MENU

Where the world comes to study the Bible

14. “ไม่ได้มาเลิกล้าง แต่มาทำให้สมบูรณ์” (มัทธิว 5:17-20)

Related Media

คำนำ1

คนเราเก่งในเรื่องหาความชอบธรรมให้ตนเอง ขอย้ำ คนเราเก่งในเรื่องหาความชอบธรรมให้ตนเอง มนุษย์มีความสามารถพิเศษที่ให้ความมั่นใจกับตัวเองได้ไม่ว่าไปทำอะไรมา พวกเขาก็จะ “ไม่เป็นไร” ลองคิดดู กี่ครั้งที่คุณได้ยิน “ถึงมันไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่มันก็โอเคนะ” หรือ “ใช่ ผมรู้ว่าไม่ควรทำอย่างนั้น แต่ไม่เป็นไรหรอก ใช่ว่าจะทำตลอดเวลาเมื่อไร” พระเจ้าประทานความคิดสร้างสรรค์ให้มนุษย์ แต่เรามักนำไปใช้ในทางชั่วมากกว่าทางดี

ดูเหมือนเรามีความคิดบรรเจิดที่สุดเมื่อบอกกับตัวเองว่าเราดีพอ

  • ดีเกินกว่าจะทำงานกับบริษัทที่ปฏิเสธเรา
  • ดีเกินกว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยที่ไม่รับเรา
  • ดีเกินกว่าหนุ่มคนนั้นที่ไม่เคยโทรกลับมา
  • ดีเกินกว่าผู้หญิงคนนั้นที่บอก “ไม่ล่ะ ขอบคุณ”

ดูเหมือนไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเรา คนส่วนใหญ่จะมีความสามารถพิเศษทำให้ตนเองรู้สึกว่าแบบของฉันดีกว่า ถ้าสังเกตให้ดี ส่วนที่หลงตัวเองมักเกี่ยวข้องกับสิ่งหนึ่ง เมื่อมีข้ออ้างหรือหาความชอบธรรมให้กับสิ่งที่เกิดกับตนเองหรือความประพฤติ ของตน พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมรับว่ามีบางคนมีมาตรฐานที่พวกเขาไม่อาจทำตามได้

เมื่อมหาวิทยาลัยปฏิเสธไม่รับคุณ – ยอมรับเถอะครับ คุณไม่ได้ตามมาตรฐานของเขา เมื่อทีมว่ายน้ำตัดชื่อคุณออก – คุณก็ว่ายไม่ได้เร็วเท่าที่ควร เมื่อไม่ได้เลื่อนขั้น – เฮ้ คุณไม่ได้เชี่ยวชาญขนาดนั้น เมื่อคุณสอบวัดความชำนาญไม่ผ่าน – ยอมรับเถอะครับ คุณไม่ได้เข้าใจอุปกรณ์พวกนั้นเท่าที่ควร เมื่อถูกปฏิเสธเงินกู้ – ประวัติการเงินคุณอาจไม่ดี แต่เราไม่ชอบใจ มันยากที่จะทำใจ เราจึงหาความชอบธรรมให้ตัวเอง “โอ้ เธอไม่รู้หรอกว่าดีแปลว่าอะไร” “โอ้ พวกเขาไม่ชอบผู้จัดการฝ่ายเทคนิค” “ข้อสอบมีคำถามที่ไม่ได้เรื่อง” “ไม่แปลก เดี๋ยวนี้ใครๆก็เป็นหนี้”

สู่เรื่องฝ่ายวิญญาณ

น่าเศร้าคนเราหาความชอบธรรมให้ตนเองในแบบที่คนภายนอกเห็นได้ และยังหาความชอบธรรมให้ตนเองในแบบส่วนตัว และชีวิตฝ่ายวิญญาณด้วย เมื่อคุณสำรวจความชอบธรรมในแบบที่ไม่ใช่ส่วนตัว จะพบว่ามาตรฐานความชอบธรรมนี้ก็ส่วนตัวพอๆกับเจ้าตัว บางทีเหมือนเรากำลังหลงอยู่ในยุคผู้วินิจฉัย ขอทวนคำพูดตอนนั้นครับ “ทุกคนทำในสิ่งที่ตนเองเห็นว่าถูกต้อง” เราอาจจะเติม “และมั่นใจด้วยว่าเป็นสิ่งถูกต้องที่ทำ” ผู้คนต่างมี “แนวคิดของตนเอง” อะไรคือความชอบธรรมและความดีงาม และตัดสินใจว่าจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแนวคิดนั้น

หนึ่งในปัญหาใหญ่ในกรอบความคิดของคนยุคหลังสมัยใหม่ คือไม่มีใครอยากใส่ใจมาตรฐานความชอบธรรมที่ไม่ใช่แบบตัวเอง ส่วนคนที่ไม่อยากทำแบบนี้ ก็ไม่กล้าทำ เพราะไม่มีใครอยากกำหนดมาตรฐานขึ้นมา กลัวว่าจะไปกระทบกระเทือนผู้อื่น คนเลยปล่อยตามสบาย ตั้งมาตรฐานของตนเองขึ้นมา แล้วเอาตัวเองไปคอยเช็ค ที่น่าประหลาด น่าประหลาดที่สุด พวกเขาทำมันได้ครบถ้วน! นี่เป็นคุณสมบัติที่ดีที่สุดตามมาตรฐานความชอบธรรมส่วนตัว เป็นแบบสั่งทำพิเศษเพื่อตนเอง โดยตนเอง และเหมาะสำหรับตนเองเท่านั้น เราอาจเรียกว่าเป็น “ความชอบธรรมเฉพาะตัว” เพราะมันบ้าบอสิ้นดีที่คิดว่าเราสามารถทำได้ตามมาตรฐานของเราเอง และมีคุณค่าสูงส่งด้วย

ทำลิสต์ตามรายการ

ทำไมมาตรฐานความชอบธรรมส่วนตัวของเราจึงมีข้อบกพร่อง? เหตุผลหนึ่งเพราะเราเองบกพร่อง แต่อีกเหตุผลเกี่ยวข้องกับวิธีที่เราทำตามมาตรฐานนั้น มนุษย์มักชอบทำไปตามลิสต์ของกฎเกณฑ์ ทำไม? เพราะพวกเขาสามารถเช็คลิสต์ตามไปได้ เราชอบทำลิสต์กฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะเราสามารถใส่มันลงไปในสมุดวางแผนงานประจำปี หรือใส่ใน ”สมาร์ทโฟน” แล้วถ้าเราเช็คลิสต์นั้นผ่าน เราก็สบายใจ ไม่มีอะไรรู้สึกดีไปกว่าเช็คลิสต์ผ่าน เช็ครายการทำความดีแล้วผ่าน ปัญหาคือลิสต์นั้นอันตรายเพราะมันมีความสามารถลึกลับทำให้เรารู้สึกชอบธรรม เพราะทำบางสิ่งผ่านได้ ฟังอีกครั้ง การเช็คลิสต์บางสิ่งให้ผ่าน ทำให้รู้สึกว่าทำได้แล้ว แต่เป็นแค่ชั่วคราวครับ

คิดดู คงไม่มีคนเขียนลงไปในลิสต์ “วันนี้รักภรรยาให้ได้” ทำไม? เพราะเป็นภารกิจที่ค้านกับหลักการบริหารเวลา ภารกิจนี้ต้องวัดผลได้ ทำอย่างไรถึงจะวัดปริมานความรักได้? ทันทีที่ถามคำถามนี้ ในหัวผมตอบว่า “เดี๋ยวล้างจานให้ละกัน” ผมก็ไปล้างจาน แต่ภรรยาไม่ได้รู้สึกว่ามีความรักเพิ่มขึ้น ผมบอกเธอผมรักเธอตอนเดินออกจากบ้าน แต่พอกลับมา ไม่เห็นเธอจะได้รับความรักเพิ่มขึ้น งั้นเปลี่ยนใหม่ แทนที่จะบอกว่า “รักภรรยา” กลับบอกว่า “ให้ดอกไม้เธอ” อืม พอวัดได้ ผมสามารถ “ทำ” ได้ และเมื่อทำผมก็บอกตัวเองว่าผมรักเธอ ความรักเป็นตัวอย่างที่ดีเพราะมีหลายสิ่งที่สามีทำให้ภรรยาได้ เป็นสิ่งที่ควรต้องทำ แต่ถ้าไม่ทำเพราะผมรักเธอ และเธอรักผม ทำไมสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเกิดผลตามที่คาดหวัง? มันก็ลงไปที่เรื่องของหัวใจ ถ้าไม่มีใจในนั้น ความรักก็ไม่ได้รับการกระตุ้น ดอกไม้เหี่ยวเฉาไป จานก็สกปรกอีก ถ้าไม่ทำสิ่งเหล่านี้จากใจ ผลของมันแทบมองไม่เห็น เช่นเดียวกับเรื่องฝ่ายวิญญาณ ถ้าใจไม่อยู่ในนั้น เชื่อฟังตามมาตรฐานของพระเจ้าเพื่อความชอบธรรม มากกว่าทำตามความชอบธรรมที่ตั้งเอาเองก็จะไม่เกิดผล เราหาเหตุผลมาอ้างได้เสมอ

พูดถึงความชอบธรรมส่วนตัว เมื่อต้องดำเนินชีวิตให้เป็นที่พอพระทัย และการติดตามพระเยซูคริสต์ เรื่องของใจเป็นเรื่องสำคัญ จำไว้นะครับ : เช็คลิสต์ตกแต่งได้ แต่ใจต่างหากที่สำคัญ เมื่อ มาดูคำสอนของพระเยซูในคำเทศนาบนภูเขา เราเห็นว่าพระองค์เน้นและส่องสปอตไลท์ไปที่ประพฤติกรรมของผู้ติดตามพระองค์ ในข้อ 5:17-20 พระวจนะในบทเรียนตอนนี้ พระองค์ทรงเล็งไปที่แรงจูงใจในเรื่องดังต่อไปนี้

คำเทศนาบนภูเขา

ดูมัทธิว 5:17-20 และคำสอนก่อนหน้าในข้อ 1-12 สรุปคุณลักษณะและทัศนคติของผู้ติดตามพระเยซู มีหลักการเพื่อเอาชนะฝ่ายวิญญาณ (ความยากจนฝ่ายกาย) ความโศกเศร้า ความอ่อนน้อมถ่อมตน กระหายหาความชอบธรรม ความเมตตา ความบริสุทธิ์ หว่านสันติ ถูกข่มเหง บางคนที่ติดตามพระเยซูมีทัศนคติเช่นนี้อยู่ และถูกกระตุ้นให้ดำเนินตาม เป็นทัศนคติและความประพฤติที่จะสร้างลักษณะนิสัยในชีวิตของผู้ติดตามพระ คริสต์

เกลือและความสว่าง (มัทธิว 5:13-16)

ทัศนคตินี้เกิดคำถามขึ้นทันที ทำไมต้องดำเนินชีวิตแบบนี้? ยอมรับเถอะครับ ใครบ้างอยากจะเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน? เหตุผลหนึ่ง เพื่อจะชูรสในโลกที่จืดชืดนี้ บ่อยครั้งเราเองก็รสชาตเหมือนคนในโลก และพี่น้องครับ โลกนี้รสชาตแย่มาก แม้จะดูสวยงามแต่เป็นบาร์บีคิวที่ถูกซอสราดกลบไว้

พระเยซูจึงให้สาวกพระองค์เป็นต้นแบบความชอบธรรมเพื่อให้ชีวิตมีรสชาต ดำเนินชีวิตแบบนี้ ผู้คนจะลิ้มรสได้ แต่ทำไมต้องเค็ม ทำไมต้องส่องสว่าง? เพื่อว่าเมื่อเขาได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่าน ผู้ทรงอยู่ในสวรรค์”2 (มัทธิว 5:16) การทำดีของเราเป็นโอกาสให้พระบิดาในสวรรค์ได้รับพระกียรติ ทำไมต้องมีใจเมตตา? เพื่อพระสิริของพระเจ้า ทำไมต้องเป็นคนบริสุทธิ์? เพื่อพระสิริของพระเจ้า ทำไมมีรายได้เป็นล้านๆ แต่มีชีวิตเหมือนรายได้ไม่กี่หมื่น? เพื่อพระสิริของพระเจ้า ทำไมต้องอ่อนน้อมถ่อมตนในโลกที่บอกว่า “เฮ้ คุณมีสิทธินะ” เพื่อพระสิริของพระเจ้า อ.เปาโลนำสิ่งนี้ไปย้ำในหนังสือทิตัส ท่านกล่าวว่า:

11 เพราะว่าพระคุณของพระเจ้าได้ปรากฏแล้ว เพื่อช่วยคนทั้งปวงให้รอด 12 สอนให้เราละทิ้งความอธรรมและโลกียตัณหา และดำเนินชีวิตในยุคนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะ สัตย์ซื่อสุจริตและตามคลองธรรม 13 คอยความสุขซึ่งจะได้รับตามความหวัง ได้แก่การปรากฏของพระสิริของพระเจ้าใหญ่ยิ่งคือ พระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดของเรา 14 ผู้ได้ทรงโปรดประทานพระองค์เองให้เรา เพื่อไถ่เราให้พ้นจากการอธรรมทุกอย่าง และทรงชำระเราให้บริสุทธิ์ เพื่อให้เป็นหมู่ชนพิเศษเฉพาะของพระองค์ และเป็นคนที่ขวนขวายกระทำการดี (ทิตัส 2:11-14)

ในบทต่อไป อ.เปาโลกล่าวอีกว่า:

8 คำนี้เป็นคำจริง ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านเน้นเรื่องเหล่านี้ เพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระเจ้าแล้วจะได้ อุตส่าห์กระทำการดี การเหล่านี้ดีและเป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง (ทิตัส 3:8)

พระเยซูคริสต์สอนว่า ชีวิตของผู้ที่อ้างว่าติดตามพระองค์ควรมีลักษณะนิสัยและความประพฤติตาม ทัศนคตินี้ ปัญหาคือพระเยซูไม่ได้สอนเหมือนคนรอบข้าง ทำให้คนฟังตกใจ พูดเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตน ความยากจน และการถูกข่มเหงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจผู้ฟัง :

  • นี่เป็นเรื่องใหม่หรือ?
  • สอนมาจากนิยายหรือ?
  • คุณเข้าใจเองหรือ?
  • จะมาทำลายศรัทธาในผู้คนหรือ?
  • พยายามกำจัดสิ่งที่คนเชื่อถือ ที่ถูกสั่งสอนมาเป็นศตวรรษๆหรือ?
  • กล้าต่อต้านโมเสสและพวกผู้เผยพระวจนะหรือ?

คำตอบของพระเยซูชัดเจนในข้อ 17 : “อย่าคิดว่าเรามาเลิกล้างธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะ เรามิได้มาเลิกล้าง แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ”

เมื่อพระเยซูตรัสว่า “อย่าคิดว่า…” คาดว่าคงมีคนกำลังคิด พระองค์นำเรื่องใหม่เข้ามา เป็นคำสอนที่แรง ขัดแย้งกันสิ้นเชิง ได้ยินกับหูว่าพระเยซูจะมาพลิกประเพณีดั้งเดิม ผู้คนเชื่อว่าธรรมบัญญัติโมเสสเป็นสมบัติล้ำค่าของชาวยิว มาบอกล้มเลิกก็เท่ากับหมิ่นประมาท

พวกนี้คงไม่พอใจอะไรมากไปกว่าให้พระเยซูสอนอะไรใหม่ๆ หลักศาสนาที่ฟังแล้วตาโต เพื่อพวกเขาจะให้คำสอนนี้เป็นคำสอน “ใหม่” แล้วก็จบๆไป แต่พระเยซูไม่ให้เลือกได้ พระองค์จึงสอนว่าพระองค์เองดำเนินตามธรรมบัญญัติและผู้เผยพระวจนะ แล้วทรงดำเนินตามธรรมบัญญัติกับพวกเขาอย่างไร? – ทรงทำให้สมบูรณ์

ถ้าจะเจาะลึกมากกว่านี้ ก็จะเกิดคำถามทันที “โอเค ฟังดูชัดเจน แต่ “สมบูรณ์” แปลว่าอะไร?” การตีความคำว่า “สมบูรณ์” ในมัทธิว 5:17 แบ่งได้สามแบบ3

1) บางคนเข้าใจว่าพระเยซูมาทำตามธรรมบัญญัติ และนี่เป็นการประกาศว่าการกระทำของพระองค์นั้นชอบธรรมตามที่บัญญัติไว้อย่างสมบูรณ์ แต่ปัญหาคือพวกเขาได้ยินคำพูด แต่ไม่เห็นการกระทำ แต่ตอนท้ายของคำเทศนาบนภูเขา ประชาชนทั้งปวงก็อัศจรรย์ใจด้วยคำสั่งสอนของพระองค์ เพราะว่าพระองค์ได้ทรงสั่งสอนเขาด้วยสิทธิอำนาจ หาเหมือนพวกธรรมาจารย์ของเขาไม่ (มัทธิว 7:28ข-29)

2) คนอื่นๆเข้าใจว่าที่พระเยซูมาทำตามธรรมบัญญัติ คือมาทำให้ครบถ้วน พวก เขาเข้าใจคำว่า “สมบูรณ์” หมายถึงทำให้ครบถ้วนในแง่เปิดเผยความมุ่งหมายที่แท้จริงของธรรมบัญญัติ ตัวเลือกนี้ก็ใช่ แต่ “ทำให้สมบูรณ์” ในมัทธิวยังมีมากกว่าอธิบายธรรมบัญญัติ4

3) คนอื่นๆบอกว่าพระเยซูมาเพื่อสนับสนุนธรรมบัญญัติ คือบอกให้คนเชื่อฟัง

4) ข้อสี่ และน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี ชัดเจนเมื่อเรามองว่ามัทธิวใช้แนวคิด “ทำให้สมบูรณ์” อย่างไรถึงจุดนี้

ในตอนเริ่มพระกิตติคุณ มัทธิวใช้ความพยายามมากชี้ให้เห็นว่าพระเยซูคือพระคริสต์ที่จะมาทำให้คำ พยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมสำเร็จ พระองค์ไม่ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์โดยไม่บอกให้รู้ล่วงหน้า ผู้คนไม่เฉลียวใจเลยหรือว่าพระองค์เสด็จมา? … ไม่เลย สำหรับมัทธิว การถือกำเนิดมาและช่วงต้นชีวิตของพระคริสต์พยากรณ์เอาไว้ล่วงหน้ามาหลาย ศตวรรษ และเมื่อพระองค์เสด็จมา ทรงทำให้คำพยากรณ์นั้นเกิดขึ้นสมบูรณ์

มาดูสี่บทแรกของพระกิตติคุณมัทธิวกัน:

  1. 1:22-23. “ทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ซึ่งตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะว่า ดูเถิด หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่า อิมมานูเอล (แปลว่าพระเจ้าทรงอยู่กับเรา) – จากอิสยาห์ 7:14
  2. 2:4-6 แล้วท่านให้ประชุมบรรดามหาปุโรหิตกับพวกธรรมาจารย์ของประชาชน ตรัสถามเขาว่า “ผู้เป็นพระคริสต์นั้นจะบังเกิดแห่งใด” เขาทูลว่า “ที่บ้านเบธเลเฮมแคว้นยูเดีย เพราะว่าผู้เผยพระวจนะได้เขียนไว้ ดังนี้ว่า บ้านเบธเลเฮมในแผ่นดินยูเดีย จะเป็นบ้านเล็กน้อยที่สุดในสายตาของบรรดาผู้ครองแผ่นดินยูเดียก็หามิได้ เพราะว่าเจ้านายคนหนึ่งจะออกมาจากท่าน ผู้ซึ่งจะครอบครองอิสราเอลชนชาติของเรา” – จากมีคาห์ 5:2
  3. 2:14-15. “ในเวลากลางคืนโยเซฟจึงลุกขึ้น พากุมารกับมารดาไปยังประเทศอียิปต์ และได้อยู่ที่นั่นจนเฮโรดสิ้นพระชนม์ ทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ซึ่งได้ตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะว่า เราได้เรียกบุตรของเราให้ออกมาจากอียิปต์” – จากโฮเชยา 11:1
  4. 2:17-18 “ครั้งนั้นก็สำเร็จตามพระวจนะที่ตรัสโดยเยเรมีย์ผู้เผยพระวจนะว่า ได้ยินเสียงในหมู่บ้านรามาห์ เป็นเสียงโอดครวญและร่ำไห้ คือนางราเชลร้องไห้คร่ำครวญ เพราะบุตรทั้งหลายของตน นางไม่รับฟังคำปลอบเล้าโลม เพราะบุตรทั้งหลายนั้นไม่มีแล้ว – จากเยเรมีย์ 31:15
  5. 3:3. ยอห์นผู้นี้แหละ ซึ่งตรัสถึงโดยอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะว่า “เสียงผู้ร้องในถิ่นทุรกันดารว่า จงเตรียมมรรคาแห่งพระเป็นเจ้า จงกระทำหนทางของพระองค์ให้ตรงไป” – จากอิสยาห์ 40:3
  6. 4:12-16. “ครั้นพระเยซูทรงทราบข่าวว่ายอห์นถูกจำไว้แล้ว พระองค์ก็เสด็จไปยังแคว้นกาลิลี แล้วย้ายที่ประทับจากเมืองนาซาเร็ธไปที่เมืองคาเปอรนาอุม ซึ่งอยู่ริมทะเลสาบที่เขตเผ่าเศบูลุนและนัฟทาลี เพื่อจะสำเร็จตามพระวจนะ ซึ่งตรัสไว้โดยอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะว่า แคว้นเศบูลุนและแคว้นนัฟทาลี ทางข้างทะเลฟากแม่น้ำจอร์แดนข้างโน้น คือกาลิลี แห่งบรรดาประชาชาติ ประชาชนผู้นั่งอยู่ในความมืด ได้เห็นความสว่างยิ่งใหญ่ และผู้ที่นั่งอยู่ในแดนและเงาแห่งความตาย ก็มีความสว่างขึ้นส่องถึงเขาแล้ว” – จากอิสยาห์ 9:1-2

สังเกตุดูจะเห็นมัทธิวปูพื้นการเสด็จมาเพื่อทำให้สมบูรณ์ตลอดสี่บทแรก ดังนั้นเมื่อพระเยซูตรัสว่าจะมาทำให้สมบูรณ์ มัทธิวต้องการให้เราเข้าใจว่ามีการนำร่องมาก่อน ธรรมบัญญัติและผู้เผยพระวจนะชี้มาที่พระเยซูตามที่พยากรณ์ แล้วผู้คนคิดว่าพระองค์มาเลิกล้างธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะได้อย่าง ไร? เพราะทั้งหมดชี้มาที่พระคริสต์ และพระองค์ทราบว่าพระราชกิจของพระองค์คือมาทำในสิ่งที่เปิดเผยไว้ล่วงหน้า ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ จำลูกา 24:44 ได้หรือไม่?

พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่เป็นถ้อยคำของเรา ซึ่งเราได้บอกไว้แก่ท่านทั้งหลาย เมื่อเรายังอยู่กับท่านว่า บรรดาคำที่เขียนไว้ในหมวดธรรมบัญญัติของโมเสส และในหมวดผู้เผยพระวจนะและในหมวดสดุดีกล่าวถึงเรานั้น จำเป็นจะต้องสำเร็จ” (ลูกา 24:44)

คุณคิดว่าคำสนทนานี้นานแค่ไหน? สามนาที? ผมคิดว่าไม่น่านาน ลองคิดดู ได้ยินพระเยซู ผู้เป็นพระเมสซิยาห์ เปิดพระคัมภีร์เดิมแล้วตรัสว่า “ดูสิ เราคือคนๆนั้น!”

บ่อยครั้งในพระวจนะ ถ้อยคำต่างๆมีได้มากกว่าหนึ่งความหมาย รวมถึงมีนัยสำคัญเพิ่มเข้ามา พระวจนะตอนนี้ก็ด้วย ไม่ต้องสงสัย ธรรมบัญญัติและผู้เผยพระวจนะชี้มาที่พระเยซู แต่ยังมีอีก สิ่งที่ย้ำชัดในคำเทศนาบนภูเขาคือสิทธิอำนาจในการสั่งสอน และในชีวิตของผู้ติดตามพระองค์ พระองค์อธิบายถึงจุดมุ่งหมายของธรรมบัญญัติและผู้เผยพระวจนะ พระวจนะในบทเรียนนี้ทำหน้าที่เป็นคำนำเข้าสู่มัทธิว 5:27-48 เมื่อพระเยซูวางให้เห็นชัดว่าธรรมบัญญัติคาดหวังสิ่งใด ถ้อยคำที่ตรัสว่า: “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า … ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า” เน้นชัดถึงสิทธิอำนาจในคำสอนของพระองค์เมื่อเทียบกับคำสอนของยุคนั้นที่ผู้ อื่นพูดไว้ก่อนหน้า พระเยซูประกาศชัดถึงความหมายของพระวจนะ ไม่ได้พูดถึงผู้อื่นเว้นแต่พระองค์เอง มองดีๆจะเห็นว่าพระเยซูไม่ได้สอนสิ่งใหม่ แต่สอนตามที่ธรรมบัญญัติโมเสสและผู้เผยพระวจนะสอนไว้ พวกเขาสอนอะไร? สอนว่าชีวิตที่ดำเนินอย่างชอบธรรมต่อหน้าพระเจ้า ต้องเป็นชีวิตที่เชื่อฟังอย่างหมดหัวใจ

ผมเห็นด้วยกับเพื่อนที่เป็นครู เขาบอกว่าความชอบธรรมที่พระเยซูเป็นและที่ตรัสไว้ตั้งแต่แรก คือความชอบธรรมในแบบ “ที่สาวกของพระองค์ต้องดำเนินชีวิตตามนั้น” พระองค์ไม่ได้ตรัสถึงความชอบธรรมที่จะมอบให้บนไม้กางเขนเหมือนตอนอื่นๆ แต่ในคำเทศนาบนภูเขา พระองค์มุ่งไปยังคนที่บอกว่าเป็นสาวก และประเด็นของพระองค์ตามที่ยากอบพูดออกจะเรียบง่าย : ถ้าเจ้าจะติดตามเรา การดำเนินชีวิตของเจ้าเป็นเรื่องสำคัญ!

การให้ความสำคัญของชีวิตที่ดำเนินตามคำเทศนาบนภูเขา ที่เราเรียก 12 ข้อแรกว่า “ผู้นั้นเป็นสุข” เพราะเราคาดหวังให้คริสเตียนทำตาม ดูมัทธิว 5:13-16 ที่จะเรียนในบทต่อไป อย่างที่พูดไป ทุกอย่างสรุปลงในที่ข้อ 16: “ท่าน ทั้งหลายก็เหมือนกับตะเกียง จงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขาได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่าน ผู้ทรงอยู่ในสวรรค์” จากข้อ 20 ไปพูดเรื่องห้ามฆ่าคน ห้ามล่วงประเวณี ห้ามหย่าร้าง ห้ามสาบาน ห้ามแก้แค้น และให้รักศัตรู พระเยซูทรงสอนให้ทำสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่แค่สอน ทรงสั่ง – ให้คนที่ฟังอยู่ – ทำตาม

มัทธิว 6 เปิดด้วยคำพูดว่า “จงระวัง อย่ากระทำศาสนกิจเพื่ออวดคนอื่น ถ้าทำอย่างนั้นท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์” มัทธิว 7 จบลงที่ : “มิ ใช่ทุกคนที่เรียกเราว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ จะได้เข้าในแผ่นดินสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเรา ผู้ทรงสถิตในสวรรค์จึงจะเข้าได้” มีหลายคนจะมาหาพระองค์ และเล่าว่าได้ “ทำ” หลายสิ่งในพระนามของพระองค์ พระเยซูตอบว่าอย่างไร? – ‘เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย เจ้าผู้กระทำความชั่ว จงไปเสียให้พ้นหน้าเรา” (มัทธิว 7:23) แล้วตรัสว่า “ผู้ใดที่ได้ยินคำเหล่านี้ของเรา และประพฤติตาม เขาก็เปรียบเสมือนผู้ที่มีสติปัญญา… แต่ผู้ที่ได้ยินคำเหล่านี้ของเราและไม่ประพฤติตาม เขาก็เปรียบเสมือนผู้ที่โง่เขลา” คำเทศนาบนภูเขาทั้งหมดส่วนใหญ่ไปตามแนวคิดว่าผู้ติดตามพระเยซูควรดำเนิน ชีวิตอย่างไร เพื่อนผมบอกว่าต้องขจัดอุปสรรคแห่งการเชื่อฟังออกไป ผมขอเพิ่มว่า “อย่าคิดว่าคุณชอบธรรมพอแล้ว แน่นอน ในพระคริสต์คุณเป็นคนชอบธรรม – แต่พระเยซูทรงเรียกให้คุณดำเนินชีวิตตามความชอบธรรมนั้นด้วย – อ.เปาโลสะท้อนในสิ่งเดียวกันเมื่อท่านตอบคำถามนี้ “ถ้าเช่นนั้นแล้วเราจะว่าอย่างไร ควรเราจะอยู่ในบาปต่อไป เพื่อให้พระคุณมีมากยิ่งขึ้นหรือ? (โรม 6:1) ไม่แน่นอน

ดังนั้น ขอให้ชัดเจนในคำสอนของพระเยซูเรื่องพระราชกิจแห่งความรอด ผมคิดว่าพระวจนะเป็นพยานอย่างดีถึงชีวิตของผู้ติดตามพระเยซู คือต้องสะท้อนให้เห็นถึงความชอบธรรมของพระผู้ช่วยให้รอด

อักษร หรือขีดเล็กขีดน้อย

หลังจากประกาศว่าพระองค์มาทำให้สมบูรณ์ หรือมาทำให้ธรรมบัญญัติสมบูรณ์ พระเยซูทรงยืนยันถึงคุณค่าของธรรมบัญญัติ ดูในข้อ18 : “เรา บอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ตราบใดที่ฟ้าและดินดำรงอยู่ แม้อักษรหนึ่งหรือขีดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากธรรมบัญญัติ จนกว่าสิ่งที่จะต้องเกิด ได้เกิดขึ้นแล้ว” ถ้อยคำนี้ย้ำถึง ความจริงว่าพระเยซูทรงมาทำให้ธรรมบัญญัติครบถ้วนสมบูรณ์ เราไม่ค่อยคิดกันว่าธรรมบัญญัติเป็นคำพยากรณ์ถึงพระคริสต์ได้ แต่ผู้เขียนหนังสือฮีบรูพูดไว้ นอกจากนั้นยังมีคำทำนายในธรรมบัญญัติที่มองไปข้างหน้าถึงการเสด็จมาของพระเม สซิยาห์ และพระราชกิจของพระองค์ มากกว่านั้น ในธรรมบัญญัติมีคำพยากรณ์ถึงการลงโทษและการคืนสู่สภาพดีของอิสราเอล สิ่งเหล่านี้จำต้องเกิดขึ้น

เราคิดเสมอว่าผู้เผยพระวจนะเท่านั้นที่พยากรณ์ได้ เรามองไปที่ธรรมบัญญัติโมเสสและเห็นกฎเกณฑ์ที่มีแต่นักกฎหมายเท่านั้นที่ ชื่นชอบ เรามองว่าเป็น “ของแข็งที่กินไม่อร่อย” แต่อยากให้ดูสิ่งที่พระเจ้าเปิดเผยแก่โมเสส แล้วจะเห็นว่าเล็งถึงพระเยซู

มันง่ายที่เราจะเห็นว่าผู้เผยพระวจนะชี้ไปที่พระเยซู แต่มันออกจะยากที่เห็นว่าธรรมบัญญัติก็ชี้ด้วย มีสามวิธีที่ธรรมบัญญัติชี้ไปที่พระคริสต์ :

  1. มีคำพยากรณ์อยู่ในหนังสือห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์เดิมเรื่องการเสด็จมา ของท่านผู้หนึ่ง (ปฐมกาล 3:15, ปฐมกาล 49:10, กันดารวิถี 24:17, เฉลยธรรมบัญญัติ 18:18) พระวจนะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นถ้อยคำของสิ่งที่ผู้เผยพระวจนะตระหนักดี
  2. อีกวิธีที่ธรรมบัญญัติชี้ไปที่พระเยซูคือสัญลักษณ์ของพิธีกรรมในระบอบ ศาสนาอิสราเอล เห็นได้ชัดในการถวายบูชา ผมไม่คิดว่าจะมีใครสงสัยเมื่อยอห์นพูดไว้ใน 1:29 …“จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับความผิดบาปของโลกไปเสีย” พูดถึงแกะที่บริสุทธิ์ ไร้ตำหนิที่อิสราเอลนำมาถวายบูชา ครั้งแล้วครั้งเล่า
  3. แต่ยังมีแบบที่สามที่คนมักจะมองข้าม คำสอนและหน้าที่ของธรรมบัญญัติยังชี้ไปที่พันธกิจในการสั่งสอนของพระคริสต์ ตอนจบของคำเทศนาบนภูเขา ผู้คนต่างก็อัศจรรย์ใจในคำสอนของพระองค์ ตลอดคำเทศนาบนภูเขา พระเยซูไม่ได้พูดถึงสิทธิอำนาจของธรรมบัญญัติ พระองค์พูดถึงสิทธิอำนาจของพระองค์ในฐานะผู้กล่าวพระคำของพระเจ้า ด้วยความเคารพ หลายๆทาง เหตุการณ์ในคำเทศนาบนภูเขานำร่องมาด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนภูเขาซีนาย ที่นั่นโมเสสขึ้นไปบนภูเขา ลงมา และสั่งสอนคนอิสราเอล และที่นี่พระเยซูเสด็จขึ้นไปบนภูเขา และสอนคนอิสราเอลที่มานั่งฟังกันอยู่ที่พระบาท

ถ้ายากจะเข้าใจว่าเหตุการณ์นั้นดูไม่เหมือนเป็นคำพยากรณ์ สามารถเข้าใจได้ว่าเป็น “เหตุการณ์ที่ “เล็งถึง” เหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซู ลองดูในมัทธิว 2:15 เป็นข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ของโฮเชยา ซึ่งสามารถตีความโดยมัทธิวว่าเป็นถ้อยคำที่เป็นคำพยากรณ์

ไม่ใช่คำพยากรณ์เท่านั้นที่มองไปข้างหน้า แต่เหตุการณ์ต่างๆด้วย บางทีเหตุการณ์ที่เป็นคำพยากรณ์ยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ใหนังสืออพยพ การช่วยกู้ครั้งยิ่งใหญ่พยากรณ์ไปถึงความรอดที่เราได้รับ และจะได้รับอย่างสมบูรณ์ในสวรรค์ ในวันที่ผู้เชื่อมารวมกันต่อหน้าพระบัลลังก์ พวกเขาจะร้องเพลงเก่าเพลงหนึ่ง “บทเพลงของโมเสส”!5

พระเยซูจึงประทับอยู่ที่นี่ต่อหน้าพวกสาวกและประกาศถึงคุณค่าที่มีมายาว นานของธรรมบัญญัติ พระองค์ตรัสว่ามันจะจบลงอย่างครบถ้วน อย่ามัวแต่เขวไปกับจุด ขีดเล็กขีดน้อย หรือตัวอักษร พระเยซูทรงหมายถึงตัวอักษรที่เล็กที่สุดของภาษาฮีบรู และส่วนย่อยเล็กๆของตัวอักษร นี่เป็นแค่องค์ประกอบ เป็นการขยายความเพิ่ม เพื่อเน้นไปที่ประเด็นของพระองค์ อะไรคือประเด็นของพระองค์? “การเปิดเผยของพระเจ้าต่อโมเสสที่บนภูเขาซีนายชี้มาที่พระองค์ และทั้งหมดนั้นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์” เหมือนโฆษณากาแฟ “รสชาตเยี่ยมจนหยดสุดท้าย”

พระองค์จึงตรัสไว้ในข้อ 19-20:

“เหตุฉะนั้น ผู้ใดได้ทำให้ข้อเล็กน้อยสักข้อหนึ่งในธรรมบัญญัตินี้เบาขึ้น ทั้งสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย ผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้น้อยที่สุดในแผ่นดินสวรรค์ แต่ผู้ใดที่ประพฤติและสอนตามธรรมบัญญัติ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินสวรรค์ เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่าน ไม่ยิ่งกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์ และพวกฟาริสี ท่านจะไม่มีวันได้เข้าสู่แผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5:19-20)

พระเยซูกำลังทำสิ่งใด? พระองค์ทรงนำเราย้อนไปที่การเชื่อฟังธรรมบัญญัติว่าช่วยเราให้รอดได้หรือ? ไม่เลย พระองค์กำลังเล็งไปที่การเชื่อมโยงระหว่างความซื่อสัตย์ เชื่อฟังหมดใจ และคนที่คิดว่ามีที่อยู่ในสวรรค์เพราะสร้างบ้านเอาเอง คิดเองว่าตนนั้นชอบธรรม

ถ้าพวกสาวกเชื่อว่าเขาหาที่บนสวรรค์ได้เองโดยทำตามกฎความชอบธรรมของตนเอง แทนที่จะเชื่อฟังพระเยซูอย่างหมดใจ พวกเขาก็คิดผิด ทัศนคติเช่นนี้ไม่มีส่วนในแผ่นดินของพระเจ้า แต่ความชอบธรรมในแผ่นดินของพระเจ้าต้องเป็นไปตามธรรมบัญญัติกำหนด ต้องเป็นไปตามการเชื่อฟังอย่างหมดใจที่เป็นคุณลักษณะที่เกิดจากความรักของพระเจ้า

ต่อไปให้ตั้งใจฟังให้ดี ขอย้ำอีกครั้ง อย่าใส่เข้าไปในปาก หรือเพิ่มเติมเข้าไปในสิ่งที่ไม่ได้พูด – พระ เยซูไม่ได้ตรัสว่าคุณต้องหาทางปฏิบัติเพื่อได้ความชอบธรรมพอเข้าสู่แผ่นดิน ของพระเจ้า เพิ่มความชอบธรรมเข้าไปมากกว่าที่พวกธรรมาจารย์และฟาริสีเพิ่ม แต่พระองค์ทรงมุ่งเน้นไปยังบรรดาคนที่คิดว่าความชอบธรรมของพวกเขาที่ผลิตเอง ที่บ้าน สามารถพาพวกเขาเข้าประตูสวรรค์ได้ เพราะพวกเขาได้ลงมือตามปฏิบัติแล้ว ประเด็นของพระเยซูคือ ในทางตรงข้าม ความชอบธรรมที่เกิดจากหัวใจที่เต็มใจเชื่อฟัง เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด

ประเด็นของพระเยซูไม่ได้พูดถึงความชอบธรรมในแบบที่เราคุ้นเคยจากหนังสือ โรมหรือกาลาเทีย แต่พระเยซูทรงพูดถึงบริบทของพันธสัญญาระหว่างพระเจ้าและอิสราเอล – เป็นพันธสัญญาที่เรียกร้องให้เชื่อฟังอย่างเต็มที่และเต็มใจเหมือนกับที่ พระองค์เป็น:

ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4-5 ซึ่งเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่ศูนย์กลางแห่งพระวจนะของศาสนาอิสราเอล “โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิดพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นพระเจ้าเดียว พวกท่านจงรักพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจและสิ้นสุดกำลังของ ท่าน”

เหตุฉะนี้พึงทราบเถิดว่า พระเยโฮวาห์พระเจ้าของพวกท่านเป็นพระเจ้า เป็นพระเจ้าสัตย์ซื่อผู้ทรงรักษาพันธสัญญาและความรักมั่นคง ต่อบรรดาผู้ที่รักพระองค์และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ ถึงพันชั่วอายุคน (เฉลยธรรมบัญญัติ 7:9)

“ดูก่อน คนอิสราเอล พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทรงประสงค์ ให้ท่านกระทำอย่างไร คือให้ยำเกรงพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ให้ดำเนินตามทางทั้งปวงของพระองค์ ให้รักพระองค์ ให้ปรนนิบัติพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิต สุดใจของท่านทั้งหลาย” (เฉลยธรรมบัญญัติ 10:12)

ข้าพเจ้าขออัญเชิญสวรรค์และ โลกให้เป็นพยานต่อท่านในวันนี้ว่า ข้าพเจ้าตั้งชีวิตและความตาย พระพรและคำสาปแช่งไว้ต่อหน้าท่าน เพราะฉะนั้นท่านจงเลือกเอาข้างชีวิต เพื่อท่านและลูกหลานของท่านจะได้มีชีวิตอยู่ ด้วยมีความรักต่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน เชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์ และติดพันอยู่กับพระองค์ กระทำเช่นนั้นจะได้ชีวิตและความยืนนาน เพื่อท่านจะได้อยู่ในแผ่นดินซึ่งพระเจ้าปฏิญาณ แก่บรรพบุรุษของท่าน คือแก่อับราฮัม แก่อิสอัค และแก่ยาโคบ ว่า จะประทานแก่ท่านเหล่านั้น” (เฉลยธรรมบัญญัติ 30:19-20)

แต่อิสราเอลไม่ได้รักพระเจ้าจากใจ พวกเขาหันไปทันทีจากมาตรฐานความชอบธรรมของพระองค์ไปเป็นแบบของตนเอง ถึงจะดูเหมือนเป็นความชอบธรรมของพระเจ้า แต่มีการผ่าตัดใหญ่ในนั้น ผ่าเอาหัวใจออกไป! และ เมื่อทั้งชาติสร้างความชอบธรรมให้ตนเอง เปลี่ยนมาตรฐานของพระเจ้าจากเชื่อฟังอย่างสุดใจ ไปเป็นสิ่งที่คนอิสราเอลทำได้ตามเช็คลิสท์ พวกเขายิ่งออกห่างไกลไปจากพระเจ้ามากขึ้นและมากขึ้น เมื่อพระเจ้าส่งผู้เผยพระวจนะไปหา และย้ำในคำพูดเดิม “ฉีกใจของเจ้า ไม่ใช่ฉีกเสื้อผ้า!”

ฟังสิ่งที่ผู้พระวจนะพูด “ศาสนา” ไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวกับการดำเนินชีวิตที่ชอบธรรมจำเพาะพระพักตร์พระเจ้า คุณไม่อาจสร้างมาตรฐานของตนเองและนำเสนอต่อพระเจ้าว่านี่คือชีวิตแห่งความ ชอบธรรมของคุณ

ดูก่อนท่านผู้ปกครองเมืองโสโดม จงฟังพระวจนะของพระเจ้า ดูก่อนท่านประชาชนเมืองโกโมราห์ จงเงี่ยหูฟังพระธรรมของพระเจ้าของเรา พระเจ้าตรัสว่า “เครื่องบูชาอันมากมายของเจ้านั้น จะเป็นประโยชน์อะไรแก่เรา เราเอือมแกะตัวผู้อันเป็นเครื่องเผาบูชา และไขมันของสัตว์ที่ขุนไว้นั้นแล้ว เรามิได้ปีติยินดีในเลือดของวัวผู้ หรือลูกแกะหรือแพะผู้ “เมื่อเจ้าเข้ามาเฝ้าเรา ผู้ใดขอให้เจ้าทำอย่างนี้ ที่เหยียบย่ำเข้ามาในบริเวณพระนิเวศของเรา อย่านำเครื่องถวายอนิจจังมาอีกเลย เครื่องบูชาอันเป็นสิ่งน่าเกลียดน่าชังต่อเรา วันเทศกาลข้างขึ้นและวันสะบาโตและการเรียกประชุม เราทนต่อความบาปชั่วและการประชุมตามพิธีไม่ได้อีก ใจของเราเกลียดวันเทศกาลข้างขึ้นของเจ้าและวันเทศกาล ตามกำหนดของเจ้า มันกลายเป็นภาระแก่เรา เราแบกเหน็ดเหนื่อยเสียแล้ว เมื่อเจ้ากางมือของเจ้าออก เราจะซ่อนหน้าของเราเสียจากเจ้า แม้ว่าเจ้าจะอธิษฐานมากมาย เราจะไม่ฟัง มือของเจ้าเปรอะไปด้วยโลหิต จงชำระตัว จงทำตัวให้สะอาด จงเอากรรมชั่วของเจ้าออกไปให้พ้น จากสายตาของเรา จงเลิกกระทำชั่ว จงฝึกกระทำดี จงแสวงหาความยุติธรรม จงบรรเทาผู้ถูกบีบบังคับ จงป้องกันให้ลูกกำพร้าพ่อ จงสู้ความเพื่อหญิงม่าย (อิสยาห์ 1:10-17)

และองค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “เพราะชนชาตินี้เข้ามาใกล้ด้วยปากของเขา และให้เกียรติเราด้วยริมฝีปากของเขา แต่เขาให้จิตใจของเขาห่างไกลจากเรา เขายำเกรงเราเพียงแต่เหมือนเป็นบัญญัติของมนุษย์ที่ท่องจำกันมา เพราะฉะนั้น ดูเถิด เราจะกระทำ สิ่งมหัศจรรย์กับชนชาตินี้อีก ประหลาดและอัศจรรย์ สติปัญญาของคนมีปัญญาของเขาจะพินาศไป และความเข้าใจของคนที่เข้าใจจะถูกปิดบังไว้” (อิสยาห์ 29:13-14)

“ข้าพเจ้าจะนำอะไรเข้ามาเฝ้าพระเจ้า และกราบไหว้พระเจ้าเบื้องสูง ควรข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยเครื่องเผาบูชาหรือ ด้วยลูกวัวอายุหนึ่งขวบหลายตัวหรือ พระเจ้าจะทรงพอพระทัยการถวายแกะเป็นพันๆตัว และธารน้ำมันหลายหมื่นสายหรือ ควรที่ข้าพเจ้าจะถวายบุตรหัวปีชำระการ ทรยศของข้าพเจ้าหรือ คือถวายลูกของข้าพเจ้าชำระบาปแห่งวิญญาณของข้าพเจ้า” มนุษย์เอ๋ย พระองค์ทรงสำแดงแก่เจ้าแล้วว่าอะไรดี และพระเจ้าทรงมีพระประสงค์อะไรจากเจ้า นอกจากให้กระทำความยุติธรรมและรักสัจกรุณา และดำเนินชีวิตด้วยความถ่อมใจไปกับพระเจ้าของเจ้า (มีคาห์ 6:6-8)

“เราเกลียดชัง เราดูหมิ่นบรรดาวันเทศกาลของเจ้า และไม่ชอบในการประชุมตามเทศกาลของเจ้าเลย แม้ว่าเจ้าถวายเครื่องเผาบูชาและธัญญบูชาแก่เรา เราก็ไม่ยอมรับสิ่งเหล่านี้ และศานติบูชาด้วยสัตว์อ้วนพีของเจ้านั้น เราจะไม่มองดู จงนำเสียงเพลงของเจ้าไปเสียจากเรา เราจะไม่ฟังเสียงพิณใหญ่ของเจ้า แต่จงให้ความยุติธรรมหลั่งไหลลง อย่างน้ำ และให้ความชอบธรรมเป็นอย่างลำธารที่ไหลอยู่เป็นนิตย์ “โอ พงศ์พันธุ์อิสราเอลเอ๋ย เจ้าได้นำเครื่องบูชาถวายแก่เราในถิ่นทุรกันดารสี่สิบปีหรือ เจ้าทั้งหลายจะหามสัคคูทกษัตริย์ของเจ้า และไควันดาวที่เป็นเจ้าของเจ้า รูปเคารพทั้งสองของเจ้าซึ่งเจ้าได้ทำไว้สำหรับตัวเจ้าเอง เพราะฉะนั้น เราจะนำเจ้าให้ไปเป็นเชลย ณ ที่เลยเมืองดามัสกัสไป” พระเยโฮวาห์ ซึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าจอมโยธา ตรัสดังนี้แหละ (อาโมส 5:21-27)

“โอ อยากให้มีสักคนหนึ่งในพวกเจ้าซึ่งจะปิดประตูเสีย เพื่อว่าเจ้าจะไม่ก่อไฟบนแท่นบูชาของเราเสียเปล่า พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า เราไม่พอใจเจ้าและเราจะไม่รับเครื่องบูชาจากมือของเจ้า” (มาลาคี 1:10)

เสียงร้องจากใจของพระวจนะข้อนี้ แสดงให้เราเห็นว่าพระเจ้าทรงมีพระทัยให้อิสราเอลเชื่อฟังพระองค์ด้วยความรัก ที่มีให้พระองค์ ตรงนี้อย่าเข้าใจผิดนะครับ พระเจ้าทรงมีพระทัยให้อิสราเอลเชื่อฟังพระองค์ด้วยความรักที่พวกเขามีให้ พระองค์ พระองค์ไม่ได้แค่หวังให้เขาทำตามตัวอักษรในธรรมบัญญัติ อย่างที่คำพยานของผู้เผยพระวจนะบ่งไว้ เมื่อพวกเขาเชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้ชอบธรรมจริงเพราะทำตามตัวอักษรของธรรม บัญญัติ มาลาคีจึงพูดกับพวกเขาว่า “พวกเขาดูหมิ่นโต๊ะของพระเจ้า” พวกเขาตอบว่า “อย่างไรล่ะ? เราก็นำของมาถวายบนโต๊ะแล้ว” มาลาคีตอบว่า “และในใจเจ้าก็บอกว่าอ่อนระอาใจ” พวกเขารักษาตามที่ธรรมบัญญัติสั่ง แต่จิตใจเอาไปขายที่ในตลาดมืดแล้ว

น่าเศร้า หลายสิบปีในถิ่นทุนกันดารไม่ได้ช่วยรักษาโรคบาปของชนชาตินี้ ที่จริง แม้จะกำจัดรูปเคารพออกไปได้ แต่กลับผลักพวกเขาจมลึกลงไปในพิธีกรรมเพื่อรักษาธรรมบัญญัติ พวกเขามองข้ามความจริงจากพระวจนะในมาลาคีหมดสิ้น พวกเขาตระหนักดีว่าพระเจ้าจะลงโทษถ้าไม่ทำตามพระบัญญัติ ถึงขั้นยกระดับขึ้นเท่าเทียมกับพระเจ้า และรักษาเอาไว้ตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาเอง

ประเด็นไม่ใช่ว่าพวกเขาทำให้ธรรมบัญญัติทำตามได้ง่ายขึ้น เพราะธรรมบัญญัตินั้นทำตามได้อยู่แล้ว สังเกตให้ดี สมบูรณ์แบบด้วยกำลังของตนเองไม่อาจทำได้ แต่พระเจ้าได้จัดเตรียมหนทางให้ “ภายใน” ธรรมบัญญัติ หนทางสำหรับความไม่สมบูรณ์แบบของอิสราเอลด้วยพระคุณที่เข้ามาปกคลุมไว้ – การยอมเป็นเครื่องถวายบูชา โมเสสจึงสามารถพูดในเฉลยธรรมบัญญัติ 30:11-14:

11 “เพราะว่าพระบัญญัติซึ่งข้าพเจ้าบัญชาท่านในวันนี้ สำหรับท่านไม่ยากเกินไป และไม่ห่างเหินเกินไปด้วย 12 มิใช่พระบัญญัตินั้นอยู่บนสวรรค์ แล้วท่านจะกล่าวว่า ‘ใครจะแทนเราขึ้นไปบนสวรรค์และนำมาให้เรา และกระทำให้เราได้ฟังและประพฤติตาม’ 13 มิใช่อยู่พ้นทะเล ซึ่งท่านจะกล่าวว่า ‘ใครจะข้ามทะเลไปแทนเราและนำมาให้เรา และกระทำให้เราได้ฟังและประพฤติตาม’ 14 แต่ถ้อยคำนั้นอยู่ใกล้ท่านทั้งหลายมาก อยู่ในปากของท่าน และอยู่ในใจของท่าน ฉะนั้นท่านจึงกระทำตามได้” (เฉลยธรรมบัญญัติ 30:11-14)

พระเจ้าตั้งพระทัยให้อิสราเอลรักษาธรรมบัญญัติ หมายถึงพยายามทำให้ได้ตามมาตรฐานของพระบิดา ยอมถ่อมใจลง และร้องขอพระคุณแห่งการให้อภัยของพระเจ้าเมื่อคุณทำบาปทั้งตั้งใจหรือไม่ ตั้งใจก็ตาม

ปัญหาไม่ใช่ว่าพวกฟาริสีทำให้ธรรมบัญญัติทำตามได้ง่ายขึ้น แต่พวกเขาปรับเปลี่ยนมาตรฐานในการประเมินความชอบธรรมเสียใหม่ ขณะที่ในธรรมบัญญัติมาตรฐานนั้นมาจากพระเจ้าพระบิดา (เลวีนิติ 19:2): “…เจ้าทั้งหลายต้องบริสุทธิ์ เพราะเราพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์”6 พวกฟาริสีกล่าวว่า “ไม่หรอก เราจะตัดสินใจเองว่าบริสุทธิ์แปลว่าอะไร และเราตัดสินใจว่าแค่ถือตามธรรมบัญญัติก็พอ”

เราเห็นนัยนี้ในพระคัมภีร์ใหม่ ที่พระเยซูตรัสใน ลูกา 18:9: “สำหรับบางคนที่ไว้ใจในตัวเองว่าเป็นคนชอบธรรม และได้ดูหมิ่นคนอื่นนั้น พระองค์ตรัสคำอุปมานี้”

คนพวกนี้หาความชอบธรรมให้ตนเอง คำจำกัดความยิ่งใหญ่สำหรับคนพวกนี้คือมัทธิว 23 พวกเขานำธรรมบัญญัติโมเสสมายกระดับการถือรักษาขึ้นให้ไปตามมาตรฐานความชอบ ธรรม และนอกจากถือรักษาแล้ว ยังสร้างกรอบประเพณีเข้าไปล้อมไว้ด้วย ซึ่งที่จริงคือหลบเลี่ยงไม่ทำตามที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้

ไม่มีที่ไหนเห็นชัดเท่ากับการโต้แย้งกันเรื่องโกระบาน ในมาระโก 7:5-11:

พวกฟาริสีกับพวกธรรมาจารย์จึงทูลถาม พระองค์ว่า “ทำไมพวกสาวกของท่านไม่ประพฤติตามคำสอนที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่รับประทานอาหารด้วยมือเป็นมลทิน” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “อิสยาห์ได้พยากรณ์ถึงพวกเจ้าคนหน้าซื่อใจคด ก็ถูกตามที่ได้เขียนไว้ว่า ประชาชนนี้ให้เกียรติเราแต่ปาก ใจของเขาห่างไกลจากเรา เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาตู่ว่าเป็นพระดำรัสสอนของพระเจ้า เจ้าทั้งหลายละธรรมบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามถ้อยคำของมนุษย์ที่เขาสอนต่อๆกันมานั้น” พระองค์ตรัสแก่เขาว่า “เหมาะจริงนะ ที่เจ้าทั้งหลายได้ละทิ้งธรรมบัญญัติของพระเจ้า เพื่อจะได้ถือตามคำสอนที่ตนรับมาจากบรรพบุรุษ เพราะโมเสสได้สั่งไว้ว่า ‘จงให้เกียรติบิดามารดาของเจ้า’ และ ‘ผู้ใดประณามบิดามารดาจะต้องมีโทษถึงตาย’ แต่พวกเจ้ากลับสอนว่า ‘ผู้ใดจะกล่าวแก่บิดามารดาว่า “สิ่งใดของข้าพเจ้าซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่ท่าน สิ่งนั้นเป็นโกระบาน'” (แปลว่าเป็นของถวายแด่พระเจ้าแล้ว) (มาระโก 7:5-11)

อะไรคือความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และฟาริสี? ความชอบธรรมที่มีไว้ให้ตนเอง เป็นความชอบธรรมในแบบของมนุษย์ เป็นการนำความชอบธรรมของพระเจ้าลงมา ปรับรสชาตด้วยน้ำตาลเทียม มันหวานก็จริง แต่มันทำลายจิตวิญญาณของคุณ

พระเยซูทรงทำอย่างไร? ทรงให้สาวกของพระองค์เรียนรู้ถึงความชอบธรรมในแบบที่ต้องเป็นตามลักษณะ “ความชอบธรรม” ที่แตกต่าง ต้องดีกว่าแบบของพวกธรรมาจารย์และฟาริสี – ต้องดีแบบไหน? ต้องผุดขึ้นมาจากจิตใจ

พระเยซูทรงบอกบาเรียนหนุ่มในมัทธิว 22:37: “พระเยซูทรงตอบเขาว่า “จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า” ทำไม พระเยซูทรงให้บัญญัตินี้เป็นบัญญัติข้อใหญ่? เพราะถ้าใจถูกต้อง สิ่งที่ออกมาจะเป็นชีวิตที่พอพระทัยพระเจ้า อย่างที่พระเยซูตรัสในมัทธิว 15:18 “แต่สิ่งที่ออกจากปากก็ออกมาจากใจ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน”

ยากอบ น้องชายพระเยซู นำแนวคิดนี้ไปใส่ไว้ในหนังสือเล่มเล็กของท่านเมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและการงาน

แต่จะเห็นว่านี่เป็นเสียงเรียกร้องจากผู้เผยพระวจนะเช่นกัน :

“พระเจ้าตรัสว่า ดูเถิด วันเวลาจะมาถึง ซึ่งเราจะทำพันธสัญญา ใหม่กับประชาอิสราเอลและประชายูดาห์ ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราได้กระทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย เมื่อเราจูงมือเขาเพื่อนำเขาออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ เป็นพันธสัญญาของเราซึ่งเขาผิด ถึงแม้ว่าเราได้เป็นสามีของเขา พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ แต่นี่จะเป็นพันธสัญญาซึ่งเราจะกระทำกับประชาอิสราเอลภายหลังสมัยนั้น พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ เราจะบรรจุพระธรรมไว้ในเขาทั้งหลาย และเราจะจารึกมันไว้บนดวงใจของเขาทั้งหลาย และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา” (เยเรมีย์ 31:31-33)

“เราจะให้ใจใหม่แก่เจ้าและเราจะบรรจุ จิตวิญญาณใหม่ไว้ในเจ้า เราจะนำใจหินออกไปเสียจากเนื้อของเจ้า และให้ใจเนื้อแก่เจ้า และเราจะใส่วิญญาณของเราภายในเจ้า และกระทำให้เจ้าดำเนินตามกฎเกณฑ์ของเรา และให้รักษากฎหมายของเราและกระทำตาม” (เอเสเคียล 36:26-27)

สรรเสริญพระเจ้าที่เราได้รับความรอด พระเยซูทรงทำสิ่งนั้นสำเร็จลงที่บนกางเขน และบัดนี้พระองค์ทรงเรียกผู้เชื่อทั้งหลายให้ติดตามพระองค์ไป และให้การงานดีของเราส่องสว่างไปยังผู้อื่นเพื่อพระองค์จะได้รับพระสิริ

เราต้องถามตัวเองในฐานะผู้เชื่อที่อ้างว่าเป็นผู้ติดตามพระเยซู ชีวิตของเราแสดงถึงความชอบธรรมที่ออกมาจากใจหรือเปล่า หรือเราแค่หาความชอบธรรมให้ตัวเองโดยลดมาตรฐานของพระเจ้าลงแทนที่จะทำตามพระ บัญญัติ?

เมื่อเราขอบคุณพระเจ้าสำหรับอาหาร การขอบพระคุณนั้นมาจากใจที่สำนึกในการจัดเตรียมของพระเจ้า หรือเราแค่ทำในสิ่งที่คริสเตียนควรทำจะได้ไม่รู้สึกผิด?

เมื่อเรารับขนมปังในพิธีมหาสนิท เรากำลังระลึกถึงพระคริสต์จริงหรือ หรือเราแค่ทำในสิ่งที่คนในโบสถ์อื่นๆเขาทำกันในวันอาทิตย์?

เมื่อเราถวายทรัพย์ เราให้ด้วยความจริงใจหรือเปล่าว่าที่จริงแล้วทุกสิ่งที่เรามีเป็นของพระ เจ้า? เมื่อผมถวาย ผมไม่ได้ให้คืนกลับพระองค์จากบางส่วนที่พระองค์ให้มา ไม่เลย เมื่อผมถวาย ผมกำลังอารักขาทรัพย์ในแบบเดียวกับนายธนาคารจัดการกับบัญชีเงินฝาก

เมื่อเราปฏิเสธไม่ให้เงินช่วยคนจรจัด เพราะกลัวว่าเขาจะเอาไปซื้อเหล้า แต่กลับใช้เป็นข้ออ้างที่จะไม่ยอมให้เงินคนจน ผมต้องถามตัวเอง ผมกำลังตกลงไปในกับดักเดียวกับพวกฟาริสีหรือเปล่า?

เมื่อผมมองหาบาปหลายอย่างในชีวิตไม่เจอเพื่อจะได้สารภาพ ผมก็ละเลยความบาปของตนเอง แต่ก็สารภาพไปเผื่อว่ามี นี่เป็นการแสดงความเสียใจออกจากจิตใจหรือไม่?

ผมตบไหล่ตัวเองแล้วบอกว่าไม่เคยมีความคิดฆ่าพี่น้องบางคนในหัว แต่ยังกักเก็บความเกลียดชังที่มีต่อเขา ปฏิเสธไม่ยอมไปพูดด้วยตามที่พระคัมภีร์บอก แต่บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร ไม่ได้ไปฆ่าเขาสักหน่อย

ผมให้ความเป็นธรรมอย่างสัตย์ซื่อหรือเปล่าในการเจรจาธุรกิจ เพราะลูกค้าไม่ใช่คริสเตียน? หรือไว้รอไปโบสถ์ก่อนค่อยสารภาพทีหลัง

ผมทำถูกหรือเปล่าที่ไม่ไปข้องเกี่ยวหรือมีส่วนร่วมกับพระกายของพระคริสต์ เพราะต้องให้ครอบครัวมาก่อน? ผมละเลยครอบครัวหรือเปล่าเพื่อให้ “งานของพระเจ้า” มาก่อน?

ความชอบธรรมสำหรับผมหน้าตาเป็นอย่างไรในมหาวิทยาลัย? ผมทำถูกหรือเปล่าที่ทำตัวร้ายๆไปกับพวกเขาแล้วพูดว่า “ที่ทำแบบนี้ เพื่อจะได้รู้จักพวกเขาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นพยานกับพวกเขาได้?”

พี่น้องครับ เราคงมีคำถามแบบนี้ไม่จบไม่สิ้น แต่ทุกคนจะพบจุดศูนย์กลางในคำถามเดียว – ฉันรักพระเจ้าของฉันสุดจิตสุดใจ สุดกำลัง สุดความคิดหรือเปล่า? เพราะชีวิตแบบนั้นจะนำพระสิริยิ่งใหญ่ไปถึงพระองค์ เป็นความชอบธรรมที่มีแต่ดีขึ้นทางเดียว

ปิดท้ายด้วยคำพูดของนักวิชาการพระคัมภีร์ท่านหนึ่ง :

“ความชอบธรรมที่พระเยซูตรัส ไม่ใช่ความชอบธรรมของชีวิตที่มีเหนือความชอบธรรมแห่งความเชื่อ แต่ความชอบธรรมของชีวิตจะสำแดงถึงความชอบธรรมแห่งความเชื่อ คำเทศนาบนภูเขาเป็นการตั้งต้นการงานแท้จริงของความเชื่อในพระคริสต์ เทียบกับการงานในแบบอื่นๆ”7


1 172 ลิขสิทธิ์ของ- Copyright 2005 by Community Bible Chapel, 418 E. Main Street, Richardson, TX 75081 เป็นต้นฉบับที่ปรับใหม่ของบทเรียนต่อเนื่องของพระกิตติคุณมัทธิวบทที่ 18 จัดเตรียมโดยสตีเวน เอช ซานเชส 22 มิถุนายน 2003 สามารถนำไปใช้ในการศึกษาและการสอนได้เท่านั้น ทางคริสตจักร Community Bible Chapel เชื่อว่าข้อมูลในบทเรียนนี้เป็นจริงและถูกต้องตามพระวจนะในพระคัมภีร์ และไม่ได้หวงห้ามถ้าต้องการนำไปใช้เพื่อการศึกษา หรือสอนพระวจนะ (เป็นหนึ่งในพันธกิจของ Community Bible Chapel โดยพระคุณของพระเจ้า)

2 173 พระวจนะในภาษาอังกฤษนำมาจาก NET Bible, BETA 2, Biblical Studies Press, 1994, unless otherwise noted.

3 174 See D. A. Carson, “Matthew,” The Expositor’s Bible Commentary, Vol. 8 (Grand Rapids, Michigan: The Zondervan Corp., 1984), p 143, ดี เอ คาร์ลสัน มองว่าพระเยซูทรงทำให้ธรรมบัญญัติสมบูรณ์ในมุมที่ชี้มาที่พระองค์เหมือนคำ พยาการณ์

4 175 Leon Morris, The Gospel According to Matthew (Grand Rapids: Eerdmans, 1992) p. 108.

5 176 Isaiah 2:3; Psalms 25:4-5, 12; 27:11; 32:8; 34:11; 45:4; 51:13; 86:11; 90:12; 94:12; 105:22, 119; 132:12; 143:10; Jeremiah 31:34; Micah 4:2.

6 177 Leviticus 20:7, 26; 1 Peter 1:15-16.

7 178 R. C. H. Lenski, The Interpretation of St. Matthew’s Gospel (Minneapolis, Minnesota: Augsburg Publishing House, 1943).

Related Topics: Dispensational / Covenantal Theology

Report Inappropriate Ad