MENU

Where the world comes to study the Bible

บทที่ 8: ซาอูลสละราชอาณาจักร (1 ซามูเอล 13:1-14)

คำนำ

เพื่อนสนิทผม สามีภรรยาคู่หนึ่งตัดสินใจว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนรถเป็นรถตู้คันเล็กๆ ถึงแม้รถคันเก่ายังคงใช้งานได้ แต่ก็มีเรื่องมาให้ซ่อมได้ไม่หยุด เคร็กและเกรซจึงมีการ ปรึกษากันถึงข้อดีข้อเสียในการซื้อรถใหม่ ในที่สุดซื้อรถใหม่นับเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ถึงแม้ อาจต้องใช้เงินเกินงบ แต่พวกเขาตัดสินใจจะดูแลรถคันใหม่อย่างดีที่สุด เพื่อจะได้เก็บ ไว้ใช้นานๆให้สมราคา แต่พอขับคันใหม่ไปได้ไม่ถึง 20.000 กิโลดี สายพานเกิดขาด – เป็นสายพานที่ควบคุมการทำงานแทบทุกอย่าง ไม่ว่าเป็นพวงมาลัย ปั๊มป์น้ำ ระบบไฟ ฯลฯ ทำ ให้รถร้อนเกินขนาด ถึงแม้จะเปลี่ยนสายพานใหม่แล้วก็ตาม ทั้งคู่ก็ยังรู้สึกไม่ ค่อยจะวางใจเวลาขับไปอีกนาน วันหนึ่งขณะที่ขับกลับจากงานปิกนิกของโบสถ์ มีพายุ ใหญ่ระหว่างทาง มีก้อนกรวดทรายกระเด็นมาตกใส่รถมากมาย และที่แย่ไปกว่านั้น จน นึกไม่ถึง พอเข้าไปในเมืองก็ถูกชนท้ายอย่างแรง กว่าจะสะสางเรื่องจบ เคร็กถึงกับพูด ว่า "เดี๋ยวนี้ให้ล้าง ยังไม่อยากจะล้างเลย"

บางสิ่งเริ่มต้นอย่างสวยงาม — แล้วก็ถูกโศกนาฏกรรมจู่โจมอย่างแทบตั้งตัวไม่ติด และสิ่งนี้ก็เกิดกับเคร็ก เพื่อนของผม รถตู้กระทัดรัดคันใหม่ สีสวย เครื่องยนตร์เยี่ยม แต่เป็นไปเพียงระยะเวลาอันสั้น ก็เจอกับปัญหามากมาย เมื่อผมเริ่มบทเรียนในตอนนี้ อาณาจักรของซาอูล ทำให้ผมนึกถึงเรื่องรถคันนี้ขึ้นมา ซาอูลเริ่มต้นการปกครองอย่าง สวยงาม อย่างผู้มีชัย หลังจากมีการเลือกและแต่งตั้ง ซาอูลนำอิสราเอลไปจนได้รับ ชัยชนะเหนือคนอัมโมน (1 ซามูเอล 11) หลังจากความเบิกบานใจสูงสุดผ่านพ้นไป ประชาชนก็กลับลงมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง โดยคำตำหนิของซามูเอลในบทที่ 12 และด้วยฤทธิอำนาจของพระเจ้า พระองค์ส่งพายุใหญ่ลงมาตามที่ซามูเอลกำหนดไว้ คือ ช่วงของการเก็บเกี่ยว และตอนนี้ พอย่างเข้าบทที่ 13 ของ 1 ซามูเอล มีเหตุการณ์ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้บุตรของซาอูลหมดโอกาสที่จะขึ้นครองราชย์แทนบิดา

ถ้าเราเปิดใจกับบทเรียนนี้ เราต้องยอมรับว่าสิ่งที่ซาอูลทำ ก็ไม่ถึงกับเลวร้ายนักทีเดียว ดูจากภายนอก ซามูเอลนั้นมาช้า ทำให้ซาอูลหวั่นวิตกถึงภัยอันตรายที่ประเทศกำลัง เผชิญอยู่ ถึงขนาดต้องตัดสินใจทำบางอย่างในทันที และดูเหมือนซาอูลต้องเป็นผู้ ดำเนินการ การกระทำของซาอูลผิดมากเพียงใด ในเมื่อซามูเอลมาช้า และการข่มขู่ ของฟิลิสเตียก็ทวีความรุนแรงขึ้น? พระเจ้าทรงถือว่า ความคิดและการกระทำของซาอูล นั้นผิดอย่างร้ายแรง และเราต้องมีทัศนคติเช่นเดียวกันด้วย เมื่อเราศึกษาพระธรรมตอน นี้ เราต้องพยายามค้นหาว่า เหตุใดจึงเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายยิ่งในสายพระเนตรพระเจ้า และมา พิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับซาอูล ให้เราเรียนรู้และพยายามนำสิ่งที่บทเรียนนี้สอน มาใช้ ในการดำเนินชีวิตคริสเตียน เพราะความผิดบาปครั้งนี้ของซาอูลร้ายแรงจนทำให้ตัวท่าน และราขวงศ์ของท่านต้องสูญเสียตลอดไป

ปัญหาในการคำนวน

ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาบางแห่งในเรื่องตัวเลขของพระธรรมตอนนี้ สองแห่งแรกอยู่ในข้อ 1 ซึ่งอ่านได้ว่า :

1 เมื่อซาอูลขึ้นครองราชสมบัตินั้น มีอายุ....ปี และเมื่อพระองค์ทรงปกครองอิสราเอล....สองปี ถ้านำเครื่องหมายจุดประออกไป คำพูดจะเป็นตามที่ฉบับ NASB แปลไว้คือ ซาอูลมีอายุหลายปีเมื่อเริ่มปกครอง และทรงปกครองอยู่เหนืออิสราเอลสองปี เราเห็นปัญหาชัดเจนทีเดียว ผมเชื่อว่าทางออกที่ดีที่สุดคือพยายามยึดถือตามถ้อยคำที่ บันทึกอยู่ แทนที่จะไปหาว่าควรนำดัวเลขใดลงไปใส่แทนให้เหมาะสม พระคัมภีร์แปล ฉบับ The New King James Version ดูเหมือนจะทำได้ดีที่สุด: ซาอูลปกครองอยู่หนึ่งปี ; และเมื่อท่านปกครองไปได้ สองปีเหนืออิสราเอล ซาอูลทรงคัดเลือกชายอิสรา เอล ขึ้นมาสามพันคน … .
(13:1-2ก).

บางคนคิดว่าปัญหาตัวเลขนั้นอยู่ในข้อที่ 5 เมื่อมีการกล่าวถึง ฟิลิสเตียส่งรถม้า 30,000 คันมารบกับอิสราเอล พร้อมด้วยพลม้าอีก 6,000 คน และกองทหารมากมายเหมือน ทรายที่ชายฝั่งทะเล พวกเขาคิดว่าตัวเลข 30,000 นั้นเกินจริงไป โดยกล่าวว่าจำนวน 30,000 ที่นำมาใช้น่าจะเป็นเพียง 3,000 เท่านั้น จึงแนะนำว่าตัวเลข 3,000 ควรสม เหตุผลกว่า พวกเขาชี้ให้เห็นว่า จำนวนรถม้ามีมากมายเกินกว่าจำนวน "พลม้า" จึงไม่ น่าจะถูกต้องได้ ผมชอบวิธีที่ฉบับ the New American Standard พูดถึงเรื่องนี้ โดย กล่าวว่า จำนวน 6,000 นั้นไม่ใช่เป็น "พลม้า" แต่เป็น "คนขี่และดูแลม้า" ถึงแม้จำ นวน 30,000 จะดูมาก แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ เราควรจะยอมรับตามที่บันทึกไว้ ผู้เขียนคงพยายามให้เราเห็นภาพสถาณการณ์อันน่าหวาดหวั่นอย่างที่ชาวอิสราเอล กำลังวิตกอยู่ ตัวเลขที่บันทึกไว้จึงดูสมเหตุสมผลกับความสิ้นหวังของชาวอิสราเอล ตามที่ผู้เขียน อธิบายไว้

ปัญหาประการอื่น :
เมื่อฟิลิสเตียยกทัพมา

ผมต้องยอมรับว่า เมื่ออ่านพระธรรม 1 ซามูเอล ผมรู้สึกยากที่จะเข้าใจว่ามีอะไรเกิดขึ้น คงมีคนฟิลิสเตียอยู่มากมายในอิสราเอล เรารู้จาก 1 ซามูเอล 4:9 ว่าอิสราเอลนั้นเคย ตกเป็นทาสของชาวฟิลิสเตียมาก่อน ในบทที่ 4 ชาวฟิลิสเตียมีชัยในการรบกับอิสรา เอล ถึงแม้อิสราเอลจะนำหีบพันธสัญญาออกไปร่วมรบด้วย ในบทที่ 10 เมื่อซาอูล ได้รับแจ้งจากซามูเอลว่าพระเจ้าทรงเลือกท่านให้เป็นกษัตริย์ของอิสราเอล ท่านเอง ได้เผยพระวจนะอยู่ในดินแดนของอิสราเอล — ซึ่งมีกองกำลังของฟิลิสเตียอยู่ด้วย (10:5) แต่ พอบทที่ 11 พูดถึงชาวอัมโมนขู่จะเข้ามาบุกรุก และอิสราเอลสามารถเอา ชนะได้ แล้วพวกเขารวบรวมผู้คนให้ออกไปรบได้อย่างไรในเมื่อกองกำลังของฟิลิสเตีย ควบคุมอยู่ ? แล้วซาอูลสามารถคัดเลือกทหารถึง 3,000 คนได้อย่างไรโดยที่ทาง ฟิลิสเตียไม่คัดค้าน ?

ผมว่าผมเริ่มเข้าใจในสถานการณ์บ้างเล็กน้อย เราต้องคำนึงก่อนว่าประเทศอิสราเอล ล้อมรอบด้วยแผ่นดินทุกด้าน และดินแดนเหล่านี้ก็ยังแบ่งออกเป็นหลายอาณาจักร :

47เมื่อซาอูลได้รับตำแหน่งพระราชาเหนืออิสราเอลนั้น พระองค์ได้ทรงต่อสู้ศัตรูทุกด้าน ต่อสู้กับโมอับ กับชน อัมโมน กับเอโดม กับบรรดาพระราชาแห่งโศบาห์ และกับคนฟีลิสเตีย ไม่ว่าพระองค์จะหันไปทางไหน พระองค์ก็ทรงกระทำให้เขาพ่ายแพ้ไป 48 พระองค์ ทรงสู้รบอย่างเข้มแข็ง และทรงโจมตีพวกอามาเลข และทรงช่วยกู้คนอิสราเอลให้พ้นจากมือของบรรดา ผู้ที่เข้าปล้นเขา
(1 ซามูเอล 14:47-48).

ชาวฟิลิสเตียอาศัยอยู่ในดินแดนฟิลิสเตีย ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เนียน อยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอิสราเอล สงครามที่พวกเขาสู้รบกันในบทที่ 4 นั้น อยู่ ที่บริเวณชายแดนทิศตะวันตก อย่างที่คาดไว้ หีบพันธสัญญาถูกนำเข้าไปในฟิลิสเตีย และคืนกลับมาทางเบธเชเมช ซึ่งอยู่ติดชายแดนระหว่างอิสราเอลและฟิลิสเตีย แต่พวก อัมโมนนั้นอยู่ข้ามผั่งแม่น้ำจอร์แดนไปทางทิศตะวันออกของอิสราเอล การเข้ารุกราน เมืองยาเบชกิเลอาด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงหนือของอิสราเอล ประมาณ 40 กิโล เมตรจากชายแดนอัมโมน ซึ่งไกลมากจากฟิลิสเตีย ซึ่งตั้งอยู่กันคนละด้านของอิสราเอล

ผมไม่คิดว่าพวกฟิลิสเตียตั้งใจหรือปรารถนาจะกวาดอิสราเอลให้ราบไป เพียงแต่อยาก ให้อิสราเอลเป็นเมืองขึ้นของตัว เพราะถึงอย่างไร อิสราเอลก็เป็นตลาดส่งออกที่ดีของ ฟิลิสเตียทางด้านเท็คโนโลยี โดยเฉพาะสินค้าที่ทำจากเหล็ก (ดู 13:19-23) แถมอิสรา เอลยังเป็นกันชนที่ดีระหว่างพวกเขาและชนชาติที่หัวรุนแรงจากอีกด้าน เมื่อิสราเอล รวบรวมผู้คนเพื่อไปทำสงครามกับพวกอัมโมน ดูเหมือนจะสร้างผลประโยชน์อย่างดีให้ กับฟิลิสเตีย ชาวอิสราเอลถ้าอ่อนแรงเพราะสงคราม จะได้ไม่เป็นปัญหาต่อการปกครอง ของพวกเขา แต่ถ้าอิสราเอลรบชนะอัมโมน ฟิลิสเตียยิ่งมีอำนาจมากขึ้นไปอีก เพราะ อิสราเอลนั้นเป็นเมืองขึ้นของพวกเขา ข้อเท็จจริงที่ว่าซามูเอลคัดเลือกชายอิสราเอลขึ้น มาเป็นกองกำลังนั้นเป็นเรื่องเล็กสำหรับฟิลิสเตีย แค่ทหาร 3,000 คนจะไปทำอะไรได้ กับจำนวนทรายที่ชายฝั่งทะเล ? ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่อิสราเอลออกไปรบกับอัมโมน และ ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นเมืองขึ้นของฟิลิสเตียอยู่

ความกลัวในจิตใจของคนอิสราเอลและกษัตริย์ของพวกเขา
(13:1-7)

11 เมื่อซาอูลขึ้นครองราชสมบัตินั้น มีอายุ.(40)..ปี และเมื่อพระองค์ทรงปกครองอิสราเอล.(32)..สองปี 2 ซาอูลจึงทรงคัดเลือกชายอิสราเอลสามพันคน สองพันคนอยู่กับพระองค์ที่มิคมาช และที่แดนเทือก เขาเบธเอล อีกหนึ่งพันคนนั้นอยู่กับโยนาธานที่เมือง กิเบอาห์แห่งเผ่าเบนยามิน ประชาชนนอกนั้นท่านก็ ปล่อยให้กลับบ้านของตนทุกคน 3 โยนาธานได้ตี กองทหารรักษาการของคนฟีลิสเตีย ซึ่งอยู่ที่เกบา พ่ายแพ้ไปคนฟีลิสเตียทราบเรื่อง และซาอูลก็เป่าเขา สัตว์ทั่วแผ่นดินนั้นว่า "ขอให้คนฮีบรูทั้งหลายได้ยิน" 4 และคนอิสราเอลทั้งหลายได้ยินเขากล่าวว่า ซาอูล ได้รบชนะกองทหารรักษาการของคนฟีลิสเตีย และคน อิสราเอลได้เป็นที่เกลียดชังของคนฟีลิสเตียยิ่งนัก ประชาชนก็ถูกเรียกออกมาให้สมทบกับซาอูลที่กิลกาล 5 และคนฟีลิสเตียชุมนุมกันเพื่อจะต่อสู้คนอิสราเอล มีรถรบสามหมื่นและพลม้าหกพัน และกองทหารนั้นก็ มากมายเหมือนทรายที่ฝั่งทะเล เขาก็ยกขึ้นมาตั้งค่าย อยู่ที่มิคมาชทาง ตะวันออกของเบธาเวน 6 เมื่อคนอิส ราเอลเห็นว่าตกอยู่ในที่คับแค้น (เพราะประชาชนถูกบี คั้นอย่างหนัก) แล้วประชาชนก็ซ่อนตัวอยู่ในถ้ำและใน รูในซอกหิน ในอุโมงค์และในบ่อ 7 พวกฮีบรูบางคนได้ ข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปยังดินแดนกาดและ กิเลอาด แต่ ฝ่ายซาอูลพระองค์ยังประทับอยู่ที่กิลกาลและประชาชน ทั้งหมดติดตามพระองค์ไปด้วยตัวสั่น

เมื่อซาอูลเริ่มปกครองในอิสราเอลนั้นเป็นเรื่องใหญ่ ภายใต้การนำของซาอูลพระเจ้า ทรงช่วยกู้คนอิสราเอลมากมายจากความอัปยศในการยอมแพ้ต่อนาหาช ผู้นำของ อัมโมน ซึ่งมาข่มขู่ชาวเมืองยาเบชกิเลอาด ในการรบครั้งนี้มีทหารอิสราเอลอาสามาถึง 330,000 คน (11:8) หลังจากชัยชนะ ชาวอิสราเอลก็กลับไปยังบ้านเรือนของตน ซาอูลคัดเพียง 3,000 คนไว้รักษาการ

เหตุใดซาอูลจึงมีกองกำลังเพียงน้อยนิด ? พระวจนะคำไม่ได้กล่าวไว้ แต่ดูเหมือนจำ นวนทหาร 3,000 คน คนฟิลิสเตียคงยอมรับได้ แต่ถ้ามากกว่านี้คงเป็นเรื่อง ซาอูลมี กองกำลังได้เพียงเท่านี้ เพราะถ้ามากเกินไปอาจมีปัญหากับทางฟิลิสเตีย ซาอูลไม่ ต้องการไป "กวนน้ำให้ขุ่น" โดยการมีกองกำลังมากเกินไป หรือไปทำให้กองรักษา การของฟิลิสเตีย (ที่มีอยู่ทั่วอิสราเอล ?) ไม่พอใจ

โยนาธานเป็นผู้มาเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้โดยไม่มีการขออนุญาติและบิดาไม่ทราบเรื่อง ซาอูลแบ่งกองกำลังของท่านโดยให้ 2,000 คนอยู่กับท่าน รักษาการอยู่ที่เมืองมิคมาช และบริเวณเทือกเขาในยูเดีย ; อีก 1,000 คนที่เหลือให้อยู่ที่กิเบอาห์กับโยนาธาน ไม่มีใครทราบถึงเหตุผลที่โยนาธานโจมตีพวกฟิลิสเตีย ; มีการบันทึกไว้เพียงว่าท่าน ไปโจมตี จากที่เรารู้จักโยนาธาน ดูเหมือนการกระทำของท่านเกิดจากความเชื่อ เพราะ แผ่นดินที่ท่านอาศัยอยู่นี้พระเจ้าเป็นผู้ประทานให้แก่ชาวอิสราเอล และสั่งให้ขับไล่ชน ชาติที่อาศัยอยู่ก่อนออกไป การต้องตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาตินั้นมีการกล่าวถึงใน เลวีนิติ 26 และเฉลยธรรมบัญญัติ 28-32 ว่าเป็นการลงโทษที่พระเจ้าต้องการตีสอนชาว อิสราเอล เมื่อพวกเขาขาดความเชื่อและไม่ยอมเชื่อฟัง กษัตริย์ไม่ใช่เป็นผู้ที่จะมาช่วย ปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากการเป็นเมืองขึ้น แต่เป็นเครื่องมือที่พระเจ้าใช้สำหรับมา ปลดพวกเขาออกจากเครื่องพันธนาการ (ดู 14:47-48) สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอก จากชาวอิสราเอลจะขับไล่บรรดาผู้ที่ครอบครองอยู่ในดินแดนออกไป ซาอูลดูเหมือนไม่ อยากจะไป "เขี่ยผึ้งให้แตกรัง" แต่โยนาธานไม่ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ ท่านจึงนำคน ของท่านเข้าไปโจมตีกองกำลังของฟิลิสเตียที่เกบา42 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากทางเหนือ ของกรุงเยรูซาเล็มไปประมาณ 11 กิโลเมตร ครึ่งทางระหว่างกิเบอาห์ตอนใต้ และมิค มาชตอนเหนือ ซึ่งน่าจะเป็นกองกำลังอันเดียวกับตอนที่ซาอูลไปเผยพระวจนะร่วมกับ ผู้เผยพระวจนะคนอื่นๆ (ดู 10:5, 10-13)

ปฏิกิริยาที่ฟิลิสเตียตอบสนองต่อการโจมตีครั้งนี้เป็นเรื่องเดาได้ไม่ยาก ทำให้เราสงสัย ว่าน่าจะเป็นสิ่งที่โยนาธานทั้งคาดเดาและต้องการให้เกิดขึ้น ผมอยากลองอธิบายปฏิกิ ริยาที่ชาวฟิลิสเตียแสดงออกในเชิงปัจจุบัน หลายปีทีผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกา (พร้อมกับพวกพันธมิตร) บุกโจมตีและมีชัยเหนือประเทศอิรัคที่เข้าไปยึดครองอยู่ใน ดินแดนของประเทศคูเวต ให้เราสมมุติว่าหลังจากชัยชนะในครั้งนี้แล้ว ทางอเมริกาวาง กองกำลังไว้หลายแห่งในเขตแดนอิรัค เพื่อให้มั่นใจและตรวจสอบได้ว่าทางอิรัคจะไม่มี การตอบโต้อย่างรุนแรง ทีนี้ให้เรามาสมมุติว่า ซัดดัมฮุสเซนใช้อาวุธหัวรบเคมีโจมตีไป ยังกองกำลังหน่วยหนึ่งที่อยู่ในเขตแดนของอิรัคเอง มีการรายงานความสูญเสียมากมาย ไปที่อเมริกา ไม่ว่าจะเ็ป็นชีวิตนับหลายร้อยหรืออาจถึงพันที่ตาย และบาดเจ็บอีกนับไม่ ถ้วน ในฐานะคนอเมริกัน เรารู้สึกสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการกับอิรัคด้วยกำลังให้ สิ้นซาก

ความรู้สึกนี้นี้เป็นความรู้สึกเดียวกับที่ชาวฟิลิสเตียกำลังรู้สึกต่อการโจมตีที่เกบาของ โยนาธาน ชาวฟิลิสเตียมีชัยเหนืออิสราเอล และพวกเขาได้ให้อิสระเสรีพอสมควรกับ อิสราเอล (ถึงยอมให้ไปรบกับคนอัมโมนได้) แต่มีการวางกองกำลังไว้ในอิสราเอล เพื่อ ป้องกันและควบคุมการปลดแอก เมื่อโยนาธานบุกโจมตีกองกำลังจึงเป็นเหมือนกับ โจมตีและดูหมิ่นประเทศฟิลิสเตียทีเดียว พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า "และคนอิสราเอล ได้เป็นที่เกลียดชังของคนฟีลิสเตียยิ่งนัก" (ข้อ 4) ชาวฟิลิสเตียกำลังยกทัพมา ด้วยความโกรธเกรี้ยว ! พวกเขาต้องการให้คนอิสราเอลชดใช้ — พวกเขาตั้งใจจะ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับอิสราเอล มีรถม้ามาถึง 30,000 คัน พลม้า 6,000 คน และทหารเดินเท้าอีกจำนวนมากเท่ากับทรายที่ชายฝั่งทะเล พวกเขามาเพื่อ ต่อสู้กับอิสราเอล ตั้งค่ายอยู่ที่มิคมาช ที่ซึ่งซาอูลมีกองกำลังรักษาการอยู่ (ข้อ 2, 5)

ดูเหมือนซาอูลไม่มีเวลาให้คิดมาก ท่านต้องรีบแก้ใขสถาณการณ์ที่โยนาธานไปโจมตี กองกำลัง จนทำให้ชาวฟิลิสเตียแห่มาแก้แค้นมากมาย พูดง่ายๆคือ ซาอูลไม่มีทาง เลือกอื่น นอกจากป้องกันตนเองจากการถูกฟิลิสเตียโจมตี ท่านพยายามทำทุกอย่างให้ ดีที่สุด ซาอูลเป่าแตรเรียกคนทั้งชาติให้ออกมาร่วมรบอีกครั้ง คำประกาศของท่านอาจ จะทำนองว่า : "ซาอูลโจมตีกองกำลังฟิลิสเตีย" ถ้ามองในแง่ของการบริหาร แน่นอน โยนาธานอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของซาอูล แต่ดูเหมือนซาอูลไม่ต้องการยอมรับว่า ท่านมัวนิ่งดูดายปล่อยให้โยนาธานลุกขึ้นมากระทำการ

สถานการณ์ในบทที่ 13 ดูจะแตกต่างจากบทที่ 11 อย่างสิ้นเชิง ในบทที่ 11 ซาอูลมี พระวิญญาณสถิตอยู่ เมื่อท่านโกรธ ท่านบังคับให้ชาวอิสราเอลออกมาสู้กับคนอัมโมน แต่ตอนนี้ไม่มีการกล่าวถึงว่าพระวิญญาณสถิตอยู่กับท่าน และแน่นอนการเรียกชุมนุมคน ให้มาร่วมรบดูออกจะขาดน้ำหนัก และดูจะห่างไกลจากยอด 330,000 ที่เคยมาร่วมรบ ในครั้งที่แล้ว43 http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ คนที่ตั้งใจมาร่วมรบ พอทราบถึงจำนวนที่ฟิลิสเตียยกทัพมาก็รู้สึก หวาดกลัวเป็นอันมาก ประชาชนแตกกระจายหลบหนีไปซ่อนอยู่ตามถ้ำ ตามรูซอกหิน ในบ่อและในอุโมงค์44 เรื่องเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว (ดูผู้วินิจฉัย 6:1-6) และ สถานการณ์เลวร้ายลงทุกที

เมื่อครั้งซาอูลรวบรวมกำลังทหาร ท่านเรียกชุมนุมที่กิลกาล ท่านทำตามที่ซามูเอลสั่ง หลังจากได้รับแจ้งว่าท่านจะได้เป็นกษัตริย์ของอิสราเอล :

8 และท่านจงลงไปที่กิลกาลก่อนฉัน และดูเถิด ฉันจะลงมาหาท่านเพื่อจะถวายเครื่องเผาบูชา และถวายสัตว์เป็นเครื่องศานติบูชา ท่านจงคอย อยู่ที่นั่นเจ็ดวันจน ฉันมาหาท่านและสำแดงแก่ ท่านว่า ท่านควรจะกระทำอะไร"
(1 ซามูเอล 10:8)

ซามูเอลนั้นออกคำสั่งอย่างเจาะจง : ซาอูลต้องไปรอท่านอยู่ที่กิลกาลจนกว่าท่านจะไป ถึง ซึ่งเป็นเวลาเจ็ดวัน ซามูเอลจะทำการถวายบูชาและศานติบูชาเอง และหลังจากนั้น ซามูเอลจะสั่งว่าซาอูลควรทำสิ่งใดต่อไป

ในระหว่างเจ็ดวันแห่งการรอคอย ซาอูลเป็นทุกข์อย่างยิ่งที่เห็นกองกำลังของท่านเริ่ม เหลือน้อยลง ทุกคนหลบหนีไปเพราะความกลัวตาย แต่ละวัน สถานการณ์เริ่มเลวร้าย ลงเรื่อยๆ ทหารกระจัดกระจายหลบหนีเอาตัวรอด บางคนถึงกับหนีข้ามแม่น้ำจอร์แดน ไป (ข้อ 7) บางคนก็ไปเข้าพวกกับฟิลิสเตียเพื่อเอาตัวรอด (ดู 14:21) คนที่ยังเหลืออยู่ กับซาอูลก็กลัวจนตัวสั่น

ความโง่เขลาของซาอูล และคำดุว่าจากซามูเอล
(13:8-15)

8 พระองค์ทรงคอยอยู่เจ็ดวันตามเวลาที่ซามูเอลกำหนดไว้ แต่ซามูเอลมิได้มาที่กิลกาล ประชาชนก็แตกกระจายไปจาก พระองค์ 9 ดังนั้นซาอูลจึงตรัสว่า "จงนำเครื่องเผาบูชามาให้ เราที่นี่และเครื่องศานติบูชาด้วย" และพระองค์ก็ได้ถวายเครื่อง เผาบูชา 10 พอพระองค์ถวายเครื่องเผาบูชาเสร็จ ดูเถิด ซามู เอลก็มาถึง ซาอูลก็เสด็จออกไปต้อนรับและทรงคำนับท่าน 11 ซามูเอลถามว่า "ท่านได้กระทำอะไรไปแล้วนี่" และซาอูล ตรัสตอบว่า "เมื่อข้าพเจ้าเห็นประชาชนแตกกระจายไปจาก ข้าพเจ้า และท่านก็มิได้มาภายในวันที่กำหนดไว้และคนฟีลิส เตียก็ได้ชุมนุมกันที่มิคมาช 12 ข้าพเจ้าจึงว่า 'บัดนี้ คนฟีลิส เตียจะยกมารบกับข้าพเจ้าที่กิลกาล และข้าพเจ้ายังมิได้ทูลขอ พระกรุณาแห่งพระเจ้า' ข้าพเจ้าจึงข่มตัวเองและได้ถวายเครื่อง เผาบูชา" 13 และซามูเอลกล่าวแก่ซาอูลว่า "ท่านได้กระทำ การที่โง่เขลาเสียแล้ว ท่านมิได้รักษาพระบัญชาแห่งพระเย โฮวาห์พระเจ้าของท่าน ซึ่งพระองค์ทรงบัญชาท่านไว้ เพราะ พระเจ้าจะได้ทรงสถาปนาราชอาณาจักรของท่านเหนืออิสรา เอลเป็นนิตย์แล้ว 14 แต่บัดนี้ราชอาณาจักรของท่านจะไม่ยั่งยืน พระเจ้าทรงหาชายอีกคนหนึ่งตามชอบพระทัยพระองค์แล้ว และพระเจ้าทรงแต่งตั้งชายผู้นั้นให้เป็นเจ้านายเหนือชนชาติ ของพระองค์ เพราะท่านมิได้รักษาสิ่งซึ่งพระเจ้าทรงบัญชา ท่านไว้" 15 และซามูเอลก็ลุกขึ้นไปจากกิลกาลถึงกิเบอาห์ แห่งเผ่าเบนยามิน และซาอูลทรงนับพลซึ่งอยู่กับพระองค์ ได้ประมาณหกร้อยคน

ซาอูลอดทนได้จนเกือบครบเจ็ดวัน แต่พอวันที่เจ็ดใกล้จะจบลง ซาอูลก็หมดความอด ทน ผมพอจะนึกออกว่าท่านคิดอะไร "นายคนนั้นอยู่ที่ใหนกัน ไปมัวทำอะไรอยู่ ? เขาไม่รู้เชียวหรือว่าเรากำลังตกอยู่ในอันตรายขนาดไหน ? ทำไมไม่เข้าใจในสถาน การณ์ แล้วรีบมาดำเนินการในทันที ? ให้เวลาอีกแค่ 30 นาทีพอ เราคงต้องทำ อะไรบางอย่างแล้ว"

ในขณะที่ประชาชนเริ่มกระจัดกระจายไปมากขึ้น ซาอูลเริ่มเข้ามาควบคุมสถานการณ์เอง ดูเหมือนท่านต้องเป็นผู้ทำการเผาและถวายเครื่องบูชาด้วยตนเอง ท่านสั่งให้นำเครื่อง เผาบูชาและเครื่องศานติบูชามา ไม่มีการพูดถึงปุโรหิตมาทำหน้าที่ ผมคิดว่าซาอูล ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับการถวายบูชานี้ และเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะ ใน1ซามู เอล 7 ชาวอิสราเอลมาชุมนุมกันที่มิสปาห์เพื่อสำนึกในบาป กลับใจและรื้อฟื้นพันธ สัญญาที่มีไว้กับพระเจ้า ชาวฟิลิสเตียเข้าใจแปลความหมายการชุมนุมในครั้งนั้นผิดไป พวกเขาคิดว่าเบื้องหลังคือการชุมนุมทางทหาร พวกฟิลิสเตียจึงเข้าล้อมอิสราเอลไว้ ที่มิสปาห์ และกำลังจะเข้าโจมตีในขณะที่ซามูเอลกำลังทำการเผาเครื่องบูชาถวาย :

9 ซามูเอลก็เอาลูกแกะอ่อนที่ยังกินนมอยู่ตัวหนึ่งมา ถวายเป็นเครื่องเผาบูชาทั้งตัวแด่พระเจ้า และซามูเอล ร้องทูลต่อพระเจ้าเพื่อคนอิสราเอล และพระเจ้าทรงตอบ ท่าน 10 ขณะที่ซามูเอลถวายเครื่องเผาบูชาอยู่นั้น คน ฟีลิสเตียก็เข้ามาใกล้จะสู้รบกับอิสราเอล แต่พระเจ้าทรง ให้ฟ้าร้องเสียงดังยิ่งนักในวันนั้นสู้กับคนฟีลิสเตีย กระทำ ให้คนฟีลิสเตียสับสนอลหม่าน จึงพ่ายแพ้แก่อิสราเอล
(1 ซามูเอล 7:9-10).

มันง่ายที่จะมองว่าการถวายบูชานั้นหมายถึงอิสราเอลจะได้รับการช่วยกู้ เช่นเดียวกับที่ พวกเขาเคยคิดว่าหีบพันธสัญญาเป็นเครื่องลางของขลังที่จะช่วยได้ ดังนั้นอาจเป็นได้ ที่ซาอูลมองว่าการถวายบูชาคือเพื่อให้แน่ใจว่าพระเจ้าจะทำการแทนคนอิสราเอล ถ้า เป็นเช่นนั้น จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ซาอูลอยากให้มีการถวายบูชาเกิดขึ้นให้ได้ ไม่ว่าจะ มีซามูเอลอยู่ หรือไม่ก็ตาม

ทันทีที่ซาอูลถวายเครื่องเผาบูชาเสร็จ ซามูเอลก็มาถึง ดูเหมือนถ้าซาอูลใจเย็นคอย อีกนิด ซามูเอลก็คงมาถึงทันการพอที่จะทำการเผาเครื่องบูชาและถวายเครื่องศานติ บูชาได้ ซาอูลลงไปคำนับซามูเอล ที่ท่านทำดังนั้นยิ่งแสดงให้เห็นถึงความผิดของท่าน ไม่ใช่เป็นซาอูลที่ลงไปยืนท้าวสะเอวดุว่าทำไมซามูเอลมาช้าเสียจริง แต่เป็นซามูเอลที่ ถามว่าซาอูลได้ทำอะไรลงไป คำตอบของซาอูลนั้นออกจะกระด้าง45 http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ท่านบอกกับซามู เอลว่า ประชาชนได้แตกกระจายหนีไป และท่านผู้เผยพระวจนะก็ไม่มาตามที่นัดไว้ ท่านยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่าพวกฟิลิสเตียยกทัพมาที่มิคมาชแล้ว จึงต้องรีบทำการถวาย บูชา มิฉะนั้นอาจถูกโจมตี ถ้ามัวมาคอยท่าอยู่ที่กิลกาล ท่านไม่ได้อยากทำในสิ่งที่ทำ ลงไป แต่ท่านจำเป็นต้องทำ จึงต้องข่มใจทำการถวายเครื่องเผาบูชา

ซามูเอลไม่ได้ประทับใจในคำพูดตรงๆและเป็นการเป็นงานของซาอูล การกระทำของ ซาอูลนั้นโง่เขลา — เพราะเป็นการขัดต่อคำสั่งที่ชัดเจนของซามูเอลอย่างจงใจ ที่ว่าเป็น สิ่งโง่เขลานั้น เพราะผลของการกระทำจะเป็นสิ่งตรงข้ามกับที่ซาอูลคิดไว้ในใจ ท่าน อาจคิดว่าการที่ต้องรอซามูเอล (และคำสั่งที่ท่านจะบอกให้) นั้นโง่เขลา แต่ท่านคิดผิด การขัดคำสั่งของท่านนั้นทำให้ท่านสูญเสียทั้งราชวงศ์ทีเดียว ถึงแม้ยังไม่มีการปลดท่าน ออกไปในทันที แต่บุตรของท่านจะไม่ได้ขึ้นครองราชย์ ถ้าซาอูลเพียงแต่ทำตามคำสั่ง ของพระเจ้า อาณาจักรของท่านจะดำรงอยู่ แต่บัดนี้อาณาจักรของท่านกำลังสลายไป พร้อมกับชีวิตของท่าน พระเจ้าได้ทำการเลือกสรรผู้ที่จะทำตามน้ำพระทัยของพระองค์ ไว้แล้ว เพื่อมาทำหน้าที่แทนซาอูล ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลโดยตรงจากการไม่เชื่อฟัง ของซาอูลทั้งสิ้น

การจากไปของซามูเอลครั้งนี้ต่างจากครั้งที่บันทึกไว้ใน 1 ซามูเอล 15:24-31 ครั้งนี้ ซาอูลไม่ได้หวาดวิตกโดยคำพูดของซามูเอล และที่แน่ๆ ท่านไม่ได้รู้สึกสำนึกในบาป ถ้าซาอูลเป็นวัยรุ่นสมัยนี้ ท่านคงตอบซามูเอลไปว่า "ก็ตามใจ แล้วแต่จะคิด" ท่านจึงไป นับกำลังพลที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด ประมาณ 600 คน ส่วนซามูเอลก็กลับไปที่กิเบ อาห์

บทสรุป

เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่เป็น "จุดเริ่มอวสานต์" ของกษัตริย์ซาอูล ; แต่เป็นจุดจบ อาณา จักรของท่านอาจจะมีต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่จะจบสิ้นลงเมื่อท่านตาย ปกครองได้เพียง สองปีเท่านั้น อนาคตในฐานะกษัตริย์ของซาอูลก็ถูกปิดประตูตาย เมื่อเราอ่านเรื่องราวนี้ เราอาจรู้สึกว่าการกระทำของซาอูลนั้นมีเหตุผลน่าเห็นใจ และการลงโทษของพระเจ้า ออกจะรุนแรงไป ทำไมจึงทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ท่านทำเกินเหตุหรือ ? ให้เรามาพิจารณา ดูความร้ายแรงในการกระทำของซาอูล และดูความหมายต่างๆที่่พระคำตอนนี้บันทึกไว้

ก่อนอื่น ให้เรามาทำความเข้าใจในบัญญัติที่พระเจ้าตรัสสั่งไว้เกี่ยวกับเรื่องกษัตริย์ใน พระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ :

14 "เมื่อท่านมาถึงแผ่นดินที่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ประทานแก่ท่าน และท่านถือกรรมสิทธิ์อาศัยอยู่ในแผ่นดิน นั้นแล้วท่านจะกล่าวว่า 'เราจะตั้งกษัตริย์ไว้เหนือเราเหมือน ประชาชาติอื่นซึ่งอยู่รอบเรา' 15 ก็จงตั้งผู้ซึ่งพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่านทรงเลือกไว้ให้เป็นกษัตริย์เหนือท่าน คือตั้ง ผู้หนึ่งผู้ใดในพวกพี่น้องของท่านให้เป็นกษัตริย์เหนือท่าน ท่านอย่าตั้งคนต่างด้าวซึ่งมิใช่พี่น้องของท่านให้อยู่เหนือท่าน 16 แต่ว่าอย่าให้ผู้นั้นมีม้าของตนเองมากเกินไป หรือเป็นเหตุ ให้ประชาชนกลับไปอียิปต์ เพื่อจะมีม้ามากๆ เพราะพระเจ้าได้ ตรัสกับท่านทั้งหลายแล้วว่า 'เจ้าทั้งหลายจะไม่ได้กลับไปทาง นั้นอีกเลย' 17 และอย่าให้ผู้นั้นมีภรรยามาก เกรงว่าจิตใจของ เขาจะหันเหไปเสีย หรืออย่าให้มีเงินมีทองเป็นของตนอย่าง มากมาย 18 "เมื่อผู้นั้นนั่งบัลลังก์ในราชอาณาจักรก็ให้ผู้นั้นคัด ลอกกฎหมายนี้ไว้ในหนังสือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองจากหนังสือ ที่ปุโรหิตคนเลวีรักษาอยู่นั้น 19 ให้กฎหมายนั้นอยู่กับผู้นั้น และให้ เขาอ่านอยู่เสมอตลอดชีวิตของตน เพื่อเขาจะได้เรียนรู้ที่จะยำเกรง พระเยโฮวาห์ พระเจ้าของเขา โดยรักษาถ้อยคำในกฎหมายนี้ และกฎเกณฑ์เหล่านี้และ กระทำตาม 20 เพื่อว่าจิตใจของเขาจะมิ ได้พองขึ้นสูงกว่าพี่น้องของตน และเพื่อเขาเองจะมิได้หันเหจาก พระบัญญัติไปทางขวามือหรือทางซ้ายมือ เพื่อเขาจะได้ปกครอง ราชอาณาจักรของเขาอยู่ได้นาน ทั้งตนเองและลูกหลานของตน ในอิสราเอล
(เฉลยธรรมบัญญัติ 17:14-20).

ให้มาดูข้อ 18-20 เป็นพิเศษ เมื่อกษัตริย์ขึ้นนั่งบนบัลลังก์แล้ว ท่านต้องทำการคัดลอก กฏหมายนี้ด้วยตนเอง — ท่านต้องทำการคัดลอกต่อหน้าปุโรหิตเลวี สิ่งนี้ทำให้เห็นชัด เจนถึง "การคานอำนาจ" กษัตริย์มีสิทธิอำนาจมาก แต่เมื่อเป็นเรื่องของกฏหมาย ท่าน ไม่เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเท่านั้น แต่ต้องฟังคำปรึกษาและความหมายจาก ปุโรหิตเลวีด้วย ธรรมบัญญัติในพระคัมภีร์เดิมนั้นเป็นเหมือนหนังสือเรียนของกษัตริย์ โดยมีปุโรหิตเลวีเป็นครูผู้สอน เป็นผู้ให้คำปรึกษา ธรรมบัญญัติจะเป็นดังคู่มือแนะแนว ทางเสมอ เป็นหลักเกณฑ์ในการปกครอง กษัตริย์จะต้องอ่านแล้วอ่านอีกไปตลอดชีวิต สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่มพูนสติปัญญาในการปกครองให้ ยังเป็นหลักเกณฑ์ในการก่อตั้ง สถาบันกษัตริย์ (ธรรมนูญของแผ่นดิน) แต่ยังจะป้องกันไม่ให้กษัตริย์มีจิตใจพองสูงขึ้น และยกตนเองให้สูงกว่าพี่น้องของตน (ข้อ 20) การอ่านบัญญัตินี้อย่างสม่ำเสมอ จะ ทำให้ไม่กล้าทำสิ่งที่ฝ่าฝืนกฏหมาย ถึงแม้จะเป็นในเรื่องเล็กน้อยก็ตาม การทุ่มเท ทำตามบัญญัติจะทำให้มีอายุยืนนาน ทั้งตัวท่านและลูกหลานด้วย (ข้อ 20).

นี่เป็นคำอธิบายถึงการที่พระเจ้าลงโทษต่อการขัดคำสั่งของซาอูลอย่างรุนแรงหรือไม่? ซาอูลไม่ได้ระวังในการทำตามคำสั่งที่มีไว้สำหรับกษัตริย์ในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ และตามที่ซามูเอลเคยอธิบายและเตือนย้ำไว้ :

24 ซามูเอลจึงกล่าวแก่ประชาชนทั้งปวงว่า "ท่านเห็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกไว้แล้วหรือ ในท่ามกลางประชาชนไม่มีใครเหมือนท่าน" และประชาชนจึงร้องเสียงดังว่า "ขอพระรา ชาทรงพระเจริญ" 25 แล้วซามูเอลจึงบอกกับ ประชาชนให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตำ แหน่งพระราชา และท่านบันทึกไว้ในหนังสือ และวางถวายแด่พระเจ้าแล้ว ซามูเอลก็ให้ ประชาชนกลับไปยังบ้านของตนทุกคน
(1 ซามูเอล 10:24-25)

นอกเนือจากคำสั่งทั่วไปในการแต่งตั้งซาอูลขึ้นเป็นกษัตริย์อิสราเอลแล้ว ยังมีคำสั่งที่ เฉพาะเจาะจง ("คำสั่ง") ใน 1 ซามูเอล 10:8 ซาอูลไม่มีข้อแก้ตัวใด ; การเผาเครื่อง ถวายบูชาเป็นการจงใจฝ่าฝืนคำสั่ง ซึ่งทำให้ท่านต้องสูญเสียราชอาณาจักรไป

ให้เรานำเรื่องการไม่เชื่อฟังคำสั่งของซาอูล มาเป็นบทเรียนสำหรับเราในวันนี้ เราจะ รวบรวมบทเรียนที่สำคัญในเนื้อหาตอนนี้ มาเป็นข้อปฏิบัติสำหรับเราต่อไปนี้

(1) เช่นเดียวกับซาอูล ถ้าเราไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการทรงเรียก เรา กำลังมุ่งหน้าไปสู่ความเดือดร้อน ประชาชนต้องการให้มีกษัตริย์เพื่อมาวินิจฉัยพวก เขา ที่สุดคือ ต้องการให้กษัตริย์มาช่วยพวกเขาให้หลุดจากการเป็นเมืองขึ้นของขนชาติ รอบด้าน ซามูเอลพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ซาอูลเข้าใจถึงการที่พระเจ้าทรงเลือก ท่าน และให้ท่านทำในสิ่งใด ดูเหมือนไม่นานนัก ความรู้สึกในการทรงเรียกของซาอูล เริ่มจืดจาง จากที่เราเรียนมา ซาอูลขาดสำนึกในสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้ท่านกระทำ หรือ ขาดการทุ่มเทในการทำตาม — หรือขาดทั้งสองสิ่ง เมื่อผมกลับไปอ่านจดหมายฝากจาก อ.เปาโล ผมมองเห็นคนที่มีสำนึกลึกซึ้งต่อการทรงเรียก และทุ่มเทที่จะทำตามนั้น ให้สำเร็จ — จนถึงที่สุด (ดูโรม 1:1; 1 โครินธ์ 1:1; กาลาเทีย 1:15; 2 ทิโมธี 4:7-8) อ.เปาโลพูดไว้มากเรื่องการทรงเรียกและการท้าทายให้เราทำตามการทรงเรียกนั้น — ทั้ง การทรงเรียกธรรมดา (ที่ทรงเรียกธรรมิกชนทุกคน – ดู โรม 1:6-7; 8:28, 30; 1 โครินธ์ 1:2, 9; กาลาเทีย 5:13; เอเฟซัส 4:1; 1 เธสะโลนิกา 4:7; 2 เธสะโลนิกา 1:11) และ การทรงเรียกส่วนตัว (1 โครินธ์ 7:17) ดูเหมือนว่าซาอูลขาดสำนึกที่ลึก ซึ้งต่อการที่พระเจ้าเรียกท่านให้มาทำหน้าที่กษัตริย์ สิ่งที่ท่านดิ้นรนทำหลายครั้งใน พระธรรม 1 ซามูเอล ดูจะเป็นเพราะท่านขาดความเข้าใจในสิ่งที่ท่านถูกเลือกให้มาทำ

คริสเตียนทุกคนได้รับการ "ทรงเรียก" และเราแต่ละคน "ถูกเรียก" อย่างจำเพาะเจาะจง ผมไม่ได้หมายถึงการ "ทรงเรียกพิเศษ" ให้มาทำงาน "รับใช้เต็มเวลา" หรือออกไปเป็น "มิชชันนารี" ผมหมายถึงสำนึกในการทรงเรียกโดยเฉพาะ ซึ่งคริสเตียนควรสำนึกได้ สาเหตุที่พระเจ้าประทานความรอดให้เราอย่างเจาะจง และสำนึกในภาระรับผิดชอบที่ มีต่อการเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ คริสเตียนหลายคนสูญเสียสำนึกในการทรง เรียกนี้อย่างสิ้นเชิง และเช่นเดียวกับซาอูล เรามักจะไป "แอบอยู่หลังกองสัมภาระ" ของ งานรับใช้ที่โบสถ์ มากกว่าจะอาสาไปช่วยแบ่งเบาภาระ

(2) คำสั่งของพระเจ้าเป็นดังบทพิสูจน์ถึงความเชื่อและการเชื่อฟังของเรา ซาอูลได้รับคำสั่งอย่างเจาะจงให้ไปที่กิลกาลและรอซามูเอลอยู่ที่นั่น นีเป็นบทพิสูจน์ ถึงความเชื่อและการเชื่อฟังของซาอูล คำสั่งที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ เป็นคำสั่งที่มีเหตุผลดี ทั้งสิ้น เหตุผลหนึ่งก็คือเป็นข้อพิสูจน์ถึงความเชื่อของเรา ผมได้ยินคริสเตียนหลายคน ในทุกวันนี้ มีปฏิกิริยาต่อคำสั่งย้ำเตือนของพระเจ้าที่ต้องการให้เชื่อฟัง ผมได้ยินบางคน พูดว่าเป็นการ "บังคับกันเกินไป" บางคนเชื่อฟังเพราะคิดว่าเป็นวินัย์ที่ต้องทำตาม นี่ก็ เป็นปัญหาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่มีคริสเตียนหลายคนไม่สนใจในคำสั่งของพระเจ้าเลย พระเยซูทรงสั่งสาวกว่า "สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้" (มัทธิว 28:20) คุณถือรักษาคำสั่งของพระคริสต์อย่างเคร่งครัดเพียงใดในทุกวันนี้ ?

(3) ความมีเสรีภาพของคริสเตียนนั้นเป็นข้อทดสอบถึงความเชื่อและความรักที่ เรามีต่อพระเจ้าด้วย ในบทที่ 10 ข้อ 7 ซามูเอลสั่งซาอูลว่า

"7 เมื่อหมายสำคัญเหล่านี้ เกิดแก่ท่านแล้ว จง กระทำอะไรตามแต่มีโอกาสเถิด เพราะพระเจ้า ทรงสถิตกับท่าน" สิ่งใดยับยั้งไม่ให้ซาอูลจัดการกับคนฟิลิสเตียที่ครอบครองและกดขี่่่่อยู่ในดินแดน อิสราเอล ? เหตุใดซาอูลจึงไม่ทำในสิ่งที่เห็นชัดว่าท่านควรกระทำ ด้วยการวางใจ ว่าพระเจ้าจะสถิตกับท่าน ? พวกเราส่วนมากไม่เพียงแต่ล้มเหลวในการทำตามคำสั่ง ของพระเจ้า เรายังล้มเหลวในการใช้เสรีภาพของเราอย่างถูกต้องด้วย เสรีภาพก็เป็น เช่นเดียวกับกฎหมาย คือบททดสอบที่พวกเรามักสอบไม่ผ่าน

(4) เหตุฉุกเฉินไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างในการขัดขืนคำสั่งของพระเจ้า แต่ เป็นตัวพิสูจน์ถึงความเชื่อและการเชื่อฟังของเรา พระเจ้าทรงทดสอบเราด้วยการ ให้เราไปถึงที่สุด เช่นเดียวกับการทดสอบสินค้าที่เราผลิตขึ้นมา บ.ฟอร์ดไม่ได้ทดสอบ คุณภาพรถด้วยการขับอย่างช้าๆไปรอบตึกสักสามสี่รอบก็พอ แต่นำไปทดสอบในสนาม สำหรับการทดสอบที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อและเครื่องกีดขวางมากมาย มีการทดสอบว่า เครื่องยนตร์จะทนต่อสภาพความร้อนสูง หรือเย็นจัดได้ หรือวิ่งได้ในระยะทางไกลเพียง ใด พระเจ้าทรงทดสอบเราด้วยการนำเราไปจนถึงที่สุดเช่นกัน ทรงนำเราไปจนถึงจุดที่ เราต้องเหยียบเบรกหยุด

เมื่อเราถึง "ที่สุด" ของเรา ความเชื่อในพระจ้าจะปรากฏออกมาอย่างชัดเจน เมื่อเราหมด แหล่งที่พึ่ง เราต้องมาวางใจในพระเจ้า พระเจ้าทดสอบความอดทนของซาอูลจนถึง "ที่สุด" โดยการให้ซามูเอลมาจนเกือบนาทีสุดท้าย แต่ซาอูลอดทนคอยไม่ไหว ท่าน มั่นใจว่าสถานการณ์ "คับขัน" เป็นที่สุดแล้ว ดังนั้นต้องมองข้ามกฏเกณฑ์บางอย่างไป ในเวลาเช่นนี้เอง — ที่เราถูกบีบจนถึงที่สุด — เรากำลังถูกทดสอบความเชื่อและการเชื่อ ฟัง ว่าเราจะสามารถถือรักษาบัญญัติของพระเจ้าได้มากน้อยเพียงใด ว่าเรายังเชื่อฟัง พระองค์อยู่หรือเปล่า ?

พระธรรมสุภาษิตกล่าวถึงสองครั้งว่า "มีสิงห์อยู่ที่ถนน" (ดูสุภาษิต 22:13; 26:13) นี่เป็นข้ออ้างของคนขี้เกียจที่จะไม่ทำในสิ่งที่ตนเองต้องทำ เพราะว่า ใครจะอยากออก ไปตัดหญ้าถ้ามีสิงห์อยู่ที่สนามจริงๆ ? สถานการณ์ฉุกเฉิน ความเป็นความตายรออยู่ข้าง หน้า การฝ่าฝืนกฏระเบียบดูจะเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำ หรืออาจเป็นเพียงมีสิงห์อยู่ที่ถนน ก็ได้ ดูเหมือนเราพร้อมที่จะหาเหตุมาอ้างที่จะไม่ทำตามคำสั่งพระเจ้า แต่พระเจ้าไม่ ทรงคิดเช่นนั้น ให้เราระวังอย่าให้สถานการณ์มาเป็นตัวกำหนดและเป็นข้ออ้างในการ ไม่เชื่อฟังของเรา

ผมสงสัยว่าการขัดคำสั่งของซาอูลในการถวายเครื่องเผาบูชานี้ เป็นเหตุการณ์ที่ดูจะ โดดเด่น หรือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเด่นชัดที่สุดในประวัติศาสตร์การไม่เชื่อฟังที่ ยาวนานของอิสราเอล อย่างที่ชี้ให้เห็นแล้ว ซาอูลทราบว่าหน้าที่ของท่านในฐานะ กษัตริย์ของอิสราเอล คือทำสงครามกับฟิลิสเตียและชนชาติที่มากดขี่ข่มเหงประชากร ของพระเจ้าอยู่รอบด้าน วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ที่ดูเหมือนซาอูลจะปิดหู ปิดตาต่อความทุกข์ของประชาชน และการที่ฟิลิสเตียมามีกองกำลังอยู่ในเขตแดนอิสรา เอล การขัดคำสั่งในเรื่องการถวายเครื่องเผาบูชาที่กิลกาลไม่ใช่บาปที่เกิดขึ้นโดยไม่ ทันรู้ตัว — เป็นบาปที่ทำให้ช็อคกันไปถ้วนหน้า เป็นผลที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ของชีวิตที่ขาดการเชื่อฟัง เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงเนื้อแท้ (หรือไม่แท้) ของ ซาอูล ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับเราทั้งหลายได้เช่นเดียวกัน

ผมอดสังเกตุไม่ได้ว่า สำหรับซาอูลแล้วไม่เห็นมีหมายใดที่แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณ ของท่านก่อนมาเป็นกษัตริย์ หรือหลังจากนั้น แต่สำหรับดาวิด ชายหนุ่มผู้เรียนรู้ที่จะไว้ วางใจในพระเจ้า ในขณะเมื่อยังเป็นเด็ก ถูกทิ้งให้เลี้ยงแกะอยู่ตามลำพัง ดาวิดเรียนรู้ที่ จะวางใจในพระเจ้าและนมัสการพระองค์ ท่านมีประวัติในการดำเนินกับพระเจ้ามาก่อน ที่จะเป็นกษัตริย์ และยังมีต่อไปหลังจากนั้น ซาอูลไม่มีวินัยของพระเจ้าในชีวิตของท่าน และมันก็แสดงออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กิลกาลเมื่อมีการทดสอบความเชื่อเกิดขึ้น

(5) คำพิพากษาของพระเจ้าอาจมีก่อนที่ผลจะออกมาเห็นได้อย่างชัดเจน พระเจ้าอาจพิพากษาไปล่วงหน้าแล้วก่อนที่การลงโทษจะมาถึง พระเจ้าไม่ยอมรับ ซาอูลในฐานะกษัตริย์ ราชวงศ์ของท่านต้องจบสิ้นลง (ดู 13:14) เมื่อพูดถึงตรงนี้ ซาอูลเองก็ยังปกครองอยู่ได้หลายปีก่อนสิ้นชีวิตลง เราแน่ใจได้ว่า การพิพากษาของ พระจ้ามีมาแน่นอน ถึงแม้อาจต้องใช้เวลาบ้าง เช่นเดียวกับที่เกิดกับซาอูล และเช่น เดียวกับการลงโทษของพระเจ้า ความพินาศของซาตานได้มีประกาศไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่เราก็ยังเห็นพวกมันต่อต้านพระเจ้าและคริสตจักรของพระองค์อยู่ ถึงกระนั้น การ พิพากษาต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่ยังไม่ใช่ในทันที

(6) พระเจ้าทรงทำงานผ่านคนที่ไม่สมบูรณ์แบบ คนที่ไม่ได้อยู่ในอุดมคติ เรา ไม่เคยหยุดสงสัยเลยว่าพระเจ้าเลือกใช้คนประเภทใด เพื่อทำให้วัตถุประสงค์และพระ สัญญาของพระองค์สำเร็จไป ซาอูลเป็นหนึ่งในนั้น ถึงแม้ท่านอ่อนแอและกระทำบาป แต่พระเจ้าก็ใช้ท่านให้ปลดปล่อยอิสราเอลออกจากการเป็นเมืองขึ้นของประชาชาติรอบ ด้าน (ดู 14:47-48) ตลอดมาในประวัติศาสตร์ พระเจ้าทรงเลือกที่จะใช้ "คนอ่อนแอ และโง่เขลา" ของโลกนี้ ทำให้ผู้ที่คิดว่าตนเองฉลาดหลักแหลมตะลึงไป เพื่อพระสิริ แห่งพระนามของพระองค์ ถ้าพระเจ้าสามารถใช้คนเช่นซาอูลได้ เราแน่ใจได้เลยว่า พระองค์ก็ทรงสามารถใช้เราได้เช่นกัน เราต้องโมทนาคุณพระองค์ที่ไม่ทรงใช้แต่คนที่ สมบูรณ์แบบเท่านั้น เราจึงไม่สามารถอ้างความอ่อนแอความบาปของเราได้ แต่ให้เรามี ความหวังว่าพระเจ้าสามารถใช้คนอ่อนแอและคนบาปอย่างเราเพื่อให้งานของพระองค์ บรรลุได้ตามพระประสงค์


42 เป็นเมืองของเผ่าเบนยามิน อยู่ห่างจากทางเหนือของกรุงเยรูซาเล็มไปประมาณ 11 กิโลเมตร และห่างจากกิเบอาห์ไปประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ดูโดเด่นจากเมือง อื่นๆ … John J. Bimson, consulting editor, Baker Encyclopedia of Bible Places (Grand Rapids: Baker Book House, 1995), p. 141.

43 ทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์อยู่เรื่องหนึ่ง ที่มีการเรียกให้มาเข้าร่วมสงคราม แต่ไม่มีใคร มา ดูเหมือนจะเป็นกรณีเดียวกัน

44 ค่อนข้างน่าสนใจ ที่พระคัมภีร์ฉบับ New Revised Standard Version ใช้คำว่า อุโมงค์ สถานการณ์ในอิสราเอลคงย่ำแย่ถึงขนาดที่คนต้องไปหลบซ่อนอยู่ในอุโมงค์

45 ให้สังเกตุดูว่าซาอูลกำลังใช้สรรพนามว่า "ข้าพเจ้า" ในข้อ 12 และท่านยังคงกล่าว ต่อไปโดยใช้ตัวท่านเป็นประธาน ("ข้าพเจ้า") ซึ่งดูเหมือนว่ากองทัพอิสราเอลนั้น จะมี ชัยหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง มากกว่าขึ้นอยู่กับพระเจ้า

Related Topics: Introductions, Arguments, Outlines

Report Inappropriate Ad