ้าได้ประทานชัย ชนะให้แก่ท่าน ทำให้ท่านมีชัยเหนือศัตรู คืออับซาโลม ด้วยการสิ้นชีวิตของอับซาโลม

ปัญหาก็คือ ดาวิดไม่ต้องการยอมรับว่าข่าวนี้เป็นข่าวดี ลองสังเกตุดูเมื่อผู้ส่งข่าวแต่ละคนมาพบดาวิด ทั้งสอง บอกกับดาวิดว่าเป็นข่าวดีสำหรับท่าน ดาวิดไม่ได้ถามถึงผลของสงคราม ถามแต่เรื่องสวัสดิภาพของบุตรชาย ข่าวดีสำหรับดาวิดคือ อับซาโลมยังไม่ตาย ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามคือ อับซาโลมและ พวกพ้องของเขาพ่ายแพ้ และตัวเจ้าปัญหาถูกกำจัดออกไป

โยอาบรู้จักพระราชาดี รู้ดีว่าดาวิดไม่มีทางยอมรับข่าวที่บุตรชายต้องตาย นี่คือเหตุผลที่เขาไม่อยากส่ง อาหิมาอัสให้ไปส่งข่าว นี่คือสาเหตุที่อาหิมาอัสไม่ยอมพูดตรงๆเมื่อดาวิดถามถึงบุตรชาย ดังนั้นเมื่อกองทัพ กลับมาที่มาหะนาอิม พวกเขาจึงไม่พบกษัตริย์คอยอยู่ เพื่อแสดงความยินดีที่รบชนะ แต่พวกเขากลับรับรู้ว่า ดาวิดกำลังคร่ำครวญถึงการตายของอับซาโลม แทนที่พวกเขาจะรู้สึกภาคภูมิใจที่รบชนะ พวกเขากลับรู้สึก อับอายขายหน้า

โยอาบตำหนิพระราชา
(19:1-8)

1 เขาไปเรียนโยอาบว่า "ดูเถิด พระราชากันแสงและไว้ทุกข์เพื่ออับซาโลม"
2 เพราะฉะนั้นชัยชนะในวันนั้นก็กลาย เป็นการไว้ทุกข์ของประชาชนทั้งหลาย เพราะในวันนั้นประชาชนได้ยินว่า "พระราชาทรงโทมนัสเพราะพระราชบุตร
ของพระองค์" 3 ในวันนั้นประชาชนได้แอบเข้ามาในเมืองอย่าง กับคนหนีศึก
แล้วอายแอบเข้ามา 4 พระราชาทรงคลุมพระพักตร์กันแสงเสียงดังว่า "โอ
อับซาโลมบุตรของเราเอ๋ย โอ อับซาโลมบุตรของเรา บุตรของเรา" 5 โย
อาบ ก็เข้ามาในพระราชวังทูลว่า "วันนี้ฝ่าพระบาทได้ทรงกระทำให้ข้าราชการ
ทั้งสิ้นของฝ่าพระบาท ผู้ซึ่งวันนี้ได้อารักขาพระชนม์ของฝ่าพระบาท ทั้งราช บุตรและราชธิดาและชีวิตของบรรดามเหสี และสนมทั้งหลายของฝ่าพระบาท ให้เขาได้รับความละอาย 6 เพราะว่าฝ่าพระบาททรงรักผู้ที่เกลียดชังฝ่าพระบาท และทรงเกลียดชังผู้ที่รักฝ่าพระบาท เพราะในวันนี้ ฝ่าพระบาทได้กระทำให้
ประจักษ์แล้วว่า ฝ่าพระบาทไม่ไยดีต่อนายทหารและบรรดาข้าราชการทั้งหลาย ในวันนี้ข้าพระบาททราบว่า ถ้าในวันนี้อับซาโลมยังมีชีวิตอยู่ และข้าพระบาท
ทั้งหลายก็ตายสิ้น ฝ่าพระบาทก็จะพอพระทัย 7 ขอฝ่าพระบาททรงลุกขึ้น ณ
บัดนี้ขอเสด็จออกไป ตรัสให้ถึงใจข้าราชการทั้งหลาย เพราะข้าพระบาท ได้ ปฏิญาณในพระนามพระเจ้าว่า ถ้าฝ่าพระบาทไม่เสด็จจะไม่มีชายสักคนหนึ่งอยู่ กับฝ่าพระบาทในคืนนี้ เรื่องนี้จะร้ายแรงยิ่งกว่าเหตุร้ายอื่นๆทั้งสิ้น ซึ่งบังเกิด แก่ฝ่าพระบาทตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนบัดนี้" 8 พระราชาก็ทรงลุกขึ้น ประทับ
ที่ประตูเมือง เขาไปบอกประชาชนว่า "ดูเถิด พระราชาประทับอยู่ที่ประตูเมือง" ประชาชนทั้งหลายก็มาเฝ้าพระราชา ฝ่ายอิสราเอลนั้นต่างคนต่างก็หนีไปยัง บ้านเรือนของตนหมดแล้ว

นักรบของดาวิด เสี่ยงชีวิตปกป้องกษัตริย์ กลับเดินคอตกด้วยความอาย วันแห่งชัยชนะกลับกลายเป็นวันแห่ง การคร่ำครวญ พวกทหารต้องค่อยๆแอบกลับเข้าเมือง เหมือนกับว่าไปทำผิดมา เหมือนได้เตะลูกโทษหน้า ประตู ห่างไปไม่กี่หลา แต่กลับเตะพลาด ทั้งๆที่ไม่น่าจะพลาด ทำให้ทั้งทีมตกรอบ พวกเขาคงรู้สึกอับอาย เมื่อต้องเดินออกจากสนาม กลับไปหาโค้ช น่าจะเป็นความรู้สึกเดียวกับที่ทหารของดาวิดรู้สึกในตอนนั้น

พระราชาร้องให้คร่ำครวญต่อการตายของอับซาโลม ท่านร้องซ้ำไปซ้ำมาว่า "โอ อับซาโลม บุตรของเรา โอ้ อับซาโลม บุตรของเรา บุตรของเรา!" โยอาบไม่ได้คิดจะไปร่วมร้องให้คร่ำครวญด้วย ที่จริงเขาทน แทบไม่ได้ด้วยซ้ำไป อยากให้หยุดๆเสีย เขาเข้าไปที่บ้าน ไม่ได้แสดงว่าเห็นอกเห็นใจดาวิด ในความคิดของ โยอาบ ดาวิดกำลังทำผิดใหญ่หลวงที่สุดในชีวิต เขายังต้องประสพเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ ที่ไม่เคยต้องเผชิญ มาก่อน

โยอาบตำหนิดาวิด ที่ทำให้ทุกคนที่หนีตามท่านออกจากเยรูซาเล็ม ต้องอับอาย ไม่ใช่แค่พวกทหารเท่านั้น ภรรยาและลูกๆ และนางสนมของท่านด้วย เพราะการตอบสนองของท่าน บ่งบอกว่าท่านกำลังต้องการให้ทุก คนรู้ว่า ท่านรักศัตรูมากกว่าเพื่อนหรือครอบครัว ท่านรักคนที่เกลียดชังท่าน มากกว่าคนที่รักท่าน ท่านไม่ใย ดีกับคนที่ยอมเสี่ยงตายเพื่อปกป้องท่าน โยอาบพูดอย่างตรงไปตรงมาที่สุด : สงสัยดาวิดคงอยากได้ยินว่า ทั้งกองทัพถูกฆ่าตายหมด แต่บุตรชายของท่านยังมีชีวิตอยู่ มากกว่าได้ยินว่าทั้งกองทัพมีชัย แต่บุตรชาย ของท่านสิ้นชีวิต

อันที่จริงโยอาบกำลังสั่งให้ดาวิดทำตาม ควรลุกขึ้น หยุดคร่ำครวญ และออกไปต้อนรับกองทัพที่ประตูเมือง รับนักรบที่เสี่ยงชีวิตเพื่อท่าน ถ้าท่านไม่รีบทำ โยอาบบอกว่าก่อนรุ่งสาง จะไม่มีทหารหลงเหลือเป็นพวกท่าน สักคนเดียว พระราชาทำตามที่โยอาบบอก ท่านไปที่ประตูเมือง และเมื่อทุกคนทราบ ก็รีบมาเข้าเฝ้าท่านใน ทันที ส่วนทหารที่ไปเข้าพวกกับอับซาโลม ต่างหนีตายกลับไปยังบ้านของตน สงครามยุติแล้ว ดาวิดได้ กลับมาเป็นกษัตริย์อิสราเอลอีกครั้งหนึ่ง

บทสรุป

พระธรรมตอนนี้มีเรื่องให้เราเรียนรู้มากมาย ผมเชื่อว่ามีบางสิ่งที่เราสามารถเรียนได้จากแต่ละคนในเรื่อง ผมขอ พูดถึงสักสองสามเรื่อง

เรื่องแรก เราเรียนรู้ได้จากสองตัวร้ายในเรื่อง อับซาโลม และอาหิโธเฟล ทั้งคู่เคยเป็นที่สนิทสนม กับดาวิดมาก่อน ทั้งคู่เลือกจะกบฎต่อดาวิด หมายโค่นล้มราชบัลลังก์ ทั้งคู่คงไม่ใช่คนดีนัก ไม่ใช่คนที่เชื่อ ฟังและทำตามพระบัญญัติ ทั้งคู่ไม่รู้สึกอะไรเลย ที่ยื่นมือไปแตะต้องกษัตริย์ที่พระเจ้าเจิมไว้ ทั้งคู่จบชีวิตลง อย่างน่าสังเวชใจ ทั้งคู่คงต้องเคยเห็นพระหัตถ์ของพระเจ้าที่ทำการผ่านดาวิด ในฐานะกษัตริย์ของพระองค์ ทั้งคู่ยินดีที่จะได้กำจัดท่านออกไป เพื่อจัดตั้ง "อาณาจักร" ของตนเองขึ้น ทั้งคู่เป็นเหมือนมาร และเหมือน อาดัมกับเอวา คือเลือกที่จะไม่ยอมเล่นบทรอง พวกเขาคิดว่าตราบใดที่ดาวิดปกครองอยู่ ชีวิตของพวกเขา ไม่มีทางได้ดี ดังนั้นควรฉกชิงมาให้ได้ตามใจปรารถนา

ทั้งสองคนนี้ อับซาโลมและอาหิโธเฟล ล้มเหลวในการตอบคำถามที่สำคัญที่สุดในชีวิต : "เราจะปรนนิบัติ กษัตริย์องค์ใด?" อับซาโลมและอสหิโธเฟลไม่อยากได้ดาวิดมาเป็นกษัตริย์ ทั้งคู่ต้องการเป็นกษัตริย์ทีปก ครองเหนือชีวิตตนเอง แต่เมื่อปฏิเสธดาวิดในฐานะกษัตริย์ พวกเขาก็ปฏิเสธกษัตริย์ของพระเจ้า จึงเท่ากับ ก่อการกบฎต่อพระเจ้า คนทั้งคู่มีความรู้ความสามารถ แต่ที่สุดแล้ว ความสามารถนั้นไม่เกิดผลเพื่อชีวิตนิรันดร์

คำถามนี้ไม่เคยเปลี่ยนครับ เป็นคำถามก่อนที่จะมีการจัดตั้งกษัตริย์ของอิสราเอล และยังเป็นอยู่จนทุกวันนี้ อาดัมและเอวา ปฏิเสธไม่ให้พระเจ้าเข้ามาสิทธิครอบครองสูงสุดในชีวิตของพวกเขา แต่กลับแสวงหาวิธี ที่ จะอยู่เหนือพระองค์ คนอิสราเอลปฏิเสธไม่ให้พระเจ้ามาเป็นกษัตริย์ปกครอง พวกเขาเรียกร้อง ขอมีกษัตริย์ ที่เป็นมนุษย์เหมือนชาติอื่นๆ (ดู 1 ซามูเอล 8:7) อับซาโลม อาหิโธเฟล และอีกหลายๆคน ที่ก่อกบฎ ต่อ ดาวิด ปฏิเสธไม่ยอมรับกษัตริย์ของพระเจ้า เมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จมาบนโลก พระองค์มาในฐานะผู้ครอบ ครองบัลลังก์ของบรรพบุรุษ คือกษัตริย์ดาวิด พระองค์มาในฐานะกษัตริย์ที่พระเจ้าเจิมไว้ แต่กมนุษย์กลับ ปฏิเสธว่าพวกเขาไม่มีกษัตริย์อื่นใด เว้นแต่ซีซาร์ พระเยซูถูกปฏิเสธเมื่อเสด็จมาครั้งแรก ว่าไม่ใช่เป็นกษัตริย์ อิสราเอล เพื่อพระองค์จะทรงแบกรับโทษความบาปของพวกเรา และเตรียมหนทาง ให้เราเข้าสู่อาณาจักร ของพระองค์ได้ ทุกคนที่รับของประทานแห่งการอภัยบาป และชีวิตนิรันดร์ จะได้ครอบครองร่วมกับพระองค์ ตลอดนิรันดร์ พระองค์จะเสด็จกลับมาอีก มาปราบศัตรูลงให้หมดสิ้น และจัดตั้งพระราชบัลลังก์ของพระองค์ บนโลกนี้ ทุกคนที่ต้อนรับพระองค์ ว่าเป็นหนทางความรอดที่องค์พระผู้เป็นเจ้าจัดเตรียมไว้ ว่าเป็นกษัตริย์ ผู้ครอบครอง คนที่ปฏิเสธของประทานสำหรับความรอดนี้ ก็เท่ากับปฏิเสธว่าพระเยซูไม่ได้เป็นกษัตริย์ และ เมื่อพระองค์เสด็จกลับมาอีกครั้ง มนุษย์ทุกคนจะก้มลงกราบพระองค์ ในฐานะกษัตริย์ของพระเจ้า แต่เฉพาะ ผู้ที่ต้อนรับพระองค์เป็นพระผู้เช่วยเท่านั้น จะมีส่วนเข้าในแผ่นดินของพระองค์ ใครเป็นกษัตริย์ของคุณครับ? เป็นคำถามที่สำคัญที่สุดในชีวิตทีเดียวคุณนะครับ

เรื่องที่สอง เราเรียนรู้ได้จากโยอาบ เราอาจเถียงกันว่า โยอาบเป็นผู้ลงมือฆ่าอับซาโลมหรือไม่ โดยขัด คำสั่งดาิวิด หรือว่าอับซาโลมตายเอง ผมคิดว่าที่โยอาบตำหนิกษัตริย์ เรื่องการตอบสนองต่อการตายของ อับซาโลมนั้น ค่อนข้างถูกต้อง โยอาบเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของดาวิด แต่เขาทำถูกที่ตำหนิดาวิด บางครั้ง ต้องมีการตักเตือนกันในแบบของพระคัมภีร์ เมื่อมีบาปเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีอาวุโสกว่าหรือไม่ก็ตาม แต่ เราต้องทำด้วยการอธิษฐานอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อการตักเตือนจะเป็นไปอย่างเกิดผล

นอกจากนั้น พระธรรมตอนนี้สอนเราให้ยอมรับคำตักเตือนจากคนที่ด้อยหรืออ่อนอาวุโสกว่า เราสามารถพูด วิพากษ์วิจารณ์การกระทำของโยอาบ แต่ความจริงก็คือ เขาทำถูก ที่กล่าวตักเตือนดาวิด ทุกวันนี้ เรามีเรื่อง พูดคุยกันมากมาย เรือง "การเลี้ยงดูผู้อื่น" และ "การเป็นผู้ให้คำปรึกษา" เราชอบคิดเอาเองว่า เรามีพี่เลี้ยง ของเรา เรามีคนคอยให้คำปรึกษา ซึ่งก็มีความจริงอยู่บ้าง แต่ก็มีสิ่งที่ต้องแก้ใขอีกมาก ประเด็นของผมคือ เราไม่ควรจำกัดคำปรึกษาอยู่เฉพาะในรายชื่อที่เราต้องการเท่านั้น ศัตรูของเรา บางครั้งก็เป็น นักวิจารณ์ที่ดี ที่สุด เพราะเขาไม่เกรงใจเรา ไม่กลัวว่าเราจะโกรธ ไม่สนใจด้วยว่าเราจะคบเขาหรือไม่ พวกเขาอาจพูดในสิ่ง ที่ "เพื่อนสนิท" ของคุณไม่กล้าพูด โยอาบตำหนิดาวิด ดาวิดยอมฟัง และเรียนรู้ ขอให้เราเรียนจากคนที่เรา ไม่ชอบหน้า หรือจากคนที่ไม่ชอบหน้าเราด้วย

เรื่องที่สอง ให้เราเรียนจากมุมมองในการสูญเสียของดาวิด โยอาบทำถูก ที่กล่าวตักเตือนดาวิด เพราะ ดาวิดกำลังสับสนไปหมด คำพูดของโยอาบ ที่บอกว่าดาวิดรักศัตรู และเกลียดชังเพื่อน มัวแต่ไปห่วงใยสวัสดิ ภาพของศัตรู มากกว่าความมั่นคงของประเทศชาติ ที่เขาปกครองอยู่ตามที่พระเจ้ากำหนด ดาวิดห่วงใยคน เพียงคนเดียว หลงลืมละเลยคนอื่นไปหมดสิ้น งานนี้ดาวิดผิดและโยอาบถูก

ดาวิดทำไม่ถูกที่ออกคำสั่งให้เพลาๆมือกับอับซาโลม อับซาโลมน่าจะตายไปตั้งหลายหนแล้ว น่าจะตาย ตั้งแต่คิดวางแผนฆ่าอัมโนน เพราะฝ่าฝืนกฎหมาย น่าจะตายเมื่อคิดกบฎต่อราชบัลลังก์ของบิดา (ตั้งแต่ก่อน พระธรรมตอนนี้) และน่าจะตายตั้งแต่คิดมักใหญ่ใฝ่สูง แสวงฆ่าผู้ที่พระเจ้าเจิมไว้ เพื่อตั้งตนขึ้นเป็นแทน ดาวิด คิดได้อย่างไร ที่ส่งกองทัพออกไปสู้กับกองทัพของอับซาโลม โดยไม่ให้ต่อสู้กับอับซาโลม? ดาวิดเคยใช้ อำนาจในทางที่ผิด ทำให้ผู้ชอบธรรม (เช่นอุรียาห์) ต้องตายลง ตอนนี้ท่านกำลังใช้อำนาจ ในฐานะกษัตริย์ ไว้ชีวิต ผู้ก่อกบฎที่ต้องโทษถึงตาย สามัญสำนึกของดาวิดยุ่งเหยิงตีกันไปหมด ต้องใช้ความหลักแหลมของ โยอาบมาตักเตือน และนำท่านให้คืนสู่สภาพปกติให้ได้

ผมอยากจะบอกว่า สามัญสำนึกของดาวิดอาจสับสนยุ่งเหยิงในตอนนั้น ซึ่งอาจเกิดกับเราได้ในตอนนี้ เพียงแต่เราไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เรารู้ดีว่าโลกนี้ และทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว จะพินาศสูญสิ้นไปได้ภายใน พริบตา แต่เราก็ยังเร่งสะสมมันไว้ให้เยอะๆ เราเร่งสะสมสมบัติในโลก มากกว่าสะสมสมบัติแห่งแผ่นดิน สวรรค์ เรารู้ดี (ด้วยปัญญา) ว่า คนที่หลงหายจะพินาศในบึงไฟนรก ตัดขาดจากพระเจ้า แต่เราก็ยังไม่ คิดจะบอกกับคนเหล่านั้น ไม่คิดจะไปแบ่งปันข่าวประเสริฐ (คือ "ข่าวดี") กับพวกเขา คุณว่าเรามีสามัญ สำนึกและทัศนคติพอๆกับดาวิดในตอนนั้นมั้ยครับ?

เรามองเห็นว่าดาวิดเห็นแก่สวัสดิภาพของบุตร มากกว่าสวัสดิภาพของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ของท่านเอง หรือประชาชนอิสราเอลทั้งชาติ ในกรณีนี้ ดาวิดกำลังให้ความสำคัญกับ "ครอบครัว" เหนือ สิ่งอื่นใดหรือเปล่า? ดาวิดไม่ยอมจัดการกับความบาปของบุตร อย่างที่เขาสมควรได้รับหรือเปล่า? ดาวิด พยายาม "ช่วยเหลือ" บุตรให้พ้้นผิด เหมือนกับที่เรา ไม่พยายามแก้ใข ลูกที่ดื้อดึงไม่เชื่อฟัง เพราะกลัวว่า เขาจะไม่รักเราเหรือเปล่า? เราปฏิเสธการลงวินัยสมาชิกที่ทำผิด ด้วยกลัวว่าเขาจะหลงหาย หรือไม่ได้ ความช่วยเหลือบางด้านจากเขาอีกหรือเปล่า? ขอให้เราเรียนรู้จากดาวิดว่า สามัญสำนึกเราบางทีก็หดหาย ไปได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้ตัว หนทางเดียวที่จะระวังรักษาสามัญสำนึกและทัศนคติของเราให้ถูกต้อง คือให้พระคำเข้ามาคอยหล่อหลอมจิตใจ ให้เรามีกรอบความคิดในแบบของพระเจ้า เพราะเราศึกษาพระวจนะ ขอให้เราเป็นผู้ที่มีพระคำในใจ เพื่อจะมีมุมมองและทัศนติแบบเดียวกันกับพระเจ้า

ท้ายที่สุด เราเรียนรู้มากมายจากควมทุกข์ของดาวิด ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดในชีวิตของ ดาวิด ผมคงไม่สามารถอธิบายถึงความทุกข์ใจที่ดาวิดแบกอยู่ ผมขอใช้คำว่ากดดันแทน ผมเชื่อว่ามีคริส เตียนอีกหลายคนที่อยู่ในภาวะกดดัน ผมขอพูดต่อไปว่า คริสเตียนอาจอยู่ในภาวะกดดันได้ โดย "ไม่ได้ ทำบาป" แต่การกดดันบางทีก็เป็นเพราะบาป (ซึ่งเป็นสาเหตุบางส่วนที่ดาวิดต้องเผชิญ) การกดดันบาง อย่างก็เกิดจากผลของบาปโดยตรง ซึ่งแปลว่าเราเลือกที่จะเข้าไปสู่ภาวะกดดันเอง ทั้งๆที่รู้ถึงรากปมของมัน ผมคงไม่ขอเจาะลึกมากนักเรื่องความกดดัน ที่เกิดจากความบาป ทั้งนอกและในตัวของมันเอง

หลายปีมาแล้ว มีผู้รับใช้อาวุโสท่านหนึ่ง ยืนขึ้นในระหว่างการนมัสการ อ่านพระธรรมตอนที่พระเยซูอธิษฐาน อยู่ในสวนเกทเสมนี เขากล่าว (ที่จริงเขาอ่านจากฉบับแปลใหม่ล่าสุด) ว่าพระเยซูทรงอยู่ในสภาวะกดดัน ผมทำเรื่องขายหน้าครับ ด้วยการยืนขึ้นและโต้เถียงกับผู้รับใช้ท่านนั้น ผมบอกเขาว่าความกดดันเป็นบาป เพราะฉะนั้นไม่มีทางเป็นได้ ที่พระเยซูจะอยู่ภายใต้ความกดดัน เราอยู่ในภาวะกดดันได้โดยไม่ทำบาป ผมเชื่อ ว่าดาวิดรู้สึกกดดัน และเพราะความกดดันนี้เอง ที่ทำให้ความคิดจิตใจของท่าน สับสนจนทำอะไรไม่ถูก

สิ่งที่ผมอยากให้คุณสังเกตุดู คือพระเจ้าทรงไว้ชีวิตดาวิด และประทานชัยชนะเหนืออับซาโลมให้ ถึงแม้ดาวิด จะรู้สึกกดดัน ถึงแม้ท่านจะออกคำสั่ง ไม่ให้ทหารทำร้ายอับซาโลม พระประสงค์และแผนการของพระเจ้า ไม่มี วันล้มไปเพราะความบาป และแน่นอนไม่ใช่เพราะความกดดัน มีบางเวลา บางโอกาสที่ความเชื่อของดาวิด ตก ต่ำลงจนถึงขีดสุด สิ่งนี้เป็นตัวการขัดขวางพระประสงค์ของพระเจ้าได้หรือ? ไม่มีทางครับ!

ผมพูดเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะมีเหตุผลสำคัญมาก มีการสอนและเสนอแนวคิดกันอย่างแพร่หลายในคริสตจักร ว่าพระเจ้าไม่สามารถทำการของพระองค์ภายใต้ความกดดันได้ คำสอนในเรื่องความคิดเชิงบวกของทุกวันนี้ เป็นตัวการด้วย คือสอนว่าถ้าเรามองในแง่ดี สิ่งดีต่างๆก็จะตามมา ถ้าเรามีแนวโน้มคิดในเชิงร้าย เรากำลังมี ปัญหา นี่คือสิ่งที่สอนกันอยู่ในปัจจุบัน ฟังดูเป็นแนวคริสเตียนดี คล้ายกับว่าถ้าเรามีความเชื่อพอ พระเจ้าจะ กระทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพื่อเรา ถ้าเราขาดความเชื่อ เราจะได้รับผลแห่งความทุกข์และความโศกเศร้า

มีมุมมองที่ผิดอยู่มากมายในคำสอนนี้ เราให้ความสำคัญในเรื่องพระพรกับตัวเราเองมากไป เราเอาพระพร ของพระเจ้ามาบวกเข้ากับความเชื่อ กับการเชื่อฟัง และการมีทัศนคติที่ดี แต่พอต้องเผชิญความกดดัน (ซึ่ง ต้องมีมาแน่) เราไม่มีความหวังในคำสอนนั้นหลงเหลืออยู่เลย เราคิดว่าพระเจ้าไม่สามารถทำการใดๆได้ เมื่อเราอยู่ในภาวะกดดัน ดังนั้นเราจึงต้องมีความเชื่อเต็มเปี่ยม และมีสันติสุขอยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งที่ คริสเตียนหลอกตนเองและคนรอบข้าง ว่ามีสันติสุข มีความชื่นชมยินด ีและมีความเชื่ออยู่เต็มเปี่ยม เพราะ คนรอบข้างคาดหวังจากเรา ในขณะนั้น ดาวิดไม่มีสันติสุข ไม่มีความชื่นชมยินดี หรือมีความเชื่อเหลืออยู่เลย ท่านอยู่ในภาวะที่จิตใจตกต่ำที่สุด ถึงกระนั้นก็ตาม พระเจ้าทรงทำให้พระประสงค์ และพระสัญญาของพระ องค์สำเร็จไป ทั้งๆที่ดาวิดอยู่ในภาวะสับสนที่สุด พระเจ้าทรงจัดเตรียมเพื่อนในยามยากให้ดาวิดหลายคน พระองค์ทรงให้หุชัย ไปทำให้คำปรึกษาของอาหิโธเฟลฟั่นเฝือไป ทรงใช้โยอาบไปกำจัดอับซาโลมและเป็นผู้ ไปตักเตือนดาวิด พระเจ้าทรงทำงานภายในชีวิตของดาวิด ไม่ใช่เพราะท่านมีความเชื่ออยู่เต็มเปี่ยม มีความ ชื่นชมยินดี และมีความหวังอยู่ในตอนนั้น แต่เป็นเพราะพระองค์ทรงสัตย์ซื่อในพระสัญญาของพระองค์

ผมขอเจาะลึกเรื่องความกดดันนี้ออกไปอีกหน่อย หลายครั้งคนที่กำลังมีความกดดัน มุมมองของเขาจะผิด ปกติ -- พวกเขามองบางอย่างในชีวิตไม่ออก แต่ก็มีบางครั้ง ที่ความกดดันช่วยทำให้เราเข้าใจชีวิตได้ดีขึ้น เรามีความมั่นใจในตัวเองมากเกินหรือเปล่า มั่นใจว่าเรามีความสามารถ มีความชอบธรรม และมีความเชื่อใน แบบของตัว? คุณเชื่อมั้ยว่า ความกดดันจะกวาดทุกสิ่งที่คุณมั่นใจนี้ไปได้หมด? คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง สูง มีความสุขมาก ประสพความสำเร็จในแทบทุกเรื่อง มักหลอกตนเองถึงแหล่งที่มาของสิ่งเหล่านี้ ดาวิดมอง เห็นชีวิตชัดเจนเมื่อท่านอยู่บนยอดหอคอยของความสำเร็จ มากกว่าเมื่อท่านดำดิ่งลงสู่ความอัปยศ ดาวิดไม่ อาจวางใจในตนเองได้ในสภาพที่สิ้นหวัง สิ่งเดียวที่ท่านทำได้คือมอบวางไว้ที่องค์พระผู้เ็ป็นเจ้า พักพิงและ มีความหวังในพระองค์

ผมได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าทรงทำงานในชีวิตของดาวิดมากในช่วงที่ท่านอยู่ภายใต้ความกดดัน ผมขอบอก ต่อไปอีกว่า พระเจ้าทรงทำงานผ่านชีวิตของท่านในภาวะกดดันมากเช่นกัน ผมไม่อาจหาข้อพิสูจน์มาสนับ สนุนสิ่งที่พูดนี้ได้ แต่ผมจินตนาว่าพระธรรมสดุดีของดาวิดหลายๆบท ถูกเขียนขึ้นจาก "ปลักแห่งความระทม" หลายบทเขียนขึ้นในยามสิ้นหวัง ขณะที่ดาวิดพูดถึงความกลัว ความสิ้นหวัง ความกดดันที่มีต่อพระเจ้า ท่าน กลับพบความหวัง รับการช่วยเหลือ เมื่อท่านระลึกถึงพระเจ้าที่ท่านกำลังทูลขออยู่ ในขณะที่เขียนพระธรรม สดุดีนี้ ดาวิดได้ช่วยเหลือผู้อื่นผ่านความสิ้นหวังของท่าน บ่อยครั้ง ขณะที่เราคร่ำครวญ เรามีทุกข์ เราจะมอง เห็นชีวิตชัดเจนขึ้น วางใจในพระเจ้ามากยิ่งขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้ การทนทุกข์ และความกดดันต่างๆ ก็น่าจะเป็น มิตรยิ่งกว่าเป็นศัตรู สิ่งใดก็ตาม ที่นำเราเข้าใกล้พระเจ้ามากยิ่งขึ้น คือมิตรแท้ของเรา

ผมแน่ใจว่าขณะที่ผมพูดเรื่องราวเหล่านี้ ผมกำลังพูดอยู่กับคนที่กำลังอยู่ภายใต้ความกดดันบางประการ บาง คนอาจไม่รู้ตัว และไม่อยากยอมรับ อาจเป็นเพราะบางคน ผมก็ด้วย ที่ไปคิดว่าความกดดันคือความบาปอย่าง หนึ่ง และคุณไม่อยากรู้สึกผิดเพราะความบาปนี้ แต่ก็มีหลายคนอยู่ท่ามกลางการกดดัน และยอมรัับได้ หลาย คนอายที่จะยอมรับ และไม่กล้าแบ่งปันให้คนอื่นฟัง ผมขอบอกอย่างง่ายๆว่า พระเจ้าทรงทำงานในชีวิตของ ดาวิด ไม่ว่าท่านจะอยู่ในสภาพใด ในสภาพกดดัน พระองค์ก็ทรงทำได้

ผมขอจบลงด้วยคำตรัสขององค์พระเยซูคริสต์:

1 ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนมากดังนั้น พระองค์ก็เสด็จขึ้นไปบนภูเขาและ
เมื่อประทับแล้ว เหล่าสาวกของพระองค์มาเฝ้าพระองค์ 2 แล้วพระองค์
จึงตรัสสอนเขาว่า 3 "บุคคลผู้ใด รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา 4 "บุคคลผู้ใดโศกเศร้า ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับการทรงปลอบประโลม (มัทธิว 5:1-4)

28 บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเรา
จะให้ท่านทั้งหลาย หายเหนื่อยเป็นสุข 29 จงเอาแอกของเราแบกไว้
แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อนน้อม และจิตใจท่านทั้ง
หลายจะได้พัก 30 ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ และภาระของเราก็เบา"
(มัทธิว 11:28-30)


85 ผมอดคิดไม่ได้ว่า แผนการที่ขยายกองกำลังของอับซาโลมให้ยิ่งใหญ่ กลับกลายเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่ หลวงต่อการรบ คนของดาวิดล้วนแล้วแต่เป็นนักรบที่เก่งกล้าและชำนาญการศึก เคยร่วมรบกับท่านมาในอดีต สิ่งที่กองทัพของอับซาโลมต้องเผชิญคือ นักรบที่ชำนาญทั้งการรบ และพื้นที่ กองกำลัง "อาสาสมัคร" ที่จะ ไปกับอับซาโลมนี้ ไม่ชำนาญการรบ ขาดประสบการณ์ และขาดวินัย เมื่อมีผู้นำคนใหม่ อ่อนประสบการณ์ เหมือนกับน้องน้อยในวงการ ที่ด้อยคุณภาพทั้งตัวผู้นำและผู้ตาม แถมไม่เคยผ่านฝึกซ้อมมาก่อน

86 บาฮูริมอยู่ไม่ไกลจากเยรูซาเล็ม เป็นที่ซึ่งพัลทิเอล สามีคนที่สองของมีคาลได้รับอนุญาติให้มาส่งได้ (2 ซามูเอล 3:14-16) อีกทั้งยังเป็นบ้านของชิเมอี คนที่สาปแช่งเอาหินปาดาวิด ตอนกำลังอพยพออกจาก เยรูซาเล็ม

87 นอกจากที่เราคิดว่าผมของอับซาโลมเกี่ยวติดกับต้นไม้แล้ว ในพระคัมภีร์บอกว่าศีรษะของเขาติดกิ่งต้นก่อ แน่น ถ้าใครอยู่ในเหตุการณ์ จะเห็นว่าอับซาโลมติดแน่นจนดิ้นไม่หลุด ถ้าไม่มีใครไปเห็นเข้า เขาคงต้องตาย อยู่ดีเพราะถูกป่ากิน ไม่จำเป็นที่คนของดาวิดต้องลงไม้ลงมือ

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 17: ดาวิดกลับสู่เยรูซาเล็ม (2 ซามูเอล 19:9--20:26)

คำนำ

พระธรรมตอนนี้ทำให้ผมนึกถึงถนนไปค่ายฝึกมิชชันนารี่ที่ประเทศอินเดีย หนทางเลี้ยวลดหักมุมจนผมนึกว่า จะไปไม่รอดเสียแล้ว ดาวิดทำบาปล่วงประเวณีกับนางบัทเชบา และฆ่าสามีนางทิ้ง (โดยฝีมือของโยอาบ เจ้าเก่า ซึ่งเป็นตัวเอกของพระธรรมตอนนี้) พระเจ้าพิพากษาลงโทษดาวิดผ่านนาธันผู้เผยพระวจนะ ดาวิด สำนึกในบาปและกลับใจ ถึงกระนั้นผลของมันก็ตามติดไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เริ่มด้วยลูกสาวของท่าน ทามาร์ถูกข่มขืน โดยพี่ชายต่างมารดา อัมโนน อััมโนนเองก็ถูกพี่ชายต่างมารดาคืออับซาโลมฆ่าตาย อับซาโลมหนีไปซ่อนตัวที่เมืองเกชูร์ ซึ่งปู่ของเขา ทัลมาอีเป็นผู้ปกครองอยู่ ด้วยการวางแผน เข้าแทรก แซงของโยอาบ ดาวิดจำยอม อนุญาติให้อับซาโลมกลับสู่เยรูซาเล็ม หลังจากนั้นไม่นาน อับซาโลมก็เริ่ม เลื่อยขาราชบัลลังก์ ทำดาวิดเสื่อมเสียชื่อเสียง จนที่สุดก่อการกบฎ ดาวิดต้องอพยพลูกเมียหนีออกจาก เยรูซาเล็ม เข้าไปในถิ่นทุรกันดาร พระเจ้าทรงไว้ชีวิตท่าน ประทานชัยชนะให้แก่กองทัพของท่าน และให้ โยอาบเป็นผู้กำจัดอับซาโลม ทั้งๆที่ดาวิดเองออกคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดแตะต้อง

บัดนี้ดาวิดพร้อมแล้ว ที่จะกลับคืนสู่เยรูซาเล็ม กลับไปปกครองประเทศอิสราเอลอีกครั้งหนึ่ง ไปกอบกู้ชื่อ เสียงกลับคืน (ไปเอาหนามออกจากเนื้อ) ดาวิดปลดโยอาบออกจากผู้บัญชาการรบ ตั้งอามาสาขึ้นแทน ดูเหมือนอนาคตทางทหารของโยอาบดับวูบไปแล้ว แต่ทว่าตอนจบบท กลับกลายเป็นว่าอามาสาต่างหาก ที่ดับวูบ โดยฝีมือของโยอาบ แล้วโยอาบก็ได้กลับมานั่งในตำแหน่งเดิมอีกครั้ง ใครเล่าจะไปคาดคิด?

เรื่องไม่ได้จบลงอย่างง่ายๆ เมื่อดาวิดถูกบังคับให้หนีออกจากเยรูซาเล็มเพราะอับซาโลมก่อกบฎ อับซาโลม ไม่สามารถแย่งชิงบัลลังก์ไปได้ เขาทำตัวเป็นกษัตริย์ได้เพียงสองสามวัน ก็พ่ายแพ้ไปในสงคราม ถูกโยอาบ ฆ่าตาย ดาวิดถูกเชิญให้กลับเยรูซาเล็ม เพื่อไปปกครองประเทศอิสราเอลอีกครั้ง แต่ระหว่างทางจากแม่น้ำ จอร์แดนสู่เยรูซาเล็ม เกิดการปะทะกันขึ้น ระหว่างชนเผ่ายูดาห์ (เผ่าของดาวิด) และเผ่าที่เหลือของอิสราเอล เชบาเป็นผู้เริ่มปลุกปั่น ทำให้คนอิสราเอลที่เหลือต่างละทิ้งดาวิด กลับไปยังบ้านเรือนของตน เหมือนโชค ชะตาหักเห (ภาษาชาวโลกครับ) เชบาถูกไล่ล่า ไปจนมุมที่เมืองป้อมแห่งหนึ่ง หญิงมีสติปัญญาที่อาศัย อยู่ในเมืองนั้น เข้ามาช่วยจัดการ ให้เชบาถูกสังหาร และเมืองนั้นก็รอดปลอดภัย อิสราเอลกลับมาคืนดี กันอีกครั้ง เราสามารถสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดได้ดังต่อไปนี้ : (1) ดาวิดเป็นกษัตริย์ ; (2) ดาวิดไม่ได้เป็น กษัตริย์ ; (3) ดาวิดถูกเชิญให้กลับมาเป็นกษัตริย์อีก; (4) อาณาจักรของดาวิดแตกแยก; (5) อาณาจักรของ ดาวิดมารวมกันอีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างชนิดเลือดท่วมจอนี้ ถ้าเป็นในปัจจุบัน กบว.คงจัดอันดับเรท "อาร์" ให้โยอาบ ที่ใช้มีดแทงอามาสาอย่างโหดเหี้ยม ใส้ทะลักลงมากองบนพื้นถนน ; ทหารในกองทัพของดาวิดหยุดดูศพ ที่ นอนจมกองเลือดอยู่ แลัวมาจบลงที่หัวของเชบาถูกตัดขาด ขว้างข้ามกำแพงเมืองมา เพื่อให้โยอาบและทหาร ที่ติดตามได้เห็น

เรื่องแบบนี้เหมาะจะเอาไปทำหนังนะครับ ไม่ใช่แค่ทำหนังอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่เราต้องอ่านอย่างรอบคอบ ด้วย เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ของศาสนา ; เป็นประวัติศาสตร์ที่ผู้เผยพระวจนะท่านหนึ่ง ต้องจับปากกามาบันทึก เอาไว้ เป็นเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดมาให้เรารับรู้และพยายามหลีกเลี่ยง ขอให้เราเข้าสู่บทเรียนด้วยใจที่คาดหวัง รับฟัง และปฏิบัติตาม ในสิ่งที่พระเจ้าทรงถ่ายทอดมาถึงเราแต่ละคน ผ่านพระธรรมตอนนี้

กล่าวหากันไปมาในอิสราเอล
(19:9-10)

9 ประชาชนทั้งสิ้นก็หมางใจกันไปทั่วอิสราเอลทุกเผ่า กล่าวว่า "พระราชาเคยทรง
ช่วยกู้เรา ให้พ้นจากมือศัตรูของเรา และทรงช่วยเราให้พ้นจากมือคนฟีลิสเตีย บัดนี้ พระองค์ทรงหนีอับซาโลมออกจากแผ่นดิน 10 แต่อับซาโลมผู้ที่เราเจิมตั้งไว้เหนือเรา นั้นก็สิ้นชีวิตเสียแล้วในสงคราม ทำไมเจ้าไม่พูดอะไรบ้างเลยในเรื่องที่จะเชิญพระราชา ให้เสด็จกลับ"

เป็นเรื่องยากที่พวกเราซึ่งอยู่ในประเทศประชาธิปไตย จะเิข้าใจถึงสถานการณ์ที่ชาวอิสราเอลในยุคนั้นกำลัง เผชิญ ตอนที่ปธน. ยอห์น เอฟ เคเนดี้ถูกยิง ปธน. ลินดอน ยอห์นสันต้องเข้าพิธีสาบานตนขึ้นเป็นประธานา ธิบดีในทันที เพื่อรับผิดชอบงานต่อ ระบอบประชาธิปไตยของเรา เขียนขั้นตอนในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อกษัตริย์จบสิ้นชีวิตลง ประชาชนจะทำอย่างไร? คงมีการวิวาทถกเถียง ชี้หน้ากล่าวหากันไปมาใน อิสราเอล ต่างฝ่ายต่างก็สาดโคลนใส่กัน และเกี่ยงกันว่าใครควรจะรับผิดชอบจัดการ ดาวิดเป็นกษัตริย์มาก่อน เมื่อท่านหนีออกจากบ้านเมืองไป ประชาชนมาเจิมตั้งอับซาโลมขึ้นแทน แต่ตอนนี้ อับซาโลมตายไปแล้ว มีการคาดเดาและสรุปกันว่า ดาิวิดน่าจะกลับมาปกครองใหม่ แต่ว่าจะทำได้อย่างไร? ด้วยวิธีใด? เริ่มอย่าง ไร? และใครควรจะเป็นคนทำ? มีการถกเถียงกันอย่างมากมายในเรื่องนี้

มีข้อเท็จจริงอีกข้อที่ต้องนำมาพิจารณา สำหรับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น -- คนกลุ่มเดียวกันนี้ คือคนที่ให้การสนับ สนุนอับซาโลม กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย จนต้องมาถกเถียงกัน คือประชาชนอิสราเอลที่เหลืออยู่ในแผ่นดิน พวก เขาไม่ได้ให้การสนับสนุน หรือช่วยเหลือดาวิดเมื่อท่านหนีเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร คนพวกนี้ไม่ต้องการให้ ดาวิดเป็นกษัตริย์ แต่ดูเหมือนเป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ ที่ดาวิดจะกลับมาปกครองอีก ใครอยากจะยื่นมือไปช่วย คนที่ตนเองปฏิเสธล่ะ? คนที่ตัวเองเคยหักหลังมาก่อน ดูเหมือนอิสราเอลกำลังมีปัญหาเรื่องผู้นำครับ

ดาวิดทำให้ง่ายขึ้นด้วยการยื่นมือออกไปก่อน
(19:11-18ก)

11 กษัตริย์ดาวิดทรงใช้คนไปหาศาโดกและ อาบียาธาร์ปุโรหิต รับสั่งว่า "ขอบอกพวกผู้ใหญ่ของคนยูดาห์ว่า 'ทำไมท่านทั้งหลายจึงเป็นคนสุดท้าย ที่จะเชิญพระราชากลับพระราชวังของพระองค์ เมื่อถ้อยคำเหล่านี้มาจาก
อิสราเอลถึงพระราชา ที่จะเชิญพระองค์ให้กลับพระราชวังของพระองค์
12 ท่านทั้งหลายเป็นญาติของเรา เป็นกระดูกและ เนื้อหนังของเรา ทำไม ท่านจึงจะเป็นคนสุดท้ายที่จะเชิญพระราชากลับ' 13 และจงบอกอามาสาว่า 'ท่านมิได้เป็นกระดูกและเนื้อหนังของเราหรือ ถ้าท่านมิได้เป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพแทน โยอาบสืบต่อไป ขอพระเจ้าทรงลงโทษเรา และยิ่งหนักกว่า
นั้นอีก'" 14 ท่านก็ได้ชักจูงจิตใจของ บรรดาคนยูดาห์ดังกับเป็นจิตใจของ
ชายคนเดียว เขาจึงส่งคนไปทูลพระราชาว่า "ขอฝ่าพระบาทเสด็จกลับพร้อม
กับบรรดาข้าราชการ ทั้งหลายด้วย" 15 พระราชาก็เสด็จกลับ และมายัง
แม่น้ำจอร์แดน และยูดาห์ก็พากันมาที่กิลกาลเพื่อรับเสด็จพระราชา และนำ
เสด็จข้ามแม่น้ำจอร์แดน 16 ชิเมอี บุตรเก-รา คนเบนยามินผู้มาจากบาฮูริม รีบลงมาพร้อมกับคนยูดาห์เพื่อจะรับเสด็จกษัตริย์ดาวิด 17 มีคนจากเผ่า เบนยามินพร้อมกับท่านหนึ่งพันคน และศิบามหาดเล็กในราชวงศ์ของซาอูล พร้อมกับบุตรสิบห้าคนกับคนใช้อีกยี่สิบ ก็รีบมายังแม่น้ำจอร์แดนต่อพระพักตร์
พระราชา 18 เขาทั้งหลายได้ข้ามท่าข้ามไปรับราชวงศ์ของพระราชา และคอย
ปฏิบัติให้ชอบพระทัย

เรื่องนี้รู้ไปถึงหูของดาวิด ขณะที่ท่านยังอยู่ในมาหะนาอิม ท่านทรงทำให้ง่ายขึ้น สำหรับชาวอิสราเอล ที่จะ ต้อนรับท่านกลับ ดาวิดติดต่อไปยังศาโดกและอาบียาร์ธาร์ (ปุโรหิตที่เป็นคนของท่านในเยรูซาเล็ม) สั่งให้ ทั้งสอง ไปพูดกับพวกผู้ใหญ่ของยูดาห์ คนพวกนี้เป็นคนในเผ่าเดียวกับดาวิด เป็นพวกแรกที่มาเจิมตั้งท่าน ขึ้นเป็นกษัตริย์ที่เมืองเฮโบรน นับเป็นญาติสนิท คนพวกนี้เหมาะที่สุด ที่ต้องเป็นตัวตั้งตัวตี ในการนำท่านคืน สู่เยรูซาเล็ม ดาวิดทำให้ง่ายขึ้นสำหรับคนยูดาห์ ด้วยการปลดโยอาบออกจากตำแหน่งผู้คุมกองทัพ และตั้ง อามาสาขึ้นแทน การกระทำเช่นนี้ ใช้ได้ผลครับ มีเสียงมาจากพวกผู้ใหญ่ของยูดาห์ เชิญท่านกลับ ดาวิดและผู้ติดตามทั้งหมด จึงออกจากมาหะนาอิมมายังชายฝั่งแม่น้ำจอร์แดน คนยูดาห์มารวมตัวกันที่กิล กาล เพื่อช่วยดาวิดและผู้ติดตามข้ามแม่น้ำ และต้อนรับท่านกลับ ในฐานะกษัตริย์ของอิสราเอล นอกจากคน ในเผ่ายูดาห์แล้ว ยังมีประชาชนอิสราเอลมาเป็นตัวแทนจากเผ่าอื่นๆด้วย ในท่ามกลางคนเหล่านี้ มีเมฟี โบเชท ศิบา (ผู้รับใช้ และครอบครัวของเขา) และชิเมอี รวมทั้งคนในเผ่าเบนยามินอีกนับพันด้วย

ชิเมอีสำนึกผิด และได้รับการอภัย
(18b-23)

ชิเมอีบุตรเก-รา ได้กราบลงต่อพระพักตร์ พระราชาขณะที่พระองค์จะเสด็จข้าม
แม่น้ำจอร์แดน 19 กราบทูลพระราชาว่า "ขอเจ้านายของข้าพระบาทอย่าทรงถือ
โทษข้าพระบาท และทรงจดจำความผิดที่ข้าพระบาทได้กระทำในวัน ที่พระราชา เจ้านายของข้าพระบาทสละกรุงเยรูซาเล็ม ขอพระราชาอย่าทรงจดจำไว้ในพระทัย
20 ด้วยข้าพระบาทได้ทราบแล้วว่าได้กระทำบาป เพราะฉะนั้น ดูเถิด ในวันนี้ ข้าพระบาทได้มาเป็นคนแรกในพงศ์พันธุ์โยเซฟ ที่ลงมารับเสด็จพระราชาเจ้านาย
ของข้าพระบาท" 21 อาบีชัยบุตรนางเศรุยาห์จึงตอบว่า "ที่ชิเมอีกระทำเช่นนี้ ไม่ควรจะถึงที่ตายดอกหรือ เพราะเขาได้ด่าผู้ที่เจิมตั้งของพระเจ้า" 22 แต่ดาวิด
ตรัสว่า "บุตรทั้งสองของนางเศรุยาห์เอ๋ย เรามีธุระอะไรกับท่าน ซึ่งในวันนี้ท่าน จะมาเป็นปฏิปักษ์กับเรา ในวันนี้น่ะควรที่จะให้ใครมีโทษถึงตาย หรือในวันนี้เรา
ไม่ทราบดอกหรือว่า เราเป็นกษัตริย์ครอบครองอิสราเอล" 23 และพระราชาตรัส
กับชิเมอีว่า "เจ้าจะไม่ถึงตาย" แล้วพระราชาก็ประทานคำปฏิญาณแก่เขา

ทั้งดาวิดและพวกเรารู้จักชิเมอีดี เป็นพวกลูกหลานของซาอูล เป็นผู้ที่มาด่าทอสาปแช่งดาวิด ขณะที่ท่านเดิน ทางหนีออกจากเยรูซาเล็ม (2 ซามูเอล 16:5) เขาเอาหิ้นขว้างใส่ดาวิด เอาโคลนปาและพูดจาหยาบคายต่อ ท่าน อาบีชัยคิดจะจัดการกับชายคนนี้ตั้งแต่ตอนนั้น แต่ดาวิดยับยั้งไว้ เพราะท่านเข้าใจว่า สิ่งนี้เป็นมาจาก พระเจ้า ที่ต้องการตำหนิท่านผ่านชายคนนี้ บัดนี้เมื่อเดินทางกลับ ดาวิดต้องผ่านที่บาฮูริมอีกครั้ง เมืองที่ ชิเมอีอาศัยอยู่ ชิเมอีรู้ดีว่าตัวเองกำลังเดือดร้อนหนัก ดาวิดกลับมาเป็นกษัตริย์อิสราเอลอีกครั้ง และท่านอาจ เห็นว่าชิเมอีคือศัตรูตัวฉกาจ ที่สมควรถูกกำจัด

ชิเมอีมาเข้าเฝ้า ยอมรับในความเขลาและความผิดที่ก่อเอาไว้ สำนึกผิดและต้องการได้รับการอภัย เขานำคน เบนยามินมาด้วย 1,000 คน มาแสดงความสามิภักดิ์ต่อดาวิดในฐานะกษัตริย์ ชิเมอีไม่อ้อมค้อม เขาสารภาพ ความผิด ความโง่เขลาของเขา และขอการอภัยจากดาวิด อีกครั้ง อาบีชัยขอจัดการกับชายคนนี้ ไม่ให้มาก่อ กวนได้อีกต่อไป ดาวิดปฏิเสธอาบีชัยอีกครั้ง ตักเตือนเขาและโยอาบผู้เป็นพี่ด้วย (คงเป็นตัวการยุยงอยู่เบื้อง หลัง -- สังเกตุดู "บุตรทั้งสอง (พหูพจน์) ของนางเศรุยาห์เอ๋ย" ในข้อ 22) วันนี้เป็นวันแห่งการคืนดีกัน จะไม่มีใครตาย ถึงแม้ชิเมอีจะสมควรถูกประหาร เพราะบังอาจไปสาปแช่ง ผู้ปกครองประชากร (ดูอพยพ 22:28) ดาวิดบอกกับชิเมอีว่า "เจ้าจะไม่ถึงตาย" (ข้อ 23) 88

ดาวิดจัดการกับเมฟีโบเชทและศิบา
(19:24-30)

24 เมฟีโบเชท โอรสซาอูลก็ลงมารับเสด็จ โดยมิได้แต่งเท้าหรือขลิบเครา หรือซักเสื้อผ้าของตนตั้งแต่วันที่พระราชาเสด็จจาก ไปจนวันที่เสด็จกลับมา
โดยสวัสดิภาพ 25 เมื่อเมฟีโบเชทมายังกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อจะรับเสด็จพระ
ราชาตรัสถามว่า "เมฟีโบเชททำไมท่านมิได้ไปกับเรา" 26 ท่านทูลตอบว่า "ข้าแต่พระราชาเจ้านายของข้าพระบาท มหาดเล็กของข้าพระบาทหลอกลวง
ข้าพระบาท เพราะข้าพระบาทบอกเขาว่า 'ข้าจะผูกอานลาตัวหนึ่ง เพื่อข้า จะได้ขี่ไปตามเสด็จพระราชา' เพราะว่าข้าพระบาทเป็นง่อย 27 เขากลับไป ทูลพระราชาเจ้านายของข้าพระบาท ใส่ร้ายข้าพระบาท แต่พระราชาเจ้านาย ของข้าพระบาทเหมือนทูตของพระเจ้า เมื่อฝ่าพระบาททรงเห็นสมควร จะกระ
ทำ แก่ข้าพระบาท ประการใด ก็ขอทรงกระทำเถิดพ่ะย่ะค่ะ 28 เพราะว่าเชื้อ
วงศ์ ราชบิดาของข้าพระบาทก็สมควรถึงตาย ต่อพระพักตร์พระราชาเจ้านาย
ของข้าพระบาท แต่ฝ่าพระบาทก็ทรงแต่งตั้งข้าพระบาทไว้ใน หมู่ผู้ที่รับ
ประทาน ร่วมโต๊ะเสวยของฝ่าพระบาท ข้าพระบาทจะมีสิทธิประการใดเล่า
ที่จะร้องทูล อีกต่อพระราชา" 29 พระราชาจึงตรัสกับท่านว่า "ท่านจะพูด
เรื่องธุรกิจของท่าน ต่อไปทำไม เราตัดสินใจว่า ท่านกับศิบาจงแบ่งที่ดิน
กัน" 30 เมฟีโบเชทกราบ ทูลพระราชาว่า "เมื่อพระราชาเจ้านายของข้า
พระบาท ได้เสด็จกลับสู่พระราชสำนัก โดยสวัสดิภาพเช่นนี้แล้ว ก็ให้ศิบา รับไปหมดเถิดพ่ะย่ะค่ะ"

เมื่อดาวิดขึ้นเป็นกษัตริย์อิสราเอล ท่านปรารถนาจะทำตามพันธสัญญาที่มีต่อโยนาธาน ท่านจึงออกค้นหา ลูกหลานที่หลงเหลืออยู่ของซาอูลและโยนาธาน มีคนบอกท่านเรื่องศิบา ผู้เคยเป็นมหาดเล็กของซาอูล ดาวิด เรียกศิบามาพบ จึงรู้ว่ายังมีบุตรรอดชีวิตอยู่คนนหนึ่ง ชื่อเมฟีโทเชท เป็นง่อยตั้งแต่เด็ก ดาวิดให้คนไปรับเมฟี โบเชทมา ประทานทรัพย์สมบัติส่วนของซาอูลให้ รวมทั้งให้ศิบาและครอบครัวของเขาเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้ ดาวิดยังให้เมฟีโบเชทมานั่งร่วมโต๊ะเสวยเช่นดียวกับลูกๆของท่าน เมื่อดาวิดหนีออกจากเยรูซาเล็ม ศิบามา พบท่านที่กลางทาง พร้อมด้วยเสบียงอาหาร เมื่อดาวิดถามถึงเมฟีโบเชท ศิบาบอกว่าเขาเลือกที่จะอยู่ต่อใน เยรูซาเล็ม ด้วยความหวังที่จะได้ราชบัลลังก์ของปู่กลับคืนมา ในตอนนั้น ดาวิดมอบส่วนมรดกทั้งสิ้นของโยนา ธานที่เคยให้เมฟีโบเชท มามอบให้กับศิบาแทน

บัดนี้ดาวิดกลับมาสู่เยรูซาเล็มและคืนสู่ราชบัลลังก์แล้ว ศิบาและครอบครัวของเขา รวมทั้งเมฟีโบเชทด้วย มา ให้การต้อนรับ มาช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างข้ามแม่น้ำจอร์แดน ในขณะที่ศิบาวุ่นเรื่องอื่นอยู่ ดาวิด มีโอกาสพูดคุยกับเมฟีโบเชท ดูเหมือนเขาเป็นผู้ละทิ้งดาวิด แต่เมฟีโบเชทคิดว่าตนเองอยู่ในสถานะมั่นคง ดาวิดถามว่า ทำไมจึงไม่ตามท่านไป ตอนหนีอออกจากเยรูซาเล็ม

พวกคุณคงพอจำได้ว่าผมเคยเป็นครูมาก่อน ผมสอนอยู่หลายปี ในตอนนั้นผมได้ยินได้ฟังข้อแก้ตัวหลายแบบ ล้วนแล้วแต่ไม่เอาไหน (ผมและภรรยามีลูกสาวห้าคน แล้วเราบางทีก็เป็นไปด้วย) ผมว่าผมพยายามทำความ เข้าใจกับคำพูดของเมฟีโบเชท แต่ก็ยังดูไม่สมเหตุสมผล เขาไม่ได้ยอมรับว่าตนเองทำผิด แต่พยายามปก ป้องตนเองด้วยการบอกกับดาวิดว่า เขาถูกหลอก เพราะเขาพูดว่าจะผูกอานลาเอง แล้วทำไมถึงไม่ทำ? ถ้า ไม่ถูกศิบาขัดขวาง ทำไมเมฟีโบเชทไม่ทำอย่างที่ตัวเองพูด? ผมไม่เข้าใจ แล้วเมฟีโบเชทยังกล่าวหาว่าถูก ศิบาใส่ความกับดาวิด ว่าที่อยู่ในเยรูซาเล็มนั้น เพราะหวังว่าจะได้ราชบัลลังก์คืน

ผมมีความสงสัยเป็นส่วนตัว ว่าจะเอาเรื่องทั้งสองนี้มาผูกกันได้อย่างไร ทำไมเมฟีโบเชทจึงหายตัวไป ตอนที่ ดาวิดกำลังหนีออกจากเมือง ดูเหมือนดาวิดก็นึกไม่ออกเหมือนกัน เพราะท่านไม่รู้ว่าใครพูดจริงพูดโกหก แต่ ท่านกลับนำที่ดินส่วนของเมฟีโบเชท (ที่ดาวิดเคยมอบให้ และต่อมาได้ยกให้ศิบาไป) มาแบ่งเป็นสองส่วน เท่าๆกันให้กับเมฟีโบเชทและกับศิบา อย่าลืมว่า วันนี้เป็นวันแห่งการคืนดีและเฉลิมฉลอง ดาวิดยกประโยชน์ ให้จำเลยทั้งคู่ไป เพื่อการคืนดีและเป็นการตัดปัญหา

แน่นอนเมฟีโบเชทไม่ได้ขอสิ่งใดจากกษัตริย์ เขาสำนึกในบุญคุณที่ดาวิดเคยมีต่อเขา และเขาเองไม่สมควร จะได้รับสิ่งใดจากกษัตริย์ เขาทำทีว่าจะสละสิทธิ์ในสิ่งที่ดาวิดมอบให้ ต้องการเซ็นโอนให้กับศิบาไป (ซึ่งที่ จริงกำลังครอบครองอยู่) เขาจะทำตามปากพูดหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เขาพูดกับดาวิด คือพยายามสร้างภาพให้ ท่านรู้สึกว่า แค่อยู่ใกลท่านเขาก็มีความสุขพอแล้ว ไม่ต้องการลาภยศหรือทรัพย์สินใดๆอีก

อวยพรบารซิลลัย
(19:31-39)

31 ฝ่ายบารซิลลัย ชาวกิเลอาดได้ลงมาจากโรเกลิม และไปกับพระราชาถึง
แม่น้ำจอร์แดน เพื่อส่งพระองค์ข้ามแม่น้ำจอร์แดนไป 32 บารซิลลัยเป็นคน
ชรามากแล้ว อายุแปดสิบปี ท่านได้นำเสบียงอาหารมาถวายพระราชาขณะ พระองค์ประทับที่มาหะนาอิมเพราะท่านเป็นคนมั่งมีมาก 33 พระราชาจึงตรัส
กับบารซิลลัยว่า "ข้ามมาอยู่กับเราเสียเถิด เราจะชุบเลี้ยงท่านให้อยู่กับเรา
ที่กรุงเยรูซาเล็ม" 34 แต่บารซิลลัยทูลพระราชาว่า "ข้าพระบาทจะอยู่ต่อไป
ได้อีกกี่ปี ที่ข้าพระบาทจะไปอยู่กับพระราชาที่กรุงเยรูซาเล็ม
35 วันนี้ข้าพระบาทมีอายุแปดสิบปีแล้ว ข้าพระบาทจะสังเกตว่าอะไรเป็นที่
พอใจและไม่พอใจได้หรือ ข้าพระบาทจะลิ้มรสอร่อยของสิ่งที่กินและดื่มได้หรือ ข้าพระบาทจะฟังเสียงชายหญิงร้องเพลงได้หรือ ทำไมจะให้ข้าพระบาทเป็น
ภาระเพิ่มแก่พระราชา เจ้านายของข้าพระบาทอีกเล่า 36 ข้าพระบาทจะตาม เสด็จพระราชาข้ามแม่น้ำ จอร์แดนไปเท่านั้น ไฉนพระราชาจะพระราชทาน
รางวัลเช่นนี้เล่า 37 ขอให้ข้าพระบาทกลับเพื่อไปตายที่ในเมืองของข้าพระบาท ใกล้ที่ฝังศพของบิดามารดาของข้าพระบาท ขอทรงโปรดให้คิมฮามข้าของ
ฝ่าพระบาท ตามเสด็จพระราชาเจ้านายของข้าพระบาทไป ฝ่าพระบาทจะโปรด เขาประการใดก็แล้วแต่ทรงเห็นควร" 38 พระราชาตรัสตอบว่า "คิมฮามจงข้ามไป
กับเรา เราจะกระทำคุณแก่เขาตามที่ท่านเห็นควร สิ่งใดที่ท่านปรารถนาให้เรา
กระทำแก่ท่าน เรายินดีกระทำตาม" 39 แล้วประชาชนทั้งสิ้นก็ข้ามแม่น้ำจอร์แดน พระราชาเสด็จข้ามไป พระราชาทรงจุบบารซิลลัย และทรงอวยพระพรแก่ท่าน ท่านก็กลับไปยังบ้านช่องของตน

บารซิลลัยเป็นคนโปรดของผมในพระธรรมตอนนี้ ท่านเป็นคนชรา อายุ 80 ปี เป็นคนมั่งคั่ง ท่านพักอาศัย อยู่ใกล้กับมาหะนาอิม และเป็นผู้คอยจัดส่งเสบียง ไปให้ดาวิดและผู้ติดตามในขณะหลบหนี บัดนี้ ดาวิดกำลัง เดินทางกลับเยรูซาเล็ม บารซิลลัยก็ยังแสดงความมีน้ำใจ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับขบวนผู้ติดตาม ของดาวิด จากมาหะนาอิมมาที่แม่น้ำจอร์แดน น่าจะประมาณ 20 ถึง 25 ไมลส์ (เราไม่รู้แน่ชัดว่ามาหะนาอิม ตั้งอยู่ตรงไหน) และเมื่อข้ามฝั่งมาแล้ว ต้องเดินทางต่อเข้าเยรูซาเล็มอีกประมาณ 20 ถึง 25 ไมลส์เช่นกัน ชายชราท่านนี้มาส่งดาวิดถึงที่ริมแม่น้ำ ข้ามไปยังฝั่งกิลกาล (ซึ่งไม่ไกลไปจากเมืองเยริโคในสมัยโบราณ) และกำลังกล่าวอำลาดาวิด

ดาวิดต้องการตอบแทนบุญคุณเพื่อสูงวัยท่านนี้ จึงเชิญท่านให้ไปที่เยรูซาเล็มด้วยกัน และสัญญาจะเลี้ยงดู เป็นอย่างดี บารซิลลัยปฏิเสธด้วยใจที่ขอบคุณ ท่านยอมรับว่าแก่เกินกว่าที่จะฝักใฝ่ในลาภยศทางโลก ท่าน ไม่ปรารถนาในการปรนนิบัติปรนเปรอด้วยอาหารหรู หรือสิ่งบันเทิงเริงใจใดๆอีกต่อไป อีกอย่าง ท่านมีเวลา เหลืออีกไม่มากนัก ท่านอยากอยู่อย่างสงบที่บ้านเกิด ใกล้กับที่ฝังศพของบิดามารดา และอีกไม่นาน ท่าน ก็จะตามไปอยู่ด้วย 89

บารซิลลัยไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากความเอื้อเฟื้อของดาวิด แต่ท่านมีข้อเสนอ ท่านแนะนำชาย หนุ่มคนหนึ่งชื่อคิมฮาม ให้กับกษัตริย์ ขอให้กษัตริย์ช่วยดูแลหนุ่มคนนี้แทน จากใน 1 พกษ. 2:7 เราเห็น ว่าดาวิดไม่ได้แค่รักษาสัญญา ที่มีกับบารซิลลัยในขณะมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่หลังจากท่านตายไปแล้วด้วย ดาวิดสั่งซาโลมอนให้เลี้ยงดูบุตรทั้งหลายของบารซิลลัยต่อไป(มากกว่าหนึ่งคน) ผมจึงคิดว่าคิมฮาม น่าจะ เป็นหนึ่งในบรรดาบุตรของบารซิลลัย และพี่น้องของเขาอาจมาสมทบด้วยในตอนนั้น หรือหลังจากนั้นก็เป็นได้ ดาวิดแสดงความปราณีอย่างล้นเหลือต่อหนุ่มๆเหล่านี้ เหมือนกับที่บารซิลลัยบิดาของพวกเขาเคยปราณีต่อ ท่าน

ทะเลาะกันเรื่องกษัตริย์
(19:40-43)

40 พระราชาเสด็จไปยังกิลกาล และคิมฮามก็ข้ามตามเสด็จไปด้วย ประชาชน ยูดาห์ทั้งหมดกับประชาชน อิสราเอลครึ่งหนึ่งได้นำพระราชาข้ามมา 41 แล้วคน อิสราเอลทั้งหมดมาเฝ้าพระราชา กราบทูลพระราชาว่า "ไฉนคนยูดาห์ พี่น้อง ของเราจึงได้ลักพาฝ่าพระบาทไปเสีย พาพระราชาและราชวงศ์ข้ามแม่น้ำจอร์
แดนไปพร้อม กับคนของดาวิดด้วย" 42 ประชาชนยูดาห์จึงตอบประชาชนอิสรา
เอลว่า "เพราะพระราชาเป็นญาติสนิทกับเรา ท่านทั้งหลายจะโกรธด้วยเรื่องนี้
ทำไมเล่า เราได้อยู่กินสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ของพระราชาหรือ พระองค์ได้ ให้รางวัลอะไรแก่เราหรือ" 43 คนอิสราเอลก็ตอบคนยูดาห์ว่า "เรามีส่วนในพระ
ราชา สิบส่วนและในดาวิดเราก็ มีมากกว่าท่าน ทำไมท่านจึงดูถูกเราเช่นนี้เล่า
เราไม่ได้เป็น พวกแรกที่พูดเรื่องการนำพระราชากลับดอกหรือ" แต่ถ้อยคำของ คนยูดาห์รุนแรงกว่าถ้อยคำของคนอิสราเอล

เท้ายังไม่ทันจะแห้งดี หลังข้ามแม่น้ำจอร์แดนมา คนอิสราเอลเริ่มบ่นใส่กัน คนยูดาห์ทั้งหมดมารับดาวิด และครึ่งหนึ่งของคนอิสราเอลมาด้วย เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงเวลาขับรถ แล้วพวกเด็กๆที่นั่งมาด้วยเริ่ม ทะเลาะกัน อิสราเอลบางพวกชินกับข้อเท็จจริงว่า คนยูดาห์นอกจากจะเป็นตัวตั้งตัวตีในการเสนอให้พระ ราชากลับมาแล้ว ยังเป็นผู้ลงมือทำให้เกิดขึ้นด้วย (ทุกคนคงลืมไปว่า ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คนพวกนี้ยังเถียง กันอยู่ว่าใครควรทำ -- แต่ก็ไม่มีใครทำ จนกระทั่งพวกผู้ใหญ่ของยูดาห์ลุกขึ้นมาลงมือทำ) มีการอิจฉา แก่งแย่ง ชิงดีกันเกิดขึ้น จนกลายเป็นการทุ่มเถียงกัน : "ทำไมพวกยูดาห์ต้องมาบอกให้เราทำโน่นทำนี่? ใครตั้งพวกเขาขึ้นมา ให้มาจัดขบวนแห่นำพระราชากลับ?"

คนยูดาห์ตอบกลับอย่างเผ็ดร้อนว่า : "เรากำลังนำพระราชากลับเยรูซาเล็ม เพราะเราเป็นญาติสนิทของดาวิด" ผมพอนึกภาพออกครับ ว่ามันคงออกมาแนวนี้ : "เราเป็นพวกเดียวกัน พวกคุณหุบปากได้แล้ว!" คนยูดาห์ พยายามปกป้องตนเอง พูดต่อไปว่า ถึงแม้พวกเขาจะเป็นญาติกับกษัตริย์ ก็ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ เอารัดเอาเปรียบจากท่าน คนอิสราเอลไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ด้วยคำพูดของคนยูดาห์ ญาติๆของดาวิดคิดหรือ ว่าการเป็นญาติกับกษัตริย์จะมีสิทธิเหนือคนอื่น? พวกเขามีมุมมองกันคนและแบบ พวกเขาเป็นตัวแทนของ สิบเผ่าที่เหลือ ในขณะที่ยูดาห์เป็นเพียงเผ่าเดียว พวกเขาเสียอีกน่าจะมีสิทธิมากกว่าถึงสิบเท่า

การโต้เถียงกันไม่จบลงเพียงแค่นั้น แต่กลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ผู้เขียนคิดว่า เป็นการดีกว่าที่ จะจบเรื่องนี้ลงเพียงแค่นี้ โดยเขียนสรุปท้ายว่าคำพูดของคนยูดาห์ว่ารุนแรงกว่า ("ดุเดือดกว่า" KJV, NKJV; "ร้ายกาจกว่า" Y LT) ของคนอิสราเอล (ข้อ 43) ผมเข้าใจว่าผู้เขียนไม่ต้องการบันทึกคำพูดโง่เขลา ขาด สติ จนเลยเถิดเหล่านี้ไว้ เพราะผู้อ่านคงเข้าใจสถานการณ์ได้ ความริษยาและพูดเพื่อเอาชนะกัน ทำให้คน อิสราเอลทั้งสิบเผ่าหมางใจกับเผ่ายูดาห์ ความตึงเครียดทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีใครสักคนจุดชนวน ก็ พร้อมจะระเบิดได้ในทันที

    ความแตกแยก
    (20:1-2)

1 เผอิญที่นั่นมีคนอันธพาลอยู่ คนหนึ่งชื่อเชบาบุตรบิครีคนเบนยามิน เขาได้เป่าเขา
สัตว์ขึ้นกล่าวว่า "เราไม่มีส่วนในดาวิด เราไม่มีมรดกในบุตรของเจสซี โอ อิสราเอล
เอ๋ย ให้ต่างคนต่างกลับไปเต็นท์ของตนเถิด" 2 ดังนั้นพวกคนอิสราเอลทั้งหมดจึงถอน
ตัวจากดาวิด และไปตามเชบาบุตรบิครี แต่พวกคนยูดาห์ได้ติดตาม พระราชาของเขา อย่างมั่นคงจากแม่น้ำจอร์แดน ไปถึงกรุงเยรูซาเล็ม

มีเรื่องเกิดขึ้นในทันที มีชายคนหนึ่งในท่ามกลางคนอิสราเอลชื่อเชบา ผู้เขียนบอกว่าเขาเป็น "คนอันธพาล" (หรือ "บุตรของความชั่ว") เชบาเป็นคนชั่ว ซึ่งในสถานการณ์ปกติก็ไม่เป็นไร แต่พอการถกเถียงเริ่มรุน แรงขึ้น เขาโมโหจัด (หรืออาจเห็นทางตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำก็ได้) ระเบิดอารมณ์ออกมา "เราไม่มีส่วนในดาวิด เราไม่มีมรดกในบุตรของเจสซี ; โอ อิสราเอลเอ๋ย ให้ต่างคนต่างกลับไปเต็นท์ของตนเถิด" แค่นี้ก็ เพียงพอให้อิสราเอลทั้งหมด หันกลับไปพร้อมกับเขา ดังนั้นงานที่ควรฉลองด้วยความชื่นชมยินดี กลับกลาย เป็นการท้าทายกัน และนำไปถึงการแตกแยกครั้งใหญ่ ชาวอิสราเอลกำลังได้ดาวิดกลับมาเป็นผู้นำ อยู่ดีๆ กลายเป็นว่าได้เชบา คนอันธพาลเป็นผู้นำแทน ดาวิดยังไม่ถึงเยรูซาเล็มด้วยซ้ำไป อาณาจักรก็แตกแยกเสีย แล้ว ดูเหมือนท่านกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ ในฐานะกษัตริย์ของเผ่ายูดาห์

กลับไปประจำการที่เยรูซาเล็ม
(20:3-10a)

3 ดาวิดเสด็จกลับพระนิเวศที่กรุงเยรูซาเล็ม พระราชาก็รับสั่งให้นำนางสนมทั้งสิบ คน ที่พระองค์ทรงละไว้ให้เฝ้าพระราชวัง นั้นไปรวมกักอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง ทรง ชุบเลี้ยงไว้แต่มิได้ทรงสมสู่อยู่ด้วย นางเหล่านั้นก็ต้องถูกกักให้มีชีวิตอยู่อย่างแม่ ม่ายจนวันตาย
4 พระราชาตรัสสั่งอามาสาว่า "จงระดมพลยูดาห์ให้มาพร้อมกันที่นี่ภายในสามวัน
ตัวท่านจงมาด้วย" 5 อามาสาก็ออกไประดมคนยูดาห์ แต่เขาก็ทำงานล่าช้าเกิน
กำหนดที่พระองค์รับสั่งไว้ 6 ดาวิดตรัสกับอาบีชัยว่า "บัดนี้เชบาบุตรบิครีคงทำ
อันตราย แก่เรายิ่งกว่าอับซาโลม จงนำข้าราชการทหารของเจ้านายของท่านไป
ติดตาม เกรงว่าเขาจะหาเมืองที่มีป้อมได้ และหนีพ้นสายตาเรา" 7 มีคนของโยอาบ ตามเขาไปและคนเคเรธีกับคน เปเลทกับทหารที่แข็งกล้าทั้งหมด และเขาทั้งหลาย ยกออกไปจากกรุงเยรูซาเล็มเพื่อไล่ ตามเชบาบุตรบิครี 8 เมื่อเขาทั้งหลายมาถึงศิลา
ใหญ่ ที่อยู่ในเมืองกิเบโอน อามาสาก็มาพบกับเขาทั้งหลาย ฝ่ายโยอาบสวมเครื่อง
แต่งกาย ทหารมีเข็มขัดติดดาบที่อยู่ในฝักคาดอยู่ที่บั้นเอว เมื่อท่านเดินไปดาบก็ตก
ลง 9 โยอาบจึงถามอามาสาว่า "พี่ชายเอ๋ย สบายดีหรือ" และโยอาบก็เอามือขวา จับเคราอามาสาจะจุบเขา 10 แต่อามาสาไม่ได้สังเกตเห็นดาบซึ่งอยู่ใน มือของโย
อาบ โยอาบจึงเอาดาบแทงท้องอามาสาไส้ทะลักถึงดิน ไม่ต้องแทงครั้งที่สอง90
เขาก็ตายเสียแล้ว

สิ่งแรกที่ดาวิดทำทันทีที่ไปถึงเยรูซาเล็มคือ จัดการกับเรื่องภรรยา (นางสนม) ทั้งสิบ ที่ถูกทิ้งให้อยู่ในเยรูซา เล็ม อับซาโลมได้เข้าหานางทั้งสิบนี้ในที่สาธารณะ ดาวิดไม่มีทางปล่อยให้เหมือนเิดิมได้อีกต่อไป ท่านไป ร่วมหลับนอนกับสนมพวกนี้ไม่ได้อีกแล้ว ท่านจึงจัดหาที่อยู่ใหม่ ให้ได้อยู่อาศัยอย่างสุขสบาย (ผมค่อนข้าง แน่ใจ) แต่ท่านไม่อาจกลับไปร่วมหลับนอนได้อีก เพราะการกระทำของอับซาโลม

เรื่องต่อไปที่ดาวิดต้องจัดการคือการกบฎที่กำลังก่อตัวขึ้น นำโดยเชบา ดาวิดรู้ดีว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน ท่านไม่ปล่อยให้เชบามีเวลาพอจะรวบรวมผู้คน จัดตั้งเป็นกองทัพ และหาเมืองป้อมสำหรับใช้ต่อสู้ได้ ถ้าคน ของดาวิดจัดการกับเชบาได้เร็วเท่าไร ยิ่งเป็นการดีเท่านั้น ดาวิดจึงเรียกผู้คุมคนใหม่ อามาสา91 และสั่งให้ เขาไปรวบรวมกำลังพลของยูดาห์ เพื่อออกติดตามปราบปรามเชบาลง ให้ราบคาบโดยเร็วที่สุด

ด้วยเหตุผลบางประการ อามาสาไม่สามารถรวบรวมคนยูดาห์ได้ตามเวลาสามวันที่ดาวิดสั่งไว้ เราคงพอเข้า ใจความรู้สึกกระสับกระส่ายของดาวิดได้ ตราบใดที่เชบายังเป็นอิสระอยู่ ราชบัลลังก์ของท่านก็ไม่ปลอดภัย ในที่สุดดาวิดทนรออามาสาไม่ได้อีกต่อไป จึงเรียกอาบีชัย พี่ชายของโยอาบ ที่ดาวิดไม่ค่อยชอบหน้านัก มาหา (ดู 1 ซามูเอล 26:6-11; 2 ซามูเอล 16:9-12; 19:21-22) ดาวิดไม่ได้เรียกหาโยอาบ เพราะจะเท่า กับเป็นการยอมรับว่าท่านทำผิดที่ปลดโยอาบออกไป และเลือกอามาสาขึ้นมาแทน และเมื่ออาบีชัยออกจาก เยรูซาเล็มไป ในฐานะผู้นำกองกำลังนักรบที่ดาวิดเลือกสรรไว้ (เป็นเหมือนพวกหน่วยปฏิบัติการพิเศษในสมัย นี้) ไปตามล่าเชบา เขามีโยอาบเป็นผู้ติดตามไปด้วย

โยอาบและคนของเขาตามหน่วยรบพิเศษของดาวิดไปด้วย ประกอบด้วยคนเคเรธี คนเปเลท และ "ทหาร ที่แข็งกล้าทั้งหมด" เมื่อพวกเขาไปถึงศิลาใหญ่ที่เมืองกิเบโอน อามาสาออกไปพบพวกเขา ผมคิดว่า ครั้งนี้อาบีชัยน่าจะเป็นผู้นำ หรืออาจเป็นได้ว่ากองกำลังทั้งหมดที่ออกจากเยรูซาเล็ม แบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อแยกย้ายกันออกไปตามหาเชบา ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ พระธรรมตอนนี้มีการเอ่ยชื่ออาบีชัย แต่จริงๆ แล้วโยอาบเป็นตัวสำคัญที่สุด อาจเป็นได้เหมือนกันที่โยอาบนำกองกำลังของตนออกไปเอง และเจอกับ อามาสา หรือจงใจไปตามหาอามาสาเพื่อจัดการให้หมดอุปสรรคก่อน ทำไมอามาสาถึงพลาด ทำงานไม่ สำเร็จ? หรือว่าขี้ขลาดไม่กล้าทำ? เราไม่อาจรู้ได้ แต่การกระทำของเขาดูน่าสงสัย ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาทำ เป็นเหตุให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นกับตัวเอง

โยอาบกับอามาสาเผชิญหน้ากัน โยอาบทักทายอามาสาด้วยท่าทีที่อบอุ่น ("พี่ชายเอ๋ย" ข้อ 9) อามาสา จึงไม่ทันระวังตัว โยอาบใส่เครื่องแบบทหารเต็มยศ ซึ่งประกอบด้วย เข็มขัดติดดาบที่อยู่ในฝัก คาดอยู่ที่เอว (ซึ่งดูไม่น่าเป็นอันตราย) ขณะที่โยอาบโน้มตัวไปหา ดาบก็หลุดออกจากฝัก เขาจึงก้มลงเก็บด้วยมือซ้าย อามาสาไม่ทันสังเกตุเห็นดาบในมือของโยอาบ โอกาสตกเป็นของโยอาบ เขาสามารถฆ่าอามาสาได้อย่าง ง่ายดาย จึงตัดสินในลงมือ มันเกิดขึ้นในชั่วพริบตา โยอาบเอามือรวบเคราอามาสาไว้ ซึ่งดูเป็นเรื่องปกติ ในธรรมเนียมจุบทักทาย ขณะที่มือขวารวบหนวดอามาสา เขาใช้มือซ้าย อาจจะเบี่ยงตัวนิดหน่อย แทง ไปที่ท้องของอามาสาทันที อาจจะทะลวงท้องด้วยดาบ ทำให้ใส้ทะลักออกมา

แล้วโยอาบก็เดินจากไปอย่างไม่แยแส เพื่อไปสบทบกับอาบีชัยพี่ชาย ออกตามล่าเชบาต่อ จากพระคัมภีร์ ตอนนี้ ผมไม่แน่ใจว่าโยอาบต้องการทำสิ่งอื่นใดอีก เว้นแต่ฆ่าอามาสา ไม่มีการบันทึกว่าโยอาบต้องการไป คุมกองทหารของดาวิด ; เพียงแต่พูดว่าเขาออกตามล่าเชบาต่อ

โยอาบเข้าควบคุม
(20:10ข-13)

แล้วโยอาบกับอาบีชัยน้องชายก็ไล่ตามเชบาบุตรบิครีไป 11 ทหารหนุ่มคนหนึ่ง ของโยอาบมายืนอยู่ใกล้อามาสาพูดว่า "ผู้ใดเห็นชอบฝ่ายโยอาบและผู้ใดอยู่
ฝ่ายดาวิดให้ผู้นั้น ติดตามโยอาบไป" 12 อามาสาก็นอนเกลือกโลหิตของตัว
อยู่ที่ในทางหลวง เมื่อชายคนนั้นเห็นประชาชนทั้งสิ้นมาหยุดอยู่ เขาก็นำศพ อามาสาไปทิ้งในทุ่งนาและเอาเสื้อผ้าปิดไว้ เพราะเมื่อใครมาก็เข้าไปดูและหยุด
อยู่ 13 เมื่อเอาศพอามาสาออกจากทางหลวงแล้ว ประชาชนทั้งปวงก็ตามโยอาบ เพื่อติดตามเชบาบุตรบิครี

โยอาบไม่ได้สั่งการอะไร มีทหารคนหนึ่งตัดสินใจเข้ามาจัดการกับสถานการณ์ ในพระคัมภีร์กล่าวว่า "ทหาร หนุ่มคนหนึ่งของโยอาบ" เราจึงเดาได้ว่า ทหารคนนี้คงต้องอยู่ฝ่ายเดียวกับโยอาบ เมื่อเห็นอามาสาตายแล้ว เขารู้ว่ากองทัพต้องมีผู้นำคนใหม่ และระหว่างรอ ต้องมีคนเข้าไปช่วยจัดการ ตามสายงานแล้ว อาบีชัยต้องรับ หน้าที่แทน เพราะเป็นบุตรคนโต (1 พษด 2:16) และที่สำคัญที่สุด เขาเป็นผู้ที่ดาวิดส่งไปติดตามเชบา เพราะ อามาสามาไม่ทันกำหนด แต่ถึงกระนั้น ทหารหนุ่มคนนี้ กลับชักจูงให้ที่เหลือยอมรับโยอาบ เป็นผู้นำคนใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ และไม่มีผู้ใดคิดจะคัดค้าน โยอาบจึงได้กลับมาเป็นผู้นำกองกำลังอีกครั้ง

พวกทหารรีๆรอๆ ไม่ใช่เป็นเพราะโยอาบมารับหน้าที่แทน แต่เป็นเพราะสภาพศพอันไม่น่าดูของอามาสา ที่ นอนจมกองเลือดอยู่กลางถนน ทุกคนหยุดดูและรู้สึกคลื่นใส้ เหมือนกับไทยมุงเวลาเกิดอุบัติหตุบนถนน ทหารหนุ่มคนเดิม เมื่อรู้สาเหตุที่พวกทหารรีรออยู่ แทนที่จะติดตามโยอาบไปไล่ล่าเชบา จึงย้ายศพออกไป จากถนน ไปที่ทุ่งนา และเอาเสื้อผ้าปิดไว้ ทำให้พวกทหารเลิกหยุดดู และกลับไปปฏิบัติงานต่อ

การตามล่าเชบา
(20:14-22)

14 เชบาก็ผ่านคนอิสราเอลทุกเผ่าไปจนถึงตำบลอาเบล และเมืองเบธมาอาคาห์ และคนตระกูลเบเคอร์คนเหล่านั้น ก็มารวมกันและติดตามเขาไป 15 ประชาชนที่
อยู่กับโยอาบก็ มาถึงและล้อมเขาไว้ในตำบลอาเบล แขวงเมืองเบธมาอาคาห์ เขาทำเชิงเทินขึ้นที่ริมกำแพงเมือง เขาก็ทะลวงกำแพงเพื่อจะให้พัง 16 มีหญิง ฉลาดคนหนึ่งร้องออกมาจากในเมืองว่า "ขอฟังหน่อย ขอฟังหน่อย ขอบอก
โยอาบให้มาที่นี่ ฉันอยากจะพูดด้วย" 17 โยอาบก็เข้ามาใกล้หญิงนั้น นางนั้น
ก็พูดว่า "ท่านคือโยอาบหรือ" เขาตอบว่า "ใช่แล้ว" นางจึงเรียนท่านว่า "ขอ ท่านฟังถ้อยคำของสาวใช้ของท่านสักหน่อย" ท่านก็ตอบว่า "ฉันกำลังฟังอยู่แล้ว"
18 นางก็พูดว่า "สมัยโบราณเขาพูดกันว่า 'ให้เขาขอคำปรึกษาที่อาเบลเถิด' แล้ว
เขาก็ตกลงกันได้ 19 ฉันเป็นคนหนึ่งที่รักสงบและสัตย์ซื่อในอิสราเอล ท่านหาช่อง
ที่จะทำลายเมือง อันเป็นเมืองแม่ในอิสราเอล ทำไมท่านจึงจะกลืนมรดกของพระ
เจ้าเสีย" 20 โยอาบจึงตอบว่า "ซึ่งฉันจะกลืนหรือทำลายนั้น ขอให้ห่างไกลจากฉัน ขอให้ห่างไกลทีเดียว 21 เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง แต่มีชายคนหนึ่งจากแดนเทือก
เขาเอฟราอิม ชื่อเชบาบุตรบิครี ได้ยกมือของเขาขึ้นต่อสู้กษัตริย์ คือต่อสู้ดาวิด จงมอบเขามาแต่คนเดียว ฉันจะถอยทัพกลับจากเมืองนี้" หญิงนั้นจึงตอบโยอาบว่า
"ดูเถิด เราจะโยนศีรษะของเขาข้ามกำแพงมาให้ท่าน" 22 แล้วหญิงนั้นก็ไปหาประ
ชาชน ด้วยปัญญาของนาง เขาทั้งหลายได้ตัดศีรษะของเชบาบุตรบิครีโยนออก
มาให้โยอาบ โยอาบก็เป่าเขาสัตว์ ต่างก็แยกกันไปจากนครนั้นกลับไปยังบ้าน
เรือนของตน โยอาบก็กลับไปเฝ้าพระราชาที่กรุงเยรูซาเล็ม

โยอาบพร้อมด้วยกองทหาร ลุยหาเชบาไปทั่วแผ่นดินอิสราเอล ผู้เขียนเล่าว่า "เขาผ่านคนอิสราเอลทุกเผ่า ไปจนถึงตำบลอาเบล …" (ข้อ 14) ซึ่งก็แปลว่า ทั่วทั้งอิสราเอลรู้ดีว่าดาวิดกำลังตามหาเชบา เป็นแรงกดดัน มหาศาสต่อบรรดาคนที่เลือกติดตามเชบาแทนที่จะกลับบ้านไป คนอิสราเอลโกรธใช่มั้ย ที่คนยูดาห์เป็นผู้ริเริ่ม เชิญดาวิดกลับสู่เยรูซาเล็ม? แต่ครั้งนี้หนักกว่า เพราะยูดาห์อีกที่เป็นผู้ริเริ่มออกไล่ล่า ตามหาเชบาไปทั่วแผ่นดิน โดยนำกองทัพ ออกตามล่าอย่างไม่หวั่นเกรงใดๆทั้งสิ้น

ในที่สุดโยอาบและกองทัพ ก็ตามเชบามาจนเจอที่ตำบลอาเบล เมืองเบธมาอาคาห์ เชบาหลบซ่อนตัวอยู่ที่เชิง เทินริมกำแพงเมือง จึงล้อมเมืองไว้ ผู้คนในเมืองเริ่มหวั่นวิตก ไม่เข้าใจว่าทำไมเมืองจะถูกโจมตี 92 เขากลัวว่า โยอาบและกองทหารจะรื้อกำแพงเมืองออกเป็นชิ้นๆ และอีกไม่นานก็ทะลวงเข้ามาได้ ถ้ารอให้ถึงตอนนั้น นอก จากทั้งเมืองจะถูกทำลายแล้ว จะมีการเสียเลือดเสียเนื้อเกิดขึ้นแน่ ถ้าต้องปะทะกัน

หญิงเจ้าปัญญาผู้หนึ่ง ประเมิณสถานการณ์ออก จึงยื่นมาเข้ามา หวังช่วยแก้ใข นางไปที่กำแพงเมือง ร้องตะโกน ลงไปหาโยอาบ นางบอกกับโยอาบว่า เมืองของนางนั้นเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า "เป็นผู้ให้คำปรึกษาแห่งอาเบล" เป็นเมืองที่รักสงบ และใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา แล้วเหตุใดโยอาบจึงต้องการจะทำลายเมืองเช่นนี้เสีย? นางบอกโยอาบต่อไปว่า นางเองก็เป็นผู้หนึ่ง ที่รักสันติและสัตย์ซื่อต่ออิสราเอล และชาวเมืองนี้ก็ไม่ได้ทำสิ่ง ร้ายอันใด ถึงขั้นที่โยอาบต้องมาบุกทำลาย เพราะที่นี่เป็น "เมืองแห่งมรดกของพระเจ้า" โยอาบอยากเป็น ผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำลายเมืองนี้หรือ?

โยอาบบอกกับหญิงนั้นว่า เขาไม่ได้ประสงค์จะทำลายเมือง แต่ที่ต้องล้อมเมืองเอาไว้ เพราะกำลังตามหาบุคคล คนหนึ่ง ชื่อเชบาบุตรบิครี ผู้คิดการกบฎต่อต้านกษัตริย์ดาวิด ถ้าหญิงผู้นี้ สามารถส่งเชบามาให้ได้ พวกเขาก็จะ จากไปอย่างสันติ หญิงนั้นจึงบอกโยอาบว่า นางจะจัดการโยนศีรษะของเชบาข้ามกำแพงเมืองไปให้ นางจึงไป เจรจาขอให้ชาวเมืองกำจัดเชบาเสีย เพื่อนำหัวไปโยนให้โยอาบและกองทัพ เมื่อเป็นตามนั้น โยอาบจึงเป่าเขา สัตว์ เพื่อเป็นการประกาศจบสิ้นการตามล่า ทั้งหมดจึงกลับคืนสู่เยรูซาเล็ม ไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ดาวิด

สายงานการปกครอง
(20:23-26)

23 โยอาบเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ ทั้งหมดในอิสราเอล และเบไนยาห์ บุตรเยโฮยาดาเป็นผู้บังคับบัญชา กองคนเคเรธีและคนเปเลท 24 และอา
โดรัม ดูแลคนงานโยธา เยโฮชาฟัทบุตรอาหิลูดเป็นเจ้ากรมสารบรรณ 25
เชวาเป็นราชเลขา ศาโดกกับอาบียาธาร์ปุโรหิต 26 อิราตระกูลยาอีร์เป็น
ปุโรหิตของดาวิดด้วย

ผมแน่ใจว่า แต่ละคนที่กล่าวนามไปนี้ มีเรื่องน่าพูดถึง แต่ต้องขอข้ามไปครับ ขออนุญาติพูดถึงเฉพาะคนๆเดียว ในตอนนี้ โยอาบ น่าขันนะครับ! ชายคนนี้มีกลิ่นตุๆ ที่ไม่สามารถกำจัดไปได้ คิดดูดีๆ โยอาบมาเข้าพวกกับดาิวิด เมื่อครั้งท่านหลบหนีซาอูล (ดู 1 ซมอ 22:1-2; 26:6) และโยอาบผู้นี้ กับอับเนอร์เป็นผู้ออกมาท้าทายความ เป็นลูกผู้ชายกัน จนทำให้เกิดมีการต่อสู้กันถึงตาย รวมทั้งน้องชายคนเล็กของโยอาบ อาสาเฮลต้องตายไปด้วย (2 ซมอ 2) เพื่อเป็นการแก้แค้นแทนน้องชาย ที่ถูกอับเนอร์ฆ่าตายในระหว่างการสู้รบ โยอาบฆ่าอับเนอร์ตาย อย่างผิดกติกา และถูกดาวิดตำหนิอย่างรุนแรง (2 ซมอ 3) เป็นเรื่องน่าสงสัย ว่าดาวิดยังจะเลือกให้โยอาบทำ หน้าที่ผู้นำกองทัพอีกหรือ? แต่ดาวิดเสนอตำแหน่ง ให้กับใครก็ตาม ที่สามารถโจมตีเมืองเยบุสได้เป็นคนแรก และโยอาบทำสำเร็จ (1 พศด 11:4-6) โยอาบยังเป็นผู้ทำเล่ห์กล หลอกให้ดาวิดยอมอนุญาติให้อับซาโลมกลับ คืนสู่อิสราเอล และต่อมาได้อิสรภาพคืน (2 ซมอ 14) แต่แล้วโยอาบกลับเป็นคนฆ่าอับซาโลมเสียเอง ถึงแม้ ดาวิดขอร้องให้ยั้งมือไว้ (2 ซมอ 18) เราคงสงสัยว่าทำไมดาวิดจึงยังคงตั้งโยอาบขึ้นมาแทนอามาสา ที่น่าสง สัยที่สุด คือทั้งๆที่โยอาบเป็นคนลงมือฆ่าอามาสาเอง แล้วยังได้ตำแหน่งเดิมคืนกลับมา เราคงอยากให้บทที่ 20 จบลงในทำนองเดียวกับที่บท 19 เริ่มต้น (19:13)

บทสรุป

ในส่วนของกษัตริย์ดาวิด เราคงรู้สึกโล่งใจ ที่ดาวิดได้กลับคืนสู่เยรูซาเล็มอีกครั้ง กลับมาปกครองในฐานะ กษัตริย์ของอิสราเอล ดาวิดเคยต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนัก และรอคอยเวลา กว่าที่พระเจ้าจะทำตามพระสัญญา ที่จะ ให้ท่านได้ขึ้นครองอิสราเอลแทนที่ซาอูล ดาวิดต้องหลบซ่อนตัวจากซาอูลผู้แสวงชีวิตท่านอยู่หลายปี และ เมื่อท่านได้ขึ้นครองแล้ว ท่านอยู่อย่างสงบสุขและได้รับแต่ความสำเร็จเป็นเวลาหลายปี จนทำให้ท่านเกิด ชะล่าใจ ทำผิดพลาด จมดิ่งลงไปจนถึงที่สุด ขณะจมดิ่งลง ท่านต้องเผชิญกับความทุกข์มากมาย ที่ร้ายสุดๆ คือการก่อกบฎของอับซาโลม บุตรของท่านเอง ทำให้ท่านต้องทิ้งเยรูซาเล็ม หลบหนีเอาชีวิตรอด บัดนี้ อับซาโลมสิ้นชีวิตลงแล้ว การกบฎถูกปราบลงอย่างราบคาบ และดาวิดได้กลับคืนสู่เยรูซาเล็ม น่าโล่งใจ นะครับ!

แต่ชีวิตของดาวิดไม่ใช่นวนิยาย ท่านไม่ได้มีชิวิตแบบ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" ท่านต้องเผชิญความลำบากมากมาย เมื่อก้าวพลาดไป และแต่ละครั้งท่านเป็นทุกข์สาหัส ขอให้เราทั้งหลาย เรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านี้ และ สำหรับคนที่ชอบพูดว่า "ดูสิ ดาวิดยังทำบาปเลย" แต่อยากหมายความว่า: "ดาวิดทำบาป แล้วกลับใจ และ ได้กลับคืนสู่สภาพดีเหมือนเดิม" ผมขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ใช่! ดาวิดทำบาป และกลับใจ แต่ท่านไม่มี วันเหมือนเดิม สงบสุขเหมือนอย่างที่เคยเป็น ขออย่าให้มีผู้หนึ่งผู้ใด เห็นผลของบาปในชีวิตของดาวิด เป็น เรื่องเล็กน้อย ความบาปไม่เคยคุ้มครับ ดังที่เราเห็นตัวอย่างได้ จากชีวิตจริงของดาวิด

ขอให้เราตระหนักว่า ความยากลำบากทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็เพื่อดาวิดจะได้ดี เพื่อประชากรทั้งหลายของ พระเจ้าจะได้ดี ความลำบากที่ดาวิดเผชิญ เป็นบทเรียนอย่างดี ที่สอนเราว่าความบาปนั้นไม่เคยคุ้มค่าจ้าง ในทางกลับกัน ความยากลำบากทำให้ดาวิดถ่อมลง และเข้าพึ่งพิงพระเจ้ามากขึ้น ลองสังเกตุดู จะเห็นว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในชีวิตท่าน ทำให้ท่านถ่อมลง และเต็มด้วยความกรุณา อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ท่าน ให้อภัยชิเมอีต่อสิ่งที่เขากระทำกับท่านด้วยความปราณี สิ่งนี้เกิดจากส่วนหนึ่ง ที่ท่านเองได้รับการอภัยจาก พระเจ้าหรือไม่? เช่นเดียวกับที่ท่านปฏิบัติต่่อเมฟีโบเชท ดาวิดเรียนรู้เรื่องการรับ พอๆกับการให้ จากเพื่อน ที่น่ารักอย่างบาร์ซิลลัย

เหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในพระธรรม 2 ซามูเอลทั้งสองบทนี้ เทียบไม่ได้กับการจัดเตรียมของพระเจ้า หลายครั้งพระเจ้าเข้ามาแทรกแซงชีวิตมนุษย์โดยตรง พระองค์ทรงสำแดงพระองค์เองให้ชาวอียิปต์เห็น ในระหว่างอพยพ หลายครั้งพระเจ้าทรงกระทำการผ่านทางความเชื่อ และการเชื่อฟังของบรรดาธรรมิกชน ของพระองค์ ตัวอย่างเช่น ดาวิดแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ที่ท่านเอาชนะโกลิอัทได้ เป็นการกระทำของพระเจ้า ทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นความจริง มีหลายต่อหลายครั้ง เรามองไม่เห็นพระหัตถ์ของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ ไม่มี "สายตาแห่งความเชื่อ" พระเจ้าทรงสัญญากับดาวิดว่า ท่านจะได้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรนี้ จะเป็นอาณาจักรนิรันดร์ โดยทางผู้เผยพระวจนะนาธัน พระเจ้าประทานความมั่นใจให้กับดาวิดว่าท่านจะไม่ ถึงตายเพราะบาปของท่าน บ่อยครั้ง โอกาสรอดของดาวิดแขวนอยู่บนเส้นด้าย แต่พระเจ้าทรงรักษาพระ สัญญาเสมอ ด้วยสถานการณ์หรือโดยคนที่นึกไม่ถึงอยู่หลายครั้ง พระองค์ใช้คนต่างชาติ (กษัตริย์ต่างชาติ ที่ดาวิดเคยสู้รบด้วย -- ดู 17:27) รวมทั้งชาวยิว พระองค์ทรงใช้การกระทำที่ต้องอาศัยความเชื่อ และพึ่งใน พระเมตตาของพระองค์ รวมทั้งจากบรรดามนุษย์เนื้อหนัง (เช่นโยอาบเมื่อเขาขัดคำสั่งดาวิด ฆ่าอับซาโลม รวมทั้งฆ่าอามาสา โดยไม่มีเหตุผลอันควร) ไม่ว่าสถานการณ์จะ "คับขัน" ควบคุมไม่ได้เพียงใด แต่พระเจ้า ทรงควบคุมอยู่ พระองค์ทรงใช้วิธีการที่เรานึกไม่ถึง เพื่อให้พระประสงค์และพระสัญญาของพระองค์สำเร็จลง อย่างบริบูรณ์

ลองนึกถึงจุดที่หักเหบางจุดของพระธรรมตอนนี้ ดาวิดแต่งตั้งอามาสาขึ้นแทนโยอาบ ทำให้ชาวยูดาห์พอใจ แต่อามาสาก็ทำงานล่าช้า รวบรวมกองกำลังเข้ามาเยรูซาเล็มไม่ทัน ทำให้ดาวิดต้องส่งอาบีชัย พี่ชายของ โยอาบออกไปตาม เพราะดาบหลุดจากฝัก และอามาสาไม่ทันระวังตัว โยอาบถือโอกาสกำจัดอามาสาทิ้ง และขึ้นควบคุมแทน ชายทั้งสอง เชบาและทหารหนุ่มนิรนาม เป็นผู้ผลักดันให้พวกทหารทำการบางอย่าง พวกเขายอมทำตาม หญิงเจ้าปัญญานางหนึ่งพูดให้โยอาบ เลิกล้มความตั้งใจที่จะสู้รบกับเชบา และโยอาบ ก็ยินยอมทำตาม พระธรรมตอนนี้ทำให้ตาเราสว่างขึ้น เพื่อจะ "มองเห็น" พระหัตถ์ของพระเจ้าที่ไม่ปรากฎ แต่ทรงกระทำการผ่านชีวิตประชากรของพระองค์

ในพระธรรมตอนนี้ มีตัวอย่างของการจัดเตรียมของพระเจ้าให้เราเห็น และการจัดเตรียมเพื่ออนาคตของชาว อิสราเอลที่จะต้องแตกแยกกัน ลองสังเกตุคำพูดของเชบาดู :

"เราไม่มีส่วนในดาวิด เราไม่มีมรดกในบุตรของเจสซี โอ อิสราเอลเอ๋ย ให้ต่างคนต่างกลับไปเต็นท์ของตนเถิด" (2 ซามูเอล 20:1ข)

ให้ลองเปรียบเทียบคำพูดของเชบาในพระธรรมตอนนี้ กับคำพูดของคนอิสราเอลหลังจากที่ซาโลมอนตายลง

16 และเมื่ออิสราเอลทั้งปวงเห็นว่า พระราชามิได้ทรงฟังเขาทั้งหลาย ประชาชนก็ทูลตอบพระราชาว่า "ข้าพระบาททั้งหลายมีส่วนอะไรในดาวิด ข้าพระบาททั้งหลายไม่มีส่วนมรดกในบุตรชายของเจสซี โอ อิสราเอลเอ๋ย กลับไปเต็นท์ของตนเถิด ข้าแต่ดาวิด จงดูแลราชวงศ์ของพระองค์เองเถิด" อิสราเอลจึงจากไปยังบ้านเรือนของเขาทั้งหลาย (1 พกษ 12:16)

ดูเหมือนคำพูดของเชบา กลายเป็นคติพจน์ประจำใจของบรรดาผู้กบฎในอิสราเอล รากฐานของความแตก แยกระหว่างยูดาห์และเผ่าที่เหลือของอิสราเอลฝังรากลึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติ เราเห็นได้ชัดตั้งแต่เมื่อ ครั้งที่มีการแตกแยกกันระยะสั้นๆในรัชสมัยของดาวิด การแตกแยกนี้ไม่เคยสมานกันสนิท อาจจะหลบซ่อนอยู่ ในสมัยของซาโลมอน แต่เมื่อซาโลมอนตายลง มันก็เผยโฉมออกมา ในทั้งหมดนี้ พระเจ้าทรงจัดเตรียมชน ชาตินี้ไว้เพื่อการแตกแยกตามพระประสงค์ เมื่อการแตกแยกเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง มันจะมารวมกันไม่ได้อีก อาณาจักรทางเหนือจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอัสซีเรีย เพื่อเป็นบทเรียนให้กับชาวยูดาห์ ซึ่งไม่เคยใส่ ใจเรียนรู้ จนในที่สุดอาณาจักรทางใต้ก็ล่มสลายตามไปด้วย ไปเป็นเมืองขึ้นของบาบิโลน พระเจ้าทรงเตรียม การให้ชนชาติอิสราเอลเกิดการแตกแยก โดยผ่านเหตุการณ์ต่างๆในพระธรรมที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้

พระธรรมตอนนี้ทำให้เราเห็นสภาพจิตวิญญาณของชนชาตินี้ในช่วงเวลานั้นในประวัติศาสตร์ เราเห็นถึงความ บาปของคนอิสราเอล ในเรื่องที่พระเจ้าเลือกสรรดาวิดขึ้นมาเป็นผู้นำปกครองประเทศ ประชาชนเรียกร้อง อยากมีกษัตริย์ และพระเจ้าประทานให้ตามที่ขอ เมื่อพระองค์เจิมตั้งดาวิดแทนที่ซาอูล และโดยทางดาวิด ราชวงศ์ดาวิดได้ถูกก่อตั้งขึ้น ดาวิดปฏิเสธไม่ขอยกมือขึ้นทำร้ายผู้ที่พระเจ้าเจิมไว้ แต่แล้วชนเผ่าของ อิสราเอลเอง กลับไปเชื่อฟังเชบา ละทิ้งดาวิดกษัตริย์ของตนเอง พวกเขาประกาศไม่ยอมรับว่าดาวิดเป็น กษัตริย์ ทั้งๆที่รู้ว่าพระเจ้าเป็นผู้เจิมตั้ง พวกเขานึกถึงกษัตริย์ในแง่เป็นจ้าวเข้าจ้าวของ เป็นผู้ที่ยอมทำตาม ที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อใด และถ้าท่านไม่ยอม พวกเขาก็รู้สึกว่า ไม่เอาก็ได้ และทิ้งท่านไป การที่ อิสราเอลกบฎต่อดาวิด ก็คือกบฎต่อพระเจ้าด้วย

แต่ขออย่าให้เราพลาด คิดเอาเองว่าเป็นเพราะอิสราเอลทำบาป กบฎต่อดาวิด ยูดาห์จะเป็นฝ่ายที่สัตย์ซื่อ ต่อพระเจ้า เพราะยังจงรักภักดีต่อดาวิดอยู่ เมื่อตอนที่คนยูดาห์ทะเลาะกับคนอิสราเอล คนอิสราเอลเถียงว่า พวกเขานั้นมีสิบเผ่า พวกเขาจึงมีสิทธิในดาวิดสิบเท่า พูดง่ายๆก็คือ ดาวิดมีหน้าที่ต้องทำตามพวกเขามากกว่า ยูดาห์สิบเท่า แต่เมื่อคนยูดาห์พูดถึงสัมพันธภาพที่มีต่อดาวิด พวกเขาอ้างว่าเป็นญาติสนิท สืบเชื้อสายกันมา ไม่มีฝ่ายใดเลย ไม่ว่าจะอิสราเอลหรือยูดาห์ จะพูดว่าดาวิดเป็นกษัตริย์ที่พระเจ้าเจิมไว้ ทั้งสองฝ่ายยื้อดาวิดไว้ ก็เพื่อสนองความต้องการของตนเอง ดังนั้นยูดาห์ก็ไม่ดีไปกว่าการที่อิสราเอลทิ้งท่านไป

เป็นจริงเช่นเดียวกันหรือไม่ สำหรับมวลมนุษยชาติ ทุกยุคทุกสมัย? เมื่อพระเจ้าสร้างอาดัมและเอวา พระองค์ ทำที่อาศัยให้ในสวนเอเด็น พระองค์อนุญาตให้พวกเขามีอิสระที่จะรับประทานผลไม้ทุกต้นในสวน ยกเว้นแต่ เพียงต้นเดียว ที่ต้องห้าม ซาตานมาทันที มันบอกพวกเขาว่าถ้าความต้องการของพวกเขาไม่ตรงกับพระเจ้า พวกเขาก็มีสิทธิทำตามอำเภอใจได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นตรงต่อพระองค์ พวกเขาจึงทำตาม จากนั้นเป็นต้นมา มนุษย์ได้กบฎต่อการเป็นผู้นำของพระเจ้า

เมื่อองค์พระเยซูคริสต์เสด็จมาบนโลกนี้ พระองค์เป็นพระเมสซิยาห์ของพระเจ้า เป็นผู้ที่พระเจ้าเจิมตั้งไว้ เป็น กษัตริย์ของพระเจ้า แรกๆ มีหลายคนติดตามพระองค์ ตื่นเต้นเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระองค์ แต่เมื่อพวก เขาพบว่า อาณาจักรของพระองค์ไม่ได้เป็นแบบที่พวกเขาคิดไว้ พวกเขาประกาศไม่ยอมรับพระองค์ กลับไป เลือกซีซาร์ให้เป็นกษัตริย์แทน

ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน มีการพูดคุยถกเถียงกันมากมาย เกี่ยวกับการเป็นพระเจ้าของพระองค์ เป็นการยากที่จะ ปฏิเสธว่าพระเยซูไม่เพียงแต่ต้องการให้เราวางใจในพระองค์ เป็นพระผู้ช่วยให้รอดเท่านั้น แต่ให้ยอมเชื่อฟัง พระองค์ในฐานะเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าด้วย เราช้าและขาดความไวที่จะยอมรับเรื่องนี้มากแค่ไหน? แต่เราเร็ว มากที่จะละทิ้ง ไม่ยอมให้พระองค์มาเป็นพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตของเรา พระคัมภีร์เขียนไว้อย่างชัดเจน สั่งให้เรา ทำบางสิ่ง และหลีกเลี่ยงบางเรื่อง แต่เผอิญคำสั่งนี้ไม่สอดคล้อง ตรงกับความต้องการของเรา เราหันหลัง กลับทันควัน ไม่ต้องการให้พระองค์มายุ่งกับเราอีกต่อไป ปัดคำสั่งของพระองค์ออกไปจากทางของเรา เพราะ เห็นว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับเราตรงไหน (ความหมายเดียวกับการกบฎและไม่เชื่อฟัง) เมื่อผู้นำที่พระเจ้าแต่งตั้ง (ไม่ว่า จะเป็น สามี บิดามารดา ผู้นำบ้านเมือง หรือผู้นำคริสตจักร) ขอให้เราทำในสิ่งที่เสื่อมเกียรติสำหรับเรา เราไม่ยอมรับคนๆนั้น มองหาผู้นำคนใหม่ในทันที และต้องเป็นผู้นำแบบที่จะ "นำ" เราไปในทางที่เราชื่นชอบ เราปฏิเสธไม่ยอมรับการเป็นผู้นำของพระเจ้าไปกี่มากน้อยแล้ว?

ในที่สุดแล้ว "ผู้นำ" มีแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่เราต้องทำตาม นั่นคือองค์พระเยซูคริสต์ พระผู้เป็นเจ้าของเรา:

13 พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้พ้นจากอำนาจของความมืด และได้ทรงย้ายเรามา ตั้งไว้ในแผ่นดินแห่งพระบุตรที่รักของพระองค์ 14 ในพระบุตรนั้นเราจึงได้รับการไถ่ ซึ่งเป็นการทรงโปรดยกบาปทั้งหลายของเรา 15 พระองค์ทรงเป็นพระฉายของพระเจ้า ผู้ซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา ทรงเป็นบุตรหัวปีเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง 16 เพราะว่าในพระองค์ สรรพสิ่งได้ถูกสร้างขึ้น ทั้งในท้องฟ้าและที่แผ่นดินโลก สิ่งซึ่งประจักษ์แก่ตาและ ซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา ไม่ว่าจะเป็นเทวบัลลังก์ หรือเป็นเทพอาณาจักร หรือเป็นเทพ ผู้ครองหรือศักดิเทพ สรรพสิ่งทั้งสิ้นถูกสร้างขึ้น โดยพระองค์และเพื่อพระองค์ 17
พระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง และสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นระเบียบอยู่โดย
พระองค์ 18 พระองค์ทรงเป็นศีรษะของกาย คือคริสตจักร พระองค์ทรงเป็นปฐม เป็นผู้แรกที่ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย เพื่อพระองค์จะได้ทรงเป็นเอกในสรรพสิ่ง
ทั้งปวง 19 เพราะว่าพระเจ้าทรงพอพระทัย ที่จะให้ความบริบูรณ์ทั้งสิ้นธำรงในพระ
องค์ 20 และโดยพระองค์ ให้สิ่งสารพัดกลับคืนดีกับพระเจ้า ไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ใน แผ่นดินโลกหรือในสวรรค์ พระองค์ทรงทำให้มีสันติภาพด้วยพระโลหิตแห่งกางเขน
ของพระองค์ (โคโลสี 1:13-20)

คนที่ปฏิเสธพระองค์ ก็นำชีวิตตนเองเข้าสู่อันตราย และในวันหนึ่งข้างหน้า จะยอมรับว่าพระองค์เป็นจอม กษัตริย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า:

5 ท่านจงมีน้ำใจต่อกันเหมือนอย่างที่มีในพระเยซูคริสต์ 6 ผู้ทรงสภาพของพระเจ้า แต่มิได้ทรงถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ 7 แต่ได้กลับทรง
สละ และทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ 8 และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ ในสภาพมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน 9 เหตุฉะนั้นพระเจ้าจึงได้ทรงยกพระองค์ขึ้นอย่างสูง และได้ประทานพระนามเหนือนามทั้งปวงให้แก่พระองค์ 10 เพื่อเพราะพระนามนั้น
ทุกเข่า ในสวรรค์ ที่แผ่นดินโลก ใต้พื้นแผ่นดินโลก จะคุกลงกราบ พระเยซู 11
และเพื่อ ทุกลิ้นจะยอมรับ ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า อันเป็นการ ถวายพระเกียรติแด่พระบิดาเจ้า (ฟีลิปปี 2:5-11)

พระเจ้าประทานโอกาสให้กับมนุษย์ ที่จะยอมวางใจให้พระเยซูคริสต์เป็นองค์พระผู้ช่วยให้รอด เป็นผู้แบกบาป ของเรา และรับพระองค์ในฐานะกษัตริย์ของพระเจ้า ผู้ใดที่ยอมรับพระองค์เป็นพระผู้ช่วยให้รอดและเป็นจอม กษัตริย์ จะได้รับการอภัยบาป และมีที่อยู่ในอาณาจักรของพระองค์ ผู้ที่ปฏิเสธพระองค์ ในวันหนึ่งข้างหน้า จะยอมรับพระองค์เป็นกษัตริย์ แต่จะถูกกำจัดออกจากอาณาจักรของพระองค์ตลอดไป ต้องทนทุกข์ทรมาณ ชั่วนิรันดร์เพราะการเป็นกบฎ ผู้ที่พระเจ้าแลือกไว้ให้เป็นกษัตริย์ปกครองเรา เป็นผู้เดียวกับที่พระเจ้าทรงส่งให้ มาเป็นผู้รับใช้ที่ทนทุกข์เพื่อพระองค์ เป็นผู้แบกรับการลงทัณฑ์แทนบาปของเรา เพื่อที่จะมอบชีวิตนิรันดร์ให้ เรา ขอให้เรายอมรับพระองค์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด และเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ให้เราดำเนินชีวิตเป็นประชากร ที่สัตย์ซื่อของพระองค์ เพื่อพระสิริและเพื่อความสุขนิรันดร์ของเรา


88 ในต้นฉบับภาษาฮีบรู คำๆนี้เป็นคำพูดเดียวกับ ที่นาธันพูดกับดาวิดใน 2 ซามูเอล 12:13 พระคุณของ พระเจ้าที่มีต่อดาวิด บัดนี้ดาวิดมีต่อให้ชิเมอีด้วย

89 ผมต้องขอสารภาพครับ เมื่อตอนที่เราเรียนพระธรรมบทที่ 12 ผมพูดชัดว่า ดาวิดไม่ได้สนใจเรื่องว่าตนเอง ต้องถูกฝังใกล้กับบุตร เขาเพียงแต่พูดด้วยความหวังว่าจะไปพบกับบุตรในสวรรค์ ผมยังไม่ลืมครับ แต่ผมต้อง ชี้ให้เห็นว่าบารซิลลัย กลับรู้สึกสงบที่จะได้ถูกฝังอยู่ใกล้กับผู้เป็นที่รัก น่าจะเป็นความสบายใจที่ทำให้ดาวิด สงบลงได้ในบทที่ 12 ใครมีความเห็นอย่างไร พูดคุยกันได้ครับ

90 คุณคงจำอาบีชัยพี่ชายโยอาบได้ คนที่เคยขอลงมือฆ่าซาอูล และถ้าได้ลงมือ แค่เพียงครั้งเดียว เหยื่อจะ ตายทันที โดยไม่ต้องซ้ำสอง (1 ซามูเอล 26:8) พี่น้องสองคนนี้ รู้สึกภาคภูมิใจในฝีมือตนเองยิ่งนัก

91 อามาสาเป็นบุตรของพี่สาวดาวิด อาบิกายิล (2 ซามูเอล 17:25; 1 พงศาวดาร 2:17) ส่วยโยอาบเป็นบุตร ของพี่สาวอีกคน นางเศรุยาห์ ดังนั้นโยอาบและอามาสาจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน

92 ชัดเจนตามคำบอกเล่าของหญิงผู้นั้น ในข้อ 19

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 18: ผู้รักษา และผู้ไม่รักษาสัญญา (2 ซามูเอล 21)

คำนำ

ไม่นานมานี้ ผมและภรรยาได้เดินทางไปพักผ่อน เราใช้เวลาหนึ่งอาทิตย์ ท่องเที่ยวอยู่ทางเหนือของชาย ฝั่งตะวันออก เราขับรถผ่านไปทางแมสซาชูเสส รัฐเมน โนวา-สโกเทีย เกาะพรินส์เอดเวิร์ด นิวบรันสวิก เวอร์มอนท์ นิวแฮมเชอร์ และโรดส์ไอส์แลนด์ เราทั้งคู่รักชายฝั่งทะเล ที่มีทั้งอ่าว ท่าเรือและชายหาด ใบไม้ เปลี่ยนสีของฤดูใบไม้ร่วงทำให้เราถึงกับตะลึง ไม่ว่าจะเป็นสีทอง สีเหลือง สีแสด หรือแม้กระทั่งสีแดงเพลิง ตลอดชีวิต เราอาศัยอยู่แต่แถบตะวันตกเฉียงเหนือ และแถวเท็กซัส เมื่อได้มาสัมผัสบรรยากาศเก่าๆแถว ชายฝั่งด้านตะวันออก เราได้แต่นิ่งงัน เห็นโบสถ์ที่สร้างก่อนการประกาศเอกราช สุสานของคนที่ตายไปแล้ว นับศตวรรษ

คำว่า "เก่า" สร้างความหมายใหม่ให้กับเรา ; "เก่า" นี้น่าจะ "เก่ากว่า" ที่เราเคยคิดเอาไว้ แต่ว่าในอเมริกา คำว่า "เก่า" ยังไม่ค่อย "เก่า" เท่าไหร่ คุณคิดว่าตึกอายุ 200 ปี หรือสุสานเก่าๆนี้ "เก่า" จริงหรือ? ลองเทียบ กับ "ความเก่า" ที่บรรดาธรรมิกชนในพระคัมภีร์เดิมนึกถึง เช่น ชาวอิสราเอลที่ทำพันธสัญญากับชาวกิเบโอน สี่ร้อยปีก่อนสมัยของดาวิด เราคงสงสัยกันว่ากษัตริย์ซาอูลลืมเรื่องพันธสัญญานี้หรือเปล่า หรืออาจเป็นได้ว่า เพราะมัน "เก่า" เกินกว่าจะไปยึดถือเป็นจริงเป็นจัง ท่านคิดผิดมากครับ! การกระทำของท่าน ชาวกิเบโอน ถือว่าเป็นการทำให้แผ่นดินอิสราเอลมัวหมอง เกิดกันดารอาหารหลังจากที่ท่านตาย จึงตกอยู่ที่ดาวิด ผู้จะต้อง เข้ามาแก้ใข ทำในสิ่งที่ซาอูลละเมิดให้ถูกต้อง

เรื่องเช่นนี้ฟังดูไม่คุ้นหูพวกเราทั้งหลาย เราสงสัย ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องฆ่าคนในราชวงศ์ของซาอูลถึงเจ็ด คน เพื่อชดใช้การกระทำของท่าน ที่ทำไว้หลายปีมาแล้ว เพียงเพื่อรักษาสัญญาที่ทำไว้เมื่อ 400 ปีก่อนหน้า เรางุนงงที่เห็นมารดาของบุตรที่ถูกสังหารทั้งสอง พยายามปกป้องศพของบุตรชาย และการที่ ดาวิดนำกระดูก ของพวกเขามาทำพิธีฝังให้อย่างถูกต้อง รวมกับกระดูกของซาอูลและบรรดาบุตรของท่าน ที่แปลกคือ เราพบ ว่าโกลิอัท ทหารยักษ์ที่ดาวิดฆ่าเมื่อเริ่มเข้าสู่วงการ มีบุตรหลานอยู่มากมาย ล้วนแล้วแต่ มีร่างกายใหญ่โต เป็นยักษ์ทั้งสิ้น

เรื่องแปลกๆเช่นนี้ ถูกรวบรวมเอาไว้ในบทที่ 21 ของพระธรรม 2 ซามูเอล ด้วยการดลใจและควบคุมขององค์ พระผู้เป็นเจ้า ขอให้เราตระหนักว่า เรื่องราวเหล่านี้ เป็นจุดสูงสุด ที่สรุปรวมความของพระธรรม 1 และ 2 ซามูเอลไว้ด้วยกัน ผู้เขียนค่อยๆนำเราเข้าสู่จุดนี้ในพระคัมภีร์ ดังนั้นเนื้อหาที่มีอยู่ จึงสำคัญยิ่งสำหรับพวกเรา ของให้เราตั้งใจฟังให้ดี และเรียนในสิ่งที่พระเจ้ามีพระประสงค์ให้เราเรียนรู้

ทำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับชาวกิเบโอน
(21:1-9)

1 ในสมัยของดาวิดมีการกันดารอาหารอยู่สามปี ปีแล้วปีเล่า และดาวิดก็เข้าเฝ้าต่อ
พระพักตร์พระเจ้า พระเจ้าตรัสว่า "เพราะเขาฆ่าคนกิเบโอน ความผิดที่เขาทั้งหลาย
ต้องตายจึง ตกอยู่กับซาอูลและพงศ์พันธุ์ของเขา" 2 พระราชาจึงทรงเรียกคนกิเบ
โอนมาตรัสแก่เขา (ฝ่ายคนกิเบโอนนั้นไม่ใช่ประชาชนอิสราเอล แต่เป็นคนอาโมไรต์
ที่ยังเหลืออยู่ ถึงแม้ว่าประชาชนอิสราเอลจะ ได้ปฏิญาณไว้ว่าจะไว้ชีวิตเขาทั้งหลาย แต่ซาอูลก็ทรงหาช่องที่จะสังหารเขาทั้งหลายเสีย เพราะความร้อนใจที่เห็นแก่คน อิสราเอลและคนยูดาห์) 3 ดาวิดตรัสถามคนกิเบโอนว่า "เราจะกระทำอะไรให้แก่พวก
ท่านได้ เราจะทำอย่างไรจึงจะลบมลทินบาปเสียได้ เพื่อพวกท่านจะได้อวยพรแก่ มรดกของพระเจ้าได้" 4 คนกิเบโอนทูลตอบพระองค์ว่า "ระหว่างพวกข้าพระบาท กับ ซาอูลและพงศ์พันธุ์ของท่าน นั้นไม่ใช่เรื่องเงินหรือทอง ทั้งไม่ใช่เรื่องของพวกข้าพระ บาทที่จะประหารชีวิต อิสราเอลคนหนึ่งคนใด" พระองค์จึงตรัสว่า "แล้วพวกท่านจะ ให้เรากระทำอะไรแก่ท่านเล่า" 5 เขากราบทูลพระราชาว่า "ชายผู้ที่เผาผลาญพวกข้า
พระบาท และวางแผนการทำลายพวกข้าพระบาท เพื่อมิให้พวกข้าพระบาทมีที่อยู่ใน เขตแดนอิสราเอล 6 ขอทรงมอบบุตรเจ็ดคนของเขาให้แก่พวกข้าพระบาท เพื่อพวกข้า พระบาทจะได้แขวนเขาเสียต่อ พระพักตร์พระเจ้าที่กิเบอาห์แห่งซาอูลผู้เลือกสรรของ
พระเจ้า" และพระราชาตรัสว่า "เราจะจัดเขามาให้" 7 แต่พระราชาทรงไว้ชีวิตเมฟีโบเชท บุตรของโยนาธานราชโอรสของซาอูล ด้วยเหตุคำปฏิญาณระหว่างทั้งสองที่กระทำใน พระนามพระเจ้า คือระหว่างดาวิดกับโยนาธานราชโอรสของซาอูล 8 แต่พระราชานำ เอาบุตรสองคนของนาง ริสปาห์บุตรีของอัยยาห์ ซึ่งบังเกิดกับซาอูล ชื่ออารโมนีกับ
เมฟีโบเชท กับบุตรห้าคนของเมราบ ราชธิดาของซาอูล ซึ่งพระนางมีกับอาดรีเอล บุตรบารซิลลัยชาวเมโหลาห์ 9 พระองค์ทรงมอบคนเหล่านี้ไว้ในมือของคนกิเบโอน เขาทั้งหลายจึงแขวนคนทั้งเจ็ดไว้บนภูเขาต่อพระพักตร์พระเจ้า และทั้งเจ็ดคนก็พินาศ
ไปด้วยกัน เขาถูกฆ่าตายในวันแรกของฤดู เกี่ยวข้าวในวันต้นการเกี่ยวข้าวบารลี

ชาวกิเบโอนเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจ ผู้เขียนเรียกคนพวกนี้ว่าเป็นชาวอาโมไรต์ (21:2) แต่โดยทั่วไปแล้ว เป็นที่ รู้จักกันว่าเป็นคนฮีไวต์ (โยชูวา 9:1, 7; 11:19)93 คนกิเบโอนเหล่านี้อาศัยอยู่ในคานาอัน เป็นคนที่พระเจ้า สั่งให้คนอิสราเอลทำลายให้หมดสิ้น (อพยพ 33:2; 34:11; เฉลยธรรมบัญญัติ 7:1-2) ซึ่งน่าจะเป็นไปตามนั้น เสียแต่เพียงว่ามีกรณีพิเศษ ทำให้ต้องหักเหไป ตามที่บันทึกอยู่ในพระธรรมโยชูวาบทที่ 9 ภายใต้การนำของ โยชูวา ชาวอิสราเอลได้ข้ามแม่น้ำจอร์แดน (โยชูวา 3) และเข้ายึดเมืองเยริโค(บทที่ 6) และต่อมายึดเมืองอัย (บทที่ 7 และ 8) เมืองที่อิสราเอลต้องเข้ายึดครองเมืองต่อไปคือกิเบโอน และชาวกิเบโอนก็รู้ตัวดี

กิเบโอนเป็นเมืองใหญ่ มีนักรบที่มีฝีมืออยู่เป็นจำนวนมาก (10:2) เราคิดว่าพวกเขาน่าจะลุกขึ้นต่อสู้ แต่ชาว เมืองนี้กลับเลือกใช้วิธีอื่น เช่นเดียวกับนางราหับที่เมืองเยริโค ชาวกิเบโอนเชื่อว่าพระเจ้าประทานแผ่นดิน คานาอันให้กับชาวอิสราเอล พวกเขารู้ดีว่าไม่มีทางชนะถ้าขืนคิดสู้ จึงตัดสินใจส่งคณะผู้แทนไปเจรจา ทำที ว่ามาจากที่ไกล เพื่อจะมาให้ถึงที่ๆอิสราเอลตั้งค่ายอยู่ คณะผู้แทนนี้บันทุกกะสอบเก่า และถุงหนังเหล้าองุ่นไว้ บนหลังลา สวมใส่เสื้อผ้าเก่าขาด นำแป้งขนมปังและเสบียงมาด้วย ภาพทุกอย่างทำให้เห็นเหมือนกับว่ามา จากที่ไกล คนอิสราเอลตกลงทำสัญญาสันติภาพกับกลุ่มคนที่ "มาจากที่ไกล" คณะนี้ เมื่อคนอิสราเอลรู้ว่า ถูกหลอก พวกเขาต้องการฆ่าคนกิเบโอน แต่พันธสัญญาที่พึ่งได้ตกลงกันไป ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำได้ คนอิสราเอลจึงนำคนกิเบโอนมาใช้เป็นทาส ให้ตัดฟืน และตักน้ำ โดยเฉพาะสำหรับใช้ที่ในพลับพลา (โยชูวา 9:16-17)

พันธสัญญาที่ชาวกิเบโอนทำไว้กับชาวอิสราเอล ทำให้พวกเขาอยู่รอดปลอดภัย แต่ก็เสี่ยงกับความไม่พอใจ ของเพื่อนร่วมชาติชาวอาโมไรต์เมืองอื่นๆ เมื่อกษัตริย์ทั้งห้าของอาโมไรต์ รู้เรื่องสัญญาเป็นพันธมิตรที่ชาว กิเบโอนทำกับอิสราเอล พวกเขาจึงมองชาวกิเบโอนเป็นศัตรู กษัตริย์ทั้งห้าตัดขาดกับกิเบโอน และยกทัพ หมายจะมาโจมตีและทำลายเมืองนี้เสีย (10:1-5) เมื่อคนกิเบโอนรู้ว่าจะถูกโจมตี พวกเขาส่งสารไปหาโยชูวา ที่กิลกาล ขอความช่วยเหลือ และก็ได้ตามนั้น (สัญญาที่กิเบโอนทำไว้กับอิสราเอล ครอบคลุมไปถึงการช่วย คุ้มครองด้วย) พระเจ้าทรงประทานความมั่นใจให้แก่โยชูวาว่าท่านจะชนะ : "จะไม่มีผู้ใดในพวกเขา สักคน เดียวที่จะยืนหยัด ต่อสู้เจ้าได้" (10:8) เดินทางทั้งคืนมาจากกิลกาล โยชูวาจัดการกับกษัตริย์อาโมไรต์ทั้ง ห้าจนไม่เหลือเลยที่กิเบโอน ทั้งที่ต่างพยายามหลบหนี พระเจ้าทรงโยนลูกเห็บใหญ่ลงมาจากฟ้า ฆ่าพวกเขา ตายไปเสียมากกว่าคมดาบ (10:11) ถึงกระนั้นก็ยังไม่ชนะเด็ดขาด โยชูวาจึงอธิษฐานขอให้พระเจ้า ทำให้ดวง อาทิตย์หยุดอยู่กับที่ เพื่ออิสราเอลจะมีเวลาและแสงเพียงพอ ที่จะทำลายคนอาโมไรต์ให้หมดสิ้น ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งอยู่เหนือกิเบโอน ไม่มีวันใดอีกแล้ว ที่เป็นวันแห่งสงครามอันยาวนานเท่าวันนั้น เราคงสงสัย ว่าทำไม คนอาโมไรต์เหล่านี้ คิดว่าจะยับยั้งพระหัตถ์พระเจ้าได้ ในเมื่อพวกเขากำลังทำลายประชากรอิสราเอล พล เมืองของพระองค์ ประชากรที่พระองค์ประทานพระพรให้

เมื่ออิสราเอลเข้าครอบครองคานาอัน เมืองกิเบโอนถูกแบ่งให้เป็นส่วนของเผ่าเบนยามิน และเป็นเมืองที่เก็บ ไว้้สำหรับพวกเลวี (โยชูวา 21:17) เป็นเมืองที่ "สงวนไว้" สำหรับจัดตั้งพลับพลา และประดิษฐานอยู่ที่นั่น จนกระทั่งพระวิหารที่ซาโลมอนสร้างเสร็จลง (ดาวิดนำหีบแห่งพระเจ้ามาไว้ที่เยรูซาเล็ม แต่พลับพลาและ แท่นเผาบูชา ยังอยู่ทีกิเบโอน (ดู 2 ซามูเอล 6; 1 พศด. 16:39-40; 21:29) ในช่วงเริ่มต้นการปกครองของ ซาโลมอน ท่านไปที่กิเบโอน เพื่อไปนมัสการพระเจ้าและถวายเครื่องบูชา และที่นี่เองเป็นสถานที่ ที่พระเจ้า เสนอจะมอบสิ่งที่ซาโลมอนทูลขอ (1 พศด. 16:39; 21:29; 2 พศด. 1:1-13; 1 พกษ. 3:4-5)

กิเบโอนเป็นเมืองบรรพบุรุษของซาอูล (1 พศด. 8:29-30; 9:35-39) เป็นเมืองที่คน 12 คนของอิชโบเชท (บุตรของซาอูล) มาท้าทายกับ 12 คนของดาวิด ทะเลาะเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตจนเกิดการสู้รบ ถึงขั้นนอง เลือด (2 ซามูเอล 2:12-17) เป็นเมืองที่มี "ศิลาใหญ่" ตั้งอยู่ เป็นที่เดียวกับที่โยอาบออกมาพบอามาสา และฆ่าเสีย (2 ซามูเอล 20:8) ต่อมาเมื่อดาวิดชราภาพ และโยอาบทำสิ่งที่โง่เขลา ด้วยการไปสนับสนุน อาโดนียาห์ (ต่อต้านซาโลมอน) ให้เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากดาวิด โยอาบหนีไปที่กิเบโอน ไปจับ เชิงงอนที่แท่นบูชาไว้ แต่ก็ไม่เป็นผล (1 พกษ. 2:28-34).

เวลาผ่านไปถึง 400 ปีแล้ว กว่าจะมาถึงพระธรรมตอนนี้ ที่พวกผู้นำอิสราเอลเคยพลาดท่า ไปทำพันธสัญญา กับชาวกิเบโอน เราคิดว่าพันธสัญญานี้น่าจะล้มเลิกไปได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องเก่าเก็บในประวัติศาสตร์ แต่ อยู่ดีๆ ก็มีพวกกิเบโอนโผล่ขึ้นมาในพระธรรม 2 ซามูเอลตอนนี้ เกิดการกันดารอาหารขึ้นในอิสราเอลเป็นเวลา ถึงสามปี ดาวิดจึงทูลถามพระเจ้า ว่าเหตุใดพระองค์จึงให้เกิดการกันดารอาหารขึ้น พระเจ้าตอบว่าเป็นเพราะ บาปของซาอูลและราชวงศ์ของท่าน บาปที่ทำไว้กับชาวกิเบโอน เป็นเพราะต้องการรักษาประโยชน์ให้กับ ประเทศ ให้กับลูกหลานอิสราเอลและยูดาห์ ซาอูลและราชวงศ์ของท่าน จึงคิดแผนการทำลายล้างเผ่าพันธ์ กิเบโอนให้หมดสิ้น ท่านค่อยๆกำจัดพวกนี้ออกไปทีละนิดๆ ซึ่งแทบไม่มีผู้ใดรู้ (รวมทั้งคนในราชวงศ์ด้วย) ที่จริง ถ้าซาอูลคิดจะกำจัดพวกกิเบโอน ท่านน่าจะทำได้ง่ายกว่า จากเมืองบ้านเกิดของท่านเองที่กิเบอา เรา ไม่รู้ว่าซาอูลดำเนินแผนการชั่วร้ายนี้ไปได้มากน้อยแค่ไหน และเพราะหตุใดจึงทำไม่สำเร็จ

การกระทำของซาอูลเป็นการละเมิดต่อพันธสัญญาที่อิสราเอลทำไว้กับชาวกิเบโอน เมื่อกว่า 400 ปีมาแล้ว 94 เป็นพันธสัญญาที่ผู้ใหญ่อิสราเอลในสมัยนั้นพลาดท่าเสียทีทำไป คนอิสราเอลไม่น่าหลวมตัวไปในเรื่องนี้ แต่ เมื่อทำไปแล้ว คนอิสราเอลจำต้องรักษาพันธสัญญาไว้ โยชูวาถึงได้ไปช่วยชาวกิเบโอนสู้รบ หลังจากที่ทำ พันธสัญญานี้ได้ไม่กี่วัน และบัดนี้ เวลาผ่านไปแล้วหลายร้อยปี ซาอูลกลับไปลงมือทำในสิ่งที่ขัดกับข้อผูกมัด ในอดีต ท่านเริ่มปฏิบัติการล้างเผ่าพันธ์กิเบโอน ซึ่งต่างกับที่ฮามานเคยคิดจะทำลายล้างชาวยิว (ดูพระธรรม เอสเธอร์) อย่างไรก็ตาม พระเจ้าทรงยับยั้งไม่ให้แผนการชั่วร้ายนี้สำเร็จ เราไม่รู้เรื่องราวของแผนการนี้เลย จนกระทั่งหลายปีผ่านไป พระเจ้าให้เกิดการกันดารอาหารขึ้นในอิสราเอล ทำให้ดาวิดต้องทูลถามพระเจ้า ถึงปัญหา และพยายามแก้ใขให้ถูกต้อง

ผู้เขียนไม่ได้พูดชัดเจนเรื่องเวลาที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เราไม่รู้ว่าการกันดารอาหารนี้อยู่ในช่วงใหนของชีวิต ดาวิด เรารู้แต่เพียงว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ซาอูลและบุตรสิ้นชีพไปแล้ว เมื่อเกิดการกันดารอาหาร ก็เกิดต่อเนื่อง กันไปถึงสามปี นี่ไม่ใช่เป็นการกันดารอาหารแบบธรรมดา แต่เป็นเหตุการณ์ที่ดาวิดรู้สึกได้ว่าต้องเป็นมาจาก พระเจ้า ในพันธสัญญาโมเสส มีบ่งไว้ว่า การกันดารอาหารมาจากพระหัตถ์พระเจ้า เพื่อเป็นการลงโทษสำหรับ ความบาป (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 28:23-24; 2 พศด. 6:26-31) ดาวิดจึงทูลถามพระเจ้า ถึงสาเหตุของการ กันดารอาหาร คำตอบของพระเจ้านั้นชัดเจนยิ่งนัก :

"เพราะเขาฆ่าคนกิเบโอน ความผิดที่เขาทั้งหลายต้องตายจึง ตกอยู่กับซาอูล และพงศ์พันธุ์ของเขา" (2 ซามูเอล 21:1ข KJV)

ผมเลือกที่จะนำคำตอบของพระเจ้ามาจากฉบับบแปลของ KJV เพราะคิดว่าใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูมากที่สุด "สำหรับซาอูล และสำหรับราชวงศ์กระหายเลือด (ของเขา)" คำพูดนี้น่าจะช่วยให้การแปลในฉบับอื่นๆเห็น ภาพชัด เหตุใดดาวิดจึงส่งบุตรหลานของซาอูลให้ไปตาย ทั้งๆที่บาปนั้นซาอูลเป็นผู้กระทำ? บัญญัติของ โมเสสสั่งห้ามอิสราเอลไม่ให้ลงโทษบุตรในบาปของบิดา:

16 "อย่าให้บิดาต้องรับโทษถึงตายแทนบุตรของตน หรือให้บุตรต้องรับโทษถึง ตายแทนบิดาของตน ให้ทุกคนรับโทษถึงตายด้วยโทษของคนนั้นเอง" (เฉลยธรรมบัญญัติ 24:16, NASV)

คำตอบของพระเจ้าที่มีต่อดาวิด ย้ำข้อเท็จจริงว่าซาอูลไม่ได้ลงมือทำการฆ่าล้างเผ่าพันธ์กิเบโอนเพียง คนเดียว ท่านคงต้องมีคนช่วย และใครจะทำเช่นนี้ได้ นอกจากเป็นคนในครอบครัว ไม่ว่าพวกเขาเป็นผู้ลงมือ ทำโลหิตของชาวกิเบโอนตกเองหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยพวกเขาต้องรู้ จึงจัดว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด มีส่วนใน แผนการชั่วร้ายนี้ด้วย95

ผมคิดว่าแรงจูงใจที่ซาอูลลุกขึ้นมากำจัดชาวกิเบโอนนั้น น่าจะเป็นการสนองตัณหาตัวเองมากกว่า เพราะว่า ท่านอาศัยอยู่ในแผ่นดินส่วนของเผ่าเบนยามิน และเมืองกิเบอาบ้านเกิดก็ไม่ไกลไปจากเมืองกิเบโอน อาจ เป็นได้ว่าครอบครัวของท่าน น่าจะเป็นผู้ได้ครอบครองดินแดนส่วนนี้ แต่ในพระคัมภีร์พูดว่า ซาอูลทำการ ครั้งนี้ก็ด้วยแรงจูงใจที่รักชาติอย่างผิดๆ "แต่ซาอูลก็ทรงหาช่องที่จะสังหารเขาทั้งหลายเสีย เพราะ ความร้อนใจที่เห็นแก่คน อิสราเอลและคนยูดาห์" (ข้อ 2) เพื่อนผมคนหนึ่งเคยพูดถึงประโยคนี้ว่า "ซาอูล ไม่เคยทำอะไรถูกสักที" ท่านไม่ยอมฆ่าคนอามาเลขให้หมด ทั้งๆที่พระเจ้าสั่ง (1 ซามูเอล 15) ท่านพยายาม ทำลายล้างเผ่าพันธ์กิเบโอน ด้วยความคิดว่าทำประโยชน์ให้กับอิสราเอลและยูดาห์ แต่ทำไม่สำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้แผ่นดินอิสราเอลเกิดการกันดารอาหาร

ดาวิดรู้ดีว่าท่านต้องทำบางสิ่ง เพื่อลบล้างบาปของซาอูล และเพื่อให้ได้มาซึ่งพรจากชาวกิเบโอน เพื่อว่า การกันดารอาหารจะได้จบสิ้นลง แต่สำหรับเราแล้ว เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดเหลือเชื่อ ที่ชาว กิเบโอนจะเป็นผู้ "อวยพร" คนอิสราเอล ประชากรของพระเจ้า เพื่อว่าพระเจ้าจะอำนวยพระพรให้กับคน อิสราเอลอีกครั้ง ดูจะเป็นเรื่องกลับกัน กับที่ีบัญญัติไว้ในพันธสัญญาโมเสส :

"เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า บรรดาเผ่าพันธุ์ทั่ว โลก จะได้พรเพราะเจ้า" (ปฐมกาล 12:3)

เป็นเพราะบาปของซาอูลและราชวงศ์กระหายเลือดของท่าน ทำให้ดูว่าคนกิเบโอนเป็นฝ่ายผิด ดูเหมือนพวก เขาร้องขอความเป็นธรรมจากพระเจ้า และสาปแช่ง (กันดารอาหาร) ให้ตกอยู่กับแผ่นดิน มันไม่ได้เกิดขึ้นใน สมัยของซาอูล แต่เกิดทีหลัง (อาจเป็นได้ว่าซาอูลไม่เคยคิดจะหาสาเหตุ ว่าทำไมแผ่นดินจึงกันดารอาหาร ไม่ใส่ใจที่จะแก้ใขสถานการณ์) บัดนี้เพื่อให้เรื่องนี้ยุติลง ต้องมีการชดใช้บาป (ด้วยการฆ่าผู้สืบทอดวงศ์วาน ของซาอูลเจ็ดคน) เพื่อชาวกิเบโอนจะได้อวยพรชาวอิสราเอล และพระเจ้าจะได้อำนวยพระพรแก่อิสราเอล ประชากรของพระองค์อีกครั้ง

ดาวิดเรียกชาวกิเบโอนมาพบ เพื่อสอบถามว่าท่านต้องทำสิ่งใด เพื่อจะแก้ใขเรื่องนี้ให้ถูกต้อง พวกเขาตอบ ท่านต่างจากที่ใจเราคิด อาจเป็นเพราะในสมัยนั้นยังไม่มีทนายความหัวเห็ด (โทษทีครับ) ที่คอยคิดสาระตะว่า จะได้เงินจากงานนี้เท่าไร แต่ชาวกิเบโอนแสดงชัดเจนว่ามันไม่ใช่เรื่องเงินที่เขาอยากได้ เพราะมันไม่มีทาง "สม" กับโลหิตที่ซาอูลทำให้ตกบนแผ่นดิน สิ่งที่พวกเขาพูดต่อมา คือสิ่งที่พวกเขาคิดว่าสาสมกับความ ยุติธรรม : "ทั้งไม่ใช่เรื่องของพวกข้าพระ บาทที่จะประหารชีวิต อิสราเอลคนหนึ่งคนใด" (ข้อ 4) พวก เขาไม่มีอำนาจใดในฐานะเมืองขึ้น ที่จะสั่งประหารคนยิว ดาวิดคงพอเข้าใจในสิ่งที่พวกเขากำลังขอ ท่านจึง ถามเขาไปตรงๆว่า พวกเขาต้องการให้ท่านทำสิ่งใด ท่านจะทำให้

ชาวกิเบโอนตอบดาวิดว่า เนื่องจากซาอูลได้สังหารพวกเขาไปมากมาย และยังมีความตั้งใจจะทำลายล้างเผ่า พันธ์ของพวกเขาให้หมดสิ้น พวกเขาคิดว่าชีวิต "ลูกหลาน"96 ของคนในราชวงศ์ซาอูลเจ็ดคน น่าจะสมกับ ความยุติธรรมที่ควรได้ พวกเขาจะแขวนคอลูกหลานทั้งเจ็ดคนนี้ "เพื่อพวกข้าพระบาทจะได้แขวนเขาเสีย ต่อ พระพักตร์พระเจ้า ที่กิเบอาห์แห่งซาอูลผู้เลือกสรรของพระเจ้า" (ข้อ 6) การแขวนคอ เป็นการลง โทษสำหรับความผิดสถานหนัก (ดูปฐมกาล 40:19; เฉลยธรรมบัญญัติ 21:22-23; โยชูวา 8:29; 10:26) ชาว กิเบโอนสัญญาว่าจะแขวนคอลูกหลานของซาอูล "ต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า" ผมคิดว่าพวกเขามองเรื่องนี้ อย่างที่ควรเป็น คือทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ในแบบที่พระองค์พอพระทัย และแบบที่พวกเขาเองก็พอใจ พวกเขาจะทำการประหารนี้ที่บ้านเกิดของซาอูล ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าที่กิเบอา เมืองของซาอูล

ผมพบว่าน่าสนใจ ที่ชาวกิเบโอนพูดถึงซาอูลว่าเป็น "ผู้เลือกสรรของพระเจ้า" แน่นอน นี่คงเป็นชื่อที่ใช้เรียก ซาอูลโดยทั่วไป ที่ชาวกิเบโอนคุ้นเคยดี แต่ผมคิดว่าที่เรียกเช่นนี้ในตอนนั้น คงต้องมีจุดประสงค์บางอย่าง หรือ ว่าซาอูลถือเอาว่าตนเองนั้นเป็น "ผู้เลือกสรรของพระเจ้า" จึงทำอะไรก็ได้ตามต้องการ? คุณว่าสิ่งนี้เป็นสิทธิ พิเศษเฉพาะตัว ที่ทำให้พระเจ้ามองข้ามความบาปของเขาไปหรือ?! ลูกหลานของ "ผู้เลือกสรรของพระเจ้า" กำลังจะถูกประหารที่บ้านเกิดของตนเอง พระเจ้าไม่เคยมองข้าม หรือยกเว้นความบาปของคนที่พระองค์เลือก ไว้ พระองค์คงไม่ได้ลงโทษชาวคานาอันในความบาปของพวกเขา แล้วทำเป็นมองไม่เห็นบาปเดียวกันใน ประชากรอิสราเอล ที่พระองค์เลือกไว้ พระเจ้าไม่ได้ละเว้นบาปของดาวิด หรือบาปของซาอูล คนที่พระองค์ได้ "เลือกสรร" ไว้

มีหลายครั้งที่คริสเตียนรู้สึกหงุดหงิดในเรื่องนี้ เมื่อพวกอาหรับไปทิ้งระเบิด หรือทำลายตึกรามบ้านช่อง ทำให้ คนบริสุทธิ์พลอยรับเคราะห์ เรารีบประณามการกระทำนี้ว่าเป็นการกระทำของ "ผู้ก่อการร้าย" และเรียกร้องหา ความยุติธรรม แต่เมื่อคนอิสราเอลทำในแบบเดียวกัน เรากลับมองว่าเป็นการ "ป้องกันตัว" และถือว่าเป็นการเอา คืนที่ยุติธรรม การเป็นพลเมืองที่พระเจ้าเลือกสรร ไม่ใช่เป็นใบเบิกทางให้เราทำบาป พระเจ้าทรงได้ยินเสียงร้อง ทูลของผู้ที่ถูกข่มเหง และพระองค์จะพิพากษาอย่างยุติธรรม ถึงแม้บาปนั้น พลเมืองของพระองค์เป็นผู้กระทำก็ ตาม

26 ถ้าเจ้าได้รับเสื้อคลุมของเพื่อนบ้านไว้เป็นของประกัน จงคืนของนั้นให้เขา
ก่อนตะวันตกดิน 27 เพราะเขาอาจมีเสื้อคลุมตัวนั้นตัวเดียว เป็นเครื่องปกคลุม
ร่างกาย มิฉะนั้นเวลานอนเขาจะเอาอะไรห่มเล่า เมื่อเขาทูลร้องทุกข์ต่อเรา เราจะสดับฟังเพราะเราเป็นผู้มีเมตตากรุณา (อพยพ 22:26-27)

12 เพราะท่านช่วยกู้คนขัดสนเมื่อเราร้องทูล คนยากจน และคนที่ไร้ผู้อุปถัมภ์ (สดุดี 72:12).

4 นี่แน่ะ ค่าจ้างของคนที่ได้เกี่ยวข้าวในนาของท่านซึ่งท่านได้ฉ้อโกงไว้นั้น ก็ร้อง ฟ้องขึ้น และเสียงร้องทุกข์ของคนที่เกี่ยวข้าวนั้น ได้ทรงทราบถึงพระกรรณ ของ องค์พระผู้เป็นเจ้าจอมโยธาแล้ว (ยากอบ 5:4)

การพิพากษาของพระองค์อาจไม่มาในทันที แต่จะมาแน่

ดังนั้นจึงมีการเลือก "ลูกหลาน" ของซาอูลเจ็ดคนขึ้นมา เมฟีโบเชท บุตรของโยนาธาน ไ้ด้รับการยกเว้น เพราะพันธสัญญาที่ดาวิดได้ทำไว้กับโยนาธาน บุตรทั้งสองของนางริสปาห์ 97 สนมของซาอูล ถูกประหาร รวมไปถึงบุตรห้าคนของธิดาซาอูล เมราบ98 ชาวกิเบโอนนำชายทั้งเจ็ดนี้ไป และ "...แขวนคนทั้งเจ็ด ไว้บนภูเขาต่อพระพักตร์พระเจ้า" (ข้อ 9) การประหารนี้เกิดในเริ่มต้นฤดูเกี่ยวข้าวบารลี

ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทสรุปของเหตุการณ์ระหว่างอิสราเอล และชาวกิเบโอน ตามที่บันทึกอยู่ในข้อ 10-14 ผม ขอหยุดไว้สักนิด เพื่อจะมาตั้งข้อสังเกตุบางประการของเหตุการณ์ในครั้งนี้ และจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างไร

พระธรรมตอนนี้เตือนเราให้เห็นถึงความสำคัญของพันธสัญญา ตลอดทั้งสมัยพระคัมภีร์เก่าและใหม่ พระเจ้า ทรงปฏิบัติต่อมนุษย์ผ่านทางพันธสัญญา เมื่อพระเจ้าไว้ชีวิตโนอาห์และครอบครัว พระองค์ทรงทำพันธสัญญา กับพวกเขาด้วยรุ้งกินน้ำ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพันธสัญญา (ปฐก. 9:1-17) ต่อมาพระเจ้าทรงทำพันธสัญญา กับอับราฮัม ด้วยสัญลักษณ์ที่ติดตัว การเข้าสุหนัต (ปฐก. 12:1-3; 17:1-22) แล้วทรงทำพันธสัญญา กับชาว อิสราเอล ผ่านทางโมเสส ด้วยสัญลักษณ์ของวันสะบาโต (อพยพ 19-20; 31:12-17; เฉลยธรรมบัญญัติ 5) พระเจ้าทรงทำพันธสัญญากับดาวิด ว่าจะทำให้ราชวงศ์ของท่านเป็นราชวงศ์นิรันดร์ (2 ซามูเอล 7:12-17) และแน่นอน องค์พระเยซูคริสต์เป็นผู้กระทำพันธสัญญาใหม่ โดยการหลั่งพระโลหิตของพระองค์ (เยเรมีย์ 31:31-34; ลูกา 22:20; 1 โครินธ์ 11:25; 2 โครินธ์ 3:6; ฮีบรู 9:11-22) พระเจ้าทรงปฏิบัติต่อมนุษย์อย่าง มั่นคง และไม่เปลี่ยนแปลง ; พระองค์ปฏิบัติต่อเราตามพันธสัญญาที่ทรงให้ไว้

ดาวิดจัดการกับชาวกิเบโอนที่ปมของปัญหา มันเป็นเรื่องของการรักษาพันธสัญญา คนอิสราเอลเคยทำสัญญา ไว้กับคนกิเบโอนนาน 400 ปีมาแล้ว แต่เป็นพันธสัญญาที่ยังคงต้องยึดถือ ซาอูลละเมิดพันธสัญญานี้ เพราะ อยากได้แผ่นดินของพวกเขามาเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าท่านจะมีจุดประสงค์ดีอันใด แต่สัญญาก็ต้องเป็นสัญญา การละเมิดสัญญาจะนำมาซึ่งผลอันร้ายแรง ทำให้ซาอูลและลูกหลานของท่านต้องเสียชีวิต ทำให้มีการกันดาร อาหารเกิดขึ้นในแผ่นดินอิสราเอล ยังมีพันธสัญญาอื่นๆในทำนองเดียวกันนี้อีก ส่วนมากบันทึกอยู่ในพระคัมภีร์ มีคำเตือนของพระเจ้าสำหรับบรรดาผู้ที่ละเมิดพันธสัญญาโมเสสอยู่ในเฉลยธรรมบัญญัติ 28-30 นอกจากนี้ พันธสัญญาของดาวิดที่มีต่อโยนาธาน คงต้องรักษาไว้ เมฟีโบเชทจึงรอดพ้น ไม่ถูกส่งให้ชาวกิเบโอนไป

พระเจ้าปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยพันธสัญญา เวลาไม่ได้ทำให้พันธสัญญาหมดความหมาย สัญญาเป็นสิ่งที่ต้อง รักษา ถึงแม้มนุษย์จะไม่ยึดถือเป็นจริงเป็นจัง แต่พระเจ้าทรง พระองค์มีพระประสงค์ให้เรารักษาสัญญา :

4 ในสายตาของเขา คนถ่อยเป็นคนที่ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เขาให้เกียรติ
แก่ผู้ที่ยำเกรงพระเจ้า ถึงสาบานแล้ว และต้องเสียประโยชน์เขาก็ไม่กลับคำ
(สดุุดี 15:4)

ถึงแม้พันธสัญญานั้นทำไปเพราะความเขลา เช่นที่ชาวอิสราเอลถูกชาวกิเบโอนหลอก พระเจ้าทรงปรารถนา ให้เรารักษาสัญญา มีกี่ครั้งกัน ที่เราไปเป็นพยานให้กับคู่สมรส ที่หญิงชายเข้าสู่พันธสัญญาแห่งการแต่งงาน ไม่นานหลังจากนั้น ผ่ายใดผ่ายหนึ่ง (หรือทั้งสองฝ่าย) ตัดสินใจว่าการแต่งงานไม่ได้เป็นไปตามที่ฝันไว้ เพราะต่างคนต่างคาดหวังซึ่งกันและกัน พวกเขาจึงรู้สึกว่าน่าจะแยกจากกัน ไปตามทางของตนเองดีกว่า ถ้า พระเจ้าปรารถนาให้คนอิสราเอลรักษาสัญญาที่มีต่อคนกิเบโอน ถึงแม้จะถูกหลอกก็ตาม และเวลาผ่านไปแล้ว นานถึง 400 ปีมา คุณว่าพระเจ้าจะรู้สึกอย่างไร ที่พันธสัญญาแห่งการแต่งงานถูกละเมิด? เราคงไม่มีข้อ สงสัย:

13 และเจ้าได้กระทำอย่างนี้อีกด้วย คือเจ้าเอาน้ำตารดทั่วแท่นบูชาของพระเจ้า ด้วยเหตุเจ้าได้ร้องไห้คร่ำครวญเพราะพระเจ้าไม่สนพระทัยหรือรับเครื่องบูชาด้วย ชอบพระทัยจากมือของเจ้าอีกแล้ว 14 เจ้าถามว่า "เหตุใดพระองค์จึงไม่รับ" เพราะ ว่าพระเจ้าทรงเป็นพยานระหว่างเจ้ากับภรรยา คนที่เจ้าได้เมื่อหนุ่มนั้น แม้ว่านาง เป็นคู่เคียงของเจ้าและเป็นภรรยาของเจ้าตามพันธสัญญา เจ้าก็ทรยศต่อนาง
15 แต่ไม่มีสักคนหนึ่งที่มีสติจะกระทำอย่างนี้ ผู้มีสตินั้นย่อมประสงค์สิ่งใด ย่อม ประสงค์ลูกหลานที่เชื่อฟังพระเจ้า ดังนั้นจงระวังตัวให้ดี อย่าให้ผู้ใดทรยศต่อ ภรรยาคนที่ได้เมื่อหนุ่มนั้น 16 พระเยโฮวาห์พระเจ้าของอิสราเอลตรัสว่า "เพราะ ว่าเราเกลียดชังการหย่าร้าง และการที่ใครกระทำทารุณต่อภรรยาของตน" พระเจ้า จอมโยธาตรัสดังนี้แหละ เพราะฉะนั้น จงระวังตัวให้ดี อย่าเป็นคนทรยศ" "
(มาลาคี 2:13-16)

ขอบคุณพระเจ้า ที่พระองค์เป็นผู้ที่รักษาสัญญา ตลอดประวัติศาสตร์ของอิสราเอล ประชากรที่พระเจ้าเลือกไว้ คอแข็ง จิตใจกระด้างไม่ยอมเชื่อฟังพระเจ้า พระผู้ทรงช่วยให้เขาพ้นจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ เป็น การง่ายเพียงใด ที่พระองค์จะล้างมือ ไม่ขอมีส่วนเกี่ยวข้องกับชนชาติจอมกบฎเช่นนี้อีก แต่พระเจ้าทรงรักษา สัญญา ด้วยการให้เผชิญความทุกข์ เมื่อพวกเขาทำบาป (เช่นการกันดารอาหารในอิสราเอลในสมัยของดาวิด) แต่พระองค์ทรงประทานผู้ช่วยให้ เป็นผู้ที่รักษาบัญญัติของโมเสสอย่างครบถ้วน เป็นผู้ถือรักษาพันธสัญญา อับราฮัม และพันธสัญญาของดาวิด พระองค์ทรงตั้งพันธสัญญาใหม่ ที่ช่วยให้คนบาปทุกคน มีสิทธิได้รับ ความรอดโดยความเชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ และพระโลหิตของพระองค์ ที่ต้องหลั่งออกเพื่อลบบาปของ มนุษย์ทั้งหลาย

ผมประทับใจ ที่พระธรรมตอนนี้เล็งไปถึงพระกิตติคุณในหลายๆทาง ไม่เพียงแต่เตือนให้เราจำว่า พระเจ้าทรง มีสัมพันธภาพกับมนุษย์ผ่านทางพันธสัญญาเท่านั้น แต่ตรัสกับเราโดยเฉพาะเจาะจงในพันธสัญญาใหม่ด้วย บาปของซาอูลต้องถูกลบล้าง เพื่อจะได้มาซึ่งพระพร บาปของซาอูลทำให้เกิดภัยพิบัติในรูปของการกันดาร อาหารในแผ่นดิน เงินทองใช้ลบความบาปไม่ได้ นอกจากต้องมีโลหิตตก และการที่โลหิตตกนี้เอง จะเป็นการ ชดใช้ที่ทั้งพระเจ้าและชาวกิเบโอนพอใจ

มีบางคนคิดว่าพระกิตติคุณในพันธสัญญาใหม่นั้นกระหายเลือดเกินไป (จำได้หรือไม่ว่า "พระสัญญา" ของ พระเจ้าเป็นคำเดียวกับคำว่าพันธสัญญา) มีสิ่งอื่นใดอีกหรือที่จะลบล้างความผิดบาปได้? การพยายามทำดี ช่วยได้หรือ? ทรัพย์สมบัติที่เรามีอยู่ช่วยได้หรือ? มีเพียงการหลั่งโลหิตเท่านั้น ที่ลบล้างความผิดบาปได้ :

22 ความจริงนั้นตามพระบัญญัติถือว่า เกือบทุกสิ่งจะบริสุทธิ์เพราะโลหิต และถ้า ไม่มีโลหิตไหลออกแล้ว ก็จะไม่มีการอภัยบาปเลย (ฮีบรู 9:22).

มีโลหิตของเพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่ต้องหลั่งออกเพื่อช่วยเราให้รอดจากความบาป -- โลหิตขององค์พระ เยซูคริสต์ ที่บนไม้กางเขนบนเนินหัวกระโหลก:

7 ในพระเยซูนั้น เราได้รับการไถ่บาปโดยพระโลหิตของพระองค์ คือได้รับการ อภัยโทษบาปของเราโดยพระกรุณาอันอุดมของพระองค์ (เอเฟซัส 1:7).

13 แต่บัดนี้ในพระเยซูคริสต์ ท่านทั้งหลายซึ่งเมื่อก่อนอยู่ไกล ได้เข้ามาใกล้ โดยพระโลหิตของพระคริสต์ (เอเฟซัส 2:13)

19 เพราะว่าพระเจ้าทรงพอพระทัย ที่จะให้ความบริบูรณ์ทั้งสิ้นธำรงในพระองค์
20 และโดยพระองค์ ให้สิ่งสารพัดกลับคืนดีกับพระเจ้า ไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ในแผ่น ดินโลกหรือในสวรรค์ พระองค์ทรงทำให้มีสันติภาพด้วยพระโลหิตแห่งกางเขน
ของพระองค์ (โคโลสี 1:19-20)

11 แต่เมื่อพระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐ ซึ่งมาถึงแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน (ที่ไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือ คือไม่ใช่เต็นท์แห่งโลกนี้) 12 พระองค์เสด็จเข้าไปในวิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียว
เท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระ โลหิตของพระองค์เองเข้าไป และทรงสำเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์ 13 เพราะว่าถ้า เลือดแพะและเลือดวัวตัวผู้ และเถ้าของลูกโคตัวเมีย ที่ประพรมลงบนคนบาป สามารถชำระมนุษย์ให้บริสุทธิ์ได้ 14 พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ ผู้ได้ทรงถวาย พระองค์เองแด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ให้เป็นเครื่องบูชาอันปราศจาก
ตำหนิ ก็จะทรงชำระได้มากยิ่งกว่านั้นสักเพียงใด เพื่อให้จิตใจของคนที่หมกมุ่น ในการประพฤติที่นำไปสู่ความตาย หันไปรับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ (ฮีบรู 9:11-14)

17 และถ้าท่านอธิษฐานขอต่อพระองค์ เรียกพระองค์ว่า พระบิดาผู้ทรงพิพากษา ทุกคนตามการกระทำของเขา โดยไม่มีอคติ จงประพฤติตนด้วยความยำเกรง ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในโลกนี้ 18 ท่านรู้ว่าพระองค์ได้ทรงไถ่ท่านทั้งหลายออกจาก การประพฤติอันหาสาระมิได้ ซึ่งท่านได้รับต่อจากบรรพบุรุษของท่าน มิใช่ไถ่ไว้ด้วย สิ่งที่เสื่อมสลายได้ เช่นเงินและทอง 19 แต่ทรงไถ่ด้วยพระโลหิตประเสริฐของพระ
คริสต์ ดังเลือดลูกแกะที่ปราศจากตำหนิหรือจุดด่าง (1 เปโตร 1:17-18)

มีพระคำข้อหนึ่งในหนังสือวิวรณ์ ทีทำให้ผมรู้สึกทึ่งตลอดเวลา :

20 บ่อย่ำองุ่นถูกย่ำ ภายนอกเมือง และโลหิตไหลออกจากบ่อย่ำองุ่นนั้น สูงถึงบังเหียนม้าไหลนองไปประมาณ สามร้อยกิโลเมตร (วิวรณ์ 14:20)

พระคำข้อนี้อธิบายถึงภาพการไหลของพระอาชญาของพระเจ้า ที่มีต่อบรรดาผู้ที่ปฏิเสธองค์พระเยซูคริสต์ ต่อต้านพระองค์ เหตุใดจึงพูดถึงพระอาชญาของพระเจ้าด้วยคำพูดที่ฟังดูออกจะนองเลือด? โลหิตที่ไหล ออกมา สูงถึงบังเหียนม้า -- และยาวไปไกลถึง 300 กิโลเมตร ฟังดูเหลือเชื่อ! พูดเกินจริงไปหรือเปล่า? หรือเป็นเพียงการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ? ผมเองก็ไม่แน่ใจ แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่า คนบาปนั้น อยู่ใน สภาพน่าเวทนาเพียงใด และผลของความบาปนั้นรุนแรงขนาดไหน ต้องหลั่งโลหิตไปจำนวนมากแค่ไหนกัน ถึงจะเพียงพอกับความบาปของโลกนี้? มีไม่พอครับ การหลั่งโลหิตขององค์พระเยซูคริสต์ โลหิตที่หาค่ามิได้ นั้นเพียงพอ ท่านมีส่วนได้รับการหลั่งพระโลหิตนี้ เพื่อจะได้รับการอภัยแล้วหรือยัง?

เรื่องราวของซาอูล ดาวิด และชาวกิเบโอนสอนเรามากมาย ไม่เพียงแต่เตือนให้เรารู้ว่า ความบาปต้องได้รับ การชดใช้ด้วยการหลั่งโลหิต และวันที่ต้องชดใช้ความบาป จะมาถึงวันหนึ่งข้างหน้า ผมไม่แน่ใจว่าทำไมพระ เจ้าจึงให้เกิดการกันดารอาหารหลังจากที่ซาอูลและบุตรชายสิ้นชีวิตไปแล้ว แต่ผมประทับใจที่ความบาปนี้ ไม่ได้ถูกมองข้าม ในเวลาอันควรของพระเจ้า พระองค์จะจัดการกับความบาป เหมือนกับที่พระองค์ทรงทำ ต่อบาปทุกบาป บางคนคิดว่า ถ้าพระเจ้าไม่ได้ลงมือในทันที พระองค์จะไม่ทำ แต่พวกเขาลืมไปว่า การที่ พระเจ้าเลื่อนเวลาออกไปนั้น เป็นการสำแดงพระคุณของพระองค์ แต่ไม่ใช่เป็นการทำให้มนุษย์หลงผิด คิด ทำบาปอย่างไม่เกรงกลัวพระอาชญา (ดู 2เปโตร 3:1-13)

ชาวกิเบโอนเป็นเหมือนภาพเงาของพระคุณแห่งการช่วยกู้ ที่มีไปถึงคนต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ ความรอดนิรันดร์ของพระเจ้า ชาวกิเบโอนเป็นคนบาป สมควรแก่พระอาชญา แต่เป็นเพราะความเขลาของ อิสราเอล (ถ้าไม่ใช่บาป) ทำให้เกิดพันธสัญญาขึ้นกับชาวกิเบโอน คนบาปกิเบโอนเหล่านี้ ได้รับการช่วยกู้ เพราะความเขลาของอิสราเอล และอย่างน่ามหัศจรรย์ โดยทางคนต่างชาติอย่างกิเบโอน ที่อิสราเอลจะได้ กลับคืนสู่พระพรของพระเจ้าอีกครั้ง นี่เป็นภาพเล็งถึงการที่พระเจ้านำความรอดไปสู่คนต่างชาติ ใช่หรือไม่? และโดยคนต่างชาติเหล่านี้ จะเป็นผู้นำพระพรกลับคืนสู่ชาวยิว? ผมอยากให้คุณอ่านพระธรรมโรม 9-11 เพื่อจะดูว่า อ.เปาโลพูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร

เมื่อคนอิสราเอลรู้ตัวว่าถูกคนกิเบโอนหลอก พวกเขาโกรธมาก พวกเขาไม่สามารถฆ่าชาวกิเบโอนได้ เพราะ พันธสัญญาที่พึ่งทำไปเป็นตัวต้นเหตุ แต่อิสราเอลสามารถ "สาปแช่ง" พวกกิเบโอนได้ โดยการให้ไปเป็นทาส ให้คอยตัดไม้ หาฟืน และหาบน้ำ "คำสาป" นี้เป็นคำสาปจริงหรือ? ไม่เชิงครับ ที่จริงเป็นพระพรมหาศาล คน กิเบโอนมีสิทธิพิเศษ เพราะมีส่วนรับใช้ในการนมัสการร่วมกับประชากรของพระเจ้า ด้วยการตัดฟืนสำหรับใช้ที่ แท่นเผาบูชา และหาบน้ำสำหรับใช้ที่ในพลับพลา ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยครับ ว่าชาวกิเบโอนเหล่านี้ เมื่อ 400 ปีผ่านไป จะมีจิตสำนึกถึงพระประสงค์ของพระเจ้า ถึงเรื่องผิดถูก และแก้ใขให้ถูกต้องยุติธรรม ทำให้ผมนึกถึง พระธรรมสดุดีข้อที่กล่าวว่า

10 เพราะวันเดียวในบริเวณพระนิเวศของพระองค์ ดีกว่าพันวันในที่อื่น ข้าพเจ้าจะเป็น คนเฝ้าประตูพระนิเวศ ของพระเจ้าของข้าพเจ้า ดีกว่าอยู่ในเต็นท์ของความอธรรม
(สดุดี 84:10)

พระเจ้าทรงสำแดงพระคุณมากมายให้กับชาวต่างชาติเหล่านี้ และโดยทางชาวต่างชาตินี้เอง ที่เป็นผู้นำ พระพรคืนสู่ชาวอิสราเอล

นางริสปาห์ -- ดาวิดทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับนาง
(21:10-14)

10 แล้วนางริสปาห์บุตรีของอัยยาห์ก็เอาผ้ากระสอบ ปูไว้บนก้อนหินสำหรับตนเอง ตั้งแต่ต้นฤดูเกี่ยวจนฝนจากท้องฟ้าตกบนเขาทั้งหลาย กลางวันนางก็ไม่ยอมให้นก มาเกาะหรือกลางคืนก็ ไม่ให้สัตว์ป่าทุ่งมา 11 เมื่อเขากราบทูลดาวิดว่านางริสปาห์
บุตรีของอัยยาห์ นางสนมของซาอูลกระทำอย่างไร 12 ดาวิดก็เสด็จไปนำอัฐิของซาอูล
และของ โยนาธานราชโอรสมาจากเมืองยาเบชกิเลอาด จากผู้ที่ลักลอบเอาไปจากลาน เมืองเบธชาน ที่คนฟีลิสเตียได้แขวนพระองค์ทั้งสองไว้ ในวันที่คนฟีลิสเตียประหารซาอูล บนเขากิลโบอา 13 พระองค์ทรงนำอัฐิของซาอูลและของโยนาธาน ราชโอรสขึ้นมาจาก
ที่นั่น และรวบรวมกระดูกของผู้ที่ถูกแขวนไว้ให้ตายนั้น 14 และเขาก็ฝังอัฐิของซาอูลและ ของโยนาธานราชโอรส ไว้ในแผ่นดินของเบนยามินในเมืองเศลาในอุโมงค์ของ คีชบิดา
ของพระองค์ เขาทั้งหลายก็กระทำตามทุกอย่างที่พระราชาทรงสั่งไว้ ครั้นต่อมาพระเจ้า ก็ทรงสดับฟังคำอธิษฐานเพื่อแผ่นดินนั้น อาบีชัยช่วยดาวิดให้พ้นจากคนยักษ์

คุณกับผมคงเห็นพ้องต้องกันว่า นี่เป็นเรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่ง แปลกกว่าเรื่องการแขวนคอบรรดา "ลูกหลาน" ของซาอูลเสียอีก เหตุใดผู้เขียนพระธรรมซามูเอลจึงบันทึกเรื่องราวนี้ไว้? มีจุดประสงค์ใด? ลองสังเกตุตามผม นะครับ ประการแรกเลย เรื่องนี้ต่อเนื่องและจบลงนับจากข้อ 1-9 เป็นเรื่องการประหารบุตรหลานของซาอูล ซึ่ง เป็นเหตุที่ทำให้นางริสปาห์เป็นเช่นนี้ และต่อมาดาวิดได้ลงมือทำบางอย่าง และจนกระทั่งการฝังอัฐิของซาอูล และบุตรของท่านสิ้นสุดลง การกันดารอาหารจึงจบสิ้น (ข้อ 14) เราต้องพยายามเข้าใจเรื่องนี้จากบริบทที่เรา ได้อ่านมา และจากเนื่อหาของพระธรรมบทนี้ทั้งบท

ริสปาห์ เป็นนางสนมของซาอูล ที่ต้องสูญเสียบุตรชายสองคนไปให้ชาวกิเบโอนแขวนคอ ศพของบุตรชายทั้ง สองไม่ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปไหน อย่างที่ต้องทำ (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 21:22-23) ขณะที่ผมอ่านพระคัมภีร์เดิม ผมพบข้อความที่น่าสนใจนี้เข้า :

"ซากศพของท่านทั้งหลายจะเป็นอาหาร ของนกในอากาศ และสำหรับสัตว์ป่า ในโลก และไม่มีผู้ใดขับไล่ฝูงสัตว์เหล่านั้นไป (เฉลยธรรมบัญญัติ 28:26)

พระธรรมตอนนี้บอกเราว่า สิ่งที่นางริสปาห์ทำไม่ใช่เรื่องประหลาดแต่อย่างใด แม่คนใดเล่าอยากให้นกมาจิกกิน ซากศพของลูก? ในเมื่อไม่มีการนำศพลูกหลานของซาอูลไปฝัง แม่คนนี้จึงตั้งใจจะคอยเฝ้าระวัง นางนั่งอยู่ไม่ ไกล เพื่อจะคอยไล่นกและฝูงสัตว์ที่จะมากินซากศพ เมื่อดาวิดได้ยินเรื่องนี้ เรื่องการกระทำของนางริสปาห์ ท่าน จึงตัดสินใจทำบางอย่าง ทั้งเจ็ดศพนี้เป็นลูกหลานของซาอูล ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปฝังอย่างถูกต้อง ดาวิดจำ ได้อีกว่า ซาอูลเองและบุตรชายทั้งสาม99 ก็ยังไม่ได้ถูกนำไปฝังอย่างถูกต้องด้วย

เราคงจำกันได้ว่า ดาวิดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝังศพอย่างรีบเร่งของซาอูลและบุตรก่อนหน้านี้ ตามที่บันทึก อยู่ใน 1 ซามูเอล 31 เพราะดาวิดอยู่ที่ศิกลากเมื่อตอนซาอูลตาย ชาวฟิลิสเตียนำศพของท่านและบุตรชาย ไปแขวนไว้ที่กำแพงเมืองเบธชาน ชายกล้าจากยาเบช-กิเลอาด เดินทางทั้งคืน เพื่อไปนำร่างของท่านมาเผา และนำอัฐิไปฝังไว้ที่ใต้ต้นสนหมอกในยาเบช (31:11-13) ชายกล้าชาวยาเบชเป็นผู้กระทำการนี้ทั้งหมด เพราะ ดาวิดไม่ได้อยู่ที่นั่น ดังนั้นอัฐิของซาอูลและบุตรของท่านยังไม่ได้ถูกฝังตามประเพณี ถึงแม้จะมีคนนำศพมาให้ พ้นจากความอุจาดที่พวกฟิลิสเตียทำไว้ก็ตาม

ดาวิดมีเหตุผลพอที่จะทำเรื่องนี้ให้่ถูกต้อง ไม่มีการนำศพหรืออัฐิของลูกหลานทั้งเจ็ดของดาวิดไปฝังให้ถูก ต้องตามประเพณี นางริสปาห์จึงทำสิ่งที่เธอกระทำอยู่ เรื่องนี้คง "ไม่ยุิติลงง่ายๆ" จนกว่าบุตรชายทั้งเจ็ดนี้ จะถูกฝังให้ถูกต้อง เมื่อคิดถึงเรื่องนี้ ดาวิดจึงมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะทำการฝังอัฐิของซาอูลและบุตรชายไป พร้อมๆกัน เพื่อจะให้เรื่องนี้ "ยุิติลง" ดาวิดจัดการให้ใมีการนำอัฐิของซาอูลและบุตรชายทั้งสาม รวมทั้งลูก หลานทั้งเจ็ดคน ไปยังที่ฝังศพของบิดาของซาอูล และฝังไว้ด้วยกัน เมื่อฝังเรียบร้อยแล้ว เรื่องนี้จะได้จบลง

ผมคิดว่ายังมีเหตุผลอื่นอีกสำหรับเรื่องนี้ เราเห็นชัดถึงความเกี่ยวข้องกัน ระหว่างเรื่องชาวกิเบโอนประหารลูก หลานทั้งเจ็ดของซาอูล การกระทำของนางริสปาห์ และการกระทำของดาวิด ผมคิดว่ามันไม่ใช่แค่เกี่ยวข้อง กันธรรมดาๆ ที่มีการนำอัฐิของซาอูลและบุตรทั้งหลาย มาฝังให้ถูกต้องตามประเพณี ลูกหลานทั้งเจ็ดนี้ มีส่วน คล้ายกับบุตรทั้งสามของซาอูลอย่างไร? - ทั้งหมดเป็นผู้สืบสายโลหิตของซาอูล และทั้งหมดถูก "แขวนคอ" เหมือนกัน ทำให้้ผมคิดว่า เป็นเพราะเหตุนี้ ดาวิดจึงมองเห็นความเกี่ยวข้องกัน ระหว่างซาอูลกับบุตรทั้งสาม และลูกหลานทั้งเจ็ดของท่าน บัดนี้เมื่อคนทั้งเจ็ดถูกฆ่าแขวนคอประจาน โทษฐานทำลายล้างเผ่าพันธ์กิเบโอน การตายก่อนหน้านี้ และการตายครั้งนี้ จึงเป็นการชดใช้บาปในแบบเดียวกัน ใช่หรือไม่? เมื่อดาวิดนำอัฐิและศพ ของคนทั้งหมดมาผังไว้ที่ฝังศพของบิดาซาอูล ท่านไม่เพียงแต่ทำให้ถูกต้องตามธรรมเนียมเท่านั้น แต่ท่านรวม เป็นบาปเดียวกัน และเป็นการพิพากษาเดียวกัน นี่คือเหตุผลที่ผู้เขียนให้ความสำคัญกับการกระทำของนาง ริสปาห์ และการกระทำของดาวิด อย่างน้อยก็ทำให้เห็นว่าเรื่องนี้จบสิ้นเสียที ไม่มีค้างคา

มีความจริงอีกข้อที่เราควรสังเกตุ ประโยคสุดท้ายของข้อ 14 ที่ค่อนข้างสำคัญ : "ครั้นต่อมาพระเจ้าก็ทรง สดับฟังคำอธิษฐานเพื่อแผ่นดินนั้น" เราคงคาดกันว่าคำพูดควรจะเป็น: "และพระเจ้าทรงนำการกันดาร อาหารที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาสามปีนั้น ออกไปเสียจากแผ่นดิน" แต่เรากลับเห็นว่า พระเจ้าทรงทราบแล้วว่ามีการ ชดใช้บาป และอีกครั้งพระองค์ทรงฟังคำอธิษฐานของประชากร ที่ร้องขอให้พระองค์เลิกลงโทษแผ่นดินนี้เสียที ความหมายคือ ประชาชนคงทูลวิงวอนขอ ให้พระเจ้ายุติการกันดารอาหารที่เกิดมาสามปีแล้วเสีย แต่ที่พระเจ้าไม่ ทำ เป็นเพราะความบาปของซาอูลและราชวงศ์นองเลือดของท่าน และบัดนี้เมื่อมีการชดใช้บาปแล้ว พระเจ้าจะ ทรงสดับคำอธิษฐานจากประชากรของพระองค์อีกครั้ง พระเจ้าทรงครอบครอง แต่บ่อยครั้งพระองค์ทรงกระทำ การด้วยวิธีที่พระองค์กำหนดเอาไว้ และวิธีสำหรับเรื่องนี้คือคำอธิษฐานจากประชากรของพระองค์ ให้มาดูว่า หลายปีหลังจากนั้น กษัตริย์ซาโลมอนกล่าวว่าอย่างไร :

26 "เมื่อฟ้าสวรรค์ปิดอยู่ และไม่มีฝน เพราะเขาทั้งหลายได้กระทำบาปต่อพระองค์ ถ้าเขาทั้งหลายได้อธิษฐานต่อสถานที่นี้ และยอมรับพระนามของพระองค์ และหันกลับ เสียจากบาปของเขาทั้งหลาย เมื่อพระองค์ทรงให้ใจเขาทั้งหลายรับความทุกข์ใจ
27 ก็ขอพระองค์ทรงสดับในฟ้าสวรรค์ และขอประทานอภัยแก่บาปของผู้รับใช้ของ
พระองค์ และของอิสราเอลประชากรของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงสอนทางดีแก่เขา ซึ่งเขาควรจะดำเนิน และขอทรงประทานฝนบนแผ่นดินของพระองค์ ซึ่งพระองค์พระ ราชทานแก่ประชากรของพระองค์เป็นมรดกนั้น 28 "ถ้ามีการกันดารอาหารในแผ่นดิน
ถ้ามีโรคระบาด ข้าวม้าน รากินข้าว หรือตั๊กแตนวัยบิน หรือตั๊กแตนวัยคลาน หรือ ศัตรูของเขาทั้งหลายล้อมเมืองของเขาไว้รอบด้าน จะเป็นภัยพิบัติอย่างใด หรือความ เจ็บอย่างใดมีขึ้นก็ดี 29 ไม่ว่าคำอธิษฐานอย่างใด หรือคำวิงวอนประการใด ซึ่งประ
ชาชนคนใด หรืออิสราเอลประชากรของพระองค์ทั้งสิ้นทูล ต่างก็ประจักษ์ในภัยพิบัติ และความทุกข์ใจของเขา และได้กางมือของเขาสู่พระนิเวศนี้ 30 ขอพระองค์ทรงสดับ ในฟ้าสวรรค์อันเป็นที่ประทับของพระองค์ และพระราชทานอภัย และทรงประทานแก่
ทุกคน ซึ่งพระองค์ทรงทราบจิตใจตามการประพฤติทั้งสิ้นของเขา (เพราะพระองค์ คือ พระองค์เท่านั้นที่ทรงทราบจิตใจ ของมนุษยชาติทั้งสิ้น) 31 เพื่อว่าเขาทั้งหลายจะได้
ยำเกรง พระองค์ และดำเนินในมรรคาของพระองค์ตลอดวันเวลา ที่เขามีชีวิตอาศัยใน
แผ่นดิน ซึ่งพระองค์พระราชทานแก่บรรพบุรุษของข้าพระองค์ทั้งหลาย"
(2 พงศาวดาร 6:26-31)

พระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐาน ในกรณีนี้ ผู้เขียนพระธรรม 2 ซามูเอล ต้องการเน้นให้เห็นความจริงที่ว่า พระเจ้า ทรงยุติการกันดารอาหาร เพราะพระองค์ทรงสดับฟังคำอธิษฐานของประชากร เพราะความบาปที่กั้นขวางอยู่ ได้ถูกกำจัดไปแล้ว อย่าให้เราหลงประเด็นที่ผู้เขียนพยายามย้ำให้เห็นความสำคัญ : ความบาปเ็ป็นตัวการ ขวางกั้นคำอธิษฐาน แต่เมื่อความบาปได้รับการแก้ใข พระเจ้าจะทรงสดับคำอธิษฐานของเรา ขออย่าให้เรา มองข้ามความสำคัญ ของการอธิษฐาน

สงครามกับฟิลิสเตียอีก และมีโกลิอัทอีก (แล้ว)
(21:15-22)

15 คนฟีลิสเตียได้ทำสงครามกับคนอิสราเอลอีก ดาวิดก็ลงไปพร้อมกับบรรดา ข้าราชการของพระองค์ และได้สู้รบกับคนฟีลิสเตีย และดาวิดก็ทรงอ่อนเพลีย
16 อิชบีเบโนบคนหนึ่งในพงศ์พันธุ์ของคนยักษ์ ถือหอกทองสัมฤทธิ์หนักสาม
ร้อยเชเขล มีดาบใหม่คาดเอว คิดจะสังหารดาวิดเสีย 17 แต่อาบีชัยบุตร นาง เศรุยาห์เข้ามาช่วยพระองค์ไว้ และสู้รบกับคนฟีลิสเตียคนนั้นฆ่าเขาเสีย แล้ว บรรดาประชาชนของดาวิดก็ทูลวิงวอน พระองค์ด้วยการสาบานว่า "ขอฝ่าพระ บาทอย่าเสด็จไปทำศึกพร้อมกับพวก ข้าพระบาททั้งหลายอีกต่อไปเลย เกรง ว่าฝ่าพระบาทจะดับประทีปของอิสราเอลเสีย" 18 อยู่มาภายหลังนี้ มีการรบกับ คนฟีลิสเตียที่เมืองโกบ คราวนั้นสิบเบคัยตระกูลหุชาห์ได้ฆ่าสัฟคนหนึ่งในพงศ์
พันธุ์ของคนยักษ์ 19 และมีการรบกับคนฟีลิสเตียที่เมืองโกบอีก เอลฮานันบุตร
ยาอาเรโอเรกิม ชาวเบธเลเฮมได้ฆ่าโกลิอัท ชาวกัทผู้มีหอกที่มีด้ามโตเท่าไม้
กระพั่นทอผ้า 20 มีการรบกันอีกที่เมืองกัท อันเป็นเมืองที่มีชายคนหนึ่งรูปร่าง
ใหญ่โต มีนิ้วมือข้างละหกนิ้ว และนิ้วเท้าข้างละหกนิ้ว รวมกันยี่สิบสี่นิ้ว เขา ก็สืบเนื่องมาจากพวกคนยักษ์ด้วย 21 เมื่อเขาท้าทายอิสราเอล โยนาธานบุตร ของชิเมอีเชษฐาของดาวิดก็ สังหารเขาเสีย 22 คนทั้งสี่นี้สืบเนื่องมาจากคนยักษ์
ในเมืองกัท เขาทั้งหลายล้มตายด้วยพระหัตถ์ของดาวิด และด้วยมือของข้าราช
การของพระองค ์100

เรื่องเริ่มแปลกประหลาดขึ้นเรื่อยๆเมื่อบทที่ 21 ใกล้จะจบลง ประการแรก บาปของคนที่ตายไปแล้ว และวงศ์ วานของเขา มีผลทำให้ลูกหลานต้องตายเพิ่มไปอีกเจ็ดคน เมื่อคนทั้งเจ็ดนี้ถูกประหาร ร่างของพวกเขาถูกทิ้ง ไว้ประจาน ทำให้ผู้เป็นมารดาต้องมานั่งเฝ้าศพ เพื่อกันไม่ให้นกหรือสัตว์มากัดกิน ดาวิดจึงไปขุดเอาอัฐิของ ซาอูลและบุตรมา นำมาฝังรวมไว้กับศพทั้งเจ็ดนี้ ที่ในอุโมงค์ฝังศพของบิดาซาอูล และที่ทำให้วุ่นไปอีก คือเกิดสงครามขึ้นกับชาวฟิลิสเตีย สงครามครั้งนี้ลูกหลานยักษ์ของโกลิอัทออกมารบเต็มไปหมด ซึ่งเป็น เหตุการณ์ที่ทั้งน่าหวาดหวั่นและน่าสะพรึงกลัว

อีกครั้ง ที่เราไม่รู้ว่าสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด เรารู้แต่เพียงว่าพวกฟิลิสเตียยกทัพมาโจมตีอิสราเอล และดาวิดนำกองทัพออกไปต่อสู้ ในระหว่างการสู้รบ ดาวิดอ่อนกำลังลง อิชบีเบโนบ ทหารคนหนึ่งของฟิลิส เตีย เห็นว่าดาวิดกำลังจะเพลี่ยงพล้ำ จึงถือโอกาสเข้ามาหมายจะสังหาร ทหารคนนี้เป็นหนึ่งในลูกหลานของ ยักษ์โกลิอัท ใช้อาวุธแบบเดียวกัน นอกจากหอกแล้ว ยังมีดาบใหม่คาดเอว ซึ่งเขาหมายจะประเดิมดาบใหม่นี้ ดื่มเลือดกษัตริย์อิสราเอลเป็นคนแรก

คนที่เข้ามาช่วยเหลือดาวิดไม่ใช่ใครอื่น อาบีชัยพี่ชายคนโตของโยอาบและของอาสาเฮลที่สิ้นชีพไปแล้วนั่น เอง ทั้งสามเป็นบุตรของนางเศรุยาห์ พี่สาวของดาวิด (2 ซามูเอล 2:18) คนนี้เป็นคนเดียวกับที่เคยติดตาม ดาวิดไปที่ค่ายของซาอูล และต้องการจะปลิดชีพซาอูล (1 ซามูเอล 26:6-8) เขามีส่วนในการช่วยโยอาบ สังหารอับเนอร์ (2 ซามูเอล 3:30) อาบีชัย บางครั้งจะได้รับแต่งตั้งให้คุมกองกำลังของดาวิด (2 ซามูเอล 10:10; 18:2) เขาเป็นคนที่อยากฆ่าชิเมอีถึงสองครั้ง ที่บังอาจพูดจาลบหลู่ดาวิด ขณะที่อพยพหนีอับซาโลม ออกมาจากเยรูซาเล็ม (2 ซามูเอล 16:9-12; 19:21-22) เขาเป็นผู้นำนักรบกล้าสามสิบคน ออกต่อสู้กับศัตรู สามร้อยคนในสงคราม และสามารถฆ่าศัตรูทั้งหมดตายสิ้นด้วยคมดาบ ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษของ อิสราเอล (2 ซามูเอล 23:18) ถึงแม้ดาวิดจำต้องอดทนกับอาบีชัย -- ไม่พอใจการกระทำบางอย่าง -- แต่ ท่านก็เป็นหนี้ชีวิตอาบีชัย

เหตุการณ์ครั้งนี้นำมาซึ่งความยุ่งยากลำบากใจ ทั้งกับคนในกองทัพและกับดาวิดเอง พวกเขาเกือบจะสูญเสีย กษัตริย์ไปในสงคราม ทุกครั้งที่ดาวิดออกไปรบ ท่านจะเป็นผู้นำกองทัพเอง ท่านจึงเป็นเป้าหมายแลขหนึ่ง ของพวกศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทหารกล้าของฝ่ายตรงข้าม (ดู 1 พกษ. 22:29-33) การสูญเสียชีวิต ทหารไปในสงครามเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การสูญเสียกษัตริย์ไปในสงครามเป็นคนละเรื่องจริงๆ อาบีชัยช่วยชีวิต ดาวิดไว้ได้ในครั้งนี้ แล้วครั้งต่อๆไปเล่า? ดาวิดเลยจุดสูงสุดของหน้าที่นี้ไปแล้ว ; ท่านไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คนของท่านไม่อยากสูญเสียกษัตริย์อย่างท่านไป พวกเขาจึงขอร้องไม่ให้ท่านออกไปทำสงครามอีก

ย่อหน้าต่อไป ข้อ 18-22 ต่อเนื่องกันไปกับข้อ 15-17 สงครามกับพวกฟิลิสเตียครั้งก่อน ดาวิดถูกลูกหลาน ของโกลิอัทเล่นงาน และเกือบถูกฆ่าตาย จึงมีการตัดสินใจกันว่า ดาวิดไม่ต้องออกไปสู้ศึกอีกต่อไป แต่ว่า พวกเขาจะชนะหรือ ถ้าไม่มีดาวิดผู้ฆ่ายักษ์ไปด้วย? ดาวิดนั้นมีความสำคัญ ต่อชัยชนะเหนือฟิลิสเตียหรือ? เรามีคำตอบอยู่ในข้อ 18-22 ในสงครามครั้งต่อๆมา101 ลูกหลานของโกลิอัทมาปรากฎตัวขึ้น และก็ถูกฆ่า มีสัฟที่ถูกสิบเบคัยตระกูลหุชัยฆ่าตาย (ข้อ 18) และก็มีสงครามที่เมืองโกบ เอลฮานันบุตรของยาอาเรโอเรกิม ชาวเบทเลเฮม ฆ่าโกลิอัทชาวกัทตาย102 (ข้อ 19)

ลูกหลานยุคสุดท้ายของ "โกลิอัท" ที่ยังมีชีวิตอยู่ แน่นอนต้องขย่มขวัญคู่ต่อสู้พอสมควร ด้วยขนาดและพละ กำลัง ลองนึกถึงภาพที่คุณต้องเตะลูกโทษหน้าประตูผ่านแถวคนยืนป้องกัน คุณกำลังตั้งสมาธิ รวบรวมสติ พร้อมที่จะเตะลูกออกไป คุณมองไปที่คู่ต่อสู้ เห็นมือ เห็นนิ้วที่สะดุดตา คุณพยายามนับ หนึ่ง....สอง.... สาม....สี่.....ห้า...........หก หกจริงๆหรือ? เพื่อให้แน่ใจคุณมองไปที่มืออีกข้าง แล้วเลยไปที่เท้า มันไม่ได้ แค่ใหญ่ผิดมนุษย์มนา แต่มันมีมากกว่า! จะอย่างไรก็ตาม โยนาธานบุตรชิเมอี พี่ชายของดาวิดได้สังหารยักษ์ พวกนี้ พร้อมกับทหารคนอื่นๆในกองทัพ ยักษ์พวกนี้ล้มตายลงสิ้น ไม่ว่าจะด้วยฝีมือของดาวิด หรือทหารใน กองทัพก็ตาม ทั้งหมดก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพของอิสราเอล

บทสรุป

เหตุใดจึงมีการบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีการบอกเล่าถึงลำดับเวลา และในตอนใกล้ จบของพระธรรม 2 ซามูเอล ?103 ผมขอตั้งข้อสังเกตุสักสองสามประการ และดูว่าควรจะนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างไร

แรก พระธรรมตอนนี้เตือนให้เรานึกถึงพระวจนะที่บันทึกอยู่ในพระธรรมมัทธิว :

21 "ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ถ้าผู้ใดฆ่าคน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ 22 เราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดโกรธพี่น้องของตน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ ถ้าผู้ใดจะพูดกับพี่น้อง 'อ้ายโง่' ผู้นั้นต้องถูกนำไป ที่ศาลสูงให้พิพากษาลงโทษและผู้ใดจะว่า 'อ้ายบ้า' ผู้นั้นจะมีโทษถึงไฟนรก 23
เหตุฉะนั้นถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และระลึกขึ้นได้ว่า พี่น้องมีเหตุ ขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่าน 24 จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่นบูชา กลับไปคืนดี กับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาถวายเครื่องบูชาของท่าน 25 จงปรองดองกับ คู่ความโดยเร็วในขณะที่พากันไปศาล เกลือกว่าคู่ความนั้นจะอายัดท่านไว้กับผู้พิพาก
ษา แล้วผู้พิพากษาจะมอบท่านไว้กับผู้คุม และท่านจะต้องถูกขังไว้ในเรือนจำ 26 เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ท่านจะออกจากที่นั่นไม่ได้จนกว่าจะได้ใช้หนี้จนครบ
(มัทธิว 5:21-26)

ผมต้องขอสารภาพว่าไม่ได้ให้ความสนใจกับพระธรรมตอนนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตอนที่เรากำลังศึกษาอยู่ จนกระทั่งพี่น้องคนหนึ่งแสดงความคิดเห็น ผมจึงนึกขึ้นได้ แน่นอนการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้า โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องความชังและการฆ่าคน เป็นสิ่งที่ดีเลิศ แต่ขอข้ามเรื่องนี้ไปก่อน ประเด็นที่ผมจะพูดนี้ เกี่ยวกับเรื่องความเกลียดชัง และการนมัสการของเรา องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนเรา ให้คืนดีกับคนอื่นก่อน แล้วจึงค่อยไปนมัสการพระองค์ พระธรรม 2 ซามูเอลที่เราเรียนอยู่ พูดในสิ่งเดียวกันด้วย จนกว่าความผิด ที่ซาอูลและวงศ์วานของเขา ที่ทำต่อชาวกิเบโอนได้รับการชดใช้ พระเจ้าจะไม่ทรงอำนวยพระพรให้กับ แผ่นดิน (จึงเกิดการกันดารอาหารขึ้น) แต่เมื่อมีการแก้ใข พระพรของพระเจ้าจึงกลับคืนมาอีกครั้ง พระเจ้า ทรงรับฟังคำอธิษฐานของประชากรของพระองค์ และทรงยุติการกันดารอาหาร

ประการที่สอง ผมต้องจำให้ได้ว่าผู้เขียนพระธรรมเล่มนี้ มีความเชี่ยวชาญมาก เป็นผู้มีความสามารถ พิเศษในงานที่เขาได้รับมอบหมายให้ทำ ถ้าผมงงในสิ่งที่ผมอ่าน ไม่ใช่เป็นเพราะผู้เขียนผิดพลาด แต่ เป็นเพราะผมขาดความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด -- และเป็นการถ่ายทอดที่ยอดเยี่ยมด้วย ผู้เขียนไม่ได้จัดเรียงเรื่องลำดับเวลาสำหรับพระธรรมตอนนี้ แต่ค่อยๆนำเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด ดังนั้น ผมต้องตั้งใจศึกษาพระธรรมตอนนี้ให้ดี เพื่อจะเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการถ่ายทอดสิ่งใด

ประการที่สาม ผมเห็นเรื่องการเน้นความสำคัญของผู้คนในรุ่นต่อมา ซาอูลจบตอนไปแล้ว รวมทั้งบรรดา ลูกหลานของท่านด้วย ลูกหลานเหล่านี้เป็นอันตรายต่อบัลลังก์ของซาโลมอนบุตรของดาวิด แต่พระเจ้าทรง เตรียมการ กำจัดคนพวกนี้ออกไปเสีย ส่วนดาวิดเริ่มเกษียณตนเองออกจากหน้าที่ทางทหารแล้ว และอีกไม่นาน จากหน้าที่กษัตริย์ของอิสราเอล เพื่อเปิดทางให้ซาโลมอนผู้เป็นบุตร นางริสปาห์ ทำหน้าที่อย่างดี ในการดูแล ศพของบุตรชาย ปกป้องร่างของพวกเขา จากนกและฝูงสัตว์ที่จะมากัดกิน และโกลิอัท ถึงแม้จะตายไปตั้งนาน แล้ว ก็ยังมีผู้สืบเชื้อสาย ที่ดำเนินรอยตามอีกหลายคน ดูเหมือนเรากำลังเดินหน้า ออกจากยุคหนึ่ง ไปยังอีก ยุคหนึ่ง

ประการที่สี่ เรารู้สึกได้ว่าเรื่องราวกำลังจะจบลงในบทนี้ ถ้าคิดดูดีๆ บทนี้เป็นบทส่งท้ายอาชีพทางทหาร ของดาวิด แต่ยังไม่ใช่บทส่งท้ายในฐานะกษัตริย์อิสราเอล ชีวิตราชการทหารของท่านจบลงแล้ว ดาวิดจะไม่ ออกไปร่วมรบกับกองทัพอีก (ข้อ 17) ดาวิดเริ่มต้นอาชีพทหารของท่าน ถ้าเรายังจำได้ เมื่อตอนออกไปสู้กับ โกลิอัท และนำชัยชนะเหนือฟิลิสเตียมาสู่อิสราเอล (1 ซามูเอล 17) จุดเริ่มต้นอาชีพของท่าน คือเมื่อท่าน สามารถเอาชนะโกลิอัทและกองทัพฟิลิสเตียได้ จุดสุดท้ายในอาชีพทหารของท่าน จบลงที่การสู้รบ และมีชัย ต่อบรรดาลูกหลาน (ยักษ์) ของโกลิอัท และกองทัพฟิลิสเตีย

คุณเคยได้ยินได้ฟัง เวลาที่นักกีฬาชื่อดังประกาศ "อำลาวงการ" หรือไม่? สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่อยากให้เกิด ขึ้น คืออำลาวงการเมื่อความตกต่ำมาเยือน พวกเขาต้องการอำลาเมื่อยังรุ่งโรจน์อยู่ ผมเข้าใจได้ว่า จากไป เมื่อคนกำลังคิดถึง ดีกว่าจากไปเพราะคนเบื่อขี้หน้าเต็มทน ผมว่าเราคงเห็นพ้องต้องกันว่า ดาวิดอำลาวงการ ได้อย่างสวยงาม ถึงแม้ท่านต้องมีคนมาช่วย เพื่อกำจัดอิชบีเบโนบ แต่ในที่สุดยักษ์ตนนี้ก็ถูกฆ่าตาย และ ฟิลิสเตียก็พ่ายแพ้ต่ออิสราเอล

ผมกำลังคิดถึงความสำเร็จนี้ในมุมมองที่กว้างกว่านี้ เมื่อตอนที่อิสราเอลเรียกร้องขอกษัตริย์ เพื่อที่ว่าพวกเขา จะมีผู้นำ นำออกสู่สงครามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามกับชาวฟิลิสเตีย (1 ซามูเอล 8:19-20; 9:16) แต่ บัดนี้พวกเขาจะทำอย่างไร? เมื่อดาวิดไม่สามารถออกไปร่วมรบได้อีกต่อไปแล้ว

คำตอบนั้นสวยงามมาก แต่ผมขอนำพวกคุณย้อนเวลากลับไปสักหน่อย เมื่อบรรพบุรุษยุคแรกของอิสราเอล มีโอกาสได้ครอบครองแผ่นดินคานาอัน พวกเขากลับไม่กล้า เพราะกลัวข่าวลือที่ได้ยินมา ว่าเป็นดินแดนที่มี คนยักษ์ครอบครองอยู่ (ดูกันดารวิถี 13:25-33) เมื่ออิสราเอลถูกพวกฟิลิสเตียเขย่าขวัญ โกลิอัทเป็นนักรบ คนเก่งของฟิลิสเตีย ที่ทำให้อิสราเอลยิ่งขยาด ดาวิดเดินหน้าออกไปสังหารโกลิอัท ทำให้กองทัพฟิลิสเตีย พ่ายแพ้ แต่บัดนี้ ดาวิดไม่สามารถต่อกรกับ "โกลิอัท" ทั้งหลายที่ฟิลิสเตียส่งมาได้ สิ่งนี้ทำให้อิสราเอลตกเป็น รองหรือไม่? ไม่เลยครับ! เมื่ออยู่ภายใต้ "การนำ" ของซาอูล ท่านไม่สามารถส่งใครไปเป็นตัวแทน สู้กับ โกลิอัทได้ รวมทั้งตัวท่านเองด้วย แต่ภายใต้การนำของดาวิด มีนักรบฝีมือฉกาจเกิดขึ้นมากมาย ดาวิดหมด กำลังแล้วหรือ? ไม่มีปัญหา! มีคนรอจ่อคิวฆ่าพวกยักษ์ฟิลิสเตียนี้อีกหลายคน พวกเขากำจัดลูกหลานโกลิอัท ไปได้หมด ทำให้ฟิลิสเตียต้องพ่ายแพ้ นับเป็นการอำลาวงการทหารที่สวยงามมากของดาวิด ประชาชน ไม่จำเป็นต้องรอให้กษัตริย์ออกมารบแทนแล้ว ; พวกเขาสามารถจัดการเองได้ ไม่ว่าจะอีกกี่ลูกหลานของ โกลิอัทก็ตาม ผมขอเรียกว่า นี่เป็นการอำลาวงการที่สวยงามมาก

ดูเหมือนเรื่องราวต่างๆที่ค้างคาอยู่ได้รับการแก้ใขให้จบลง ไม่ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยของซาอูลก็ตาม ดาวิดลงมือแก้ใขให้ถูกต้อง บาปของซาอูลและวงศ์วานของท่านที่ทำต่อชาวกิเบโอน ได้รับการชดใช้ และ บัดนี้แผ่นดินก็ได้รับพระพรกลับคืนมาอีกครั้ง ไม่เพียงแต่ "บุตรหลาน" ที่เสียชีวิตทั้งเจ็ดของซาอูลได้ถูกนำ ไปฝังอย่างถูกต้องตามประเพณีแล้ว อัฐิของซาอูลเองและบุตรของท่าน ที่ถูกฝังไว้อย่างเร่งรีบที่ ยาเบช กิเลอาดด้วย และเมื่อกองทัพอิสราเอลมาถึงจุดที่ดาวิดไม่จำเป็นต้องนำทัพไปสู้รบแล้ว พวกเขาจัดการ กันเองได้ เพราะมีทหารที่มีฝีมือเก่งกล้าอยู่มากมาย ที่สามารถรบแทนท่านได้

สำหรับผมมีบทเรียนเรื่องผู้นำที่สำคัญมากในตอนนี้ บ่อยครั้ง ผู้คนมักต้องการผู้นำที่สามารถทำการแทนพวก เขาได้ ความยิ่งใหญ่และเสียสละของผู้นำที่ดีนั้น วัดได้จากช่องโหว่ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้นำคนนั้นจากไป ในทาง พระคัมภีร์ นับว่ายังเป็นผู้รับใช้ที่ใช้การไม่ได้เท่าที่ควร ภาระของผู้นำคือไม่ใช่ทำทุกสิ่ง แต่มอบหมายจัดสรร ผู้อื่นให้ลงตัว การฝึกฝนคน จัดเตรียมให้พร้อม ให้กำลังใจและให้โอกาสผู้อื่นขึ้นมาทำแทน ซึ่งอาจทำได้ดี กว่าด้วยซ้ำไป ถ้านี่คือการเป็นผู้นำที่ดีของคริสเตียน ดาวิดก็นับได้ว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ภายใต้การนำของ ซาอูล ไม่มีสักคนที่กล้ายืนหยัดสู้กับโกลิอัท ภายใต้การนำของดาวิด มีคนกล้าหลายคนที่พร้อมจะลงมือ ดาวิด จึงมีอิสระพอที่จะหลบทางให้ (จากตำแหน่งแม่ทัพก่อน และต่อมาจากตำแหน่งกษัตริย์) เพราะท่านทำหน้าที่ ของท่านได้อย่างยอดเยี่ยม -- ท่านได้สร้างผู้นำชั้นรองๆขึ้นมารองรับ และสวมแทน พวกผู้นำจอมเผด็จการ ทั้งหลาย กลัวที่จะต้องเผชิญเรื่องเช่นนี้ กลับเลือกที่จะกำจัดคนเหล่านั้นแทน เพราะกลัวจะเข้ามาแย่งที่ แต่ไม่ใช่สำหรับดาวิด และควรไม่ใช่สำหรับเราทั้งหลายด้วย


93 คำว่า "คนคานาอัน" ถูกใช้ทั้งในกรณีเฉพาะเจาะจง หรือเป็นภาพรวมของผู้ที่อาศัยอยู่ในดินแดนคานาอัน เช่นเดียวกับคำว่า "คนอาโมไรต์" ที่ถูกนำมาใช้ในตอนนี้ ผู้เขียนพระธรรมซามูเอล ดูเหมือนจะใช้คำว่า "คน อาโมไรต์" ในแง่ที่พูดถึงโดยทั่วไปในพระธรรมตอนนี้

94 ใน 1 ซามูเอล 15:7 ซาอูลจำได้ว่าคนเคไนต์เคยให้ความช่วยเหลือคนอิสราเอลในระหว่างการอพยพ ท่าน จึงไว้ชีวิตพวกเขา ในขณะเข้าโจมตีพวกอามาเลข แล้วซาอูลลืมพันธสัญญาที่อิสราเอลเคยทำไว้กับชาว กิเบโอนได้อย่างไร? มันยากที่จะเชื่อว่าท่านลืม

95 และแน่นอน มีคำถามที่น่าเจ็บปวดตามมา โยนาธานมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้หรือไม่? ดูเหมือนเขาไม่น่า จะเป็นคนที่ชอบทำบาปเช่นนี้ หรือรู้แล้ว แต่เก็บความลับนี้เงียบไว้ เราไม่อาจทราบได้

96 คำว่า "ลูกหลาน" ที่ใช้ในตอนนี้เป็นภาพรวมกว้างๆ โดยทั่วไป ซึ่งรวมไปถึงบุตรชายทั้งห้าของเมราบ ที่เป็น หลานตาของซาอูลด้วย

97 ริสปาห์เป็นนางสนมที่อับเนอร์ไปหลับนอนด้วย หลังจากที่ซาอูลตายไปแล้ว เมื่ออิชโบเชทแสดงความ ไม่พอใจ อับเนอร์จึงแปรพักตร์ไปเข้าข้างดาวิดในทันที (ดู 2 ซามูเอล 3:7)

98 เรื่องนี้ออกจะแปลกๆ เมราบเป็นธิดาคนโตของซาอูล มีคาลเป็นน้องสาว (1 ซามูเอล 14:49) ซาอูลเสนอ เมราบให้ดาวิดก่อน แล้วก็เปลี่ยนใจ (1 ซามูเอล 18:17-19) ต่อมามีคาลถูกเสนอให้เป็นภรรยาของดาวิด (1 ซามูเอล 18:27) แล้วก็ถูกนำตัวกลับมา ไปมอบให้เป็นภรรยาคนอื่นแทน (1 ซามูเอล 25:44) ต่อมาดาวิดนำ เธอกลับมา (2 ซามูเอล 3:13-16) แต่เธอไม่เคยมีบุตรกับดาวิด (2 ซามูเอล 6:23) มีคาลจึงไม่มีส่วนในความ ทุกข์ที่ต้องสูญเสียบุตรไปก่อนวัยอันควร

99 ผู้เขียนเอ่ยชื่อแค่ซาอูลและโยนาธาน แต่ใน 1 ซามูเอล 31 พูดว่ามีบุตรทั้งสาม ผมเข้าใจว่า ไม่ใช่เพียง ซาอูลและโยนาธานเท่านั้นที่อัฐิถูกนำไปฝังอย่างถูกต้อง น่าจะรวมถึงอัฐิของบุตรชายทั้งสามด้วย

100 ให้ดูข้อพระคำในตอนเดียวกันนี้ใน 1 พงศาวดาร 20:4-8 ด้วย

101 ให้สังเกตุดูคำว่า "อยู่มาภายหลังนี้" ในข้อ 18

102 เรื่องชื่อ "โกลิอัท" นี้ คงไม่สร้างปัญหายุ่งยากใจให้แก่เรา เพราะในตอนต้นๆ เราเห็นชื่อเมฟีโบเชทซ้ำกัน สองคน (ดูข้อ 7-8) โกลิอัทคนนี้คงตั้งชื่อตามบรรพบุรุษ แต่ในพระธรรมตอนเดียวกันใน 1 พศด 20:5 เรียกชื่อ คนๆเดียวกันนี้ว่า "ลามี น้องชายของโกลิอัท"

103 "พระธรรมตอนนี้" ผมหมายถึงฉบับดั้งเดิมของพระธรรมซามูเอลที่มีเพียงเล่มเดียว ไม่ได้แบ่งเป็นสองเล่ม เหมือนที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

บทที่ 19: บทเพลงการช่วยกู้ของดาวิด (2 ซามูเอล 22)

คำนำ

เมื่อเริ่มเข้าสู่บทเพลงสดุดีีสองบทของดาวิดใน 2 ซามูเอล 22 (ทั้งบท) และ 23 (ข้อ 1-7) ทำให้ผมนึกถึง ครอบครัวของเพื่อนรักคู่หนึ่ง คาร์ล และมาร์ธา ลินด์ ปัจจุบันคาร์ลอายุแปดสิบกว่าแล้ว เป็นทั้งโรคหัวใจ และโรคไต ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลตลอดเวลา คาร์ลสามารถรับมือกับความเจ็บป่วย และรอ การกลับคืนสู่บ้านบนสรวงสวรรค์ได้อย่างน่าชื่นชม เมื่อนึกย้อนไปเกี่ยวกับครอบครัวนี้ บางเรื่องผมจำไม่ ค่อยได้แล้ว แต่บางเรื่องก็ยังแจ่มชัดอยู่ในความทรงจำ สมัยที่ผมกับภรรยาแต่งงานกันใหม่ๆ เรามีเงินอยู่ เพียงนิดเดียว ดังนั้นคืนที่สี่ของการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเรา จบลงที่ห้องนอนรับแขกของครอบครัวลินด์ เช้าวันรุ่งขึ้น คาร์ลและมาร์ธาช่วยกันจัดเตรียมอาหารเช้าสุดอร่อยให้ จอห์นลูกชายคนโตมีหน้าที่ประกาศ เชิญทุกคนมารับประทานอาหารเช้าทางอินเตอร์คอมของบ้าน "อาหารเช้าพร้อมภายในห้านาทีครับ" จอห์น พยายามทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถของเด็กที่เพิ่งเข้าสู่วัยรุ่น พอประกาศเสร็จ อินเตอร์คอมยังไม่ได้ปิดดี เราได้ยินเสียงดังโครมใหญ่ ดังเหมือนกับจานชามทุกใบในตู้ตกลงมาแตกบนพื้น ตามด้วยเสียงตะโกนลั่น ของคาร์ล "จอห์น จอห์น!"

คาร์ลเป็นพ่อครัวฝีมือเอก ถ้าจะให้อธิบายเป็นคำพูด ก็น่าจะสรุปรวมความได้เป็นดังนี้ : "ควันขึ้นเมื่อไร ก็แปล ว่ากำลังได้ที่ ; ถ้ามันไหม้ ก็แปลว่าสุกดีแล้ว" เมื่อหลายปีมาแล้ว ศิษยาภิบาลที่โบสถ์ของคาร์ลเทศนาเรื่อง คนต้นเรือน และเมื่อเลิกโบสถ์ ท่านศบ.จะยืนคอยอยู่ที่ประตูทางออก เพื่อรอจับมือกับสมาชิกแต่ละคน พอมา ถึงคาร์ล ท่าน ศบ. (ผมขอใช้ชื่อว่า"ชัค" แล้วกัน จะได้ไม่เสียหน้า) คาดหวังที่จะได้รับคำชมเรื่องคำเทศนา จากคาร์ล คาร์ลไม่ยั้งเลยครับ เขามองเข้าไปในตาของ "ชัค" พร้อมกับพูดว่า "ชัค ตามความเห็นของผม ผม คิดว่าคำเทศนาของคุณมีค่าเพียง 25 เหรียญเท่านั้น พูดกันตรงๆนะชัค เราทั้งคู่ต่างก็รู้ดีว่า ไม่สมราคาเลย" นี่แหละครับคาร์ล เพื่อนรักของผม

คาร์ลมีบทบาทสำคัญมากในวัยเด็กของผม ในการตั้งคริสตจักรขึ้นที่เมืองออเบอร์น วอชิงตัน พ่อแม่ของผม รวมทั้งคาร์ลและมาร์ธา ลินด์ และเพื่อนๆอีกหลายคน มีสิทธิพิเศษ มีส่วนในการจัดตั้งโบสถ์ที่มีชื่อว่า "ไบเบิ้ล แบ็บติสท์" พวกผมตอนนั้นกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น ยังจำได้ว่า เรามักมีการประชุมกันที่ห้องสำหรับพักศพ เพื่อ รอทำพิธีไว้อาลัย (ตอนอยู่ในโบสถ์ผมไม่เคยมองหาศพเจอ ยังสงสัยอยู่ว่าเขาเอาศพไปไว้ที่ไหน)104 ต่อมา ห้องนั้นก็กลายเป็น ที่ชุมนุมของหมู่บ้าน และถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นโรงหนัง จนในที่สุดเป็นโบสถ์หลังแรก ของพวกเรา พระเจ้าทรงเสริมกำลังให้คาร์ลมีชีวิตยืนยาวมาจนถึงวันนี้ เมื่อชีวิตของเขาไกล้จะจบลง คาร์ล ได้รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์การจัดตั้งคริสตจักรไบเบิ้ลแบ็บติสท์แห่งนี้ไว้ และเมื่อบั้นปลายชีวิตมาถึง คาร์ลกำลังมองย้อนกลับไปในอดีต กลับไปสู่พระหัตถ์ของพระเจ้าที่ควบคุมอยู่ตั้งแต่ในวันเริ่มแรกนั้นเลย

เป็นสิ่งเดียวกับที่กษัตริย์ดาวิดกระทำในบทเพลงสดุดีสองบทส่งท้ายของพระธรรม 2 ซามูเอล บทที่ 22 ของ 2 ซามูเอล เป็นการบันทึกภาพที่สะท้อนเรื่องราวของดาวิด จากจุดเริ่มต้น เมื่อท่านขึ้นครองในฐานะกษัตริย์ อิสราเอล105 ส่วนเจ็ดข้อแรกของบทที่ 23 เป็นบทเพลงสดุดีบทที่สอง ; ซึ่งน่าจะเป็นบทเพลงบทสุดท้าย ของดาวิด เชื่อกันว่าเกิดจากแรงบันดาลใจของท่าน ในฐานะของกษัตริย์ปกครองอิสราเอล มีคำพูดที่เป็น เหมือนบทส่งท้ายในฐานะกษัตริย์ บทเพลงสดุดีของดาวิดทั้งสองบทนี้ เป็นแรงบันดาลใจที่เกิดจากสำนึก ที่ว่าพระหัตถ์ของพระเจ้า ปกอยู่เหนือชีวิตของท่านในฐานะกษัตริย์อิสราเอล จากวันเริ่มต้น จวบจนวันสุดท้าย

อย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว -- และจากที่คุณอ่านจากฉบับแปลทั้งหลาย -- คำสดุดีที่เราศึกษาอยู่นี้ เป็นบทกวี ภาษาฮีบรูทั้งสองบท ที่จริง 2 ซามูเอล บทที่ 22 นั้นคำพูดคล้ายคลึงกับสดุดีบทที่ 18 มีข้อแตกต่างอยู่เพียง นิดเดียว บทสดุดีทั้งสองบทของดาวิดนี้เป็นบทเพลง และอันที่จริงพระธรรม 2 ซามูเอล 22 นี้น่าจะเป็นบท สดุดีที่ยาวที่สุดของดาวิด 106 ทั้งรูปแบบและเนื้อหา ไม่ใช่ของใหม่หรือโดดเด่น แต่เป็นตามรูปแบบดั้งเดิม ของบทสดุดีก่อนหน้า 107 ซึ่งบางบทมีอยู่ใน :

บทสดุดีของอิสราเอลที่ริมทะเล (อพยพ 15:1-18)
บทเพลงสดุดีของโมเสส (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:1-43)
บทเพลงสดุดีของเดโบราห์ (ผู้วินิจฉัย 5)
บทเพลงของนางฮันนาห์ (1 ซามูเอล 2:1-10)
บทเพลงของดาวิด (2 ซามูเอล 22; สดุดี 18)
บทเพลงของฮาบากุก (ฮาบากุก 3:1-19)

ถึงแม้จะอ่านบทเพลงนี้อย่างผ่านๆ เรายังมองเห็นความคล้ายคลึงกันกับบทเพลงสดุดีบทอื่นของดาิวิด เป็นเรื่องที่เราจะนำมาศึกษากันในวันนี้ พระธรรมตอนนี้ เป็นบทสดุดีที่ถูกนำมารวมกันไว้ เพื่อใช้ถ่ายทอด เรื่องราวในประวัติศาสตร์ 108 ในหนังสือพระธรรมสดุดี (เช่นสดุดี 18) บทเพลงเดียวกันนี้ ถูกใช้เป็นแบบ ในการนมัสการของชาวอิสราเอล เป็นรูปแบบที่เอื้อประโยชน์ให้กับเรา เช่นเดียวกับที่ให้ชาวอิสราเอลในยุค โบราณ เป็นบทเพลงสำหรับให้เราร้อง (อาจต้องใส่ดนตรีใหม่ เพราะทำนองเพลงเก่าสูญหายไปนานแล้ว) เพื่อการเรียนรู้และการนมัสการพระเจ้า 109 ใน 2 ซามูเอล 23:1-2 เราถูกเตือนให้ตระหนักว่า บทเพลงสดุดี เหล่านี้ ถูกเขียนขึ้นภายใต้การดลใจขององค์พระวิญญาณบริสุทธิ์ เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่เห็นว่าเป็นเพียงบทเพลงสำหรับคนสมัยโบราณเท่านั้น แต่มีไว้สำหรับเราทั้งหลายด้วย

    บทเพลงสดุดีสรุปโดยรวม

โดยทั่วไป เราจะมองว่าบทเพลงสดุดีเป็นการกลั่นกรอง หรือการแสดงออกของความรู้สึกที่ซับซ้อนภายในใจ ผมไม่ขอโต้แย้งในเรื่องนี้ แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า บทสดุดีอาจเป็นได้มากกว่านั้น บางครั้งบทเพลงสดุดี เป็น การขยายภาพความคิดออกมา โดยการใช้คำพูดในเชิงเปรียบเทียบ และพูดย้ำๆ ตัวอย่างเช่น ดาวิดควรจะ พูดอย่างตรงๆว่าพระเจ้าทรงพระพิโรธ แต่ท่านกลับใช้คำพูดที่จินตนาการถึงพระลักษณะต่างๆของพระเจ้าใน ข้อ 2 และ 3 ถึงแปดอย่างด้วยกัน ข้อมูลที่ท่านต้องการสื่อให้รู้ในบทที่ 22 จึงไม่มีอะไรมาก สรุปออกมาเป็น คำพูดได้ไม่กี่ประโยค ผมจะลองพยายามแยกแยะให้คุณเห็นและเข้าใจ เพื่อจะได้มีโอกาสชื่นชมบทสดุดีนี้ ด้วยกัน

1-3

ข้าฯสรรเสริญพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงทำให้ข้าฯปลอดภัย

4-20

เมื่อข้าฯร้องหาพระองค์ พระองค์ทรงช่วย เมื่อข้าฯจมอยู่ในความทุกข์สาหัส ; ข้าฯเรียกหาพระเจ้า พระองค์ได้ยิน และเสด็จมาช่วยข้าฯ

21-29

พระเจ้าทรงช่วยกู้ข้าฯ เพราะความชอบธรรม

30-46

พระเจ้าทรงช่วยข้าฯ โดยเสริมกำลังข้าฯให้เข้มแข็ง เพื่อต่อสู้และมีชัยเหนือศัตรู

47-50

สรรเสริญพระเจ้า!

51

พระเจ้าทรงช่วยกู้พระราชา พระราชาของพระองค์ ผู้ที่พระองค์ทรงเจิมไว้

เข้าสู่บทเรียน

ขณะที่ผมศึกษาพระธรรมตอนนี้ ผมลองเข้าไปอ่านบทเทศนาต่างๆที่ทางคริสตจักรเพนนินซูลาไบเบิ้ล ใน แคลิฟอร์เนียเผยแพร่อยู่ทางอินเตอร์เนท โดยปกติบทเทศนาตามหน้าจอเหล่านี้จะสั้นกว่าของผมประมาณ ครึ่งหนึ่ง (อาจเป็นเพราะในเรื่องเดียวกัน ผมต้องอธิบายมากกว่าคนอื่นถึงสองเท่า) ตอนที่ผมศึกษาพระธรรม สดุดีบทที่ 18 ผมเชื่อว่าพระธรรมตอนนี้ถูกแบ่งออกเป็นบทเรียนได้ถึงหกบท เพื่อจะพรรณนาและสื่อให้ผู้อื่น เข้าใจ ดังนั้นอย่าหวังว่าผมจะสามารถทำบทเรียนนี้ได้ภายในบทเดียว! เรื่องหลักที่เราจะต้องทำก่อน คือ มองหาหัวใจของสดุดีบทนี้ ข้ามรายละเอียดปลีกย่อยบางประการไป เพื่อจะได้ประโยชน์ให้มากที่สุด ผมจะค่อยๆไล่ตามความคิดของดาวิด ที่ท่านถ่ายทอดออกมา เพื่อจะหาข้อสรุปถึงแรงบันดาลใจของผู้เขียน/ หรือกษัตริย์ท่านนี้ ที่พยายามจะบอกแก่เราทั้งหลาย .

สิ่งที่บทสดุดีนี้ต้องการจะสื่อ -- คือผู้ช่วยกู้ของดาวิด
(22:1-3)

1 เมื่อพระเจ้าทรงช่วยกู้ดาวิด ให้พ้นจากมือของศัตรูทั้งสิ้นของพระองค์ท่าน และให้ พ้นจากพระหัตถ์ของซาอูล ดาวิดก็ถวายถ้อยคำของเพลงบทนี้แด่พระเจ้า 2 พระองค์
ท่านตรัสว่า "พระเจ้าทรงเป็นพระศิลา ป้อม ปราการ110 และผู้ช่วยกู้ของข้าพเจ้า 3
เป็นพระเจ้า ซึ่งทรงเป็นพระศิลาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเข้าลี้ภัยอยู่ในพระองค์ เป็นโล่ และเป็นพลังแห่งความรอดของข้าพเจ้า เป็นที่กำบังเข้มแข็งและเป็นที่ลี้ภัยของข้าพ
เจ้า องค์พระผู้ช่วยของข้าพระองค์เจ้าข้า พระองค์ทรงช่วยข้าพระองค์ให้รอดจากความ
ทารุณ

ข้อแรกของบทสดุดีบทนี้ มีพื้นเพของประวัติศาสตร์อยู่ บทสดุดีนี้ดาวิดเขียนขึ้นหลังจากพระเจ้าทรงช่วยกู้ ท่านให้รอดจากศัตรู ให้พ้นจากเงื้อมมือของซาอูล ดูเหมือนบทสดุดีนี้ เขียนขึ้นหลังจากซาอูลมรณภาพได้ ไม่นาน และดาวิดพึ่งได้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์ และจากจุดที่ดาวิดได้ครอบครองบัลลังก์นี้เอง ท่านพยายาม สะท้อน ให้เห็นถึงพระคุณของพระเจ้า ที่มีต่อชีวิตของท่าน และพระสัญญาที่จะให้ท่านเป็นกษัตริย์อิสราเอล เกิดขึ้นเป็นจริงทุกประการ

บทสดุดีนี้เริ่มต้นที่ดาวิดสรรเสริญพระเจ้าอย่างที่พระองค์ทรงเป็น -- เป็นที่ลี้ภัย ท่านนำสัญลักษณ์หลาย อย่างมาใช้ ท่านพูดถึงพระเจ้าว่าทรงเป็นที่คุ้มภัย เป็นพระศิลา (เป็นป้อมปราการสูง ข้อ 2) ไม่ต้องสงสัยเลย ว่าดาวิดคงใช้เวลามากมาย ยืนอยู่บนพระศิลา มองลงมาจากบนป้อมสูง ด้วยความอุ่นใจว่า ไม่มีทางที่ศัตรู จะเอื้อมถึงได้ พระเจ้าทรงเป็น "ป้อม" และเป็น "ปราการ" ของดาวิด พระองค์ทรงเป็น "โล่ห์" และเป็น "พลังแห่งความรอด" นี่ไม่ใช่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพเท่านั้น ; แต่เป็นวิธีการจริงที่พระเจ้านำมาใช้ ช่วยชีวิตท่านให้พ้นภัยจากศัตรู และบัดนี้ ดาวิดต้องการให้เราทั้งหลายมองย้อนกลับไปในวิธีการที่พระเจ้า จัดเตรียมด้วยพระองค์เอง พระเจ้าเองที่เป็นผู้ช่วยกู้ ; เป็นพระองค์เองที่เป็นที่คุ้มภัยให้เรา เป็นผู้ช่วยเรา ทรง เป็นที่หลบภัยให้แก่พวกเรา

    ดาวิดในภัยอันตราย, ท่านร้องขอความช่วยเหลือ, และได้รับการช่วยกู้
    (22: 4-20)

4 ข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้า ผู้ทรงสมควรแก่การสรรเสริญ และข้าพเจ้าได้รับ การช่วย ให้พ้นจากศัตรูของข้าพเจ้า 5 "เพราะคลื่นมัจจุราชล้อมข้าพเจ้า กระแสแห่งความหายนะ
ท่วมทับข้าพเจ้า กระทำให้กลัว 6 สายใยของแดนคนตายพันตัวข้าพเจ้า บ่วงมัจจุราชปะ
ทะข้าพเจ้า 7 "ในยามทุกข์ใจข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้า ข้าพเจ้าร้องทูลต่อพระเจ้าของ
ข้าพเจ้า จากพระวิหารของพระองค์ พระองค์ทรงสดับเสียงของข้าพเจ้า และเสียงร้อง ของข้าพเจ้ามาถึงพระกรรณของพระองค์ 8 "แล้วแผ่นดินโลกก็สั่นสะเทือนและโคลงเคลง รากฐานของฟ้าสวรรค์ก็หวั่นไหว และสั่นสะเทือนเพราะพระองค์ทรงกริ้ว 9 ควันออกไปตาม ช่องพระนาสิกของพระองค์ และเพลิงผลาญออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ ถ่านก็ติด
เปลวไฟนั้น 10 พระองค์ทรงโน้มฟ้าสวรรค์ลงด้วยและเสด็จลงมา ความมืดทึบอยู่ใต้พระ บาทของพระองค์ 11 พระองค์ทรงเครูบตนหนึ่ง และทรงเหาะไป เออ เห็นพระองค์เสด็จ โดยปีกของลม 12 พระองค์ทรงกระทำความมืดเป็นปะรำของพระองค์ คือที่รวบรวมบรรดาน้ำ เมฆทึบแห่งฟ้า 13 ถ่านลุกเป็นเพลิงจากความสุกใสข้างหน้าพระองค์ 14 พระเจ้าทรงคะนอง กึกก้องจากฟ้าสวรรค์ และองค์ผู้สูงสุดก็เปล่งพระสุรเสียงของพระองค์ 15 และพระองค์ทรง ใช้ลูกธนูของพระองค์ออกมา ทำให้เขากระจายไป พระองค์ทรงปล่อยฟ้าแลบและทำให้เขา
โกลาหล 16 แล้วก็เห็นท้องธาร รากฐานของพิภพก็ปรากฏแจ้ง ตามการขนาบของพระเจ้า ตามที่ลมพวยพุ่งจากช่องพระนาสิกของพระองค์ 17 "พระองค์ทรงเอื้อมมาจากที่สูงทรงจับ
ข้าพเจ้า พระองค์ทรงดึงข้าพเจ้าออกมาจากน้ำมากหลาย 18 พระองค์ทรงช่วยกู้ข้าพเจ้า
จากศัตรู ที่เข้มแข็งของข้าพเจ้า จากบรรดาผู้ที่เกลียดชังข้าพเจ้า เพราะเขามีอานุภาพ เกินกว่าข้าพเจ้า 19 เขาปะทะข้าพเจ้าในวันที่ข้าพเจ้าเกิดภัยพิบัติ แต่พระเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า 20 พระองค์ทรงนำข้าพเจ้า ออกมายังที่กว้างใหญ่ด้วย พระองค์ทรงช่วยกู้
ข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงยินดีในข้าพเจ้า

เราจะเห็นหลักการในข้อ 4 ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของดาวิด (จากข้อ 2-3) เป็นการ สำแดงให้เห็นถึงวิธีการช่วยกู้อันหลากหลายของพระองค์ (ข้อ 5-20) ในข้อ 4 ดาวิดไม่ได้แค่พูดว่า "ข้าพเจ้า ร้องทูลต่อพระเจ้า … และพระองค์ทรงช่วย" แต่ท่านพูดให้เราเห็นภาพว่า "เมื่อข้าพเจ้าร้องทูลวิงวอนต่อ พระเจ้าแห่งการช่วยกู้ พระองค์ทรงช่วยข้าพเจ้า" แล้วท่านอธิบายต่อถึงภาพของความน่ากลัวที่ท่านเผชิญ (ข้อ 5-6) และการทรงช่วยของพระเจ้า (ข้อ 8-20) เพราะพระองค์สดับคำร้องทูลวิงวอนของท่าน (ข้อ 7)

ดาวิดใช้ภาพกระแสแห่งภัยพิบัติ อธิบายถึงชีวิตของท่านที่ถูกศัตรูไล่ตามฆ่า แรก ท่านอธิบายว่าตัวท่านกำลัง จมอยู่ภายใต้คลื่นลูกใหญ่ แต่คนละแบบกับโยนาห์ 111 จากนั้นภาพก็เปลี่ยนไปจากที่กำลังจมดิ่งลึกลง กลาย เป็นถูกกระแสน้ำเชี่ยวพัดพาไป (ข้อ 5) ท่านอธิบายว่าถูกสายบ่วงมัจจุราช (หรือหลุมศพ; ฉบับ KJV ใช้คำว่า "นรก") พันและเหนี่ยวรั้งท่านไว้ และท่านกำลังเผชิญกับกับดักของความตาย (ข้อ 6) ด้วยลมหายใจสุดท้าย ด้วยการกระเสือกกระสนให้พ้นจากน้ำครั้งที่สาม ดาวิดบอกเราว่า ท่านร้องทูลวิงวอนขอความช่วยเหลือจาก พระเจ้า และจากที่ๆพระองค์ประทับอยู่ พระองค์ทรงสดับเสียงร้องของท่าน (ข้อ 7)

ดาวิดอธิบายถึงการช่วยกู้ด้วยจินตนาการถึงการเสด็จมาของพระเจ้า (การเปิดเผยพระองค์ต่อมนุษยชาติ) ใน หลายๆทาง จินตนาการของดาวิดทำให้นึกถึงภาษาพูดที่ใช้ เืมื่อครั้งพระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ที่ภูเขาซีนาย เมื่อพระองค์มอบธรรมบัญญัติให้กับโมเสส :

16 อยู่มาพอถึงรุ่งเช้าวันที่สาม ก็บังเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ มีเมฆอันหนาทึบ ปกคลุมภูเขานั้นไว้กับมีเสียงแตรดังสนั่น จนคนทั้งปวงที่อยู่ในค่ายต่างก็พา
กันกลัวจนตัวสั่น 17 โมเสสก็นำประชาชนออกจากค่ายไปเฝ้าพระเจ้า พวก
เขามายืนอยู่ที่เชิงภูเขา 18 ภูเขาซีนายมีควันกลุ้มหุ้มอยู่ทั่วไป เพราะพระเจ้า เสด็จลงมาบนภูเขานั้นโดยอาศัยเพลิงควันไฟพลุ่งขึ้นเหมือนควันจากเตาใหญ่ ภูเขาก็สะท้านหวั่นไหวไปหมด 19 เมื่อเสียงแตรยิ่งดังขึ้น โมเสสก็กราบทูล พระเจ้าก็ตรัสตอบเป็นเสียงฟ้าร้อง (อพยพ 19:16-19)

เป็นคำพูดในแบบเดียวกันในบทเพลงของเดโบราห์ :

4 "ข้าแต่พระเจ้า เมื่อพระองค์เสด็จออกจากเสอีร์ เมื่อพระองค์เสด็จจากท้องถิ่น
เอโดม แผ่นดินก็หวาดหวั่นไหว ท้องฟ้าก็ปล่อยลงมา เออ เมฆก็ปล่อยฝนลงมา
5 ภูเขาก็ไหวสะท้านต่อพระพักตร์พระเจ้า ทั้งภูเขาซีนาย โน้มต่อพระพักตร์ พระ เยโฮวาห์พระเจ้าของอิสราเอล (ผู้วินิจฉัย 5:4-5; ดูสดุดี 68:8; ฮาบากุก 3:3-15)

ดาวิดร้องขอการช่วยกู้จากพระเจ้า พระองค์ทรงตอบโดยสำแดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ว่า พระองค์เองเป็น ผู้ครอบครองอยู่เหนือทุกสิ่งที่ทรงสร้าง เมื่อพระองค์สดับคำร้องทูลวิงวอนของดาวิด พระองค์ทรงตอบโดย เห็นได้ชัดเจนผ่านทางสิ่งที่พระองค์สร้าง พระเจ้าทรงพระพิโรธต่อบรรดาศัตรูที่เข้ามาทำร้ายกษัตริย์ที่พระ องค์เจิมตั้งไว้ และสรรพสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้าง ก็สะท้อนให้เห็นถึงพระพิโรธของพระองค์ นี่ไม่ใช่ เป็นการอธิบายให้เห็นว่า พระเจ้าทรงต้องการช่วยกู้กษัตริย์ของพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์ต้องการจะทำลาย ศัตรูทั้งหลาย ที่เข้ามาข่มขู่กษัตริย์ของพระองค์ด้วย

สิ่งแรกที่เห็นชัดว่าเป็นการช่วยกู้ของพระเจ้าคือเกิดแผ่นดินไหว โลกทั่งใบสั่นสะเทือนและปริออก (ข้อ 8) ควันแห่งพระพิโรธพลุ่งออกมาจากพระนาสิก และไฟจากพระโอษฐ์เผาผลาญทุกสิ่งที่ขวางกั้น และถ่านก็ ลุกติดไฟนั้น (ข้อ 9) เมื่อพระเจ้าเสด็จลงมา สวรรค์ก็โน้มลงมา พระองค์ทรงประทับอยู่เหนือความมืดทึบ เป็น ลางบ่งถึงเหตุร้าย (ข้อ 10) พระอง์ทรงเครูปเหาะไปด้วยปีกของลม ความมืดเป็นปะรำของพระองค์ ความสุก ใสสว่างเป็นประกายนำหน้าพระองค์ (ข้อ 12-13) พระสุรเสียงกึกก้องเหมือนเสียงฟ้าร้อง พระองค์ทรงปล่อย ฟ้าแลบออกไป พุ่งเหมือนลูกธนู (ข้อ 14-15) เมื่อพระองค์เสด็จมา ทะเลก็แยกออก เผยให้เห็นรากฐานของ แผ่นดิน การขนาบของพระองค์พวยพุ่งออกมาจากพระนาสิก (ข้อ 16) พระเจ้าทรงยื่นพระหัตถ์ลงไป และดึง ผู้รับใช้ของพระองค์ขึ้นมาจากน้ำมากหลาย กู้เขาให้พ้นจากศัตรูผู้ห้าวหาญ นำเขามาวางไว้บนแผ่นดินกว้าง ใหญ่ แม้บรรดาศัตรู จะมีกำลังมากมหาศาล แต่พระเจ้าทรงช่วยกู้ให้พ้นจากเงื้อมมือศัตรูได้ พระองค์ทรงเป็น ที่พึ่งพิง112 ของท่าน เมื่อศัตรูจู่โจมเข้ามา

พื้นฐานของการช่วยกู้
(22:21-28)

21 "พระเจ้าทรงประทานรางวัลแก่ข้าพเจ้าตามความชอบธรรม ของข้าพเจ้า พระองค์ทรงตอบข้าพเจ้าตามความสะอาดแห่งมือของข้าพเจ้า 22 เพราะ ข้าพเจ้ารักษาบรรดาพระมรรคาของพระเจ้า และไม่ได้พรากจากพระเจ้าของ
ข้าพเจ้าอย่างอธรรม 23 เพราะกฎหมายทั้งสิ้นของพระองค์อยู่ต่อหน้าข้าพเจ้า และข้าพเจ้ามิได้หันจากกฎเกณฑ์ของพระองค์ 24 ต่อพระพักตร์พระองค์
ข้าพเจ้าไร้ตำหนิ และข้าพเจ้ารักษาตัวไว้ให้พ้นจากกรรมชั่วของข้าพเจ้า
25 เพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงตอบแทนข้าพเจ้าตามความชอบธรรม ของข้าพเจ้า ตามความสะอาดของข้าพเจ้าในสายพระเนตรของพระองค์ 26 "พระองค์ทรง สำแดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่จงรักภักดี พระองค์ทรงสำแดงพระองค์ไร้ตำหนิ
ต่อผู้ที่ไร้ตำหนิ 27 พระองค์ทรงสำแดงพระองค์บริสุทธิ์ต่อผู้ที่บริสุทธิ์ พระองค์ ทรงสำแดงพระองค์เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ที่คดโกง 28 พระองค์ทรงช่วยกู้ประชาชน
ที่อนาถ แต่พระองค์ทอดพระเนตรผู้ที่ยโสเพื่อนำเขาให้ต่ำลง

เมื่อพระเจ้าประทานธรรมบัญญัติโมเสสให้กับอิสราเอล พระองค์ตรัสอย่างชัดเจนว่า ถ้ากระทำตามก็จะนำมา ซึ่งพระพร (เฉลยธรรมบัญญัติ 28:1-14) แต่ถ้าไม่เชื่อฟัง จะนำมาซึ่งคำสาปและภัยพิบัติ (28:15-68).113 ดาวิดเป็นผู้ที่ทำตามพระเจ้าอย่างสุดใจ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ (ดู 1 พกษ. 15:5) ดาวิดรักและดำเนิน ตามพระบัญญัติ ท่านเข้าใจดีว่าผู้ที่อยู่ใกล้องค์พระผู้เป็นเจ้า คือผู้ที่รักษาพระบัญญัติของพระองค์ :

1 (บทสดุดีของดาวิด) ข้าแต่พระเจ้า ผู้ใดจะอาศัยอยู่ในพลับพลาของพระองค์ ผู้ใดจะอยู่บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ 2 คือผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างหาที่ติ มิได้ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรม และพูดความจริงจากจิตใจของตน 3 ผู้ซึ่งไม่ใช้ลิ้น ของตนในการนินทาว่าร้าย ไม่กระทำชั่วต่อเพื่อน และไม่ด่าเพื่อนบ้านของตน
4 ในสายตาของเขา คนถ่อยเป็นคนที่ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เขาให้เกียรติแก่ผู้
ที่ยำเกรงพระเจ้า ถึงสาบานแล้ว และต้องเสียประโยชน์เขาก็ไม่กลับคำ 5 เขา เป็นผู้ที่มิได้ให้คนอื่นกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ย และไม่ยอมรับสินบนต่อสู้ผู้ไร้ความผิด ผู้ซึ่งกระทำสิ่งเหล่านี้จะไม่หวั่นไหวเป็นนิตย์ (สดุดี 15)
3 ผู้ใดจะขึ้นไปบนภูเขาของพระเจ้า และผู้ใดจะยืนอยู่ในวิสุทธิสถานของพระองค์
4 คือผู้ที่มีมือสะอาดและใจบริสุทธิ์ ผู้ที่มิได้ปลงใจในสิ่งเท็จ และมิได้สาบานอย่าง
หลอกลวง 5 เขาจะรับพระพรจากพระเจ้า และความยุติธรรมจากพระเจ้าแห่งความ
รอดของเขา (สดุดี 24:3-5)

ดาวิดเชื่อ เช่นเดียวกับคนอิสราเอลที่สัตย์ซื่อ ว่าพระเจ้าจะลงโทษคนอธรรม และช่วยผู้ชอบธรรมที่เข้ามา ลี้ภัยอยู่ในพระองค์ :

35 ข้าพเจ้าเห็นคนอธรรมมีอำนาจมากยิ่ง และสูงเด่นอย่างต้นสนสีดาร์แห่งเลบานอน
36 เขาได้ผ่านไป และนี่แน่ะ ไม่มีเขาเสียแล้ว ถึงข้าพเจ้าจะแสวงหาเขา ก็ไม่พบเขา
37 จงหมายคนไร้ตำหนิไว้ และมองดูคนเที่ยงธรรม เพราะสันติชนจะมีอนาคต 38 แต่ ผู้ละเมิดจะถูกทำลายเสียด้วยกัน อนาคตของคนอธรรมจะถูกตัดออกไปเสีย 39 ความ รอดของคนชอบธรรมมาจากพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นที่ลี้ภัยของเขาในเวลายากลำบาก
40 พระเจ้าทรงช่วยเขาและทรงช่วยกู้เขา พระองค์ทรงช่วยกู้เขาจากคนอธรรมและทรง ช่วยเขาให้รอด เพราะเขาทั้งหลายเข้าลี้ภัยในพระองค์ (สดุดี 37:35-40)

ในธรรมบัญญัติของโมเสส พระเจ้าสั่งชัดเจนต่อประชากรของพระองค์ว่า จะทรงอำนวยพระพร เมื่อพวกเขา วางใจ และรักษาธรรมบัญญัติของพระองค์ (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 7:12-16) ในทางกลับกัน พระองค์ทรงสั่ง อย่างชัดเจนเช่นกันว่า ความดีทั้งหลายที่พวกเขากระทำด้วยตนเองนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งพระคุณ :

4 "เมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้า ของท่านได้ขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่านทั้งหลาย
แล้ว ท่านทั้งหลายอย่านึกในใจว่า 'เพราะความชอบธรรมของข้า พระเจ้าจึงทรง นำข้ามาให้ยึดครองแผ่นดินนี้' แต่เพราะความชั่วของประชาชาติเหล่านี้ พระเจ้า จึงทรงขับไล่เขาออกไปต่อหน้าท่าน 5 ซึ่งท่านทั้งหลายกำลังเข้าไปยึดครองแผ่นดิน
นี้นั้น มิใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน หรือความสัตย์ธรรม ในใจของท่าน แต่เป็น เพราะความชั่วช้าของประชาชาตินี้ ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านต้องขับไล่ เขา ออกเสียต่อหน้าท่านทั้งหลาย และเพื่อว่าพระองค์จะทรงให้เป็นจริงตาม พระวจนะ ซึ่งพระเจ้าทรงปฏิญาณต่อบรรพบุรุษของท่าน คือต่ออับราฮัม ต่ออิสอัค และต่อยาโคบ
6 "เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายพึงทราบเถิดว่า ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ทรง ประทานแผ่นดินดีนี้ให้ท่านยึดครองนั้น มิใช่เพราะความชอบธรรมของท่าน เพราะว่า ท่านทั้งหลายเป็นชนชาติที่ดื้อดึง (เฉลยธรรมบัญญัติ 9:4-6).

ดาวิดไม่เคยลืมว่าตนเป็นคนบาป ที่ต้องการได้รับการอภัยและพระคุณ :

3 เพราะพระพิโรธของพระองค์ จึงไม่มีความปกติในเนื้อหนังของข้าพระองค์ เพราะบาปของข้าพระองค์ จึงไม่มีอนามัยในกระดูกของข้าพระองค์ 4 เพราะ ความบาปผิดของข้าพระองค์ท่วมศีรษะ มันหนักเหมือนภาระ ซึ่งหนักเหลือ
กำลังข้าพระองค์ 5 เพราะความโง่เขลาของข้าพระองค์ บาดแผลของข้า พระองค์จึงเหม็นและเน่าเปื่อย (สดุดี 38:3-5)

ดาวิดเข้าใจดีว่าพระเจ้าทรงช่วยผู้ชอบธรรม และลงโทษคนอธรรม เพราะเหตุนี้พระองค์จึงทรงสดับคำร้องทูล ของดาวิด และช่วยท่านให้พ้นภัยจากบรรดาศัตรู พระเจ้าไม่เพียงแต่ช่วยผู้ชอบธรรมเท่านั้น พระองค์ทรงช่วย ผู้ที่ทุกข์ยากด้วย แต่ทรงสาปแช่งบรรดาผู้ที่หยิ่งยโส

เราจะมาพูดเรื่องความชอบธรรมของดาวิดทีหลัง แต่ผมกำลังนึกถึงบาปของซาอูลและราชวงศ์นองเลือดของ ท่าน ที่ทำให้อิสราเอลต้องเกิดกันดารอาหารถึงสามปี จนกว่าบาปนี้จะได้รับการชดใช้ พระเจ้าจึงจะฟังเสียง ร้องทูลของประชากร และยุติการกันดารอาหาร (ดู 2 ซามูเอล 21) ดังนั้นดาวิดเชื่อมั่นว่า ถ้าท่านเชื่อฟังและ วางใจในพระเจ้า พระองค์จะฟังคำทูลวิงวอนของท่าน

เมื่อพระเจ้าเสริมกำลัง แพื่อให้มีชัยเหนือศัตรู
(22:29-46)

29 ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นประทีปของข้าพระองค์ พระเจ้าทรงกระทำ ให้ความมืดของข้าพเจ้าสว่าง 30 พ่ะย่ะค่ะ ข้าพระองค์ตะลุยกองทัพ ได้โดย
พระองค์ โดยพระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ากระโดดข้ามกำแพงได้ 31 ฝ่าย
พระเจ้า พระมรรคาของพระองค์บริสุทธิ์หมดจด พระสัญญาของพระเจ้าพิสูจน์
แล้วเป็นความจริง พระองค์ทรงเป็นโล่ของบรรดาผู้ที่ลี้ภัยอยู่ในพระองค์ 32 "เพราะผู้ใดจะเป็นพระเจ้า นอกจากพระเยโฮวาห์ และผู้ใดเล่าเป็นพระศิลา
นอกจากพระเจ้าของเรา 33 พระเจ้าทรงเป็นป้อมเข้มแข็งของข้าพเจ้า และ พระองค์ทรงนำผู้ไร้ตำหนิในพระมรรคาของพระองค์ 34 พระองค์ทรงกระทำ ให้เท้าของข้าพเจ้าเหมือนอย่างตีนกวางตัวเมีย และทรงวางข้าพเจ้าไว้บนที่
สูงของข้าพเจ้า 35 พระองค์ทรงหัดมือของข้าพเจ้าให้ทำสงคราม แขนของ ข้าพเจ้าจึงโก่งคันธนูทองสัมฤทธิ์ได้ 36 พระองค์ประทานโล่ความรอดของ
พระองค์ให้ข้าพระองค์ และซึ่งพระองค์ทรงน้อมพระทัยลง ก็กระทำให้ข้าพระ
องค์เป็นใหญ่ขึ้น 37 พระองค์ประทานที่กว้างขวางสำหรับเท้าของข้าพระองค์ เท้าของข้าพระองค์จึงไม่พลาด 38 ข้าพระองค์ไล่ตามศัตรูของข้าพระองค์ และ
ได้ทำลายเขาเสีย และไม่หันกลับจนกว่าเขาจะถูกผลาญเสียสิ้น 39 ข้าพระองค์
ผลาญเขา ข้าพระองค์แทงเขาทะลุ เขาจึงไม่สามารถลุกขึ้นอีกได้ พ่ะย่ะค่ะ เขา ล้มลงใต้เท้าของข้าพระองค์แล้ว 40 เพราะพระองค์ทรงคาดเอวข้าพระองค์ไว้ด้วย
กำลัง เพื่อทำสงคราม พระองค์ทรงกระทำให้พวกที่ลุกขึ้นต่อสู้ข้าพระองค์ จม
ลงใต้ข้าพระองค์ 41 พระองค์ทรงกระทำให้ศัตรูของ ข้าพระองค์หันหลังหนีข้า
พระองค์ บรรดาผู้ที่เกลียดชังข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ทำลายเสีย 42 เขามองหา แต่ไม่มีใครช่วยให้รอดได้ เขาร้องทูลต่อพระเจ้า แต่พระองค์มิได้ทรงตอบเขา
43 ข้าพระองค์ทุบตีเขาแหลกละเอียดอย่างผงคลีดิน ข้าพระองค์เหยียบเขาลง เหมือนโคลนตามถนนและกระจายเขาออกไปทั่ว 44 "พระองค์ทรงช่วยกู้ ข้าพระ
องค์จากการเกี่ยงแย่ง ประชาชนของข้าพระองค์ พระองค์ทรงรักษาข้าพระองค์ไว้ ให้เป็นหัวหน้าของบรรดาประชาชาติ ชนชาติที่ข้าพระองค์ไม่เคยรู้จัก ก็จะปรนนิบัติ
ข้าพระองค์ 45 ชนต่างด้าวจะมาหมอบราบต่อข้าพระองค์ พอเขาได้ยินถึงข้าพระองค์ เขาก็จะเชื่อฟังข้าพระองค์ 46 ชนต่างด้าวเสียกำลังใจ และตัวสั่นออกมาจากที่กำบัง ของเขาทั้งหลาย

ดาวิดสรรเสรญพระเจ้าที่เป็นพระผู้ช่วยของท่าน เป็นที่ลี้ภัย (ข้อ 2-3) เมื่อใดก็ตามที่ท่านร้องทูลขอความช่วย เหลือ พระองค์ทรงสดับและตอบคำทูลนั้น (ข้อ 4) ด้วยวิธีที่เห็นถึงพระสิริของพระองค์ พระพิโรธที่มีต่อศัตรู ที่ต่อต้านผู้รับใช้ของพระองค์ และเห็นถึงฤทธานุภาพอันไม่จำกัดของพระองค์ (ข้อ 5-20) พระเจ้าทรงช่วยกู้ ดาวิดเพราะความชอบธรรมของท่าน และความชั่วของศัตรู (ข้อ 21-28) บางทีอ่านมาถึงตรงนี้ พวกเราอาจสรุป เอาเองว่า "ความรอดนั้นมาจากพระเจ้า" ไม่เกี่ยวกับเรา ดังนั้นเราควรนิ่งเฉยหรือ? รอให้พระเจ้าเข้ามาจัดการ ถ้าจะดีกว่า บางครั้งก็เป็นสิ่งที่พระเจ้าต้องทำ เพื่อให้เราตระหนักว่า พระองค์เองเป็นผู้ประทานชัยชนะ เหมือน กับที่เกิดขึ้นในพระธรรมอพยพ เมื่อพระเจ้าบันดาลให้พวกอียิปต์จมน้ำตายในทะเลแดง แต่บ่อยครั้งพระเจ้าทรง ให้เรามีส่วนร่วมในวิธีการช่วยกู้ของพระองค์ ในกรณีเช่นนี้ พระเจ้าเองเป็นผู้ประทานกำลัง หนุนให้เราสามารถ เอาชนะศัตรู ดาวิดลุกขึ้นมาสู้กับโกลิอัทและมีชัย แต่ชัยชนะนั้นพระเจ้าเป็นผู้ประทานให้ ในข้อ 30-46 ดาวิด พูดว่า พระเจ้าเป็นผู้ดลบันดาล ให้ท่านมีกำลังเข้มแข็งขึ้น จนมีชัยเหนือศัตรู

พระกำลังของพระเจ้าไม่ใช่เพิ่มเติมให้เรามีกำลังมากยิ่งขึ้น ; พระกำลังของพระเจ้าเติมจุดอ่อนเราให้เต็ม นี่เอง เป็นเหตุให้ดาวิดเริ่มด้วยคำพูดว่า

ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นประทีปของข้าพระองค์ พระเจ้าทรง กระทำให้ความมืดของข้าพเจ้าสว่าง (ข้อ 29)

พระเจ้าขจัดความมืดออกไปจากดาวิด พระเจ้าเสริมให้ดาวิดมีเรี่ยวแรงขึ้น เป็นสิ่งเดียวกับที่ อ.เปาโลสอนไว้ ในพระคัมภีร์ใหม่ :

7 และเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวจนเกินไป เนื่องจากที่ได้เห็นการสำแดงมากมายนั้น ก็ทรงให้มีหนามใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้นเป็นทูตของซาตานคอยทุบตี ข้าพเจ้าเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวเกินไป 8 เรื่องหนามใหญ่นั้น ข้าพเจ้าวิงวอนองค์ พระผู้เป็นเจ้าถึงสามครั้ง เพื่อขอให้มันหลุดไปจากข้าพเจ้า 9 แต่พระองค์ตรัสกับ
ข้าพเจ้าว่า "การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอมีที่ไหน เดช ของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น" เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อน
แอของข้าพเจ้า เพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพเจ้า 10 เหตุฉะนั้นเพราะ
เห็นแก่พระคริสต์ ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า ในการประทุษ ร้ายต่างๆในความยากลำบาก ในการถูกข่มเหง ในความอับจน เพราะว่าข้าพเจ้า
อ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น (2 โครินธ์ 12:7-10)

ดาวิดอธิบายถึงเรี่ยวแรงที่พระเจ้าประทานให้ในการสู้ศึกศงคราม พระกำลังของพระองค์ทำให้ท่านกระโดด ข้ามกำแพงได้ ไล่บดขยี้ศัตรูลงอย่างราบคาบ (ข้อ 30) ความแข็งแกร่งในเชิงรบ เริ่มต้นที่ใจก่อน ดาวิดมี ความกล้าหาญ ยืนหยัดต่อสู้กับโกลิอัท และมีสติปัญญาที่พระเจ้าประทานให้ ใช้สลิงยิงจนโกลิอัทตาย ราก ฐานของความกล้าหาญเช่นนี้ (เราควรเรียกว่า -- ความเชื่อ) คือพระคำของพระเจ้า พระวจนะคำเป็นแหล่ง ความเชื่อของดาวิด ดลบันดาลให้ท่านต่อสู้ได้ ด้วยพระวจนะคำที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระศิลา เป็นที่ลี้ภัย (ข้อ 31-33) พระองค์ไม่เพียงแต่ยกดาวิดให้สูงขึ้น (เป็นต่อในเชิงรบ) แต่ทรงประทานความมั่นคงในที่ๆท่านยืนอยู่ เพื่อสามารถยืนหยัดต่อสู้ได้ (ข้อ 34) พระเจ้าเป็นผู้ฝึกปรือยุทธวิธีในการรบให้แก่ดาิวิด ให้กำลังที่จะโก่งคัน ธนูทองสัมฤทธิ์ได้ (ข้อ 35) ประทานโล่ห์แห่งความรอดให้ ประทานพื้นฐานอันมั่นคง ทำให้เท้าของท่านไม่มี วันพลาดไป (ข้อ 36-37)

ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประทานให้ ก็เพื่อให้ท่านตามล่าศัตรู จนต้องถอยหนี (ข้อ 38) แต่หนีอย่างไรก็หนี ไม่พ้น เพราะพระองค์ทำให้ท่านทำลาย (ทุบตีอย่างแหลกละเอียด-ข้อ 43) ผู้ที่ต่อต้านลงได้ (ข้อ 39-40) ศัตรูของดาวิด -- ส่วนใหญ่ เป็นพี่น้องร่วมชาติด้วยกันเอง แต่บรรดาศัตรูและพันธมิตรของท่าน ก็มีคนต่าง ชาติปะปนอยู่ด้วย ประโยคส่งท้ายของบทเพลงสดุดีนี้ ให้ความสำคัญแก่คนต่างชาติ เพราะพวกเขาช่วยกู้ ท่านให้พ้นจากประชากรของท่านเอง (ข้อ 44) และพระเจ้าทรงทำให้ประชาชาติอกสั่นหวั่นไหว (ต่างชาติ) ผลก็คือ พระเจ้าไม่เพียงแต่ตั้งดาวิดขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเหนืออิสราเอลเท่านั้น แต่ให้ท่านเป็นใหญ่เหนือ ประชาชาติทั้งปวงด้วย คนต่างชาติพวกนี้เกรงกลัวดาวิด และถ้าพวกนี้ไม่ยอมจำนนอย่างจริงใจ แกล้งทำเป็น พันธมิตร (ข้อ 44-45) ในไม่ช้าจะต้องเสียใจ ตัวสั่นออกมา หมอบราบคาบต่อท่าน (ข้อ 46)

สรรเสริญพระเจ้า! (คนต่างชาติด้วย !)
(22:47-50)

47 "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่ และพระศิลา ของข้าพระองค์เป็นที่สรรเสริญ พระเจ้า พระศิลาแห่งความรอด114 ของข้าพระองค์เป็นที่ยกย่อง 48 คือพระเจ้าผู้ทรงกระทำ
การ แก้แค้นให้แก่ข้าพระองค์ และนำชนชาติทั้งหลายลงให้อยู่ใต้ข้าพระองค์ 49 ผู้
ทรงนำ ข้าพระองค์ออกมาจากศัตรูของข้าพระองค์ พ่ะย่ะค่ะ พระองค์ทรงยกข้าพระ
องค์ ให้เหนือปฏิปักษ์ของข้าพระองค์ พระองค์ทรงช่วยกู้ข้าพระองค์จากคนทารุณ 50
"ข้าแต่พระเจ้า เพราะ เหตุนี้ข้าพระองค์ขอเชิดชูพระองค์ ในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์"

พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยและโล่ห์ปกป้องดาวิด เมื่อท่านร้องทูลขอการช่วยกู้ พระองค์ทรงสดับและทรงช่วย พระเจ้าเคลื่อนไหวทั้งท้องฟ้าและแผ่นดินโลก เพื่อนำการช่วยเหลือมาสู่ดาวิด บางครั้งพระองค์ช่วยด้วยวิธี เสริมกำลังท่าน เพื่อต้านภัยและมีชัยเหนือศัตรู ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่น่าสนใจแล้วครับ คุณว่าใครคือศัตรูของ ดาวิด? และใครคือบรรดาผู้ที่จะสรรเสริญพระเจ้าร่วมกันกับท่าน? ชาวยิวที่ชอบธรรมจะตอบได้ทันทีเลยครับ "คนยิวคือมิตรสหายของดาวิด เป็นผู้ที่จะร่วมสรรเสริญพระเจ้าด้วยกันกับท่าน ; คนต่างชาติเป็นศัตรูของ พระเจ้า สมควรถูกบดขยี้ให้แหลกเป็นจุล" แต่ดาวิดไม่ได้พูดเช่นนั้น

ดาวิดบ่งชัดเจนว่า หนึ่งในบรรดาศัตรูของท่าน ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพี่น้องร่วมชาตินั่นเอง (ดูข้อ 44ก) และ บรรดาประชาชาติทั้งหลาย ที่ยอมจำนนกับท่าน คือบรรดาผู้ที่จะร่วมสรรเสริญพระเจ้าด้วยกันกับท่าน (ดูข้อ 44ข) ท่านพูดชัดเจนมากเลยครับในข้อที่ 50 :

50 "ข้าแต่พระเจ้า เพราะ เหตุนี้ข้าพระองค์ขอเชิดชูพระองค์ ในหมู่ประชาชาติ
ทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์

พวกยิวบางคนต่อต้านพระเจ้าด้วยการต่อต้านดาวิด แต่ชาวต่างชาติบางคน เป็นผู้ที่ร่วมสรรเสริญในการช่วยกู้ ของพระเจ้าร่วมกันกับดาวิด ถ้าคุณคิดว่าผมพูดเกินเลยไป ขอนำพระวจนะของ อ.เปาโลที่พูดไว้ เป็นสิ่งยืน ยันในเรื่องนี้ :

7 เหตุฉะนั้นจงต้อนรับกันและกัน เช่นเดียวกับที่พระคริสต์ได้ทรงต้อนรับท่าน เพื่อพระเกียรติของพระเจ้า 8 เพราะข้าพเจ้าหมายว่า พระคริสต์ได้ทรงรับใช้
มายังพวกที่เข้าสุหนัต เพื่อเห็นแก่ ความสัตย์จริงของพระเจ้า เพื่อจะดำรงพระ
สัญญา ที่ประทานไว้กับบรรดาอัครปิตานั้น 9 และเพื่อให้คนต่างชาติได้ถวาย
พระเกียรติแด่พระเจ้า เพราะพระเมตตาของพระองค์ ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระ
คัมภีร์ว่า เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์ขอสรรเสริญพระองค์ ท่ามกลางประ
ชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์
10 และ
มีคำกล่าวอีกว่า ประชาชาติทั้งหลายเอ๋ย จงชื่นชมยินดีกับชนชาติของ
พระองค์ 11
แล้วยังมีคำกล่าวอีกว่า ประชาชาติทั้งปวงเอ๋ย จงสรรเสริญพระเจ้า เถิดและให้ชนชาติทั้งหลายยกย่องพระองค์ 12 และอิสยาห์กล่าวอีกว่า รากแห่ง
เจสซีจะมา คือผู้จะทรงบังเกิดมาครอบครองบรรดาประชาชาติ ประชาชาติทั้งหลาย ะมีความหวังในพระองค์ (โรม 15:7-12)

พระเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยกู้ของดาวิด เป็นที่ลี้ภัยของท่านหรือไม่? ใช่ครับ แต่พระองค์ยังทรงเป็นที่ลี้ภัย และเป็น ผู้ช่วยกู้สำหรับทุกคนที่วางใจในพระองค์ ซึ่งรวมไปถึงคนต่างชาติด้วย บรรดาคนที่ต่อต้านกษัตริย์ของพระ เจ้า (ดาวิด หรือพระเมสซิยาห์) ก็คือศัตรูของพระองค์ และจะถูกกษัตรยิ์ของพระองค์บดขยี้แหลกเป็นจุล

พระเจ้าทรงช่วยกู้กษัตริย์ !
(22:51)

51 พระองค์ประทานชัยชนะยิ่งใหญ่แก่พระราชาของพระองค์ และทรงสำแดงความรัก
มั่นคง แก่ผู้ที่ทรงเจิมของพระองค์แก่ดาวิด และพงศ์พันธุ์ของท่านเป็นนิตย์ 115

บทสรุปของดาวิดเต็มไปด้วยความหวังและการรอคอย ดาวิดเป็นพระราชาที่พระเจ้าเจิม แต่การปกครองของ ท่านในไม่ช้าจะจบลง พระเจ้าได้พิสูจน์แล้วว่าพระองค์ทรงเป็น "ป้อมปราการแห่งความรอด" แต่ไม่ได้ จบลงเพียงแค่สมัยของดาวิดเท่านั้น แต่เป็นพระสัญญาที่จะให้ครอบครองบัลลังก์ชั่วนิรันดร์ :

12 เมื่อวันของเจ้าครบแล้ว และเจ้านอนพักอยู่กับบรรพบุรุษของเจ้า เราจะให้บุตรชาย คนหนึ่งของเจ้าเกิด ขึ้นสืบต่อจากเจ้าผู้ซึ่งเกิดมาจากตัวเจ้าเองและ เราจะสถาปนา อาณาจักรของเขา 13 เขาจะเป็นผู้สร้างนิเวศเพื่อ นามของเราและเราจะสถาปนา บัลลังก์แห่งราชอาณาจักรของเขาให้อยู่เป็นนิตย์ 14 เราจะเป็นบิดาของเขา และเขา จะเป็นบุตรของเรา ถ้าเขากระทำผิดเราจะตีสอนเขาด้วยไม้เรียวของมนุษย์ ด้วยการ เฆี่ยนแห่งบุตรมนุษย์ทั้งหลาย 15 แต่ความรักมั่นคงของเรา จะไม่พรากไปจากเขาเสีย ดังที่เราพรากไปจากซาอูล ซึ่งเราได้ถอดเสียให้พ้นหน้าเจ้า 16 ราชวงศ์ของเจ้า และอาณาจักรของเจ้าจะดำรง อยู่ต่อหน้าเจ้าอย่างมั่นคงเป็นนิตย์ และบัลลังก์ ของเจ้าจะถูกสถาปนาไว้เป็นนิตย์'" (2 ซามูเอล 7:12-16 ผมขอย้ำด้วย)

ดาวิดปลอดภัยและมั่นคงเพราะพระเจ้าเป็นที่ลี้ภัยจริงหรือ? จริงครับ เพราะตอนท้ายท่านเปิดเผยว่า ความมั่น ใจ ความปลอดภัยของท่านนั้นยืนยาวกว่าชีวิตของท่าน ท่านรู้ดีว่าพระิจ้าทรงสำแดงพระทัยรักและเมตตาต่อ ท่าน และพระองค์จะทำสิ่งเดียวกันนี้ต่อราชวงศ์ของท่านด้วย ดังนั้นพระพรที่ท่านพูดถึงนี้ เป็นพระพรนิรันดร์ พระเจ้าไม่เพียงแต่รักษาพระสัญญาที่มีต่อดาวิดเท่านั้น แต่จะทรงปกป้องจากผู้หวังเข้ามาทำลายด้วย และจะ จัดตั้งพระบัลลังก์ และเตรียมการให้พระสัญญาที่มีต่อดาวิดนั้นสำเร็จเป็นจริง โดยทางผู้ที่พระองค์เจิมไว้ คือ องค์พระเมสซิยาห์

บทสรุป

ในการสรุปพระธรรมที่ยิ่งใหญ่ตอนนี้ มีหลายสิ่งที่สะท้อนให้ผมประทับใจ

ประการแรก ผมเห็นว่า "ความสำเร็จ" ของดาวิดเป็นมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น เมื่อดาวิดมองย้อนกลับไป ถึงการขึ้นครองบัลลังก์ของท่าน ท่านเข้าใจดีว่า อำนาจและความยิ่งใหญ่ของท่าน ได้มาโดยพระคุณ ท่านจำ ได้ถึงภัยอันตรายที่ต้องเผชิญ ความตายที่รออยู่เบื้องหน้า หลบไม่พ้น ท่านจึงสรรเสริญพระเจ้าแห่งการช่วยกู้ เป็นที่ลี้ภัย เป็นแหล่งของกำลังและความมีชัย ไม่ใช่ว่าดาวิดแค่นั่งรอพระเจ้าเฉยๆโดยไม่ทำสิ่งใด ท่านทำ ทุกสิ่งเท่าที่ทำได้ ท่านรู้ว่าพระเจ้าจะปกป้องท่าน และนำท่านไปจนถึงบัลลังก์กษัตริย์ของอิสราเอล ดาวิด ถ่อมใจลงอย่างแท้จริง ขอให้เราเรียนจากท่าน ถ้าบุคคลที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ยังถวายเกียรติทั้งสิ้นแด่พระเจ้า แน่นอนเราทั้งหลายสมควรด้วย อย่างที่ อ.เปาโลเคยกล่าวไว้

7 ผู้ใดเล่ากระทำให้ท่านวิเศษกว่าคนอื่น ท่านมีอะไรที่ท่านมิได้รับมา ก็เมื่อท่าน
ได้รับมา เหตุไฉนท่านจึงโอ้อวดเหมือนกับว่าท่านมิได้รับเลย (1 โครินธ์ 4:7)

ประการที่สอง เราเห็นว่าความสำเร็จของดาวิด บางครั้งมาจากศัตรู จากการถูกข่มเหง หลายครั้ง พวกศัตรูนี่แหละทำให้ประสพความสำเร็จ ดาวิดสรรเสริญพระเจ้าแห่งความรอด บ่อยครั้ง "ความรอดนี้" เป็นความรอดทางกาย (พระเจ้าช่วยชีวิตท่าน) เมื่อเราอ่านพระกิตติคุณ เราจะพบเรื่องเดียวกัน "ความรอด" ทั้งสิ้น เป็นความรอดที่ฉุดเราออกมาจากการถูกพิพากษานิรันดร์ ให้เราได้รับการอภัยจากบาป โดยโลหิต พระเยซูคริสต์ มั่นใจในชีวิตนิรันดร์ แต่ในพระกิตติคุณตลอดทุกเล่ม เราจะเห็นว่าพระเจ้าของเรา "ช่วยกู้" ประชาชนในภาพกว้าง ภาพที่ย้ำให้เห็นชัดเจนว่าพระองค์เป็นพระผู้ช่วยที่ยิ่งใหญ่แท้จริง

ในพระคัมภีร์ใหม่ คำภาษากรีกคำว่าการช่วยกู้ มาจากการ "ช่วยกู้" ในหลายรูปแบบ เป็น (ราก) ศัพท์คำเดียว กับ "การช่วยเหลือ" พวกสาวกที่เผชิญพายุร้ายในทะเล (มัทธิว 8:25) การช่วยรักษาหญิงโลหิตตก (มัทธิว 9:21-22) การช่วยเปโตรไม่ให้จมน้ำเมื่อท่านเดินบนทะเล (มัทธิว 14:30) คำร้องขอของไยรัสให้พระเยซูช่วย "รักษา" ชีวิตของบุตรสาว (มาระโก 5:23) การรักษาโรคภัยใข้เจ็บทั้งหลาย (มาระโก 6:56) การรักษาคนตา บอดให้หาย (มาระโก 10:52) รวมถึงการขับผีด้วย (ลูกา 8:36)

บทเรียนที่เราเีรียนอยู่นี้บอกว่า พระเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยของเราในทุกทาง แต่การช่วยกู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การจัดเตรียมโดยการหลั่งพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ สิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คือการยอมรับการจัด เตรียมเพื่อความรอดนี้ เพื่อหลุดพ้นจากบาปผิดและกรรมเวรทั้งสิ้น โดยการยอมรับในการสิ้นพระชนม์ การฝัง พระศพ และการคืนพระชนม์ขององค์พระเยซูคริสต์ และในแต่ละวันของชีวิต เราต้องมองพระองค์เป็นพระ ผู้ช่วยให้รอด เป็นป้อมปราการ เป็นที่ลี้ภัยของเรา ที่เราสามารถเข้าไปหลบอยู่อย่างปลอดภัยเป็นนิตย์

เมื่อตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์และการถูกข่มเหง เราจะสำนึกถึงพระคุณ (2 โครินธ์ 12:7-10) ถ้าเป็นเช่นนั้น (ใช่ครับ มันต้องเป็น) เราควรมองความทุกข์ยากในมุมมองที่ต่างไป ถึงแม้มันจะไม่น่ารื่นรมย์ แต่ผลหอมหวาน ที่ได้รัย ในการที่พระเจ้ามีส่วนร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย นำมาซึ่งความชื่นชมยินดีและสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น กับพระองค์ (ฟีลิปปี 3:10) ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่าทำไมพระเยซูจึงตรัสว่า "บุคคลผู้ใดโศกเศร้า ผู้นั้น เป็นสุข …" (มัทธิว 5:4)

ประการที่สาม การกอบกู้ผู้ชอบธรรมนั้นเกิดขึ้นได้ เมื่อพระเจ้าทรงพระพิโรธ ดาวิดพูดถึงภัยที่เกิด ขึ้นกับท่านนั้น เป็นฝีมือของฝ่ายศัตรู ของพวกที่ต้องการกำจัดท่าน (22:18-19, 38-46) เมื่อท่านพูดถึงการ ช่วยเหลือของพระเจ้าในข้อ 8-16 ท่านอธิบายถึงการที่พระเจ้าทรงบัญชาธรรมชาติในรูปแบบต่างๆมากมาย ทรงเสด็จมาเหมือนบินได้ ด้วยปีกของลม (ข้อ 11); ทรงใช้ทั้งเสียงและสายฟ้าฟาด (ข้อ 14-15) โลกทั้งใบ ก็สั่นสะเทือน (ข้อ 8) นี่เป็นการสำแดงถึงพระพิโรธของพระองค์ ต่อบรรดาคนบาป ที่ต่อสู้พระองค์ โดยต่อต้าน กษัตรยิ์ที่พระองค์เลือกสรรไว้ (ดูข้อ 8) พระเจ้าทรงช่วยกู้ผู้รับใช้ของพระองค์ ด้วยการทำลาย และมีชัยเหนือ ศัตรูทุกคนที่มุ่งร้าย ต่อผู้รับใช้ของพระองค์

ดาวิดรวมการช่วยกู้และการพิพากษาของพระเจ้าไว้ด้วยกัน พระเจ้าช่วยกู้ดาวิดด้วยการทำลายศัตรูของท่าน ไม่มีสิ่งใดอีกแล้ว จะน่าสะพรึงกลัวไปกว่า เมื่อพบว่าตนเองอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพระเจ้าผู้บริสุทธิ์และยุติธรรม ไม่มีอะไรจะน่ากลัวไปกว่าเมื่อตระหนักว่า - มันสายไปแล้ว - เราได้ต่อต้านผู้ที่พระเจ้าเจิมไว้ "พระบุตร" ของพระองค์ (ดู 2 ซามูเอล 7:12-16) ถ้ามันเกิดขึ้นกับศัตรูของดาวิด ลองคิดดูว่าผู้ที่ปฏิเสธองค์พระเยซู คริสต์ "บุตรดาวิด" และ "บุตรพระเจ้า" จะเป็นเช่นไร ไม่มีบาปผิดใดจะใหญ่หลวงไปกว่าการกบฎต่อ พระเจ้า ด้วยการปฏิเสธพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ .

ประการที่สี่ แน่นนอนยังมีสิ่งยิ่งใหญ่กว่าที่ดาวิดได้กล่าวไปแล้วในพระธรรมตอนนี้ เมื่ออ่านสดุดี 22 เรารู้ว่าดาวิดเป็นผู้เขียน ในขณะที่ท่านตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของศัตรู มีอีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถพูดถึงได้ คือ พระคริสต์ ผู้จะเกิดมาในวงศ์วานของท่าน เช่นเดียวกับสดุดี 18 (2 ซามูเอล 22) รวมความหมายทั้งหมดแล้ว พระองค์คือ "บุตรดาวิด" คือพระเยซูคริสต์ที่ถูกกล่าวถึง

พวกคาลวินกล่าวว่า บทสดุดีเกือบทั้งบทนี้กล่าวถึงพระคริสต์ มากกว่าถึงดาวิด ; และในโรม 15:9 อ.เปาโลไม่มีข้อโต้แย้งใดสำหรับข้อ 49 [สดุดี 18; ข้อ 50 ใน 2 ซามูเอล 22] ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพยากรณ์เรื่องพระเมสซิยาห์ 116

พระเยซูคริสต์ พระบุตรองค์เดียว ที่ถูกคนอธรรมฆ่า แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระบิดาทรงช่วยกู้พระองค์ให้คืน พระชนม์ และพระเจ้าเองจะเป็นผู้ทำลายศัตรู เมื่อพระองค์ส่งพระบุตรกลับมาในโลกอีกครั้ง บทเพลงการช่วยกู้ ของดาวิดพูดเรื่องนี้ -- เป็นบทสดุดีที่มองไปในอนาคตกาล เมื่อมีการจัดตั้ง "พระบัลลังก์นิรันดร์" บนโลกนี้ บรรดาศัตรูทั้งหลายจะถูกลงโทษ และถูกกำจัดออกไป แต่ผู้ที่วางใจในพระองค์จะได้รับความรอด นับเป็นวัน แห่งความชื่นชมยินดีอันแท้จริง! ความยินดีในความรอด และความตระหนกในการพิพากษาของพระองค์จะ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

ประการที่ห้า ถ้าพระเจ้าเป็นที่ลี้ภัยของเรา เราก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ผมเคยเห็นสติ๊กเกอร์ที่ติดตามท้าย รถ (ที่จริงส่วนมากจะเป็นพวกรถกะบะหรือรถบันทุก) ที่เขียนว่า "ไม่กลัว" ผมไม่แน่ใจว่าเขาหมายถึงอะไร หมายความว่า "ถ้าไม่แน่จริง อย่าซ่า" หรือว่า "นี่เป็นเขตพกพาอาวุธ" ไม่ว่าจะแปลว่าอะไร คงไม่มีทางเทียบ ได้กับพระคำของพระเจ้าที่ว่า "อย่ากลัวเลย" ไม่มีอะไรในโลกนี้จะเทียบได้กับ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ของบรรดาธรรมิกชนอีกแล้ว:

6 จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด อย่ากลัวหรืออย่าครั่นคร้ามเขาเลย เพราะว่า ผู้ที่ไปกับท่านคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน พระองค์จะไม่ทรงปล่อยท่าน ให้ล้มเหลวหรือทอดทิ้งท่านเสีย" (เฉลยธรรมบัญญัติ 31:6)
14 ข้าพเจ้ามองดู แล้วลุกขึ้นพูดกับขุนนางและเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย กับคนนอก นั้นว่า "อย่ากลัวเขาเลย จงระลึกถึงพระเจ้าผู้ใหญ่ยิ่งและน่าเกรงกลัว และต่อสู้ เพื่อพี่น้องของท่าน บุตรชายบุตรหญิงของท่าน ภรรยาและเรือนของท่าน (เนหะมีย์ 4:14)
6 ข้าพเจ้าไม่กลัวคนเป็นหมื่นๆ ซึ่งตั้งตนต่อสู้ข้าพเจ้าอยู่รอบด้าน (สดุดี 3:6)
4 ในพระเจ้า ผู้ที่ข้าพระองค์สรรเสริญ พระวจนะของพระองค์ ในพระเจ้า ข้า พระองค์วางใจอย่างปราศจากความกลัว เนื้อหนังจะกระทำอะไรแก่ข้าพระองค์ ได้ (สดุดี 56:4)
11 ในพระเจ้า ข้าพระองค์วางใจอย่างปราศจากความกลัว คนจะกระทำอะไร แก่ข้าพระองค์ได้ (สดุดี 56:11)
6 มีพระเจ้าอยู่ฝ่ายข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่กลัว มนุษย์จะทำอะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า (สดุดี 118:6)
2 "ดูเถิด พระเจ้าเป็นความรอดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะวางใจและไม่กลัว เพราะ พระเจ้าทรงเป็นกำลังและบทเพลงของข้าพเจ้า และพระองค์ทรงเป็นความรอด ของข้าพเจ้าแล้ว" (อิสยาห์ 12:2)
8 อย่ากลัวหน้าเขาเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า จะช่วยกู้เจ้าไว้ พระเจ้าตรัสดังนี้ แหละ (เยเรมีย์ 1:8)
11 อย่ากลัวพระราชาแห่งบาบิโลนผู้ซึ่ง เจ้ากลัวอยู่นั้นพระเจ้าตรัสว่า อย่ากลัว เขาเลย เพราะเราอยู่กับเจ้าทั้งหลาย เพื่อช่วยเจ้าและช่วยกู้เจ้าให้พ้นจากมือ ของเขา (เยเรมีย์ 42:11)
27 ในทันใดนั้นพระเยซูตรัสกับเขาว่า "ทำใจให้ดีไว้เถิด เราเอง อย่ากลัวเลย" (มัทธิว 14:27)
9 และองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสกับเปาโลทางนิมิต ในคืนหนึ่งว่า "อย่ากลัวเลย
แต่จงกล่าวต่อไป อย่านิ่งเสีย (กิจการ 18:9)
5 ท่านจงอย่าเป็นคนเห็นแก่เงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ตรัสว่า เราจะไม่ละท่าน หรือทอดทิ้งท่านเลย 6 เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายอาจกล่าวด้วยใจเชื่อมั่น
ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระผู้ช่วยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว มนุษย์จะทำ อะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า
5 ท่านจงอย่าเป็นคนเห็นแก่เงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ตรัสว่า เราจะไม่ละท่าน หรือทอดทิ้งท่านเลย 6 เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายอาจกล่าวด้วยใจเชื่อ
มั่นว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระผู้ช่วยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว
มนุษย์จะทำ อะไรแก่ข้าพเจ้าได้เล่า
(ฮีบรู 13:5-6)

สำหรับผู้ที่รู้จักและวางใจในองค์พระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด ไม่มีอะไรจะต้องกลัว ไม่จำเป็นต้องกลัว การพิพากษา เพราะโทษบาปทุกอย่าง พระผู้ช่วยของเราชดใช้ให้หมดแล้ว ไม่ต้องกังวลถึงความต้องการใดๆ พระองค์สัญญาจะจัดเตรียมให้ ไม่ต้องเกรงกลัวสถานการณ์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิต เพราะพระองค์ร่วมอยู่ด้วย ขอให้ความมั่นคงของพระองค์สถิตย์ในเรา ขณะที่เราวางใจในความรอดที่พระองค์จัดเตรียมให้ในองค์พระ เยซูคริสต์

31 ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ใครจะขัดขวางเรา
32 พระองค์ผู้มิได้ทรงหวงพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ แต่ได้ทรงโปรด ประทานพระบุตรนั้นเพื่อประโยชน์แก่เรา ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะไม่ทรงโปรด ประทานสิ่งสารพัดให้เราทั้งหลาย ด้วยกันกับพระบุตรนั้นหรือ 33 ใครจะฟ้อง คนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้ พระเจ้าทรงโปรดให้พ้นโทษแล้ว 34 ใครเล่าจะเป็นผู้ปรับโทษอีก พระเยซูคริสต์น่ะหรือ ผู้ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว และยิ่งกว่านั้นอีกได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตาย ทรงสถิต ณ เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า และทรงอธิษฐานขอเพื่อเราทั้งหลายด้วย
35 แล้วใครจะให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระคริสต์ได้เล่า จะเป็น
ความทุกข์ หรือความยากลำบาก หรือการเคี่ยวเข็ญ หรือการกันดารอาหาร
หรือการเปลือยกาย หรือการถูกโพยภัย หรือการถูกคมดาบหรือ 36 ตามที่
เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เพราะเห็นแก่พระองค์ ข้าพระองค์จึงถูกประหาร
วันยังค่ำ และนับว่าเป็นแกะสำหรับจะเอาไปฆ่า
37 แต่ว่าในเหตุการณ์
ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย 38 เพราะ
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย
39 หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆอื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถ กระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้ (โรม 8:31-39)


104 ผมพึ่งมีโอกาสคุยกับคาร์ลเรื่องนี้อยู่หยกๆ เขาเล่าให้ฟังว่ามาร์ธา ภรรยาของเขาสอนรวีอยู่ใกล้ๆกับ ห้องเก็บศพ ดังนั้นมีบางอาทิตย์ที่มีกลิ่นน้ำยาอาบศพลอยเข้ามาในห้องอยู่เป็นประจำ

105 เนื้อหาของบทเพลงนี้ เป็นการที่ดาวิดตอบสนองต่อการช่วยกู้ของพระเจ้า ออกจากเงื้อมมือศัตรู และออก จากซาอูล ผมจึงเข้าใจว่าท่านเริ่มเขียนจากจุดที่ท่านขึ้นครองเป็กษัตริย์ คือหลังจากที่ซาอูลตายได้ไม่นาน สิ่ง ที่ช่วยย้ำความคิดของผม มาจากข้อเท็จจริงว่า นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นหนึ่งในบทเพลงสดุดี ที่เก่าที่สุด ของดาวิด

106 "นอกจาก "เป็นถ้อยคำที่ยาวที่สุด ที่เชื่อว่าเป็นผลงานของดาวิด" (มี 365 คำในภาษาฮีบรู) และ มีการ ใช้คำศัพท์อย่างหลากหลาย โครงร่างเป็นไปอย่างมีระเบียบถูกต้อง นับเป็นตัวอย่างของบทกวีชั้นสูงในภาษา ฮีบรู" โดย โรเบิร์ต ดี เบอร์เก้น 1, 2 ซามูเอล (Broadman and Holman Publishers, 1996), p. 450.

107 บทสดุดีของฮาบากุกเกิดทีหลัง และไม่คล้ายกับของดาวิด ถึงแม้ว่าผู้เผยพระวจนะท่านนี้ ไม่เพียงแต่ คุ้นเคยกับบทเพลงของดาวิดเท่านั้น แต่ท่านอาจยืมบางตอนมาใช้ด้วย

108 เบอร์เก้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่มีการนำบทเพลงสดุดีนี้ มาใส่ไว้ในตอนท้ายของพระธรรมซามูเอล : "พระธรรมตอนนี้ เป็นตอนที่โดดเด่นที่สุดตอนหนึ่งของหนังสือพระธรรม 2 ซามูเอล ที่ว่าสำคัญนั้นมีเหตุผล สามประการ : ประการแรก ตอนนี้ -- รวมทั้ง 22:1-51 -- เป็นหัวใจ เป็นศูนย์กลาง ของโครงเรื่องทั้งหมด แต่ค่อยๆถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวโยงกันทั้งหมด ( chiastic structure) : ดังนั้นบทเพลงนี้จึงทำ หน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของทั้งโครงเรื่อง จากข้อเขียนของ Bergen, pp. 464-465.

109 "มีการบันทึกไว้ว่า อาธาเนซีอุส ผู้นำคนสำคัญของคริสเตียนในสมัยศตวรรษที่สี่ ประกาศว่าบทเพลงนี้ เป็นบทสดุดีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นบทหนึ่งในพระคัมภีร์ เพราะพระวจนะคำโดยส่วนมากจะพูดกับเรา แต่พระ ธรรมสดุดีจะพูดแทนเรา " กล่าวโดยเบอนาร์ด แอนเดอสัน จากหนังสือ Out of the Depths: The Psalms Speak for Us Today (Philadelphia: The Westminster Press), p. x.

110 "ป้อม ปราการ (2) เป็นคำที่ใช้สำหรับที่หลบภัยในถ้ำอดุลลัม (1 ซมอ. 22:1-5; 23:14, 19, 29) และ ป้อมปราการที่ค่ายของชาวเยบุส ที่ต่อมาได้กลายเป็น "เมืองดาวิด" (5:9)" จากบทความของ Robert P. Gordon, I & II Samuel: A Commentary (Grand Rapids: Regency Reference Library, Zondervan Publishing House, 1986), p. 304.

111 สงสัยมั้ยครับ ว่าโยนาห์อาจยืมคำพูดตอนนี้ของดาวิด มาใช้อธิบายถึงสถานะการณ์ของท่าน ระหว่าง ที่ลอยคออยู่ในทะเล (เปรียบเทียบระหว่าง 2 ซามูเอล 22:5 กับโยนาห์ 2:3-5)?

112 "ดาวิดเปลี่ยนจากภาพจินตนาของห้วงทะเลในข้อ 19 เป็นทุ่งกว้างใหญ่แทน ในข้อนี้ท่านพูดถึงพระเจ้า ว่าเป็นดังคฑา (ฉบับ NIV ข้อ 19 ใช้คำว่าเป็นที่พึ่ง) ของท่าน คำที่นำมาใช้ตรงนี้ … หมายถึง ด้ามไม้ใหญ่ ที่ปลายด้านบนเป็นเหมือนขอเกี่ยว ที่พวกคนเลี้ยงแกะใช้สำหรับดึงแกะที่เดินหลงทาง หรือที่กำลังตกอยู่ใน อันตรายขึ้นมา" จากหนังสือของ Bergen หน้า 456.

113 "… บทเพลงนี้ดูเหมือนนำเอาหัวใจหลักของพระคัมภีร์ห้าเล่มแรก (โทราห์) มาทบทวน-- เชื่อฟังองค์ พระผู้เป็นเจ้านำมาซึ่งพระพรแห่งชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ต้องการสื่อจากบทสดุดีบทนี้สรุปได้คือ เพราะดาวิดเชื่อฟัง พระเจ้าอย่างตั้งใจ พระองค์ทรงประทานบำเหน็จให้ด้วยการตอบคำร้องทูลของท่าน ช่วยเหลือท่านในช่วง เวลาแห่งความทุกข์ยากเดือดร้อน ชุบชูท่านขึ้นมาใหม่ ด้วยเหตุนี้พระเจ้าจึงสมควรได้รับคำสรรเสริญ โดย Robert D. Bergen, 1, 2 Samuel (Broadman and Holman Publishers, 1996), p. 451.

114 "การใช้คำว่าพระเจ้าทรงเป็นพระศิลา เป็นการประกาศว่าพระองค์จะทรงทำการ "แก้แค้น" แทน (นำการ แก้แค้นไปสู่) ต่อบรรดาศัตรูของดาวิด และคำว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่" ในตอนท้ายของบทสดุดีของ ดาวิดจะโยงไปเข้ากับบทเพลงสดุดีของโมเสส โดยเฉพาะใน ฉธบ. 32:31-43 ความคล้ายคลึงกันทั้งคำศัพท์ และใจความนี้ บ่งบอกว่าผู้เขียนต้องการประกาศความสำคัญของเรื่องนี้ให้ได้รับรู้กันอย่างทั่วถึง" จากข้อเขียน ของ Bergen, p. 462.

115 "มีความคล้ายคลึงกันระหว่างตอนท้ายของบทเพลงของนางฮันนาห์ (1 ซมอ. 2:10) และตอนท้ายของ บทเพลงของดาวิด ทั้งสองพูดว่าพระเจ้าทรงช่วย "พระราชาของพระองค์" และ "ผู้ที่ทรงเจิมของพระ องค์" เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความต่างอยู่ด้วย -- ดาวิดเอ่ยถึงชื่อตนเอง และพงษ์พันธ์ของตน ว่าเป็นพระราชาของพระเจ้า ในขณะที่นางฮันนาห์ไม่ได้กล่าวอะไร ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนในพระธรรม ทั้งสองนั้น เป็นการยืนยันคำพยากรณ์ของนางฮันนาห์ ที่มีต่อดาวิดและวงศ์วานของท่าน จากข้อเขียนของ Bergen, p. 463.

116 จากบทความของ Derek Kidner, สดุดี 1-72: An Introduction and Commentary (Downers Grove: Inter-Varsity Press, 1973), vol. 1, p. 90.

Related Topics: Bibliology (The Written Word)

Pages