Previous PageTable Of ContentsNext Page

บทที่ 3: ซามูเอลจำเริญขึ้น และบุตรของเอลีตกต่ำลง
(1 ซามูเอล 3:1—4:22)

คำนำ

คุณอาจเคยได้ยินเรื่องที่นักโทษคนหนึ่งถูกส่งตัวเข้าคุกเป็นครั้งแรก ตอนเย็นพวกนัก โทษจะมารวมตัวกันที่สนาม พวกนักโทษจะผลัดกันตะโกนขานเบอร์ พอขานเสร็จ คนที่เหลือก็จะหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน แล้วก็มีการขานเบอร์ต่อไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ ขานเสร็จพวกนักโทษก็จะหัวเราะเป็นการใหญ่ เป็นอย่างนี้จนเลิก เมื่อกลับไปที่ห้อง นักโทษใหม่จึงถามเพื่อนร่วมห้องว่าเกิดอะไรขึ้น "อ๋อ" เพื่อนร่วมห้องตอบ "นี่เป็นการ เล่าเรื่องตลกของที่นี่ คือว่าทุกคนเคยได้ยินเรื่องตลกพวกนี้มาหลายร้อยหนแล้ว ดังนั้น แทนที่จะเสียเวลาเล่าซ้ำ เราก็ใส่เบอร์ให้กับแต่ละเรื่อง พอขานเบอร์ไหนทุกคนจำ เรื่องนั้นได้ ก็จะขำกัน !"

เย็นวันต่อมา พวกเขาก็ทำแบบเดิมอีก หลังจากขานเบอร์และหัวเราะกันไปพักหนึ่ง นัก โทษน้องใหม่คิดจะลองบ้าง พอเสียงหัวเราะเงียบลง เขาจึงตะโกนขานเบอร์ ไม่มีใคร หัวเราะสักคนเดียว น้องใหม่เริ่มงง แต่ก็ใจเย็นรอจนกลับไปที่ห้องจึงถามเพื่อนร่วมห้อง ว่า "เกิดอะไรขึ้น ?" "ทำไมไม่มีใครหัวเราะกับตลกของผมเลย? " "คือว่า" เพื่อนร่วม ห้องตอบ "คุณก็น่าจะรู้ … บางคนเล่าเก่ง และบางคนก็เล่าไม่เอาไหน"

เมื่อผมมาถึงเรื่องการทรงเรียกซามูเอลใน 1 ซามูเอล 3 ผมว่าผมพอจะขานเบอร์ประจำ เรื่องเหล่านี้ได้ :

เจ็ด - เรื่องพระเจ้าทรงเรียกซามูเอล

เราอาจคิดว่าเรารู้เรื่องการทรงเรียกซามูเอลเป็นอย่างดี เราได้ยินและเคยอ่านหลาย ครั้ง แค่ขานเบอร์ก็จบไม่ต้องฟังซ้ำ ผมว่าเราอย่ารีบเร่งข้ามไปเพราะคิดว่าเรารู้เรื่องนี้ ดีแล้ว บทเรียนของเราต้องการให้เราหัดมีมุมมองที่แตกต่างออกไป เพื่อนำไปสู่ความ เข้าใจและความหมายที่พระคำต้องการจะสื่อให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เรารู้เรื่องใน 1 ซามูเอล 3 การที่ซามูเอลขึ้นมาเป็นผู้เผยพระวจนะ เป็นข้อเท็จจริงที่ชาว อิสราเอลรู้และยอมรับ พอถึงบทที่ 4 เป็นเรื่องที่อิสราเอลพ่ายแพ้สงคราม และการสิ้น ชีวิตลงของเอลี บุตรทั้งสอง รวมถึงลูกสะใภ้ ในบทที่ 2 และ 3 พระเจ้าได้พยากรณ์ถึง การพิพากษาที่จะมีมาสู่เอลีและพงศ์พันธ์ของท่าน การพิพากษาเกิดขึ้นจริงในบทที่ 4 ในบท ที่ 3 เราเห็นพระเจ้าทรงสร้างและเตรียมซามูเอล ให้ขึ้นมาเป็นผู้นำที่โดดเด่น คนหนึ่งของอิสราเอล และในบทที่ 4 เราเห็นพระจ้าทรงกำจัดเอลีและบุตรออกไป เพื่อให้ซามูเอลขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำตามที่พระองค์ได้จัดเตรียมไว้

พระเจ้าทรงเีรียกซามูเอล
(3:1-14)

1 ฝ่ายกุมารซามูเอลปรนนิบัติพระเจ้าอยู่ต่อหน้าเอลี ในสมัยนั้นพระดำรัสของพระเจ้ามีมาแต่น้อย ไม่มีนิมิต บ่อยนัก 2 อยู่มาครั้งนั้นเอลีนอนอยู่ในที่นอนของตน (ตาของท่านเริ่มมืดมัวมองอะไรไม่เห็น) 3 ตะเกียงของ พระเจ้ายังไม่ดับ ซามูเอลนอนอยู่ในพระนิเวศของพระเจ้า ที่ที่หีบของพระเจ้าอยู่ที่นั่น 4 พระเจ้าทรงเรียกซามูเอล และซามูเอลทูลตอบว่า "ข้าพเจ้าอยู่นี่" 5 เขาจึงวิ่งไปหา เอลีและว่า "ข้าพเจ้าอยู่นี่ ด้วยท่านร้องเรียกข้าพเจ้า" แต่เอลีตอบว่า "เราไม่ได้เรียกเจ้า จงกลับไปนอนอีก" เขาก็ไปนอน 6 และพระเจ้าทรงเรียกขึ้นอีกว่า "ซามูเอล เอ๋ย" และซามูเอลก็ลุกขึ้นไปหาเอลีกล่าวว่า "ข้าพเจ้า อยู่นี่ด้วยท่านร้องเรียกข้าพเจ้า" แต่เอลีตอบว่า "ลูกเอ๋ย เรามิได้เรียกเจ้า จงนอนอีก" 7 ฝ่ายซามูเอลไม่เคยรู้จัก พระเจ้า และยังไม่เคยทรงสำแดงพระดำรัสของพระเจ้า แก่เขา 8 และพระเจ้าทรงเรียกซามูเอลครั้งที่สาม ซามูเอล ก็ลุกขึ้นไปหาเอลี กล่าวว่า "ข้าพเจ้าอยู่นี่ ด้วยท่านร้อง เรียกข้าพเจ้า" แล้วเอลีจึงหยั่งรู้ได้ว่าพระเจ้าทรงเรียกเด็กนั้น 9 เพราะฉะนั้นเอลีจึงพูดกับซามูเอลว่า "จงไปนอนเสียเถิด ถ้าพระองค์ทรงเรียกเจ้า เจ้าจงทูลว่า 'พระเจ้าเจ้าข้า ขอ พระองค์ตรัสเถิด เพราะผู้รับใช้ของพระองค์คอยฟังอยู่'" ซามูเอลจึงกลับไปนอนในที่ของตน 10 และพระเจ้าเสด็จมา ประทับยืนอยู่ ทรงเรียกอย่างครั้งก่อนๆว่า "ซามูเอล ซามูเอลเอ๋ย" และซามูเอลทูลตอบว่า "ขอตรัสเถิด เพราะผู้รับใช้ของพระองค์คอยฟังอยู่" 11 แล้วพระเจ้าตรัส กับซามูเอลว่า "ดูเถิด เราจะทำสิ่งหนึ่งในอิสราเอล หูของ ทุกคนผู้ที่ได้ยินจะแสบทั้งสองข้าง 12 ในวันนั้นเราจะกระทำ ให้สิ่งที่เราลั่นวาจาไว้เกี่ยวด้วย เรื่องพงศ์พันธุ์ของเอลีให้ สำเร็จเสียต่อเอลี ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด 13 ดังนั้นเราจึงบอก เขาว่า เราจะลงโทษพงศ์พันธุ์ของเขาเป็นนิตย์ เพราะความ บาปชั่วซึ่งเขารู้แล้ว เพราะบุตรทั้งสองของเขาเหยียดหยาม พระเจ้า และเขาก็มิได้ห้ามปราม 14 เพราะฉะนั้นเราจึง ปฏิญาณต่อพงศ์พันธุ์ของเอลีว่า ความบาปชั่วของพงศ์พันธุ์เอลี นั้นจะลบล้างเสียด้วย เครื่องสัตวบูชา และของถวายไม่ได้ เป็นนิตย์"

ในข้อ 1 พูดถึง "กุมาร" ซามูเอล ซึ่งครอบคลุมไปได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยหนุ่ม น้อย .10http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ ผมเข้าใจว่าเนื้อหาตอนนี้น่าจะพูดถึงซามูเอลในฐานะหนุ่มน้อย คงอายุประ มาณ 12 ปี เพราะดูเหมือนจากบทที่ 2 มาถึงบทที่ 3 น่าจะกินเวลาจนซามูเอลเข้าสู่ วัยรุ่น

(ข้อ 1) ในสมัยนั้นไม่มีใครสนใจฟังพระเจ้า และพระองค์ก็ไม่ทรงดำรัสบ่อยนัก "ความเงียบ" นี้มักจะเป็นหมายบอกเหตุถึงการพิพากษา ถ้าไม่รีบแก้ใข อิสราเอลกำลังจะเข้าสู่ความหายนะ (ดู 1 ซามูเอล 28; สดุดี 74:9; อิสยาห์ 29:9-14; มีคาห์ 3:6-7; และ สุภาษิต 29:18) เรารู้ว่าคำ พยากรณ์มีมาแต่น้อย เราเห็นว่าการทรงเรียกซามูเอลจึงเป็นการทำลายความเงียบของพระเจ้า (ดู 1 ซามูเอล 3:19-21).

รายละเอียดในข้อ 2, 3 และ 7 ช่วยเราให้เข้าใจเหตุการณ์ในบทที่ 3ได้ ซามูเอลนอน อยู่ในที่ที่เอลีจัดให้ภายในพระนิเวศน์ ซึ่งคงไม่ใกลจากหีบพันธสัญญาในอภิสุทธิสถาน นัก เอลีคงจะนอนห่างออกมา แต่คงไม่ใกลเกินกว่าที่ซามูเอลจะได้ยินเสียงเรียกของ ท่าน ตามที่ผู้เขียนเล่า สายตาของเอลีนั้นเสื่อมถอยลง การมองเห็นของท่านจึงค่อนข้าง ลำบาก (ดู 4:15 ด้วย) อายุของท่านประกอบกับน้ำหนัก และความจำกัดในการมองเห็น ท่านจึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเด็กอย่างซามูเอล ซามูเอลคงต้องคอยดูแลหาน้ำ ท่ามาให้ท่านดื่ม หรือวิ่งเป็นธุระจัดการเรื่องราวต่างๆให้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ ซามูเอลคิดว่าเสียงเรียกที่ได้ยินตอนกลางคืนนั้นเป็นเสียงเรียกของท่านปุโรหิตเอลี

ตามที่ผู้เขียนเขียนไว้ในข้อ 3 เรารู้ว่าการทรงเรียกซามูเอลนั้นต้องเป็นเวลาย่ำรุ่ง เพราะ พูดถึง "ตะเกียงของพระเจ้ายังไม่ดับ" ตะเกียงนี้ หรือคันประทีปทองคำพร้อมด้วย ตะเกียงเจ็ดดวงต้อง "ส่องสว่างอยู่เสมอ" (อพยพ 27:20-21; เลวีนิติ 24:2) ซึ่งไม่ ได้หมายความว่าต้องมีการจุดตะเกียงตลอด 24 ชั่วโมง แต่หมายถึงต้องจุดเฉพาะตอน กลางคืน มีคำอธิบายชัดเจนใน 2 พงศาวดาร 13:11:

11 "เขาถวายเครื่องเผาบูชาแด่พระเจ้าทุกเช้าทุกเย็น

ทั้งเครื่องหอม ตั้งขนมปังหน้าพระพักตร์บนโต๊ะบริสุทธิ์ และดูแลคันประทีปทองคำพร้อมทั้งตะเกียง เพื่อให้

ประทีปลุกอยู่ทุกเย็น เพราะเราได้รักษาพระบัญชา กำชับของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเรา แต่ท่านได้

ทอดทิ้งพระองค์เสีย"

ไม่มีความจำเป็นต้องจุดตะเกียงในตอนกลางวัน แต่จะมีการจัดเตรียมน้ำมันตะเกียงให้ พร้อมที่จะจุดก่อนถึงเวลาเย็น ตะเกียงจะลุกอยู่ทั้งคืนจนถึงเวลาเช้า ดังนั้นเมื่อตะเกียง ของพระเจ้ายังไม่ดับ เราจึงรู้ว่าน่าจะยังมืดอยู่ซึ่งอาจจะเป็นเวลาใกล้รุ่งที่พระเจ้าทรง เรียกซามูเอล

เช่นเดียวกับบุตรของเอลี ซามูเอลไม่รู้จักพระเจ้า (เปรียบเทียบ 1 ซามูเอล 2:12 กับ 3:7) ข้อแตกต่างระหว่างซามูเอลและบุตรแห่งความชั่วคือ ซามูเอลยังไม่รู้จักพระเจ้า แต่เห็นได้ชัดว่าบุตรของเอลีไม่รู้จักพระเจ้าเลย และคงจะไม่ได้รู้จักด้วย เป็นเรื่องสำ คัญที่จะเข้าใจว่าเมื่อทรงเรียกนั้นซามูเอลยังไม่ได้รับความรอด เช่นเดียวกับเซาโล (เปาโล) ในพระคัมภีร์ใหม่ (ดูกิจการ 9) ได้รับความรอดและการทรงเรียกในระหว่างที่ เผชิญหน้ากับพระเจ้า 11

สองครั้งแรกที่พระเจ้าเรียกซามูเอล หนุ่มน้อยผู้นี้นึกว่าเป็นเสียงเรียกของเอลี ผู้ปก ครอง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะเอลีเองคงเคยเรียกให้ซามูเอลช่วยในตอนกลาง คืน จนกระทั่ง "ทรงเรียก" ครั้งที่สาม เอลีจึงเริ่มรู้และตระหนักว่าพระเจ้ากำลังเรียก ซามูเอลเพื่อเผยพระคำของพระองค์ ตามที่เอลีสอนไว้ ซามูเอลจึงตอบเมื่อพระเจ้า ตรัสเรียกอีกครั้ง นับเป็นการเริ่มต้นเปิดเผยพระวจนะ (ถึงแม้จะไม่ทั้งหมด) ตาม ที่บันทึกไว้ในข้อ 11-14

พระเจ้าทรงตรัสกับซามูเอลว่าสิ่งที่พระองค์กำลังจะทำนั้น จะทำให้หูของผู้ที่ได้ยินแสบ ทั้งสองข้าง !12http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ เรื่องนี้ไม่ได้พูดเกินเลย เพราะตอนเอลีได้ยิน ท่านถึงกับตกเก้าอี้หงาย หลังลงไปตาย (ดู 4:18) ดูเหมือนเป็นข้อความที่เจาะจงถึงเอลีเป็นการส่วนตัว เช่นเดียว กับคำพยากรณ์ของพระเจ้าใน 2:27-36 เว้นแต่ครั้งนี้เรารู้จักตัวตนของผู้เผยพระวจนะ และที่จริงเป็นผู้เผยพระวจนะที่จะมาแทนที่เอลี ทำหน้าที่ในฐานะ ผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และผู้พิพากษา คำพยากรณ์ในบทที่ 2 นั้นดูเหมือนยังห่างไกล เพราะพยากรณ์ ไว้หลายปีก่อนที่อิสราเอลจะพ่ายแพ้แก่ชาวฟิลิสเตียตามที่บันทึกไว้ในบทที่ 4 แต่คำ พยากรณ์ เรื่องการพ่ายแพ้ของอิสราเอล และการตายของบุตรเอลีที่ตรัสผ่านทาง ซามูเอลนั้น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า

พระคำที่ถ่ายทอดให้ซามูเอลนั้น เจาะจงที่ความบาปของเอลีมากกว่าความบาปของบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์กำหนดว่าจะนำการพิพากษามายังเอลีและพงศ์พันธ์ของ ท่าน เพราะเอลีทราบดีถึงความบาปของบุตร แต่ไม่คิดที่จะยับยั้งห้ามปราม ถ้าเป็นสมัย นี้เราคงเรียกเอลีว่า "พวกไร้น้ำยา" ท่านอำนวยความสะดวกให้บุตรทำบาปมากกว่าจะ ยับยั้ง หรือห้ามปราม

ผมค่อนข้างผิดหวังกับการแปลข้อ 13 ในฉบับแปลของ NASB:

13 "ดังนั้นเราจึงบอกเขาว่า เราจะลงโทษ พงศ์พันธุ์ของเขาเป็นนิตย์ เพราะความบาป ชั่วซึ่งเขารู้แล้ว เพราะบุตรทั้งสองของเขา เหยียดหยามพระเจ้า และเขาก็มิได้ว่ากล่าว" (Rebuke) (พระคัมภีร์ไทยใช้คำว่าห้ามปราม)

อันที่จริงเราเห็นว่า เอลีว่ากล่าวบุตรด้วยวาจาตาม 2:22-25 แต่คำว่า "ว่ากล่าว" นั้นไม่ ตรงตามความหมายในการแปลของ NASB นีเป็นเรื่องของการเลือกใช้คำ เพราะผมไม่ เชื่อว่าพระเจ้าพิพากษาเอลีเพราะท่านไม่ได้ "ว่ากล่าว"บุตร แต่เพราะท่านไม่ได้ทำมาก ไปกว่า แค่ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจาเมื่อพวกเขาปฏิเสธไม่ยอมฟัง

จึงมีคำถามเกิดขึ้นกับคำว่า "ว่ากล่าว" ตามเนื้อหาของ 3:13 ต้องขอชมเชยคู่มือ ศึกษาพระคัมภีร์ที่พูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างดีและน่าสนใจ ไม่มีการแปลคำว่า "ว่ากล่าว" นี้ที่อื่นๆในพระคัมภีร์เดิม (ตามฉบับแปลของ NASB) จึงไม่ควรจะนำมาใช้ในตอนนี้ ที่น่าสนใจคือมีการใช้คำเดียวกันนี้ในข้อ 2 ของบทเดียวกัน (3) แต่กลับแปลไปเป็น เรื่องที่ใช้กับสายตาที่มืดมัวของเอลี มีการใช้พูดถึงสายตาโมเสสในทางที่ดี (เฉลยธรรม บัญญัติ 34:7) และพูดถึงสายตามัวของอิสอัค (ปฐมกาล 27:1) และโยบ (17:7) ทำให้รู้สึกถึงการอ่อนล้ากำลัง ความมืดมัว หรือ เริ่มจืดจาง เป็นคำที่ใช้ในอิสยาห์ 42:3 และ 4 ด้วย ที่พูดถึงใส้ตะเกียงที่ริบหรี่ ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าจะไม่ปล่อยให้ดับไป เช่นเดีียวกับจิตวิญญาณของพระเมสซิยาห์ ซึ่งจะไม่ถูกกระทำให้ อ่อนล้าสิ้นเรี่ยว แรงไป

แล้วผู้แปลนำคำว่า "ว่ากล่าว" มาใช้ได้อย่างไรในตอนนี้ ? ผมเกรงว่าเป็นมาจากอิทธิพล ของต้นฉบับ LXX (แปลจากต้นฉบับพระคัมภีร์เดิมภาษาฮีบรูมาเป็นภาษากรีก) ผู้้แปล Septuagint (LXX) เลือกใช้คำแปลจากภาษาฮีบรูมาเป็นภาษากรีกด้วยคำว่า noutheo เป็นคำเดียวกับที่ Jay Adams นำมาใช้อธิบายถึงวิธีการให้คำปรึกษา ซึ่งเขาเรียกว่า nouthetic counseling. Noutheo หมายถึง การว่ากล่าวตักเตือน หรือดุว่า ซึ่งไม่่ตรง กับความหมายเดิมในภาษาฮีบรูที่ใช้ในตอนนี้เลย

ผมเชื่อว่าการใช้คำในฉบับ King James Version, the New King James Version, the NIV (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง), the American Standard Version, the Revised Standard Version, the New Revised Standard Version และอื่นๆ ซึ่งใช้คำว่า "ห้ามปราม" ทั้งสิ้น ในเนื้อหาของเราดูเหมือนผู้เขียนจะใช้วิธีเล่นคำ สายตาของ เอลีมืดมัว ; จนแทบจะมองไม่เห็น เอลีจึงแทบมองไม่เห็นการกระทำของบุตร ถ้า เปรียบเทียบกับแสง ความบาปของบุตรเอลีก็จ้าที่สุด ท่านอาจจะแยกแยะความจ้าของ "แสง" แห่งความบาปไม่ออก แต่อย่างน้อยท่านต้องรู้ว่ามีแสง ท่านอาจทำการห้าม ปราม เช่น ปลดออกจากการเป็นปุโรหิต หรือขัดขวางการกระทำบาป ตรงข้าม ท่าน กลับเอื้ออำนวยความสะดวกให้ และนี่จึงเป็นสาเหตุที่พระเจ้าต้องจัดการอย่างจริงจัง กับเอลีและพงศ์พันธ์ทั้งสิ้นของท่าน

ข้อ 14 บ่งชัดว่าความบาปของพงศ์พันธ์เอลีเกินการแก้ใข พระเจ้าจะทรงพิพากษาแน่ จะลบล้างด้วยเครื่องสัตวบูชาและของถวายไม่ได้ มีเพียงการพิพากษาเท่านั้น ถ้าจะ พูดอย่างง่ายๆคือ เอลีและบุตรไปไกลจน "หวนคืนไม่ได้แล้ว" พวกเขาไม่ยอมกลับใจ และการพิพากษากำลังจะมาถึง เป็นเพราะเอลีและบุตรทำบาปอย่าง "เหิมเกริม"13 และเป็นบาปที่ท้าทายและไม่เกรงกลัวต่อผู้ใด

ซามูเอลเก็บเงียบ เอลีคะยั้นคะยอ : คำพยากรณ์เปิดเผย
1 ซามูเอล 3:15-18

15 ซามูเอลนอนอยู่จนรุ่งเช้า เขาเปิดประตูพระนิเวศ ของพระเจ้า และซามูเอลก็กลัวไม่กล้าบอกนิมิตนั้น แก่เอลี 16 เอลีก็เรียกซามูเอลมากล่าวว่า "ซามูเอล บุตรของข้าเอ๋ย" และซามูเอลตอบว่า "ข้าพเจ้าอยู่นี่" 17 และเอลีถามว่า "เรื่องอะไรนะที่พระองค์ทรงบอกเจ้า ขออย่าปิดบังไว้จากเราเลย ถ้าเจ้าปิดบังสิ่งใดไว้จากเรา ในเรื่องทั้งสิ้นที่พระองค์ทรงบอกแก่เจ้าก็ขอพระเจ้าทรง ลงโทษเจ้า และยิ่งหนักกว่า" 18 ดังนั้นซามูเอลจึงบอก ทุกอย่างแก่เอลี ไม่ได้ปิดบังอะไรไว้จากท่านเลย และ เอลีว่า "คือพระเจ้าเอง ขอพระองค์ทรงกระทำตามสิ่งที่ พระองค์ทรงเห็นชอบเถิด"

พอถึงตอนเช้า ซามูเอลพยายามหลีกเลี่ยงเอลี และปฏิบัติหน้าที่ไปตามปกติเหมือนไม่มี อะไรเกิดขึ้น แต่เอลีรู้ดีกว่านั้น ท่านรู้ดีว่าพระเจ้าทรงเรียกซามูเอลถึงสามครั้งในตอน กลางคืน ท่านรู้ดีว่าพระเจ้าคงจะเปิดเผยบางสิ่งบางอย่างกับซามูเอล เพียงแต่ท่านไม่รู้ ว่าเรื่องใด ท่านอาจรู้สึกหวั่นใจและมีลางสังหรณ์ไปถึงข่าวสุดท้ายที่ได้รับจากผู้เผยพระ วจนะ เอลีจึงพูดเชิงบังคับให้ซามูเอลเล่าถึงสิ่งที่พระเจ้าตรัส ท่านไม่ยอมให้ซามูเอล เก็บเงียบ ดังนั้น อย่างไม่สู้เต็มใจซามูเอลจึงต้องเล่าเรื่องทั้งหมดให้เอลีฟัง

ผมรู้สึกรำคาญเป็นอย่างยิ่งต่อปฏิกิริยาที่เอลีตอบสนองต่อคำพยากรณ์ มีการพูดถึงการ พิพากษาที่จะเกิดกับท่าน และครั้งนี้อาจไม่มีทางยับยั้งได้ 14http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ ถึงแม้จะหลีกหนีการ พิพากษาไปไม่พ้น อย่างน้อยเอลีก็น่าจะกลับใจจากความบาปแห่งการละเลย แต่เอลี กับใช้คำพูดที่ฟังดูเหมือนคนเคร่งศาสนา ทำนองว่ายอมจำนนกับพระประสงค์ของพระ เจ้า แต่ที่จริงท่านกำลังแสดงว่าต้องการดำเนินอยู่ในทางบาปต่อ จากที่เราอ่านนั้น ไม่ใช่เป็นการแสดงความเชื่อในพระราชอำนาจของพระเจ้า แต่กลับกลายเป็นการแสดง ถึงความเชื่อในเรื่องโชคชะตาที่อ้างอิงแอบแฝงอยู่ในหลักคำสอนของศาสนา

ซามูเอลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า
( 3:19-21)

19 และซามูเอลก็เติบโตขึ้น และพระเจ้าทรงสถิต กับท่าน มิให้วาจาของท่านตกไปเปล่าแต่สักคำเดียว 20 และชนอิสราเอลทั้งปวง ตั้งแต่ดานถึงเบเออร์เชบา ก็ทราบว่าซามูเอลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เผยพระ วจนะของพระเจ้า 21 และพระเจ้าทรงปรากฏอีกที่ชิโลห์ เพราะพระเจ้าทรงสำแดงพระองค์แก่ซามูเอลที่ชิโลห์ โดยพระดำรัสของพระเจ้า และถ้อยคำของซามูเอลมา ถึงคนอิสราเอลทั้งปวง

ผมคิดว่าการเผชิญหน้ากับพระเจ้าเป็นครั้งแรก เป็นประสพการณ์ในการเปลี่ยนแปลง ของซามูเอล เป็นการทรงเรียกให้เป็นผู้เผยพระวจนะ อย่างที่ผมเคยพูดไว้ว่าเป็นประสพ การณ์ที่คล้ายกันกับเซาโลในระหว่างเดินทางไปดามัสกัส (ดูกิจการ 9) ผู้เขียนกำลังจะ บอกเราว่าการเผชิญหน้ากับพระเจ้า และการยอมรับในสิ่งที่พระองค์ตรัสครั้งนี้ เป็นการ เริ่มต้นของการมาปรากฎอีกหลายครั้งของพระเจ้า ข้อ 21 เจาะจงบอกถึงการปรากฎมา เป็นครั้งที่สองต่อซามูเอลที่ชิโลห์ ซึ่งแสดงว่ายังมีครั้งอื่นๆตามมาอีก และการเสด็จ มาในครั้งแรกนี้เอง ที่ไม่เพียงแต่ทำให้ซามูเอลเป็นผู้เชื่อ (ตามที่ผู้เขียนพูดว่าพระเจ้า ทรงสถิตกับท่าน) i15http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ แต่ได้มาเป็นผู้เผยพระวจนะด้วย และในมาช้าจะมาเป็นปุโรหิต และ เป็นผู้วินิจฉัยของอิสราเอล

วิธีการแต่งตั้งปุโรหิตที่ถูกต้องนั้นอยู่ในเฉลยธรรมบัญญัติ 13:1-5 และ 18:14-22 ปุโรหิตที่แท้จริงจะกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนติดตามพระเจ้า เชื่อฟังพระองค์ และ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้อยคำจากปุโรหิตของพระเจ้าจะเกิดขึ้นเป็นจริง ผู้เขียนของเรากล่าวว่า พระเจ้าจะไม่ปล่อยให้ วาจาของซามูเอล "ตกไปเปล่า" (ข้อ 19) ทุกสิ่งที่ซามูเอล พูดว่าจะเกิดก็เกิดขึ้น ชาวอิสราเอลทุกคนจึงตระหนักว่าพระเจ้าสถิตอยู่กับซามูเอล และท่านจะเป็นผู้ถ่ายทอดพระคำของพระองค์ ตั้งแต่ดานเหนือสุดของแผ่นดิน ไปถึง เบเออร์เชบาใต้สุด ชาวอิสราเอลทั้งปวงตระหนักดีว่าซามูเอลเป็นผู้เผยพระวจนะของ พระเจ้า ความเงียบได้ถูกทำลายลงแล้ว

ความพ่ายแพ้ของอิสราเอล และการสิ้นชีวิตของบุตรของเอลี
( 4:1-11)

11 ฝ่ายคนอิสราเอลได้ยกกองทัพออกไปสู้รบกับคน ฟีลิสเตีย ได้ตั้งค่ายอยู่ข้างเอเบนเอเซอร์ และคนฟีลิส เตียตั้งค่ายอยู่ในเอเฟก 2 คนฟีลิสเตียได้จัดพลเป็น แนวเข้าต่อสู้กับอิสราเอล และเมื่อสงครามได้ขยายวง ออกไป อิสราเอลก็พ่ายแพ้แก่คนฟีลิสเตียผู้ได้ฆ่าคน เสียประมาณ สี่พันคนในสนามรบ 3 และเมื่อกองทัพ กลับมาสู่ค่าย พวกผู้ใหญ่ของอิสราเอลก็ กล่าวว่า "ทำไมพระเจ้าจึงทรงให้เราพ่ายแพ้ต่อคนฟีลิสเตีย ในวันนี้ ขอเราไปนำหีบพันธสัญญาแห่งพระเจ้ามาให้ เราจากเมืองชิโลห์เถิด เพื่อว่าพระองค์จะเสด็จมาท่าม กลางเรา และทรงช่วยเราให้พ้นจากมือศัตรูของเรา" 4 เขาจึงใช้คนไปที่เมืองชิโลห์ และเขานำหีบพันธสัญญา แห่งพระเจ้าจอมโยธา ผู้ประทับที่บัลลังก์พวกเครูบ บุตร ทั้งสองของเอลี คือโฮฟนีและฟีเนหัส ก็อยู่กับหีบพันธ สัญญาแห่งพระเจ้าที่นั่น 5 เมื่อหีบพันธสัญญาแห่งพระเจ้า เข้ามาในค่าย แล้วคนอิสราเอลทั้งสิ้นก็โห่ร้องเสียงดัง จนแผ่นดินก้องไปด้วยเสียงนั้น 6 และเมื่อคนฟีลิสเตีย ได้ยินเสียงโห่ร้องดังเช่นนั้น เขาก็กล่าวว่า "เสียงโห่ร้อง อึกทึก ครึกโครมในค่ายของคนฮีบรูนั้นหมายความว่า อะไรกัน" และเขาทราบว่าหีบแห่งพระเจ้าเข้ามาในค่ายแล้ว 7 คนฟีลิสเตียก็กลัวเพราะเขากล่าวว่า "พระเจ้าได้เสด็จมา ในค่ายแล้ว" และเขากล่าวว่า "วิบัติแก่เราทั้งหลายเพราะ แต่ก่อนไม่เคยเกิดเรื่องอย่างนี้เลย 8 วิบัติแก่เราทั้งหลาย ใครจะช่วยกู้เราจากบรรดาพระอันทรงฤทธานุภาพนี้ได้ พระ เหล่านี้เป็นผู้ที่ฆ่าฟันชาวอียิปต์ด้วยภัยพิบัตินานาชนิดในถิ่น ทุรกันดาร 9 โอ คนฟีลิสเตียเอ๋ยจงกล้าหาญเถิด จงกระทำตัว เป็นลูกผู้ชาย เพื่อว่าเจ้าจะไม่เป็นทาสของคนฮีบรูดังที่เขาเคย เป็นทาสเจ้า จงกระทำตัวให้เป็นลูกผู้ชายและเข้ารบ" 10 เพราะ ฉะนั้นคนฟีลิสเตียจึงสู้รบและอิสราเอลก็พ่ายแพ้ ต่างก็หนีไปยัง เต็นท์ของตน ครั้งนั้นมีการฆ่าฟันกันมาก เพราะทหารราบของ อิสราเอลตายเสียสามหมื่นคน 11 และหีบแห่งพระเจ้าก็ถูกยึดไป และบุตรทั้งสองของเอลี คือโฮฟนีและฟีเนหัสก็ถูกฆ่าตาย

คนอิสราเอลเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของฟิลิสเตียอยู่พักหนึ่ง คนฟิลิสเตียจึงดูถูก ว่าเป็นพวกทาส (4:9) ด้วยเหตุผลบางประการ มีสงครามเกิดขึ้นระหว่างคนฟิลิสเตีย กับอิสราเอล และทางอิสราเอลกำลังจะพ่ายแพ้ พอฝุ่นจาง คนอิสราเอลจึงรู้ว่าพี่น้อง ร่วมชาติตายเสีย 4,000 คน (ข้อ 2) เมื่อกลับมาที่ค่าย พวกเขาไม่เข้าใจว่าเหตุใด พระเจ้าจึงปล่อยให้พวกเขาต้องพ่ายแพ้และสูญเสียมากเช่นนี้

โดยปราศจากการอดอาหารอธิษฐาน ปราศจากการทูลขอการทรงนำจากพระเจ้า ชาว อิสราเอลตัดสินใจเลือกใช้ยุทธวิธีที่ Dale Ralph Davis เรียกว่า "เครื่องลางของขลัง" 16http://www.bible.org/docs/ot/books/1sa/deffin/ ไม่มีการมองว่าหีบพันธสัญญาเป็นสัญลักษณ์การสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า แต่กลับ กลายเป็นตะเกียงวิเศษซึ่งต้องถูมือไปบนตะเกียงเพื่อเรียกพระเจ้าให้ออกมาช่วย หีบพันธสัญญาเป็นเครื่องลาง ซึ่งเมื่อไรนำมาใช้ก็จะได้รับพร "แน่นอน" พวกเขาให้ เหตุผล "เป็นเพราะเราไม่ได้นำหีบพันธสัญญามาด้วย ! พรุ่งนี้เราจะนำหีบพันธสัญญา ออกไปสนามรบพร้อมกับเราด้วย และแน่นอนเราต้องชนะ พระเจ้าจะสถิตอยู่กับเรา เพราะหีบพันธสัญญาอยู่กับพวกเรา"

แผนการล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ตอนแรกดูเหมือนจะดี แต่กลับกลายเป็นความหายนะ อย่างใหญ่หลวงสำหรับผู้ที่คิดว่าหีบพันธสัญญาจะนำชัยชนะมาให้ ตอนที่นำหีบ พันธสัญญาออกมาจากพลับพลาเพื่อไปไว้ต่อหน้าทหารอิสราเอล มีเสียงตะโกนโห่ร้อง อึกทึกไปก้องค่าย เป็นเหมือนเสียงเชียร์ก่อนการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญ ทหารของ อิสราเอลมีกำลังใจขึ้นอีกโข พวกเขาจะไม่มีวันแพ้ เพราะพระเจ้าสถิตอยู่ด้วย

ทหารฟิลิสเตียได้ยินเสียงโห่ร้องมาจากค่ายของอิสราเอลจึงสงสัยว่า อะไรเป็นเหตุ ให้ชาวอิสราเอลโห่ร้องอย่างเหิมเกริมเช่นนั้น และเมื่อรู้ว่ามีการนำหีบพันธสัญญามา ที่ค่ายของอิสราเอล พวกเขาก็เช่นเดียวกับชาวอิสราเอล คิดว่าหีบพันธสัญญาเป็นหีบ แห่งอัศจรรย์ พวกเขานึกไปถึงตอนที่พระเจ้าทรงนำคนอิสราเอลออกจากอียิปต์ และ เรื่องราวที่พระเจ้านำชัยชนะเหนือศัตรูมาสู่คนอิสราเอลอย่างมหัศจรรย์ และเมื่อใด ที่อิสราเอลออกรบ จะนำหีบพันธสัญญาไปด้วย พวกเขาจึงกลัวว่าสิ่งนี้จะทำให้อิสราเอล รบชนะในครั้งนี้ สรุปว่าพวกเขาต้องตายแน่ๆ แต่ถ้าจะตายก็ขอตายอย่างชายชาติทหาร ดังนั้น แทนที่จะท้อถอย ทหารฟิลิสเตียกลับต่อสู้จนสุดฤทธิ์เพื่อจะตายอย่างวีรบุรุษ ผลก็คือ ทำให้ชาวฟิลิสเตียมีแรงจูงใจในการรบ และในที่สุดก็เอาชนะอิสราเอลได้ — และครั้งนี้ชาวอิสราเอลตายถึง 30,000 คน มีโฮฟนีและฟีเนหัสบุตรของเอลีอยู่ใน จำนวนนี้ด้วย และหีบพันธสัญญาถูกยึดไปเป็นรางวัลแห่งชัยชนะ

ชาวอิสราเอลโง่เขลาที่สรุปเอาเองว่าถ้านำหีบพันธสัญญาไปสู่สนามรบด้วย พวกเขา ต้องมีชัย แต่ในแผนการของพระเจ้า การทีชาวอิสราเอลนำหีบพันธสัญญาไปสนามรบ หมายถึงพระเจ้ากำลังทำให้คำพยากรณ์ของพระองค์สำเร็จลงตามที่ตรัสแก่ผู้เผยพระ วจนะนิรนาม โฮฟนีและฟีเนหัสนำหีบพันธสัญญาไปสู่สนามรบ ชาวอิสราเอลต้องแพ้ สงคราม หีบพันธสัญญาถูกยึดไปเป็นเชลย และบุตรทั้งสองของเอลีก็เสียชีวิตลงไป ภายในวันเดียวกัน (ดู 2:34).

การตายของเอลีและลูกสะใภ้
( 4:12-22)

คำพยากรณ์ของพระเจ้าสำเร็จไปเพียงบางส่วน ยังมีการพิพากษามาถึงอีกในวันอันน่า อดสูนี้ เอลีนั่งคอยเฝ้าอยู่ที่ข้างถนน จิตใจคงหวั่นไหวรอคอยคนมาส่งข่าว ท่านคงรู้สึก ลึกๆว่าวันนี้น่าจะเป็นวันแห่งการพิพากษา หีบพระบัญญัติไม่ได้อยู่ที่ชิโลห์ ลูกของท่าน ก็เช่นกัน เอลีคงรู้สึกย่ำแย่ ผู้ชายเผ่าเบนยามินคนหนึ่ง หนีรอดจากสนามรบกลับมาที่ ชิโลห์ เสื้อผ้าขาดวิ่นและมีดินอยู่บนศีรษะ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความโศกเศร้าและ พ่ายแพ้ แต่เอลีสายตามืดมัวมองไม่เห็น คนทั้งเมืองคงจะร้องให้คร่ำครวญทันทีที่ข่าว นี้แพร่กระจายออกไป

ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่เอลีได้ยิน และสิ่งที่ท่านได้ยินทำให้ท่านตกใจ หูของท่านที่ ได้ยินคงจะแสบไปหมด (ดู 3:11) เอลีร้องถามถึงเหตุโกลาหล ชายคนนี้จึงรีบเข้า มาหาเอลี และเล่าเรื่องทั้งสิ้นให้ฟัง ไม่มีให้เลือกว่าจะฟัง "ข่าวดี" หรือ "ข่าวร้าย"ก่อน เพราะมีแต่เพียง "ข่าวร้าย" — อิสราเอลพ่ายแพ้แก่ชาวฟิลิสเตีย บุตรทั้งสองของเอลี ถูกฆ่า และหีบของพระเจ้าถูกยึดไป ข่าวนี้ร้ายแรงเกินกว่าชายชราอายุ 98ปีอย่างเอลี จะรับไหว ท่านหงายหลังล้มลงและคอหักตาย เอลีตายลง พร้อมด้วยบุตรทั้งสองภาย ในวันเดียวกัน งานรับใช้เป็นเวลาสี่สิบปีของท่านในฐานะผู้วินิจฉัยอิสราเอลก็จบลงด้วย

เรื่องการตายที่บ้านของเอลียังไม่จบสิ้น ภรรยาของฟีเนหัสบุตรเอลีตั้งครรภ์อยู่ และ ข่าวโศกนาฏกรรมในการพ่ายแพ้ การสูญเสียหีบพันธสัญญา การตายของพ่อสามี และ ตัวสามีทำให้นางกระทบกระเทือนจนเจ็บท้องคลอด การคลอดเป็นไปอย่างลำบาก มี หลายคนช่วยปลอบนาง แต่นางไม่ต้องการฟัง และเมื่อคลอดบุตรเป็นชาย นางจึงตั้ง ชื่อว่า อีคาโบด ซึ่งแปลว่า "พระสิริพรากไป" เพราะหีบแห่งพระเจ้าถูกยึดไป สามีและ บิดาสิ้นชีวิตลง ลูกสะใภ้ของเอลีคนนี้ ดูจะมีความเข้าใจมากกว่าสามี นางตระหนักดีว่า การสูญเสียหีบแห่งพระเจ้านั้นคือหายนะที่สุด ในความคิดของนาง การเสียหีบของพระ เจ้าไปเท่ากับสูญเสียพระสิริไปด้วย

ที่จริง ผมว่าไม่ถูกต้อง ตามที่ผมเข้าใจในพระคัมภีร์เดิม พระสิริของพระเจ้าได้พรากไป จากพลับพลานานแล้ว ให้ลองมาดูพระวจนะคำในอพยพ ซึ่งพูดถึงการสถิตอยู่ของพระ เจ้าที่ในพลับพลาของพระองค์ :

34 ในขณะนั้นมีเมฆมาปกคลุมเต็นท์นัดพบไว้ และ พระสิริของพระเจ้าก็ปรากฏอยู่เต็มพลับพลานั้น 35 โมเสสเข้าไปในเต็นท์นัดพบไม่ได้เพราะเมฆปกคลุม อยู่ และพระสิริของพระเจ้าก็อยู่เต็มพลับพลานั้น 36 ตลอดการเดินทางของเขา เมฆนั้นถูกยกขึ้นจาก พลับพลาเมื่อใด ชนชาติอิสราเอลก็ยกเดินต่อไปทุก ครั้ง 37 แต่หากว่าเมฆนั้นมิได้ถูกยกขึ้นไป เขาก็ไม่ ออกเดินทางเลย จนกว่าจะถึงวันที่เมฆนั้นจะถูกยกขึ้นไป 38 เพราะตลอดทางที่เขายกเดินไปนั้น ในกลางวัน เมฆของพระเจ้าทรงสถิตอยู่เหนือพลับพลา และใน ตอนกลางคืนมีไฟในเมฆนั้นประจักษ์แก่ตา ของวงศ์วาน อิสราเอลทั้งปวง
(อพยพ 40:34-38)

พระเจ้าทรงสัญญาจะพบกับปุโรหิตที่ประตูทางเข้าพลับพลานั้น :

42 นี่จะเป็นเครื่องเผาบูชาเนืองนิตย์ ตลอดชั่วชาติ พันธุ์ของเจ้าที่ประตูเต็นท์นัดพบ เฉพาะพระพักตร์ พระเจ้า ที่ที่เราจะพบเจ้าทั้งหลายและสนทนากับเจ้า ที่นั่น 43 ที่นั่นเราจะพบกับชนชาติอิสราเอล และพลับ พลานั้นจะรับการชำระให้บริสุทธิ์ด้วยพระสิริของเรา 44 เราจะชำระเต็นท์นัดพบและแท่นบูชาไว้เป็นที่บริสุทธิ์ และเราจะชำระอาโรน และบุตรเขาให้บริสุทธิ์ด้วยเพื่อให้ เป็นปุโรหิตปรนนิบัติเรา 45 เราจะสถิตอยู่ท่ามกลางชนชาติ อิสราเอล และจะเป็นพระเจ้าของเขา 46 เขาจะรู้ว่า เราคือ พระเจ้าของเขา ผู้ได้นำเขาออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพื่อเรา จะสถิตอยู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย เราคือพระเจ้าของเขา"
(อพยพ 29:42-46)

จากเวลานั้นมา ดูเหมือนพระสิริของพระเจ้าไม่ได้อยู่ที่พลับพลาอีกต่อไป การจากไป ของพระเจ้า ไม่ชัดเจนเหมือนกับเวลาที่พระสิริของพระองค์ลงมาตามที่บันทึกไว้ด้านบน ซามูเอลเติบโตขึ้นในพระนเวศน์ นอนไม่ไกลไปจากหีบแห่งพันธสัญญา (3:3) แต่ไม่รู้ จักพระเจ้า และไม่ได้รู้สึกพิเศษถึงการสถิตอยู่ของพระองค์ ดังนั้นเมื่อพระเจ้ามา ปารกฎแก่ซามูเอลที่พระนิเวศน์จึงเป็นเรื่องไม่ธรรมดา พระเจ้าเสด็จมาและประทับยืน เรียกชื่อซามูเอล (3:10) ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้น ซามูเอลไม่ทราบว่านี่คือพระเจ้า ต้องให้เอลีบอกจึงทราบ ถึงแม้เอลีเองก็ไม่ได้ไวต่อการมาปรากฎของพระองค์

หีบพันธสัญญาไม่ใช่เป็นการประกาศว่าพระเจ้าของอิสราเอลกำลังสถิตอยู่ในพระนิเวศน์ ไม่ใช่เป็นรูปเคารพ เป็นเพียงเครื่องหมายว่าพระเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางประชากรของ พระองค์ ในขณะที่เครื่องหมายนี้อยู่ในความครอบครองของปุโรหิตที่ในชิโลห์ พระสิริ ของพระองค์ได้จากไปนานแล้ว การที่หีบพันธสัญญาถูกยึดไปจึงเป็นการย้ำถึงความ จริงในสิ่งนี้ ความจริงที่ว่าพระสิริของพระเจ้าได้จากชิโลห์ไปแล้ว เพราะพระสิริของ พระองค์จะไม่มีวันถูกบรรดาคนบาปมาบดบังได้ดังเช่นที่เราจะได้เรียนในบทต่อๆไป

บทสรุป

ในขณะที่เรามาถึงตอนจบของยุคโศกนาฏกรรมของอิสราเอลที่นานนมมาแล้ว (40ปี แห่งการรับใช้ของเอลีในหน้าที่ผู้วินิจฉัย และปุโรหิต) ให้เราหยุดเพื่อมาดูว่าเหตุการณ์ ในบทเรียนนี้สอนคริสเตียนอย่างเราๆในปัจจุบันได้อย่างไร

ข้อแรก ให้มาพิจารณาดูว่าบทเรียนนี้สอนเราเรื่องพระเจ้าว่าอย่างไร พระเจ้า ทรงมีพระคุณต่อประชากรอิสราเอลอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาเต็มไปด้วยบาป และไม่สมควรต่อพระคุณ โดยพระคุณ พระเจ้าตักเตือนเอลีครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าการ พิพากษากำลังจะมาถึงพงศ์พันธ์ของท่าน ช่วงเวลาระหว่างการเตือนครั้งแรก และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนั้นมีเวลาเหลือเฟือที่เอลีจะกลับใจและแก้ใขจัดการกับความ บาปของบุตร พระเจ้าทรงพระเมตตาที่ได้ทำลายความเงียบก่อน และเปิดเผยพระองค์ เองและพระวจนะคำให้กับประชาชนโดยผ่านทางผู้เผยพระวจนะซามูเอล

พระเจ้าอุดมด้วยพระคุณ และพระองค์ทรงอำนาจอธิปไตย (พระคุณที่เราไม่สมควรได้รับ หรือแสวงหาได้เอง นอกจากพระองค์เป็นผู้ประทานให้) ซามูเอลไม่รู้จักพระเจ้า ไม่เคย ได้ยินพระสุรเสียง ซามูเอลไม่ได้แสวงหาพระองค์ แต่พระองค์มาปรากฎแก่เขา ทำให้ เขารู้จัก และเรียกให้มาเป็นผู้เผยพระวจนะ พระเจ้าแต่งตั้งซามูเอลต่อหน้าชนชาติอิสรา เอล เพื่อให้ทุกคนทราบว่าบัดนี้พระเจ้าทรงแต่งตั้งผู้เผยพระวจนะคนใหม่ที่แท้จริงของ พระองค์ขึ้น และพระเจ้าผู้ครอบครองอยู่ทรงจัดเตรียมหนทางโดยการกำจัดเอลีและ บุตรออกไป และสร้างซามูเอลขึ้น เรียกท่านและประทานตำแหน่งผู้เผยพระวจนะให้ แก่ท่าน

พระเจ้าเกลียดชังความบาป พระองค์ทรงพิพากษาคนบาปที่ไม่ยอมกลับใจ วันคืนเหล่า นั้น นับเป็นเวลาอันมืดมนของอิสราเอล ปุโรหิตทุจริต คนมีหน้าที่รับใช้พระเจ้ากลับทำ ร้ายทั้งพระนิเวศน์และประชาชน ปุโรหิตทำตัวเป็นโจรผู้ร้าย ทั้งทุจริตและทำผิดศีลธรรม พระคำของพระเจ้ากำหนดไว้ชัดเจนถึงความบริสุทธิ์ในสถานนมัสการ และในหน้าที่ปรน นิบัติรับใช้ พระเจ้าทรงต้องการให้ปุโรหิตเป็นดังภาพสะท้อนของความบริสุทธิ์ของพระ องค์ บุตรทั้งสองของเอลีชูกำปั้นใส่พระพักตร์ และในที่สุดวันแห่งการพิพากษาก็มาถึง ตรงตามที่พระองค์ตรัสไว้ทุกประการ พระเจ้าตรัสว่า วันแห่งการพิพากษาของพระเจ้า อาจจะมาช้ากว่าที่เราคาดไว้ แต่จะมาถึงอย่างแน่นอน

พระเจ้าไม่ค่อยจะทำตามที่เราคิดหรืออยากให้เป็น เราอาจจะรู้สึกอัศจรรย์ใจในพระสติ ปัญญาและฤทธิ์เดชในการทำพระประสงค์ของพระองค์ให้สำเร็จ ใครจะไปคิดว่าการ พิพากษานี้จะสำเร็จลงด้วยฝีมือประชากรของพระองค์และพวกศัตรูอย่างชาวฟิลิสเตีย โดยคิดเหมาเอาเองว่าถ้านำหีบแห่งพระเจ้าไปสนามรบด้วย ชาวอิสราเอลเองได้แสดง ให้เห็นว่าไม่มีความยำเกรงต่อความบริสุทธิ์ของพระเจ้า การนำหีบแห่งพระเจ้าไปในสง คราม ทำให้คำพยากรณ์เรื่องการตายของบุตรทั้งสองของเอลีสำเร็จลงภายในวันเดียว พระเจ้าทรงมีวิธีของพระองค์เองที่มหัศจรรย์และลึกล้ำเกินกว่าที่เรานึกถึง

ข้อสอง ให้เรามาพิจารณาดูว่าพระคำตอนนี้สอนเราถึงเรื่องมนุษย์ว่าอย่างไร พระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงเหมือนเดิม "วานนี้ วันนี้ และสืบๆไปเป็น นิตย์" ที่จริงมนุษย์ก็ไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน เราถูกเรียกให้มาเป็นผู้เผยพระวจนะ เช่นซามูเอลเมื่อครั้งอดีต และการทรงเรียกของเราก็ไม่ต่างไปจากท่าน ซามูเอลไม่ ได้แสวงหาพระเจ้า พระเจ้าทรงตามหาท่าน ดังนั้นคนที่หลงหายในทุกวันนี้ก็ไม่ได้ แสวงหาพระเจ้า (ดู โรม 3:10-11) มนุษย์ได้รับความรอด ไม่ใช่เพราะพวกเขาแสวง หาพระเจ้า แต่พระเจ้าตามหาและช่วยคนบาปให้กลับใจ พระองค์ทรงตามหาเรา ไม่ใช่เราตามหาพระองค์ โดยพระคุณ พระองค์ทรงเรียกให้เราเข้ามาหา มารับความ รอด สาธุการแด่พระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น ที่สมควร กับการสรรเสริญนมัสการ

ที่ผมต้องการพูดคือ พระเจ้าทรงเรียกมนุษย์ในทุกวันนี้เช่นเดียวกับที่ทรงเรียกซามูเอล ในอดีต — ด้วยเหตุผลและความจำเป็นในแบบเดียวกัน พระองค์ทรงเผยพระองค์เองกับ เรา ไม่ใช่ด้วยการมาปรากฎพระองค์เองหรือมาในนิมิต แต่โดยพระวจนะคำ โดยพระ คัมภีร์ หน้าที่ของเรา เช่นเดียวกับซามูเอล คือประกาศพระวจนะคำออกไปสู่ประชาชาติ คริสเตียนทุกคนถูกเรียกให้มา "เชื่อ" ในองค์พระเยซูคริสต์ และ "ถูกเรียก" ให้ไป ประกาศพระวจนะคำของพระองค์ออกไปสู่บรรดาประชาชาติ

พวกเราต่างจากชาวอิสราเอลในสมัยของซามูเอล ที่มีกล่าวว่า "พระดำรัสของพระ เจ้ามีมาแต่น้อย " ความจริงก็คือพระเจ้าตรัสกับเราอย่างเต็มสมบูรณ์ในองค์พระบุตร และในพระวจนะคำที่เราถืออยู่ในมือ (ดู ฮีบรู 1:1-4; 2:1-4) ปัญหาในทุกวันนี้ไม่ใช่ ไม่มีพระดำรัส แต่มนุษย์ต่างหากที่ไม่ต้องการฟัง จึงไม่น่าประหลาดใจที่เราเห็นถ้อย คำเช่นนี้ปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ "ใครมีหูจงฟังเถิด" (ดูมัทธิว 11:15; 13:9, 43; วิวรณ์ 2:7, 11, 17, 29; 3:6, 13, 22) เราทุกคนสามารถกล่าวอย่างจริงใจได้ไหมว่า "ขอทรงตรัสเถิด ผู้รับใช้ของพระองค์กำลังฟังอยู่" นี่คือหัวใจของผู้ที่จะ "ได้ยิน" พระสุรเสียงของพระเจ้าอย่างชัดเจน

ในขณะที่เตรียมการสอน ผมเห็นการตอบสนองต่อพระเจ้าในสามแบบ ที่ไม่ต่างไปจาก การตอบสนองของผู้คนในยุคนี้ แบบแรก คือการตอบสนองของชาวอิสราเอล ชาว อิสราเอลต้องการพระเจ้าในท่ามกลางความมืดมน "ให้สถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขา" ใน ยามจำเป็น เพื่อบันดาลตามสิ่งที่พวกเขาต้องการ พวกเขานำหีบแห่งพระเจ้าไปสู่สนาม รบด้วยความคาดหวังว่า พระเจ้าจะประทานชัยชนะให้ แทนที่จะเห็นตนเองเป็นเพียง ผู้รับใช้ของพระเจ้า กลับเห็นพระเจ้าเป็นผู้รับใช้แทน "พระเจ้า" สำหรับพวกเขามีไว้ใช้ ไม่ได้มีไว้ถวายพระเกียรติและพระสิริด้วยการนมัสการสรรเสริญและเชื่อฟัง นีคือทฤษฎี ที่เราเรียกว่า "เครื่องลางของขลัง" ตามที่ Davis พูดว่า ยังเป็นที่นิยมตลอดกาล ถ้าเรา ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตามขั้นตอนที่ถูกต้องแล้ว พระเจ้าต้องตามคำสั่งของเรา มันไม่ใช่ เช่นนั้น พระเจ้าไม่ได้มีไว้เพื่อหลงไปตามแผนการของเรา และถ้าใครยังโง่พอที่คิด เช่นนี้ ดูเหมือนคนนั้นกำลังตกอยู่ในปัญหาน่าเป็นห่วง

การตอบสนองต่อพระเจ้าในแบบที่สอง คือแบบเอลี การตอบสนองของท่านเป็นแบบ ปล่อยไปตามดวง ยอมแพ้ต่อโชคชะตา พระเจ้าตรัสกับเอลีอย่างน้อยสองครั้งโดยทาง ผู้เผยพระวจนะ เพื่อเตือนถึงการพิพากษาที่จะเกิดขึ้นกับท่านและพงศ์พันธ์ เพราะท่าน ไม่่ยอมจัดการกับความบาปของบุตร เอลีไม่่ได้ทำสิ่งใดนอกเหนือไปจากแค่พูดว่ากล่าว ตักเตือน ถึงแม้เมื่อความตายของบุตรดูเหมือนจะใกล้เข้ามา เอลีก็ไม่คิดจะทำสิ่งใดทั้ง สิ้น การตอบสนองของท่านดูคล้ายเป็นพวกเคร่งศาสนา "คือพระเจ้า เอง ขอพระ องค์ทรงกระทำตามสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นชอบเถิด" (3:18) ฟังคล้ายคำพูดที่เรา ชอบพูดกันว่า "อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด" ตอนที่ดาวิดถูกตำหนิเรื่องความบาปของ ท่านกับนางบัทเชบา ท่านทราบล่วงหน้าว่าบุตรที่เกิดมาจะต้องตาย (2 ซามูเอล 12:14) แต่สิ่งนี้ไม่สามารถยับยั้งดาวิดได้ ท่านวิงวอนต่อพระเจ้า นอนหมอบราบ ลงกับพื้นทั้งคืน ทูลขอชีวิตบุตร (2 ซามูเอล 12:16-17) แต่กับเอลีดูเหมือนท่านเพียง ยักไหล่ และพูดว่า "นี่เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า"

ที่น่าเศร้าคือ เรายังพบลัทธิปล่อยไปตามดวงในคริสเตียนทุกวันนี้ แทนที่จะเห็นความ ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าเป็นแรงผลักดันให้ทำตามน้ำพระทัย กลับใช้เรื่องนี้มาอ้างเพื่อ จะได้ไม่ต้องทำอะไร ตอนที่ผมเทศนาบทนี้ ผมเรียกพวกปล่อยไปตามดวงนี้ว่า "คาลวินิสต์หมดแรง" ตอนหลังผมเปลี่ยนใจเรียกใหม่ว่าเป็นพวก "คาลวินิสต์หลัง เกษียร" (คาลวินิสต์คือกลุ่มคนที่เชืี่่อถือตามแนวคิดของ ยอห์น คาลวิน คือเชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้ควบคุม และกำหนดทุกสิ่งไว้ล่วงหน้าแล้ว-ผู้แปล) เพื่อนสูงวัยของผม Don Grimm จึงชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างที่ชัดเจนของคาลวินิสต์ตัวจริง (เชื่อว่าพระเจ้า เป็นผู้ควบคุมทุกสิ่ง จึงเป็นเหตุให้มีแรงบันดาลใจอยากทำตามน้ำพระทัย) คนเคลเดีย ในสมัยโน้นคือพวกปล่อยไปตามดวง พวกเขาศึกษาเรื่องสวรรค์ และเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิด ขึ้นบนโลกนี้ถูกสววรค์กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว พวกปล่อยไปตามดวงมองไม่เห็นความยิ่ง ใหญ่ของพระเจ้าผู้ครอบครองว่าเป็นพระเจ้าที่ปรารถนาจะผูกพัน และมีส่วนในชีวิตของ ผู้ที่วางใจในพระองค์ การมีสัมพันธภาพส่วนตัวโดยความเชื่อทางองค์พระเยซูคริสต์นั้น เป็นเหตุให้มีแรงบันดาลใจปรารถนาจะทำเพื่อพระองค์ มากกว่าจะนั่งปล่อยเวลาให้ผ่าน ไป ความเชื่อของเอลีนั้นแย่ยิ่งกว่าแนวคิดของพวกปล่อยไปตามดวงเสียอีก

ท้ายที่สุด คือการตอบสนองของซามูเอล ซามูเอลไม่ได้ทำสิ่งใดเพื่อเรียกร้องให้พระ เจ้ามาปรากฏเพื่อเผยพระวจนะ ซามูเอลเพียงแต่ทำงานประจำวันไปตามปกติ การปัด กวาดเช็ดถูพระนิเวศน์และข้าวของเครื่องใช้ไม่ได้เป็นเรื่องน่าซาบซึ้ง หรือเป็นเรื่องฝ่าย "วิญญาณ" แต่ประการใด รวมถึงการวิ่งรับใช้ชายชราตามืดมัว (อย่างเอลี) ด้วย แต่ใน การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายนั้น พระเจ้ากลับมาปรากฎและเปิดเผยพระองค์ ให้แก่ซามูเอล มีหลายคนชอบเห็นเรื่องตื่นเต้น (เช่นนำหีบพระสัญญาออกไปสนาม รบ) เพื่อหวังจะได้รับพระพรและเห็นพระองค์สำแดงฤทธิอำนาจ แต่ซามูเอลสอนเรา ว่าไม่ใช่เรื่องจำเป็น ขอให้เราดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างสัตย์ซื่อ ทำงานตามที่พระ เจ้ามอบหมายให้ ปล่อยเรื่องตื่นเต้น เรื่องความสำเร็จให้เป็นไปตามน้ำพระทัย เพราะ เมื่อเวลามาถึง พระองค์จะทรงทำการเอง ไม่ใช่เ็กิดขึ้นเพราะความพยายามของเรา แต่ เป็นเพราะพระเจ้าทรงรักษาพระสัญญาของพระองค์เสมอ


10 ในภาษาฮีบรูใช้คำว่าเด็กเล็ก เป็นคำเดียวกับที่ใช้เมื่อยังเป็นทารก (1 ซามูเอล 1:24) หรือ เด็กแรกคลอดอย่างอีคาโบด (4:21) หรือสามารถใช้พูดถึงคนรับใช้ที่อายุน้อย (ปฐมกาล 14:24; 18:7) ยังใช้สำหรับเชเคมผู้ข่มขืนบุตรสาวของยาโคบ ดีนาห์(ปฐมกาล 34) และกับโยเซฟเื่มื่อ อายุ 17ปี (ปฐมกาล 37:2) และต่อมา (ปฐมกาล 41:12) และใช้กับผู้ที่ไปสอดแนมที่คานาอัน (โยชูวา 6:23) ใช้กับบุตรทั้งสองของเอลี (1 ซามูเอล 2:17) และกับดาวิดเองเมื่อไปฆ่าโกลีอัท (1 ซามูเอล 17:33)

11 เพื่อนผมบอกให้ลองดูว่า ในขณะที่เอลีสอนให้ซามูเอลตอบการทรงเรียกว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์ตรัสเถิด เพราะผู้รับใช้ของพระองค์คอยฟังอยู่ " (ข้อ 9 ผมเห็นด้วย) แต่ซามู เอลตอบว่า "ขอตรัสเถิด เพราะผู้รับใช้ของพระองค์คอยฟังอยู่" (ข้อ 10) ในระหว่างการ สนทนาครั้งนี้ ดูเหมือนซามูเอลได้กลายเป็นผู้เชื่อไปแล้ว

12 ดูตัวอย่างเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้จาก 2 พงษ์กษัตริย์ 21:12 และ เยเรมีห์ 19:3.

13 "เห็นได้ชัดว่าความบาปในครอบครัวของเอลีนั้น เป็น "ความบาปที่เหิมเกริมยิ่งนัก" (ดู กันดารวิถี 15:30-31) ความบาปที่ท้าทายเช่นนี้ ไม่มีการลบล้าง มีแต่ต้องโทษถึงตายทันที (2:33; 3:14) บางทีเหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างของความบาปที่ในพระคัมภีร์เดิมพูดถึง 'นำไปสู่ ความตาย' (1 ยอห์น 5:16-17)." จาก J. Carl Laney, First and Second Samuel (Chicago: Moody Press, 1982), pp. 23-24.

14 ความเข้าใจเรื่องคำพยากรณ์สำหรับผม คือเมื่อพูดถึงการพิพากษาที่กำลังจะเกิดขึ้น พระเจ้า มักจะให้โอกาสสุดท้ายในการกลับใจ มีการกล่าวไว้อย่างชัดเจนในเยเรมีห์ 18:7-8 และยังจะ เรื่องความหวังของกษัตริย์ชาวนีนะเวห์ในบทที่สามของโยนาห์อีก ตามเนื้อหาของเราดูเหมือน ยังพอมีเวลาที่พระเจ้าจะหันเสียจากพระพิโรธ (ดู อิสยาห์ 6:6-13 ด้วย)

15 ผมคงไม่พูดไปไกลถึงเรื่องว่าพระเจ้าไม่สามารถที่จะเปิดเผยคำพยากรณ์ผ่านผู้ที่ไม่เชื่อได้ เพราะบาลาอัมเองอาจจะไม่ใช่ผู้เชื่อ และแน่นอน ลาของบาลาอัมยิ่งไม่น่าจะเป็นผู้ชอบธรรมไป ได้ (ถึงแม้ดูเหมือนจะมีความชอบธรรมมากกว่าบาลาอัมเสียอีก – (ดู กันดารวิถี 22-24)

16 จากหนังสือของDale Ralph Davis, Looking on the Heart (Grand Rapids: Baker Books, 1994), pp. 49-55 (chapter 4).

Previous PageTable Of ContentsNext Page