MENU

Where the world comes to study the Bible

17. มัทธิว บทเรียนที่ 17 “บัญญัติแห่งการเอาคืน” (มัทธิว 5:38-42)

Related Media

I. คำนำ1

สองสามเดือนที่แล้ว ผมได้อ่านข่าวด้านล่าง (ปี 2002) เป็นรูปแบบที่เกิดซ้ำซากกรณีพิพาทระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์:

“เมื่อวันอังคาร อิสราเอลส่งเฮลิคอปเตอร์ไปสังหารผู้นำฮามาสในท่ามกลางถนนที่เต็มด้วยผู้คนใน กาซา แต่ไม่สำเร็จ ทำให้ชาวปาเลสไตน์ 2 คนต้องเสียชีวิต และ 27 คนบาดเจ็บ การโจมตีด้วยขีปนาวุธนี้มีแต่จะจุดชนวนความรุนแรงและพังทลายแผนสันติภาพลง อย่างสิ้นเชิง การโจมตีเพื่อเอาชีวิตอับเดล แรนทิซี ทำให้เกิดความเคียดแค้นจากกลุ่มทหารอิสลาม และมีการขู่ว่าจะใช้ระเบิดพลีชีพเพื่อเอาคืนจากผู้นำอิสราเอล”

“นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ถอนกำลังทหารออกไปจนกว่าสหรัฐอเมริกาจะเดินหน้าผลักดัน แผนสันติภาพต่อ แรนทิซีเป็นผู้นำคนสำคัญของฮามาสที่ทางอิสราเอลพุ่งเป้าไป และส่งสัญญาณว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้แผนสันติภาพไม่อาจเดินหน้าต่อไปได้”

“อิสราเอลประกาศว่าแรนทิซีเป็นผู้ก่อการร้ายตัวยงที่ชาวปาเลสไตน์น่าจะ ปลดออกไปก่อนหน้า ‘เขาเป็นศัตรูของสันติภาพ ศัตรูของทุกคนที่แสวงหาสันติภาพในตะวันออกกลาง’ ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ‘ที่จริงเราพยายามรักษาขบวนการสันติภาพโดยต้องกำจัดคนแบบนี้ออกไป’

“ผู้สนับสนุนชาวฮามาสนับพันชุมนุมกันที่สนามหน้าโรงพยาบาลชีฟาห์ ร้องปลุกระดมต่อต้านอับบาส หรือที่รู้จักกันในนามอาบู มาเซน ‘อาบู มาเซน เราจะไม่มีวันยอมถอย’ พวกเขาร้องตะโกน”

“ผู้นำฮามาสกล่าวว่าการเอาคืนจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ‘การตอบสนองของฮามาสจะรุนแรงเหมือนแผ่นดินไหว – แบบตาต่อตา…นักการเมืองต่อนักการเมือง’ เขากล่าว”2

อีกสถานที่หนึ่งในตะวันออกกลาง มีการเสวนาระหว่างผู้นำคริสเตียนและผู้สอนศาสนาอิสลาม พวกเขากำลังคุยกันถึงข้อแตกต่างระหว่างอิสลามและคริสเตียน ผู้สอนศาสนากล่าวว่าข้อแตกต่างนั้นธรรมดามาก: “คริสเตียนสอนว่าถ้าถูกตบ ให้หันแก้มอีกข้างให้ตบด้วย แต่อิสลามสอนว่าถ้าถูกตบ คุณต้องเอาคืน – ซึ่งจะเป็นการดีกว่าสำหรับทั้งสองฝ่าย”3

คืนหนึ่งระหว่างครอบครัวผมทานอาหารเย็นด้วยกัน ลูกสาว คีล่าห์ ถามคำถามที่ชวนคิดขึ้นมา ถามว่า “ถ้าพี่ชายมาตบหน้าหนู หนูจะตบเอาคืนได้มั้ย?” แน่นอน คำตอบของเราคือเธอต้องไปหาคนที่มีสิทธิตัดสินในเรื่องนี้ – พ่อหรือแม่

จริยะธรรมของโลกนี้คือ : 1) ตบกลับ 2) ทำให้เสมอภาคกัน 3) ปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนที่ท่านอยากให้เขาปฏิบัติต่อท่าน หลายครั้งความเป็นธรรมเพื่อให้เสมอภาคกันเป็นเหมือนกฎหมายยุคโบราณ “ตาแทนตา ฟันแทนฟัน”4 ต้องขอยอมรับว่าการชดใช้หรือเอาคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ดึงดูดผมพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผมรู้สึกเป็นฝ่ายถูกกระทำ

แต่พระเยซูตรัสว่า “ไม่” – ไม่ให้ใช้กฎตาแทนตา” เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคนที่แค้นใจ แต่พระองค์ตรัสว่า “ให้หันแก้มซ้ายให้ตบด้วย” “ให้เลยไปอีกหนึ่งกิโลเมตร” “ถ้าเขาปรับเสื้อไป ให้เสื้อคลุมแถมไปด้วย” และ “อย่าเมินหน้าจากผู้ที่ขอยืม” คำสอนของพระเยซูไม่เพียงแต่ถูกต้องตามกฎและตามหลักการ แต่ยังเจาะลงลึกซึ้งในสถานการณ์ความขัดแย้ง การข่มเหง และความจำเป็นในชีวิตประจำวัน

มัทธิว 5:38-42 กล่าวว่า

38 “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่าตาแทนตาและฟันแทนฟัน39 ฝ่ายเราบอกท่านว่าอย่าต่อสู้คนชั่วถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มซ้าย ให้เขาด้วย 40 ถ้าผู้ใดอยากจะฟ้องศาลเพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไปก็จงให้เสื้อคลุมแก่เขา เสียด้วย41 ถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งกิโลเมตรก็ให้เลยไปกับเขาถึงสอง กิโลเมตร 42 ถ้าเขาจะขอสิ่งใดจากท่านก็จงให้อย่าเมินหน้าจากผู้ที่อยากขอยืมจากท่าน”

หลายคนพยายามอธิบายพระวจนะด้านบนไว้ดังนี้:

  1. เป็นถ้อยคำที่หนักเอาการของพระเยซู
  2. เป็นพระวจนะตอนที่ยากที่สุดในพระคัมภีร์
  3. เกินจริงและเป็นไปไม่ได้
  4. เป็นคำสั่งสำหรับโลกแบบอื่น

คำสอนตรงนี้ของพระเยซูเป็นการเผชิญหน้าในการนำบัญญัติจากพระคัมภีร์มาบิด เบือนและใช้ในทางที่ผิด บัญญัติแห่งการเอาคืน ภาษาลาตินใช้คำว่า “the Lex Talionis” เป็นบัญญัติแห่ง “ชีวิตแทนชีวิต ตาแทนตา ฟันแทนฟัน” ฯลฯ

II. มีคำถามสามข้อ

คำสั่งของพระเยซูในพระวจนะตอนนี้ก่อให้เกิดคำถามหลายข้อที่ต้องนำมาพิจารณา

ข้อแรก – อะไรคือความเกี่ยวข้องกันระหว่างคำสอนของพระเยซูและบัญญัติในพระคัมภีร์เดิมเรื่องตาแทนตา?

ข้อสอง – อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างคำสอนของพระเยซู กับผู้นำชาวยิวและประชาชนชาวยิว? พระเยซูตรัสไว้ก่อนหน้าว่าถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ยิ่งไปกว่าความชอบธรรม ของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี ท่านจะไม่มีวันได้เข้าสู่แผ่นดินสวรรค์ และเรากำลังอยู่ในความเห็นที่ขัดแย้งข้อที่ห้า หรือหลักการที่แตกต่าง “ท่านทั้งหลายได้ยินคำว่า…ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า” ในคำเทศนาบนภูเขา

ข้อสาม – พระเยซูต้องการสิ่งใดจากสาวกของพระองค์? เป็นคำสอนที่ไกลเกินตัว เกินกว่าที่เราคริสเตียนจะทำได้จริงหรือ? มันผลักดันเราจนเกินขีดของจริยะธรรมหรือ? หรือว่ามันนำเราไปจน “ตกขอบของความเป็นไปได้”?

III. กฎหมายตาแทนตา ในพระคัมภีร์เดิม

ให้เรามาเริ่มจากบัญญัติข้อนี้ในพระคัมภีร์เดิม

ให้ลองนึกภาพตัวเราและครอบครัวย้อนกลับไปมีชีวิตในสมัยที่ไม่มีตำรวจ ไม่มีศาลยุติธรรม ไม่มีอำเภอ สำนักปกครอง หรือรัฐบาลแห่งชาติ – ไม่มีกษัตริย์ หรืออำนาจใดๆปกครองคุณหรือผู้คนรอบข้าง แล้ววันหนึ่งขณะที่คุณดำเนินชีวิตไปตามปกติ คุณได้รับข่าวช็อค เพื่อนบ้านคนหนึ่งของคุณจงใจเข้ามาทำร้ายลูกสาวคุณ ตบหน้าเธอจนฟันหน้าหักไปสี่ซี่ คุณจะทำอย่างไร? ไม่รู้จะไปแจ้งความที่ไหน – ไปร้องหาความยุติธรรมได้ที่ไหน แล้วถ้าสถานการณ์เลวร้ายลง ลูกคุณถูกฆ่าตายล่ะ? แน่นอนคุณต้องเข้าไปจัดการแก้แค้นเอง อาจต้องเสียเลือดเสียเนื้อ บางทีคุณอาจต้องให้ฝ่ายที่ทำร้ายคนของคุณได้รับบาดเจ็บในแบบเดียวกัน บางทีคุณอาจอยากเอาคืนให้สาสมหรือมากกว่าที่เขาทำกับคุณ หลังจากเอาคืนแล้ว อีกฝ่ายอาจรู้สึกว่ามันมากเกินไป และต้องการตอบโต้ ทำให้เกิดวงจรการเอาคืนที่ไม่รู้จบระหว่างฝ่ายคุณและฝ่ายตรงข้าม – กลายเป็นเรื่องแก้แค้นเลือดท่วมจออย่างในหนังที่เราเคยดู

ปฐมกาล 34 บันทึกเหตุการณ์จริงระหว่างครอบครัวของยาโคบ และครอบครัวของเชเคม หลังจากบุตรสาวของยาโคบ ดีนาห์ถูกข่มขืน พวกพี่ชายของดีนาห์ สิเมโอนและเลวี หาทางแก้แค้นโดยหลอกครอบครัวเชเคมให้ทำสุหนัต แล้วเข้าไปจัดการฆ่าผู้ชายทั้งหมดของเชเคม และแน่นอนในปฐมกาล 49:5-7 พระเจ้าทรงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่พวกเขาทำ

ดังนั้นการบัญญัติกฎแห่งการเอาคืนในธรรมบัญญัติโมเสสสำหรับคนอิสราเอลและ ผู้มีอำนาจ ผมจึงเชื่อว่าเป็นความก้าวหน้าในเรื่องความยุติธรรม ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเอาคืนหรือแก้แค้นกันเอง คนที่ถูกทำร้ายหรือญาติพี่น้องของเหยื่อสามารถร้องเรียนต่อผู้มีอำนาจของ อิสราเอลเพื่อขอความเป็นธรรม แต่อะไรคือการลงโทษที่เหมาะสมในกรณีฆาตกรรมหรือทำให้พิการ? ตรงนี้ทำให้ธรรมบัญญัติเข้ามามีบทบาท “ชีวิตแทนชีวิต” “ตาแทนตา” “ฟันแทนฟัน” การลงโทษต้องเหมาะสมกับการกระทำผิด – ไม่มากกว่าความผิดที่ทำลงไป หรือไม่น้อยกว่า เข้มงวดแต่เป็นธรรม และยังถูกออกแบบเพื่อป้องกันและยับยั้งการกระทำผิดนั้นๆด้วย เป็นการยื่นมือเข้าไปจัดการกับผู้ทำผิดแทนเหยื่อหรือครอบครัวของเหยื่อ นำคนทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ถูกออกแบบมาให้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับความยุติธรรมที่เหมาะสม ออกแบบมาให้ลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสมด้วย

แต่มีการบิดเบือนและนำกฎหมายนี้ไปใช้อย่างผิดๆ ทำให้เข้าใจผิดในสมัยนี้พอๆกับเข้าใจผิดในสมัยของพระเยซู – บัญญัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเอาคืนกันเอง กลับถูกใช้เพื่อไปสร้างความชอบธรรมให้ตนเองและพรรคพวก

การเข้าใจธรรมบัญญัติผิดกล่าวว่า ถ้ามีคนตบหน้าคุณ ก็ให้ตบคืน (เพราะมีบอกไว้ว่า ตาแทนตา และฟันแทนฟัน) ถ้ามีใครมาฟ้องร้องคุณ ฟ้องกลับเลย ถ้าทหารโรมันบังคับให้คุณแบกของไปให้เขาหนึ่งกิโลเมตร อย่าไปยอม สู้เลย พระเยซูกำลังเผชิญหน้ากับการสอนและกรอบความคิดเช่นนี้

ผมขอทำความเข้าใจให้ชัดเจน พระเจ้าต้องการนำการแก้แค้นออกไปจากมือของเรา เราอาจนำไปให้กับผู้ปกครองบ้านเมือง ถ้าเหมาะสม แต่ถ้ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม นำไปมอบให้พระเจ้าครับ อย่างที่ อ เปาโลกล่าวไว้ในหนังสือโรม :

อย่าทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย แต่จงมุ่งกระทำสิ่งที่ใครๆก็เห็นว่าดี … ดูก่อนท่านผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าอย่าทำการแก้แค้นแต่จงมอบการนั้นไว้แล้ว แต่พระเจ้าจะทรงลงพระอาชญา เพราะมีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “การแก้แค้นเป็นของเรา เราเองจะตอบสนอง” (โรม 12:17, 19)

“บัญญัติแห่งการเอาคืน” บ่งไว้ชัดเจนถึงสามครั้งในพระคัมภีร์เดิม

ที่แรกในอพยพ 21:22-25 บัญญัติขึ้นเพื่อช่วยปกป้องสตรีมีครรภ์และบุตรจากการถูกทำร้ายให้บาดเจ็บ หรือถึงตาย เพราะถูกลูกหลงจากพวกผู้ชายที่ต่อสู้กัน

ที่สองในเลวีนิติ 24:17-22 ใช้ในกรณีเกิดการฆ่ากัน หรือตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเสียโฉมหรือพิการ สำหรับผม บัญญัติข้อนี้ชัดเจนมากในการตัดสินคดีความ มีบัญญัติบทลงโทษทั้งคดีใหญ่ หรือคดีที่ไม่ถึงตาย

“17 ผู้ที่ฆ่าคนตายจะต้องถูกโทษถึงตาย18 ผู้ที่ฆ่าสัตว์ของเขาจะต้องชดใช้ชีวิตแทนชีวิต 19 ถ้าผู้ใดกระทำให้เพื่อนบ้านเสียโฉมเขากระทำให้เสียโฉมอย่างไรก็ให้กระทำแก่ เขาอย่างนั้น 20 กระดูกหักแทนกระดูกหักตาแทนตาฟันแทนฟันเขากระทำให้เสียโฉมอย่างไรเขาก็ต้อง ถูกทำให้เสียโฉมอย่างนั้น 21ผู้ใดที่ฆ่าสัตว์ของเขาต้องเสียค่าชดใช้และผู้ใดที่ฆ่าคนให้ผู้นั้นถูกโทษ ถึงตาย 22 เจ้าจงมีกฎหมายอย่างเดียวกันสำหรับคนต่างด้าวและสำหรับชาวเมืองเพราะเราคือ พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า” (เลวีนิติ 24:17-22)

มีตัวอย่างบทลงโทษหลายแห่งในพระคัมภีร์เดิม แต่มีอยู่หนึ่งที่ในเรื่องถูกทำให้พิการในหนังสือผู้วินิจฉัย 1:6-7

6 อาโดนีเบเซกหนีไปแต่เขาตามจับได้ตัดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วหัวแม่เท้าของ ท่านออกเสีย 7 อาโดนีเบเซกกล่าวว่า “มีกษัตริย์เจ็ดสิบองค์ที่มีหัวแม่มือและหัวแม่เท้าด้วนเก็บเศษอาหารอยู่ใต้ โต๊ะของเราเรากระทำแก่เขาอย่างไรพระเจ้าจึงทรงกระทำแก่เราอย่างนั้น”…

แม้แต่อาโดนีเบเซกที่ถูกตัดนิ้วเท้า ยังตระหนักถึงความยุติธรรมในบทลงโทษ – “นิ้วหัวแม่มือแทนนิ้วหัวแม่มือ – นิ้วหัวแม่เท้าแทนนิ้วหัวแม่เท้า”

ที่สามในเฉลยธรรมบัญญัติ 19:15-21 เป็นการป้องกันเรื่องเบิกพยานเท็จ และใช้ศาลเป็นเครื่องมือลงโทษ หรือกลั่นแกล้งผู้บริสุทธิ์

15 “อย่าให้พยานปากเดียวยืนยันกล่าวโทษผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าในเรื่องอาชญากรรม หรือในเรื่องความผิดใดๆซึ่งเขาได้กระทำผิดไป แต่ต้องมีพยานสองหรือสามปาก คำพยานนั้นจึงจะเป็นที่เชื่อถือได้ 16 ถ้ามีพยานกล่าวปรักปรำความผิดของคนหนึ่งคนใด 17 ก็ให้ทั้งสองฝ่ายที่ต่อสู้คดีกันนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้า ต่อหน้าปุโรหิตและผู้พิพากษาซึ่งประจำหน้าที่อยู่ในกาลนั้นๆ 18 ผู้พิพากษาจะอุตส่าห์ไต่สวน ถ้าพยานนั้นเป็นพยานเท็จกล่าวปรักปรำพี่น้องของตน เป็นความเท็จ 19 ท่านจงกระทำต่อพยานคนนั้นดังที่เขาตั้งใจจะ กระทำแก่พี่น้องของตน ดังนี้แหละท่านจะกำจัดความชั่วจากท่ามกลางท่านเสีย 20 คนอื่นๆจะได้ยินได้ฟัง และยำเกรงไม่กระทำผิดเช่นนั้นท่ามกลางพวกท่านทั้งหลายอีก 21 อย่าให้นัยน์ตาของท่านเมตตาสงสาร ควรให้ชีวิตแทนชีวิต ตาแทนตา ฟันแทนฟัน มือแทนมือ เท้าแทนเท้า” (เฉลยธรรมบัญญัติ 19:15-21)

อาชญากรรม เจ็ดประเภทที่มีบทลงโทษรุนแรงในพระคัมภีร์เดิม – ผู้เผยพระวจนะเทียมเท็จ – เฉลยธรรมบัญญัติ 13:5 / กราบไหว้รูปเคารพ – เฉลยธรรมบัญญัติ 17:7 / ไม่เชื่อฟังผู้มีอำนาจ – เฉลยธรรมบัญญัติ 17:12 / ดื้อดึงและกบฏ – เฉลยธรรมบัญญัติ 21:21 / หญิงแพศยา – เฉลยธรรมบัญญัติ 22:21 / ล่วงประเวณี – เฉลยธรรมบัญญัติ 22:22-24 / ลักพาตัว – เฉลยธรรมบัญญัติ 24:7 ยังมีกฎหมายเรื่องการโบยตี (เฉลยธรรมบัญญัติ 25:1-4) มีความเป็นไปได้ที่พยานอาจตั้งใจใส่ความเท็จบางคนในข้อหาที่ร้ายแรง และหาทางใช้ระบบศาลเล่นงานผู้บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม มีสองหนทางป้องกัน 1) พยานปากเดียวไม่เพียงพอสำหรับให้การในศาล ต้องมีอย่างน้อยสองถึงสามปาก และ 2) ต้องมีการสืบสวนอย่างละเอียดโดยปุโรหิตและผู้พิพากษา และถ้าพบว่าพยานนั้นเป็นพยานเท็จเพื่อใส่ร้ายบางคน บทลงโทษที่จะใช้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา จะไปใช้ลงโทษพยานเท็จแทนตามบทบัญญัติแห่งการเอาคืน สำหรับผมนี่คือความชัดเจนเพราะประโยคที่กล่าวว่า “จงปฏิบัติต่อเขาโดยคิดว่าปฏิบัติต่อพี่น้อง” และ “ทั้งนี้เพื่อท่านทั้งหลายจะกำจัดความชั่วเสียจากท่ามกลางท่าน” ซึ่งมักจะปรากฏอยู่ในบริบทของบทลงโทษที่ร้ายแรงในเฉลยธรรมบัญญัติ และยังมีประโยคที่ว่า “อย่าให้นัยน์ตาของท่านเมตตาสงสาร” และ “ควรให้ชีวิตแทนชีวิต”

IV. พระเยซูและบัญญัติตาแทนตา

ให้เรากลับมาที่คำสอนของพระเยซูในมัทธิว 5:38: “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า…” ทำให้เกิดคำถามและข้อโต้แย้งในชุมชนชาวยิวเรื่องธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์ เดิม และการตีความของพวกธรรมาจารย์และฟาริสี พระเยซูทรงเปรียบเทียบความต่างจากคำสอนของพระองค์กับที่พวกเขาขยายความออกไป โดยไม่มีในพระคัมภีร์เดิม เรื่องการฆ่าคน “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ถ้าผู้ใดฆ่าคน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ” (มัทธิว 5:21) “เกลียดชังศัตรู” ใน 5:43 ที่พระเยซูทรงใส่เข้าไปในคำสอนไม่ใช่เพื่อให้รายละเอียดต่างมุมจากผู้นำชาว ยิว แต่เพื่อคำสอนของพระองค์ เนื่องจากผู้ฟังรู้อยู่แล้วว่าเปรียบเทียบกับเรื่องใด ตามที่ผมค้นคว้าจากวรรณกรรมโบราณชาวยิว จริยะธรรมเรื่องการเอาคืนได้รับการสนับสนุนค่อนข้างมาก และเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้นำศาสนายิว (เช่น ไม่ว่าจะในหรือนอกระบบศาล ต้องมีบทลงโทษสำหรับการกระทำให้ผู้อื่นพิการ อาจชดใช้ได้ด้วยเงิน)

สังเกตดูความต่างระหว่างสามประโยคในพระคัมภีร์เดิม เริ่มต้นที่บอกว่า “ชีวิตแทนชีวิต” ไม่มีการนำมาใช้ แต่กลับเริ่มด้วย “ตาแทนตา” จากที่ชาวยิวสรุปไว้ คือแยกประโยคที่เกี่ยวข้องกับบทลงโทษรุนแรงออกจากบทลงโทษที่ทำให้พิการ บทลงโทษที่ทำให้พิการจึงกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการแก้แค้นส่วน ตัว

แล้วพระเยซูตรัสเรื่องนี้ไว้อย่างไร? “ฝ่ายเราบอกท่านว่า…” (มัทธิว 5:39) สังเกตสิ่งแรกที่พระเยซูตรัสถึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการทำร้ายถึงชีวิต หรือทำให้พิการ แต่กลับเป็นเรื่องของการดูหมิ่น ความบาดหมาง ความไม่สะดวก และความยุ่งยากรำคาญใจ

พระเยซูตรัสว่า “อย่าต่อสู้คนชั่ว” ซึ่งแปลได้อีกว่าอย่าไปเอาคืนจากคนชั่ว ผมไม่คิดว่าคำตรัสตอนนี้พูดว่าอย่าต่อสู้ความชั่ว (อย่างที่บางฉบับแปล) หรือ “อย่าต่อสู้กับความชั่วร้าย” (หมายถึงมาร) เพราะเท่ากับไม่สอดคล้องกับที่อื่นๆในบริบทนี้ แต่ควรเป็น “คนชั่ว” มากกว่า

พระเยซูหมายความว่าอย่างไร? ใครคือคนชั่ว? ตัวอย่างทั้งสี่ที่ตามมา อธิบายไว้อย่างชัดเจน คนชั่วคือ 1) คนที่ตบหน้าคุณ 2) คนที่ฟ้องปรับเอาเสื้อคุณ 3) คนที่สั่งให้คุณเดินแบกของไปหนึ่งไมล์ 4) คนที่ขอยืมจากคุณ

จะเห็นมุมมองที่เปลี่ยนไปในคำตรัสของพระเยซู เทียบกับธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์เดิม ในพระคัมภีร์เดิมบอกว่าผู้พิพากษาควรทำอย่างไรกับผู้กระทำผิดร้ายแรงที่ถึง ชีวิตหรือพิการ พระเยซูทรงมีมุมมองที่แตกต่าง พระองค์ตรัสในประเด็นว่าเราควรทำอย่างไรถ้าถูกดูหมิ่น หรือบาดหมางกับบางคน ในมุมมองของผม พระเยซูไม่ได้ตรัสว่าศาลหรือผู้ปกครองควรทำอย่างไร แต่สาวกควรทำอย่างไรเมื่อถูกดูหมิ่น หรือมีเรื่องบาดหมางกับผู้อื่น

สาวกควรทำอย่างไรครับ? ไม่ต่อสู้ ไม่เอาคืน? ใช่ครับ แต่พระเยซูทรงเรียกสาวกของพระองค์ให้ทำเกินกว่าแค่ตอบสนองเชิงบวก พระองค์ทรงให้เราทำในสิ่งที่บวกๆ 1) หันแก้มอีกข้างให้ 2) แถมเสื้อคลุมให้ด้วย 3) เดินเพิ่มไปให้อีกหนึ่งไมล์ 4) ให้แก่ผู้ที่ขอยืมหรือขอจากท่าน นี่เป็นตัวอย่างสี่แบบในชีวิตจริงจากศตวรรษที่หนึ่ง ในสถานการณ์ความขัดแย้งและท่าทีที่ควรตอบสนอง ให้เรามาดูในรายละเอียด

ตัวอย่างที่ 1: ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ผมไม่ได้หมายถึงคนที่ถนัดซ้ายนะครับ ลูกชายคนเล็กของผมก็ถนัดซ้าย แต่ตัวอย่างของพระเยซูเจาะจงไปคนตบที่ถนัดขวา ถ้าคุณถนัดขวา และต้องตบบางคนที่แก้มขวา คุณจะทำอย่างไร? คุณต้องตบด้วยหลังมือ สำหรับคนยิวการตบด้วยหลังมือสองครั้งเป็นการดูหมิ่นพอๆกลับตบด้วยฝ่ามือ

ถ้ามันเกิดขึ้นกับคุณ ขณะที่คุณกำลังใช้ชีวิตไปตามปกติ มีคนเดินเข้ามา แล้วตบหน้าคุณด้วยหลังมืออย่างไม่เป็นธรรม สัญชาติญาณแรกของคุณคือตบกลับ ภาษาพื้นๆคือ “ตบแทนตบ” รับไบชาวยิวมีกฎที่พูดกันมาปากต่อปากที่เรียกว่ามิชนาห์ บอกว่า คุณไปหาทางเอาคืนที่ในศาล พวกที่ทำการดูหมิ่นคุณอาจต้องจ่าย 200 ซุซ (หน่วยเงิน) สำหรับตบด้วยฝ่ามือ และ 400 สำหรับตบด้วยหลังมือ ในวัฒนธรรมแบบนั้น คุณสามารถนำเรื่องไปขึ้นศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายได้

แต่จำได้หรือไม่ พระเยซูทรงแสดงให้เห็นความแตกต่างในระบอบความชอบธรรมของพระองค์กับพวกธร รมาจารย์และฟาริสี เราต้องไม่ตบเอาคืน ไปฟ้องศาล หรือเดินหนีไป หรือแม้แต่ยืนร้อง “แกมาทำแบบนี้ทำไม?” – พระเยซูไม่ได้สอนแบบนี้ แต่ทรงสอนให้ทำอย่างสมัครใจ หันแก้มอีกข้างให้ตบ… น่าทึ่งนะครับ!

ตัวอย่างที่ 2: ถ้าผู้ใดอยากจะฟ้องศาล เพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป เราคงสงสัยว่ามีการฟ้องร้องเอาเสื้อด้วยหรือ? คงยากที่จะเข้าใจ ถ้าไม่ย้อนกลับไปดูปูมหลังจากพระคัมภีร์เดิม มาดูกันสักสองตอน

ตอนแรกอยู่ในอพยพ 22:25-27:

“25 “ถ้าเจ้าให้ประชากรของเราคนใดที่เป็นคนจน และอยู่กับเจ้ายืมเงินไป อย่าถือว่าตนเป็นเจ้าหนี้ และอย่าคิดดอกเบี้ยจากเขา 26 ถ้าเจ้าได้รับเสื้อคลุมของเพื่อนบ้านไว้เป็นของประกัน จงคืนของนั้นให้เขาก่อนตะวันตกดิน 27 เพราะเขาอาจมีเสื้อคลุมตัวนั้นตัวเดียว เป็นเครื่องปกคลุมร่างกาย มิฉะนั้นเวลานอนเขาจะเอาอะไรห่มเล่า เมื่อเขาทูลร้องทุกข์ต่อเรา เราจะสดับฟังเพราะเราเป็นผู้มีเมตตากรุณา” (อพยพ 22:25-27)

ตอนที่สองอยู่ในเฉลยธรรมบัญญัติ 24:10-13:

“10 เมื่อท่านทั้งหลายให้พี่น้องขอยืมสิ่งใด อย่าเข้าไปในเรือนของเขาและเอาสิ่งที่เขาใช้เป็นประกัน 11 ท่านจงยืนอยู่ภายนอก และคนที่ยืมนั้นจะนำของประกันออกมาให้ท่านเอง 12 ถ้าเขาเป็นคนยากจน อย่าเอาของประกันนั้นเก็บไว้จนข้ามคืน 13 เมื่อดวงอาทิตย์ตกท่านจงเอาของนั้นมาคืนให้เขา เพื่อเขาจะมีของคลุมตัวเมื่อเวลานอน และอวยพรแก่ท่าน นี่จะเป็นความชอบธรรมแก่ท่าน เฉพาะพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน” (เฉลยธรรมบัญญัติ 24:10-13)

ภายใต้ธรรมบัญญัติเรื่องการขอยืม คนยากจนที่ยืมเงินสามารถนำเสื้อผ้ามาค้ำประกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะจ่ายหนี้ คืน เป็นเรื่องปกติในยุคนั้นที่ผู้คนจะสวมเสื้อคลุมบางๆตัวใน และมีเสื้อคลุมหนาตัวนอกเมื่ออากาศหนาว แล้วทำไมถึงนำเสื้อพวกนี้มาเป็นของค้ำประกัน? เพราะถ้าผู้ขอยืมยากจน นั่นอาจเป็นสิ่งเดียวที่เขามี และถ้าตกกลางคืนอากาศเย็น เพราะในทะเลทรายบางช่วงเวลาอากาศจะเย็นลงตอนกลางคืน ดังนั้นในพระคัมภีร์เดิมจึงให้มีการคืนเสื้อคลุมให้กับลูกหนี้ที่ยากจน ตอนกลางคืนทุกคืน สมมุติว่าคนจนขอยืมไปเป็นเวลา 30 วัน (เวลายืมเงินในสมัยนั้นสั้นกว่าสมัยนี้) จะไม่มีการคิดดอกเบี้ย และของที่ยึดไว้ เสื้อคลุมจะต้องถูกเปลี่ยนมือระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมทุกวัน วันละสองครั้งเป็นเวลา 30 วัน ผู้ให้ยืมไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านของผู้ยืม และต้องคืนเสื้อคลุมให้ทุกคืน ผู้ยืมต้องนำเสื้อคลุมไปคืนให้ผู้ให้ยืมทุกเช้าจนกว่าจะใช้หนี้ครบ

แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดละเมิดข้อตกลง? ถ้าผู้ให้ยืมมาหาที่หน้าบ้าน มาขอเสื้อคลุมจากผู้ยืมแล้วถูกปฏิเสธ? ถ้าคนยากจนนั้นรู้สึกว่าได้ใช้หนี้คืนครบถ้วนแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้เสื้อคลุมไปเป็นประกันอีก กฎหมายและระบอบศาลต้องเข้ามามีบทบาท พวกฟาริสีได้ทำรายละเอียดกฎเกณฑ์สำหรับใช้ในศาลเพื่อเป็นเครื่องมือจัดการ กับปัญหา

แต่พระเยซู กลับตรัสถึงเรื่องนี้ในอีกรูปแบบ “ถ้าผู้ใดอยากจะฟ้องศาล เพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป ก็จงให้เสื้อคลุมแก่เขาเสียด้วย” พระองค์ ไม่ได้บอกว่าให้ฟ้องร้องเอาคืน ไม่ได้บอกว่าไปให้ศาลตัดสินพิสูจน์ว่าคุณไม่ผิด พระองค์ไม่ได้แม้จะตรัสว่า จะผิดจะถูกก็ให้ๆเสื้อคลุมเขาไป ถึงแม้ในเฉลยธรรมบัญญัติจะบอกว่าให้คืนไปตามที่ธรรมบัญญัติระบุไว้ แค่นั้นพอ แต่พระเยซูตรัสว่า ให้เขาไปทั้งเสื้อตัวนอกและตัวใน … น่าทึ่งนะครับ

ในมุมมองของผม พระเยซูไม่เพียงแต่ตั้งมาตรฐานความชอบธรรมที่ต่างจากของพวกธรรมาจารย์และฟา ริสี แต่พระองค์ทรงให้มาตรฐานที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในธรรมบัญญัติโมเสส พระองค์ไม่ได้ขัดแย้ง แต่ก็ไม่เหมือน อย่างที่นักเขียนท่านหนึ่งเขียนไว้ คำสอนของพระเยซูลงลึกไปกว่าช่องทางธรรมดา

ตัวอย่างที่ 3: ถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ประวัติศาสตร์เบื้องหลังของเรื่องนี้คือ ในกฎหมายของโรมัน ทหารโรมันสามารถใช้คนในประเทศที่เป็นเมืองขึ้นให้แบกห่อของ หรือของหนักเดินไปเป็นระยะทางหนึ่งกิโลเมตร เป็นข้อบังคับทีไม่มีใครชอบ เกลียดด้วยซ้ำ ถ้าทำก็ทำอย่างชิงชังรังเกียจ พวกธรรมจารย์และฟาริสีเกลียดกฎเกณฑ์นี้มาก เพราะเป็นอำนาจมาจากผู้ครอบครอง มีตัวอย่างจากในพระคัมภีร์ใหม่ในมัทธิว 27:32 เรื่องการแบกของซึ่งซีโมนชาวไซรีนถูกบังคับให้ทำ “ครั้นออกไปแล้วได้พบชาวไซรีนคนหนึ่งชื่อซีโมน จึงเกณฑ์ให้แบกกางเขนของพระองค์ไป”

ในสมัยนั้นชาวยิวหลายคนเกลียดการปกครองของโรมันมาก ในปี ค.ศ. 66/67 พวกเขาลุกขึ้นมาต่อต้านอย่างรุนแรง แต่ก็ถูกเอาคืนอย่างสะบักสะบอมจนถึงชีวิต พระวิหารถูกทำลาย พวกเขาอยากได้พระเมสซิยาห์ในแบบของยูดาส แมคคาบีส์ ที่จะมาโค่นอำนาจโรมันลง ตั้งอิสราเอลขึ้นเป็นเอกราชอีกครั้ง นำการฟืนฟู ความหวังและกำลังใจคืนกลับประเทศ สิ่งนี้คงทำให้คำสอนของพระเยซูเรื่องข้อบังคับของโรมันยิ่งแปลกประหลาดและ เสียดแทงใจผู้ฟังไม่ใช่น้อย

สมมุติว่าทหารโรมันมาเจอคุณแล้วสั่งว่าแบกกล่องนี้ให้ฉันสักหนึ่งไมล์ คุณจะทำอย่างไร?

  1. ตอบโต้ทันที ใช้กำลังต่อสู้ขัดขืน?
  2. ต่อต้าน พูดปฏิเสธ แล้ววิ่งหนีไป?
  3. ยอมทำตามเท่าที่กฎหมายกำหนด แบกไปหนึ่งกิโลเมตร ไม่มากหรือน้อยกว่า? อาจจะบ่นพึมพำไปตลอดทาง
  4. แต่พระเยซูไม่ได้สอนแบบนี้เลย พระองค์ตรัสว่า “ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร” … น่าทึ่งอีกครั้งครับ

ถ้าผมจะถามขึ้นมาว่า “ทหารโรมันจะตอบสนองอย่างไรเมื่อได้เห็นการกระทำที่เป็นคำพยานทรงพลังจากสาวกของพระเยซู?”

ตัวอย่างที่ 4: ถ้าเขาจะขอสิ่งใดจากท่าน พระวจนะในพระคัมภีร์เดิม เฉลยธรรมบัญญัติ 15:7-10 เป็นที่มาเบื้องหลังคำสอนของพระเยซู :

7 “ถ้าในท่ามกลางท่านทั้งหลายมีคนจนสักคนหนึ่งเป็น พี่น้องของท่านอยู่ในเมืองใดๆ ในแผ่นดินซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านประทานแก่ท่าน ท่านอย่ามีใจแข็ง หดมือของท่านไว้เสียต่อหน้าพี่น้องของ ท่านที่ยากจนนั้น 8 แต่ท่านทั้งหลายจงยื่นมือของท่านให้เขา และให้เขายืมข้าวของพอแก่ความต้องการของเขา ไม่ว่าเป็นข้าวของสิ่งใดๆ …10 ท่านจงให้เขาด้วยเต็มใจ และเมื่อให้เขาแล้วอย่ามีจิตคิดเสียดาย ในกรณีนี้พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจะทรงอำนวยพระพรแก่ท่าน ในบรรดากิจการทั้งสิ้นของท่านไม่ว่าท่านจะกระทำสิ่งใด (เฉลยธรรมบัญญัติ 15:7-10)

ในพระคัมภีร์เดิม มีคำสอนเกี่ยวกับการยืมและการให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็น พวกธรรมาจารย์และฟาริสีก็ทำด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วเต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ที่ต้องมีการใช้คืนให้ได้ แต่สำหรับคำสอนของพระเยซูในเรื่องนี้ตามที่ลูกาบันทึกให้ข้อมูลเพิ่มเติม

“34 ถ้าท่านทั้งหลายให้ยืมเฉพาะแต่ผู้ที่ท่านหวังจะได้คืนจากเขาอีก จะทรงนับว่าเป็นคุณอะไรแก่ท่าน ถึงแม้คนบาปก็ยังให้คนบาปยืม โดยหวังว่าจะได้รับคืนจากเขาเท่ากัน 35 แต่จงรักศัตรูของท่านทั้งหลาย และทำการดีต่อเขา จงให้เขายืมโดยไม่หวังที่จะได้คืนอีก บำเหน็จของ ท่านทั้งหลายจึงจะมีบริบูรณ์ และท่านทั้งหลายจะเป็นบุตรของพระเจ้าสูงสุด เพราะว่าพระองค์ยังทรงโปรดแก่คนอกตัญญูและคนชั่ว” (ลูกา 6:34-35)

กุญแจสำคัญของวลีนี้คือ “ไม่หวังที่จะได้คืน” พูดอีกแบบคือ ให้ยืมแก่ผู้ที่มีความจำเป็น แต่อย่าคาดหวังจะได้รับเงินคืน ถ้าผู้นั้นไม่สามารถหรือไม่ยอมจ่ายคืน ให้คิดเสียว่าเป็นของขวัญให้เขา คุณว่าบริษัทไฟแนนซ์จะจ้างพระเยซูเข้าทำงานมั้ยครับ?

แล้วเราควรจะทำอย่างไร? ยอมถังแตกเพราะทำตามที่ผู้อื่นขอ? คำแนะนำเดียวที่ผมให้ได้คือคำสอนนี้มีไว้สำหรับพี่น้องที่มีความจำเป็น

สมมุติถ้าเรารู้ว่าบางคนในคริสตจักรตกงาน แล้วมาขอยืมเงิน เราจะทำอย่างไร?

  1. เราอาจพูดว่า “ไม่ได้” เราอาจคิดว่า “ทำไมมาวุ่นวายกับเรา?”
  2. เราอาจพูดว่า “โอเค” แต่ทำสัญญาที่รัดกุมในเรื่องคืนหรือไม่คืนเงิน ยิ่งทำให้พี่น้องคนนั้นเป็นหนี้มากขึ้นไปอีก
  3. หรือเราอาจพูดว่า “ได้” ขอให้จ่ายคืนละกัน แต่ถ้าคืนไม่ได้ ต้องมีทัศนคติตามที่พระเยซูตรัส “ไม่หวังที่จะได้คืน” …น่าทึ่งอีกแล้วครับ

แต่อาจมีคนพูดว่า “ยังไม่เคยถูกใครตบหน้าด้วยหลังมือ มาฟ้องเอาเสื้อคลุม บังคับให้แบกของไปหนึ่งกิโลเมตร หรือเดือดร้อนจนต้องมาขอยืมเงิน” แต่ประเด็นคือนี่เป็นตัวอย่างของสถานการณ์ที่ทำให้ขุ่นเคืองใจ คุณต้องนึกถึงสถานการณ์ที่ทำให้คุณรำคาญหรือขุ่นเคืองใจ แล้วนำหลักการนี้มาใช้ ไม่เพียงแต่ไม่เอาคืน แต่ทำให้มากกว่านั้นโดยเป็นพระพรแก่ผู้ที่ทำให้คุณขุ่นเคืองใจ

ขอยกตัวอย่างที่ทันสมัยกว่านี้ เป็นเรื่องเชิงลบ วันหนึ่งเมื่อหลายปีที่แล้ว เพื่อนร่วมห้องและผมขับรถไปวอชิงตัน ดีซี กัน ออกจากที่ทำงานขับไปบนทางหลวงสี่เลนช่วงบ่ายที่รถคับคั่ง เพื่อนเป็นคนขับ เราใช้รถฟอร์ด ทันเดอร์เบิร์ดคันใหญ่สมัยปี 1970 การจราจรค่อนข้างแย่ แต่ก็ไปได้เรื่อยๆประมาน 20-30 ไมล์ต่อชั่วโมง จู่ๆก็มีรถซิ่งมาข้างๆแล้วเบียดเข้ามาตัดหน้าเรา เพื่อนผมเหยียบเบรกแทบไม่ทัน ดีที่เข็มขัดดึงเราไว้ไม่ให้หน้ากระแทก เราปลอดภัย รถก็ไม่ได้ชนใคร พอหายตกใจ ผมมองไปที่เพื่อน เห็นใบหน้าเขาเริ่มคุ้มคลั่ง ก่อนจะรู้ตัวเขากระแทกคันเร่งพุ่งไปข้างหน้า ตามรถคันนั้นไป และเริ่มมีการขับไล่กันไปมาบนถนน ไม่กี่นาทีจากนั้น เพื่อนผมแซงขึ้นไปแล้วหักรถเข้าไปตัดหน้า ผมต้องบอกให้เขาหยุด กลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุ แล้วเราจะเจ็บตัว

เมื่อเราต้องเผชิญสถานการณ์แบบนี้ เมื่อเราถูกดูหมิ่น ทำให้หัวเสีย เรามีสองตัวเลือก: ทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นไป หรือเราลดทอนความขัดแย้งลงมา เราอาจเป็น “ผู้หว่านการวิวาท” หรือ “ผู้สร้างสันติ” พระเยซูตรัสในคำเทศนาบนภูเขาว่า “บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร” (มัทธิว 5:9) เราจะเป็นผู้สร้างสันติเมื่อเราลดทอนความขัดแย้งลงมา และขยายขอบเขตแห่งพระพรออกไป

เมื่อเราหันแก้มอีกข้างให้ เราก็เป็นผู้สร้างสันติ

เมื่อเราทำดีเกินกว่าที่บัญญัติไว้ เราก็เป็นผู้สร้างสันติ

เมื่อเราเดินเพิ่มให้อีกหนึ่งกิโล เราก็เป็นผู้สร้างสันติ

เมื่อเราให้แก่พี่น้องที่เดือดร้อน เราก็เป็นผู้สร้างสันติ

สำหรับผมและพวกเรา ความยากในการนำคำสอนของพระเยซูมาใช้คือการกำหนดขอบเขตความพอเหมาะ มีอีกหลายสถานการณ์ที่สามารถนำหลักการนี้ไปใช้ เพียงแต่เราไม่อยากทำ หรือทำเฉพาะที่สะดวกกายสบายใจ เราควรนำหลักการนี้ไปใช้ในคริสตจักรหรือไม่? เปโตรนำคำสอนของพระเยซูมาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องในพระคริสต์ ท่านกล่าวว่า :

8 ในที่สุดนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน รักกันฉันพี่น้อง มีจิตใจอ่อนโยนและอ่อนน้อม 9 อย่าทำการร้ายตอบแทนการร้าย อย่าด่าตอบการด่า แต่ตรงกันข้ามจงอวยพรแก่เขา ด้วยว่าพระองค์ได้ทรงเรียกให้ท่านกระทำเช่นนั้น เพื่อท่านจะได้รับพระพร (1เปโตร 3:8-9)

ขอแตะเข้าไปในพื้นที่หนึ่งที่ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยมีการนำไปใช้เท่าไร ในประวัติศาสตร์ และในบางคริสตจักรสมัยนี้ คำสอนนี้ถูกนำไปใช้เพื่อโต้แย้งเรื่องความสงบสุขของบ้านเมืองเมื่อเกี่ยวกับ สงคราม หรือบทลงโทษที่รุนแรง ทำให้รู้สึกว่าเราควรมองไปที่ผู้ฟังของพระเยซูในตอนนั้น พระองค์ไม่ได้ตรัสกับผู้ปกครองโรมัน หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายชาวยิว ดูมัทธิว 5:1 เมื่อพระเยซูประทับแล้ว “เหล่าสาวก” ของพระองค์มาเฝ้าพระองค์ เป็นคำสอนว่าสาวกของพระองค์ควรทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนตัว เป็นยิ่งกว่าการกระทำที่พลิกกลับด้าน เพื่อละลายความขัดแย้ง นอกจากนั้นยังเป็นการนำพระพรไปสู่คู่กรณีด้วย

V. บทสรุป

นี่เป็นคำสอนที่ยากเอาการของพระเยซูหรือ? ใช่ครับ ทำได้ยากมาก แต่สำหรับสาวกของพระองค์ ไม่เกินขอบเขตความสามารถหรอกครับ

ผมอยากจะจบบทเรียนนี้โดยสะท้อนให้เห็นความจริงว่า พระเยซูทรงดำเนินชีวิตตามที่พระองค์สอน ซึ่งเราเห็นได้เด่นชัด ไม่ว่าเมื่อถูกจับกุม ถูกไต่สวน หรือแม้กระทั่งถูกนำไปตรึงกางเขน

เมื่อถูกจับกุม ยูดาส หนึ่งในสาวกสิบสองคน ได้เข้าไปหาพระเยซูพร้อมกับทหารโรมัน พระเยซูไม่ได้ตรัสว่า “แก ไอ้คนสกปรก ขี้โกง ทรยศหักหลัง” พระองค์กลับตรัสว่า “สหายเอ๋ย มาที่นี่ทำไม?” เปโตรก็พร้อมเข้าไปขัดขวาง ชักดาบออกมาฟันหูทาสของมหาปุโรหิต แต่พระเยซูทรงปรามไว้ ตรัสว่าบรรดาผู้ถือดาบจะต้องพินาศเพราะดาบ และทรงต่อหูคืนให้ทาสผู้นั้น พระเยซูไม่ได้ต่อสู้คนชั่ว (มัทธิว 26:47-57)

ก่อนการไต่สวน พวกทหารเอามือมาตบพระองค์ เยาะเย้ยว่า “จงเผยให้เรารู้ว่าใครตบเจ้า” (มัทธิว 26:28) ตามที่อิสยาห์ทำนายถึงพระองค์ “ข้าพเจ้า หันหลังให้แก่ผู้ที่โบยตีข้าพเจ้า และหันแก้มให้แก่คนที่ดึงเคราข้าพเจ้าออก ข้าพเจ้าไม่หนีหน้า จากความอายแก่การถ่มน้ำลายรด” (อิสยาห์ 50:6) พระเยซูทรงหันแก้มให้ผู้ที่ตบพระองค์

ที่ไม้กางเขน พระเยซูทรงยอมให้พวกทหารมาเอาเสื้อทั้งสองของพระองค์ไป ยอห์นเขียนว่า :

23 ครั้นพวกทหารตรึงพระเยซูไว้ที่กางเขนแล้ว เขาทั้งหลายก็เอาฉลองพระองค์มาแบ่งออกเป็นสี่ส่วนให้ทหารคนละส่วน เว้นแต่ฉลองพระองค์ชั้นใน ฉลองพระองค์ชั้นในนั้นไม่มีตะเข็บ ทอตั้งแต่บนตลอดล่าง 24 เหตุฉะนั้นเขาจึงปรึกษากันว่า “เราอย่าฉีกแบ่งกันเลย แต่ให้เราจับฉลากกันจะได้รู้ว่าใครจะได้” ทั้งนี้เพื่อให้เป็นจริงตามข้อพระธรรมที่ว่า “เสื้อผ้าของข้าพระองค์ เขาก็แบ่งกัน ส่วนเสื้อของข้าพระองค์ เขาจับฉลากกัน” (ยอห์น 19:23-24)

พระองค์ทรงยอมให้เสื้อเขาไปทั้งสองตัว

และท้ายที่สุด ที่บนกางเขน ผู้คนต่างก็ร้องตะโกนเหยียดหยามพระเยซู ถ้าเป็นบุตรของพระเจ้า “ถ้าเขาเป็นพระคริสต์ของพระเจ้าที่ทรงเลือกไว้ ให้เขาช่วยตัวเองเถิด” แต่แทนที่จะตอบโต้ พระเยซูกลับทูลขอพระเจ้าว่า “โอพระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขาเพราะว่า เขาไม่รู้ว่า เขาทำอะไร” (ลูกา 23:34)


1 185ลิขสิทธิ์ ของ Copyright 2003 by Community Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081 ปรับจากต้นฉบับเดิมบทเรียนที่ 23 ของบทเรียนต่อเนื่องพระกิตติคุณมัทธิว จัดทำโดย เจมส์ เอฟ ดาวิส 3 สิงหาคม 2003

2 186 รวบรวมจากรายงานข่าวที่เกี่ยข้อง 10 มิถุนายน 2003

3 187เรื่องเล่าจากการประชุมภาคพื้นตะวันตกเฉียงใต้ของสมาคม Evangelical Theological Society in Dallas, Texas, มีนาคม 2002

4 188 พระวจนะภาษาอังกฤษส่วนใหญ่นำมาจากฉบับแปล The Holy Bible, New King James Version. Copyright 1979, 1980, 1982 by

Related Topics: Law, Love

18. มัทธิว บทเรียนที่ 18 “คำอธิษฐานของพระเยซู” (มัทธิว 6:5-15)

Related Media

คำนำ 1

มัทธิวบทที่ 5 – 7 บันทึกเรื่องคำเทศนาของพระเยซูที่เรารู้จักกันดี เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบธรรมที่มาจากจิตใจภายใน ศาสนาเป็นรูปแบบของการแสดงออกภายนอกและปฏิบัติตามบทบัญญัติ แต่พระเยซูทรงท้าทายพวกเราให้ประเมินตนเองตามมาตรฐานจากภายใน ซึ่งต่างจากสติปัญญาที่แพร่หลายในยุคนั้น “ครูผู้สอนธรรมบัญญัติ” พยายามตีวงล้อมกรอบธรรมบัญญัติ เข้มงวดกับคำสอนที่เป็นคำพูด ทำให้เรื่องเช่น “การเดินทางในวันสะบาโต” กลายเป็นข้อกำหนดว่าควรเดินได้ไกลแค่ไหนโดยไม่ละเมิดพระบัญญัติห้ามทำงานใน วันสะบาโต อาจเป็นได้ที่บางคนเดินได้ไกลกว่านั้นโดยไม่ละเมิดพระบัญญัติ แต่ถ้าทำตามมาตรฐานที่บัญญัติเพิ่ม เราก็แน่ใจว่าปลอดภัย ไม่มีทางละเมิดพระบัญญัติตัวจริงได้ ดังนั้นพระบัญญัติจึงถูกล้อมกรอบไว้ด้วยการเชื่อฟังจากมาตรฐานที่เข้มงวด ยิ่งกว่า

คำเทศนาบนภูเขาของพระเยซู ก็ล้อมกรอบธรรมบัญญัติไว้ แต่ทำโดยมองเข้าไปในจิตใจ เช่นจากคำตรัสของพระองค์

21 “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ถ้าผู้ใดฆ่าคน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ 22 เราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดโกรธพี่น้องของตน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ ถ้าผู้ใดจะพูดกับพี่น้อง ‘อ้ายโง่’ ผู้นั้นต้องถูกนำไปที่ศาลสูงให้พิพากษาลงโทษและผู้ใดจะว่า ‘อ้ายบ้า’ ผู้นั้นจะมีโทษถึงไฟนรก” (มัทธิว 5:21322)2

ฆาตกรรมเป็นบาปภายนอก ชัดเจนเห็นได้ จึงง่ายที่ฆาตกรจะถูกกล่าวโทษ แต่พระเยซูบอกให้เราระวัง เราอาจโกรธพลุ่งพล่านใส่คนอื่น ความโกรธของเราอาจเห็นได้ หรือมองไม่เห็น ไม่สำคัญ – เรามีใจอยากฆ่าคนอยู่ข้างในแล้ว ต้องรีบถอนรากมันขึ้นมาโดยพระคุณของพระเจ้าทันที พระเยซูจึงสอนเราถึงการใช้ชีวิต และตัดสินด้วยทัศนคติจากจิตใจภายใน ไม่มีอะไรที่ทำให้เราตัดสินผู้อื่นได้ เราแค่รับตามคำพูด และการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่ต้องกลับมาตัดสินชีวิตเราและเปลี่ยนตัวเราเอง3

ดังนั้นคำสั่งของพระเยซูเรื่องการอธิษฐานจึงมีบริบทที่กว้าง ครอบคลุมคำเทศนาบนภูเขา เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของเราทั้งดีและชั่ว และครอบคลุมไปถึงข้อหนึ่งของมัทธิว 6:

“จงระวัง อย่ากระทำศาสนกิจเพื่ออวดคนอื่น ถ้าทำอย่างนั้นท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์” (มัทธิว 6:1)

ถ้อยคำนี้ พระเยซูตรัสเรื่องการทำศาสนกิจแบบภายนอกกับภายใน การทำทาน อธิษฐาน และอดอาหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับข้อปฏิบัติของศาสนา และในตอนนี้ พระเยซูตรัสอีกครั้งถึงจิตใจภายในกับการแสดงออกภายนอก มัทธิว 6:2-4 ตรัสถึงการทำทาน มัทธิว 6:5-15 ตรัสถึงการอธิษฐาน และ 6:16-18 ตรัสถึงการอดอาหาร ทั้งสามเรื่องคือเรื่องเดียวกัน ถ้าคุณมีแต่รูปแบบการแสดงออกภายนอก มุ่งความสนใจมาที่ตัวคุณ คำสรรเสริญที่ได้รับจากผู้คน – จะจริงหรือไม่จริง – คุณก็ได้รับส่วนดีนั้นไปแล้ว

แน่นอน ชีวิตฝ่ายวิญญาณที่มองเห็นได้ในตัวเองไม่ได้เลวร้ายเสมอไป อ เปาโลเขียนถึงชาวโครินธ์กล่าวว่า :

14 ข้าพเจ้ามิได้เขียนข้อความเหล่านี้เพื่อให้ท่านละอายใจ แต่เขียนเพื่อเตือนสติท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นลูกที่รักของข้าพเจ้า 15 เพราะในพระคริสต์ถึงแม้ท่านมีผู้ควบคุมสักหมื่นคน แต่ท่านก็มีบิดาแต่คนเดียว เพราะว่าในพระเยซูคริสต์ ข้าพเจ้าได้ให้กำเนิดแก่ท่านโดยข่าวประเสริฐ 16 เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทำตามอย่างข้าพเจ้า (1โครินธ์ 4:14-16)

อ เปาโลกล่าวว่า “ขอให้ท่านทำตามอย่างข้าพเจ้า – ท่านเห็นข้าพเจ้าทำอย่างไรก็จงทำอย่างนั้น” คนของพระเจ้าส่วนใหญ่เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตในแบบของพระเจ้าแก่ผู้เชื่อ ใหม่ ผมเองได้รับประโยชน์มากว่าสามสิบปีจากคนที่มีอายุความเชื่อเป็นสิบๆปี และเดี๋ยวนี้ผมเองอยากเป็นเช่นนั้นให้กับผู้เชื่อรุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่า ข้อแตกต่างสำหรับ อ เปาโลที่มีต่อชาวโครินธ์ คือท่านไม่ได้ให้ตัวตนของท่านเป็นที่สนใจ ท่านเป็นผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ ใช้เวลากับคริสตจักรและสมาชิก บุคคลเช่นนี้มีค่าควรแก่การเลียนแบบ

แตกต่างจากคนที่ให้ทานเพื่อให้คนตระหนักถึงความใจบุญของตน คนที่อธิษฐานเสียงดัง หรืออดอาหารอย่างทรมานเพื่อให้ผู้อื่นชื่นชม มีแต่รูปแบบภายนอกเท่านั้น พวกเขาสับสนระหว่างการยอมรับของผู้คน กับการยอมรับของพระบิดา

บทเรียนนี้ เราจะมาดูคำสอนของพระเยซูเรื่องการอธิษฐาน ในแบบที่พระองค์ตรัสว่าเป็นรูปแบบภายนอก และคำสั่งเกี่ยวกับความจริงที่อยู่ภายใน

อธิษฐานให้ถูกต้อง

คำสั่งของพระเยซูเรื่องการอธิษฐานในมัทธิวเริ่มดังนี้ :

“5 เมื่อท่านทั้งหลายอธิษฐาน อย่าเป็นเหมือนคนหน้าซื่อใจคด เพราะเขาชอบยืนอธิษฐานในธรรมศาลาและตามถนน เพื่อจะให้คนทั้งปวงได้เห็น เราบอกความจริงแก่ท่านว่าเขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว 6 ฝ่ายท่านเมื่ออธิษฐานจงเข้าในห้องชั้นใน และเมื่อปิดประตูแล้ว จงอธิษฐานต่อพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในที่ลี้ลับ และพระบิดาของท่านผู้ทรงเห็นในที่ลี้ลับจะทรงโปรดประทานบำเหน็จแก่ท่าน” (มัทธิว 6:5-6)

พระเยซูทรงเริ่มต้นด้วยพื้นฐานการอธิษฐานสองแบบ แบบแรกเป็น “อธิษฐานโชว์” ผู้อธิษฐานเรียกร้องความสนใจมาที่ตนเอง เพื่อให้ดูว่าเป็นคนเคร่งครัดศรัทธา ศาสนาสร้างสถานะให้พวกเขา และอธิษฐานในที่สาธารณะทำให้เขายืนอยู่ในสถานะนั้นได้ การอธิษฐานแบบที่สองคือ “อธิษฐานในความสัมพันธ์” เป็นการอธิษฐานแบบแสวงหาการใช้เวลากับพระบิดา ในการสอนพระเยซูทรงลากเส้นแบ่งให้เห็นระหว่างสองแบบ แต่ต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่ตกอยู่ระหว่างสองขั้วนี้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าไม่มีใครสามารถอ่านจิตใจและแรงจูงใจของผู้อื่นได้ ที่เห็นว่าเหมือนโอ้อวด อาจสะท้อนถึงการถูกอบรมมา หรือแบบเงียบๆเบาๆอาจมาจากคนที่ไม่เคยมีชีวิตอธิษฐานเป็นส่วนตัว คำสั่งของพระเยซูมีเพื่อให้เรารู้และนำไปใช้เป็นส่วนตัว และเพื่อให้พระวิญญาณบริสุทธิ์นำ และฝึกฝนจิตใจเราในเรื่องนี้

แต่ว่ายังมีรูปแบบบางอย่างที่เราควรใส่ใจ

  • ตัวเราเองมีท่าทีและน้ำเสียง “กำลังพูดกับพระเจ้า” หรือเปล่า? นี่เป็นเรื่องของการถูกอบรมมา อย่างไรก็ตาม อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ การปรับโทนเสียงอาจดึงความสนใจมาที่ตัวคนอธิษฐาน – เว้นแต่ในสภาพแวดล้อมที่คนเข้าใจได้ ถึงจะไม่ปรับโทนเสียงก็เป็นที่ดึงดูดความสนใจอยู่ดี
  • ใช้คำศัพท์ที่หรูและมากเกิน อาจมีของประทานหรือเป็นคนมีวาทศิลป์ แต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น
  • หัวข้อส่วนตัว ยากที่จะมาใช้เป็นข้ออ้าง คุณอธิษฐานในสิ่งที่คุณต้องการ และให้คนอื่นๆอธิษฐานให้ด้วยเพื่อช่วยเหลือคุณ
  • นินทา “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงช่วยคุณเจนให้เอาชนะการทดลองที่จะไปเจอผู้ชายคนนั้นด้วย” อธิษฐานในท่ามกลางผู้อื่นแบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อคุณเจนอยู่ด้วย และเป็นผู้ขอให้อธิษฐาน
  • อธิษฐานต่อหน้าผู้อื่นไม่ว่าแบบใดโดยไม่เคยอธิษฐานเป็นการส่วนตัว เท่ากับคุณไม่เคยคุยกับพระบิดาตามลำพัง จะไม่เกิดประโยชน์เมื่ออธิษฐานต่อหน้าคนอื่น

พระเยซูจึงแนะนำให้เราเข้าไปในห้องและปิดประตู นี่เป็นท่าที “ปกติ” ตรงข้ามกับคนที่ยืนอยู่หัวมุมถนนแล้วอธิษฐาน ถ้าพระองค์ตรัสว่าจง “อธิษฐานเป็นการส่วนตัว” หรือ “อธิษฐานตามลำพัง” คงจะมีแนวคิดสุดขั้วหลากหลายตามมา – ต้องเป็นส่วนตัวขนาดไหน? ต้องเป็นฤาษีหรือนักพรตเพื่อจะอธิษฐานเป็นส่วนตัวหรือ? พระเยซูทรงหมายความว่าต้องมีสถานที่หรือหนทางที่จะอธิษฐานระหว่างคุณกับพระ บิดาเท่านั้น อาจเข้าไปในบางที่ เพื่อสามารถบอกกับพระเจ้าได้ว่า “เชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่แสวงหาพระองค์” (ฮีบรู 11:6) :

  • เราอาจมีน้ำเสียง “ฉันกำลังพูดกับพระเจ้า” ถ้าจะช่วยให้เชื่อมต่อกับพระองค์และถวายเกียรติพระองค์
  • เราอาจใช้ถ้อยคำสวยหรูเพื่อถวายสิ่งดีที่สุดให้กับพระเจ้า
  • เราอาจมีเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องระหว่างเราและพระบิดาเท่านั้น จะเปิดหรือปิดประตูตามที่เราคิดว่าสมควร
  • เราอาจอธิษฐานเผื่อคุณเจน ในเวลาส่วนตัวระหว่างเรากับพระบิดา เราอาจแสดงให้พระองค์เห็นว่าเราจริงใจและห่วงใย
  • และแน่นอน เราต้องมีหลักในการอธิษฐานต่อหน้าผู้อื่นด้วย

อาจอยู่ในห้องของเรา หรือท่ามกลางผู้คนแต่ยังสามารถอธิษฐานเป็นส่วนตัวได้ ตามที่ อ เปาโลเขียน “จงอธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ”

ชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งที่วัดได้ว่าตัวจริงเราเป็นอย่างไร บ่อยครั้งผมเห็นครอบครัวที่ดูดีในท่ามกลางผู้คน แต่พออยู่ตามลำพังกลับแตกแยกกัน ทำให้เห็นถึงชีวิตหลังบานประตูบ้านว่าเป็นอย่างไร แตกต่างจากชีวิตที่เห็นภายนอก ถ้าเราเชื่อว่าพระเจ้าทรงพระชนม์อยู่ และจะประทานบำเหน็จแก่ผู้แสวงหาพระองค์ มันจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวที่สุดของเรา เพราะเรารู้ว่าพระองค์อยู่ด้วย ที่จริงทำให้รู้ว่าเราไม่มีชีวิตที่เป็นส่วนตัว แต่ถ้ารู้แล้วทำให้คุณกลัว รู้สึกผิด และกังวลใจ จำไว้พระเยซูตรัสว่า “…พระบิดาของท่านผู้ทรงเห็นในที่ลี้ลับจะทรงโปรดประทานบำเหน็จแก่ท่าน” อธิษฐานเพื่อเป็นการแสดง มีเพียงบำเหน็จเดียว คือคำยกย่องจากผู้คน แต่บำเหน็จของการอธิษฐานเพื่อความสัมพันธ์คือสามารถทำให้:

  • ควบคุมจิตใจ
  • ได้รับคำตอบ ไม่ว่าจะปิดหรือเปิดประตู
  • เสริมสร้างคุณลักษณะและจิตวิญญาณให้แข็งแกร่ง
  • เพิ่มพูนความเชื่อและของประทานฝ่ายวิญญาณ
  • ลงลึกสู่ความรู้สึกถึงความห่วงใยและการสถิตอยู่ของพระบิดา

นับเป็นสิ่งที่ดีและคุ้มค่า

นำคำอธิษฐานมาพิจารณา

คำสั่งของพระเยซูเรื่องการอธิษฐานในมัทธิวตามด้วยคำเตือนว่า:

“7แต่เมื่อท่านอธิษฐานอย่าพูดพล่อยๆซ้ำ ซาก เหมือนคนต่างชาติกระทำเพราะเขาคิดว่าพูดมากหลายคำ พระจึงจะทรงโปรดฟัง 8 อย่าทำเหมือนเขาเลย เพราะว่าสิ่งไรซึ่งท่านต้องการ พระบิดาของท่านทรงทราบก่อนที่ท่านทูลขอแล้ว” (มัทธิว 6:7-8)

พระเยซูทรงให้เห็นคำอธิษฐานต่อพระบิดา เทียบกับคำอธิษฐานของคนต่างชาติ ทรงอธิบายว่าคำอธิษฐานของคนต่างชาตินั้นพูดพล่อยๆซ้ำซาก แปลว่าอะไร และเราจะนำสิ่งนี้มาพิจารณาในคำอธิษฐานของเราอย่างไร?

  • เหมือนคนต่างชาติ”. คนต่างชาติไม่ได้นมัสการพระเจ้าองค์เที่ยงแท้
  • “พูดพล่อยๆซ้ำซาก” แทบไม่มีเนื้อหาที่แท้จริง
  • “พูดมาหลายคำพระจึงจะทรงโปรดฟัง” อาจเป็นพิธีกรรม ท่องบทสวด และไปตามรูปแบบ

คำอธิษฐานของคนต่างชาติเกี่ยวข้องกับใช้พลังทางจิตโน้มน้าว บวกกับคำพูดลึกซึ้งแนวปรัชญาที่ไม่เกี่ยวกับคุณเป็นส่วนตัว

แน่นอน เราสามารถใช้พระวจนะของพระเจ้ามาใส่ไว้ในคำอธิษฐาน :

  • เหมือนคนต่างชาติ”—อธิษฐานถึงพระเจ้าในพระนาม แต่ไม่ได้มีความรู้ เหมือนที่ อ เปาโลกล่าวในหนังสือโรมถึงชาวยิวที่ไม่ยอมรับพระเยซูเป็นพระเมสซิยาห์ “ข้าพเจ้าเป็นพยานให้เขาว่า เขามีความกระตือรือร้นที่จะปรนนิบัติพระเจ้า แต่หาได้เป็นตามปัญญาไม่” (โรม 10:2)
  • พูดพล่อยๆซ้ำซาก – อธิษฐานแบบไม่มีเนื้อหาสาระ บางทีเหมือนท่องบทสวด โดยเนื้อหาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สวด
  • พูดหลายคำพระจึงจะโปรดฟัง – อธิษฐานด้วยทัศนคติว่าพระเจ้าไม่ได้สนใจฟัง ต้องใช้วิธีดึงดูดโน้มน้าวเพื่อให้ได้คำตอบ

ในคำตอบ พระเยซูตรัสว่าพระบิดาทรงทราบว่าเราจำเป็นในเรื่องใดก่อนทูลขอเสียอีก เรากำลังอธิษฐานต่อพระบิดา แปลว่าเป็นความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เราเป็นส่วนหนึ่งในพระชนม์ของพระองค์ และพระองค์ทรงทราบอยู่ก่อนแล้วว่าเรามีความจำเป็นในเรื่องใด เราจึงสามารถเข้าเฝ้าด้วยใจโปร่งใส ด้วยใจยินดี ด้วยอารมณ์ขุ่นมัว โศกเศร้า หรือขาดสติ พระองค์ทรงเข้าใจทะลุปรุโปร่ง ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีโน้มน้าวใดๆ

ถ้าพระบิดาของเราทรงทราบก่อนแล้วว่าเราต้องการสิ่งใด แล้วจะอธิษฐานทำไม? มีสองเหตุผล เหตุผลแรก เพราะบำเหน็จแห่งการอธิษฐานไปไกลเกินกว่าเพื่อตอบสนองความต้องการของเรา เหตุผลที่สอง ยังมีสิ่งอื่นๆที่เราอธิษฐานทูลขอ เช่นความต้องการของผู้อื่น และการขยายแผ่นดินของพระบิดา สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นสำหรับเราส่วนตัว แต่ควรต้องบรรจุไว้ในคำอธิษฐาน

พระเยซูจึงสอนเราเกี่ยวกับสถานที่และท่าทีในการอธิษฐาน เราจำเป็นต้องอธิษฐานส่วนตัว และต้องอธิษฐานต่อผู้ที่เป็นพระบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ท่านผู้นี้สนใจในความต้องการของเราและในตัวเรา โดยไม่ต้องโน้มน้าวใดๆทั้งสิ้น

ควบคุมจิตใจ

อะไรคือปัจจัยในการอธิษฐานที่ดี? เราควรอธิษฐานอย่างไร?

ในระหว่างการเทศนา พระเยซูทรงตั้งต้นแบบในการอธิษฐานให้เราด้วยถ้อยคำว่า:

“9 ท่านทั้งหลาย จงอธิษฐานตามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ 10 ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก” (มัทธิว 6:9-10)

พระเยซูทรงสอนให้เราอธิษฐานถึง “พระบิดาผู้ทรงสถิตในสวรรค์” เพื่อจะปรับทัศนคติในใจเราเมื่อเข้าสู่การอธิษฐาน ในพระคัมภีร์เดิมพอๆกับพระคัมภีร์ใหม่ เราเข้าใจว่าเราต้องอธิษฐานถึงพระเจ้า ผู้ซึ่งเป็นจอมเจ้านายและเป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์ เราเป็นหนี้ชีวิตพระองค์ เราต้องปรนนิบัติรับใช้ แต่พระเยซูบอกเราว่าเราสามารถเข้าไปเฝ้าพระองค์ได้และเรียกพระองค์ว่า “พระบิดา” เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำคัญที่ไม่ธรรมดาในความสัมพันธ์ที่เกินกว่าเราจะ นึกได้ แต่พระเยซูทรงให้ความสำคัญในแง่มุมนี้ ตลอดทั้งคำเทศนา พระเยซูทรงเอ่ยถึงพระเจ้าในฐานะพระบิดาของเรา ความสัมพันธ์นี้เป็นแรงกระตุ้นเบื้องต้นให้เราดำเนินชีวิตอย่างที่ควรเป็น

พระเจ้าในฐานะพระบิดาเป็นความสัมพันธ์แบบสองทาง ในฐานะพระบิดา พระองค์ทรงรักเรา และเราถวายเกียรติแด่พระองค์ พระองค์ทรงปกป้อง และเราเข้าไปผูกพันในพระองค์ พระองค์ทรงจัดเตรียม เราขอบพระคุณ พระองค์สั่งสอน เราปฏิบัติตาม ทรงลงวินัยเพื่อให้เราเติบโต ทรงสัมผัสเรา และเราตอบสนอง ทรงสั่ง และเราเชื่อฟัง ส่วนใหญ่เรามักเน้นไปที่คำสั่ง / การเชื่อฟัง และลืมสิ่งดีต่างๆมากมายในการดำเนินไปกับผู้เป็นพระบิดาของเรา เมื่อเราเข้าเฝ้าด้วยการอธิษฐาน พระองค์ทรงเป็นทุกสิ่งเหล่านี้เพื่อเรา และเราจำเป็นต้องเป็นทุกสิ่งเหล่านี้เพื่อพระองค์ด้วย

พระเยซูทรงบอกเราให้อธิษฐานด้วยสรรพนามบุคคลที่หนึ่ง “ข้าแต่พระบิดาของข้าพระองค์…” การอธิษฐานแม้เป็นส่วนตัว คือเน้นไปที่การใช้เวลากับบุคคลคนหนึ่ง เราสามารถอธิษฐานในสิ่งที่เราต้องการ แน่นอนมันไม่ควรหยุดอยู่แค่นั้น เราต้องเป็นคนกลาง เป็นตัวแทน เราอธิษฐานว่า “โปรดประทาน…แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย” และเราทูลขอการจัดเตรียมจากพระบิดาสำหรับครอบครัว เพื่อนๆ และศัตรู เราอธิษฐานว่า “ขอทรงโปรดยกความผิดบาปของข้าพระองค์…” และเราแสวงหาการคืนดีกับพระบิดาและในท่ามกลางพวกเรา เราอธิษฐานว่า “ขออย่านำข้าพระองค์…” และ “ขอให้พ้นจาก…” เพราะเราต่างก็ต้องการการทรงนำ ชี้แนะ และการปกป้องจากพระองค์

เราต้องอธิษฐานให้พระนามของพระองค์ “เป็นที่เคารพสักการะ” และได้รับพระเกียรติ นี่เป็นทั้งคำทูลขอและเป็นทัศนคติ ในคำทูลขอ เรากำลังขอความรู้ความเข้าใจของพระบิดามาเติมเต็มบนโลกนี้ และให้โลกนี้ได้ตอบสนองด้วยใจสรรเสริญ เป็นโอกาสแสดงความเสียใจและเศร้าโศกต่อสิ่งต่างๆทั้งในชีวิตของเราและผู้ อื่น การไม่เคารพพระนามของพระเจ้า การเป็นคนหน้าซื่อใจคด ตัดสินมากกว่ามีเมตตา เมตตามากกว่าใช้คำสั่ง และการสั่งสอนสำหรับคนที่เกลียดชังพระเจ้า ฯลฯ เป็นเวลาที่เราตระหนักได้และทิ้งความหน้าซื่อใจคดไป ในเชิงทัศนคติ เราสามารถเริ่มอธิษฐานด้วยการนมัสการ สรรเสริญ และขอบพระคุณ เรานมัสการอย่างที่พระองค์ทรงเป็น เราสรรเสริญในพระราชกิจ และขอบพระคุณในการดูแลและจัดเตรียมของพระองค์

เราทูลขอให้แผ่นดินของพระบิดามาตั้งอยู่ อธิษฐานขอให้มีการประกาศข่าวประเสริฐอย่างแพร่หลาย และจัดตั้งระบอบการปกครองโดยพระบิดาลงในหัวใจของทั้งหญิงและชาย เราอธิษฐานเผื่อความเป็นอยู่ของคนที่ทุกข์ใจและถูกข่มเหง เผื่อการรักษาฝ่ายกาย ฝ่ายวิญญาณ การเปลี่ยนจิตใจ รื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่แตกสลาย สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเปลี่ยนไปเมื่อได้รับการยอมรับจากพระบิดาและในหนทางของ พระองค์ เรายังรอคอยการเสด็จกลับมาของพระเยซูคริสต์เพื่อมาปกครองและอยู่ท่ามกลางพวก เรา

เราจึงเริ่มคำอธิษฐานของเราโดยเน้นไปยังพระบุคคลที่เรากำลังอธิษฐานถึง ผู้ทรงเป็นทั้งพระบิดาและจอมกษัตริย์ นำใจของเราไปไว้ที่พระองค์ และขอทรงช่วยให้เราเป็นเหมือนพระองค์

เพื่อค้ำจุนจิตใจของเรา

สิ่งที่จำเป็นสำหรับเราในฐานะมนุษย์ อยู่ในส่วนต่อไปในต้นแบบการอธิษฐานของพระเยซู :

11 ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในกาลวันนี้ 12 และขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น (มัทธิว 6:11-12)

ความเข้าใจคำว่า “อาหารประจำวัน” หมายถึงอาหารที่ทาน พออิ่มในวันนั้น บางคนคิดว่านั่นคือสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้เราทูลขอ ผมเชื่อว่าอาหารประจำวันน่าจะรวมถึงสิ่งอื่นๆที่จำเป็นในชีวิต น่าจะไกลเกินกว่าวัตถุสิ่งของ แต่เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นสำหรับร่างกายและจิตใจของเรา:

  • อาหารและที่พักอาศัย —“แต่ ถ้าเรามีอาหารและเสื้อผ้า ก็ให้เราพอใจด้วยของเหล่านั้นเถิด ส่วนคนเหล่านั้น ที่อยากร่ำรวยก็ตกอยู่ในข่ายของความเย้ายวน และติดบ่วงแร้วและในความปรารถนานานาที่ไร้ความคิดและเป็นภัยแก่ตัว ซึ่งทำให้คนเราต้องถึงความพินาศเสื่อมสูญไป” (1ทิโมธี 6:8-9)
  • ความชอบธรรม —“บุคคลผู้ใดหิวกระหายความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงให้อิ่มบริบูรณ์” (มัทธิว 5:6)
  • การสถิตอยู่ของพระบิดา—“นอก จากพระองค์ ข้าพระองค์มิมีผู้ใดในฟ้าสวรรค์ นอกจากพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาใดใดในโลก แต่ส่วนข้าพระองค์ ที่จะเข้าใกล้พระเจ้านั้นดี ข้าพระองค์ได้ให้พระเจ้าเป็นที่ลี้ภัยของข้าพระองค์ เพื่อข้าพระองค์จะได้เล่าถึงพระราชกิจทั้งสิ้นของพระองค์” (สดุดี 73:25,28)

แม้ไม่มีสิ่งใดในคำอธิษฐานของพระเยซูที่ทูลขอนอกเหนือจากความต้องการพื้นฐาน มีเหตุผลสองประการที่ทำให้นึกถึงคำทูลขอที่ไกลเกินกว่า ประการแรก อ เปาโลบอกให้เราอธิษฐานขอในทุกสิ่ง “อย่าทุกข์ร้อนในสิ่งใดๆเลย แต่จงทูลเรื่องความปรารถนาของท่านทุกอย่างต่อพระเจ้า ด้วยการอธิษฐาน การวิงวอน กับการขอบพระคุณ” (ฟีลิปปี 4:6) ประการที่สองอยู่ ในงานมงคลสมรสที่คานา พระเยซูทรงทำตามคำขอร้องของมารดา เปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่น มากกว่าความต้องการของงานเลี้ยง พระเจ้าของเราทรงมีพระทัยกว้างขวาง เมื่อพระเยซูรวมทุกอย่างไว้ใน “อาหารประจำวัน” พระองค์ทรงหนุนใจให้เราขอบพระคุณ ทูลขอสิ่งใดก็ได้ ที่จำเป็นเพียงพอ และขอบพระคุณสำหรับทุกสิ่ง

สถานะจิตวิญญาณและร่างกายของเราขึ้นอยู่กับการอภัยทั้งสองฝั่ง ความรู้สึกผิดและขมขื่นใจจะกลืนกินเรา ทั้งสองเกี่ยวข้องกับปัญหาส่วนตัว และความเจ็บป่วยฝ่ายกาย เราสามารถนำทั้งสองเข้าสู่คำอธิษฐาน “ขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์…” จัดการ กับความรู้สึกผิดในใจ ความผิดของเรา และเมื่อได้รับการอภัย เราต้องประเมินตนเองอย่างซื่อตรงในแบบที่เราเป็น จะนำมาซึ่งการชำระให้บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม เพราะความขมขื่นร้ายแรง หรือร้ายแรงกว่าความรู้สึกผิดที่ไม่ได้รับการแก้ไข พระเยซูทรงสอนให้เรานำทั้งสองกรณีมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน “ขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น” พระ เยซูทรงมีเรื่องที่จะสอนเราเพิ่มอีก ซึ่งจะนำกลับมาสอนตอนท้าย สำหรับตอนนี้ อยากบอกว่าเรายังทำได้ไม่ครบถ้วนและไม่สมดุล ถ้าจะทูลขอพระบิดาให้นำความรู้สึกผิดของเราออกไป เพื่อให้สามารถยืนอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ได้อย่างสบายใจ แต่เมื่อยังมีบางคนที่เรากันเขาออกไปจากชีวิต เพราะเขาทำผิดต่อเรา เป็นการดีที่เราจะรับการอภัย และจะดียิ่งกว่าถ้าเราให้อภัยด้วย รวมถึงจิตใจของเรา ถ้าปลดความขุ่นเคืองออกไป ก็มีความมั่นใจเมื่ออธิษฐานขอการอภัยจากพระบิดา เป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุด

ถ้าพระบิดาทรงตอบคำอธิษฐานของเราตามที่ทูลขอ เราก็จะมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและวิญญาณ พร้อมที่จะรับใช้ในแผ่นดินของพระเจ้า

รักษาจิตใจเอาไว้

พระเยซูสรุปต้นแบบคำอธิษฐานของพระองค์ด้วยถ้อยคำว่า : “และขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้พ้นจากซึ่งชั่วร้าย” (มัทธิว 6:13)

พระเยซูหมายความอย่างไรเมื่อให้เราทูลขอ “…อย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง …”? หรือ เราต้องกลัวว่าพระบิดาจะปล่อยให้เราเผชิญการทดลอง เว้นเสียแต่เราอธิษฐาน? หรือจะทรงทดสอบว่าเราจะผ่านหรือไม่? ในจดหมายฝากของยากอบบอกเราว่า “13 เมื่อผู้ใดถูกล่อให้หลง อย่าให้ผู้นั้นพูดว่า “พระเจ้าทรงล่อข้าพเจ้าให้หลง” เพราะว่าความชั่วจะมาล่อพระเจ้าให้หลงไม่ได้ และพระองค์เองก็ไม่ทรงล่อผู้ใดให้หลงเลย 14 แต่ว่าทุกคนก็ถูกล่อให้หลง เมื่อกิเลสของตัวเองล่อและชักนำให้กระทำตาม” (ยากอบ 1:13-14) ผมคิดว่าส่วนใหญ่คงเห็นด้วยว่าเราต้องเข้าใจคำสอนของพระเยซูในมุมมองว่า เรามีแนวโน้มที่จะทำบาป

พระบิดาไม่ได้ล่อลวงให้เราทำบาป แต่ทรงนำเราไปยังจุดที่ต้องมีการทดสอบ และเมื่อมีการทดสอบ การทดลองจะเข้ามาเพื่อให้ล้มเลิกหรือสู้ต่อ ตัวอย่างโด่งดังเรื่องเปโตรที่ปฏิเสธพระเยซูทำให้เราถึงเห็นการล้มลง คืนก่อนหน้า เปโตรพูดอย่างมั่นใจว่าจะอยู่กับพระเยซูไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ไม่เกินสองสามชั่วโมง กลับปฏิเสธแข็งขันว่าไม่รู้จักพระเยซู เมื่อเราอธิษฐานขออย่านำเข้าไปในการทดลอง เรากำลังขอความช่วยเหลือจากพระบิดาเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์แบบนั้น ทูลขอบางประตูที่มีเรื่องเดือดร้อนอยู่ด้านหลังให้ปิดลง ขอจิตใจที่เข้มแข็งและมุ่งแต่สิ่งดี ทูลขอสติปัญญาเพื่อตระหนักได้ และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่นำไปสู่ปัญหา

แม้ต้องรับผิดชอบด้านจริยะธรรมในการกระทำของเรา พูดได้ว่าแม้บาปแรกของมนุษยชาติไม่ได้ทำในที่ลี้ลับ งูร้ายในสวนเอเดนซึ่งก็คือพญามาร ล่อลวงเอวา และเธอพ่ายแพ้ พระเจ้าทรงบัญชาห้ามไม่ให้ชายและหญิงคู่แรกกินผลจากต้นไม้หนึ่งต้นกลางสวน เอเดน ซาตานโจมตีจุดนั้นเลย นำให้เกิดบาปแรกขึ้น เราจึงทูลขอการปกป้องระหว่างดำเนินอยู่ในแผนการของพระองค์

ซาตานค้นหาความผิดของเราและไปทูลฟ้องพระเจ้าด้วย หนังสือโยบบันทึกคำทูลนั้นไว้:

แล้วซาตานทูลตอบพระเจ้าว่า “โยบยำเกรงพระเจ้าเปล่าๆหรือ พระองค์มิได้ทรงกั้นรั้วรอบตัวเขา และครัวเรือนของเขา และทุกสิ่งที่เขามีอยู่เสียทุกด้านหรือ พระองค์ได้ทรงอำนวยพระพรงานน้ำมือของเขา และฝูงสัตว์ของเขาได้ทวีขึ้นในแผ่นดิน แต่ขอยื่นพระหัตถ์เถิด และแตะต้องสิ่งของทั้งสิ้น ที่เขามีอยู่ และเขาจะแช่งพระองค์ต่อพระพักตร์พระองค์” (โยบ 1:9-11)

ที่น่าสนใจคือก่อนหน้า มีบันทึกว่าโยบถวายบูชาแทนบุตร – เผื่อว่าลูกๆพลาดพลั้งทำบาป ไม่มีบันทึกว่าท่านถวายบูชาเพื่อตนเอง เช่นเดียวกับที่เปโตรมีความมั่นใจ มารขอฝัดร่อนท่านเหมือนข้าวสาลี สถานการณ์เช่นนี้ที่เราขอการปกป้องในคำอธิษฐานของเรายอมรับถึงความอ่อนแอ และทูลขอกำลัง ทูลขอคำสั่งสอนด้วยพระปัญญาและด้วยวิถีของพระองค์

การทดลองยังมีที่มาจากแหล่งอื่นที่เราต้องต้านเอาไว้ ค่านิยมทางโลกดึงดูดเราตลอดเวลา วิสัยภายในเราอ่อนแอและอยากจะทำตาม โดยคำอธิษฐาน เราสามารถเป็นคนที่แตกต่างได้

ที่สุดก็มาจบลงที่คุณลักษณะที่มาจากภายใน “เมื่อไรที่โจรไม่ได้เป็นโจร?” เมื่อถามคำถามนี้ ผมมักได้ยินคำตอบว่า “เมื่อมันไม่ได้ขโมย” ไม่ถูกนะครับ โจรที่ไม่ได้ขโมยก็เป็นโจรตกงาน โจรไม่ได้เป็นโจรเมื่อเขาใช้แรงทำงาน เพื่อมีรายได้สามารถนำไปช่วยเหลือผู้อื่น (เอเฟซัส 4:28) นี่คือเป้าหมายของคำอธิษฐาน เพื่อเปลี่ยนเราจากโจรเป็นผู้ให้ จากคนล่วงประเวณีไปเป็นคนที่รักครอบครัว จากหยิ่งยโสเป็นคนมีใจถ่อม จากเกลียดชังเป็นความรัก จากขมขื่นเป็นให้อภัย ฯลฯ ในส่วนที่ยังเป็นลบ หาทางฟูมฟักด้านตรงข้ามให้เติบโตขึ้น การอธิษฐานจะช่วยให้เราทำได้

นี่คือตอนจบแบบอย่างคำอธิษฐานของพระเยซูที่ผมเลือกจากหลายต้นฉบับที่ไว้ ใจได้ บางฉบับอธิบายส่วนที่เสริมเข้ามา “เหตุว่าราชอำนาจ และฤทธิ์เดช และพระสิริเป็นของพระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์” ผมเลือกใช้ตามต้นฉบับที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว เราสามารถถวายพระสิริแด่พระบิดาในตอนต้นของคำอธิษฐาน และถ้าพระเยซูไม่ได้เป็นผู้ตรัสคำลงท้าย จึงไม่มีคำถามว่าทำไมถึงไม่นำมาใช้ แม้จะจบลงอย่างยิ่งใหญ่ แต่พระเยซูทรงจบต้นแบบคำอธิษฐานของพระองค์ด้วยคำเตือนให้มีใจถ่อม คำอธิษฐานเปลี่ยนจากยิ่งใหญ่ ถวายพระสิริของพระเจ้าไปยังจุดที่ยอมจำนน และพึ่งพิงพระองค์หมดสิ้น ผมคิดว่าจบลงแบบนี้น่าจะดีกว่า

เงื่อนไขที่สำคัญ

ใครที่ใส่ใจตามคำสั่งของพระเยซูเรื่องคำอธิษฐาน จะสังเกตุว่าคำอธิษฐานของเราต้องเชื่อมโยงกับที่เราได้รับการอภัยจากพระบิดา สู่การให้อภัยผู้อื่น ไม่ได้เป็นคำสั่งที่พระบิดาสั่ง แต่เป็นคำที่เราทูลขอพระองค์ ที่จริงนับว่าแปลกจนทำให้เกิดคำถาม “หมายความจริงๆหรือว่าการรับการอภัยของฉันขึ้นอยู่กับระดับการให้อภัยที่ฉัน มีให้ผู้อื่น?” พระเยซูทรงตอบคำถามนี้

เพราะว่าถ้าท่านยกความผิดของเพื่อน มนุษย์ พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะทรงโปรดยกความผิดของท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ยกความผิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านจะไม่ทรงโปรดยกความผิดของท่านเหมือนกัน (มัทธิว 6:14-15)

พระเยซูตรัสอย่างชัดเจนว่าเราต้องอธิษฐานตามความเป็นจริง ข่าวดีอยู่ตรงนี้ ไม่มีใครสร้างความเสียหายให้ฉันได้เท่ากับที่ฉันทำกับแผ่นดินของพระเจ้า – หรืออาจทำถ้าปล่อยให้ทัศนคติที่ตนเองเป็นศูนย์กลางครอบงำและลงมือทำ ดังนั้นถ้าเข้าเฝ้าพระบิดาโดยไม่เก็บความขุ่นเคืองใจจากที่ถูกผู้อื่นกระทำ ฉันจึงสามารถทูลขอพระองค์ว่าอย่าทรงเก็บความขุ่นเคืองใจในตัวฉันด้วย คำอธิษฐานของพระเยซูจึงเท่ากับเราได้ให้อภัยผู้อื่นก่อนแล้วจึงมาเข้าเฝ้า พระบิดา

มีอุปมาสองเรื่องที่สนับสนุนความจริงนี้ เรื่องแรกมาจากคำพูดว่าเราต้องให้อภัยจากใจ:

“เหตุฉะนั้นแผ่นดินสวรรค์เปรียบเหมือน เจ้าองค์หนึ่งทรงประสงค์จะคิดบัญชีกับทาส เมื่อตั้งต้นทำการนั้นแล้ว เขาพาคนหนึ่งซึ่งเป็นหนี้หนึ่งหมื่นตะลันต์มาเฝ้า ท่านจึงสั่งให้ขายตัวกับทั้งเมีย และลูกและบรรดาสิ่งของที่เขามีอยู่นั้นเอามาใช้หนี้ เพราะเขาไม่มีเงินจะใช้หนี้ ทาสลูกหนี้ผู้นั้นจึงกราบลงวิงวอนว่า ‘ข้าแต่ท่าน ขอโปรดผัดไว้ก่อน แล้วข้าพเจ้าจะใช้หนี้ทั้งสิ้น’ เจ้าองค์นั้นมีพระทัยเมตตา โปรดยกหนี้ปล่อยตัวเขาไป

แต่ทาสผู้นั้นออกไปพบคนหนึ่งเป็นเพื่อน ทาสด้วยกัน ซึ่งเป็นหนี้เขาอยู่หนึ่งร้อยเดนาริอัน จึงจับคนนั้นบีบคอว่า ‘จงใช้หนี้ให้ข้า’ เพื่อนทาสคนนั้นได้กราบลงอ้อนวอนว่า ‘ขอโปรดผัดไว้ก่อนแล้วข้าพเจ้าจะใช้ให้’ แต่เขาไม่ยอม จึงนำทาสลูกหนี้นั้นไปจำจองไว้จนกว่าจะใช้เงินนั้น

ฝ่ายพวกเพื่อนทาสเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่น นั้น ก็พากันสลดใจยิ่งนัก จึงนำเหตุการณ์ทั้งปวงไปกราบทูลเจ้าองค์นั้น ท่านจึงทรงเรียกทาสนั้นมาสั่งว่า ‘อ้ายข้าชาติชั่ว เราได้โปรดยกหนี้ให้เอ็งหมด เพราะเอ็งได้อ้อนวอนเรา เอ็งควรจะเมตตาเพื่อนทาสด้วยกัน เหมือนเราได้เมตตาเอ็งมิใช่หรือ’ แล้วเจ้าองค์นั้นกริ้ว จึงมอบผู้นั้นไว้แก่เจ้าหน้าที่ให้ทรมาน จนกว่าจะใช้หนี้หมด

พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ จะทรงกระทำแก่ท่านทุกคนอย่างนั้น ถ้าหากว่าท่านแต่ละคนไม่ยกโทษให้แก่พี่น้องของท่านด้วยใจกว้างขวาง” (มัทธิว 18:23-35)

เรื่องที่สองเป็นเรื่องที่รวมทั้งอุปมาและแสดงให้เห็นถึงระดับความรักที่เรามีต่อพระเจ้า ซึ่งขึ้นกับระดับที่เราได้รับการอภัย

มีคนหนึ่งในพวกฟาริสีเชิญพระองค์ไปเสวยพระกระยาหารกับเขา พระองค์ก็เสด็จเข้าไปในเรือนของคนฟาริสีคนนั้น แล้วเอนพระกายลง

และดูเถิด มีผู้หญิงคนหนึ่งของเมืองนั้นเคยเป็นหญิงชั่ว เมื่อรู้ว่าพระองค์ทรงเอนพระกายเสวยอยู่ในบ้านของคนฟาริสีนั้น นางจึงถือผอบน้ำมันหอม มายืนอยู่ข้างหลังใกล้พระบาทของพระองค์ ร้องไห้น้ำตาไหลเปียกพระบาท เอาผมเช็ด จุบพระบาทของพระองค์มาก และเอาน้ำมันนั้นชโลม

ฝ่ายคนฟาริสีที่ได้เชิญพระองค์ เมื่อเห็นแล้วก็นึกในใจว่า “ถ้าท่านนี้เป็นผู้เผยพระวจนะก็คงจะรู้ว่า หญิงผู้นี้ที่ถูกต้องกายของท่านเป็นผู้ใดและเป็นคนอย่างไร เพราะนางเป็นคนชั่ว”

ฝ่ายพระเยซูตรัสตอบเขาว่า “ซีโมนเอ๋ย เรามีอะไรจะพูดกับท่านบ้าง”

เขาทูลว่า “ท่านอาจารย์เจ้าข้า เชิญพูดไปเถิด”

พระองค์จึงตรัสว่า “เจ้าหนี้คนหนึ่งมีลูกหนี้สองคน คนหนึ่งเป็นหนี้เงินห้าร้อยเหรียญเดนาริอัน อีกคนหนึ่งเป็นหนี้เงินห้าสิบเหรียญ เมื่อเขาไม่มีอะไรจะใช้หนี้แล้ว ท่านจึงโปรดยกหนี้ให้เขาทั้งสองคน ในสองคนนั้น คนไหนจะรักนายมากกว่า”

ซีโมนจึงทูลว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าคนที่นายได้โปรดยกหนี้ให้มาก ก็เป็นคนที่รักนายมาก” พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “ท่านคิดเห็นถูกแล้ว”

พระองค์จึงทรงเหลียวหลังดูผู้หญิงนั้น และตรัสแก่ซีโมนว่า “ท่านเห็นผู้หญิงนี้หรือ เราได้เข้ามาในบ้านของท่าน ท่านมิได้ให้น้ำล้างเท้าของเรา แต่นางได้เอาน้ำตาชำระเท้าของเราและได้เอาผมของตนเช็ด ท่านมิได้จุบเรา แต่ผู้หญิงนี้ตั้งแต่เราเข้ามา มิได้หยุดจุบเท้าของเรา ท่านมิได้เอาน้ำมันชโลมศีรษะของเรา แต่นางได้เอาน้ำมันหอมชโลมเท้าของเรา เหตุฉะนั้นเราบอกท่านว่า ความผิดบาปของนางซึ่งมีมากได้โปรดยกเสียแล้ว เพราะนางรักมาก แต่ผู้ที่ได้รับการยกโทษน้อย ผู้นั้นก็รักน้อย”

พระองค์จึงตรัสแก่นางว่า “ความผิดบาปของเจ้าโปรดยกเสียแล้ว” ฝ่ายคนทั้งหลายที่เอนกายอยู่ด้วยพูดกันว่า “คนนี้เป็นใคร แม้ความผิดบาปก็ยกให้ได้” พระองค์จึงตรัสแก่ผู้หญิงนั้นว่า “ความเชื่อของเจ้าได้ทำให้เจ้ารอด จงไปเป็นสุขเถิด” (ลูกา 7:36-50)

ประเด็นเรื่องการให้อภัยผู้อื่นสรุปลงได้เป็นสองสิ่ง สิ่งแรก – ความกตัญญู เราได้รับการยกหนี้มหาศาล แม้เรื่องเล็กน้อยที่สุดในความเห็นแก่ตัวของเราที่สร้างความเสียหายแก่แผ่น ดินสวรรค์ เราเห็นได้จากการล้มลงของอาดัมและเอวาที่ไม่เชื่อฟัง และหนี้ที่เราต้องรับคือชีวิต การให้อภัยเป็นเหตุทำให้พระบิดาต้องสละชีวิตพระบุตรเพื่อแลกเปลี่ยน การให้อภัยที่เราให้ผู้อื่นเป็นแค่การแสดงความกตัญญู แล้วทำไมเราถึงกล้าขัดขืน สิ่งที่สอง – โดยการให้อภัย เรากำลังเลียนแบบพระลักษณะของพระบิดา และเป็นการถวายพระสิริแด่พระนามของพระองค์ พระบิดาเป็นแบบอย่างของความเมตตาและการให้อภัย เมื่อเราแสดงความเมตตาและให้อภัย เราก็พยายามเป็นเหมือนพระองค์ การทำเช่นนี้คือการถวายพระเกียรติต่อพระนามของพระองค์

บางคนอาจถามว่า “แล้วฉันยังจะได้รับความรอดมั้ย ถ้าไม่ยอมอภัยให้ผู้อื่น?” เนื่องจากต้นแบบคำอธิษฐานนี้เป็นต้นแบบสำหรับแต่ละวันด้วยมีคำทูลขออาหาร ประจำวัน และนี่จึงเป็นการทูลขอการอภัยประจำวันในสิ่งที่เราผิดพลาดไปในวันนั้นด้วย การให้อภัยที่เป็นการกระทำ เป็นสิ่งที่พระเยซูตรัสกับเปโตร “ผู้ที่อาบน้ำแล้วไม่จำเป็นต้องชำระกายอีก ล้างแต่เท้าเท่านั้น” (ยอห์น 13:10) ถึงแม้จะข้ามเรื่องนี้ไป ความรอดไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา อย่างที่ อ เปาโลเขียน :

ด้วยว่าซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดย พระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้ ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้ เพราะว่าเราเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ที่ทรงสร้างขึ้นในพระเยซูคริสต์เพื่อให้ประกอบการดี ซึ่งพระเจ้าได้ทรงดำริไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เรากระทำ (เอเฟซัส 2:8-10)

รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อเป็นของประทานจากพระเจ้า เราไม่อาจทำสิ่งใดให้ตัวเองได้ในเรื่องความรอด ยิ่งเป็นสาเหตุที่สมควรที่เราให้อภัยผู้ที่ทำผิดต่อเราด้วยใจกตัญญู – ไม่ว่าคู่กรณีต้องการหรือไม่ก็ตาม

เราคงไม่อยากมีชีวิตที่ขมขื่นเพราะไม่ยอมให้อภัย เป็นเหมือนดื่มยาพิษแล้วบอกคู่กรณีว่า “เอาสิ กินด้วยกัน”

ระหว่างบทเรียนนี้ ผมอยากแนะนำให้คุณหาหนังสือของคอรี่ เทน บูม “ที่หลบภัย” (The Hiding Place by Corrie Ten Boom) มาอ่าน หนังสือเล่มนี้ คุณจะพบความลึกล้ำที่ทำให้คริสเตียนสามารถให้อภัยได้

คำอธิษฐานของพระเยซู และคำเทศนาบนภูเขา

คุณสามารถนำแต่ละบรรทัดจากต้นแบบคำอธิษฐานของพระเยซู คุณจะพบอย่างน้อยมีคำเทศนาบนภูเขาที่สนับสนุนคำอธิษฐานนี้ เมื่อจบลงคุณจะเห็นอย่างน้อยมีหนึ่งข้อพระคำจากคำเทศนาบนภูเขาบรรจุอยู่

“ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ”

“บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า” (มัทธิว 5:8)

“บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร” (มัทธิว 5:9)

“ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่าง นั้นในแผ่นดินโลก”

“บุคคลผู้ใด รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา” (มัทธิว 5:3)

“บุคคลผู้ใดต้องถูกข่มเหงเพราะเหตุความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา” (มัทธิว 5:10)

“ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในกาลวันนี้”

“บุคคลผู้ใดหิวกระหาย ความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงให้อิ่มบริบูรณ์” (มัทธิว 5:6)

“บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนโยน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก” (มัทธิว 5:5)

“และขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น”

“บุคคลผู้ใดโศกเศร้า ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับการทรงปลอบประโลม” (มัทธิว 5:4)

“บุคคลผู้ใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับพระกรุณาตอบ” (มัทธิว 5:7)

“บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร” (มัทธิว 5:9)

“และขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้พ้นจาก ซึ่งชั่วร้าย”

“บุคคลผู้ใดต้องถูกข่มเหงเพราะเหตุความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา” (มัทธิว 5:10)

“เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหง และนินทาว่าร้ายท่านทั้งหลายเป็นความเท็จเพราะเรา ท่านก็เป็นสุข จงชื่นชมยินดี เพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะเขาได้ข่มเหงผู้เผยพระวจนะทั้งหลาย ที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน” (มัทธิว 5:11-12)

คงไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรอีก ผมคิดว่าเป็นพระวจนะที่สนับสนุนกันและกันได้อย่างน่าสนใจและยอดเยี่ยม และเป็นประโยชน์ต่อพวกเรา

ข้อคิดส่งท้าย

ให้กลับมาดูพระวจนะตอนนี้อีกครั้ง :

“เมื่อท่านทั้งหลายอธิษฐาน อย่าเป็นเหมือนคนหน้าซื่อใจคด เพราะเขาชอบยืนอธิษฐานในธรรมศาลาและตามถนน เพื่อจะให้คนทั้งปวงได้เห็น เราบอกความจริงแก่ท่านว่าเขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว ฝ่ายท่านเมื่ออธิษฐานจงเข้าในห้องชั้นใน และเมื่อปิดประตูแล้ว จงอธิษฐานต่อพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในที่ลี้ลับ และพระบิดาของท่านผู้ทรงเห็นในที่ลี้ลับจะทรงโปรดประทานบำเหน็จแก่ท่าน “แต่เมื่อท่านอธิษฐานอย่าพูดพล่อยๆซ้ำซาก เหมือนคนต่างชาติกระทำเพราะเขาคิดว่าพูดมากหลายคำ พระจึงจะทรงโปรดฟัง อย่าทำเหมือนเขาเลย เพราะว่าสิ่งไรซึ่งท่านต้องการ พระบิดาของท่านทรงทราบก่อนที่ท่านทูลขอแล้ว ท่านทั้งหลาย จงอธิษฐานตามอย่างนี้ว่า:

ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในกาลวันนี้ และขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น และขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้พ้นจาก ซึ่งชั่วร้าย

“เพราะว่าถ้าท่านยกความผิดของเพื่อน มนุษย์ พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะทรงโปรดยกความผิดของท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ยกความผิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านจะไม่ทรงโปรดยกความผิดของท่านเหมือนกัน” (มัทธิว 6:5-15)

คำอธิบายของพระเยซูที่เกี่ยวกับการอธิษฐานยาวเป็นสองเท่าของต้นแบบการ อธิษฐานของพระองค์ คำอธิษฐานของพระเยซูเอง เป็นความมหัศจรรย์แห่งพระปัญญาและเป็นความเรียบง่าย ทรงบ่งว่าเรากำลังอธิษฐานถึงใคร และควรอธิษฐานในเรื่องใด ผมเชื่อว่ายังเรียงลำดับเรื่องต่างๆได้อย่างเหมาะสมด้วย สิ่งนี้สำคัญ เพราะเราสามารถมุ่งไปที่พระบิดาและอาณาจักรของพระองค์ ทูลขอสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ก่อนทูลขอการอภัย! ด้วยวิธีนี้ พระเยซูกำลังตรัสบอกถึงพระคุณและพระทัยเมตตากว้างขวางของพระบิดา เช่นเดี่ยวกับที่พระองค์ตรัสไว้ในคำเทศนาบนภูเขา

“ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน ทำดังนี้แล้วท่านทั้งหลายจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์ เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอกัน และให้ฝนตก แก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” (มัทธิว 5:44-45)

ในการนำพระวจนะมาประยุกต์ใช้ เช่นเดียวกับตอนอื่นๆ ต้องเป็นส่วนตัวและตามการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะเราไม่อาจทราบความคิดและแรงจูงใจของคนอื่นได้ สมมุติว่าคุณผ่านไปเห็นบางคนอธิษฐานเสียงดังที่หัวมุมถนน คำสอนของพระเยซูจากบทเรียนนี้นำไปใช้ได้หรือเปล่า? เราบอกไม่ได้ ตัวอย่างเช่นการอธิษฐานในท่ามกลางประชาชน (ยอห์น 11:41, 42) ดาเนียลเองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ควรอธิษฐานในที่ลี้ลับ (ดาเนียล 6:10) หรือคนที่ปิดประตูเข้าห้องอธิษฐานในแต่ละวัน อาจยังเป็นคนที่หน้าซื่อใจคด — แม้จะอธิษฐานในที่ลึกลับ แต่ก็ยังเปิดเผยให้คนอื่นๆรู้ว่าเขาอธิษฐานอยู่ในที่ลี้ลับ

คุณจึงจำเป็นต้องนำแนวคิดนี้มาพิจารณาทีละขั้นตอน และนำใจของคุณเข้าไปให้ใกล้ด้วย

  • คำอธิษฐานของคุณส่วนใหญ่เกี่ยวกับตัวคุณ หรือสถานการณ์ของคุณ? ลองอธิษฐานเผื่อผู้อื่นบ้าง
  • คุณทำตัวสอดคล้องกับสิ่งที่พระบิดาทรงกระทำอยู่รอบตัวคุณ และส่วนของคุณที่ทำนั้นสอดคล้องกับพระองค์หรือเปล่า? พระเยซูตรัสว่าพระองค์ทรงทำในสิ่งที่เห็นพระบิดาทำเท่านั้น คำอธิษฐานและการติดสนิทกับพระบิดาเป็นกุญแจในการทำสิ่งเดียวกัน
  • “ให้อภัย…อย่างที่เราได้รับการอภัย” ทำให้คุณวิตก หรือว่าเต็มไปด้วยคำสัญญา เพราะหัวใจของคุณไม่กักเก็บความรู้สึกร้ายกับผู้ใด ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจ จงพยายามต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตนเองออกจากพันธนาการความโกรธให้ได้
  • คุณร้องทูลเพื่อครอบครัวของคุณ เพื่อคริสตจักร ชุมชน ประเทศของคุณ หรือแม้แต่ศัตรูของคุณหรือเปล่า? อย่าลืมว่าต้นแบบคำอธิษฐานของพระเยซูใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งเป็นพหูพจน์
  • บางคนท่องจำคำอธิษฐานนี้ได้ และใช้เป็นแนวทางในการอธิษฐานเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งที่ดีและผมแนะนำให้ฝึกฝนปฏิบัติด้วยครับ

ธรรมชาติคำสอนของพระเยซูเป็นเหมือนไม้กั้นที่ยกสูงขึ้นไปเกินกว่าจะคว้าถึง แต่เมื่อคว้าได้ เราก็ขึ้นสูงไปได้อีก

ขอพระบิดาทรงอวยพระพร และสถิตอยู่ด้วยในคำอธิษฐานของคุณ

ทุกท่านสามารถนำบทเรียนนี้ไปใช้เพื่อการศึกษาได้เท่านั้น ทางคริสตจักร Community Bible Chapel เชื่อว่าเนื้อหาในบทเรียนนี้ถูกต้องตรงตามหลักการสอนพระคัมภีร์ ใช้เพื่อช่วยในการศึกษาพระวจนะของพระเจ้า บทเรียนนี้เป็นลิขสิทธิของ Community Bible Chapel

(แปล: อรอวล ระงับภัย – คริสตจักรแห่งความสุข)


1 189 Copyright 2003 by Community Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081. ดัดแปลงจากต้นฉบับของบทเรียนที่ 27 ในบทเรียนต่อเนื่องของพระกิตติคุณมัทธิว จัดเตรียมโดย โดนัลด์ อี เคอร์ติส 24 สิงหาคม 2003

2 190 นอกจากที่กล่าวไปแล้ว พระวจนะที่นำมาอ้างอิงทั้งหมดมาจาก NET Bible (The NEW ENGLISH TRANSLATION) เป็น ฉบับแปลใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่นำฉบับเก่าในภาษาอังกฤษมาเรียบเรียงใหม่ ใช้ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการพระคัมภีร์มากกว่า ยี่สิบคน รวบรวมข้อมูล ทั้งจากภาษาฮีบรูโดยตรง ภาษาอาราเมข และภาษากรีก โครงการแปลนี้เริ่มมาจากที่เราต้องการนำ พระคัมภีร์ เผยแพร่ผ่านสื่ออีเลคโทรนิค เพื่อรองรับการใช้งานทางอินเตอร์เน็ท และซีดี (compact disk) ที่ใดก็ตามในโลก ที่ต่อเข้าอินเตอร์เน็ทได้ ก็สามารถเรียกดู และพริ้นทข้อมูลไว้เพื่อใช้ศึกษาเป็นการส่วนตัวได้โดยไม่คิดมูลค่า นอกจากนี้ ผู้ใดก็ตาม ที่ต้องการนำข้อมูลเกี่ยวกับพระคัมภีร์ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่คิดเงิน สามารถทำได้จากเว็บไซด์ : www.netbible.org.

3 191 ข้อแตกต่างคู่ขนานระหว่างสมัยโน้นกับ สมัยนี้ ระหว่างกฏหมายด้วยวาจา มีเพื่อล้อมกรอบตัวกฎหมายที่บัญญัติเอาไว้ เป็นเรื่องของจิตใจ คนที่อยากยกเลิกกฎหมายมีอาวุธปืนส่วนตัวไว้ในครอบครอง พยายามหาทางป้องกันการฆาตกรรมโดยออกกฎที่เข้มกว่ากฎหมายเรื่องอาวุธตามที่ บัญญัติไว้ ในสมัยของพระเยซู ความเข้มงวดนี้มักใช้ไม่ได้ผล ในขณะที่การเน้นไปที่เรื่องของจิตใจ และอุปนิสัยของชายและหญิง ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในสังคมได้มากกว่า

Related Topics: Prayer

7. Let Go and Let Others

Related Media

Introduction1

A number of years ago, two of my friends and I were traveling in India. We were flying on a brand new Airbus from Delhi to Hyderabad, and while we were in mid-air an alarm went off. There was no indication from the performance of the aircraft that anything was wrong, but the crew was scurrying about in a way that struck me as funny. My sense was that nothing was really wrong, but that an alarm had been set off for some unexplained reason. No one seemed to know how to turn the alarm off, and eventually it was silenced, and we continued on to our destination without further incident.

It was several years later that I found out one of the men traveling with me had a very different perspective on that incident. My friend described what sounded like a near-death experience on an airplane. Then I realized he was talking about something that happened when I was with him, and I couldn’t imagine what it could be. He then explained his perspective of that same incident with the malfunctioning alarm on the Airbus headed for Hyderabad. While I was laughing, he was saying his last prayer.

People simply see things differently. That is part of the reason we have four Gospels in the New Testament with overlapping accounts of events in Israel’s history in the Old Testament. Sometimes it is not a difference in perspective, but a difference in the author’s purpose. For example, in 2 Samuel 1, David eulogizes Saul and Jonathan together, praising them as men who are great and courageous.2 A funeral is not the time to emphasize the failures and sins of the deceased. Indeed, David never seems to speak ill of Saul, except in his private conversations with Jonathan and in his prayers.3

We certainly see a significant difference in the account of 1 Kings 1from that recorded in the final chapters of 1 Chronicles.4 From the 1 Chronicles account, we might conclude that the transition from David’s reign as Israel’s king to Solomon’s was smooth and carefully orchestrated. When we come to our text in 1 Kings 1, the transition of power looks quite different. It appears that the scepter must be pried from David’s grasp and handed to Solomon. There is a good deal of intrigue in this account as well. We are saddened when we learn that Joab betrayed David and switched his allegiance to Adonijah, along with Abiathar the priest. We note the way in which Nathan and Bathsheba must “manage” David to get him to act. We wonder why we are told about the need for David to have a beautiful young virgin to warm him.

Speaking of different perspectives, our perspective in this lesson is quite different from that in our last lesson. Then we looked at David’s sin with Bathsheba as the result of David taking, as it were, an early retirement from his responsibilities as Israel’s king. This lesson approaches our text from a very different perspective. Here in 1 Kings 1, David resists retirement altogether, waiting until he has “one foot in the grave and the other on a banana peel” to pass the scepter to his son, Solomon.

Our text is not only fascinating, it is crucial in its implications and applications to you and to me as individuals, and to us as a church. Let us listen well to these inspired words and ask God to use His Holy Spirit to communicate the message we need to hear.

David and Abishag
1 Kings 1:1-4

1 King David was very old; even when they covered him with blankets, he could not get warm. 2 His servants advised him, “A young virgin must be found for our master, the king, to take care of the king’s needs and serve as his nurse. She can also sleep with you and keep our master, the king, warm.” 3 So they looked through all Israel for a beautiful young woman and found Abishag, a Shunammite, and brought her to the king. 4 The young woman was very beautiful; she became the king’s nurse and served him, but the king did not have sexual relations with her (1 Kings 1:1-4).

Before we look at our text, I would remind you of an earlier incident which prompted David’s men to insist that David no longer lead them into battle as he had once done:

15 Another battle was fought between the Philistines and Israel. So David went down with his soldiers and fought the Philistines. David became exhausted. 16 Now Ishbi-Benob, one of the descendants of Rapha, had a spear that weighed three hundred bronze shekels, and he was armed with a new weapon. He had said that he would kill David. 17 But Abishai the son of Zeruiah came to David’s aid, striking the Philistine down and killing him. Then David’s men took an oath saying, “You will not go out to battle with us again! You must not extinguish the lamp of Israel!” (2 Samuel 21:15-17)

As David grew older, some of his activities as a young man had to be set aside. One of these was leading his army in battle. The incident described above demonstrated that David should no longer take on “Goliath’s” in battle for two very good reasons. First, David was getting too old for this kind of strenuous activity. David became exhausted while fighting Ishbi-Benob, another Philistine giant. Abishai recognized what was happening and came to David’s aid, striking down the giant himself. David no longer had the strength for battle he once possessed. Second, there was no longer a need for David to take on giants because a number of his men did so with great success. It was one thing for David to take on Goliath when none of the Israelites had the courage or faith to do so. Now, a number of men have been inspired by David’s faith and courage, and they have taken over the “giant-killing” task.

This is not the kind of “retirement” we saw in our last lesson – David’s “early retirement” of staying in Jerusalem while Joab and the army of Israel fought the Ammonites. This “early retirement” was not due to David’s age or lack of strength; it was due to his lapse in character. Since then, David had grown older, and his strength had waned. It was not yet time for David to step down, but it was time for him to cut back in certain strenuous activities. (My wife has been telling me the same thing – no more swapping engines or transmissions.)

When we come upon David in 1 Kings 1, he is now at the end of his life. He is an old man now, and most of his strength is gone. What a pathetic sight this once vibrant man must have been as he lay shivering because he could not get warm. I am fascinated at the counsel the king’s “servants” gave.5 They concluded that the king needed a beautiful young virgin to care for his needs, which included lying beside the king. This beautiful young woman’s “ministry” to David was far from just that of a servant, or even a nurse. From what we know of David, and from what we now read in our text, it seems obvious that David’s servants expected this beautiful young woman to “get David’s motor going” once again. The reality is that David did not “know” Abishag because he could not.6

The thrust of these first four verses of 1 Kings 1 characterizes David’s overall condition, his capacity to lead if you would. What we see in our text is far from encouraging. Bluntly put, David is “over the hill,” not only unable to lead the army, or the nation, but even unable to live a normal life. David’s inability to “know” Abishag is but the first instance of David’s lack of knowledge in our text, as we will soon see. Up to this point, we should see that David lacks the capacity to lead the nation, and further events will only serve to prove this.

Adonijah

Adonijah was the fourth of David’s sons born to him while he reigned as king of Judah in Hebron:7

2 Now sons were born to David in Hebron. His firstborn was Amnon, born to Ahinoam the Jezreelite. 3 His second son was Kileab, born to Abigail the widow of Nabal the Carmelite. His third son was Absalom, the son of Maacah daughter of King Talmai of Geshur. 4 His fourth son was Adonijah, the son of Haggith. His fifth son was Shephatiah, the son of Abitail. 5 His sixth son was Ithream, born to David’s wife Eglah. These sons were all born to David in Hebron (2 Samuel 3:2-5).

Amnon, David’s firstborn son, raped his sister Tamar and was then killed by his brother Absalom. Absalom, David’s third son, is killed by Joab because he sought to take the kingdom from his father. No one knows what became of Kileab, the son of Abigail,8 so he is presumed by most to be dead.9 The fourth son, Adonijah, is thus first in line for the throne, if reckoned only by birth order. This is the new contender for the throne.

I am tempted to refer to Adonijah as “Absalom II,” because there are definite similarities between the two. Both are sons of David. Each, in his own time, was next in line for the throne when considered in terms of birth order. Both men were handsome,10 and both made a show of their royal status by riding about in a chariot with fifty men running before them.11 Both sought to take over the kingdom while their father was still living. Absalom seemed to make his appeal to the general populace, while Adonijah sought to win the favor of some of Israel’s leaders. Absalom would not hesitate to kill David and many others to grasp the throne; Adonijah may at least have been willing to kill any rivals or threats to his reign.12

David’s performance as a father has not been stellar. He foolishly sent Tamar to Amnon13 and thus facilitated her violation by her brother. He did not deal well with Absalom, either,14 thus contributing to Absalom’s revolt. Now, once again, we find David failing as a father:

(Now his father had never corrected him by saying, “Why do you do such things?” He was also very handsome and had been born right after Absalom.) (1 Kings 1:6)

We would probably say today that Adonijah was a royal brat. He had everything he wanted and was never called to account for his actions.

It seems as though Adonijah would have known that Solomon was the heir apparent. He certainly would have noted David’s reluctance to designate his successor and the degree to which David was out of touch and out of control of his kingdom. Waiting for David’s death would not be to his advantage. But if he could act decisively before David’s death, especially with the support of some of David’s most loyal officials, he could seize the throne. If need be, he could even eliminate Solomon and his mother, so that the designated heir to the throne would no longer pose a threat to his plans.

Somehow Adonijah succeeded in obtaining the support of some of David’s most devoted officials, specifically Joab and Abiathar. Joab was the commander of Israel’s armies, and this was crucial because successful coups require the support of the armed forces of the nation. If Joab could maintain the loyalty and support of his army, then Adonijah’s victory seemed almost certain. Abiathar shared the high priesthood with Zadok;15 Abiathar cast his lot with Adonijah, while Zadok remained faithful to David, and thus to Solomon. No doubt Adonijah planned to have Abiathar anoint him as Israel’s next king, thus giving the appearance of divine a.pproval

While Adonijah had managed to gain the support of some key leaders, he had not gained the support of all. Zadok, the other high priest, Benaiah (one of David’s top military commanders), Nathan the prophet, 16and David’s elite warriors (the Kerethites and Pelethites – see verse 38) remained loyal to their king.

Adonijah made his intentions clear – he definitely intended to be Israel’s next king. He sounds rather like some politicians today, announcing their candidacy for president. He acquired all of the trappings of royalty and flaunted them to buttress his intentions:

Now Adonijah, son of David and Haggith, was promoting himself, boasting, “I will be king!” He managed to acquire chariots and horsemen, as well as fifty men to serve as his royal guard (1 Kings 1:5).

When the time was right, Adonijah held a feast, a seemingly apt occasion to designate himself as David’s replacement.17 Things appeared to be going according to Adonijah’s plan.

Nathan to the Rescue
1 Kings 1:11-14

11 Nathan said to Bathsheba, Solomon’s mother, “Has it been reported to you that Haggith’s son Adonijah has become king behind our master David’s back? 12 Now let me give you some advice as to how you can save your life and your son Solomon’s life. 13 Visit King David and say to him, ‘My master, O king, did you not solemnly promise your servant, “Surely your son Solomon will be king after me; he will sit on my throne”? So why has Adonijah become king?’ 14 While you are still there speaking to the king, I will arrive and verify your report” (1 Kings 1:11-14).

This is really great drama. It would seem that Adonijah’s banquet has already begun, and it will not be long before this usurper is proclaimed king. (Perhaps the plan was for Abiathar to anoint him as king during the feast, and then Joab would lead a procession to Jerusalem, where Adonijah would take the throne.) Time was of the essence. Something had to be done, and done quickly.

Nathan knew what Adonijah was up to. It seems to me that Nathan was also clear on the fact that Solomon was God’s choice as David’s successor. This may have been made known to him shortly after Solomon’s birth, and perhaps this text is an indication of Solomon’s favored status before God:

24 So David comforted his wife Bathsheba. He went to her and had marital relations with her. She gave birth to a son, and David named him Solomon. Now the Lord loved the child 25 and sent word through Nathan the prophet that he should be named Jedidiah for the Lord’s sake (2 Samuel 12:24-25).

Nathan had played a very significant role in David’s life and his reign as king. Nathan was the prophet through whom God conveyed the Davidic Covenant, God’s promise to build David a “house” (a dynasty) as we find in 2 Samuel 7. It was also Nathan who confronted David regarding his sin with Bathsheba and the murder of Uriah her husband (2 Samuel 12). As we can see from the text above, it was also Nathan who conveyed God’s favor toward Solomon. Now, it somehow seems fitting that Nathan would be the one to become aware of Adonijah’s scheme and to see to it that David is informed that he is in the process of declaring himself to be king of Israel. He does so by enlisting Bathsheba’s support.

Nathan not only informs Bathsheba of Adonijah’s plot but makes it clear to her that should he succeed in usurping the throne, both she and her son Solomon would likely be killed. When Adonijah seizes power, he will not leave any rivals, especially Solomon. Nathan instructs Bathsheba to approach David and remind him of his oath to her that Solomon would reign in his place. She is then to ask David if he intends to keep his oath. If so, then how is it that Adonijah has become king? (Granted, Adonijah is only in the process of achieving this, but asking her question as Nathan has instructed serves to underscore the urgency of the situation and thus the need for an immediate response from David.)

The King and I
1 Kings 1:15-21

15 So Bathsheba visited the king in his private quarters. (The king was very old, and Abishag the Shunammite was serving the king.) 16 Bathsheba bowed down on the floor before the king. The king said, “What do you want?” 17 She replied to him, “My master, you swore an oath to your servant by the Lord your God, ‘Solomon your son will be king after me and he will sit on my throne.’ 18 But now, look, Adonijah has become king! But you, my master the king, are not even aware of it! 19 He has sacrificed many cattle, steers, and sheep and has invited all the king’s sons, Abiathar the priest, and Joab, the commander of the army, but he has not invited your servant Solomon. 20 Now, my master, O king, all Israel is watching anxiously to see who is named to succeed my master the king on the throne. 21 If a decision is not made, when my master the king is buried with his ancestors, my son Solomon and I will be considered state criminals” (1 Kings 1:15-21).

I can only imagine Bathsheba’s emotional response when she came to the king while he was being served by Abishag. Nevertheless, she bowed before the king and carried out Nathan’s instructions. She first reminded David of the oath he swore to give the throne to Solomon. Next, she informs David that Adonijah has seized the throne, and he does not even know18 it (verse 18). Bathsheba then tells David what Adonijah is doing at this very moment to finalize his coup. He is sacrificing many cattle for the feast to which he has invited all of David’s sons, except Solomon, along with Abiathar the priest and Joab the commander of the army. If David does not act promptly, the deed will already have been done, and Solomon and his mother will become criminals.

Confirming Testimony
1 Kings 1:22-27

22 Just then, while she was still speaking to the king, Nathan the prophet arrived. 23 The king was told, “Nathan the prophet is here.” Nathan entered and bowed before the king with his face to the floor. 24 Nathan said, “My master, O king, did you announce, ‘Adonijah will be king after me; he will sit on my throne’? 25 For today he has gone down and sacrificed many cattle, steers, and sheep and has invited all the king’s sons, the army commanders, and Abiathar the priest. At this moment they are having a feast in his presence, and they have declared, ‘Long live King Adonijah!’ 26 But he did not invite me – your servant – or Zadok the priest, or Benaiah son of Jehoiada, or your servant Solomon. 27 Has my master the king authorized this without informing your servants who should succeed my master the king on his throne?” (1 Kings 1:22-27)

Nathan’s timing was perfect. He arrived while Bathsheba was still speaking, so that he was able to confirm all that she had said. It would appear that Bathsheba said her piece and then left.19 Nathan does not give a “Thus saith the Lord;” he simply asks David a question. Did David proclaim Adonijah to be his successor? That was certainly the appearance of the day’s events. He then told of the sacrifice, the feast, and those who were invited. Those at the feast were proclaiming Adonijah as the king, and all this was done without Nathan, Zadok, Benaiah, or Solomon, who had been deliberately excluded from these festivities. “Is it true,” Nathan asks David, “that you have authorized this without making it known to your most faithful servants?”

David Comes to Life
1 Kings 1:28-35

28 King David responded, “Summon Bathsheba!” She came and stood before the king. 29 The king swore an oath: “As certainly as the Lord lives (he who has rescued me from every danger), 30 I will keep today the oath I swore to you by the Lord God of Israel: ‘Surely Solomon your son will be king after me; he will sit in my place on my throne.’” 31 Bathsheba bowed down to the king with her face to the floor and said, “May my master, King David, live forever!” 32 King David said, “Summon Zadok the priest, Nathan the prophet, and Benaiah son of Jehoiada.” They came before the king, 33 and he told them, “Take your master’s servants with you, put my son Solomon on my mule, and lead him down to Gihon. 34 There Zadok the priest and Nathan the prophet will anoint him king over Israel; then blow the trumpet and declare, ‘Long live King Solomon!’ 35 Then follow him up as he comes and sits on my throne. He will be king in my place; I have decreed that he will be ruler over Israel and Judah” (1 Kings 1:28-35).

For a few moments, David acts like the king he is supposed to be. If Abishag could not warm David up, the reports of Bathsheba and Nathan did. Can’t you just see him pushing Abishag out of his bed, setting up, and issuing orders? He first summoned Bathsheba, assuring her that he would keep his oath and that he would see to it that Solomon, her son, became king in his place. In gratitude and humility, Bathsheba bowed before David saying, “May my master, King David, live forever!” (verse 31). And so he would, thanks to his descendant, the Son of David, Messiah.

Then David summoned Zadok the priest, Nathan the prophet, and Benaiah son of Jehoiada. When they appeared before him, David gave the authorization and instructions whereby Solomon would be declared King of Israel that very day. They were to go with David’s servants and place Solomon on his mule, then lead him down to the valley just below Jerusalem to the Gihon spring20 and there anoint him king, blowing the trumpet to declare Solomon King of Israel. Benaiah responded, embracing Solomon as the one the Lord would bless, even as He had David.

Mission Accomplished
1 Kings 1:38-40

38 So Zadok the priest, Nathan the prophet, Benaiah son of Jehoiada, the Kerethites, and the Pelethites went down, put Solomon on King David’s mule, and led him to Gihon. 39 Zadok the priest took a horn filled with olive oil from the tent and poured it on Solomon; the trumpet was blown and all the people declared, “Long live King Solomon!” 40 All the people followed him up, playing flutes and celebrating so loudly they made the ground shake (1 Kings 1:38-40).

While Adonijah and his guests celebrated their feast, Solomon was being officially designated as David’s successor. Zadok the priest anointed Solomon, and Nathan the prophet gave evidence of God’s appointment. David’s mule provided another indication that Solomon was David’s choice for Israel’s king. While a few key leaders toasted Adonijah as king, the people of Jerusalem embraced Solomon as their king. Adonijah’s plan had failed as he is soon to discover.

God Rains on Adonijah’s Parade
1 Kings 1:41-48

41 Now Adonijah and all his guests heard the commotion just as they had finished eating. When Joab heard the sound of the trumpet, he asked, “Why is there such a noisy commotion in the city?” 42 As he was still speaking, Jonathan son of Abiathar the priest arrived. Adonijah said, “Come in, for an important man like you must be bringing good news.” 43 Jonathan replied to Adonijah: “No! Our master King David has made Solomon king. 44 The king sent with him Zadok the priest, Nathan the prophet, Benaiah son of Jehoiada, the Kerethites, and the Pelethites and they put him on the king’s mule. 45 Then Zadok the priest and Nathan the prophet anointed him king in Gihon. They went up from there rejoicing, and the city is in an uproar. That is the sound you hear. 46 Furthermore, Solomon has assumed the royal throne. 47 The king’s servants have even come to congratulate our master King David, saying, ‘May your God make Solomon more famous than you and make him an even greater king than you!’ Then the king leaned on the bed 48 and said this: ‘The Lord God of Israel is worthy of praise because today he has placed a successor on my throne and allowed me to see it’” (1 Kings 1:41-48).

Adonijah had been planning for this day for a long time, and now he appears to be basking in the glory of his self-proclaimed ascent to the throne. Those gathered around him are those who have assisted him in his rise to power. They have, in fact, staked their future on Adonijah’s success. From all appearances, it is a “done deal.” As someone has said, “It’s all over but the shouting.” In fact, the shouting has commenced (see verse 25). But in the midst of their celebration just outside the city of Jerusalem an even more thunderous celebration was heard coming from within Jerusalem. Joab heard the sound of the trumpet (I suppose a military commander would be especially alert for the sounding of a trumpet) and inquired about it just as Jonathan (the son of Abiathar the priest who supported Adonijah) arrived from the city. Adonijah assumed this must be a harbinger of good news, but it was quite the contrary, as Jonathan announced. David had just proclaimed Solomon to be the new king of Israel. And so he told Adonijah what had been going on back in Jerusalem, rendering all of this usurper’s efforts worthless.

Seeking to Salvage the Situation
1 Kings 1:49-53

49 All of Adonijah’s guests panicked; they jumped up and rushed off their separate ways. 50 Adonijah feared Solomon, so he got up and went and grabbed hold of the horns of the altar. 51 Solomon was told, “Look, Adonijah fears you; see, he has taken hold of the horns of the altar, saying, ‘May King Solomon solemnly promise me today that he will not kill his servant with the sword.’” 52 Solomon said, “If he is a loyal subject, not a hair of his head will be harmed, but if he is found to be a traitor, he will die.” 53 King Solomon sent men to bring him down from the altar. He came and bowed down to King Solomon, and Solomon told him, “Go home” (1 Kings 1:49-53).

When I read these words, I am reminded of those who were accusing the woman caught in the act of adultery in a way that would put Jesus at odds with the Law of Moses:

7 When they persisted in asking him, he stood up straight and replied, “Whoever among you is guiltless may be the first to throw a stone at her.” 8 Then he bent over again and wrote on the ground. 9 Now when they heard this, they began to drift away one at a time, starting with the older ones, until Jesus was left alone with the woman standing before him (John 8:7-9).

Those who attended Adonijah’s feast had taken a certain risk when they chose to identify themselves with his cause of seizing the throne. If he had succeeded, they would have been given places of leadership as a part of his administration. But if he failed, they would go down with him. It is no wonder that folks couldn’t get away from this feast fast enough! Adonijah seized the horns of the altar, hoping that Solomon would have mercy on him. And he did, so long as Adonijah remained a loyal subject. So Adonijah was brought down from the altar to appear before Solomon, to whom he bowed down in submission (at least for the moment). Solomon then sent him to his home.

Conclusion

In some ways, the circumstances of this text are a far cry from anything we experience today, but having said this, there are a number of ways in which 1 Kings 1 does relate to us. I would like to suggest a few by way of application.

(1) The text is but one more example of the sovereignty of God. When I speak of the sovereignty of God, I am referring to God’s absolute control over this world, and in particular, His ability to bring to pass every plan and promise He has made. I love the way Nebuchadnezzar put it, many years later:

34 But at the end of the appointed time I, Nebuchadnezzar, looked up toward heaven, and my sanity returned to me. I extolled the Most High, and I praised and glorified the one who lives forever. For his authority is an everlasting authority, and his kingdom extends from one generation to the next. 35 All the inhabitants of the earth are regarded as nothing. He does as he wishes with the army of heaven and with those who inhabit the earth. No one slaps his hand and says to him, ‘What have you done?’” (Daniel 4:34-35)

There are two ways in which the sovereignty of God is evident in our text. First, we see the sovereignty of God in the appointment of Solomon as David’s successor. Look at the intrigue on Adonijah’s part, along with his accomplices. There is a very well orchestrated plan to put Adonijah into power. When we look at David, we find an old man who is about to die and yet is unwilling to relinquish his control, totally unaware of the fact that Adonijah is seizing his kingdom as David lays shivering in his bed. Although God has purposed for Solomon to reign in David’s place, it would seem as though bringing this to pass were impossible. And yet, at the end of this chapter, Solomon is reigning as the King of Israel, while Adonijah is kneeling in submission at his feet. God’s purposes and promises are always fulfilled because God is in control, even when things seem to be in utter chaos.

There is a second evidence of God’s sovereignty, which is not revealed until 1 Kings 2:

Solomon dismissed Abiathar from his position as priest of the Lord, fulfilling the decree of judgment the Lord made in Shiloh against the family of Eli (1 Kings 2:27).

Years before David came to power, God had indicated to Eli that his priesthood would come to an end because of Eli’s unfaithfulness in refusing to discipline his sons for grave priestly misconduct:

27 A man of God came to Eli and said to him, “This is what the Lord says: ‘Did I not plainly reveal myself to your ancestor’s house when they were in Egypt in the house of Pharaoh? 28 I chose your ancestor from all the tribes of Israel to be my priest, to offer sacrifice on my altar, to burn incense, and to bear the ephod before me. I gave to your ancestor’s house all the fire offerings made by the Israelites. 29 Why are you scorning my sacrifice and my offering that I commanded for my dwelling place? You have honored your sons more than you have me by having made yourselves fat from the best parts of all the offerings of my people Israel.’ 30 Therefore the Lord, the God of Israel, says, ‘I really did say that your house and your ancestor’s house would serve me forever.’ But now the Lord says, ‘May it never be! For I will honor those who honor me, but those who despise me will be cursed! 31 In fact, days are coming when I will remove your strength and the strength of your father’s house. There will not be an old man in your house! 32 You will see trouble in my dwelling place! Israel will experience blessings, but there will not be an old man in your house for all time. 33 Any one of you that I do not cut off from my altar, I will cause your eyes to fail and will cause you grief. All of those born to your family will die in the prime of life. 34 This will be a confirming sign for you that will be fulfilled through your two sons, Hophni and Phinehas: in a single day they both will die! 35 Then I will raise up for myself a faithful priest. He will do what is in my heart and soul. I will build for him a secure dynasty and he will serve my chosen one for all time. 36 Everyone who remains in your house will come to bow before him for a little money and for a scrap of bread. Each will say, ‘Assign me to a priestly task so I can eat a scrap of bread’” (1 Samuel 2:27-36).21

Eli’s priestly dynasty was going to be terminated and replaced by another (not unlike the way Saul’s kingly dynasty was replaced by the line of David). His two sons, Hophni and Phinehas, were killed on the same day by the Philistines, and when he heard the news, Eli died as well, just as God had said.22 When David went to Nob to seek help from Ahimelech the priest,23 he did not tell him that he was fleeing from Saul, and as a result when Saul learned that Ahimelech had (innocently, as we are informed) assisted David, he had Ahimelech and his household slaughtered.24 Only one descendant escaped and survived – Abiathar – who served David from then on.25

When David began to reign as king, Abiathar (a descendant of Ithamar), the sole survivor of Eli’s line, served jointly with Zadok (a descendant of Eleazar) as Israel’s high priests.26 But in 1 Kings 1, we read that Abiathar chose to side with Adonijah in his revolt; thus when Solomon became king, he dismissed him from the priesthood. This, we are told, was the fulfillment of the word of the Lord spoken to Eli, which we have just seen in 1 Samuel 2. In the midst of all the intrigue and upheaval going on in relation to David, Solomon, Adonijah, Zadok and Abiathar, God fulfilled His words to Eli through Samuel many years before.

We live in a chaotic and unpredictable world. Yet it will be in the midst of such chaos that God will fulfill His promises, prophecies, and divine purposes just as He said, and just when He planned to do it. Isn’t it wonderful to know that if we are Christians, our lives are in His hands, and our future is secure? Only those who have rejected God have reason to fear.

(2) David and Messiah. David is often a prototype of the Messiah who (from an Old Testament perspective) was yet to come. For example, we find David’s sufferings, as described in Psalm 22 (and elsewhere), to be a picture of the suffering of Messiah on the cross.

One has to wonder why Joab and Abiathar chose to cast their lot with Adonijah, thereby forsaking their loyalty to David and to Solomon. These were men who spent years serving David in the most dangerous and difficult seasons of his life. Why did they forsake David now? I think it is because they perceived him to be old and incompetent, and at the same time, unwilling to surrender the throne to his successor.

I wonder if this is something like the way our Lord’s disciples felt when they forsook Jesus and fled (and Peter did more than this – he denied his Master). Jesus had been introduced by John the Baptist as the Promised Messiah. Jesus confirmed His identity as Messiah by His claims, His teaching, and His miraculous works. The disciples had grandiose visions of what this would mean for Israel and for them personally. They expected Jesus to overthrow Rome, to throw the Jewish rascals (the scribes and Pharisees and the Jewish officials) out, and then to immediately establish the kingdom. But as the time of His death drew near, the disciples began to realize that something very different was taking place. While Peter had drawn his sword and drawn first blood, Jesus rebuked him and then surrendered to those who came to arrest Him. Jesus was not performing according to the disciples’ expectations. As He stood before Pilate and Herod, mocked and abused by the Roman guards and others, He looked weak and powerless, not unlike the way David seemed powerless as he lay trembling in his bed.

David died, no more to reign. Jesus died, too, and His disciples drew the false conclusion that it was all over for them as well.27 All hope of reigning with Him in His kingdom seemed to have been lost. But what a contrast between David, whose body remained in Jerusalem,28 and Jesus, whose body was raised in power. We do not serve a powerless Savior; we serve a powerful Savior who will live forever, so that our hope in Him is sure:

3 Blessed be the God and Father of our Lord Jesus Christ! By his great mercy he gave us new birth into a living hope through the resurrection of Jesus Christ from the dead, 4 that is, into an inheritance imperishable, undefiled, and unfading. It is reserved in heaven for you, 5 who by God’s power are protected through faith for a salvation ready to be revealed in the last time (1 Peter 1:3-5).

David did not know what was going on; our Lord Jesus knows all. David was unwilling to relinquish his throne, even though he was incapable of carrying out his duties. Our Lord was fully capable and worthy to reign at His Father’s side, but in submission to the will of the Father, and to save us, our Lord relinquished His heavenly splendor to take on human flesh and dwell among men, to suffer and to die to save guilty sinners:

5 You should have the same attitude toward one another that Christ Jesus had, 6 who though he existed in the form of God did not regard equality with God as something to be grasped, 7 but emptied himself by taking on the form of a slave, by looking like other men, and by sharing in human nature. 8 He humbled himself, by becoming obedient to the point of death – even death on a cross! (Philippians 2:5-8)

When Jesus presented Himself to the Jewish nation as their long awaited Messiah, some followed Him as His disciples. Their expectations grew as they came to realize His wisdom and power. You can see by the kinds of questions the disciples privately debated among themselves that they had high hopes of positions and power in Messiah’s kingdom, a kingdom which they believed to be imminent. You can imagine their dismay when Jesus surrendered to those who came to arrest Him, when Jesus allowed Himself to be mocked and beaten, and then to be hung on a Roman cross. At this point in time, the disciples must have felt toward Jesus much the same as Joab and Abiathar felt toward David, in his weakened condition, soon to die.

But how different reality is from mere appearance! Jesus was not powerless at all. Jesus had not lost control. No one took His life from Him; He laid it down of His own volition.29 Jesus was raised in power from the dead, no more to die. He will reign forever; His kingdom will never end. David’s weakness was dealt with by the succession of power to Solomon. Our Lord’s “weakness” was dealt with by His resurrection. There will never be a point in time when we need to consider other options (as did Joab and Abiathar), because Jesus never fails. What a joy it is to know that when we trust in the death, burial, and resurrection of Jesus, we commit ourselves to the all-powerful, all-loving, ever-living God.

(3) Lessons in leadership. David was a great man, a man with a heart for God. He became God’s standard for all subsequent kings. But for all of this, David was still just a man, a man who had feet of clay, just like you and me. David was a great leader, but he failed. He failed morally with Bathsheba and Uriah. He failed at fathering. He failed at making the succession of his reign a smooth transition.

Which leads me to this conclusion: All leaders fail, and some great leaders fail greatly. It is always a disappointment when a leader fails, but this should not take us completely by surprise, as though such things never happen, or as though leaders are exempt from the temptations and sins of others. We should not expect our leaders to be perfect; neither should we make excuses for their failures.

Children, if you haven’t already figured it out, your parents fail. They are not omniscient, and thus you may get the blame for something you didn’t do. Your punishment may be more than you think your sin deserves. The advice your parents give may not always be correct. What they permit or forbid may not always be flawless. And that is because they are human.

Church members, your church leaders are not perfect. Each one has weaknesses and predispositions toward some particular sin. Any leader who seeks to give you the impression that he lives a sinless life, above the temptations and trials of other men, is either self-deceived or a deceiver. This is why the Bible not only sets standards for church leaders, it also outlines the process for rebuke and correction when a man fails, including leaders. This is also why God has prescribed a form of church government that employs the principle of plurality. The church should be guided and governed by a plurality of men, each with different spiritual gifts and different perspectives. In this way, church leaders hold each other to account, just as they hold church members in general accountable.

(4) Success is dependent upon succession. I suspect that a good many sermons will be preached this Sunday on the subject of success. Who does not want to be successful? Our text teaches that in order for David to be successful, he must prepare for and promote succession. God promised to give David an eternal kingdom, but that did not mean that David would be king forever. Only the Messiah could fulfill this prophecy. God promised David a dynasty, and Solomon was the one who was to reign in his place. Yet, David seems to resist passing the torch. He does not appear to “disciple” Solomon in such a way as to prepare him for the task ahead. David is told that he cannot build the temple, but he does almost everything short of actually building the temple. His excuse is that Solomon is too young and inexperienced:

David said, “My son Solomon is just an inexperienced young man, and the temple to be built for the Lord must be especially magnificent so it will become famous and be considered splendid by all the nations. Therefore I will make preparations for its construction.” So David made extensive preparations before he died (1 Chronicles 22:5; see also 29:1-2).

Thanks to David, he will be “young and inexperienced” when it comes time for him to assume the throne.

5 One night in Gibeon the Lord appeared to Solomon in a dream. God said, “Tell me what I should give you.” 6 Solomon replied, “You demonstrated great loyalty to your servant, my father David, as he served you faithfully, properly, and sincerely. You have maintained this great loyalty to this day by allowing his son to sit on his throne. 7 Now, O Lord my God, you have made your servant king in my father David’s place, even though I am only a young man and am inexperienced. 8 Your servant stands among your chosen people; they are a great nation that is too numerous to count or number. 9 So give your servant a discerning mind so he can make judicial decisions for your people and distinguish right from wrong. Otherwise no one is able to make judicial decisions for this great nation of yours” (1 Kings 3:5-9).

The fact is that no one is ever capable of leading the people of God. That is why God’s Spirit was bestowed on Israel’s king to empower him to rule. When Solomon became king, he knew that the job was bigger than he was, and so he asked God for wisdom. God solved Solomon’s problem of youth and lack of experience by giving him great wisdom through the Holy Spirit. But could David not have contributed to Solomon’s preparation for the throne by giving him instruction like that we find in the Book of Proverbs? Could David not have given Solomon some tasks to accomplish that would have prepared him for leadership in the future? Even pagan kings practiced co-regency, where both Father and son shared the throne, so that the son might carry on in the father’s absence.

I believe one of the great dangers of leadership is that we cease to view it as a stewardship, and we come to think of it in terms of ownership. If we think of ourselves as owners, we are very reluctant to step aside or to step down. We view future leaders as a threat, which is why dictators do not empower their subordinates, for fear they will seek to take over. This is why the religious leaders of Jesus’ day were so threatened by Jesus. He was a threat to their position and power:

47 So the chief priests and the Pharisees called the council together and said, “What are we doing? For this man is performing many miraculous signs. 48 If we allow him to go on in this way, everyone will believe in him, and the Romans will come and take away our sanctuary and our nation” (John 11:47-48).

(5) I take our text and its implications personally. I am approaching my 64th birthday, and in the minds of many, that is just one year from “retirement.” I do not plan to retire from active ministry while my health and other circumstances allow it, but I do resolve not to cling to my position as David did, so that death is required to remove and replace me by those who are younger and more capable. I don’t want others to have to “prop me up” and seek to squeeze a few extra miles from my aged mind and body, as they did David.

My desire is to play an enthusiastic and active role in the process of succession. I am speaking not only in reference to my leadership role as a preacher, but also of my role as an elder. In churches like ours, which seek to follow New Testament principles, it is sometimes assumed that because the New Testament does not specify any term of office for either elders or deacons, these must be “lifetime” positions. That is an argument from silence, and thus it is like saying that because the New Testament does not mention Sunday school or church camps that these are unbiblical. I have heard of situations in which an elder was actually senile, and yet no one dared to ask him to step aside. What a tragic way to end a fruitful ministry.

Why not step down and let others take over? I can think of at least three reasons we refuse to step aside. The first is that our ego is too tied to a position and to the power it seems to afford us. We can’t conceive of ministry apart from an official position. The second reason is that we, like David, use the youth and inexperience of the next generation as a compelling reason for us to continue. No one can do it as well as we can, and so we can’t step down. The third reason is what I call “the founding father syndrome.” I am one of the founders of our church, and so I can at least understand how this mindset works. We worked hard to build the church, and we are reluctant to hand its leadership over to those who did not “pay the price” we paid. More than this, we fear that stepping aside and turning the leadership of the church over to others will mean that things will change. If “we did it right” and nothing needs changing, then change will be viewed as something undesirable, even evil.

At this point in time, I believe that existing leadership can fulfill a very vital function – transition. How much better transition is compared to revolution or, worse yet, a church split? As the founding generation of a church grows older, change is absolutely necessary. If nothing else, the founding generation will die off. But one way or the other, new leadership must be recognized, embraced, and supported. I want to be a constructive part of this process, and I believe that my fellow elders feel the same way. That is why we have in recent years added some younger elders, men who will lead us for many years to come. My desire is that more “next generation” elders will be added as we move forward. Succession is one key to success, not to mention survival. I want to be like Jonathan, Saul’s son, who recognized that God had chosen someone else to lead the nation, and then did everything he could to facilitate and support this change. I want to be like Barnabas, who sought out Paul and promoted his ministry, so that Paul eventually became the leader.

As I think about the men who have served as elders at Community Bible Chapel, I find some wonderful examples of men who have been committed to the importance of succession in leadership. I can well remember Lee,30 a friend and fellow elder, urging us to work harder at developing new leadership for our church. Several other men have served us well as elders, and for a variety of reasons, stepped aside from this office. They have continued to serve our church well in other capacities, and they have set a precedent for others to follow. One need not die or be found guilty of some serious sin to step down as an elder. Indeed, they may even make a greater contribution in their new avenues of service.

(6) Some broader implications of the principle of succession. As I have already indicated, this matter of succession applies much more broadly than just to men like me. It applies to all those who hold leadership offices or who fulfill leadership functions. The issue isn’t just one’s age or mental capacity. A leader may find that he has other responsibilities that may take precedence, perhaps only for a period of time. A leader may realize that he has become weary and needs to be refreshed. I have one friend who served as an elder in another church. When he began to serve, he resolved to serve for ten years and no more. I believe that this had a very beneficial impact on the church where he shared in leadership.

Parents must likewise come to terms with the necessity for succession. Parenting is not a lifetime job. We are to prepare our children for the challenges of adulthood. In the earliest days of a child’s life, parents must practice total leadership. We decide what the child eats and when. We decide when the child must take a nap or go to bed for the night. We choose how and where the child will be educated. But as time passes, we must begin the transitional process which prepares them for succession. Whether we like it or not, a day may come when they will become our “parents,” so to speak. They may decide when it is past time for us to live alone or to drive a car, and thus we have some strong incentives for preparing them well.

The principle of succession necessitates evangelism and discipleship. Even our Lord Jesus practiced the principle of succession. He knew that after His sacrificial death, bodily resurrection, and ascension, the work that He had begun was to be carried out by His apostles (initially) and then by the church.

1 I wrote the former account, Theophilus, about all that Jesus began to do and teach 2 until the day he was taken up to heaven, after he had given orders by the Holy Spirit to the apostles he had chosen (Acts 1:1-2, emphasis mine).

Throughout His earthly ministry, the Lord Jesus was preparing His disciples to continue the work that He began. Today that work continues through the church. We are “His body,” the “body of Christ,” carrying out the work He commenced. We are to minister to those in need, as Jesus did when He was on the earth. We are to minister to one another in the power of the Spirit, as Jesus ministered to His disciples. We are to proclaim the gospel and make disciples of those from every nation. Humanly speaking, the church would die, and thus God’s purposes on this earth through the church will come to an end unless Christians are faithful to proclaim the good news of the gospel to lost sinners, and then to disciple those who come to faith in Jesus. Once again we see the importance of the principle of succession. It is a most serious failure (let’s just go ahead and call it sin) to enjoy the benefits of our salvation without sharing them with others. The Lord Jesus saved us and made us His disciples so that we would bear “much fruit.” In fact, bearing much fruit is one evidence that we are His disciples:

“My Father is honored by this, that you bear much fruit and show that you are my disciples” (John 15:8).

(7) The principle of succession is crucial to our survival and success as a church. When our church began over thirty years ago, we were all young. In fact, the “elders” were so young31 we jokingly referred to ourselves as the “youngers.” Nobody in their right mind calls us that any longer! There is nothing wrong with gray hair, but it does serve to remind us that we won’t be here forever. And I’m not just talking about the elders. Some of you folks are getting old as well. If we are going to see this church thrive in the future, then we must see church growth by evangelism. We must see those in the younger generation coming to faith. We must faithfully nurture these new believers so that they come to maturity.

The same fears that can hinder elders (new, younger, leadership will mean change) can also hinder the church as a whole. As God graciously works to save those in the next generation, the church will undergo a certain amount of change. Of course it must not change in its understanding and practice relative to the fundamental doctrines of the faith! But it will inevitably change in some of its cultural dimensions. We have seen some of this already. The older generation (of which I am a part) loves hymns, while the younger generation has its praise songs. The older generation loves the piano and organ; the younger generation loves its guitars and drums. We – the older generation – are going to need to adapt and to accommodate the younger generation in non-essential matters. If we refuse, the younger generation will go elsewhere, and we (our church) will eventually pass off the scene.

Let those of us who are more mature (okay, older) embrace the principle of succession. Let us recognize that we are soon to become a bygone generation, and that the next generation of leaders needs to be prepared for the task ahead. Let us commit ourselves to the task of passing the torch to those who are younger, and let us determine to make some of the adjustments necessary for this to happen. We who are passing the torch should expect that the next generation is going to do some things better than we did (just as Solomon did a number of things better than David did). We should also expect that they will make some mistakes in the process, just as we made our mistakes (and continue to do so). Our Lord Jesus informed Peter (and us) that his failure would be a part of the process He would use to make him a godly leader:

31 “Simon, Simon, pay attention! Satan has demanded to have you all, to sift you like wheat, 32 but I have prayed for you, Simon, that your faith may not fail. When you have turned back, strengthen your brothers” (Luke 22:31-32).

Let those who are younger appreciate the wisdom, labor, and sacrifices of those who have gone before them. Let them show love, respect and consideration for the generation to which they owe so much. And let us all purpose to do this in unity. May we not find it expedient to “go our separate ways,” rather than to preserve and to practice the unity of the saints:

1 I, therefore, the prisoner for the Lord, urge you to live worthily of the calling with which you have been called, 2 with all humility and gentleness, with patience, bearing with one another in love, 3 making every effort to keep the unity of the Spirit in the bond of peace. 4 There is one body and one Spirit, just as you too were called to the one hope of your calling, 5 one Lord, one faith, one baptism, 6 one God and Father of all, who is over all and through all and in all (Ephesians 4:1-6).

It is not uniformity (“birds of a feather”) that demonstrates discipleship, but our unity in the midst of diversity. May God grant that we, as a church, may prove ourselves to be His disciples as we pass the torch to the next generation.


1 Copyright © 2007 by Community Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081. This is the edited manuscript of Lesson 1 in the Becoming a Leader after God’s Heart: Studies in the Life of David, a mini-series of Following Jesus in a Me-First World, prepared by Robert L. Deffinbaugh on April 29, 2007. Anyone is at liberty to use this lesson for educational purposes only, with or without credit. The Chapel believes the material presented herein to be true to the teaching of Scripture, and desires to further, not restrict, its potential use as an aid in the study of God’s Word. The publication of this material is a grace ministry of Community Bible Chapel.

2 See 2 Samuel 1:17-27.

3 If I were to identify one guiding principle for the inclusion or exclusion of information that might be found elsewhere, it would be the principle of edification, as found in 1 Corinthians 14:26, Ephesians 4:29, and Philippians 4:8. Many truths are not profitable. Information is included or excluded in Scripture based upon the whether it will or will not edify. This may vary from one book or from one text to another because of the author’s purpose in a particular text.

4 See especially chapters 22-23 and 28-29 of 1 Chronicles.

5 The counsel of these “servants,” whoever they were, is perplexing indeed. It seemed like a futile and foolish effort of some to squeeze a few more miles out of David, but they were simply not there.

6 Iain W. Provan includes an additional note in his commentary which convincingly shows that Abishag’s ministry was sexual, indeed even primarily sexual, in nature. See Iain W. Provan, (1 and 2 Kings, New International Biblical Commentary, Hendrickson Publishers, 1995), pp. 27-28.

7 In 2 Samuel 5:13-16 and 1 Chronicles 3:5-8, we find a list of the sons born to David in Jerusalem.

8 Also known as Daniel, as we find in 1 Chronicles 3:1.

9 In 1 Kings 1:6 we are told that Adonijah was born “right after Absalom” (so NET Bible) or “next after Absalom” (so ESV, NIV).

10 Compare 2 Samuel 14:25-26 with 1 Kings 1:6.

11 Compare 2 Samuel 15:1 with 1 Kings 1:5.

12 1 Kings 1:11-12, 21.

13 2 Samuel 13:7.

14 2 Samuel 13-15.

15 2 Samuel 8:17; 19:11; 20:25; 1 Kings 1:7-8, etc.

16 Notice that Adonijah had a high priest, but not a prophet (as did David).

17 Remember that both Saul (1 Samuel 9) and David (1 Samuel 16) were designated as kings in the context of a sacrificial meal.

18 This is the same Hebrew word (meaning “to know”) found in verse 4. A beautiful young virgin is lying in bed next to David to “keep him warm” and yet David is not able to “know” her. Now, a self-seeking son of David has usurped the throne, and David does not even “know” it. What a way to underscore David’s age and diminished capacity, and the urgent need for him to designate his successor and step aside.

19 According to verse 28, after Nathan’s confirmation, David will summon Bathsheba to appear before him once again.

20 Note these words concerning Gihon in Easton’s Bible Dictionary:

The only natural spring of water in or near Jerusalem is the "Fountain of the Virgin" (q.v.), which rises outside the city walls on the west bank of the Kidron valley. On the occasion of the approach of the Assyrian army under Sennacherib, Hezekiah, in order to prevent the besiegers from finding water, "stopped the upper water course of Gihon, and brought it straight down to the west side of the city of David" (2 Chronicles 32:30; 33:14). This "fountain" or spring is therefore to be regarded as the "upper water course of Gihon." From this "fountain" a tunnel cut through the ridge which forms the south part of the temple hill conveys the water to the Pool of Siloam, which lies on the opposite side of this ridge at the head of the Tyropoeon ("cheesemakers'") valley, or valley of the son of Hinnom, now filled up by rubbish. The length of this tunnel is about 1,750 feet. (Easton Bible Dictionary, Third Edition, 1897 by M.G. Easton, M.A., D.D., ASCII edition, 1988 Ellis Enterprises, Inc. Public Domain.)

21 See also 1 Samuel 3:10-14.

22 See 1 Samuel 4:1-18.

23 1 Samuel 21:1-9.

24 1 Samuel 22:1-19.

25 1 Samuel 22:20-23; 30:7-8.

26 Aaron had four sons: Nadab, Abihu, Eleazar, and Ithamar. Nadab and Abihu died before having any sons because they “offered strange fire” on the altar (Leviticus 10:1-2). This left Eleazar and Ithamar. Eli and his sons were descendants of Ithamar, while Zadok was a descendant of Eleazar. God told Eli that his line of priests would perish and be replaced by another (a descendant of Eleazar). When Saul slaughtered Ahimelech and his household, they were descendants of Ithamar, and the sole survivor was Abiathar. When Abiathar chose to side with Adonijah, Solomon removed him from his priesthood, leaving Zadok as the only high priest. Thus, the priesthood was removed from the line of Ithamar and his descendants just as God had told Eli. See 1 Chronicles 24:1-5.

27 See the hopelessness of the disciples on the road to Emmaus in Luke 24:13-24; see also 24:1-11.

28 Acts 2:29.

29 John 10:17-18.

30 Lee and his wife Barbara were with us almost from the beginning. Lee was a friend who faithfully served CBC in various capacities, including that of an elder. He went to be with the Lord several years ago.

31 We were all in our thirties at the time.

Related Topics: Character Study

9. From the Curse to the Cure (Romans 5:12-21)

Introduction

My wife and I watched with fascination as the impact of one man upon the world was being described on television. The man was Christopher Columbus. According to research, Columbus was responsible for introducing many new things to America: horses, cattle, pigs, goats, and, if I recall correctly, small pox. Columbus brought not only some of Europe to America, he also took some things from America back to Europe. Among these were smoking and syphilis. Whether for the good of mankind or for his detriment, this one man made a great impact on his world.

Over the centuries of mankind’s history, many men and women have significantly impacted the destiny of those who followed after them. None, however, has had greater impact than Adam, the first man. In our text, Paul shows just how great the impact of Adam’s “fall” has been upon mankind. Paul stresses this impact to demonstrate that in spite of the curse, which Adam’s sin brought upon the human race, God has provided a cure in the person and work of Jesus Christ.

To the unbeliever, this passage promises and offers not only the forgiveness of sins, but a new beginning, in Christ. To the Christian, there are no more encouraging words than those found here. These words speak not only of the salvation which God has accomplished for us, in Christ, they also lay the foundation for the next section of Romans in chapters 6-8, for the basis for sanctification is found in the truths which Paul expounds here. The words of our text are words of life and hope for all mankind.

The Context of Our Text

After explaining his relationship to those at Rome, his desire to visit them, and his purpose for writing this epistle (1:1-17), Paul sets forth the great dilemma: the righteousness of God and the rottenness of men (1:18–3:20). In His righteousness, God must condemn sinners. In his rottenness, every human being, Jew or Gentile, is under divine condemnation because each has rejected that revelation of God which he or she has received. The solution to this dilemma is the cross of Calvary. There, Jesus Christ took upon Himself the sins of the world and bore the righteous wrath of God for sinners. God’s righteous anger was thereby satisfied, and there His righteousness was made available to all men, through faith in Jesus Christ.

Viewed from a divine perspective, salvation was provided by God through Jesus Christ so that God’s righteousness might be revealed (3:21-26). This righteousness is imputed to men on the basis of faith, not works, as seen in the biblical account of Abraham’s life (Romans 4:1-25). The account of Abraham’s faith reveals that he was saved by faith alone, apart from works, and at a time when he was uncircumcised and thus, a Gentile. His faith, like ours, was in a God who had the power to raise the dead.

In Romans 5, Paul views the justification of men by faith from yet another, much broader, perspective. Paul first portrays man’s salvation as the grounds for exultation and boasting in 5:1-11. We may boast, confident in the certainty of entering into the “hope of the glory of God” (verses 1-2). We may boast even in our present tribulations, assured of God’s love, on the basis of Christ’s death, and through the ministry of the Holy Spirit (verses 3-10). We may finally boast in God, through the person and work of Jesus Christ (3:11).

In Romans 5:12-21, Paul views salvation from the curse of Adam to God’s cure in Christ. Adam’s one act of disobedience brought both sin and death upon mankind. Christ’s one act of obedience, on the cross of Calvary, brought about the solution to this curse. The work of Christ offers all men not only the promise of the forgiveness of their sins, but a new identity and a new beginning, in Christ.

The Structure of the Text

Our text falls into three sections. Verses 12-14 describe the similarity between the act of Adam and that of Christ. Both men are “federal heads” of mankind, whose actions affect all men.132 Verses 15-17 emphasize the many significant contrasts between the act of Adam and the act of our Lord. The similarity between these two men is the basis for the work of our Lord. The differences between them are the basis for His becoming the cure for the curse which Adam brought upon the human race. Verses 18-21 sum up the results of the work of our Lord, in relation to those which stem from the action of Adam. Paul also defines the role which the Law played, in relation to man’s sin and God’s grace.

We can therefore summarize the structure of our text as follows:

(1) The link between Adam and Christ (verses 12-14)

(2) Distinctions between Adam and Christ (verses 15-17)

(3) Christ’s work, man’s sin, and the Law (verses 18-21)

The Link Between Adam and Christ
(5:12-14)

12 Therefore, just as through one man sin entered into the world, and death through sin, and so death spread to all men, because all sinned—13 for until the Law sin was in the world; but sin is not imputed when there is no law. 14 Nevertheless death reigned from Adam until Moses, even over those who had not sinned in the likeness of the offense of Adam, who is a type of Him who was to come.

Paul sets out to establish two very important connections in these verses. The first link is that between Adam and mankind. The second is between Adam and Jesus Christ. These connections are essential, for they explain the way in which God purposed to save men from their sins. In particular, the work of Christ is presented as the reversal of the work of Adam. The curse which Adam brought on the human race has its cure in Christ.

Adam was regarded, rightly so, as the source of sin’s entrance into the world. With his act of disobedience, sin first entered human history. No believer would disagree with this. But Adam’s sin did much more than this—it brought guilt upon all mankind. Adam’s sin and resulting guilt was imputed to all his descendants. Adam sinned, and because of this he died. Adam sinned, and because of this, all men die. All men die because they sinned, in Adam.

Adam’s sin, along with its guilt and penalty, was imputed to all those who were born of Adam. Adam’s sin and death were imputed to mankind, for all mankind have come from Adam. In some way that is difficult to understand, all mankind sinned in and with Adam.133

Paul explains this more fully in verse 13. “The wages of sin is death,” both for Adam (Genesis 2:16-17) and for all others (Romans 6:23). All those who lived from the time of Adam until the time of Moses, when the Law was given, died. They did not die, Paul tells us, because of their own sins, for the Law was not yet given, and their sins were not a transgression of God’s commandments. Sin existed in those days, but it was not imputed, because there was no law. Why then did all those from Adam to Moses die? Because they all sinned, in Adam, and were therefore guilty and worthy of death.

It is very important that we understand what Paul is not saying here, as well as what he is saying. Paul is not saying that we all sin because Adam sinned, though this is true.134 Paul is saying that we all sinned when Adam sinned. Paul is saying that we are all guilty of sin, in Adam, and thus we fall under the divine death penalty. The period of time between Adam and Moses best demonstrates this, because those who died during this time period did not have their own sins imputed to them.

The point then is this: Adam’s sin and its consequences included and involved the entire human race. This does not really sound fair, does it? Come on, admit it. This sounds, at first, like a terrible injustice. Why should we suffer because of Adam?

There is a solution to our problem. First, we must understand and interpret Paul’s words here in the light of what he has already written. Men are not guilty sinners only because Adam sinned, corrupting and implicating the rest of the human race. Paul has already taught in chapters 1-3 that all men, without exception, are guilty sinners, because each of us is guilty of unbelief and disobedience toward God. All men have received some revelation about God from His creation. Some men have the added revelation of God’s Law. But regardless of how much men have had revealed to them about God, they have rejected Him and refused to worship or to obey Him. As a result, Paul has said, all men are guilty sinners, worthy of death.

Are we guilty sinners because Adam sinned? Yes, we are. But we are also guilty sinners because we have sinned. We are not under divine condemnation only because Adam sinned; we are condemned as sinners because we have sinned. Adam sinned, and we are guilty (Romans 5:12-14). All have sinned and are also guilty (Romans 3:23).

Does the curse of sin on the entire human race, due to the act of one man, trouble us? Then we must press on to the second link which Paul makes in our text. Not only is there a link between Adam’s sin and mankind’s universal guilt, there is a link between Adam and Christ. In verse 14, Paul informs us that Adam “is a type of Him who was to come.” Adam is a type of Christ.135

What seems to be bad news becomes very good news. There is a correspondence between Adam and Christ. Adam, we are told, is like Christ. It is this likeness, this link, which enabled our Lord Jesus Christ to die on Calvary, and to rise from the dead, and in so doing to free men from the curse brought upon them by Adam. Adam’s curse has its cure, in Christ, who is like Adam in some way. Before Paul will play out this “likeness,” he will first show how our Lord was distinct from Adam. It is in His “unlikeness” as well as in His “likeness” that our Lord provided men with the opportunity to be saved from their sins.

Distinctions Between Adam and Christ
(5:15-17)

15 But the free gift is not like the transgression. For if by the transgression of the one the many died, much more did the grace of God and the gift by the grace of the one Man, Jesus Christ, abound to the many. 16 And the gift is not like that which came through the one who sinned; for on the one hand the judgment arose from one transgression resulting in condemnation, but on the other hand the free gift arose from many transgressions resulting in justification. 17 For if by the transgression of the one, death reigned through the one, much more those who receive the abundance of grace and of the gift of righteousness will reign in life through the One, Jesus Christ.

If the link between Adam and our Lord is established clearly in verses 12-14, the distinctions are emphatically put forward in verses 15-17. Verse 15 begins with the word “But,” informing us at the outset that Paul is changing his focus, from the similarity between Adam and Christ to the distinctions between these two. Twice, in verses 15-17, the expression, “is not like” is found (verses 15 and 16). What delightful differences these are, between Adam and our Lord. Let us briefly consider them, as explained by Paul.

Christ’s work is distinguished from Adam’s in that His work is referred to as a “gift,” while Adam’s work is summed up in the term “transgression” (verse 15). Adam’s act was a transgression, bringing guilt to mankind and its penalty of death. Christ’s act was one flowing from God’s grace and resulting in grace to men. The first distinction between the work of Adam and the work of Christ is the difference between guilt and grace.

In verse 16, Paul adds two more distinctions between Adam and Christ. Adam’s act was but one act of sin and disobedience. Our Lord’s saving work at the cross was prompted by our many sins. Adam’s act was one sin that made the many sinners. Christ’s act was one act, but in this one gracious act, our Lord gathered up all the sins of mankind and suffered the penalty for them. While Adam's sinful act resulted in the condemnation of all mankind, our Lord's saviing work resulted in the salvation of all who receive this provision for their sin.

In verse 17, two further distinctions are presented by Paul. The first distinction is indicated by the expression, “much more.” The action of our Lord is greater than that of Adam.136 This becomes more evident in the light of the next distinction, which we find in this verse. Adam’s sin led to the “reign of death.” Adam’s sin brought sin and death upon all men. Christ’s act brings about the “reign of righteousness in life.” Adam’s sin brought life to an end; Christ’s act dethrones death and enthrones righteousness, which is evidenced in life. And since this life is eternal life, righteousness will reign forever. Adam’s sin ends life; Christ’s act extends life, forever, as a context in which righteousness will reign.

Whatever the similarity may be between Adam and Christ, the distinctions are far greater. Both the link and the distinctions between Adam and Christ make it possible for Christ to act in such a way as to undo the damage done by Adam and to shower upon men grace in place of guilt, righteousness in place of sin, and life in place of death.

Christ’s Work, Man’s Sin, and the Law
(5:18-21)

18 So then as through one transgression there resulted condemnation to all men, even so through one act of righteousness there resulted justification of life to all men. 19 For as through the one man’s disobedience the many were made sinners, even so through the obedience of the One the many will be made righteous. 20 And the Law came in that the transgression might increase; but where sin increased, grace abounded all the more, 21 that, as sin reigned in death, even so grace might reign through righteousness to eternal life through Jesus Christ our Lord.

The link between Adam and Christ is that both persons, though one man, have acted in a way that affects all men. Adam sinned, and his transgression brought condemnation upon all men. Christ’s act was one of righteousness, resulting in justification and life. Adam’s disobedience makes sinners of many; Christ’s obedience will make many righteous.

Having summed up the impact of Adam and Christ, Paul returns to the subject of the Law. Already Paul has said that those who lived before the Law (from Adam until Moses, verse 14) died because they sinned in Adam. Sin is not imputed to men without law (verse 13). The absence of the Law, for those who lived before the giving of the Law, was a kind of blessing. Without the Law, sin, other than that of their sin in Adam, was not imputed to them. Now, Paul must pick up the subject of the Law and its impact on men after it was given.

The giving of the Law did not solve the problem of sin. The Law was not given in order to reduce or remove sin but to increase it. While this sounds incredible, this is exactly what Paul says. And the reason: so that grace could surpass sin, abounding to men in righteousness and salvation. The Law increased sin, our Lord Jesus bore the penalty of that sin, and the grace of God is multiplied. The Law was not to deliver men from sin but to declare men sinners so that the sin introduced by Adam could be remedied in Christ.

Conclusion

How differently things look now! It first appeared that God might be unfair, condemning us as sinners, in Adam. But now we see this was in order that He might receive us as saints, in Christ. If the imputation of Adam’s sin to all mankind resulted in condemnation, the imputation of Christ’s righteousness results in justification. The means for man’s justification is the same as the means for man’s condemnation—imputation. The work of one man both condemns and saves men.

How Paul’s words must have shaken those self-righteous Jews, who believed they were righteous by virtue of their identification with Abraham and their possession of the Law. Being of the physical seed of Abraham did not save anyone. Being of the physical seed of Adam, however, condemned them. They were not righteous, in Abraham, but they were sinners, in Adam. And since Adam was the head of the whole human race, there is no distinction between Jews and Gentiles. Every son of Adam is a sinner, guilty, condemned, and subject to the death penalty.137 Being a “son of Abraham” did not change this.

Possessing the Law was no salvation for the Jews. The Law did not remedy the problem of sin but only caused sin to increase so that the problem became more dramatically evident. The Law not only increased sin; it made sin a personal matter. Now, those under the Law were not only sinners, in Adam, they were shown to be sinners on their own merits. Not only were the Jews guilty sinners, in Adam, they were also guilty sinners, on their own, as defined by the Law. The Law did not deliver any from sin, but it did declare many to be sinners. In these verses, Paul knocks the props out from under Jewish pride and boasting, in Abraham and in having the Law. If the Jews rejected Jesus as their Messiah, they rejected the only cure for the curse. Only Jesus could reverse the curse and make sinners saints. For them to reject Christ was to be left guilty, in Adam.

When the apostle Paul presented Christ as the cure for the curse of mankind, brought about by Adam’s sin, he removed all basis for boasting and pride. Those who are sinners, in Adam, can hardly boast about this. Those who are saved, in Christ, are saved by the work of the Lord Jesus and thus can take no credit themselves. As James Stifler writes,

Adam is a figure of Christ in just this respect: that as his one sin brought death to all, even when there was no personal sin, so Christ’s one act of obedience brings unfailing righteousness to those who are in Him, even when they have no personal righteousness.138

Contextually, Romans 5:12-21 serves a very important purpose. It lays the groundwork for Paul’s teaching on sanctification in Romans 6-8. If the work of Christ provides sinful men with a solution to the problem of God’s righteous wrath, it also provides men with a solution to the problem of the reign of sin and death.

Because of our own fallenness, we even tend to look at the work of Christ in a selfish, self-centered way. We who are saved delight in the certainty that, in Christ, our individual sins are forgiven. Our past, present, and future sins are all forgiven in Him, because of His death, burial, and resurrection on our behalf. But Christ’s work does much more than give us the forgiveness of our sins; by means of the cross, He has also provided freedom from the dominion of sin. This freedom from the reign of sin is the subject of Romans 6-8.

We might say that the work of Adam was a bad beginning for the whole human race. But the work of our Lord Jesus Christ offers men a new beginning. Christ’s death, burial, and resurrection does much more than to allow us to go on living just as we have in the past, but knowing that the sins we commit are forgiven. The work of our Lord makes it both necessary and possible for us to begin living in a whole new way, not as the servants of sin, but as the servants of righteousness. The work of our Lord not only forgives the sins of our past, it wipes out our past, and gives us a new future. What hope and encouragement for the sinner! In Christ, God offers men a whole new life, a new beginning, a fresh start. What good news this is—to the ears of a repentant sinner.

Taken in a broader perspective, Romans 5:12-21 explains much about the coming of our Lord. How important, and how fascinating some elements of the gospel accounts become when we see our Lord’s coming as being for the purpose of offering a cure for the curse which came through Adam. Was Adam a man? So Jesus was a man as well. The genealogies of the gospels make a point of this, and Luke specifies that Jesus was both the “son of Adam” and the “son of God” (Luke 4:38). While Adam brought sin upon the world, our Lord was proven to be without sin, so that He could die in the sinner’s place (2 Corinthians 5:21, see also Hebrews 4:15; 7:26; 1 Peter 2:22; 1 John 3:5). While Adam was only a man, who could bring the guilt of sin on the world, Jesus was the God-man, whose righteousness could be imputed to men, by faith (Romans 3:21-22). Adam was tempted and failed (Genesis 3), but Jesus, though tempted, resisted sin (Matthew 4:1-11; Luke 4:1-13). All of the “sons of Adam” are born sinners; Jesus was the “seed of the woman” (Genesis 3:15), and His conception and birth were of divine origin, through the Holy Spirit (Luke 1:34-35). Every aspect of Jesus’ birth, coming, life, death, and resurrection corresponded to that which was necessary, due to Adam’s sin, to save the human race.

By implication, a number of important principles become evident and are exemplified in our text. As we conclude, let us consider four of these principles.

(1) God takes sin seriously. Throughout the Bible, and in the world about us, men are constantly trying to minimize sin and its consequences. But the Bible constantly emphasizes the seriousness of sin. Our text dramatically illustrates the seriousness of sin. Look at the devastation one sin brought to the human race: Adam’s sin brought about his own death, but it also condemned all mankind to death. Who can say that sin is not serious?

Adam’s transgression was not even such that most people would call it sin. At best, men might look upon Adam’s sin as a misdemeanor, something as evil as spitting on the sidewalk (still illegal in some towns and cities, I am told). Adam simply ate the fruit of a tree.139 What was the problem? The problem was that God had commanded Adam not to eat of the tree (Genesis 2:16-17). An act which men would hardly even think of as sin becomes the cause of man’s downfall. God does take sin very seriously, and so must we.

It is not surprising that those who deny Jesus Christ as God’s Savior would tend to minimize sin. But it is greatly disappointing that Christians do likewise. Why do many of us ignore some of God’s commands—because we do not think they apply to us, or because we disagree with God’s commands, or simply because we do not want to obey? Here is but one illustration. The Bible has some very clear words to the church about the role which women should play in relation to their husbands. Why has the majority of Christendom found compelling reasons to utterly ignore such commands, as though they did not exist? God does not command us to do those things with which we agree, or in the doing of which we find good reason to obey. God tests our obedience by commanding us to do that which is contrary to our intellect, emotions, and will but which is consistent with His character and His Word. Let us beware of setting aside God’s commands. Adam did, and we died. Jesus was obedient, and thus we live.

(2) Our identity is found either in Adam or in Christ. Self-esteem has become the watchword of our age. Sin is now defined by at least one preacher as poor self-esteem. Sinful acts are said to be rooted in poor self-esteem. The highest good seems to be to have a “good self-image.” And thus the world, joined by many Christians, occupies itself by constantly looking backward and inward, into self, to develop a healthy self-love. Paul will have none of this. For Paul, looking backward, even to those things in which he once took great pride, meant he now saw them as dung (Philippians 3).

Ultimately, our identity and our worth are wrapped up in one of two persons: Adam or Christ. All that we are in and of ourselves, we are in Adam. We may contemplate and fabricate our own worth as much as we like, but we are, in Adam, sinners, worthy of death. Why do we keep trying to make something good of something the Bible calls bad? The identity of the Christian is in Christ. Let us dwell upon Him. Let us look to Him. Let us keep Him central in our hearts and minds. This is the consistent exhortation of the Word of God, and especially of the New Testament epistles.

(3) Those who are the victims of Adam’s sin are also guilty of personal sin, of their own doing. The word “victim” is rapidly becoming one of the most popular terms in our English vocabulary. We are considered victims of an infinite array of abuses. As “victims” we are absolved of all guilt and responsibility. We not only are justified in blaming others, we are urged to do so. We are told we are victims, and thus we say, “It isn’t my fault, I was victimized.”

In one sense, all mankind is the victim of Adam’s sin. But let us remember that while Paul seems to speak of mankind as a victim of Adam’s sin in Romans 5, he also says that we sinned in Adam. We are not relieved of our own guilt and culpability in the matter of sin. Even those who lived before the Law was given were sinners. We who have the full revelation of God in Christ and in His Word are even more accountable. But beyond this, we must not forget that in Romans 1-3 Paul finds every man guilty before God, not because of what Adam did, but because each individual has rejected the revelation of God given to him or to her. Yes, we are guilty because Adam sinned (Romans 5), but we are also guilty because we have sinned (Romans 1-3, especially 3:23).

In Romans Paul does not dwell on men as victims but on men as responsible individuals. We are, first, responsible for our decision concerning the gospel of Jesus Christ. We are, as Christians, responsible for our actions. Let us not over-emphasize the victim aspect of life but rather the fact that in Christ we are victors, “more than conquerors” (Romans 8:37).

(4) Birth is both the cause and the cure for man’s sin. In studying this Romans passage, it occurred to me that perhaps no other New Testament text better explains the words of our Lord, spoken to Nicodemus, “Truly, truly, I say to you, unless one is born again, he cannot see the kingdom of God” (John 3:3). John introduced this man Nicodemus as a “Pharisee” and as a “ruler of the Jews” (John 3:1), but Jesus referred to him as, “the teacher of Israel” (3:10). No doubt this teacher, this renowned teacher, had taught about Adam, about his fall, and the downfall of the human race. But Nicodemus, if he was like the rest of the Pharisees, trusted in his physical descent from Abraham and in the possession of the Law. What a shock it must have been for Nicodemus when Jesus told him that entrance into God’s kingdom required a second birth!

Yet this expression, “born again,” should not have been a foreign thought to Nicodemus. It should have caused him to think in those terms in which Paul is speaking in Romans 5. How was it that the human race fell into sin? It was on account of Adam. But how did each individual fall under the curse? It was by being born. Birth made one a son of Adam and thus a sinner (see David’s words in Psalm 51:5-7). The solution to the guilt of sin, encountered at birth, was another birth, a second birth. In order to be saved, men must exchange their identity with Adam (by which they are condemned) to an identity with Christ (by which they are justified). As birth was the source of a man’s sin, so another birth is the solution.

This is what the gospel is all about. Jesus Christ came to the earth to offer men a cure for the curse which Adam’s sin brought upon all mankind. The gospel confronts us with a choice. Will we remain in Adam, subject to the penalty of death? Or will we accept God’s provision for a new identity, in Christ? Being “born again” is our Lord’s way of speaking of that point in a person’s life when they acknowledge their own sin, their own guilt, and the just sentence upon them of death. It is ceasing to trust in what we are and clinging to who Jesus Christ is. It is finding our identity in Christ, rather than in Adam. It is turning from condemnation to justification, from death to life, and from Adam to Jesus Christ.

Have you been born again? As it was necessary for Nicodemus, a famous religious leader and teacher, it is necessary for you. Will you choose death or life, Adam or Christ? There is no more important decision you will ever make than this. The salvation which God has offered in Jesus Christ is not automatic. It must be received (Romans 5:17). Receive it today.


132 I have chosen my words carefully here. While the sin of Adam brings sin and condemnation upon all men, the death of Christ does not save all men. Paul clearly states in verse 17 that the blessings which are the outflow of the work of our Lord are for those who receive them, in and through Christ. I do believe, however, that there are certain aspects of our Lord’s work on Calvary which affect all men. For example, I believe that His resurrection from the dead is the basis for the resurrection of all mankind, some to everlasting life, and others to everlasting torment (see John 5:28-29; Revelation 20).

133 An illustration of the concept of federal headship can be found in Hebrews 7, where Aaron and his descendants (the Levitical priesthood) are said to have paid tribute to the greater priesthood in Abraham, when he gave a tithe to Melchizedek. In Abraham, the Levitical priesthood offered a tithe to Melchizedek, acknowledging the superiority of this priesthood over their own.

134 Our sin nature is the result of Adam’s sin, and thus, we sin because we are sinners, thanks to Adam.

135 Adam is the only person who is specifically identified as a type of Christ in the Bible. While others, like Joseph, Moses, and even Jonah, may have served as types in certain regards, only Adam is identified as such in God’s Word. Isaac is the only other person who is spoken of as a type (Hebrews 11:19). His return to his father, as one who seemed doomed to death, was a type of the resurrection of our Lord.

136 Allow me to illustrate this by likening the work of Adam to the captain of the Valdez and the work of Christ to the clean-up operation. It really was not that hard to run the oil tanker aground, to rupture the ship’s storage tanks, and to contaminate a vast area. What was hard was cleaning up the mess. Adam’s sin was like the grounding of the ship. Christ’s work will bring about a perfect “clean-up.” Christ’s work is vastly greater than that of Adam’s, just as the work of the clean-up crews is much greater than that of one man, the captain of the Valdez.

137 I understand Paul’s reference to death to include both physical and spiritual death.

138 James A. Stifler, The Epistle to the Romans (Chicago: Moody Press, 1960), p. 97.

139 Let me suggest a matter for further thought. In our text, it is Adam’s sin to which Paul refers, not that of Eve, even though Eve first ate the fruit. Why did Paul not blame Eve, like Adam did? In 1 Timothy 3, Paul tells us that Eve was deceived. Here, perhaps, Paul focuses on Adam as the transgressor, since he is the one to whom the commandment was given (see Genesis 2:16-17). Paul seems to be very consistent with his premise that guilt is only imputed to those who have received God’s commandment.

Related Topics: Law

Lesson 10: Pleasing, Obeying, Growing (1 Thessalonians 4:1-2)

Related Media

September 25, 2016

Some of you who are younger in your faith may be like the boy that the late pastor, Ray Stedman, asked how old he was. The boy quickly replied, “I’m twelve, going on thirteen, soon be fourteen.” He was eager to grow! It’s always refreshing to see Christians who are eager to grow spiritually. But as we grow older in the Lord, it’s easy to drift into a humdrum spiritual life, where we lose the eagerness to grow. The Christian life becomes routine, but the freshness of our first love for Christ fades (Rev. 2:1-7).

The same thing can happen in marriage. Obviously, no one can maintain the euphoria that we had when we first fell in love. But even so, we shouldn’t drift into a routine relationship, where the romance has faded away. But to keep the romance alive takes work and effort. The same is true spiritually. To keep your love for the Lord Jesus fresh requires deliberate effort.

In 1 Thessalonians 4, we move into the instructional or ethical part of the letter. Paul has shown them how much he cares for them. He was concerned for their spiritual stability under the persecution that they were enduring. Now, he addresses some concerns that Timothy had brought back after his recent visit there. He will address moral purity (4:3-8); love of the brethren and the need to work for a living (4:9-12); the Lord’s return and the events surrounding that time (4:13-5:11); and some matters concerning conduct in the church (5:12-22). In our text, he introduces all of these practical matters with an exhortation to continue growing in the Lord. Specifically, we learn:

To grow in your walk with the Lord, seek to please Him by learning and obeying His commandments.

“Finally, then” signals the transition to a new section of the letter. Paul is probably taking in the entire flow of thought from chapters 2 & 3 (Robert Thomas, The Expositor’s Bible Commentary [Zondervan], ed. by Frank Gaebelein, 11:269-270). But, specifically, he is expanding on 3:10-13, providing what is still lacking in their faith because of his sudden, forced removal from their midst (G. K. Beale, 1-2 Thessalonians [IVP Academic],  p. 112). He wants them to abound more in love (4:9-10; 5:12-15) and he wants their hearts to be established without blame in holiness (4:3-8) at the Lord’s coming (4:13-5:11).

John Stott (The Message of 1 & 2 Thessalonians [IVP Academic], p. 76) argues, “One of the great weaknesses of contemporary evangelical Christianity is our comparative neglect of Christian ethics, in both our teaching and our practice.” Clearly the apostle Paul taught these new believers, many from pagan backgrounds, many things about Christian moral behavior. He refers (1 Thess. 4:1) to how “you received from us instruction as to how you ought to walk and please God.” He adds (v. 2), “For you know what commandments we gave you.”

Regarding Christian sexual ethics, he reminds them (4:6), “just as we also told you before and solemnly warned you.” Regarding the Christian responsibility to work and provide for one’s own needs, he adds (4:11), “just as we commanded you.” When he deals with the need to be alert with godly living in light of the Lord’s coming, he tells them (5:1), “You have no need of anything to be written to you.” Paul had taught them much in a short time about Christian ethics. Regarding the first two verses of chapter 4, Stott (p. 78) says that it is noteworthy both for its authoritative tone and for its emphasis on pleasing God as the foundation for Christian ethical behavior. We learn five things here about pleasing, obeying, and growing in the Lord:

1. To walk in a way that is pleasing to God, you must be “in the Lord Jesus” through believing the gospel.

Paul writes (1 Thess. 4:1), “Finally then, brethren, we request and exhort you in the Lord Jesus ….” The fact that he calls them “brethren” (or, “brothers and sisters”) indicates that these people had experienced the new birth. The Holy Spirit had imparted new life to them (John 3:3-8; 1 Pet. 1:3), so that now they were in God’s family, brothers and sisters with all who believe in Christ. At the moment of the new birth, the Spirit places all who believe in Jesus into His body, the church (1 Cor. 12:13). Paul often refers to our new relationship with God as being “in Christ” (Eph. 1:3, 4, 6, 7, 12, 13, etc.). It is to those in that new sphere of spiritual reality that he gives this exhortation.

I find that many Christians do not understand that “praying the sinner’s prayer” or “making a decision to receive Christ” do not necessarily indicate that the person has been born again. This is especially true of Christian parents. Their teenager is living as a rebellious pagan, but the parents will say, “But he’s a Christian, because he accepted Jesus as his Savior at summer camp when he was a child.” Or, “He prayed to receive Christ and was baptized.” But, there has been very little, if any, evidence that God has imparted new life to that young person.

Believing in Jesus as your personal Savior is more than mental assent to the gospel, while you continue to live for all that the world and the flesh can offer. To truly believe in Jesus means that God has changed your heart. Your desires are different than they were before. Now, you love God, rather than being indifferent towards Him. You delight in His Word, which is food for your soul. You hate your sin, turn from it, and strive to be more like Jesus, who is holy. You seek to obey the Lord and please Him out of thankfulness for the grace that He has given to you.

Thus Paul’s instruction here applies only to those who are “in the Lord Jesus” through repenting of their sins and believing the gospel. That changes these commands from being burdensome to be a blessing from a loving Savior. It changes our motivation from striving to earn God’s favor to wanting to please Him because we are the objects of His favor. It’s the difference between a maid who cleans a man’s house and does his laundry because it’s her job and a wife who does these tasks out of love for her husband who loves her. So, to walk in a way that is pleasing to God, you must be “in the Lord Jesus” through believing the gospel.

2. The Christian life is a walk.

If you don’t have a translation that uses the word “walk,” at least in a marginal note, you need a more literal translation. Paul often uses this metaphor to describe the Christian life, and it’s helpful to think about it. In the first place, it’s not a leap, although we may wish it were. We don’t get where we need to be in one quick, sudden flash. It takes time to walk somewhere and it takes time to grow in the Lord.

Also, the Christian life is not an effortless flight, where you soar above all the problems below. Sometimes it is presented this way: When you learn the “secret” of “letting go and letting God,” your striving ceases. Like a bird at the Grand Canyon, you glide above the rugged terrain below, riding effortlessly on the currents. If you’re struggling against sin or wrestling with discouragement, there must be something wrong. If you’re exerting effort, you must not be trusting or resting in God.

One time over 40 years ago, I heard a man whose teaching was along these lines. In his message, he indicated that his times in God’s Word were always rich and profitable. I went up to him after his message and asked, “Don’t you ever have times when you don’t get anything out of the verses that you read that day?” He wagged his finger at me and said, “Young man, if you expect nothing from God, you’ll get it every time!”

But the picture of walking with God implies some effort. Last Monday, Marla and I walked from the Snow Bowl at 9,500 feet elevation almost five miles to the top of Mount Humphries at 12,633 feet. I assure you that that required a lot of effort! From the top, I watched the ravens soaring on the currents and wished I had their ability to fly. That walk was hard and there were many places where we could have twisted an ankle on rocks. But a step by step walk was the only way to get to that mountaintop.

If you’re walking closely with someone, it provides an opportunity for getting to know that person better. You can talk about many things. You can ask advice for problems that you’re going through. As believers, we get to know God through His Word. We share our hearts with Him through prayer. We walk with Him daily by spending time alone with Him.

The destination or goal of our walk is not a mountaintop, but rather, conformity to Jesus Christ. We move steadily toward becoming holy, as He is holy. We grow to become more like Him in His character qualities. We are to “walk by the Spirit” so that we do “not carry out the desire of the flesh” (Gal. 5:16), but rather develop the fruit of the Spirit (Gal. 5:22-23): “Love, joy, peace, patience, kindness, goodness, faithfulness, gentleness, and self-control.” Paul says (Col. 2:6), “Therefore, as you received Christ Jesus the Lord, so walk in Him.”

In Ephesians, Paul repeatedly uses the “walk” metaphor to show different aspects of the Christian life. He says (Eph. 2:10), that we are to walk in the good works which God prepared for us beforehand. He adds (Eph. 4:1) that we are to “walk in a manner worthy of the calling with which [we] have been called.” We are not to walk (Eph. 4:17-18) “as the Gentiles also walk, in the futility of their mind, being darkened in their understanding, excluded from the life of God because of the ignorance that is in them, because of the hardness of their heart.” Rather (Eph. 5:2), we are to “walk in love, just as Christ also loved you.” This means (Eph. 5:8-10) that we are to “walk as children of Light (for the fruit of the Light consists in all goodness and righteousness and truth), trying to learn what is pleasing to the Lord.” And (Eph. 5:15-16), “Be careful how you walk, not as unwise men but as wise, making the most of your time, because the days are evil.”

Occasionally, Paul uses the analogy of the Christian life as a race that we run (1 Cor. 9:24-27; Gal. 2:2; Phil. 2:16; implied in 2 Tim. 4:7; cf. Heb. 12:1), which has some useful lessons. But more often, it’s a walk: a steady, step-by-step, somewhat unspectacular journey toward a chosen destination, which is holiness. There are occasional setbacks, but if you get back up and keep going, you’ll make progress. The question is, “Are you walking with God?”

3. If you are in the Lord Jesus, it is necessary to walk in a manner pleasing to Him.

Paul says (1 Thess. 4:1), “You received from us instruction as to how you ought to walk and please God.” “Ought” comes from a Greek word meaning, “it is necessary” or “one must.” It refers to inner necessity or the compulsion of duty (A Greek-English Lexicon of the New Testament [University of Chicago Press], by William Arndt and Wilbur Gingrich, 2nd ed., p. 172). It means that we’re not free to decide how we want to live as Christians. We have been bought with the blood of Christ. We’re his slaves, not our own bosses. We are under obligation to live in a way that glorifies and pleases Him (1 Cor. 6:18-20).

A popular book on the Christian life pits pleasing God against trusting God, saying that we must choose one or the other as the primary and ultimate motive of our hearts (TrueFaced [NavPress], by Bill Thrall, Bruce McNichol, & John Lynch, p. 37). It portrays pleasing God as a life of striving to earn His approval, whereas trusting Him means acting on the basis of His complete acceptance of us in Christ. But that’s a false and misleading dichotomy. In fact, it is God’s gracious, undeserved acceptance of us in Christ that motivates us to live in a manner that is pleasing to Him. Trusting God and pleasing Him are complementary, not in competition.

Picture a child living in the squalor of a poorly funded third world orphanage. He’s dirty and malnourished, with several health issues. He’s not a squeaky clean Gerber baby! A wealthy couple from America who aren’t able to have children, but who desperately want them, visit that orphanage and pick out that baby to be their child. They bring him to their home, provide the necessary food and medical care to nurture him to health, and shower him with their love. As he grows up and learns about the horrible situation that his parents rescued him from, that child should be motivated to please them, not to earn their love, but because they have already abundantly bestowed their love upon him.

Pleasing God begins on the heart or thought level. Jesus constantly hit the Pharisees because they put on a good show outwardly and honored God with their rituals, but their hearts were far from Him (Mark. 7:6-23; Matt. 23:1-36). He emphasized the need for inner purity when He said that if we lust after a woman in our hearts, in God’s sight we have committed adultery with her (Matt. 5:27-30). Paul says (Rom. 8:8), “Those who are in the flesh cannot please God.” Thus to please God, we must have experienced the new birth (as I said earlier), where God changes our hearts.

Paul said (2 Cor. 5:9), “Therefore we also have as our ambition, whether at home or absent, to be pleasing to Him.” In the context, he means that in this life and in view of standing before the Lord at the judgment, his constant aim was to please the Lord. That should be our aim as well.

Thus, to walk in a way that is pleasing to the Lord, you first must be in Him through believing the gospel. Then you must walk with Him in a manner pleasing to Him.

4. Even when you are walking in a manner pleasing to the Lord, there is always room for growth.

Paul acknowledges that the Thessalonians are actually walking so as to please God, but then he encourages them (4:1), to “excel still more.” We never get to a place where we can say, “I’ve arrived! Now I’m fully conformed to the image of Jesus Christ. I don’t need to grow anymore!” The prophet Hosea (6:3) exhorted, “So let us know, let us press on to know the Lord.” Paul applies this verse to himself (Phil. 3:12-14):

Not that I have already obtained it or have already become perfect, but I press on so that I may lay hold of that for which also I was laid hold of by Christ Jesus. Brethren, I do not regard myself as having laid hold of it yet; but one thing I do: forgetting what lies behind and reaching forward to what lies ahead, I press on toward the goal for the prize of the upward call of God in Christ Jesus.

Paul wrote that about 25 years after he had become a Christian! If he still felt the need to press on in the Lord, how much more do we all need to keep growing! If you’re stagnant or in a rut in your walk with the Lord, do whatever it takes to start growing again! Root out any secret sins. Seek to get right in all your relationships. Make a commitment to get up a little earlier in the morning to meet with the Lord. Get a good book on the spiritual life and read it prayerfully. Change whatever you must to grow in the Lord!

5. The way that we excel still more in our walk with God is to learn and obey His commandments.

After exhorting the Thessalonians to excel still more, Paul adds (1 Thess. 4:2), “For you know what commandments we gave you by the authority of the Lord Jesus.” Paul emphasizes that he wasn’t the one making up these commandments. Rather, they came (literally), “through the Lord Jesus.” As he repeats (1 Thess. 4:8), “So, he who rejects this is not rejecting man but the God who gives His Holy Spirit to you.” Briefly, note four things:

A. To obey God’s commandments, we first must know them.

Paul had already told them many of these commands. We have God’s commands written in His Word. We’re not under all of the Old Testament commands, since the old covenant was superseded by the new covenant (Heb. 8:6-13). But nine of the Ten Commandments are repeated in the New Testament. Some Christians argue that we are still under the Sabbath commandment, with Sunday becoming the Christian Sabbath. My understanding is that the Old Testament Sabbath was fulfilled by Jesus Christ (Hebrews 4). We are instructed not to neglect gathering together as believers (Heb. 10:25), but Paul makes it clear that we are free to observe or not observe one day above another (Rom. 14:5-6; cf. Gal. 4:10-11; Col. 2:16-17).

All of God’s commandments are summed up in the two great commandments, to love God with all our hearts and to love our neighbor as we love ourselves (Matt. 22:37-40). But you need to study God’s Word to learn specifically how those two commandments are to be obeyed in every situation.

B. To obey God’s commandments is not legalism; it is the response to His grace.

When I teach the necessity of obedience to God’s commandments, invariably someone either thinks or tells me, “That’s legalism! But we’re under grace!” If you’re thinking that, you don’t understand either legalism or grace. Paul wrote (Titus 2:11-12), “For the grace of God has appeared, bringing salvation to all men, instructing us to deny ungodliness and worldly desires and to live sensibly, righteously and godly in the present age.” God’s grace teaches us to be obedient! It motivates us to be obedient. Freedom in Christ is not freedom to follow the lusts of the flesh, but rather, freedom from sin (John 8:31-36).

C. God’s commandments aren’t helpful hints for happy living—they’re orders that must be obeyed.

Paul has already said that he was exhorting them “through the Lord Jesus,” implying the Lord’s authority. The Greek noun (v. 2, “commandments”) refers especially to the transmitted orders of a military commander (G. Abbott-Smith, A Manual Geek Lexicon of the New Testament [Charles Scribner’s Sons], p. 156). Although soldiers don’t always understand orders, they must obey them, trusting that the commander knows things that they don’t know. The Bible’s commandments have the wisdom of the omniscient Creator behind them and are given so that we can win the battle against the enemy of our souls. They aren’t optional suggestions. They’re God’s authoritative commands that we must obey.

D. God’s commandments come from Him and are not culturally relative.

Paul didn’t make them up himself. They come to us from the Lord Jesus, who is the only source of absolute moral truth. Our culture does not believe in absolute moral truth, and that error has infiltrated the church. Fifty years ago, no Christian would have thought that homosexual behavior was morally acceptable. But today many who profess to be Christians, especially those under 30, think that as long as the partners love each other, homosexual relations are okay. They also think that it’s okay to have sex outside of marriage as long as you are in love. There are other areas where Christians have compromised God’s absolute standards because they have drifted with our culture rather than obeyed God’s word.

Jesus claimed to be the truth and to be the source of truth (John 8:31-32; 14:6). He prayed (John 17:17), “Sanctify them in the truth; Your word is truth.” If we start bending God’s word to make it fit with our godless culture, we will not grow in our walk with God. We will not please Him or help to further His kingdom and righteousness (Matt. 6:33). We must obey His commands, even when they are counter-cultural.

Conclusion

My main concern in this message is for you if you’ve become spiritually apathetic and you’re not growing. The longer you’re a Christian, the easier it is to become routine in your relationship with the Lord and lose the freshness of walking daily with Him. I encourage you to do whatever it takes to get back on the path of pleasing God, obeying God, and growing in Him. As you get into His word each day, ask Him to apply it to your heart. “For this is the love of God, that we keep His commandments; and His commandments are not burdensome” (1 John 5:3).

Application Questions

  1. Why is “making a decision to accept Christ” not necessarily the same as being born again? Why is this distinction important?
  2. What are the essential ingredients in a walk with God?
  3. Why is pleasing God not a matter of earning His favor? Look up all the references to pleasing God to study this concept.
  4. Why is obedience to God’s commandments not legalism? What is legalism? What does it mean to live by God’s grace?

Copyright, Steven J. Cole, 2016, All Rights Reserved.

Unless otherwise noted, all Scripture Quotations are from the New American Standard Bible, Updated Edition © The Lockman Foundation

Related Topics: Christian Life

19. มัทธิว บทเรียนที่ 19 “ทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน?” (มัทธิว 6:19-24)

Related Media

คำนำ 1

19 “อย่าส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลกที่อาจเป็นสนิมและที่แมลงกินเสีย ได้และที่ขโมยอาจขุดช่องลักเอาไปได้20 แต่จงส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ที่ไม่มีแมลงจะกินและไม่มีสนิมจะกัดและ ที่ไม่มีขโมยขุดช่องลักเอาไปได้ 21 เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหนใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย 22 “ตาเป็นประทีปของร่างกายเหตุฉะนั้นถ้าตาของท่านปกติทั้งตัวก็พลอยสว่างไป ด้วย23 แต่ถ้าตาของท่านผิดปกติทั้งตัวของท่านก็พลอยมืดไปด้วยเหตุฉะนั้นถ้าความ สว่างซึ่งอยู่ในตัวท่านมืดไปความมืดนั้นจะหนาทึบสักเพียงใดหนอ 24 ไม่มีผู้ใดเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้เพราะว่าจะชังนายข้างหนึ่งและจะรัก นายอีกข้างหนึ่งหรือจะนับถือนายฝ่ายหนึ่งและจะดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่งท่านจะ ปฏิบัติพระเจ้าและจะปฏิบัติเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (มัทธิว 6:19-24)2

ในมัทธิวบทที่ 6 หนึ่งในประเด็นหลัก หรือไม่ใช่ประเด็นหลักคือความสัมพันธ์ของเราในฐานะคริสเตียนกับพระบิดาใน สวรรค์ ในบทนี้เพียงที่เดียว พระเยซูทรงเอ่ยคำว่า “พระบิดา”11 ครั้ง แสดงให้เห็นถึงความหมายและความสำคัญของความสัมพันธ์นี้ (ข้อ: 1, 3, 6, 8, 9, 14, 15, 18, 26, 32) ความสัมพันธ์ของเราต่อพระบิดาในฐานะบุตรของพระองค์ เป็นความสัมพันธ์ที่น่าทึ่งและอัศจรรย์อย่างเหลือเชื่อ เราถูกซื้อมาด้วยราคาแพง เพื่อจะได้ชื่อว่าเป็น “บุตรของพระเจ้า” พระธรรมโรม 8:15-17 กล่าวว่า :

15 เหตุว่าท่านไม่ได้รับน้ำใจทาสซึ่งทำให้ตกในความกลัวอีกแต่ท่านได้รับพระ วิญญาณผู้ทรงให้เป็นบุตรของพระเจ้าให้เราทั้งหลายร้องเรียกพระเจ้าว่า “อับบา” คือพระบิดา16 พระวิญญาณนั้นเป็นพยานร่วมกับวิญญาณจิตของเราทั้งหลายว่าเราทั้งหลายเป็น บุตรของพระเจ้า17 และถ้าเราทั้งหลายเป็นบุตรแล้วเราก็เป็นทายาทคือเป็นทายาทของพระเจ้าและเป็น ทายาทร่วมกับพระคริสต์เมื่อเราทั้งหลายทนทุกข์ทรมานด้วยกันกับพระองค์นั้นก็ เพื่อเราทั้งหลายจะได้ศักดิ์ศรีด้วยกันกับพระองค์ด้วย

การที่ได้รู้ว่าเราเป็นบุตรของพระบิดาเป็นสิ่งที่มีอำนาจมาก และเราสามารถเข้าเฝ้าและร้องทูลกับพระองค์ว่า “อับบา พระบิดา” ความลับยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตตามที่พระเยซูตรัสคือมองเห็นและรู้ตนเองว่า เป็นบุตรของพระบิดาในสวรรค์3 มีหลายสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเราออกจากความสำคัญในความสัมพันธ์นี้

ในมัทธิวบทที่ 6 พระเยซูทรงนำเรื่องการทดลองสองแบบที่เราในฐานะผู้เชื่อต้องเผชิญ ซึ่งจะดึงและทำให้เราเขวไปจากความสำคัญและความพึงพอใจที่เรามีในความ สัมพันธ์กับพระเจ้าพระบิดา การทดลองแรกชัดเจนในบทที่ 6 คือชายที่เคร่งครัดศรัทธา ทำตามบัญญัติทุกข้อเพื่อให้มนุษย์เห็นและยกย่อง แทนที่จะทำในที่ลับที่พระบิดาเท่านั้นทราบ พระเยซูตรัสว่าถ้าเราแสวงหาคำสรรเสริญจากมนุษย์ เราก็ได้บำเหน็จไปแล้ว แต่ถ้าเราทำเพื่อถวายพระสิริแด่พระบิดา พระองค์ก็จะประทานบำเหน็จให้เราในที่เปิดเผย ตัวอย่างที่ยกมาคือการทำทาน การอธิษฐาน และอดอาหาร การทดลองคือเพื่อให้เป็นที่สังเกตุเห็น เป็นที่ยกย่องอย่างสูงว่าเป็นคนมีธรรมะ และผู้คนต่างก็ยกย่อง การทดลองแบบที่สองที่เราเผชิญในฐานะผู้เชื่อคือการทดลองให้เป็นเหมือนสิ่ง ที่โลกแสวงหา ส่ำสมทรัพย์สมบัติของโลกนี้ บ่อยครั้ง เรามองดูสิ่งของต่างๆของโลกและพูดกับตัวเอง “ถ้าฉันได้มี … ชีวิตฉันก็คงจะลงตัว” เราแสวงหาความมั่นคงและความพึงพอใจในสิ่งของชั่วคราว แทนสิ่งที่จะมีในความสัมพันธ์กับพระบิดาโดยทางพระเยซูคริสต์ การทดลองทั้งสองแบบนี้ดึงดูดความสนใจเรา และดึงเราออกห่างจากสิ่งที่สำคัญ – ความสัมพันธ์กับพระเจ้าพระบิดา

คำถามใหญ่จากคำเทศนาบนภูเขาคือคำถามว่า “ใจคุณอยู่ที่ไหน?” เมื่อได้อ่านและศึกษาคำเทศนาบนภูเขาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นสิ่งท้าทายให้ใจผมคิดถึงคำถามนี้อย่างจริงจัง และประเมินว่าใจของผมกำลังแสวงหาสิ่งที่เป็นของตัวเอง หรือความเที่ยงแท้ในความสัมพันธ์กับพระเจ้า ในหลายๆทาง เราอาจสวมใบหน้าหรือหน้ากากหลายแบบ เพื่อให้คนอื่นมองว่าเราเป็นคนที่อยู่ในทางของพระเจ้า แต่ในความเป็นจริง ลึกลงไปในใจ หรือในชีวิตส่วนตัว เราต่อสู้กับความกลัว การทดลอง และความปรารถนาอยากเป็นที่ยกย่องของมนุษย์แทนที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้า พระวจนะตอนนี้ พระเยซูทรงมุ่งสู่จิตใจด้วยคำถาม “ทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน?” พระองค์ตรัสในมัทธิว 6:21 ว่า “เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน ใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย” มีหลายสิ่งที่กำลังแย่งชิงหัวใจคุณ เพราะนี่คือศูนย์ควบคุมของชีวิต

พระวจนะสอนว่าจิตใจเป็นตัวควบคุมเหนือชีวิต ชีวิตของคนๆนั้นจะสะท้อนจิตใจของเขาออกมา หนังสือสุภาษิต 4:23 กล่าวว่า “จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ” เป็นภาพอธิบายให้เราเห็นจิตใจที่เหมือนบ่อ ที่ทุกเรื่องราวของชีวิตจะล้นไหลออกมา4

ดังนั้น เราต้องรักษาและเฝ้าระวังใจ เพื่อให้ติดตามแต่สิ่งที่เป็นของพระเจ้า และไม่ถูกดึงออกไปด้วยสิ่งของๆโลกนี้ พระวจนะตอนนี้ ผมมีคำถามสามข้อ ข้อแรก เราต้องถามตนเองเมื่อเริ่มศึกษาพระวจนะตอนนี้ – “ทรัพย์สมบัติเราอยู่ที่ไหน?” เมื่อถามคำถามนี้ เราจะได้คำตอบว่า “ใจของเราอยู่ที่ไหน?” เพราะทรัพย์สมบัติคุณอยู่ที่ไหน ใจของคุณก็อยู่ที่นั่นด้วย คำถามที่จะถามตัวเองข้อสองคือ – “เราจับจ้องไปที่สิ่งใด” สายตาเราจ้องไปที่ไหน? จ้องไปที่สิ่งที่เห็นได้หรือเห็นไม่ได้? คำถามสุดท้ายคือ – “คุณกำลังปรนนิบัติผู้ใด หรือสิ่งใด?” พระเยซูถูกล้อมไปด้วยคนที่ได้ชื่อว่าเคร่งศาสนา พวกฟาริสี และสะดูสี คนที่มองดูศรัทธาแต่ภายนอก จิตใจภายในกำลังปรนนิบัติเงินทองและปรนเปรอตนเองมากกว่าปรนนิบัติพระเจ้า พระเยซูยังถูกล้อมไปด้วยคนที่ไม่เคยได้ยินถ้อยคำที่แรงแบบนี้มาก่อน พระองค์ทรงขอให้เราสำนึกผิดกลับใจ เปลี่ยนความคิดจิตใจในเรื่องสิ่งต่างๆ มาดำเนินชีวิตในความเชื่อ และปรนนิบัติพระเจ้าองค์เที่ยงแท้เพียงพระองค์เดียว

ตกลงทรัพย์สมบัติคุณอยู่ที่ไหน?

19 “อย่าส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลกที่อาจเป็นสนิมและที่แมลงกินเสีย ได้และที่ขโมยอาจขุดช่องลักเอาไปได้20 แต่จงส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ที่ไม่มีแมลงจะกินและไม่มีสนิมจะกัดและ ที่ไม่มีขโมยขุดช่องลักเอาไปได้21 เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหนใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย” (มัทธิว 6:19-21)

คงไม่ยากเกินไปที่จะหาตัวอย่างจากหญิงและชายที่สั่งสมทรัพย์สมบัติไว้ สำหรับตนเองในโลกนี้ ทำให้เห็นว่าใจของพวกเขาแล้วจริงๆอยู่ที่ไหน มีหลายตัวอย่างผุดขึ้นมา:

ตัวอย่างที่ 1 – เรื่องของอาคาน (โยชูวา 6:17-18, 7:1-26) ในข้อ 18 พระเจ้าสั่งให้ประชากรอิสราเอลไปโจมตีเมืองเยริโค และให้ห่างจากของที่ต้องทำลายถวาย และให้นำเงินและทองและเครื่องใช้ที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์และเหล็กเป็นของถวาย แด่พระเจ้า ให้นำเข้าไปไว้ในคลังของพระเจ้า เมื่อพวกเขาโจมตีเมืองเยริโคได้ มีชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้า แอบเอาเสื้อคลุมงามตัวหนึ่งของเมืองบาบิโลนกับเงินสองร้อยเชเขลและทองคำแท่ง หนึ่งหนักห้าสิบเชเขลไปเก็บซ่อน เพราะความบาปของชายคนนี้ อิสราเอลจึงพ่ายแพ้สงครามที่เมืองอัย ชายคนนี้จึงถูกประหารเพราะความโลภในทรัพย์สินเงินทองในจิตใจของเขา แทนที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้า ทำตามที่พระองค์สั่ง

ตัวอย่างที่ 2 – เรื่องของเศรษฐีหนุ่ม (มัทธิว 19:16-22) ในเรื่องนี้มีเศรษฐีหนุ่มมาถามคำถามพระเยซู เขาถามว่าทำอย่างไรจึงจะได้ชีวิตนิรันดร์ พระเยซูทรงตอบโดยบอกว่าเขาต้องเชื่อฟังพระบัญญัติ หนุ่มนั้นก็ถามว่า “ข้อใดบ้าง?” พระเยซูทรงตอบว่า“คือ ข้อที่ว่า ‘อย่าฆ่าคน อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา อย่าลักทรัพย์ อย่าเป็นพยานเท็จจงให้เกียรติแก่บิดามารดาของตน และจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” เศรษฐีหนุ่มนั้นตอบว่าเขาได้ถือรักษาไว้ทุกประการ แล้วถามว่า “ข้าพเจ้ายังขาดอะไรอีกบ้าง?”ตรงนี้ที่พระเยซูทรงหย่อนระเบิดลงไปที่หนุ่มคนนี้ ตรัสว่า “จงไปขายบรรดาสิ่งของซึ่งท่านมีอยู่ แจกจ่ายให้คนอนาถา…แล้วจงตามเรามา…” ใจ ของหนุ่มคนนี้อยู่ที่ไหน? เราตอบได้จากปฏิกิริยาของเขา ใจของเขาถูกความมั่งคั่งและความร่ำรวยควบคุม หนุ่มคนนี้เป็นเศรษฐี ดูมีอนาคตไกล แต่ไม่พร้อมที่จะสละสิ่งที่มีเพื่อติดตามพระเยซู เขาพร้อมที่จะรักเพื่อนบ้านและทำตามพระบัญญัติที่มีต่อมนุษย์ แต่เมื่อไปถึงจุดที่ต้องรักพระบิดาและไม่มีพระเจ้าอื่นใด เขาไม่พร้อม ไม่อาจละจากความมั่งคั่งทางโลกที่ครอบครองอยู่เพื่อให้ได้ชีวิตนิรันดร์

เราเห็นตัวอย่างอื่นๆของคนที่ส่ำสมทรัพย์สมบัติทางโลก และปลายทางของคนเหล่านี้คือความตาย ใจของเขาหมกมุ่นอยู่กับสิ่งของๆโลก ยอมที่จะไม่เชื่อฟังพระเจ้าแลกกับความมั่งคั่งชั่วคราวที่จะเสื่อมสลายไป สิ่งที่เราส่ำสมไว้ในโลกเป็นเพียงของชั่วคราว ไม่มีทางอยู่ได้ชั่วนิรันดร์

ตกลงทรัพย์สมบัติคุณอยู่ที่ไหน?

มีหลายความคิดขึ้นมาในใจเมื่อนึกถึงสิ่งที่พระเยซูตรัสในสามข้อแรกของคำ ตอนนี้ คุณมีใจของโลกนี้ หรือใจของสวรรค์? คุณลงทุนอนาคตสำหรับนิรันดร์ที่ใกล้เข้ามา หรือคุณลงทุนกับสิ่งปัจจุบันที่นี่และเดี๋ยวนี้? คุณหลงไหลไปกับของชั่วคราว หรือของที่ถาวร? ชัดเจน ทั้งหมดนี้ถามในสิ่งเดียวกัน แต่ที่สำคัญ เราเข้าใจในความคิดนี้ชัดเจนหรือ? พระเยซูทรงยกตัวอย่างสามแบบด้านล่าง เพื่อแสดงว่าสิ่งที่เราเห็นว่าสำคัญกลับเป็นเพียงของชั่วคราว พระองค์ทรงใช้ตัวมอด สนิม และขโมย เรานึกออกจากตัวอย่างในชีวิต เช่น คนที่ขับรถคันใหม่ออกสู่ถนนอย่างภาคภูมิใจ พวกเขารักรถยนต์ เปิดหน้าต่างให้เสียงเพลงจากเครื่องเสียงชั้นดีกระหึ่มออกมา ชาวโลกจะได้รู้เสียทีว่าฉันเพิ่งซื้อรถคันใหม่! กว่าจะรู้ตัว ก็เสยเข้ากับฟุตปาทข้างทาง ตัวถังยุบและสีถลอก รถเงาวับคันใหม่ทำให้เจ้าของต้องอับอายขายขี้หน้าอยู่ข้างถนน

ตัวมอด: เรารู้ดีว่าเมื่อตัวมอดเข้าไปในเสื้อผ้า มันจะใชและกินเนื้อผ้าจนเป็นรู มอดเป็นแค่แมลงตัวเล็กๆเหมือนผีเสื้อ ดูไม่เป็นอันตราย แต่มันอาจทำลายเสื้อแบรนด์เนมราคาแพงสุดหรูของคุณได้

สนิม: ผมโตขึ้นในคานาดาที่ ต้องโรยเกลือบนถนนเวลาหิมะตกหนักหน้าหนาว เกลือสามารถทำลายรถคุณได้อย่างนึกไม่ถึง เราเคยมีรถกระบะยี่ห้อดอดจ์คันเก่าสีน้ำตาล ใต้ท้องรถมีรูพรุนเพราะถูกสนิมกัด ขนาดพื้นรถยังมีรู คุณอาจมีรถสวยที่สุดในโลก แต่ที่สุดแล้ว ถ้าต้องเจอทั้งหิมะ น้ำแข็ง และเกลือ ไม่ช้าก็จะเป็นสนิม สนิมเป็นตัวการทำลายพอๆกับตัวมอด ทำลายทรัพย์สินที่เราใช้เงินที่หามาอย่างยากลำบากซื้อ

ขโมย: มีเงินเยอะและร่ำรวย จะมาพร้อมกลับความกลัวว่าจะมีใครมาเอาไป มนุษย์จึงทำทุกอย่างในอำนาจ ปกป้องสิ่งที่ตนเองมี ล้อมรั้วบ้านด้วยกำแพงสูง ขโมยปีนยาก มียาม กล้องวงจรปิด มีที่ลึกลับซ่อนตู้เซฟไว้เก็บเพชรพลอยและทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ แล้วขโมยทำอย่างไร? งัดเข้ามา เจาะหาทรัพย์ที่เจ้าของอุตส่าห์แอบซ่อนเอาไว้ ทำทุกวิถีทางขโมยไปให้ได้

คุณคิดว่าสิ่งใดมีค่าสำหรับคุณ? เพราะอะไรที่คุณมองว่ามีค่าจะบอกได้ว่าใจคุณอยู่ที่ไหน อาจเป็นเงินทองและความมั่งคั่ง อาจเป็นอำนาจบารมี และต้องการให้คนเห็นว่าคุณคือสุดยอดผู้นำ อาจเป็นท่าทีมีธรรมะแต่เปลือกนอก ผู้คนยกย่องสรรเสริญ อาจเป็นความโด่งดังเป็นที่ยอมรับเพราะหน้าตา บุคลิกและเสื้อผ้าที่สวมใส่ อาจเป็นบ้านหรู มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน อาจเป็นครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ เลี้ยงลูกได้ดี ตรงนี้แหละที่พระเยซูเรียกให้เราเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ จากสิ่งของชั่วคราวไปยังสิ่งที่เป็นนิรันดร์ จากสิ่งที่ผ่านมาแล้วผ่านไป ไปเป็นสิ่งที่ยั่งยืนถาวร คุณคงไม่เคยเห็นรถบรรทุกศพที่มีรถพ่วงลากสมบัติตามไปด้วย ถ้าเห็นเราคงช็อค เพราะรู้ดีว่าทรัพย์สมบัติทางโลกที่ส่ำสมมา ไม่อาจไปกับเราได้ เป็นแค่ของชั่วคราว ตลอดคำเทศนาบนภูเขา พระเยซูเรียกให้เราสำนึกผิด กลับใจ ให้เปลี่ยนความคิดและทัศนคติเสียใหม่ และให้เป็นเหมือนรายชื่อบุคคลที่อยู่ในพระธรรมฮีบรู 11 คนที่มีนิรันดร์กาลในจิตใจ และยึดพระสัญญาตามที่พระเจ้าให้ไว้

คนเหล่านี้ตายไปในความเชื่อ ยังไม่ได้รับตามพระสัญญา แต่สิ่งที่พวกเขาเห็นเป็นสิ่งที่พวกเขามั่นใจ โอบรับเอาไว้ และยอมรับว่าเป็นเพียงคนแปลกถิ่นที่ท่องเที่ยวไปในโลก คนที่กล่าวคำเหล่านี้ประกาศว่าพวกเขาแสวงหาที่จะกลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอน และถ้าพวกเขาคิดอยู่ในใจเสมอว่าบ้านเมืองที่จากมา วันหนึ่งข้างหน้าจะได้กลับไป พวกเขาปรารถนาจะไปอยู่ในที่ๆประเสริฐกว่าคือ “เมืองสวรรค์” พระเจ้าจึงไม่ทรงรู้สึกอับอายที่ได้เป็นพระเจ้าของพวกเขา และพระองค์ทรงจัดเตรียมบ้านรอคอยต้อนรับพวกเขากลับบ้าน (ฮีบรู 11:13-16)

เมื่อนำมาเทียบกัน พระเยซูตรัสในมัทธิว 6:20 “แต่จงส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ที่ไม่มีแมลงจะกิน และไม่มีสนิมจะกัด และที่ไม่มีขโมยขุดช่องลักเอาไปได้” พระ เยซูกำลังตรัสถึงการส่ำสมทรัพย์สมบัตินิรันดร์ที่ไม่มีวันเสื่อมสลาย พระองค์หมายถึงทรัพย์สมบัติอะไร? หนังสือ 1เปโตร 1:3-6 กล่าวว่า :

3 สาธุการแด่พระเจ้าพระบิดาแห่งพระเยซูคริสตเจ้าของเราผู้ได้ทรงพระมหากรุณา แก่เราทรงโปรดให้เราบังเกิดใหม่เข้าสู่ความหวังใจอันมีชีวิตอยู่โดยการคืน พระชนม์ของพระเยซูคริสต์4 และเพื่อให้ได้รับมรดกซึ่งไม่รู้เปื่อยเน่าปราศจากมลทินและไม่ร่วงโรยซึ่ง ได้เตรียมไว้ในสวรรค์เพื่อท่านทั้งหลาย5 ซึ่งเป็นผู้ที่ฤทธิ์เดชของพระเจ้าได้ทรงคุ้มครองไว้ด้วยความเชื่อให้ถึงความ รอดซึ่งพร้อมแล้วที่จะปรากฏในวาระสุดท้าย 6 ในความรอดนั้นท่านทั้งหลายชื่นชมยินดีถึงแม้ว่าเดี๋ยวนี้จำเป็นที่ท่านจะ ต้องทนทุกข์ทรมานชั่วขณะหนึ่งในการถูกทดลองต่างๆ

มันมหัศจรรย์ที่รู้ว่าในฐานะผู้เชื่อ มีมรดกรอเราอยู่ และในฐานะบุตรของพระเจ้า เราจะได้รับชีวิตนิรันดร์! การได้อยู่กับพระคริสต์ เป็นบำเหน็จ คนที่ต่อสู้เพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติของโลก จะผิดหวังขนาดไหน เพราะทรัพย์สินเหล่านั้นจะเสื่อมสลายไป

12 บนรากนั้นถ้าผู้ใดจะก่อขึ้นด้วยทองคำเงินเพชรพลอยไม้หญ้าแห้งหรือฟาง13 การงานของแต่ละคนก็จะได้ปรากฏให้เห็นเพราะวันเวลาจะให้เห็นได้ชัดเจนเพราะ ว่าจะเห็นชัดได้ด้วยไฟไฟนั้นจะพิสูจน์ให้เห็นการงานของแต่ละคนว่าเป็นอย่าง ไร14 ถ้าการงานของผู้ใดที่ก่อขึ้นทนอยู่ได้ผู้นั้นก็จะได้ค่าตอบแทน15 ถ้าการงานของผู้ใดถูกเผาไหม้ไปผู้นั้นก็จะขาดค่าตอบแทนแต่ตัวเขาเองจะรอดแต่ เหมือนดังรอดจากไฟ (1โครินธ์ 3:12-15)

บั้นปลายชีวิตของผู้เชื่อ เราจะยืนต่อหน้าบัลลังก์พิพากษาของพระคริสต์ และรายงานสิ่งที่เราทำขณะมีชีวิตบนโลกนี้ ไม่ว่าเราวางสิ่งใดไว้บนรากฐานนั้น ไม่ว่าจะเป็นทองคำหรือฟาง จะต้องผ่านการพิสูจน์ในไฟว่าทนอยู่ได้หรือไม่ ผู้เชื่อที่สร้างความมั่งคั่งที่บนโลกนี้จะสูญเสียไป แต่จะได้รับความรอดเหมือนรอดออกมาจากไฟ แต่ผู้ที่ต่อสู้เพื่อส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์จะได้รับบำเหน็จ ทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือได้เข้าสู่นิรันดร์กาล รับการอภัย และเป็นอิสระจากพันธนาการของบาป เพราะพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ ถูกฝังไว้ และฟื้นคืนพระชนม์

จึงมีคำถาม “แล้วเราจะส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ได้อย่างไร?” คำตอบคือดำเนินชีวิตอย่างที่พระเจ้าขอให้ทำ และทำตามในทุกสิ่งที่พระองค์ทำ ตัวอย่างเช่น – รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง – ถ้าใครขาดแคลนเสื้อผ้าแล้วคุณมีเหลือใช้ แบ่งให้เขาบ้าง – เป็นผู้ให้ด้วยใจยินดี ถวายเกียรติพระเจ้าในชีวิตแต่งงาน ระวังความคิดที่ผิดศีลธรรม แบ่งปันข่าวประเสริฐกับผู้คนรอบข้าง หลายสิ่งเหล่านี้รวมลงมาได้เป็น – รักพระเจ้าของเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตสิ้นสุดใจ สุดกำลัง และสุดความคิด และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

ถ้อยคำสุดท้ายในข้อ 21 พระเยซูทรงกลับไปที่เรื่องของจิตใจ “เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน ใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย” หนึ่งในพระบัญญัติสิบประการที่กล่าวว่า “อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา” (อพยพ 20:3) เมื่อเราปักใจอยู่บนของๆโลก และพ่ายแพ้ต่อการทดลองไปตามกระแสโลก เราก็กำลังทำผิดข้อกราบไหว้รูปเคารพ เพราะเราไม่ได้ปรนนิบัติพระเจ้าอีกต่อไป เราให้ความมั่งคั่งอยู่เหนือพระองค์ และปรนนิบัติใส่ใจกับความมั่งคั่งนั้น สิ่งนั้นคือพระเจ้าและชีวิตของเรา พระเยซูทรงท้าทายเราเหมือนกับที่ทรงท้าทายฝูงชนที่นั่งฟังในตอนนั้น ให้เราถามตัวเองว่าทรัพย์สมบัติเราอยู่ที่ไหน ถ้าทรัพย์สมบัติเราอยู่บนโลกและสิ่งของๆโลก ใจเราก็อยู่ที่นั่นด้วย ถ้าใจของเรามุ่งจับจ้องอยู่ที่พระบิดา และส่ำสมสมบัติไว้ในสวรรค์ ใจเราก็จะอยู่ที่นั่นด้วย

ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เก่าเรื่อง “มัมมี่” นักแสดงที่เล่นเป็นเบนี่ ตอนจบของเรื่องเขาค้นพบห้องเก็บมหาสมบัติ เบนี่ครองสติไม่อยู่ ถูกความมั่งคั่งที่เห็นอยู่ต่อหน้าควบคุมสิ้น ผมแน่ใจว่าเบนี่มองเห็นภาพชีวิตที่สะดวกสบายหรูหรา และจะเป็นผู้มั่งคั่งที่สุดในโลก แต่เรื่องไม่ได้จบแค่นั้น มีบางอย่างเกิดขึ้นในวิหาร ห้องเก็บสมบัติมีทรายร่วงลงมาจนท่วม ประตูกำลังจะปิดไม่มีใครหนีรอดไปได้ เบนี่มีโอกาสที่จะหนี แต่อำนาจเงินทองและความร่ำรวยทำให้เขาติดกับ พยายามยัดสมบัติเหล่านั้นใส่กระเป๋า และลากถุงบรรจุทองคำหนักอึ้งออกไปด้วย ในที่สุดประตูก็ปิดลง และเบนี่ก็ติดอยู่หลังบานประตูนั้นพร้อมกับทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่มีโอกาสได้เห็นเดือนเห็นตะวัน ไม่มีโอกาสได้ใช้เงินทองที่เขาลุ่มหลงอีกต่อไป อำนาจของเงินตราควบคุมเขาไว้ ทำให้จบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ ขออย่าให้เราเข้าสู่บั้นปลายชีวิต ไล่ล่าความมั่งคั่งและทรัพย์สินของโลกนี้ เพื่อมารู้ตัวอีกทีว่าไล่ตามผิดทาง และถูกสิ่งที่พยายามไล่ล่านั้นควบคุมเอาไว้

วิสัยทัศน์ของคุณเป็นอย่างไร?

“22 ตาเป็นประทีปของร่างกายเหตุฉะนั้นถ้าตาของท่านปกติทั้งตัวก็พลอยสว่างไปด้วย 23 แต่ถ้าตาของท่านผิดปกติทั้งตัวของท่านก็พลอยมืดไปด้วย เหตุฉะนั้นถ้าความสว่างซึ่งอยู่ในตัวท่านมืดไป ความมืดนั้นจะหนาทึบสักเพียงใดหนอ” (มัทธิว 6:22-23)

ตัวอย่างด้านล่างเกี่ยวข้องกับพระวจนะตอนนี้ ส่ำสมความมั่งคั่งบนโลกนี้ จะทำให้ภาพในความคิดของคุณไม่แจ่มชัด มองไม่เห็นความจริง ไม่เห็นพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างถูกต้อง ความจริงถูกบิดเบือน ทำให้มองไม่เห็นพระเจ้าอย่างที่เราเคยเห็น และอย่างที่พระองค์ทรงเป็น

ตัวอย่างที่ 1 – เรื่องของอานาเนีย และสัปฟีรา (กิจการ 5:1-11) ในเรื่อง ชายคนนี้และภรรยาขายทรัพย์สมบัติที่มี นำเงินมามอบให้ มาวางไว้ที่เท้าของบรรดาอัครทูต เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยในคริสตจักรยุคแรก:

34 เพราะว่าในพวกศิษย์ไม่มีผู้ใดขัดสนผู้ใดมีไร่นาบ้านเรือนก็ขายเสีย35 และนำเงินค่าของที่ขายได้นั้นมาวางไว้ที่เท้าของอัครทูตอัครทูตจึงแจกจ่าย ให้ทุกคนตามที่ต้องการ (กิจการ 4:34-35)

แต่มีสิ่งที่แตกต่างในเรื่องนี้ เมื่อพวกเขานำเงินมาวางให้อัครทูต อานาเนีย และสัปฟีรา ไม่ได้พูดความจริง พวกเขาบอกว่านำเงินที่ได้ “ทั้งหมด” จากการขายทรัพย์สินมาให้ แต่ที่จริงได้ยักยอกบางส่วนเก็บเอาไว้ เปโตรถามว่าทำไมพวกเขาจึงกล้าพูดโกหกต่อหน้าพระเจ้า และในนาทีนั้น อานาเนียก็ล้มลงตาย ไม่นานจากนั้นภรรยาที่พูดโกหกเรื่องการขายทรัพย์สินก็ตายลงด้วย อานาเนีย และสัปฟีราเคยเห็นมาก่อนว่าคนที่ถวายเช่นนี้เป็นที่ยอมรับและได้รับการ ยกย่อง จึงไปขายทรัพย์สินของตนบ้าง เพื่อจะได้มีคนเห็น เป็นที่ยอมรับ และได้รับคำชมเชยว่าเป็นผู้มีจิตวิญญาณสูง ทำเช่นนี้เขากำลังโกหกต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ ผลคือต้องจบชีวิตลง

ตัวอย่างที่ 2 – อุปมาเรื่องเศรษฐีโง่ (ลูกา 12:13-21) ในอุปมานี้พระเยซูทรงกล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่เราต้องตั้งใจฟังให้ดี พระองค์ตรัสในข้อ 15 ว่า “..เพราะว่าชีวิตของคนมิได้อยู่ในการที่มีของฟุ่มเฟือย” อุปมา เรื่องเศรษฐีโง่พูดในเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องเศรษฐีคนหนึ่ง ที่ไร่นาของเขาเกิดผลบริบูรณ์มาก จึงตัดสินใจรื้อยุ้งฉางเก่าลง แล้วสร้างใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม พอเสร็จ กะจะเกษียน คิดว่ามีเงินที่ส่ำสมมาพอแล้ว ต่อไปนี้จะนั่งสบายๆใช้ชีวิตสนุกสนานให้คุ้ม เกิดอะไรขึ้นครับ? พระเจ้าเรียกเขาว่าคนโง่ ชีวิตของเขาจะถูกเรียกคืนไปในคืนนั้น พระเยซูทรงจบคำอุปมานี้ด้วยคำตรัสว่า “คนที่ส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวและมิได้มั่งมีจำเพาะพระเจ้าก็เป็นเช่นนั้นแหละ“พวก เราหลายคนคอยเวลาที่จะได้นั่งพักผ่อนสบายๆหลังเกษียน ใช้เงินทองที่ส่ำสมมาเพื่อจะมีชีวิตบั้นปลายที่เพลิดเพลินสะดวกสบาย เศรษฐีคนนี้ถูกความร่ำรวยของตนเองควบคุมไว้ คิดแต่เรื่องเพิ่มพูนให้มากขึ้น แต่กลับต้องตายลงในคืนนั้น และมีคนอื่นมาเอาทรัพย์ที่เขาสะสมไปผลาญเสีย เขาไม่อาจนำสิ่งใดติดตัวไปได้เลย

ตอนต่อไป เราจะมาพูดในเรื่องเดียวกันแต่ในแบบที่แตกต่าง ใช้ตัวอย่างเรื่องของสายตา เมื่อความร่ำรวยเป็นจุดรวมสายตาในชีวิต การมองเห็นของเราจะบิดเบือน เมื่อสิ่งที่เรามองเห็นแซงหน้าสิ่งที่เป็นนิรันดร์ที่มองไม่เห็น เราก็มีสายตาสั้นฝ่ายวิญญาณ สายตาเป็นช่องทางให้ความสว่างส่องเข้าไปในร่างกาย และให้ความสว่างจนเรามองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้ ทำให้เราเห็นสีสัน ทัศนียภาพ และใบหน้าที่เรามองไป วิลเลี่ยม บาร์เคลย์ กล่าวไว้ว่า:

แนวคิดเบื้องหลังพระคัมภีร์ตอนนี้เป็นเหมือนเรื่องธรรมดาของเด็กๆ ดวงตาเปรียบเหมือนหน้าต่างที่เปิดรับแสงเข้าไปทั่วร่างกาย สีและสภาพของหน้าต่างเป็นตัวตัดสินว่าจะให้แสงจะเข้าไปได้แค่ไหน ถ้าหน้าต่างใสสะอาดและไม่บิดเบี้ยว แสงก็จะสาดเข้าไปในห้องได้เต็มที่ และจุดทั่วทุกมุมให้สว่างไสว แต่ถ้าหน้าต่างขุ่นมัว บิดเบี้ยว สกปรก หรือมีสีบังให้ไม่เห็นชัดเจน แสงก็จะถูกกั้น และห้องก็ไม่อาจสว่างได้ … ดังนั้นพระเยซูจึงตรัสว่าความสว่างที่ส่องเข้าไปในจิตใจและจิตวิญญาณของ มนุษย์ จำต้องพึ่งสถานะภาพฝ่ายวิญญาณของดวงตาซึ่งเป็นช่องทางให้แสงผ่าน เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของทั้งร่างกาย5

1เปโตร 1:6-9 กล่าวว่า:

6 ในความรอดนั้นท่านทั้งหลายชื่นชมยินดี ถึงแม้ว่าเดี๋ยวนี้ จำเป็นที่ท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานชั่วขณะหนึ่งในการถูกทดลองต่างๆ 7 เพื่อการลองดูความเชื่อของท่าน อันประเสริฐยิ่งกว่าทองคำ ซึ่งแม้เสียไปได้ก็ยังถูกลองด้วยไฟ จะได้เป็นเหตุให้เกิดความสรรเสริญ เกิดศักดิ์ศรีและเกียรติ ในเวลาที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จมาปรากฏ พระองค์ผู้ที่ท่านทั้งหลายยังไม่ได้เห็น แต่ท่านยังรักพระองค์อยู่แม้ว่าขณะนี้ท่านไม่เห็นพระองค์ แต่ท่านยังเชื่อและชื่นชม ด้วยความปีติยินดีเป็นล้นพ้นเหลือที่จะกล่าวได้ 9 แล้ววิญญาณจิตของท่านทั้งหลายจึงได้รับความรอดเป็นผลแห่งความเชื่อ (1เปโตร 1:6-9)

ดวงตาที่เต็มไปด้วยความสว่างคือชีวิตที่ดำเนินไปโดยความเชื่อและในพระ สัญญานิรันดร์ของพระเจ้า เราอาจมองสิ่งต่างๆเหล่านี้ด้วยตาเปล่าไม่ได้ แต่เราเชื่อด้วยความเชื่อในความจริงว่าวันหนึ่งข้างหน้าเราจะเป็นเหมือนพระ คริสต์ – เป็นจุดสิ้นสุดของความเชื่อ ความรอดฝ่ายวิญญาณ เมื่อสายตาเราจับจ้องอยู่บนของๆโลกนี้ ของชั่วคราว สายตาเราจะพร่ามัวและเห็นได้ไม่ชัดเจน ผมยังจำได้ดีเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในตาสองวัน ทั้งเจ็บและน้ำตาไหลตลอดเวลา ลืมตาแทบไม่ได้ และอ่อนไหวต่อแสง ทำให้ไม่สามารถมองสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้ เช่นเดียวกับทรัพย์สมบัติทางโลก เป็นตัวทำให้เรามองความเป็นจริงผิดเพี้ยน เห็นไม่ชัดเจน ลองมาดูตัวอย่างในฮีบรู 11:

17 เพราะอับราฮัมมีความเชื่อ ฉะนั้นเมื่อท่านถูกลองใจ ท่านจึงได้ถวายอิสอัคเป็นเครื่องบูชา และท่านซึ่งเป็นผู้ได้รับพระสัญญา ก็ได้พร้อมแล้วที่จะถวายบุตรคนเดียวของท่าน 18 คือบุตรที่มีพระดำรัสไว้ว่า เขาจะสืบเชื้อสายของเจ้าทางอิสอัค (ฮีบรู 11:17-18)

24 เพราะความเชื่อ เมื่อโมเสสโตแล้วท่านไม่ยอมให้ใครเรียกท่านว่า เป็นบุตรของธิดากษัตริย์ฟาโรห์ 25 ท่านเลือกการร่วมทุกข์กับชนชาติของพระเจ้าแทนการเริงสำราญในความชั่ว 26 ท่านถือว่าการอดทนต่อความอัปยศเพื่อพระคริสต์ ประเสริฐกว่าสมบัติของประเทศอียิปต์ เพราะท่านหวังบำเหน็จที่จะได้รับนั้น (ฮีบรู 11:24-26)

นี่เป็นสองตัวอย่างสำคัญของผู้ที่ได้ชื่อว่ามีวิสัยทัศน์แบบนิรันดร์กาล : พวกเขาเห็นชัดเจน เห็นถึงนิรันดร์กาลและเห็นบำเหน็จแทนที่จะเห็นแก่สิ่งของชั่วคราวที่ผ่านมา แล้วผ่านไป เพราะความเชื่อนี้ พระเจ้าจึงทรงใช้เขาได้อย่างเกิดผล

คำถามคือ “วิสัยทัศน์คุณเป็นอย่างไร?” เจมส์ บอยส์ กล่าวว่า :

คุณมองเห็นเรื่องฝ่ายวิญญาณชัดขนาดไหน? หรือวิสัยทัศน์และพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับชีวิตคุณมัวไปเพราะต้อกระจก ฝ่ายวิญญาณ หรือสายตาคุณสั้น และหมดเวลาไปกับเรื่องวุ่นวายใกล้ตัว? ผมมั่นใจว่าสิ่งนี้เป็นจริงสำหรับคริสเตียนหลายคน โดยเฉพาะคนที่ตกอยู่ภายใต้ความมั่งคั่งของโลกสมัยใหม่6

คุณเคยเอาแว่นตาของคนอื่นมาใส่หรือเปล่า? แล้วเห็นภาพต่างไปจากที่เคย จำได้ว่าตอนเรียนชั้นเตรียมอุดม เราขับรถไปตามถนนในออนตาริโอเหนือในตอนกลางคืน แล้วก็ปิดไฟหน้ารถ มันมืดมากมองอะไรไม่เห็นเพราะเราชินกับแสงไฟ พอไม่มีแสง ต้องใช้เวลากว่าสายตาจะปรับให้ชินกับความมืด แน่นอนเราเริ่มตกใจกลัว รีบเปิดไฟเผื่อเกิดพลาดพลั้ง เราสามารถโยงเรื่องนี้เข้ากับอุปมาเรื่องตาที่พระเยซูสอน ถ้าตาทางความคิดและจิตใจเราจับจ้องอยู่กับทรัพย์สมบัติทางโลก วิสัยทัศน์ของเราจะพร่ามัวและผิดเพี้ยน ไม่อาจแยกแยะพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับชีวิตเราได้อย่างถูกต้อง หรือเราอาจมองพระเจ้าได้ไม่ชัดเหมือนเคย ถ้าตาคุณไม่ดี ร่างกายคุณก็จะมืดมิดไปด้วย อะไรจะเกิดขึ้นได้ในความมืด? คุณก็สะดุดล้ม หรือเดินคลำทางหาแสงที่พอจะช่วยให้เห็นทาง เห็นข้าวของเพื่อจะไม่เดินไปชนหรือสะดุดล้ม เมื่อตาเราจับจ้องไปที่สิ่งของๆโลกนี้ สายตาเราก็แย่ ตัวเราก็มีแต่ความมืด เห็นความเป็นจริงได้ไม่ชัดเจน ถ้าตาในใจและในความคิดจับจ้องอยู่ที่พระบิดา เราก็ยืนอย่างถูกต้องต่อพระองค์ และเห็นพระองค์อย่างชัดเจน เห็นว่าพระองค์ทรงขอให้เราทำสิ่งใด “เหตุฉะนั้นถ้าตาของท่านปกติ ทั้งตัวก็พลอยสว่างไปด้วย” (มัทธิว 6:22 ข) ขอถามอีกครั้ง “วิสัยทัศน์คุณเป็นอย่างไร? สายตาคุณจับจ้องอยู่ที่ไหน?”

คุณกำลังปรนนิบัติผู้ใด?

ตอนนี้เราเข้ามาถึงหัวใจสำคัญที่มีอำนาจมากในพระวจนะตอนนี้ พระคำข้อนี้ เป็นเหมือนจุดสูงสุดของคำเทศนาบนภูเขา เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด “คุณกำลังปรนนิบัติผู้ใด?” คนชอบคิดว่าเขาสามารถเหยียบเรือสองแคมได้ คือได้สิ่งดีที่สุดจากทั้งสองฝั่ง – ทั้งบนโลกนี้ปรนเปรอตนเองด้วยความมั่งคั่งและชีวิตสะดวกสบาย และต่อมาตรงสุดถนนสายอนาคต ซึ่งก็คือสวรรค์ พระวจนะตอนนี้ พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีผู้ใดเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เพราะว่าจะชังนายข้างหนึ่ง และจะรักนายอีกข้างหนึ่ง หรือจะนับถือนายฝ่ายหนึ่ง และจะดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านจะปฏิบัติพระเจ้าและจะปฏิบัติเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (มัทธิว 6:24) พระเยซูบอกเราตอนนี้ว่าเราไม่อาจรับใช้เจ้านายสองคนได้ เราไม่อาจรับใช้เงินทองและพระเจ้าได้ เราไม่อาจรับใช้ชื่อเสียงและพระเจ้าได้ เราไม่อาจปรนเปรอตนเองและปรนนิบัติพระเจ้าได้ เราไม่อาจปรนนิบัติครอบครัวและพระเจ้าได้ เรามีนายได้เพียงผู้เดียว อีกครั้ง พระเยซูท้าทายเราให้กลับไปพิจารณาคำเทศนาบนภูเขา ท้าทายเราให้สำนึกผิดกลับใจ เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติทางโลก หรือสิ่งอื่นๆที่เราเคยปรนนิบัติ และมาปรนนิบัติพระองค์เพียงผู้เดียว คุณไม่มีทางทำได้แม้พยายามแค่ไหนก็ตาม คุณจะเสียสิ่งหนึ่งไป และในแทบทุกกรณี ที่เสียไปคือพระเจ้า ดร. ดี มาร์ติน ลอยด์-โจนส์ เล่าเรื่องนี้ไว้ :

ชาวไร่คนหนึ่ง … วันหนึ่งกลับมาบอกภรรยาด้วยความดีใจว่าวัวตัวที่ดีที่สุดของเขาออกลูกมาสอง ตัว สีแดงตัวหนึ่ง และอีกตัวสีขาว เขาพูดว่า “คุณรู้มั้ย พระเจ้าทรงนำให้ผมถวายลูกวัวตัวหนึ่งให้พระองค์ เราจะเลี้ยงทั้งคู่ให้โตไปด้วยกัน และเมื่อถึงเวลาขาย เราจะเก็บเงินค่าวัวตัวหนึ่งไว้ใช้ และอีกตัวนำไปใช้เพื่องานของพระเจ้า” ภรรยาจึงถามว่าตัวไหนที่จะถวายให้พระเจ้า ชาวไร่ตอบว่ายังไม่ต้องรีบร้อนตัดสินใจ “เราจะเลี้ยงวัวทั้งคู่ให้เหมือนกัน” เขาพูด “และเมื่อได้เวลาขาย เราจะขายทั้งคู่ออกไปอย่างที่พูดไว้” หลายเดือนหลังจากนั้น ชาวไร่คนนั้นเข้าไปในครัวด้วยท่าทางเศร้าสร้อย ภรรยาจึงถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาตอบว่า “ผมมีข่าวร้ายมาบอก วัวของพระเจ้าตายแล้ว” “แต่” เสียงภรรยาท้วงขึ้น “คุณบอกยังไม่ได้ตัดสินใจว่าตัวไหนเป็นของพระเจ้าไม่ใช่หรือ?” เขาตอบว่า “อ๋อ ผมคิดเสมอว่าต้องเป็นตัวสีขาว แล้วตัวสีขาวมันก็ตายแล้ว”7

เจมส์ บอยส์ กล่าวว่า “รู้สึกว่าวัวของพระเจ้าต้องตายทุกที – เว้นแต่เราชัดเจนว่าเราจะปรนนิบัติผู้ใด และรู้จักตนเอง หรือรู้จักสิ่งที่ตนเองครอบครองดี”8

ผมอยากจะยกตัวอย่างของบางคนที่มีมุมมองถูกต้องถึงความหมายของสิ่งนี้ หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องนี้ เป็นหนึ่งในพระวจนะตอนที่ผมโปรด และเป็นตอนที่ท้าทายผมอย่างมากทุกครั้งที่อ่าน

ตัวอย่างที่ 1 – เปาโล (ฟีลิปปี 3:7-8)

7 แต่ว่าสิ่งใดที่เคยเป็นคุณประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถือว่าสิ่งนั้นไร้ประโยชน์แล้ว เพื่อเห็นแก่พระคริสต์ 8 ที่จริงข้าพเจ้าถือว่าสิ่งสารพัดไร้ประโยชน์ เพราะเห็นแก่ความประเสริฐแห่งความรู้ถึงพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า เพราะเหตุพระองค์ ข้าพเจ้าจึงได้ยอมสละสิ่งสารพัด และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนหยากเยื่อเพื่อข้าพเจ้าจะได้พระคริสต์

อัครทูตเปาโลในแง่ของศาสนาเป็นผู้ที่เรียกได้ว่ามีครบถ้วน เข้าสุหนัตเมื่ออายุแปดวัน อยู่ในเผ่าเบนยามิน เป็นฮีบรูของฮีบรูแท้ ในเรื่องธรรมบัญญัติท่านเคยเป็นฟาริสี ในด้านความกระตือรือร้นท่านเองได้ข่มเหงคริสตจักร ในเรื่องความชอบธรรมตามบทบัญญัติ ท่านไม่มีข้อตำหนิ เปาโลจึงพร้อมครบถ้วน แต่ท่านสละทั้งหมดไป เพราะมองว่าเป็นเหมือนหยากเยื่อ คือเป็น “ขยะ” เพื่อท่านจะได้รู้จักพระคริสต์ และฤทธิอำนาจในการคืนพระชนม์ของพระองค์ ท่านกำลังรับใช้เจ้านายผู้เดียว และเจ้านายนั้นคือพระเยซูคริสต์ และพระองค์เพียงผู้เดียว สิ่งต่างๆที่เป็นของโลก และสิ่งที่โลกหยิบยื่นให้ ไม่อาจดึงดูดท่านได้ต่อไป เพราะพระบิดาทรงเปลี่ยนจิตใจท่าน ทำให้ท่านเป็นคนใหม่ ในชีวิตของท่าน เปาโลได้เปลี่ยนความคิด – ท่านสำนึกผิด และจวบจนวันสุดท้ายของชีวิตท่านติดตามพระคริสต์ ท่านเห็นความสำคัญของการส่ำสมทรัพย์ไว้บนสวรรค์ ท่านวางทุกสิ่งที่ปรนเปรอเนื้อหนังลงเพื่อจะสามารถดำเนินชีวิตโดยความเชื่อ ในสิ่งที่มองไม่เห็น และรอรับบำเหน็จเมื่อจากโลกนี้ไป – ความรอดฝ่ายวิญญาณ

แล้วเราล่ะ? พระเจ้าทรงขอสิ่งใดจากเรา? พระองค์ทรงขอให้เราทำอย่างเดียวกัน – เราต้องไม่รับใช้เจ้านายสองคน แต่รับใช้พระเยซูคริสต์ พระองค์ผู้เดียวเท่านั้น ด้านล่างเป็นพระวจนะบางตอนที่ย้ำถึงหัวใจของเรื่องนี้ เราต้องคำนวนราคา เพราะไม่พระองค์ก็ตัวเราเองที่จะติดตามความต้องการส่วนตัวไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม

ตัวอย่างที่ 2 – รับกางเขนและแบกตามเรามา (มาระโก 8:34-38, ลูกา 14:25-33)

เมื่อพระเยซูทรงเรียกให้ผู้คนมาติดตามพระองค์ไป รวมถึงสาวกของพระองค์ด้วย พระองค์บอกพวกเขาว่า “34 พระองค์จึงทรงร้องเรียกประชาชนกับเหล่าสาวกให้เข้ามา แล้วตรัสแก่เขาว่า “ถ้าผู้ใดจะใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง และรับกางเขนของตนแบก และตามเรามา 35 เพราะว่าผู้ใดใคร่จะเอาชีวิตรอด ผู้นั้นจะเสียชีวิต แต่ผู้ใดจะเสียชีวิตเพราะเห็นแก่เราและข่าวประเสริฐ ผู้นั้นจะได้ชีวิตรอด 36 เพราะถ้าผู้ใดจะได้สิ่งของสิ้นทั้งโลก แต่ต้องเสียชีวิตของตน ผู้นั้นจะได้ประโยชน์อะไร 37 เพราะว่าผู้นั้นจะนำอะไรไปแลกเอาชีวิตของตนกลับคืนมา 38 ด้วยว่าถ้าผู้ใดมีความอายเพราะเราและถ้อยคำของเรา ในชั่วชีวิตนี้ซึ่งประกอบด้วยการชั่วคิดคดทรยศ บุตรมนุษย์ก็จะมีความอายเพราะผู้นั้น ในเวลาเมื่อพระองค์จะเสด็จมาด้วยพระสิริแห่งพระบิดา และด้วยเหล่าทูตสวรรค์ผู้บริสุทธิ์” (มาระโก 8:34-38)

“25 คนเป็นอันมากได้ไปกับพระองค์ พระองค์จึงทรงเหลียวหลังตรัสกับเขาว่า 26 “ถ้าผู้ใดมาหาเราและไม่ชังบิดามารดา บุตรภรรยา และพี่น้องชายหญิง แม้ทั้งชีวิตของตนเองด้วย ผู้นั้นจะเป็นสาวกของเราไม่ได้ 27 ผู้ใดมิได้แบกกางเขนของตนตามเรามา ผู้นั้นจะเป็นสาวกของเราไม่ได้ 28 ด้วยว่าในพวกท่านมีผู้ใดเมื่อปรารถนาจะสร้างตึก จะไม่นั่งลงคิดราคาดูเสียก่อนว่า จะมีพอสร้างให้สำเร็จได้หรือไม่ 29 เกรงว่าเมื่อลงรากแล้ว และกระทำให้สำเร็จไม่ได้ คนทั้งปวงที่เห็นจะเยาะเย้ยเขา 30 ว่า ‘คนนี้ตั้งต้นก่อ แต่ทำให้สำเร็จไม่ได้’ 31 หรือมีกษัตริย์องค์ใดเมื่อจะยกกองทัพไปทำสงครามกับกษัตริย์อื่น จะมิได้นั่งลงคิดดูก่อนหรือว่า ที่ตนมีพลทหารหมื่นหนึ่ง จะสู้กับกองทัพที่ยกมารบสองหมื่นนั้นได้หรือไม่ 32 ถ้าสู้ไม่ได้ เมื่อยังอยู่ห่างกัน ก็จะใช้พวกทูตไปขอเป็นไมตรีกัน 33 ก็เช่นนั้นแหละ ทุกคนในพวกท่านที่มิได้สละสิ่งสารพัดที่ตนมีอยู่ จะเป็นสาวกของเราไม่ได้” (ลูกา 14:25-33)

พระเจ้าทรงเรียกเราให้มีชีวิตที่รับใช้พระองค์อย่างเต็มกำลังในฐานะที่ พระองค์ทรงเป็นเจ้านาย อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น มีนัยสำคัญมากมายเมื่อตระหนักได้ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของเรา และเราเป็นบุตรของพระองค์ พระเจ้าจะทรงคอยดูแลเราและจัดเตรียมในสิ่งที่จำเป็นเพียงพอตามที่พระองค์ เห็นสมควร แต่การทดลองให้เรายึดติดกับสิ่งของทางโลกถ่วงเราไว้ด้วยลูกตุ้มอันใหญ่ ลวงเราให้ไปวางใจในความร่ำรวย แทนที่จะวางใจในพระบิดา ในพระวจนะตอนต่างๆที่นำมาอ้างอิงด้านบน เราเห็นถึงการทรงเรียกอย่างล้ำเลิศให้ไปรับใช้พระบิดาในฐานะเป็นบุตร และในฐานะเป็นสาวกของพระองค์ มีถ้อยคำที่ฟังดูรุนแรงในบางตอน ถ้าคุณไม่ชังบิดามารดา (รักบิดามารดาน้อยกว่ารักพระเจ้า ข ผู้แปล) ฯลฯ คุณก็จะเป็นสาวกของพระองค์ไม่ได้ เป็นการทรงเรียกที่เข้มข้น ให้เราสละตนเองอย่างสิ้นเชิง และมาวางใจหมดสิ้นในพระบิดา ติดตามพระองค์ไป เราถูกเรียกร้องให้ปฏิเสธตนเอง แปลว่าตนเองไม่มีสิทธิอะไร เราถูกเรียกให้มารับกางเขนของเรา แปลว่าเราต้องเดินไปบนเส้นทางเดียวกับที่พระเยซูเคยไป ยอมวางชีวิตของเราลงเพื่อพระองค์และข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณ และเราถูกเรียกให้ตามพระองค์ไป ให้เลียนแบบพระเยซูคริสต์ในทุกสิ่งที่พระองค์ทำ ทำตามตัวอย่างและคำสอนของพระองค์9 พระเยซูต้องการทั้งใจของเรา ปรารถนาให้เรามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระบิดาเหมือนกับพระองค์ เราไม่อาจรับใช้พระเจ้าและความร่ำรวยของโลกนี้ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะเราจะเกลียดชังฝ่ายหนึ่ง รักและติดตามอีกฝ่ายไป ไม่ว่าคุณจะรับใช้ฝ่ายไหน ฝ่ายนั้นก็คือเจ้านายของคุณ ถ้าเป็นความร่ำรวย ความร่ำรวยนั้นก็เป็นนายของคุณ และมีอำนาจควบคุมอยู่เหนือคุณ ถ้าเป็นพระบิดา พระองค์ก็ทรงเป็นจอมเจ้านายของคุณ พระองค์จะทรงควบคุมอยู่เหนือคุณ ตกลงคุณกำลังปรนนิบัติผู้ใด?

บทสรุปและการนำไปใช้

(1) ในบทสรุปนี้ ผมต้องการให้คุณตระหนักว่า พระเจ้าไม่ได้กล่าวโทษเราที่เป็นคนมั่งคั่งร่ำรวย คำถามคือ “คุณกำลังปรนนิบัติสิ่งเหล่านั้นและทำบาปแห่งการกราบไหว้รูปเคารพโดยให้สิ่ง เหล่านั้นเป็นพระของคุณหรือ? เงินทองไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่การรักเงินทองต่างหากที่เป็นรากเหง้าของความชั่ว “ด้วยว่าการรักเงินทองนั้นเป็นมูลรากแห่งความชั่วทั้งมวล และเพราะความโลภนี่แหละ จึงทำให้บางคนห่างไกลจากความเชื่อ และตรอมตรมด้วยความทุกข์” (1ทิโมธี 6:10)

17 สำหรับคนเหล่านั้นที่มั่งมีฝ่ายโลก จงกำชับเขาอย่าให้มีมานะทิฐิ หรือให้เขามุ่งหวังในทรัพย์ที่ไม่เที่ยง แต่จงหวังในพระเจ้าผู้ทรงประทานทุกสิ่ง เพื่อความสะดวกสบายของเรา 18 จงกำชับให้เขากระทำดี ให้กระทำดีมากๆ ให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่เห็นแก่ตัว 19 อย่างนี้จึงจะเป็นการวางรากฐานอันดีไว้สำหรับตนเองในภายหน้า เพื่อว่าเขาจะได้รับเอาชีวิต ซึ่งเป็นชีวิตอันแท้จริง (1ทิโมธี 6:17-19)

ทำให้นึกถึงเรื่องของเดมาส “จงพยายามมาพบข้าพเจ้าโดยเร็ว เพราะว่าเดมาส ได้หลงรักโลกปัจจุบันนี้เสียแล้ว และได้ทิ้งข้าพเจ้าไปยังเมืองเธสะโลนิกา เครสเซนส์ได้ไปยังแคว้นกาลาเทีย ทิตัสได้ไปยังเมืองดาลมาเทีย” (1ทิโมธี 4:9-10)

(2) การล่อลวงให้ส่ำสมทรัพย์สมบัติเป็นการล่อลวงของแท้ที่เราทุกคนต้องเผชิญตั้งแต่เล็กจนโต ไม่ นานมานี้ผมได้ไปที่ชิคาโก ตลอดเวลาสุดสัปดาห์ที่นั่น ผมก็คิด “ถ้ามีเงินสักหน่อย ผมจะทำนี่ได้” หรือ “ผมคงซื้อบ้านริมทะเลสาบที่มิชิแกนได้” หรือ “ซื้อรถสุดเท่คันนั้นได้” เราไปที่ถนนรัช มองไปที่โชว์รูมรถเบนท์ลี่ย์ที่ตกแต่งไว้ครบครัน รวมถึงรถยี่ห้ออื่นๆ รถสปอร์ตสีสันโฉบเฉี่ยว ทั้งเหลืองทั้งแดง เฟอร์รารี่ แอสตันมาร์ติน ไปจนถึงพอร์ช 911 ผมก็คิดว่ามันคงจะสุดยอดถ้าได้ขับรถคันใดคันหนึ่งกลับบ้าน คนที่เห็นจะมองผมยังไง? การทดลองนี้จริงยิ่งกว่าจริง และไม่ใช่แค่เรื่องรถยนต์หรือบ้าน มันรวมไปถึงเสื้อผ้า เครื่องเล่นเกมส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ คอมพิวเตอร์ เครื่องเพชร ครอบครัว ชื่อเสียง อำนาจบารมี และความหลอกลวงอื่นๆ การทดลองนี้จริง เราจำเป็นต้องสวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้าเพื่อต่อสู้เอาชนะ ศัตรูของเราไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าดึงดูดให้เราไปหลงไหลได้ปลื้มกับความ เพลิดเพลินชั่วคราวและของๆโลกเหล่านั้นที่กันเราออกจากความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับพระบิดา

(3) ทรัพย์สมบัติคุณอยู่ที่ไหน? ในแต่ละสัปดาห์ผมจะถามลูกศิษย์ ผมไม่ทราบว่าใจของคุณอยู่ไหน หรือใจของคุณติดตามใคร หรืออยากไปปรนนิบัติสิ่งใด มีแค่สองตัวเลือกเท่านั้น – ตนเอง หรือพระเจ้า – ผมรู้ว่าถ้าคุณเลือกตนเองโดยเร่งส่ำสมความมั่งคั่ง ชื่อเสียง หรือไม่ว่าคุณจะได้เป็นใคร มันจะมาและจะจากไป เพราะมันชั่วคราว แต่ถ้าคุณเลือกรับใช้พระเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจ สุดความคิด และสุดกำลัง คุณจะไม่มีวันผิดหวัง มีมรดกคอยอยู่เมื่อคุณได้ไปอยู่กับพระเจ้า ผมขอให้ทุกคนสำนึกผิดกลับใจจากสิ่งของชั่วคราว เปลี่ยนความคิดจิตใจและอุปนิสัย เรียกร้องให้มีการกลับใจในทุกๆวัน เพราะเป็นสงครามต่อเนื่องที่เราต้องเผชิญในแต่ละวัน เราเองเห็นถึงฤทธิอำนาจของข่าวประเสริฐ และกลับใจ และเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกๆวัน เราต้องเห็นถึงพระคุณของข่าวประเสริฐในชีวิตทุกๆวัน และมันส่งผลต่อชีวิตแต่ละวันของเรา เราต้องดำเนินชีวิตโดยพระคุณ โดยทางความเชื่อ และสิ่งที่กำลังจะมา

ขอจบท้ายด้วยเรื่องที่เลือกมา เป็นเรื่องมิชชันนารีสตรีที่มีแรงบันดาลใจกับผมอย่างมหาศาล ดาร์ลีน เด็บเบลอร์ โรส ผู้สูญเสียทุกสิ่ง แต่กลับได้คืนมากกว่า

“คุณนายยุสตรามาหาที่ค่ายกักกัน มาขอพบเพื่อพูดคุยกับดิฉัน (ดาร์ลีน เด็บเบลอร์ โรส) สักครู่ … “ดิฉันมาเพื่อแจ้งว่าสามีของคุณที่อยู่ในพารีพารี ป่วยหนัก …” มองหน้าเธอ นัยตาเธอเต็มด้วยน้ำตา ฉันจับไหล่เธอ ร้องถาม “โอ คุณนายยุสตรา คุณกำลังบอกว่าเขาจากไปแล้วหรือ?” เธอตอบว่า “ค่ะ ประมานสามเดือนที่แล้ว เขาตายที่ค่ายทหารในพารีพารี” ฉันตกตะลึง – รัสเซลตายแล้ว ตายไปเมื่อสามเดือนที่แล้ว เป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ฉันรู้สึกว่าพระเจ้าทอดทิ้งฉันไป พระองค์ทรงลืมฉันไปแล้ว โลกทั้งใบของฉันถล่มลงมาต่อหน้าต่อตา ฉันเดินออกมาจากคุณนายยุสตรา ในความทุกข์อย่างแสนสาหัส ฉันเงยหน้าขึ้น พระเจ้าของฉันทรงอยู่ที่นั่น ฉันร้องทูล ‘พระเจ้า โอ้พระเจ้า’ ในทันทีพระองค์ทรงตอบ “ลูกเอ๋ย เราไม่ได้บอกเจ้าหรือ ว่าเมื่อเจ้าเดินผ่านน้ำ เราจะอยู่ด้วยกับเจ้า และในน้ำที่ท่วมนั้น มันจะไม่ท่วมเจ้า?’”10

นี่คือสตรีที่สูญเสียทุกสิ่ง รวมถึงสามีของเธอ เธออยู่ในค่ายกักกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เธอได้พบว่าพระเจ้าทรงสัตย์ซื่อตลอดเวลาเหล่านั้น พบว่าการมอบชีวิตให้พระเยซูคริสต์มีคุณค่ามากมาย มากกว่าสิ่งอื่นใดที่เธอมีบนโลกนี้ และในช่วงเวลาที่ยากลำบากและทุกข์ใจขณะอยู่บนโลกใบนี้ พระเจ้าทรงใช้สตรีท่านนี้ให้เกิดผลมากมายกับรรดานักโทษด้วยกันที่ในค่าย กักกัน รวมถึงผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูที่ควบคุมเธออยู่ และอย่างที่จิม เอเลียตเขียน “เขาไม่ใช่คนเขลาที่ยอมสละในสิ่งที่รักษาเอาไว้ไม่ได้ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่จะไม่มีวันสูญเสียไป”

ทรัพย์สมบัติคุณอยู่ที่ไหน? วิสัยทัศน์คุณเป็นอย่างไร? และคุณกำลังปรนนิบัติผู้ใด? ผมอธิษฐานขอให้คุณปรนนิบัติพระบิดาของเราองค์เดียวเท่านั้นนะครับ

(แปล อรอวล ระงับภัย คริสตจักรแห่งความสุข)


1 192  ลิขสิทธิ 2003 โดย Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081. ดัดแปลงจากต้นฉบับของบทเรียนที่ 29 ในบทเรียนต่อเนื่องของพระกิตติคุณมัทธิว จัดเตรียมโดย เลนนี่ คอร์เรล 7 กันยายน 2003Copyright 2003

2 193 นอกเหนือจากที่บ่งไว้ พระวจนะที่นำมาใช้ในภาษาอังกฤษมาจากฉบับ Holy Bible, New King James Version. Copyright 1990 โดย Thomas Nelson, Inc. (New York, New York: American Bible Society).

3 194 ดี มาร์ติน ลอยด์-โจนส์ จากหนังสือ Studies in the Sermon on the Mount (Grand Rapids, Michigan: Eerdmans Publishers, 1971), vol. 2, หน้า 78.

4 195 จากหนังสือของ Tedd Tripp, Shepherding a Child’s Heart (Wapwallopen, Pennsylvania: Shepherd Press, 1995), หน้า 3.

5 196  จากหนังสือของ William Barclay, The Gospel of Matthew (Philadelphia, Pennsylvania: The Westminster Press, 1958), vol. 4, หน้า 43.

6 197จากหนังสือของ James Montgomery Boice, The Sermon on the Mount, Matthew 5-7 (Grand Rapids, Michigan: Baker Books, 1972), หน้า 216-17.

7 198 จาก Lloyd-Jones, หน้า 95-96.

8 199Boice, หน้า. 218.

9 200 จาก William MacDonald, True Discipleship (Kansas City, Kansas: Walterick Publishers, 1975), หน้า 6-7.

10 201 จากเรื่องราวของ Darlene Deibler Rose, Evidence Not Seen (New York, New York: Harper and Row, 1990) หน้า 109

Related Topics: Rewards

20. มัทธิว บทเรียนที่ 20 “คนโรคเรื้อน คนต่างชาติ และหญิงชรา” (มัทธิว 8:1-17)

Related Media

คำนำ1

1 เมื่อพระองค์เสด็จลงมาจากภูเขาแล้วคนเป็นอันมากได้ติดตามพระองค์ไป 2 ขณะนั้นมีคนโรคเรื้อนมากราบไหว้พระองค์แล้วทูลว่า “พระองค์เจ้าข้าเพียงแต่พระองค์จะโปรดก็จะทรงบันดาลให้ข้าพระองค์หายโรค ได้”3 พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์ถูกต้องเขาแล้วตรัสว่า “เราพอใจแล้วจงหายเถิด” ในทันใดนั้นโรคเรื้อนของเขาก็หาย 4 ฝ่ายพระเยซูตรัสสั่งเขาว่า “อย่าบอกเล่าให้ผู้ใดฟังเลยแต่จงไปสำแดงตัวแก่ปุโรหิตและถวายเครื่องบูชาตาม ซึ่งโมเสสได้สั่งไว้เพื่อเป็นหลักฐานต่อคนทั้งหลายว่าเจ้าหายโรคแล้ว”2

5 เมื่อพระเยซูเสด็จเข้าไปในเมืองคาเปอรนาอุมมีนายร้อยคนหนึ่งมาอ้อน วอนพระองค์ 6 ว่า “พระองค์เจ้าข้าบ่าวของข้าพระองค์เป็นง่อยอยู่ที่บ้านทนทุกข์เวทนามาก” 7 พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า “เราจะไปรักษาเขาให้หาย”8 นายร้อยผู้นั้นทูลพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้าข้าพระองค์เป็นคนไม่สมควรที่จะรับเสด็จพระองค์เข้าใต้ชายคา ของข้าพระองค์ขอพระองค์ตรัสเท่านั้นบ่าวของข้าพระองค์ก็จะหายโรค 9 ข้าพระองค์รู้ดีเพราะเหตุว่าข้าพระองค์อยู่ใต้วินัยทหารแต่ก็ยังมีทหารอยู่ ใต้บังคับบัญชาของข้าพระองค์ข้าพระองค์จะบอกแก่คนนี้ว่า ‘ไป’ เขาก็ไปบอกแก่คนนั้นว่า ‘มา’ เขาก็มาบอกทาสของข้าพระองค์ว่า ‘จงทำสิ่งนี้’ เขาก็ทำ”10 ครั้นพระเยซูทรงได้ยินดังนั้นก็ประหลาดพระทัยนักตรัสกับบรรดาคนที่ตามพระ องค์ว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่าเราไม่เคยพบศรัทธาที่ไหนมากเท่านี้แม้ใน อิสราเอล 11 เราบอกท่านทั้งหลายว่าคนเป็นอันมากจะมาจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะมาร่วม สำรับกับอับราฮัมและอิสอัคและยาโคบในแผ่นดินสวรรค์12 แต่ชาวแผ่นดินนั้นจะต้องถูกขับไล่ไสส่งออกไปในที่มืดที่นั่นจะมีเสียง ร้องไห้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” 13 แล้วพระเยซูจึงตรัสกับนายร้อยว่า”จงกลับบ้านเถิดท่านมีศรัทธาแล้วจงได้ผลตาม ศรัทธานั้น” ในทันใดนั้นเองบ่าวของเขาก็หายเป็นปกติ3

14 ครั้นพระเยซูเสด็จเข้าไปในเรือนของเปโตรก็ทรงเห็นแม่ยายของเปโตรนอนป่วยจับ ไข้อยู่ 15 พอพระองค์ทรงจับมือนางความไข้ก็หายนางจึงลุกขึ้นปรนนิบัติพระองค์ 16 พอค่ำลงเขาพาคนผีเข้าสิงเป็นอันมากมาหาพระองค์พระองค์ก็ทรงขับผีออกด้วยพระ ดำรัสและบรรดาคนเจ็บป่วยทั้งหลายนั้นพระองค์ก็ได้ทรงรักษาให้หาย17 ทั้งนี้เพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะโดยอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะที่ว่าท่านได้แบก ความเจ็บไข้ของเราทั้งหลายและหอบโรคของเราไป”4 (มัทธิว 8:1-17)5

ถ้อยคำแรกของมัทธิวบทที่ 8 เชื่อมต่อด้วยการทำอัศจรรย์หลังจากที่พระเยซูเสร็จจากการเทศนาบนภูเขา :

เมื่อพระองค์เสด็จลงมาจากภูเขาแล้วคนเป็นอันมากได้ติดตามพระองค์ไป (มัทธิว 8:1)

มัทธิวคงต้องการให้ผู้อ่านเห็นการเชื่อมโยงระหว่างคำเทศนาบนภูเขาในบทที่ 5-7 และการอัศจรรย์ที่ตามมาในบทที่ 8 ให้เริ่มต้นด้วยการทบทวนว่าเราเรียนอะไรมาบ้างจนถึงบทนี้

ในบทที่ 1 และ 2 มัทธิวบันทึกเรื่องต้นกำเนิดของพระเยซู เรื่องราวการถือกำเนิดมาของพระเยซูถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้อ่านตระหนักได้ ว่าพระเยซูคือพระเมสซิยาห์ตามพระสัญญา สืบเชื้อสายมาทางอับราฮัม (1:1) และทางดาวิด (1:5-6) ดังนั้นพระองค์ทรงถือกำเนิดมาในเชื้อสายของพระเมสซิยาห์ สี่ครั้งในสองบทนี้ มัทธิวกล่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็นไปตามคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิม6เรา จึงได้เห็นว่าในพงษ์พันธ์ของพระเยซู มีคนต่างชาติเกี่ยวข้องด้วย (1:3, 5) และพวกโหราจารย์ (2:1-12) ที่เดินทางมาเพื่อนมัสการ “กษัตริย์ของชาวยิว” และยังได้เห็นความวุ่นวายใจในท่ามกลางชาวยิวในเยรูซาเล็ม (2:3) และการอาฆาตมาดร้ายอย่างรุนแรงของเฮโรด

ในบทที่ 3 เป็นเรื่องของยอห์นผู้ให้บัพติศมา การมาของยอห์นทำให้คำพยากรณ์ในอิสยาห์ 40:3 (มัทธิว 3:3) เกิดขึ้นเป็นจริง ยอห์นประกาศว่าแผ่นดินของพระเจ้ามาใกล้แล้ว และเรียกร้องให้ผู้คนสำนึกผิดกลับใจจากบาป รอรับการเสด็จมาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ในขณะเดียวกัน ท่านกล่าวตำหนิพวกฟาริสีและสะดูสีที่มาเฝ้าดูด้วยความหน้าซื่อใจคด พวกเขาถูกท้าทายให้ “พิสูจน์การกลับใจของเจ้าด้วยผลที่เกิดขึ้น” (3:8) พระเมสซิยาห์กำลังเสด็จมาใกล้แล้ว ขณะที่ยอห์นให้บัพติศมาด้วยน้ำ พระเมสซิยาห์จะให้ “บัพติศมา” ด้วยไฟ (3:11-12) พระเยซูเสด็จไปหายอห์นเพื่อรับบัพติศมา หลังจากที่ยอห์นรีรอไม่แน่ใจ ท่านก็ยอมให้บัพติศมาพระเยซู ในทันใดนั้น พระบิดา พระวิญญาณของพระเจ้าลงมาสถิต ยืนยันว่าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรที่รักยิ่งของพระเจ้า เป็นพระเมสซิยาห์ (3:13-17)

ในบทที่ 4 พระเยซูทรงมีชัยชนะเหนือการผจญของมารในถิ่นทุรกันดาร (4:1-11) หลังจากที่ยอห์นถูกจับ พระเยซูเสด็จออกจานาซาเร็ธ ย้ายไปคาร์เปอรนาอุม ซึ่งเป็นไปตามคำพยากรณ์ของอิสยาห์ 9:1 (4:15-16) และที่นี่พระเยซูทรงเรียกสาวกอย่างน้อยสี่คน – เปโตร อันดรูว์ ยากอบ และยอห์น (4:18-20) และพระองค์ทรงเริ่มเทศนาสั่งสอน และรักษาโรค ทำให้ดึงดูดฝูงชนมากมาย:

23 พระเยซูได้เสด็จไปทั่วแคว้นกาลิลีทรงสั่งสอนในธรรมศาลาของเขาทรงประกาศข่าว ประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้าและทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บของชาวเมืองให้หาย 24 กิตติศัพท์ของพระองค์ก็เลื่องลือไปทั่วประเทศซีเรียเขาจึงพาคนป่วยเป็นโรค ต่างๆคนที่ทนทุกข์เวทนาคนผีเข้าคนเป็นลมบ้าหมูและคนเป็นอัมพาตมาหาพระองค์ พระองค์ก็ทรงรักษาเขาให้หาย 25 และมีคนหมู่ใหญ่มาจากแคว้นกาลิลีและแคว้นทศบุรีและกรุงเยรูซาเล็มและแคว้นยู เดียและแม่น้ำจอร์แดนฟากตะวันออกติดตามพระองค์ไป (มัทธิว 4:23-25)

และนำสู่การเทศนาบนภูเขา (มัทธิว 5-7) สาระสำคัญในคำสอนของพระเยซู (ข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณ) จึงเริ่มต้น หัวใจสำคัญคือพระองค์ทรงแสดงให้เห็นชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งที่ พระองค์ประกาศ และการเชื่อมโยงเข้ากับธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์เดิม ในด้านหนึ่ง พระเยซูทรงแก้ไขการตีความธรรมบัญญัติอย่างผิดๆ และนำมาใช้ในยุคนั้น – ผู้นำศาสนาชาวยิวยังสนับสนุนให้นำข้อผิดพลาดนั้นมาใช้ด้วย พวกเขาเน้นแต่การเชื่อฟังภายนอก พระเยซูทรงเน้นเข้าไปในจิตใจ พวกเขาสอนว่าฆ่าคนเป็นสิ่งผิด พระเยซูทรงสอนว่าแค่คิดว่าเพื่อนบ้านของคุณไร้ค่า หรือไม่ยอมคืนดีในความสัมพันธ์ที่แตกหัก ก็ผิด (5:21-26) พวกเขาสอนว่าการล่วงประเวณีเป็นบาป พระเยซูสอนว่าแค่มองให้เกิดใจกำหนัดก็บาปแล้ว (5:27-30)

ศาสนายูดายได้เปลี่ยนบทบัญญัติในพระคัมภีร์เดิมไปเป็นระบอบการพากเพียรทำ พระเยซูสอนว่าไม่มีใครรับความรอดได้โดยดำเนินชีวิตให้ได้ตามธรรมบัญญัติ แม้แต่ผู้สอนธรรมบัญญัติและฟาริสี ที่ดูเหมือนเคร่งครัดศรัทธาที่สุดแล้วในศาสนายิว:

“เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าความชอบ ธรรมของท่านไม่ยิ่งกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีท่านจะไม่มี วันได้เข้าสู่แผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5:20)

ถ้อยคำที่น่าตระหนกนี้สื่อไปยังคนฟังที่นั่งรายล้อม และหลายคนที่นึกเอาว่าตนเองยังไงก็ได้ไปสวรรค์ (ทำให้สงสัยว่า) จะได้ไปจริงหรือ? และที่น่าตระหนกกว่า พระเยซูทรงระบุด้วยว่าใครได้ไป ไม่ได้ไป – ผู้ที่รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ, ผู้ที่โศกเศร้า, ผู้ที่มีใจอ่อนโยน, ผู้ที่มีใจกรุณา และผู้ที่ถูกข่มเหง (5:1-16) ศาสนาเที่ยงแท้ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำดี แต่เป็นเรื่องของความเชื่อ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เห็นจากภายนอก แต่เป็นเรื่องของจิตใจภายใน ศาสนาเที่ยงแท้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผู้นำศาสนาอยากจะให้เหมือนให้ทาน หรืออยากจะกักเก็บเอาไว้เองก็ได้ แต่ทุกสิ่งคือองค์พระเยซูคริสต์ ดังนั้นพระองค์จึงทรงเตือนผู้คนถึง “ทางกว้าง” ที่นำไปสู่ความพินาศ (7:13-14) และผู้เผยพระวจนะหรือคนสอนศาสนาเทียมเท็จ (7:15-23)

ในบทสรุปคำเทศนาของพระเยซู พระองค์ทรงเน้นและย้ำว่าความเชื่อแท้ไม่ใช่เป็นแค่ถ้อยคำสวยหรู แต่เป็นการกระทำที่แสดงออกถึงความเชื่อนั้น (7:24-27) ไม่ใช่แค่คนที่ได้ยินว่าได้รับความรอด แต่เป็นคนที่จริงจังกับข่าวประเสริฐ การกระทำเป็นตัวบ่งถึงสิ่งที่พูด คำพูดพิสูจน์ได้ด้วยการลงมือทำ7 คำลงท้ายของบทที่ 7 ทำให้ฝูงชนที่ฟังอยู่สัมผัสได้ถึงสิทธิอำนาจของพระเยซู ซึ่งต่างจากผู้นำศาสนาของพวกเขา:

28 ครั้นพระเยซูตรัสคำเหล่านี้เสร็จแล้วประชาชนทั้งปวงก็อัศจรรย์ใจด้วยคำสั่ง สอนของพระองค์ 29 เพราะว่าพระองค์ได้ทรงสั่งสอนเขาด้วยสิทธิอำนาจหาเหมือนพวกธรรมาจารย์ของเขา ไม่ (มัทธิว 7:28-29)

ผมเชื่อว่าข้อพระคำที่ต่อจากนั้นในมัทธิวบทที่ 8 เป็นสิ่งที่สนับสนุนสิทธิอำนาจของพระเยซู พระคำของพระองค์รับรองด้วยสิ่งที่พระองค์กระทำ พระเยซูตรัสสอนด้วยสิทธิอำนาจในคำเทศนาบนภูเขา และจากนั้นทรงกระทำอัศจรรย์รักษาโรค และช่วยผู้คน บ่อยครั้งเพียงคำตรัส ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเมสซิยาห์ตามที่ทรงเทศนาบนภูเขา พระองค์ก็ทรงรับรองสิ่งที่ทรงประกาศด้วยการกระทำในบทที่ 8

ทรงรักษาคนโรคเรื้อน8

1 เมื่อพระองค์เสด็จลงมาจากภูเขาแล้วคนเป็นอันมากได้ติดตามพระองค์ไป 2 ขณะนั้นมีคนโรคเรื้อนมากราบไหว้พระองค์แล้วทูลว่า”พระองค์เจ้าข้าเพียงแต่ พระองค์จะโปรดก็จะทรงบันดาลให้ข้าพระองค์หายโรคได้” 3 พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์ถูกต้องเขาแล้วตรัสว่า “เราพอใจแล้วจงหายเถิด” ในทันใดนั้นโรคเรื้อนของเขาก็หาย 4 ฝ่ายพระเยซูตรัสสั่งเขาว่า “อย่าบอกเล่าให้ผู้ใดฟังเลยแต่จงไปสำแดงตัวแก่ปุโรหิตและถวายเครื่องบูชาตาม ซึ่งโมเสสได้สั่งไว้เพื่อเป็นหลักฐานต่อคนทั้งหลายว่าเจ้าหายโรคแล้ว” (มัทธิว 8:1-4)

ข้อ 1 บอกกับผู้อ่านว่ามีอะไรเกิดขึ้นหลังจากคำเทศนาบนภูเขาจบลง พระเยซูเสด็จลงมาจากภูเขา และเพราะคำสอนของพระองค์ คนเป็นอันมากจึงติดตามมา พวกเขาคงได้เห็นเป็นพยานถึงอัศจรรย์ที่ทรงทำหลังเสร็จจากการเทศนา และเสด็จลงมาจากภูเขา

การอัศจรรย์รักษาโรคครั้งแรกที่มัทธิวบันทึก เป็นเรื่องของชายที่ป่วยน่าสงสารและหมดหนทางรักษา มัทธิวบอกว่าชายคนนั้นเป็นโรคเรื้อน (ข้อ 2) ลูกาบันทึกว่าเขาเป็นโรคเรื้อน “เต็มทั้งตัว”9 นักวิชาการพระคัมภีร์บอกเราว่า “โรคเรื้อน” ในสมัยนั้น ต่างจาก “โรคเรื้อน” ในสมัยของเรา ในความเห็นของผม มันแย่ยิ่งกว่า ขอเล่ารายละเอียดถึงความสยดสยองในอาการของโรค10 โรค เรื้อนถูกมองว่าเป็นคำสาป มีเรียมเป็นโรคเรื้อนเพราะถูกลงโทษที่กบฎและต่อต้านโมเสส (กันดารวิถี 12:9-15) เช่นเดียวกับเกหะซี คนรับใช้ของเอลีชา เป็นโรคเรื้อนเพราะความโลภ (2พงศ์กษัตริย์ 5:20-27) คำสาปแช่งที่ดาวิดลงโทษพงษ์พันธ์ของโยอาบรวมเรื่องโรคเรื้อนไว้ด้วย (2ซามูเอล 3:29) กษัตริย์อุสซีอาห์ เป็นโรคเรื้อนเพราะไปเผาเครื่องหอมบูชาที่ในพระวิหาร (2พงศาวดาร 26:16-21) โรคเรื้อนจึงเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดของที่สุด ไม่มีทางรักษา มีแต่นอนรอความตาย ถ้าเทียบกับสมัยนี้ อาจเป็นมะเร็งขั้นรุนแรง เพียงแต่อาการของโรคเรื้อนนั้นมองเห็นได้ และมันน่าเกลียดน่ากลัว

โรคเรื้อนจึงบ่งเป็นนัยครอบคลุมถึงคนใกล้ตายที่ยังหายใจ ก่อนประกาศว่าผู้ใดเป็นโรคเรื้อน ต้องผ่านการทดสอบเสียก่อน (เลวีนิติ 13) ทันทีที่ปุโรหิตประกาศ คนที่เป็นโรคเรื้อนจะถูกตัดขาดจากสังคม ห้ามข้องเกี่ยวและติดต่อกับผู้ใด พวกเขาต้องประกาศตนด้วยการคร่ำครวญ เหมือนกับศพ (ที่ถ้าใครไปแตะถูกก็จะเป็นมลทิน) คนโรคเรื้อนต้องฉีกเสื้อผ้าของตน ไม่คลุมศีรษะ เอามือปิดปากบน และถ้ามีใครเข้าไปใกล้ พวกเขาต้องรีบตะโกนว่า “มลทิน มลทิน” ต้องไปอาศัยอยู่ที่นอกค่าย (เลวีนิติ 13:45-46) โดยทั่วไป คนโรคเรื้อนไม่อาจเข้าไปในพระวิหาร หรือแม้แต่เข้าไปในเขตเมืองเยรูซาเล็ม คนโรคเรื้อนจึงเป็นเหมือนคนตายที่ยังมีลมหายใจ ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่านี้

ผมอดยิ้มไม่ได้เมื่ออ่านเรื่องที่มัทธิวบันทึกเรื่องรักษาคนเป็นโรค เรื้อน ดูเหมือนขณะที่พระเยซูประทับอยู่ในเขตเมืองหนึ่งในกาลิลี ชายโรคเรื้อนคนนี้กล้ามาก ฝ่าฝูงชนเพื่อจะเข้าไปหาพระองค์ เขาต้องการรับการรักษา นี่ไม่ใช่ธรรมดา เขาควรต้องอยู่ห่างออกไป ผมแทบมองเห็นภาพฝูงชนแตกฮือ เมื่อคนโรคเรื้อนนี้เข้าไปหาพระเยซู ใครจะไปกล้าจับตัวให้หยุด? ผู้คนคงถอยกรูด เฝ้าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

คนโรคเรื้อนนั้นก้มลงกราบไหว้พระเยซู ร้องทูลว่า “พระองค์เจ้าข้า เพียงแต่พระองค์จะโปรดก็จะทรงบันดาลให้ข้าพระองค์หายโรคได้” (8:2) เขาพูดถูกครับ ถูกที่เรียกว่าพระเยซูคือ “องค์พระผู้เป็นเจ้า” และถูกที่พระองค์สามารถรักษาให้เขากลับมาสะอาดได้ เขาพูดถูกที่ว่าพระองค์จะทรงโปรดหรือไม่ก็สุดแท้แต่พระองค์ อย่างที่หลายคนสังเกตุ ชายโรคเรื้อนคนนี้มองเห็นถึงสิทธิอำนาจในพระเยซู พระองค์ไม่จำเป็นต้องอธิษฐานเผื่อเขา พระองค์ทรงรักษาเขาได้

เราแทบไม่แปลกใจที่พระองค์ทรงตอบว่า “เราพอใจแล้วจงหายเถิด” (ข้อ 2) คุณคงแทบได้ยินเสียงกลั้นหายใจและถอนหายใจของคนที่เฝ้าดูอยู่เมื่อพระเยซู ยื่นพระหัตถ์ออกไปแตะตัวเขา มัทธิวบันทึกไว้ชัดเจน พระเยซูทรงตั้งใจยื่นพระหัตถ์ออกไปแตะตัวชายคนนี้ คนที่ไม่เคยถูกสัมผัสจากมนุษย์มานานแสนนาน ประหลาดใจหรือไม่ ทั้งๆที่พระองค์ทรงรักษาเขาด้วยคำตรัสเท่านั้นก็พอ แต่ทรงเลือกที่จะใช้ทั้งคำตรัสและการสัมผัสตัว!

พระเยซูทรงสั่งห้ามชายที่หายจากโรคเรื้อน ไม่ให้เล่าให้ใครฟังเรื่องการรักษา แต่ให้ไปหาปุโรหิต ในหนังสือเลวีนิติในพระคัมภีร์เดิมมีบท (14) มีข้อกำหนดและขั้นตอนต่างๆก่อนที่ปุโรหิตจะประกาศว่าคนโรคเรื้อนนี้หายสะอาด แล้ว ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา “บัญญัตินี้” เหมือนนอนหลับไหล ไม่เคยถูกแตะต้อง ไม่เคยนำมาใช้ แต่วันนี้ปุโรหิตประจำการมีโอกาสได้นำมาใช้ มีโอกาสได้เห็นคนโรคเรื้อนรับการรักษาให้หาย และผู้ที่รักษามีนามว่าพระเยซู ชายที่เคยเป็นโรคเรื้อนต้องไปหาปุโรหิต เพื่อให้ตรวจสอบและยืนยันว่าเขาหายจากโรคและสะอาดดี เท่ากับปุโรหิตต้องเป็นผู้รับรองการอัศจรรย์นี้ และคิดหนักมากว่าหมายถึงอะไร

รักษาบ่าวของนายร้อย (มัทธิว 8:5-13)

5 เมื่อพระเยซูเสด็จเข้าไปในเมืองคาเปอรนาอุมมีนายร้อยคนหนึ่งมาอ้อน วอนพระองค์ 6 ว่า “พระองค์เจ้าข้าบ่าวของข้าพระองค์เป็นง่อยอยู่ที่บ้านทนทุกข์เวทนามาก” 7 พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า “เราจะไปรักษาเขาให้หาย” 8 นายร้อยผู้นั้นทูลพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้าข้าพระองค์เป็นคนไม่สมควรที่จะรับเสด็จพระองค์เข้าใต้ชายคา ของข้าพระองค์ขอพระองค์ตรัสเท่านั้นบ่าวของข้าพระองค์ก็จะหายโรค 9 ข้าพระองค์รู้ดีเพราะเหตุว่าข้าพระองค์อยู่ใต้วินัยทหารแต่ก็ยังมีทหารอยู่ ใต้บังคับบัญชาของข้าพระองค์ข้าพระองค์จะบอกแก่คนนี้ว่า ‘ไป’ เขาก็ไปบอกแก่คนนั้นว่า ‘มา’ เขาก็มาบอกทาสของข้าพระองค์ว่า ‘จงทำสิ่งนี้’ เขาก็ทำ”10 ครั้นพระเยซูทรงได้ยินดังนั้นก็ประหลาดพระทัยนักตรัสกับบรรดาคนที่ตามพระ องค์ว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่าเราไม่เคยพบศรัทธาที่ไหนมากเท่านี้แม้ใน อิสราเอล11 เราบอกท่านทั้งหลายว่าคนเป็นอันมากจะมาจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะมาร่วม สำรับกับอับราฮัมและอิสอัคและยาโคบในแผ่นดินสวรรค์12 แต่ชาวแผ่นดินนั้นจะต้องถูกขับไล่ไสส่งออกไปในที่มืดที่นั่นจะมีเสียง ร้องไห้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน”13 แล้วพระเยซูจึงตรัสกับนายร้อยว่า “จงกลับบ้านเถิดท่านมีศรัทธาแล้วจงได้ผลตามศรัทธานั้น” ในทันใดนั้นเองบ่าวของเขาก็หายเป็นปกติ (มัทธิว 8:5-13)11

การรักษานี้ให้รายละเอียดไว้ค่อนข้างมาก มากกว่ารักษาชายโรคเรื้อน (เก้าข้อ เทียบกับสาม) จึงต้องมีความสำคัญ ให้ดูว่าคนที่สำคัญ (นอกจากพระเยซู) คือนายร้อย เขาเป็นทหาร มีผู้ใต้บังคับบัญชา 100 คน มาอยู่ในอิสราเอลเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในพระคัมภีร์ใหม่พูดถึงพวกนายร้อยไว้ค่อนข้างดี12 ที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ นายร้อยคนนี้เป็นคนต่างชาติ13 ผมคิดว่ามีเหตุผลพอพูดได้ว่าบ่าวของนายร้อยคนนี้ (เด็กหนุ่ม) เป็นยิว เพราะใครจะทำหน้าที่เป็นบ่าวรับใช้ให้กับคนต่างชาติในอิสราเอลได้? และผมไม่ประหลาดใจ ถ้าบ่าวคนนี้เป็นผู้ทำให้นายร้อยมานับถือศาสนายูดาย นอกจากนี้ คงมีการเอ่ยถึงพระเยซูบ่อยจนนายร้อยต้องไปตามหา หน้าที่ของนายร้อยคือรักษาความสงบให้กับดินแดนที่เข้าไปยึดครอง ใครก็ตามที่ดูเหมือนก่อเรื่องวุ่นวายจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ลูกาบอกเราว่าทาสคนนี้ผู้เป็นนาย “รักมาก” (ลูกา 7:2) เห็นได้จากการที่เขาพยายามหาทางช่วยรักษาให้หาย เพื่อไม่ต้องทนทุกข์เวทนาอีกต่อไป (มัทธิว 8:6)

สังเกตุให้ดีจะเห็นว่านายร้อยคนนี้ไม่ได้ขอสิ่งใดให้ตนเอง เขารู้สึกสะเทือนใจเพราะอาการทุกข์ทรมานของบ่าว และคนต่างชาติคนนี้เชื่อว่าพระเยซูเสด็จมาเพื่ออวยพรประชากรของพระองค์ ชาวยิว เนื่องจากเขาไม่ได้ขอให้ตัวเอง แต่ขอให้พระเยซูรักษาบ่าว (ชาวยิว) ของเขา ดูเขามั่นใจว่าพระเยซูจะทำตามที่เขาร้องขอ แล้วเราก็เห็นว่าพระเยซูทรงเต็มพระทัยช่วย นายร้อยยังพูดไม่ทันจบ เมื่อพระเยซูตรัสว่า “เราจะไปรักษาเขาให้หาย”(8:7)

ทำให้นายร้อยตั้งตัวแทบไม่ทัน เขารู้ดีถึงข้อกฎหมายและบทบัญญัติที่กั้นขวางระหว่างชาวยิวและคนต่างชาติ เราคงจำเรื่องเปโตรไปที่บ้านของนายร้อยโครเนลิอัส (กิจการ 10) เพื่อเข้าใจความหนาของกำแพงที่กั้นขวาง นายร้อยคนนี้คงอยากให้พระเยซูไปรักษาบ่าวของเขา แต่จะให้พระองค์มัวหมองเพราะไปที่บ้านเขาได้อย่างไร? (เขาคงไม่รู้ว่าพระเยซูเพิ่งจะถูกตัวชายโรคเรื้อนมา) นี่ไม่ใช่เป็นเพราะเขาขาดความเชื่อ แต่เป็นเพราะเขาถ่อมตัว ยอมรับสถานะว่าเป็นเพียงคนต่างชาติ

ซึ่งแตกต่างจากคำร้องขอของข้าราชการคนหนึ่งในยอห์น 4:46-50 ในกรณีนั้น เขาอ้อนวอนให้พระเยซูไปที่บ้านเพื่อรักษาบุตรของเขาที่ป่วยใกล้ตาย แต่นายร้อยกลับขอไม่ให้พระองค์เสด็จไปที่บ้าน มีเหตุผลสองประการครับ ประการแรก เขาไม่สมควร14ที่จะให้พระเยซูเสด็จเข้าไปในบ้านของเขา (มัทธิว 8:8) ทำไมเขาจะทำให้พระองค์ต้องมัวหมองเพราะไปที่บ้านของเขา? ประการที่สอง ซึ่งดีกว่า – พระเยซูไม่จำเป็นต้องไปที่บ้านของเขา เพราะนายร้อยคนนี้ตระหนักดีถึงฤทธิอำนาจของพระองค์ ฤทธิอำนาจของพระเยซูนั้นยิ่งใหญ่ จนไม่จำเป็นต้องเสด็จไปที่บ้าน แค่พระองค์ตรัสสั่ง บ่าวของเขาก็จะได้รับการรักษาให้หาย

ตัวนายร้อยเองก็เป็นผู้มีอำนาจตามขอบเขต เมื่อเขาสั่งผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ทำบางสิ่ง พวกเขาก็จะทำ แต่อำนาจของพระเยซูยิ่งใหญ่กว่ามาก ทำไมพระองค์ต้องมัวหมองด้วยการไปที่บ้านของเขา ในเมื่อพระองค์ทำการรักษาจากที่ๆพระองค์ประทับอยู่ได้?

นายร้อยคนนี้ได้มากกว่าที่ทูลขอ และนี่เป็นผลมาจากความเชื่อ ไม่ใช่เป็นเพราะมีอำนาจจากสายงานในกองทัพ อย่าลืมว่าชายคนนี้ไม่ได้ขออะไรให้ตัวเอง แต่ให้กับบ่าว (ชาวยิว?) ของเขา แต่กลับได้รับพระพรดีที่สุดสองประการซึ่งเกินความคาดหวัง

ประการแรก นายร้อยคนนี้ได้รับคำยกย่องอย่างสูง สูงเกินกว่าผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือชาวต่างชาติ และถูกบันทึกไว้ในหนังสือพระกิตติคุณด้วย “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่าเราไม่เคยพบศรัทธาที่ไหนมากเท่านี้แม้ในอิสราเอล” (ข้อ 10) ความเชื่อของคนต่างชาติคนนี้แซงหน้าคนยิวในอิสราเอลไป และได้รับคำชมเชยจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ประการที่สอง ชายผู้นี้ได้รับพระสัญญาของพระเยซูให้เข้ามีส่วนร่วม และมีสามัคคีธรรมเกินกว่าที่เขาจะคาดคิด นายร้อยคนนี้คิดว่าตนเองนั้นไม่สมควร (ไม่มีคุณสมบัติพอ) ที่จะให้พระเยซูเสด็จเข้าไปในชายคาบ้าน แต่ดูสิ่งที่พระเยซูสัญญากับเขาเพราะความเชื่อที่เขามี:

11 “เราบอกท่านทั้งหลายว่าคนเป็นอันมากจะมาจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะมา ร่วมสำรับกับอับราฮัมและอิสอัคและยาโคบในแผ่นดินสวรรค์12 แต่ชาวแผ่นดินนั้นจะต้องถูกขับไล่ไสส่งออกไปในที่มืดที่นั่นจะมีเสียง ร้องไห้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน”(มัทธิว 8:11-12)

เหนือสิ่งอื่นใด อาหารที่โต๊ะเฉลิมฉลองตามธรรมบัญญัติของชาวยิวจะแยกพวกเขาออกจากคนต่างชาติ อย่างกรณีของเปโตร ทั้งในกิจการ 10 และในกาลาเทีย 2 นายร้อยคนนี้นึกภาพพระเยซูเข้าไปในบ้านเขาไม่ออก ไม่ต้องพูดถึงร่วมนั่งโต๊ะเสวย แต่พระเยซูทรงบอกเขาว่า ในแผ่นดินของพระองค์ เขาจะได้นั่งโต๊ะร่วมรับประทานอาหารกับอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ พระองค์ยังบอกด้วยว่าจะมีคนต่างชาติเป็นอันมากนั่งอยู่ด้วย ในขณะที่ชาวยิวจำนวนมากจะไม่ได้รับโอกาสนั้น

เมื่อพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ที่บนกางเขน และทรงคืนพระชนม์ เสด็จกลับสู่พระบิดา และเมื่อมีการเขียนจดหมายฝากในพระคัมภีร์ใหม่ ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุการณ์นี้ว่าเป็นไปได้อย่างไร แรกสุด นายร้อยคนนี้ได้ทำในสิ่งที่เป็นพรต่อเชื้อสายของอับราฮัม :

1 พระเจ้าตรัสแก่อับรามว่า “เจ้าจงออกจากเมืองจากญาติพี่น้องจากบ้านบิดาของเจ้าไปยังดินแดนที่เราจะบอก ให้เจ้ารู้ 2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่เราจะอวยพรแก่เจ้าจะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โต เลื่องลือไปแล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร3 เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้าเราจะสาปคนที่แช่งเจ้าบรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลก จะได้พรเพราะเจ้า” (ปฐมกาล 12:1-3)

แปลกใจหรือไม่? เห็นพระสัญญาที่พระเจ้าจะอวยพรเขา?

ที่สำคัญที่สุด ในบริบทของมัทธิวตอนนี้ ชาติพันธ์ของคนใดคนหนึ่งไม่ได้เป็นตัวกำหนดชีวิตนิรันดร์ของเขา แต่เป็นความเชื่อ ยอห์นผู้ให้บัพติศมาบ่งไว้ชัดเจนว่าชาวยิวหลายคนจะไม่ได้เข้าแผ่นดินสวรรค์ แต่จะต้องเจอกับการพิพากษานิรันดร์แทน:

7 ครั้นยอห์นเห็นพวกฟาริสีและพวกสะดูสีพากันมาเป็นอันมากเพื่อจะรับบัพติศมา ท่านจึงกล่าวแก่เขาว่า “เจ้าชาติงูร้ายใครได้เตือนเจ้าให้หนีจากพระอาชญาซึ่งจะมาถึงนั้น 8 เหตุฉะนั้นจงพิสูจน์การกลับใจของเจ้าด้วยผลที่เกิดขึ้น 9 อย่านึกเหมาเอาในใจว่าตัวมีอับราฮัมเป็นบิดาเพราะเราบอกเจ้าทั้งหลายว่าพระ เจ้าทรงฤทธิ์อาจจะให้บุตรเกิดขึ้นแก่อับราฮัมจากก้อนหินเหล่านี้ได้ 10 บัดนี้ขวานวางไว้ที่โคนต้นไม้แล้วและทุกต้นที่ไม่เกิดผลดีจะต้องตัดแล้วโยน ทิ้งในกองไฟ (มัทธิว 3:7-10)

ประเด็นคือไม่ใช่เป็นเรื่องของเชื้อชาติที่เขาเกิดมา และไม่ใช่เรื่องการเพียรทำเพื่อให้ได้มา แต่เป็นความเชื่อในพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระเมสซิยาห์ตามพระสัญญา นี่คือสิ่งที่ทำให้บางคนได้เป็นเชื้อสายแท้จริงของอับราฮัม:

13 เพราะว่าพระสัญญาที่ประทานแก่อับราฮัมและผู้สืบเชื้อสายของท่านที่ว่า จะได้ทั้งพิภพเป็นมรดกนั้นไม่ได้มีมาโดยพระบัญญัติ แต่มีมาโดยความชอบธรรมที่เกิดจากความเชื่อ 14 ถ้าเขาเหล่านั้นที่ถือตามธรรมบัญญัติจะเป็นทายาท ความเชื่อก็ไม่มีประโยชน์อะไร และพระสัญญาก็เป็นอันไร้ประโยชน์ 15 เพราะธรรมบัญญัติเป็นเหตุให้มีการลงพระอาชญา แต่ที่ใดไม่มีธรรมบัญญัติ ที่นั้นก็ไม่มีการละเมิดธรรมบัญญัติ 16 ด้วยเหตุนี้เอง การที่ได้รับมรดกนั้นจึงขึ้นอยู่กับความเชื่อ เพื่อจะได้เป็นตามพระคุณ เพื่อพระสัญญานั้นจะเป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้สืบเชื้อสายของท่านทุกคน มิใช่แก่ผู้สืบเชื้อสายที่ถือธรรมบัญญัติพวกเดียว แต่แก่บรรดาคนที่มีความเชื่อเช่นเดียวกับอับราฮัมผู้เป็นบิดาของพวกเรา 17 ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เราได้ให้เจ้าเป็นบิดาของมวลประชาชาติ ต่อพระพักตร์พระองค์ที่ท่านเชื่อ คือพระเจ้าผู้ทรงให้คนที่ตายแล้วฟื้นชีวิตขึ้นมา และทรงเรียกสิ่งของที่ยังมิได้มี ให้มีขึ้น (โรม 4:13-17)

นายร้อย แสวงหาความเมตตาให้แก่บ่าวของตน มาหาพระเยซูบนพื้นฐานของความเชื่อ และด้วยความเชื่อนี้ ไม่เพียงแต่รักษาบ่าวให้หาย แต่ช่วยให้ตัวเขาเองได้รับความรอด คนที่อ่านเรื่องคำเทศนานี้ส่วนมากคือคนต่างชาติ พระวจนะตอนนี้ (ที่ต่อมาได้รับการเปิดเผยในพระคัมภีร์ใหม่) บอกเราว่าคนต่างชาติ (และคนยิว) สามารถ – รับ – และจำเป็นต้อง – ได้รับความรอดอย่างไร นี่เป็นถ้อยคำหวานหอมที่สุดที่เราเคยได้ยิน และเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างที่สุดที่พระผู้ช่วยให้รอดของเราประทานให้

สตรีชรา (แม่ยายของเปโตร) มัทธิว 8:14-17

14 ครั้นพระเยซูเสด็จเข้าไปในเรือนของเปโตร ก็ทรงเห็นแม่ยายของเปโตรนอนป่วยจับไข้อยู่ 15 พอพระองค์ทรงจับมือนาง ความไข้ก็หาย นางจึงลุกขึ้นปรนนิบัติพระองค์ 16 พอค่ำลง เขาพาคนผีเข้าสิงเป็นอันมากมาหาพระองค์ พระองค์ก็ทรงขับผีออกด้วยพระดำรัส และบรรดาคนเจ็บป่วยทั้งหลายนั้น พระองค์ก็ได้ทรงรักษาให้หาย 17 ทั้งนี้เพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะโดยอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะที่ว่า ท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบโรคของเราไป (มัทธิว 8:14-17)

แม่ยายของเปโตรมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการอัศจรรย์ทั้งสองก่อนหน้า? ทำไมถึงมาบอกเราว่าเธอได้รับการรักษาให้หายแล้ว? ในเรื่องนี้ เธอได้รับการรักษาโดยไม่มีคำตรัสสักคำ ไม่มีแม้แต่ถามไถ่ถึงอาการ ตามที่บันทึกไว้ในมาระโกและลูกา มีคนทูลอ้อนวอนขอให้พระองค์ช่วยรักษา15 และแน่นอน นี่เป็นอาการเจ็บป่วยอีกแบบ ไม่ใช่เป็นแค่ “ปวดศีรษะ” แต่บันทึกว่านางนอนป่วยจับไข้อยู่16

การรักษาแม่ยายของเปโตรเพิ่มเติมให้เห็นถึงฤทธิอำนาจในการรักษาของพระ เยซู แบบในทันที ครั้งนี้พระองค์ทรงรักษาขณะที่สัมผัสมือนาง และที่ทำให้การรักษานี้อัศจรรย์ยิ่งขึ้น คือในทันใดนางก็หายจากอาการป่วย ลุกขึ้นและปรนนิบัติพระองค์และคนอื่นๆ (พระเยซู พวกสาวก และคนอื่นๆที่อยู่ในบ้าน)17

แต่ผมค่อนข้างจะคิดไปว่าการรักษาแม่ยายของเปโตรมีสาเหตุสำคัญบางอย่าง และเป็นสิ่งที่มัทธิวเน้นในตอนนี้ การอัศจรรย์ที่พระเยซูกระทำน่าจะแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วแบบปากต่อปาก เพราะพอตอนค่ำ มีผู้คนมากมายมาหาพระองค์ที่บ้านของเปโตร และพระเยซูทรง “ปรนนิบัติ” พวกเขาด้วยการรักษาทุกคนให้หาย (มัทธิว 8:16) มีการขับผีออกด้วย “พระดำรัส” อีกด้วย ( 8:16)

แล้วมัทธิวก็นำเข้าสู่คำพยากรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจริงอีกครั้ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นไปตามคำพยากรณ์จากในพระคัมภีร์เดิม:

16 พอค่ำลง เขาพาคนผีเข้าสิงเป็นอันมากมาหาพระองค์ พระองค์ก็ทรงขับผีออกด้วยพระดำรัส และบรรดาคนเจ็บป่วยทั้งหลายนั้น พระองค์ก็ได้ทรงรักษาให้หาย 17 ทั้งนี้เพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะโดยอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะที่ว่า ท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบโรคของเราไป (มัทธิว 8:16-17)

เป็นถ้อยคำที่นำมาจากอิสยาห์ 53:4 และเป็นส่วนหนึ่งของคำพยากรณ์ใหญ่ ขออนุญาตนำส่วนใหญ่ของคำพยากรณ์นี้มาให้ดู:

4 แน่ทีเดียวท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย
และหอบความเจ็บปวดของเราไป
กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี
คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ
5 แต่ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความทรยศของเราทั้งหลาย
ท่านฟกช้ำเพราะความบาปผิดของเรา
การตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายสมบูรณ์นั้นตกแก่ท่าน
ที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี
6 เราทุกคนได้เจิ่นไปเหมือนแกะ
เราทุกคนต่างได้หันไปตามทางของตนเอง
และพระเจ้าทรงวางลงบนท่าน ซึ่งความบาปผิดของเราทุกคน (อิสยาห์ 53:4-6)

อิสยาห์เชื่อมโยงความเจ็บไข้เข้ากับความบาป ซึ่งก็สมควร ท่านพยากรณ์ว่าเมื่อพระเมสซิยาห์เสด็จมา พระองค์จะทรงหอบความเจ็บปวดของเราไป รวมถึงความบาปผิดด้วย ยังแปลกใจอยู่หรือไม่ เมื่อพระเยซูเสด็จมาบนโลก ประกาศว่าพระองค์คือพระเมสซิยาห์ พระองค์ควรต้องรักษาผู้คนจากอาการเจ็บป่วยทั้งหลาย? พระเยซูทรงแสดงให้เห็นชัดว่าที่ทรงยกโทษบาปนั้นเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นกับ ที่พระองค์ทรงรักษาโรค

2 ดูเถิด เขาหามคนง่อยคนหนึ่งซึ่งนอนอยู่บนที่นอนมาหาพระองค์ เมื่อพระเยซูทรงเห็นความเชื่อของเขาทั้งหลาย จึงตรัสกับคนง่อยว่า “ลูกเอ๋ย จงชื่นใจเถิด บาปของเจ้าได้รับอภัยแล้ว” 3 เมื่อได้ยินตรัสดังนั้น พวกธรรมาจารย์บางคนคิดในใจว่า “คนนี้พูดหมิ่นประมาทพระเจ้า” 4 ฝ่ายพระเยซูทรงทราบความคิดของเขา จึงตรัสว่า “เหตุไฉนท่านทั้งหลายคิดชั่วอยู่ในใจเล่า 5 ที่จะว่า ‘เจ้าได้รับอภัยเรื่องบาปของเจ้าแล้ว’ และจะว่า ‘จงลุกขึ้นเดินไปเถิด’ นั้นข้างไหนจะง่ายกว่ากัน 6 แต่เพื่อท่านทั้งหลายจะได้รู้ว่า บุตรมนุษย์มีสิทธิอำนาจในโลกที่จะโปรดยกความผิดบาปได้” พระองค์จึงตรัสสั่งคนง่อยว่า “จงลุกขึ้นยกที่นอนกลับไปบ้านเถิด” 7 เขาจึงลุกขึ้นไปบ้าน (มัทธิว 9:2-7)

บทสรุป

แต่ละอัศจรรย์มีความมหัศจรรย์อยู่ภายนอกและภายในนั้น เราควรใส่ใจ ดูเหมือนมัทธิวละเรื่องลำดับเวลาเพื่อให้เรื่องราวสอดคล้องกันไปมากกว่า18 ผมเชื่อว่ากุญแจที่จะเข้าใจพระวจนะตอนนี้คือ เรื่องราวต่างๆสอดคล้องและต่อเนื่องจากคำเทศนาบนภูเขา ในคำเทศนาบนภูเขา พระเยซูตรัสถึงความสัมพันธ์ของพระองค์กับธรรมบัญญัติ ธรรมบัญญัติไม่อาจช่วยมนุษย์ให้รอดได้ ได้แต่สาปแช่ง (มัทธิว 5:20) พระองค์ไม่ได้มาล้มเลิกธรรมบัญญัติ แต่ทรงมาทำให้สำเร็จครบถ้วน (5:17-19) พระเยซูทรงมีสิทธิอำนาจยิ่งใหญ่ มีอำนาจแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการตีความ และการนำธรรมบัญญัติมาใช้ ผู้คนต่างตระหนักดี (มัทธิว 7:28-29) มัทธิว 8:1-17 แสดงให้เห็นถึงแนวทางหลักๆที่สอดคล้องกับคำสอนในคำเทศนาบนภูเขาของพระองค์

โดยเฉพาะ พระวจนะตอนนี้เน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูและธรรมบัญญัติ ธรรมบัญญัติไม่ช่วยให้ใครรอดได้ และไม่ช่วยรักษาใครให้หายโรค ธรรมบัญญัติอาจชี้ให้เห็นถึงความเจ็บป่วยและสุขภาพ แต่ไม่อาจทำให้สุขภาพดีขึ้น มีแต่จะพูดถึงความวิบัติที่จะได้รับ (ประกาศว่าคุณเป็นมลทิน) หรือเป็นผู้ป่วย ในอีกด้าน พระเยซูรักษาผู้ป่วยได้ เช่นเดียวกับยกโทษบาปให้ได้ นี่เป็นสิทธิอำนาจของพระองค์ในฐานะบุตรของพระเจ้า และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระเมสซิยาห์ แต่พระองค์ก็ไม่ได้มาเพื่อล้มเลิกธรรมบัญญัติ แต่กลับมาทำให้สำเร็จครบถ้วน

มัทธิวบันทึกเรื่องชายโรคเรื้อนเป็นเรื่องแรก คนที่อาการของโรคทำให้ถูกตัดขาดจากสังคม และไม่อาจเข้าถึงพระเจ้าได้ พูดง่ายๆคือเขาถูกกักให้อยู่ “ภายนอกค่าย” แล้วธรรมบัญญัติทำอะไรให้เขาได้บ้าง? มีแต่ประนามและสาปแช่ง แต่โดยฤทธิอำนาจของพระเจ้า เขาได้รับการรักษาให้หาย และประกาศว่าเขาสะอาดและหายดี นี่คือสิ่งที่ธรรมบัญญัติทำให้ไม่ได้ พระเยซูทรงรักษาชายโรคเรื้อนให้หายได้ และนี่คือสิ่งที่พระองค์ทรงทำ

เช่นเดียวกับบาปของเรา ธรรมบัญญัติชี้ให้เห็นและแสดงให้เห็นความบาปของเรา แต่ไม่อาจกำจัดบาปนั้นได้ ธรรมบัญญัติประกาศว่าอะไรคือความชอบธรรม แต่ไม่เคยหาหนทางให้เราเป็นคนชอบธรรมได้ ธรรมบัญญัติประกาศว่าเราทุกคนเป็นคนบาป แต่ไม่อาจช่วยให้รอดพ้นจากบทลงโทษได้ (โรม 3:9-20) พระเยซูคริสต์เท่านั้น สามารถขจัดความโสมมออกไปจากจิตวิญญาณเรา และประกาศว่าเราสะอาดหายดีแล้ว

พระเยซูทรงส่งชายโรคเรื้อนที่หายดีไปหาปุโรหิต เพื่อเป็นไปตามที่ธรรมบัญญัติกำหนด (เลวีนิติ 14) เพื่อให้ปุโรหิตรู้เห็นเป็นพยาน และตระหนักว่าคนโรคเรื้อนนั้นได้รับการชำระให้สะอาดแล้ว นั่นคือสิ่งที่พระองค์ทำ ให้พวกเขาต้องคิดหนักว่าพระเยซูคือผู้ใด เพราะนี่เป็นการอัศจรรย์ ตามที่มัทธิวบ่งไว้ในข้อ 17 พระเยซูไม่ได้มาเพื่อล้มเลิกธรรมบัญญัติ แต่มาทำให้ครบถ้วนในฐานะพระเมสซิยาห์ พระองค์เองสามารถรักษาชายโรคเรื้อนนี้ให้หายสะอาดได้ พระองค์เองสามารถยกโทษคนบาปจากความผิดบาปได้ และมอบชีวิตนิรันดร์ให้ผู้ที่ได้รับการอภัยได้

เรื่องนายร้อยก็เป็นเรื่องที่มัทธิวให้ความสำคัญที่สุด การเป็นคนต่างชาติ นายร้อยคนนี้ไม่บังอาจทำให้พระเยซูมัวหมองโดยไปที่บ้านของเขา และเขายังตระหนักดีถึงฤทธิอำนาจของพระองค์ พระเยซูไม่จำเป็นที่ต้องเสด็จไปที่บ้านของเขาเพื่อช่วยรักษาบ่าว พระองค์สามารถรักษาได้จากที่ๆพระองค์ประทับอยู่ และเขาร้องขอไม่ให้พระองค์เสด็จไป พระเยซูทรงปิติกับความเชื่อของนายร้อยคนนี้ ถ้าเขาคิดว่าเขาไม่มีส่วนในพระพรที่พระเจ้ามอบให้คนอิสราเอล เขามองเห็นถึงกำแพงที่ขวางกั้นอยู่หรือ? เป็นกำแพงที่สร้างมาจากธรรมบัญญัติ พระเยซูตรัสกับเขาว่าเขาจะได้นั่งร่วมโต๊ะเสวยกับบรรดาอัครปิตุลาของแผ่นดิน สวรรค์ ในขณะที่พวกยิวหลายคนจะถูกโยนออกไป ธรรมบัญญัติไม่สามารถเสนอทางออกที่กั้นอยู่ระหว่างคนยิวและคนต่างชาติ แต่พระเยซูทรงรื้อกำแพงที่กั้นนี้ออกไป เพื่อให้เป็นไปตามพระสัญญาในธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะ ธรรมบัญญัติแยกชาวยิวออกจากชาวต่างชาติ พระเยซูคริสต์ทรงนำทั้งสองมาไว้ด้วยกันเพื่อให้เป็นคนๆใหม่

11 เหตุฉะนั้นท่านจงระลึกว่า เมื่อก่อนท่านเคยเป็นคนต่างชาติตามเนื้อหนัง และพวกที่รับพิธีเข้าสุหนัตซึ่งกระทำแก่เนื้อหนังด้วยมือ เคยเรียกท่านว่า เป็นพวกที่มิได้เข้าสุหนัต 12 จงระลึกว่า ครั้งนั้นท่านทั้งหลายเป็นคนอยู่นอกพระคริสต์ ขาดจากการเป็นพลเมืองอิสราเอล และไม่มีส่วนในบรรดาพันธสัญญาซึ่งทรงสัญญาไว้นั้น ไม่มีที่หวัง และอยู่ในโลกปราศจากพระเจ้า 13 แต่บัดนี้ในพระเยซูคริสต์ ท่านทั้งหลายซึ่งเมื่อก่อนอยู่ไกล ได้เข้ามาใกล้โดยพระโลหิตของพระคริสต์ 14 เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นสันติสุขของเรา เป็นผู้ทรงกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทรงรื้อกำแพงที่กั้นระหว่างสองฝ่ายลง 15 คือการเป็นปฏิปักษ์กัน โดยในเนื้อหนังของพระองค์ ได้ทรงให้ธรรมบัญญัติอันประกอบด้วยบทบัญญัติและกฎหมายต่างๆนั้นเป็นโมฆะ เพื่อจะกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นคนใหม่คนเดียวในพระองค์ เช่นนั้นแหละ จึงทรงกระทำให้เกิดสันติสุข 16 และเพื่อจะทรงกระทำให้ทั้งสองพวกคืนดีกับพระเจ้า เป็นกายเดียวโดยกางเขน ซึ่งเป็นการทำให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อกันหมดสิ้นไป 17 และพระองค์ได้เสด็จมาประกาศสันติสุขแก่ท่านที่อยู่ไกล และประกาศสันติสุขแก่คนที่อยู่ใกล้ 18 เพราะว่าพระองค์ทรงทำให้เราทั้งสองพวกมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบิดาโดยพระวิญญาณ องค์เดียวกัน 19 เหตุฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่คนต่างด้าวต่างแดนอีกต่อไป แต่ว่าเป็นพลเมืองเดียวกันกับธรรมิกชน และเป็นครอบครัวของพระเจ้า 20 ท่านได้ถูกประดิษฐานขึ้น บนรากแห่งพวกอัครทูตและพวกผู้เผยพระวจนะ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นศิลามุมเอก 21 ในพระองค์นั้นทุกส่วนของโครงร่างต่อกันสนิท และเจริญขึ้นเป็นวิหารอันบริสุทธิ์ในองค์พระผู้เป็นเจ้า 22 และในพระองค์นั้น ท่านก็กำลังจะถูกก่อขึ้นให้เป็นที่สถิตของพระเจ้าในฝ่ายพระวิญญาณด้วย (เอเฟซัส 2:11-22)

พระเยซูคริสต์ทรงรื้อกำแพงที่กั้นระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ และมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันออกไป ทั้งยิวและคนต่างชาติสามารถเข้าถึงพระพรของพระเจ้าได้ (รวมถึงมีสามัคคีธรรมซึ่งกันและกันได้) ด้วยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ว่าเป็นพระเมสซิยาห์ตามพระสัญญา คนยิวและคนต่างชาติสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันในพระคริสต์ มีเพียงพระเยซูเท่านั้นที่ทำสิ่งมหัศจรรย์นี้ได้ ธรรมบัญญัติไม่เคยทำ ธรรมบัญญัติมีไว้เพื่อเปิดเผยความบาป และชี้เราไปที่พระเยซูคริสต์ พระองค์คือผู้ที่ต้องเสด็จมา ต้องสำแดงพระองค์ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า เป็นพระเมสซิยาห์ตามพระสัญญา พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ที่บนกางเขนเพราะความบาปของเรา ทรงถูกฝังไว้ และคืนพระชนม์ขึ้นจากความตาย พระองค์ทรงประทับอยู่เบื้องขวาพระบิดา ทรงเป็นทั้งพระผู้ช่วยให้รอด และเป็นผู้พิพากษา คุณจะให้พระองค์เป็นผู้ใดสำหรับคุณ?

ใครล่ะจะกล้าปฏิเสธความรอดที่พระองค์มอบให้? คงมีเพียงคนที่อยากไปสวรรค์ด้วยการทำดีของตัวเอง คนที่เกลียดชังและดูหมิ่นพระคุณ พระเยซูทรงเป็นพระผู้ช่วยที่มหัศจรรย์ของเรา พระองค์ปรารถนาจะช่วย เพียงแต่ต้องการให้เราวางใจในพระองค์เพื่อความรอดนี้ เป็นความจริงที่พระเจ้าเท่านั้นสามารถหันจิตใจเราให้ไปหาพระองค์ได้ แต่ก็เป็นความจริงว่าพระเจ้าไม่เคยหันพระพักตร์หนีจากผู้ที่สำนึกผิดกลับใจ และมาหาพระองค์ด้วยความเชื่อ ทูลขอความเมตตาและความรอด:

“สารพัดที่พระบิดาทรงประทานแก่เรา จะมาสู่เรา และผู้ที่มาหาเรา เราก็จะไม่ทิ้งเขาเลย” (ยอห์น 6:37)

ในฐานะคริสตจักร เราอุทิศตนเพื่อการอธิษฐาน แสวงหาพระสิริของพระเจ้าในความรอดของมนุษย์ พระวจนะตอนนี้เป็นตอนที่หนุนใจมากสำหรับคนที่มีใจปรารถนาอยากอธิษฐาน พระเยซูทรงพร้อมแล้ว พร้อมที่จะได้รับพระเกียรติในความรอดที่ทรงมอบให้มนุษย์ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทรงพร้อมที่จะรับฟังและตอบคำอธิษฐานในฐานะที่เราเป็นบุตรของพระเจ้า แล้วทำไมเราไม่ทูลขอ?

พระองค์อยู่ไกลไปหรือ? เราคิดว่าระยะทางเป็นอุปสรรคไม่ให้พระเจ้าได้ยินคำอธิษฐานหรือตอบตามที่เรา ร้องขอหรือ? ให้เก็บเรื่องความเชื่อของนายร้อยไว้ในใจ คนที่พระเยซูทรงช่วยรักษาบ่าวของเขาได้จากที่ไกล เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิและมีฤทธิอำนาจช่วยได้ อย่าให้เราหยุดยั้งในการอธิษฐาน จำไว้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดของเรามีพระประสงค์จะช่วย และมีฤทธิอำนาจประทานให้ตามที่เราทูลขอ และจงถวายพระสิริทั้งสิ้นแด่พระองค์

จัดเตรียมโดย: Robert L (Bob) Deffinbaugh

pastor/teacher and elder at Community Bible Chapel in Richardson, Texas, USA

แปล: อรอวล ระงับภัย คริสตจักรแห่งความสุข

ลิขสิทธิของ 2016 Bible.org


1 202 ลิขสิทธิ 2003 โดย Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081. ดัดแปลงจากต้นฉบับของบทเรียนที่ 29 ในบทเรียนต่อเนื่องของพระกิตติคุณมัทธิว จัดเตรียมโดย ศบ โรเบิร์ต แอล เดฟฟินบาว พฤษภาคม 16, 2004

2 203 ดูมาระโก 1:40-45 ลูกา 5:12-14

3 204 ดูลูกา 7:1-10 See

4 205 ดูมาระโก 1:29-34 ลูกา 4:38-42

5 206 นอกจากที่กล่าวไปแล้ว พระวจนะที่นำมาอ้างอิงทั้งหมดมาจาก NET Bible (The NEW ENGLISH TRANSLATION) เป็น ฉบับแปลใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่นำฉบับเก่าในภาษาอังกฤษมาเรียบเรียงใหม่ ใช้ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการพระคัมภีร์มากกว่า ยี่สิบคน รวบรวมข้อมูล ทั้งจากภาษาฮีบรูโดยตรง ภาษาอาราเมข และภาษากรีก โครงการแปลนี้เริ่มมาจากที่เราต้องการนำ พระคัมภีร์ เผยแพร่ผ่านสื่ออีเลคโทรนิค เพื่อรองรับการใช้งานทางอินเตอร์เน็ท และซีดี (compact disk) ที่ใดก็ตามในโลก ที่ต่อเข้าอินเตอร์เน็ทได้ ก็สามารถเรียกดู และพริ้นทข้อมูลไว้เพื่อใช้ศึกษาเป็นการส่วนตัวได้โดยไม่คิดมูลค่า นอกจากนี้ ผู้ใดก็ตาม ที่ต้องการนำข้อมูลเกี่ยวกับพระคัมภีร์ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่คิดเงิน สามารถทำได้จากเว็บไซด์ : www.netbible.org.

6 207 ดูมัทธิว 1:22-23, 2:15, 2:17-18, 2:23

7 208 ไม่ใช่การพากเพียรทำหรือการงานของเราที่ช่วยให้รอดได้ แต่เป็นการแสดงว่าความเชื่อของเรานั้นแท้จริงและเป็นจริง (ยากอบ 2:14-26)

8 209 มัทธิวบอกเราว่าเมื่อพระเยซูทรงส่งสาวกทั้ง 12 ไป พวกเขาต้องไป “รักษาคนโรคเรื้อนให้หายสะอาด” (10:8) เมื่อยอห์นผู้ให้บัพติศมาสงสัยเกี่ยวกับพระเยซู พระองค์ทรงบอกสาวกของยอห์นให้เตือนท่านว่า ในท่ามกลางหลายสิ่ง พระองค์ทรงรักษาคนโรคเรื้อนให้หายสะอาด (มัทธิว 11:5) ในมัทธิว 26:6 พระเยซูทรงรับประทานอาหารในบ้านของ “ซีโมนคนโรคเรื้อน”

9 210 พระคัมภีร์ฉบับแปลของ NET Bible อ่านว่า “เต็มไปด้วยโรคเรื้อน”

10 211 ถ้าต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ หาดูจากหนังสือของ William Hendriksen, The Gospel of Matthew (Grand Rapids, Michigan: Baker Book House, 1973), p. 388.

11 212 เราอาจเห็นว่าบันทึกของมัทธิวเรื่องของนายร้อยอาจคลาดเคลื่อนจากที่ลูกา บันทึกไว้ใน ลูกา 7:1-10 ผมเชื่อว่ามีคำอธิบายในความคลาดเคลื่อนนั้น แต่สิ่งนี้ไม่มีผลต่อเนื้อหาของข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณ

12 213 ดู มัทธิว 8:5, 8, 13; 27:54;มาระโก 15:39, 44; ลูกา 7:6; 23:47; กิจการ 10:1, 22; 22:25; 24:23; 27:1, 6, 11, 31, 43.

13 214 เฟรดริก บรูเนอร์คิดว่าเขาน่าจะเป็นคนซีเรีย จากหนังสือ Fredrick Dale Bruner, The Christbook: A Historical/Theological Commentary (Waco, Texas, Word Books, 1987), vol. 1, p. 302.

14 215 ผมว่าน่าสนใจที่ในฉบับแปล NASB สื่อว่านายร้อยนี้เป็นคนสงบเสงี่ยม พูดน้อย เพราะเป็นต่างชาติ และพระเยซูเป็นชาวยิว อาจไม่ใช่เพราะเห็นตนเองไม่มีค่า ถึงแม้เป็นความจริง

15 216 เป็นไปได้ว่าแม่ยายเปโตรอาจไม่ค่อยชอบใจพระเยซู เพราะเปโตรละจากอาชีพประมงและครอบครัวติดตามพระองค์ไป เธออาจรู้สึกว่าลูกสาวของเธอ (และครอบครัว) เหมือนถูกทิ้ง เพราะไปติดตามพระเยซู

16 217 ดูหมายเหตุด้านล่างในฉบับแปล NASB ของมัทธิว 8:14

17 218 มัทธิวกล่าวว่านางจึงลุกขึ้นปรนนิบัติ “พระองค์” (8:15) ในมาระโก 1:31 บันทึกว่านางจึงปรนนิบัติ “พระองค์กับพวกของพระองค์” ไม่น่ามีอะไรที่ขัดแย้ง เนื่องจากพระเยซูเป็นผู้ที่รักษานางให้หาย จึงต้องเน้นความสำคัญไปที่พระองค์ นางลุกขึ้นมาปรนนิบัติพวกของพระองค์ เพราะ “พระองค์”

18 219 จะเห็นว่าพระกิตติคุณเล่มอื่นๆอาจเรียงลำดับเรื่องต่างกัน

Related Topics: Spiritual Life

21. มัทธิว บทเรียนที่ 21 “ทำไมพระเยซูไม่ปรับไปตามที่มนุษย์คาดหวัง หรือ ทำไมพระเยซูเลี้ยงฉลองในขณะที่คนอื่นๆอดอาหาร (มัทธิว 9:1-17)

Related Media

คำนำ1

ผู้นำศาสนาชาวยิวเริ่มร้อนรุ่ม พระเยซูดูจะเป็นภัยคุกคาม พวกเขารู้ดี ที่จริงพระเยซูทรงเป็นภัยคุกคามมาตั้งแต่ต้น จำปฏิกิริยาของชาวเยรูซาเล็มได้หรือไม่ (เมืองที่ผู้นำศาสนาชาวยิวหลายคนอาศัย) ต่อข่าวเรื่องการประสูติของ “กษัตริย์ชาวยิว”:

1พระ‍เยซู​ได้​ทรง​บัง‍เกิด​ที่​บ้าน​ เบธ‌เล‌เฮม​แคว้น​ยู‌เดีย​ใน​รัช‌กาล​ของ​กษัตริย์​เฮ‌โรดภาย‍หลัง​มี​พวก​ นัก‍ปราชญ์​จาก​ทิศ​ตะ‌วัน‍ออก​มา​ยัง​กรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็มถาม​ว่า 2“พระ‍กุมาร​ผู้​ที่​ทรง​บัง‍เกิด​มา​เป็น​กษัตริย์​ของ​ชน‍ชาติ​ยิว​นั้น​ อยู่​ที่​ไหน? เรา​ได้​เห็น​ดาว​ของ​ท่าน​ทาง​ทิศ​ตะ‌วัน‍ออกและ​เรา​จึง​มา​เพื่อ​จะ​ นมัส‌การ​ท่าน” 3เมื่อ​กษัตริย์​เฮ‌โรด​ทรง​ได้‍ยิน​ดัง‍นั้น​แล้วก็​วุ่น‍วาย​พระ‍ทัยทั้ง​ ชาว​กรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็ม​ก็​พลอย​วุ่น‍วาย​ใจ​ไป​ด้วย (มัทธิว 2:1-3)2

ต่อมาในพระกิตติคุณยอห์น เราพบสาเหตุที่ทำไมชาวเยรูซาเล็มถึงวุ่นวายใจนัก พวกเขาพูดออกมาเอง:

47 ฉะนั้น​พวก​หัว‍หน้า​ปุ‌โร‌หิต​และ​พวก​ฟาริสี​ก็​เรียก​ประ‌ชุม​สมา‌ชิ ก‍สภา​แล้ว​พูด​กัน​ว่า “เรา​จะ​ทำ​อย่าง‍ไร​กัน​ดีเพราะ‍ว่า​ชาย​คน‍นี้​ทำ​หมาย‍สำคัญ​มาก‍มาย? 48ถ้า​เรา​ปล่อย​ให้​เขา​ทำ​อย่าง‍นี้​ต่อ‍ไป ทุก‍คน​ก็​จะ​เชื่อ‍ถือ​เขาแล้ว​พวก​โร‌มัน​ก็​จะ​มา​ทำ‍ลาย​ทั้ง​พระ‍วิหาร​และ​ชาติ​ของ​เรา”(ยอห์น 11:47-48)

ผู้นำศาสนาชาวยิวต่างกินดีอยู่ดี มีตำแหน่ง บารมี และมีอำนาจ ซึ่งแปลว่าสามารถใช้อำนาจที่มีหาผลประโยชน์ให้ตนเองได้ ตัวอย่างเช่นรับแลกเงิน ผูกขาดการขายสัตว์ที่ใช้ในพิธีถวายบูชาในพระวิหาร น่าจะเป็นสิทธิขาดของมหาปุโรหิต3พวกเขาต้องเสียผล ประโยชน์มหาศาลถ้าพระเมสซิยาห์เสด็จมา อะไรๆที่เคยได้ก็จะไม่เหมือนเดิม จึงหวาดกลัวพระเยซูตั้งแต่ในรางหญ้าไปจนถึงเมื่อเทศนาที่บนภูเขาในมัทธิว 5-7

ยอห์นผู้ให้บัพติศมาไม่ได้ช่วยให้พวกเขาจิตใจสงบลง แต่กลับประกาศว่าพระเยซูคือพระเมสซิยาห์ตามพระสัญญา:

29 วัน‍รุ่ง‍ขึ้น​ยอห์น​เห็น​พระ‍เยซู​กำลัง​เสด็จ​มา‍หา​ท่านท่าน​จึง​กล่าว​ ว่า“จง​ดู​พระ‍เมษ‌โป‌ดก​ของ​พระ‍เจ้าผู้​ทรง​รับ​บาป​ของ​โลก​ไป 30 พระ‍องค์​นี้​แหละ​ที่​ข้าพ‌เจ้า​กล่าว​ว่า ‘ภาย‍หลัง​ข้าพ‌เจ้า​จะ​มี​ผู้‍หนึ่ง​ที่​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ข้าพ‌เจ้า​เสด็จ​ มา เพราะ‍ว่า​พระ‍องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​ก่อน​ข้าพ‌เจ้า’ 31ข้าพ‌เจ้า​เอง​ไม่​รู้‍จัก​พระ‍องค์แต่​เพื่อ​ให้​พระ‍องค์​เป็น​ที่​ ประ‌จักษ์​แก่​อิสรา‌เอลข้าพ‌เจ้า​จึง​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​น้ำ” 32และ​ยอห์น​กล่าว​เป็น​พยาน​ว่า “ข้าพ‌เจ้า​เห็น​พระ‍วิญ‌ญาณ​เสด็จ​ลง‍มา​จาก​สวรรค์​เหมือน​ดัง​นก‍พิราบ และ​สถิต​กับ​พระ‍องค์ 33ข้าพ‌เจ้า​เอง​ไม่​รู้‍จัก​พระ‍องค์แต่​พระ‍องค์​ผู้​ทรง​ใช้​ข้าพ‌เจ้า​ มา​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​น้ำได้​ตรัส​กับ​ข้าพ‌เจ้า​ว่า ‘เมื่อ​เห็น​พระ‍วิญ‌ญาณ​เสด็จ​ลง‍มา​สถิต​อยู่​กับ​คน‍ใดคน‍นั้น​แหละ​จะ​ เป็น​คน​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์’ 34และ​ข้าพ‌เจ้า​ก็​เห็น​แล้ว​และ​เป็น​พยาน​ว่า​พระ‍องค์​นี้​แหละ​เป็น​ พระ‍บุตร​ของ​พระ‍เจ้า” (ยอห์น 1:29-34)

ผู้คนทั้งใกล้และไกลต่างก็มาฟังคำเทศนาของยอห์นและรับบัพติศมาจากท่าน พวกปุโรหิตและเลวีต่างก็ตระหนักถึงอิทธิพลของยอห์น และส่งคนออกไปคอยเฝ้าดู:

19 นี่​เป็น​คำ​พยาน​ของ​ยอห์นคือ​เมื่อ​พวก​ยิว​ส่ง​พวก​ปุ‌โร‌หิต​และ​พวก​ เลวี​จาก​กรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็ม​ไป​ถาม​ท่าน​ว่า “ท่าน​คือ​ใคร?” 20ท่าน​ก็​ยอม‍รับ​และ​ไม่‍ได้​ปฏิ‌เสธ คือ​ยอม‍รับ​ว่า “ข้าพ‌เจ้า​ไม่‍ใช่​พระ‍คริสต์” 21พวก‍เขา​จึง​ถาม​ว่า “ถ้า​อย่าง‍นั้น​ท่าน​เป็น​ใคร?ท่าน​เป็น​เอ‌ลี‌ยาห์หรือ​?” ยอห์น​ตอบ​ว่า “ข้าพ‌เจ้า​ไม่​ใช่​เอ‌ลี‌ยาห์” “ท่าน​เป็น​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​คน​นั้นหรือ?” และ​ยอห์น​ตอบ​ว่า “ไม่‍ใช่” 22พวก‍เขา​จึง​ถาม​ว่า “แล้ว​ท่าน​เป็น​ใคร? ขอ​ให้​ตอบ​มาจะ​ได้​ไป​บอก​คน​ที่​ใช้​เรา​มาท่าน​จะ​ตอบ​เรื่อง​ตัว​ท่าน​ ว่า​อย่าง‍ไร?” 23ท่าน​ตอบ​ว่า“เราเป็น​เสียง​ของ​คน​ที่​ร้อง‍ประ‌กาศ​ใน​ถิ่น‍ทุร‌กัน‌ดาร ​ว่า‘จง​ทำ​มรรคาของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ให้​ตรง​ไป’ตาม​ที่​อิส‌ยาห์​ ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​กล่าว​ไว้ (ยอห์น 1:19-23)

ยอห์นไม่เคยอยู่ในระบบศาสนาเหมือนผู้เป็นบิดา (ลูกา 1:5-25) ท่านอาศัยในถิ่นทุรกันดาร ไม่ได้อยู่ในเยรูซาเล็ม ผู้คนต้องไปหาท่านเพื่อฟังคำเทศนา และเมื่อพวกฟาริสี และสะดูสีมาหายอห์นเพื่อรับบัพติศมา ท่านปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่รุนแรง:

7เมื่อ​ยอห์น​เห็น​พวก​ฟาริสี และ​พวก​สะ‌ดู‌สี​มา​กัน​เป็น​จำ‌นวน​มากเพื่อ​จะ​รับ​บัพ‌ติศ‌มาท่าน​จึง​ กล่าว​แก่​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ว่า “พวก​ชาติ​งู‍ร้ายใคร​เตือน​พวก‍ท่าน​ให้​หนี​จาก​พระ‍พิโรธ​ที่​จะ​มา​นั้น 8เพราะ‍ฉะนั้น​จง​เกิด‍ผล​ให้​สม​กับ​การ​กลับ‍ใจ 9อย่า​ทึก‍ทัก​ว่า​ตัว‍เอง​มี​อับ‌รา‌ฮัม​เป็น​บรรพ‌บุรุษเพราะ​ข้าพ‌เจ้า​ บอก​พวก‍ท่าน​ว่าพระ‍เจ้า​ทรง​สามารถ​ให้​บุตร​แก่​อับ‌รา‌ฮัม​จาก​ก้อน‍หิน ​เหล่า‍นี้​ได้ 10บัด‍นี้​ขวาน​วาง​ไว้​ที่​โคน​ต้น‍ไม้​แล้วและ​ทุก​ต้น​ที่​ไม่​เกิด‍ผล​ ดี​จะ​ต้อง​ถูก​ตัด​แล้ว​โยน​ทิ้ง​ใน​กอง‍ไฟ 11ข้าพ‌เจ้า​ให้​ท่าน​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​น้ำแสดง​ว่า​กลับ‍ใจ​ใหม่​ก็​ จริงแต่​พระ‍องค์​ผู้​จะ​มา​ภาย‍หลัง​ข้าพ‌เจ้าทรง​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ข้า พ‌เจ้าซึ่ง​ข้าพ‌เจ้า​ไม่​คู่‍ควร​แม้​แต่​จะ​ถือ​ฉลอง‍พระ‍บาท​ของ​ พระ‍องค์พระ‍องค์​จะ​ทรง​ให้​พวก‍ท่าน​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​พระ‍วิญ‌ญาณ‍ บริ‌สุทธิ์​และ​ด้วย​ไฟ 12พระ‍องค์​ทรง​ถือ​พลั่ว​อยู่​ใน​พระ‍หัตถ์​แล้วและ​จะ​ทรง​ชำระ​ลาน‍ข้าว​ ของ​พระ‍องค์​ให้​ทั่วพระ‍องค์​จะ​ทรง​รวบ‍รวม​เมล็ด‍ข้าว​ของ​พระ‍องค์​ไว้ ​ใน​ยุ้ง‍ฉางแต่​พระ‍องค์​จะ​ทรง​เผา​แกลบ​ด้วย​ไฟ​ที่​ไม่‍มี​วัน​ดับ” (มัทธิว 3:7-12)

เมื่อยอห์นจากไป พระเยซูทรงเข้ามาสานงานต่อจากท่าน:

ตั้ง‍แต่​นั้น​มาพระ‍เยซู​ทรง​ตั้ง‍ต้น​ประ‌กาศ​ว่า“จง​กลับ‍ใจ​ใหม่เพราะ​ว่า​แผ่น‍ดิน​สวรรค์​มา​ใกล้​แล้ว” (มัทธิว 4:17 เทียบกับ 3:2)

เช่นเดียวกับยอห์น พระเยซูไม่ทรงยอมปรับไปตามระบอบศาสนาของยุคนั้น ในคำเทศนาบนภูเขา พระเยซูทรงเห็นด้วยกับยอห์นว่าพวกผู้นำศาสนาในยุคนั้นจะไม่มีส่วนในแผ่นดิน สวรรค์ (ถ้าไม่ยอมสำนึกผิดกลับใจจริง และมาเชื่อในพระเยซูคริสต์)

“เพราะ​เรา​บอก​พวก‍ท่าน​ว่าถ้า​ความ​ ชอบ‍ธรรม​ของ​ท่าน​ไม่​มาก‍กว่า​ความ​ชอบ‍ธรรม​ของ​พวก​ธรร‌มา‌จารย์​และ​ พวก​ฟาริสีพวก‍ท่าน​จะ​ไม่‍มี​วัน​ได้​เข้า​สู่​แผ่น‍ดิน​สวรรค์” (มัทธิว 5:20)

จากตรงนี้พระเยซูทรงเข้าไปแก้ไขคำสอนที่ผิดๆของผู้นำศาสนายิว ในข้อต่อไปของมัทธิว พระเยซูทรงเริ่มทำให้การตีความธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์เดิมชัดเจนถูกต้อง:

21“ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ได้‍ยิน​คำ​ซึ่ง​กล่าว ​ไว้​กับ​คน​ใน​สมัย​ก่อน​ว่า ‘ห้าม​ฆ่า​คน ถ้า​ใคร​ฆ่า​คน คน​นั้น​จะ​ต้อง​ถูก​พิพาก‌ษา’ 22 แต่​เรา​บอก​พวก‍ท่าน​ว่าใคร​โกรธ​พี่‍น้อง​ของ​ตนคน‍นั้น​จะ​ต้อง​ถูก​พิ พาก‌ษาถ้า​ใคร​พูด​กับ​พี่‍น้อง​อย่าง​เหยียด‍หยาม​คน​นั้น​จะ​ต้อง​ถูก​นำ​ ไป​ยัง​ศาล​สูง​ให้​พิพาก‌ษาและ​ถ้า​ใคร​พูด​ว่า‘อ้าย​โฉด’ คน​นั้น​จะ​มี​โทษ​ถึง​ไฟ‍นรก” (มัทธิว 5:21-22)

ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พระเยซูทรงแก้ไขความผิดพลาดนั้นด้วยถ้อยคำว่า “ท่านทั้งหลายได้ยิน …. แต่เราบอกพวกท่านว่า ….” ข้อผิดพลาดที่พระองค์แสดงให้เห็นเป็นคำสอนที่มาจากพวกผู้นำศาสนาชาวยิว

แต่พระเยซูกลับดูเป็นภัยคุกคามกว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมา – สิทธิอำนาจที่ทรงสำแดง ทรงรับรองด้วยการอัศจรรย์ของพระองค์ :

40พระ‍องค์​เสด็จ​ข้าม​แม่‍น้ำ​จอร์‌แดน​ อีกและ​ไป​ถึง​ตำบล​ที่​ยอห์น​เคย​ให้​บัพ‌ติศ‌มาแล้ว​พระ‍องค์​ทรง​พัก​ อยู่​ที่‍นั่น 41คน​จำ‌นวน​มาก​พา​กัน​มา‍หา​พระ‍องค์​กล่าว​ว่า “ถึง​ยอห์น​ไม่‍ได้​ทำ​หมาย‍สำคัญ​อะไร​เลยแต่​ทุก‍สิ่ง​ที่​ยอห์น​ กล่าว‍ถึง​ท่าน​ผู้‍นี้​เป็น​ความ​จริง” 42และ​มี​คน​ที่​นั่น​หลาย​คน​วาง‍ใจ​ใน​พระ‍องค์ (ยอห์น 10:40-42)

พระเยซูทรงรับรองคำสอนของพระองค์ด้วยการอัศจรรย์ครั้งแล้วครั้งเล่า มัทธิวบ่งชัดว่าพระเยซูทรงสนับสนุนคำสอนของพระองค์ด้วยการทำอัศจรรย์หลาย ครั้งและหลายแบบ ทำให้มีผู้คนมากมายติดตามพระองค์ไป:

23พระ‍เยซู​ได้​เสด็จ​ไป​ทั่ว​แคว้น​ กา‌ลิ‌ลีทรง​สั่ง‍สอน​ใน​ธรรม‍ศาลา​ของ​พวก‍เขาทรง​ประ‌กาศ​ข่าว‍ประ‌เสริฐ​ เรื่อง​แผ่น‍ดิน​ของ​พระ‍เจ้าและ​ทรง​รักษา​บรร‌ดา​โรค‍ภัย‍ไข้‍เจ็บ​ของ​ ชาว‍เมือง​ให้​หาย 24กิตติ‍ศัพท์​ของ​พระ‍องค์​ก็​เลื่อง‍ลือ​ไป​ทั่ว​ประ‌เทศ​ซี‌เรียพวก‍เขา​ จึง​พา​คน​ทั้ง‍หลาย​ที่​เจ็บ‍ป่วย​ด้วย​โรค​ต่างๆพวก​ที่​เจ็บ‍ปวด​ทร‌มานพ วก​ที่​ถูก​ผี​เข้าพวก​ที่​เป็น​ลม‍บ้า‍หมู​และ​เป็น​อัมพาต​มา‍หา​พระ‍องค์ พระ‍องค์​ก็​ทรง​รักษา​เขา​ให้​หาย 25และ​มี​มหา‍ชน​ติด‍ตาม​พระ‍องค์​ซึ่ง​มา​จาก​แคว้น​กา‌ลิ‌ลีแคว้น​ทศ‌บุรี กรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็มแคว้น​ยู‌เดียและ​แม่‍น้ำ​จอร์‌แดน​ฟาก​ตะ‌วัน‍ออก (มัทธิว 4:23-25)

16 พอ​ค่ำ​ลง พวก‍เขา​พา​คน​จำ‌นวน​มาก​ที่​มี​ผี‍สิง​มา‍หา​พระ‍องค์พระ‍องค์​ก็​ทรง​ ขับ‍ผี​ออก​ด้วย​พระ‍ดำรัส และ​บรร‌ดา​คน​เจ็บ‍ป่วย​นั้นพระ‍องค์​ก็​ทรง​รักษา​ให้​หาย 17 ทั้ง‍นี้​เพื่อ​จะ​ให้​สำเร็จ​ตาม​พระ‍วจนะ​ที่​ตรัส​ผ่าน​อิส‌ยาห์​ ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​ที่​ว่า“ท่าน​แบก​ความ​เจ็บ‍ไข้​ของ​เราและ​หอบ​โรค​ของ​ เรา​ไป”(มัทธิว 8:16-17)

มัทธิวไม่ได้ปูฉากหลังให้เห็นเหมือนลูกา ให้มาดูพระวจนะตามที่ลูกาบันทึกเพื่อใช้ประกอบการเรียน:

17ต่อ‍มา​วัน‍หนึ่ง ขณะ‍ที่​พระ‍องค์​ทรง​สั่ง‍สอน​อยู่มี​พวก​ฟาริสี​และ​พวก​อา‌จารย์​สอน​ ธรรม‍บัญญัติ​มา​นั่ง​อยู่​ด้วยเป็น​คน​ที่​มา​จาก​ทั่ว​ทุก​หมู่‍บ้าน​ใน​ แคว้น​กา‌ลิ‌ลีแคว้น​ยู‌เดียและ​กรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็มฤทธิ์‍เดช​ของ​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ก็​อยู่​กับ​พระ‍องค์​เพื่อ​ที่​จะ​รักษา​โรค​ได้ 18และ​นี่‍แน่ะมี​บาง‍คน​หาม​คน‍ง่อย​ซึ่ง​นอน​อยู่​บน​ที่‍นอน​มาพวก‍เขา​ พยา‌ยาม​หา​ทาง​หาม​คน‍ง่อย​เข้า‍มา​วาง​ตรง‍หน้า​พระ‍องค์ (ลูกา 5:17-18)

ดูเหมือนมีการพูดคุยกันมากมายในท่ามกลางผู้นำศาสนาชาวยิว – ในห้องลับ – พวกเขากำลังสงสัยว่าพระเยซูจะเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อการเป็นผู้นำของพวก เขา จำเป็นต้องออกไปตรวจสอบ ดังนั้นพวกครูสอนธรรมบัญญัติและฟาริสีจากทั่วทุกสารทิศ จึงมาอยู่ในท่ามกลางผู้คน พวกนี้ไม่ได้มาอย่างเปิดใจ หรือพยายามเสาะหาว่าพระเยซูเป็นพระเมสซิยาห์จริงหรือ ผมว่าพวกเขาคงไม่เคยถามตัวเอง “เรื่องนี้เป็นจริงหรือ? พระเยซูเป็นพระเมสซิยาห์จริงหรือ?” พวกเขามัวแต่กลัวว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราปล่อยไปโดยไม่ทำอะไร แล้วเกิดผู้คนไปเลือกตามพระเยซู แล้วเลิกตามพวกเราล่ะ? พวกเขาต้องไปตรวจสอบคนๆนี้ และหาทางจัดการกับความเสียหายก่อนที่จะสายไป

ผู้คนมากมายไปรวมตัวกันที่บ้านในคาเปอร์นาอุม ไปฟังคำสอนของพระเยซู (มาระโก 2:1-2) ฤทธิอำนาจของพระองค์ก็ทรงสำแดงที่นั่นด้วย ทรงทำการอัศจรรย์รักษาโรค (ลูกา 5:17) ที่นั่นจึงแน่นขนัดจนคนเข้าไปอีกไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงชายสี่คนที่หามคนง่อยมาบนแคร่ หลายคนอยากมาฟังคำสอน อยากเก็บไว้ทุกถ้อยคำ บางคนหวังว่าจะได้รับการรักษาโรค แล้วก็มีครูสอนธรรมบัญญัติและพวกฟาริสี นั่งกอดอกฟังอยู่ด้วย มาตรวจสอบหน้าใหม่ในวงการที่ไม่ได้ผ่านตราประทับรับรองจากพวกเขา (และที่จริงเป็นฝ่ายตรงข้ามอีกต่างหาก)

พระเยซูและคนง่อย : คนบาปที่ได้รับการอภัย (มัทธิว 9:1-8)

1พระ‍เยซู​เสด็จ​ลง​เรือ​ข้าม​ฟาก​ไป​ยัง ​เมือง​ของ​พระ‍องค์ 2นี่‍แน่ะเขา‍ทั้ง‍หลาย​หาม​คน‍ง่อย​คน​หนึ่ง​ซึ่ง​นอน​อยู่​บน​ที่​นอน​ มา‍หา​พระ‍องค์เมื่อ​พระ‍เยซู​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​ความ​เชื่อ​ของ​พวก‍เขาจึง ​ตรัส​กับ​คน‍ง่อย​ว่า“ลูก​เอ๋ย จง​ชื่น‍ใจ​เถิดบาป​ของ​เจ้า​ได้​รับ​อภัย​แล้ว” 3เมื่อ​ได้‍ยิน​ดัง‍นั้นพวก​ธรร‌มา‌จารย์​บาง‍คน​คิด​ใน​ใจ​ว่า“คน​นี้​ หมิ่น‍ประ‌มาท​พระ‍เจ้า” 4พระ‍เยซู​ทรง​ทราบ​ความ​คิด​4 ของ​พวก‍เขาจึง​ตรัส​ว่า“ทำไม​พวก‍ท่าน​จึง​คิด​การ​ชั่ว​อยู่​ใน​ใจ? 5 การ​ที่​พูด​ว่า ‘บาป​ต่างๆ ของ​ท่าน​ได้​รับ​อภัย​แล้ว’ กับ​การ​พูด​ว่า ‘จง​ลุก‍ขึ้น​เดิน​ไป​เถิด’ แบบ​ไหน​จะ​ง่าย​กว่า​กัน? 6ทั้ง‍นี้​เพื่อ​ให้​ท่าน​รู้​ว่าบุตร‍มนุษย์​มี​สิทธิ‍อำนาจ​ใน​โลก​ที่​จะ ​อภัย​บาป​ได้” พระ‍องค์​จึง​ตรัส​สั่ง​คน‍ง่อย​ว่า “จง​ลุก‍ขึ้น​ยก​ที่​นอน​กลับ​ไป​บ้าน​ของ​ท่าน” 7เขา​จึง​ลุก‍ขึ้น​ไป​บ้าน 8เมื่อ​ฝูง‍ชน​เห็น​ดัง‍นั้นพวก‍เขา​ก็​เกรง‍กลัวแล้ว​พา​กัน​สรร‌เสริญ​ พระ‍เจ้าผู้​ประ‌ทาน​สิทธิ‍อำนาจ​เช่น​นั้น​แก่​มนุษย์ (มัทธิว 9:1-8)

น่าสนใจที่มัทธิวตัดตอนที่น่าสนใจที่สุดออกไป แต่มาระโกและลูกากลับบันทึกไว้ :

3 มี​คน​สี่​คน​หาม​คน‍ง่อย​คน​หนึ่ง​มา​เฝ้า​พระ‍องค์ 4แต่​เมื่อ​พวก‍เขา​ไม่​สามารถ​เข้า​ไป​ถึง​ตัว​ของ​พระ‍องค์​เพราะ​มี​คน​ มากพวก‍เขา​จึง​เจาะ​ดาด‍ฟ้า​ตรง​ที่​พระ‍องค์​ประ‌ทับ​นั้นและ​เมื่อ​ทำ​ เป็น​ช่อง​แล้วพวก‍เขา​ก็​หย่อน​แคร่​ที่​คน‍ง่อย​นอน​อยู่​ลง‍ไป 5เมื่อ​พระ‍เยซู​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​ความ​เชื่อ​ของ​พวก‍เขาพระ‍องค์​จึง​ ตรัส​กับ​คน‍ง่อย​ว่า“ลูก​เอ๋ยบาป​ของ​เจ้า​ได้​รับ​การ​อภัย​แล้ว” 6แต่​มี​พวก​ธรร‌มา‌จารย์​บาง‍คน​นั่ง​อยู่​ที่​นั่น​และ​คิด​ใน​ใจ​ว่า 7“ทำไม​คน​นี้​พูด​อย่าง‍นี้ หมิ่น‍ประ‌มาท​พระ‍เจ้า​นี่ใคร​จะ​อภัย​บาป​ได้​นอก‍จาก​พระ‍เจ้า​องค์​ เดียว” 8พระ‍เยซู​ทรง​ทราบ​ใน​พระ‍ทัย​ทัน‍ที​ว่า​พวก‍เขา​สนทนา​กัน​ใน​หมู่​ พวก‍เขา​อย่าง​นั้น จึง​ตรัส​ว่า “ทำไม​พวก‍ท่าน​ถึง​คิด​ใน​ใจ​อย่าง‍นี้ 9การ​ที่​พูด​กับ​คน‍ง่อย​ว่า‘บาป​ต่างๆ ของ​ท่าน​ได้​รับ​การ​อภัย​แล้ว’ กับ​การ​พูด​ว่า ‘จง​ลุก‍ขึ้น​ยก​แคร่​เดิน​ไป​เถิด’ แบบ​ไหน​จะ​ง่าย​กว่า​กัน 10ทั้ง‍นี้​เพื่อ​ให้​พวก‍ท่าน​รู้​ว่า​บุตร‍มนุษย์​มี​สิทธิ‍อำนาจ​ใน​โลก​ ที่​จะ​อภัย​บาป​ได้” พระ‍องค์​จึง​ตรัส​สั่ง​คน‍ง่อย​ว่า 11“เรา​สั่ง​ท่าน​ว่า จง​ลุก‍ขึ้น​ยก​แคร่​แล้ว​กลับ​บ้าน​ของ​ท่าน” 12คน‍ง่อย​ก็​ลุก‍ขึ้นแล้ว​ยก​แคร่​ของ​ตน​ทัน‍ทีเดิน​ออก​ไป​ต่อ‍หน้า​คน​ ทั้ง‍หลายทุก​คน​ก็​ประ‌หลาด‍ใจ​และ​สรร‌เสริญ​พระ‍เจ้า​กล่าว​ว่า “เรา​ไม่​เคย​เห็น​อะไร​อย่าง‍นี้​เลย”(มาระโก 2:3-12) ดูลูกา 5:18-26 ด้วย

คนง่อยคนนี้ไม่ได้มาหาพระเยซูเหมือนคนอื่นๆ เขาถูกหย่อนลงมาจากหลังคา ผมคิดว่ามัทธิวน่าจะบันทึกเหตุการณ์ที่น่าสนใจนี้ไว้ แต่ท่านไม่ได้ทำ มัทธิวไม่ได้เล่าเรื่องที่มนุษย์มักสนใจ ท่านประกาศข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณ อะไรสำคัญกว่ากัน รู้เรื่องคนง่อยถูกหย่อนมาจากหลังคา หรือรู้ว่าพระเยซูทรงมีอำนาจยกบาปได้? มัทธิวไม่มีเวลาเล่าเรื่อง แม้จะเป็นเรื่องน่าสนใจก็ตาม เป้าหมายของท่านคือนำเสนอพระกิตติคุณ ข่าวประเสริฐที่พระเมสซิยาห์เสด็จมาเพื่อช่วยคนบาป

ผมอยากให้คุณสังเกตุบางอย่างที่พิเศษเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ การตอบสนองของพระเยซูทำให้เห็นถึงความเชื่อของคนอื่นๆด้วย พระเยซูทรงสังเกตุเห็น “ความเชื่อของพวกเขา”:

2นี่‍แน่ะเขา‍ทั้ง‍หลาย​หาม​คน‍ง่อย​คน​หนึ่ง​ซึ่ง​นอน​อยู่​บน​ที่​นอน​มา‍หาพระ‍องค์เมื่อ​พระ‍เยซู​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​ความ​เชื่อ​ของ​พวก‍เขาจึง​ตรัส​กับ​คน‍ง่อย​ว่า“ลูก​เอ๋ย จง​ชื่น‍ใจ​เถิดบาป​ของ​เจ้า​ได้​รับ​อภัย​แล้ว” (มัทธิว 9:2)

ผมไม่อยากมองข้ามความจริงว่า “ของพวกเขา” อาจหมายถึงความเชื่อของชายห้าคน ไม่ใช่แค่สี่ ไม่ได้แนะนำว่าชายง่อยได้รับความรอดเพราะความเชื่อส่วนตัวของเขา แต่อยากให้เรามาดูว่ามัทธิวกำลังบอกอะไร – ความเชื่อของชายทั้งสี่มีบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการรักษาชายง่อย แม้แต่ได้รับการอภัยบาป พระเยซูทรงตอบสนองต่อความเชื่อของคนอื่นๆเมื่อทรงรักษาชายง่อย และอภัยบาปของเขา เป็นคำหนุนใจสำหรับพวกเราที่ควรอธิษฐานให้บ่อยขึ้น และด้วยใจร้อนรนเพื่อผู้อื่น ความเชื่อของผู้ชายกลุ่มนี้ สำแดงออกโดยยื่นมือเข้าไปจัดการและช่วยเหลือเพื่อนที่เป็นง่อย ไม่เพียงแต่เขาจะได้รับพระพรแห่งการรักษา แต่ยังได้รับการอภัยบาปอีกด้วย คำอธิษฐานของเราเพื่อผู้หลงหายนั้นมีความหมายมาก ผมมองไม่เห็นว่าจะเข้าใจเป็นอื่นไปได้อย่างไร

แต่ทำไมพระเยซูถึงไปไกลเกินกว่าสิ่งที่ผู้ชายกลุ่มนี้ร้องขอ? ผมขอให้เหตุผลสามประการ

ประการแรก เมื่อนำพระวจนะตอนนี้ไปพิจารณาผ่านสิ่งที่ อ เปาโลเขียนถึงชาวเอเฟซัส:

20ขอ​ให้​พระ‍เกียรติ​มี​แด่​พระ‍องค์​ผู้​ทรง​สามารถ​ทำ​ทุก‍สิ่ง​ได้​มาก​ยิ่ง‍กว่า​ที่​เรา​ทูล​ขอ​หรือ​คิดโดย​ฤทธา‌นุ‌ภาพ​ที่​ทำ​กิจ​อยู่​ภาย‍ใน​เรา 21ขอ​ให้​พระ‍เกียรติ​จง​มี​แด่​พระ‍องค์​ใน​คริสต‌จักร​และ​ใน​พระ‍เยซู‍คริสต์​ตลอด‍ทุก‍ชั่ว‍อายุ‍คน​เป็น​นิตย์อา‌เมน (เอเฟซัส 3:20-21)

พระเจ้าทรงนำพระสิริมาสู่พระองค์โดยขยายขอบเขตแห่งพระพรต่อคำทูลขอและ ความคาดหวังของเรา คงไม่ต้องสงสัยว่าพระเจ้าทรงนำพระสิริมาสู่พระองค์โดยทำอัศจรรย์รักษาชาย ง่อย เพราะมีบันทึกอยู่ในพระวจนะตอนนี้ :

8เมื่อ​ฝูง‍ชน​เห็น​ดัง‍นั้นพวก‍เขา​ก็​เกรง‍กลัว แล้ว​พา​กัน​สรร‌เสริญ​พระ‍เจ้าผู้​ประ‌ทาน​สิทธิ‍อำนาจ​เช่น​นั้น​แก่​มนุษย์ (มัทธิว 9:8)

ประการที่สอง ผมเชื่อว่าพระเจ้าทรงอภัยบาปให้ชายคนนี้เพราะทำให้เขามีใจกล้ามาเข้าเฝ้าต่อพระพักตร์พระเจ้า ผมอ้างจากคำตรัสของพระเยซู “ลูก​เอ๋ย จง​ชื่น‍ใจ​เถิดบาป​ของ​เจ้า​ได้​รับ​อภัย​แล้ว” (มัทธิว 9:2) เราพบถ้อยคำนี้สามแห่งในพระกิตติคุณมัทธิว ในตอนนี้และตามมาในบทเดียวกัน :

20นี่‍แน่ะมี​ผู้‍หญิง​คน​หนึ่ง​เป็น​โรค ​ตก​โลหิต​ได้​สิบ‍สอง​ปี​แล้วแอบ​มา​ข้าง‍หลัง​แตะ‍ต้อง​ชาย‍ฉลอง‍พระ‍องค์ 21เพราะ​นาง​คิด​ใน​ใจ​ว่า “ถ้า​ฉัน​ได้​แตะ‍ต้อง​ฉลอง​พระ‍องค์​เท่า​นั้นฉัน​ก็​จะ​หาย‍โรค” 22พระ‍เยซู​ทรง​เหลียว‍หลัง​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​เข้าจึง​ตรัส​ว่า“ลูก‍หญิง​ เอ๋ยจง​ชื่น‍ใจ​เถิด ที่​หาย‍โรค​นั้น​ก็​เพราะ​ลูก​เชื่อ” นับ‍ตั้ง‍แต่​เวลา​นั้นผู้‍หญิง​นั้น​ก็​หาย‍ป่วย​เป็น​ปกติ (มัทธิว 9:20-22)

หญิงคนนี้เชื่อว่าเธอจะได้รับการรักษาให้หาย ถ้าเพียงแต่ได้แตะต้องชายฉลองพระองค์ของพระเยซู มีหลายคนได้รับการรักษาโดยแตะชายฉลองของพระองค์ แต่พวกเขาทูลขอก่อน (มัทธิว 9:35-36) ดูเหมือนผู้หญิงคนนี้กลัวไม่กล้าขอ เธอจึง “แอบ” แตะและได้รับการรักษา พระเยซูไม่ต้องการให้เป็นแค่นั้น พระองค์จึงทรงเรียกเธอ ตอนนี้เธอตกใจจริงๆ เรากล้าดียังไงที่แอบขโมยรับการรักษาแล้วตอนนี้คงต้องไปยืนอยู่ต่อหน้าพระ เยซู โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าคนจำนวนมากด้วย? เธอมีความเชื่อจึงได้รับการรักษา แต่ความกลัวทำให้ไม่กล้าเข้าไปไกล้บุตรของพระเจ้า พระเยซูจึงตรัสว่า “จง​ชื่น‍ใจ​เถิด ที่​หาย‍โรค​นั้น​ก็​เพราะ​ลูก​เชื่อ”

คำว่า “จงชื่นใจเถิด” ปรากฎครั้งสุดท้ายในมัทธิวบทที่ 14:

26เมื่อ​สาวก​เห็น​พระ‍องค์​ทรง​ดำ‌เนิน​ มา​บน​ทะเลเขา‍ทั้ง‍หลาย​ก็​แตก‍ตื่น​พูด​กัน​ว่า​ต้อง​เป็น​ผีและ​ร้อง​ ด้วย​ความ​กลัว 27พระ‍เยซู​ตรัส​กับ​พวก‍เขา​ทัน‍ที​ว่า ทำใจดีดีเถิด นี่​เรา​เอง อย่า​กลัว​เลย”(มัทธิว 14:26-27)

พวกสาวกอยู่ในเรือเมื่อพระเยซูเสด็จมาหา ดำเนินมาบนน้ำ พวกเขาไม่รู้ว่านั่นเป็นใคร จึงกลัวกันแทบตาย โทษพวกเขาได้มั้ย? และพระเยซูตรัสกับพวกเขาว่า ทำใจดีดีเถิด นี่​เรา​เอง อย่า​กลัว​เลย” (มัทธิว 14:27ข) เมื่อได้ยิน พวกเขาก็ไม่ได้กลัวผู้ที่ดำเนินมาบนน้ำอีกต่อไป แต่กลับเชิญพระองค์ขึ้นเรือ

ผมเชื่อว่าชายง่อยคนนี้คงกลัวจริงๆ เหมือนหญิงที่โลหิตตก และเหมือนพวกสาวกที่คิดว่าเห็นผี พวกเขากลัวที่จะอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า ชายคนนี้คงมีความกล้าระดับหนึ่ง พอที่เชื่อว่าเขาจะได้รับการรักษาให้หาย เขามีความเชื่อในพระเยซู และถ้าเขาคิดว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสซิยาห์ ก็เป็นการดีที่สมควรกลัวต่อเบื้องพระพักตร์ เพราะอะไร เพราะละอายต่อความบาป จนไม่กล้าเข้าใกล้พระเมสซิยาห์?

พระเยซูทรงทราบความคิดของพวกธรรมาจารย์ ซึ่งเราจะได้เห็นต่อไป (ข้อ 4) พระองค์ยังทรงทราบถึงจิตใจของชายทั่งสี่ที่หามแคร่มา (ทรง “เห็น” ความเชื่อของพวกเขา ข้อ 2) แล้วทำไม พระองค์จะไม่ทรงรับรู้ความคิดและความกลัวของชายง่อย? ถ้าชายง่อยคนนี้มีความเชื่อว่าพระเยซูทรงรักษาเขาได้ เขาก็ต้องรู้ว่าพระองค์เป็นผู้ใด แล้วคนอย่างเขา คนบาปที่ไม่สมควร จะเข้าไปใกล้บุตรของพระเจ้าและหวังจะได้รับการรักษาได้อย่างไร? เป็นคำถามที่ดีมากๆ เมื่อทรงทราบ พระเยซูทรงขจัดความกลัวออกไปจากเขา ให้กำลังใจ ตรัสบอกเขาว่าบาปของเขาได้รับการอภัยแล้ว ถ้อยคำของพระองค์ปลอบใจและให้ความมั่นใจว่าจะทรงเติมความต้องการฝ่ายวิญญาณ ให้เขา และถ้อยคำต่อจากนั้นเป็นการเติมเต็มความต้องการฝ่ายกาย

ประการที่สาม พระเยซูให้อภัยบาปชายคนนี้เพราะทรงทราบว่าพวกพวกธรรมาจารย์จะแปลความหมายออก พระเยซูกำลังประกาศว่าพระองค์คือพระเจ้า และประกาศต่อหน้าผู้คนอย่างชัดเจนว่าทรงอภัยความบาปให้ชายง่อยคนนี้ได้ พวกธรรมาจารย์ไม่พลาดประเด็นนี้แน่ พวกเขาคิดในแง่ของศาสนศาสตร์ทันที และให้เหตุผลถูกต้องด้วย ใคร​จะ​อภัย‍บาป​ได้​นอก‍จาก​พระ‍เจ้า​เท่า​นั้น?” (ลูกา5:21) บางทีอาจนึกได้ว่าเป็นพระวจนะจากหนังสืออิสยาห์:

25“เรา เรา​เอง​คือ​ผู้​นั้นผู้‍ลบ‍ล้าง​การ​ทรยศ​ของ​เจ้า​ด้วย​เห็น‍แก่​เรา​เอง

และ​เรา​จะ​ไม่​จด‍จำ​บาป​ของ​เจ้า” (อิสยาห์ 43:25)

สังเกตุดูมัทธิวไม่ได้บันทึกคำว่า “ใคร​จะ​อภัย‍บาป​ได้​นอก‍จาก​พระ‍เจ้า​เท่า​นั้น?”เพราะคงไม่มีความจำเป็น ในอีกมุม เราพบถ้อยคำนี้อยู่ในทั้งมาระโกและลูกา ส่วนมัทธิวกลับบันทึกคำกล่าวหาว่า “คน​นี้​หมิ่น‍ประ‌มาท​พระ‍เจ้า” (มัทธิว 9:3) พระเยซูถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระเจ้า เพราะทรงอ้างว่าพระองค์คือพระเจ้า

33 พวก​ยิว​ทูล​ตอบ​พระ‍องค์​ว่า“เรา​จะ​ขว้าง​ท่าน​ไม่​ใช่​เพราะ​การ​ดี​ใดๆ แต่​เพราะ​การ​พูด​หมิ่น‍ประ‌มาท​พระ‍เจ้าเพราะ​ท่าน​เป็น​เพียง​มนุษย์​แต่ ​ตั้ง‍ตัว​เป็น​พระ‍เจ้า” (ยอห์น 10:33) ดู ยอห์น 5:18; 19:17 ด้วย

สังเกตุดูพวกธรรมาจารย์ไม่ได้พูดคำกล่าวหาออกมา หรือท้าทายพระเยซูต่อหน้าฝูงชน ทำไม? ผมคิดว่าเพราะพระเยซูไม่เปิดโอกาสให้ ทรงไม่ทันให้พวกเขาตั้งตัวโดยตีแผ่ความคิดของพวกเขาก่อนที่จะกล้าประท้วง และนี่คืออีกบทพิสูจน์ว่าพระองค์คือบุตรของพระเจ้า

ตรรกะของพวกธรรมาจารย์นั้นไม่มีตำหนิ พวกเขาพูดไปตามที่วินิจฉัย แต่พวกเขาจะกล้าไปตามหลักฐานที่เกิดขึ้นจนที่สุดหรือ? แรก พระเยซูทรงประกาศอย่างตรงๆว่าทรงมีอำนาจยกบาปได้ โดยการยกโทษบาปให้ชายที่เป็นง่อย และทรงตีแผ่ความคิดภายในของพวกธรรมาจารย์ ที่ต่อต้านคำประกาศนี้ด้วยข้อหาดูหมิ่นพระเจ้า จากนั้นพระองค์ทรงทดสอบให้เห็นถึงสิทธิอำนาจของพระองค์ “…​ที่​พูด​กับ​คน‍ง่อย​ว่า ‘บาป​ต่างๆ ของ​ท่าน​ได้​รับ​การ​อภัย​แล้ว’ กับ​การ​พูด​ว่า ‘จง​ลุก‍ขึ้น​ยก​แคร่​เดิน​ไป​เถิด’ แบบ​ไหน​จะ​ง่าย​กว่า​กัน?

ถ้าเป็นสมัยนี้เราคงใช้คำว่า “หุบปากไปเลย” แปลว่าถ้าพิสูจน์คำพูดไม่ได้ก็ไม่ต้องพูด ตรงนี้พระเยซูไม่ได้พูดเกี่ยวกับความสามารถเอ่ยคำพูดบางคำออกมา พระองค์กำลังถามว่า “ใครจะสามารถพูดถ้อยคำนี้และแสดงให้เห็นว่าคำพูดของเขาสำเร็จลงตามที่พูด?” ในแง่นั้น มันง่ายกว่าหรือไม่ที่จะพูดว่า “บาปของเจ้าได้รับอภัยแล้ว แทนที่จะพูดว่า “จงลุกขึ้นเดินไปเถิด” คุณไม่อาจเห็นผลทันทีเรื่องการอภัยบาป เพราะเป็นเรื่องจิตใจภายใน จะเห็นผลได้ต้องใช้เวลา5 ดังนั้นจึงง่ายกว่าที่จะพูดเช่นนั้น เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตา แต่ถ้าพระเยซูตรัสว่า “จงลุกขึ้นเดินไปเถิด” พระองค์ต้องรับรองสิ่งที่ตรัสด้วยการรักษาชายคนนี้ในทันที หรือกลายเป็นว่าคำตรัสของพระองค์นั้นว่างเปล่า

พระเยซูทรงพิสูจน์ตนเองในสิ่งที่พระองค์ตรัส แต่ใช้วิธีที่แยบยล ทรงเชื่อมโยงการอัศจรรย์รักษาโรค เข้ากับสิทธิอำนาจในการยกบาป ตรรกะนี้ทำให้พวกธรรมจารย์คิดออกว่า ไม่มีใครยกบาปได้เว้นแต่พระเจ้า ทำให้พวกเขาสรุปได้ว่าพระเยซูคือพระเจ้านั่นเอง ถ้าพระองค์อภัยบาปได้ และตอนนี้พระองค์ทรงเชื่อมโยงอีกตรรกะเข้าไป – ถ้าพระองค์ทรงรักษาชายง่อยนี้ได้ (ซึ่งมองดูยากกว่า) ที่แน่ๆคือทรงอภัยบาปให้ได้ (ซึ่งดูง่ายกว่า) ถ้าพระเยซูทรงรักษาชายง่อยได้ พระองค์ก็ต้องเป็นพระเจ้า

พระเยซูจึงหันไปหาชายง่อยและตรัสกับเขาว่า “จงลุกขึ้น ยกที่นอนกลับไปบ้านของท่าน” (ข้อ 7) ชายง่อยจึงลุกขึ้นและกลับบ้านไปตามคำสั่งของพระเยซู สรุปได้เพียงอย่างเดียว – พระเยซูต้องเป็นพระเจ้า แต่ดูเหมือนคนไม่เข้าใจ พวกธรรมาจารย์เงียบกริบ ฝูงชนประทับใจมาก แต่พวกเขามองไม่ออกว่าพระเยซูคือพระเจ้า:

เมื่อ​ฝูง‍ชน​เห็น​ดัง‍นั้น พวก‍เขา​ก็​เกรง‍กลัว แล้ว​พา​กัน​สรร‌เสริญ​พระ‍เจ้า ผู้​ประ‌ทาน​สิทธิ‍อำนาจ​เช่น​นั้น ​แก่มนุษย์ (มัทธิว 9:8)

ฝูงชนมองว่านี่เป็นการงานของพระเจ้า และดูจะรับรู้แค่ว่าพระเยซูเป็น “คนของพระเจ้า” ไม่ได้ตระหนักว่าพระองค์เองคือพระเจ้า พวกเขาสรรเสริญพระเจ้า (แต่ไม่ใช่พระเยซูในฐานะพระเจ้า) ที่ได้ประทานสิทธิอำนาจนั้นให้ “แก่มนุษย์” พระเยซูจึงเป็นแค่มนุษย์ในสายตาพวกเขา ซึ่งอาจได้รับอำนาจบางอย่างจากพระเจ้า ผมคิดว่าน่าจะหมายความว่าพวกเขาเห็นพระเยซูเป็นผู้เผยพระวจนะ เหมือนกับชายที่เกิดมาตาบอด (จนกระทั่งพระเยซูบอกเขาอีกแบบ) :

17 พวก‍เขา ​จึง​พูด​กับ​คน‍ตา‍บอด​อีก​ว่า “เจ้า​คิด​อย่าง‍ไร​เรื่อง​คน‍นั้น ใน​เมื่อ​เขา​ทำ​ให้​ตา​ของ​เจ้า​หาย​บอด?” ชาย​คน‍นั้น​ตอบ​ว่า “ท่าน​เป็น​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ” … 30ชาย ​คน‍นั้น​ตอบ​ว่า “เออ ประ‌หลาด​จริงๆ นะ​ที่​พวก‍ท่าน​ไม่​รู้​ว่า​คน​นั้น​มา​จาก​ไหน แต่​เขา​ก็​ทำ​ให้​ตา​ของ​ข้าพ‌เจ้า​หาย​บอด​ได้ 31เรา​รู้​ว่า​พระ‍เจ้า​ไม่​ทรง​ฟัง​คน‍บาป แต่​ทรง​ฟัง​คน​ที่​ยำ‌เกรง​พระ‍องค์​และ​ทำ​ตาม​พระ‍ทัย​ของ​พระ‍องค์ 32ตั้ง‍แต่​สมัย​ไหนๆ ก็​ไม่​เคย​มี​ใคร​ได้‍ยิน​ว่า​มี​คน​สามารถ​ทำ​ให้​ตา​ของ​คน​ที่​บอด​แต่​ กำ‌เนิด​มอง‍เห็น​ได้ 33ถ้า​คน​นั้น​ไม่‍ได้​มา​จาก​พระ‍เจ้า เขา​จะ​ไม่​สามารถ​ทำ​ได้” (ยอห์น 9:17; 30-33)

เราไม่ควรชี้นิ้วด่วนสรุปเอาในตอนนี้ ผมไม่เชื่อว่าพวกสาวกมองเห็นนัยในการอัศจรรย์รักษาโรค เพราะเปโตรเองกว่าจะ “ยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์” ก็เข้ามัทธิวบทที่ 16 แล้ว

ผมอยากพูดอีกเรื่องเกี่ยวกับชายง่อยก่อนจะไปเรื่องถัดไป พระเยซูไม่ได้ทรงใช้ชายง่อยนี้ แต่ทรงเป็นห่วงเขา ถึงพระองค์จะใช้สถานการณ์นี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าพระองค์ไม่เพียงแต่มีฤทธิ อำนาจในการรักษา แต่สามารถช่วยมนุษย์ให้รอดจากบาปได้ด้วยการอภัยให้ แต่พระเยซูไม่ได้ “ใช้” ชายง่อยคนนี้ในแบบที่พวกผู้นำศาสนาคิด ลองเปรียบเทียบกับพระวจนะตอนนี้ในพระกิตติคุณมัทธิว กับมาระโก:

1แล้ว​พระ‍องค์​เสด็จ​เข้า​ไป​ใน​ ธรรม‍ศาลา​อีก และ​มี​คน​ที่​มือ​ข้าง‍หนึ่ง​ลีบ​อยู่​ที่​นั่น 2คน​เหล่า‍นั้น​คอย​เฝ้า‍ดู​ว่า พระ‍องค์​จะ​รักษา​โรค​ให้​คน‍นั้น​ใน​วัน‍สะ‌บา‌โต​หรือ​ไม่ เพื่อ​จะ​หา​เหตุ​ฟ้อง​พระ‍องค์ 3พระ‍องค์​ตรัส​กับ​คน​มือ​ลีบ​ว่า “มา​ข้าง‍หน้า​เถอะ” 4แล้ว ​พระ‍องค์​ตรัส​กับ​คน​ทั้ง‍หลาย​ว่า “ใน​วัน‍สะ‌บา‌โต​ควร​จะ​ทำ​การ​ดี​หรือ​ทำ​การ‍ร้าย ควร​จะ​ช่วย​ชีวิต​หรือ​ทำ‍ลาย​ชีวิต?” คน​ทั้ง‍หลาย​ก็​นิ่ง​อยู่ 5พระ‍องค์ ​ทอด‍พระ‍เนตร‍ดู​รอบๆ ด้วย​พระ‍พิโรธ​และ​เสีย​พระ‍ทัย ที่​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍เขา​กระ‌ด้าง แล้ว​พระ‍องค์​ตรัส​กับ​ชาย​คน​นั้น​ว่า “จง​เหยียด​มือ​ออก​เถิด” เขา​ก็​เหยียด​ออก และ​มือ​ของ​เขา​ก็​หาย​เป็น​ปกติ 6พวก​ฟาริสี​จึง​ออก​ไป​และ​ปรึก‌ษา​กับ​พรรค‍พวก​ของ​เฮ‌โรด​ทัน‍ที​ว่า​ทำ ​อย่าง‍ไร​พวก‍เขา​ถึง​จะ​ฆ่า​พระ‍องค์​ได้ (มาระโก 3:16)

พวกธรรมาจารย์และฟาริสีไม่ได้เป็นห่วงผู้คน พวกเขาขาดความเมตตาสงสาร (ซึ่งเป็นประเด็นของพระเยซูในมัทธิว 9:13) ดูความใจดำของพวกเขาที่มีต่อคนที่กำลังทนทุกข์:

10ขณะ‍ที่​พระ‍เยซู​ทรง​สั่ง‍สอน​อยู่​ ที่​ธรรม‍ศาลา​แห่ง‍หนึ่ง​ใน​วัน‍สะ‌บา‌โต 11 มี​ผู้‍หญิง​คน​หนึ่ง​ที่​มี​ผี​เข้า‍สิง​ซึ่ง​ทำ​ให้​นาง​เป็น​โรค​มา​ สิบ‍แปด​ปี​แล้ว​อยู่​ที่​นั่น​ด้วย หลัง​ของ​นาง​ก็​โกง ยืด​ตัว​ขึ้น​ไม่‍ได้​เลย 12เมื่อ ​พระ‍เยซู​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​จึง​ทรง​เรียก​และ​ตรัส​กับ​นาง​ว่า “หญิง​เอ๋ย เธอ​ได้​รับ​การ​ปลด‍ปล่อย​ให้​พ้น​จาก​โรค​ของ​เธอ​แล้ว” 13เมื่อ​พระ‍องค์​วาง​พระ‍หัตถ์​บน​ตัว​นาง ทัน‍ใด​นั้น​นาง​ก็​ยืด​ตัว‍ตรง​ได้และ​สรร‌เสริญ​พระ‍เจ้า 14แต่ ​นาย‍ธรรม‍ศาลา​ไม่​พอ‍ใจ เพราะ​พระ‍เยซู​ทรง​รักษา​โรค​ใน​วัน‍สะ‌บา‌โต จึง​พูด​กับ​ฝูง‍ชน​ว่า “มี​ถึง​หก​วัน​สำหรับ​ทำ‍งาน จง​มา​และ​รับ​การ​รักษา​โรค​ภาย‍ใน​หก​วัน‍นั้น อย่า​ทำ​ใน​วัน‍สะ‌บา‌โต” 15แต่ ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ตรัส​ตอบ​เขา​ว่า “โอ พวก​หน้า‍ซื่อ‍ใจ‍คด พวก‍ท่าน​ทุก​คน​ก็​ปล่อย​วัว​ปล่อย​ลา​ออก​จาก​คอก​ของ​มัน​พา​ไป​กิน​น้ำ​ ใน​วัน‍สะ‌บา‌โต​ไม่​ใช่​หรือ? 16ผู้​หญิง​คน​นี้​เป็น​บุตร‍สาว​ของ​อับ‌รา‌ฮัม​ซึ่ง​ถูก​ซา‌ตาน​ผูก‍มัด​ ไว้​ ถึง​สิบ‍แปด​ปี​แล้ว ไม่‍ควร​หรือ​ที่​จะ​ให้​นาง​หลุด​พ้น​จาก​เครื่อง‍จำ‍จอง​นี้​ใน วัน‍สะ‌บา‌โต?” 17เมื่อ​พระ‍องค์​ตรัส​อย่าง​นั้น​แล้ว พวก​ที่​เป็น​ศัตรู​กับ​พระ‍องค์​ก็​ได้​รับ​ความ​อับอาย แต่​ฝูง‍ชน​ทั้ง‍หมด​ชื่น‍ชม​ยินดี​กับ​คุณ‍ความ‍ดี​ทุก‍ประ‌การ​ที่​ พระ‍องค์​ทรง​ทำ (ลูกา 13:10-17)

พระเยซูทรงมีพระทัยเมตตาสงสารชายง่อย พระองค์ไม่เพียงแต่รักษาอาการของโรค แต่ทรงอภัยบาปให้ด้วย ขณะที่พระเยซูทรงใช้สถานการณ์นี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าพระองค์มีสิทธิอำนาจยก บาปได้ พระองค์ไม่ได้ทำโดยใช้ชายคนนี้ ทั้งหมดนี้เป็นสถานการณ์แบบ วิน-วิน

พระเยซูและมัทธิว – คนบาปที่ถูกเรียกมาเป็นสาวก (มัทธิว 9:9-13)

9เมื่อ ​พระ‍เยซู​เสด็จ​เลย​ตำบล​นั้น​ไป ก็​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​คน​หนึ่ง​ชื่อ​มัท‌ธิว​นั่ง​อยู่​ที่​ด่าน‍ภาษี จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “จง​ตาม​เรา​มา​เถิด” เขา​ก็​ลุก‍ขึ้น​ตาม​พระ‍องค์​ไป 10เมื่อ​พระ‍องค์​ประ‌ทับ​และ​เสวย​อาหาร​ อยู่​ใน​บ้าน มี​คน‍เก็บ‍ภาษี​และ​คน‍บาป​อื่นๆ หลาย​คน เข้า‍มา​ร่วม​รับ‍ประ‌ทาน​อาหาร​กับ​พระ‍เยซู และ​กับ​บรร‌ดา​สาวก​ของ​พระ‍องค์ 11เมื่อ ​พวก​ฟาริสี​เห็น​แล้ว ก็​กล่าว​กับ​พวก​สาวก​ของ​พระ‍องค์​ว่า “ทำไม​อา‌จารย์​ของ​พวก‍ท่าน​จึง​รับ‍ประ‌ทาน​อาหาร​ด้วย‍กัน​กับ​พวก​ คน‍เก็บ‍ภาษี และ​พวก​คน‍บาป?” 12เมื่อ​พระ‍เยซู​ทรง​ได้‍ยิน​แล้ว​ก็​ตรัส​ว่า “คน​แข็ง‍แรง​ไม่​ต้อง‍การ​หมอ แต่​คน​เจ็บ‍ป่วย​ต้อง‍การ 13ท่าน​จง​ไป​เรียน​ความ‍หมาย​ของ​คัมภีร์​ข้อ​นี้ ที่​ว่า ‘เรา​ประ‌สงค์​ความ​เมตตา ไม่​ประ‌สงค์​เครื่อง‍สัตว‌บูชา’ ด้วย‍ว่า​เรา​ไม่‍ได้​มา​เพื่อ​เรียก​คน​ชอบ‍ธรรม แต่​มา​เรียก​คน‍บาป” (มัทธิว 9:9-13)

ถึงจะไม่ควร แต่อดคิดไม่ได้ว่าอะไรตรงนี้ที่ขาดหายไป พระเยซูทรงผ่านบูธเก็บภาษีของมัทธิวไปกี่หน? และกี่หนที่มัทธิวได้ยินคำสอนของพระองค์ เห็นพระองค์ทำอัศจรรย์รักษาคนป่วย? มัทธิวเคยคิดอยากติดตามพระเยซูมาสักพักหรือเปล่า? ไม่มีบันทึกไว้ แต่มีบันทึกว่าเขาเป็นคนเก็บภาษี เป็นอาชีพที่ถูกมองว่าต่ำที่สุดแล้วในยุคนั้น

17 “ถ้า ​เขา​ไม่​ฟัง​คน​เหล่า‍นั้น จง​ไป​แจ้ง​ต่อ​คริสต‌จักร ถ้า​เขา​ยัง​ไม่​ฟัง​คริสต‌จักร​อีก ก็​ให้​ถือ‍ว่า​เขา​เป็น​เหมือน​คน‍ต่าง‍ชาติ​หรือคน‍เก็บ‍ภาษี” (มัทธิว 18:17)

1เมื่อ​พระ‍เยซู​เสด็จ​เข้า​ไป​ใน​เมือง​ เย‌รี‌โค​และ​กำลัง​เสด็จ​ผ่าน​ไป​ตาม‍ทาง 2มี​ชาย​คน​หนึ่ง​ชื่อ​ศัก‌เคียส​อยู่​ที่​นั่น เขา​เป็น​นาย‍ด่าน‍ภาษี​และ​เป็น​คน‍มั่ง‍มี 3เขา​พยา‌ยาม​จะ​ดู​ว่า​พระ‍เยซู​เป็น​ใคร แต่​คน​มาก​จึง​มอง​ไม่​เห็น เพราะ​เขา​เป็น​คน‍เตี้ย 4เขา​จึง​วิ่ง​ไป​ข้าง‍หน้า ปีน‍ขึ้น​ต้น‍มะเดื่อ​เพื่อ​จะ​ได้​มอง‍เห็น​พระ‍องค์ เพราะ‍ว่า​พระ‍องค์​กำลัง​จะ​เสด็จ​ผ่าน​ทาง​นั้น 5เมื่อ ​พระ‍เยซู​เสด็จ​มา​ถึง​ที่​นั่น พระ‍องค์​แหงน​พระ‍พักตร์​ดู​ศัก‌เคียส​แล้ว​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “ศัก‌เคียส​เอ๋ย จง​รีบ​ลง‍มา เพราะ‍ว่า​วัน‍นี้​เรา​จะ​ต้อง​พัก​อยู่​ใน​บ้าน​ของ​ท่าน” 6แล้ว​เขา​ก็​รีบ​ลง‍มา​ต้อน‍รับ​พระ‍องค์​ด้วย​ความ​ชื่น‍ชม​ยินดี 7ทุก​คน​ที่​เห็น​แล้ว​ก็​พา​กัน​บ่น​และ​กล่าว​ว่า “ท่าน​ผู้‍นี้​จะ​เข้า​ไป​พัก​อยู่​กับ​คน‍บาป” 8ส่วน ​ศัก‌เคียส​นั้น​ยืน​ขึ้น​ทูล​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ว่า “องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า ทรัพย์​สิ่ง‍ของ​ของ​ข้า‍พระ‍องค์ ข้า‍พระ‍องค์​ยอม​ให้​คน​ยาก‍จน​ครึ่ง‍หนึ่ง และ​ถ้า​ข้า‍พระ‍องค์​โกง​อะไร​ของ​ใคร​มา ก็​ยอม​คืน​ให้​เขา​สี่​เท่า” 9พระ‍เยซู​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “วัน‍นี้​ความ​รอด​มา​ถึง​บ้าน​นี้​แล้ว เพราะ​คน‍นี้​เป็น​ลูก​ของ​อับ‌รา‌ฮัม​ด้วย 10เพราะ‍ว่า​บุตร‍มนุษย์​มา​เพื่อ​จะ​แสวง‍หา​และ​ช่วย​ผู้​ที่​หลง‍หาย​ไป​ นั้น​ให้​รอด (ลูกา 19:1-10)

ในหนังสือพระกิตติคุณเหมือนแต่ละเล่ม 6 เรารู้เพียงว่าพระเยซูทรงเรียกให้มัทธิวตามพระองค์ไป และเขาก็ตามพระองค์ไปในทันที คุณนึกภาพการตัดสินใจแบบนี้ออกหรือไม่? มันดูเสี่ยงที่จะออกจากงานแบบกะทันหันหรือเปล่า ผมคงไม่อยากเป็นมัทธิว กลับไปบ้าน เจอภรรยา : “ที่รักจ๊ะ มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย ผมเพิ่งลาออกจากงานเพื่อติดตามพระเยซูไป แล้วเดี๋ยวเย็นนี้จะมีคนกลุ่มใหญ่มาทานข้าวที่บ้าน” งานที่มัทธิวทำรายได้ดี และมีโอกาส “ก้าวหน้า” สูง โดยการเป็นคนเก็บภาษี ตอนนี้มัทธิวเข้าสู่โหมดตกงาน และวางอนาคตตนเองไว้กับลูกช่างไม้ยากจน

ผมคิดว่าที่มัทธิวเล่าเรื่องนี้มีเหตุผลหลายประการ ข้อแรก – ให้ข้อมูลเบื้องหลังการทรงเรียกสาวกคนหนึ่งของพระเยซู 7 ข้อสอง – เป็นการย้ำให้เห็นถึงสิทธิอำนาจของพระเยซูอีกครั้ง พระเยซูทรงขับผีหลายตัวออกไปด้วยคำตรัส (มัทธิว 8:16) และตอนนี้ทรงเรียกสาวก ที่ทิ้งการงานแค่ได้ยินคำตรัสของพระองค์ ข้อสาม การทรงเรียกของมัทธิวกลายเป็นเหตุให้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในท่ามกลางคนบาป แต่เป็นเรื่องหนักใจสำหรับพวกฟาริสี (ข้อ 10-12) 8นี่เป็นโอกาสให้พระเยซูทรงชี้ให้เห็นถึงพระประสงค์เบื้องต้นที่เสด็จลงมา (ข้อ 13)

การเปลี่ยนอาชีพของมัทธิวไม่ได้ตัดสินใจแบบกัดฟันทำ หรือรีรอไม่แน่ใจ แต่เป็นโอกาสแห่งความปิติยินดี ลูกาชี้ให้เห็นชัดเจนว่างานเลี้ยงฉลองนั้นไม่ใช่มีเพื่อมัทธิวคนเดียว แต่มัทธิวเป็นเจ้าภาพจัดงาน:

27หลัง‍จาก ​เหตุ‍การณ์​เหล่า‍นั้น​แล้ว พระ‍องค์​เสด็จ​ออก​ไป และ​ทอด‍พระ‍เนตร​เห็น​คน‍เก็บ‍ภาษี​คน​หนึ่ง​ชื่อ​เลวี​นั่ง​อยู่​ที่​ ด่าน‍ภาษี จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “จง​ตาม​เรา​มา​เถิด” 28เขา​ก็​ลุก‍ขึ้น สละ‍ทิ้ง​ทุก‍สิ่ง​และ​ตาม​พระ‍องค์​ไป 29แล้ว​เลวี​ก็​จัด‍งาน‍เลี้ยง​ใหญ่​เพื่อ​พระ‍องค์​ใน​บ้าน​ของ​ตน มี​คน‍เก็บ‍ภาษี​กลุ่ม​ใหญ่​และ​คน​อื่นๆ มา​ร่วม​ใน​งาน​นั้น​ด้วย (ลูกา 5:27-29)

การติดตามพระเยซูเป็นเหตุแห่งความปิติยินดี และต้องเฉลิมฉลอง มัทธิวจึงเชิญเพื่อนๆมาร่วมฉลอง – เพื่อนในสายงานเก็บภาษี และคนบาป สิ่งนี้รบกวนจิตใจคนบางพวกมาก:

เมื่อ​พวก​ฟาริสี​เห็น​แล้ว ก็​กล่าว​กับ​พวก​สาวก​ของ​พระ‍องค์​ว่า “ทำไม​อา‌จารย์​ของ​พวก‍ท่าน​จึง​รับ‍ประ‌ทาน​อาหาร​ด้วย‍กัน​กับ​พวก​ คน‍เก็บ‍ภาษี และ​พวก​คน‍บาป?” (มัทธิว 9:11)

มีข้อสังเกตหลายประการดังนี้ ประการแรก – มีแต่พวกฟาริสีที่ไม่เห็นด้วย ในกรณีอภัยบาปให้ชายที่เป็นง่อย ตอนนั้นพวกธรรมาจารย์ไม่เห็นด้วย (อย่างน้อยก็ในความคิด) ตอนนี้ ในกรณีที่เรียกมัทธิว ฟาริสีเป็นพวกที่ไม่เห็นด้วย ตอนนี้ถึงกับออกปากบ่นให้สาวกพระเยซูฟัง แต่ไม่ได้พูดกับพระเยซู (ข้อ 11) ธรรมาจารย์ในยุคนั้นก็คือนักศาสนศาสตร์ คงเดาได้ว่าพวกเขากังวลเกี่ยวกับหลักศาสนศาสตร์ในสิ่งที่พระเยซูตรัสกับชาย ง่อย พวกฟาริสีในยุคนั้นคือพวกทำตัวบริสุทธิ์ แยกตัวออกมา คงไม่ต้องสงสัยว่ามันรบกวนใจพวกเขามาก พระเยซูทรงไปสมาคมกับพวก “คนบาป” มากกว่ากับพวกเขา (“เหล่าคนชอบธรรม”)

ประการที่สอง – งานฉลองนี้ดูเหมือนพระเยซูทรงเป็นแขกเกียรติยศ คนเก็บภาษีและคนบาปมาร่วมรับประทานอาหารกับพระเยซูและพวกสาวกของพระองค์ คนบาปรวมกลุ่มกันจัดงานเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การที่พระเยซูไปร่วมงานในฐานะแขกเกียรติยศนับเป็นอีกเรื่อง คนเหล่านี้กำลังเฉลิมฉลองที่พระองค์ประทับอยู่ด้วย ผมเชื่อว่า นี่คือการลิ้มรสชาตของสวรรค์ที่ปลายลิ้น เมื่อบรรดาธรรมิกชนทั้งหลายจะมานั่งร่วมสำรับกับพระผู้ช่วยให้รอด

ประการที่สาม – เราควรสังเกตพวกฟาริสี เช่นเดียวกับพวกธรรมาจารย์ก่อนหน้า ถูกต้อง – อย่างน้อยก็ทางด้านเทคนิค ธรรมาจารย์ถูกต้องที่ให้เหตุผลว่าไม่มีใครสามารถยกโทษบาปได้ มีแต่พระเจ้าเท่านั้น พวกฟาริสีนั้นถูกในแง่ที่สรุปว่าคนที่ร่วมรับประทานอาหารกับพระเยซูคือคนบาป มัทธิวเองที่เรียกพวกเขาว่า “คนเก็บภาษีและคนบาป” (ข้อ 10) พระเยซูเองไม่ได้คิดจะแก้ไขสิ่งที่พวกเขาประเมินด้วย:

12เมื่อ​พระ‍เยซู​ทรง​ได้‍ยิน​แล้ว​ก็​ ตรัส​ว่า “คน​แข็ง‍แรง​ไม่​ต้อง‍การ​หมอ แต่​คน​เจ็บ‍ป่วย​ต้อง‍การ 13ท่าน​จง​ไป​เรียน​ความ‍หมาย​ของ​คัมภีร์​ข้อ​นี้ ที่​ว่า ‘เรา​ประ‌สงค์​ความ​เมตตา ไม่​ประ‌สงค์​เครื่อง‍สัตว‌บูชา’ ด้วย‍ว่า​เรา​ไม่‍ได้​มา​เพื่อ​เรียก​คน​ชอบ‍ธรรม แต่​มา​เรียก​คน‍บาป” (มัทธิว 9:12-13)

จึงเป็นโอกาสอีกครั้ง ให้พระเยซูได้อธิบายถึงพระประสงค์ที่เสด็จมาบนโลก แม้พวกฟาริสีไม่ได้มาเผชิญหน้ากับพระเยซู แต่พระองค์ทรงทราบว่าพวกเขาต่อต้าน จึงไปเผชิญหน้ากับพวกเขา พวกเขาพลาดประเด็นสำคัญ ในมัทธิว 8:17 พันธกิจการรักษาโรคถูกแปลไปตามพระวจนะในอิสยาห์ 53:4 รักษาโรคและที่สำคัญกว่าให้อภัยบาป เป็นพระประสงค์ของพระเยซูที่สละพระชนม์เพื่อชดใช้บาปที่บนกางเขน เมื่อทรงอภัยบาปให้กับชายง่อยในบทที่ 9 เป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างพันธกิจแห่งการรักษา โรค และพันธกิจที่ยิ่งใหญ่กว่า – ให้อภัยคนบาป สิ่งแรกที่ฝ่ายตรงข้ามพระองค์ต่อต้านคือการยกโทษบาป และการไปสามัคคีธรรมกับพวกคนบาป

ถ้าพระเยซูมาทำให้คำพยากรณ์ในอิสยาห์ 53 สำเร็จลง พระองค์จะไม่อภัยให้คนบาปได้อย่างไร? แล้วทำไมพวกฟาริสีถึงไม่พอใจที่พระเยซูไปคบหากับพวกคนบาป? เป็นเพราะพวกเขามองว่าตนเองเป็นคนชอบธรรม พระวจนะจากพระกิตติคุณลูกาน่าจะเกี่ยวข้องและเหมาะกับเรื่องนี้ที่สุด :

9สำหรับ​บาง‍คน​ที่​เชื่อ‍มั่น​ใน​ตัว​ เอง​ว่า​เป็น​คน​ชอบ‍ธรรม​และ​ดู‍หมิ่น​คน​อื่น​นั้น พระ‍องค์​ตรัส​อุปมา​นี้​ว่า 10“มี​สอง​คน​ขึ้น​ไป​อธิษ‌ฐาน​ใน​บริ‌เวณ​พระ‍วิหาร คน​หนึ่ง​เป็น​ฟาริสี​และ​คน​หนึ่ง​เป็น​คน‍เก็บ‍ภาษี 11คน ​ที่​เป็น​ฟาริสี​นั้น​ยืน​อยู่​คน​เดียว​อธิษ‌ฐาน​ว่า ‘ข้า‍แต่​พระ‍เจ้า ข้า‍พระ‍องค์​ขอบ‍พระ‍คุณ​พระ‍องค์​ที่​ข้า‍พระ‍องค์​ไม่​เหมือน​คน‍อื่น​ ที่​เป็น​คน​ฉ้อ‍โกง เป็น​คน​อธรรม และ​เป็น​คน​ล่วง‍ประ‌เวณี และ​ไม่​เหมือน​คน‍เก็บ‍ภาษี​คน‍นี้ 12ข้า‍พระ‍องค์​ถือ​อด‍อาหาร​สอง​วัน​ต่อ​สัปดาห์ และ​สิ่ง​สาร‌พัด​ที่​ข้า‍พระ‍องค์​หา​ได้ ข้า‍พระ‍องค์​ก็​เอา​ทศางค์​มา​ถวาย​เสมอ’ 13ส่วน ​คน‍เก็บ‍ภาษี​นั้น​ยืน‍อยู่‍แต่‍ไกล ไม่​ยอม​แม้​แต่​แหงน​หน้า​ดู​ฟ้า แต่​ตี‍อก​ชก​ตัว​กล่าว​ว่า ‘ข้า‍แต่​พระ‍เจ้า ขอ​ทรง​เมตตา​แก่​ข้า‍พระ‍องค์​ผู้​เป็น​คน‍บาป​เถิด’ 14เรา ​บอก​พวก‍ท่าน​ว่า คน‍นี้​แหละ​เมื่อ​กลับ‍ลง‍ไป​ถึง​บ้าน​ของ​ตน​ก็​ถูก​นับ‍ว่า​เป็น​คน​ ชอบ‍ธรรม ไม่‍ใช่​อีก‍คน‍หนึ่ง​นั้น เพราะ‍ว่า​ทุก‍คน​ที่​ยก​ตัว​ขึ้น​จะ​ต้อง​ถูก​เหยียด​ลง แต่​ทุก‍คน​ที่​ถ่อม‍ตัว​ลง​จะ​ได้​รับ​การ​ยก​ขึ้น (ลูกา 18:9-14)

พวกฟาริสีมองว่าตัวเองเป็นคนชอบธรรม และมองว่าความชอบธรรมของตนเองนั้นเป็นผลมาจากการรักษาธรรมบัญญัติ และรักษาตนให้สะอาดไม่มีมลทินจากการไปคบกับพวกคนบาป พระเยซูทรงละเมิดกฎทุกข้อ เท่าที่พวกเขาเห็น แต่ไม่ใช่พระเยซูที่เป็นฝ่ายผิด พวกฟาริสีต่างหากที่ผิด พวกเขาต้องกลับไปใคร่ครวญพระคัมภีร์เดิม เพราะพระเยซูทรงเป็นผู้มาทำให้คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมสำเร็จลงในฐานะพระ เมสซิยาห์ นี่เป็นสาระสำคัญของพระกิตติคุณมัทธิว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกฟาริสีต้องกลับไปทบทวนสิ่งที่โฮเชยาหมายถึงเมื่อท่านเขียนว่า “เราประสงค์ความเมตตา ไม่ใช่เครื่องบูชา” (มัท ธิว 9:13) พระเยซูทรงอ้างจากโฮเชยา 6:6 มีเรื่องให้เรียนได้มากมายจากพระวจนะตอนนี้ในโฮเชยา และบริบทโดยรอบ มากกว่าที่จะเรียนกันในบทนี้ แต่ขอชี้หลายสิ่งให้เห็น ข้อแรก – คำกล่าวโทษสำหรับทั้งอิสราเอล (เอฟราอิม) และยูดาห์ สำหรับความบาปของพวกเขา และเตือนถึงการพิพากษาที่กำลังมาถึง:

8จง​เป่า​เขา​สัตว์​ใน​กิ‌เบ‌อาห์
จง​เป่า​แตร​ใน​รา‌มาห์
จง​ร้อง‍ตะ‌โกน​ที่​เบ‌ธา‌เวน
โอ เบน‌ยา‌มิน​เอ๋ย จง​มอง​ไป​ข้าง‍หลัง​เจ้า
9ใน​วัน‍ที่​ลง‍โทษ​นั้น
เอฟ‌รา‌อิม​จะ​ร้าง‍เปล่า
เรา​ประ‌กาศ​สิ่ง​ที่​เป็น​จริงท่าม‍กลาง​เผ่า​ต่างๆ ของ​อิสรา‌เอล
10เจ้า‍นาย​ของ​ยู‌ดาห์​ได้​กลาย​เป็น​เหมือน​คน​ที่​ย้าย​หลัก‍เขต
เรา​จะ​เท​ความ​กริ้ว​ของ​เรา​เหนือ​เขา​เหมือน​อย่าง​เท​น้ำ (โฮเชยา 5:8-10)

ข้อสอง – คำกล่าวโทษนี้เจาะจงรวมเอาผู้นำของทั้งอิสราเอลและยูดาห์:

1โอ ปุ‌โร‌หิต​ทั้ง‍หลาย จง​ฟัง​ข้อ​นี้
โอ พงศ์‍พันธุ์​อิสรา‌เอล​เอ๋ย จง​สดับ
โอ ราช‌วงศ์​กษัตริย์ จง​เงี่ย‍หู​ฟัง
เพราะ​เจ้า​ทั้ง‍หลาย​จะ​ถูก​พิพาก‌ษา
เพราะ​เจ้า​เป็น​กับ‍ดัก​ที่​เมือง​มิส‌ปาห์
และ​เป็น​ข่าย​กาง​อยู่​เหนือ​เมือง​ทา‌โบร์ (โฮเชยา 5:1)

10เจ้า‍นาย​ของ​ยู‌ดาห์​ได้​กลาย​เป็น​เหมือน​คน​ที่​ย้าย​หลัก‍เขต
เรา​จะ​เท​ความ​กริ้ว​ของ​เรา​เหนือ​เขา​เหมือน​อย่าง​เท​น้ำ
11เอฟ‌รา‌อิม​ถูก​บีบ‍บัง‍คับ และ​ถูก​ขยี้​ด้วย​การ​ทำ​โทษ
เพราะ​เขา​ตั้ง‍ใจ​ติด‍ตาม​อาจม (โฮเชยา 5:10-11)

9เหล่า​โจร​ซุ่ม‍คอย​ดัก​คน​ฉัน‍ใด
พวก​ปุ‌โร‌หิต​ก็​ซุ่ม‍คอย​ฉัน‍นั้น
เขา​ฆ่า​คน​ระหว่าง​ทาง​ไป​เช‌เคม
แท้‍จริง เขา​ก่อ​อาชญา‌กรรม (โฮเชยา 6:9)

ข้อสาม – เป็นการเรียกให้สำนึกผิดกลับใจ และพระสัญญาแห่งการคืนสู่สภาพดี :

15เรา​จะ​กลับ‍มา​ยัง​สถาน‍ที่​ของ​เรา​ อีก จน‍กว่า​เขา​จะ​ยอม‍รับ​ความ​ผิด​ของ​เขา​และ​แสวง​หา​หน้า​ของ​เรา เมื่อ​เขา​รับ​ความ​ทุกข์‍ร้อน เขา​จะ​แสวง​หา​เรา

1“มา​เถิด ให้​เรา​กลับ​ไป​หา​พระ‍ยาห์‌เวห์
เพราะ​ว่า​พระ‍องค์​ทรง​ฉีก และ​จะ​ทรง​รักษา​เรา​ให้​หาย
พระ‍องค์​ทรง​โบย‍ตี และ​จะ​ทรง​พัน​บาด‍แผล​ให้​แก่​เรา
2อีก​สอง​วัน​พระ‍องค์​จะ​ทรง​ให้​เรา​ฟื้น9
พอ‍ถึง​วัน‍ที่​สาม​จะ​ทรง​ยก​เรา​ขึ้น10
เพื่อ​เรา​จะ​ดำรง​อยู่​เฉพาะ‍พระ‍พักตร์​พระ‍องค์
3ให้​เรา​รู้‍จัก ให้​เรา​พยา‌ยาม​รู้‍จัก​พระ‍ยาห์‌เวห์
การ​ปรา‌กฏ​ของ​พระ‍องค์​ก็​แน่​นอน​เหมือน​รุ่ง‍อรุณ
พระ‍องค์​จะ​เสด็จ​มา‍หา​เรา​อย่าง​ห่า‍ฝน
ดัง​ฝน‍ชุก​ปลาย‍ฤดู​ที่​รด​พื้น​แผ่น‍ดิน” (โฮเชยา 5:15; 6:1-3)

ข้อสี่ – อิสราเอลและยูดาห์ถูกกล่าวโทษที่ไม่รักษาพันธสัญญาแห่งความซื่อสัตย์ และไปวางใจในเครื่องเผาบูชาแทน:

4เอฟ‌รา‌อิม​เอ๋ย เรา​จะ​ทำ​อะไร​กับ​เจ้า​ดี?
ยู‌ดาห์​เอ๋ย เรา​จะ​ทำ​อะไร​กับ​เจ้า​หนอ?
ความ​รัก​ของ​เจ้า​ก็​เหมือน​เมฆ​ใน​ยาม‍เช้า
เหมือน​อย่าง​น้ำ‍ค้าง​ที่​หาย​ไป​แต่‍เช้า‍ตรู่
5ฉะนี้ เรา​จึง​ให้​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​พูด​สับ​เจ้า
เรา​ประ‌หาร​เจ้า​ด้วย​คำ‍พูด​จาก​ปาก​ของ​เรา
การ​พิพาก‌ษา​ของ​เรา​ก็​ออก​ไป​อย่าง​แสง‍สว่าง
6เพราะ​เรา​ประ‌สงค์​ความ​เมตตา ไม่​ประ‌สงค์​เครื่อง‍สัตว‌บูชา
เรา​ประ‌สงค์​ให้​รู้‍จัก​พระ‍เจ้า ยิ่ง‍กว่า​ประ‌สงค์​เครื่อง‍บูชา‍เผา‍ทั้ง‍ตัว (โฮเชยา 6:4-6)

พวกธรรมาจารย์คัดค้านเพราะพระเยซูให้อภัยคนบาปหรือ? พวกฟาริสีคัดค้านเพราะพระองค์ทรงคบค้าสมาคมกับคนบาปหรือ? พระเยซูทรงนำพระวจนะในโฮเชยามาแสดงให้เห็นว่าทำไมพวกเขาจึงเป็นคนบาป เป็นผู้นำศาสนาแต่กลับข่มเหงผู้ที่พวกตนเองนำ “ความชอบธรรม” ของพวกเขาเป็นเพียงพิธีกรรมมากกว่ารู้จักพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ และผูกพันตนอย่างซื่อสัตย์ในพันธสัญญา ผู้นำอิสราเอลและยูดาห์หลงประเด็น ไม่อาจเข้าใจศาสนาอย่างถ่องแท้ จึงนำผู้คนให้หลงทาง พวกเขาต้องสารภาพบาป และวางใจในพระเมสซิยาห์ผู้เสด็จมาช่วยพวกเขาให้รอด ดังนั้นควรจะดีใจที่พระเยซูมาช่วยคนบาปให้รอด ควรเป็นเหมือนเซาโล ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นฟาริสี และเป็นฮีบรูที่เกิดจากฮีบรู ละทิ้งสิ่งที่เคยประกาศว่าตนเองชอบธรรมแล้ว มาผูกพันตนกับพระเยซูคริสต์:

15 คำ​กล่าว​นี้​สัตย์‍จริง​และ​สม‍ควร​แก่​การ​รับ​ไว้​อย่าง‍ยิ่ง คือ​ว่า​พระ‍เยซู‍คริสต์​เสด็จ​มา​ใน​โลก เพื่อ​ทรง​ช่วย​คน‍บาป​ให้​รอด และ​ใน​พวก​คน‍บาป​นั้น​ข้าพ‌เจ้า​เป็น​ตัว​เอ้ 16 แต่​เพราะ‍เหตุ‍นี้​ข้าพ‌เจ้า​จึง​ได้​รับ‍พระ‍เมตตา เพื่อ​ว่า​พระ‍เยซู‍คริสต์​จะ​ได้​ทรง​สำแดง​ความ​อดทน​อย่าง‍ยิ่ง​ต่อ​ข้า พ‌เจ้า​ซึ่ง​เป็น​ตัว​เอ้​นั้น เพื่อ​เป็น​แบบ‍อย่าง​แก่​คน​ทั้ง‍หลายที่​จะ​เชื่อ​ใน​พระ‍องค์แล้ว​ได้​ รับ​ชีวิต​นิ‌รันดร์ (1ทิโมธี 1:15-16)

1สุด‍ท้าย​นี้ พี่‍น้อง​ของ​ข้าพ‌เจ้า จง​ชื่น‍ชม​ยินดี​ใน​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า การ​เขียน​ข้อ‍ความ​เหล่า‍นี้​ถึง​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ซ้ำ​อีก​ไม่​ใช่​เรื่อง​ ลำ‌บาก​สำหรับ​ข้าพ‌เจ้า และ​ยัง​เป็น​เรื่อง​ปลอด‍ภัย​สำหรับ​ท่าน 2จง​ระวัง​พวก​สุนัข จง​ระวัง​พวก​ที่​ทำ‍ชั่ว จง​ระวัง​พวก​เชือด‍เนื้อ‍เถือ‍หนัง 3เพราะ‍ว่า ​เรา​ต่าง‍หาก​ที่​เป็น​พวก​เข้า‍สุหนัต เป็น​พวก​ที่​นมัส‌การ​โดย​พระ‍วิญ‌ญาณ​ของ​พระ‍เจ้า อวด​พระ‍เยซู‍คริสต์ และ​ไม่​ไว้‍ใจ​ใน​เนื้อ​หนัง 4แม้‍ว่า ​ข้าพ‌เจ้า​เอง​ก็​มี​เหตุ​ที่​จะ​ไว้‍ใจ​ใน​เนื้อ‍หนัง​ด้วย ถ้า​คน​อื่น​คิด‍ว่า​เขา​มี​เหตุ​ที่​จะ​ไว้‍ใจ​ใน​เนื้อ‍หนัง ข้าพ‌เจ้า​ก็​มี​มาก​ยิ่ง‍กว่า‍นั้น‍อีก 5ข้าพ‌เจ้า​เข้า‍สุหนัต​ใน​วัน‍ที่​แปด​ที่​คลอด​มา เป็น​ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอล อยู่​ใน​เผ่า​เบน‌ยา‌มิน เป็น​ชาว​ฮีบรู​ที่​เกิด​จาก​คน​ฮีบรู ใน​ด้าน​ธรรม‍บัญญัติ​ก็​อยู่​ใน​คณะ​ฟาริสี 6ใน​ด้าน​ความ​กระ‌ตือ‍รือ‌ร้น​ก็​ได้​ข่ม‍เหง​คริสต‌จักร ใน​ด้าน​ความ​ชอบ‍ธรรม​ตาม​ธรรม‍บัญญัติ​ก็​ไม่‍มี​ที่​ติ 7แต่​ว่า​อะไร​ที่​เคย​เป็น​กำ‌ไร​ของ​ข้าพ‌เจ้า ข้าพ‌เจ้า​ได้​ถือ‍ว่า​สิ่ง‍นั้น​เป็น​การ​ขาด‍ทุน​แล้ว​เพราะ​เหตุ​ พระ‍คริสต์ 8ยิ่ง‍กว่า‍นั้น ​ข้าพ‌เจ้า​ถือ‍ว่า​ทุก‍สิ่ง​เป็น​การ​ขาด‍ทุน เพราะ​เหตุ​คุณ‍ค่า​อัน​สูง​ยิ่ง​ของ​การ​ได้​รู้‍จัก​พระ‍เยซู‍คริสต์​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ของ​ข้าพ‌เจ้า เพราะ​เหตุ​พระ‍องค์​ข้าพ‌เจ้า​ยอม​ขาด‍ทุน​ทุก‍อย่าง และ​ถือ‍ว่า​สิ่ง​เหล่า‍นั้น​เป็น​เหมือน​เศษ​ขยะ​เพื่อ​ว่า​ข้าพ‌เจ้า​จะ​ ได้​พระ‍คริสต์​เป็น​กำ‌ไร 9และ ​จะ​ได้​เห็น​ว่า​ข้าพ‌เจ้า​อยู่​ใน​พระ‍องค์ ไม่‍มี​ความ​ชอบ‍ธรรม​ที่​ได้​มา​จาก​ธรรม‍บัญญัติ มี​แต่​ที่​ได้​มา​โดย​ความ​เชื่อ​ใน​พระ‍คริสต์ คือ​ความ​ชอบ‍ธรรม​ที่​มา​จาก​พระ‍เจ้า​โดย​ความ​เชื่อ (ฟีลิปปี 3:1-9)

พระเจ้าทรงปิติในผู้ที่แสวงหาความสัมพันธ์กับพระองค์ ไม่ใช่พวกที่แยกออกไปและวางใจในพิธีกรรมและรักษาธรรมบัญญัติ พระเยซูทรงปิติเมื่อได้อยู่ท่ามกลางคนบาป และพวกเขาก็มีความสุขเมื่อได้อยู่ใกล้พระองค์ พระองค์ไม่ทรงปิติในคนที่แยกตัวออกไป ห่างไกลจากคนบาปและจากพระผู้ช่วยให้รอด ถ้าฟาริสีพวกนี้จะยินดีในความรอด พวกเขาต้องมีใจปรารถนาสามัคคีธรรมกับพระผู้ช่วยให้รอด พร้อมกับคนบาปอื่นๆเช่นเดียวกับพวกเขา

พระเยซูและพวกสาวกของยอห์นผู้ให้บัพติศมา – ควรอดอาหารหรือไปงานเลี้ยงดี? (มัทธิว 9:14-17)

14 แล้ว​บรร‌ดา​สาวก​ของ​ยอห์น​มา‍หา​พระ‍เยซู​ทูล​ว่า “ทำไม​เรา​และ​พวก​ฟาริสี​ถือ​อด‍อาหาร แต่​พวก​สาวก​ของ​ท่าน​ไม่​ถือ?” 15 พระ‍เยซู ​จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “บรร‌ดา​แขก​รับ​เชิญ​จะ​โศก‍เศร้า เมื่อ​เจ้า‍บ่าว​ยัง​อยู่​กับ​พวก‍เขา​หรือ? แต่​วัน‍หนึ่ง​เจ้า‍บ่าว​จะ​ถูก​พราก​ไป​จาก​เขา และ​เมื่อ​นั้น​พวก‍เขา​จะ​ถือ​อด‍อาหาร 16ไม่‍มี​ใคร​เอา​ชิ้น​ผ้า​ทอ​ใหม่​มา​ปะ​เสื้อ​เก่า เพราะ‍ว่า​ผ้า​ที่​ปะ​เข้า​นั้น เมื่อ​หด​จะ​ทำ​ให้​เสื้อ​เก่า​ขาด​กว้าง​ออก​ไป​อีก 17และ ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ไม่​เอา​เหล้า‍องุ่น​หมัก​ใหม่ มา​ใส่​ใน​ถุง‍หนัง​เก่า ถ้า​ทำ​อย่าง​นั้น​ถุง‍หนัง​จะ​ขาด น้ำ‍องุ่น​จะ​รั่ว ทั้ง​ถุง‍หนัง​ก็​จะ​เสีย​ไป​ด้วย แต่​เขา​ย่อม​เอา​น้ำ‍องุ่น​หมัก​ใหม่​ใส่​ใน​ถุง‍หนัง​ใหม่ แล้ว​ทั้ง‍คู่​ก็​จะ​อยู่​ใน​สภาพ‍ดี” (มัทธิว 9:14-17)

ในอีกด้าน คำถามจากสาวกของยอห์นจากสองตอนก่อนหน้า พระเยซูทรงให้อภัยคนบาป และร่วมเลี้ยงฉลองกับพวกเขา สาวกของยอห์นในอีกมุม เทศนาว่ามนุษย์ต้องสำนึกผิดและกลับใจจากบาป พวกเขาอดอาหารด้วย บางทีการอดอาหารอาจเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการสำนึกผิด ช่วงนั้นยอห์นถูกจับเข้าคุก (มัทธิว 4:12 คิดว่ายังไม่ถูกประหาร ดู 11:2-6) แต่สาวกของยอห์นอดอาหารและอธิษฐานด้วยสาเหตุอื่น

งานเลี้ยงที่พระเยซูและสาวกของพระองค์ฉลองกับมัทธิวและกลุ่มเพื่อน “คนบาป” (มัทธิว 9:10) ทำให้พวกฟาริสีต่อต้าน อาจเป็นงานเลี้ยงเดียวกันนี้ที่สร้างความประหลาดใจให้กับสาวกของยอห์นผู้ให้ บัพติศมา แต่คำถามที่พวกเขาถามนั้นต่างไป คนละแบบกับการต่อต้านของธรรมาจารย์ (มัทธิว 9:3) และฟาริสี (มัทธิว 9:11) คำถามนี้ไม่ได้เพื่อต่อต้าน แต่ต้องการรู้จริงๆว่าทำไมพระเยซูและพวกสาวกไม่ทำตามบทบัญญัติเรื่องการอด อาหารเหมือนพวกฟาริสี แทนที่จะอดอาหารพระเยซูและสาวกกลับไปงานเลี้ยง ถ้าพระเยซูเป็นผู้ที่ยอห์นมาเตรียมทางให้ จะอธิบายอย่างไรในความต่างระหว่างสิ่งที่พระองค์ทำ การอดอาหารของพวกฟาริสี และสาวกของยอห์น?

ผมคิดว่าพระเยซูไม่ได้ตอบแบบตำหนิ เพราะเป็นคำถามที่ยุติธรรมดี แต่คำตอบต่อคำถามของพวกเขาจะกระจ่างชัดเมื่อพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ ถูกฝัง และคืนพระชนม์ ในตอนนี้พระเยซูทรงตอบโดยการเปรียบเทียบ เปรียบเทียบบนพื้นฐานคำสอนของยอห์น เป็นคำตอบที่พวกเขาไม่อาจ ไม่สามารถ เข้าใจได้ชัดแจ้งในตอนนั้น แต่เพราะยอห์นเคยกล่าวไว้ก่อนหน้า จึงทำให้พวกเขาพอเข้าใจได้:

25 แต่​เกิด​การ​โต้‍เถียง​กัน​ขึ้น​ระหว่าง​พวก​ศิษย์​ของ​ยอห์น​และ​คน​หนึ่ง ​ใน​พวก​ยิว​เรื่อง​การ​ชำระ​มลทิน 26พวก‍เขา ​จึง​ไป​หา​ยอห์น​บอก​ว่า “อา‌จารย์ คน​ที่​อยู่​กับ​อา‌จารย์​ที่​ฟาก​แม่‍น้ำ​จอร์‌แดน​ข้าง‍โน้น คน​ที่​อา‌จารย์​เป็น​พยาน​ถึง​นั้น นี่‍แน่ะ คน​นี้​กำลัง​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​และ​ทุก‍คน​ก็​พา​กัน​ไป​หา​เขา” 27ยอห์น​ตอบ​ว่า “ไม่‍มี​ใคร​สามารถ​รับ​สิ่ง‍ใด นอก‍จาก​สิ่ง​ที่​พระ‍เจ้า​ประ‌ทาน​จาก​สวรรค์​ให้​เขา 28พวก‍ท่าน​เอง​ก็​เป็น​พยาน​ว่า ข้าพ‌เจ้า​พูด​ว่า​ข้าพ‌เจ้า​ไม่‍ได้​เป็น​พระ‍คริสต์ แต่​ข้าพ‌เจ้า​ได้​รับ‍พระ‍บัญชา​ให้​นำ​เสด็จ​พระ‍องค์ 29 ท่าน​ที่​มี​เจ้า‍สาว​นั่น‍แหละ​คือ​เจ้า‍บ่าว เพื่อน​เจ้า‍บ่าว​ที่​ยืน​ฟัง​เจ้า‍บ่าว​ก็​ชื่น‍ชม​ยินดี​อย่าง‍ยิ่ง​เมื่อ ​ได้‍ยิน​เสียง​ของ​เจ้า‍บ่าว เพราะ‍ฉะนั้น​ความ​ปีติ‍ยินดี​ของ​ข้าพ‌เจ้า​จึง​เต็ม​เปี่ยม 30พระ‍องค์​ต้อง​ยิ่ง‍ใหญ่​ขึ้น แต่​ข้าพ‌เจ้า​ต้อง​ด้อย​ลง” (ยอห์น 3:25-30)

ด้วยคำที่ยอห์นพูดกับพวกสาวก ท่านเปรียบตนเองเป็น “เพื่อนเจ้าบ่าว” และพระเยซูทรงเป็น “เจ้าบ่าว” ความต่างระหว่างเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าว คำตอบของพระเยซูจึงทำให้พวกเขาพอเข้าใจ:

15 พระ‍เยซู​จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “บรร‌ดา​แขก​รับ​เชิญ​จะ​โศก‍เศร้าเมื่อ​เจ้า‍บ่าว​ยัง​อยู่​กับ​พวก‍เขา​ หรือ? แต่​วัน‍หนึ่ง​เจ้า‍บ่าว​จะ​ถูก​พราก​ไป​จาก​เขา และ​เมื่อ​นั้น​พวก‍เขา​จะ​ถือ​อด‍อาหาร” (มัทธิว 9:15)

สาวกของพระเยซูไม่อาจโศกเศร้าได้ – ที่จริงไม่ควรโศกเศร้าด้วย – ในขณะที่พระองค์ยังอยู่กับพวกเขา แต่เมื่อพระองค์จากไปแล้ว (ตามที่ทรงบ่งไว้) นั่นแหละเป็นเวลาที่สาวกของพระองค์ต้องอดอาหาร แต่พระเยซูเสด็จมาในฐานะพระเมสซิยาห์ (ตามที่ยอห์นเป็นพยาน – ยอห์น 1:29) พระองค์เสด็จมาเพื่อยกโทษให้คนบาปตามที่พระคัมภีร์เดิมพยากรณ์ (อิสยาห์ 52:13-53:12) และพระองค์ได้ทรงเริ่มยกโทษให้คนบาปเหมือนกับที่ให้อภัยชายง่อย (มัทธิว 9:1-8) พระเยซูเสด็จมาเพื่อช่วยคนบาปและมีสามัคคีธรรมกับพวกเขา (มัทธิว 9:9-10) นี่เป็นเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและชื่นชมยินดี แล้วจะให้พระองค์และพวกสาวกโศกเศร้าได้อย่างไร อย่างเช่นโดยการอดอาหาร? เฉลิมฉลองด้วยใจยินดีเป็นท่าทีที่สมควรต่อการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ และนี่คือเหตุที่ทำให้ยอห์นปิติยินดีอย่างเต็มเปี่ยม (ยอห์น 3:29) สาวกของยอห์นควรต้องทำเช่นกัน

พระวจนะสองข้อสุดท้ายของตอนนี้ไปไกลเกินกว่าอธิบายเหตุผล พระเยซูไม่ได้ปรับไปตามความคาดหวังของมนุษย์ และอธิบายถึงความสัมพันธ์ในการเสด็จมาของพระองค์กับพระคัมภีร์เดิม และพันธสัญญาเดิม:

16 ไม่‍มี​ใคร​เอา​ชิ้น​ผ้า​ทอ​ใหม่​มา​ปะ​เสื้อ​เก่า เพราะ‍ว่า​ผ้า​ที่​ปะ​เข้า​นั้น เมื่อ​หด​จะ​ทำ​ให้​เสื้อ​เก่า​ขาด​กว้าง​ออก​ไป​อีก 17และ ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ไม่​เอา​เหล้า‍องุ่น​หมัก​ใหม่ มา​ใส่​ใน​ถุง‍หนัง​เก่า ถ้า​ทำ​อย่าง​นั้น​ถุง‍หนัง​จะ​ขาด น้ำ‍องุ่น​จะ​รั่ว ทั้ง​ถุง‍หนัง​ก็​จะ​เสีย​ไป​ด้วย แต่​เขา​ย่อม​เอา​น้ำ‍องุ่น​หมัก​ใหม่​ใส่​ใน​ถุง‍หนัง​ใหม่ แล้ว​ทั้ง‍คู่​ก็​จะ​อยู่​ใน​สภาพ‍ดี” (มัทธิว 9:16-17)

เพื่อช่วยให้เข้าใจ เรามาพิจารณาสิ่งที่ลูกาเพิ่มเติมไว้เกี่ยวกับคำสอนของพระเยซูในบริบทนี้:

“ไม่‍มี​ใคร​เมื่อ​ดื่ม​เหล้า‍องุ่น​หมัก ​เก่า​แล้ว จะ​อยาก​ได้​เหล้า‍องุ่น​หมัก​ใหม่ เพราะ​เขา​ย่อม​จะ​กล่าว​ว่า ‘ของ‍เก่า​นั้น​ดี​กว่า’ ” (ลูกา 5:39)

ความสำคัญของประโยคที่เพิ่มเข้ามาในลูกาบอกเราว่าคนในสมัยพระเยซูคิดว่า ของเก่านั้นดีกว่าของใหม่ เหตุผลที่พวกเขาคาดหวังให้พระเยซู “มาปะ” เสื้อเก่า เพราะมองว่าเสื้อเก่านั้นดีกว่าเสื้อใหม่ (ต้องสารภาพว่าผมก็มีเสื้อเก่าแบบนั้นที่ชอบมากไม่อยากทิ้ง ได้แต่ขอให้ภรรยาปะชุนจะได้เก็บเอาไว้ใช้)

พระเยซูทรงมีประเด็นสำคัญที่ตรงนี้ และเราต้องเข้าใจเพื่อจะรู้ซึ้งในข่าวประเสริฐแห่งพระกิตติคุณของพระเยซู คริสต์ พระเยซูไม่ได้มาล้มล้างธรรมบัญญัติและคำของพวกผู้เผยพระวจนะ แต่มาทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์ (มัทธิว 5:17) และมัทธิวเองชี้ให้เห็นว่าครบถ้วนลงอย่างไร แต่การมาทำให้ธรรมบัญญัติครบสมบูรณ์ ไม่เหมือนกับมาทำพันธสัญญาเดิมให้เป็นอมตะ พระเยซูทรงทำให้ธรรมบัญญัติและผู้เผยพระวจนะครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อจะได้เริ่มต้นพันธสัญญาใหม่:

19 พระ‍องค์ ทรง​หยิบ​ขนม‍ปัง เมื่อ​ขอบ‍พระ‍คุณ​แล้ว​ก็​ทรง​หัก​ส่ง​ให้​พวก‍เขา ตรัส​ว่า “นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา ซึ่ง​ให้​ไว้​สำหรับ​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย จง​ทำ​อย่าง‍นี้​เพื่อ​เป็น​ที่​ระลึก‍ถึง​เรา” 20 เมื่อ​รับ‍ประ‌ทาน​แล้ว จึง​ทรง​หยิบ​ถ้วย​และ​ทรง​ทำ​เหมือน‍กัน​ตรัส​ว่า “ถ้วย​นี้​ที่​เท​ออก​เพื่อ​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย เป็น​พันธ‌สัญญา​ใหม่​โดย​โลหิต​ของ​เรา” (ลูกา 22:19-20)

อย่างที่เปาโลและท่านอื่นๆกล่าว พันธสัญญาเดิมไม่อาจช่วยใครให้รอดได้ มีแต่จะสาปแช่งเราที่เป็นคนบาป:

10 เมื่อ​เป็น​เช่น‍นี้ ทำไม​ท่าน​ทั้ง‍หลาย​จึง​ทด‍ลอง​พระ‍เจ้า​โดย​วาง​แอก​บน​คอ​ของ​พวก​สาวก ซึ่ง​เป็น​สิ่ง​ที่​บรรพ‌บุรุษ​หรือ​เรา​เอง​แบก​ไม่‍ไหว 11แต่​ตรง‍ข้าม เรา​เชื่อ​ว่า​เรา​เอง​จะ​รอด​โดย​พระ‍คุณ​ของ​พระ‍เยซู‍คริสต์​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​เช่น​เดียว​กับ​พวก‍เขา” (กิจการ 15:10-11)

เปโตรพูดถ้อยคำนี้ในการประชุมที่กรุงเยรูซาเล็ม เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันเรื่องชาวยิวบางคนต้องการให้ชาวต่างชาติเข้าสุหนัต (ซึ่งก็ทำให้พวกเขาตกอยู่ภายใต้ธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์เดิม) เพื่อจะรอดได้ (ดูกิจการ 15:1) เปโตรยอมรับว่าไม่มีใครแบกภาระนี้ไหว ซึ่งเปาโลเห็นด้วยอย่างเต็มที่:

19 เรา​รู้​แล้ว​ว่าธรรม‍บัญญัติ​ทุก​ข้อ​ที่​ได้​กล่าว​นั้น ก็​กล่าว​แก่​พวก​ที่​อยู่​ใต้​ธรรม‍บัญญัติ เพื่อ​ปิด​ปาก​ทุก‍คน และ​ให้​โลก​ทั้ง‍หมด​อยู่​ใต้​การ​พิพาก‌ษา​ของ​พระ‍เจ้า 20เพราะ‍ว่า​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍เจ้า ไม่‍มี​ใคร​ถูก​ชำระ​ให้​ชอบ‍ธรรม​ได้ ​โดย​การ​ประ‌พฤติ​ตาม​ธรรม‍บัญญัติ เพราะ‍ว่า​ธรรม‍บัญญัติ​นั้น​ทำ​ให้​เรา​รู้‍จัก​บาป 21แต่ ​เดี๋ยว‍นี้​ความ​ชอบ‍ธรรม​ของ​พระ‍เจ้า​นั้น​ปรา‌กฏ​นอก‍เหนือ​ ธรรม‍บัญญัติ ความ​ชอบ‍ธรรม​ดัง‍กล่าว​ก็​ได้​รับ​การ​ยืน‍ยัน​จาก​หมวด​ธรรม‍บัญญัติ​และ ​พวก​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ 22คือ​ความ​ชอบ‍ธรรม​ของ​พระ‍เจ้า ซึ่ง​ปรา‌กฏ​โดย​ความ​เชื่อ​ใน​พระ‍เยซู‍คริสต์​แก่​ทุก‍คน​ที่​เชื่อ โดย​ไม่​ทรง​ถือ‍ว่า​เขา​แตก‍ต่าง​กัน 23เพราะ‍ว่า​ทุก‍คน​ทำ​บาป และ​เสื่อม​จาก​พระ‍สิริ​ของ​พระ‍เจ้า 24แต่​พระ‍เจ้า​ทรง​มี​พระ‍คุณ​ให้​เขา​เป็น​ผู้​ชอบ‍ธรรม​โดย​ไม่​คิด​ มูล‍ค่า โดย​ที่​พระ‍เยซู‍คริสต์​ทรง​ไถ่​เขา​ให้​พ้น​บาป​แล้ว (โรม 3:19-24)

เพื่อให้เป็นไปตามที่ธรรมบัญญัติกำหนด พระเยซูต้องสิ้นพระชนม์ ภายใต้ธรรมบัญญัติ แทนคนบาป เพื่อให้ได้มาซึ่งการอภัยบาป และความมั่นใจในชีวิตนิรันดร์ ในแง่นี้ พันธสัญญาเดิมถูกนำออกไป แทนที่ด้วยพันธสัญญาใหม่

6 แต่​บัด‍นี้​พระ‍เยซู ทรง​ได้​รับ​พันธ‌กิจ​ที่​สูง‍ส่ง​กว่า​ของ​พวก‍เขา เช่น​เดียว​กับ​ที่​พระ‍องค์​ทรง​เป็น​คน​กลาง​แห่ง​พันธ‌สัญญา​อัน​ประ‌เส ริฐ​กว่า ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​บน​พระ‍สัญญา​ที่​ประ‌เสริฐ​กว่า 7เพราะ‍ว่า​ถ้า​พันธ‌สัญญา​เดิม​นั้น​ไม่‍มี​ข้อ​บก‍พร่อง​แล้ว ก็​ไม่​จำ‍เป็น​ต้อง​มี​พันธ‌สัญญา​ที่​สอง​อีก 8เพราะ​พระ‍เจ้า​ทรง​ติ‍เตียน​พวก‍เขา​ว่า “องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ตรัส​ว่า​นี่‍แน่ะวัน‍เวลา​จะ​มา​ถึง เมื่อ​เรา​จะ​ทำ​พันธ‌สัญญา​ใหม่​กับ​ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอล และ​กับ​ชน‍ชาติ​ยู‌ดาห์ 9 ที่​ไม่​เหมือน​กับ​พันธ‌สัญญา​ซึ่ง​เรา​เคย​ทำ​กับ​บรรพ‌บุรุษ​ของ​ เขา‍ทั้ง‍หลาย ใน​วัน‍ที่​เรา​จูง​มือ​พวก‍เขา​เพื่อ​พา​ออก‍จาก​แผ่น‍ดิน​อียิปต์ เพราะ​พวก‍เขา​ไม่‍ได้​ดำรง​อยู่​ใน​พันธ‌สัญญา​ของ​เรา เรา​จึง​ละ‍ทิ้ง​พวก‍เขา​ไว้ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ตรัส​ดัง‍นี้​แหละ 10 นี่​คือ​พันธ‌สัญญา​ที่​เรา​จะ​ทำ​กับ​ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอล ภาย‍หลัง‍จาก​สมัย​นั้น องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ตรัส เรา​จะ​บรร‌จุ​ธรรม‍บัญญัติ​ของ​เรา​ไว้​ใน​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍เขา และ​เรา​จะ​จา‌รึก​มัน​ไว้​ใน​ดวง‍ใจ​ของ​พวก‍เขา และ​เรา​จะ​เป็น​พระ‍เจ้า​ของ​พวก‍เขา และ​พวก‍เขา​จะ​เป็น​ประ‌ชา‍กร​ของ​เรา 11 และ​พวก‍เขา​จะ​ไม่​สอน​เพื่อน‍บ้าน และ​พี่‍น้อง​ของ​ตน​แต่‍ละ‍คน​ว่า ‘จง​รู้‍จัก​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า’ เพราะ​เขา​ทุก​คน​จะ​รู้‍จัก​เรา ตั้ง‍แต่​คน​ต่ำ‍ต้อย​ที่‍สุด​จน‍ถึง​คน​ใหญ่​โต​ที่‍สุด 12 เพราะ​เรา​จะ​เมตตา​ต่อ​การ​อธรรม​ของ​พวก‍เขา และ​จะ​ไม่​จด‍จำ​บรร‌ดา​บาป​ของ​พวก‍เขา​ไว้​เลย” 13เมื่อ​พระ‍องค์​ตรัส​ถึง​พันธ‌สัญญาใหม่  พระ‍องค์​ก็​ทรง​ถือ‍ว่า​พันธ‌สัญญา​เดิม​นั้น​ล้า‍สมัย​แล้ว สิ่ง​ที่​กำลัง​ล้า‍สมัย​และ​เก่า​ไป​นั้น​ก็​ใกล้​จะ​เสื่อม‍สูญ (ฮีบรู 8:6-13)

นี่เป็นคำอธิบายว่าทำไมพระเยซูไม่ได้ปรับไปตามความคาดหวังในตัวพระเม สซิยาห์ของคนในยุคนั้น (แม้แต่พวกสาวกเอง) เมื่อพระองค์เสด็จมาเพื่อทำให้ธรรมบัญญัติ และคำของผู้เผยพระวจนะครบถ้วนสมบูรณ์ พระองค์ยังเสด็จมาเพื่อเริ่มต้นพันธสัญญาที่ใหม่และดีกว่า พระองค์ไม่ได้เสด็จมาเพื่อ “ปะ” ของใหม่เข้าไปกับของเก่า แต่นำสิ่งใหม่ทั้งหมดมา พระองค์ทรงนำ “น้ำองุ่นหมักใหม่” มา และน้ำองุ่นหมักใหม่นี้จะนำไปใส่ใน “ถุงหนังเก่า” ของลัทธิยูดายในพระคัมภีร์เดิมไม่ได้ ยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้เผยพระวจนะคนสุดท้ายของพระคัมภีร์เดิม และเป็นมหาบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของแท้ แต่พระเยซูนำสิ่งที่ดีกว่ามา โดยทำให้คำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิม และความหวังสำเร็จเป็นจริง:

25 ถ้า​ไม่​ใช่​แล้ว​พวก‍ท่าน​ไป​ดู​อะไร? ไป​ดู​คน​ที่​แต่ง‍กาย​ด้วย​เสื้อ‍ผ้า​เนื้อ​ดี​หรือ? นี่‍แน่ะ คน​ที่​แต่ง‍กาย​ด้วย​เสื้อ‍ผ้า​งด‍งาม​และ​อยู่​อย่าง​ฟุ่ม‌เฟือย​ย่อม​ อยู่​ใน​พระ‍ราช‌วัง 26แล้ว​พวก‍ท่าน​ออก​ไป​ดู​อะไร? ดู​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​หรือ? แน่​ที‍เดียว เรา​บอก​ว่า​ยอห์น​เป็น​ยิ่ง‍กว่า​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ 27คือ​ท่าน​ผู้‍นี้​ที่​พระ‍คัมภีร์​เขียน​ไว้​ว่า ‘เรา​จะ​ใช้​ทูต​ของ​เรา​นำ‍หน้า​ท่าน ผู้‍นั้น​จะ​เตรียม​มรรคา ไว้​ข้าง‍หน้า​ท่าน’ 28 เรา​บอก​พวก‍ท่าน​ว่า ใน​บรร‌ดา​คน​ที่​เกิด​จาก​ผู้‍หญิง​นั้น ไม่‍มี​ใคร​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ยอห์น แต่​คน​ที่​ต่ำ‍ต้อย​ที่​สุด​ใน​แผ่น‍ดิน​ของ​พระ‍เจ้า​ก็​ยัง​ใหญ่​กว่า​ ยอห์น” (ลูกา 7:25-28)

พระเยซูเสด็จมาเพื่อทำให้ธรรมบัญญัติสมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อจะทำตามความชอบธรรมของพระคัมภีร์เดิมครบถ้วน พระองค์ต้องสิ้นพระชนม์แทนคนบาป และจัดเตรียมความรอดนิรันดร์ให้ แต่พระองค์ยังเสด็จมาเพื่อจัดตั้งพันธสัญญาใหม่โดยทางพระโลหิตของพระองค์ ด้วย นี่เป็นพันธสัญญาที่ไม่มีเงื่อนไขว่าความรอดจะได้มาต้องพากเพียรปฏิบัติ แต่บนพระชนม์ชีพที่สละแทนพวกเราแล้ว และเป็นไปตามความครบถ้วนสมบูรณ์ของพันธสัญญาเดิม และที่จัดตั้งขึ้นใหม่ พระเยซูทรงอภัยให้คนบาปได้ และชื่นชมยินดี (ในงานเลี้ยง) กับพวกเขาได้ จึงต้องขอบคุณพระเจ้าที่พระองค์ไม่ปรับไปตามความคาดหวังของมนุษย์

บทสรุป

เมื่อเรามาถึงบทสรุปของพระวจนะที่เรียนกันในตอนนี้ เราควรจำไว้ว่ามัทธิวได้เริ่มนำเสนอให้เราเห็นแนวคิดการต่อต้านที่ชาวยิวมี ต่อพระเยซู รวมถึงคนเลี้ยงสุกรที่ขอร้องให้พระเยซูไปจากเขตแดนพวกเขาในพระวจนะก่อนหน้า (มัทธิว 8:34) แต่พวกนี้อาจไม่ใช่คนยิว ที่แน่ๆไม่ใช่ผู้นำศาสนายิว ในพระวจนะของเราตอนนี้ พวกยิวเริ่มต่อต้านพระเยซู เริ่มจากธรรมาจารย์ที่ต่อต้านคำประกาศเป็นนัยว่าพระองค์เป็นพระเจ้า และพวกฟาริสีที่ต่อต้านการเฉลิมฉลองและมีสามัคคีธรรมกับพวก “คนบาป” เราควรต้องจำไว้ว่าการต่อต้านเริ่มต้นเมื่อพระเยซูทรงประกาศว่าพระองค์เป็น พระเจ้า ให้คนที่ชอบพูดว่าพระเยซูไม่เคยอ้างว่าพระองค์เป็นพระเจ้าอ่านดูให้เข้าใจใน ประเด็นที่พระองค์ตรัส ตั้งแต่เริ่มต้นพระราชกิจของพระองค์ที่บนโลก ที่ทรงประกาศว่าพระองค์เป็นพระเจ้า

นอกจากนั้น ธรรมาจารย์และฟาริสีต่อต้านพระเยซูเพราะพระองค์ประกาศว่าทรงมีสิทธิอำนาจใน การอภัยให้คนบาป เป็นสิ่งที่ไม่ว่าปุโรหิต ธรรมาจารย์ ฟาริสี หรือผู้นำศาสนายิวทำมาก่อน นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีในพระคัมภีร์เดิม การถวายบูชาเป็นเพียงการชดใช้ความผิดชั่วคราวในขณะนั้น จนกว่าพระเมสซิยาห์เสด็จมา:

4 แต่​พระ‍เจ้า​ทรง​มี​พระ‍คุณ​ให้​เขา​เป็น​ผู้​ชอบ‍ธรรม​โดย​ไม่​คิด​ มูล‍ค่า โดย​ที่​พระ‍เยซู‍คริสต์​ทรง​ไถ่​เขา​ให้​พ้น​บาป​แล้ว 25พระ‍เจ้า​ได้​ทรง​ตั้ง​พระ‍เยซู​ไว้​ให้​เป็น​เครื่อง‍บูชา‍ไถ่‍บาป​ โดย​พระ‍โลหิต​ของ​พระ‍องค์ ความ​เชื่อ​จึง​ได้​ผล ทั้ง‍นี้​เพื่อ​แสดง​ให้​เห็น​ความ​ชอบ‍ธรรม​ของ​พระ‍เจ้า ใน​การ​ที่​พระ‍องค์​ได้​ทรง​อด‍กลั้น​พระ‍ทัย และ​ทรง​ยก​บาป​ที่​ได้​ทำ​ไป​แล้ว​นั้น 26และ ​เพื่อ​จะ​สำแดง​ใน​ปัจ‌จุ‌บัน​นี้​ว่า​พระ‍องค์​ทรง​เป็น​ผู้​ชอบ‍ธรรม และ​ทรง​ให้​ผู้​ที่​เชื่อ​ใน​พระ‍เยซู​เป็น​ผู้​ชอบ‍ธรรม​ด้วย (โรม 3:24-26)

นี่คือสิ่งที่พระเยซูตรัสถึงเมื่อทรงนำสิ่งใหม่เข้ามา ไม่ใช่เพื่อปะเข้ากับของเก่า พระเยซูทรงมาจัดตั้งพันธสัญญาใหม่ ในขณะเดียวกันเติมเต็มตามที่ของเก่ากำหนด ผู้เขียนหนังสือฮีบรูย้ำอย่างหนักแน่นในเรื่องนี้:

8โดย ​สิ่ง‍นี้​เอง พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์​จึง​ทรง​สำแดง​ว่า ทาง​ที่​นำ​เข้า​สู่​สถาน​ศักดิ์‍สิทธิ์​นั้น​ยัง​ไม่​เปิด ตราบ‍ใด‍ที่​ห้อง​ชั้น‍นอก​นั้น​ตั้ง​อยู่ 9ซึ่ง ​เป็น​เครื่อง‍หมาย​ของ​ยุค​ปัจ‌จุ‌บัน การ​นำ​ของ‍ถวาย​และ​เครื่อง‍บูชา​มา​ถวาย​ตาม​แบบ​นี้​ไม่​สามารถ​ชำระ​ มโน‌ธรรม​ของ​ผู้​ถวาย​นั้น 10เพราะ ​เป็น​เรื่อง​อาหาร​และ​เครื่อง‍ดื่ม​และ​พิธี​ชำระ‍ล้าง​ต่างๆ เท่า​นั้น เป็น​เพียง​กฎ‍เกณฑ์​ต่างๆ ทาง​กาย​เกี่ยว‍กับ​ชีวิต​ภาย‍นอก​ที่​ได้​บัญญัติ​ไว้ จน‍กว่า​จะ​ถึง​เวลา​ที่​ต้อง​เปลี่ยน‍แปลง​ใหม่ 11แต่​เมื่อ​พระ‍คริสต์​เสด็จ​มา​ใน​ฐานะ​มหา‍ปุ‌โร‌หิต​แห่ง​บรร‌ดา​สิ่ง​ ประ‌เสริฐ​ซึ่ง​มา​ถึง​แล้ว พระ‍องค์​ก็​เสด็จ​เข้า​ไป​สู่​พลับ‌พลา​ที่​ใหญ่​และ​สม‌บูรณ์​ยิ่ง‍กว่า​ แต่​ก่อน (ที่​ไม่‍ได้​สร้าง​ขึ้น​ด้วย​มือ​มนุษย์ คือ​ไม่​ใช่​สิ่ง​ปลูก​สร้าง​ของ​โลก​นี้) 12คือ ​เสด็จ​เข้า​ไป​ใน​สถาน​ศักดิ์‍สิทธิ์​ครั้ง​เดียว​เป็น​พอ และ​พระ‍องค์​ไม่‍ได้​ทรง​นำ​เลือด​แพะ​และ​เลือด​ลูก​วัว​เข้า​ไป แต่​ทรง​นำ​พระ‍โลหิต​ของ​พระ‍องค์​เอง​เข้า​ไป จึง​ได้​มา​ซึ่ง​การ​ไถ่​บาป​ชั่ว‍นิ‌รันดร์ 13เพราะ‍ว่า​ถ้า​เลือด​แพะ​และ​เลือด​วัว​ตัว‍ผู้​และ​เถ้า​ของ​ลูก​วัว​ ตัว‍เมีย ที่​ประ‌พรม​ลง​บน​คน​ที่​มี​มลทิน สามารถ​ชำระ​เนื้อ​ตัว​ให้​บริ‌สุทธิ์​ได้ 14มาก ​ยิ่ง‍กว่า‍นั้น​สัก​เท่า‍ใด พระ‍โลหิต​ของ​พระ‍คริสต์ ผู้​ทรง​ถวาย​พระ‍องค์​เอง​ที่​ปราศ‌จาก​ตำ‌หนิ​แด่​พระ‍เจ้า​โดย​พระ‍วิ ญ‌ญาณ​นิ‌รันดร์ ก็​จะ​ทรง​ชำระ​มโน‌ธรรม​ของ​เรา​จาก​การ​ประ‌พฤติ​ที่​เปล่า‍ประ‌โยชน์ เพื่อ​เรา​จะ​ปรน‌นิ‌บัติ​พระ‍เจ้า​ผู้​ทรง​พระ‍ชนม์​อยู่ 15เพราะ​เหตุ‍นี้ พระ‍คริสต์​ จึง​ทรง​เป็น​คน​กลาง​แห่ง​พันธ‌สัญญา​ใหม่ เพื่อ​ให้​คน​ทั้ง‍หลาย​ที่​พระ‍องค์​ทรง​เรียก​มา​ได้​รับ​มรดก​นิ‌รันดร์​ ตาม​พระ‍สัญญา เพราะ​ความ​ตาย​ที่​เกิด‍ขึ้น​นั้น​ไถ่​พวก‍เขา​ให้​พ้น​จาก​บรร‌ดา​การ​ ล่วง‍ละ‌เมิด​ที่​เกิด​ภาย‍ใต้​พันธ‌สัญญา​เดิม​แล้ว (ฮีบรู 9:8-15)

1 เพราะ​เหตุ​ที่​ธรรม‍บัญญัติ​เป็น​เพียง​เงา​ของ​สิ่ง​ประ‌เสริฐ​ทั้ง‍หลาย​ ที่​ จะ​มา​ใน​ภาย‍หลัง ไม่​ใช่​ตัว​จริง จึง​ไม่​สามารถ​ทำ​ให้​ผู้​ที่​เข้า‍เฝ้า​พระ‍เจ้า​พร้อม​กับ​เครื่อง‍บูชา​ ที่​พวก‍เขา​ถวาย​เหมือน​เดิม​ทุก​ปี​เสมอ​มา​นั้น ถึง​ความ​สม‌บูรณ์​ได้ 2เพราะ ​ถ้า​ทำ​ได้ พวก‍เขา​คง​หยุด​การ​ถวาย​เครื่อง‍บูชา​แล้ว​ไม่‍ใช่​หรือ? เพราะ​ถ้า​ผู้​นมัส‌การ​ได้​รับ​การ​ชำระ​ให้​บริ‌สุทธิ์​สัก​ครั้ง​หนึ่ง​ แล้ว คง​จะ​ไม่​รู้‍สึก​ว่า​มี​บาป​อีก‍ต่อ‍ไป 3แต่​การ​ถวาย​เครื่อง‍บูชา​นั้น​เป็น​การ​เตือน​ให้​คิด‍ถึง​บาป​ทุก​ปี 4เพราะ​เลือด​วัว​ผู้​และ​เลือด​แพะ​ไม่‍มี​ทาง​ชำระ​บาป​ให้​หมด‍สิ้น‍ไป​ ได้​เลย 5 เพราะ‍ฉะนั้น เมื่อ​พระ‍คริสต์​เสด็จ​เข้า‍มา​ใน​โลก​แล้ว พระ‍องค์​ตรัส​ว่า “พระ‍องค์​เจ้า‍ข้า เครื่อง‍สัตว‌บูชา​และ​เครื่อง‍บูชา​อื่นๆ พระ‍องค์​ไม่​ทรง​ประ‌สงค์ แต่​พระ‍องค์​ทรง​จัด‍เตรียม​กาย​สำหรับ​ข้า‍พระ‍องค์ 6 เครื่อง‍เผา‍บูชา​และ​เครื่อง‍บูชา​ลบ​บาป​นั้น พระ‍องค์​ไม่​พอ‍พระ‍ทัย 7 แล้ว​ข้า‍พระ‍องค์​ทูล​ว่า ‘ข้า‍แต่​พระ‍เจ้า ข้า‍พระ‍องค์​มา​แล้ว เพื่อ​จะ​ทำ​ตาม​พระ‍ทัย​ของ​พระ‍องค์’ ตาม​ที่​มี​เรื่อง​ข้า‍พระ‍องค์​เขียน​ไว้​ใน​หนัง‌สือ​ม้วน” 8 เมื่อ​พระ‍องค์​ตรัส​ใน​ตอน​แรก​ว่า “เครื่อง‍สัตว‌บูชา​และ​เครื่อง‍บูชา​อื่นๆ  ​และเครื่อง‍เผา‍บูชา​และ​เครื่อง‍บูชา​ลบ​บาป  (ที่​ได้​ถวาย​ตาม​ธรรม‍บัญญัติ​นั้น) พระ‍องค์​ไม่​ทรง​ประ‌สงค์​และ​ไม่​พอ‍พระ‍ทัย” 9แล้ว​พระ‍องค์​ท่าน​ก็​ตรัส​ด้วย​ว่า “ข้า‍พระ‍องค์​มา​แล้ว​เพื่อ​จะ​ทำ​ตาม​พระ‍ทัย​ของ​พระ‍องค์” พระ‍องค์​ท่าน​ทรง​ยก‍เลิก​ระบบ​เดิม​นั้น​เสีย​เพื่อ​จะ​ทรง​ตั้ง​ระบบ​ ใหม่ 10และ ​โดย​พระ‍ประ‌สงค์​นั้น​เอง เรา​จึง​ได้​รับ​การ​ชำระ​ให้​บริ‌สุทธิ์ โดย​การ​ถวาย​พระ‍กาย​ของ​พระ‍เยซู‍คริสต์​ครั้ง​เดียว​เป็น​พอ 11ส่วน ​ปุ‌โร‌หิต​ทุก​คน​ก็​ยืน​ปฏิ‌บัติ​กิจ​อยู่​ทุก​วัน โดย​การ​นำ​เครื่อง‍บูชา​อย่าง​เดียว‍กัน​มา​ถวาย​เสมอๆ เครื่อง‍บูชา​เหล่า‍นั้น​ไม่‍มี​วัน​ลบ‍ล้าง‍บาป​ได้​เลย 12แต่​เมื่อ​พระ‍คริสต์​ทรง​ถวาย​เครื่อง‍บูชา​เพื่อ​ลบ​บาป​เพียง​ครั้ง​ เดียว​สำหรับ​ตลอด‍ไป​แล้ว พระ‍องค์​ก็​ประ‌ทับ​เบื้อง‍ขวา​ของ​พระ‍เจ้า 13เพื่อ​ทรง​คอย‍อยู่​จน‍กว่า​ศัตรู​ของ​พระ‍องค์​ถูก​นำ​มา​เป็น​ที่​รอง​ พระ‍บาท​ของ​พระ‍องค์ 14โดย ​การ​ถวาย‍บูชา​เพียง​ครั้ง​เดียว พระ‍องค์​ก็​ทรง​ทำ​ให้​คน​ทั้ง‍หลาย​ที่​ได้​รับ​การ​ชำระ​ให้​บริ‌สุทธิ์​ แล้ว​นั้น​ถึง​ความ​สม‌บูรณ์​ตลอด‍ไป 15และ​พระ‍วิญ‌ญาณ​บริ‌สุทธิ์​ก็​ทรง​เป็น​พยาน​แก่​เรา​ด้วย เพราะ​หลัง‍จาก​ที่​พระ‍องค์​ตรัส​ว่า 16 “องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า ตรัส​ว่า นี่​คือ​พันธ‌สัญญา​ซึ่ง​เรา​จะ​ทำ​กับ​เขา‍ทั้ง‍หลาย หลัง‍จาก​สมัย​นั้น เรา​จะ​บรร‌จุ​ธรรม‍บัญญัติ​ของ​เรา​ไว้​ใน​ใจ​ของ​พวก‍เขา และ​เรา​จะ​จา‌รึก​มัน​ไว้​ใน​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍เขา” 17 “และ​เรา​จะ​ไม่​จด‍จำ บาป​ของ​พวก‍เขา และการ​อธรรม​ของ​พวก‍เขา​อีก‍ต่อ‍ไป” 18เมื่อ​มี​การ​ยก‍โทษ​บาป​แล้ว ก็​ไม่‍มี​การ​ถวาย​เครื่อง‍บูชา​เพื่อ​ลบ​บาป​อีก‍ต่อ‍ไป (ฮีบรู 10:1-18)

พระเยซูทรงทำในสิ่งที่พระคัมภีร์เดิมเล็งถึง ตามที่ผู้เผยพระวจนะกล่าวเมื่อพยากรณ์ถึงการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ พระเยซูทรงทำให้คำพยากรณ์เหล่านี้สำเร็จลง และโดยการสิ้นพระชนม์ ถูกฝังไว้ และคืนพระชนม์ของพระองค์แทนเราทั้งหลาย พระองค์ได้ชดใช้บทลงโทษบาปแทนเรา และเตรียมการอภัยบาปให้ ไม่มีถ้อยคำไหนที่ดีไปกว่านี้ “จงชื่นใจเถิด บาปของเจ้าได้รับอภัยแล้ว” คุณ มีประสบการณ์รับการอภัยนี้หรือยัง? เพียงแค่ยอมรับว่าคุณเป็นคนบาป วางใจในพระเยซูคริสต์ผู้ทรงนำบาปของคุณไปไว้ที่พระองค์ ข้อเสนอสำหรับการอภัยนี้มีให้สำหรับทุกคนที่ยืนมืออกไปรับ

28 บรร‌ดา​ผู้​เหน็ด‍เหนื่อย​และ​แบก​ภาระ​หนัก จง​มา‍หา​เรา และ​เรา​จะ​ให้​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ได้​หยุด‍พัก 29 จง​เอา​แอก​ของ​เรา​แบก​ไว้ แล้ว​เรียน​จาก​เรา เพราะ‍ว่า​เรา​สุภาพ‍อ่อน‍โยน​และ​ใจ​อ่อน‍น้อม และ​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍ท่าน​จะ​ได้​หยุด‍พัก 30ด้วย‍ว่า​แอก​ของ​เรา​ก็​พอ​เหมาะ และ​ภาระ​ของ​เรา​ก็​เบา” (มัทธิว 11:28-30)

พระ‍วิญ‌ญาณ​และ​เจ้า‍สาว​กล่าว​ว่า “เชิญ​เสด็จ​มา​เถิด” และ​ให้​คน​ที่​ได้‍ยิน​กล่าว​ด้วย​ว่า “เชิญ​เสด็จ​มา​เถิด” “คน​ที่​กระ‌หาย​เชิญ​เข้า‍มา ใคร​ที่​มี​ใจ​ปรารถ‌นา จง​มา​รับ​น้ำ​แห่ง​ชีวิต​โดย​ไม่​ต้อง​เสีย​อะไร​เลย” (วิวรณ์ 22:17)

8แต่​ความ​ชอบ‍ธรรม​ว่า​อย่าง‍ไร? ก็​ว่า “ถ้อย‍คำ​นั้น​อยู่​ใกล้​ท่าน อยู่​ใน​ปาก​ของ​ท่าน และ​อยู่​ใน​ใจ​ของ​ท่าน” (คือ​คำ​ซึ่ง​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เชื่อ​ที่​เรา​ทั้ง‍หลาย​ประ‌กาศ​อยู่​ นั้น) 9คือ ​ว่า​ถ้า​ท่าน​จะ​ยอม‍รับ​ด้วย​ปาก​ของ​ท่าน​ว่า​พระ‍เยซู​ทรง​เป็น​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า และ​เชื่อ​ใน​ใจ​ว่า พระ‍เจ้า​ได้​ทรง​ให้​พระ‍องค์​เป็น​ขึ้น​มา​จาก​ความ​ตาย ท่าน​จะ​รอด 10เพราะ‍ว่า​การ​เชื่อ​ด้วย​ใจ​ก็​นำ​ไป​สู่​ความ​ชอบ‍ธรรม และ​การ​ยอม‍รับ​ด้วย​ปาก​ก็​นำ​ไป​สู่​ความ​รอด 11เพราะ​มี​ข้อ​พระ‍คัมภีร์​ว่า “ทุก‍คนที่​เชื่อ​ใน​พระ‍องค์​จะ​ไม่‍ได้​รับ​ความ​อับอาย” 12พวก ​ยิว​และ​พวก​กรีก​นั้น​ไม่​ต่าง‍กัน เพราะ‍ว่า​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​องค์​เดียว​ทรง​เป็น​องค์‍พระ‍ผู้‍ เป็น‍เจ้า​ของ​ทุก​คน และ​ประ‌ทาน​อย่าง​บริ‌บูรณ์​แก่​ทุก​คน​ที่​ทูล​ขอ​ต่อ​พระ‍องค์ 13เพราะ​ว่า ผู้​ที่​ร้อง‍ออก‍พระ‍นาม​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​จะ​รอด (โรม 10:8-13)

ถ้าผมจะรวบเอาสาระสำคัญของพระวจนะตอนนี้มาเหลือแค่สองคำ คงต้องเป็นสองคำที่เป็นกุญแจสำคัญ – บาป-และ-พระเจ้า ในเรื่องชายง่อย พระเยซูทรงรักษาชายง่อยคนนี้ แต่ในอีกทางทรงสำแดงให้เห็นถึงสิทธิอำนาจในการยกบาป ปัญหาคือพวกธรรมาจารย์ไม่อาจยอมรับว่าพระองค์เป็นพระเจ้าตามที่พระองค์ ประกาศ เรื่องที่สอง การทรงเรียกมัทธิว และงานเฉลิมฉลองกับพวกคนบาป ก่อให้เกิดความตึงเครียด ระหว่างความบาป (หรือคนบาป) กับพระเจ้า พวกฟาริสีไม่อาจยอมรับที่เห็นพระเยซูไปคบหาและมีสามัคคีธรรมกับคนบาป ไม่อาจรับได้ที่เห็นคนดีๆ (นี่คือสิ่งดีที่สุดที่เขาพูดถึงพระเยซูได้) ไปมีสามัคคีธรรมกับพวกคนบาป พระเจ้าจะทำแบบนั้นได้อย่างไร? คำตอบสำหรับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้จึงถูกเปิดเผย ส่วนหนึ่งอยู่ในเรื่องที่สาม สาวกของยอห์นไปถามพระเยซูว่าทำไมสาวกของพระองค์ไม่อดอาหาร ภายใต้พันธสัญญาเดิม ไม่มีทางออกสำหรับความบาป หรือหนทางที่จะได้สามัคคีธรรมกับองค์พระผู้เป็นเจ้า11 ความมั่นใจว่าจะได้ร่วมโต๊ะเสวยต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้าเป็นบางสิ่งที่ให้ ความหวังสำหรับชีวิตนิรันดร์ (ดูสดุดี 23:4-6) ไม่ได้โดยหนทางของพันธสัญญาเดิม แต่โดยทางพันธสัญญาใหม่ – โดยการหลั่งพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ – คนบาปจึงได้รับการอภัย และเข้าสู่สามัคคีธรรมนิรันดร์กับพระเจ้าได้

พระวจนะในพระกิตติคุณมัทธิวตอนนี้ให้ความมั่นใจกับเราว่ามีบางสิ่งนอก เหนือจากการอภัยบาป พระเยซูไม่เพียงแต่อภัยบาปให้คนบาป แต่ทรงเรียกให้คนบาปมาเป็นสาวกของพระองค์ และมามีส่วนในสามัคคีธรรมร่วมกันกับพระองค์ มัทธิว คนเก็บภาษีและเป็นคนบาป ถูกเรียกให้มาเป็นสาวก เราเห็นท่านและเพื่อนๆในกลุ่มคนบาป ได้นั่งร่วมโต๊ะเสวย เฉลิมฉลองการสถิตอยู่ด้วยของพระเยซูคริสต์

เป็นไปได้ที่บางคนต่อต้านไม่ยอมรับข้อเสนอการอภัยบาปนี้ เพราะพวกเขาคิดว่าจะทำให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินของโลกนี้หมดไป ช่วยไปบอกมัทธิวกับเพื่อนๆด้วยนะครับ! วางใจในพระเยซูเป็นหนทางที่จะติดตามพระองค์ไป เข้าสู่ความปิติที่มีพระองค์อยู่ด้วย ไม่มีความสุขไหนดีไปกว่านี้ ทิ้งบูธภาษีไว้เบื้องหลัง มารับใช้พระองค์ การสถิตอยู่ของพระองค์นั้นชั่วนิรันดร์ ความสุขของพระองค์ก็ไม่จำกัดด้วยครับ

บทเรียนตอนนี้มีสิ่งที่นำไปใช้ได้มากมายสำหรับคนที่วางใจในการอภัยบาปของ พระเยซูแล้ว แรกสุด พระวจนะตอนนี้หนุนใจให้เรากล้าเข้าไปช่วยคนอื่น โดยเฉพาะคนที่หลงหาย ความเชื่อของชายสี่คนที่แบกแคร่คนง่อยไปหาพระองค์ทำให้พระองค์ทรงเห็นความ เชื่อของพวกเขา ในระดับหนึ่ง พวกเขาจึงเป็นเหมือนอุปกรณ์ในการรักษา (การอภัยบาป) ให้เพื่อน ให้เรายอมแบกแคร่ของคนที่หลงหาย ที่ต้องการการอภัยจากพระเยซูนะครับ

พระวจนะตอนนี้ยังเป็นการเตือนสติเราว่าการทำดีไม่ได้สงผลให้มนุษย์ยกย่องนับถือเสมอไป อาจนำมาซึ่งการข่มเหงด้วยซ้ำ:

18“ถ้า​โลก​นี้​เกลียด‍ชัง​พวก‍ท่าน ก็​จง​รู้​ว่า​โลก​เกลียด‍ชัง​เรา​ก่อน 19ถ้า ​พวก‍ท่าน​เป็น​ของ​โลก โลก​ก็​ย่อม​จะ​รัก​คน​ที่​เป็น​ของ​โลก​เอง แต่​เพราะ​ท่าน​ไม่‍ได้​เป็น​ของ​โลก คือ​เรา​เลือก​ท่าน​ออก​จาก​โลก เพราะ​เหตุ‍นี้ โลก​จึง​เกลียด‍ชัง​ท่าน 20จง​ระลึก‍ถึง​คำ​ที่​เรา​กล่าว​กับ​พวก‍ท่าน​แล้ว​ว่า ‘บ่าว​ไม่‍ได้​เป็น​ใหญ่​กว่า​นาย’ ถ้า​พวก‍เขา​ข่ม‍เหง​เรา เขา​ก็​จะ​ข่ม‍เหง​พวก‍ท่าน​ด้วย ถ้า​เขา​ปฏิ‌บัติ​ตาม​คำ​ของ​เรา พวก‍เขา​ก็​จะ​ปฏิ‌บัติ​ตาม​คำ​ของ​พวก‍ท่าน​ด้วย 21แต่​เขา​จะ​ทำ​ทุก‍สิ่ง‍เหล่า‍นี้​แก่​พวก‍ท่าน​เพราะ​นาม​ของ​เรา เพราะ​เขา​ไม่​รู้‍จัก​ผู้​ทรง​ใช้​เรา​มา (ยอห์น 15:18-21) ดู 1เปโตร 4:1-6; 12-16 ด้วย

พระเยซูถูกต่อต้านเพราะพระองค์ทำสิ่งดีในฐานะพระเจ้า เมื่อเรารับใช้ในพระนามของพระองค์ คาดหวังได้ว่าจะเจอการต่อต้าน เพราะพระนามของพระเยซูคริสต์

สุดท้ายนี้ เราควรเรียนรู้จากมัทธิวว่าพระเยซูไม่ได้เสด็จมาเพื่อ “ปะชุน” ชีวิตของเรา แต่มาเพื่อให้ชีวิตใหม่

17 ฉะนั้น ​ถ้า​ใคร​อยู่​ใน​พระ‍คริสต์ เขา​ก็​เป็น​คน​ที่​ถูก​สร้าง​ใหม่​แล้ว สิ่ง​สาร‌พัด​ที่​เก่าๆ ก็​ล่วง​ไป นี่‍แน่ะ​กลาย​เป็น​สิ่ง​ใหม่​ทั้ง​นั้น (2โครินธ์ 5:17)

ความเชื่อในพระคริสต์หมายถึงเมื่อเราตายจากชีวิตเก่า เราจะถูกสร้างขึ้นมาในชีวิตใหม่ทั้งหมด:

1 ถ้า​อย่าง​นั้นเรา​จะ​ว่า​อย่าง‍ไร? เรา​จะ​อยู่​ใน​บาป​ต่อ‍ไป​เพื่อ​ให้​พระ‍คุณ​เพิ่ม​ทวี​ขึ้น​หรือ? 2เปล่า‍เลย เรา​ที่​ตาย​ต่อ​บาป​แล้ว​จะ​มี​ชีวิต​ใน​บาป​ต่อ‍ไป​ได้​อย่าง‍ไร? 3ท่าน‍ทั้ง‍หลาย ​ไม่​รู้​หรือ​ว่า เรา​ผู้​ที่​ได้​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​เข้า​ใน​พระ‍เยซู‍คริสต์ ก็​ได้​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​นั้น​เข้า​ใน​การ​ตาย​ของ​พระ‍องค์? 4เพราะ‍ฉะนั้น เรา​จึง​ถูก​ฝัง​ไว้​กับ​พระ‍องค์​แล้ว โดย​การ​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​เข้า​ใน​การ​ตาย​นั้น เพื่อ​ว่า​เมื่อ​พระ‍บิดา​ทรง​ให้​พระ‍คริสต์​เป็น​ขึ้น​มา​จาก​ตาย​โดย​ พระ‍สิริ​ของ​พระ‍องค์​แล้ว เรา​ก็​จะ​ได้​ดำ‌เนิน​ตาม​ชีวิต​ใหม่​ด้วย​เหมือน‍กัน 5เพราะ‍ว่า ​ถ้า​เรา​เข้า​สนิท​กับ​พระ‍องค์​แล้ว​ใน​การ​ตาย​อย่าง​พระ‍องค์ เรา​ก็​จะ​เข้า​สนิท​กับ​พระ‍องค์​ใน​การ​เป็น​ขึ้น​จาก​ตาย​อย่าง​พระ‍องค์ 6เรา ​รู้​แล้ว​ว่า คน‍เก่า​ของ​เรา​นั้น​ถูก​ตรึง​ไว้​กับ​พระ‍องค์​แล้ว เพื่อ​ตัว​ที่​บาป​นั้น​จะ​ถูก​ทำ‍ลาย​ให้​สิ้น‍ไป และ​เรา​จะ​ไม่​เป็น​ทาส​ของ​บาป​อีก‍ต่อ‍ไป 7เพราะ‍ว่า​ผู้​ที่​ตาย​แล้ว​ก็​พ้น​จาก​บาป 8แต่​ถ้า​เรา​ตาย​แล้ว​กับ​พระ‍คริสต์ เรา​เชื่อ​ว่า​เรา​จะ​มี​ชีวิต​อยู่​กับ​พระ‍องค์​ด้วย 9เรา ​รู้​อยู่​ว่า พระ‍เจ้า​ทรง​ให้​พระ‍คริสต์​เป็น​ขึ้น​มา​จาก​ตาย แล้ว​พระ‍องค์​จะ​ไม่​ตาย​อีก ความ​ตาย​จะ​ไม่‍มี​อำนาจ​เหนือ​พระ‍องค์​ต่อ‍ไป 10ด้วย‍ว่า ​ซึ่ง​พระ‍องค์​ได้​ทรง​ตาย​นั้น​พระ‍องค์​ได้​ทรง​ตาย​ต่อ​บาป​ครั้ง​เดียว ​เป็น​พอ แต่​ซึ่ง​พระ‍องค์​ทรง​ชีวิต​อยู่​นั้น พระ‍องค์​ทรง​ชีวิต​สนิท​กับ​พระ‍เจ้า 11ใน​ทำ‌นอง​เดียว‍กัน พวก‍ท่าน​จง​ถือ‍ว่า​ท่าน​ได้​ตาย​ต่อ​บาป และ​มี​ชีวิต​สนิท​กับ​พระ‍เจ้า​โดย​พระ‍เยซู‍คริสต์ (โรม 6:1-11)

ในตอนที่พระกิตติคุณถูกนำเสนอ เป็นเหมือนบางสิ่งที่ “เพิ่มเติม” เข้ามา ผู้คนหลงเชื่อไปว่าพวกเขายังดำเนินชีวิตในแบบเดิมๆอย่างที่เคยได้ และยังได้รับความมั่นใจในชีวิตนิรันดร์ พระกิตติคุณไม่ใช่เป็นการปะของใหม่เข้าไปนะครับ พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นน้ำองุ่นหมักใหม่ เมื่อเราได้รับความรอดแล้ว เราได้รับความรอดเพื่อมีชีวิตใหม่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่ได้เข้ามีสามัคคีธรรมกับพระเจ้า แต่เราต้องตายต่อวิถีชีวิตเดิมๆด้วย:

17เพราะ‍ฉะนั้น ข้าพ‌เจ้า​ขอ​กล่าว​เช่น‍นี้​และ​ยืน‍ยัน​ใน​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ว่า อย่า​ดำ‌เนิน​ชีวิต​แบบ​เดียว​กับ​ที่​พวก​ต่าง‍ชาติ​ดำ‌เนิน​กัน​ อีก‍ต่อ‍ไป คือ​มี​ใจ​จด‍จ่อ​อยู่​กับ​สิ่ง‍ไร้‍สาระ 18ความ ​คิด​ของ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ถูก​ทำ​ให้​มืด‍มน​ไป และ​เขา​ขาด​จาก​ชีวิต​ที่​มา​จาก​พระ‍เจ้า​เนื่อง‍จาก​ความ​ไม่​รู้​ที่​ อยู่​ใน​ตัว และ​ความ​แข็ง‍กระ‌ด้าง​ใน​จิต‍ใจ 19พวก‍เขา​ไม่‍มี​ความ​รู้‍สึก​ละ‍อาย​และ​ปล่อย​ตัว​ใน​การ​ลา‌มก​เพื่อ​ทำ ​การ​โส‌โครก​ทุก​แบบ​โดย​ปราศ‌จาก​การ​เหนี่ยว‍รั้ง​ตน 20แต่​ท่าน​ทั้ง‍หลาย​ไม่‍ได้​เรียน‍รู้​ถึง​พระ‍คริสต์​แบบ​นั้น 21พวก‍ท่าน ​เคย​ฟัง​เรื่อง​ของ​พระ‍องค์​แล้ว​อย่าง​แน่‍นอน และ​เคย​ได้​รับ​การ​สอน​เรื่อง​พระ‍องค์​ตาม​สัจ‌ธรรม​ที่​อยู่​ใน​ พระ‍เยซู​แล้ว 22คือ​ได้​รับ​การ​สอน​ให้​ทิ้ง​ตัว​เก่า​ของ​พวก‍ท่าน​ที่​คู่​กับ​การ​ ประ‌พฤติ​แบบ​เดิม ซึ่ง​ถูก​ตัณ‌หา​ล่อ‍ลวง​ทำ​ให้​พินาศ​ไป 23และ​ให้​วิญ‌ญาณ​และ​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍ท่าน​ได้​รับ​การ​เปลี่ยน​ใหม่ 24และ​รับ​การ​สอน​ให้​สวม​สภาพ​ใหม่​ซึ่ง​ได้​รับ​การ​สร้าง​ขึ้น​ตาม​แบบ​ ของ​พระ‍เจ้า​ใน​ความ​ชอบ‍ธรรม​และ​ความ​บริ‌สุทธิ์​อย่าง​แท้‍จริง (เอเฟซัส 4:17-24)

ขอพระเจ้านำพระวจนะของพระองค์จากในพระกิตติคุณมัทธิวมาใช้เพื่อให้เรา โอบกอดพระผู้ช่วยให้รอดของเราไว้ พระองค์ผู้เดียวคือหนทางที่เราจะได้รับการอภัยบาป และได้เข้าส่วนมีสามัคคีธรรมเฉลิมฉลองกับองค์พระผู้เป็นเจ้า


1 1 ลิขสิทธิ 2003 โดย Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081. ดัดแปลงจากต้นฉบับของบทเรียนที่ 38 ในบทเรียนต่อเนื่องของพระกิตติคุณมัทธิว จัดเตรียมโดย ศบ โรเบิร์ต แอล เดฟฟินบาว พฤษภาคม 30, 2004

2 2 นอกเหนือจากที่บ่งไว้ พระวจนะที่นำมาอ้างอิงทั้งหมดมาจาก NET Bible (The NEW ENGLISH TRANSLATION) เป็น ฉบับแปลใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่นำฉบับเก่าในภาษาอังกฤษมาเรียบเรียงใหม่ ใช้ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการพระคัมภีร์มากกว่า ยี่สิบคน รวบรวมข้อมูล ทั้งจากภาษาฮีบรูโดยตรง ภาษาอาราเมข และภาษากรีก โครงการแปลนี้เริ่มมาจากที่เราต้องการนำ พระคัมภีร์ เผยแพร่ผ่านสื่ออีเลคโทรนิค เพื่อรองรับการใช้งานทางอินเตอร์เน็ท และซีดี (compact disk) ที่ใดก็ตามในโลก ที่ต่อเข้าอินเตอร์เน็ทได้ ก็สามารถเรียกดู และพริ้นทข้อมูลไว้เพื่อใช้ศึกษาเป็นการส่วนตัวได้โดยไม่คิดมูลค่า นอกจากนี้ ผู้ใดก็ตาม ที่ต้องการนำข้อมูลเกี่ยวกับพระคัมภีร์ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่คิดเงิน สามารถทำได้จากเว็บไซด์ : www.netbible.org.

3 3 จากหนังสือของ William Hendriksen, Exposition of the Gospel According to John, 2 vols. (Grand Rapids: Baker Book House, 1953-1954), vol. 2, p. 122.

4 4 ผมคิดว่าการแปลแบบนี้คงต้องมีเหตุผล ถ้าตามเนื้อหาบ่งว่าพระเยซูทรงเห็น ทรงรู้ความคิด หรือรู้เหตุผลพวกเขาอย่างที่บางฉบับแปล ทั้งมาระโก 2:8 และลูกา 5:22 ทำให้เห็นชัดว่าพระเยซูทรงแยกแยะความคิดในใจพวกเขาได้ หรืออาจเป็นได้ที่พวกเขากระซิบกระซาบกัน แต่ไม่คิดว่าเนื้อหาตอนนี้ ตอนที่พระเยซูประกาศว่าทรงเป็นพระเจ้า แล้วคิดว่าผู้เขียนกำลังบอกว่าพระองค์ทรงอ่านจากภาษากายของพวกเขา

5 5 เรารู้แน่นอนว่าการสำนึกผิดกลับใจที่แท้จริงและความเชื่อจะเกิดผล “จงพิสูจน์การกลับใจของเจ้าด้วยผลที่เกิดขึ้น” (มัทธิว 3:8 และ 7:15-20) แต่ตรงนี้พระเยซูทรงพูดถึงในทันที ไม่มีข้อหักล้าง พิสูจน์ได้

6 6 มัทธิว มาระโก และลูกา

7 7 ในมัทธิว 10:3 บอกว่า “มัทธิวเป็นคนเก็บภาษี”

8 8 เป็นได้หรือไม่ที่ลูกา 18:9-14 เป็นมากกว่าคำอุปมา? และคนเก็บภาษีที่พูดถึงอาจเป็นมัทธิว? เพราะเรื่องการทรงเรียกของมัทธิวอาจสนับสนุนพระวจนะตอนนี้ ถึงแม้ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นมัทธิวก็ตาม

9 9 “ในสองวัน”

10 10 ”ในวันที่สาม”

11 11 ที่อ่านจากในหนังสืออพยพ 24:9-11 ไม่มีพระวจนะตอนอื่นที่พูดเรื่องแบบเดียวกันนี้ในพระคัมภีร์เดิม เป็นเหตุการณ์ที่แทบไม่เคย และไม่คาดคิดมาก่อน เป็นการเล็งถึงสวรรค์

Related Topics: Christology, Cultural Issues, Fasting

22. มัทธิว บทเรียนที่ 22 “พระเยซู ยอห์นผู้ให้บัพติศมา และชาวยิว (มัทธิว 11:1-30)

Related Media

คำนำ1

หลายปีมาแล้วตอนที่ผมยังเรียนอยู่วิทยาลัยพระคริสตธรรม สังเกตุเห็นเพื่อนนักเรียนบางคนพยายามเอาตัวเข้าไปใกล้ชิดสนิทสนมกับโป รเฟสเซอร์หรืออาจารย์ที่เขาชื่นชมเป็นพิเศษ พวกเขาจะมีความสุขและดีใจมากถ้าอาจารย์ท่านนั้นเชิญไปบ้าน ไปทานข้าวหรือแค่ไปนั่งดื่มกาแฟ หรือถ้าอาจารย์เอามือโอบบ่าแล้วถามว่า “เป็นอย่างไรบ้าง?” ซึ่งบางคนก็ได้รับประสบการณ์เช่นนี้ ในขณะที่อีกหลายคนไม่ได้ บางคนอาจผิดหวังเพราะหวังจะได้รับความใกล้ชิดในฐานะพี่เลี้ยงน้องเลี้ยง ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยมี แต่อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ไม่เป็นอย่างที่บางคนคาดหวัง

ตอนเตรียมบทเรียนนี้ ผมคิดถึงยอห์นผู้ให้บัพติศมาและความสัมพันธ์ของเขากับพระเยซู ยอห์นน่าจะเป็นคนที่ค่อนข้างสันโดษ อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีสาวกวงในไม่กี่คนที่มีสามัคคีธรรมด้วย มันจะดีแค่ไหนถ้ายอห์นได้มีโอกาสนั่งลงข้างเตาผิงสนทนาอย่างเป็นกันเองกับ พระเยซู มีพระเยซูโอบบ่าแล้วถาม “งานรับใช้เป็นอย่างไรบ้างยอห์น?”

มันยากที่จะรับว่าจริงๆแล้วยอห์นแทบไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับพระเยซู เท่าที่เรารู้ทั้งคู่เคย “พบ” กันตอนที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา (ลูกา 1:39-55) แต่ไม่รู้เอามานับได้หรือเปล่า (เพราะยอห์นที่อยู่ในครรภ์เอลีซาเบธดิ้นเมื่อนางมารีย์มาเยี่ยม) แล้วก็มาพบกันตอนพระเยซูมาขอรับบัพติศมาจากยอห์น (มัทธิว 3:13-17) แต่ทั้งหมดนี้ทั้งคู่แทบไม่ได้พูดคุยกันเลย อย่าลืมว่ายอห์นถูกจับเข้าคุกตั้งแต่ตอนต้นพระราชกิจของพระเยซู จึงหมดโอกาสที่จะได้พบปะพูดคุยกันหลังจากนั้น

บิดามารดาของยอห์นคงแจ้งให้ท่านทราบถึงภารกิจในชีวิตของท่าน ตามที่ทูตองค์หนึ่งของพระเจ้ามาแจ้งแก่เศคาริยาห์ผู้เป็นบิดา:

11มี​ทูต‍สวรรค์​องค์​หนึ่ง​ของ​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​มา​ปรา‌กฏ​แก่​เศ‌คา‌ริ‌ยาห์ยืน​อยู่​ที่​ข้าง‍ขวา​ แท่น​เผา​เครื่อง‍หอม​นั้น 12เมื่อ​เศ‌คา‌ริ‌ยาห์​เห็น​ก็​ตก‍ใจ​กลัว 13แต่​ทูต‍สวรรค์​องค์​นั้น​กล่าว​แก่​ท่าน​ว่า“เศ‌คา‌ริ‌ยาห์​เอ๋ยอย่า​ กลัว​เลย เพราะ​พระ‍องค์​ทรง​ฟัง​คำ​อธิษ‌ฐาน​ของ​ท่าน​แล้วนาง​เอ‌ลี‌ซา‌เบธ​ภรรยา​ ของ​ท่าน​จะ​ให้​กำ‌เนิด​บุตร‍ชายท่าน​จง​ตั้ง‍ชื่อ​บุตร​นั้น​ว่า​ยอห์น 14ท่าน​จะ​มี​ความ​ยินดี​และ​เปรม‍ปรีดิ์และ​คน​จำ‌นวน​มาก​จะ​ชื่น‍ชม​ ยินดี​ที่​บุตร​นั้น​เกิด​มา 15เพราะ‍ว่า​เขา​จะ​เป็น​ใหญ่​เฉพาะ‍พระ‍พักตร์​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้าเขา​ จะ​ไม่​ดื่ม​น้ำ‍องุ่น‍หมัก​และ​เหล้า​เลย​และ​เขา​จะ​เต็ม‍เปี่ยม​ด้วย​ พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์​ตั้ง‍แต่​อยู่​ใน​ครรภ์​มารดา 16เขา​จะ​นำ​พงศ์‍พันธุ์​อิสรา‌เอล​หลาย​คน​ให้​หัน‍กลับ‍มา‍หา​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ผู้​เป็น​พระ‍เจ้า​ของ​พวก‍เขา 17เขา​จะ​นำ‍หน้า​พระ‍องค์​ด้วย​จิต‍วิญ‌ญาณ​และ​ฤทธิ์‍เดช​ของ​เอ‌ลี‌ยา ห์ให้​พ่อ​กลับ‍คืน‍ดี​กับ​ลูกและ​ให้​คน​ดื้อ‍ด้าน​กลับ​ได้​ปัญญา​ของ​คน​ ชอบ‍ธรรมเพื่อ​จัด‍เตรียม​ชน‍ชาติ​หนึ่ง​ไว้​ให้​พร้อม​สำหรับ​ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า” (ลูกา 1:11-17)2

ยอห์นจึงเข้าใจดี ท่านต้องทำหน้าที่ให้คำพยากรณ์ของมาลาคีเกี่ยวกับผู้จัดเตรียมหนทางให้กับพระเมสซิยาห์สำเร็จ (มาลาคี 3:1-3, 4:5-6) ยอห์นไปประกาศถึงการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคือผู้ใดจนกระทั่งได้ให้บัพติศมาพระเยซู:

30พระ‍องค์​นี้​แหละ​ที่​ข้าพ‌เจ้า​กล่าว ​ว่า ‘ภาย‍หลัง​ข้าพ‌เจ้า​จะ​มี​ผู้‍หนึ่ง​ที่​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ข้าพ‌เจ้า​เสด็จ​ มา เพราะ‍ว่า​พระ‍องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​ก่อน​ข้าพ‌เจ้า’ 31ข้าพ‌เจ้า​เอง​ไม่​รู้‍จัก​พระ‍องค์แต่​เพื่อ​ให้​พระ‍องค์​เป็น​ที่​ ประ‌จักษ์​แก่​อิสรา‌เอลข้าพ‌เจ้า​จึง​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​น้ำ” 32และ​ยอห์น​กล่าว​เป็น​พยาน​ว่า “ข้าพ‌เจ้า​เห็น​พระ‍วิญ‌ญาณ​เสด็จ​ลง‍มา​จาก​สวรรค์​เหมือน​ดัง​นก‍พิราบ และ​สถิต​กับ​พระ‍องค์ 33ข้าพ‌เจ้า​เอง​ไม่​รู้‍จัก​พระ‍องค์แต่​พระ‍องค์​ผู้​ทรง​ใช้​ข้าพ‌เจ้า​ มา​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​น้ำได้​ตรัส​กับ​ข้าพ‌เจ้า​ว่า ‘เมื่อ​เห็น​พระ‍วิญ‌ญาณ​เสด็จ​ลง‍มา​สถิต​อยู่​กับ​คน‍ใดคน‍นั้น​แหละ​จะ​ เป็น​คน​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์’ 34และ​ข้าพ‌เจ้า​ก็​เห็น​แล้ว​และ​เป็น​พยาน​ว่า​พระ‍องค์​นี้​แหละ​เป็น​ พระ‍บุตร​ของ​พระ‍เจ้า”(ยอห์น 1:30-34)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพระเยซูรับบัพติศมาทำให้ยอห์นเข้าใจ พระเยซูคือพระเมสซิยาห์ ไม่ต้องสงสัย และยอห์นประกาศอย่างชัดเจนต่อผู้ที่มาฟัง รวมถึงสาวกของท่านเองด้วย:

35รุ่ง‍ขึ้นยอห์น​ยืน​อยู่​ที่​นั่น​อีก​ กับ​ศิษย์​ของ​ท่าน​สอง​คน 36และ​ท่าน​มอง‍ดู​พระ‍เยซู​ขณะ‍ที่​พระ‍องค์​เสด็จ​ผ่าน​ไปและ​ท่าน​กล่าว​ ว่า“จง​ดู​พระ‍เมษ‌โป‌ดก​ของ​พระ‍เจ้า” 37ศิษย์​สอง​คน‍นั้น​ได้‍ยิน​ท่าน​พูด​อย่าง‍นี้​ก็​ติด‍ตาม​พระ‍เยซู​ไป (ยอห์น 1:35-37)

เวลาผ่านไปหลังจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อพระเยซูรับบัพติศมา ยอห์นพบว่าตนเองถูกจับขังคุกท่านยืนหยัดต่อต้านความบาป ซึ่งกระตุกต่อมสนใจของเฮโรด ตอนนี้ยอห์นรับรู้แค่ที่สาวกเล่าให้ฟัง พระเยซูทรงออกเทศนาและสั่งสอน ว่าไปแล้วเรื่องแบบนี้คงไม่ได้อยู่ใน “สคริปต์” ที่ยอห์นคิดไว้

พระเยซูและยอห์นนั้นต่างกันมาก และความต่างนี้ทำให้ยอห์นรู้สึกไม่สบายใจ ชุดที่ยอห์นสวมใส่ แน่นอนทำให้ท่านแตกต่างจากผู้คนรอบข้าง แต่พระเยซูทรงดูเหมือนกลมกลืนไปกับผู้คนได้ในเรื่องเสื้อผ้า ยอห์นและสาวกของท่านอดอาหารเป็นประจำ (“ไม่ได้กินหรือดื่ม”) ในขณะที่พระเยซูและพวกสาวกทั้งกินและดื่ม (อย่างน้อย) กับพวกคนบาป (มัทธิว 11:18-19) ยอห์นไม่ได้ทำหมายสำคัญใดๆในระหว่างที่ท่านเริ่มงานพันธกิจ (ยอห์น 10:41) แต่พระเยซูทรงทำ (และเดี๋ยวนี้สาวกของพระองค์ทำ) การอัศจรรย์ทุกอย่าง (มัทธิว 9:35, 10:1) แต่ตอนนี้ท่านนั่งอยู่ในคุก ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเมสซิยาห์จริงอย่างที่ยอห์นประกาศ ทำไมพระองค์ไม่ทำอะไรบ้าง? ทำไมพระเยซูลืมเรื่องการเสด็จมาจัดตั้งแผ่นดินของพระเจ้าแล้วหรือ?

เมื่ออดทนต่อไปไม่ไหว ยอห์นจึงส่งสาวกของท่านไปถามพระเยซูตามตรง: “ท่านเป็นพระเมสซิยาห์ตามพระสัญญาหรือเปล่า? ชาวยิวควรต้องรับพระองค์ในฐานะพระเมสซิยาห์ หรือว่าพวกเขาต้องคอยผู้อื่น?” พระเยซูเป็นความหวังเดียวของพวกเราหรือ? พี่น้องครับ นี่เป็นคำถามสำคัญที่สุดที่เคยถามหรือเคยตอบ และยังเป็นคำถามสำคัญสำหรับพวกเราที่นี่พอๆกับในสมัยของยอห์นและสาวกของท่าน เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ให้เราตั้งใจเรียนพระวจนะจากพระเยซูตอนนี้ให้ดี ดูว่าพระองค์ทรงตอบอย่างไร

บานพับเชื่อมต่อ (มัทธิว 11:1)

1เมื่อ​พระ‍เยซู​ตรัส‍สั่ง​สาวก​สิบ‍สอง​ คน​ของ​พระ‍องค์​เสร็จ​แล้วพระ‍องค์​เสด็จ​จาก​ที่​นั่น​ไป​ทรง​สั่ง‍สอน​ และ​ทรง​ประ‌กาศ​ใน​เมือง​ของ​เขา3‍ทั้ง‍หลาย (มัทธิว 11:1)

ข้อ 1 เป็นตัวเชื่อม เป็นเหมือนบานพับเชื่อมเหตุการณ์ของบทที่ 10 ไปบทที่ 11 หลังจากพระเยซูตรัสสั่งสาวกของพระองค์ให้พวกเขาออกไปทำพันธกิจตามที่ได้รับ มอบหมาย:

1พระ‍องค์​ทรง​เรียก​สาวก​สิบ‍สอง​คน​ของ ​พระ‍องค์​มาแล้ว​ประ‌ทาน​สิทธิ‍อำนาจ​ให้​พวก‍เขา​ขับ‍ผี​โส‌โครก​ออก​ได้ และ​ทรง​ให้​รักษา​โรค​และ​ความ​เจ็บ‍ป่วย​ทุก‍อย่าง​ให้​หาย​ได้…5สิบ‍สอง​ คน​นี้ พระ‍เยซู​ทรง​ใช้​ให้​ออก​ไป​และ​มี​รับ‍สั่ง​พวก‍เขา​ว่า “อย่า​ไป​ยัง​ที่​อยู่​ของ​พวก​ต่าง‍ชาติและ​อย่า​เข้า​ไป​ใน​เมือง​ของ​ชาว ​สะ‌มา‌เรีย 6แต่​ว่า​จง​ไป​หา​แกะ​หลง​ของ​วงศ์‍วาน​อิสรา‌เอล​นั้น​ดี​กว่า 7จง​ไป​พลาง​ประ‌กาศ​พลาง​ว่า‘แผ่น‍ดิน​สวรรค์​มา​ใกล้​แล้ว’ (มัทธิว 10:1, 5-7)

เหตุการณ์นี้ในบทที่ 11 เป็นตอนต่อจากที่ส่งสาวกทั้งสิบสองไป ที่น่าสนใจคือแม้ว่าภารกิจที่สาวกต้องไปทำอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรืออาจถึง เดือน แต่ไม่มีพระกิตติคุณเล่มใดบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นในระหว่างที่สาวกออกไปทำ ภารกิจนั้น นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจมาก แต่กลับเป็นเรื่องที่ผู้เขียนพระกิตติคุณทั้งสี่เลือกที่จะไม่บันทึกไว้ ที่จริงคำตรัสของพระเยซูในบทนี้รวบเอาท่าทีการตอบสนองของชาวยิวที่มีต่อพระ ราชกิจของพระองค์และพวกสาวก มัทธิวต้องการให้เรา “ลากเส้นเชื่อมจุดประ” จากบทที่ 10 ไปบทที่ 11 จากส่งสาวกทั้งสิบสองออกไป จนถึงยอห์นผู้ให้บัพติศมา สิ่งที่ยอห์นสงสัย และการตอบสนองต่อข่าวประเสริฐของชาวยิวในกาลิลี4

คำถามของยอห์น และคำตอบของพระเยซู (มัทธิว 11:2-6)

2ยอห์น​ซึ่ง​อยู่​ใน​คุก ได้‍ยิน​เกี่ยว‍กับ​งาน​ต่างๆ5ของ ​พระ‍คริสต์​ก็​ใช้​พวก​ศิษย์​ไป 3ทูล​ถาม​พระ‍องค์​ว่า“ท่าน​เป็น​คน​ที่​จะ​มา​นั้น หรือ​ว่า​เรา​จะ​ต้อง​รอ‍คอย​คน​อื่น?” 4พระ‍เยซู​ตรัส​ตอบ​พวก‍เขา​ว่า“ไป​บอก​ยอห์น​ใน​สิ่ง​ที่​พวก‍ท่าน​ได้‍ยิน ​และ​ได้​เห็น 5คือ​ว่า​บรร‌ดา​คน‍ตา‍บอด​เห็น​ได้พวก​คน‍ง่อย​เดิน​ได้บรร‌ดา​คน​ที่​เป็น ​โรค‍เรื้อน​หาย​สะอาดบรร‌ดา​คน‍หู‍หนวก​ได้‍ยินบรร‌ดา​คน‍ตาย​เป็น​ขึ้นและ ​คน​ยาก‍จน​ทั้ง‍หลาย​ได้​รับ​ข่าว‍ดี 6ใคร​ไม่‍มี​เหตุ​สะดุด​ใน​ตัว​เราคน‍นั้น​ก็​เป็น​สุข” (มัทธิว 11:2-6)

ขอเริ่มโดยกล่าวว่าปัญหาของยอห์นเรื่องพระเยซูไม่ได้มาจากความไม่เชื่อ แต่อาจมาจากความกังวลว่าพระเยซูยังไม่ได้ทำตามที่พยากรณ์ไว้ในพระคัมภีร์ ผมมั่นใจว่าสิ่งที่ท่านสงสัยนั้นมาจากใจของผู้มีความเชื่อเต็มเปี่ยม เชื่อในพระเจ้าและพระวจนะ ที่ท่านสงสัยไม่ได้เป็นการปฏิเสธพระเจ้าหรือพระวจนะของพระองค์ ที่จริงแล้วความสงสัยของท่านมาจากความเชื่อมั่นคงในพระวจนะ อย่างที่เราทราบ ยอห์นตระหนักดีถึงบทบาทของท่านในฐานะผู้มาเตรียมทางให้พระเมสซิยาห์ เพื่อให้คำพยากรณ์ในอิสยาห์สำเร็จลง (อิสยาห์ 40:3; มัทธิว 3:3) และมาลาคี (3:1-3; 4:4-6; มัทธิว 11:10; ลูกา 1:11-17)

ยอห์นยังคุ้นเคยกับพระวจนะตอนอื่นๆที่กล่าวถึงการเสด็จมาด้วยพระราชอำนาจ ของพระเมสซิยาห์ เพื่อจัดการกับศัตรู และจัดตั้งอาณาจักรของพระองค์:

1เหตุ‍ใด​บรร‌ดา​ประ‌ชา‍ชาติ​จึง​คิด​กบฏ?
ทำไม​ชาว​ประ‌เทศ​ทั้ง‍หลาย​คิด​ลมๆ แล้งๆ?
2บรร‌ดา​กษัตริย์​แห่ง​แผ่น‍ดิน​โลก​ตั้ง​ตน‍เอง​ขึ้น
และ​นัก‍ปก‍ครอง​ปรึก‌ษา​กัน
ต่อ‍สู้​พระ‍ยาห์‌เวห์​กับ​ผู้‍รับ‍การ‍เจิม​ของ​พระ‍องค์กล่าว​ว่า
3“ให้​เรา​หัก​โซ่​ตรวน
และ​สลัด​เครื่อง‍จำ‍จอง​ของ​เขา​ให้​พ้น​จาก​เรา​เถิด”
4พระ‍องค์​ผู้​ประ‌ทับ​ใน​สวรรค์​ทรง​พระ‍สรวล
องค์‍เจ้า‍นาย​ทรง​เย้ย‍หยัน​เขา​เหล่า‍นั้น
5แล้ว​ตรัส​กับ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ด้วย​ความ​กริ้ว
และ​ด้วย​ความ​เดือด‍ดาล​ก็​ทรง​ทำ​ให้​เขา​หวาด‍กลัว ตรัส​ว่า
6“เรา​เอง​ได้​ตั้ง​กษัตริย์​ของ​เรา​ไว้​แล้ว
บน​ศิ‌โยน ภูเขา​บริ‌สุทธิ์​ของ​เรา”
7ข้าพ‌เจ้า​จะ​บอก​ถึง​กฎ‍เกณฑ์​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์
พระ‍องค์​ตรัส​กับ​ข้าพ‌เจ้า​ว่า “เจ้า​เป็น​บุตร​ของ​เรา วัน‍นี้​เรา​ให้​กำ‌เนิด​เจ้า​แล้ว
8จง​ขอ​จาก​เรา​เถิด และ​เรา​จะ​มอบ​บรร‌ดา​ประ‌ชา‍ชาติ​ให้​เป็น​มรดก​ของ​เจ้า
ตลอด‍จน​แผ่น‍ดิน​โลก​ให้​เป็น​กรรม‍สิทธิ์​ของ​เจ้า
9เจ้า​จะ​ตี​พวก‍เขา​ให้​แตก​ด้วย​คทา​เหล็ก
และ​ฟาด​ให้​แหลก​เป็น​ชิ้นๆ ดุจ​ภาชนะ​ของ​ช่าง‍ปั้น‍หม้อ”
10เพราะ‍ฉะนั้น กษัตริย์​ทั้ง‍หลาย​เอ๋ย จง​ฉลาด​เถิด
บรร‌ดา​ผู้‍ปก‍ครอง​แห่ง​แผ่น‍ดิน​โลก​เอ๋ย จง​รับ​คำ​เตือน​เถิด
11จง​ปรน‌นิ‌บัติ​พระ‍ยาห์‌เวห์​ด้วย​ความ​ยำ‌เกรง
และ​จง​เปรม‍ปรีดิ์​จน​เนื้อ‍เต้น
12จง​จุม‌พิต​พระ‍บุตร
หา​ไม่ พระ‍องค์​จะ​กริ้ว และ​เจ้า​ต้อง​พินาศ​จาก​ทาง​นั้น
เพราะ​ความ​กริ้ว​ของ​พระ‍องค์​จุด​ให้​ลุก​ได้​รวด‍เร็ว
ทุก​คน​ที่​เข้า‍มา​ลี้‍ภัย​ใน​พระ‍องค์​ก็​เป็น​สุข(สดุดี 2:1-12)

เมื่อยอห์นพูดถึงการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ ท่านพูดว่าพระองค์จะเสด็จมาพร้อมด้วยฤทธิอำนาจ และด้วยการพิพากษา เช่นเดียวกับคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมที่พูดถึงการเสด็จมาของพระองค์:

11ข้าพ‌เจ้า​ให้​ท่าน​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​ ด้วย​น้ำ แสดง​ว่า​กลับ‍ใจ​ใหม่​ก็​จริงแต่​พระ‍องค์​ผู้​จะ​มา​ภาย‍หลัง​ข้าพ‌เจ้า ทรง​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ข้าพ‌เจ้าซึ่ง​ข้าพ‌เจ้า​ไม่​คู่‍ควร​แม้​แต่​จะ​ถือ​ ฉลอง‍พระ‍บาท​ของ​พระ‍องค์ พระ‍องค์​จะ​ทรง​ให้​พวก‍ท่าน​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​ด้วย​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์​และ​ด้วย​ไฟ 12พระ‍องค์​ทรง​ถือ​พลั่ว​อยู่​ใน​พระ‍หัตถ์​แล้วและ​จะ ​ทรง​ชำระ​ลาน‍ข้าว​ของ​พระ‍องค์​ให้​ทั่วพระ‍องค์​จะ​ทรง​รวบ‍รวม​ เมล็ด‍ข้าว​ของ​พระ‍องค์​ไว้​ใน​ยุ้ง‍ฉางแต่​พระ‍องค์​จะ​ทรง​เผา​แกลบ​ด้วย ​ไฟ​ที่​ไม่‍มี​วัน​ดับ” (มัทธิว 3:11-12)

ยอห์นเป็นผู้เผยพระวจนะ จึงเป็นผู้ที่ได้รับการดลใจ ท่านพูดด้วยสิทธิอำนาจของพระเจ้า แต่ในฐานะผู้เผยพระวจนะ ท่านต้องทนทุกข์จากปัญหาเดียวกับที่ผู้เผยพระวจนะคนอื่นๆในพระคัมภีร์เดิม เผชิญ – ท่านไม่ได้รู้ทุกสิ่ง!

10พวก​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​ผู้​ได้​พยา‌กรณ์ ​ถึง​พระ‍คุณ​ซึ่ง​จะ​เกิด​แก่​พวก‍ท่านก็​ได้​เสาะ‍หา​และ​สืบ‍ค้น​อย่าง​ ถี่‍ถ้วน​เกี่ยว‍กับ​เรื่อง​ความ​รอด​นี้ 11พวก‍เขา​ได้​สืบ‍หา​บุค‌คล​และ​เวลาซึ่ง​พระ‍วิญ‌ญาณ​ของ​พระ‍คริสต์​ผู้​ สถิต​อยู่​ใน​พวก‍เขา​ได้​ทรง​แจ้งไว้ โดย​ทรง​บอก​ล่วง‍หน้า​ถึง​ความ​ทุกข์​ทร‌มาน​ของ​พระ‍คริสต์และ​พระ‍สิริ​ ที่​จะ​มา​ภาย‍หลัง​ความ​ทุกข์​เหล่า‍นั้น 12พระ‍องค์​ทรง​เผย​ให้​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​เหล่า‍นั้น​ทราบ​ว่าพวก‍เขา​ ไม่‍ได้​ปรน‌นิ‌บัติ​ตัว‍เอง​ใน​เรื่อง​เหล่า‍นี้ แต่​ปรน‌นิ‌บัติ​พวก‍ท่าน บัด‍นี้​เรื่อง​เหล่า‍นี้​ถูก​ประ‌กาศ​แก่​พวก‍ท่าน​ทาง​ผู้‍ประ‌กาศข่าว‍ ประ‌เสริฐ โดย​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์​ที่​ประ‌ทาน​จาก​สวรรค์ เรื่อง​เหล่า‍นี้​เป็น​สิ่ง​ซึ่ง​พวก​ทูต‍สวรรค์​ปรารถนาจะได้ดู (1เปโตร 1:10-12)

ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิม (เช่นเดียวกับผู้เผยพระวจนะแท้ทั้งในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่) ได้รับการดลใจจากพระเจ้าให้ทราบบางส่วนของแผนการหรือเหตุการณ์ใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์ พวกเขาไม่เห็นหรือรู้ถึงภาพรวมทั้งหมดของคำพยากรณ์ – อย่างน้อยที่เข้าใจได้ทั้งหมด และอย่างที่เปโตรกล่าว พวกเขาสืบเสาะหาบุคคลและเวลา เพื่อจะได้เข้าใจความหมาย แต่ที่สุดแล้ว พวกเขาต้องยอมหยุด และเข้าใจว่าคำพยากรณ์เหล่านี้จะเป็นจริงในอนาคต ดังนั้นพวกเขาจึงกำลังปรนนิบัติผู้อื่น เช่นพวกเราและคนในยุคที่คำพยากรณ์นั้นจะเกิดขึ้นเป็นจริง

ยอห์นจึงเป็นทุกข์เพราะอาการที่ผมขอเรียกว่า “ปัญหาแห่งความสับสน” ตอนนั้นยอห์นไม่อาจแยกแยะได้ระหว่างคำพยากรณ์ที่พูดถึงการเสด็จมาครั้งแรก และครั้งที่สองของพระเมสซิยาห์ การเสด็จมาครั้งแรกตามคำพยากรณ์พูดถึงการถูกปฏิเสธโดยมนุษย์และการสละพระ ชนม์ชีพเพื่อชดใช้โทษบาปของเรา – เช่นคำพยากรณ์ในสดุดี 22 และอิสยาห์ 52:13 – 53:12 การเสด็จมาครั้งที่สองอยู่ในคำพยากรณ์อย่าง สดุดี 2 และมาลาคี 3:1-3 ยอห์นต้องต่อสู้เพราะพระเยซูไม่ได้เติมเต็มตามคำพยากรณ์ที่พูดถึงการเสด็จมา ครั้งที่สองของพระเมสซิยาห์ ตอนนี้เราถึงเข้าใจว่าทำไม เป็นปัญหาที่เวลาเท่านั้นแก้ไขได้

ในอีกมุม“ปัญหาความสับสน” ในพระเจ้าก็เกิดขึ้นในท่ามกลางสาวกของยอห์น:

14แล้ว​บรร‌ดา​สาวก​ของ​ยอห์น​มา‍หา​ พระ‍เยซู​ทูล​ว่า“ทำไม​เรา​และ​พวก​ฟาริสี​ถือ​อด‍อาหาร แต่​พวก​สาวก​ของ​ท่าน​ไม่​ถือ?”15พระ‍เยซู​จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “บรร‌ดา​แขก​รับ​เชิญ​จะ​โศก‍เศร้าเมื่อ​เจ้า‍บ่าว​ยัง​อยู่​กับ​พวก‍เขา​ หรือ?แต่​วัน‍หนึ่ง​เจ้า‍บ่าว​จะ​ถูก​พราก​ไป​จาก​เขาและ​เมื่อ​นั้น​ พวก‍เขา​จะ​ถือ​อด‍อาหาร 16ไม่‍มี​ใคร​เอา​ชิ้น​ผ้า​ทอ​ใหม่​มา​ปะ​เสื้อ​เก่าเพราะ‍ว่า​ผ้า​ที่​ปะ​ เข้า​นั้นเมื่อ​หด​จะ​ทำ​ให้​เสื้อ​เก่า​ขาด​กว้าง​ออก​ไป​อีก 17และ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ไม่​เอา​เหล้า‍องุ่น​หมัก​ใหม่ มา​ใส่​ใน​ถุง‍หนัง​เก่าถ้า​ทำ​อย่าง​นั้น​ถุง‍หนัง​จะ​ขาด น้ำ‍องุ่น​จะ​รั่วทั้ง​ถุง‍หนัง​ก็​จะ​เสีย​ไป​ด้วยแต่​เขา​ย่อม​เอา​ น้ำ‍องุ่น​หมัก​ใหม่​ใส่​ใน​ถุง‍หนัง​ใหม่แล้ว​ทั้ง‍คู่​ก็​จะ​อยู่​ใน​ สภาพ‍ดี” (มัทธิว 9:14-17)

ในบทที่ 9 พระเยซูอธิบายถึง ““ปัญหาความสับสน” ในพระเจ้าอย่างอ้อมๆ เปรียบเทียบน้ำองุ่นหมักใหม่ (พระกิตติคุณ หรือพันธสัญญาใหม่) ใส่ในถุงหนังเก่า (พันธสัญญาเดิม) พวกเขาอาจนึกภาพตาม แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นสัญลักษณ์ของอะไร เพราะพวกเขายังอยู่ห่างไกลจากกางเขน ยังอยู่กับธรรมบัญญัติเดิม

คำตอบที่พระเยซูตอบยอห์นนั้นเรียบง่ายและตรงไปตรงมา:

4พระ‍เยซู​ตรัส​ตอบ​พวก‍เขา​ว่า“ไป​บอก​ ยอห์น​ใน​สิ่ง​ที่​พวก‍ท่าน​ได้‍ยิน​และ​ได้​เห็น 5คือ​ว่า​บรร‌ดา​คน‍ตา‍บอด​เห็น​ได้ พวก​คน‍ง่อย​เดิน​ได้บรร‌ดา​คน​ที่​เป็น​โรค‍เรื้อน​หาย​สะอาด บรร‌ดา​คน‍หู‍หนวก​ได้‍ยิน บรร‌ดา​คน‍ตาย​เป็น​ขึ้น และ​คน​ยาก‍จน​ทั้ง‍หลาย​ได้​รับ​ข่าว‍ดี 6ใคร​ไม่‍มี​เหตุ​สะดุด​ใน​ตัว​เราคน‍นั้น​ก็​เป็น​สุข” (มัทธิว 11:4-6)

พระเยซูบอกสาวกของยอห์นให้ไปบอกท่านในสิ่งที่ได้ยิน และได้เห็น พวกเขาได้ยินอะไร? พวกเขาคงได้ยินซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า “จง​กลับ‍ใจ​ใหม่ เพราะ​ว่า​แผ่น‍ดิน​สวรรค์​มา​ใกล้​แล้ว” (มัทธิว 4:17; 10:7ดูมาระโก 6:12 ด้วย) เป็นถ้อยคำเดียวกับที่พวกเขาและยอห์นประกาศออกไป อาจเคยได้ยินบางตอนจากคำเทศนาบนภูเขา จากพระดำรัสของพระเยซู อาจได้ยินข่าวประเสริฐที่ประกาศไปแก่คนยากจน นอกจากได้ยินยังคงได้เห็นการอัศจรรย์ทุกอย่าง – คนตาบอดเห็นได้ คนง่อยเดินได้ คนโรคเรื้อนหายสะอาด คนหูหนวกได้ยิน และคนตายเป็นขึ้นมา ทุกอย่างเป็นหมายสำคัญว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสซิยาห์ หมายสำคัญที่พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว:

18และ​ใน​วัน‍นั้นบรร‌ดา​คน‍หู‍หนวก​จะ​ได้‍ยินถ้อย‍คำ​ของ​หนัง‌สือ​ม้วน
และ​ตา​ของ​คน‍ตา‍บอด​จะ​มอง‍เห็นจาก​ความ​เลือน‍ราง​และ​ความ​มืด
19คน​ใจ​ถ่อม​จะ​เพิ่ม‍พูน​ความ​ชื่น‍บาน​ใน​พระ‍ยาห์‌เวห์
และ​คน‍ยาก‍จน​ท่าม‍กลาง​มนุษย์​จะ​ยินดี​ใน​องค์‍บริ‌สุทธิ์​ของ​อิสรา‌เอล (อิสยาห์ 29:18-19)

4จง​กล่าว​กับ​คน​ที่​มี​ใจ​หวาด‍กลัว​ว่า
“จง​เข้ม‍แข็ง​เถอะและ​อย่า​กลัว​เลยดู‍สิพระ‍เจ้า​ของ​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย
พระ‍องค์​จะ​เสด็จ​มา​ด้วย​การ​แก้‍แค้นด้วย​การ​ตอบ‍แทน​ของ​พระ‍เจ้า
พระ‍องค์​จะ​เสด็จ​มา​และ​จะ​ช่วย​ท่าน​ให้​รอด”
5แล้ว​ตา​ของ​คน‍ตา‍บอด​จะ​ได้​เห็น
และ​หู​ของ​คน‍หู‍หนวก​จะ​ได้‍ยิน
6คน‍ง่อย​จะ​กระ‌โดด​อย่าง​กวาง
และ​ลิ้น​ของ​คน‍ใบ้​จะ​โห่‍ร้อง​ยินดี
เพราะ​น้ำ​จะ​พลุ่ง​ขึ้น​มา​ใน​ถิ่น‍ทุร‌กัน‌ดาร
และ​ลำ‍ธาร​เกิด‍ขึ้น​ใน​ที่‍ราบ​แห้ง‍แล้ง (อิสยาห์ 35:4-6)

1พระ‍วิญ‌ญาณ​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์องค์‍เจ้า‍นาย​ทรง​อยู่​เหนือ​ข้าพ‌เจ้า
เพราะ‍ว่า​พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​เจิม​ข้าพ‌เจ้า​ไว้
เพื่อ​นำ​ข่าว‍ดี​มา​ยัง​คน​ที่​ทุกข์‍ใจ
พระ‍องค์​ทรง​ส่ง​ข้าพ‌เจ้า​ไป​เพื่อ​ปลอบ‌โยน​คน​ชอก‍ช้ำ‍ใจ
และ​เพื่อ​ประ‌กาศ​อิสร‌ภาพ​แก่​บรร‌ดา​เชลย
ทั้ง​ประ‌กาศ​การ​เปิด​เรือน‍จำ​แก่​ผู้​ที่​ถูก​จำ‍จอง
2เพื่อ​ประ‌กาศ​ปี​แห่ง​ความ​โปรด‍ปราน​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์
และ​ประ‌กาศ​วัน​แห่ง​การ​แก้‍แค้น​ของ​พระ‍เจ้า​ของ​พวก‍เรา
เพื่อ​ชู‍ใจ​ทุก​คน​ที่​ไว้‍ทุกข์
3เพื่อ​จัด‍เตรียม​ให้​กับ​พวก​ที่​ไว้‍ทุกข์​ใน​ศิ‌โยน
คือ​ให้​มงกุฎ​แทน​ขี้‍เถ้า​แก่​พวก‍เขา
และ​ให้​น้ำ‍มัน​แห่ง​ความ​ยินดี​แทน​การ​ไว้‍ทุกข์
เสื้อ‍คลุม​แห่ง​การ​สรร‌เสริญ​แทน​จิต‍วิญ‌ญาณ​ที่​ท้อ‍แท้
แล้ว​คน​จะ​เรียก​พวก‍เขา​ว่า​ต้น‍โอ๊ก​แห่ง​ความ​ชอบ‍ธรรม
ที่​พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​ปลูก​ไว้​เพื่อ​สำแดง​พระ‍สิริ​ของ​พระ‍องค์ (อิสยาห์ 61:1-3)

ยอห์นไม่สบายใจเพราะกังวลเกี่ยวกับคำพยากรณ์ของพระเมสซิยาห์ (ในส่วนการเสด็จมากครั้งที่สอง) ดูเหมือนพระราชกิจของพระเยซูไม่ได้เป็นไปตามนั้น พระเยซูไม่ได้พยายามอธิบายทั้งหมดให้ยอห์นฟัง เพียงให้ยอห์นหันกลับมาดูสิ่งที่พระองค์ทำและคำสอนของพระองค์ เพื่อเตือนยอห์นว่าทั้งหมดนี้เติมเต็มคำพยากรณ์ที่เกี่ยวกับการเสด็จมาของ พระเมสิยาห์แล้ว– ครั้งแรก

ความสงสัยของยอห์น และคำตอบของพระเยซูทำให้ผมนึกถึงโยบ ประสบการณ์ความทุกข์ของโยบดูจะไม่สมเหตุผลกับคำอธิบายของเพื่อนๆ หรือแม้แต่ความเข้าใจของโยบเองว่าพระเจ้าทำงานอย่างไรในชีวิตคน โยบเหมือน “ท้าวสะเอว” อยู่พักใหญ่ คาดหวังคำอธิบายจากพระเจ้า พระเจ้าไม่ได้อธิบายในรายละเอียด (เรื่องบนสวรรค์ เรื่องบทเรียนที่ได้รับ เรื่องซาตานมาฟ้อง ฯลฯ) พระองค์เพียงชี้ให้เห็นว่าพระองค์คือพระเจ้า พระเจ้าผู้ทรงอำนาจอธิปไตย เมื่อโยบครุ่นคิดเรื่องนี้ ท่านจึงเงียบเสียง ไม่ประท้วงต่อ มีแต่สารภาพ พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้า ทรงมีสิทธิทำตามพระประสงค์ โยบคิดว่าตนเองเป็นใครที่กล้าไปถามเรื่องวิธีทำงานของพระเจ้าบนโลก โลกที่พระองค์เป็นผู้เนรมิตสร้าง? เมื่อรู้ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้า แค่นั้นก็พอสำหรับโยบ เท่าที่เรารู้ ท่านไม่เคยรู้พระประสงค์ของพระเจ้าที่ท่านต้องทนทุกข์เลย

สิ่งที่พระเยซูบอกสาวกของยอห์นให้ไปแจ้งแก่ยอห์นเพื่อพิสูจน์ว่าพระองค์ ทรงเป็นพระเมสซิยาห์ตามที่ยอห์นสัญญา ได้ให้บัพติศมา และประกาศพระองค์อย่างเปิดเผย ยอห์นทำในสิ่งที่ว่าไปแล้วเราทุกคนต้องเคยทำ มีความคาดหวังบางอย่างในพระเจ้า พระองค์น่าจะทำอย่างไรในชีวิตผู้คน (คือรู้สึกว่าพระเจ้าน่าจะทำบางอย่างในชีวิตบางคน) ท่านจึงเหมือนท้าทายพระเจ้าในแง่มุมความคาดหวัง ท่านมองเรื่องนี้กลับหัวกลับหาง น่าจะตระหนักได้ว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสซิยาห์ พระเจ้าในสภาพมนุษย์ ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า ยอห์นก็ควรปรับและเปลี่ยนความคาดหวังในพระองค์ และมั่นใจว่าพระเยซูคือพระเจ้า

เราทุกคนต่างก็เหมือนยอห์น – เมื่อพระเจ้าไม่ได้ทำตามที่เราคาดหวังให้พระองค์ทำ เราก็เริ่มมีคำถาม ถ้าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าจริง เราก็ควรคาดหวังให้พระองค์ทำงานของพระองค์ในวิธีที่แตกต่างจากความคาดหวัง ของเรา:

7ให้​คน​อธรรม​ละ‍ทิ้ง​ทาง​ของ​เขา
และ​คน​ชั่ว​ละ‍ทิ้ง​ความ​คิด​ของ​เขา
ให้​เขา​กลับ‍มา​ยัง​พระ‍ยาห์‌เวห์และ​พระ‍องค์​จะ​ทรง​เมตตา​เขา
และ​มา​ยัง​พระ‍เจ้า​ของ​พวก‍เราเพราะ​พระ‍องค์​ทรง​มี​การ​อภัย​อย่าง​เหลือ‍ล้น
8“เพราะ​ความ​คิด​ของ​เรา​ไม่​ใช่​ความ​คิด​ของ​เจ้า
และ​ทาง​ของ​พวก‍เจ้า​ก็​ไม่​ใช่​ทาง​ของ​เรา”
พระ‍ยาห์‌เวห์​ตรัส​ดัง‍นี้​แหละ
9“เพราะ​ฟ้า‍สวรรค์​สูง​กว่า​แผ่น‍ดิน​โลก​อย่าง‍ไร
ทาง​ของ​เรา​ก็​สูง​กว่า​ทาง​ของ​พวก‍เจ้า
และ​ความ​คิด​ของ​เรา​ก็​สูง​กว่า​ความ​คิด​ของ​เจ้า​อย่าง‍นั้น
10“เพราะ​เหมือน​ฝน​และ​หิมะ​ลง‍มา​จาก​ฟ้า‍สวรรค์
และ​ไม่​กลับ​ที่‍นั่น​เว้น‍แต่​ได้​รด​แผ่น‍ดิน​โลก
แล้ว​ทำ​ให้​บัง‍เกิด‍ผล​และ​แตก​หน่อ
ทั้ง​ให้​เมล็ด‍พืช​แก่​ผู้‍หว่าน​และ​อาหาร​แก่​คน​กิน
11ทำ‌นอง​เดียว‍กันคำ​ของ​เรา​ที่​ออก​จาก​ปาก​ของ​เรา
จะ​ไม่​กลับ‍มา​สู่​เรา​เปล่าๆ
แต่​จะ​ทำ​ให้​สิ่ง​ที่​เรา​พอ‍ใจ​นั้น​สำเร็จ
และ​ให้​สิ่ง​ที่​เรา​ใช้​ไป​ทำ​นั้น​เสร็จ‍สิ้น (อิสยาห์ 55:7-11)

พระเยซูตรัสถ้อยคำสุดท้ายในข้อ 6 ทรงบอกยอห์นว่าอย่าขัดเคือง (หรือสะดุด) ในเรื่องของพระเยซู ผมเชื่อว่าคำที่ตรัสแนะนำนี้มาจากถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์:

13แต่​พระ‍ยาห์‌เวห์​จอม‍ทัพ​นั้น​แหละที่​พวก‍ท่าน​ต้อง​ถือ‍ว่า​ศักดิ์‍สิทธิ์
พระ‍องค์​ทรง​เป็น​ผู้​ที่​ท่าน​ต้อง​กลัว
และ​ทรง​เป็น​ผู้​ที่​ท่าน​ต้อง​หวาด‍หวั่น
14แล้วพระ‍องค์​จะ​เป็น​สถาน​ศักดิ์‍สิทธิ์
แต่​ก็​จะ​เป็น​หิน‍สะดุด​
และ​เป็น​ศิลา​ที่​ทำ​ให้​เชื้อ‍สาย​ทั้ง‍สอง​ของ​อิสรา‌เอล​หก‍ล้ม
ทั้ง​เป็น​กับ​ดัก​และ​เป็น​บ่วง‍แร้ว​สำหรับ​ชาว​เย‌รู‌ซา‌เล็ม
15และ​คน​จำ‌นวน​มาก​จะ​หก‍ล้ม​เพราะ​หิน​นั้น
จะ​ล้ม​คะมำ​และ​แตก​หักพวก‍เขา​จะ​ติด​บ่วง​และ​ถูก​จับ​ไป (อิสยาห์ 8:13-15)

ขออย่าให้ยอห์นอยู่ในท่ามกลางผู้ที่สะดุดเพราะพระเมสซิยาห์เลย

พระเยซูตรัสถึงยอห์นผู้ให้บัพติศมา (มัทธิว 11:7-15)

7ขณะ‍ที่​เขา‍ทั้ง‍หลาย​กลับ​ไปพระ‍เยซู​ ทรง​เริ่ม​ตรัส​กับ​ฝูง‍ชน​เกี่ยว‍กับ​ยอห์น​ว่า“ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ออก​ไป​ยัง ​ถิ่น‍ทุร‌กัน‌ดาร​เพื่อ​ดู​อะไร?คง​ไม่‍ใช่​ดู​ต้น‍อ้อ​ไหว​เมื่อ​ถูก​ ลม‍พัด​หรอก​นะ 8แล้ว​ท่าน​ออก​ไป​ดู​อะไร? ดู​คน​ที่​นุ่ง‍ห่ม​ผ้า​เนื้อ​ดี​หรือ? นี่‍แน่ะคน​ที่​นุ่ง‍ห่ม​ผ้า​เนื้อ​ดี​ก็​อยู่​ใน​ราช‌วัง 9แล้ว​พวก‍ท่าน​ออก​ไป​ดู​อะไร? ดู​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​หรือ? แน่‍ที‍เดียวและ​เรา​บอก​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ว่าเขา​เป็น​ยิ่ง‍กว่า​ ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​อีก 10คือ​เป็น​ผู้‍นี้​ที่​พระ‍คัมภีร์​เขียน​ไว้​ว่า‘เรา​จะ​ใช้​ทูต​ของ​เรา​ นำ‍หน้า​ท่านผู้​นั้น​จะ​เตรียม​มรรคา​ของ​ท่านไว้​ข้าง‍หน้า​ท่าน’11เรา​ บอก​ความ​จริง​กับ​พวก‍ท่าน​ว่าใน​บรร‌ดา​คน​ซึ่ง​เกิด​จาก​ผู้‍หญิง​นั้น ไม่‍มี​ใคร​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพ‌ติศ‌มาแต่​ว่า​ผู้​ที่​ เล็ก‍น้อย​ที่​สุด​ใน​แผ่น‍ดิน​สวรรค์​ก็​ยัง​ใหญ่​กว่ายอห์น​อีก 12และ​ตั้ง‍แต่​สมัย​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ถึง​ทุก​วัน‍นี้แผ่น‍ดิน​ สวรรค์​ก็​ถูก​โจม‍ตี​อย่าง​รุน‍แรงและ​พวก​ที่​รุน‍แรง​พยา‌ยาม​ชิง​เอา​ ให้​ได้ 13เพราะ‍ว่า​พวก​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะและ​ธรรม‍บัญญัติ​ได้​พยา‌กรณ์​มา​จน‍ถึง​ ยอห์น​นี้ 14ถ้า​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​จะ​ยอม‍รับยอห์น​ผู้‍นี้​แหละคือ​เอ‌ลี‌ยาห์​ที่​จะ​ มา​นั้น 15ใคร​มี​หู​จง​ฟัง​เถิด (มัทธิว 11:7-15)

ถ้ายอห์นมีความสงสัยในพระเยซู พระเยซูไม่มีความสงสัยในยอห์นเลย! ฝูงชนคงได้ยินคำถามที่สาวกของยอห์นถามพระเยซู และคำตอบที่พระองค์ตอบ ขณะที่สาวกของยอห์นเดินทางกลับไปแจ้งแก่ยอห์น พระเยซูทรงใช้โอกาสนี้ตรัสกับฝูงชนถึงยอห์นผู้ให้บัพติศมา พระเยซูทรงทำให้ฝูงชนยอมรับว่าพระองค์ทราบว่าพวกเขาคิดอะไร – คิดว่ายอห์นเป็นผู้เผยพระวจนะ (ดูมัทธิว 21:26) นี่คือสิ่งที่พระเยซูตรัสเกี่ยวกับยอห์น6

“ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ออก​ไป​ยัง​ถิ่น‍ทุร‌กัน‌ดาร​เพื่อ​ดู​อะไร?ดูพวกโลเล ที่เปลี่ยนไปมาตามกระแสการเมืองหรือ? เราไม่คิดเช่นนั้น บางทีพวกคุณออกไปถึงถิ่นทุรกันดารเพื่อจะดูแฟชั่นล่าสุดสำหรับผู้ชายหรือ? เราต่างก็รู้ว่ามันไม่ใช่ พวกคุณทุกคนรู้ดีว่าสิ่งที่ดึงดูดพวกคุณไปที่ถิ่นทุรกันดารก็เพื่อไปฟัง ยอห์น ซึ่งเป็นการย้ำว่ายอห์นคือผู้เผยพระวจนะแท้ – ผู้ที่พูดแทนพระเจ้า ผู้ที่ถ้อยคำของเขาคือถ้อยคำของพระเจ้า ยอห์นเป็นผู้เผยพระวจนะ แต่ไม่ได้เป็นเพียงผู้เผยพระวจนะ ในความเป็นจริง ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะ – เป็นผู้เผยพระวจนะที่ทุกคนรอคอย ผู้เผยพระวจนะที่การปรากฎตัวและพันธกิจของท่านมีการพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าโดย ผู้เผยพระวจนะท่านอื่นๆ มาลาคีพูดถึงยอห์นเมื่อเขียนว่า นี่แน่ะเราส่งทูตของเราไป เพื่อตระเตรียมหนทางไว้ข้างหน้าเรา ยอห์นเป็นผู้มาเตรียมหนทางล่วงหน้าให้พระเมสซิยาห์ ได้รับสิทธิพิเศษเป็นผู้ประกาศการเสด็จมา และประกาศว่าพระเยซูคือผู้ใด

เพราะบทบาทที่โดดเด่นของยอห์นในฐานะผู้เผยพระวจนะคนสุดท้ายในพระคัมภีร์ เดิม ผู้เผยพระวจนะที่ทำหน้าที่ประกาศพระเมสซิยาห์ให้คนรู้จัก ใน​บรร‌ดา​คน​ซึ่ง​เกิด​จาก​ผู้‍หญิง​นั้น (จนถึงช่วงเวลานั้น)ไม่‍มี​ใคร​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ยอห์น แต่ว่าถึงมีความโดดเด่นอย่างไรก็ตาม เมื่อมองจากภาพของพระคัมภีร์เดิม – ​ผู้​ที่​เล็ก‍น้อย​ที่​สุด​ใน​แผ่น‍ดิน​สวรรค์​ก็​ยัง​ใหญ่​กว่ายอห์น​อีก (มัทธิว 11:11)

สำหรับผม ข้อ 12 และ 13 เป็นข้อที่น่าฉงนที่สุดในมัทธิว ในข้อ 12พระเยซูตรัสถึง “ความรุนแรง” ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นในสมัยของยอห์นผู้ให้บัพติศมา ความรุนแรงนี้คืออะไร? ผมเชื่อว่ามีบอกไว้ในหนังสือกิจการ และในพระกิตติคุณเล่มอื่นๆ:

33เมื่อ​พวก‍เขา​ฟัง​แล้ว​ก็​โกรธ​มากคิด ​กัน​ว่า​จะ​ฆ่า​พวก​อัคร‌ทูต​เสีย 34แต่​มี​คน​หนึ่ง​ชื่อ​กา‌มา‌ลิ‌เอล เป็น​พวก​ฟาริสี​และ​เป็น​อา‌จารย์​สอน​ธรรม‍บัญญัติ เป็น​ที่​นับ‍ถือ​ของ​ประ‌ชา‍ชนเขา​ยืน​ขึ้น​ใน​สภา​แล้ว​สั่ง​ให้​พา​พวก​ อัคร‌ทูต​ออก​ไป​ข้าง‍นอก​ครู่​หนึ่ง 35ท่าน​กล่าว​กับ​พวก‍เขา​ว่า “ท่าน​ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอลสิ่ง​ที่​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​คิด​จะ​ทำ​กับ​คน​ เหล่า‍นี้​นั้นจง​ระวัง​ให้​ดี 36เพราะ​ก่อน​หน้า​นี้​มี​คน​หนึ่ง​ชื่อ​ธุ‌ดาส​ซึ่ง​อ้าง‍ตัว​ว่า​เป็น​ผู้​ยิ่ง‍ใหญ่มี​ผู้‍คน​ติด‍ตาม​ประ‌มาณ​สี่‍ร้อย​คน แต่​ธุ‌ดาส​ถูก​ฆ่า​และ​คน​ที่​เป็น​พรรค‍พวก​ก็​กระ‌จัด‍กระ‌จายสาบ‍สูญ‍ไป 37ต่อ‍จาก​คน​นี้​มี​อีก‍คน‍หนึ่ง​ชื่อ​ยู‌ดาส เป็น​ชาว​กา‌ลิ‌ลี​ปรา‌กฏ‍ตัว​ขึ้น​ใน​ช่วง​ที่​มี​การ​จด​ทะ‌เบียน‍สำ‌มะโน‌ครัว เขา​เกลี้ย‍กล่อม​ผู้‍คน​ให้​ติด‍ตาม​เขา​ไป และ ​คน​นั้น​ก็​พินาศ​ด้วย คน​ที่​เป็น​พรรค‍พวก​ก็​กระ‌จัด‍กระ‌จาย 38เพราะ‍ฉะนั้น​ใน​กรณี​นี้ ข้าพ‌เจ้า​จึง​ขอ​บอก​พวก‍ท่าน​ว่าจง​ปล่อย​คน​เหล่า‍นี้​ไป​ตาม​เรื่อง อย่า​ทำ​อะไร​พวก‍เขา​เลยเพราะ‍ว่า​ถ้า​ความ​คิด​หรือ​กิจ‍การ​นี้​มา​จาก​ มนุษย์มัน​จะ​ล่ม‍สลาย​ไป​เอง 39แต่​ถ้า​มา​จาก​พระ‍เจ้าพวก‍ท่าน​จะ​ไม่​สามารถ​ทำ‍ลาย​พวก‍เขา​ได้ เกรง‍ว่า​พวก‍ท่าน​กลับ​จะ​เป็น​ฝ่าย​สู้‍รบ​กับ​พระ‍เจ้า” (กิจการ 5:33-39)

50พระ‍เยซู​ตรัส​กับ​เขา​ว่า“เพื่อน​เอ๋ย จง​ทำ​ตาม​ที่​ท่าน​ตั้ง‍ใจ​เถิด” แล้ว​พวก‍เขา​ก็​เข้า‍มา​และ​ลง‍มือ​จับ‍กุม​พระ‍เยซู 51คน​หนึ่ง​ที่​อยู่​กับ​พระ‍เยซู​ก็​ยื่น‍มือ​ออก​ชัก​ดาบ​ฟัน​หู​บ่าว​ของ​มหา‍ปุ‌โร‌หิต​ขาด 52พระ‍เยซู​จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า“เอา​ดาบ​ของ​ท่าน​ใส่​ฝัก​เสีย เพราะ​ว่า​พวก​ที่​ใช้​ดาบ​จะ​ต้อง​พินาศ​เพราะ​ดาบ 53ท่าน​คิด‍ว่า​เรา​จะ​ทูล​ขอ​พระ‍บิดา​ของ​เรา​ไม่‍ได้​หรือ? และ​พระ‍องค์​ก็​จะ​ประ‌ทาน​ทูต‍สวรรค์​ให้​เรา​มาก​กว่า​สิบ‍สอง​กอง​พล​ใน ​ทัน‍ที 54แต่​ถ้า​เป็น​อย่าง​นั้น​ข้อ​พระ‍คัมภีร์​ที่​ว่าจำ​เป็น​จะ​ต้อง​เป็น​ อย่าง‍นี้​จะ​สำเร็จ​ได้​อย่าง‍ไร?” (มัทธิว 26:50-54)

35พระ‍องค์​จึง​ตรัส​ถาม​พวก​สาวก​ว่า “เมื่อ​เรา​ใช้​พวก‍ท่าน​ออก​ไป​โดย​ไม่‍มี​ถุง‍เงิน​หรือ​ย่าม​หรือ​ รอง‍เท้า​นั้นท่าน​ขาด​อะไร​บ้าง​ไหม?” พวก‍เขา​ทูล​ตอบ​ว่า “ไม่​ขาด​เลย” 36พระ‍องค์​จึง​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “แต่​ตอน‍นี้​ใคร​มี​ถุง‍เงิน​ให้​เอา​ไป​ด้วยมี​ย่าม​ก็​ให้​เอา​ไป​ เหมือน‍กันและ​คน​ที่​ไม่‍มี​ดาบ​ก็​ให้​ขาย​เสื้อ‍คลุม​ของ​ตน​ไป​ซื้อ​ดาบ 37เรา​บอก​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ว่า สิ่ง​ที่​เขียน​ไว้​แล้ว​จะ​ต้อง​สำเร็จ​ใน​เรา คือ​ที่​ว่า ‘ท่าน​ถูก​นับ​เข้า​กับ​คน​อธรรม’ เพราะ‍ว่า​สิ่ง​ที่​เล็ง​ถึง​เรา​นั้น​กำลัง​จะ​สำเร็จ​แล้ว” 38พวก‍เขา​ทูล​ตอบ​ว่า“องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า นี่‍แน่ะ มี​ดาบ​สอง​เล่ม” พระ‍องค์​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “พอ​แล้ว”(ลูกา 22:35-38)

14เมื่อคน‍ทั้ง‍หลาย​เห็น​หมาย‍สำคัญ​ที่ ​พระ‍องค์​ทรง​ทำพวก‍เขา​จึง​พูด​กัน​ว่า “แท้‍จริง​ท่าน​ผู้‍นี้​เป็น​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​คน​นั้น​ที่​จะ​มา​ใน​ โลก”15เมื่อ​พระ‍เยซู​ทรง​ทราบ​ว่า​พวก‍เขา​จะ​มา​จับ​พระ‍องค์​ไป​ตั้ง​ให้​เป็นกษัตริย์ พระ‍องค์​ก็​เสด็จ​ขึ้น​ไป​บน​ภูเขา​อีก​ตาม​ลำ‌พัง (ยอห์น 6:14-15)

ยุคของยอห์นดูเหมือนการรอคอยพระเมสซิยาห์มาถึงจุดเดือด เหตุการณ์การถือกำเนิดมาของทั้งยอห์นและพระเยซูดูจะเติมเชื้อความกระหาย เรื่องยุคสุดท้ายและการพิพากษา ขณะเดียวกันสถานภาพทางการเมืองในอิสราเอลช่วงนั้นอาจเป็นตัวเร่งสถานการณ์ อีกด้วย ผมมีแนวโน้มเชื่อว่าคำพยากรณ์ของยอห์นอาจไม่ได้เจตนา แต่กลับเติมไฟให้กับเรื่องการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ ทำให้เกิดความรุนแรง บ่อยครั้งต้องใช้กองกำลังมารักษาความสงบ ผู้คนไม่อาจเข้าใจถึงคำสอนและพระราชกิจของพระเยซู ซึ่งยอห์นอาจตกอยู่ในข่ายนี้ แม้แต่พวกสาวกเองก็พร้อมรับมือด้วยอาวุธที่มี (ลูกา 22:35-38)

คำตรัสของพระเยซูในข้อ 12 เกี่ยวกับความรุนแรงใกล้เคียงกับข้อ 13 (ซึ่งขึ้นด้วยคำว่า “เพราะว่า”): เพราะว่า​พวก​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะและ​ธรรม‍บัญญัติ​ได้​พยา‌กรณ์​มา​จน‍ถึง​ยอห์น​นี้” (มัทธิว 11:13) ทำให้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ:

“..​พวก​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะและ​ธรรม‍บัญญัติ​ได้​พยา‌กรณ์​มา​จน‍ถึง​ยอห์น​นี้” (ข้อ 13)

“​ตั้ง‍แต่​สมัย​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพ‌ติศ‌มา​ถึง​ทุก​วัน‍นี้..” (ข้อ 12)

คนในยุคอดีตของยอห์น หลังจากยอห์น (พันธสัญญาใหม่)
บรรดา​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะและ​ธรรม‍บัญญัติ​ที่ได้​พยา‌กรณ์​มา​จน‍ถึง​ยอห์น​ผู้นี้ ผู้​ที่​เล็ก‍น้อย​ที่​สุด​ใน​แผ่น‍ดิน​สวรรค์​ก็​ยัง​ใหญ่​กว่า​ยอห์น​อีก

นี่คือความเข้าใจของผมต่อเหตุการณ์ในพระวจนะตอนนี้ ยอห์นผู้ให้บัพติศมามีความสงสัยบางประการเกี่ยวกับความเป็นพระเมสซิยาห์ของ พระเยซู อาจเป็นเพราะพระเยซูไม่ได้เป็นพระเมสซิยาห์ที่ “เข้มข้น” อย่างที่ยอห์นทำนาย คือผู้ที่มาด้วยฤทธิอำนาจการพิพากษาคนบาป พระเยซูตรัสเป็นนัยว่าคนอิสราเอลบางพวกที่ชอบความรุนแรงจะถูกดึงดูดเข้าหา ยอห์น พันธกิจของท่านและข่าวที่ท่านประกาศ ทำไมเป็นเช่นนั้น? หนึ่ง – ดูเหมือนยอห์นเป็นผู้เผยพระวจนะคนเดียวในยุคนั้น ก่อนหน้ามีผู้เผยพระวจนะหลายคนในพระคัมภีร์เดิมที่กล่าวคำพยากรณ์ ส่วนในธรรมบัญญัติก็มีแง่มุมคำพยากรณ์แทรกอยู่ พันธกิจของยอห์นเป็นจุดสำคัญสูงสุดของคำพยากรณ์ทั้งหมดในพระคัมภีร์เดิม ถ้าเรายอมรับแนวคิดเรื่องการทรงเปิดเผยแบบเจาะลึกลงไป (ซึ่งผมยอมรับ) เราก็ต้องเห็นว่าคำพยากรณ์ของยอห์นนั้นมาจนถึงจุดที่เติมเต็มและสมบูรณ์ที่ สุดในบรรดาผู้เผยพระวจนะของพระคัมภีร์เดิม และในบรรดาผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมคงไม่มีใครมีโอกาสดีไปกว่ายอห์น

ผมไม่เชื่อว่าพระเยซูต้องการวิพากษ์วิจารณ์ยอห์นหรือพันธกิจของท่าน พระองค์พยายามชี้ให้เห็นว่าความสงสัยของยอห์น มีส่วนสะท้อนถึงจิตวิญญาณของยุคนั้น – ยุคที่ผู้คนร่ำร้องอยากให้พระเมสซิยาห์เสด็จมาด้วยฤทธิอำนาจ มาขับไล่อำนาจการปกครองของโรมัน มาลงโทษคนชั่ว และจัดตั้งอาณาจักรของพระเจ้า ทำให้ยอห์นอดสงสัยไม่ได้ พระเยซูเหมือนไม่ได้เล่นตามบทในสคริปต์ของท่านและคนอื่นๆที่มีภาพพระเม สซิยาห์อยู่ในความคิด

ทำให้นึกถึงโฆษณาเก่าๆในโทรทัศน์ หญิงชราสองคนเข้าไปในร้านอาหารฟาสท์ฟูด คนหนึ่งยกขนมปังขึ้นดูแล้วถามว่า “ไหนล่ะเนื้อ?” ผมคิดว่ายอห์นคงมองพระราชกิจของพระเยซูแล้วถามว่า “ไหนล่ะไฟ?”

ยอห์นอาจมีความสงสัย แต่พระเยซูไม่ทรงสงสัย ก่อนที่ยอห์นจะทันคิดอีกรอบ พระเยซูทรงกล่าวรับรองยอห์นอย่างเต็มตัว

“ถ้า​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​จะ​ยอม‍รับยอห์น​ผู้‍นี้​แหละคือ​เอ‌ลี‌ยาห์​ที่​จะ​มา​นั้น 15ใคร​มี​หู​จง​ฟัง​เถิด” (มัทธิว 11:14-15)

ในพระกิตติคุณยอห์น เราเห็นว่ายอห์นเองก็ปฏิเสธว่าท่านไม่ใช่เอลียาห์:

พวก‍เขา​จึง​ถาม​ว่า“ถ้า​อย่าง‍นั้น​ท่าน ​เป็น​ใคร? ท่าน​เป็น​เอ‌ลี‌ยาห์หรือ​?” ยอห์น​ตอบ​ว่า “ข้าพ‌เจ้า​ไม่​ใช่​เอ‌ลี‌ยาห์” “ท่าน​เป็น​ผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​คน​นั้นหรือ?” และ​ยอห์น​ตอบ​ว่า “ไม่‍ใช่”(ยอห์น 1:21)

แล้วพระเยซูตรัสว่ายอห์นคือเอลียาห์ได้อย่างไร? ประการแรก– สังเกตุดูพระเยซูทรงกล่าวถ้อยคำนี้โดยมีคำว่า “ถ้า​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​จะ​ยอม‍รับยอห์น​ผู้‍นี้​แหละคือ​เอ‌ลี‌ยาห์…” แน่นอนบางคนไม่ได้เห็นแบบนั้น และพระเยซูทรงยอมรับความจริงว่ามีบางคนเท่านั้นที่เห็นด้วย คำตรัสในข้อ 15 จึงเป็นการเน้นถึงพระดำรัสในข้อ 14:

“ใคร​มี​หู​จง​ฟัง​เถิด” (มัทธิว 11:15)7

ถ้อยคำนี้ถูกนำมาใช้อีกครั้งในมัทธิว 13 (ข้อ 9, 43) เมื่อพระเยซูทรงสั่งสอนด้วยคำอุปมา เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังคิดลึกลงไปกว่าแค่ผิวเผิน ไม่ใช่เป็นคำพูดท้าทาย แต่ทำให้คนฟังต้องคิดลึกลงไปกว่าตามที่ได้ยิน– และนี่คือจุดหมายของคำอุปมา ไม่ได้มีให้ทุกคนเข้าใจได้ ดังนั้นถ้อยคำของพระเยซูจึงไม่ขัดแย้งกับคำปฏิเสธของยอห์น แต่ในมุมมองว่ายอห์นคือเอลียาห์ในแง่สัญลักษณ์มากกว่า

ผมใช้เวลาคิดถึงเรื่องนี้ และอยากจะแบ่งปันว่า ในบางแง่มุมที่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาคือเอลียาห์ ถ้าเราจะยอมรับ ยอห์นเป็นเหมือนเอลียาห์ในภาพลักษณ์ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ภาพลักษณ์ของยอห์นนั้นเหมือนเอลียาห์ ทั้งคู่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในที่ห่างไกล ทานอาหารต่างจากคนในยุคของตน ทั้งยอห์นและเอลียาห์ดู “เล็กน้อย” กว่าผู้ที่ท่านพยากรณ์ถึง ยอห์นประกาศชัดเจนว่าพระเยซูทรงยิ่งใหญ่กว่าท่านมาก (มัทธิว 3:11) ส่วนเอลีชา เอลีชาได้รับอำนาจจากเอลียาห์เป็นสองเท่า (2พงศ์กษัตริย์ 2:7-14) เอลียาห์เป็นคน “แรง” เอลีชาน่าจะรักความสงบกว่า เอลียาห์มีความสงสัย เมื่อเหตุการณ์การเผชิญหน้าสำคัญบนภูเขาคารเมลดูไม่เป็นไปตามคาดหวัง พระเจ้าทรงรับเอลียาห์ขึ้นไปบนภูเขาเดียวกับที่โมเสสรับพระบัญญัติของ พระองค์8 และโดยทางเหตุการณ์พิเศษที่ส่งมาให้เอลียาห์ พระเจ้าไม่จำเป็นต้องทำงานในวิธีที่โดดเด่นเสมอไป บางครั้งเพียงแค่ “เสียงเบาๆ” (1พงศ์กษัตริย์ 19:11-18) เอลียาห์มีภาพพจน์ที่ผิดว่า “เขาแต่ผู้เดียวที่เหลืออยู่” (1พงศ์กษัตริย์ 19, 10, 14) เป็นสิ่งเดียวกับที่ยอห์นรู้สึกหรือ? เอลียาห์หวังว่าจะนำประเทศสู่การฟื้นฟู แต่ไม่เป็นไปตามนั้น แต่จะเกิดขึ้นโดยผู้อื่นที่ท่านต้องไปเจิมตั้ง และพระเจ้าจะทรงนำการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้กับชนชาติของพระองค์ (1พงศ์กษัตริย์ 19:11-18) ประเด็นของผมคือมีความคล้ายคลึงหลายประการระหว่างยอห์นและเอลียาห์ ผมเชื่อว่า ทั้งคู่นี้คล้ายกัน

พระเยซูทรงประเมินการตอบสนองต่อข่าวประเสริฐของอิสราเอล (มัทธิว 11:16-24)

6“เรา​จะ​เปรียบ​คน​ใน​ยุค‍นี้​กับ​อะไร​ ดี เปรียบ​เหมือน​เด็กๆ ที่​นั่ง​อยู่​กลาง‍ตลาด ร้อง​กับ​เพื่อน​ว่า17‘พวก​ฉัน​เป่า​ปี่​ให้​พวก​เธอ​แต่​พวก​เธอ​ไม่​เต้น พวก​ฉัน​คร่ำ‍ครวญและ​พวก​เธอ​ไม่‍ได้​ทุกข์‍โศก’18เพราะ‍ว่า​ยอห์น​มา​และ​ ไม่‍ได้​กิน​หรือ​ดื่มและ​พวก‍เขา​ว่า‘มี​ผี​เข้า‍สิง​อยู่’ 19ส่วน​บุตร‍มนุษย์​มา​ทั้ง​กิน​และ​ดื่มเขา​ก็​ว่า‘นี่‍ไงคน‍ตะ‌กละคน‍ขี้‍ เมาเพื่อน​ของ​บรร‌ดา​คน‍เก็บ‍ภาษีและ​คน‍บาป’ แต่​พระ‍ปัญญา​ได้​รับ​การ​พิสูจน์​ว่า​ถูก‍ต้อง​แล้ว​โดย​ผล​ของ​พระ‍ปัญญา ​นั้น”20แล้ว​พระ‍องค์​ก็​ทรง​เริ่ม​ติ‍เตียน​เมือง​ต่างๆที่​พระ‍องค์​ได้​ ทรง​ทำ​การ​อัศ‌จรรย์​เป็น​ส่วน​มากเพราะ​พวก‍เขา​ไม่‍ได้​กลับ‍ใจ​ใหม่ 21“วิบัติ​แก่​เจ้า เมือง​โค‌รา‌ซินวิบัติ​แก่​เจ้าเมือง​เบธ‌ไซ‌ดาถ้า​การ​อัศ‌จรรย์​ต่างๆซึ่ง ​ทำ​ท่าม‍กลาง​เจ้า​ทั้ง‍หลายทำ​ใน​เมือง​ไท‌ระ​และ​เมือง​ไซ‌ดอนคน​ใน​ เมือง​ทั้ง‍สอง​คง​ได้​นุ่ง‍ห่ม​ผ้า‍กระ‌สอบ​นั่ง​บน​ขี้‍เถ้า​กลับ‍ใจ​ใหม่ ​นาน​แล้ว 22แต่​เรา​บอก​พวก‍เจ้า​ว่าใน​วัน​พิพาก‌ษา​นั้นโทษ​เมือง​ไท‌ระ​และ​เมือง​ ไซ‌ดอน​จะ​เบา​กว่า​โทษ​ของ​พวก‍เจ้า 23ส่วน​เจ้า เมือง​คา‌เปอร‌นา‌อุม เจ้า​จะ​ถูก​ยก​ขึ้น​เทียม‍ฟ้า​หรือ?เปล่า‍เลยเจ้า​จะ​ต้อง​ลง‍ไป​ถึง​แดน​ คน‍ตาย​ต่าง‍หากเพราะ​การ​อัศ‌จรรย์​ต่างๆซึ่ง​ทำ​ใน​ท่าม‍กลาง​เจ้า​นั้น ถ้า​ทำ​ใน​เมือง​โส‌โดมเมือง​นั้น​คง​ได้​ตั้ง‍อยู่​จน​ทุก​วัน‍นี้ 24แต่​เรา​บอก​เจ้า​ว่า​ใน​วัน​พิพาก‌ษาโทษ​เมือง​โส‌โดม​จะ​เบา​กว่า​โทษ​ ของ​เจ้า (มัทธิว 11:16-24)

มัทธิวเป็นผู้เขียนที่มีความสามารถมาก ท่านมีวิธีจุดประกายขึ้นมาให้เราประหลาดใจในที่ๆเรานึกไม่ถึง มีศิลปะในการนำเสนอพระกิตติคุณ แบบค่อยๆเร่งไฟความตื่นเต้นและกระหายใคร่รู้ก่อนที่พระเมสซิยาห์จะมาปรากฎ มัทธิวได้บันทึกเรื่องสิทธิอำนาจอันไม่จำกัดของพระเยซู และชื่อเสียงของพระองค์ที่โด่งดังขึ้นเรื่อยๆ (มัทธิว 9:33) รวมถึงการต่อต้านของพวกฟาริสีที่เพิ่มขึ้นตาม (แต่ในตอนนั้นยังไม่มีพิษสงมากนัก)

พวกสาวกถูกส่งออกไปทีละสองคน และคงเดินทางกลับมา อย่างที่บอกไปแล้วไม่มีพระกิตติคุณเล่มใดบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างที่ ทั้งสิบสองคนออกไป ไม่ว่าเรื่องการอัศจรรย์และประกาศแผ่นดินสวรรค์ ที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นรายงานสรุปสั้นๆจากเจ็ดสิบสองคนเมื่อกลับมาจาก ภารกิจเดียวกัน:

17สาวก​เจ็ด‍สิบ‍สอง​คน​นั้น​กลับ‍มา​ด้วย​ความ​ยินดี​ทูล​ว่า “องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้าแม้​แต่​พวก​ผี​ก็​อยู่​ใต้​บัง‍คับ​ของ​พวก‍ข้า‍พระ‍องค์​โดย​พระ‍นาม​ของพระ‍องค์” 18พระ‍องค์​ตรัส​กับ​พวก‍เขา​ว่า “เรา​เห็น​ซา‌ตาน​ตก​จาก​ฟ้า​เหมือน​ฟ้า‍แลบ 19นี่‍แน่ะ เรา​ให้​พวก‍ท่าน​มี​สิทธิ‍อำนาจ​เหยียบ​งู‍ร้าย​และ​แมง‍ป่องและ​ให้​มี​ อำนาจ​ยิ่ง‍ใหญ่​กว่า​ฤทธา‌นุ‌ภาพ​ของ​ศัตรู​นั้น ไม่‍มี​อะไร​จะ​มา​ทำ​อัน‌ตราย​พวก‍ท่าน​ได้​เลย 20แต่​ว่า​อย่า​ชื่น‍ชม​ยินดี​ใน​สิ่ง‍นี้คือ​ที่​พวก​ผี​อยู่​ใต้​บัง‍คับ​ ของ​ท่านแต่​จง​ชื่น‍ชม​ยินดี​ที่​ชื่อ​ของ​ท่าน​จด​ไว้​ใน​สวรรค์”21ใน​ เวลา​นั้น​เอง พระ‍เยซู​ทรง​เปรม‍ปรีดิ์​ใน​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์ตรัส​ว่า “ข้า‍แต่​พระ‍บิดา​ผู้​เป็น​เจ้า​แห่ง​ฟ้า‍สวรรค์​และ​โลกข้า‍พระ‍องค์​ สรร‌เสริญ​พระ‍องค์​ที่​พระ‍องค์​ทรง​ปิด‍บัง​สิ่ง‍เหล่า‍นี้​ไว้​จาก​คน​มี ​ปัญญา​และ​คน‍ฉลาดแต่​ทรง​สำแดง​แก่​พวก​ทารกถูก​แล้วข้า‍แต่​พระ‍บิดา พระ‍องค์​พอ‍พระ‍ทัย​เช่น​นั้น22“พระ‍บิดา​ของ​เรา​ทรง​มอบ​สิ่ง​สาร‌พัด​ ให้​แก่​เราไม่‍มี​ใคร​รู้​ว่า​พระ‍บุตร​เป็น​ใคร​นอก‍จาก​พระ‍บิดาและ​ ไม่‍มี​ใคร​รู้​ว่า​พระ‍บิดา​เป็น​ใคร​นอก‍จาก​พระ‍บุตรและ​ผู้​ที่​ พระ‍บุตร​ประ‌สงค์​จะ​สำแดง​ให้​รู้”23พระ‍องค์​ทรง​หัน​มา‍หา​พวก​สาวกตรัส ​กับ​พวก‍เขา​เป็น​การ​ส่วน‍ตัว​ว่า“ผู้​ที่​ได้​เห็น​สิ่ง​ที่​พวก‍ท่าน​ เห็น​ก็​เป็น​สุข 24เพราะ​เรา​บอก​พวก‍ท่าน​ว่าผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​หลาย​คน​และ​กษัตริย์​หลาย​ องค์​ปรารถ‌นา​จะ​เห็น​สิ่ง​ที่​ท่าน​เห็น​อยู่​นี้ แต่​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ไม่​เคย​เห็นและ​อยาก​จะ​ได้‍ยิน​สิ่ง​ที่​พวก‍ท่าน​ ได้‍ยินแต่​เขา​ก็​ไม่‍เคย​ได้‍ยิน” (ลูกา 10:17-24)

สังเกตุดูจะเห็นว่าทั้งเจ็ดสิบสองไม่ได้พูดถึงความสำเร็จในภารกิจของพวก เขา ไม่พูดถึงจำนวนคนที่กลับใจเมื่อพวกเขาไปประกาศ เมื่อกลับมาเฝ้าพระเยซู สิ่งที่พวกสาวกเล่าคืออำนาจที่พวกเขามี – แม้แต่พวกผียังอยู่ใต้บังคับของพวกเขา – พระเยซูทรงมองว่านี่บ่งถึงความพ่ายแพ้ครั้งสุดท้ายของซาตาน แต่พระองค์ทรงหนุนใจพวกสาวกให้ชื่นชมยินดีในความรอดมากกว่าในอำนาจที่มีและ ใช้ไป ถ้อยคำต่อจากนั้นค่อนข้างเหมือนในมัทธิว 11 ที่อยู่ในบทเรียนนี้

ถึงจุดนี้ มัทธิวบอกแล้วว่าผู้คนตอบสนองต่อพระเยซูอย่างไร (มัทธิว 4:24-25; 7:28-29; 8:34; 9:1-17, 33-34) แต่ในตอนนี้ เป็นครั้งแรกที่ท่านรายงานถึงสิ่งที่พระเยซูประเมินการตอบสนองของผู้คนต่อ ข่าวประเสริฐที่ทั้งยอห์น พระองค์เอง และพวกสาวกประกาศ ไม่ใช่รายงานที่ดีนัก ที่จริงผลประเมินออกจะน่าตกใจ มนุษย์ตอบสนองต่อข่าวประเสริฐอย่างไร

แม้พระเยซูทรงเป็นที่นิยมของฝูงชน แต่เราเห็นน้อยคนกลับใจ พระเยซูทรงส่งสาวกของพระองค์ไปประกาศแผ่นดินสวรรค์ที่มาใกล้ ข่าวประเสริฐของพระเยซูและที่สาวกประกาศเป็นสิ่งเดียวกับที่ยอห์นผู้ให้บัพ ติศมาและสาวกของท่านประกาศ: “จงกลับใจใหม่ เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้ว” (มัทธิว 3:2; 4:17; 10:79) ตอนนี้ พระเยซูทรงกล่าวโทษเมืองต่างๆในอิสราเอลที่ได้เห็นเป็นพยานถึงการสถิตอยู่ ด้วย การเทศนาสั่งสอน และฤทธิอำนาจการอัศจรรย์ของพระเยซูและของพวกสาวก

พระเยซูทรงโยงคนยุคนี้เข้ากับอาการของเด็กที่นั่งร้องบ่นกับเพื่อนที่ไม่ ยอมเต้นไปตามทำนองเพลงของเขา พวกเขาต้องการได้พระเมสซิยาห์ “ในแบบของฉัน” และเมื่อพระเยซูไม่ปรับไปตามความปรารถนาและความคาดหวังของพวกเขา พวกเขาก็ไม่สนใจพระองค์อีก พวกนี้เป็นพวกโลเลไม่เอาจริง

สังเกตุดูพระเยซูทรงใช้ประเด็นความเกี่ยวข้องระหว่างพระองค์และยอห์นผู้ ให้บัพติศมา บุคคลทั้งนั้นสองต่างกันมาก แต่คนในยุคนั้นไม่ยอมรับทั้งคู่ ยอห์นมาด้วยการอดอาหาร (ไม่กินและไม่ดื่ม– เทียบกับมัทธิว 9:14) แต่พวกเขาก็ยังว่าท่านถูกผีสิง เมื่อพระเยซูและพวกสาวกมา ทั้งกินและดื่ม พวกเขาก็กล่าวโทษว่าเป็นพวกเห็นแก่กิน และขี้เมา และ (ร้ายที่สุด) มั่วสุมกับคนบาป สิ่งเชื่อมโยงระหว่างยอห์นและพระเยซูแสดงให้เห็นความจริงว่าคนในยุคนั้น ปฏิเสธไม่ยอมรับทั้งคู่

อย่างเจาะจง พระเยซูทรงกล่าวติเตียนเมืองต่างๆของอิสราเอลที่ได้ทรงทำการอัศจรรย์เป็นส่วนมาก “เพราะ​พวก‍เขา​ไม่‍ได้​กลับ‍ใจ​ใหม่” (มัท ธิว 11:20) จุดประสงค์การประกาศของยอห์นและพระเยซูคือนำชนชาติอิสราเอลสู่การกลับใจ ไม่ใช่เพื่อดึงดูดฝูงชน หรือให้คนจำนวนมากมาติดตาม แต่มาเรียกคนบาปให้สำนึกผิดกลับใจ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงกล่าวติเตียนบรรดาเมืองต่างๆที่ได้พบพระองค์ ได้เห็นการอัศจรรย์มากมายที่พระองค์ทำ

พระเยซูทรงเจาะจงชื่อเมือง เราแทบไม่รู้จักเมืองโคราซิน มีพูดถึงครั้งเดียวในลูกา 10:13 จากที่พระเยซูตรัส เห็นได้ชัดว่าเมืองนี้ได้พบพระองค์บ่อยมาก แต่ก็ไม่กลับใจ เมืองเบธไซดานั้นต่างไป พระเยซูคงเพิ่งเข้าไปหรืออยู่ใกล้เมืองนี้เมื่อทรงกล่าวติเตียน (ดูลูกา 9:10) เรารู้จากยอห์น 1:44 ว่าเบธไซดาเป็นบ้านเกิดของฟีลิป อันดรูว์ และเปโตร

พระเยซูทรงกล่าวถึงโทษที่พวกเขาจะได้รับในข้อ 20-24 โทษทัณฑ์ที่รุนแรงกว่า เพราะพวกเขาได้รับรู้รับฟังในสิ่งที่ทรงเปิดเผยแต่ก็ยังปฏิเสธ โทษทัณฑ์ที่เบากว่าจะตกไปถึงคนที่ไม่เคยได้ยินหรือฟังสิ่งที่พระองค์เปิดเผย หลักการเดียวกันนี้มีในลูกาบทที่ 12:

45“แต่​ถ้า​บ่าว​คน​นั้น​คิด​ใน​ใจ​ว่า ‘นาย​ของ​ข้า​คง​จะ​มา​ช้า’ แล้ว​เริ่ม‍ต้น​โบย‍ตี​บรร‌ดา​บ่าว​ชาย‍หญิง​และ​กิน​ดื่ม​เมา‍มาย 46นาย​ของ​บ่าว​คน‍นั้น​จะ​มา​ใน​วัน‍ที่​เขา​ไม่​คาด‍คิดใน​เวลา​ที่​เขา​ ไม่​รู้ และ​จะ​ลง‍โทษ​เขา​อย่าง​หนักและ​จะ​ขับ‍ไล่​ให้​ไป​อยู่​ใน​ที่​ของ​พวก​ ที่​ไม่​เชื่อ 47บ่าว​คน​ที่​รู้‍ใจ​นาย​และ​ไม่‍ได้​เตรียม‍ตัว​ไว้ไม่‍ได้​ทำ​ตาม‍ใจ​นาย จะ​ต้อง​ถูก​เฆี่ยน​อย่าง​หนัก 48แต่​คน​ที่​ไม่​รู้ แล้ว​ทำ​สิ่ง​ที่​สม‍ควร​จะ​ถูก​เฆี่ยนก็​จะ​ถูก​เฆี่ยน​เพียง​เล็ก‍น้อยคน​ ที่​ได้​รับ​มากจะ​ต้อง​เรียก​เอา​จาก​คน‍นั้น​มากและ​คน​ที่​ได้​รับ​ฝาก​ ไว้​มากก็​จะ​ต้อง​ทวง​เอา​จาก​คน‍นั้น​มาก” (ลูกา 12:45-48)

ดังนั้นเมืองโคราซินและเบธไซดา (สองเมืองเด่นของยิวที่พระเยซูใช้เวลาทำพันธกิจค่อนข้างมาก) จะถูกพิพากษามากกว่าเมืองไทระ10และ ไซดอนเมื่อพระเมสซิยาห์เสด็จกลับมา (ข้อ 21-22) ไทระและไซดอน เป็นเมืองที่ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมเอ่ยถึงหลายครั้ง (อิสยาห์ 23; เยเรมีย์ 25:15-29 โดยเฉพาะข้อ 22; เอเสเคียล 26-28; อาโมส 1:9-10; เศคาริยาห์ 9:1-4) เป็นเมืองที่หญิงชาวคานาอันทูลขอพระเยซูให้ขับผีออกจากลูกสาวของนาง (มัทธิว 15:21-28) เป็นเมืองใหญ่ของคนต่างชาติที่พระเยซูไม่ได้เข้าไปสัมผัสหรือประกาศข่าว ประเสริฐของพระเมสซิยาห์มากนัก11ดังนั้นพวกเขาจะได้รับการพิพากษาโทษที่เบากว่าเมื่อพระองค์เสด็จกลับมาพิพากษาโลกนี้ (มัทธิว 11:22)

และพระเยซูทรงนำไปยังข้อแตกต่างระหว่างเมืองคาเปอรนาอุมและโสโดมในข้อ 23 และ 24:

23 “ส่วน​เจ้าเมือง​คา‌เปอร‌นา‌อุมเจ้า​จะ​ถูก​ยก​ขึ้น​เทียม‍ฟ้า​ หรือ?เปล่า‍เลยเจ้า​จะ​ต้อง​ลง‍ไป​ถึง​แดน​คน‍ตาย​ต่าง‍หาก เพราะ​การ​อัศ‌จรรย์​ต่างๆซึ่ง​ทำ​ใน​ท่าม‍กลาง​เจ้า​นั้น ถ้า​ทำ​ใน​เมือง​โส‌โดมเมือง​นั้น​คง​ได้​ตั้ง‍อยู่​จน​ทุก​วัน‍นี้ 24แต่​เรา​บอก​เจ้า​ว่า​ใน​วัน​พิพาก‌ษาโทษ​เมือง​โส‌โดม​จะ​เบา​กว่า​โทษ​ ของ​เจ้า”(มัทธิว 11:23-24)

คาเปอรนาอุม12 เป็นเมืองในกาลิลีที่พระเยซูทรงใช้เป็นศูนย์กลางพระราชกิจอยู่ระยะหนึ่ง ทรงทำอัศจรรย์หลายครั้งและเทศนาสั่งสอนค่อนข้างมากในเมืองนี้ ไม่มีเมืองอื่นที่พระองค์สั่งสอนและทำอัศจรรย์มากเท่าในคาเปอรนาอุม แต่คนเมืองนี้ไม่กลับใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระเยซูจึงกล่าวว่าเมืองโสโดมจะยังได้รับโทษเบากว่าคาเปอรนาอุมเมื่อวัน พิพากษามาถึง

ทำไมพระเยซูจึงถามว่าเมืองคาเปอรนาอุมคิดว่าตนเองจะได้ยกขึ้นเทียมสวรรค์ หรือ? มีอะไรเกี่ยวกับคาเปอรนาอุมที่ผยองขนาดนี้? สองความคิดผุดขึ้นมาครับ อย่างแรก คาเปอรนาอุมภูมิใจมากที่ได้เป็นศูนย์กลางพระราชกิจของพระเยซู ธุรกิจท่องเที่ยวคงจะบูม มีคนมากมายเดินทางเข้าออกเพื่อมาดูพระเยซู – ที่ดียิ่งกว่า มีการอัศจรรย์รักษาโรคด้วย เรารู้กันว่าเมืองหรือจังหวัดที่เป็นที่อยู่ของประธานาธิบดีหรือคนดังๆมักจะ มีป้ายบอกเมื่อเข้าเขตเมือง เพื่อให้ตระหนักว่าเมืองนี้มีเกียรติ เพราะมีคนสำคัญอาศัยอยู่ ดังนั้นเมืองคาเปอรนาอุมจึงเหมือนอวดว่าพระเยซูเลือกอยู่ในเมืองพวกเขา

อย่างที่สอง ความหยิ่งผยองของคาเปอรนาอุมเตือนให้นึกถึงความผยองของไทระ ตามที่อิสยาห์ และเอเสเคียลพูดไว้:

8ใคร​วาง​แผน‍การ​นี้ไว้​ต่อ‍สู้​เมือง​ไท‌ระ​ซึ่ง​เป็น​ผู้​แจก​มงกุฎ
ซึ่ง​พวก​พ่อ‍ค้า​ของ​มัน​เป็น​เจ้า‍นายและ​นัก‍ธุร‌กิจ​เป็น​คน​มี​เกียรติ​ของ​โลก?
9พระ‍ยาห์‌เวห์​จอม‍ทัพ​ทรง​วาง‍แผน​ไว้เพื่อ​ขจัด​ความ​เย่อ‍หยิ่ง​ใน​ศักดิ์‍ศรี​ทั้ง‍หมด
และ​เพื่อ​ลบหลู่​ผู้​มี​เกียรติ​ทุก‍คน​ในแผ่นดินโลก (อิสยาห์ 23:8-9 ดูเอเสเคียล 28:1-10 ด้วย)

ในเอเสเคียล 28 ความผยองของ“กษัตริย์เมืองไทระ”ถูก เปรียบเหมือนซาตาน (เอเสเคียล 28:11-19) สำหรับผมดูเหมือนพระเยซูกล่าวคำติเตียนคาเปอรนาอุมเพิ่มขึ้นโดยตรัสถึงเมือง ที่คล้ายคลึงกันในพระคัมภีร์เดิม เมืองไทระและกษัตริย์ของเมืองนั้น

พระดำรัสของพระเยซูตอนนี้ในมัทธิว 11 โยงเข้ากับมัทธิว 12:38-42 และลูกา 12:45-48 ที่ชี้ว่าจะมีการลงโทษคนชั่วร้าย และในทุกกรณี พระเจ้าจะทรงพิพากษามนุษย์ว่าพวกเขาทำอย่างไรต่อสิ่งที่ได้รับรู้ ในโรม 1 คนต่างชาติถูกกล่าวโทษเพราะปฏิเสธการทรงเปิดเผยของพระเจ้าในธรรมชาติ ในโรม 2 ชาวยิวผิดมากกว่า เพราะได้รับการทรงเปิดเผยจากพระเจ้าในธรรมบัญญัติ แต่พวกเขาปฏิเสธ

พระสิริและสิทธิอำนาจของพระเจ้าในการเลือกสรร (มัทธิว 11:25-27)

25ใน​ขณะ​นั้น​พระ‍เยซู​ทูล​ว่า “ข้า‍แต่​พระ‍บิดาผู้​ทรง​เป็น​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​แห่ง​ฟ้า‍สวรรค์​และ ​โลกข้า‍พระ‍องค์​สรร‌เสริญ​พระ‍องค์ที่​พระ‍องค์​ทรง​ปิด‍บัง​ สิ่ง‍เหล่า‍นี้​ไว้​จาก​คน​มี​ปัญญา​และ​คน​ฉลาดแต่​ทรง​สำแดง​แก่​พวก​ทารก 26ถูก​แล้ว ข้า‍แต่​พระ‍บิดา พระ‍องค์​พอ‍พระ‍ทัย​เช่น​นั้น27“พระ‍บิดา​ของ​เรา​ทรง​มอบ​สิ่ง​สาร‌พัด​ ให้​แก่​เราและ​ไม่‍มี​ใคร​รู้‍จัก​พระ‍บุตร​นอก‍จาก​พระ‍บิดาและ​ไม่‍มี​ ใคร​รู้‍จัก​พระ‍บิดา​นอก‍จาก​พระ‍บุตร” (มัทธิว 11:25-27)

ซึ่งคล้ายคลึงมากกับในลูกา 10:21-24:

21ใน​เวลา​นั้น​เอง พระ‍เยซู​ทรง​เปรม‍ปรีดิ์​ใน​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์ตรัส​ว่า “ข้า‍แต่​พระ‍บิดา​ผู้​เป็น​เจ้า​แห่ง​ฟ้า‍สวรรค์​และ​โลกข้า‍พระ‍องค์​ สรร‌เสริญ​พระ‍องค์​ที่​พระ‍องค์​ทรง​ปิด‍บัง​สิ่ง‍เหล่า‍นี้​ไว้​จาก​คน​มี ​ปัญญา​และ​คน‍ฉลาด แต่​ทรง​สำแดง​แก่​พวก​ทารก ถูก​แล้วข้า‍แต่​พระ‍บิดา พระ‍องค์​พอ‍พระ‍ทัย​เช่น​นั้น22“พระ‍บิดา​ของ​เรา​ทรง​มอบ​สิ่ง​สาร‌พัด​ ให้​แก่​เราไม่‍มี​ใคร​รู้​ว่า​พระ‍บุตร​เป็น​ใคร​นอก‍จาก​พระ‍บิดาและ​ ไม่‍มี​ใคร​รู้​ว่า​พระ‍บิดา​เป็น​ใคร​นอก‍จาก​พระ‍บุตรและ​ผู้​ที่​ พระ‍บุตร​ประ‌สงค์​จะ​สำแดง​ให้​รู้”23พระ‍องค์​ทรง​หัน​มา‍หา​พวก​สาวกตรัส ​กับ​พวก‍เขา​เป็น​การ​ส่วน‍ตัว​ว่า“ผู้​ที่​ได้​เห็น​สิ่ง​ที่​พวก‍ท่าน​ เห็น​ก็​เป็น​สุข 24เพราะ​เรา​บอก​พวก‍ท่าน​ว่าผู้‍เผย‍พระ‍วจนะ​หลาย​คน​และ​กษัตริย์​หลาย​ องค์​ปรารถ‌นา​จะ​เห็น​สิ่ง​ที่​ท่าน​เห็น​อยู่​นี้ แต่​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ไม่​เคย​เห็นและ​อยาก​จะ​ได้‍ยิน​สิ่ง​ที่​พวก‍ท่าน​ ได้‍ยินแต่​เขา​ก็​ไม่‍เคย​ได้‍ยิน”(ลูกา 10:21-24)

ในลูกา 10 พระเยซูทรงส่งสาวกเจ็ดสิบ (หรือเจ็ดสิบสองคน) ออกไป และพวกเขากลับมาด้วยความชื่นชมยินดีในอำนาจที่มี พระเยซูตรัสถึงเรื่องนี้ บอกพวกเขาว่าให้ชื่นชมยินดีที่มีชื่อจดอยู่ในสวรรค์มากกว่า (ลูกา 10:17-20) และพระองค์ทรงต่อไปยังเรื่องที่เรารู้ การเลือกสรรของพระเจ้า พระเยซูทรงทำสิ่งที่คล้ายคลึงกันในมัทธิว 11:25-27 เมื่อลองคิดดู เราจะเข้าใจว่าทำไมพระเยซูทรงย้ำเรื่องสิทธิอำนาจในการเลือกสรรของพระเจ้า

คงจำได้ถึงข้อโต้แย้งที่ อ เปาโลพูดไว้ในโรมบทที่ 9 คำถามคือ “เราจะอธิบายอย่างไรว่าขณะที่พระเยซูทรงเป็นยิว และมาประกาศแผ่นดินของพระเจ้าแก่ชาวยิว มียิวไม่กี่คนมาเชื่อ แต่กลับมีคนต่างชาติมาเชื่อจำนวนมาก?” อ เปาโลย้ำและยืนหยัดว่านี่ไม่ใช่ความล้มเหลวในพระวจนะของพระเจ้า:

6แต่​ไม่‍ใช่​ว่า​พระ‍วจนะ​ของ​พระ‍เจ้า​ ได้​ล้ม‍เหลว​ไปเพราะ‍ว่า​ไม่‍ใช่​ทุก‍คน​ที่​เกิด​มา​จาก​อิสรา‌เอล​นั้น เป็น​คน​อิสรา‌เอล​แท้ 7และ​ไม่‍ใช่​ทุก‍คน​ที่​เป็น​ลูก​ของ​อับ‌รา‌ฮัม​เป็น​เชื้อ‍สาย​แท้​ของ​ ท่าน แต่​ว่าเขา​จะ​เรียก​เชื้อ‍สาย​ของ​ท่าน​ทาง​สาย​อิส‌อัค (โรม 9:6-7)

โรม9 เกี่ยวข้องกับสิทธิอำนาจในการเลือกสรรของพระเจ้า สำหรับคำตอบของคำถามว่า “ทำไมยิวหลายคนจึงปฏิเสธข่าวประเสริฐ?” คำตอบคือ “เพราะพระเจ้าไม่ได้เลือกพวกเขา”13  ความ จริงที่บางคนปฏิเสธข่าวประเสริฐไม่ได้สะท้อนว่าความล้มเหลวเป็นฝ่ายของพระ เจ้า เมื่อเราเข้าใจสิทธิอำนาจในการทรงเลือกสรร พระเจ้าเลือกบางคน และไม่เลือกบางคน ตามอำนาจอธิปไตยของพระองค์

ผมเชื่อว่ามัทธิวใช้ข้อโต้แย้งเดียวกันในบทที่ 11 ภาพที่เห็นภายนอกดูเหมือนจะนำไปสู่ข้อสรุปว่าพระราชกิจของพระเยซูประสบความ สำเร็จมาก มีคนชื่นชมพระองค์ หลายคนตามหา และฝูงชนจำนวนมากอัศจรรย์ใจจนติดตามพระองค์ไป สาวกของพระเยซูถูกส่งไปประกาศข่าวประเสริฐ และมีอำนาจทำอัศจรรย์หลายอย่าง จะมีอะไรที่สำเร็จมากไปกว่านี้? ปัญหาคือเป็นที่นิยมเป็นคนละเรื่องกับการกลับใจ เมืองเหล่านี้ไม่กลับใจ แม้พระเยซูและพวกสาวกอยู่ท่ามกลางพวกเขา แม้คำเทศนาของยอห์น ของพระเยซูและของพวกสาวก เพราะเมืองของยิวเหล่านี้ไม่กลับใจ เราอาจสรุปผิดๆว่าพันธกิจของพระองค์จึงล้มเหลว – พระเยซูไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการจะทำ ถ้าเราสรุปแบบนี้ เราก็ไม่ไกลไปจากคำถามที่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาถาม

พระดำรัสของพระเยซูในข้อ 25–27 เราอาจประหลาดใจ ประการแรก– ถ้อยคำของพระเยซูเป็นถ้อยคำแห่งการสรรเสริญ สรรเสริญพระบิดา พระเยซูทรงสรรเสริญพระบิดาได้อย่างไรในเมื่อไม่ประสบความสำเร็จ? ไม่ใช่ครับ นี่ไม่ใช่ความล้มเหลวแต่เป็นความสำเร็จที่พระเจ้าสมควรได้รับพระเกียรติ ประการที่สอง– เราเห็นว่ามีคนมาเชื่อ พระบิดาทรงเลือกที่จะปิดบังสิ่งที่เป็นของสวรรค์จากคนที่เราคิดว่าน่าจะฉวย ไว้ได้ – คนฉลาดและมีสติปัญญา แต่พระบิดาทรงเลือกที่จะเปิดเผยสิ่งเหล่านี้ให้แก่เด็กเล็กๆ คนที่คิดว่าตนเองไม่สมควร (หรือไม่ฉลาดพอ) ที่จะเข้าใจ ความเชื่อและไม่เชื่อ ยอมรับและปฏิเสธ อย่างที่เห็นเป็นผลมาจากการทรงเลือกของพระบิดา พระเจ้าทรงอำนาจอธิปไตยในเรื่องความรอด พระเยซูสามารถสรรเสริญพระเจ้าได้ เพราะบรรดาคนที่พระองค์ตั้งใจให้เข้าใจและเชื่อก็เข้าใจและเชื่อ แผนการของพระเจ้าสำเร็จ ตามพระประสงค์ของพระองค์

ข้อ 27 นำเราก้าวไปอีกขั้น ในข้อ 25 และ 26 พระเยซูทรงมองความรอดว่าเป็นการเลือกสรรของพระบิดา พระเยซูทรงสรรเสริญพระบิดาที่ทรงเปิดเผยความจริงแห่งข่าวประเสริฐให้แก่พวก “ทารก” (เด็กเล็กๆ) ในขณะที่ปิดบังไว้จากคนฉลาดและมีปัญญา สิ่งนี้พระเยซูตรัสว่า พระบิดาทรงพอพระทัย ( 26) แต่ในข้อ 27 พระเยซูทรงไปไกลกว่านั้น ทรงประกาศถึงอำนาจการครอบครองโดยชอบธรรมของพระบิดาในการเลือกว่าผู้ใดจะมา เชื่อในพระองค์ พระบิดาทรงมอบสิ่งสารพัดให้กับพระบุตร ไม่มีใครรู้จักพระบุตร (อย่างครบถ้วนสมบูรณ์) เว้นแต่พระบิดา และไม่มีใครรู้จักพระบิดาเว้นแต่พระบุตร และบรรดาคนที่พระบุตรทรงสำแดงให้รู้ แปลว่าพระเยซูเป็นผู้กำหนดความรอดนิรันดร์ให้กับมนุษย์14

สิ่งนี้ ผมเชื่อว่าเป็นแก่นสูงสุดในสิทธิอำนาจของของพระเยซู ก่อนหน้า สิทธิอำนาจของพระเยซูในการตีความธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์เดิมสำแดงและเป็น ที่รับรู้กัน (มัทธิ 5-7) ต่อมาเป็นสิทธิอำนาจในการรักษาโรค ขับผี ควบคุมธรรมชาติ และชุบคนตายให้ฟื้น (มัทธิว 8-9) หลังจากนั้น สิทธิอำนาจที่ทรงเรียกและประทานอำนาจให้แก่พวกสาวก ซึ่งชัดเจนในบบที่ 10 ในบทที่ 9 พระเยซูทรงแสดงสิทธิอำนาจในการยกบาป (มัทธิว 9:1-8) แต่ตอนนี้ทรงขยายขอบเขตสิทธิอำนาจ ไม่เพียงแต่ทรงมีสิทธิอำนาจในการยกบาป พระองค์มีสิทธิอำนาจในการกำหนดว่าจะให้ใครได้รับการยกโทษบาปนั้น15

คำเชิญสำหรับคนทั่วไป (มัทธิว 11:28-30)

28บรร‌ดา​ผู้​เหน็ด‍เหนื่อย​และ​แบก​ภาระ​หนักจง​มา‍หา​เรา และ​เรา​จะ​ให้​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ได้​หยุด‍พัก 29จง​เอา​แอก​ของ​เรา​แบก​ไว้ แล้ว​เรียน​จาก​เรา เพราะ‍ว่า​เรา​สุภาพ‍อ่อน‍โยน​และ​ใจ​อ่อน‍น้อม และ​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍ท่าน​จะ​ได้​หยุด‍พัก 30ด้วย‍ว่า​แอก​ของ​เรา​ก็​พอ​เหมาะ และ​ภาระ​ของ​เรา​ก็​เบา”(มัทธิว 11:28-30)

บางคนสรุปผิดๆว่าถ้าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดว่าใครได้รับความรอดและใครไม่ได้ รับ ถ้าเป็นเช่นนั้นมนุษย์ก็ไม่มีสิทธิเลือกเลย ผมขอนำคุณมายังความจริงนี้ ทันทีที่ประกาศถึงสิทธิอำนาจในการเลือกสรรว่าใครควรได้รับความรอด พระเยซูทรงเชิญชวนให้มารับความรอดในข้อ 28-3016 นี่เป็นการประกาศข่าวประเสริฐที่ชัดเจนที่สุดในมัทธิวถึงตอนนี้ ก่อนหน้าเป็นเพียงถ้อยคำธรรมดาว่า “จง​กลับ‍ใจ​ใหม่เพราะ‍ว่า​แผ่น‍ดิน​สวรรค์​มา​ใกล้​แล้ว”(มัทธิว 3:2; 4:17 ดู 10:7 ด้วย)

ในระดับหนึ่ง ผมเข้าใจการเชิญชวนของพระเยซูในตอนท้ายของบทที่ 11 จากมุมมองตอนท้ายของบทที่ 9:

36และ​เมื่อ​พระ‍องค์​ทอด‍พระ‍เนตร​ ฝูง‍ชน​ก็​ทรง​สงสาร​เขา‍ทั้ง‍หลาย เพราะ​พวก‍เขา​ถูก​รัง‍ควาน​และ​ไร้​ที่‍พึ่ง​เหมือน​ฝูง‍แกะ​ไม่‍มี​ ผู้‍เลี้ยง 37แล้ว​พระ‍องค์​ตรัส​กับ​สาวก​ทั้ง‍หลาย​ของ​พระ‍องค์​ว่า“ข้าว​ที่​ต้อง​ เกี่ยว​นั้น​มี​มาก​นัก‍หนาแต่​คน​งาน​ยัง​น้อย​อยู่ 38เพราะ‍ฉะนั้น​ท่าน​จง​อ้อน‍วอน​พระ‍องค์​ผู้​ทรง​เป็น​เจ้า‍ของ​นาให้​ทรง ​ส่ง​คน​งาน​มา​เก็บ‍เกี่ยว​พืช‍ผล​ของ​พระ‍องค์” (มัทธิว 9:36-38)

ชนชาติอิสราเอลมี “ผู้เลี้ยง” อยู่แล้ว ถ้าจะใช้คำนี้ว่าอย่างผิวเผิน ผู้นำพวกเขาไม่ได้มีคุณลักษณะของความเมตตาและสงสาร ในบทที่ 23 มัทธิวบันทึกคำกล่าวโทษรุนแรงที่พระเจ้ากล่าวแก่พวกธรรมาจารย์และฟาริสี หนึ่งในนั้นคือ:

1เวลา‍นั้นพระ‍เยซู​ตรัส​กับ​ฝูง‍ชน​และ​ บรร‌ดา​สาวก​ของ​พระ‍องค์​ว่า 2“พวก​ธรร‌มา‌จารย์​กับ​พวก​ฟาริสี​นั่ง​บน​ที่‍นั่ง​ของ​โม‌เสส 3เพราะ‍ฉะนั้นทุก‍สิ่ง​ที่​เขา‍ทั้ง‍หลาย​สั่ง‍สอน​พวก‍ท่าน​นั้น จง​ถือ​และ​ประ‌พฤติ​ตาม ​ยก​เว้น​การ​ประ‌พฤติ​ของ​พวก‍เขา​อย่า​ทำ​ตาม​เลย เพราะ​พวก‍เขา​ไม่‍ได้​ทำ​ใน​สิ่ง​ที่​พวก‍เขา​สอน 4เพราะ​พวก‍เขา​เอา​ห่อ​ของ‍หนัก​วาง​บน​บ่า​ของ​มนุษย์ แต่​ส่วน​พวก‍เขา​เอง​ไม่​ยอม​แม้​แต่​จะ​ใช้​สัก​นิ้ว​เดียว​ไป​ยก (มัทธิว 23:1-4)

ในความเป็นจริง คนอิสราเอลไม่เคยมีผู้เลี้ยงอย่างที่พวกเขาจำเป็นต้องมีที่สุด พระเยซูทรงเป็นผู้เลี้ยง ทรงเป็น “ผู้เลี้ยงที่ดี” (ดูยอห์น 10) พระองค์ไม่ได้เคี่ยวเข็ญมนุษย์ให้พยายามมากขึ้นในการรักษาธรรมบัญญัติ เพื่อให้ได้ความชอบธรรม พระองค์ทรงเรียกบรรดาผู้เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก ที่ต้องแบกภาระจากผู้เลี้ยงชั่วร้าย พระเยซูทรงทำมากกว่า “ใช้แค่นิ้วเดียว” ช่วยยกภาระทางศาสนา ทรงเสนอแบกภาระทั้งหมดของพวกเขา ทรงเสนอให้แก่ผู้ที่อ่อนล้าและต้องการหยุดพัก

บทสรุปที่ดีที่สุด:
การเชิญชวนบรรดาผู้ที่เหน็ดเหนื่อยและล้าให้เข้ามาพักสงบในพระเยซู (มัทธิว 11:28-30)

28บรร‌ดา​ผู้​เหน็ด‍เหนื่อย​และ​แบก​ภาระ ​หนักจง​มา‍หา​เรา และ​เรา​จะ​ให้​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ได้​หยุด‍พัก 29จง​เอา​แอก​ของ​เรา​แบก​ไว้ แล้ว​เรียน​จาก​เรา เพราะ‍ว่า​เรา​สุภาพ‍อ่อน‍โยน ​และ​ใจ​อ่อน‍น้อมและ​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍ท่าน​จะ​ได้​หยุด‍พัก 30ด้วย‍ว่า​แอก​ของ​เรา​ก็​พอ​เหมาะ และ​ภาระ​ของ​เรา​ก็​เบา” (มัทธิว 11:28-30)

นี่เป็นคำเชิญชวน:

ไม่ใช่สำหรับคนที่มีอำนาจ แต่สำหรับคนที่อ่อนล้า
ไม่ใช่สำหรับคนหยิ่งผยอง แต่คนที่ใจถ่อม
ไม่ใช่คนที่รักษาธรรมบัญญัติ แต่คนที่มาดูว่าธรรมบัญญัติสอนอะไร – ความบาปของพวกเขา

พระเยซูทรงกล่าวติเตียนคนที่แย่งชิงเพื่อจะเข้าไปในอาณาจักรของพระองค์ เป็นพวกที่ไว้ใจในอำนาจที่มี สิ่งที่ตนเองพากเพียรปฏิบัติ และสติปัญญาของตนเอง พวกเขาเป็นพวกที่ไม่ยอมสำนึกผิดกลับใจ

ขณะที่พวกฟาริสีเพิ่มภาระหนักลงบนหลังผู้คน และไม่เสนอตัวช่วยสักนิด (มัทธิว 23:4) พระเยซูทรงรับภาระทั้งหมดของธรรมบัญญัติ (ทรงทำให้สมบูรณ์ครบถ้วน – มัทธิว 5:17) และบัดนี้ทรงเสนอแบกภาระให้กับทุกคนที่มาหาพระองค์ – ในความเชื่อ

ใครคือคนที่ได้รับข้อเสนอความรอด? ไม่ใช่คนที่พากเพียรมากขึ้น ไม่ใช่คนที่มองธรรมบัญญัติเป็นหนทางเพื่อจะรักษากฎเกณฑ์และให้ได้มาซึ่งความ โปรดปรานของพระเจ้า นี่คือผู้ที่มาดูธรรมบัญญัติอย่างที่ควรเป็น ธรรมบัญญัติเป็นภาระที่หนักจนไม่มีมนุษย์คนใดแบกไหว จำเปโตรในกิจการ 15:10 ได้หรือไม่ “ทำไมจึงเสนอธรรมบัญญัตินี้ให้แก่คนต่างชาติ?” ตามที่พระวจนะกล่าว “ทำไม​ท่าน​ทั้ง‍หลาย​จึง​ทด‍ลอง​พระ‍เจ้า​โดย​วาง​แอก​บน​คอ​ของ​พวก​สาวกซึ่ง​เป็น​สิ่ง​ที่​บรรพ‌บุรุษ​หรือ​เรา​เอง​แบก​ไม่‍ไหว” คนที่แบกไว้จนไปต่อไม่ไหวคือคนที่เห็นแล้วว่าธรรมบัญญัติไม่อาจช่วยให้รอด ได้ เป็นคนที่รู้ตัวเองว่าหมดหวังหมดกำลัง และเป็นคนที่พระเยซูทรงกล่าวเชิญ “จง​มา‍หา​เรา…และ​จิต‍ใจ​ของ​พวก‍ท่าน​จะ​ได้​หยุด‍พัก” มาหาเราเป็นถ้อยคำที่สวยงามที่สุดในพระกิตติคุณตอนนี้ เป็นคำเชิญให้มาเชื่อ

ผมขอพูดเรื่องหนึ่งก่อนจบ เกิดขึ้นกับผมเมื่อเช้าตอนกำลังผูกเชือกรองเท้า และเป็นสิ่งดีที่สุดที่ผมจะบอกได้ จำก่อนหน้านี้ที่ผมสอนบทเรียน 1ซามูเอลได้หรือไม่ ที่สรุปว่าการเชื่อฟังแค่บางส่วนก็คือการไม่เชื่อฟัง? จำได้นะครับ ตอนนี้มีเพิ่มมาให้ ผมรอมานานสำหรับเรื่องนี้: การติดตามพระเยซูด้วยเหตุผลที่ผิดก็คือ – การไม่เชื่อฟัง ผู้คนยังติดตามพระเยซูไป และเป็นเรื่องที่น่าตระหนก เราเห็นพวกสาวกออกไปประกาศ เราเห็นฝูงชนมากมาย แล้วเราก็พูดว่า “โอ้ ว้าว สุดยอด” พวกสาวกเองก็พูดว่า “มันยอดมาก แผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้ว” และพระเยซูกล่าวว่า “มันไม่ใช่” พวกเขาปฏิเสธไปแล้ว ทำไม? เพราะพวกเขาติดตามพระเยซูด้วยสาเหตุผิดๆ พวกเขาติดตามพระเยซู (ยอห์น 6 “โปรดให้อาหารนั้นแก่ข้าพเจ้าเสมอไป”) เพราะพระเยซูคือคูปองอาหาร พระเยซูคือผู้ที่จะมาทำให้เรามั่งคั่ง พระเยซูเป็นผู้ที่จะให้เพื่อนดีๆ และภาพลักษณ์ดีๆแก่เรา – ติดตามพระเยซูเถอะ และพระองค์จะมอบทุกสิ่งนี้ให้ เป็นอันตรายมาก พี่น้องครับ แสวงหาศาสนาที่เป็นมิตร ทำให้ผู้คนมาติดตามพระเยซูด้วยสาเหตุที่ผิด คำเทศนาของยอห์นไม่ใช่เพื่อมาหามิตร คำเทศนาของพระเยซูไม่ได้เพื่อมาหามิตร

“จงมาหาเราคนบาปทั้งหลายที่แบกภาระหนักของบาปเอาไว้ ภาระที่เพียรปฏิบัติเพื่อให้ได้ความโปรดปรานจากเรา จงวางใจในเรา” นี่คือหนทางสำหรับความรอด ติดตามพระเยซูไปด้วยสาเหตุที่ผิดเป็นบันไดขั้นแรกสู่เส้นทางกบฎและปฏิเสธ และสุดท้าย – นรก –

อย่าล้อเล่นนะครับพี่น้อง: เราอาจคิดว่าทำแบบนั้นแล้วจะได้ผู้คนมาเดินบนเส้นทางความเชื่อ และหลังจากนั้น ค่อยชี้ให้พวกเขาดูเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ ถ้าคุณชักจูงผู้คนให้มา “ติดตามพระเยซู” ด้วยสาเหตุที่ผิด คุณก็พาเขาไปสู่เส้นทางแห่งความพินาศ คุณต้องประกาศข่าวประเสริฐตามที่พระเยซูสั่ง และข่าวประเสริฐนั้นเราต้องประกาศออกไปแม้ในท่ามกลางการข่มเหง ต่อต้าน และแม้แต่เผชิญความตาย – อย่าไปปรับเปลี่ยนข่าวประเสริฐ ให้ประกาศพระเยซู – ที่โดยพระคุณ โดยการสิ้นพระชนม์ที่บนกางเขน ได้ช่วยคนบาปที่หลงหาย ประกาศพระเยซู ไม่ใช่ในฐานะเป็นผู้มาแจกอาหาร ไม่ใช่มาเพื่อมอบสุขภาพที่ดีและชีวิตที่มีสุข แต่เป็นผู้ที่จะมามอบบ้านที่เป็นนิรันดร์ให้โดยการยกโทษบาปให้กับพวกเขา


1 1 ลิขสิทธิ 2007 โดย Community Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081. ดัดแปลงจากต้นฉบับของบทเรียนที่ 43ในบทเรียนต่อเนื่องของพระกิตติคุณมัทธิว จัดเตรียมโดย ศบ โรเบิร์ต แอลเดฟฟินบาว กรกฎาคม 4, 2004ทุกท่านสามารถนำบทเรียนนี้ไปใช้เพื่อการศึกษาได้เท่านั้น ทางคริสตจักร Community Bible Chapel เชื่อว่าเนื้อหาในบทเรียนนี้ถูกต้องตรงตามหลักการสอนพระคัมภีร์ใช้เพื่อช่วย ในการศึกษาพระวจนะของพระเจ้า บทเรียนนี้เป็นพันธกิจ และเป็นลิขสิทธิของ Community Bible Chapel

2 2นอก จากที่กล่าวไปแล้ว พระวจนะที่นำมาอ้างอิงทั้งหมดมาจาก NET Bible (The NEW ENGLISH TRANSLATION) เป็น ฉบับแปลใหม่ทั้งหมดไม่ใช่นำฉบับเก่าในภาษาอังกฤษมาเรียบเรียงใหม่ใช้ผู้ เชี่ยวชาญและนักวิชาการพระคัมภีร์มากกว่า ยี่สิบคน รวบรวมข้อมูลทั้งจากภาษาฮีบรูโดยตรง ภาษาอาราเมข และภาษากรีกโครงการแปลนี้เริ่มมาจากที่เราต้องการนำ พระคัมภีร์เผยแพร่ผ่านสื่ออีเลคโทรนิค เพื่อรองรับการใช้งานทางอินเตอร์เน็ท และซีดี (compact disk) ที่ใดก็ตามในโลก ที่ต่อเข้าอินเตอร์เน็ทได้ ก็สามารถเรียกดูและพริ้นทข้อมูลไว้เพื่อใช้ศึกษาเป็นการส่วนตัวได้โดยไม่คิด มูลค่านอกจากนี้ ผู้ใดก็ตามที่ต้องการนำข้อมูลเกี่ยวกับพระคัมภีร์ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่คิดเงิน สามารถทำได้จากเว็บไซท์ :www.netbible.org.

3 3 “เมืองของเขาทั้งหลาย” แปลว่าอะไร? แปลว่าเมืองต่างๆในกาลิลีที่เป็นบ้านของพวกสาวก? น่าจะเป็นได้ แต่ในลูกา 10:1 เราอาจสรุปได้ว่ามัทธิวอยากให้เราเข้าใจว่าพระเยซูไปเทศนาสั่งสอนในเมืองที่ พระองค์ทรงส่งพวกสาวกไปล่วงหน้า

4 4 สังเกตุดูในมาระโกและลูกา มีเรื่องของยอห์นผู้ให้บัพติศมาต่อจากเรื่องส่งสาวกสิบสองคนออกไป ในมาระโก 6:7-13 พระเยซูทรงส่งสาวกสิบสองคนออกไป และใน 6:14-29 เป็นเรื่องของเฮโรดและยอห์นผู้ให้บัพติศมา เป็นเรื่องเดียวที่บันทึกการตัดศีรษะของยอห์น และเฮโรดกลัวว่าพระเยซูคือยอห์นที่เป็นขึ้นมาจากความตาย ในลูกา 9:1-6 พระเยซูทรงส่งสาวกสิบสองคนออกไป และเหมือนในมาระโก ลูกา (9:7-9) บันทึกเกี่ยวกับความกลัวของเฮโรดว่าพระเยซูคือยอห์นที่ฟื้นกลับมา ในบทเรียนของเรา มีเรื่องส่งสาวกสิบสองคนออกไป (มัทธิว 10:1-15 และ 16-42) บันทึกเรื่องราวของยอห์นด้วย แต่ไม่ใช่เรื่องความกลัวของเฮโรด แต่เป็นความสงสัยของยอห์น เนื่องจากมีการส่งสาวกสิบสองคนออกไป เฮโรดและยอห์นมีบางสิ่งที่คล้ายกัน – คำถาม “เราพลาดอะไรไปหรือ?”

5 5เบื้องต้น ผมขออนุมานว่า“งานต่างๆ” ของพระเยซู เป็นการอัศจรรย์ที่พระองค์บอกยอห์นเมื่อตอบคำถามที่สาวกของท่านมาถามใน 9:14-17 และคำตรัสของพระเยซูใน 11:9 ทำให้ผมสงสัยว่า “งานต่างๆ” ที่ยอห์นได้ยินมานั้นอาจเป็นเรื่องกินและดื่มกับพวกคนบาป เป็นได้หรือไม่คำตอบของพระเยซูในสิ่งที่ยอห์นถาม ดึงท่านให้เห็นว่างานต่างๆเหล่านี้หรือที่ทำให้ท่านเกิดคำถาม ผมจึงค่อนข้างเชื่อว่า “งานต่างๆ” ที่รบกวนใจยอห์นน่าจะเป็นเรื่องกินและดื่มกับคนบาป ในขณะที่พระเยซูทรงชี้ให้ยอห์นเห็นว่าเป็นเรื่องการทำอัศจรรย์และเทศนาสั่ง สอน

6 6เป็นการถอดความของผมเอง

7 7ภาษาอังกฤษใช้จากการแปลฉบับ NET Bible

8 8อันนี้เป็นแค่ความเห็นของผม

9 9ขณะไม่มีคำว่ากลับใจในตอนนี้ มาระโก 6:12 พูดชัดเจนว่ามีการประกาศให้กลับใจ

10 10จาก ดิกชันนารี่พระคัมภีร์ของ Fausset’s Bible Dictionary (อ้างจาก BibleWorks): สดุดี 87:4 ทำนายว่าไทระจะเป็นหนึ่งในเมืองที่กล่าวว่าจะมีผู้นี้ในยุคของพระเมสซิยาห์ มาเกิดที่เยรูซาเล็ม การช่วยซาโลมอนสร้างพระวิหารเป็นเหมือนสัญลักษณ์นำร่อง และความเชื่อของหญิงชาวฟินิเซีย (มาระโก 7:26) เป็นผลแรกที่เป็นจริง อิสยาห์ (อิสยาห์ 23:18) ทำนายว่า “สินค้าของมันและสินจ้างของมันจะเป็นของถวายแด่พระเจ้า … แต่สินค้าของมันจะอำนวยอาหารอุดมและเสื้อผ้างามแก่บรรดาผู้ที่อยู่ต่อพระ พักตร์พระเจ้า” เป็นจริงที่คริสตจักรในเมืองไทระ ความมั่งคั่งที่ถวายให้พระเจ้าและสนับสนุนพันธกิจของคริสตจักร อ เปาโลได้พบกับพวกสาวกที่นั่น (กิจการ 21:306) การได้อยู่ร่วมสามัคคีธรรมกับบรรดาธรรมิกชนที่เกิดขึ้นในทันที แม้เมื่อก่อนต่างก็เป็นคนแปลกหน้ากัน นับเป็นภาพความรักกันฉันพี่น้องของคริสเตียนทุกคนรวมทั้งภรรยาและบุตรของพวก สาวกต่างก็มาต้อนรับและมาส่งท่านเมื่อจากไป ทุกคนได้คุกเข่าลงอธิษฐานด้วยกันที่ชายหาด ภายใต้พระพรของสวรรค์และการอธิษฐาน สดุดี 45:12 “ชาว‍เมือง​ไท‌ระ​จะ​เอา​ของ​กำ‌นัล​มา​ถวาย​พระ‍นางเศรษฐี​ใน​หมู่​ ประ‌ชา‍ชน​จะ​ขอ​ความ​โปรด‍ปราน​จาก​พระ‍นาง” ขอมีส่วนจากอิสราเอลเข้าในแผ่นดินของพระเจ้า (อิสยาห์ 44:5; 60:6-14; สดุดี 72:10) เมื่ออิสราเอล “ตั้งใจฟัง” พระเมสซิยาห์และ “ลืมคนของตนเอง (พิธีกรรมของยิว) และวงศ์วานของบรรพบุรุษ (โอ้อวดว่าเป็นเชื้อสายของอับรามฮัม) กษัตริย์ปรารถนาจะได้ความงดงามของเธอ” และพระเมสซิยาห์จะเป็นที่ปรารถนาของทุกชนชาติ เช่นไทระ (ฮักกัย 2:7)

11 11ตามคำสั่งของพระเยซูในมัทธิว 10:5

12 12คำ กล่าวโทษต่อเมืองใหญ่นี้ได้เกิดขึ้นเป็นจริงอย่างครบถ้วน (มัทธิว 11:23 ลูกา 10:15) เมืองนี้พินาศลงอย่างสิ้นเชิงและเป็นพื้นที่ๆยังมีความขัดแย้งจนทุกวันนี้ ในพระคัมภีร์ นอกเหนือจากหนังสือพระกิตติคุณ ไม่มีการกล่าวถึงคารเปอรนาอุมในที่อื่นๆ เมื่อพระเยซูเสด็จออกจากนาซาเร็ธ ทรงไปอาศัยอยู่ในคาเปอรนาอุม (มัทธิว 4:13) และทรงให้ที่นั่นให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระราชกิจระหว่างประกาศแก่ฝูงชน และที่ใกล้ๆกัน ทรงเรียกชาวประมงให้ติดตามพระองค์ไป (มาระโก 1:16) เรียกคนเก็บภาษีให้ละอาชีพตามพระองค์ไป (มัทธิว 9:9) เป็นพื้นที่ๆทรง “ทำการอัศจรรย์” มากมาย (มัทธิว 11:23 มาระโก 11:34) ที่นี่พระเยซูทรงรักษาบ่าวของนายร้อย (มัทธิว 8:5) และบุตรของผู้มีชื่อเสียง (ยอห์น 4:46) แม่ยายของเปโตร (มาระโก 1:31) และชายง่อย (มัทธิว 9:1) ทรงขับผี (มาระโก 1:23) และอาจเป็นที่นี่ ที่ทรงช่วยชีวิตลูกสาวของไยรัส (มาระโก 5:22) ในคาเปอรนาอุมเด็กเล็กถูกนำมาใช้ในการสั่งสอนพวกสาวกเรื่องความถ่อมใจ และในธรรมศาลาพระเยซูทรงเทศนาเรื่องอาหารแห่งชีวิต (ยอห์น 6)

13 13 ขณะที่ยังไม่เหมาะจะนำเรื่องจากโรม 9 มาสอนในตอนนี้ แต่ผมมีอยู่ในบทเรียนพระธรรมโรม ในตอนนี้ขอเพิ่มเฉพาะ โรม 9:30-10:15 ชาวยิวจำนวนมากไม่เชื่อในพระเยซู เพราะพวกเขาปฏิเสธสิ่งที่พระองค์เตรียมให้สำหรับความชอบธรรมโดยความเชื่อ แต่พวกเขายืนกรานจะได้ความชอบธรรมโดยการเพียรปฏิบัติของตนเอง

14 14 ประเด็นตรงนี้เป็นครั้งแรกในมัทธิว พระเยซูทรงอำนาจอธิปไตยในเรื่องความรอดของมนุษย์ ข้อเท็จจริงนี้ไม่ควรเข้าใจผิดว่าเป็นการปฏิเสธความจริงว่ามนุษย์มีทางที่ ต้องเลือก และต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองเลือก คำตรัสของพระเยซูเน้นให้เห็นสมการจากด้านหนึ่งจากโรม 9 และในที่อื่นๆ พระเยซูเน้นให้เห็นส่วนของมนุษย์ซึ่งก็คืออีกด้านของสมการในโรม 10

15 15 อาจช่วยให้เห็นความจริงว่าพระเยซูทรงพูดถึงพระองค์เองในมัทธิว 10:28

16 16 เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับที่ อ เปาโลพูดเรื่องการทรงเลือก (โรม 9:6-29) และความรับผิดชอบของมนุษย์ (โรม 9:30-10:15)

Preface

Related Media

And the things you have heard me say in the presence of many witnesses entrust to reliable men who will also be qualified to teach others. (2 Timothy 2:2)

Paul’s words to Timothy still apply to us today. The church needs teachers who clearly and fearlessly teach the Word of God. With this in mind, The Bible Teacher’s Guide (BTG) series was created. This series includes both expositional and topical studies that help teachers lead small groups, pastors prepare sermons, and individuals increase their knowledge of God’s Word.

We based each lesson around the hermeneutical principle that the original authors wrote in a similar manner as we do today—with the intention of being understood. Each paragraph and chapter of Scripture centers around one main thought often called the Big Idea. After finding the Big Idea for each passage studied, readers will discover the Big Question, which will lead the small group through the entire gamut of the text. Alongside the Big Question, notice the added hermeneutical questions such as Observation Questions, Interpretation Questions, and Application Questions. Observation questions point out pivotal aspects of the text. Interpretation questions lead us into understanding what the text means through looking at the context or other Scripture. Application questions lead us to life principles coming out of the text. Not all questions will be used, but they have been given to help guide the teacher in the preparation of his own lesson.

The purpose of this guide is to make the preparation of the teacher easier, as many commentaries and sermons contributed to the development of each lesson. After meditating on the Scripture text and the lesson, the small group leader can follow the suggested teaching outline, if preferred:

  1. Introduce the text and present the big question in the beginning of the study.
  2. Allow several minutes for the members to search out answers from within the text, questions, or ways God spoke to them.
  3. Then discuss the findings and lead the group along through observation, interpretation, and application questions provided in the guide.

The leader may prefer to teach the lesson, in part or in whole, and then give application questions. The leader can also choose to use a “study group” method, where each member prepares beforehand and shares teaching responsibility (see Appendices 1 and 2). Some leaders may find it most effective first to corporately read each main section in a lesson, then to follow with a brief discussion of the topic and an application question.

Again, The Bible Teacher’s Guide can be used as a manual to follow in teaching, a resource to use in preparation for teaching, or simply as an expositional devotional to enrich one’s own study. I pray that the Lord may bless your study, preparation, and teaching, and that in all of it you will find the fruit of the Holy Spirit abounding in your own life and in the lives of those you instruct.

Copyright © 2015 Gregory Brown

Unless otherwise noted, the primary Scriptures used are taken from the Holy Bible, New International Version ®, Copyright © 1973, 1978, 1984 by International Bible Society. Used by permission of Zondervan Publishing House. All rights reserved.

Scripture quotations marked (ESV) are from The Holy Bible, English Standard Version® (ESV®) Copyright © 2001 by Crossway, a publishing ministry of Good News Publishers. All rights reserved.

Scripture quotations marked (NASB) are from the NEW AMERICAN STANDARD BIBLE®, Copyright © 1960, 1962, 1963, 1968, 1971, 1972,1973,1975,1977,1995 by The Lockman Foundation. Used by permission.

Scripture quotations marked (NLT) are taken from the Holy Bible, New Living Translation, copyright © 1996, 2004, 2007 by Tyndale House Foundation. Used by permission of Tyndale House Publishers, Inc., Carol Stream, Illinois 60188. All rights reserved.

Scripture quotations marked KJV are from the King James Version of the Bible.

Published by BTG Publishing all rights reserved.

Pages