MENU

Where the world comes to study the Bible

2. การเดินทางแสนมหัศจรรย์ทั้งสอง (มัทธิว 2:1-23)

Related Media

มัทธิว 2:1-231

พระเยซูได้ทรงบังเกิดที่บ้านเบธเลเฮ มแคว้นยูเดียในรัชกาลของกษัตริย์เฮโรด ภายหลังมีพวก โหราจารย์จากทิศตะวันออกมายังกรุงเยรูซาเล็มถามว่า “กุมารผู้ที่บังเกิดมาเป็นกษัตริย์ของ ชนชาติยิวนั้นอยู่ที่ไหน เราได้เห็นดาวของท่านปรากฏขึ้น เราจึงมาหวังจะ นมัสการท่าน” ครั้นกษัตริย์เฮโรด ได้ยินดังนั้นแล้ว ก็วุ่นวายพระทัย ทั้งชาวกรุงเยรูซาเล็ม ก็พลอยวุ่นวายใจไปด้วย แล้วท่านให้ประชุมบรรดามหาปุโรหิตกับพวกธรรมาจารย์ ของประชาชนตรัสถามเขาว่า “ผู้เป็นพระคริสต์นั้น จะบังเกิดแห่งใด” เขาทูลว่า “ที่บ้านเบธเลเฮมแคว้นยูเดีย เพราะว่าผู้เผยพระ วจนะได้เขียนไว้ดังนี้ว่า บ้านเบธเลเฮม ในแผ่นดินยูเดีย จะ เป็นบ้านเล็กน้อยที่สุด ในสายตาของบรรดาผู้ครองแผ่นดินยูเดีย ก็หามิได้ เพราะว่าเจ้านายคนหนึ่งจะออกมาจากท่านผู้ซึ่งจะครอบครองอิสราเอล ชนชาติของเรา” แล้วเฮโรดจึงเชิญพวกโหราจารย์เข้ามาเป็นการลับ ถามเขาได้ความถ้วนถี่ถึงเวลาที่ดาวนั้นได้ ปรากฏขึ้น แล้วท่าน ได้ให้ พวกโหราจารย์ ไปยังบ้านเบธเลเฮมสั่งว่า “จงไปค้นหากุมาร นั้นเถิด เมื่อพบแล้วจงกลับมาแจ้งแก่เรา เพื่อเรา จะได้ไปนมัสการท่านด้วย” โหราจารย์ เหล่านั้นจึงไปตามรับสั่ง และดาวซึ่งเขาได้เห็นเมื่อ ปรากฏขึ้นนั้นก็ได้นำหน้าเขาไป จนมาหยุดอยู่เหนือ สถานที่ที่กุมารอยู่นั้น เมื่อพวกโหราจารย์ ได้เห็นดาวนั้นแล้ว ก็มีความยินดี ยิ่งนัก ครั้นเข้าไป ในเรือนก็พบกุมารกับนางมารีย์มารดา จึงกราบถวายนมัสการกุมารนั้น แล้วเปิดหีบหยิบทรัพย์ของ เขาออกมาถวายแก่กุมาร เป็นเครื่อง บรรณาการ คือ ทองคำ กำยาน และมดยอบ แล้วพวก โหราจารย์ได้ยินคำเตือนใน ความฝัน มิให้กลับไปเฝ้าเฮโรด เขาจึงกลับไปยังเมืองของตนทางอื่น ครั้นเขาไปแล้วก็มีทูตองค์หนึ่งของพระเป็นเจ้า ได้มาปรากฏแก่โยเซฟในความฝันแล้วบอกว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดาหนี ไปประเทศอียิปต์ และคอยอยู่ที่นั่นจนกว่าเราจะบอกเจ้าเพราะ ว่าเฮโรดจะแสวงหากุมาร เพื่อจะประหารชีวิตเสีย” ในเวลากลางคืนโยเซฟจึงลุกขึ้น พากุมาร กับมารดาไปยังประเทศอียิปต์ และได้อยู่ที่นั่นจนเฮโรดสิ้นพระชนม์ ทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จ ตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ซึ่ง ได้ตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะว่า เราได้เรียกบุตรของเราให้ออก มาจากอียิปต์ ครั้นเฮโรดเห็นว่าพวกโหราจารย์หลอกท่าน ก็กริ้วโกรธยิ่งนัก จึงใช้คนไปฆ่าเด็กผู้ชายทั้งหลาย ใน บ้านเบธเลเฮม และที่ใกล้เคียงทั้งสิ้น ตั้งแต่อายุสองขวบลงมา ซึ่งพอดีกับเวลาที่ท่านได้ทราบ จากพวกโหราจารย์นั้น ครั้งนั้นก็สำเร็จตามพระวจนะที่ตรัสโดยเยเรมีย์ ผู้เผยพระวจนะว่า ได้ ยินเสียงในหมู่บ้านรามาห์ เป็นเสียงโอดครวญและร่ำไห้ คือนางราเชลร้อง ไห้คร่ำครวญเพราะบุตรทั้งหลายของตน นางไม่รับฟังคำปลอบเล้าโลม เพราะบุตรทั้งหลาย นั้นไม่มีแล้ว ครั้นเฮโรดสิ้นพระชนม์แล้ว ทูตองค์หนึ่ง ของพระเป็นเจ้ามาปรากฏในความฝันแก่โยเซฟที่ประเทศอียิปต์สั่งว่า “จงลุกขึ้น พากุมารกับมารดามายังแผ่นดินอิสราเอล เพราะผู้ที่เป็นภัยต่อชีวิตของกุมารนั้นตายแล้ว” โยเซฟจึงลุกขึ้น พากุมารกับมารดามายัง แผ่นดินอิสราเอล แต่เมื่อได้ยินว่า อารเคลาอัสครอบ ครองแคว้นยูเดียแทนเฮโรดผู้เป็นบิดา จะไปที่นั่นก็กลัว และเมื่อได้ทราบคำเตือนใน ความฝัน จึงเลยไปยังแคว้นกาลิลี ไปอาศัยในเมืองหนึ่งชื่อนาซาเร็ธ เพื่อจะสำเร็จตามพระวจนะ ซึ่งตรัส โดยผู้เผยพระวจนะ เขาจะเรียก ท่านว่าชาวนาซาเร็ธ2

คำนำ

หลายปีมาแล้วผมทำพิธีศพให้หญิงชราท่านหนึ่ง (ขอเรียกชื่อว่าซาร่าห์แล้วกัน) เธอเติบโตในโอคลาโฮมา สมัยยังสาวบิดามารดาของเธอมีส่วนในการเข้ายึดครองที่ดินของโอคลาโฮมาในยุค บุกเบิก ในสมัยนั้นคนอเมริกันกับคนพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นปฏิปักษ์กัน แม้พิธีศพนี้นานมาแล้ว แต่ผมยังจำได้ ถึงเรื่องที่น้องสาวของซาราห์เล่าให้ฟัง

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผู้คนยังสัญจรไปมาด้วยรถม้า ซาราห์มีลุงคนหนึ่งเป็นนักผจญภัย และอยากไปเห็นภูเขาไพค์พีกในโคโรราโดเป็นที่สุด คุณลุงจึงขนครอบครัวรวมทั้งซาราห์ด้วย ขึ้นรถม้ามุ่งไปยัง โคโรราโด เท่าที่จำได้การเดินทางครั้งนั้นกินเวลาเกือบปี คุณนึกภาพออกมั้ย เดินทางไปโคโรราโดด้วยรถม้าที่ปิดแทบทุกด้าน มีปฎิปักษ์เป็นพวกอินเดียนแดง เป็นการเดินทางที่ยาวไกลและเสี่ยงภัยมาก ผมแทบไม่อยากนึกเลย โดยเฉพาะต้องปีนขึ้นเขาด้วยรถม้า และที่น่าหวาดเสียวกว่าคือ “ลง” จากภูขาด้วยรถม้า!!

สำหรับผม เรื่องย้อนยุคตั้งแต่ ค.ศ. 1800 น่าจะใกล้เคียงกับการเดินทาง “มหัศจรรย์” ของพวกโหราจารย์ที่สุด เหล่าโหราจารย์เดินทางจากตะวันออกไกลไปเบธเลเฮมและกลับ คงกินเวลาหลายเดือน นักผจญภัยเหล่านี้จากบ้านและครอบครัวมา ฝ่าฟันอันตรายสารพัดแบบ รวมทั้งพวกโจรด้วย พวกเขาเป็นคนมั่งคั่ง ขบวนคาราวานเป็นตัวบอกได้ดีถึงฐานะ แถมขนสัมภาระมีค่ามาด้วย : ทองคำ กำยาน และมดยอบ ติดตามดาวประหลาดมา จนถึงเขตปกครองของเฮโรด ผู้มีทั้งอำนาจและความโหดเหี้ยม

เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นแค่การผจญภัยมหัศจรรย์เท่านั้น พระกิตติคุณมัทธิวบทที่ 2 พูดถึงการเดินทางของโยเซฟ มารีย์ และพระกุมาร จากเบธเลเฮมไปประเทศอียิปต์ ไม่มีเวลาเตรียมการใดๆ หยิบของได้ไม่กี่ชิ้น รีบหนีไปอย่างเร่งรีบ เพื่อให้พ้นจากเงื้อมมือของเฮโรดที่มุ่งสังหารทารกทุกคน และเมื่อเวลาเสี่ยงภัยผ่านพ้น ไป ยังต้องอพยพกลับสู่บ้านเกิด

เรื่องราวการเดินทางมหัศจรรย์นี้บันทึกอยู่ในมัทธิวบทที่ 2 ปัญหาของพวกเราคือ เรื่องเล่าพวกนี้ ได้ยินจนชินหู เลยไม่เคยกลับมาคิดย้อนดู ที่จริงแล้วมีคุณค่ามากมายที่เราต้องใส่ใจศึกษา ขอเริ่มด้วยการตั้งข้อสังเกตบางประการในคำบอกเล่าของมัทธิว หลังจากนั้นจะมุ่งไปที่บุคคลโดดเด่นสามคนในพระวจนะตอนนี้ : โหราจารย์ – เฮโรดกับชาวยิวในเยรูซาเล็ม – และพระกุมารเยซู

ข้อสังเกต

(1) มัทธิวใส่ใจที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องตื่นเต้นต่างๆ ถ้าเป็นสมัยนี้ ท่านคงเป็นนักข่าวตกงาน เพราะทำเรื่องตื่นเต้นให้เป็นเรื่องธรรมดา ท่านไม่พยามเติมสีใส่ไข่ในเรืองที่เขียน แถมยังหลีกเลี่ยงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ตื่นเต้นสมจริงด้วย ตัวอย่างเช่น การเดินทางเพื่อหนีไปที่อียิปต์ ต้องมีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้นระหว่างทางมากมายแน่ :

หนังสือเรื่องพระเยซูฉบับอาโปรคริปปา เขียนขึ้นหลายปีหลังหนังสือพระกิตติคุณในพระคัมภีร์ เล่าเรื่องแปลกๆมากมายเกี่ยวกับการเดินทางหนีไปประเทศอียิปต์ของครอบครัวนี้ เช่นเล่าว่าเมื่อก้าวเท้าเข้าสู่แผ่นดินอียิปต์ มีดอกไม้ผุดขึ้นมารองรับ ; ต้นหมากรากไม้โน้มกิ่งลงแสดงความเคารพ สัตว์ป่าวิ่งมาต้อนรับอย่างเป็นมิตร3

(2) มัทธิวตัดทอนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เราๆท่านๆอยากรู้ออกไปเกือบหมด ทำให้มีคำถามเกิดขึ้น ที่จริงแล้วเราไม่รู้จำนวนแท้จริงของโหราจารย์ที่มานมัสการพระกุมารเยซู เราอยากให้มีรายละเอียดมากกว่านี้ในพระคัมภีร์ อยากรู้ว่าพวกเขามาจากไหน? เชื่อถือเรื่องอะไร? “ดาว” ประหลาดที่ว่านี้คือดาวอะไร? นำทางคนพวกนี้มาได้อย่างไร? ใช้เวลาเดินทางนานแค่ไหน? กลับจากนมัสการพระเยซูแล้วเป็นอย่างไร? เฮโรดฆ่าเด็กตายไปกี่คน? แล้วกรรมตามสนองอย่างไร? เราอยากรู้เรื่องราวระหว่างที่ครอบครัวพระเยซูอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ มัทธิวก็เช่นเดียวกับผู้เขียนพระกิตติคุณเล่มอื่นๆ4 ระมัดระวังต่อทุกสิ่งที่บันทึกลงในพระคัมภีร์

(3) การเลือกนำพระวจนะจากพระคัมภีร์เดิมมาใช้ มัทธิวทำได้อย่างน่าสนใจ เรารู้ดีว่าท่านนำพระวจนะจากพระคัมภีร์เดิมมาใช้มากกว่าพระกิตติคุณเล่ม อื่นๆ เราต้องคำนึงว่าท่านไม่ได้นำพระวจนะจากพระ คัมภีร์เดิมมาใช้แบบหมดเปลือก ไม่ได้นำทุกตอนที่เกี่ยวข้องชัดเจนมาใช้ บางตอนเราออกจะงงๆด้วยซ้ำไป ในบทที่ 2 ท่านนำข้อพระคัมภีร์เดิมมาใช้ถึงสี่ครั้ง และหนึ่งในสี่นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำมาใช้อย่างตรงๆ เช่นจากมีคาห์ 5:2 ในข้อ 6 คำถามที่เฮโรดถามมหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ว่า “ผู้เป็นพระคริสต์นั้น จะบังเกิดแห่งใด?” พวกเขาตอบอย่างชัดเจนจากพระธรรมมีคาห์ 5:2 – พระเมสซิยาห์จะมาบังเกิดที่เบธเลเฮม

ข้อพระคำอื่นๆที่นำมาใช้ในบทที่ 2 ออกจะไม่ชัดเจน จนแทบไม่มีใครคิดว่าเป็นคำพยากรณ์ ไม่ว่าจะเป็นโฮเชยา 11:1 (ในข้อ 15) หรือเยเรมีย์ 31:15 (ในข้อ 18) ว่าเป็นคำพยากรณ์ที่เล็งถึงการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ คำพูดที่มัทธิวใช้ “ตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะ” ได้สำเร็จเป็นจริง ยิ่งทำให้ดูคลุมเครือใหญ่ การที่ท่านนำคำพยากรณ์ที่ดู “คลุมเครือ” นี้มาใช้ ทำให้เราสงสัย ทำไมถึงไม่นำคำพยากรณ์ข้ออื่นที่ชัดเจนกว่านี้มาแทน เพื่อจะได้เห็นชัดว่าสำเร็จจริง ตัวอย่างเช่นคำพยากรณ์ต่อไปนี้ :

ดาวของบาลาอัม
กันดารวิถี 24:14-19

ดูเถิด บัดนี้ข้าพเจ้าจะกลับไปสู่ชนชาติของข้าพเจ้า มาเถิด ข้าพเจ้าจะสำแดง ให้ท่านทราบว่า ชนชาตินี้จะกระทำประการใด แก่ชนชาติของท่านในวันข้างหน้า” เขาก็กล่าวกลอนภาษิตของเขาว่า “คำพยากรณ์ของบาลาอัมบุตรเบโอร์ คำ พยากรณ์ของชายผู้ที่หูตาแจ้ง คำพยากรณ์ของผู้ที่ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า และทราบถึงพระปัญญาของพระองค์ผู้สูงสุด ผู้เห็นนิมิตขององค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ได้ล้มลง แต่ตาไม่มีสิ่งใดบัง ข้าพเจ้าเห็นเขา แต่ไม่ใช่อย่างเดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าดูเขา แต่ไม่ใช่อย่างใกล้ๆนี้ ดาวดวงหนึ่งจะเดินออกมาจากยาโคบ และธารพระกร อันหนึ่งจะขึ้นมาจากอิสราเอล จะทุบหน้าผากของโมอับ และทำลายเผ่าพันธุ์ของเชท ฝ่ายเอโดมจะตกเป็นของคนอื่น เสอีร์ศัตรูของเขาจะตกเป็นของคนอื่นด้วย ฝ่ายอิสราเอลได้แสดงวีรกรรมแล้ว ผู้หนึ่งที่ออกมาจากยาโคบ จะครอบครอง และชาวเมืองที่รอดตายผู้นั้นจะทำลายเสีย” (กันดารวิถี 24:14-19 ผมขอย้ำด้วย)

ความสว่างของอิสราเอลต่อประชาชาติ
อิสยาห์ 60:1-14

จงลุกขึ้น ฉายแสง เพราะว่าความสว่างของเจ้ามาแล้ว และพระสิริของพระเจ้า ขึ้นมาเหนือเจ้า เพราะว่าดูเถิด ความมืดจะคลุมแผ่นดินโลก และความมืดทึบคลุม ชนชาติทั้งหลาย แต่พระเจ้าจะทรงขึ้นมาเหนือเจ้า และเขาจะเห็นพระสิริของพระองค์ เหนือเจ้า และบรรดาประชาชาติจะมายังความสว่างของเจ้า และพระราชาทั้งหลาย ยังความสุกใสแห่งการขึ้นของเจ้า จงเงยตาของเจ้ามองให้รอบ และดู เขาทั้งปวงมาอยู่ด้วยกัน เขาทั้งหลายมาหาเจ้า บุตรชายทั้งหลายของเจ้าจะมาจากที่ไกล และเขาจะอุ้มบุตรหญิงของเจ้ามา แล้วเจ้าจะเห็นและปลาบปลื้ม ใจของเจ้าจะตื่นเต้น และเปรมปรีดิ์ เพราะความมั่งคั่งของทะเลจะหันมาหาเจ้า ทรัพย์สมบัติของบรรดาประชา ชาติจะมายังเจ้า มวลอูฐจะมาห้อมล้อมเจ้า อูฐหนุ่มจากมีเดียนและเอฟาห์ บรรดา เหล่านั้นจากเชบาจะมา เขาจะนำทองคำและกำยาน และจะบอกข่าวดีถึงกิจการ อันน่าสรรเสริญของพระเจ้า ฝูงแพะแกะทั้งสิ้นแห่งเคดาร์จะรวมมาหาเจ้า แกะผู้ของ เนบาโยทจะปรนนิบัติเจ้า มันจะขึ้นไปบนแท่นบูชาของเราอย่างเป็นที่โปรดปราน และเรา จะให้นิเวศอันเรืองรุ่งของเรา ได้รับความรุ่งเรือง เหล่านี้เป็นใครนะที่บินมาเหมือนเมฆ และเหมือนนกพิราบไปยังหน้าต่างของมัน เพราะว่าแผ่นดินชายทะเลจะรอคอยเรา กำปั่นแห่งทารชิชก่อน เพื่อนำบุตรชายของเจ้ามาแต่ไกล นำเงินและทองคำของเขามาด้วย เพื่อพระนามแห่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า และเพื่อองค์บริสุทธิ์แห่งอิสราเอล เพราะ พระองค์ได้ทรงกระทำให้เจ้ารุ่งเรือง คนต่างด้าวจะสร้างกำแพงของเจ้าขึ้น และพระราชา ของเขาจะปรนนิบัติเจ้า เพราะด้วยความพิโรธของเรา เราเฆี่ยนเจ้า แต่ด้วยความโปรดปราน ของเรา เราได้กรุณาเจ้า ประตูเมืองของเจ้าจะเปิดอยู่เสมอ ทั้งกลางวันและกลางคืน มันจะไม่ปิด เพื่อคนจะนำความมั่งคั่งของบรรดา ประชาชาติมาให้เจ้า พร้อมด้วยพระราชา ทั้งหลาย เพราะว่าประชาชาติและราชอาณาจักร ที่ไม่ปรนนิบัติเจ้าจะพินาศ เออ บรรดาประชาชาติเหล่านั้นจะถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิง ศักดิ์ศรีแห่งเลบานอนจะมายังเจ้า คือต้นสนสามใบ ต้นสนเขาและต้นช้องรำพันด้วยกัน เพื่อจะกระทำให้ที่แห่งสถาน ศักดิ์สิทธิ์ของเรางดงาม และเราจะกระทำให้ที่แห่งเท้าของเรารุ่งโรจน์ ลูกชายของคน เหล่านั้นที่ได้บีบบังคับเจ้า จะมาโค้งลงต่อเจ้า และบรรดาผู้ที่ดูหมิ่นเจ้า จะกราบลงที่ฝ่า เท้าของเจ้า เขาทั้งหลายจะเรียกเจ้าว่าเป็นพระนครของพระเจ้า ศิโยนแห่งองค์บริสุทธิ์ ของอิสราเอล (อิสยาห์ 60:1-14 ผมขอย้ำด้วย)

สดุดี 72:8-17

ขอท่านครอบครองจากทะเลถึงทะเล และจากแม่น้ำนั้นถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก บรรดาผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารจะกราบลงต่อเขา และให้บรรดาศัตรูของท่านเลียผงคลี ขอบรรดาพระราชาแห่งเมืองทารชิชและของเกาะทั้งปวง ถวายราชบรรณาการ ขอบรรดาพระราชาแห่งเชบา และเสบา นำของกำนัลมา 11 ขอพระราชาทั้งปวง กราบลงไหว้ท่าน บรรดาประชาชาติจงปรนนิบัติท่าน เพราะ ท่านช่วยกู้คนขัดสน เมื่อเราร้องทูล คนยากจน และคนที่ไร้ผู้อุปถัมภ์ ท่านสงสารคนอ่อนเปลี้ยและคนขัดสน และช่วยชีวิตบรรดาคนขัดสน ท่านไถ่ชีวิตของเขาจากการบีบบังคับและความทารุณ และ โลหิตของเขาก็ประเสริฐในสายตาของท่าน ขอท่านผู้นั้นมีชีวิตยืนนาน ให้คนถวาย ทองคำเมืองเชบาแก่ท่าน ให้ เขาอธิษฐานเผื่อท่านเรื่อยไป และอวยพรท่านวันยังค่ำ ขอให้มีข้าวอุดมในแผ่นดิน ให้มันแกว่งไกวรวงอยู่บนยอดเขาทั้งหลาย ขอให้ผลของ แผ่นดินเหมือนเลบานอน และให้คนบานออกมาจากนคร เหมือนหญ้าในทุ่งนา ขอนาม ของท่านดำรงอยู่เป็นนิตย์ ชื่อเสียงของท่านยั่งยืนอย่างดวงอาทิตย์ ให้คนอวยพรกันเอง โดยใช้ชื่อท่าน ประชาชาติทั้งปวงเรียกท่านว่าผู้ได้รับพระพร ! (สดุดี 72:8-17)

มัทธิวไม่ได้เลือก (หรือละ) ข้อพระคัมภีร์เดิมตามใจชอบ ; ท่านเลือกอย่างระมัดระวัง ด้วยจุดประสงค์สำคัญบางประการ เราจะมาเจาะลึกเรื่องนี้ในบทเรียนหน้าครับ ตอนนี้เราจะมาดูเรื่อง บุคคลสำคัญทั้งสามในมัทธิวบทที่ 2 ก่อน

(4) มัทธิวเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเยรูซาเล็มอย่างต่อเนื่อง ผมคิดว่าเวลาพวกเราอ่านพระกิตติคุณมัทธิว เราชอบนึกตามไปด้วย ทำให้บางครั้งเดาเรื่องผิดไป วิธีที่พวกเราส่วนมากอ่านคือ เมื่อโหราจารย์มาถึงเยรูซาเล็ม ต้องมุ่งไปที่พระราชวังของเฮโรดทันที (ก็ถ้าจะไปหา “กษัตริย์ของชาวยิว” จะให้ไปที่ไหนกันเล่า?) พวกเขาถามเฮโรดถึงกษัตริย์ที่บังเกิดใหม่ “ กษัตริย์ของชาวยิว” เฮโรดเรื่มหวาดวิตก วุ่นวายใจเป็นอันมาก แต่ปกปิดความรู้สึกเอาไว้ จัดแจงเรียกบรรดามหาปุโรหิต และพวกธรรมาจารย์มา พวกเขาบอกเฮโรด (รวมทั้งโหราจารย์) ถึงคำพยากรณ์ของผู้เผยวจนะมีคาห์ เมื่อให้ทุกคนออกไป เฮโรดต้องการพูดกับพวกโหราจารย์ตามลำพัง เพื่อถามถึงเวลาที่ดาวประหลาดมาปรากฎ และเริ่มคำนวณเวลาเกิดของเด็ก และส่งพวกโหราจารย์ให้ไปยังเบธเลเฮมเพื่อตามหา และสั่งให้กลับมาบอกว่าพบเด็กนั้นได้ที่ใด ตามความคิดของผม เหตุการณ์นี้ไม่ได้สอดคล้องกับสิ่งที่มัทธิวเล่า

ถ้าถือเอาตามที่มัทธิวเล่า เราเข้าใจว่าเรื่องที่เกิดขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม ดำเนินไปตามขั้นตอนดังนี้

(a) พระเยซูมาบังเกิดที่เบธเลเฮม อาจจะประมาณหนึ่งปีก่อนหน้านี้5

(b) ดาวประหลาดนำพวกโหราจารย์มาจนถึงเยรูซาเล็ม และหายไป6

(c) เมื่อมาถึงเยรูซาเล็ม พวกโหราจารย์เริ่มสอบถามถึงพระกุมาร โดยถามจากผู้คนในเมือง

(d) เรื่องนี้ได้ยินถึงหูของเฮโรด ว่ามีเหล่าโหราจารย์เข้าเมืองเพื่อมาตามหาทารกเกิดใหม่ผู้เป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” เพื่อจะไปนมัสการ

(e) เมื่อได้ยิน เฮโรดวุ่นวายเป็นทุกข์ใจมาก รวมทั้งผู้คนในกรุงเยรูซาเล็มด้วย

(f) เฮโรดเรียกบรรดามหาปุโรหิตและธรรมาจารย์มาเข้าเฝ้า สอบถามว่าพระเมสซิยาห์จะมาบังเกิดที่ใด ผมคิดว่าตอนที่สอบถาม พวกโหราจารย์คงไม่ได้อยู่ด้วย บรรดาผู้นำศาสนาทูลเฮโรดว่า พระเมสซิยาห์จะมาบังเกิดที่เมืองเบธเลเฮม ตามคำพยากรณ์ในมีคาห์ 5:2

(g) เฮโรดจึงเรียกพวกโหราจารย์มาเข้าเฝ้า (ตามลำพัง) ท่านถามว่าพวกเขา เห็น “ดาว” นี้ตั้งแต่เมื่อใด และเริ่มคำนวณเวลาเกิดและอายุของพระกุมาร

(h) เฮโรดจึงส่งพวกโหราจารย์ไปยังเบธเลเฮม เพื่อตามหาพระเมสซิยาห์ และสั่ง ให้กลับมาบอกถึงสถานที่ๆพบเด็กด้วย เพื่อจะได้ไปนมัสการบ้าง

(i) เมื่อโหราจารย์เดินทางไปที่เบธเลเฮม “ดาว” ก็ปรากฎขึ้นอีกครั้ง พวกเขายินดีเป็นอันมาก เพราะพระเจ้าทรงจัดเตรียมและนำพวกเขาอีกครั้ง

(j) “ดาว” นำพวกโหราจารย์ไปจนพบพระกุมาร และได้นมัสการพระองค์

เรื่องทั้งสองนี้ต่างกันหรือไม่? ถ้าจะไม่ แต่ว่าไม่น่าเสียหายถ้าจะนำมาเรียบเรียงใหม่ การตั้งข้อสังเกตจากเหตุการณ์ที่นำมาเรียบเรียงใหม่นี้ ทำให้ผมนึกถึงบางตอนของบทเรียนที่เตรียมไว้คราวหน้า ทำให้ต้องนำกลับมาทบทวนใหม่7

บุคคลสำคัญสามกลุ่มในบทที่ 2

โหราจารย์

โหราจารย์” หรือ “เหล่านักปราชย์จากตะวันออก” นั้นน่าทึ่งมากครับ มัทธิวไม่ได้บอกว่าพวกเขามาที่กรุงเยรูซาเล็มกันกี่คน แถมไม่ได้ให้คำอธิบายใดๆไว้ด้วย เฟรเดอริค บรูเนอร์ ได้ให้ข้อมูลพื้นฐาน บางประการที่น่าสนใจ ที่ไม่ได้บันทึกในพระกิตติคุณมัทธิว :

“พวกโหราจารย์ (magoi หรือพหูพจน์ในภาษากรีกใช้ว่า magos) ที่มัทธิวพูดถึง คือที่แน่ๆต้องเป็นผู้มีสติปัญญา (อาจ) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์จากเปอร์เซีย หรือดินแดนสองแม่น้ำ การศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ในสมัยโบราณ ยึดความเชื่อที่ว่าโลกนี้และพิภพอื่นในจักรวาล ต่างมีพลังดึงดูดซึ่งกันและกัน ดาราศาสตร์ เป็นเรื่องราวของกฎ หรือการโคจรของดวงดาว ; โหราศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องสื่อ หรือ ความหมายในการโคจรของดวงดาวที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตบนโลก… . ศาสตร์ทั้งสอง ปัจจุบันแยกออกจากกัน แต่ในสมัยโบราณรวมอยู่ในคนๆเดียวกัน เพราะความสามารถในการแปลหรือถอดรหัสการโคจรของดวงดาวได้ พวกโหราจารย์จึงนับว่าเป็น “ผู้มีปัญญา”8

ถึงแม้ว่าคนส่วนมากคิดว่าโหราจารย์เหล่านี้เป็นผู้มี “สติปัญญา” แต่คนยิวคิดอีกแบบ แรกเลยคนเหล่านี้เป็นพวกต่างชาติต่างศาสนา แค่นี้ก็เป็นที่ดูถูกแล้ว ยังไม่พอ ในพระคัมภีร์พูดถึงพวก “โหราจารย์” ในแง่ไม่ดีนัก อย่างเช่นในหนังสือดาเนียล :

แล้วพระราชาจึงทรงบัญชาให้มีหมายเรียกพวกโหร พวกหมอดู พวกนักวิทยาคม และคนเคลเดีย เข้าทูลพระราชาให้รู้เรื่องพระสุบิน เขาทั้งหลายก็เข้ามาเฝ้าพระราชา (ดาเนียล 2:2)

“ผู้มีสติปัญญา” ของบาบิโลน พวกยิวไม่ค่อยชอบหน้า คนพวกนี้ไม่สามารถทำนายฝันให้เนบูคัดเนส ซาร์ได้ มาดูวิธีที่ผู้เผยพระวจนะในยุคพระคัมภีร์เดิมพูดถึงคนนอกศาสนาพวกนี้ ที่พยายามขอการทรงนำจากพระเจ้าด้วยวิธีการของคนต่างชาติ :

เพราะว่ากษัตริย์บาบิโลนยืนอยู่ที่ทางแพร่ง อยู่ที่หัวถนนสองถนน กำหนดหาคำทำนาย ท่านเขย่าลูกธนู และปรึกษาทราฟีม ท่านมองดูที่ตับ (เอเสเคียล 21:21)

เจ้าเหน็ดเหนื่อยกับที่ปรึกษาเป็นอันมาก ของเจ้า ให้เขาลุกขึ้นออกมา และช่วยเจ้าให้รอด คือบรรดาผู้ที่แบ่งฟ้าสวรรค์ และเพ่งดูดวงดาว ผู้ซึ่งทำนายให้เจ้าในวันขึ้นค่ำ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแก่เจ้า (อิสยาห์ 47:13)

ในยุคพระคัมภีร์ใหม่ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยน ในหนังสือกิจการ 8:9-13 เราเห็นซีโมน คนทำวิทยาคม เหมือนกับเห็นบาลาอัม ผู้พยายามใช้เงินซื้อฤทธิเดชของพระเจ้า ในกิจการ 13:6-11 คนทำวิทยาคม ชื่ออาลีมาส (หรืออีกชื่อว่าบารเยซู) พยายามโน้มน้าวความเชื่อของผู้ว่าราชการเมือง เสอร์จีอัส เปาโล ดังนั้นหมอดูพวกนี้จึงเป็นที่ดูถูกและไม่เป็นที่ยอมรับนับถือ พวกเขาถูกเรียกว่าเป็นรูปเคารพของคนต่างชาติ9

เราคงสงสัยว่ามัทธิวเป็นอะไรไป ถึงนำเรื่อง “โหราจารย์ พวก นี้ที่ถูกเชิญมาร่วมฉลองการประสูติขององค์พระเมสซิยาห์มาเสนอ? อย่าลืมว่ามัทธิวเองเคยเป็นคนเก็บภาษี เป็นอาชีพที่ต่ำต้อยที่สุดในสายตาของชาวยิว

ครั้นพระเยซูเสด็จเลยตำบลนั้นไป ก็เห็นคนหนึ่งชื่อมัทธิวนั่งอยู่ที่ด่านภาษี จึงตรัสกับเขาว่า “จงตามเรามาเถิด” เขาก็ลุกขึ้นตามพระองค์ไป เมื่อพระองค์ประทับเสวยพระกระยาหาร อยู่ในเรือน มีคนเก็บภาษีและคนบาปอื่นๆหลายคน เข้ามาร่วมสำรับกับพระเยซู และกับพวก สาวกของพระองค์ เมื่อพวกฟาริสีเห็นแล้ว ก็กล่าวแก่สาวกของพระองค์ว่า “ทำไม อาจารย์ของท่านจึงรับประทานอาหารด้วยกันกับคนเก็บภาษีและคนนอกรีตเล่า” เมื่อพระ เยซูทรงทราบดังนั้นแล้วก็ตรัสว่า “คนเจ็บต้องการหมอ แต่คนสบายไม่ต้องการ ท่านทั้ง หลายจงไปเรียนคัมภีร์ข้อนี้ให้เข้าใจ ที่ว่าเราประสงค์ความเมตตา ไม่ประสงค์เครื่องสัตว บูชา ด้วยว่าเรามิได้มาเพื่อจะเรียกคนที่เห็นว่าตัวชอบธรรม แต่มาเรียกคนที่พวกท่านว่านอกรีต” (มัทธิว 9:9-13).

ผมเชื่อว่ามัทธิวรู้สึกยินดีมาก ที่แม้แต่คนต่างชาติพวกนี้ยังได้รับเชิญจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ให้มาร่วมนมัสการพระกุมารเยซู แม้มัทธิวเองเป็นคนยิว เขียนพระกิตติคุณเล่มนี้เพื่อชาวยิว ท่านก็ไม่เคยคิดบิดเบือนข้อเท็จจริง ในเรื่องของพระเยซู จำได้หรือไม่ว่าพระกิตติคุณมัทธิวจบลงอย่างไร? :

พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับเขาว่า “ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่น ดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้ เป็นสาวกของเรา ให้ รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณ บริสุทธิ์ สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้ นี่แหละเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค” (มัทธิว 28:18-20)

อาจมีคนเถียง “ใช่ฉันเห็นแล้ว พระเจ้าทรงมีแผนการความรอดโดยทางพระเยซูคริสต์ เพื่อทั้งคนยิวและคนต่างชาติ และเข้าใจด้วยว่าทำไมพระองค์ทรงอนุญาตให้คนต่างชาติ มีโอกาสมาร่วมฉลองการบังเกิดของพระเยซู แต่ทำไมพระเจ้าถึงเลือกใช้สื่อ ที่เปิดเผยถึงการเสด็จมาของพระบุตร ด้วยดวงดาว?”

อย่าลืมว่าพระเจ้าทรงเลือกที่จะสำแดงพระองค์เองแก่มนุษย์ โดยผ่านทางธรรมชาติ :

ฟ้าสวรรค์ประกาศพระสิริของพระเจ้า และภาคพื้นฟ้าสำแดงพระหัตถกิจของพระองค์ วันส่งถ้อยคำให้แก่วัน และคืนแจ้งความรู้ให้แก่คืน วาจาไม่มี ถ้อยคำก็ไม่มี และไม่มีใครได้ยินเสียงฟ้า ถึงกระนั้นเสียงฟ้าก็ออกไปทั่วแผ่นดินโลก และถ้อยคำก็แพร่ไปถึงสุดปลายพิภพ พระองค์ทรงตั้งเต็นท์ไว้ให้ดวงอาทิตย์ ณ ที่นั้น (สดุดี 19:1-4; เทียบกับโรม 11:18)

เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของ พระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง เหตุว่าเท่าที่จะรู้จักพระเจ้าได้ก็แจ้งอยู่กับใจเขาทั้งหลาย เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงโปรดสำแดงแก่เขาแล้ว ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมาแล้ว สภาพที่ไม่ปรากฏของพระเจ้านั้น คือฤทธานุภาพอันถาวรและเทวสภาพของพระองค์ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นเขาทั้งหลายจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย (โรม 1:18-20)

เราคงจำได้ถึงการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มของพระเยซูคริสต์ เมื่อฝูงชนโห่ร้องสรรเสริญพระองค์

ฝ่ายฟาริสีบางคนในหมู่ประชาชนนั้น ทูลพระองค์ว่า “อาจารย์เจ้าข้า จงห้ามเหล่าสาวกของท่าน” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “เราบอกท่านทั้งหลายว่า ถึงคนเหล่านี้จะนิ่งเสีย ศิลาทั้งหลายก็ยังจะส่งเสียงร้อง” (ลูกา 19:39-40)

ผมเข้าใจว่าดาวประหลาดดวงนั้น กำลังทำในสิ่งเดียวกัน อิสราเอลควรเป็น “ความสว่างแก่บรรดาประ ชาชาติ” (อิสยาห์ 42:6) แต่พวกเขาไม่ได้ทำหน้าที่ ไม่คิดจะนำข่าวประเสริฐเรื่องการกำเนิดมาของพระเมสซิยาห์ไปบอกแก่คนต่างชาติ ; ดังนั้นคนต่างชาติจึงทำหน้าที่นำข่าวประเสริฐนี้มาบอกแก่พวกเขาแทน เมื่อคนของพระเจ้า “นิ่งเฉย” “ดาว” (หรือดาวประหลาดดวงนั้น) จึงประกาศออกไป นำพวกโหราจารย์มาพบพระผู้ช่วยให้รอดแทน

ผมเห็นโหราจารย์พวกนี้เป็นเหมือนคนอย่างบาลาอัม เป็นต่างชาติทั้งคู่ แต่เป็นผู้ที่ได้รับการทรงสำแดง จากพระเจ้า เมื่อบาลาอัมปฏิเสธพระคำของพระองค์ เขาได้รับความพินาศ พวกโหราจารย์เชื่อการทรงนำของพระองค์ที่ให้มาที่เยรูซาเล็ม จนได้พบพระกุมารเยซูที่เบธเลเฮม

แล้วสำหรับพวกเรา “ดาวประหลาด” นี้มีความหมายอย่างไร? หลายคนพยายามหาคำอธิบายในเชิงมนุษย์10 บางคนบอกว่าเป็นดวงเดียวกับดาวหาง “ฮาเล่ย์” ; บางคนบอกเป็นบริวารของดาวจูปิเตอร์ หรือของดาวเสาร์ ผมต้องยอมรับว่าฟังดูไม่เข้าท่า แรกเลย ถ้านี่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถคำนวณได้ล่วงหน้า ทำไมพวกโหราจารย์ถึงเดินทางตามมา? มันคงไม่ใช่ปรากฏการณ์ปกติ แล้วเหตุใดดาวดวงนี้จึงพามาจนถึงบ้านที่พระเยซูและครอบครัวอาศัยอยู่?

ประการที่สอง ทำไมถึงต้องพยายามหาคำอธิบายในเชิงมนุษย์ในเรื่องของปาฏิหาริย์ นอกเสียจากอยากหลีกเลี่ยงไม่ยอมเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ อย่างเช่นนักวิชาการบางคน (ที่เก่งเอามากๆก็มี) เมื่อวิเคราะห์พระธรรมโยนาห์ คิดว่าน่าจะมีสาระ ถ้านำตัวอย่างอื่นที่มนุษย์ถูก “ปลามหึมา” กลืนเข้าไป และมีคนช่วยออกมาได้ ทำไมจึงทำเช่นนั้น? พระเจ้าอาจทรงใช้วิธีการทางธรรมชาติเพื่อทำให้พระประสงค์ของพระองค์ สำเร็จลง แต่ไม่ใช่เสมอไป บางครั้งพระองค์ใช้การอัศจรรย์ที่เหนือขอบเขตของธรรมชาติ เพื่อเราจะ ยอมรับได้ว่าเป็นพระหัตถ์ของพระองค์ที่ทรงกระทำ ดังนั้นผมจึงมองเรื่อง “ดาวประหลาด” นี้ว่าเป็นการทรงสำแดงของพระเจ้า สำแดงพระสิริของพระองค์ ซึ่งเราพบได้หลายครั้งในพระคัมภีร์เดิม11

เครื่องบรรณาการจากโหราจารย์ – ทองคำ กำยาน มดยอบ – แน่นอนเป็นของมีราคาแพงมาก ผม และคนอื่นๆอีกหลายคน มีความเห็นว่าพระเจ้าทรงจัดเตรียมสิ่งของเหล่านี้มาให้ เพื่อครอบครัวจะมีเงินพอสำหรับการเดินทางไปประเทศอียิปต์ บางคนหาความหมายของสิ่งเหล่านี้ทางฝ่ายวิญญาณ :

  • ทองคำ – ของบรรณาการสำหรับกษัตริย์
  • กำยาน – เป็นของที่ปุโรหิตใช้ในการนมัสการพระเจ้า
  • มดยอบ – ใช้ในการเก็บรักษาสภาพศพ

สิ่งนี้อาจอยู่ในความคิดคำนึงของมัทธิว ซึ่งผมไม่ได้คิดไปไกลขนาดนั้น มัทธิวบอกเราว่า พวกโหราจารย์ “กลับไปยังเมืองของตนทางอื่น” (2:12) บรูเนอร์แปลความตอนนี้ว่าเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ทุกคนที่มาหาพระเยซู มารับความรอด จะไม่มีวันกลับไปเดินทางเดิมอีก ผมไม่แน่ใจว่ามัทธิวต้องการสื่อเช่นนั้น หรือเพียงต้องการให้เรารู้ว่าพระเจ้านำให้โหราจารย์กลับไปทางอื่น เพื่อกันเฮโรดและให้มีเวลาพาพระเยซูหนีไปที่อียิปต์ได้ทัน ที่จริง สิ่งที่พวกโหราจารย์ทำดูออกจะเสี่ยง เพราะถ้าเฮโรดจับได้ ผมค่อนข้างแน่ใจว่าเขาคงไม่ปล่อยโหราจารย์พวกนี้ไว้แน่

พวกโหราจารย์ทำให้ผมนึกถึงอับราฮัม อาจเป็นได้ที่พวกโหราจารย์กับอับราฮัมมาจากถิ่นกำเนิดเดียวกัน ทั้งคู่เป็น “คนต่างชาติ” ในขณะที่พระเจ้าทรงเรียกให้มายังดินแดนพันธสัญญา ทั้งคู่ไม่รู้เลยว่าตนเองกำลังจะไปที่ใดเมื่อจากบ้านเกิดมา ทั้งคู่เชื่อฟังพระเจ้า และได้พบกับพระผู้ช่วยให้รอด (ดูยอห์น 8:56) ทั้งคู่ด้วยความบังเอิญ มีดาวเป็นสื่อนำ :

อยู่มาพระดำรัสของพระเจ้ามาถึงอับรามด้วย นิมิตว่า “อับรามเอ๋ย เจ้าอย่ากลัวเลย เราเป็นโล่ของเจ้า บำเหน็จของเจ้าจะยิ่งใหญ่” อับรามทูลว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระ องค์จะทรงโปรดประทานอะไรแก่ข้าพระองค์ ด้วยว่าข้าพระองค์ยังไม่มีบุตรเลย และ เอลีเยเซอร์ชาวเมืองดามัสกัสคนนี้ จะเป็นผู้รับมรดกของข้าพระองค์” อับรามทูลอีกว่า “พระองค์มิได้ทรงประทานบุตรให้แก่ข้าพระองค์ แล้วคนที่เกิดในบ้านของข้าพระองค์ ก็จะเป็นผู้รับมรดกของข้าพระองค์” ครั้นแล้วพระดำรัสของพระเจ้ามาถึงอับรามว่า “คนนี้จะไม่ได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้า แต่บุตรชายของเจ้าเองจะเป็นผู้รับมรดกของเจ้า” พระองค์จึงพาอับรามออกมากลางแจ้งแล้วตรัสว่า “มองดูฟ้า ถ้าเจ้านับดาวทั้งหลาย ได้ ก็นับไปเถิด” แล้วพระองค์ตรัสว่า “พงศ์พันธุ์ของเจ้าจะมากมายเช่นนั้น” อับรามก็เชื่อพระเจ้า ความเชื่อนั้นพระองค์ทรงนับว่าเป็นความชอบธรรมแก่ท่าน (ปฐมกาล 15:1-6)

เฮโรดและทั้งเยรูซาเล็ม

ในตอนต้น ผมเรียงให้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเยรูซาเล็มตามลำดับ บอกว่ามัทธิวไม่ได้เล่าว่าพวกโหราจารย์ไปพบเฮโรดก่อน เพราะว่าถ้าพวกเขารู้จักเฮโรดดี คงไม่กล้าเสี่ยงเข้าไกล้ เฮโรดคงได้ยินเรื่องโหราจารย์โดยบังเอิญ เพราะพวกเขาไปสอบถามชาวบ้านในเมืองเยรูซาเล็มว่า “กษัตริย์ของชาวยิว” นั้นอยู่ที่ไหน เพื่อจะได้ไปนมัสการ

ผมรู้สึกขอบคุณบรูเนอร์ ที่ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ เมื่อมัทธิวพูดถึง “เฮโรด” บรูเนอร์กล่าวว่ามัทธิว “ถอดยศ” เฮโรดลงได้อย่างแนบเนียนมาก

บุคคลที่เด่นรองลงมาในตัวละครของมัทธิว คือคนที่มัทธิวเรียกตลอดเวลาว่า “กษัตริย์ เฮโรด จนกระทั่ง เมื่อ พวกโหราจารย์ได้นมัสการพระกุมารเยซูแล้ว หลังจากนั้นเป็นต้นไป เฮโรดก็ถูกถอดยศลงมา ไม่มีการเรียกว่ากษัตริย์อีกต่อไป การนมัสการพระกุมารของพวกโหราจารย์ คือการราชาภิเษกของพระเยซู ดังนั้น ในเพลงคริสตมาสบางเพลง จึงมีเนื้อร้องว่า “วันนี้มีกษัตริย์เกิดใหม่” ’12

เมื่อเรื่องที่พวกโหราจารย์ถามหากษัตริย์เกิดใหม่ได้ยินไปถึงหูของเฮโรด ในทันทีท่านเรียกบรรดาผู้ เชี่ยวชาญธรรมบัญญัติมาพบ เพราะพวกนี้ต้องรู้เรื่องคำพยากรณ์เกี่ยวกับสถานที่เกิดของพระเมสซิยาห์ พวกเขาก็รู้จริงๆ โดยอ้างไปที่หนังสือมีคาห์ 5:2 และบอกกับเฮโรดอย่างมั่นใจว่าที่ใดคือสถานที่เกิดของบุตรดาวิด ตามที่ทรงสัญญาไว้

เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าทำไมเฮโรดถึงวุ่นวายใจมากกับข่าวการมาประสูติของ “กษัตริย์ชาวยิว” เฮโรดไม่ต้องการให้บัลลังก์ตนเองสั่นคลอน แม้จะชราแล้วก็ตาม.13 เพราะเฮโรดไม่ได้สืบทอดบัลลังก์มาอย่างถูกต้อง ไม่ใด้เป็นแม้กระทั่งสายเลือด “ยิวแท้” ส่วนผู้คนในกรุงเยรูซาเล็มที่หวั่นวิตก ก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ง่าย เพราะถ้าเฮโรดเริ่มหวาดระแวง บรรดาคนใกล้ตัวคงไม่ปลอดภัยแน่ รวมไปถึงครอบครัวด้วย:

ท่านได้สังหารวงศ์วานที่เหลือของราช บัลลังก์ฮัสโมเนียน สั่งฆ่าพวกสภาแซน เฮดรินไปว่าครึ่ง ฆ่าเจ้าหน้าที่ประจำศาลไปกว่าสามร้อย ฆ่าภรรยาตนเอง นางมาเรียม รวมถึงอเล็กซานดร้ามารดาของนางด้วย ฆ่าบุตรของตนเอง แอนติ พาเธอร์ อริสโตบูลูส และอเล็กซานเดอร์ จนเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง ก่อนตาย ท่านได้เรียกผู้คนในระดับสูงของเยรูซาเล็ม มารวมกันที่สนามกีฬาใหญ่ และ สั่งให้ฆ่าคนเหล่านี้ในทันทีที่มีการประกาศถึงการตายของท่าน คนที่มีจิตใจ โหดเหี้ยมผิดมนุษย์ และกลัวการแก่งแย่งขนาดนี้ การสั่งฆ่าเด็กทารกผู้ชาย ทั่วเมืองเบธเลเฮมจึงเป็นไปได้14

แต่เหตุใดบรรดาผู้นำศาสนาแห่ง เยรูซาเล็ม – มหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ – จึงตื่นตระหนก? อาจเป็นเพราะในพระคัมภีร์เดิม มีคำพยากรณ์อื่นๆอีก ซึ่งพวกเขาคุ้นเคยดี – เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการเสด็จมาของพระเมสซิยาห์ – ซึ่งฟังแล้ว น่าหวั่นใจ :

พระเจ้าตรัสว่า “วิบัติจงมีแก่ผู้เลี้ยงแกะ ผู้ทำลายและกระจายแกะของลานหญ้าของเรา” เพราะฉะนั้น พระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล ตรัสกับผู้เลี้ยงแกะผู้ดูแลประชากรของเรา ดังนี้ว่า “เจ้าทั้งหลายได้กระจายฝูงแกะของเราและได้ ขับไล่มันไปเสีย และเจ้ามิได้เอาใจ ใส่มัน พระเจ้าตรัสว่า ดูเถิด เราจะเอาใจใส่เจ้า เพราะการกระทำที่ชั่วของเจ้า แล้วเราจะ รวบรวมฝูงแกะของเราที่เหลืออยู่ออกจากประเทศทั้งปวง ซึ่งเราได้ขับไล่ให้เขาไปอยู่นั้น และจะนำเขากลับมายังคอกของเขา เขาจะมีลูกดกและทวีมากขึ้น พระเจ้าตรัสว่า เราจะตั้ง ผู้เลี้ยงแกะไว้เหนือเขา ผู้จะเลี้ยงดูเขาและเขาทั้งหลายจะไม่กลัวอีกเลย หรือครั่นคร้าม จะไม่ขาดไปเลย “พระเจ้าตรัสว่า ดูเถิด วันเวลาจะมาถึง เมื่อเราจะเพาะอังกูรชอบธรรม ให้ดาวิด และท่านจะทรงครอบครองเป็นกษัตริย์และ กระทำกิจอย่างเฉลียวฉลาด และจะ ทรงประทานความยุติธรรมและ ความชอบธรรมในแผ่นดินนั้น ในสมัยของท่านยูดาห์จะรอดได้ และอิสราเอลจะอาศัยอยู่อย่างมั่นคง และนี่จะเป็นนามซึ่งเราจะเรียกท่าน คือ ‘พระเจ้าเป็น ความชอบธรรม ของเรา’ เพราะฉะนั้น พระเจ้าตรัสว่า ดูเถิด วันเวลาจะมาถึง เมื่อคนของ เขาไม่กล่าวอีกต่อไปว่า ‘พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่ตราบใด ผู้ซึ่งได้นำประชาชนอิสราเอลออกมา จากแผ่นดินอียิปต์’ แต่จะว่า ‘พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่ตราบใด ผู้ซึ่งได้นำและพาเชื้อสาย แห่งประชาอิสราเอลออก มาจากแดนเหนือ และออกมาจากประเทศที่พระองค์ทรงขับไล่ ให้ไปอยู่นั้น’ แล้วเขาทั้งหลายจะได้อาศัยอยู่ในแผ่นดินของเขาเอง” (เยเรมีย์ 23:1-8)

การเสด็จมาของกษัตริย์อิสราเอล “กษัตริย์ของชาวยิว” หมายถึงระบอบการปกครองใหม่ทั้งหมด การบริหารประเทศในรูปแบบใหม่ หลังจากได้ยินว่าพวกโหราจารย์กำลังตามหา “กษัตริย์องค์ใหม่ของชาวยิว” บรรยากาศในกรุงเยรูซาเล็มคงจะพอๆกับในวอชิงตันดีซี เมื่อพรรคใดพรรคหนึ่งมีชัยชนะอย่างถล่มทลายต่อคู่ต่อสู้ในการเลือกตั้ง ส่วนเรื่องทารกถูกสังหาร เราจะมาเรียนเจาะลึกในบทเรียนหน้า มาถึงตอนนี้ คงพอจะบอกได้ว่าเฮโรดนั้นเป็นฆาตรกรที่โหดเหี้ยมเพียงใด ทุกการฆาตกรรมวางแผนไว้ล่วงหน้า ต้องตายไม่มีพลาด เมื่อเฮโรดรู้เรื่องดาวประหลาด คงเตรียมการไว้ในใจ สั่งพวกโหราจารย์ ให้เดินทางกลับมาบอกถึงสถานที่ๆจะพบพระกุมาร เพื่อจะได้ไปนมัสการบ้าง บางทีเฮโรดอาจกลัวว่าแผนจะผิดพลาด ผมเกือบได้ยินเฮโรดพูดกับตัวเองว่า “ดาวดวงนี้มันปรากฏมาเกือบปีแล้ว แสดงว่า “กษัตริย์” องค์นี้น่าจะประมาณหนึ่งขวบ เพื่อกันพลาดคงต้องฆ่าเด็กทารกตั้งแต่สองขวบลงมา” เรา พบว่ามัทธิวไม่ได้พูดถึงการตายอันน่าสยดสยองของเฮโรดหลังจากนั้นไม่นาน ท่านรู้ดีว่า เมื่อเวลามาถึง คนชั่วร้ายจะต้องฟื้นขึ้น เพื่อมารับการลงโทษชั่วนิรันดร์ ซึ่งสาสมกันดีกับสิ่งที่ทำไว้

พระกุมารเยซู

เราคงต้องปล่อยเรื่องของเฮโรดให้เป็นอดีต และจบบทเรียนตอนนี้โดยมุ่งไปที่พระเยซู ผู้ทรงเข้ามาครอบครองความนึกคิดของเรา ในระหว่างศึกษาบทเรียนของพระกิตติคุณเล่มนี้ สิ่งแรกที่มัทธิวบอกเราถึงพระกุมาร คือพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ ตามที่บันทีกอยู่ในลำดับพงศ์ 1:1-17 และพระองค์ทรงเป็น พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นตามความหมายของพระนาม คือพระเจ้าท่ามกลางเรา ทารกน้อยนี้เป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างไร? โดยถือกำเนิดมาอย่างบริสุทธิ์ เด็กที่อยู่ในครรภ์นางมารีย์ ไม่ได้เกิดขึ้นจากชายใด แต่โดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ (1:18-25) เพราะการถือกำเนิดอย่างพิเศษเช่นนี้ ทารกนี้จึง “เป็นผู้ที่จะโปรดช่วยชนชาติของท่านให้รอดจากความผิดบาปของเขา” (1:21) มัทธิวกล่าวว่า พระเยซูเป็นผู้ทำให้คำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะ ในพระคัมภีร์เดิมเป็นจริงถึงสี่ครั้งในบทที่ 2 เราจะย้อนมาพูดเรื่องนี้อีกทีในบทเรียนหน้า ให้เรามาพิจารณาดูพระลักษณะขององค์พระผู้เป็นเจ้าในบทนี้ด้วยกัน

ประการแรก พระเยซูประสูติที่เบธเลเฮม ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องสำคํญ แต่ไม่ควรมองข้าม ไม่ใช่ในมัทธิวเท่านั้น แต่ในพระกิตติคุณเล่มอื่นๆด้วย มัทธิวบอกเราว่าพระเยซูประสูติที่เบธเลเฮม (2:1) ตรงตามที่มีคาห์พยากรณ์ไว้ (2:6) ซึ่งเราเห็นได้ชัดเจน แต่หลังจากนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้พระ องค์ต้องเติบโตขึ้นในนาซาเร็ธ ในแคว้นกาลิลีแทน ดังนั้นพระองค์จึงถูกเรียกว่า “พระเยซูชาวนาซาเร็ธ” (มัทธิว 2:23 ฯลฯ) แต่ในสมัยของพระองค์ผู้คนเข้าใจผิด คิดว่าพระองค์เป็นชาวนาซาเร็ธโดยกำเนิด:

ฟีลิปไปหานาธานาเอลบอกเขาว่า “เราได้พบพระองค์ผู้ที่โมเสสได้กล่าวถึง ในหนังสือธรรมบัญญัติ และที่พวกผู้เผยพระวจนะได้กล่าวถึง คือ พระเยซู ชาวนาซาเร็ธบุตรโยเซฟ” นาธานาเอลถามเขาว่า “สิ่งดีอันใดจะมาจากนาซาเร็ธได้หรือ” ฟีลิปตอบว่า “มาดูเถิด” (ยอห์น 1:45-46)

เมื่อประชาชนได้ฟังดังนั้น บางคนก็พูดว่า “ท่านผู้นี้เป็นผู้เผยพระวจนะนั้นแน่” คนอื่นๆก็พูดว่า “ท่านผู้นี้เป็นพระคริสต์” แต่บางคนพูดว่า “พระคริสต์จะมาจากกาลิลีหรือ พระคัมภีร์กล่าวไว้มิใช่หรือ ว่าพระคริสต์จะมาจากเชื้อพระวงศ์ของดาวิด และมาจากหมู่บ้านเบธเลเฮม ชนบทซึ่งดาวิดเคยอยู่นั้น” (ยอห์น 7:40-42)

นิโคเดมัสผู้ที่ได้มาหาพระองค์คราวก่อน นั้น และเป็นคนหนึ่งในพวกเขา ได้กล่าว แก่พวกเขาว่า “กฎหมายของเราตัดสินคนใดโดยที่ยังไม่ได้ฟังเขาก่อน และรู้ว่า เขาได้ทำอะไรบ้างหรือ” เขาทั้งหลายตอบนิโคเดมัสว่า “ท่านมาจากกาลิลีด้วยหรือ จงค้นหาดูเถิด แล้วท่านจะเห็นว่าไม่มีผู้เผยพระวจนะเกิดขึ้นมาจากกาลิลี” (ยอห์น 7:50-52)

ทั้งมัทธิวและลูกา พูดอย่างชัดเจนว่าพระเยซูเป็น “ชาวนาซาเร็ธ” แท้ และเป็น “คนกาลิลี” และประสูติที่เบธเลเฮม พระองค์จึงทำให้คำพยากรณ์ในเรื่องสถานที่สำเร็จเป็นจริง

ประการที่สอง พระเยซูทรงเปิดเผยถึง “ความอ่อนแอ” บางอย่างให้เราเห็น แต่เป็น “ความอ่อนแอ” ที่ แข็งแกร่งกว่ามนุษย์ในหนังสือที่อาโปรกริปปาบันทึกไว้ มีแต่เรื่องราว “มหัศจรรย์” เหลือเชื่อหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับพระกุมารเยซู :

พระกุมารไม่ได้เป็นไปอย่างหนังสือที่ อาโปรกริปปาบันทึกไว้ หรือแม้แต่ในคัมภีร์ โกราน ที่พูดถึงพระสติปัญญาอันล้ำเลิศ หรือทรงทำอัศจรรย์ได้ตั้งแต่แบเบาะ พระองค์เป็นเพียงทารก ไม่มีรัศมีลอยอยู่เหนือศีรษะ ไม่มีแสงเปล่งออกมาจากพระ กาย และผู้คนยอมน้อมรับทารกน้อยนี้ (… ไม่ใช่นางมารีย์)15

ในมัทธิวบทที่ 2 ย้ำเตือนเราอีกครั้งถึงความเป็นมนุษย์ของพระเยซู ทรงบอบบางเหมือนทารกทั่วไป พระกุมารน้อยต้องการการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดา ปกป้องให้พ้นภัยจากเงื้อมมือของเฮโรดผู้จ้องจะฆ่า ต้องมีคนพาหนีไปอียิปต์ และพากลับอิสราเอลเมื่อปลอดภัย โยเซฟเป็นผู้ที่พระเจ้าตรัสสั่งในความฝัน ให้เป็นผู้ปกป้องทารกน้อยนี้ให้พ้นภัย และถึงแม้ในท่ามกลางเหตุการณ์ต่างๆที่ แสดงว่าพระองค์เป็นมนุษย์ ยังมีเหตุการณ์บางอย่าง ที่สำแดงให้รู้ว่าพระองค์ทรงเป็นมากกว่า พระองค์ทรงถือกำเนิดมาในฐานะ “กษัตริย์ของชาวยิว” (2:2) และเมื่อพระองค์ประสูติ มีดาวประหลาดปรากฏขึ้น เพื่อป่าวประกาศไป นำคนต่างชาติผู้มั่งคั่งจากแดนไกล เดินทางมาเพื่อนมัสการพระองค์ นำของบรรณาการมาถวาย – ทองคำ กำยาน และมดยอบ (2:11)16 ทารกนี้ เป็นเด็กพิเศษ และน่าอกสั่นขวัญแขวนสำหรับเฮโรดอย่างยิ่ง เด็กคนนี้ ในความเป็นมนุษย์และบอบบาง ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ ไม่มีสิ่งใดมายับยั้ง ไม่ให้พระองค์ทำพระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จ ใครจะไปนึกว่าพระเจ้าทรงส่งพระผู้ช่วยให้รอด ลงมาในโลกนี้ ในฐานะทารกน้อย อ่อนแอบอบบาง ช่วยตนเองไม่ได้

ประการที่สาม มนุษย์เป็นปฏิปักษ์และต่อต้านพระเยซู โดยเฉพาะชาวยิวพี่น้องร่วมชาติ คำพยากรณ์ใน มัทธิว 2:23 ทำให้หลายคนวุ่นวายใจ:

ไปอาศัยในเมืองหนึ่งชื่อนาซาเร็ธ เพื่อจะสำเร็จตามพระวจนะ ซึ่งตรัสโดยผู้เผยพระวจนะ เขาจะเรียกท่านว่า ชาวนาซาเร็ธ

ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีพระคำตอนไหนที่กล่าวว่า “พระเยซูจะถูกเรียกว่า เป็นชาวนาซาเร็ธ” เจมส์ มอนท์โกเมอรี่ บอยส์ ชี้ให้เห็นข้อสังเกตุสำคัญสองประการ :

ข้อแรก เราต้องดูว่ามัทธิวเขียนพระคำข้อนี้โดยอ้างถึงคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะ (เป็นพหูพจน์ – โดยบรรดาผู้เผยพระวจนะ) มากกว่าที่ท่านพูดถึงในตอนอื่นๆ ‘เพื่อจะสำเร็จตามพระวจนะ ซึ่งตรัสโดยผู้เผยพระวจนะ’ (มัทธิว 1:22) หรือ ‘เพราะว่าผู้เผยพระวจนะได้เขียนไว้’ (มัท ธิว 2:5) ซึ่งเป็นการกล่าวแบบกว้างๆ ไม่ได้เจาะจงไปที่ข้อพระคำข้อหนึ่งข้อใดในพระคัมภีร์เดิม17

นอกจากนี้ ท่านยังแทนคำกริยาที่ใช้ประจำเป็นต้นแบบ (ตรัส) ควบคู่ไปกับคำ hoti ซึ่ง คือคำว่า “โดย” เกิดขึ้นครั้งเดียวในพระกิตติคุณฉบับนี้ มัทธิวคงไม่ได้เจาะจงไปที่พระคัมภีร์เดิมตอนใด ตอนหนึ่ง แต่พูดตามคำสอนในพระวจนะทั่วๆไป ดังนั้นท่านจึงพูดว่า ‘เพื่อจะสำเร็จตามพระ วจนะ ซึ่งตรัสโดยผู้เผยพระวจนะ เขาจะเรียกท่านว่าชาวนาซาเร็ธ ’18

บอยส์ส์กล่าวว่า ไม่มีที่ใดในพระคัมภีร์เดิมที่บ่งว่า พระเยซูจะถูกเรียกว่าเป็นชาวนาซาเร็ธ แล้วเราจะตอบปัญหานี้อย่างไร? ผมคิดว่าบอยส์มีคำอธิบายที่ดีที่สุด :

คำอธิบายที่เหมาะสม อาจเป็นได้ว่านาซาเร็ธเป็นสถานที่ๆน่ารังเกียจ เป็นหมู่บ้านที่ไม่มีใครอยากไป “ข้องแวะ” ด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนยิวว่าควรอยู่ห่างเอาไว้ สิ่งที่มัทธิวพยายามจะสื่อ คือสิ่งที่ผู้เผยพระวจนะทำนายว่า พระเมสซิยาห์จะเป็นที่ชิงชังรังเกียจ เป็นบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชัง 19

บรูเนอร์ให้ความเห็นในทำนองเดียวกัน :

ตามเหตุผลทางทฤษฎี ผมอยากจะกล่าวถึง … ความเป็นไปได้ หรือน่าเป็นไปได้ว่าสำหรับมัทธิว ใครก็ตามถ้าได้ชื่อว่ามาจากนาซาเร็ธ หรือเป็นชาวนาซาเร็ธแล้ว เป็นเหมือนคนที่ถูกมองข้าม และเหตุนี้ ผู้เผยพระวจนะจึงพยากรณ์บ่อยครั้งว่าพระคริสต์จะอยู่ท่ามกลาง และเพื่อเราทั้งหลาย 20 ดังนั้นเมื่อ“ท่านถูกเรียกว่าเป็นชาวนาซาเร็ธ” ความหมายก็น่าจะแปลว่า “เป็นผู้ที่ถูกมองข้าม”21

ผมคิดว่าคำอธิบายของทั้งบอยส์และ บรูเนอร์นั้นดีมาก และสอดคล้องอย่างดีกับคำพยากรณ์ของบรรดาผู้เผยพระวจนะที่เล็งถึงพระเมสซิยา ห์ ดังนั้นหลายต่อหลายครั้ง เราพบคำพยากรณ์ที่กล่าวว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดที่ถูกเกลียดชัง :

ท่านได้ถูกมนุษย์ดูหมิ่นและทอด ทิ้ง เป็นคนที่รับความเจ็บปวด และคุ้นเคยกับ ความเจ็บไข้และดังผู้หนึ่งซึ่งคนทนมองดูไม่ได้ ท่านถูกดูหมิ่น ท่านได้ถูกมนุษย์ ดูหมิ่นและทอดทิ้ง เป็นคนที่รับความเจ็บปวด และคุ้นเคยกับความเจ็บไข้ และดัง ผู้หนึ่งซึ่งคนทนมองดูไม่ได้ ท่านถูกดูหมิ่น (อิสยาห์ 53:3).22

ประการที่สี่ พระเยซูทรงเป็นอิสราเอลใหม่ ในบทที่ 1 มัทธิวเชื่อมโยงพระเยซูเข้ากับอับราฮัมและดาวิด (1:1-17) ในบทที่ 2 มัทธิวขยายวงกว้างออกไปอีก แรกเราเห็นว่าพระเยซูถูกโยงเข้ากับโมเสส โมเสส “ผู้ช่วยกู้” ที่พระเจ้าเลือกให้มาช่วยประชากรของพระองค์ ดังนั้นกษัตริย์ (ฟาโรห์) จึงแสวงชีวิตของท่าน ตั้งแต่ยังเป็นทารก23 พระเจ้าช่วยกู้โมเสสเช่นเดียวกับที่ทรงช่วยพระเยซู มัทธิวยังโยงพระเยซูเข้ากับ ประเทศอิสราเอล เราจึงประหลาดใจที่ “คำพยากรณ์” ในพระธรรมโฮเซยาห์ 11:1 สำเร็จเป็นจริงในองค์พระเยซู :

ครั้นเขาไปแล้วก็มีทูตองค์หนึ่งของ พระเป็นเจ้า ได้มาปรากฏแก่โยเซฟใน ความฝันแล้วบอกว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดาหนีไปประเทศอียิปต์ และคอยอยู่ที่นั่นจนกว่าเราจะบอกเจ้า เพราะว่าเฮโรดจะแสวงหากุมาร เพื่อจะประหารชีวิตเสียในเวลากลางคืนโยเซฟจึงลุกขึ้น พากุมารกับ มารดาไปยังประเทศอียิปต์ และได้อยู่ที่นั่นจนเฮโรดสิ้นพระชนม์ ทั้งนี้เกิด ขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ซึ่งได้ตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะว่า เราได้เรียกบุตรของเราให้ออกมาจากอียิปต์ (มัทธิว 2:13-15)

คนยิวคนไหนในสมัยของพระเยซู จะไปคิดว่าพระธรรมโฮเซยา 11:1 เป็นคำพยากรณ์ คำพยากรณ์ที่ เกิดขึ้นเป็นจริงข้อนี้ ทำให้หลายคนงงเพราะนึกไม่ถึง ให้เรามาดูเหตุผลของมัทธิวกัน ชาวอิสราเอลละ ทิ้งแผ่นดินคานาอัน ไปชีวิตต่างแดนที่ในอียิปต์ถึง 400 ปี เมื่อถึงเวลา พระเจ้าส่งโมเสสมาช่วยประชากรของพระองค์กลับคืนสู่ดินแดนพันธสัญญา (ดูปฐมกาล 15:12-21) ตามบันทึกของมัทธิว พระเยซูย้อนรอยอดีตอิสราเอล ในวัยทารก พระองค์ถูกนำไปอียิปต์ (สถานที่ๆพระเจ้าเตรียมไว้เพื่อปก ป้องประชากรของพระองค์ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงปกป้องพระเยซู) หลังพลัดพรากจากบ้านไปอยู่ที่อียิปต์ พระองค์ทรงเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ ดินแดนแห่งพันธสัญญา เช่นเดียวบรรพบุรุษอิสราเอลเคยทำในอดีต

พระเจ้าสัญญากับอับราฮัมว่า จะทรงอำนวยพระพรประชาชาติผ่านทางเชื้อสายของท่าน (ปฐมกาล 12:1-3) แต่เป็นเพราะความบาป ไม่มีผู้ใดในอิสราเอลชอบธรรมพอที่จะเป็นพระพรไปสู่ประชาชาติ พระเยซูทรงเป็นอิสราเอลที่สมบูรณ์แบบ เป็นตัวแทนที่เหมาะสมยิ่งของประเทศ พระเยซูทรงเป็น “เชื้อสาย” ที่กล่าวถึงนี้ เป็นแหล่งที่พระพรจากพระสัญญาอับราฮัมจะเทออกไหลไปสู่ผู้อื่น :

ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่ง ถึงแม้เป็นคำสัญญาของมนุษย์ เมื่อได้รับรองกันแล้ว ไม่มีผู้ใดจะล้มเลิกหรือเพิ่มเติมขึ้นอีกได้ บรรดาพระ สัญญา ที่ได้ประทานไว้แก่อับราฮัมและพงศ์พันธุ์ของท่านนั้น มิได้ตรัสว่า และแก่พงศ์พันธุ์ทั้งหลาย เหมือนอย่างกับว่าแก่คนมากคน แต่เหมือนกับว่าแก่คนผู้เดียวคือ แก่พงศ์พันธุ์ของท่าน ซึ่งเป็นพระคริสต์ (กาลาเทีย 3:15-16)

อิสราเอลเป็นชาติที่ดื้อดึงและชอบกบฏ แม้ผู้นำที่ยิ่งใหญ่อย่างโมเสส ดาวิด และซาโลมอน ก็ยังเป็นคนบาป มีเพียงพระเยซูเท่านั้น ผู้เป็น “บุตรของอับราฮัม” และเป็น “บุตรดาวิด” และเป็น “บุตรพระเจ้า” ด้วย พระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทำให้อนาคตของอิสราเอลสำเร็จเป็นจริง เป็นแหล่งแห่งพระพรฝ่ายวิญญาณทุกอย่าง ดังนั้นมัทธิวจึงประกาศว่า พระเยซูทรงเป็นผู้ทำให้พระสัญญา เรื่องพระพรของพระเจ้า และความหวังของอิสราเอลสำเร็จเป็นจริงสมบูรณ์ :

ถ้าเจาะลึกลงไปอีก บรรดานักแปลความหมายพบว่า สิ่งที่พระเยซูทำในบทที่ 2 เหมือนกับสิ่งที่คนอิสราเอลในยุคโบราณเคยทำมาแล้ว พระองค์ทรงละจากแผ่นดินพันธสัญญาอิสราเอลไปยังประเทศเจ้าเก่าที่ใช้หลบภัย อียิปต์ เหมือนกับบุคคลสำคัญทั้งหลาย (จากอับราฮัมไปยังโยเซฟ) ได้ทำในครั้งโบราณ เหมือนกับโมเสสที่สองในอพยพ พระเยซูถูกเรียกให้ออกมาจากอียิปต์ กลับคืนสู่ดินแดนพันธสัญญาอีกครั้ง (‘เราได้เรียกบุตรของเราให้ออกมาจากอียิปต์’) ทั้งหมดนี้ มัทธิวบอกเราว่า “ดูสิ อิสราเอลใหม่!”24

มัทธิว 1 สอนเราเรื่องปฐมกาลใหม่ โดยย้อนประวัติศาสตร์การกำเนิดของบุตรอับราฮัมและบุตรดาวิดตามพระสัญญา มัทธิว 2 จึงสอนเราเรื่องการอพยพใหม่ การเข้าไปอาศัยและออกจากประเทศอียิปต์ของพระเยซู หรือโมเสสใหม่ พระเยซูทรงทำให้พระวจนะสำเร็จสมบูรณ์ ในฐานะของพระเมสซิยาห์ : มัทธิวบทที่ 1 แสดงให้เห็นโดยการสืบทอดลำดับพงศ์ของพระเยซู (อับราฮัม และดาวิด); มัทธิวบทที่ 2 แสดงให้เห็นถึงสถานที่ๆพระองค์เสด็จไป (เบธเลเฮม อียิปต์ อิสราเอล) … .25

… พระองค์เองคือภาพรวมของอิสราเอลทั้งหมด (เป็นตัวแทนของมนุษยชาติ) เป็นถ้วยที่ต้องดื่มจนหยดสุดท้าย เพื่อจะซึมซับเอาไว้ให้หมดสิ้น

“สิ่งที่อิสราเอลเคยเป็นมาทั้งหมด หลอมรวมอยู่ในพระบุคคลขององค์พระเยซู” (จากข้อเขียนของ Meier, Vis., 55, n. 19) พระเยซูคริสต์คืออิสราเอลใหม่ อิสราเอลทำในสิ่งที่พระคัมภีร์ทำนายไว้ทุกประการ ทุกสิ่งที่อิสยาห์เผยไว้สำเร็จเป็นจริงในองค์พระเยซูคริสต์ เกิดขึ้นเป็นจริงโดยคนอิสราเอลเพียงคนเดียว เป็นไปตามหลักการพระคัมภีร์ที่ออสการ์ คัลมานเรียกว่า “ปฏิรูปแบบถดถอย” เมื่อมนุษย์ล้มเหลว (ปฐก. 1-11) อิสราเอลถูกเลือกให้เป็นหนทางความรอดสำหรับมนุษย์ทั้งมวล (ปฐก. 12) เมื่ออิสราเอลล้มเหลว เยซูชาวนาซาเร็ธ คนอิสราเอลทำสำเร็จในนามและเพื่ออิสราเอลเอง (มัทธิว 1) และเมื่อ “การปฏิรูปเดินหน้า” พระเยซูทรงตั้งคริสตจักรของพระองค์เอง เพื่อประชากรใหม่ของพระเจ้า เป็นเกลือ เป็นแสงสว่าง และเป็นสาวกจากทุกชนชาติ (มัทธิว 5;13-16; 28:18-20) จนกว่าพระองค์เสด็จกลับมาเมื่อสิ้นยุค ในบุคคลของพระเยซูองค์เดียว ทรงขมวดของเดิมเสีย และเปิดฉากใหม่ด้วยคริสตจักรของพระองค์เป็นประวัติศาสตร์แห่งความรอดของ อิสราเอลเพื่อโลกมนุษย์ 26

บทสรุป

ผมขอสรุปบทเรียนนี้ด้วยข้อคิดบางประการ

ข้อแรก พระเยซูทรงแบ่งแยกมนุษย์ได้อย่างอัศจรรย์ เรา เห็นข้อแตกต่างนี้ได้อย่างขัดเจนในมัทธิวบทที่ 2 ด้านหนึ่งคือพวกโหราจารย์ ที่เดินทางมาจากแดนไกล (อย่างยากลำบาก) มาเพื่อค้นหา และนมัสการกษัตริย์ของชาวยิว อีกด้านหนึ่งคือเฮโรดในฐานะผู้นำศาสนาและเป็นคนเยรูซาเล็ม เฮโรดได้ทำสิ่งโหดเหี้ยมที่สุด ตามสังหารพระกุมารเยซู ส่วนคนที่เหลือไม่ให้ความสนใจกับพระองค์ เมื่อมนุษย์เผชิญหน้าพระเยซู พวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะน้อมรับพระองค์เป็นพระผู้ช่วยตามที่พระเจ้าทรงสัญญา ไว้ หรือจะปฏิเสธพระองค์ เมื่อคุณศึกษาบทเรียนนี้ คุณเองคืออีกคนที่ต้องเลือก : จะรับพระเยซูในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดของพระเจ้า หรือคุณจะปฏิเสธพระองค์ดี? ไม่มีทางสายกลางครับ ไม่เคยมี คุณอยากอยู่ฝ่ายไหน เฮโรด หรือโหราจารย์?

ข้อสอง บทเรียนตอนนี้เตือนเราว่า มีความรู้เรื่องพระเยซูตามพระคัมภีร์เท่านั้นไม่พอ เรา ต้องลงมือทำตามความรู้นั้นเพื่อจะรับความรอดได้ พวกโหราจารย์ต่างชาติไม่ได้มีความรู้เรื่องพระเยซูเท่ากับพวกผู้นำศาสนาใน เยรูซาเล็ม ถึงกระนั้นพวกเขาทำตามเท่าที่รู้ ออกตามหาพระกุมารเยซู และนมัสการพระองค์ พวกเขาพบทางแห่งความรอด ; แต่ชาวเยรูซาเล็มเองกลับไม่พบ

นี่คือคำสอนทิ้งท้ายที่พระเยซูให้ไว้ในคำเทศนาบนภูเขาใช่หรือไม่?

“เหตุฉะนั้นผู้ใดที่ได้ยินคำเหล่านี้ของ เรา และประพฤติตาม เขาก็เปรียบเสมือนผู้ที่มีสติปัญญาสร้างเรือนของตนไว้บนศิลา ฝนก็ตกและน้ำก็ไหลเชี่ยว ลมก็พัดปะทะเรือนนั้น แต่เรือนมิได้พังลง เพราะว่ารากตั้งอยู่บนศิลา แต่ผู้ที่ได้ยินคำเหล่านี้ของเราและไม่ประพฤติตามเขาก็เปรียบเสมือนผู้ที่ โง่เขลา สร้างเรือนของตนไว้บนทราย ฝนก็ตกและน้ำก็ไหลเชี่ยว ลมก็พัดปะทะเรือนนั้น เรือนนั้นก็พังทลายลง และการซึ่งพังทลายนั้นก็ใหญ่ยิ่ง” (มัทธิว 7:24-27)

เมื่อคุณได้ยินเรื่องราวของพระเยซูแล้ว คุณได้ลงมือทำหรือยัง? อย่าลืมว่าแค่รู้อย่างเดียวไม่พอ

ข้อสาม บทเรียนตอนต้นของพระกิตติคุณมัทธิว จะช่วยเตรียมเราสำหรับเรื่องราวต่างๆที่จะตามมาของพระกิตติคุณเล่มนี้ เราเรียนรู้ว่าพระเยซูทรงเป็นทั้ง “บุตรพระเจ้า” และ “บุตรมนุษย์” เป็นมนุษย์และเป็นพระเจ้า ทุกสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำและตรัสในพระกิตติคุณเล่มนี้ นำไปสู่บทสรุปเพียงบทเดียว เมื่อพระองค์ถือกำเนิด มีบางคนปฏิเสธพระองค์ แต่ก็มีบางคนเชื่อ แม้เวลาผ่านไป ทุกอย่างยังเหมือนเดิม พระเยซูถูกประชากรของพระองค์เองปฏิเสธ (ยอห์น 1:11-12) แต่พวกต่างชาติต่างศาสนากลับยอมรับพระองค์ พระเยซูทรงเป็นอิสราเอลแท้ เป็นผู้ทำให้พระสัญญาสำเร็จเป็นจริง และเป็นความหวังของอิสราเอล คำนำของมัทธิวสำหรับพระกิตติคุณที่แสนมหัศจรรย์เล่มนี้ เตรียมเราให้พร้อมรับเรื่องราวยิ่งใหญ่ที่รอเราอยู่เบื้องหน้า

ข้อสี่ มัทธิวเปลี่ยนมุมมองการอ่านพระคัมภีร์เดิมของเรา มัท ธิวมองเห็นพระเยซูในพระคัมภีร์เดิม ในที่ๆเราไม่คาดคิด เป็นเพราะในหลายๆด้าน พระเยซู อิสราเอลใหม่ ทรงเป็นคำตอบสุดท้ายในพระสัญญาของพระเจ้า เป็นความหวังของอิสราเอล ท่านเห็นพระเยซูในการอพยพออกจากอียิปต์ (โฮเชยา 11:1) ท่านเห็นพระเยซูในที่ๆเราไม่เห็น บางทีสิ่งนี้บอกว่าเราควรมองหาพระเยซูในพระคัมภีร์เก่าให้มากกว่าเดิม และบ่อยกว่าด้วย เราจึงไม่ประหลาดใจเมื่อได้อ่านจากปลายปากกาของ อ.เปาโล :

และได้รับประทานอาหารทิพย์ทุกคน และได้ดื่มน้ำทิพย์ทุกคน เพราะว่าเขาได้ดื่มน้ำซึ่งไหลออกมาจากพระศิลาที่ติดตามเขามา พระศิลานั้นคือพระคริสต์ (1 โครินธ์ 10:3-4)

ขอให้เรามองหาพระเยซูเมื่อเราอ่านพระคัมภีร์เดิม พระองค์ทรงอยู่ที่ั่นั่นมากกว่าที่เราคิด

ข้อห้า มัทธิวมีวิสัยทัศน์ ในพระราชกิจ ไม่ใช่เฉพาะตอนจบของพระกิตติคุณเท่านั้น (28:18-20) มีตั้งแต่เริ่มแรกทีเดียว เหตุ ใดผู้เขียนชาวยิว เขียนพระกิตติคุณเพื่อคนยิว จึงเขียนเรื่องคนต่างชาติตั้งแต่สองบทแรก หรือเป็นเพราะส่วนสำคัญที่สุดในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ คือข่าวประเสริฐเรื่องความรอดและพระพรที่พระเจ้าเตรียมไว้ให้แก่ชนทุกชาติ ไม่ใช่แค่อิสราเอล พระสัญญาอับราฮัมเป็นพระสัญญาแห่งพระพรที่มีให้ทั้งอิสราเอล และมนุษยชาติ นี่คือเหตุที่พระเยซูทรงสำแดงเรื่องชาวต่างชาติให้เห็นชัดเจนในพระกิตติคุณ ลูกา 4:16-30 และที่มัทธิวรวมเชื้อสายคนต่างชาติอยู่ในลำดับพงศ์ของท่าน และอีกครั้งในบทที่ 2 ด้วย พวกเราในฐานะคนต่างชาติ ควรมองเห็นว่าเรามีทางเลือกในเรื่องความบาป และการที่พระเยซูอภัยให้ โดยชดใช้ด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง พวกยิวด้วยต้องรับผิดชอบต่อการกบฏและการปฏิเสธพระองค์ มัทธิวเป็นหนังสือแห่งพระกิตติคุณ ; เป็นการประกาศข่าวประเสริฐเรื่องของขวัญแห่งชีวิตนิรันดร์ และการอภัยโทษบาปที่พระเจ้าทรงมอบให้แก่มนุษย์ทุกคน

เป็นพระกิตติคุณที่จบลงด้วยคำสั่ง สั่งให้เรานำข่าวดีนี้ไปบอกกับทุกชนชาติ เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำ แต่ อยากให้เราเรียนรู้ด้วยว่า ถึงแม้มนุษย์ล้มเหลวในการทำตามพระมหาบัญชา ที่ให้ไปเป็น “แสงสว่างแก่ประชาชาติ” แต่พระเจ้าจะทรงนำคนที่พระองค์เลือกสรรไว้ให้มาถึงพระองค์ได้ ถึงแม้อิสราเอลล้มเหลวในการเป็น “แสงสว่างแก่คนต่างชาติ” พระเจ้าทรงมุ่งไปยังโหราจารย์ นำพวกเขามานมัสการพระกุมารเยซู แต่นี่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่ทำตามพระมหาบัญชา ; แต่เป็นการหนุนใจว่าพระเจ้าไม่มีวันปล่อยให้ผู้ที่พระองค์เลือกสรรไว้หลงหาย ไป ไม่ว่าจะบาปแคไหน ไม่ว่าเราจะอยู่ไกลสุดหล้าฟ้าเขียวแค่ไหนก็ตาม

เมื่อเราย้อนนึกถึงเรื่องพระเจ้า “ทรงเรียก” พวกโหราจารย์มา ทำให้เราอดคิดถึงคำพูดของ อ.เปาโลใน หนังสือเอเฟซัสที่กล่าวถึงความรักและพระคุณของพระเจ้า ที่ทรงเรียกให้คนต่างชาติมาพบพระองค์ :

เหตุฉะนั้นท่านจงระลึกว่า เมื่อก่อนท่านเคยเป็นคนต่างชาติตามเนื้อหนัง และพวกที่รับพิธีเข้าสุหนัตซึ่งกระทำแก่เนื้อหนังด้วยมือ เคยเรียกท่านว่า เป็นพวกที่มิได้เข้าสุหนัต จงระลึกว่า ครั้งนั้นท่านทั้งหลายเป็นคนอยู่นอกพระคริสต์ ขาดจากการเป็นพลเมืองอิสราเอล และไม่มีส่วนในบรรดาพันธสัญญาซึ่งทรงสัญญาไว้นั้น ไม่มีที่หวัง และอยู่ในโลกปราศจากพระเจ้า แต่บัดนี้ในพระเยซูคริสต์ ท่านทั้งหลายซึ่งเมื่อก่อนอยู่ไกล ได้เข้ามาใกล้โดยพระโลหิตของพระคริสต์ (เอเฟซัส 2:11-13)

โดย : Robert L (Bob) Deffinbaugh

ได้รับอนุญาตและเป็นลิขสิทธิของ https://bible.org/

แปล : อรอวล ระงับภัย (Church of Joy)


1 นอกเหนือจากที่กล่าวมา พระวจนะคำที่นำมาใช้ทั้งหมดมาจาก NET Bible (The NEW ENGLISH TRANSLATION) หรือ THE NET BIBLE เป็นการแปลพระคัมภีร์ใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่นำฉบับแปลภาษาอังกฤษเดิมที่แปลไว้แล้วมาเรียบเรียงใหม่ แต่เป็นการแปลโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์มากกว่า 20 ท่าน แปลตรงจากฉบับภาษาฮีบรู อาราเมค และภาษากรีก วัตถุประสงค์ในการแปลคือต้องการเผยแผ่พระวจนะโดยสื่ออีเลคโทรนิค เพื่อใช้ในระบบอินเตอร์เน็ท หรือเก็บไว้เป็นซีดี (compact disk) ทุกคนในโลกที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ท สามารถคัดลอกนำ NET Bible ไปใช้ส่วนตัวได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ ผู้ใดต้องการแบ่งปันพระวจนะกับผู้อื่น สามารถคัดลอกหรือพิมพ์แจกจ่ายเพื่อการศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้ง สิ้น เว็บไซด์ที่ใช้คือ : www.netbible.org.

2 จากหนังสือของ J. W. Shepard, The Christ of the Gospels, p. 41. Everett Harrison in his book, Introduction to the New Testament (Grand Rapids: Eerdmans, 1964

3 ดูยอห์น 21:25

4 ดูข้อ 1: “หลังจากพระเยซูได้ทรงบังเกิด ในเยรูซาเล็ม… .” และจากอายุของเด็กๆที่ถูกฆ่า เราจึงรู้ว่าพระเยซูไม่ได้อยู่ในรางหญ้า แต่อาศัยอยู่ในบ้าน (2:11)

5 เหตุใดมัทธิวจึงบอกเราว่า “ดาว” ดวงนั้นปรากฎอีกครั้ง และเหล่าโหราจารย์ยินดียิ่งนักที่ได้เห็นดาว ดวงนั้นอีก (2:9-10)?

6 เฟรเดอริค บรูเนอร์ พยายามอธิบายว่าเหตุใดพระเจ้าจึงให้ดาวนำทางโหราจารย์มา มากกว่าเปิดเผยโดยทางพระวจนะ: “นักดาราศาสตร์ต่างชาติที่น่ารังเกียจเหล่านี้ ไม่มีสิ่งใดดีเลยได้แต่กราบไหว้รูปเคารพ แต่กลับถูกนำมาอิสราเอล แทนชนชาติที่รับการเปิดเผยมาก่อนทางพระวจนะ ชาวต่างชาติกลับเป็นพวกที่ติดตามแสวงหา ในขณะที่ประชากรของพระเจ้านั่งเฉยอยู่กับที่ พวกต่างชาติน่ารังเกียจกลับเชื่อพระวจนะ คนของพระเจ้าไม่ใส่ใจ” นี่คือสิ่งที่มัทธิวค้นพบตั้งแต่ศตวรรษแรก (จากหนังสือของ Bruner, The Christbook: A Historical/Theological Commentary, Waco, Texas: Word Books, 1987, vol. 1, pp. 47-48) ถ้าผมเรียงลำดับเหตุการณ์ถูกต้อง โหราจารย์อาจไม่เคยรู้เรื่องคำพยากรณ์ของมีคาห์ 5:2 มาก่อน แต่อาจได้รับการบอกเล่าว่าจะมี “กษัตริย์ชาวยิว” มาบังเกิดที่เบธเลเฮม

7 บรูเนอร์หน้า 45

8 “สำหรับคนอิสราเอล พวกโหราจารย์เป็นคนต่างชาติที่กราบไหว้รูปเคารพ และยังยึดถือเช่นนั้นจนถึง พระคัมภีร์ใหม่ และถูกพูดถึงในแง่ไม่ดีนัก (ตัวอย่างเช่น กิจการ 8:9-24 ซีโมนคนทำวิทยาคม และใน กิจการ 13:6-11 เอลีมาสหรือบารเยซู (ผู้ทำนายเท็จ ) พวกเขาเป็นพวกแสวงหาคำตอบหรือสอนผู้อื่น ให้แสวงหาจากสิ่งทรงสร้างไม่ใช่จากพระผู้สร้าง พวกเขาคิดคำนวณ และใช้สติปัญญาของตนเอง (เช่น เรื่องจักรราศี) แสวงหาความหมายจากสิ่งต่างๆ คนอิสราเอลจึงรังเกียจพวกหมอดูต่างชาติพวกนี้” บรูเนอร์ หน้า 45

9 เรื่องดาราศาสตร์ในสมัยนั้น อ่านได้จาก Michael Green, Matthew For Today: Expository Study of Matthew (Dallas, Texas: Word Publishing, 1989), pp. 49-50.

10 มุมมองนี้ดูได้จากหนังสือของ James Montgomery Boice, The Gospel of Matthew (Grand Rapids, Michigan: Baker Books, 2001), vol. 1, p. 30.

11 บรูเนอร์ หน้า 50. ตอนผมอ่านผมว่าบรูเนอร์ไม่ถูกต้องทีเดียวนัก ที่กล่าวว่าหลังจากโหราจารย์นมัสการพระเยซูแล้ว คำว่า”กษัตริย์” ถูกถอดไป น่าจะเป็นหลังจากอ้างข้อพระคำมีคาห์ 5:2 แล้วจึงเหลือแค่ “เฮโรด” เฉยๆใน 2:7 อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตุของบรูเนอร์นั้นน่าสนใจมาก

12 ถ้าข้อมูลของผมถูกต้อง เฮโรดน่าจะครอบครองมาแล้วประมาณ 33 ปี (กรีน หน้า48) คงอยู่ในราว 40 ปีก่อนคริสตกาล และปกครองจนถึงสมัยพระเยซู ดังนั้นเมื่อท่านตายน่าจะอายุราวๆ 70 ปี คนแก่ขนาดนี้กลัวเด็กทารกทำไม? หรือท่านเป็นเหมือนเราทั้งหลาย ชอบคิดว่าความตายยังอยู่ห่างไกล

13 กรีน หน้า 52

14 ดู 1 โครินธ์ 1:25

15 บรูเนอร์ หน้า 49

16 มีการเอ่ยถึงการ “นมัสการ” พระเยซูเพียงครั้งเดียวในพระกิตติคุณมาระโก แต่ในมัทธิวพูดถึงสิบครั้ง; … .” บรูเนอร์ หน้า 49

17 บอยส์ vol. 1, หน้า. 42

18 บรูเนอร์ vol. 1, หน้า 42

19 ไอบิด vol. 1, หน้า 42

20 ไอบิด หน้า 62

21 ไอบิด หน้า. 62

22 ให้ดูสดุดี 22:6-8, 13, 17; 69:9, 19-21; อิสยาห์ 49:7; 50:6; ดาเนียล 9:26

23 เรามองเห็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันระหว่างพระเยซูและดาวิด ดาวิดได้รับการเจิมตั้งโดยซามูเอลให้เป็น กษัตริย์อิสราเอลองค์ใหม่ แต่ก็ต้องหลบหนีซาอูลกษัตริย์อิสราเอลในตอนนั้นซึ่งแสวงชีวิตของกษัตริย์ องค์ใหม่อยู่ตลอดเวลา

24 บรูเนอร์ หน้า 57

25 ไอบิด หน้า 59

26 บรูเนอร์ หน้า 60

Related Topics: Incarnation

Report Inappropriate Ad